ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
รู้จักกับ Alien species
เรามักเรียกสิ่งมีชีวิตที่มาจากนอกโลกของเราว่า เอเลี่ยน
ดั้งนั้น เอเลี่ยนสปีชี่ส์ หรือ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ก็คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้มีถิ่น
ดั้งเดิมในพื้นที่นั้น ที่เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ด้วยวิธีการต่างๆ
page 1
เมื่อกล่าวถึงชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย ยกตัวอย่างได้เช่น ปลานิล
เต่าญี่ปุ่นแก้มแดง หรือแม้กระทั่ง แมวบ้าน ที่ถูกเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
ก็เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเช่นกัน
องค์กร RSPB ของ ประเทศอังกฤษได้ประเมิน
ไว้ว่า แมวบ้านในระบบเปิดหรือแมวจรจัดได้ฆ่า
นกไปมากกว่า 27 ล้านตัวในแต่ละปี
page 2
Alien species แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น คือ สิ่งมีชีวิตที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น แล้วสามารถ
ดำรงชีวิตอยู่ได้ ตามปัจจัยของสภาพแวดล้อม
2. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน คือ สิ่งมีชีวิตที่เข้ามาอาศัยแล้วมีการแพร่พันธุ์
มากจนเกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในบริเวณนั้น
page 3
เปรียบเทียบได้เหมือนเอเลี่ยนที่มาอาศัยบนโลกเฉยๆ
กับเอเลี่ยนที่มาอาศัยอยู่บนโลกแล้วเริ่มที่จะครองโลก
แต่ Alien species บางชนิด ก็สร้างประโยชน์ให้กับพื้นที่นั้นๆ เช่น
ปลานิลเป็นแหล่งโปรตีน ต้นสาบเสือช่วยปกคลุมหน้าดิน
แต่บางชนิดก็ขยายพันธุ์จนเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
page 4
ผลจากการถูกรุกรานโดย alien species คือ สัตว์ท้องถิ่นเดิมถูก
เบียดเบียน เช่น โดนล่าเป็นอาหาร ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง
แก่งแย่งอาหาร รวมถึงการทำลายระบบนิเวศในบริเวณนั้น
page 5
How Alien come?
แล้วเอเลี่ยนสปีชีส์เข้ามาในพื้นที่นั้นได้อย่างไร?
โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดจากฝีมือมนุษย์ที่นำเข้าสัตว์ต่างๆมาจากนอกประเทศ
เข้ามา เพื่อนำมาเลี้ยง หรือสนองความต้องการในด้านต่างๆ เช่น การเกษตร
เป็นต้น
page 6
หรือการซื้อสัตว์นำเข้าจากต่างประเทศแล้วปล่อยมันไปในแหล่งธรรมชาติ
เมื่อไม่ต้องการเลี้ยง เช่น หอยทากยักษ์แอฟริกา หรือ ปลาที่ซัคเกอร์ ที่ถูก
เรียกว่าปลาราหู ซึ่งมักถูกปล่อยลงแหล่งน้ำ ตามความเชื่อต่างๆ
page 7
ซึ่งปลาซัคเกอร์เป็นปลาที่สามารถทนอยู่ได้ในหลายสภาวะ และแพร่พันธุ์ได้
รวดเร็ว คนชอบเลี้ยงเพื้อให้กินตะไคร่น้ำในตู้ปลา แต่ถ้าปล่อยลงสู่แหล่ง
ธรรมชาติ มันจะกินไข่ปลาและตัวอ่อนของปลาชนิดอื่น ซึ่งอาจจะทำให้
ประชากรของปลาท้องถิ่นในพื้นที่นั้นลดลง
page 8
ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยสัตว์เลี้ยงออกสู่แหล่งธรรมชาติ ควรศึกษาข้อมูล
พฤติกรรมของมัน รวมถึงผลกระทบของสัตว์ที่จะนำเข้ามาเสมอ
แต่ทางที่ดีที่สุดคือ ควรปล่อยให้สัตว์อยู่ในที่ถิ่นเดิมของมัน เอเลี่ยน
จะไม่ได้ถูกเรียกว่าเอเลี่ยน ถ้าหากว่ามันได้อยู่ในที่ที่ควรอยู่
last page
References
https://www.seub.or.th/bloging/knowledge/http://
www1a.biotec.or.th/brt/index.php/2009-06-23-04-00-07/71-
succer
http://www.digitalschool.club/digitalschool/biology2_1_1/bio
logy22/more/page07.php
references page 6521009 รมณณัฏฐ์ สัจจะภัทรกุล
เอเลี่ยนจะ
ไม่ได้ถูกเรียกว่า
เอเลี่ยน
ถ้าหากว่ามัน
ได้อยู่ในที่ที่ควรอยู่