Moodboard
Before After ชื่อไอเดีย _______________________ เจ้าของแนวคิด____________________ ปัญหาด้านสุขภาพที่ต้องการ แก้ไข ที่มาของปัญหา กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผล ประโยชน์จากปัญหานี้ สถานที่ดําเนิน กิจกรรมที่เกิดขึ้นใน การปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการดําเนินงาน เบื้องหลังของการผลิตผลงานสื่อ เเพลตฟอร์มสื่อที่ใช้ WHAT WHO WHERE WHEN WHY HOW
‘Storytelling Canvas’ โมเดลสร้างคอนเทนต์เจาะลึกกลุ่มเป้าหมาย THE STANDARD ได้ออกแบบ ‘Storytelling Canvas’ โมเดลสร้างคอนเทนต์เจาะลึกกลุ่มเป้าหมาย ผ่านแนวคิดแบบ Audience-Centric ถึงเป็นกุญแจสําคัญในการผลิตคอนเทนต์สร้างสรรค์ ร่างแนวคิดหรือเช็กลิสต์ก่อนเริ่มสร้างสรรค์คอนเทนต์ขึ้นมา ซึ่งมีทั้งหมด 14 ข้อ ประกอบด้วย 1. Goal เป้าหมายของการสื่อสาร ทําไมถึงต้องเล่าเรื่องนี้ 2. Unique Selling Point จุดแข็งที่คนอื่นไม่สามารถเลียนแบบได้ 3. Target Audience กลุ่มเป้าหมายและเรื่องที่เขาอยากฟัง 4. Channel เครื่องมือช่องทางที่ใช้ในการสื่อสาร ทําไมถึงต้องใช้เครื่องมือนี้ตรงกับผู้รับสารอย่างไร 5. Mood & Tone อารมณ์ความรู้สึก และน้าเสียงของเรื่องนี้ 6. Key Message ประเด็นสําคัญของเรื่องที่นําเสนอ, สรุปจบภายในประโยคเดียวให้ได้ 7. Audience-Centric Check Point ทําไมคนฟังต้องรู้เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเขาอย่างไร แล้วต่าง จากที่คนอื่นนําเสนอหรือไม่ 8. น่าสนใจอย่างไร เรื่องที่นําเสนอน่าสนใจอย่างไร 9. มีประโยชน์อย่างไร เรื่องที่นําเสนอมีประโยชน์อย่างไร 10. Before ผู้รับสารมีความรู้หรือรู้สึกกับเรื่องนี้อย่างไร ก่อนที่จะถ่ายทอดสารออกไป 11. Introduction ปูพื้นเล่าเรื่องอย่างไร เปิดเรื่องด้วยการบอกอะไร (ผู้รับสารยุคใหม่เลื่อนฟีดเร็วขึ้น) 12. AHA! Moment จุดไคลแมกซ์ของเรื่อง หรือช่วงที่ทําให้คนประหลาดใจที่สุด 13. Conclusion บทสรุปของเรื่องนี้ทําให้คนตราตรึงได้มากพอ และนําไปสู่อะไรบางอย่างหรือไม่ 14. After ผู้รับสารมีความรู้หรือรู้สึกอย่างไรกับเรื่องที่ได้นําเสนอไปแล้ว (ลิงก์กับ Before)
การคิดไอเดีย นอกจากเนื้อหาสาระที่ต้องปังแล้ว ยังต้องมีการสร้างคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย ด้วย ซึ่งสิ่งที่จะทําให้เราเจาะกลุ่มเป้าหมายนั้น ก็ต้องเริ่ม จากกระบวนการคิดเป็นอันดับแรก เมื่อเริ่มต้นมาดี ก้าวต่อ ๆ ไปก็จะดีตามไปด้วยเช่นกัน ในส่วนของ กระบวนการคิดที่สําคัญในช่วงเวลาแบบนี้ก็ต้องหนีไม่พ้น Design Thinking คือ การคิดเชิงออกแบบ ที่จะเป็นตัว ช่วยในการวางแผน มองเห็นเป้าหมาย และวิธีการแก้ปัญหา ต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบระเบียบมากขึ้น
Highlight กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จะทําให้เรามองเห็น วิธีการใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ตลอดจนสร้าง นวัตกรรมตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์จากสื่อ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จะทําให้เรารู้จักมอง ปัญหาตลอดจนโจทย์ของการแก้ไขปัญหา ได้รอบทิศและรอบคอบขึ้น กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ฝึกให้มีการคิดอย่าง เป็นระบบ เป็นขั้นตอน และมีลําดับการบริหารจัดการที่ดีไม่ว่าจะนําไปใช้ กับการปฎิบัติการในพื้นที่
ทําไม..ต้องเรียนรู้เรื่อง Design หรือ “การออกแบบ” ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การออกแบบ หรือ Design จึงมีความจําเป็นอย่างมาก เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม การออกแบบเป็นมากกว่าแค่การคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แต่เป็นการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อหาทางออก Design Thinking หรือ “กระบวนการคิดในเชิงออกแบบ” เป็นกระบวนการคิดที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อหา..SOLUTION ต่อการคิดเปลี่ยนสังคมสุขภาวะ
Design Thinking คืออะไร?
Design Thinking คืออะไร? กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) การคิดแก้ปัญหาที่สามารถนําไปสร้างสรรค์นวัตกรรมได้การคิดเชิง ออกแบบนั้นต่างจาก “ความคิดสร้างสรรค์”(creativity) ซึ่ง Design Thinking จะคํานึงถึง การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์และ “คน” การคิด เชิงออกแบบจึงมีอีกชื่อคือ Human centered design ที่คนเป็นศูนย์กลาง การแก้ปัญหา โดยเน้นทําความเข้าใจว่าคนต้องการอะไร แทนที่วิธีการแบบ เดิมที่มักเริ่มต้นจาก “ปัญหา” แหล่งข้อมูล https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190702-design-thinking/
Design สุขภาพ ด้วย Design Thinking 1-EMPATHIZE 2-DEFINE 3-IDEATE 4-PHOTOTYPE 5-TEST 6-IMPLEMENT
หลักการคิดเชิงออกแบบ 1. คิดอย่าง “เข้าใจ” เป็นวิธีการคิดผ่านสิ่งที่เขาพูด ทํา คิด และรู้สึก เพื่อให้เข้าใจปัญหาจากมุม มองของคนที่เราจะแก้ปัญหาให้ซึ่งการคิดอย่างเข้าใจอาจสามารถทําได้ ผ่านทางการสังเกต การสอบถาม หรือการมีประสบการณ์ร่วม
2. คิดแบบ “ไม่มีกรอบ” การคิดแบบไม่มีกรอบ มีกระบวนการในการคิดดังนี้ 1. ต้องตั้งคําถามที่ถูกต้อง ก่อนจะเริ่มหาคําตอบ ดังนั้นจึงต้องเริ่มตั้งคําถามก่อน โดยใช้ฟอร์ม “เราจะ......ได้อย่างไร” 2. ได้คําถามแล้วคิดคําตอบ โดยใช้วิธีIdeate (Idea + create) หรือการ brainstorming โดยมีหลักการในการระดมสมองที่ดีคือ ต้องพูดทีละคน เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ออกไอเดียให้กระชับ ต่อยอดไอเดียกัน ส่งเสริมไอเดียบ้าๆ วาดรูปก็ได้ อย่าออกนอกเรื่อง อย่าวิจารณ์ไอเดียคนอื่น
อย่างไรก็ตามการคิดแบบไม่มีกรอบโดยการระดมสมองอาจพบอุปสรรคบางประการ คือ คิดว่าไอเดียเดียวก็พอแล้ว ไอเดียไหนฟังแล้วไม่ชอบ ต้องรีบจํากัด พูดอย่างเดียว ไม่ฟัง อะไรที่พูดแล้วเราดูโง่เก็บไว้กับตัวดีกว่า ลืมจดหรือบันทึกไอเดียไว้ บางไอเดียก็ลงลึกในรายละเอียดมากเกินไป การคิดแบบไม่มีกรอบโดยการระดมสมองจะมีอุปกรณ์ช่วยเสริมในกระบวนการคิด ซึ่งอุปกรณ์ ประกอบการจัดกิจกรรมก็เป็นสิ่งที่สามารถหาได้ทั่วไป ประกอบด้วย โพสต์อิทและปากกา เนื่องจาก เป็นสิ่งที่ย้ายที่ได้เปิดพื้นที่ให้ทุกคนมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเท่าๆ กัน ทุกคนมีพื้นที่ของตัว เอง โดยมีพื้นที่ที่จํากัด
3. คิดเร็ว ทําเร็ว นําไอเดียไปแปลงให้เป็น “ผลงาน” โดยคํานึงถึง “เวลา” และ “ค่าใช้จ่าย” ที่จํากัด โดยมีวิธีการคือ ทดลองสร้างต้นแบบ (Prototype) และยึดหลักทดลองหลายๆ ครั้ง ล้มเหลวบ่อยๆ ล้มเหลวให้เร็ว เพื่อจะได้รีบเรียนรู้ความผิดพลาด ◦ Fail Cheap เพื่อให้ความผิดพลาดนั้นมีราคาถูก ◦ Fail Fast เพื่อให้ความผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นเร็วแต่เนิ่นๆ ◦ Fail forward เพื่อให้ความผิดพลาดเป็นบทเรียนในการก้าวต่อไป 2. สร้างต้นแบบที่จับต้องได้และมีปฏิสัมพันธ์ด้วยได้ใช้ของง่ายๆ ไม่ต้องใช้ของจริง โดยผล งานการออกแบบอาจเป็นไปได้อย่างหลากหลาย ไม่จําเป็นต้องจํากัดอยู่เพียงแต่ผลงาน โดยตรงเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นสิ่งอื่นๆ ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมได้
ทําไมการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) จึงมีความสําคัญในยุคปัจจุบัน
การนําเอากระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) นั้นอาจจะเห็นผลชัดเจนและเข้าใจได้แจ่มแจ้งกว่าสําหรับกระบวน การคิดแฟตฟอร์มสื่อใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กลุ่มเป้าหมายตอบโจทย์ที่ ต้องการ รวมไปถึงสามารถสร้างสรรค์สื่อขึ้นมาตลอดจนสร้างนวัตกรรม ใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นก็ได้ซึ่งการคิดโดยนําเอากระบวนการคิดเชิง ออกแบบมาใช้ให้เกิดประโยชน์นี้จะทําให้เราเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้และ ผลิตสร้างสรรค์สื่อสุขภาวะเพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายตลอดจนแก้ไข ปัญหาได้อย่างแท้จริง
สําหรับการสร้างสรรค์ไอเดียสุขภาวะ การประยุกต์เอารูปแบบกระบวนการของการ คิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) มาใช้อาจทําให้เรารู้จักคิดวิเคราะห์ใน ปัญหาที่เกิดขึ้นมากขึ้น รู้อย่างถี่ถ้วน ถ่องแท้ละเอียด ซึ่งบางครั้งทําให้เราอาจรู้ถึง ปัญหาที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่ได้ก็เป็นได้นั่นทําให้เราจับจุดปัญหาได้ถูก และมีวิธีการใน การแก้ไขปัญหาที่เป็นลําดับ มีการคิดวิเคราะห์วิธีแก้ไขอย่างถี่ถ้วน และรอบด้าน นั่น ทําให้เราสามารถมองวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ได้รอบมุม หลากหลายมุมมอง และ ทําให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือไม่ก็สามารถหาทาง แก้อื่นสํารองได้ทันท่วงทีหากทางแก้ที่เลือกไม่ประสบผลสําเร็จ เพราะเราได้ลอง มองทุกมุมมาแล้ว นอกจากนั้นกระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) ยังก่อให้เกิดการคิดแบบสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ๆ ที่จะนํามาคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา พยายามหาหนทางที่มากกว่าสิ่งที่ตนเองคุ้นเคย ตลอดจนสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งก็รวมถึงนวัตกรรมที่เกี่ยวกับสุขภาวะได้ด้วยเช่นกัน ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงของสื่อเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วการคิดสร้างสรรค์ แพลตฟอร์มสื่อสุขภาวะเพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด ตลอดจนคิดหา วิธีทําให้ผลงานสื่อประสบความสําเร็จได้ยอดเยี่ยม นั่นเลยทําให้หลายองค์กรมี การนําเอาการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) นี้มาใช้รวมไปถึง องค์กรใหญ่ระดับโลกอย่าง Google, Apple หรือแม้แต่ Airbnb ที่นําเอา กระบวนการคิดรูปแบบนี้ไปใช้ในองค์กรจนประสบความสําเร็จมาแล้ว และนั่นก็ทําให้ หลายองค์กรต่างนํามาใช้กับองค์กรของตนบ้าง และสร้างความสําเร็จได้ไม่แพ้กัน เลยทีเดียว
ประโยชน์ของ ระบบการคิด เชิงออกแบบ
การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) มีประโยชน์มากมาย ทั้ง ต่อบุคลากรไปจนถึงองค์กรเลยทีเดียว ซึ่งประโยชน์ในด้านต่างๆ นั้นมีดังนี้ • ฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหาตลอดจนหาทางออกที่เป็นลําดับขั้นตอน : ปกติเราอาจ จะมีการหาทางแก้ปัญหาแบบสะเปะสะปะ ไม่มีการหาสาเหตุหรือไม่มีการมองรอบด้าน กระบวนการนี้จะทําให้เรามองอย่างรอบคอบและละเอียดมากขึ้น ทําให้เราเข้าใจปัญหาได้ อย่างถ่องแท้และแก้ไขได้ตรงจุด • มีทางเลือกที่หลากหลาย : การคิดบนพื้นฐานข้อมูลที่มีหลากหลาย ตลอดจน พยายามคิดหาวิถีทางหรือแชร์ไอเดียที่ดีออกมาหลากหลายรูปแบบ ทําให้เรามองเห็นอะไร รอบด้าน และมีตัวเลือกที่ดีที่สุด ก่อนนําไปใช้แก้ปัญหาจริง หรือนําไปปฎิบัติจริง • มีตัวเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด : เมื่อเรามีตัวเลือกหลากหลายเราก็จะรู้จักคิด วิเคราะห์และการคิดวิเคราะห์นี้เองจะทําให้เราสามารถเลือกทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุด ได้มีประสิทธิภาพมากกว่า • ฝึกความคิดสร้างสรรค์ : การแชร์ไอเดีย ตลอดจนระดมความคิดนั้น จะทําให้สมอง เราฝึกคิดหลากหลายรูปแบบ หลากหลายวิธีการ หลากหลายมุมมอง และทําให้เรารู้จักหา วิธีแปลกๆ ใหม่ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการฝึกความคิดสร้างสรรค์ที่ดีที่เป็นพื้นฐานที่ดีในการ แก้ปัญหา ตลอดจนการบริหารจัดการเช่นกัน • เกิดกระบวนการใหม่ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ : มีการคิดมากมายหลากหลายรูป แบบ ตลอดจนแชร์ไอเดียดีๆ มากมาย การที่เราได้พยายามฝึกคิดจะทําให้เรามักค้นพบวิธี ใหม่ๆ เสมอ หรือเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้เช่นกัน • มีแผนสํารองในการแก้ปัญหา : การคิดที่หลากหลายวิธีนอกจากจะทําให้เรา สามารถวิเคราะห์เลือกวิธีที่ดีที่สุดได้แล้วนั้นก็ยังทําให้เรามีตัวเลือกสํารองไปในตัวโดย ผ่านกระบวนการลําดับความสําคัญมาเรียบร้อยแล้ว ทําให้เราสามารถเลือกใช้แก้ปัญหา ได้ทันท่วงทีหากวิธีการที่เลือกไม่ประสบความสําเร็จ • องค์กรมีการทํางานอย่างเป็นระบบ : เมื่อบุคลากรถูกฝึกให้คิดอย่างเป็นระบบ แบบแผนแล้วจะปลูกฝังระบบการทํางานที่ดีนั่นย่อมส่งผลให้องค์กรมีการทํางานอย่าง เป็นระบบ และทํางานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรและ องค์กรไปในตัว
กระบวนการ ของการคิด เชิงออกแบบ (Design Thinking Process)
1.Empathize – เข้าใจปัญหา ขั้นแรกต้องทําความเข้าใจกับปัญหาให้ถ่องแท้ในทุกมุมมองเสียก่อน ตลอดจนเข้าใจผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย หรือเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการแก้ไขนี้ เพื่อหาหนทางที่เหมาะสมและดีที่สุดให้ได้การเข้าใจคําถามอาจเริ่มตั้ง ด้วยการตั้งคําถาม สร้างสมมติฐาน กระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดที่นํา ไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ที่ดีได้ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาให้ถ้วนถี่ เพื่อหา แนวทางที่ชัดเจนให้ได้การเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้งถูกต้องนั้นจะนําไป สู่การแก้ปัญหาที่ตรงประเด็นและได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม 1-EMPATHIZE
2.Define – กําหนดปัญหาให้ชัดเจน เมื่อเรารู้ถึงข้อมูลปัญหาที่ชัดเจน ตลอดจนวิเคราะห์อย่างรอบด้าน แล้ว ให้นําเอาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อที่จะคัดกรองให้เป็น ปัญหาที่แท้จริง กําหนดหรือบ่งชี้ปัญหาอย่างชัดเจน เพื่อที่จะเป็น แนวทางในการปฎิบัติการต่อไป รวมถึงมีแก่นยึดในการแก้ไขปัญหา อย่างมีทิศทาง 2-DEFINE
3.Ideate – ระดมความคิด การระดมความคิดนี้คือการนําเสนอแนวความคิดตลอดจนแนวทางการแก้ไข ปัญหาในรูปแบบต่างๆ อย่างไม่มีกรอบจํากัด ควรระดมความคิดในหลากหลาย มุมมอง หลากหลายวิธีการ ออกมาให้มากที่สุด เพื่อที่จะเป็นฐานข้อมูลในการที่ เราจะนําไปประเมินผลเพื่อสรุปเป็นความคิดที่ดีที่สุดสําหรับการแก้ไขปัญหานั้นๆ ซึ่งอาจไม่จําเป็นต้องเกิดจากความคิดเดียว หรือเลือกความคิดเดียว แต่ เป็นการผสมผสานหลากหลายความคิดให้ออกมาเป็นแนวทางสุดท้ายที่ชัดเจน ก็ได้การระดมความคิดนี้ยังช่วยให้เรามองปัญหาได้อย่างรอบด้านและละเอียด ขึ้นด้วย รวมถึงหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบได้ด้วยเช่นกัน 3-IDEATE
4.Prototype – สร้างต้นแบบที่เลือก หากเป็นเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมขั้น Prototype นี้ก็คือ การสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบจริงก่อนที่จะนําไปผลิตจริง สําหรับในด้าน อื่นๆ ขั้นนี้ก็คือการลงมือปฎิบัติหรือทดลองทําจริงตามแนวทางที่ได้เลือก แล้ว ตลอดจนสร้างต้นแบบของปฎิบัติการที่เราต้องการจะนําไปใช้จริง 4-PHOTOTYPE
5.Test – ทดสอบ ทดลองนําต้นแบบหรือข้อสรุปที่จะนําไปใช้จริงมาปฎิบัติก่อน เพื่อทดสอบ ประสิทธิภาพ ตลอดจนประเมินผล เสร็จแล้วก็นําเอาปัญหาหรือข้อดีข้อเสีย ที่เกิดขึ้นเพื่อนํามาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนําไปใช้จริงอีกครั้งนั่นเอง 5-TEST
โมเดลเพชรคู่ (Double Diamond) กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) ที่นํามาประยุกต์ใช้กับโปรเจต์งได้ อย่างเหมาะสม แหล่งข้อมูล https://www.okmd.or.th/knowledge-festival/articles/518/design-thinking
กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) นั้นมีการนํามา ประยุกต์ใช้และสร้างเป็นโมเดลขึ้นหลายรูปแบบ และหนึ่งในโมเดลที่นิยมนํามาใช้กับงาน บริหารจัดการตลอดจนสร้างสรรค์การทํางานให้กับองค์กรก็คือโมเดลเพชรคู่ หรือ Double Diamond ที่ได้รับความนิยมในระดับสากลนั่นเอง ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้น ตอนที่เรียกง่ายๆ ว่า 4D ดังนี้ แหล่งอ้างอิง : Design Council
Double Diamond – Design Thinking Process
• 1.Discover– ทําความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายเพื่อ มองเห็นถึงปัญหา • 2.Define– คัดกรองและจัดลําดับความสําคัญ ของสิ่งที่ต้องการจะแก้ไข • 3.Develop– ระดมไอเดียเพื่อแก้ไขปัญหา • 4.Deliver– นําไอเดียที่ดีที่สุดไปพัฒนาต่อ และ ทดลองใช้ Double Diamond – Design Thinking Process
ขั้นตอนที่ 1 : ค้นพบ – Discover ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการการคิดเชิงออกแบบทุกครั้งเรามักหยิบ เอาปัญหามาเป็นโจทย์สําคัญในการเริ่มต้น ในขั้นตอนแรกนี้ก็คือ การค้นพบปัญหาแล้วทําความเข้าใจกับปัญหาให้ลึกซึ้งมากที่สุด หลากหลายมิติที่สุด เพื่อที่จะนําไปสู่การหาทางออกที่ดีและตอบ โจทย์มากที่สุด
ขั้นตอนที่ 2 : บ่งชี้ / กําหนด – Define หลังจากที่เรามองปัญหาอย่างรอบด้านแล้ว ให้นําเอาข้อมูล ทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อที่จะคัดกรองให้เป็นปัญหาที่แท้จริง กําหนดหรือบ่งชี้ว่าเป็นปัญหาอะไร ประเภทไหน เพื่อให้เข้าใจ ลักษณะของปัญหาให้ได้ชัดเจนที่สุดเพียงประเด็นเดียว เพื่อที่จะ ได้มีจุดหมายในการหาทางแก้ไขได้อย่างตรงประเด็น มีทิศทาง ชัดเจน
ขั้นตอนที่ 3 : พัฒนา – Develop หลังจากที่เรามีแก่นของปัญหาที่ชัดเจนแล้ว ขั้นตอนของการพัฒนา นี้ก็คือการระดมสมองเพื่อ แชร์ไอเดีย เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ นานา ทั้งในกรอบและนอกกรอบ โดยคิดให้รอบด้านที่สุด ถ้าเปรียบ กับการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แล้วขึ้นตอนนี้ก็คือการหาไอ เดียเพื่อที่จะออกแบบไปในทิศทางต่างๆ หลากหลายรูปแบบเพื่อนํามา เลือกไอเดียที่ดีที่สุดไปผลิตนั่นเอง
ขั้นตอนที่ 4 : นําไปปฎิบัติจริง – Deliver ขั้นตอนนี้เราจะเลือกวิธีที่ดีที่สุดเพื่อนําไปแก้ไขปัญหาจริง ปฎิบัติจริง เพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่เราตั้งไว้นําไปทดลองหรือทดสอบจริงว่ามี ประสิทธิภาพหรือไม่ ตลอดจนเก็บข้อมูลเพื่อนํามาประมวลผลด้วย
บทสรุป การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) เป็นการประยุกต์วิธีการออกแบบ ผลิตภัณฑ์บริการ ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ มาสู่การทํางานในส่วนต่างๆ ตลอดจน การบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) จะเป็นประโยชน์สําหรับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่แล้ว ก็ ยังเป็นประโยชน์ต่อการทํางานที่จะช่วยให้บุคลากรมีระบบความคิดที่ดีและพร้อมใน การหาวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่พัฒนาอยู่เสมอด้วย ซึ่งนั่นอาจเป็นวิธีการตอบโจทย์ ที่ดีที่สุดสําหรับองค์กรไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไร หรือสร้างแนวทางใดให้ไปสู่ความ สําเร็จ
ตัวอย่าง Netflix บริการสตรีมภาพยนต์ระดับโลก ในการใช้Design Thinking เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1997 ผู้ก่อตั้ง Reed Hasting เริ่มต้น Netflix ด้วยการเป็นบริการส่งภาพยนต์ ไปถึงประตูหน้าบ้านของลูกค้า ด้วยการทําความทําความเข้าใจปัญหาของการดูภาพยนต์และ เช่าซีดี Reed Hastings (CEO คนปัจจุบัน) เช่าวิดีโอเรื่อง Apollo 13 มาจากร้านเช่าวิดีโอแห่งหนึ่ง แต่ ว่าเกินกําหนดไปเดือนกว่า ๆ ทําให้ถูกปรับเป็นจํานวนเงิน 40 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 1,200 บาท จึงทําให้เขาเกิดไอเดียในการเปิดร้านเช่าวิดีโอขึ้นมา ในรูปแบบให้ลูกค้าส่งคําสั่งการ เช่าผ่านอินเทอร์เน็ตภายในอเมริกา และจัดส่งวิดีโอให้ทางไปรษณีย์โดยเริ่มแรกมีคอนเทนต์ เพียงแค่ 925 เรื่องเท่านั้น ต่อมาในปี 1998 เขาปรับเปลี่ยนไอเดียใหม่มาใช้ระบบการสมัครสมาชิก (Subscription) แบบ รายเดือนแทน และสามารถดูกี่เรื่องก็ได้ภายใน 1 เดือน ทําให้ได้รับความสนใจจากผู้คนเป็น จํานวนมาก จนมีผู้ใช้บริการมากถึง 1 ล้านคนภายใน 4 ปีและได้นําร้านเช่าวิดีโอแห่งนี้เข้าตลาด หุ้น จนได้กลายเป็นคู่แข่งคนสําคัญของ Blockbuster เชน ร้านเช่าวิดีโอรายใหญ่ของ สหรัฐอเมริกา
ในปี 2007 ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนธุรกิจอีกครั้งมาเป็นให้บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์บนอินเทอร์เน็ต และในปี 2010 ได้เปิดให้บริการที่ต่างประเทศครั้งแรกนั่นคือประเทศแคนาดา และตามด้วยประเทศ ในแถบอเมริกาใต้และในปัจจุบัน Netflix ได้ให้บริการกว่า 190 ประเทศทั่วโลกแล้ว Netflix ใช้Design Thinking ในการเข้าใจความต้องการ ปัญหา และความคาดหวังของลูกค้าจน เกิดเป็น Business Model ตั้งแต่การเข้าใจปัญหา และเริ่มต้นจับตลาด จะเห็นได้ว่า Reed Hastings มองเห็นปัญหาอย่างแท้จริงในการเช่าวีดีโอแบบดั้งเดิม ทั้งระยะเวลาการเช่า ราคา การจ่ายค่าปรับ และอื่นๆ ที่มีผู้ใช้รายอื่นๆมีปัญหาเดียวกันด้วย ทําให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว การคิดใหญ่และเริ่มต้นจากธุรกิจขนาดเล็ก ทําให้Reed Hastings ประสบความสําเร็จ แต่ต่อมา ปี 2001 เขาได้เริ่มลงทุนกับการทําความเข้าใจกับปัญหาต่างๆ ด้วยจํานวนเงินกว่า 10 ล้านดอลลาร์ สหรัญต่อปีถึงแม้การลงทุนครั้งนี้จะทําให้องค์กรเหลือกําไรเพียงเล็กน้อย แต่ก็เป็นประโยชน์และ สร้างกําไรได้ในอนาคต นอกจากนี้เขายังทําการทดสอบตลาด ด้วยบริการสตรีมวีดีโอให้กับผู้ใช้งานได้ทดลองใช้และ สร้างความคุ้มเคย ปรับปรุง พัฒนาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีของการทดสอบ และประสบความ สําเร็จอย่างมาก ทําให้บริการของ Netflix เติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นที่ต้องการของผู้ใช้ งานจํานวนมากบนโลกอินเตอร์เน็ต ที่มา interaction.com / yukti.io
บริษัท Airbnb บริษัทให้บริการเช่าที่พัก ที่ในช่วงแรกประสบปัญหายอดการเข้าพักย่าแย่มาก แต่ สิ่งที่เจ้าของบริษัททําคือ การออกไปคุยกับลูกค้า และให้ลูกค้าทดลองเล่นเว็บ Airbnbให้ตนเองดู จากนั้นเขาจึงค้นพบว่าปัญหาหลัก ๆ ที่ทําให้ยอดเข้าพักน้อย เพราะภาพที่ใช้ในการนําเสนอไม่สวย ดังนั้นสิ่งที่ Airbnbทําก็คือ การออกไปถ่ายภาพให้ชัดเจนและสวยงามมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทให้ เช่าที่พักส่วนใหญ่ไม่ทํากัน การแก้ไขปัญหาเช่นนี้ทําให้ยอดการเช่าที่พักของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่องจนถึงปัจจุบัน Nike ได้ได้นําหลักการ (Design Thinking) มาพัฒนาสินค้า เพื่อให้ทีมงานทุกคนเข้าใจผู้ใช้มาก ที่สุด โดยให้พนักงานลองใส่รองเท้าวิ่ง และร่วมกันระดมความคิดเห็น และออกแบบรองเท้ารุ่นใหม่ เพื่อหาความสวยงามของรองเท้ากับฟังก์ชั่นการใช้งาน Pepsi ได้นําหลักการดังกล่าวเช่นเดียวกันมาใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เน้นความสวยงาม แต่ต้องการให้บรรจุภัณฑ์เต็มไปด้วยความรู้สึก ทั้งนี้เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ และความ ประทับใจให้ผู้บริโภค และกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับแบรนด์จึงได้ให้พนักงานหาแรงบันดาลใจ ด้วยการถ่ายรูปสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวแล้วนํามาต่อยอดจนกลายเป็นตู้กดน้า Pepsi Spire ในที่สุด
ข้อสงสัยหรือคําถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ Q: กิจกรรมที่ช่วยพัฒนา Design Thinking ของพนักงานที่น่าสนใจ ? การสร้างทัศนคติให้พนักงานมีDesign Thinking นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถวัดผลได้เป็นรูปธรรมมากนัก และ วัดผลได้ยาก โดยเฉพาะเรื่อง Soft Skill ใครมีแนวทางหรือวิธีการที่น่าสนใจ ทําได้แล้วได้ผลไหมคะ A: Design Thinking แปลตรง ๆ ก็คือ การคิดเชิงออกแบบ หลายคนอาจมีคําถามในใจว่า ความคิดจะออกแบบได้อย่างไร เรื่องความคิดเป็น Soft Skill ความคิดมาจาก สมองของคน ยิ่งคิดยิ่งใช้สมอง ระบบการคิดก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น,,, (คลิกดูคําตอบทั้งหมด)