The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by haris2krabi, 2023-12-27 11:06:31

คู่มือ Hackathon4Health

คู่มือ Hackathon4Health

คู่มือ


หนังสือเล่มนี้..มีอะไร 1-EMPATHIZE 2-DEFINE 3-IDEATE 4-PHOTOTYPE 5-TEST 6-IMPLEMENT


คู่มือในการใช้หนังสือเล่มนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 1 2 3 กระบวนการ HACKATHON เป็นเครื่องมือหนึ่งที่นิยมใช้ กับกลุ่มนักพัฒนาและนักสร้างสรรค์โดยมีระยะเวลาเป็นตัว กําหนด นับตั้งแต่การเริ่มระดมความคิด การค้นคว้าหาข้อมูล รอบด้าน ตลอดจนการนําเสนอไอเดีย เพื่อแปรเปลี่ยนจาก ความคิด ให้กลายเป็นสิ่งที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดได้จริง จุดประสงค์สําคัญ คือ การสร้างสรรค์ไอเดีย นวัตกรรม แพลตฟอร์มสื่อสุขภาวะ ที่สามารถใช้เป็น “เครื่องมือ” ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ Hackathon ก็เหมือนการรวมทีมของตัวเทพ ตัวจี๊ด นักสร้างสรรค์ที่อาจจะเป็นหัวกะทิผู้มีอุดมการณ์และชอบความท้าทาย มาร่วมทํากิจกรรม เพื่อสร้างนวัตกรรมในระยะเวลาอันสั้น และนําเสนอผลงานให้คณะกรรมการตัดสินว่าผลงานของใคร สามารถต่อยอดได้จริง พร้อมรับทุนสนับสนุนจาก สสส. ลงมือปฏิบัติการจริงมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3เดือน


จํานวน 116 หน้า ที่ปรึกษา ผศ.ดร.พรไทย ศิริสาธิตกิจ วรเชษฐ เขียวจันทร์ เรียบเรียงเนื้อหา ฮาริส มาศชาย ดร.จิราพร ช่อมณี ดร.ทัศนาวดีแก้วสนิท ดร.ปัทมาวดีวงษ์เกิด ผศ.ณัฐพงษ์หมั่นหลี ออกแบบปก/ศิลปกรรม ปริวัตร กิจนิตย์ชีว์ จัดพิมพ์โดย : บริษัท ยกกําลังสุข จํากัด สนับสนุนโดย : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.


คํานํา ทําไมต้อง HACKATHON ??????? หลายคนสงสัยว่า..ทําไมต้อง HACKATHON ทั้งๆที่เราสามารถชวนคนรุ่นใหม่มาสร้างสรรค์ หรือผลิตสื่อเป็นผลงานได้เลย ^^ แรกๆเราก็คิดแบบนั้น แต่ด้วย โลก..มันเปลี่ยน ภูมิทัศน์สื่อย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามแบบก้าวกระโดด ยิ่งโควิดเป็นตัวเร่งให้เกิด Disrup ส่งผลให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะด้านสื่อและ เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเห็นได้ชัด HACKATHON จึงเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ส่งเสริมต่อกระบวนการคิด สร้างสรรค์ ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่กล้าคิด ออกแบบ สร้างสรรค์ แพลตฟอร์มสื่อสุขภาวะ สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างสมดุลให้เกิดนิเวศสื่อสุขภาวะ


สารบัญ รู้จักเรา..สสส. Hackathon คือ ? Design Thinking กระบวนการสําคัญต่อการสร้างสรรค์ไอเดีย inside เข้าใจ..ปัญหาสังคม


สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 และอยู่ภายใต้การกํากับคูแล โคยคณะกรรมการ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เริ่มคําเนินงานเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2544 ด้วยเจตนา ที่จะให้มีกองทุนเพื่อทําหน้าที่ในการโน้มนําและสนับสนุนให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมสร้างเสริม สุขภาพทั้งค้านร่างกาย จิตใจ สิ่งแวคล้อม และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอันตราย จากการบริโภคสุราและยาสูบ หรือสารอื่นที่ทําลายสุขภาพ หรือจากพฤติกรรมการดํารงชีวิต ที่ไม่ถูกต้อง รู้จักเรา..สสส. วิสัยทัศน์ "ทุกคนบนแผ่นดินไทย มีขีดความสามารถ สังคม สิ่งแวคล้อม ที่เอื้อต่อสุขภาวะ' " หมายถึง ทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติสัญชาติสถานะทาง เศรษฐกิจและสังคม ควรมีความรู้ความสามารถที่จะดูแลตนเองและครอบครัวให้มีสุขภาวะที่ดี รวมถึง สังคมไทยและสภาพแวคล้อม ที่รวมถึงการมีกฎหมาย มาตรการ ค่านิยม วัฒนธรรม และระบบสุขภาพที่สนับสนุนและเอื้ออํานวยให้ทุกคนสามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีสุขภาวะ ' สุขภาวะ (well being) หมายถึง การดํารงอยู่ในสภาวะที่มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิตทางสังคม และทางปัญญา


พันธกิจ "จุคประกาย กระตุ้น สาน และเสริมพลัง บุคคล และองค์กรทุกภาคส่วน ให้มี ขีคความสามารถและสร้างสรรค์ระบบสังคม ที่เอื้อต่อการมีสุขภาว:” สสส. เป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสุขภาพไทย มีบทบาทหน้าที่ในการจุดประกายกระตุ้น และสนับสนุนพัฒนาการของระบบสุขภาพให้เป็นไปในทิศทางที่พึ่งประสงค์ตามวิสัยทัศน์ ข้างต้น สสส.ไม่มีบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติการประจําหรือปฏิบัติการซ้อน แต่ สสส. จะดําเนินงานด้วยการส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ที่รวมเรียกว่า “ภาคี" โดย สสส. เน้นบทบาทการพัฒนาความเข้มแข็งของระบบสุขภาพในส่วนที่เป็นภาคสังคม ท้องถิ่น และภาคนโยบายสาธารณะ สสส. ไม่มีภารกิจให้บริการสุขภาพแต่อาจสนับสนุน ให้การบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพสอดรับกับพัฒนาการของภาคสังคมท้องถิ่น และ นโยบายสาธารณะ สสส.จะดําเนินบทบาท ดังนี้ ㆍ จุดประกาย กระตุ้น และสนับสนุนงบประมาณสมทบแก่ภาคีผู้รับผิคชอบนโยบาย สาธารณะ เพื่อเกิดการเรียนรู้ตระหนักถึงปัญหาของโทษภัยของ สุรา ยาสูบ และ ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อสุขภาพ เพื่อให้ภาคีเหล่านี้ร่วมดําเนินมาตรการลดปัจจัยเสี่ยง ดังกล่าว มาตรการการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และมาตรการสร้างเสริม สุขภาพ ㆍ กระตุ้นและสนับสนุนภาคีวิชาการ ภาปฏิบัติการ ภาคืนโยบาย ให้ทํางานร่วมกัน เพื่อพัฒนาความรู้กระบวนการเรียนรู้และจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ㆍ สนับสนุนงบประมาณสมทบเพื่อพัฒนาขีคความสามารถบุคลากรและการบริหาร จัดการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในองค์กร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน ㆍ กระตุ้นและสนับสนุนงบประมาณเพื่อส่งเสริมบทบาทของสื่อสาธารณะ สื่อมวลชน และเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนค่านิยม ความเชื่อ พฤติกรรมของประชาชน ให้ไปสู่การลคปัจจัยเสี่ยงและเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ


ยุทธศาสตร์การทํางานสร้างเสริมสุขภาพ "ยุทธศาสตร์หลัก : สานสามพลัง" ยุทธศาสตร์"สานสามพลัง" ประกอบด้วยพลังทางปัญญา พลังทางสังคม และพลัง นโยบาย เป็นยุทธศาสตร์หลักสําหรับขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหาสุขภาวะ ที่ยากและสําคัญในสังคมไทยอย่างสร้างสรรค์ที่กองทุนได้ใช้อย่างได้ผลตลอดมากองทุนยัง คงใช้ยุทธศาสตร์นี้เป็นยุทธศาสตร์หลักต่อไป โดยกองทุนเป็นกลไกที่ช่วยสร้างความเข้มแข็ง และสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมโยงของ "พลัง" ทั้งสาม ในการดําเนินพันธกิจคังกล่าว สสส.จะใช้ขีคความสามารถในการจัดการและจัด งบประมาณสมทบเพื่อการจุดประกาย กระตุ้น และสนับสนุนเพิ่มประสิทธิภาพ แต่มิใช่จัด งบประมาณให้ในลักษณะงานประจําหรือที่มิได้พัฒนาแนวคิคแนวทางใหม่ๆ พัฒนาคนและองค์กร สื่อสารสร้างพลัง ปัญญา ไตรพลัง นโยบาย สังคม สร้างสรรค์สังคม หนุนพลังชุมชน จุดประกายนวัดกรรม


ยุทธศาสตร์เฉพาะ 1. พัฒนาขีคความสามารถของบุคคลและองค์กรให้เท่าทันพลวัตของปัจจัยค่างๆ ที่ กระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งให้มีขีคความสามารถในการทํางานเชิงรุก ทั้งที่เป็นงานเฉพาะด้าน และการบูรณาการเชื่อมโยงข้ามภาคส่วน (รัฐ วิชาการ เอกชน ประชาสังคม องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ชุมชน ฯลฯ) ข้ามประเด็น และข้ามพรมแดนในการสร้างเสริมสุขภาพในระดับ ภูมิภาคและระดับโลก 2. พัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมทางสังคมเพื่อให้มีกลและวิธีการ ใหม่ๆ ในการตอบสนองต่อปัญหาใหม่ และต่อความต้องการของภาค 3. เสริมสร้างศักยภาพของชุมชนและท้องถิ่น สนับสนุนกิจกรรมเพื่อการ ความเข้มแข็งเชิงระบบและการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นอันรวมถึงผู้นํากลุ่มองค์กร ชุมชนทั้งในเชิงพื้นที่ และในลักษณะอื่นๆ 4. พัฒนาระบบและกลไกทางสังคม ที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาว ซึ่งรวมถึงระบบและ กลไกนโยบาย กฎหมาย และกลไกทางสังคมอื่นๆที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพโดยเฉพาะ ให้เอื้อต่อการลดความเหลื่อมล้ค้านสุขภาพ 5. พัฒนาระบบการเรียนรู้และสื่อสารสาธารณะ โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้าน การจัดการความรู้ข้อมูล การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในองค์กร สสส. และภาคีทั้งหมด ให้เหมาะกับบริบทการสื่อสารใหม่ โครงการสร้างเสริมสุขภาพที่สสส. ให้การสนับสนุน สสส. เป็นองค์กรขนาคเล็ก กระบวนการทํางานจึงต้องอาศัยความร่วมมือของเครือข่าย ทํางานผ่านกลไกทางสังคมต่างๆด้วยเหตุนี้กระบวนการทํางานและการสนับสนุนโครงการจึงมี ลักษณะเปิดกว้างทั้งในส่วนของการสนับสนุนและสร้างความร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายทุก ลักษณะ


สสส. แบ่งช่องทางการสนับสนุนและสร้างความร่วมมือออกเป็น 2 ช่องทาง ดังนี้ (1) การสนับสนุนโครงการเชิงรุก ดําเนินการโดย สสส. กําหนดประเด็นที่จะพัฒนา งานสร้างเสริมสุขภาพทั้งด้านการลดปัจจัยเสี่ยงและเสริมสร้างสุขภาวะขึ้น และเป็นฝ่าย รุกเข้าไปทําการเชื่อมประสานภาคีที่มีศักยภาพทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลง ในประเด็นดังกล่าว ทั้งในระดับของการกําหนดเป้าหมาย และการพัฒนาสู่โครงการเพื่อ ดําเนินงานร่วมกัน (2) การสนับสนุนข้อเสนอโครงการทั่วไป (Open Grant) มีแนวคิดในการสนับสนุน โครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาคเล็กสําหรับภาคีรายย่อย เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคล ชุมชน องค์กรทั่วไป ที่สนใจได้ริเริ่มทําโครงการที่สร้างสรรค์ตรงกับความต้องการ และปัญหาของพื้นที่ ตลอคจนสนับสนุนการพัฒนาทักษะ วิธีคิด และเพิ่มขีคความสามารถแก่ภาคีเครือข่ายในการ ทํางานค้านการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเปิดรับข้อเสนอโครงการ ตลอดทั้งปีโคยประเด็นหลักที่ สสส.มุ่งสนับสนุน ประกอบด้วย การลคละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การลคละเลิกการบริโภคยาสูบ การลคอุบัติเหตุทางถนนและสร้างเสริมความปลอดภัย การป้องกัน/แก้ไขปัญหายาเสพติด การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น การป้องกัน/แก้ไขปัญหาความรุนแรง การผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัย การส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกําลังกาย การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน การสร้างเสริมสุขภาพจิต/การจัดการอารมณ์และความเครียด การสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา อาทิกิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมศิลปวัฒนธรรม กิจกรรม ที่เชื่อมโยงกับความเป็นศาสนา


โครงการที่เข้าข่ายได้รับการพิจารณาสนับสนุนจาก สสส. โครงการที่เข้าข่ายจะได้รับการพิจารณาสนับสนุนจาก สสส. จะต้องมีดังต่อไปนี้ 1. เป็นโครงการที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ วัตถุประสงค์ของกองทุน และ สอดคล้องกองทุนตลอดจนสอดคล้องกับแผนการดําเนินงานของกองทุนแผนใดแผนหนึ่งที่ คณะกรรมการเห็นชอบไว้ซึ่งจะมีการปรับปรุงเป็นประจําทุกปี 2. เป็นโครงการที่เข้าข่ายการสนับสนุนประเกทใดประเภทหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 2.1 โครงการด้านการพัฒนาและปฏิบัติการ หมายถึง โครงการที่มีลักษณะ เป็นการฝึกอบรม การรณรงค์การจัดกิจกรรม หรือพัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม หรือการ พัฒนาศักยภาพ สมรรถนะของภาคีเครือข่าย หรือการปฏิบัติการในด้านการสร้างเสริม สุขภาวะ ทั้งนี้ต้องไม่ใช่งานประจําที่คําเนินการอยู่แล้ว 2.2 โครงการด้านการศึกษาวิจัย หมายถึง โครงการที่มีลักษณะการศึกษาวิจัย การทบทวนองค์ความรู้การวิจัยและพัฒนา การประเมินผล รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพด้วย 2.3 โครงการด้านการอุปถัมภ์กิจกรรม หมายถึง โครงการที่มีลักษณะการให้ทุน แก่กิจกรรมด้านการกีฬา ศิลปวัฒนธรรม หรือกิจกรรมสาธารณะอื่นเพื่อเป็นสื่อกลางในการ สร้างความรู้และค่านิยมในการสร้างสุขภาพ 3. เป็นโครงการที่ควรมีลักษณะเพิ่มเดิม ดังนี้ 3.1 เป็นโครงการริเริ่มปฏิบัติการใหม่ๆ หรือกระบวนการใหม่ๆ 3.2 เป็นโครงการมุ่งสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีในกระบวนการวางแผน 3.3 เป็นโครงการที่มีศักยภาพที่จะดําเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน หรือขยายผล 3.4 เป็นโครงการที่องค์กรท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นสมทบงบประมาณหรือทรัพยากรอย่างอื่น 3.5 หากเป็นโครงการที่มีการคําเนินงานมาก่อน ต้องแสดงเหตุผลหรือข้อมูลแจ้งชัดว่า จะเพิ่มเติมคุณค่าหรือก่อคุณประโยชน์เพิ่มเติมจากโครงการเดิมอย่างได 3.6 ไม่เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตสุขาหรือยาสูบหรือสินค้า 3.7 ไม่เป็นโครงการที่มีจุดมุ่งหมายหรือเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ทางการเมีองอย่าง 3.8 ไม่เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการหาทุน ให้รางวัล หรือจัคซึ้อ 3.9 ไม่เป็นโครงการที่มีลักษณะธุรกิจหากําไรหรือเป็นการลงทุนเพื่อแสวงหากําไร 3.10 ไม่เป็นโครงการด้านการรักษาพยาบาล 3.11 ไม่เป็นโครงการให้บริการในลักษณะสงเคราะห์หรือมุ่งจัดหาครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง 4. เป็นโครงการที่เสนอโดยหน่วยงานหรือบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ 5. เป็นโครงการที่มีแผนกิจกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และมีความเป็น ไปได้ในทางปฏิบัติตลอดจนมีแผนการใช้งบประมาณอย่างประหยัด สมเหตุสมผล


Hackathon คือ ?


Hackathon กระบวนการเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม แบบเร่งด่วน คําว่า “แฮกกาธอน (Hackathon)” มาจากการรวมคําว่า “แฮก (Hack)” ซึ่งในที่นี้หมายถึง การสร้างสิ่งใหม่ กับ “มาราธอน (Marathon)” ที่หมายถึง การทํางานอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดพักเหมือนกับการแข่งขันวิ่ง มาราธอน รวมกันแล้วให้ความหมายถึง การสร้างสิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง กล่าว คือ เป็นกิจกรรมการแข่งขันเพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม ใหม่ภายใต้โจทย์ที่ได้รับ (Themes) ภายในระยะเวลาจํากัด เช่น 12 ถึง 48 ชั่วโมง เป็นต้น การนํา Hackathon มาใช้ในการพัฒนาคนรุ่นใหม่สู่การเป็น “นักสร้างสรรค์ไอเดีย สื่อสารขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ” ภายใต้Hackathon 4 Health : คิดเปลี่ยนสุข ภาวะ เพื่อระดมสมองแก้ปัญหาสุขภาพโดยใช้ระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ ช่วยกระตุ้นให้เยาวชนสามารถเรียนรู้สร้างสรรค์ไอเดีย แพลตฟอร์มสื่อสุขภาวะ รูปแบบสื่อที่มีความเหมาะสม เช่น Music Video , Cartoon , Manga , Shot film , Motion Graphic , Video Blog , Board Game , Application , Drama Fantasy , Game , Line sticker , Wed site , โครงงาน , สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เป็นต้น สามารถเป็นเครื่องมือสําหรับการจัดกิจกรรมเผยแพร่และขยายผลในโรงเรียนหรือชุมชน รวมถึงผ่านสังคมออนไลน์ได้ในประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์และบริบทในพื้นที่ เพื่อ ร่วมสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการสร้างสังคมสุขภาวะ


Hackathon  หมายถึง การสร้างนวัตกรรมแบบเร่ง ด่วน เกิดจากคําสองคํา คือ “Hack” ที่หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ชอบคิดใหม่ทําใหม่และ “Marathon” หมายถึง กิจกรรมที่ใช้ระยะเวลาจัดกัด เมื่อนํามารวมกันจึงแปลว่า การรวมตัวกันเพื่อทํา กิจกรรมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง


Hackathon 4 Health เครื่องมือหนึ่งของ “คิดดีไอดอล” นักสื่อสารสร้างสรรค์ไอเดียสุขภาวะเป็นการค้นหาบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลรุ่นใหม่ที่สามารถสร้างนวัตกรรมไอเดียความคิดแบบเร่งด่วน จากกิจกรรม Hackathon เพื่อการสร้างสรรค์แพลตฟอร์มสื่อสุขภาวะ ที่น่าสนใจ สามารถดําเนินการผลิตและจัดกิจกรรมได้จริง จากกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั่วประเทศ ผ่านการเชื่อมโยงมิติมิติสุขภาวะ 4 Health ประกอบด้วย กาย ใจ อารมณ์และสังคม ที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพ โดยเฉพาะประเด็นสําคัญที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ สสส. ใน 7 ประเด็น ได้แก่บุหรี่เหล้า-สิ่งเสพติด การพนัน อุบัติเหตุอาหาร กิจกรรมทางกาย มลพิษและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสุขภาพจิต เป็นความเสี่ยงด้านสุขภาพในการ ปรับตัวการใช้ชีวิตในยุคโควิดที่ต้องสร้างความตระหนักรู้และความรอบรู้ด้าน สุขภาวะ (Health Literacy)ตามความสนใจที่เอื้อต่อการสร้างวิถีสุขภาวะ 4 มิติ ผ่านยุทธศาสตร์สําหรับการขับเคลื่อนงานที่สอดคล้องกับ แผน 10 ระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญาในการใช้สื่อ เพื่อขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะที่ต้องสร้างความตระหนักรู้และ ความรอบรู้ด้านสุขภาวะ (Health Literacy)


มีใครบ้าง..ในแคมป์Hackathon 1. ทีมคิดดีไอดอล (Organizer) คณะทํางานอันประกอบไปด้วยเครือข่ายคิดดีไอดอล ใน 3 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคใต้ภาคเหนือ ภาค อีสาน เป็นผู้จัดทําหน้าที่อํานวยความสะดวกในการจัดงาน สถานที่ การประสานงานรวมไปถึง การดําเนินงานให้เป็นไปตามที่วางแผนไว้ 2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม (Hacker) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ที่สมัครผ่านค่ายบ่มเพาะไอเดียสุขภาวะ จะเรียกว่าเป็น Hacker แต่หลายคน อาจเข้าใจว่าเป็นคําที่ไม่ดีมันเป็นชื่อที่เราเรียกเท่านั้น โดยจะแบ่งเป็นทีมประมาณ 3-5 คน 3. ผู้สนับสนุน (Sponsor) ภายใต้การสนับสนุนโดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. โดยมี ศูนย์สร้างสรรค์สื่อเพื่อเด็กและเยาวชน เป็นหน่วยจัดการในการดําเนินงานร่วมกับภาคีในพื้นที่ 4. ผู้เชี่ยวชาญ (Mentor) Mentor คือ ผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านเทคนิคและด้านเนื้อหา คอยให้คําปรึกษาความรู้ความเข้าใจ รวมถึงคัดกรองไอเดียที่เหล่าผู้ร่วมกิจกรรม (Brainstrom) 5. กรรมการ (Director) กรรมการผู้ตัดสินเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ที่ทางโครงการได้พิจารณาร่วมคัดเลือกผลงานที่มี ประโยชน์ต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงประเด็นสุขภาวะในการดําเนินกิจกรรมในพื้นที่ปฏิบัติการ ได้จริง 6. ผู้สังเกตการณ์(Observer) อาจจะเป็นบุคคลที่ะมาเติมเต็มเพื่อจุดประสงค์อื่น ในการมาร่วมสนับสนุน มาหาความรู้หา ประสบการณ์เป็นต้น


โจทย์ของ Hackathon คืออะไร ? สร้างสรรค์ไอเดีย แพลตฟอร์มสื่อสุขภาวะ


ผู้เข้ากิจกรรมแฮกกาธอนต่างรู้ดีว่า.. จะได้รับโจทย์ที่ท้าทายความสามารถในระยะเวลาอันจํากัด เพื่อร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์โดนใจ เหล่ากรรมการและ ผู้รับประโยชน์จากสื่อ โดยส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับสื่อนวัตกรรมที่ทันสมัยในยุคดิจิทัล เช่น ดิจิทัลทรานส์ฟอร์ม (Digital Transformation) ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือ ระบบฐานข้อมูลที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจได้ (Data-Driven Business) หรือ อื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมด้านสุขภาวะ โดยไอเดียส่วนใหญ่ต้องมีSolution ที่ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะ มิติปัญหาสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ในชีวิตวิถีใหม่ สภาพปัญหาครอบครัว สังคมผู้สูง อายุการรู้เท่าทันสื่อ เป็นต้น ซึ่งอาจถูกนําเสนอในรูปแบบ Conceptual, Desing, Demo Application เป็นต้น


PROCESS กติกาและขั้นตอน Hackathon 1 เริ่มต้น.. ด้วยการชี้แจงกติกา และโจทย์ การดําเนินงาน ภายใต้เงื่อนไขสําคัญของเวลาที่กําหนด ไอเดียสร้างสรรค์ ระบุพื้นที่ปฏิบัติการกลุ่ม เป้าหมายผู้รับผลประโยชน์ มีกิจกรรมสื่อ (Activity) หรือ ผลงาน สื่อ (Product) อย่างน้อย 1 ชิ้นงาน ระยะเวลาในการ Hackathon ออกแบบงบประมาณ ให้เหมาะสม


PROCESS Meeting with Mentor 2 ช่วง Meeting With Mentor แต่ละทีมหมุนเวียนเข้ากลุ่มเพื่อขอคํา ปรึกษาจาก Mentor ที่ทีมงานจัดไว้ให้ โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเนื้อหา 2) ด้านเทคนิค 3) ด้านการออกแบบ


PROCESS Group work 3 ช่วง Group work แต่ละทีมทําการออกแบบนวัตกรรม ตามโจทย์ในห้อง Breakout Room ที่ทีมงานจัดไว้ให้


PROCESS Pitching 4 คิดค้นและสร้างสรรค์ออกแบบ Platform กิจกรรมสื่อ (Activity) หรือ ผลงานสื่อ (Product) ในรูปแบบ Demo/Prototype อย่างน้อย 1 ชิ้นงาน


ก่อนเข้าร่วมแคมป์Hackathon กลุ่มเป้าหมาย : อายุ 15 ปีขึ้นไป ไม่น้อย 60คน / ครั้ง ระยะเวลา 3-8 ชั่วโมง ชี้แจงวัตถุประสงค์ 1 2 3 4 เข้าใจประเด็นสุขภาวะ เข้าใจรูปแบบแพลตฟอร์มสื่อ ประกาศโจทย์โครงการ ขั้นตอนการดําเนินงานกิจกรรมค่ายบ่มเพาะไอเดียสุขภาวะ เครื่องมือ Pre-Post Test : ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาวะ คิดดีโปรเจก Canvas เกียรติบัตรออนไลน์สำหรับผู้ผ่านการอบรม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เข้าใจแนวคิดประเด็นสื่อสุขภาวะ และสามารถรวมกลุ่มเขียนส่งไอเดียแนวคิดเพื่อรับคัดเลือกเข้าร่วมในการ เข้าร่วม แคมป์ Hackathon ไม่น้อยกว่า 6 กลุ่มต่อรุ่น on ground on air on line


โจทย์การเข้าร่วม Hackathon 4Health คิดค้นและสร้างสรรค์เพื่อออกแบบ Platform ระดมไอเดีย สื่อเป็นเครื่องมือ ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ 2 ระบุพื้นที่ปฏิบัติการและ กลุ่มเป้าหมายผู้รับผลประโยชน์ กายภาพ ไม่น้อย 40 คน ออนไลน์ไม่น้อย 5,000 คน มีกิจกรรมสื่อ (Activity) หรือ ผลงานสื่อ (Product) อย่าง น้อย 1 ชิ้นงาน 3 4 5 6 ระยะเวลาในการร่วมกิจกรรม Hackathon จํานวน 24 ชั่วโมง ออกแบบงบประมาณให้เหมาะสม กับกิจกรรม ไม่เกิน 35,000 บาท 1 ระบุประเด็นสุขภาพ ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์พร้อมระบุที่มาและแหล่งอ้างอิง


Hackathon 4Health คิดค้น+สร้างสรรค์ = Platform ตอบโจทย์ปัญหา ??? ลงมือ...ทํา คือ คําตอบ


Meeting With Mentor Group work Breakout Room Pitching idea 30 เสริมทักษะผ่าน Design Thinking เพื่อการสร้างสรรค์ให้เกิด Empathize ประเด็นสุขภาวะ 90 Brainstorm ระดมความคิด ไอเดียสุขภาพผ่าน Lean Canvas 15 แลกเปลี่ยนไอเดียด้วย Creativity ประเด็นสุขภาวะกับทีม Coach ขั้นตอนการดําเนินงานกิจกรรม นําเสนอแนวคิดไอเดีย ผ่าน Prototype แพลตฟอร์มสื่อสุขภาวะ 10 1 2 3 4


กระบวนการดําเนินงานกิจกรรม Hackathon 4 Health : สร้างสรรค์แพลตฟอร์มไอเดียสุขภาวะ 10 Steps Hackathon 4Health 1. Pain Point คือ ศึกษาปัญหาด้านสุขภาวะในพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ เพื่อ ออกแบบวิธีการในการแก้ไขปัญหาในชุมชนของตนเอง 2. Empathize ทําความเข้าใจกับปัญหาให้ถ่องแท้ตลอดจนเข้าใจผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย หรือ เข้าใจในสิ่งที่เราต้องการแก้ไข อาจเริ่มตั้งด้วยการตั้งคําถาม สร้างสมมติฐาน กระตุ้นให้ เกิดความคิดที่นําไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ 3. Brainstorm การระดมความคิดเพื่อปลุกไอเดียสร้างสรรค์เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมนํามา ใช้ในการระดมความคิดเพื่อหาไอเดียสร้างสรรค์ไหม่ๆ หรือใช้ในระดมความคิดเพื่อแก้ไข ปัญหา จากหลายๆมุมมอง 4. Define เมื่อเรารู้ถึงข้อมูลปัญหาที่ชัดเจน ตลอดจนวิเคราะห์อย่างรอบด้านแล้ว ให้นํา เอาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อที่จะคัดกรองให้เป็นปัญหาที่แท้จริง กําหนดหรือบ่งชี้ ปัญหาอย่างชัดเจน เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีทิศทาง


5. Solution การคิดรวบรวมเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับสถานการณ์ที่เป็น ปัญหาเข้าด้วยกัน เพื่อหาทางแก้ไขอุปสรรค ที่เกิดขึ้นให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ผ่านรูป แบบเเพลตฟอร์มสื่อขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะได้ 6. Ideate การระดมความคิด คือการนําเสนอแนวความคิดตลอดจนแนวทางการ แก้ไขปัญหาในรูปแบบต่างๆอย่างไม่มีกรอบจํากัด โดยการระดมความคิดในหลาก หลายมุมมอง หลากหลายวิธีการ 7. Timing การมีกรอบเวลาในการทํางาน ทําให้ผู้ปฏิบัติต้องบริหารเวลา เพื่อให้ บรรลุเป้าตามกรอบเวลาที่วางไว้ 8. Development การพัฒนาเครื่องมือสื่อสุขภาวะเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงกับ กลุ่มเป้าหมายผ่านการคิด ออกแบบ วางแผน และลงมือทํา 9.Pitch การนําเสนอไอเดียเพื่อโน้มน้าวใจกรรมการ pitch ผลงานเพื่อขายไอเดีย โดยมีเวลาจํากัดในการนําเสนอ และจะมีการถามตอบกรรมการตลอดการเเข่งขัน 10.Prototype การออกแบบแพลตฟอร์มสื่อสุขภาวะซึ่งเป็นนวัตกรรมขั้น Prototype เป็นการสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบจริงก่อนที่จะนําไปผลิตจริง


inside เข้าใจ..ปัญหาสังคม


QUICK GUIDE วิธีคิด แบบไวไว


QUICK GUIDE วิธีคิด แบบไวไว 3 STEPS 1 2 3 อ่าน คิด ลงมือทํา ประเด็นให้ออก และจินตนาการเป็นภาพ ดูตัวอย่างแรงบันดาลใจแล้ว มาสร้างสรรค์ต่อยอดไอเดียให้สอดคล้องกับพื้นที่ ใช้TEMPLATE ในคู่มือออกแบบ


KNOW YOURSELF FIND GOALS ANALYZE GOAL PLAN-GO รู้จักตนเอง หาเป้าหมาย วิเคราะห์-ตั้งเป้าหมาย วางแผน-ลงมือทํา


เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ จุดเน้นการทํางานที่เป็นเป้าหมายหลัก 7 เป้าหมาย และ 1 เป้าหมายพิเศษเพื่อใช้รองรับและสนับสนุน การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ โดยใช้เป็นเป้าหมายร่วมของ สสส. และ ภาคีเครือข่ายในการทํางานสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงสําคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพ ได้แก่ (1) ลดอัตราการบริโภคยาสูบ (2) ลดอัตราการบริโภคสุราและสิ่งเสพติด (3) เพิ่มสัดส่วนการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุล (4) เพิ่มสัดส่วนการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (5) ลดอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนน (6) เพิ่มสัดส่วนผู้มีสุขภาพจิตดี (7) ลดผลกระทบสุขภาพจากมลพิษทางสิ่งแวดล้อม (8) เตรียมพร้อมรับปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่และปัจจัยเสี่ยงอื่น โดยการดําเนินงานในทุกประเด็นจะต้องคํานึงถึงบริบทที่แตกต่างกันของพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย และเป็นการดําเนินการเพื่อสุดช่องว่างและต้องไม่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้าทางสุขภาพที่มากขึ้น


Click to View FlipBook Version