The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความการวิจัย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by อภิเดช จิตรมุ่ง, 2021-07-11 11:01:27

บทความการวิจัย

บทความการวิจัย

บทความวิจัย

การมสี ว่ นรว่ มของผู้มสี ่วนไดส้ ่วนเสียในการจดั การศึกษา
ตามแนวทางปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี งของโรงเรยี นบา้ นดอนธปู
(Participation of stakeholders in the education management
comply with Economic sufficiency philosophy of Ban Dontoop School.)
*********************************************************************

อภเิ ดช จติ รมงุ่ *

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเพื่อทราบ
ความต้องการ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการมีส่วนร่วมในการ จัด
การศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านดอนธูป โดยใช้วิธีวิจัยเชิงพรรณนา
ประชากรมจี ำนวนท้ังสิ้น 409 คน ประกอบดว้ ย ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา
ขน้ั พ้นื ฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรยี น ได้กล่มุ ตวั อยา่ ง จำนวน 202 คน โดยใชว้ ิธกี ารสมุ่ แบบเจาะจง
เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามการมีส่วนร่วมแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งมี
ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้ง 3 ชุด คือ 0.99, 0.90 และ 0.74 ตามลำดับ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ
โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน วเิ คราะห์ข้อมลู เชงิ คุณภาพโดยการวิเคราะห์เน้อื หา ผลการวจิ ัยพบวา่
1. การมีสว่ นร่วมของผู้มสี ว่ นไดส้ ่วนเสียในการจัดการศกึ ษาตามแนวทางปรชั ญาของเศรษฐกิจ
พอเพยี งของโรงเรยี นบา้ นดอนธปู ในด้านการพัฒนาหลักสูตร การจดั การเรียนการสอน การจัดระบบบริหาร
จัดการ และการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม พบว่า โดยภาพรวม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีส่วน
ร่วมในการจัดการศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านดอนธูป อยู่ในระดับ
ปานกลาง โดยมีส่วนร่วมรบั รู้อยู่ในระดับมาก ส่วนการร่วมทำ และร่วมคิด/ตัดสินใจ มีส่วนร่วมอยู่ในระดับ
ปานกลาง จำแนกเป็นรายกลุ่ม พบว่า กลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษา และกลุ่มนักเรียน มีส่วนร่วมอยู่
ในระดับมาก กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง และกลุ่ม
ผปู้ กครองนักเรยี น มสี ่วนรว่ มอย่ใู นระดับนอ้ ย
2. ความตอ้ งการ ปัญหา อปุ สรรคและข้อเสนอแนะ ของผมู้ สี ่วนได้สว่ นเสยี ต่อการเข้ามามีส่วน
ร่วมในการจัดการศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านดอนธูป พบว่า
ต้องการได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การได้รับ
ประสบการณ์ใหมๆ่ ทีส่ ามารถนำไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นการดำเนินชวี ติ ตอ้ งการให้โรงเรียนจัดกจิ กรรมเพื่อฝึกฝน
นกั เรียนในดา้ นความมคี ุณธรรมท่สี ำคญั หรือคุณธรรมพื้นฐานใหเ้ กดิ เปน็ นิสยั

* นายอภเิ ดช จิตรมุ่ง ผู้อำนวยการโรงเรยี นบา้ นดอนธปู สำนกั งานเขตพื้นทกี่ ารศึกษาประถมศกึ ษาสรุ าษฎรธ์ านี เขต 1

ปัญหา อุปสรรค คอื ผู้มีส่วนได้สว่ นเสยี ส่วนใหญ่ไม่เขา้ ใจถึงบทบาท ความสำคัญต่อการเข้ามา
มีส่วนร่วมจัดการศึกษาของโรงเรียนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้รับข้อมูลข่ าวสาร
เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการศึกษาของโรงเรียน สำหรับผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ไม่
สามารถเข้าร่วมได้ เนื่องจาก มีภาระการทำงาน ส่วนข้อเสนอแนะของผู้มสี ว่ นได้ส่วนเสีย คือ โรงเรียนควร
เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและสร้างความรู้ ความเข้าใจในบทบาทการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา
ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งของผู้มสี ่วนได้สว่ นเสยี

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ หน่วยงานด้านการศึกษา เช่น สำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาข้ันพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรยี น ควรกำหนดนโยบาย สนับสนุนการสร้างการมี
สว่ นรว่ มของผมู้ ีส่วนไดส้ ่วนเสียทกุ กลุ่ม ในการจัดการศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคญั : การมีส่วนร่วมในการจดั การศึกษาตามแนวทางปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง

* นายอภเิ ดช จิตรมุง่ ผอู้ ำนวยการโรงเรียนบา้ นดอนธปู สำนกั งานเขตพืน้ ท่ีการศึกษาประถมศึกษาสรุ าษฎรธ์ านี เขต 1

Abstract.
The purpose of this study were to study the participation of stakeholders and to
study the needs; problems and suggestions of stakeholders about participation in education
management comply with Economic Sufficiency philosophy of Ban Dontoop school.
Research methodology was descriptive research. The population were includes: teachers
and educational personnel; the Basic Education committee; students; parents; personnel
total 409 people. The samples total 202 by random specific. Quantitative data collected
by rating scale questionnaire with the reliability of 0.92. The qualitative data collected by
a structured interview. Analysis quantitative data by percentage, mean and standard
deviation. Qualitative data by content analysis. The research results found that:
The participation of stakeholders in the education management comply with
Economic Sufficiency philosophy of Ban Dontoop School in curriculum development
activities; teaching and learning; the management system and the environmental
management. The results found that every group of stakeholders involved in the education
management comply with the sufficiency economy philosophy of Ban Dontoop School
were moderate. They recognition participate in high level. On the other hand, They
participated to do; share ideas/decisions the moderate level. The teachers and educational
personnel participated and students at high level. The Basic Education Committee at moderate
level and parents participated at low level.
Need; problems and suggestions of stakeholders. The results found that the
stakeholders want to gain knowledge and accuracy understanding about the Economy
Sufficiency philosophy, to have new experience that can be applied in everyday life. The
problems were most stakeholders do not understand the role, importance of participation
in the education management comply with the Sufficiency Economic philosophy and the
school was not informed about the activities. The recommendation of the stakeholders such
as: the school should more announce the school activities related the sufficiency economy
philosophy to the parent; Should extend these activities to the community seriously.
Recommendations from the research including: the educational agencies should set policy
promoting the participation of stakeholder in the education management comply with
sufficiency economy philosophy. The basic education committee, parents should play role
in planning the sufficient economic project joining with the school. This will contribute to
the cooperation in the school.


Click to View FlipBook Version