The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นิตยสารปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mallisa2548, 2022-07-30 10:34:03

นิตยสารปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

นิตยสารปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

SUFFICIENCY
ECONOMY

ความพอประมาณ แ น ว พ ร ะ ร า ช ดำ ริ
ค ว า ม มี เ ห ตุ ผ ล ใ น ก า ร ดำ เ นิ น
ก า ร มี ภู มิ คุ้ ม กั น ที่ ดี ชี วิ ต อ ย่ า ง
พ อ เ พี ย ง

ป รั ช ญ า ค ว า ม รู้
ของในหลวง คุ ณ ธ ร ร ม
รัชกาลที่ ๙

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

sufficiency economy

“เศรษฐกิจพอเพียง” (sufficiency economy) เป็นปรัชญาที่
พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ จ้ า อ ยู่ หั ว พ ร ะ ร า ช ท า น พ ร ะ ร า ช ดำ ริ ชี้ แ น ะ แ น ว ท า ง
การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่
ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ
แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง
แ ล ะ ยั่ ง ยื น ภ า ย ใ ต้ ก ร ะ แ ส โ ล ก า ภิ วั ต น์ แ ล ะ ค ว า ม เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ต่ า ง ๆ

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ “ . . . ก า ร พัฒ น า ป ร ะ เ ท ศ จำ เ ป็ น
ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้าง
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัว พื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน
ที่ดีพอสมควรต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัย พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่
ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและ เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและ
การดำเนินการทุกขั้นตอน ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้ อุ ป ก ร ณ์ ที่ ป ร ะ ห ยั ด แ ต่ ถู ก ต้ อ ง
สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม ตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐาน
แ ล ะ วั ฒ น ธ ร ร ม จ า ก โ ล ก ภ า ย น อ ก ไ ด้ เ ป็ น อ ย่ า ง ดี ค ว า ม มั่ น ค ง พ ร้ อ ม พ อ ส ม ค ว ร
และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้าง
ค่อยเสริมความเจริญ และฐานะ

ท า ง เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ขั้น ที่ สู ง ขึ้ น โ ด ย
ลำ ดั บ ต่ อ ไ ป . . . ”

(๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)

๑. ยึดความประหยัด ๒. ยึดถือการ ๓. ละเลิกการ ๔. หาทางให้ ๕. ปฏิบัติตนใน
ตั ด ท อ น ค่ า ใ ช้ จ่ า ย ป ร ะ ก อ บ อ า ชี พ แข่ งขันแก่งแย่ง ชี วิ ต ห ลุ ด พ้ น แ น ว ท า ง ที่ ดี
ในทุกด้าน ลดละ ด้ ว ย ค ว า ม ถู ก ต้ อ ง ผ ล ป ร ะ โ ย ช น์ ใ น จ า ก ค ว า ม ทุ ก ข์ ล ด ล ะ สิ่ ง ชั่ ว
ค ว า ม ฟุ่ ม เ ฟื อ ย ซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต ท า ง ก า ร ค้ า แ บ บ ด้ ว ย ก า ร ใ ฝ่ ป ร ะ พ ฤ ติ ต น
ใ น ก า ร ใ ช้ ชี วิ ต ต่ อ สู้ กั น อ ย่ า ง ห า ค ว า ม รู้ ใ ห้ มี ต า ม ห ลั ก ศ า ส น า
รุ น แ ร ง รายได้เพิ่มพู น

sufficiency economy

ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและ
ประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับ
พอเพียง ๒ ประการ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่
ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่ ๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย
เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและ ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่
ก า ร บ ริ โ ภ ค ที่ อ ยู่ ใ น ร ะ ดั บ พ อ ป ร ะ ม า ณ เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่
จ ะ นำ ค ว า ม รู้ เ ห ล่ า นั้ น ม า พิ จ า ร ณ า ใ ห้
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจ เ ชื่ อ ม โ ย ง กั น เ พื่ อ ป ร ะ ก อ บ ก า ร ว า ง แ ผ น
เกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็น แ ล ะ ค ว า ม ร ะ มั ด ร ะ วั ง ใ น ก า ร ป ฏิ บั ติ
ไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัย
ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะ ๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง
เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ ประกอบด้วย มีความตระหนักใน
คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อม มีความอดทน มีความเพียร
รั บ ผ ล ก ร ะ ท บ แ ล ะ ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ด้ า น ต่ า ง ๆ ใ ช้ ส ติ ปั ญ ญ า ใ น ก า ร ดำ เ นิ น ชี วิ ต
ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของ
สถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน
อนาคต

sufficiency economy

ต้ น แ บ บ วิ ถี พ อ เ พี ย ง

หากพู ดถึงจังหวัดทางภาคเหนือของ
เมืองไทย เชื่อว่าหลายคนอาจจะยัง
ไ ม่ เ ค ย มี โ อ ก า ส ไ ป เ ยื อ น จั ง ห วั ด พ ะ เ ย า
มาก่อน แต่ใครจะรู้ว่าจังหวัดเล็กๆ
ที่มีประชากรไม่ถึง 5 แสนคนแห่งนี้
จะมีชุมชนพอเพียงต้นแบบ “พะเยา
โมเดล” ในฐานะหมู่บ้านต้นแบบ
เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง ดี เ ด่ น ร ะ ดั บ
ประเทศอย่าง “ชุมชนบ้านบัว”

ชุมชนบ้านบัว ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบ้าน
ตุ่น อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
เ ป็ น ห นึ่ ง ใ น ชุ ม ช น ที่ ไ ด้ น้ อ ม นำ ห ลั ก ก า ร
ท ร ง ง า น ห รื อ ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า แ ป ร สู่
ก า ร ป ฏิ บั ติ ส ร้ า ง จุ ด เ ป ลี่ ย น จ า ก อ ดี ต ที่
ชาวบ้านสะสมปัญหาด้านสุขภาพ มี
สารพิษในร่างกายถึงร้อยละ 90 ของ
ประชากร อันเป็นผลข้างเคียงมาจาก
ก า ร ใ ช้ ปุ๋ ย แ ล ะ ย า ฆ่ า ห ญ้ า ใ น ก า ร ทำ น า

สู่โครงการลด ละ เลิกสารเคมี
น้ อ ม นำ ป รั ช ญ า เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง ข อ ง
ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ปฏิวัติ
ชุมชน จนสามารถสร้างปรากฏการณ์
ให้บ้านบัวในวันนี้ ยืนหยัดเป็น
" ห มู่ บ้ า น ที่ ผ ลิ ต ข้ า ว อิ น ท รี ย์ ส่ ง ข า ย
ไ ป ทั่ ว ป ร ะ เ ท ศ "

sufficiency economy

หมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่นระดับประเทศ ปี2553

ค ว บ คู่ กั บ ก า ร เ ป็ น แ ห ล่ ง หั ต ถ ก ร ร ม
จักสานเข่ ง ตะกร้าไม้ไผ่รายใหญ่ที่ใช้
ภูมิปัญญาดั้งเดิม สร้างรายได้อย่างเป็น
กอบเป็นกำให้กับชาวชุมชน และต่อยอด
สู่ ก า ร เ ป็ น ห มู่ บ้ า น ท่ อ ง เ ที่ ย ว เ ชิ ง เ ก ษ ต ร
ด้วย 11 ฐานการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่วิถี
ชุ ม ช น ภ า ย ใ ต้ ต้ น ทุ น ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม แ ล ะ
ป ร ะ เ พ ณี ท้ อ ง ถิ่ น ที่ ช า ว บ้ า น ยึ ด มั่ น

ผลสำเร็จที่เด่นชัด คือ การส่งเสริมอาชีพ
แ ล ะ ก า ร พัฒ น า คุ ณ ภ า พ ชี วิ ต แ บ บ มี ส่ ว น
ร่ ว ม ภ า ย ใ ต้ ห ลั ก ข อ ง ป รั ช ญ า เ ศ ร ษ ฐ กิ จ
พ อ เ พี ย ง เ กิ ด จ า ก ค ว า ม ร่ ว ม แ ร ง ร่ ว ม ใ จ
และจิตสำนึกของคนในชุมชน ผ่านการ
ใ ช้ เ ว ที ป ร ะ ช า ค ม มี ก า ร บ ริ ห า ร จั ด ก า ร
ชุมชน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และ
ร่ ว ม กั น แ ก้ ไ ข ปั ญ ห า

ร ว ม ทั้ ง ร่ ว ม กั น รั ก ษ า คุ ณ ค่ า ท า ง
สั ง ค ม ที่ ดี ง า ม ทำ ใ ห้ ชุ ม ช น บ้ า น บั ว ไ ด้
รั บ ร า ง วั ล ช น ะ เ ลิ ศ ถ้ ว ย พ ร ะ ร า ช ท า น
ข อ ง พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ จ้ า อ ยู่ หั ว
รัชกาลที่ 9 ในฐานะหมู่บ้านต้นแบบ
เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง ดี เ ด่ น ร ะ ดั บ
ประเทศ เมื่อปี 2553

เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับใครหลายๆคนคงจะเป็นเศรษฐกิจที่เราสามารถเลี้ยงดูตนเองได้ให้มี
ความพอเพียง และอยู่ได้ด้วยตนเองโดยที่ไม่ต้องพึ่งพาหรือทำให้คนอื่นเดือดร้อน เป็นปรัชญาที่ชี้แนะ
แนวทางในการดำรงชีวิต ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ของปวงชนชาวไทยที่ทรงมีพระดำรัชมาอย่างช้านาน
และถูกพูดถึงกันอย่างมากมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้สามารถ
ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติใช้ในชีวิตนั้้นทุกๆคนสามารถนำมาปฏิบัติใช้
เองได้โดยยึดถือทางสายกลางในการนำมาปฏิบัติ อย่างดิฉันนั้น ครอบครัวของดิฉันมีฐานะปานกลาง
ไม่ถึงขั้นรวยแต่ก็ไม่ขัดสนมากนัก เป็นครอบครัวบ้านๆที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้
จริง พ่อของดิฉันทำอาชีพเพาะเห็ดขาย รายได้ไม่แน่นอนในแต่ละเดือน จึงต้องตัดยางไว้เป็นเงินเก็บ
เพราะเงินในส่วนที่ได้จากการขายเห็ดนั้นต้องนำมาลงทุนต่อและเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว พ่อของ
ดิฉันเป็นคนประหยัดมากๆ พ่อสอนเสมอว่าอะไรที่เราสามารถประหยัดได้ก็ควรประหยัด เช่นพ่อของ
ดิฉันเป็นคนชอบกินผักมากๆ รอบๆบ้านจึงมีแต่ผักสวนครัวที่พ่อทานและปลูกเอง แทนการไปซื้อผัก
จากท้องตลาดที่ไม่รู้ว่าฉีดยาฆ่าแมลงหรือไม่ ส่วนแม่ของดิฉันเป็นพนักงานบัญชีของบริษัทแห่งหนึ่ง
รายได้คงที่สามารถนำเงินเดือนที่ได้แบ่งเก็บไว้และใช้จ่ายซื้อของใช้เข้าบ้าน ตัวของดิฉันนั้น ได้รับทุน
เรียนฟรี ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ไปได้เยอะมาก เงินที่ได้รับในแต่ละเดือนนั้นหากตัดใช้จ่าย
ในแต่ละวันจะทำให้ฉันมีเงินเก็บเพิ่มขึ้น ดิฉันมักเก็บเงินไว้เสมอหากไม่มีเหตุจำเป็นจริงๆ เพราะแม่มัก
สอนเสมอว่าหากจะซื้อของควรคิดถึงความจำเป็นให้มากๆ แต่หากเป็นเรื่องอาหารการกินที่อยากกิน
จริงๆและไม่แพงจนเกินไปนั้น สามารถซื้อได้ตามความเหมาะสมและต้องทานให้หมด ดิฉันเป็นคนที่
ป่วยได้ยาก จากการที่ต้องมาอยู่หอพัก ห่างไกลจากครอบครัว ดิฉันจึงต้องดูแลตัวเองให้ไม่เจ็บป่วย
เพื่อที่จะไม่ให้พ่อแม่เป็นห่วง ซึ่งเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่เพียงแต่จะทำให้ดิฉันมีความพอประมาณ มี
เหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน แต่สอนให้ชีวิตของดิฉันนั้นมีสติ มีคุณธรรม และไม่เบียดเบียนผู้อื่น

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวปรัชญาที่เราทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้ การ
ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานทางสายกลาง โดยต้องคำนึงถึงหลัก
การ 3 ห่วง คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ซึ่งจะต้องครอบคลุมไป
ถึงความรู้และคุณธรรมของตัวเราที่เป็นเงื่อนไขหลักๆ 2 ประการที่ให้เราปฏิบัติและทำให้ได้

นางสาวกังสดาล ศรีสุวรรณ เลขที่ 16 ม.5/3

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่
ระดับครัวเรือน ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากแนวพระราชดำริของพระบาทสาม
เด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชที่ให้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่ประชาชนชาวไทยมานาน คือ
การยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง สามห่วง สองเงื่อนไขที่ช่วยให้ประชาชนทุกคนใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
และปราศจากความทุกข์

เศรษฐกิจพอเพียง ไม่เพียงแต่สามารถนำไปปรับใช้กับระดับรัฐหรือชุมชนที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น เรา
ทุกคนก็สามารถนำมาปรับใช้ได้ และเศรษฐกิจพอเพียงก็มีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในวงกว้าง
สำหรับครอบครัวของฉันก็นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เช่นกัน เริ่มต้นจากตัวของฉันก่อน ฉันเป็นเด็ก
มัธยมปลายที่โรงเรียนจะมีเงินเดือนให้ทุกเดือน เงินส่วนนี้ฉันจะไม่ใช้โดยเด็ดขาด เมื่อได้รับเงินเดือนจาก
โรงเรียน ฉันจะนำเงินก้อนนี้ไปฝากไว้อีกบัญชีหนึ่งที่ไม่มีบัตรATM ทำให้ยากต่อการถอนเงิน เงินส่วนนี้
ฉันจะเอาไว้ใช้เมื่อยามจำเป็นจริงๆหรือเมื่อโตไปต้องใช้ชีวิตอยู่คนคนเดียว เนื่องจากเงินในบัญชีเป็นเงิน
ฝากตั้งแต่ฉันยังเป็นเด็ก จำนวนก็มากพอที่จะสามารถตั้งตัวได้ในอนาคต ส่วนเงินที่ใช้ในการจับจ่าย
ใช้สอย ผู้ปกครองจะเป็นคนให้ฉันเป็นรายอาทิตย์ โดยฉันจะแบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วน คือ 2 ส่วนที่เอาไว้
ใช้ในแต่ละวัน ค่างาน ค่าอุปกรณ์การเรียน เป็นต้น อีกส่วนนึงฉันเก็บไว้ซื้อของที่อยากได้และต้องใช้เวลา
ในการเก็บนาน การบริหารเงินในส่วนนี้คือ ฉันจะคำนึงถึงประโยชน์ของสิ่งของนั้นก่อนตัดสินใจซื้อ และใช้
มันให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ถ้าหากเป็นของที่อยากได้จริงๆ ฉันจะหาเหตุผลมารองรับว่าเหตุใดถึงควรซื้อ
เช่น ถ้าฉันสอบผ่านวิชานี้ ฉันจะซื้อสิ่งของนี้เพื่อให้รางวัลตัวเอง เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามการซื้อสิ่งของ
ที่ฉันชอบต้องไม่มีผลกระทบต่อการเงินของฉันในระยะยาว เงินที่เหลือจากการซื้อของที่ชอบฉันก็จะนำไป
ฝากไว้อีกบัญชีหนึ่ง เมื่อถึงยามฉุกเฉินก็สามารถยืมเงินจากอีกบัญชีมาใช้และคืนได้ในภายหลัง การ
บริหารเงินในบัญชีที่ไว้ฝากเงินที่เหลือจากการซื้อของนั้น ฉันจะกำหนดไว้ที่จำนวนนึง หากยอดถึงจำนวน
ที่ตั้งไว้ ฉันก็จะโอนให้กับบัญชีแรกที่เอาไว้เก็บใช้เมื่อโตขึ้น

ในทุกๆปีธนาคารจะมีการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากทุกคน ครอบครัวของฉันจึงมีการรวบรวมยอดดอกเบี้ย
ทั้งหมดและทำการบริจาคไปยังมูลนิธิเด็กกำพร้าเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าเงินดอกเบี้ยอาจจะมีไม่
มากแต่ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเด็กๆได้

การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นและมีการวางแผน
ในการใช้ชีวิต ทำให้ได้ผลตอบรับที่มีประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน ประชาขนชนทุกคนในประเทศมีความสุขก็
ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าขึ้นไปด้วยเช่นกัน

นางสาวจัสมิน มะลี เลขที่ 17 ม.5/3

ปัจจุบันต้องแข่งขันกันทั้งด้านคุณภาพและเวลา การทำงานจริงจึงไม่มีเวลาที่จะลองผิดลองถูกใน
การทำงาน เพราะกำไรจึงเป็นของผู้ลงมือก่อน เราจึงต้องเปลี่ยนแปลงต้องจัดสรรเวลาให้รวดเร็วเรา
ทำงาน เราทุ่มเทให้หน่วยงานองค์กรเท่าไร เราจบจากไหน ได้เงินเดือนเท่าไร มีตำแหน่งบริหารหรือ
ไม่ ได้สองขั้นหรือไม่ ใครได้ดีเกินเรา แล้วก็มัวแต่นั่งหายใจทิ้งไปเฉย ๆ โดยไม่ลงมือทำอะไรเลย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เป็นวิถีชีวิตที่สามารถ
ใช้ได้กับทุกคน ทุกอาชีพ เพื่อให้ดำรงตนและปฏิบัติตนให้สมดุล ทั้งชีวิตส่วนตัว ครอบครัว การทำงาน
ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ไม่ใช่เศรษฐกิจ แต่เป็นการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เช่น เป็นผู้บริหารที่พอเพียง การพูด การคิดต้องพอ
เพียง อย่าให้ความคิดกระจาย ซึ่งเราสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำงานได้ง่าย ๆ
ดังนี้ ความพอประมาณ ได้แก่ เรียบง่าย ประหยัด การทำอะไรที่พอเหมาะพอควร สมดุลกับอัตภาพ
ศักยภาพของตนและสภาวะแวดล้อม ความมีเหตุผล คือ การคิด ฟัง ปฏิบัติ การทำงานต้องใช้หลัก
ความรู้ในการทำงาน วางแผนงานต้องระมัดระวัง เเละสุดท้ายมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ ต้องมี
แผนกลยุทธ์ เช่น เป็นอาจารย์ต้องมีแผนการสอน องค์กรต้องมีแผนกลยุทธ์

ชีวิตที่พอเพียงในการทำงานการศึกษา จึงต้องยึดความพอเพียง ประกอบด้วย ความมีเหตุผล
ความพอประมาณ และระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีกระบวนการพัฒนาที่ยึดคุณธรรม ความเพียร ความ
รอบรู้ ความซื่อสัตย์สุจริต การทำงานกับมนุษย์ต้องใช้หลักการ หลักวิชาการให้สอดคล้องกับภูมิสังคม
คือภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม ต้องปรับกระบวนการทำงาน โดยมีเป้าหมายของการศึกษาคือ
คุณภาพชีวิตและสังคม เพื่อลดความยากจน

นางสาวซัลมา วามะ เลขที่ 18 ม.5/3

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหนึ่งในพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่คนไทยทุกคนต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเป็น
หลักปรัชญาที่ช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและไม่ต้องกังวลกับสภาวะขัดข้องทางการเงิน
หากเราทุกคนรู้จักนำหลักปรัชญานี้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวันของตัวเอง

ไม่เพียงแต่วัยผู้ใหญ่ที่จะนำหลักปรัชญานี้มาใช้ได้ สำหรับเด็กวัยเรียนอย่างดิฉันก็สามารถนำ
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้มาใช้ได้เช่นกัน ดิฉันขอยกตัวอย่างชีวิตของดิฉันเองซึ่งเป็นนักเรียน
ทุนเรียนฟรี ในทุกๆเดือนฉันจะได้รับเงินเดือนจากทางโรงเรียนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
หากการใช้เงินส่วนนี้เป็นไปอย่างไร้การวางแผน เป็นการใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย นั่นจะทำให้เกิดปัญหา

ตามมาอย่างแน่นอน ทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวดิฉันเอง และความเดือดร้อนที่จะกระทบไปถึงผู้ปกครอง
ที่จะต้องส่งเงินให้ฉันเพิ่ม ดังนั้นในทุกๆครั้งที่ฉันได้เงินเดือนส่วนนั้นมา ฉันมักจะวางแผนในการใช้

เสมอ เงินส่วนแรกฉันจะแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายรายวันในเดือนนั้น อีกส่วนหนึ่งแบ่งไว้ซื้อของใช้ต่างๆที่
อยากได้แต่ไม่ใช่ซื้อของฟุ่มเฟือย ของที่ฉันจะใช้เงินส่วนนี้ซื้อจะต้องเป็นของที่ฉันอยากได้จริงๆ และเมื่อ

ได้มาแล้วจะต้องเกิดประโยชน์และคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป และส่วนสุดท้ายฉันจะแบ่งเพื่อเป็นเงินเก็บไว้

ใช้ในยามฉุกเฉินเพื่อให้ตัวเองไม่เดือดร้อนในวันข้างหน้า อีกตัวอย่างหนึ่งคือที่บ้านของฉันเพื่อให้ตัวเอง

ไม่เดือดร้อนในวันข้างหน้า อีกตัวอย่างหนึ่งคือที่บ้านของฉัน ซึ่งคุณแม่ของฉันเป็นคนที่ค่อนข้างนำหลัก

ปรัชญานี้มาใช้ได้ดีเลยทีเดียว บริเวณรอบๆบ้านของฉันจะเต็มไปด้วยต้นไม้ ต้นไม้ที่ว่าก็คือพืชผัก
สวนครัวนั่นเอง คุณแม่มักจะนำพันธุ์พืชชนิดต่างๆมาปลูกไว้ทานเสมอ เพราะเป็นการประหยัดค่าใช้

จ่ายของบ้านและยังสามารถมั่นใจได้เต็มร้อยว่าผักที่รับประทานเข้าไปนั้นปลอดสารพิษ นี้เป็นเพียง

ตัวอย่างใกล้ตัวขิงฉันที่หยิบมาเล่าให้ฟัง นอกจากสิ่งที่ดิฉันได้กล่าวไปข้างต้นก็ยังมีอีกหลายตัวอย่างที่

น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้แล้วเห็นผลเป็นตัวอย่างให้คนอื่นๆที่สนใจได้ไปศึกษา

ดังนั้นการที่จะใช้ชีวิตอย่างพอเพียงได้นั้นเราต้องรู้จักนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้

ให้เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพื่อชีวิตที่อยู่ดีมีสุข เมื่อ

คุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนในประเทศอยู่อย่างมีสุขก็จะนำไปสู่ประเทศที่เกิดการพัฒนาในต่อไป

นางสาวพัทธ์ธีรา อิสโร เลขที่ 21 ม.5/3

ในปัจจุบันทุกคนได้ถูกปลูกฝังหรือกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัวในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือ
เกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ จนทำให้ไม่มี
เงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ดังนั้น เราควรนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ฉันเป็นนักเรียนที่ได้รับเงินเดือนจากโรงเรียน ทำให้ครอบครัวไม่ให้เงินในการใช้จ่ายเพิ่มเติม
ดังนั้น ฉันจึงต้องวางแผนในการซื้อของใช้ที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตในหอพักและในโรงเรียน โดย
การลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับความสวย ความงาม เสื้อผ้าแฟชั่นต่างๆ และประหยัดเงินโดยคำนวณ
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในแต่ละวันและแบ่งเงินส่วนหนึ่งเพื่อออมไว้ในธนาคารเพื่อใช้ในยามจำเป็นหรือยาม
ฉุกเฉิน เพื่อเป็นการเตรียมตัวรับผลกระทบสำหรับเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งครอบครัวของฉันมีฐานะ
ปานกลาง พออยู่ พอกิน พอใช้ ซึ่งครอบครัวฉันมีการเลี้ยงปลาในบ่อและปลูกผักสวนครัว เช่น พริก
มะเขือ ตะไคร้ มะนาว กะเพรา และพืชผักสวนครัวอีกมากมาย เพื่อนำมาประกอบอาหารและส่วนหนึ่ง
เอาไว้แบ่งขายให้กับคนในชุมชน เป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว นอกจากนี้สมาชิก
ในครอบครัวของฉันยังมีการทำรายรับ-รายจ่ายในแต่ละวัน เพื่อวางแผนการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ

การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ต้องพยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวต้องมี
การบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตนไม่ให้เป็นหนี้
และพัฒนาตนเองให้สามารถอยู่ได้อย่างพอเพียง คือ ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักทางสายกลาง

นางสาวมัลลิษา วรรณรัตน์ เลขที่ 22 ม.5/3

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติตนของประชาชนในทุก

ระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ซึ่งจะเป็น

แนวทางนำไปสู่ความสุขในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง

ในหลวงรัชกาลที่๙ ได้ประทานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ

ในทุกๆเรื่อง ซึ่งเป็นประกอบไปด้วย ๓ ห่วง คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน ที่

สอดคล้องกันในทุกการตัดสินใจบนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรม ฉันก็เคยเป็นเด็กคนหนึ่งที่ใช้เงิน

อย่างฟุ่มเฟือย และซื้อของเกินความพอดี แต่หลังจากที่ฉันได้เรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง ฉันก็ได้เปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้น อย่างในปัจจุบันนี้ที่ฉันได้วางแผนการ

ใช้จ่ายของตนเอง โดยการทำรายรับ-รายจ่าย เพื่อจะได้รู้ว่ามีรายรับเท่าไร จ่ายไปเท่าไร มีความ

เหมาะสมกับตัวเองหรือไม่ และเก็บออมเงินจากเงินที่เหลือในแต่ละวันอย่างสม่ำเสมอ ซื้อของเฉพาะ

ที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ซื้อเพราะความอยากหรือซื้อตามเพื่อน แต่ซื้อด้วยเหตุผล ถ้าอยากได้สิ่งของนั้น

จริงๆก็จะเก็บเงินซื้อเอง นอกจากนี้ที่บ้านของฉันยังเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ปลูกผักและผลไม้ที่หลากหลาย

ไว้กินเองเพื่อลดค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว และอาชีพเสริมของแม่ฉันคืออาชีพค้าขาย เมื่อแม่ทำขนม

ก็มักจะนำไข่ที่มีอยู่แล้วหรือผักผลไม้ที่ปลูกเองมาเป็นส่วนผสม ซึ่งสามารถลดต้นทุนในการทำได้

ส่วนหนึ่ง หากฉันไม่มีเรียนก็มักจะมาช่วยแม่ทำขนมอยู่เสมอ แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่ฉันและครอบครัว

เก็บผักผลไม้ที่ได้ไปขายบ้าง แจกจ่ายบ้างหรือบางครั้งก็นำไปรับประทานร่วมกันกับคนในหมู่บ้าน ฉัน

คิดว่าหากเราปฏิบัติตนเช่นนี้ไปทุกๆวัน ก็จะทำให้ครอบครัวและคนรอบข้างมีความสุขได้

จากที่กล่าวข้างต้น หากเราทุกคนปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะเกิดประโยชน์แก่

ทุกคนในการดำเนินชีวิตนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชนหรือสังคม และจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะ

พัฒนาประเทศให้ยั่งยืน ซึ่งจะทำให้ประเทศไม่เดือดร้อน มีแต่ความสงบสุขทั้งเศรษฐกิจในประเทศ

และต่างประเทศ

นางสาวรัตติยา แวหามะ เลขที่ 23 ม.5/3

เศรษฐกิจพอเพียง. 2565. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
https://www.chaipat.or.th/site_content/item/3579-2010-
10-08-05-24-39.html. 28 กรกฎาคม 2565.

สเลเต. 5 ชุมชนพอเพียง สานต่องานพ่ อสอน
รวมพลังสร้างกลุ่ม เพื่อชุมชนเข้มแข็ งยั่งยืน. 2565. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา : https://www.chillpainai.com/scoop/9232/.
28 กรกฎาคม 2565.

ยุทธภูมิ นามวงศ์. บ้านบัว..ชุมชนต้นแบบการทำงานแบบ
มีส่วนร่วม ในวิถีวัฒนธรรมไทย. 2565. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
https://thecitizen.plus/node/5427. 28 กรกฎาคม 2565.

นางสาวกังสดาล ศรีสุวรรณ เลขที่ 16

นางสาวจัสมิน มะลี เลขที่ 17

นางสาวซัลมา วามะ เลขที่ 18

นางสาวพัทธ์ธีรา อิสโร เลขที่ 21

นางสาวมัลลิษา วรรณรัตน์ เลขที่ 22

นางสาวรัตติยา แวหามะ เลขที่ 23

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3

“...พอเพียง มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ
ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการก็มี
ความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย

ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้อง
พอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก

คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมี มีมากอาจจะมีของ
หรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น...”

พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

ราคา 89 บาท


Click to View FlipBook Version