รายงาน
เรื่อง โขน
จัดทำโดย
นางสาว ยพุ ารตั น์ แกว้ เพชร
ชั้นมัธยมศึกษาปที ี่ 6/1 เลขที่ 10
เสนอ
คณุ ครู เมธาสทิ ธ์ิ แก้วอยู่
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหน่ึงของวิชาดนตรี-ศิลปะ
ภาคเรยี นท่ี2 ปีการศึกษา2564
โรงเรยี นพลูหลวงวทิ ยา(วดั โคกพล)ู
ต.หนองหลวง อ.เมือง จ.ตาก
ก
คำนำ
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ดนตรี-ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี6/1 เพ่ือเป็นประโยชน์ต่อผู้ท่ี
สนใจจะศึกษาเกี่ยวกับเร่ือง โขน ซึ่งคณะผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นเพื่อครู นักเรียน และผู้ที่สนใจได้ใช้เป็นเอกสาร
อา่ นเพม่ิ เตมิ ต่อไป
คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยง่ิ ว่ารายงานฉบับน้ีจะเป็นประโยชนต์ ่อผู้ท่สี นใจเก่ยี วกับโขน ท่ไี ดว้ ิเคราะห์
ใหผ้ อู้ ่านนำมาใชป้ ระโยชนไ์ ด้ตอ่ ไป หากมขี ้อบกพรอ่ งประการใด ผจู้ ดั ทำขออภยั ไว้ ณ โอกาสน้ดี ้วย
ผ้จู ดั ทำ
วันที่ 20 กมุ ภาพันธ์ 2565
สารบญั ข
เรื่อง หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
ประวตั คิ วามเปน็ มาของโขน 1-3
ตวั ละตรสำคญั ในการแสดงโขน 4-11
1
ประวตั คิ วามเป็นมาของโขน
โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น วรรณกรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์
หตั ถศิลป์ โดยนำเอาวิธเี ล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าทางการต่อสู้ที่โลด
โผน ท่ารำ ท่าเตน้ เช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบ่ีกระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้า
พาทย์และเพลงดนตรีเขา้ มาประกอบการแสดง ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยูท่ ีผ่ ู้แสดงตอ้ งสวมหัวโขน ซึ่ง
เป็นเคร่ืองสวมครอบหุ้มต้ังแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่าน
ทางการร่ายรำ สร้างตามลกั ษณะของตัวละครนน้ั ๆ เช่น ตัวยักษ์ ตวั ลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิด
ทอง ประดบั กระจก บา้ งกเ็ รยี กว่าหน้าโขน
ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปล่ียนแปลงไม่ต้อง
สวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและ
ตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสีคือ สีหน่ึงเป็นสีเส้ือ อีกสีหน่ึงเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ เป็นลายหนุน
ประเภทลายพมุ่ หรือลายกระจังตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเปน็ ลายวงทกั ษณิ าวรรต โดยสมมตุ เิ ปน็ ขน
ของลิงหรือหมี ดำเนินเร่ืองด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็น
ทำนองอยา่ งหน่ึง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มตี ้นเสียงและลูก
คู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เคร่ืองห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเร่ืองรามเกียรต์ิและอุณรุท ปัจจุบันสถาบัน
บัณฑิตพัฒนศิลปม์ ีหน้าที่หลกั ในการสบื ทอดการฝกึ หดั โขน และกรมศลิ ปากร มีหน้าทใ่ี นการจดั การแสดง
โขนจัดเป็นนาฏกรรมที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะของตนเอง ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า "โขน" ปรากฏ
ข้ึนในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงในวรรณคดีไทยเรื่องลิลิตพระลอที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงาน
พระศพของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า "ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน" โดยมีข้อสันนิษฐานว่า
คำว่าโขนนน้ั มที ีม่ าจากคำและความหมายในภาษาตา่ ง ๆ ดงั น้ี
คำว่าโขนในภาษาเบงคาลี ซึ่งปรากฏคำว่า "โขละ" หรือ "โขล" (บางคร้ังสะกดด้วย ฬ เป็นคำว่า"โขฬะ"
หรือ "โขฬ") ที่เป็นชื่อเรียกของเครื่องดนตรีประเภทหนังชนิดหน่ึงของฮินดู ลักษณะและรูปร่างคล้ายคลึงกับ
ตะโพนของไทย ไม่มีขาต้ัง ทำด้วยดิน ไม่มีสายสำหรับถ่วงเสียง มีเสียงดังค่อนข้างมาก จัดเป็นเครื่องดนตรีที่
ได้รับความนิยมในแคว้นเบงกอล ประเทศอินเดีย ใช้สำหรับประกอบการละเล่นชนิดหน่ึง เรียกว่ายาตราหรือ
ละครเร่ท่ีคล้ายคลึงกับละครชาตรี โดยสันนิษฐานว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ เคยถูกนำมาใช้ประกอบการเล่น
นาฏกรรมชนดิ หนึง่ จงึ เรยี กว่าโขลตามชือ่ ของเครือ่ งดนตรี
คำว่าโขนในภาษาอิหร่าน มีท่ีมาจากคำว่าษูรัต ควาน หมายความถึงตุ๊กตาหรือหุ่น ซึ่งใช้สำหรับ
ประกอบการแสดง โดยมีผู้ขับร้องและให้เสียงแทนตัวหุ่น เรียกว่าควานหรือโขน มีความคล้ายคลึงกับผู้พากย์
และผเู้ จรจาของการแสดงโขนในปจั จบุ ัน
คำว่าโขนในภาษาเขมร เป็นการกลา่ วถงึ โขนในพจนานกุ รมภาษาเขมร ซ่งึ หมายความถึงละคร แต่เขียนแทนว่า
ละโขน ทีห่ มายความถงึ การแสดงมหรสพอยา่ งหนึ่ง
2
จากข้อสนั นิษฐานต่าง ๆ ยงั ไม่สามารถสรุปไดว้ า่ โขนเป็นคำมาจากภาษาใด พจนานุกรมฉบับราชบณั ฑิตยสถาน
พ.ศ. 2525 ระบุความหมายของโขนเอาไว้ว่า "โขนหมายถึงการเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ แต่เล่นเฉพาะใน
เร่ืองรามเกียรต์ิ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลองต่าง ๆ ท่ีเรียกว่าหัวโขน" หรือหมายความถึงไม้ใชต้ ่อเสริมหวั เรือท้าย
เรือให้งอนเชดิ ขน้ึ ไปที่เรยี กว่าโขนเรือ หรือใชส้ ำหรบั เรียกเรอื ชนดิ หนงึ่ ท่มี ีโขนวา่ เรือโขนเช่น เรอื โขนขนาดใหญ่
น้อยเหลือหลายในลิลิตพยุหยาตรา หรือหมายความถึงส่วนสุดท้ังสองข้างของรางระนาดหรือฆ้องวงใหญ่ท่ีมี
ลักษณะงอนข้ึนว่าโขน
ในสมัยของสมเด็จพระนาราย์มหาราช ได้มีการกล่าวถงึ โขนโดยลาลูแบร์ เอาไว้ว่า "โขนน้ัน เป็นการร่ายรำ
เข้า ๆ ออก ๆ หลายคำรบ ตามจังหวะซอและเคร่อื งดนตรีอย่างอ่ืนอีก ผู้แสดงนั้นสวมหน้ากาก (หัวโขน) และ
ถืออาวุธ แสดงบทหนักไปในทางสู้รบกันมากกว่าจะเป็นการร่ายรำ และมาตรว่าการแสดงส่วนใหญ่จะหนักไป
ในทางโลดเต้นเผ่นโผนโจนทะยาน และวางท่าอย่างเกินสมควรแล้ว นาน ๆ ก็จะหยุดเจรจาออกมาสักคำสอง
คำ หน้ากาก (หัวโขน) ส่วนใหญ่นั้นน่าเกลียด เป็นหน้าสัตว์ท่ีมีรูปพรรณวิตถาร (ลิง) หรือไม่เป็นหน้าปี ศาจ
(ยกั ษ)์ " ซึง่ เปน็ การแสดงความเหน็ ต่อมหรสพในอดีตของชาวไทยในสายตาของชาวตา่ งประเทศ
แต่เดิมน้ันการแสดงโขนจะไม่มีการสร้างฉากประกอบการแสดงตามท้องเร่ือง การดำเนินเร่ืองราว
ต่าง ๆ เป็นแบบจินตนาการถึงฉากหรือสถานที่ในเรื่องราวเอง การจัดฉากในการแสดงโขนเกิดขึ้นคร้ังแรกใน
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยท่ีทรงคิดสร้างฉากประกอบการแสดงโขนบน
เวทีขึ้น คล้ายกบั การแสดงละครดึกดำบรรพ์ทส่ี มเด็จเจา้ ฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดตวิ งศ์ทรงคดิ ขึ้น
ประเภทของโขนแบ่งออกเปน็ 5 ประเภท คือ
โขนกลางแปลง
โขนกลางแปลงเปน็ การเล่นโขนกลางแจ้ง ไม่มีการสร้างโรงแสดง ใชภ้ ูมิประเทศและธรรมชาติเป็นฉาก
ในการแสดง ผู้แสดงท้งั หมดรวมทงั้ ตวั พระต้องสวมหวั โขน นยิ มแสดงตอนยกทัพรบ วิวัฒนาการมาจากการเล่น
ชักนาคดกึ ดำบรรพ์เรอ่ื งกวนนำ้ อมฤตท่ใี ช้เล่นในพิธีอนิ ทราภิเษก ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา
โดยนำวิธีการแสดงคือการจัดกระบวนทัพและการเต้นประกอบหน้าพาทย์มาใช้ แต่เปลี่ยนมาเล่นเร่ือง
รามเกยี รต์แิ ทน มกี ารเต้นประกอบหน้าพาทย์และอาจมบี ทพาทย์และเจรจาบา้ ง แตไ่ มม่ บี ทร้อง
โขนโรงนอก หรอื โขนนง่ั ราว
เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียงสำหรับตัวโขนน่ัง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉาก
(ม่าน) มีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวแทนเตียง มีการพากย์และเจรจา แต่ไม่มีการร้อง ป่ีพาทย์บรรเลง
เพลงหน้าพาทย์ มีปี่พาทย์ 2 วง เพราะต้องบรรเลงมาก ต้ังหัวโรงท้ายโรง จึงเรียกว่าวงหัวและวงท้าย หรือวง
ซ้ายและวงขวา วันก่อนแสดงโขนนั่งราวจะมีการโหมโรง และให้พวกโขนออกมากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลง
พอ จบโหมโรงก็แสดงตอนพิราพออกเท่ียวป่า จับสัตว์กินเป็นอาหาร พระรามหลงเข้าสวนพวาทองของพราพ
แล้วก็หยดุ แสดง พักนอนค้างคนื ทีโ่ รงโขน ร่งุ ข้ึนจึงแสดงตามเร่อื งท่เี ตรยี มไว้ จงึ เรยี กว่า "โขนนอนโรง"
3
โขนหน้าจอ
คอื โขนท่ีเลน่ ตรงหนา้ จอ ซง่ึ เดิมเขาขงึ ไว้สำหรับเล่นหนงั ใหญ่ ในการเล่นหนงั ใหญ่น้ัน มกี ารเชดิ หนงั ใหญ่
อย่หู น้าจอผา้ ขาว การแสดงหนังใหญ่มศี ิลปะสำคัญ คือการพากย์และเจรจา มีดนตรปี ่ีพาทยป์ ระกอบการแสดง
ผู้เชิดตัวหนังต้อง เต้นตามลีลาและจังหวะดนตรี นิยมแสดงเร่ืองรามเกียรติ์ ต่อมามีการปล่อยตัวแสดงออกมา
แสดงหนังจอ แทนการเชิดหนังในบางตอน เรียกว่า "หนังติดตัวโขน" มีผนู้ ิยมมากขึ้น เลยปล่อยตัวโขนออกมา
แสดงหน้าจอตลอด ไม่มีการเชิดหนังเลย จึงกลายเป็นโขนหน้าจอ และต้องแขวะจอเป็นประตูออก 2 ข้าง
เรียกวา่ "จอแขวะ"
โขนโรงใน
คอื โขนท่ีนำศิลปะของละครในเข้ามาผสม โขนโรงในมีป่ีพาทย์บรรเลง 2 วงผลัดกัน การ แสดงก็มีทั้งออก
ท่ารำเต้น ทีพากย์และเจรจาตามแบบโขน กับนำเพลงขับร้องและเพลงประกอบกิริยาอาการ ของดนตรีแบบ
ละครใน และมีการนำระบำรำฟ้อนผสมเข้าด้วย เป็นการปรับปรงุ ให้วิวัฒนาการขึ้นอีก การผสมผสานระหว่าง
โขนกบั ละครในสมัยรัชกาลท่ี 1 รชั กาลท่ี 2 ทั้งมรี าชกวีภายในราชสำนักชว่ ยปรับปรุงขัดเกลา และประพนั ธบ์ ท
พากย์บทเจรจาให้ไพเราะสละสลวยขึ้นอีก โขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงในปัจจุบันนี้ ก็ใช้ศิลปะการแสดง
แบบโขนโรงใน ไม่ว่าจะแสดงกลางแจ้งหรอื แสดงหนา้ จอกต็ าม
โขนฉาก
เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีผู้คิดสร้างฉากประกอบเร่ืองเม่ือแสดงโขนบนเวที คล้ายกับละครดึกดำ
บรรพ์ ส่วนวิธแี สดงดำเนินเช่นเดียวกับโขนโรงใน แต่มีการแบ่งเป็นชุดเป็นตอน เป็นฉาก และจัดฉากประกอบ
ตามท้องเร่ือง จึงมีการตัดต่อเร่ืองใหม่ไม่ให้ย้อนไปย้อนมา เพื่อสะดวกในการจัดฉาก กรม ศิลปากรได้ทำบท
เป็นชุดๆ ไว้หลายชุด เช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดชุดนางลอย ชุดนาคบาศ
ชุดพรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำบัง ชุดทำลายพิธหี ุงนำ้ ทพิ ย์ ชดุ สดี าลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนมุ านอาสา
ชดุ พระรามเดนิ ดง ชดุ พระรามครองเมือง
การแสดงโขน โดยท่ัวไปนิยมแสดงเรื่อง "รามเกียรติ์" กรมศิลปากรเคยจัดแสดงเร่ืองอุณรุฑ แต่ไม่เป็นท่ี
นิยมเท่าเรื่องรามเกียรต์ิ เร่ืองรามเกียรต์ิที่นำมาแสดงโขนนั้นมีหลายสำนวน ท้ังท่ีประพันธ์ข้ึนในสมัยกรุงศรี
อยุธยา กรุงธนบุรแี ละกรุงรัตนโกสนิ ทร์ โดยเฉพาะบทในสมัยรัตนโกสินทร์ นิยมแสดงตามสำนวนของรัชกาลท่ี
2 ท่ี กรมศิลปากรปรับปรุงเป็นชุดเป็นตอน เพื่อแสดงโขนฉาก ก็เดินเรอ่ื งตามสำนวนของรัชกาลที่ 2 รัชกาลท่ี
6 ก็เคยทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ไว้ถึง 6 ชุด คือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุด
จองถนน ชุดประเดมิ ศึกลงกา และชุดนาคบาศ
4
ตวั ละครสำคัญในการแสดงโขน
ในการแสดงโขนน้ันได้นำเรอ่ื ง รามเกียรต์ิ มาแสดงซึ่งมีองค์ประกอบหลายอย่าง แต่ท่ีขาดไม่ได้ก็คือ
ตวั ละคร ซึ่งแตล่ ะตัวมีบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัยที่แตกต่างกนั ซึ่งมีคณุ ค่าท่ีผดู้ ูควรนำมาปฏิบัติเป็นแบบอยา่ ง
ตัวละครสำคญั ในการแสดงโขนนน้ั ไดแ้ บ่งเปน็ 4 ประเภท คือ ตวั พระ ตัวนาง ตวั ยักษ์ และตวั ลงิ
ตัวพระ
1. พระราม
คือ พระนารายณ์ลงมาอวตารเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ของท้างทศรถและนางเกาสุริยา หน้าที่โยกำเนิด
ของพระรามคือ ลงมาปราบอธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทศกัณฐ์ พระรามมีกายสีเขียว บุคลิกลักษณะ
และคุณธรรมของพระราม ในฐานะศิษย์ ได้ให้ความเคารพต่อฤาษีวสิทธิ์และสรามิตร ปรนนิบัติผู้เป็นอาจารย์
อย่างดี มีความกตัญญูรู้คุณ ในฐานะลูก การท่ีพระรามยอมถูกเณรเทศ 14 ปีเพราะมีความรักและกตัญญูต่อ
บิดา ไม่ต้องการให้บิดาเสียสัตย์ท่ีให้ไว้แก่นางไกยเกษี มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความเป็นลูกที่ดี คือเคารพเชื่อฟัง
บดิ าโดยไมไ่ ด้แย้ง มคี วามรักและกตัญญตู ่อผู้เปน็ มารดาเสมอกนั หมดไมว่ า่ จะเป็นมารดาบงั เกดิ เกลา้ หรือมารดา
เล้ียงในฐานะพีไ่ มม่ ีความอจิ ฉาริษยาน้อง มีความยินดที ่นี ้องได้ดี มขี องวิเศษหรือของมีค่าทีต่ นพงึ ไดก้ ็เสียสละให้
น้องก่อน แสดงถึงความรักและเมตตาพี่ท่ีมีต่อน้องอย่างเสมอต้นเสมอปลายไม่เคยมีถ้อยคำท่ีแสดงความโกรธ
หรือข่มขู่น้องแบบทศกัณฐเ์ ลย ในฐานะคนรักและสามเี ป็นคนทร่ี ักหญิงผู้เป็นภรรยามากไมเ่ คยไปรักหญิงอ่นื ใด
เลย ในหัวใจของพระรามมีแต่เพียงนางสีดานางเดียวเสมอ นับเป็นพฤติกรรมหายากมากในวรรณคดีไทยซ่ึง
พระเอกมักจะมีนิสัยเจ้าชู้ ในฐานะกษัตริย์ มีความเมตตากรุณาต่อไพร่ฟ้าอาณาประชาราษณ์ เป็น
ผู้บังคับบัญชาท่ีดี ใครทำความดีความชอบจะให้รางวัลและหากใครทำผิดก็จะพิจารณาโทษมีความหนักแน่น
รอบคอบ มีสติ ไม่หูเบาเชื่อเร่ืองอะไรง่าย ๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของเจ้านายที่จะปกครองคนและบ้านเมืองให้
เจริญรุ่งเรอื งได้
5
2. พระลักษณ์
คอื สงั ข์และบลั ลังนาคของพระนารายณ์ อวตารมาเกิดเป็นโอรสทา้ งทศราและพระนางสมุทรชา มนี ้อง
ร่วมท้องชื่อพระสัตรุต พระลักษณ์จงรักภักดีต่อพระรามมาก เพราะเป็นเครื่องใช้คู่พระทัยในชาติก่อน พระ
ลักษณ์มีกายสีเหลือง บคุ ลิกลกั ษณะและคุณธรรมของพระลกั ษณ์ในฐานะน้อง มคี วามจงรกั ภักดตี อ่ พระรามผู้
เป็นพี่ไมม่ ีใครเสมอเหมอื น เสียสละให้พยี่ อมลำบากกับพ่ีโดยปรนนิบัติรับใชพ้ ระรามขณะเดินป่าเปน็ เวลา 14
ปี มีภัยอันตรายก็คอยปกป้องพระรามด้วยชีวิตในฐานะนักรบ เป็นผู้มีปฏิภานไหวพริบดี ในการรบหรือการ
แก้ปัญหา เป็นนักรบท่ีไม่เกรงกลัวความตาย อาสาออกรบด้วยความยินดีทุกคร้ังในฐานะน้องสามี ให้ความ
เคารพนับถือนางสีดาผู้เป็นพ่ีสะใภ้ประหน่ึงมารดาของตน เคารพเช่ือฟังรับใช้ อย่างไม่รังเกียจ พระลักษณ์
เป็นน้องในอุดมคติ มีพฤติกรรมดีงามในฐานะน้องและน้องสามีอย่างไม่มีใครเหมือนในฐานะอื่น ๆ พระ
ลักษณ์กม็ พี ฤตกิ รรมท่ดี ีเด่นคอื เป็นนกั รบทเ่ี ก่งกล้าชว่ ยพระรามปราบอธรรม อย่างไมย่ ่อท้อ
ตวั นาง
1.นางสดี า
คือ พระลักษมีจุติลงมาตามบัญชาของพระอิศวร บุคลิกลักษณะและคุณธรรมของนางสีดาในฐานะลูก
และลูกสะใภ้ นางสีดาไม่ทราบวา่ พ่อแม่ของตนที่แท้จริงเป็นใครแตก่ ็รักและกตัญญูต่อพระชนกและพระมเหสี
ดุจดังบิดามารดาของตน ในขณะท่ีอภิเษกสมรสอยู่กับพระรามก็มีความเคารพนับถือต่อบิดามารดาตลอดจน
มารดาเล้ียงของพระรามจนได้รบั ความเอ็นดูจากทุกคน ในฐานะภรรยา มีความจงรักภักดีต่อสามีเมื่อพระราม
ถูกเณรเทศเดินป่า 14 ปี ก็ขอตามเสด็จด้วยมีความห่วงใยในความปลอดภัยของสามี ยกย่องเทิดทูนสามี ไม่
ยอมให้ใครว่าร้าย โดยมีความสัตย์ซ่ือต่อสามี ยอมตายดีกว่าหากต้องตกเป็นชายาของทศกัณฐ์ มีความรักนวล
6
สงวนตัว และรักษาเกียรต์ิของสามี ตลอดจนก็มีความหยิ่งในเกียรติ์ของตนในฐานะมารดา มีความรักและ
ห่วงใยลูกมาก ขณะท่ีลูกอยู่ในครรภ์ นางต้องโทษถูกฆ่าแต่ไม่ตาย ก็ต้องเดินป่าคนเดียวเกิดความท้อใจและ
ยากตาย แต่นึกถึงลูกก็หักใจ และทำการเล้ียงดูลูกอย่างใกล้ชิด ในฐานะพี่สะใภ้ นางสีดาอ่อนกว่าพระ
ลักษณะผู้เป็นน้องสามี แต่ก็วางตนเป็นพ่ีสะใภ้ได้อย่างเหมาะสม จนพระลักษณ์มีความเคารพรักอย่างยิ่ง
พฤติกรรมของนางสีดา แสดงให้เห็นว่าเป็นหญิงท่ีมีคุณความดีเพียบพร้อม เป็นลูกท่ีดีเป็นภรรยาที่ดี แม่ที่ดี
และลูกสะใภ้ที่ดี จะทำส่ิงใดก็ทำไปด้วยความสัตย์ซื่อถือธรรมะเป็นทต่ี ั้ง ดังน้ันพลังความสัตย์สุจริตของนางสี
ดาจงึ ช่วยนางไดเ้ สมอ
2. นางมณโฑ
เป็นมนุษย์ท่ีฤาษี 4 องค์ชุบขึ้นมาจากนางกบ พระฤาษีชุบตัวนำไปฝากเป็นข้ารับใช้พระนางอุมา จน
ได้มาเป็นภรรยาของทศกัณฐ์ บุคลิกลักษณะและคุณธรรมของนางมณโฑในฐานะภรรยา นางเป็นแบบฉบับ
ของภรรยาในสมัยโบราณคือเป็นช้างเท้าหลัง ให้เกียรติ์และเคารพสามีเป็นอย่างมากในฐานะมารดา นางมี
ความรักและห่วงใยลูกมากโดยเฉพาะตอนที่อินทรชิตลูกชายไปรบแล้วถูกสอนปักติดอยู่กับอก หลบหนีเข้ากรุง
ลงกา นางมณโฑจงึ ให้ดื่มน้ำนมจากตน้ ขา้ งซ้ายของนางซ่งึ เป็นน้ำนมอมฤต ศรจึงหลุดออกไป และเม่ืออินทร
ชติ ตอ้ งออกไปรบอกี นางไปทูลขอทศกณั ฐข์ ออยา่ ให้ลูกออกรบ แต่มิอาจทดั ทานได้ กไ็ ด้แตร่ อ้ งไหค้ ร่ำครวญ
7
3. นางเบญจกาย
เป็นธิดาของพิเภกกับนางตรีชฎา ภายหลังตกเป็นภรรยาของหนุมานมีบุตรชายชื่อ อสุรผัด
บคุ ลิกลักษณะและคุณธรรมของนางเบญจกายในฐานะหลาน มคี วามเคารพและเช่ือฟังทศกัณฐ์ผู้เป็นลุงแม้จะ
ส่ังใหไ้ ปเส่ียงอันตรายก็ยอม ในฐานะลูก มีความรกั และเคารพบดิ า แม้พิเภกจะไปอยูข่ ้างฝ่ายพระราม
ตวั ยักษ์
1. ทศกณั ฐ์
เป็นยกั ษ์กายสีเขยี วมสี ิบเศียรยสี่ บิ กร เป็นโอรสของท้าวลสิ เตยี นกับนางรชั ฎา เดิมเป็นนนทกยักษซ์ ึ่งทำ
หน้าท่ีล้างเท้าให้เทวดาอยู่ในเชิงเขาไกรลาส ต่อมาตายไปเกิดเป็นทศกัณฐ์บุคลกิ ลักษณะของทศกัณฐ์ในฐานะ
พ่ี รักน้องพอสมควรแต่มีความเห็นแก่ตัวละมักใช้น้องเพ่ือผลประโยชน์ของตนในฐานะพ่อ รักลูก เพราะใช้
สอยได้ตามความต้องการ แต่รักตนเองมากกว่า ในฐานะผู้ปกครอง เป็นนักปกครองท่ีเห็นแก่ประโยนช์ส่วน
ตนมากกว่าบ้านเมือง หูเบาและไม่รู้เท่าทันคน ไม่ต้ังอยู่ในทศพิธราชธรรม มีพฤติกรรมดื้อร้ันและเผด็จการ
รูจ้ กั ใชค้ น ใชเ้ ลห่ เ์ หล่ยี มและกลอุบายมากกวา่ การรบซ่ึงหน้า แต่เปน็ คนมมี านะไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ
8
2. กมุ ภกรรณ
เป็นยักษ์กายสีเขียว โอรสองค์ที่สองของท้างลิสเตียนนางรัชฎา เป็นน้องทศกัณฐ์มีนิสัยรกั ความสะอาด
ชอบรสกล่ินท่ีหอมหวาน บุคลิกลักษณะของกุมภกรรณในฐานะน้อง จงรักภักดีต่อพี่มาก แม้จะรู้ว่าส่ิงท่ีทำ
ผิดก็ยอมช่วยพพ่ีในฐานะพ่ี เป็นพ่ีท่ีเข็มงวด หากเห็นว่าน้องทำผิดก็ตำหนิติเตียนในฐานะนักรบ มีความ
เฉลียวฉลาด ใช้อุบายหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง มีฝีมือและมีความกล้าหาญในการรบ กุมภกรรณเป็นยักษ์ท่ีมี
ความสัตยซ์ ่ือรักความเปน็ ธรรมแต่กุมภกรรณเลือกเข้าขา้ งญาติพนี่ ้องจนต้องสน้ิ ชวี ิตดว้ ยศรของพระราม
3. พเิ ภก
เป็นยักษ์มีกายสีเขียว โอรสองค์ท่ีสามของลิสเตียนกับนางรัชฎา เป็นน้องทศกัณฐ์รู้จักโหราศาสตร์
ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้อง บุคลิกลักษณะของพิเภกในฐานะน้อง เป็นน้องที่จงรักภักดีแต่ไม่ยอมให้
ความผูกพันฉนั พี่นอ้ งมคี วามสำคัญเหนือความเป็นธรรมในฐานะหวั หนา้ ครอบครัว รบั ผิดชอบ รักลูกเมียมาก
ในฐานะโหร เป็นผู้มีความรอบรู้เร่ืองในโหราศาสตร์และเม้นยำมาก แต่จะใช้ในยามจำเป็นพิเภกเป็นผู้ยึดมั่น
ในสจั ธรรม เขา้ ข้างฝา่ ยธรรมโดยไม่คำนงึ ถึงความสำคัญของสายเลอื ด
9
ตัวลิง
1. หนุมาน
เป็นวานรเผือก เกิดจากการท่ีพระอิศวรแบ่งกำลังของตนเองแล้วให้พระพายนำเทพอาวุธไปซัดเข้าปาก
นางสวาหะ หนุมานเป็นหลานของพาลีและสุครีพ บุคลิกและลักษณะของหนุมาน ในฐานะผู้น้อย มีความ
อ่อนน้อมและมีความรับผิดชอบไม่ยุ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทส่วนตัวระหว่างผู้ใหญ่ แต่บางคร้ังชอบลองดี แต่เม่ือ
ถกู กำราบก็ขอโทษและรับผิด ในฐานะทหารพระราม รับใช้เจ้านายอย่างเต็มความสามารถแต่ชอบปฏิบัติงาน
เกินคำสั่งด้วยเหตุที่อยากแสดงความสามารถ มีความฉลาด รู้จักใช้เหตุผลให้เป็นประโยชน์แก่ทางราชการ
ซือ่ สัตย์ จงรักภักดีตอ่ พระราม กลา้ หาญสามารถรับอาสาทำงานยากที่ไม่มใี ครกลา้ อาสา
ในฐานะนักรบ มีฤทธิ์ในการสู้รบมาก รอบรู้กลศึก สู้โดยไม่เห็นแก่ความเหน่ือยยากในฐานะนักรัก แสดง
ความเจ้าชู้เม่ือมีโอกาสใกล้ชิดกับหญิง แต่ไม่ยอมให้ความรักมาขัดงานราชการ แต่จะใช้ให้ช่วยราชกา ใน
ฐานะนาย มีความเด็ดขาดเป็นที่ยำเกรงแก่ไพรพ่ ล มีความกลา้ หาญ และมคี วามเปน็ ผู้นในฐานะพ่ี ปฏิบตั ติ น
กบั น้องอย่างดี ใช้คำพูดจากับน้องอย่างไพเราะเสมอ ในฐานะบิดา เป็นพ่อที่มีความอดทน ไม่โกรธต่อลกู ท่ีว่า
กล่าวรบหลู่ด้วยความไม่รู้ มีความรักและห่วงใยลูก หนุมานเป็นทหารเอกท่ีรับราชการได้ถูกใจพระราม เป็น
นักรักตัวยงท่ีสามารถแบ่งความรักกับหน้าที่การงานได้อย่างเหมาะสม แต่มีข้อเสียคือชอบทำงานเกินคำส่ัง
แตท่ ีส่ ำคัญคือทศกณั ฐม์ าสามารถซื้อความซื่อสตั ยแ์ ละความจงรักภกั ดีทีม่ ีต่อพระรามของหนมุ านได้
10
2. องคต
ลิงกายสีเขียว เป็นโอรสของพาลีและนางมณโฑ แต่พระฤาษีอังคตนำองคตซ่ึงอยู่ในท้องนางมณโฑ ไป
อยู่ในท้องแม่แพะ บุคลกิ ลักษณะขององคต ในฐานะทหารของพระราม เป็นทหารท่อี งอาจ กล้าหาญ เปน็ ผู้
มีวาทศิลป์ดี จึงมักให้เป็นผู้ส่งราชสาร แต่ไม่เคยทำงานเกนิ คำสง่ั เลย มีความซ่อื สัตยแ์ ละจงรกั ภักดี
3. พาลี
ลิงกายสีเขียว เป็นบุตรของพระอินทร์กับนางกาลอัจนา มีฐานะเป็นพี่ของสุครีพ แต่เป็นพ่ีท่ีไม่ค่อย
ซื่อสัตย์กับน้อง บุคลิกและลักษณะของพาลีในฐานะพี่ เป็นพี่ที่ไม่ค่อยซื่อสัตย์กับน้อง ไม่เชื่อใจน้องในฐานะ
นักรกั เมื่อชอบพอใครแลว้ จะตอ้ งได้เป็นเมีย
11
4. สคุ รีพ
เป็นลิงกายสีแดง บุตรของพระอาทิตย์กับนางกาลอัจนา มีฐานะเป็นน้องของพาลี เป็นน้องที่ซื่อสัตย์
และรักพ่ีมาก บุคลิกลักษณะของสุครพี ในฐานะน้องปฏิบัติตามคำส่ังของพี่อยา่ งดีมรักพี่และดูแลพ่ีเป็นอย่างดี
ในฐานะข้าราชการ เปน็ ผทู้ ี่รักความเป็นธรรม เป็นท่ีปรึกษาที่ดี รู้จกั ผกู มติ รกับเพอ่ื นร่วมงาน จงรกั ภกั ดแี ละ
กตัญญูต่อเจ้านาย ในฐานะนักรบ เป็นนักรบท่ีกล้าหาญ รอบคอบแต่อวดดี เมื่อทำผิดก็รับผิดโดยทันที
สุครีพเป็นตัวอย่างของผู้ท่ีถือความยุติธรรมและหน้าที่เป็นใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว โขนมา
จากวรรณคดีไทยเรื่อง รามเกียรต์ิ ซ่ึงมีตัวละครหลายตวั ตัวละครท่ีมีคุณธรรมท่ีควรนำมาเป็นแบบอย่าง เช่น
พระรามที่มีความกตัญญู นางสีดาที่รักนวลสงวนตัว พระลักษณ์มีความจงรักภักดี นางมณโฑเป็นภรรยาท่ีดี
พิเภกมีความรับผิดชอบ หนุมานมีความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าทุกตัวละครมีคุณธรรมหลาย
ดา้ น ใหเ้ หน็ ทั้งดา้ นดีและไมด่ ี
บรรณานกุ รม
แหล่งทีม่ าของประวัตคิ วามเป็นมาของโขน สืบคน้ เมื่อ 20 กมุ ภาพนั ธ์ 2565 จาก
https://www.sanook.com/campus/1391797/?fbclid=IwAR2V2WpogX9yTpv7CAU7m
KmnEgN5pSP7BVpQ0AFNTdf8Eo6ALZMw45S2Quw
แหลง่ ที่มาของตวั ละครสำคญั ในการแสดงโขน สบื ค้นเมื่อ 21 กมุ ภาพนั ธ์ 2565 จาก
https://sites.google.com/site/tawlakhrkhon/?fbclid=IwAR3IpQwG-6ofs2hSSw-
lmjZn8OCyKpQp33z34hOz3QhMIVV3N6jze-7JdNA