The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หน่วยที่1 โปรแกรมประมวลผลคำ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ชนม์นิภา สีสมบัติ, 2023-02-27 04:05:26

หน่วยที่1 โปรแกรมประมวลผลคำ

หน่วยที่1 โปรแกรมประมวลผลคำ

1.โปรแกรมประมวลผลคํา โปรแกรมประมวลผลคํา (Word Processor) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เวิร์ด (Word) คือ โปรแกรมประยุกต์ (Application) ที่ใช้สร้างเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติ พิเศษที่ช่วยในการสร้างเอกสารอีก หลายประการ เช่น สามารถพิมพ์ตัวอักษรทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษในรูปแบบอักษรต่าง ๆ สามารถแทรก ตารางและรูปภาพลงในเอกสารได้ นอกจากนี้ยังมี ความสามารถในการตัดคํา และตรวจคําผิด รวมทั้งมีเครื่องมือที่ ช่วยในการสร้างเอกสารแบบต่าง ๆ จึงช่วยให้สร้างเอกสารได้อย่างมีคุณภาพ และสะดวกรวดเร็วกว่าการใช้ เครื่องพิมพ์ดีด โปรแกรมประมวลผลคําในยุคก่อน ได้แก่ โปรแกรม Word Star ซึ่งพิมพ์ได้เฉพาะภาษาอังกฤษ โปรแกรม เวิร์ดราชวิถี และเวิร์ดจุฬา ซึ่งพัฒนาโดยคนไทย เพื่อพิมพ์งานเอกสารทั้งภาษาไทยและ อังกฤษ โดยทํางานบน ระบบปฏิบัติการดอส (DOS) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบเก่าสั่งงานโดยใช้ แป้นพิมพ์เป็นหลัก และมีความสามารถ เพียงการพิมพ์ตัวอักษรในลักษณะต่าง ๆ และการแทรกตาราง แต่หลังจากบริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนา ระบบปฏิบัติการแบบใหม่ คือ ไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows ) ซึ่งใช้การติดต่อแบบระบบกราฟิก (GUI : Graphic User Interface ) ผ่าน เมาส์ โปรแกรมประมวลผลคําจึงได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถมาก ยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ความสามารถในการพิมพ์เอกสารด้วยแบบอักษรที่หลากหลาย การแทรกรูปภาพ การตรวจ คําผิด ฯลฯ และทางบริษัทไมโครซอฟต์เอง ก็ได้พัฒนาโปรแกรมประมวลผลคําขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า ไมโครซอฟต์ เวิร์ด (Microsoft Word) ซึ่งถือเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยม และมีการพัฒนามาอย่าง ต่อเนื่อง 2. โปรแกรม Microsoft Word โปรแกรม Microsoft Word (อ่านว่า ไมโครซอฟต์เวิร์ด) จัดเป็นโปรแกรมประมวลผลค่า ที่ได้รับความ นิยม และใช้งานกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่จะผลิตขายรวมอยู่ในชุด โปรแกรม ไมโครซอฟต์ ออฟฟิศ (Microsoft Office) ซึ่งผลิตออกมาหลายเวอร์ชัน ตั้งแต่เวอร์ชัน 4.3 เวอร์ชัน 2000 และ 2003 จนมีการ ปรับปรุงครั้งใหญ่ใน เวอร์ชัน 2007 จนถึงปัจจุบัน โดยโปรแกรม ไมโครซอฟต์เวิร์ดรุ่นแรก ๆ คือ ตั้งแต่เวอร์ชัน 2003 ลงมา จะใช้รายการเมนู (Menu) เป็นส่วนหลักใน การใช้งาน โดยจะมีปุ่มเครื่องมือเพียงชุดเดียว แต่ในตั้งแต่ เวอร์ชัน Office 2007 ไมโครซอฟต์ได้ เปลี่ยนการใช้งานจากเมนู เป็นแถบเครื่องมือ ที่เรียกว่าริบบอน (Ribbon) หรือ แท็บ (Tab) เพื่อให้มี ปุ่มเครื่องมือได้มากขึ้นแทนการใช้เมนูซึ่งมีข้อจํากัดในการใช้งาน นอกจากนี้ยังเพิ่ม ความสามารถใน การปรับแต่งรูปภาพ และเพิ่มกราฟิกพิเศษที่เรียกว่า สมาร์ตอาร์ต (Smart Art) ขึ้นมา รวมทั้ง ปรับปรุงประสิทธิภาพของการจัดเก็บไฟล์งานให้มีขนาดเล็กกว่าเดิมโดยจัดเก็บในรูปแบบไฟล์ XML จึงใช้ส่วน ขยายไฟล์เป็น .docx แทนรูปแบบเดิมซึ่งใช้เป็น .doc โดยตัวโปรแกรมยังสามารถอ่าน และ แก้ไขไฟล์ในเวอร์ชัน ก่อนได้ นอกจากนี้ไมโครซอฟต์ยังได้พัฒนา Microsoft Office 365 ซึ่งใช้งานผ่าน ระบบอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้อง


ติดตั้งโปรแกรมไว้ภายในเครื่อง และสามารถใช้งานได้ทุก ระบบปฏิบัติการ โดยใช้งานผ่านทางโปรแกรมเว็บบราว์ เซอร์ (Web Browser) และยังให้พื้นที่สําหรับเก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า One Drive (ซึ่งถือเป็นบริการ Cloud Storage) เพื่อเก็บไฟล์ เอกสารโดยไม่ต้องจัดเก็บบนสื่อเก็บข้อมูล ซึ่งช่วยให้สามารถใช้งานได้กับทุกเครื่อง และทุกสถานที่อย่างไรก็ดีบริษัทไมโครซอฟต์ยังผลิตโปรแกรมในลักษณะติดตั้งเฉพาะเครื่องโดยใช้งานบน ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ซึ่งเวอร์ชันปัจจุบัน คือ Microsoft Office 2016 แม้ว่าโปรแกรมไมโครซอฟต์จะมีด้วยกันหลายเวอร์ชัน โดยแต่ละเวอร์ชันอาจมีรูปแบบสีสันและ ปุ่ม เครื่องมือที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมจะมีวิธีใช้ และขั้นตอนในการสร้างงานที่คล้ายกัน ดังนั้นผู้ใช้งาน จึงไม่ต้องกังวล เรื่องเวอร์ชันที่ใช้งานมากนัก เพราะเมื่อเรียนรู้การใช้งานในเวอร์ชันใดเวอร์ชันหนึ่งแล้วก็สามารถปรับสภาพการใช้ งานในเวอร์ชันใหม่ได้ไม่ยาก สาระน่ารู้ 1. ไฟล์เอกสารรุ่นใหม่ที่สร้างโดยโปรแกรม Microsoft Word 2003 หรือรุ่นก่อนหน้า จะมีส่วน ขยาย หรือนามสกุลของไฟล์เป็น .doc 2. ไฟล์เอกสารรุ่นใหม่ที่สร้างด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2007 ขึ้นไป จะมีส่วนขยายหรือ นามสกุล ของไฟล์เป็น .docx ซึ่งจะมีขนาดไฟล์ที่เล็กกว่า แต่ไม่สามารถอ่านด้วยโปรแกรม ในเวอร์ชันก่อนหน้าได้ 3. การให้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด รุ่นเก่าสามารถอ่านไฟล์ที่สร้างด้วย Microsoft Word รุ่นใหม่ได้ จะต้องใช้เมนูบันทึกเป็น (Save as) แล้วเลือกรายการ Word97-2003 Document (*.doc) เพื่อให้บันทึกเป็น รูปแบบไฟล์รุ่นเก่า 3. การติดตั้งโปรแกรม Microsoft Word 2016 ในการใช้งาน Microsoft Word 2016 ทําได้โดยติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office 2016 ได้ ตามขั้นตอนดังนี้ 1) ถอนโปรแกรม Microsoft Office ตัวเดิม ถ้าไม่ต้องการใช้งานอีกต่อไป 2) ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ Setup ดังรูปที่ 1.1 เพื่อติดตั้งโปรแกรม รูปที่ 1.1 แสดงไฟล์ติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office 2016


3) โปรแกรมจะเข้าสู่หน้าจอการติดตั้งดังรูปที่ 1.2 รูปที่ 1.2 แสดงหน้าจอการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office 2016 4) จากนั้นจะแสดงหน้าต่างแสดงว่าติดตั้งโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังรูปที่ 1.3 รูปที่ 1.3 หน้าต่างแสดงว่าติดตั้งโปรแกรมเสร็จเรียบร้อย 5) ให้กดปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าต่าง หลังจากติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว ในกรณีต้องการใช้งานเมนูภาษาไทย หรือต้องการ ความสามารถใน การตรวจคําผิดในระบบภาษาไทย จะต้องติดตั้งชุดภาษาไทยเพิ่มเติม (Setup Language Accessory Pack for MS Office 2016 โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของ ไมโครซอฟต์ ซึ่งจะมีให้เลือกใช้ทั้งแบบ 32 บิต (x86) และ 64 บิต (x64) โดยมีขั้นตอนการติดตั้งดังนี้ 1) เลือกไฟล์ชุดติดตั้งตามระบบปฏิบัติการ แล้วดับเบิลคลิกที่ไฟล์ดังกล่าว จะปรากฏหน้าต่าง แจ้งเตือน การติดตั้ง ดังรูปที่ 1.4 ให้กดปุ่ม (Yes) เพื่อติดตั้หลังจากติดตั้งโปรแกรม รูปที่ 1.4 แสดงการติดตั้งชุดภาษาไทย


2) เนื่องจากไฟล์ติดตั้งเป็นแบบ Online Setup ดังนั้นจึงจําเป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อดาวน์โหลด ส่วนการติดตั้งจากเว็บไซต์ หากไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจะมีหน้าต่าง แจ้งเตือน ดังรูปที่ 1.5 รูปที่ 1.5 แสดงหน้าต่างแจ้งเตือนในกรณีไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 3) เมื่อเชื่อมต่อเครื่องกับอินเทอร์เน็ต และติดตั้งชุดภาษาไทย โปรแกรมจะมีการติดตั้ง โปรแกรม Office 2016 ภาษาไทย ดังรูปที่ 1.6 รูปที่ 1.6 แสดงการติดตั้งโปรแกรม Office ชุดภาษาไทย


4. การกําหนดภาษาของโปรแกรม หลังจากติดตั้งซอฟต์แวร์ชุดภาษาไทยเรียบร้อยแล้ว เราจะต้องกําหนดตัวเลือก Office เพื่อกําหนด ลักษณะของภาษาไทย ดังนี้ 1) เปิดโปรแกรม Word แล้วคลิกริบบอน File จากนั้นเลือกที่รายการ Options ดังรูปที่ 1.7 รูปที่ 1.7 แสดงการปรับแต่งตัวเลือกการใช้งาน 2) จะปรากฏหน้าต่าง ตัวเลือก ให้เลือกที่รายการ Language เพื่อปรับแต่งภาษา ดังรูปที่ 1.8 รูปที่ 1.8 แสดงการกําหนดภาษาในการใช้งาน Word


3) จากรูป จะเห็นว่าส่วนของการปรับแต่งภาษา จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นส่วนการกําหนดการพิมพ์งาน และตรวจสอบภาษา ซึ่งจะเห็นว่าถูกกําหนดเป็นภาษาไทย เรียบร้อย ส่วนที่ 2 เป็นส่วนการกําหนดการใช้งานเมนู ซึ่งจะยังถูกกําหนดเป็นเมนูภาษาอังกฤษ ส่วนที่ 3 เป็นส่วนการแสดงข้อความช่วยเหลือ (Help) ซึ่งถูกกําหนดเป็นภาษาอังกฤษ 4) ในกรณีต้องการเปลี่ยนมาใช้เมนูภาษาไทย ให้ดําเนินการดังรูปที่ 1.9 คือ (1) คลิกที่รายการ Thai [ไทย] ในส่วนของ Display Language (2) จากนั้นคลิกที่ปุ่ม [Set as Default] (3) แล้วกดปุ่ม [OK) เป็นการปรับเปลี่ยนเมนูให้เป็น ภาษาไทย รูปที่ 1.9 แสดงการเปลี่ยนเมนูใช้งานของ Word เป็นภาษาไทย 5) จากนั้นให้ปิดโปรแกรม แล้วเปิดโปรแกรมขึ้นใหม่อีกครั้ง จะได้เป็นเมนูใช้งานเป็นภาษาไทย สาระน่ารู้ การปรับแต่งตัวเลือกภาษาในโปรแกรม Microsoft Word จะเป็นการปรับเปลี่ยนภาษา ของชุด โปรแกรม Microsoft Office 2016 ทั้งหมด


5. ส่วนประกอบของโปรแกรม ส่วนประกอบของโปรแกรม Office Word 2016 จะมีลักษณะ ดังรูปที่ 1.10 รูปที่ 1.10 แสดงหน้าจอของโปรแกรม Microsoft Word 2016 โดยประกอบด้วย..... 1) ชื่อเรื่อง (Title Bar) เป็นส่วนแสดงชื่อโปรแกรม และชื่อไฟล์งานที่เปิดใช้ 2) แถบเครื่องมือด่วน (Quick Access Tool Bar) ใช้กำหนดปุ่มเครื่องมือซึ่งใช้งานบ่อย 3) แถบเครื่องมือ (Ribbon) คือ ชุดเครื่องมือที่แยกเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน 4) ปุ่มเครื่องมือ (Button) คือ ปุ่มที่ใช้สั่งงานซึ่งจะแตกต่างกันไปตามริบบอนที่เลือกใช้ 5) ไม้บรรทัด (Ruler Bar) คือ ส่วนที่ใช้กำหนดขอบกระดาษและระยะย่อหน้า 6) พื้นที่สร้างงาน (Working Area) เป็นส่วนหน้ากระดาษที่ใช้ในการพิมพ์งานเอกสาร 7) ตัวแทรก (Insert Cursor) คือ ส่วนกำหนดตำแหน่งการพิมพ์งาน 8 แถบสถานะ (Status Bar) คือ ส่วนที่ใช้แสดงสถานะการทำงาน และหน้ากระดาษ 9) มุมมองเอกสาร (Document View) คือ ส่วนที่ใช้ย่อ/ขยาย และกำหนดมุมมองเอกสาร 10) ส่วนขยายหน้าจอภาพ (Zoom Control) คือ ส่วนที่ใช้ขยายหน้าจอเอกสาร


6.แถบเครื่องมือในโปรแกรม ในโปรแกรม Microsoft Word จะกำหนดแถบเครื่องมือ หรือที่เรียกว่าริบบอน (Ribbon) หรือแท็บ (Tab) เพื่อแยกปุ่มคำสั่งตามลักษณะในการใช้งาน โดยในแถบเครื่องมือหลักทั่วไปจะมีดังนี้ 6.1 แฟ้ม (File) เป็นแถบที่ใช้แสดงรายการหลักต่างๆ ดังรูปที่ 1.11 รูปที่ 1.11 แสดงแถบริบบอน แฟ้ม 6.2 หน้าแรก (Home) เป็นแถบที่แสดงเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้งานบ่อย เช่น การปรับแต่งรูปแบบอักษร การปรับแต่งสี ตัวอักษร และการจัดตำแหน่ง ดังรูปที่ 1.12 รูปที่ 1.12 แสดงแถบริบบอน หน้าแรก 6.3 แทรก (Insert) เป็นแถบเครื่องมือที่ใช้แทรกองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น แทรกตาราง แทรกรูปภาพ ภาพตัดปะ และ รูปร่างต่าง ๆ รวมทั้งกล่องข้อความ อักษรศิลป์ สมการ และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ดังรูปที่ 1.13 รูปที่ 1.13 แสดงแถบริบบอน แทรก


6.4 ออกแบบ (Design) คือ แถบเครื่องมือที่ใช้กำหนดลักษณะโครงสร้างรูปแบบเอกสาร สีสัน ลายน้ำ รวมทั้งกำหนดสีของหน้า และ เส้นขอบ ดังรูปที่ 1.14 รูปที่ 1.14 แสดงแถบริบบอน ออกแบบ 6.5 เค้าโครง (Layout) คือ แถบเครื่องมือที่ใช้กำหนดเค้าโครงหน้ากระดาษ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่าหน้ากระดาษ การกำหนดพื้นที่หลัง ของเอกสาร การกำหนดชุดรูปแบบ และการจัดเรียง ดังรูปทื่ 1.15 รูปที่ 1.15 แสดงแถบริบบอน เค้าโครง 6.6 การอ้างอิง (Reference) คือ เป็นแถบริบบอนที่ใช้ในการกำหนดตำแหน่งอ้างอิง การสร้างสารบัญ การกำหนดเชิงอรรถและการสร้าง ดัชนี ดังรูปที่ 1.16 รูปที่ 1.16 แสดงแถบริบบอน การอ้างอิง 6.7 การส่งจดหมาย (Mail) เป็นแถบริบบอนที่ใช่ในการพิมพ์ซองจดหมาย และป้ายผนึก รวมทั้งการสร้างจดหมายเวียน ดังรูปที่ 1.17 รูปที่ 1.17 แสดงแถบริบบอน การส่งจดหมาย


6.8 ตรวจทาน หรือ รีวิวเอกสาร (Review) เป็นแถบเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจการสะกดและไวยากรณ์การแปลภาษาผ่านอินเทอร์เน็ต และ การ เปรียบเทียบเอกสาร ดังรูปที่ 1.18 รูปที่ 1.18 แสดงแถบริบบอน การตรวจทาน (รีวิว) 6.9 มุมมอง (View) เป็นแถบเครื่องมือที่ใช่ในการกำหนดมุมมองเอกสาร การแสดง ไม้บรรทัด เส้นตาราง การย่อ/ขยายเอกสาร และการจัดเรียงหน้าต่างเอกสาร ดังรูปที่ 1.19 รูปที่ 1.19 แสดงแถบริบบอน มุมมอง นอกจากแถบริบบอนหลักดังกล่าว ยังมีแถบริบบอนพิเศษ ที่จะเพิ่มเข้ามาในขณะใช้งาน เช่นเมื่อคลิกที่ รูปภาพจะปรากฏแถบเครื่องมือปรับแต่งรูปแบบของภาพ ดังรูปที่ 1.20 หรือเมื่อคลิกที่ตาราง จะมีแถบเครื่องมือ สำหรับการออกแบบ และปรับแต่งเค้าโครงของตาราง ดังรูปที่ 1.21 และ 1.22 รูปที่ 1.20 แสดงแถบริบบอน ปรับแต่งรูปภาพ รูปที่ 1.21 แสดงแถบริบบอน ออกแบบตาราง รูปที่ 1.22 แสดงแถบริบบอน ปรับแต่งเค้าโครงตาราง


7. การปรับแต่งก่อนใช้งานโปรแกรม เราสามารถปรับแต่งโปรแกรม Microsoft Word 2016 เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น ดังนี้ 7.1 เพิ่มเครื่องมือในแถบเครื่องมือด่วน ในแถบเครื่องมือด่วน โดยทั่วไปจะมีปุ่มเครื่องมือเพียง 3 ปุ่ม คือ บันทึก เลิกทำและทำซ้ำโดยสามารถเพิ่ม หรือนำเข้าปุ่มเครื่องมือในแถบเครื่องมือด่วนได้โดย... (1) คลิกที่ปุ่มลูกศรทางด้านขวาของแถบเครื่องมือด่วน (2) จะปรากฏรายการปุ่มเครื่องมือ ดังรูปที่ 1.23 รูปที่ 1.23 แสดงการรายการปุ่มเครื่องมือในแถบเครื่องมือด่วน สำหรับปุ่มเครื่องมือที่ควรเพิ่มเข้ามาในแถบเครื่องมือด่วน ได้แก่ ปุ่มสร้างงานใหม่ ปุ่มเปิดงานเอกสาร ปุ่ม พิมพ์งานด่วน และปุ่มแสดงตัวอย่างก่อนพิมพ์ ซึ่งทำได้โดยคลิกที่รายการเครื่องมือที่ต้องการนำเข้า ดังรูปที่ 1.24 รูปที่ 1.24 แสดงรายการปุ่มเครื่องมือที่นิยมเพิ่มเข้ามาในแถบเครื่องมือด่วน


ในกรณีต้องการจัดลําดับ หรือเพิ่มปุ่มเครื่องมือนอกเหนือจากรายการที่แสดง ให้เลือกคลิกที่ รายการ คําสั่งเพิ่มเติม............ จะมีหน้าต่างแสดงปุ่มเครื่องมือให้เลือกเพิ่มเติม ดังรูปที่ 1.25 ซึ่งเราสามารถเพิ่มรายการ เครื่องมือ โดย (1) เลือกรายการเครื่องมือที่ต้องการ (2) กดปุ่ม [ เพิ่ม >> ] จะปรากฏรายการเครื่องมือทางด้านขวามือ สําหรับการจัดลําดับของปุ่มเครื่องมือ สามารถทําได้โดย (3) คลิกที่รายการเครื่องมือที่ต้องการเลื่อนจัดลําดับ (4) กดปุ่มลูกศรด้านข้าง เพื่อเลื่อนรายการขึ้นหรือลง (5) กดปุ่ม [ตกลง] รูปที่ 1.25 แสดงหน้าต่างการเพิ่มและจัดลําดับปุ่มเครื่องมือในแถบเครื่องมือด่วน ซึ่งจะได้ปุ่มเครื่องมือในแถบเครื่องมือด่วนที่ถูกจัดลําดับใหม่ ดังรูปที่ 1.26 รูปที่ 1.26 แสดงเครื่องมือในแถบเครื่องมือด่วนที่ถูกจัดลําดับใหม่


7.2 เพิ่มแถบไม้บรรทัด ในกรณีหน้าจอการใช้งานไม่มีแถบไม้บรรทัด เราสามารถเพิ่มแถบไม้บรรทัด ได้โดยคลิกที่ช่องรายการ ไม้ บรรทัด ในริบบอน มุมมอง ดังรูปที่ 1.27 รูปที่ 1.27 แสดงการเพิ่มแถบไม้บรรทัดในหน้าต่างเอกสาร 7.3 กําหนดการเปลี่ยนหน่วยวัดขนาด การเปลี่ยนหน่วยวัดทําได้โดยคลิกที่ ริบบอน แฟ้ม แล้วคลิกที่รายการ ตัวเลือก ดังรูปที่ 1.28 รูปที่ 1.28 แสดงรายการ ตัวเลือก ในริบบอน แฟ้ม จากนั้นดําเนินการ ดังรูปที่ 1.29 คือ (1) คลิกที่รายการ ขั้นสูง (2) เลือกรายการ การแสดงหน่วยการวัด ตามค่าที่ต้องการ


รูปที่ 1.29 แสดงการปรับเปลี่ยนหน่วยวัดขนาด 7.4 การเปลี่ยนแบบอักษรเริ่มต้น ส่วนใหญ่เมื่อสร้างเอกสารใหม่เพื่อใช้งาน โปรแกรม Microsoft Word จะกําหนดแบบอักษร (Font) เริ่มต้นในการพิมพ์งานไว้ให้ โดยใน Word 2016 จะใช้ฟอนต์ Calibri ขนาด 11pt. เป็นฟอนต์ เริ่มต้นในการพิมพ์ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ และใช้ฟอนต์ Cordia New ขนาด 14 pt. เป็นฟอนต์เริ่มต้น ในการพิมพ์ภาษาไทย ดังนั้น ในกรณีต้องใช้แบบอักษรอื่น จึงจําเป็นต้องเปลี่ยนแบบอักษรใหม่ทุกครั้ง สําหรับการเปลี่ยนแบบอักษรเริ่มต้นของ โปรแกรม Microsoft Word ทําได้โดย คลิกที่ปุ่มซึ่งอยู่ตรงมุม ล่างด้านขวาของชุดเครื่องมือปรับแต่งฟอนต์ ดังรูปที่ 1.30 รูปที่ 1.30 แสดงการกดปุ่มปรับแบบอักษร จะปรากฏหน้าต่างสําหรับการปรับแต่งฟอนต์ โดยจุดที่ต้องปรับแต่งจะมี 2 ตําแหน่ง คือ (1) แบบอักษรสําหรับการพิมพ์ภาษาไทย (2) แบบอักษรในกรณีพิมพ์ฟอนต์ภาษาอังกฤษ ดังรูปที่ 1.31


รูปที่ 1.31 แสดงแบบอักษรเริ่มต้นของ Microsoft Word กรณีต้องการกําหนดให้การพิมพ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ฟอนต์ TH SarabunPSKขนาด 16 pt. ทั้ง คู่ ให้แก้ไข (1) ภาษาที่ซับซ้อน เป็นฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. (2) ข้อความละติน เป็นฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. (3) กดปุ่ม (ตั้งเป็นค่าเริ่มต้น) ดังรูปที่ 1.32


รูปที่ 1.32 แสดงการกำหนดแบบอักษรให้เป็นฟอนต์ TH SarabunPSK 16 pt. รูปที่จะปรากฎหน้าจอโต้ตอบดำเนินการดังรูปที่ 1.33 คือ (1) เลือกใช้กับเอกสารทั้งหมด (2) กดปุ่ม [ตกลง] รูปที่ 1.33 กำหนดให้เป็นการตั้งค่าเริ่มต้นของเอกสารทั้งหมด ทำให้เมื่อสร้างเอกสร้างใหม่ แบบอักษรเริ่มต้นจะเป็น TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. เสมอโดยไม่ต้อง มาปรับแต่งอีกต่อไป


กิจกรรม 1.1 บอกชื่อองค์ประกอบของโปรแกรม Microsoft Word ให้นักเรียนบอกชื่อองค์ประกอบและหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ในโปรแกรม Microsoft Word จากรูป P1.1 ดังต่อไปนี้ รูปที่ P1.1 องค์ประกอบของโปรแกรม Microsoft Word


กิจกรรม 1.2 ปรับแต่งก่อนเพื่อใช้งาน Microsoft Word ให้นักเรียนปรับแต่งโปรแกรม Microsoft Word เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานดังนี้ (1) ตั้งเมนูใช้งานเป็นภาษาไทย (2) เพิ่มส่วนไม้บรรทัด (Ruler) (3) เพิ่มปุ่มเครื่องมือบนแถบเครื่องมือด่วน (Quick Launch Bar) (4) กำหนดแบบอักษรเริ่มต้นในการพิมพ์เอกสารให้เป็น TH SarabunPSK ขนาด 16 pt


กิจกรรม 1.1 บอกชื่แองค์ประกอบของโปรแกรม Microsoft Word ลงชื่อ........................................................................ผู้ประเมิน ( ...................................................... ) กิจกรรม 1.2 การปรับแต่งก่อนใช้งาน Microsoft Word ลงชื่อ......................................................................ผู้ประเมิน ( .................................................... )


คำชี้แจงจงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. ข้อใดคือลักษณะงานหลักของโปรแกรมประมวลผลคำ ก. คำนวณค่าเชิงตัวเลข ข. จัดเก็บข้อมูล ค. พิมพ์งานเอกสารต่าง ๆ ง. นำเสนอผลงาน 2. ข้อใดคือโปรแกรมประมวลผลคำที่อยู่ในชุด Microsoft Office ก. Microsoft Word ข. Microsoft Excel ค. Microsoft PowerPoint ง. Microsoft Access 3. ข้อใดคือไฟล์เอกสารที่สร้างจาก Microsoft Word รุ่นใหม่ ก. data.dta ข. data.word ค. data.docx ง. data.doc 4. ข้อใดคือจุดเด่นของโปรแกรม Word ใน Microsoft Office 365 ก. แก้ไขเอกสารได้รวดเร็ว ข. สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ ค. ทำงานหลายคนได้ในไฟล์งานเดียวกัน ง. มีเครื่องมือจัดการงานมากกว่า 5. ขั้นตอนข้อใดใช้ในการเปลี่ยนจากเมนูอังกฤษเป็นเมนูไทย ก. ใช้ริบบอน Options--> Language ข. ใช้ริบบอน File --> Options--> Language ค. Tuy Change--> Language --> Setting ง. ใช้เมนู Language --> Options 6. ข้อใดกล่าวถึงแถบเครื่องมือด่วน ไม่ถูกต้อง ก. ใช้กำหนดปุ่มที่ใช้งานบ่อยเพื่อให้เรียกใช้ได้เร็วขึ้น ข. สามารถเปลี่ยนตำแหน่งของปุ่มบนแถบเครื่องมือด่วนได้ ค. สามารถเพิ่มปุ่มคำสั่งใหม่ในแถบเครื่องมือด่วนได้ ง. สามารถย้ายตำแหน่งของแถบเครื่องมือด่วนได้


7. ริบบอนใดใช้เพิ่มแถบไม้บรรทัดในตัวโปรแกรม ก. แทรก (Insert) ข. ออกแบบ (Design) ค. เค้าโครง (Layout) ง. มุมมอง (View) 8. ริบบอนใดใช้ปรับแต่งรูปแบบอักษรของเอกสาร ก. แทรก (Insert) RO toe ข. หน้าแรก (Home) ค. ออกแบบ (Design) ง. เค้าโครง (Layout) 9. ขั้นตอนในข้อใดใช้เปลี่ยนหน่วยวัด ก. ตัวเลือก --> เปลี่ยนหน่วยวัด ข. ไฟล์ --> ตัวเลือก --> ขั้นสูง ค. ไฟล์ --> ตัวเลือก --> เปลี่ยนหน่วยวัด ง. มุมมอง --> ตัวเลือก --> เปลี่ยนหน่วยวัด 10. แบบอักษรใดไม่เหมาะนำมาใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทย ก. Calibei ข. Cordia New ค. Angsana New ง. TH SarabunPS


Click to View FlipBook Version