The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by k_viset, 2022-05-22 06:19:02

PSU-PDS Platform 1-2565

PSU-PDS Platform 1-2565

PSU-PDS Platform

vol 1 พฤษภาคม 2565

ฉบับต้อนรับเปิดเทอม

PSU-PDS Platform

vol 1 พฤษภาคม 2565

เปิดเล่มกับผู้อำนวยการ หน้า 1
34 ปี PSU-PDS หน้า 2
การเปิดเรียนในสัปดาห์ที่ 2 หน้า 3
การกำหนดพื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียน หน้า 4

การจัดอาหารสำหรับนักเรียน หน้า 5
การเลือกประธานห้องเรียน หน้า 6

ปฏิทินปฏิบัติงานเดือนพฤษภาคม-เดือนมิถุนายน 2565 หน้า 7
Like สาระ หน้า 8

PSU-PDS PLATFORM
VOL 1/2565 พฤษภาคม 2565

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเล่มกับผู้อำนวยการ
(ฝ่ายประถมศึกษา)

ปรัชญาการศึกษา



การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้ นฐานให้แก่ผู้เรียน
ใน 3 ด้าน คือ ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูก
ต้อง การศึกษาต้องสร้างบุคลิกและอุปนิสัยที่ดี
งาม (Character Education) และการศึกษา
ต้องมุ่งสร้างเสริมการพั ฒนาคุณลักษณะของผู้ที่
จะประสบความสำเร็จในอนาคต

วิสัยทัศน์ (Vision) ผศ.ดร.เครือศรี วิเศษสุวรรณภูมิ
ปีพุทธศักราช 2565 เป็นปีที่
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ PSU-PDSิ ก้าวเข้าสู่ปีที่ 34 ปีซึ่งโรงเรียน
(ฝ่ายประถมศึกษา) เป็นโรงเรียนชั้นนำในการจัด ต้องการเปลี่ยนแปลงในหลายสิ่งเพื่อพัฒนา
การศึกษาระดับปฐมวัยและประถมศึกษาเพื่ อ คุณภาพการศึกษาและขออนุญาตที่จะใช้
พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนที่มีสมรรถนะ มีความสุข PSU-PDS PLATFORM เป็นเวทีในการ
และเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ เล่าเรื่องราวต่างในโรงเรียนสาธิตของเรา
และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครอง
และผู้สนใจทุกท่าน

พันธกิจ (Mission) หวังเป็นอย่างยิ่งว่า
PSU-PDS PLATFORM จะเป็นสะพานที่
1. ยกระดับคุณภาพผู้เรียนระดับปฐมวัยและ จะเชื่อมต่อระหว่างโรงเรียน กับ บ้าน ได้
ประถมศึกษา เป็นอย่างดี และมีเนื้อหาสาระที่เป็น
ประโยชน์กับทุกท่าน
2. พัฒนาวิชาชีพครูให้ได้มาตรฐาน
3. พัฒนาระบบบริหารจัดการและภาพลักษณ์

องค์กร

1

PSU-PDS PLATFORM VOL 1 พฤษภาคม 2565

PSU-PDS ก้าวสู่ SMART SCHOOL ในปีที่ 34

ในโอกาสที่โรงเรียนสาธิต(ฝ่ายประถมศึกษา) มีอายุก้าวสู่ปีที่ 34 โรงเรียน
จึงตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นโดยกำหนดให้ปีที่ 34 เป็นปีที่
โรงเรียนก้าวสู่การเป็น SMART SCHOOL ดังรายละเอียดต่อไปนี้

S : Specific เป็นโรงเรียนที่มีลักษณะพิเศษ
M : Model เป็นโรงเรียนต้นแบบ
A : Academic เป็นโรงเรียนที่มีความโดดเด่นทาง

วิชาการ
R : Responsibility เป็นโรงเรียนที่มีความรับผิดชอบใน

การจัดการศึกษา

T : Technology เป็นโรงเรียนที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการ
จัดการเรียนรู้

2

PSU-PDS PLATFORM VOL 1 พฤษภาคม 2565

การเปิดเรียนในสัปดาห์ที่ 2 วันที่ 23 พฤษภาคม 2565

เมื่อวันที่ 17-20 พฤษภาคม 2565 ทางโรงเรียนได้ทดลองระบบการ

บริหารจัดการในสถานการณ์โควิด 19 โดยให้นักเรียนผลัดกันมาเรียนเป็น 2
กลุ่ม กลุ่มละ 2 วัน ซึ่งก็ผ่านไปได้ด้วยดี

ในสัปดาห์ที่ 2 เป็นต้นไป ทางโรงเรียนจะเปิดเรียน onsite โดยมีรายละเอียด
ต่อไปนี้

-- ระดับปฐมวัย เปิดเปิดเรียนครบชั้น
ระดับบริบาล ยังคงต้องแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เนื่องจากยังมีการ

ร้องไห้ทำให้ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และขอความกรุณาผู้ปกครอง
ให้มารับ นักเรียนหลังอาหารเที่ยง

ระดับอนุบาล 1 ยังคงต้องแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เนื่องจากยังมีร้องไห้
ทำให้ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเช่นเดียวกัน และขอความกรุณาผู้
ปกครองให้มารับนักเรียนในเวลา 14.30 น.

ระดับอนุบาล 2-3 มาครบทุกคน และขอความกรุณาผู้ปกครองมา
รับให้มารับเวลา 14.30 น.

สัปดาห์นี้น้องๆปฐมวัยนี้ยังคงไม่นอนที่โรงเรียน
การแต่งกาย
วันจันทร์-พฤหัสบดี แต่งกายชุดนักเรียนหรือชุดพลศึกษาตาม

ตารางเรียน
วันศุกร์ สวมกางเกงวอร์ม และเสื้อยืดสีน้ำเงินของโรงเรียน
-- ระดับประถมศึกษา เปิดเรียนครบชั้น ครบคน
การแต่งกาย
วันจันทร์ อังคาร และ พฤหัสบดี สวมชุดนักเรียนหรือชุดพลศึกษา

ตามตารางเรียน
วันพุ ธ สวมชุดลูกเสือ
วันศุกร์ สวมกางเกงวอร์ม และเสื้อยืดสีน้ำเงินของโรงเรียน
***หมายเหตุ
อนุญาตให้นักเรียนทุกระดับที่ชุดนักเรียนไม่พร้อมให้แต่งกายได้
ตามความเหมาะสม

3

PSU-PDS PLATFORM VOL 1 พฤษภาคม 2565

การกำหนดพื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียน

โรงเรียนยังคงต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดโคโรน่า 19
อย่างเข้มงวดเพื่ อความปลอดภัยของนักเรียนทั้งนี้โรงเรียนจำเป็นต้อง
จัดพื้นที่ในการเฝ้าระวังเป็น 3 ส่วน คือ

SCREENING ZONE หรือบริเวณจุดคัดกรอง ที่เหมาะสม จัดจุด
รับ-ส่งสิ่งของ จุดรับส่งอาหาร หรือจุดเสี่ยงอื่น เป็นการจำแนกนักเรียน
ครู บุคลากร ผู้ปกครอง และ ผู้มาติดต่อ ที่อาคารคิดดี

SAFETY ZONE หรือพื้ นที่ปลอดเชื้อ ปลอดภัย สำหรับนักเรียน ครู
และบุคลากรที่ปฏิบัติภารกิจ จัดกิจกรรมแบบปลอดภัย เป็นพื้ นที่ของ
ห้องเรียนและอาคารเรียน

QUARANTINE ZONE หรือบริเวณให้เป็นจุดกักกันและสังเกตอาการ
สำหรับนักเรียน ครูและ บุคลากรที่ยังต้องสังเกตอาการ หรือยังไม่ทราบ
สถานะการติดเชื้อ

โรงเรียนจึงจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการรับส่ง
นักเรียนดังนี้

ระดับปฐมวัย จะมีการคัดกรองนักเรียนบริเวณประตู 3 จากนั้นให้
รับ-ส่งนักเรียนบริเวณหน้ามุขของอาคารเจริญ-ศรีสุมาลย์ สุวรรณมงคล
โดยครูประจำชั้น/ครูผู้ช่วยจะมารับนักเรียนเข้าห้องเรียน

ระดับประถมศึกษา ให้รับ-ส่งที่อาคารคิดดี

โรงเรียนขออภัยผู้ปกครองมา ณ โอกาสนี้ มาตรการทั้งหมดเพื่อ
ความปลอดภัยของนักเรียนทั้งสิ้น และ ห้องเรียน/ อาคารเรียนถือเป็น
Safety Zone ที่สำคัญ

4

PSU-PDS PLATFORM VOL 1 พฤษภาคม 2565

การจัดการอาหารสำหรับนักเรียน

โรงเรียนสาธิตฝ่ายประถมศึกษาขอเป็นผู้จัดอาหารให้กับนักเรียนทุกคน
3 มื้อ คือ อาหารว่างเช้า อาหารกลางวัน และอาหารว่างบ่าย และไม่
อนุญาตให้นักเรียนนำอาหารมาทานเอง โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงจากเนื้อสุกร
เนื่องจากนักเรียนต้องนั่งรับประทานอาหารร่วมกันทั้งนักเรียนไทยพุ ทธและ
ไทยมุสลิม สำหรับครัวของโรงเรียนนั้นเป็นครัวฮาลาล

สำหรับค่าอาหารมีอัตราดังนี้

ระดับบริบาล เดือนละ 1,000 บาท

ระดับอนุบาล 1-3 เดือนละ 1,300 บาท

ระดับประถมศึกษา เดือนละ 1,600 บาท

โดยโรงเรียนจะจัดเก็บเป็นรายเดือนหลังจากนักเรียนได้รับบริการอาหาร

แล้ว

5

PSU-PDS PLATFORM VOL 1 พฤษภาคม 2565

การเลือกผู้ปกครองเพื่อทำหน้าที่ประธานห้องเรียนและอื่นๆ

ทุกปีการศึกษาจะมีการเลือกตัวแทนผู้ปกครองเพื่ อดำรงตำแหน่งประธาน
ห้องเรียนและมีตำแหน่งอื่นๆ โดยมีหน้าที่หลักคือ

--ประสานความร่วมมือผู้ปกครองในห้องเรียนเดียวกัน
--ประสานงานร่วมกับชมรมผู้ปกครองฯ
--ประสานงานกับครูประจำชั้นและโรงเรียน
--เสนอแนะแนวทางในการพั ฒนาโรงเรียนโดยภาพรวม
--นำเสนอปัญหาในชั้นเรียนที่ควรมีการแก้ไข
จึงเรียนรบกวนผู้ปกครองในแต่ละห้องเรียนได้โปรดเลือกตัวแทนผู้
ปกครองเพื่อดำรงตำแหน่งประธานห้องเรียน และส่งรายชื่อให้กับครูประจำชั้น
ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 เพื่อโรงเรียนจะได้นำมาแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ
ต่อไป
ตำแหน่งที่แต่ละห้องคัดเลือกจากผู้ปกครอง
1. ประธานห้องเรียน
2. รองประธานห้องเรียน
3. เหรัญญิกห้องเรียน

6

PSU-PDS PLATFORM VOL 1 พฤษภาคม 2565

ปฎิทินปฏิบัติงานเดือนพฤษภาคม -เดือนมิถุนายน 2565

7

PSU-PDS PLATFORM VOL 1 พฤษภาคม 2565

Like สาระ

สมองติดเกมทำงานเหมือนกับสมองติดยา

“สมองติดเกมเหมือนสมองติดยาเสพติด” ไม่ใช่สิ่งที่เกินความจริง ขึ้นอยู่
กับพ่ อแม่ว่าเมื่อเข้าใจกลไกการทำงานของสมองติดเกมแล้วนั้นจะตระหนักถึงพิ ษ
ภัยที่เกิดขึ้นกับลูกจริงจังเพียงใด บทความนี้ ครูจะอธิบายให้พ่อแม่เข้าใจถึง
กลไกการทำงานของสมองติดเกมที่มีรูปแบบเดียวกับสมองของคนติดยาเสพ
ติดตามหลักวิทยาศาสตร์สมอง

เข้าใจสมองติดเกม
เมื่อมนุษย์ได้รับการตอบสนองความต้องการทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
สมองจะหลั่งสารโดพามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ความแช่มชื่น
ความน่าดีใจ เป็นความรู้สึกเดียวกับเวลาที่เราได้รับรางวัลไม่ว่ารางวัลนั้นจะเล็ก
หรือใหญ่ก็ตามแต่ก็ทำให้เรารู้สึกดี ตามหลักวิทยาศาสตร์สมอง โดพามีนเป็น
Brain Reward Pathway ที่ทำให้มนุษย์รู้สึกพอใจและมีความสุข
ในสมองมนุษย์ปกติ โดพามีนจะรักษาระดับเป็นปกติและทำงานร่วมกับ
สารสื่อประสาทอื่นๆทำให้มนุษย์มีความรู้สึกที่สมดุลเพื่ อใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น
เด็กปกติทุกคนต่างมีสารโดพามีนในสมองไม่แตกต่างกัน และมีความสุขเมื่อได้
รับการตอบสนองทางร่างกายและจิตใจเหมือนๆกัน
แต่เมื่อเด็กใช้เวลากับเกมและหน้าจอมากๆ กลไกการหลั่งสารโดพามีนใน
สมองจะถูกแทรกแซงทำให้สมองหลั่งโดพามีนมากสูงกว่าปกติ อันมีสาเหตุมา
จาก ภาพ แสง สี เสียง เนื้อหา การตัดต่อและการดำเนินเกม (รวมถึงสื่อหน้าจอ
อื่นๆ) จะทำหน้าที่เป็นสิ่งเร้า กระตุ้นอารมณ์ให้เด็กสนุกสนาน ตื่นเต้น เร้าใจ
มากกว่าสื่อรอบตัวทั่วไปที่เด็กเคยเล่นในชีวิตมาก่อนหน้านี้

PSU-PDS PLATFORM VOL 1 พฤษภาคม 2565

นานวันผ่านไป ยิ่งใช้เวลากับเกมและหน้าจอมาก โดพามีนก็รักษา
ระดับการหลั่งที่สูงกว่าปกติไปเรื่อยๆจนทำให้กลไกการหลั่งโดพามีนเปลี่ยนไป
จากระดับตามธรรมชาติที่ควรจะเป็นมาก สิ่งเร้ารอบตัวทั่วไปจึงไม่มีพลัง
อำนาจมากพอที่จะทำให้เด็กรู้สึกพอใจและมีความสุขมากเท่ากับกับการเล่นเกม
หรือดูหน้าจอ เด็กจึงไม่จดจ่อ ขาดความสนใจกับกิจกรรมที่ไม่สนุกเท่ากับการ
เล่นเกม พ่อแม่จะพบว่า

ครูสอนในห้องก็รู้สึกไม่สนุก
อ่านหนังสือก็ไม่สนุก
เล่นของเล่นก็ไม่สนุกตราตรึงใจเท่าเล่นเกม
ชวนไปไหนก็ไม่ค่อยอยากจะไป อยากอยู่บ้านเล่นเกม

เมื่อเล่นจนติดและไม่ได้เล่น สมองจะเรียกหาความสุขที่เคยได้รับ เหมือน
ร่างกายขาดสารโดพามีน จึงร้องขออุปกรณ์หน้าจอจากพ่อแม่ ขอพ่อแม่เล่น
เกม และทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เล่นเกมในเวลานั้น สมองส่วนอารมณ์ (Limbic
System) จะทำงานมากกว่าสมองส่วนหน้า (Pre-frontal Lobe) ทำให้ EF
ลดลง ขาด Self-Control ขาดเหตุผล คิดวิเคราะห์ ฉุนเฉียว ก้าวร้าว
หงุดหงิด ซึ่งเป็นกลไกเดียวกับคนติดยาเสพติด

สอดคล้องกับงานวิจัยระดับนานาชาติหลายงานที่ยืนยันว่า จากการ
ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของสมองวัยรุ่นที่เล่นเกมประเภท Violent Game
พบว่าในขณะที่ทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิจดจ่อควบคู่ไปกับความยับยั้งชั่งใจ
นั้น สมองส่วนเหตุผลของวัยรุ่นที่เล่นเกมมากจะทำงานอืดช้า ความสามารถ
ในการจดจ่อ คงสมาธิ และการควบคุมตัวเองลดลง แต่สมองส่วนอารมณ์
กลับทำงานมากขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กติดเกมจะมีไม่สามารถคงสมาธิ
ได้นาน และมีอารมณ์ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราวในขณะที่เล่นและเลิกเล่น

PSU-PDS PLATFORM VOL 1 พฤษภาคม 2565

จากภาพประกอบบทความที่เกิดจากการบันทึกแบบ fMRI สีส้มและสี
เหลืองที่ปรากฎบนพื้นที่ส่วนต่างๆของสมอง หมายถึง กิจกรรมที่เกิดขึ้นใน
สมองส่วนนั้นๆภาพซ้ายเป็นสมองของวัยรุ่นที่เล่นเกมแบบ Non-Violent
Game จะปรากฎกิจกรรมของสมองส่วนคิดกระจายทั้งด้านซ้าย ตรงกลาง และ
ด้านขวาในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน

ภาพขวาเป็นสมองของวัยรุ่นที่เล่นเกมแบบ Violent Game จะเห็นว่า
กิจกรรมในสมองส่วนคิดลดน้อยลงทั้งในแง่การกระจายพื้ นที่และปริมาณเมื่อ
เทียบกับกลุ่ม Non-Violent Game รวมถึงปรากฎกิจกรรมในพื้นที่สมองส่วน
อารมณ์อย่างเห็นได้ชัด

การเล่นเกมหรือใช้หน้าจอเกินพอดีนำไปสู่ภาวะการเสพติดตามการ
ทำงานของสมองตามที่กล่าวมาข้างต้น และปรากฎหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
สมองและการศึกษาวิจัยอย่างแพร่หลายว่าเป็นเช่นนั้ยจริง มาถึงตอนนี้ ครูอยาก
บอกพ่ อแม่ว่า

- ให้ลูกเล่นได้แต่อย่าปล่อยให้ติด
- เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบไม่ให้ใช้หน้าจอ
- เด็กอายุ 3 - 6 ขวบใช้หน้าจอได้ในการศึกษาและเสริมพัฒนาการได้แต่
ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ใหญ่เท่านั้น
- เด็ก 6 ขวบขึ้นไป กำหนดการใช้หน้าจอ วันธรรมดาไม่เกิน 1 ช.ม. วัน
หยุด ส. - อา. ไม่เกิน 2 ช.ม. และไม่ใช่เป็นการใช้รวดเดียวจบแต่เป็นการสะสม
ครั้งละ 20 - 30 นาที
- เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีไม่ควรมีสมาร์ทโฟนเป็นของตัวเอง
- พ่อแม่ต้องมีทักษะทาง IT ที่มากพอที่จะใช้ Application ต่างๆในการ
ควบคุมและจัดการพฤติกรรมการเล่นเกมและใช้หน้าจอของลูกได้

ที่มา :สถาบัน Play Academy

PSU-PDS PLATFORM VOL 1 พฤษภาคม 2565


Click to View FlipBook Version