The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Tpso10 Network, 2022-09-26 23:16:13

แนวทางการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เพื่อการพัฒนาชุมชน

เล่ม r2r สสว10_merged (1)

แนวทางการพฒั นาศกั ยภาพ

อาสาสมคั รพฒั นาสงั คมและความมนั่ คงของมนษุ ย์ (อพม.) เพ่ือการพฒั นาชมุ ชน

ท่ีปรึกษา นางอบุ ล ทองสลับล้วน ผ้อู ำนวยการสำนักงานส่งเสรมิ และสนับสนนุ วชิ าการ 10
นางสาวพวงทพิ ย์ พูลสวัสด์ิ นกั พัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ
นางสาวพนดิ า แซต่ ้งั นกั พัฒนาสังคมชำนาญการ

บรรณาธกิ าร นางสาวทิพวดี มะฮง พนักงานบริการ

ปีการศกึ ษา กนั ยายน 2565

จดั ทำโดย กลมุ่ การวิจัยและการพัฒนาระบบเครือข่าย
สำนักงานสง่ เสริมและสนบั สนุนวชิ าการ 10 (สสว.10)
เลขที่ 33 หมู่ 1 ตำบลขนุ ทะเล อำเภอเมือง จงั หวดั สรุ าษฎรธ์ านี 84100
โทรศัพท์ : 0 7735 5022 – 3 โทรสาร : 0 7735 5705
http://tpso-10.m-society.go.th

คำนิยม

อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ไดแ้ พรข่ ยายออกไปท่วั ประเทศไทย อพม. คือ
อาสาสมัครที่ปฏิบัตงิ านด้านต่างๆ ในชุมชนอยู่แล้ว และสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและความม่ันคง
ของมนษุ ย์ เพื่อชุมชนของตนเอง

แตค่ นสว่ นใหญ่ไม่เชื่อว่าตนเองจะมีความสามารถทจี่ ะเป็น อพม. ได้ บางคนอาจคิดว่าการเป็น อพม. เป็น
ภาระเพิ่มขึ้น เพิ่มความยากลำบากเบียดบังเวลาทำงาน ท่านที่คิดเช่นนี้ ต้องอ่านหนังสือ “แนวทางการพัฒนา
ศกั ยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมน่ั คงของมนุษย์ (อพม.) เพือ่ การพัฒนาชมุ ชน” เลม่ น้ี แล้วท่านจะ
เปลี่ยนใจ มองในมุมหนงึ่ อพม. กค็ อื อาสาสมคั รที่ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสังคม แตเ่ ปน็ การพฒั นาแบบมีแนวทาง
ในการดำเนินงาน หนังสือเล่มนี้ มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเชื่อถือได้ สำหรับนำมาใช้ประเมินและติดตามผล
ของงาน อพม. เพื่อใช้ในการปรับวิธีการของงานพัฒนาชุมชนตามที่ต้องการ และเมื่อได้ผลตามที่ต้องการแล้ว ก็
สามารถนำมาเขียนเป็นรายงานผลการวิจัยที่มีคุณภาพเพียงพอที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ หรือนำไปนำเสนอในงาน
ประชมุ วชิ าการ

หนงั สือ “แนวทางการพฒั นาศกั ยภาพอาสาสมคั รพัฒนาสังคมและความมน่ั คงของมนษุ ย์ (อพม.) เพอ่ื
การพฒั นาชมุ ชน” เขียนแบบเลา่ เร่ือง เพอ่ื ส่อื สารหลกั การวธิ กี าร และผลลพั ธ์ ในบริบทของสำนกั งานสง่ เสริมและ
สนับสนุนวิชาการ 10 ให้เห็นถึงการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่และภารกิจของอพม. เพื่อใ ห้เกิด
ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

ขอขอบคุณตัวละครจริงทุกคน ที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้แทนสังคมไทย ที่ท่านได้ริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณคา่
ยิ่งให้แก่สังคม เพราะความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาศักยภาพ อพม. นั้น มีหลายชั้น หลายมิติ หลายมุมมอง
การรวบรวม ตีความ จัดหมวดหมู่ และนำเสนอความรู้จากประสบการณต์ รง เป็นเรื่องทีท่ ้าทาย สนุกสนาน และมี
คุณค่าสงู ยิ่ง ดังท่ีท่านผู้อา่ นจะสัมผสั ได้จากการอา่ นหนงั สอื เล่มน้ี

กลุ่มการวจิ ยั และการพัฒนาระบบเครือข่าย
กนั ยายน 2565

คำนำ

ด้วยความต้ังใจว่า Routine to Research (R2R) จะช่วยเสริมสร้างเครื่องมือในการพัฒนาคน เพื่อพัฒนา
งาน ขับเคลื่อนองค์กร สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยยึดหลักวา่ ทุกคนสามารถสร้างความรู้เองได้ดว้ ยงานวิจัย และ
การวิจยั ไม่ใชเ่ รอื่ งยากอยา่ งทค่ี ดิ

เป้าหมายสำคัญของ R2R คือ การสร้างและใช้ความรู้เพื่อไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น R2R แตกต่างจาก
งานวิจัยจำนวนมากที่กลายเป็น “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” คือ ไม่มีคนนำไปใช้ เพราะไม่ได้ตั้งเป้าหมายการใช้ประโยชน์ที่
ชดั เจนไวต้ ั้งแต่แรก การลงทุนเรือ่ ง R2R จงึ เป็นการลงทุนทคี่ ุ้มคา่ และจะนำไปสู่การพัฒนาท่ยี ่งั ยนื

หนังสือ “แนวทางการพัฒนาศักยภาพอาสาสมคั รพัฒนาสงั คมและความมน่ั คงของมนษุ ย์ (อพม.) เพอ่ื
การพัฒนาชุมชน” นี้ เป็นอีกหนึ่งการลงทุนของ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 เพื่อส่งเสริม
สนับสนนุ ใหแ้ นวทางการพฒั นาศักยภาพ อพม. แพร่หลายออกไปในวงกว้างมากยง่ิ ขนึ้ และเชญิ ชวนผู้ทีส่ นใจสมัคร
เข้าร่วมเป็น อพม. นอกจากจะได้ความรู้แล้ว การอ่านหนังสือนี้ยังช่วยเสริมสร้างแนวทางการพัฒนาชุมชน สู่การ
สร้างแรงบันดาลใจให้คนรนุ่ ใหม่ “ทุ่มเททำความดดี ้วยหัวใจ แรงบนั ดาลใจเพอื่ สงั คม”

กลมุ่ การวิจัยและการพัฒนาระบบเครือข่าย
กนั ยายน 2565

สารบญั หน้า

บทนำ 1
ความเป็นมาและความสำคญั ของปญั หา 2
วตั ถปุ ระสงค์ของการวจิ ยั 3
ประโยชน์ของงานวจิ ัย 3
ขอบเขตการวิจยั 4
นิยามศพั ท์เฉพาะ
5
ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง 6
ความเป็นมาของอาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความม่นั คงของมนษุ ย์ 8
บทบาทของอาสาสมคั รพัฒนาสงั คมและความม่นั คงของมนษุ ย์ 10
งานวิจัยที่เก่ยี วข้อง
กรอบแนวคิดการวจิ ัย 11
11
วิธดี ำเนนิ การวิจยั 12
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 12
เครือ่ งมือท่ีใชใ้ นการวิจัย
การเก็บรวบรวมข้อมลู 13
การวิเคราะห์ขอ้ มูล
16
ผลการวจิ ยั
ผลการปฏบิ ตั ิงาน ปญั หาและอุปสรรค แรงบันดาลใจ 22
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมน่ั คงของมนษุ ย์ 23
23
ตามบทบาทหนา้ ท่ีที่ไดร้ บั มอบหมาย 24
สรปุ อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ 25

สรุปผลการวจิ ัย
อภปิ รายผล
ข้อเสนอแนะ
บรรณานกุ รม
บคุ ลานกุ รม

บทนำ

ความเปน็ มาและความสำคัญของปัญหา

อาสาสมคั รพัฒนาสงั คมและความม่นั คงของมนุษย์ (อพม.) เกดิ ขน้ึ เพื่อสนับสนนุ และส่งเสรมิ ให้
อาสาสมัครที่มีอยู่หลากหลายในชุมชนและหมู่บ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เนื่องจากภารกิจ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มขี อบเขตกวา้ งขวางเก่ยี วข้องกบั ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
ซึ่งปัจจุบันอาสาสมัครที่มีอยู่ในชุมชน ท้องถิ่น มีหลายประเภท และปฏิบัติงานหลากหลายด้าน เช่น อาสาสมัคร
สาธารณสุข อาสาสมัครต่อต้านยาเสพติด อาสาสมัครคุมประพฤติ เป็นต้น ซึ่งอาสาสมัครสมัครเหล่านี้ล้วน
ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนทั้งส้ิน การส่งเสริมให้กลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้ได้เข้าใจตระหนักถึง
ความสำคัญของการพัฒนาชุมชน ได้เรียนรู้บทบาท หน้าที่ ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน เพื่อการพัฒนา
สังคมในท้องถิ่นของตนเอง จะทำให้เกิดเครือข่ายในพื้นที่ที่จะเป็นพื้นฐานพลังสำคัญในการพัฒนาสังคมไปสู่ สังคม
แห่งสันติสุข ซึ่งอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นั้น ใช้ชื่อย่อว่า “อพม.” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า
Social Development and Human Security Volunteer ชือ่ ยอ่ ภาษาองั กฤษ “SDHSV” หมายความว่า บุคคล
ที่สมัครใจเพื่อเข้าช่วยเหลือการดำเนินงานตามภารกิจของกระ ทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
และผ่านการอบรม ตามเกณฑ์ วิธีการที่คณะกรรมการส่งเสริมงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนษุ ยก์ ำหนด ตามคณุ สมบัติ ไดแ้ ก่ 1) มีสัญชาตไิ ทย 2) เปน็ บุคคลท่สี มัครใจ และมคี วามพรอ้ มในการปฏิบัติหน้าท่ี
เพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3) กรณีใน
ต่างประเทศ ต้องมีถิ่นพำนักที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศนั้นๆ 4) สามรถอ่านออกเขียนได้ 5) มีความซื่อสัตย์
สุจริต มีคุณธรรม และความประพฤติดี 6) เป็นผู้มีความจงรักภักดีตอ่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ7) เป็นผู้มี
เวลาให้กับการทำงานในบทบาท อพม. ตามบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ได้แก่ 1) ปฏิบัติติตามนโยบาย
ของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2) ค้นหา ชี้เป้า เฝ้าระวัง สำรวจ
ข้อมูล เสนอรายชื่อผู้ประสบปัญหาทางสังคม ให้กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์พิจารณา เพื่อขอรับการช่วยเหลือตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
3) ให้คำแนะนะปรึกษาปัญหาทางสังคม ประสาน ติดตาม เสนอแนะแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความ
เดือดร้อน ให้บริการ และดำเนินงาน เพื่อพิทักษ์คุ้มครองสิทธิกลุ่มเป้าหมาย ตามภารกิจของทุกหน่วยงานในสังกดั
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 4)
ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมทุกระดับ และจัดกิจกรรมด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุ ษย์ เพื่อการ
เฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไข และฟน้ื ฟูคุณภาพชีวติ โดยสอดคล้องกบั สถานการณข์ องพน้ื ที่นนั้ ๆ 5) เสริมสรา้ งการมีส่วน
ร่วมทางสังคมและเสริมสร้างเครือข่ายด้านการพัฒนาสังคม 6) ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร
ปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ ในภารกิจทีเ่ กย่ี วข้องกบั การจัดสวสั ดกิ ารสังคมและการพัฒนาสังคม 7) เผยแพรป่ ระชาสัมพันธ์
จัดการรณรงค์ ให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการพัฒนาสังคม และส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิของประชาชน
กลุ่มเปา้ หมายตามภารกิจของกระทรวงการพฒั นาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ 8) ศกึ ษา พฒั นาตนเอง เข้าร่วม

2

กจิ กรรมท่จี ัดโดยหนว่ ยงานในสงั กัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ และหรือสง่ เสริมสนับสนุน
การดำเนนิ งาน 9) กรณีปฏิบัตหิ นา้ ท่ใี นต่างประเทศอย่างน้อยจะต้องปฏิบตั ิตาม (1) – (8) รวมทง้ั กฎหมายระหว่าง
ประเทศ และกฎหมายท้องถ่ินในประเทศนั้นๆ

อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ว่าด้วยอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2564 มีความแตกต่างจาก
อาสาสมัครประเภทอื่นๆ คือ การปฏิบัตหิ น้าท่ีโดยไมม่ ีค่าตอบแทน ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ให้เกียรติ
ให้โอกาส แก่ อพม. ซึ่งเป็นคนที่มีแรงจูงใจในการทำงาน มีความทุ่มเท และพยายามทำงานเป็นพิเศษมากกว่า
อาสาสมัครอื่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ จึงได้มีการมอบรางวัลแก่ อพม. ที่ปฏิบัติงาน
ด้วยความเสียสระ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และปฏิบัติอย่างต่อเน่ืองไม่น้อยกวา่ 3 ปี สามารถสง่ ผลงาน เพื่อเข้ารับ
การคัดเลือกเป็นอาสาสมคั รพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนษุ ย์ดเี ด่น มีสิทธิได้รับการพิจารณาคัดเลือกเพื่อรับ
ประกาศเกียรติคุณ อพม. ดีเด่นประจำปี และหากยังคงปฏิบัติงานดีเด่น อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ รวมระยะเวลา
ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี มีสิทธิได้รับการพิจารณาคัดเลือกเพื่อขอรับโล่ประกาศเกียรติคุณ และเข็มเชิดชูเกียรติ
สามารถส่งผลงาน เพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดีเด่นพิเศษ
ประจำปี ด้วยความสำคัญของบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของ อพม. ย่อมส่งผลต่อการสนับสนุนงานด้าน
พัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง แต่พบข้อจำกัด คือ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ขาดทักษะ
ในการเยี่ยมบ้านสอบข้อเท็จจริงผู้ประสบปัญหาทางสังคม เพื่อขอรับการช่วยเหลือจากหน่วยงานสังกัดกระทรวง
การพฒั นาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ ส่งผลให้ขาดการยอมรับจากคนในชมุ ชน

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ได้ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพของ
อพม. ในฐานะสว่ นหน่ึงของกลไกการ ขับเคลอื่ นงานดา้ นพัฒนาสังคมและสวัสดกิ าร ทส่ี ามารถตอบสนองต่อปัญหา
ความตอ้ งการของชุมชนในพ้นื ท่ีอยา่ งเหมาะสม ทนั สถานการณภ์ ายใตก้ ระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จึงได้
ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้ อพม. สามารถ
ปฏิบัติงานตามบทบาทได้ครบถ้วนและมีประสิทธิผล อันจะนำไปสู่การที่ประชาชนได้รับบริการตามสิทธิท่ีจำเปน็
อยา่ งทวั่ ถงึ ตอ่ ไป

วตั ถุประสงค์ของการวิจยั

1. เพื่อศึกษาสภาพการปฏบิ ัติงานในปัจจบุ ัน ปัญหาและอุปสรรค แรงบนั ดาลใจในการ
ปฏบิ ัติงานของอาสาสมัครพฒั นาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ ทไ่ี ดร้ บั รางวัลดเี ดน่ พเิ ศษและดีเด่น ประจำปี
พ.ศ. 2564

2. เพ่ือนำเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมนั่ คงของมนุษย์
เพือ่ การพฒั นาชุมชน

3

ประโยชน์ของงานวจิ ยั

1. ได้แนวทางการพัฒนาศกั ยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมน่ั คงของมนุษยเ์ พ่ือการ
พฒั นาชุมชน ซง่ึ จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์และการขับเคล่ือนการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร
พฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้เป็นรูปธรรมได้อยา่ งมีประสิทธภิ าพ

2. อาสาสมคั รพฒั นาสังคมและความมน่ั คงของมนุษย์ มีกรอบการพัฒนาทช่ี ดั เจน และมีแผนการ
ดำเนินงาน เพ่ือพัฒนาการทำงานอยา่ งต่อเน่ือง และบรรลุเป้าหมายการพฒั นาชมุ ชนอย่างยัง่ ยนื

ขอบเขตการวิจยั

1. ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร คือ อาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความมั่นคงของมนุษย์ ในพนื้ ท่ี 7 จงั หวัดภาคใต้
ตอนบน ที่ไดร้ ับรางวัลอาสาสมคั รพฒั นาสงั คมและความม่ันคงของมนุษย์ดีเด่นพิเศษ และดเี ด่น ประจำปี พ.ศ.
2564 รวมจำนวน 9 คน
2. ขอบเขตด้านเนอ้ื หา เนื้อหาในการศึกษา ครงั้ น้ี
แนวทางการพฒั นาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความมั่นคงของมนษุ ย์ ในพื้นท่ี 7
จังหวัดภาคใต้ตอนบน ระดับตำบล ตามบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ได้แก่ 1) ปฏิบัติติตามนโยบายของ
ทุกหน่วยงานในสงั กัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2) ค้นหา ชี้เป้า เฝ้าระวัง สำรวจข้อมลู
เสนอรายชื่อผู้ประสบปัญหาทางสังคม ให้กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนษุ ยพ์ จิ ารณา เพ่ือขอรบั การชว่ ยเหลอื ตามภารกจิ ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ 3) ให้
คำแนะนะปรึกษาปัญหาทางสังคม ประสาน ติดตาม เสนอแนะแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความ
เดือดร้อน ให้บริการ และดำเนินงาน เพื่อพิทักษ์คุ้มครองสิทธิกลุ่มเปา้ หมาย ตามภารกิจของทุกหน่วยงานในสังกดั
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 4)
ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมทุกระดับ และจัดกิจกรรมด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อการ
เฝา้ ระวัง ปอ้ งกนั แกไ้ ข และฟ้ืนฟูคุณภาพชวี ติ โดยสอดคล้องกบั สถานการณข์ องพืน้ ท่นี ัน้ ๆ 5) เสรมิ สร้างการมีส่วน
ร่วมทางสังคมและเสริมสร้างเครือข่ายด้านการพัฒนาสังคม 6) ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร
ปกครองส่วนทอ้ งถ่ินในภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมและการพัฒนาสังคม 7) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
จัดการรณรงค์ ให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการพัฒนาสังคม และส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิของประชาชน
กล่มุ เป้าหมายตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสงั คมและความม่นั คงของมนษุ ย์ 8) ศึกษา พัฒนาตนเอง เข้าร่วม
กิจกรรมท่จี ัดโดยหนว่ ยงานในสังกัดกระทรวงการพฒั นาสังคมและความม่นั คงของมนุษย์ และหรือส่งเสรมิ สนับสนุน
การดำเนนิ งาน

4

3. ขอบเขตด้านเวลาและพื้นที่
การดำเนินการวจิ ัยคร้ังน้ี ดำเนนิ การในพ้ืนที่ 7 จงั หวัดภาคใตต้ อนบน
ระยะเวลาทใี่ ชใ้ นการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล ระหว่างเดือนตลุ าคม 2564 - กนั ยายน 2565 เปน็
ระยะเวลา 12 เดือน

นิยามศัพทเ์ ฉพาะ

1. อาสาสมัครพฒั นาสงั คมและความม่นั คงของมนษุ ย์ (อพม.) หมายถงึ อาสาสมัคร ที่เป็นกลไก
สำคัญ ในระดับพื้นที่ที่สามารถเข้าไปดูแลกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง เป็นการหนุนเสริมเติมเต็มภารกิจของ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ คือการขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม การให้คำแนะนำปรึกษา
ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน ติดตาม เฝ้าระวัง ตลอดจนป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็ก
เยาวชน คนพกิ าร ผู้สูงอายุ คนไร้ทพ่ี ง่ึ และคนขอทาน

2. การพัฒนาชุมชน หมายถึง เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกด้าน โดย
ประชาชนและมีหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นผู้ให้การสนับสนุน และการพัฒนาจะต้องสอดคล้องกับ
ความตอ้ งการของชมุ ชน และสภาพแวดลอ้ มเป็นสำคัญ

3. แนวทางการพัฒนา หมายถึง แนวทางในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ และ
พฤติกรรม ของสมาชิกในสังคม ตั้งแต่ระดับบุคล จนถึงระดับสังคม จากลักษณะที่สังคมเคยเป็นอยู่ให้ก้าวไปสู่การ
เป็นสังคมตามแบบอย่างที่ควรจะเป็น หรือเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอาจเรียกว่า สังคมที่ได้รับการ
พัฒนา

4. ศักยภาพ หมายถงึ ความสามารถ ความพรอ้ ม หรอื คุณสมบัตทิ ่ีแฝงอยใู่ นตัวบุคคลใดบุคคล
หนึง่ ซึง่ สามารถทำให้ปรากฏหากได้รบั การพัฒนา หรือกระตุ้นจากภายนอก อันจะส่งผลต่อความสำเร็จ และความ
พึงพอใจสงู สดุ

5

ทบทวนวรรณกรรมและงานวจิ ัยท่ีเกยี่ วขอ้ ง

การศกึ ษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความมั่นคงของมนษุ ย์
เพ่ือการพัฒนาชุมชน สำนักงานส่งเสริมและสนบั สนุนวชิ าการ 10 ได้ทบทวนวรรณกรรมและงานวจิ ัยที่เก่ียวข้อง ดงั น้ี

ความเปน็ มาของอาสาสมัครพฒั นาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เกิดขึ้น เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้

อาสาสมัครที่มีอยู่หลากหลายในชุมชนและหมู่บ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เนื่องจากภารกิจ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มขี อบเขตกว้างขวางเกย่ี วข้องกับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
ซึ่งปัจจุบันอาสาสมัครที่มีอยู่ในชุมชน ท้องถิ่น มีหลายประเภท และปฏิบัติงานหลากหลายด้าน เช่น อาสาสมัคร
สาธารณสุข อาสาสมัครต่อต้านยาเสพติด อาสาสมัครคุมประพฤติ เป็นต้น ซึ่งอาสาสมัครสมัครเหล่านี้ล้วน
ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนทั้งสิ้น การส่งเสริมให้กลุ่มอาสาสมัครเหล่าน้ี ได้เข้าใจตระหนักถึง
ความสำคัญของการพัฒนาชุมชน ได้เรียนรู้บทบาท หน้าที่ ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน เพื่อการพัฒนา
สังคมในท้องถิ่นของตนเอง จะทำให้เกิดเครือข่ายในพื้นที่ที่จะเป็นพื้นฐานพลังสำคัญในการพัฒนาสังคมไปสู่สังคม
แห่งสันตสิ ุข ซ่ึงอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์น้ัน ใช้ช่ือย่อวา่ “อพม.” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า
Social Development and Human Security Volunteer ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “SDHSV” ซึ่งหมายความว่า
บุคคลที่สมัครใจเพื่อเข้าช่วยเหลือการดำเนินงานตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ั นคงของ
มนุษย์ และผ่านการอบรม ตามเกณฑ์ วิธีการที่คณะกรรมการส่งเสริมงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์กำหนด ตามคุณสมบัติ ได้แก่ 1) มีสัญชาติไทย 2) เป็นบุคคลที่สมัครใจ และมีความพร้อมในการปฏิบัติ
หน้าที่ เพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3) กรณี
ในตา่ งประเทศ ต้องมีถ่นิ พำนกั ท่ถี ูกตอ้ งตามกฎหมายในประเทศน้นั ๆ 4) สามรถอา่ นออกเขยี นได้ 5) มีความซ่อื สัตย์
สุจริต มีคุณธรรม และความประพฤติดี 6) เป็นผู้มีความจงรักภกั ดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ7) เป็นผู้มี
เวลาให้กับการทำงานในบทบาท อพม. ตามบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ได้แก่ 1) ปฏิบัติติตามนโยบาย
ของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2) ค้นหา ชี้เป้า เฝ้าระวัง สำรวจ
ข้อมูล เสนอรายชื่อผู้ประสบปัญหาทางสังคม ให้กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์พิจารณา เพื่อขอรับการช่วยเหลือตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
3) ให้คำแนะนะปรึกษาปัญหาทางสังคม ประสาน ติดตาม เสนอแนะแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความ
เดือดร้อน ให้บริการ และดำเนินงาน เพื่อพิทักษ์คุ้มครองสิทธิกลุ่มเป้าหมาย ตามภารกิจของทุกหน่วยงานในสังกดั
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 4)
ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมทุกระดับ และจัดกิจกรรมด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อการ
เฝ้าระวัง ปอ้ งกัน แก้ไข และฟ้ืนฟคู ุณภาพชวี ติ โดยสอดคลอ้ งกับสถานการณข์ องพื้นที่นนั้ ๆ 5) เสรมิ สร้างการมีส่วน
ร่วมทางสังคมและเสริมสร้างเครือข่ายด้านการพัฒนาสังคม 6) ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร
ปกครองสว่ นท้องถ่นิ ในภารกจิ ที่เกยี่ วข้องกบั การจัดสวัสดิการสังคมและการพฒั นาสงั คม 7) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์

6

จัดการรณรงค์ ให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการพัฒนาสังคม และส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิของประชาชน
กล่มุ เปา้ หมายตามภารกจิ ของกระทรวงการพฒั นาสังคมและความมัน่ คงของมนษุ ย์ 8) ศึกษา พฒั นาตนเอง เข้ารว่ ม
กิจกรรมทจ่ี ัดโดยหนว่ ยงานในสังกัดกระทรวงการพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหรอื สง่ เสริมสนบั สนุน
การดำเนนิ งาน 9) กรณปี ฏบิ ตั ิหนา้ ที่ในต่างประเทศอย่างน้อยจะต้องปฏิบตั ิตาม (1) – (8) รวมท้งั กฎหมายระหว่าง
ประเทศ และกฎหมายท้องถิ่นในประเทศนนั้ ๆ

สรุปได้ว่า การปฏิบตั งิ านอาสาสมัครพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนษุ ย์มีการกำหนดบทบาท
หน้าที่และภารกจิ ในการปฏบิ ัตงิ านที่ชดั เจน มีสทิ ธปิ ระโยชนท์ ่ไี ด้รบั จากการปฏิบัติงาน และการยกย่องเชิดชูเกียรติ
โดยได้รับประกาศเกียรติคุณ โล่ประกาศเกียรติคุณ หรือเข็มเชิดชูเกียรติ วุฒิบัตรกิตติมศักดิ์ และเข็มอาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กิตติมศักดิ์ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพโดยการส่งเสริมความรู้ และพัฒนา
ทักษะ ซึ่งมีโครงสร้างการปฏิบัติงานที่ชดั เจน มีคณะกรรมการส่งเสริมงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ (กอพม.) ในระดับกระทรวง คระกรรมการส่งเสริมงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์ระดับจังหวัด (กอพม.จังหวัด) และคณะกรรมการส่งเสริมงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนษุ ยก์ รุงเทพมหานคร (กอพม.กรุงเทพมหานคร) เพอื่ เปน็ กลไกในการขับเคลอ่ื นการปฏิบตั งิ านตามบทบาทภารกิจ
ท่ไี ดร้ บั มอบหมายจากกระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมัน่ คงของมนุษย์

บทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่นั คงของมนษุ ย์ มบี ทบาท หน้าท่ี และความรับผิดชอบ ได้แก่
1. ปฏบิ ัตติ ติ ามนโยบายของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ

ม่ันคงของมนุษย์
2. คน้ หา ช้เี ปา้ เฝา้ ระวัง สำรวจข้อมลู เสนอรายช่ือผู้ประสบปญั หาทางสงั คม ให้กับ

หน่วยงานในสงั กัดกระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมน่ั คงของมนษุ ย์พจิ ารณา เพือ่ ขอรับการชว่ ยเหลอื ตาม
ภารกจิ ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมน่ั คงของมนษุ ย์

3. ใหค้ ำแนะนำปรกึ ษาปัญหาทางสังคม ประสาน ติดตาม เสนอแนะแนวทางการ
ช่วยเหลอื ผ้ปู ระสบปัญหาความเดอื ดร้อน ใหบ้ ริการ และดำเนนิ งาน เพ่อื พิทักษ์คุ้มครองสิทธิกลมุ่ เป้าหมาย ตาม
ภารกิจของทุกหนว่ ยงานในสังกดั กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือตามกฎหมาย ระเบยี บ
และหลกั เกณฑ์ทเ่ี กี่ยวข้อง

4. ส่งเสรมิ การจัดสวสั ดกิ ารสงั คมทุกระดบั และจัดกิจกรรมด้านการพัฒนาสังคมและ
ความม่นั คงของมนษุ ย์ เพื่อการเฝ้าระวัง ปอ้ งกัน แก้ไข และฟืน้ ฟูคณุ ภาพชีวิต โดยสอดคลอ้ งกบั สถานการณ์ของ
พืน้ ทนี่ ั้นๆ

5. เสริมสรา้ งการมสี ่วนร่วมทางสงั คมและเสรมิ สร้างเครือข่ายด้านการพฒั นาสังคม
6. ประสานและสนับสนนุ การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนทอ้ งถิน่ ในภารกิจท่ี
เกี่ยวข้องกับการจัดสวสั ดกิ ารสังคมและการพัฒนาสังคม

7

7. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จดั การรณรงค์ ให้ความรูข้ ้อมูลข่าวสารดา้ นการพัฒนาสังคม
และสง่ เสรมิ การเขา้ ถึงสทิ ธิของประชาชนกลุ่มเปา้ หมายตามภารกิจของกระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมั่นคง
ของมนุษย์

8. ศึกษา พัฒนาตนเอง เขา้ รว่ มกจิ กรรมทจ่ี ัดโดยหน่วยงานในสงั กดั กระทรวงการพฒั นา
สงั คมและความม่นั คงของมนุษย์ และหรอื ส่งเสริมสนับสนนุ การดำเนินงาน

9. กรณปี ฏิบัติหน้าท่ีในตา่ งประเทศอย่างน้อยจะต้องปฏิบัตติ าม (1) – (8) รวมท้งั
กฎหมายระหวา่ งประเทศ และกฎหมายท้องถน่ิ ในประเทศนนั้ ๆ3 ดา้ น ได้แก่

นอกจากบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว อพม. ยังต้องปฏิบัติภารกิจ
และบทบาทหน้าที่ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
ประกอบดว้ ยพระราชบัญญัติหลักๆ ดงั น้ี (กระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมั่นคงของมนุษย์, 2558, น.271-272)

พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 มี
บทบาทในการส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรในชุมชน ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ตามพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 ซึ่งองค์กรที่ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กร
สาธารณประโยชนจ์ ะได้รบั การสนับสนุนการจัดสวัสดิการสงั คม ไดแ้ ก่ 1) เงนิ อดุ หนุนจากกองทุน 2) การช่วยเหลือ
จากสำนกั งานในดา้ นวชิ าการและการพฒั นาบุคลากรท่ีปฏบิ ัติงานในองค์กรสาธารณประโยชนต์ ามความจำเป็นและ
เหมาะสม และ 3) การช่วยเหลอื อ่นื ๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มบี ทบาทในการสำรวจข้อมูล และเฝ้าระวังปัญหาที่จะ
เกิดขึ้นกับเดก็ และเยาวชน (ชี้เป้า เฝ้าระวัง) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เช่น เด็กถูกทอดทิ้ง เด็ก
ถูกกระทำทารุณกรรม เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า เป็นต้น และมีบทบาทในการประสานเครือข่ายเพื่อส่งต่อ
กลุ่มเป้าหมาย (เชื่อมกลุ่มเดิม เสริมสร้างกลุ่มใหม่) ให้ได้รับสวัสดิการและการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กฎหมาย
กำหนด

พระราชบญั ญตั ิป้องกันและปราบปรามการคา้ มนุษย์ พ.ศ. 2551 มีบทบาทในการสำรวจข้อมูล
และเฝ้าระวงั ปญั หาทีจ่ ะเกดิ ขนึ้ กบั เด็กและสตรี (ช้เี ป้า เฝ้าระวัง) ตามพระราชบัญญัติปอ้ งกนั และปราบปรามการค้า
มนษุ ย์ พ.ศ. 2551 เช่น ให้การชว่ ยเหลือและคุ้มครองสวัสดภิ าพผู้เสียหายจากการค้ามนษุ ย์

พระราชบญั ญัตคิ ้มุ ครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครองครัว พ.ศ. 2550 มีบทบาทในการ
สำรวจข้อมูลและเฝ้าระวังปัญหาท่ีจะเกดิ ขึน้ กับเด็กและสตรี หรือบุคคลในครอบครวั ตามพระราชบัญญัตคิ ุ้มครอง
ผ้ถู กู กระทำดว้ ยความรุนแรงในครอบครวั พ.ศ. 2550 ซ่งึ ถกู กระทำให้เกิดอันตรายแกร่ า่ งกายจิตใจ หรอื สุขภาพ

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มีบทบาทในการสำรวจข้อมูลและเฝ้าระวงั ปัญหาทีจ่ ะเกดิ
ขึ้นกับผู้สูงอายุ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และทำการประสานงานเพื่อส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ 1) การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข 2) การประกอบ
อาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม 3) การช่วยเหลือผูส้ ูงอายุซึ่งได้รบั อันตรายจากการถกู ทารุณกรรม หรือถูกแสวงหา

8

ประโยชน์โดยมิชอบดว้ ยกฎหมาย หรอื ถูกทอดท้ิง 4) การจัดที่พกั อาศยั อาหารและเครื่องนุ่งห่มให้ตามความจำเป็น
อยา่ งท่วั ถึง และ 5) การสงเคราะห์ในการจดั การศพตามประเพณี

พระราชบญั ญตั สิ ่งเสริมและพฒั นาคณุ ภาพชวี ิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มบี ทบาทในการสำรวจ
ข้อมูลและเฝ้าระวังปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับคนพิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
พ.ศ. 2550 และทำการประสานงาน เพื่อส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับคนพิการ
ได้แก่ 1) การบริหารฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ และค่าใชจ้ ่ายในการรักษาพยาบาลคา่ อุปกรณ์
เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการเพื่อปรับสภาพทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม พฤติกรรม
สติปัญญา กการเรียนรู้ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้น 2) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การให้บริการที่มี
มาตรฐาน การคุ้มครองแรงงาน มาตรการเพือ่ การมงี านทำ ตลอดจนไดร้ บั การส่งเสรมิ การประกอบอาชพี อิสระและ
บริการสอ่ื สิง่ อำนวยความสะดวก เทคโนโลยี หรอื ความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อการทำงานและประกอบอาชีพของคน
พกิ าร 3) การจัดสวสั ดิการเบ้ยี ความพิการ และ 4) การปรบั สภาพแวดล้องทอี่ ยูอ่ าศยั การมผี ชู้ ว่ ยคนพกิ าร หรอื การ
จัดให้มสี วสั ดิการอืน่ ๆ

สรุปได้ว่า อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความั่นคงของมนุษย์ กระจายครอบคลุมทั่วทุกตำบล ซึ่ง
นอกเหนือจากการปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายแล้ว ยังต้องปฏิบัติภารกิจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ประชาชนในพื้นท่ีของตนเองเข้าถึงบริการของภาครัฐ ทั้งในด้านการปอ้ งกัน และการแก้ไขปัญหาด้านสังคม
เบอ้ื งต้น อนั จกั นำไปส่กู ารพฒั นาคณุ ภาพชีวติ ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายในพ้นื ท่ขี องตนเองใหเ้ ป็นไปในทิศทาง
ทด่ี ีข้นึ

งานวจิ ยั ที่เก่ียวขอ้ ง
จไุ รรตั น์ พละเลิศ (2550) ไดศ้ กึ ษาแนวทางการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความ

มั่นคงของมนุษย์ เพื่อปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสงั คม ผลกการศึกษา พบว่า ลักษณะการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการสำรวจข้อมลู การประสานงาน
อยู่ในระดับมาก ปัญหาอุปสรรคของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภาพรวมอยู่ในระดับปาน
กลาง แต่ปัญหาด้านสวัสดิการอยู่ในระดับมาก ทัศนะของอาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความมัน่ คงของมนุษย์ที่มีตอ่
ประโยชน์การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ขอ้ เสนอแนะจากการศกึ ษา คอื กำหนดนโยบายให้มีการสรา้ งเครือข่ายอาสาสมัครพฒั นาสังคมและความม่ันคงของ
มนุษย์ (อพม.) เพื่อปฏิบัติงานด้านสวัสดิการในพื้นที่ ควรให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มี
ส่วนร่วมในการจัดทำแผนงาน โครงการต่างๆ เพื่อจะได้มีการกำหนดกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ควรมีการสร้าง
แกนนำอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนษุ ย์ ให้เชื่อมโยงทุกภาคส่วน และกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ควรส่งเสริมและสนับสนนุ ให้มีการฝึกอบรม เพ่อื พฒั นาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคม
และความมัน่ คงของมนษุ ยอ์ ย่างต่อเนือ่ ง

9

นพพร ทิพวงศ์ (2552) ได้ศึกษาการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์เพื่อการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมศักยภาพในการปฏิบัติงานของ อพม.
อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการชี้เป้า เฝ้าระวัง ด้านการเชื่อมกลุ่มเดิม เสริมสร้างกลุ่มใหม่ ด้านการ
ร่วมใจทำแผนชุมชน โดยเฉพาะประเดน็ ชีเ้ ป้า เฝ้าระวัง ปฏิบัติมากในด้านการส่งเสริมบริการสังคมเบื้องต้น ปัญหา
อุปสรรคของ อพม. พบว่าภาพรวมมีปัญหาระดับปานกลาง โดยปัญหาด้านการดําเนินงาน พัฒนาทักษะการ
ปฏบิ ัติงาน เฉพาะดา้ นมปี ัญหาระดับมาก ส่วนข้อเสนอแนะคอื ควรส่งเสรมิ ให้ อพม. มกี ระบวนการที่เพิม่ พูนความรู้
ทักษะ ความชาํ นาญในการปฏบิ ัติงานและทัศนคติท่ีดีต่อการ ปฏบิ ัตงิ าน ควรจดั ให้มกี ารฝึกอบรม ทบทวน หรือจัด
ประชุมเพื่อแลกเปล่ยี นความรู้ ความเขา้ ใจ ประสบการณ์ และทศิ ทางการทำงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความม่นั คงของมนษุ ย์

อมรมิตร มงคลเคหา (2552) ได้ศึกษาปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ
อาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ผล
การศึกษา พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีระดับแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า ด้านการยอมรับนับถือ ด้าน
ความสัมพันธ์ระหว่าง เพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในเชิงบวก ข้อเสนอแนะหลักในการศึกษา ได้แก่
ควรมีกิจกรรมเพื่อ สร้างความสามัคคีอย่างสม่ำเสมอ ให้หน่วยงานของรัฐ สนับสนุนสิทธิผลประโยชน์ที่ควรได้รับ
อย่างเต็มทีเ่ ป็น รูปธรรมและต่อเน่อื ง และควรมีการจัดประชมุ อบรม เพ่ิมเตมิ ความรู้อย่างสมำ่ เสมอ

กอบกุล มาดีคาน และคณะ (2564) ได้ศึกษา R2R ผลของการพัฒนาความรู้และทักษะของ
อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพ่ึงพิง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ผลการศึกษา พบว่า
อาสาสมัครบรบิ าลท้องถิ่นมบี ทบาทสำคญั ในการชว่ ยดูแลผสู้ ูงอายุท่ีมภี าวะพึ่งพงิ ด้านสุขภาพขั้น พื้นฐาน การฟื้นฟู
สภาพ และกิจกรรมบรกิ ารภายใต้การกำกับดแู ลของบคุ ลากรวชิ าชีพด้านสุขภาพใน พ้ืนที่ ปัจจบุ นั มจี ำนวนผูส้ ูงอายุ
ทมี่ ีภาวะพ่ึงพงิ เพิ่มมากข้นึ การพฒั นาศักยภาพของอาสาสมัครบรบิ าล ทอ้ งถิ่น จงึ เปน็ ส่ิงสำคญั ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุ
ที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ ภายหลังการโค้ชอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และ
คะแนน เฉล่ยี ทกั ษะการปฏิบัติการดูแลผ้สู ูงอายุท่ีมีภาวะพึ่งพงิ สงู ข้นึ กว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ
(p<0.05) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การโค้ชสามารถทำให้อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นมี ความรู้และทักษะใน
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้น ดังนั้นการส่งเสริมให้มีการโค้ชจาก บุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพให้แก่
อาสาสมัครบริบาลท้องถ่นิ จึงมคี วามสำคัญยิง่

พิเชษฐ์ ศรีพลัง (2564) ได้ศึกษามูลเหตุจูงใจในการเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ดีเดน่ พิเศษ กรมพัฒนาสงั คมและสวสั ดิการ กรณีศึกษา จงั หวัดปทุมธานี ผลการศึกษา พบว่า อาสาสมัคร
พัฒนาสังคม และความม่ันคงของมนุษย์ดีเด่นพิเศษ มีบทบาทหน้าที ่ในการปฏิบัติงาน 3 ประการ ได้แก่ 1) การช้ี
เป้า-เฝ้าระวัง 2) เชื่อมกลุ่มเดิม-เสริมสร้างกลุ่มใหม่ 3) ร่วมใจท าแผนชุมชน ซึ่งมูลเหตุจูงใจ ที่ส่งผลให้อาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ดีเด่นพิเศษปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง มีดังน้ี 1) การต้องการความสำเร็จใน
การทำงาน โดยความม่งุ ม่นั ทจี่ ะปฏบิ ัติงานที่ได้รับมอบหมายให้ ประสบความสำเร็จ 2) การได้รบั การยอมรับนับถือ

10

จากกลุ่ม อพม. ผู้นำท้องถิ่น คนในชุมชน และ บุคคลภายนอก ช่วยหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง 3)
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ มีความท้าทาย ช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาทางสังคม 4)
การได้รับมอบหมายหน้าที่ สำคัญช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจ 5) ความก้าวหน้าในตำแหน่ง ช่วยหนุนเสริมให้
สามารถปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานดังนี้ 1)
จัดรูปแบบ การรายงานผลการปฏิบัติงาน ในระบบออนไลน์ 2) เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ผลงาน อพม. ให้
เป็นทรี่ ู้จักแก่ประชาชน 3) พัฒนาศักยภาพเจา้ หน้าที่ผู้ประสานงานในระดบั จงั หวดั
กรอบแนวคดิ การวจิ ยั

จากการศึกษาความเป็นมาของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และบทบาท หน้าที่
และความรับผิดชอบ ของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อนำมาสร้างกรอบแนวคิด ใน
การศึกษาตามกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ได้วางบทบาทหน้าที่ และภารกิจของ อพม.
ไวด้ ังน้ี

แนวทางการพฒั นาการปฏบิ ัติงานของ อพม.

- สามารถชีเ้ ป้า – เฝ้าระวังปญั หาทางสังคม
- สามารถสอบข้อเทจ็ จรงิ ของผปู้ ระสบปญั หาทางสังคม
- สามารถบรหิ ารจัดการในการชว่ ยเหลอื ผู้ประสบปญั หา
ทางสงั คมใหไ้ ด้รบั การชว่ ยเหลือ จนกระท่ังสภาพปัญหา
คลค่ี ลาย
- สามารถเป็นนักจัดการชุมชน แกป้ ญั หาต่างๆ ในชุมชน
สามารถจัดโครงการ เพ่ือการปอ้ งกัน แกไ้ ขปญั หา และ
พฒั นาพน้ื ทไ่ี ด้

การพัฒนาศักยภาพ อพม. เพื่อการพัฒนาชมุ ชน

11

วธิ ดี ำเนนิ การวจิ ัย

การวิจยั เรือ่ ง แนวทางการพัฒนาศกั ยภาพอาสาสมัครพฒั นาสังคมและความมน่ั คงของมนุษย์ เพ่ือ
การพฒั นาชมุ ชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเกบ็ รวบรวมจากเอกสาร และทำการเก็บข้อมลู ภาคสนาม

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรทใ่ี ช้ในการวิจัยครงั้ นี้ คือ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ใน

พื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ที่ได้รับรางวัลอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดีเด่นพิเศษ และ
ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2564 รวมจำนวน 9 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนตุลาคม
2564 - กนั ยายน 2565 เปน็ ระยะเวลา 12 เดือน

เคร่ืองมอื ทีใ่ ช้ในการวจิ ัย
1. ขนั้ ตอนการสรา้ งกระบวนการมี 6 ข้นั ตอน ดังน้ี
ขน้ั ตอนท่ี 1 การศึกษาเอกสาร งานวจิ ัยทีเ่ กยี่ วข้อง และกำหนดแผนงาน
ขน้ั ตอนที่ 2 การเลือกพ้ืนทศี่ ึกษาและผู้ใหข้ ้อมลู
ข้ันตอนที่ 3 ศึกษาเครื่องมือท่ีใชใ้ นการรวบรวมขอ้ มลู
ขั้นตอนท่ี 4 การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกในพ้ืนท่ี 7 จังหวัด

ภาคใต้ตอนบน
ขั้นตอนท่ี 5 นำแนวทางมาพัฒนาศักยภาพ อพม. โดยเลือก อพม. กลุ่มตัวอยา่ งจาก

เทศบาลตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จงั หวัดสรุ าษฎร์ธานี จำนวน 3 คน
ขัน้ ตอนท่ี 6 ประมวลผลและวิเคราะหข์ ้อมูล
ขนั้ ตอนที่ 7 จัดทำรายงาน R2R ฉบบั สมบรู ณ์

ในการศึกษามีการวิเคราะห์โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ อาสาสมัคร
พฒั นาสงั คมและความมั่นคงของมนษุ ย์ ที่ได้รับรางวลั อาสาสมคั รพัฒนาสงั คมและความม่นั คงของมนษุ ยด์ ีเด่นพิเศษ
และดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2564 ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน โดยนำข้อมูลมาศึกษาตีความร่วมกับการศึกษา
เอกสารและงานวิจัยทีเ่ ก่ียวข้อง จากนั้นนำแนวทางท่ีได้มาพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความมั่นคง
ของมนษุ ย์ จำนวน 15 คน และเขียนรายงานผล โดยวธิ กี ารพรรณนาวิเคราะห์

2. เคร่ืองมือที่ใชใ้ นการเก็บรวบรวมข้อมลู
การศึกษาเป็นวจิ ยั เชิงคณุ ภาพ ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพฒั นาสงั คม
และความมั่นคงของมนุษย์เพื่อการพัฒนาชุมชน โดยได้เลือกเครื่องมือท่ีใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบ
สัมภาษณ์ โดยทำการสัมภาษณอ์ าสาสมัครพฒั นาสงั คมและความมั่นคงของมนุษย์ ประกอบด้วย 2 สว่ น ได้แก่
สว่ นที่ 1 ขอ้ มูลทัว่ ไป ได้แก่ ช่ือ - สกุล อายุ สถานภาพระดับการศกึ ษา และระยะเวลาท่ี
ปฏิบัตงิ าน เป็น อพม.

12

สว่ นท่ี 2 ลักษณะการปฏิบัตงิ านอาสาสมคั รพฒั นาสงั คมและความมนั่ คงของมนษุ ย์ มี 5 ขอ้ ดงั น้ี
- ลกั ษณะการปฏบิ ัตงิ านของท่านในบทบาทอาสาสมคั รพัฒนาสังคมและความม่นั คงของมนุษย์
- ขอใหย้ กตัวอยา่ งการช่วยเหลอื ชมุ ชนท่ที า่ นภูมิใจหรือประทับใจ
- ท่านคดิ ว่าการปฏบิ ตั ิงานของทา่ นสามารถช่วยเหลอื คนในพ้นื ทไ่ี ดห้ รอื ไหม
- ขอให้ทา่ นยกตวั อย่างการช่วยเหลือชุมชนท่ที ่านไมส่ ามารถเข้าไปช่วยเหลือได้และท่านมีแนวทาง

ในการแก้ไขปัญหาอย่างไร
- ท่านมปี ญั หา อุปสรรคในการปฏิบตั ิงานเพอ่ื ชว่ ยเหลอื คนในพ้ืนที่หรอื ไม่
วิธกี ารตรวจสอบเคร่ืองมือ (Validity and Reliability)
การตรวจสอบเคร่ืองมือขณะเก็บรวบรวมข้อมลู ภาคสนาม ตรวจความแมน่ ยำ และความ

เช่ือถอื ได้ ของขอ้ คำถามข้อมูลภาคสนามทุกครั้งท่ีเกบ็ ข้อมูล ด้วยการดขู อ้ คำถาม ส่ือความหมายตรงตามที่ต้องการ
หรือไม่ ในขณะที่สัมภาษณ์คำตอบที่สอดคล้องกับบริบทของชุชน ข้อมูลเดิม ข้อสังเกต หรือทดสอบกับ
สภาพแวดล้อม และข้อมูลอื่นที่มีอยู่เดิมจากแหล่งอื่นๆ ในลักษณะทดสอบแบบสามเส้า ตามระเบียบวิธีวิจัยเชิง
คุณภาพ เพื่อให้ข้อมูลมีความแม่นยำ และครอบคลุมเนื้อหาได้มากที่สุด จากการสังเกตพฤติกรรม และการ
สมั ภาษณ์ผ้ใู หข้ ้อมลู โดยมีการตรวจสอบสามเสา้ ในดา้ นต่างๆ ดงั นี้

1. ตรวจสอบข้อมูลโดยบคุ คลทเ่ี กยี่ วข้อง หรอื สมาชิกในกลุ่มผ้ใู หข้ อ้ มลู หลักฐานต่างๆ ใน
ภาคสนาม ตรวจสอบความถูกต้องและครบถว้ นของข้อมูลพ้นื ฐาน

2. ตรวจสอบโดยผ้วู ิจัยเอง โดยใหผ้ ู้ร่วมวิจัยให้รายละเอียด แสดงความคดิ เห็น วิพากษ์ วจิ ารณ์
หรอื ตัง้ ข้อสังเกตเกยี่ วกบั ข้อมูล หลกั ฐาน และแบบแผนอันเปน็ แก่นสาระที่วิเคราะห์ได้จากขอ้ มลู หลกั ฐานทีเ่ กบ็
รวบรวมไดจ้ ากสนามวจิ ัย

3. เชือ่ มโยงข้อมูลการวิจัยแบบสามเสา้ เพื่อส่ือให้เหน็ วา่ ข้อมลู หลกั ฐาน และแผนการวิจัยท่อี าศัย
การตคี วามหมายของข้อมูล หลักฐานทเี่ ก็บรวบรวมได้ มีความไวว้ างใจไดว้ ่ามคี วามถูกต้อง

การเกบ็ รวบรวมข้อมูล
การเกบ็ รวบรวมข้อมลู ภาคสนามโดยแจ้งไปยงั บุคคลแบบเจาะจง ใหท้ ราบความมุง่ หมาย และ

เพอ่ื ให้เปา้ หมายเต็มใจในการให้ขอ้ มูลตามระเบียบวิธีวจิ ัยเชิงคุณภาพ โดยการเกบ็ รวบรวมข้อมูลในครัง้ นใี้ ชก้ าร
สังเกตแบบไม่มสี ว่ นรว่ ม โดยการสังเกตสภาพแวดล้อมและชวี ติ ความเป็นอยู่ รวมท้งั จดบันทกึ ภาคสนาม และใชก้ าร
สัมภาษณแ์ บบเจาะลึกกบั อาสาสมัครพฒั นาสงั คมและความมน่ั คงของมนุษย์ ในพ้ืนที่ 7 จังหวัดภาคใตต้ อนบน ที่
ได้รบั รางวัลอาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความม่นั คงของมนุษยด์ ีเดน่ พิเศษและดเี ด่น ประจำปี พ.ศ. 2564

การวเิ คราะห์ขอ้ มลู
การศึกษาครั้งนจี้ ะวเิ คราะหข์ ้อมูลที่ได้จากการสมั ภาษณแ์ บบเจาะลึกจากกลุ่มผ้ใู ห้ข้อมลู โดยนำ

ข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะหเ์ ปรียบเทียบกบั แนวคิดทฤษฎี เอกสารงานวจิ ัย และข้อคน้ พบที่ได้หามา รวมท้ัง
เขียนรายงานผลการวิจยั ดว้ ยวธิ กี ารพรรณนาวิเคราะห์

13

ผลการวจิ ยั

การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(อพม.) เพื่อการพัฒนาชุมชน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานในปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรค
แรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ได้รับรางวัลดีเด่นพิเศษ
และดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2564 และเพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความ
ม่ันคงของมนษุ ยเ์ พอื่ การพัฒนาชมุ ชน โดยไดแ้ บง่ การวเิ คราะห์ขอ้ มูลออกเปน็ 2 สว่ น ดงั น้ี

ส่วนที่ 1 ผลการปฏบิ ัตงิ าน ปัญหาและอปุ สรรค แรงบนั ดาลใจ
ส่วนที่ 2 แนวทางในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพ่ือ
การพฒั นาชมุ ชน

สว่ นท่ี 1 ผลการปฏบิ ัตงิ าน ปัญหาและอปุ สรรค แรงบนั ดาลใจ
จากการสัมภาษณ์อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้
ตอนบน ที่ได้รับรางวัลอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดีเด่นพิเศษ และดีเด่น ประจำปี พ.ศ.
2564 รวมจำนวน 9 คน ทม่ี ผี ลการปฏบิ ัติงานที่ชาวบ้านใหก้ ารยอมรับเป็นอย่างมาก พบว่า
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกลไกตามความมุ่งหวังของกระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ในการเข้าไปค้นหา ชี้เป้า เฝ้า
ระวงั สำรวจข้อมลู เสนอรายช่อื ผู้ประสบปัญหาทางสังคม ใหก้ ับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์พิจารณา ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยการเก็บข้อมูลเพื่อมา
วเิ คราะหจ์ ุดแขง็ จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในการปฏิบัติงานของ อพม. ปรากฏผลดงั น้ี
จุดแข็ง ได้แก่ อพม. เป็นคนที่มีจิตสำนึก และมีความเสียสละ เป็นคนในพื้นที่ที่เข้าใจความ
ต้องการของพื้นที่ได้ดี รวมทั้งมีบทบาทหน้าที่ในการทำงานช่วยเหลือสังคมหลายบทบาท เช่น อสม. อช. และ
อปพร. เป็นต้น รวมทั้งมีระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ว่าด้วยอาสาสมัครพัฒนา
สังคมและความม่ันคงของมนษุ ย์ พ.ศ. 2564 เพ่อื เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานตามบทบาทหน้าท่ี
จุดอ่อน ได้แก่ อพม. ยังต้องการพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการ
เยี่ยมบ้านสอบข้อเท็จจริงผู้ประสบปัญหาทางสังคม เพื่อขอรับการช่วยเหลือจากหน่วยงานสังกัดกระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และมีหลายบทบาทหน้าที่จึงอาจทำให้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้ไม่เต็มที่
รวมทั้งตอ้ งการการยอมรบั และความรว่ มมอื ในการปฏบิ ตั ิงานจากหนว่ ยงานภาครัฐและเอกชน
โอกาส ได้แก่ มีสำนักงานพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนษุ ย์ในพนื้ ท่ี เปน็ หนว่ ยงานสนบั สนนุ
การปฏบิ ตั ิงาน การจัดฝึกอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพในดา้ นต่างๆ รวมทัง้ การเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตา่ งๆ ใน
ระดบั จังหวดั

14

อปุ สรรค ได้แก่ ขาดทักษะในการปฏบิ ตั ิงานในระดับพืน้ ท่ี และ อพม. มอี าชีพท่ีต้องรบั ผิดชอบ
ครอบครวั ทำใหม้ ีเวลาในการปฏิบตั ิงานนอ้ ย

จากผลการวิเคราะห์ SWOT ทำให้ทราบถึงอุปสรรคในการปฏิบัติงานของ อพม. อันได้แก่ปัญหา
อพม. ขาดทักษะการเยี่ยมบ้านสอบข้อเท็จจริงผู้ประสบปัญหาทางสังคม นอกจากนี้ อพม. ยังขาดการยอมรับ ซึ่ง
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในพนื้ ที่ ในฐานะทีเ่ ป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานของ อพ
ม. จงึ ควรมกี ารพัฒนา อพม. โดยดำเนนิ การฝึกอบรม อพม. ใหม้ ที กั ษะความสามารถที่เหมาะสมกับลักษณะงานใน
การปฏิบตั ิหน้าที่ความรบั ผดิ ชอบท่ีได้รับมอบหมาย การกำหนดทศิ ทาง และแนวทางการทำงานที่ชดั เจน พร้อมทั้ง
การสนับสนุนงบประมาณ และเครื่องมือในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการสร้างการยอมรับและความร่วมมือในการ
ปฏิบัติงานให้กบั อพม. ซึ่งจะเป็นการสง่ เสริมการปฏิบัติงานให้กับ อพม. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจักนำไปสูก่ าร
พฒั นาคุณภาพชีวติ ทีด่ ีของคนในชุมชน

กล่าวโดยสรุปจากการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านแนวทางในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ 4 ประการ ดังนี้ ประการแรก การกำหนดแนวทางการทำงานของ อพม. ที่
ชดั เจน โดยการมคี มู่ ือการปฏบิ ัติงานตามบทบาทและภารกิจ ประการท่สี อง การอบรมเพื่อเพิ่มทักษะให้กับ อพม.
โดยการจัดอบรมให้ความรู้อย่างน้อยปีละครั้ง ประการที่สาม การสนับสนุนเครื่องมือ และงบประมาณ ในการ
ปฏิบัติงาน เช่น ค่าน้ำมันรถ เป็นต้น เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน และประการที่สี่ การสร้างการ
ยอมรับ และความร่วมมอื ในการปฏิบัติงานให้กับ อพม. โดยให้สำนักงานพัฒนาสงั คมและความมั่นคงของมนุษย์ใน
พื้นท่ี เปน็ หนว่ ยงานชว่ ยเผยแพรก่ ารทำงานของ อพม. เพอ่ื สรา้ งการยอมรบั ให้เกดิ ขนึ้

ปจั จยั ท่สี ง่ ผลตอ่ ความสำเรจ็
1. การมจี ิตสาธารณะ ยอมเสยี สละประโยชนส์ ่วนตน เพอ่ื ประโยชน์สว่ นร่วม ทมุ่ เทแรงกาย แรงใจ

ในการปฏิบัติงาน เพือ่ ใหง้ านสำเรจ็ ลลุ ว่ งไปด้วยดี
2. ความเข้าใจ การยอมรับ และการสนบั สนุนจากคนในครอบครวั หรือคนในชมุ ชน ซง่ึ เป็นปัจจัย

สำคัญอย่างหนึง่ ที่สง่ ผลให้การปฏบิ ัติงานประสบความสำเร็จ
3. มีทักษะในการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เข้าถึงและได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว และ

ถูกต้อง เช่น การวางแผนการปฏิบัติงาน การสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
การเย่ียมบ้านสอบขอ้ เทจ็ จริงผู้ประสบปัญหาทางสงั คม เปน็ ตน้

4. ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจ ให้มีชีวิตอยู่อย่างรู้คุณค่า และมุ่งมั่นกับการ
ทำงานใหม้ ผี ลสัมฤทธิ์

5. การทำงานเปน็ ทมี การใหเ้ กียรติ มคี วามไวเ้ น้อื เชื่อใจ และความเชอื่ ถอื ซ่ึงกันและกัน
6. เคารพในความแตกต่าง และความหลากหลายของคนในสงั คม ไมแ่ บง่ แยก สร้างความเทา่ เทยี มกัน
7. ทำงานทุกอยา่ งดว้ ยความใส่ใจ รู้หน้าที่ ตรงตอ่ เวลา มีความรบั ผดิ ชอบ และมวี นิ ยั ต่อตนเอง

15

แรงบนั ดาลใจ
1. ความสำเรจ็ ในการทำงาน คือ มคี วามมงุ่ ม่ันอยา่ งแรงกล้าทจี่ ะปฏบิ ัตหิ นา้ ท่ที ่ีได้รบั มอบหมายให้

ประสบความสำเร็จ เพราะมีความรู้สึกภาคภูมิใจทุกครั้งที่ได้ปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วง ถึงแม้บางครั้งต้องส ละทุน
ทรัพย์ส่วนตัวบ้าง แต่ก็มีความเต็มใจ และภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้สามารถ
ชว่ ยเหลอื ตนเองได้ และมีคุณภาพชวี ิตทีด่ ีข้นึ กว่าเดิม

2. การยอมรับนับถือ คือ ได้รับความไว้วางใจ และการยอมรับนับถือจากกลุ่ม อพม. ผู้นำท้องถิน่
คนในชุมชน และหน่วยงานตา่ งๆ ท่เี กี่ยวขอ้ ง และช่วยหนนุ เสรมิ ใหป้ ฏิบัตงิ านได้อย่างต่อเนื่อง รวมถงึ ไดร้ บั คัดเลือก
ให้เป็น อพม. ดีเด่นพิเศษ และดีเด่น การทำงานอาสาสมัครให้ประสบความสำเร็จ และได้รับการยอมรบั จากบคุ คล
อื่นเป็นเรื่องท่ีทา้ ทาย ต้องทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ให้เกิดผลงานที่ชดั เจน จนกระทั่งทุกภาคส่วนในพืน้ ที่ให้การ
ยอมรบั

3. ลักษณะงานมีความทา้ ทาย คอื ลกั ษณะงานท่ีมีความทา้ ทาย ชว่ ยกระตุน้ ให้ อพม. ดีเด่นพิเศษ
และดีเด่น เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา และปฏิบัติงานต่อเนื่องจนเกิดความชำนาญ และเม่ือ
ปฏิบัติงานที่มีความท้าทาย ความยาก ความซับซ้อน ได้ประสบผลสำเร็จ ทำให้รู้สึกภูมิใจในความสามารถของ
ตนเอง และสามารถถา่ ยทอดประสบการณ์ สง่ ตอ่ ความรูผ้ อู้ นื่ ไดเ้ ป็นอยา่ งดี

4. ความมีคุณค่าในตัวเอง การได้ช่วยใหผ้ ู้อื่นพ้นจากความทุกข์ มีพื้นฐานจิตใจที่ดีจากการเมตตา
คนอืน่ มสี ุขภาพกายที่ดจี ากการท่มุ เทพลังกาย รูส้ ึกภาคภมู ิใจในตวั เองที่เปน็ สว่ นหนงึ่ ไดข้ บั เคล่ือนใหภ้ ารกจิ ประสบ
ความสำเร็จ การทำอะไรเพื่อผู้อนื่ ไดเ้ ห็นคนในชมุ ชนมีชวี ิตที่ดขี ึ้น นอกจากจะสรา้ งสังคมให้น่าอยู่แล้ว ยังก่อให้เกิด
ความอ่ิมเอมใจ และไดพ้ ฒั นาทักษะความรขู้ องตนเอง เพราะงานอาสาสมัครเป็นงานท่ีมีแค่ตวั เปล่าๆ ก็ทำได้แม้จะ
ไม่มเี งิน หรือความรูต้ ิดตวั มาเลย ดงั นัน้ โอกาสนีถ้ อื เป็นโอกาสดที ี่จะได้พัฒนาตัวเอง รวมถึงได้สง่ ตอ่ ความรัก ความ
เมตตาให้กับคนอื่น เพราะการทำงานเป็น อพม. ถือเป็นการปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ได้ปลูกฝังจิตสำนึก และ
สร้างคุณลักษณะให้กับลูกหลาน และคนรอบข้างให้มีความเห็นแก่ตัวน้อยลง มีความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์
มากขึ้น ซึ่งคุณลักษณะนี้จะติดตัวพวกเขาไปตลอดชีวิต เมื่อพวกเขามีลูกหลานเขาก็จะส่งต่อคุณลักษณะแบบนี้ไป
อีก ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่โลกนี้อยู่ได้ เพราะมีการส่งต่อเรื่องดีๆ ต่อกัน มีน้ำใจระหว่างเพื่อมนุษย์ด้วยกันอย่างไม่มีท่ี
สิน้ สุด และทำให้รู้สึกมีคณุ ค่าในตวั เองมากขึ้นด้วย

5. ความก้าวหนา้ ในตำแหน่ง ความก้าวหน้าในการทำงาน เปน็ สงิ่ ท่หี นนุ เสรมิ ให้ อพม. ปฏิบัติงาน
ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งความก้าวหน้าสำหรับ อพม. นั้น มีหลายรูปแบบ เนื่องจาก อพม. ทำงาน
อาสาสมัครด้วยความสมัครใจ และไม่มีค่าตอบแทน ความก้าวหน้าสำหรับ อพม. คือ การได้รับการยอมรับจาก
อพม. ในพื้นที่ รวมถึงเครือข่ายผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และได้รับมอบหมาย หรือคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่ง
ท่สี ำคัญ มคี วามกา้ วหนา้ ในการปฏบิ ัติงาน ได้รับคัดเลอื กจาก อพม. ระดับภาค และประธาน อพม. ระดบั ประเทศ

6. การมีส่วนร่วมของภาคีในชุมชน ในการทำงานมีปัจจัยหนุนเสริมจากการร่วมปฏิบัติงานกับ
หน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิ ทธิภาพ เช่น ผู้นำชุมชน
กำนนั ผใู้ หญ่บา้ น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครด้านอ่นื ๆ เป็นตน้

16

ภาพรวมการปฏิบัติงานของอาสาสมคั รพฒั นาสังคมและความม่นั คงของมนุษย์ สรุปไดว้ ่า
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นกลไกในระดับพื้นที่ ในการเข้าไปค้นหา ชี้เป้า เฝ้าระวัง
สำรวจข้อมูล เสนอรายชื่อผู้ประสบปัญหาทางสังคม ให้กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์พิจารณาวางแผนให้การช่วยเหลือ ซึ่งการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะ
เข้าไปบรรเทาปัญหาในเบื้องต้น การเข้าไปสอบถามความเป็นอยู่ พูดคุยให้คำปรึกษาแนะนำ เยี่ยมเยียน และการ
ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สาธารณสุข
จงั หวดั ศึกษาธิการจังหวัด เป็นตน้ เขา้ มาช่วยเหลอื ผทู้ ี่ประสบปญั หาความเดอื ดรอ้ นในชุมชนใหไ้ ด้รบั การช่วยเหลอื

ส่วนที่ 2 แนวทางในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ตามบทบาทหนา้ ทที่ ไ่ี ด้รบั มอบหมาย

จากผลการศึกษาการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
ตามบทบาทหน้าท่ีทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย ดังน้ี

1. การพัฒนาศักยภาพ อพม. ในเชิงปฏบิ ัติ
(1) การมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ เจ้าหน้าที่ ผู้นำท้องถิ่น และหน่วยงานราชการที่

เกี่ยวข้อง ควรเปิดโอกาสให้ อพม. ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งแนะนำตัว อพม. ให้หน่วยงานอ่ืน
หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้รู้จัก และทราบบทบาทหน้าที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
และผู้นำทอ้ งถ่ินท่ีมภี ารกิจต้องเชอ่ื มประสานงาน หรือปฏบิ ตั งิ านในพน้ื ท่ีระดบั หมบู่ ้าน ตำบล ได้ประสานงาน และ
ช่วยเหลอื สนบั สนุนในการทำงานของ อพม. ตามบทบาทหนา้ ท่ีมากย่งิ ขน้ึ กล่าวโดยสรปุ ได้ว่า การท่อี งค์กรเน้นการ
บรหิ ารแบบมสี ว่ นรว่ มย่อมจะส่งผลและชว่ ยสนบั สนนุ ใหก้ ารทำงานสมั ฤทธ์ผิ ลมากยิ่งขนึ้

(2) การฝึกอบรมและพัฒนา จัดฝึกอบรม ศึกษาดูงาน เพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและ
ทักษะในการปฏิบัติงานให้แก่ อาสาสมัคร อพม. อย่างสม่ำเสมอ กล่าวโดยสรุปได้ว่า การฝึกอบรม การเรียนรู้ และ
การพัฒนาถือเป็นองค์ประกอบทสี่ ำคัญของการสร้างความไดเ้ ปรยี บให้แก่กระบวนการทำงานทีส่ ่งผลต่อการเพิ่มขึ้น
ของขีดความสามารถของผลสมั ฤทธิข์ องงาน

(3) การประชาสัมพันธ์ เพิ่มการประชาสัมพันธ์ในบทบาท และหน้าที่ของอาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไปยังสื่อต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า การใช้สื่อต่างๆ เพื่อการ
ประชาสัมพันธจ์ ะมสี ว่ นเสริมสรา้ งภาพลักษณ์ทดี่ ีให้แก่ หนว่ ยงาน องค์กร สถาบนั ทำให้ผรู้ บั ข่าวสารเกิดความนิยม
เลอื่ มใส ศรัทธาตอ่ หน่วยงาน

(4) การสร้างแรงจงู ใจ ควรสร้างแรงจูงใจให้แก่ อพม. เพื่อเสริมสร้างขวญั และกำลังใจใน
การปฏิบัติงาน เช่น เพิ่มสวัสดิการ หรือสิทธิพิเศษ ให้ อพม. มากขึ้น ประกาศเกียรติคุณแก่ อพม. ที่ทำความดี
สมควรเป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่น กล่าวโดยสรุปได้ว่า การให้กำลังใจ และการชื่นชม รวมถึงการให้ ผลประโยชน์

17

เกื้อกูลที่มีความเหมาะสม และได้รับการยอมรับก็จะช่วยให้องค์กรสามารถสรา้ งความพึงพอใจ จูงใจ และรักษาคน
ให้อยู่ทำงานต่อไปได้

(5) การยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้น โดยประสานงานกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนใน
พื้นที่ เพอ่ื สนับสนนุ การศึกษาตอ่ ใหก้ บั อพม. กลา่ วโดยสรปุ ได้วา่ การพฒั นาบุคลากรโดยการส่งเสรมิ ด้านการศึกษา
จะมีส่วนให้บุคลากรเกิดการพัฒนาตนเอง การศึกษานอกโรงเรียนเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มคนที่ขาดโอกาสได้มี
การศกึ ษาอย่างเสมอภาค และสามารถเรียนรู้ได้อยา่ งตอ่ เน่อื งตลอดชวี ติ อยา่ งมคี ณุ ภาพ

(6) การมีปฏิสัมพันธ์กลุ่ม ส่งเสริมให้มีการปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม อพม. ให้มากขึ้น โดยมี
การพบปะสังสรรค์ในงานรื่นเริงต่างๆ หรือจัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันสำคัญต่างๆ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ในการทำงาน นอกจากนั้นยังก่อให้เกดความสามัคคีอีกด้วย กล่าวโดยสรุปได้ว่า การส่งเสริมและ
สนบั สนนุ ให้มีกจิ กรรมรว่ มกนั จะชว่ ยใหก้ ารประสานงาน และการการทำงานรว่ มกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น

(7) การทำงานเป็นทีม มงุ่ เนน้ การทำงานเป็นกล่มุ มกี ารวางแผนแก้ปญั หารว่ มกนั กับผู้นำ
ชุมชน หรือกรรมการหมู่บ้าน กล่าวโดยสรุปได้ว่า การส่งเสริมให้เกิดการทำงานเป็นทีมจะช่ว ยให้การทำงานมี
ประสิทธผิ ลมากย่ิงข้นึ

2. การพัฒนาศกั ยภาพ อพม. ในเชิงนโยบาย
(1) การบรหิ ารจดั การงานอยา่ งมปี ระสิทธิภาพ สง่ เสริมการบริหารจัดการงานอาสาสมัคร

เพ่อื ใหภ้ าครฐั และเอกชนท่ีมอี าสาสมคั ร มีการบริหารจัดการอย่างมีประสทิ ธิภาพ และไม่เกิดความซำ้ ซอ้ น
(2) ปลูกจิตสำนึกรว่ มให้ประชาชนสรา้ งกระแสกระตนุ้ ให้ประชาชนเกดิ พลังจิตสำนึกร่วม

ในการที่จะป้องกันแก้ไขพัฒนาสังคม โดยการร่วมเป็นอาสาสมัคร หรือเข้าใจ และให้การยอมรับงาน อพม. มาก
ย่งิ ขึน้

(3) จัดตั้งองค์การอาสาสมัครพัฒนาสังคมระดับชาติ โดยให้มีคณะกรรมการซึ่งประกอบ
ไปดว้ ยผู้แทน ภาครฐั และเอกชน เพ่ือทำหนา้ ที่กำหนดนโยบายส่งเสริมสนับสนนุ ประสานงาน ตดิ ตาม ประเมินผล
งานอาสาสมคั ร

(4) จัดตั้งศูนย์อาสาสมัครระดับชาติ ระดับจังหวัด เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปล่ียน
ข้อมลู ข่าวสาร

(5) จัดให้มีกองทุนอาสาสมัครพัฒนาสังคมระดับชาติ เพื่อสนับสนุนกิจกรรม โครงการ
กองทนุ อพม. ระดับจงั หวัด และเพ่ือเปน็ ศนู ยก์ ลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลขา่ วสาร

กระบวนการพัฒนาศักยภาพ อพม. เร่มิ จากนำข้อมลู มาวิเคราะหร์ ่วมกัน นำเสนอคนื ข้อมูลแก่
อพม. และผู้ร่วมดำเนินการ เพอ่ื ให้ อพม. ตระหนกั รถู้ ึงสถานการณ์ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ จริงในปัจจบุ ัน จนไดแ้ นวทางการ
พฒั นาศักยภาพอาสาสมัครพฒั นาสงั คมและความม่นั คงของมนษุ ย์ (อพม.) เพอื่ การพัฒนาชุมชน พบว่าอาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) เมื่อได้รับมอบหมายงานจากหนว่ ยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรืองานตามบทบาทหน้าที่ จะมีการสำรวจข้อมูล รวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายท่ี
ประสบปัญหาทางสังคม ข้อมูลด้านสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แล้วลงเยี่ยมบ้าน สอบข้อเท็จจริงของ

18

กลุ่มเป้าหมายท่ีประสบปญั หาทางสังคม เพื่อประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ประสบปัญหาเบ้ืองต้น และให้
คำปรึกษาเบ้ืองต้น ได้แก่ การให้คำปรึกษาแนะนำ การให้ข้อมูลการเขา้ ถึงสิทธิและสวัสดกิ าร เช่น เงินอุดหนุนเพอ่ื
การเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด แนะนำการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการที่พึงจะได้รับ กรณีคนพิการ และผู้สูงอายุ แนะนำการ
ทำบตั รประจำตัวคนพกิ าร เพอ่ื จะไดร้ ับเบยี้ ความพิการ หรอื เบ้ยี ยงั ชีพผูส้ งู อายุ จากนัน้ จะดำเนินการประสานส่งต่อ
หน่วยงาน และองค์การในพื้นที่ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบปัญหา รวมถึงจดบันทึก เขียนรายงาน
สรุปผลการปฏิบัติงาน และชี้แจงให้เครือข่ายได้ทราบผลการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกบั
ภารกิจของ อพม. ในพื้นท่ี ใหป้ ระชาชน และผู้ท่เี กี่ยวข้องไดร้ บั ทราบ

จะเห็นไดว้ ่า บทบาทภารกิจของ อพม. นน้ั มีความหลากหลาย เริ่มตงั้ แตก่ ระบวนการสำรวจ การ
ป้องกัน การแก้ไข และการพัฒนา ผู้ประปัญหาทางสังคมให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทั้งนี้ ผลการศึกษา
พบปัญหาที่เป็นจุดอ่อนสำคัญที่ทำให้การปฎิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อพม. ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจาก
อพม. ขาดทักษะในการปฎิบตั งิ าน ได้แก่ ทกั ษะการเย่ยี มบ้าน สอบข้อเทจ็ จรงิ ผู้ประสบปัญหาทางสังคม เพอื่ ขอรับ
การช่วยเหลือจากหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเป็นขัน้ ตอนสำคัญท่ที ำ
ให้ผู้ประสบปัญหาทางสังคมได้รับการพิจารณาช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว แก้ไขปัญหาความล่าช้า อันเกิด
จากความผดิ พลาดของแบบสอบข้อเท็จจริงผู้ประสบปัญหาทางสังคม และเอกสารหลกั ฐานทเี่ กย่ี วขอ้ งประกอบการ
พิจารณาให้การช่วยเหลือ ดังนั้น สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 (สสว.10) จึงได้ใช้การสอนงานใน
ระบบพ่เี ลย้ี ง โดยใหเ้ จา้ หน้าทจ่ี ากสำนกั งานสง่ เสริมและสนับสนุนวชิ าการ 10 เป็นพ่ีเลีย้ งให้คำปรกึ ษาแนะนำ จับคู่
กับ อพม. แบบตวั ต่อตวั ในการการลงเยี่ยมบ้านสอบข้อเทจ็ จริงผู้ประสบปัญหาทางสังคม เพ่ือขอรบั การช่วยเหลือ
จากหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในพื้นที่เทศบาลตำบลวัดประดู่
อำเภอเมอื ง จังหวดั สุราษฎร์ธานี จำนวน 3 คน ในระยะเวลา 1 เดือน มขี น้ั ตอนการดำเนินงานดังนี้

1. เมื่อทาง อพม. ได้รับแจง้ หรือพบวา่ มีผู้ประสบปญั หาทางสังคมในพ้นื ท่ี ก็จะประสานไปยังฝา่ ยสวัสดิการ
สังคม เทศบาลตำบลวดั ประดู่

2. นักพัฒนาชุมชน เทศบาลตำบลวัดประดู่ ประสานขอความช่วยเหลือไปยังเจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริม
และสนับสนุนวิชาการ 10 (สสว.10) ทั้งทางหนังสือราชการ และทางช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ เช่น ทางไลน์ ทาง
โทรศพั ท์ เปน็ ตน้

3. เจา้ หนา้ ทีส่ ำนกั งานสง่ เสริมและสนบั สนุนวิชาการ 10 (สสว.10) กำหนดลงพนื้ เยยี่ มบา้ นสอบข้อเท็จจริง
รว่ มกบั นกั พฒั นาชมุ ชน เทศบาลตำบลวัดประดู่ หรือผู้นำชุมชนทไ่ี ด้รบั มอบหมาย และ อพม. ในพน้ื ที่

4. เจ้าหน้าที่ สสว.10 จะจับคู่กับ อพม. เป็นพี่เลี้ยงในการเยี่ยมบ้านและสอบข้อเท็จจริงผู้ประสบปัญหา
ทางสังคม ตามแบบขอรับความชว่ ยเหลือผูป้ ระสบปัญหาทางสังคม ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคง
ของมนุษย์ โดยในครั้งแรกได้สร้างสัมพัธภาพที่ดีต่อกัน ให้ความเป็นกันเอง เจ้าหน้าที่ สสว.10 จะสัมภาษณ์เก็บ
ข้อมลู ผปู้ ระสบปัญหาทางสงั คม การวางพิกัด GPS การถา่ ยภาพ และรวบรวมเอกสารประกอบการพิจารณาขอรับ
ความชว่ ยเหลือ รวมถงึ การตอบขอ้ ซักถามของ ผูป้ ระสบปญั หาทางสงั คม และให้ อพม.เข้าไปร่วมสงั เกตการณ์อย่าง
ใกลช้ ดิ มีรายละเอยี ด ดังนี้

19

4.1 เอกสารประกอบการพิจารณาขอรับความช่วยเหลือ ได้แก่

- สำเนาบตั รประชาชน จำนวน 1 ฉบับ

- สำเนาทะเบยี นบ้าน จำนวน 1 ฉบบั

- สำเนาหนา้ บัญชี จำนวน 1 ฉบบั

ท้งั นี้ ผปู้ ระสบปัญหาทางสงั คม รบั รองลายมือช่อื ด้วยตนเอง และทุกจุดท่รี บั รอง ต้องลงลายมอื ชือ่ ให้เหมอื นกนั

ทุกจุด ถ้าใส่คำนำหน้านาม ต้องใสค่ ำนำหน้านามทุกจดุ ท่ีมีการลงลายมือช่ือ หากไมส่ ามารถรับรองลายมอื ชอ่ื ได้

ใหผ้ ู้ประสบปัญหาทางสงั คม พมิ พล์ ายนิ้วหวั แมม่ ือข้างขวา พร้อมทัง้ ให้ผลู้ งเย่ียมบ้านรบั รองการพิมพล์ ายนิ้วมอื นน้ั

4.2 การถ่ายภาพประกอบ จำนวน 5 ภาพ

- ภาพผูป้ ระสบปญั หาทางสงั คมถ่ายคู่กับท่ีอยู่อาศยั

- ภาพภายในทอ่ี ยู่อาศัย

- ภาพภายนอกบริเวณท่ีอยู่อาศยั

- ภาพขณะผู้ประสบปัญหาทางสงั คม เซน็ รับรองสำเนาถูกต้อง

- ภาพรวมผ้ทู ลี่ งเยยี่ มบ้านพร้อมผู้ประสบปัญหาทางสงั คม โดยใส่ชอ่ื -สกลุ ตำแหนง่

เบอร์โทรศัพท์

4.3 การลงลายมือช่ือในแบบคำขอรบั ความชว่ ยเหลอื

- หนา้ 6 ผขู้ อรับความช่วยเหลอื ผ้ปู ระสบปญั หาทางสงั คมเปน็ ผู้ลงลายมือช่ือ

- หน้า 6 เจา้ หน้าที่รบั คำขอ เจ้าหนา้ ที่ พมจ.สฎ. เปน็ ผู้ลงลายมือช่อื

- หน้า 7 ผูเ้ ยยี่ มบา้ น เจ้าหนา้ ที่ หรอื อพม. ทีเ่ ย่ยี มบ้าน เปน็ ผลู้ งลายมอื ชอ่ื

- หน้า 8 ผูว้ นิ ิจฉัยในการชว่ ยเหลอื เจา้ หน้าท่ี พมจ.สฎ. เปน็ ผู้ลงลายมอื ชื่อ

- ผมู้ สี ทิ ธิ์รบั เงนิ ในแบบแจ้งข้อมลู การรับเงินโอนฯ ผู้ประสบปญั หาทางสังคม เป็นผู้

ลงลายมือชื่อ

5. ในการเย่ียมบา้ นสอบขอ้ เท็จจรงิ คร้ังท่ี 2 เจ้าหน้าที่ สสว.10 ให้ อพม.เป็นผู้สมั ภาษณ์เก็บข้อมลู

ผู้ประสบปัญหาทางสังคม การวางพิกัด GPS การถ่ายภาพ และรวบรวมเอกสารประกอบการพิจารณาขอรับ

ความชว่ ยเหลือ โดยมเี จา้ หน้าท่ี สสว.10 ให้คำปรึกษาแนะนำตั้งแต่เรมิ่ ตน้ จนเสร็จส้ินกระบวนการ รวมถึงการตอบ

ขอ้ ซกั ถามของผูป้ ระสบปัญหาทางสังคม ใหไ้ ด้ขอ้ มูลทถ่ี ูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ พร้อมนำสง่ ใหก้ ับหน่วยงานสังกัด

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป

6. เจ้าหน้าที่ สสว.10 ได้ลงพื้นที่เป็นพี่เลี้ยง สอนงาน ให้คำปรึกษาแนะนำในการเยี่ยมบ้านและสอบ

ข้อเท็จจริงผู้ประสบปัญหาทางสังคม ให้กับ อพม. เทศบาลตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อีก

หลายครั้ง รวมถึงการให้คำแนะนำปรึกษาทางช่องทางอื่นๆ เช่น ทางโทรศัพท์ ทางไลน์ เป็นต้น เพื่อให้ อพม. มี

ความมั่นใจ สามารถเยีย่ มบา้ นสอบข้อเท็จจริงผปู้ ระสบปัญหาทางสังคม และรวบรวมเอกสารประกอบการพิจารณา

ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ จนนำไปสูก่ ารที่ผ้ปู ระสบปญั หาทางสงั คมได้รบั ความชว่ ยเหลือ

20

ผลการสอนงานในระบบพี่เลี้ยง โดยให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อพัฒนาทักษะการเยี่ยมบ้านและสอบ
ข้อเท็จจริงผู้ประสบปัญหาทางสังคม ตามแบบขอรับความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม ของกระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของ อพม. เทศบาลตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จำนวน 3 คน จากการสัมภาษณ์ พบว่า อพม. มีความรู้สึกดีที่ได้เข้าร่วมระบบพี่เลี้ยง การมีพี่เลี้ยงในการให้
คำแนะนำปรึกษาทำให้ม่ันใจ มีกำลงั ใจในการทำงาน เม่ือมีปัญหาสามารถสอบถามเจา้ หนา้ ที่และเจ้าหน้าท่ีสามารถ
ให้คำตอบที่ถูกตอ้ งชัดเจนได้ในทนั ที เจ้าหน้าที่สามารถถา่ ยทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณต์ รง ในการเยี่ยมบา้ น
สอบข้อเท็จจริงได้อย่างเป็นกันเองและถูกต้องแม่นยำ ลดขั้นตอนการติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่มักล่าช้า
ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เกิดความรู้ ความเข้าใจและทักษะที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การเยี่ยมบ้านสอบข้อเท็จจริง
เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมสามารถทำได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็วทันต่อปัญหาความเดือดร้อน
ไม่ต้องลองผิดลองถูก ลดความผดิ พลาดของการท่ีต้องส่งเอกสารกลับไปแก้ไขหลายครั้ง ซึง่ ส่งผลทำให้ อพม. และ
ผปู้ ระสบปญั หาทางสังคมเกดิ ความเบ่ือหน่ายและไม่ต้องการขอรับความชว่ ยเหลือจากภาครฐั อีกทั้ง ระบบพี่เล้ียง
ยังเป็นการเพิ่มสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ สสว.10 กับ อพม. และกับผู้ประสบปัญหาทางสังคมอีกด้วย
อพม. และผูป้ ระสบปญั หาทางสงั คม มีทศั นคติทางบวกต่อการปฏบิ ัติงานกับเจ้าหน้าท่ภี าครัฐเพ่ิมขนึ้

นอกจากนี้ ไดท้ ำการสมั ภาษณ์เจา้ หนา้ ทจ่ี ากสำนักงานพัฒนาสงั คมและความมน่ั คงของมนษุ ยจ์ ังหวัด
สุราษฎร์ธานี (พมจ. สุราษฎรธ์ านี) ซ่งึ รบั ผิดชอบเก่ียวกบั การใหค้ วามช่วยเหลอื ผปู้ ระสบปัญหาทางสังคม พบว่า
จากเดิม อพม. ทง้ั 3 ราย ได้สง่ แบบขอรับความชว่ ยเหลือประสบปญั หาทางสงั คม ของกระทรวงการพฒั นาสังคม
และความม่ันคงของมนษุ ย์ ให้กับทาง พมจ.สุราษฎรธ์ านี ซง่ึ มคี วามผดิ พลาดของแบบขอรับความช่วยเหลอื และ
เอกสารประกอบในหลายประเดน็ ไดแ้ ก่

- การลงลายมอื ชอ่ื ของผปู้ ระสบปัญหาทางสงั คม ในแบบขอรบั ความชว่ ยเหลอื และเอกสารประกอบ
ลงลายมอื ชื่อไมเ่ หมือนกัน

- การบนั ทึกข้อมูลในแบบขอรับความช่วยเหลือ ไม่ครบถว้ นเพยี งพอทจ่ี ะนำมาประกอบการพจิ ารณาให้
ความช่วยเหลอื ได้

- การลงลายมอื ชอื่ ของผูป้ ระสบปัญหาทางสงั คม และเจ้าหน้าที่เยย่ี มบ้าน ลงลายมือช่ือไมต่ รงตามทแี่ บบ
ขอรับความชว่ ยเหลือกำหนด

- เอกสารประกอบ รวบรวมไม่ครบและบางคร้ังบัตรประชาชนหมดอายไุ ม่สามารถนำมาใชข้ อรับความ
ชว่ ยเหลือได้

- ภาพถ่านประกอบการพจิ ารณา จำนวน 5 ภาพ องค์ประกอบไม่ครบถ้วนสมบรู ณ์
เมื่อแบบขอรับความช่วยเหลือประสบปัญหาทางสังคม ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
และเอกสารประกอบแบบขอรับความช่วยเหลือประสบปัญหาทางสังคมเกิดความผิดพลาด ไม่ถูกต้อง ครบถ้วน
ทางเจ้าหน้าที่ พมจ.สุราษฎรธ์ านี จึงไดป้ ระสานใหท้ าง อพม. นำกลับไปแกไ้ ขหลายคร้ัง ใช้ระยะเวลาแกไ้ ขค่อนข้าง

21

นาน กว่าที่ อพม. จะส่งเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วนให้กับทางเจ้าหน้าที่ นำไปเข้ารับการพิจารณาในที่ประชุม
คณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมต่อไปได้ ทำให้ผู้ประสบปัญหาทางสังคมเสีย
สิทธิ และโอกาสที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วจากทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์

แต่หลังจากที่ เจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ได้ใช้การสอนงานในระบบพี่เลี้ยง
ให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อพัฒนาทักษะการเยี่ยมบ้านและสอบข้อเท็จจรงิ ผู้ประสบปัญหาทางสังคม ตามแบบขอรับ
ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นเวลา
1 เดือน พบว่า อพม. ทั้ง 3 ราย สามารถ สอบข้อเท็จจริง สัมภาษณ์เก็บข้อมูลผู้ประสบปัญหาทางสังคม และ
รวบรวมเอกสารประกอบการพิจารณาได้อย่างถูกตอ้ ง ครบถว้ น สมบูรณ์ และนำส่งให้ พมจ.สุราษฎร์ธานี ได้ถูกต้อง
ไม่ต้องนำกลับไปแกไ้ ขซำ้ ทำให้ผูป้ ระสบปญั หาทางสงั คมได้รบั ความช่วยเหลืออยา่ งรวดเรว็ อีกดว้ ย

22

สรุป อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ

อาสาสมคั รพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ เป็นกลไกสำคัญระดบั พื้นท่ี ตั้งแต่ระดับตำบล
ระดบั อำเภอ และระดับจงั หวัด รวมทัง้ เป็นตัวแทนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ ในการ
ลงพื้นที่ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย ต่างๆ เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ เป็นต้น ที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก หรือไม่สามารถ
ช่วยเหลือตนเองได้ โดยการมอบเงินสงเคราะห์ การมอบถุงยังชีพ การจัดหาเครื่องมือ และเงินทุนประกอบอาชีพ
รวมถงึ การประสานส่งตอ่ หนว่ ยงานที่เกีย่ วขอ้ ง เพ่อื ให้กลุม่ เปา้ หมาย ตา่ งๆ ได้รบั การพฒั นาคุณภาพชีวติ ทดี่ ขี ้ึน

สรปุ ผลการวจิ ัย
การวิจยั เร่ือง แนวทางการพัฒนาศกั ยภาพอาสาสมคั รพัฒนาสงั คมและความมน่ั คงของมนษุ ย์

(อพม.) เพื่อการพัฒนาชุมชน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานในปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรค
แรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ได้รับรางวัลดีเด่นพิเศษ
และดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2564 และเพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์เพื่อการพัฒนาชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ที่ได้รับรางวัลอาสาสมัครพัฒนาสังคม
และความม่ันคงของมนุษยด์ เี ด่นพิเศษ และดีเดน่ ประจำปี พ.ศ. 2564 รวมจำนวน 9 คน ตอนบน โดยนำขอ้ มูลมา
ศึกษาตีความร่วมกับการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำแนวทางที่ได้มาพัฒนาศักยภาพ
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ เทศบาลตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จำนวน 3 คน ผลการศึกษา พบว่า

อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมนั่ คงของมนุษยว์ ่าดว้ ยอาสาสมัครพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2564 พบวา่ อพม. สามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ได้แก่ 1) ปฏิบัติติตามนโยบายของทุกหน่วยงานในสังกดั
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ 2) ค้นหา ชี้เปา้ เฝา้ ระวงั สำรวจข้อมูล เสนอรายช่ือผู้ประสบ
ปญั หาทางสงั คม ให้กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์พิจารณา เพื่อขอรับ
การช่วยเหลือตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3) ให้คำแนะนะปรึกษาปัญหา
ทางสังคม ประสาน ติดตาม เสนอแนะแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน ให้บริการ และ
ดำเนินงาน เพ่ือพิทักษค์ ุ้มครองสิทธิกลุ่มเปา้ หมาย ตามภารกิจของทุกหน่วยงานในสงั กัดกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ หรือตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 4) ส่งเสริมการจัดสวัสดิการ
สังคมทุกระดับ และจัดกิจกรรมด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไข
และฟื้นฟูคุณภาพชีวิต โดยสอดคล้องกับสถานการณ์ของพื้นที่นั้นๆ 5) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางสังคมและ
เสริมสรา้ งเครอื ข่ายด้านการพัฒนาสงั คม 6) ประสานและสนับสนุนการดำเนนิ งานขององค์กรปกครองส่วนท้องถน่ิ
ในภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมและการพัฒนาสังคม 7) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จัดการรณรงค์ ให้
ความรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการพัฒนาสงั คม และส่งเสรมิ การเขา้ ถงึ สิทธิของประชาชนกลุ่มเปา้ หมายตามภารกจิ ของ

23

กระทรวงการพฒั นาสังคมและความมนั่ คงของมนุษย์ 8) ศกึ ษา พัฒนาตนเอง เข้ารว่ มกจิ กรรมทีจ่ ัดโดยหน่วยงานใน
สงั กัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหรือสง่ เสริมสนับสนนุ การดำเนินงาน

อภปิ รายผล
อพม. เป็นคนในพื้นที่ที่มีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่น มีบทบาทในการชี้เป้า เฝ้าระวัง โดยการสำรวจ

รวบรวมข้อมูล และนำเสนอขอ้ มูลเก่ียวกบั กลุม่ เป้าหมายที่ประสบปัญหา ข้อมูลด้านสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึน้ ใน
ชุมชน เพื่อนำไปสู่การดำเนินงาน เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาของชุมชน และนอกชุมชน ทั้งภาครัฐ และเอกชน
และการจัดทำแผนชุมชน โดยการเป็นผู้ผลักดัน หรือกระตุ้นให้ชุมชนร่วมมือ ร่วมใจกันระดมความคิด เพื่อจัดทำ
แผนชุมชน ซึ่งจะทำให้ชุมชนทราบถึงสภาพปัญหา และความต้องการในพื้นที่ สามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งจะส่งผลตอ่
การพฒั นาคุณภาพชีวิตของคนในพ้ืนที่ โดยกระทรวงการพฒั นาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ ควรมีการกำหนด
บทบาท หน้าท่ี และแนวทางการทำงาน ของ อพม. ทช่ี ัดเจน และสำนักงานพฒั นาสงั คมและความมั่นคงของมนุษย์
ควรจัดอบรมทักษะที่จำเป็นสำหรับ อพม. สนับสนุนเครื่องมือ และงบประมาณในการปฏิบัติงาน รวมทั้งสร้างการ
ยอมรบั และความรว่ มมือในการปฏิบตั ิงาน ตอ่ ไป

ข้อเสนอแนะ
ขอ้ เสนอแนะระดับปฏบิ ตั ิ
ผลการศึกษา พบว่า อพม. ยังต้องการพัฒนาด้านความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานด้านสังคม

โดยเฉพาะ ทักษะการเยี่ยมบ้านสอบข้อเท็จจริงผู้ประสบปัญหาทางสังคม เพื่อขอรับการช่วยเหลือจากหน่วยงาน
สังกดั กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดงั นน้ั สำนักงานพัฒนาสังคมและความม่นั คงของมนุษย์
ควรมกี ารฝกึ อบรมเพื่อเพ่ิมความรู้ ความสามารถ และพัฒนาทกั ษะที่เหมาะสมในการปฏบิ ัติงาน รวมทัง้ มีคู่มือ การ
ปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจให้สอดรับกับ นโยบาย และแนวทางการปฏิบัติงานของกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งสนับสนุนเครื่องมอื และงบประมาณในการปฏิบัตงิ าน เช่น ค่าน้ำมันรถ เป็นตน้
เพื่อสร้างขวัญ และกำลังใจในการปฏิบัติงาน ตลอดจนให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็น
หนว่ ยงานชว่ ยเผยแพรก่ ารทำงาน ของ อพม. เพอื่ สรา้ งการยอมรบั ให้เกดิ ขน้ึ อย่างเป็นรปู ธรรม

ข้อเสนอแนะระดับนโยบาย
จากการศึกษา พบว่า อพม. ปฏิบัติงานหลายบทบาทหน้าท่ี จึงทำให้การปฏิบัติงานไม่เต็มที่ และ
ต้องการการยอมรับ และความร่วมมือในการปฏิบัติงานจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ดังนั้น กระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรมีการสร้างเสถียรภาพในการปฏิบัติงาน ของ อพม. โดยมีหลักเกณฑ์
และระเบียบการเบิกจ่ายในการปฏิบัติงาน ของ อพม. และมีการกำหนดบทบาท หน้าที่ และแนวทางการทำงาน
ของ อพม. ที่ชัดเจนยิง่ ขึ้นในการสร้าง การยอมรบั และความร่วมมอื จากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน

24

บรรณานุกรม

กระทรวงการพฒั นาสงั คมและความม่ันคงของมนุษย์ (2557) เอกสารประกอบการฝกึ อบรมแกนนำอาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ระดับจังหวดั ปี 2558 กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานการพัฒนา
สงั คมและความม่นั คงของมนุษย์

จรยิ า แดงวนั สี (2556) บทบาทหน้าทีต่ ามภารกิจของอาสาสมัครพฒั นาสังคมและความมนั่ คงของมนุษย์
(อพม.) ของสำนักงานพฒั นาสงั คมและความมัน่ คงของมนุษยจ์ งั หวดั กาฬสนิ ธ์ุ วิทยานพิ นธ์สังคม
สงเคราะหศ์ าสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปิยากร หวังมหาพร (2556) พัฒนาการเชงิ นโยบายอาสาสมคั รไทย : จากความมัน่ คงสกู่ ารพฒั นาสังคม
วารสารวิชาการศรปี ทุม ชลบรุ ี 10 (2), 15 – 26

มินตรา สาระรกั ษ์ (2553) การเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอบุ ลราชธานี 12(2), 39 – 47

รติกร เนือ่ งชมพู (2557) การเสริมสรา้ งแรงจูงใจในการปฏิบตั ิงานของอาสาสมคั รชว่ ยปฏบิ ตั ิงานในศนู ย์
เยาวชน สงั กัดกองนนั ทนาการ สำนักวฒั นธรรม กีฬา และการท่องเทยี่ วกรุงเทพมหานคร
วิทยานพิ พนธส์ ังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์

ธยานี ศรีโรจนกลุ (2557) แรงจูงใจในการปฏิบตั ิงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมบู่ ้าน พืน้ ท่ีศึกษา
อำเภอแมเ่ มาะ จังหวดั ลำปาง สารนิพนธส์ ังคมสงเคราะหศ์ าสตรมหาบัณฑิต,
มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์

25

บุคลานกุ รม

นางกญั ญาภคั เดชยศด,ี สัมภาษณว์ นั ที่ 8 มนี าคม 2565. จังหวัดพงั งา
นางจิตรา ศริ วิ ชิ ัย, สัมภาษณว์ ันที่ 8 มีนาคม 2565. จังหวัดพงั งา
นางสาวจิตรดา เชือ้ หาญ, สมั ภาษณว์ ันที่ 15 มนี าคม 2565. จงั หวดั ระนอง
นางเตอื นใจ แสงปลอด, สมั ภาษณว์ ันที่ 11 มนี าคม 2565. จังหวัดนครศรธี รรมราช
นางนติ ยา สนั ตเตโช, สัมภาษณ์วันท่ี 14 มนี าคม 2565. จงั หวัดภูเกต็
นางประทปี ศรีอมั พร, สัมภาษณว์ นั ที่ สัมภาษณว์ นั ที่ 7 มีนาคม 2565. จังหวัดชมุ พร
นางสรวงสุดา ชพี เจรญิ วงศ์, สัมภาษณ์วนั ที่ 16 มนี าคม 2565. จังหวัดกระบ่ี
นางสาคร พฒั แกว้ , สมั ภาษณว์ นั ท่ี 16 มนี าคม 2565. จังหวดั กระบ่ี
นายสมศกั ด์ิ ปาลคะเชนทร์, สัมภาษณว์ ันที่ 17 มีนาคม 2565. จงั หวดั สรุ าษฎรธ์ านี


Click to View FlipBook Version