The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

เบสผ้าละหมาด 66

เบสผ้าละหมาด 66

บันทึกข้อความ ส่วนราชการ กศน.ตำบลกะลุวอ ที่………………………………….….. วันที่ 1 กันยายน 2566 เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานดีเด่น รอบ 6 เดือน (1 เมษายน 2566 – 30 กันยายน 2566) เรียน ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองนราธิวาส 1.เรื่องเดิม ตามที่ กศน.ตำบลกะลุวอ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยประเภทต่างๆ ตั้งแต่ วันที่ เดือน 1 เมษายน 2566 – 30 กันยายน 2566 ( ไตรมาสที่ 3 – 4 ) โดยการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมสามารถดำเนินการตามแผนงานและโครงการและบรรลุตรงตามวัตถุประสงค์ของ แต่ละกิจกรรม / โครงการทุกประการ นั้น 2.ข้อเท็จจริง ในการนี้เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงความสำเร็จของการจัดกิจกรรมประเภทต่างๆ ศกร.ตำบลกะลวอ จึงได้คัดเลือกกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งหมดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด เป็นกิจกรรมเด่น ของกศน.ตำบล จำนวน 1 กิจกรรม คือ การจัดการศึกษาต่อเนื่อง อาชีพระยะสั้น รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อ พัฒนาอาชีพ กลุ่มสนใจ หลักสูตรวิชาการตัดเย็บผ้าละหมาด โดยมีการส่งเสริมให้มีการต่อยอดจากการจัดการ เรียนการสอนที่สืบเนื่องจากปีงบประมาณที่ผ่านมา มีการเสริม เพิ่มมูลค่าสินค้าจากของเดิม มีการออกแบบ รูปแบบและลวดลายใหม่ออกสู่ตลาดด้วย ตามรายละเอียด ดังแนบ 3.ข้อกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง คำสั่งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ที่ 88/2566 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2566 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอและผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการ เรียนรู้เขต ปฏิบัติราชการแทน ข้อ 1 - 4. ข้อเสนอแนะ - จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ (นางยุพินธ์ ทองคำ) (นางสาวปารีดะห์ ยูโซ๊ะ) ครูอาสาฯตำบลกะลุวอ ครูกศน.ตำบลกะลุวอ ความเห็นผู้บริหาร ............................................................................................................................................................... ..................... .............................................................................................................. ...................................................................... ......................................................................................................................... ........................................................... (นางนิตยา วุนาพันธ์) ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเมืองนราธิวาส ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองนราธิวาส


รายงานผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด (Best Practice) การตัดเย็บผ้าคลุมละหมาด (1 เมษายน 2566–30 กันยายน 2566) การปักดอกผ้าคลุมละหมาดสตรี ศกร.ตำบลกะลุวอ สกร.อำเภอเมืองนราธิวาส


คำนำ รายงาน ผลการด ำเนิ น งาน กิจกรรมเด่น ป ระจำรอบ 6 เดือน ( 1 เมษ ายน 2 5 6 6 – 30 กันยายน 2566) กศน.ตำบลกะลุวอ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริม ให้ผู้เรียน ได้มีทักษะในการประกอบอาชีพอิสระ เป็นการพัฒนาตนเองไปพร้อมกับสร้างรายได้เสริมให้ตนเองและ ครอบครัว อีกทั้งสามารถ สร้างรายได้ให้ตนเองโดยเป็นการต่อยอด อาชีพเดิม และสร้างอาชีพใหม่ให้กับตนเอง เอกสารประกอบไปด้วย โครงการ วัตถุประสงค์เป้าหมายการดำเนินงาน รูปภาพการดำเนินกิจกรรม เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงการดำเนินโครงการและใช้เป็นเอกสารประกอบการวางแผนปรับปรุง พัฒนาคุณภาพการ ดำเนินงานต่อไป กศน.ตำบลกะลุวอ


สารบัญ คำนำ หน้า สารบัญ การดำเนินงาน - แบบรายงานผลการปฏิบัติติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) - การวางแผน / แผนการดำเนินงาน / การสำรวจ - กิจกรรมการดำเนินงาน - สรุปผลการดำเนินงาน - การติดตามผล / การนำไปใช้ - ผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน ภาคผนวก - ข้อมูลการติดต่อ - คณะผู้จัดทำ


รายงานผลการปฏิบัติติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ชื่อผลงาน การตัดเย็บผ้าละหมาดปักดอก เจ้าของผลงาน กศน.ตำบลกะลุวอ 1. ความเป็นมาและความสำคัญ (Story ของผลิตภัณฑ์) ตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามสตรีจะต้องแต่งกายปกปิดเรือนร่างของตนไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดใน สังคม ไม่เว้นแม้แต่ในขณะปฏิบัติศาสนกิจที่จะต้องแต่งกายให้มิดชิดเรียบร้อย ผ้าละหมาดสตรีในแต่ล่ะประเทศมี รูปแบบที่คล้ายคลึงจะต่างกันตรงเนื้อผ้าและสีของผ้าบ้าง ปัจจุบันนี้ผ้าละหมาดสตรีได้พัฒนารูปแบบให้มีความ สวยงามน่าสวมใส่ ใช้เนื้อผ้าดีๆ ผสมผสานงานศิลปะ เช่น การทักทอลวดลายต่างๆ ลงบนผ้าละหมาดเพื่อให้ผ้า ละหมาดดูมีความน่าสนใจดึงดูดผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นภายใต้บทบัญญัติการแต่งกายของสตรีมุสลิมในศาสนาอิสลาม ผ้าละหมาดสตรีนาซีฟะฮฺ ผลิตภัณฑ์ผ้าจากกลุ่มปักจักรบ้านกลูบี ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ที่ ผลิตจากแนวคิดในหลักการของอิสลามผสมผสานงานฝีมือในการปักลวดลายเลขาคณิตและลวดลายดอกไม้ พื้นบ้าน เช่น ลายดอกพิกุล ลายดอกชบา และลวดลายโบราณลงบนเนื้อผ้าที่หลากหลายอย่างสละสลวยประณีต ทั้งแบบปักด้วยมือและปักด้วยเครื่องจักร ตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้สวมใส่จนมีชื่อเสียงเป็นที่ ยอมรับของตลาดผ้าละหมาดสตรี ชุดละหมาดเป็นเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจของสตรีมุสลิม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และใน ปัจจุบันชุดละหมาดมีหลายแบบ ทั้งเป็นท่อน เป็นชุดเดียว และเป็นแขน มีทั้งปักดอก และไม่ปักดอก ถึงชุด ละหมาดที่ความแตกต่างกันแต่ก็ล้วนแต่ใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจคือจุดหมายเดียวกัน ชุดละหมาดเป็นเครื่องแต่ง กายในการปฏิบัติศาสนกิจของสตรีชาวมุสลิม โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีอย่างน้อยคนละ ๑ ชุด กศน.ตำบลกะลุวอ เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หลักสูตร วิชาชีพระยะสั้น จำนวน 30 ชั่วโมง โดยมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ “กลุ่มตัดเย็บผ้าละหมาด” โดยจากการวางแผน ประชุมการดำเนินงานโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ในระดับตำบล โดยได้ทำกการสำรวจ และสอบถามความ ต้องการของประชาชนในพื้นที่ตำบลกะลุวอ ถึงความต้องการในการฝึกอบรมวิชาชีพ ซึ่งมีผู้แจ้งความประสงค์ผ่าน การสำรวจ สอบถาม และทำเวทีกลุ่มในความประสงค์เรียน ทางสกร.ตำบลกะลุวอ เล็งเห็นความสำคัญของความ ต้องการดังกล่าว จึงได้สนับสนุนให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรอาชีพระยะสั้น จำนวน 30 ชั่วโมง ให้แก่กลุ่มผู้เรียน เรื่อยมาจนสมาชิกในกลุ่มเกิดความชำนาญและเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและ นอกห้องเรียน นอกสถานที่ โดยมีวิทยากร คือ นางสาวนุซีลัน อาแวกือจิเป็นวิทยากร รวมไปถึงการให้ความ ร่วมมือของภูมิปัญญาท้องถิ่นในหมู่บ้านด้านการปักผ้าคลุมละหมาด กศน.ตำบลกะลุวอ มองเห็นความตั้งใจและความต้องการที่จะเรียนรู้ จึงได้ส่งเสริม สนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์และวิทยากรให้แก่กลุ่มเพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่หลากหลายให้แก่กลุ่ม ซึ่งทางกลุ่มได้มีการพัฒนาฝีมือ พร้อมทั้งรับงานมาทำจากประเทศเพื่อนบ้านนำมากระจายการจ้างงานและสร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่ม ทำให้ สมาชิกคนอื่นเกิดความสนใจและเข้ามาเรียนรู้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการว่าจ้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กศน.ตำบลกะลุวอ สังกัด สกร.อำเภอเมืองนราธิวาส ในฐานะเป็นสถานศึกษาในชุมชน มีการ ดำเนินงานจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ภายใต้กิจกรรมที่สอดคล้อง กับข้อมูล สภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จึงได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานกิจกรรมการศึกษา ต่อเนื่อง ภายใต้ชื่อ กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ “การปักผ้าคลุมละหมาด” โดยการส่งเสริมสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ พร้อมทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในกลุ่มให้เกิดการพัฒนาและกระจายความรู้ให้กับคนรุ่นต่อๆไป ด้วยฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งการบริหารจัดการกลุ่มแบบแนวราบ ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสใน


การทำงานร่วมกัน จึงส่งผลให้การตัดเย็บผ้าคลุมละหมาด นอกจากจะเป็นฐานรากของการสร้างรายได้เสริมและยัง สร้างอาชีพให้ครอบครัวแล้ว ยังเป็นรากฐานสำคัญของสมาชิกและสร้างอาชีพ สร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่มและ ครอบครัวอีกด้วย 2.วัตถุประสงค์ 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีทางเลือกในการฝึกทักษะอาชีพและเข้าสู่อาชีพที่ตนเองถนัดได้อย่าง เหมาะสม 2.เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ต่อยอดกระบวนการเรียนรู้การออกแบบ ลวดลายผลิตภัณฑ์บนผ้าคลุม ละหมาดสตรี 3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม การกระจายความรู้และสร้างอาชีพ สร้างรายได้เสริม ให้กับสมาชิกกลุ่มและคนในชุมชนต่อไป 3.เป้าหมาย สมาชิกกลุ่มตัดเย็บผ้าคลุมละหมาดสตรี จำนวน 14 คน 4.ขั้นตอน / กระบวนการดำเนินการ 4.1 ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีมีทางเลือกใน การฝึกทักษะอาชีพและเข้าสู่อาชีพที่ตนเอง ถนัดได้อย่างเหมาะสม 1.1 จัดประชุมเพื่อร่วมกันศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการของ ผู้เรียนพร้อมทั้งนำข้อมมูลมาวิเคราะห์และจัดลำดับความ ต้องการฝึกอบรม 1.2 ครู ผู้เรียน และวิทยากรประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนการ ดำเนินงาน ชี้แจงวัตถุประสงค์ และผลที่ผู้เรียนจะได้รับ 1.3 จัดตั้งกลุ่ม เตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์เพื่อให้การสนับสนุน นำไปพัฒนากระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการตัดเย็บผ้าคลุม ละหมาดสตรี 2.เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ต่อยอดกระบวนการ เรียนรู้ การออกแบบ ลวดลายผลิตภัณฑ์บนผ้า คลุมละหมาดสตรี 2.1 นิเทศ ติดตามผลการดำเนินงาน กระบวนการตัดเย็บ ส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จนสามารถต่อยอด ผลิตภัณฑ์เป็นการปักดอกผ้าคลุมละหมาด 2.2 การต่อยอดกลุ่มปักดอกผ้าคลุมละหมาด สามารถออกแบบ ลวดลายตามที่ตัวเองชอบและถนัด และตามความต้องการของ ลูกค้า


วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงาน 3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการ กระจายความรู้และสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เสริมให้กับสมาชิกกลุ่มและคนในชุมชนต่อไป 3.1 จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย อบต. พัฒนา ชุมชน เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการผลิตสินค้าของ กลุ่ม 3.2 จัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพื่อ ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าของกลุ่มทำให้เป็นที่รู้จักทั้งภายใน ชุมชนและประเทศเพื่อนบ้านทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการ ดำเนินงาน การกระจายรายได้ ทาง กลุ่มจึงมีแนวคิดในการ ตัด เย็บผ้าคลุมละหมาด ในลักษณะของ “กลุ่ม” และการรวมกลุ่ม 3.3 กศน.ตำบลกะลุวอ ร่วมกับ พัฒนาชุมชน อบต.ติดตามและ ประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มตัดเย็บผ้าคลุมละหมาดสตรี


ให้ความรู้/ฝึกอบรมตามหลักสูตร ปรับปรุงการจัดกิจกรรม ทำการเผยแพร่ผ่านช่องทางที่หลากหลาย สรุป/รายงานผลการปฏิบัติงาน ขออนุญาตจัดตั้งกลุ่ม/จัดกิจกรรมตามแผน จัดทำหลักสูตรตามความสนใจ นิเทศ/ติดตามกระบวนการเรียนรู้ ประเมินผล/บรรลุวัตถุประสงค์ ทำการสำรวจความต้องการของประชาชน 4.2 ระบบแผนภูมิการทำงาน การจัดการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรการตัดเย็บผ้าคลุมละหมาดสตรี ประยุกต์ใช้และดำเนินการ ตามแนวทางของวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) P : Plan = การวางแผน D : Do = การปฏิบัติตามแผน C : Check = ตรวจสอบ/ประเมินผลและนำมาวิเคราะห์ A : Action = ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม


5.ผลการดำเนินงาน 1.1 ผลที่เกิดกับผู้เรียน 1.1.1 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน 1.1.2 ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 1.2.3 สร้างอาชีพ สร้างรายได้เสริมให้กับตนเองและครอบครัว 1.2 ผลที่เกิดกับชุมชน 1.2.1 เกิดการบูรณาการความรู้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน 1.2.2 เกิดจุดการเรียนรู้ การกระจายความรู้ในหมู่บ้าน ชุมชน 1.2.3. เกิดการรวมกลุ่ม การพัฒนาฝีมือที่มีคุณภาพของกลุ่มเป้าหมาย สามารถสร้างงาน สร้าง รายได้ตลอดจนยึดเป็นอาชีพเสริมได้ 1.2.4 สามารถจัดหาตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง มั่นคง และยั่งยืน 1.2.5 สามารถขยายผลไปยังหมู่บ้านและตำบลอื่นๆ และสร้างอาชีพใหม่ สร้างรายได้ให้กับ ประชาชนในพื้นที่ตำบลกะลุวอ และพื้นที่ใกล้เคียง 6.ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 6.1 ผู้บริหารให้ความสำคัญ ส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดกระบวนการ และการต่อยอดและการ รวมกลุ่ม 6.2 การมีส่วนร่วมของหน่วยงานราชการ ภาคีเครือข่ายภาครัฐ และเอกชน ในการส่งเสริมการจัด กระบวนการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาของชุมชน แบบบูรณาการร่วมกัน ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ 6.3 เกิดเป็นอาชีพหนึ่งที่เป็นทางเลือกให้กับประชาชนที่ต้องการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับ ตัวเอง ครอบครัว 7.การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ ๑. เผยแพร่ผลงานผ่าน Facebook กศน.ตำบลกะลุวอ 2. เผยแพร่ผลงานผ่านศูนย์ OOCC ของ กศน.ตำบลกะลุวอ สกร.อำเภอเมืองนราธิวาส 3. ผู้เรียนที่จบหลักสูตร มีการพัฒนาตนเอง และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ยอมรับ สามารถส่ง จำหน่ายได้ทั้งในพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้าน


บทสรุป ชุดละหมาดสตรีมุสลิม การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศ ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงาน และส่งเสริมความ เข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน โดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่าง ๆ มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับ การศึกษา เพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน อาชีพช่างตัดเย็บผ้าละหมาด เป็นอาชีพอิสระที่ผู้เรียนสามารถนำมาเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพรองได้ เนื่องจากเป็นอาชีพที่ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศ ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็น การแก้ปัญหาการว่างงาน และส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน โดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับ ศักยภาพด้านต่าง ๆ มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษา เพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน ผ้าคลุมละหมาด ถือเป็นเครื่องแต่งกายอย่างหนึ่ง ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับประชาชนที่นับ ถือศาสนาอิสลาม เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์ทุกคนต้องแสวงหามาเพื่อห่อหุ้มร่างกาย ในขณะเดียวกันก็ต้องการ ความสวยงาม ช่วยสร้างบุคลิกให้กับผู้สวมใส่ ผ้าคลุมละหมาด จึงมีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนประชาชนที่นับ ถือสานาอิสลาม ซึ่งที่ผู้บริโภคจัดหามาตกแต่งให้กับตัวเอง โดยการสั่งตัดและซื้อสำเร็จรูป จะได้รูปทรงดี แบบ สี ขนาดพอเหมาะกับผู้สวมใส่แต่ราคาค่อนข้างจะแพง อาชีพตัดเย็บผ้าละหมาด จึงเป็นอาชีพหนึ่งที่เป็นทางเลือก ให้กับประชาชนที่ต้องการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง ครอบครัว หรือผู้ที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพที่ เป็นงานอิสระและมั่นคงได้ ประเภทและลักษณะ เป็นชุดละหมาดสำหรับใส่ละหมาดของสตรีมุสลิม วัสดุที่ใช้ ๑. ผ้าสีขาวหรือผ้าลวดลายแบบต่างๆ แล้วแต่ชอบ ๒. ระบาย/ลูกไม้ ๓. ด้าย ๔. จักรและวัสดุตัดเย็บ


วิธีทำ วัดตัวลูกค้า สร้างแบบวางแบบบนผ้าแล้วตัดตามแบบเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ เมื่อได้ชิ้นส่วนแล้วนำมาเย็บ ประกอบเข้ากันสุดท้ายด้วยการใส่ระบายข้างล่าง จุดเด่นของผลิตภัณฑ์/บริการ ผ้าคลุมละหมาด ถือเป็นเครื่องแต่งกายอย่างหนึ่ง ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับประชาชนที่นับถือ ศาสนาอิสลาม มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ออกแบบลวดลายและสีตามที่ต้องการ เน้นดอกและลวดลายของ ผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการของตลาด ฝีมือประณีต รูปแบบสวยงามทันสมัย มีคุณภาพคงทน ความคิดสร้างสรรค์ มีการปรับลวดลาย การออกแบบบนตัวผลิตภัณฑ์ เพิ่มเติมลวดลายบนตัวผลิตภัณฑ์ โดยมีการปักเพิ่มเติม ให้สวยงาม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความเป็นเอกลักษณ์ ช่องทางการประชาสัมพันธ์ การจำหน่ายผ่านโซเชียลมีเดีย - เฟส : กศน.ตำบลกะลุวอ - OOCC กศน.ตำบลกะลุวอ - นางสาวนุซีลัน อาแวกือจิ โทร.095-8026804 (ครูผู้สอน) บรรจุภัณฑ์สวยงาม/โลโก้/สลากที่ระบุวิธีใช้/วัน เวลาที่ผลิต/ราคาขายปลีก-ขายส่ง และพร้อมที่อยู่เบอร์ โทรศัพท์ผู้ผลิต ราคาผลิตภัณฑ์ : ราคาเริ่มต้น 250 - 790 บาท ราคาขายส่ง 199 – 690 บาท ราคาขายปลีก 250 - 790 บาท (ราคาจะขึ้นอยู่กับ เนื้อผ้า /แบบ/ลวดลาย/ลูกไม้ที่ใช้ในการปัก)


การประสานงานวิทยากรเพื่อวางแผนการจัดท าหลักสูตรและ วางแผนการเรียนการสอนร่วมกัน


การส ารวจความต้องการในการฝึ กอบรม กลุ่มสนใจ หลักสูตรการตัดเย็บผ้าคลุมละหมาดสตรี


การด าเนินการ หลักสูตรการตัดเย็บผ้าละหมาด ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านยาบี ม.1 บ้านยาบี ต.กะลุวอ อ.เมืองนราธิวาส


การด าเนินการ หลักสูตรการตัดเย็บผ้าละหมาด ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านยาบี ม.1 บ้านยาบี ต.กะลุวอ อ.เมืองนราธิวาส


การนิเทศ ติดตามขณะการฝึ กอบรม


การติดตามขณะการฝึ กอบรม


การติดตามขณะการฝึ กอบรม


การดำเนินการต่อยอด กลุ่มปักดอก ผ้าคลุมละหมาดสตรี


การวางแผน / แผนการดำเนินงาน / การสำรวจ


ประชุมถอดบทเรียนหลังการฝึกอบรมเสร็จสิ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการต่อยอดกลุ่ม


การประชุมทีมงาน กศน.ต าบลเพื่อวางแผนการจัดท าโครงการฯ


การอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ


การจัดทำเวทีเฉพาะกลุ่มเพื่อสำรวจความต้องการและ เพื่อการวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน


ประสานวิทยากรและวางแผนการดำเนินงาน กระบวนการต่อยอดการปักดอกผ้าคุลมละหมาดสตรี


ขั้นตอนกระบวนการดำเนินงาน


การดำเนินการจัดการเรียนการสอนอาชีพระยะสั้น วิชาการปักดอกผ้าคลุมละหมาดสตรี


การดำเนินการจัดการเรียนการสอนอาชีพระยะสั้น วิชาการปักดอกผ้าคลุมละหมาดสตรี


การติดตามผลการดำเนินงาน


นิเทศการจัดการเรียนการสอนอาชีพระยะสั้น วิชาการตัดชุดผ้าคลุมละหมาด ปักดอก กศน.ตำบลกะลุวอ


นิเทศการจัดการเรียนการสอนอาชีพระยะสั้น วิชาการตัดชุดผ้าคลุมละหมาด ปักดอก กศน.ตำบลกะลุวอ


ติดตามผลหลังจากจบหลักสูตร วิชาการตัดชุดผ้าคลุมละหมาด ปักดอก


รีวิวการใช้งานหลังการฝึกอบรม


รีวิวการใช้งานหลังการฝึกอบรม


ตัวแทนกลุ่มรวบรวมผ้าที่สมาชิกตัดเย็บ /ปักดอก นำส่งให้ลูกค้าประเทศเพื่อนบ้าน


ผู้ประสบความสำเร็จจากการตัดเย็บผ้าละหมาด สร้างรายได้เสริมให้ตนเองและครอบครัว


นางเจะสีรัน สาและ อยู่บ้านเลขที่ 47/2 ม.1 บ้านยาบี ต.กะลุวอ อ.เมืองนราธิวาส ต่อยอดอาชีพเดิม เป็ น 1 ในสมาชิกกลุ่มที่สามารถวาดลวดลายบนผ้าและปักดอกบนผ้าได้อย่างสวยงาม สามามรถตัดเย็บและปักดอกได้ หลากหลายรูปแบบ สามารถตัดจ าหน่ายเองและรับจ้างทางกลุ่มได้อย่างต่อเนื่อง สีและลวดลายสามารถท าได้ ตามที่ลูกคา้สั่ง (ในรูปประกอบ) จากในรูป -ชุดผ้าคลุมละหมาดสตรี ชุดละ 750-850 บาท *แต่ท้งัน้ีท้งัน้นัราคาข้ึนอยกู่บัเน้ือผา้และลวดลาย


นางโศรดา สะนิ 29/3 ม.1 บ้านยาบี ต.กะลุวอ อยู่บ้านเลขที่ 29/3 ม.1 บ้านยาบี ต.กะลุวอ อ.เมืองนราธิวาส เป็ น 1 ในสมาชิกกลุ่มที่ สามารถวาดลวดลายบนผ้าและปักดอกบนผ้าได้อย่างสวยงาม สามามรถตัดเย็บและปักดอกได้หลากหลาย รูปแบบ สามารถตดัจา หน่ายเองและรับจา้งทางกลุ่มไดอ้ยา่งต่อเนื่อง สีและลวดลายสามารถทา ไดต้ามที่ลูกคา้สั่ง (ในรูปประกอบ) จากในรูป -ชุดผ้าคลุมละหมาดสตรี ชุดละ 750-1,200 บาท *แต่ท้งัน้ีท้งัน้นัราคาข้ึนอยกู่บัเน้ือผา้และลวดลายการปักดอก


การรายงานสรุปผลการดำเนินงาน


การจัดทำรายงานสรุกผลการดำเนินงาน


หน่วยงานภาคีเครือข่ายร่วมกันส่งเสริมสนับสนุน ตัวแทนกลุ่มร่วมกับพัฒนากรชุมชนตำบล เกษตรอำเภอประจำตำบล และกลุ่มสตรีทุกหมู่บ้านร่วมกันทำแผน ขับเคลื่อนกลุ่มแต่ละกลุ่มในพื้นที่ตำบลกะลุวอ


การเผยแพร่เอกสารต่อสาธารณชน


การเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ผ่านสื่อโซเซียลมีเดีย


คณะผู้จัดทำ คณะทำงานส 1. นางสาวปารีดะห์ ยูโซ๊ะ ครู ศกร.ตำบล 2. นางยุพินธ์ ทองคำ ครูอาสาฯ ที่ปรึกษา 1. นางนิตยา วุนาพันธ์ ผู้อำนวยการ สกร.อำเภอเมืองนราธิวาส 2. นางสาวนุซีลัน อาแวกือจิ วิทยากรผู้สอน 3. นางสาวซูไฮดา ยูโซ๊ะ ครูผู้ช่วยประจำตำบล 4. นางซูรีดา อับดุลซามะ ครูผู้ช่วยประจำตำบล


ภาคผนวก


Click to View FlipBook Version