หลักสูตรการฝึกอบรม
“การทอผ้าไหมมัดหมี่”
สาขาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
1
หลักสูตรการฝึกอบรม
“การทอผ้าไหมมัดหมี่”
สาขาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
การทอผ้าไหมมัดหมี่ คือ ภูมิปัญญาของชาวบ้านในจังหวัดสุรินทร์ที่มีมาอย่าง
ยาวนาน ทาขึ้นเพื่อเป็น สินค้านามาจาหน่ายสร้างรายได้ให้แก่ ครอบครัว ชุมชน
จังหวัด หรือกลุ่มที่รวมตัวขึ้นมา หรือใช้เป็นของมีค่า ในการให้เป็นของขวัญ ขอ
งกานัน โดยวัสดุที่ใช้ก็ได้มาจากธรรมชาติ ที่มีในชุมชน และการใช้ความสามารถ
พิเศษในการออกแบบลายผ้าไหมโดยการมัดหมี่
มัดหมี่ เป็นกรรมวิธีการทอผ้าแบบหนึ่ง ที่อาศัยการย้อมเส้นด้ายก่อนการทอ
ทั้งที่ย้อมเฉพาะด้ายพุ่และ ย้อมด้ายยืน เพื่อให้เมื่อทอผ้าออกม้าเป็นผืนแล้ว เกิดเป็น
ลวดลายและสีสันตามที่ต้องการ เดิมนั้นนิยมใช้เส้น ไหม แต่ปัจจุบันพบการมัดหมี่
ทั้งเส้นไหม ฝ้าย และเส้นใยสังเคราะห์
ผ้ามัดหมี่ในประเทศไทยพบได้มากในภาคอีสาน โดยการมัดเป็นลวดลาย เช่น
ลายนาค ลายโคม สัตว์ ดอกไม้ ใบไม้ ฯลฯ โดยนิยมมัดเฉพาะเส้นพุ่ง อย่างไรก็ตาม
ในหมู่ช่างทอแถบอีสานใต้ เช่น จังหวัดสุรินทร์ มี การทอผ้าที่มัดทั้งด้ายยืนและด้าย
พุ่ง เกิดเป็นลายตาราง หรือกากบาท ผ้าจากการมัดหมี่ อาจทอด้วยกรรมวิธี การทอ
สองตะกอตามปกติ หรือทอสามตะกอ เพื่อให้ได้ลวดลายในเนื้อผ้าที่ละเอียดเพิ่มขึ้น
ก็ได้
คณะผู้ดาเนินโครงการ ได้ตระหนักถึงความสาคัญดังกล่าว จึงได้ทาหลักสูตร
การทอผ้าไหมมัดหมี่ ขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับทุกท่าน และสาธารณชนใน
หลักการ นาสิ่งแวดล้อมมาใช้อย่างมีประโยชน์ โดยการทาและออกแบบให้เป็นที่นิยม
ของชุมชนทุกที่ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนจากวัสดุที่มีอยู่อย่างมี คุณค่า และรวม
ถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาให้คงอยู่สืบต่อไป
สารบัญ 2
เรื่อง หน้า
หลักสูตรการฝึกอบรม 3
เนื้อหาการฝึกอบรม 5
5
ประวัติผ้าไหมมัดหมี่ 9
ลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ 11
ประเภทผ้าไหมมัดหมี่ 13
วัสดุ/อุปกรณ์ 14
ขั้นตอนการทำ 19
แบบทดสอบ 20
บรรณนานุกรม 22
ประวัติวิทยากร
3
หลักสูตรการฝึกอบรม
“การทอผ้าไหมมัดหมี่”
สาขาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
วัตถุประสงค์
1.ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การทอผ้า
ไหมมัดหมี่
2. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเลือกใช้เครื่องมือ รวมทั้งการสร้างสรรค์
ออกแบบในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสม และเป็นที่นิยมในชุมชน
3.ผู้ร่วมอบรมสามารถปฏิบัติการอย่างมีทักษะสร้างสรรค์ชิ้นงาน ย้อม
ลวดลาย สีธรรมชาติ สั่งสมองค์ความรู้อย่างมืออาชีพในการคิดวิเคราะห์จัดองค์
ประกอบอย่างสวยงามใน การออกแบบ เรียนรู้เข้าใจวัสดุธรรมชาติ อุปกรณ์ การ
คิดคานวนสังเกตและมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
4.ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนาความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือพัฒนา
อาชีพ เป็นการสร้างรายได้ ให้กับครอบครัว
5. เพื่อสร้างจุดขายสินค้า เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาต
ระยะเวลาการฝึกอบรม
ผู้เข้าอบรมจะต้องเข้าฝึกอบรมภาคทฤษฎี จำนวน 2 ชั่วโมง และฝึกทักษะ
ภาคปฏิบัติ จำนวน 5 ชั่วโมง ระยะเวลาฝึกอบรมทั้งหมด 7 ชั่วโมง
คุณสมบัติผู้เข้าฝึกอบรม
1. ผู้ที่สนใจในโครงการและการอบรม
2. มีความพร้อมและความสามรถเข้าฝึกอบรมได้ตลอดหลักสูตร
หัวข้อเนื้อหาการฝึกอบรม
4
เนื้อหาการฝึกอบรม
1. อุปกรณ์ ในการผลิต เช่น ไม้ทะนัด กี่กระตุก
วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ลักษณะ ประเภท
วิธีการใช้อุปกรณ์ ในการผลิตผ้า ไหมมัดหมี่
คำอธิบาย ลักษณะ ประเภท วิธีการใช้อุปกรณ์ ในการผลิตผ้าไหมมัดหมี่
2.วัสดุอุปกรณ์จากธรรมชาติที่ ให้สีสันต่างๆ นามาใช้ในการย้อมไหม เช่น ดอก
กรรณิการ์ (สีส้ม) ต้นคราม เปลือกสมอ ใบหูกวาง (สีน้าเงิน)
วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ในวัสดุจาก
ธรรมชาติ ที่นามาย้อมเส้นไหม
คำอธิบาย ศึกษาวัสดุจากธรรมชาติ ที่นามาย้อมเส้นไหม ว่าวัสดุนี้ให้เฉดสี
ออกมาแบบไหน
3.วิธีการมัดหมี่ ลวดลายต่างๆ การใช้สี
วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ในวิธีการมัดหมี่
การออกแบบลวดลายผ้าไหม
คำอธิบาย ศึกษาวิธีการมัดหมี่ การออกแบบลวดลายผ้าไหม การใช้สี
4. การวัดและประเมินผล
4.1 แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม
4.2 ประเมินความรู้ ความสามารถและศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้รับ
การฝึกอบรม
5. ผู้จัดทำหลักสูตร
นางสาวปัฒมาภรณ์ ธราจารวัตร นักศึกษาสาขาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 2
ลงชื่อ…………………………ผู้ขออนุมัติหลักสูตร
(นางสาวปัฒมาภรณ์ ธราจารวัตร)
ลงชื่อ…………………………ผู้อนุมัติหลักสูตร
(อาจารย์ภัทระ อินทรคำแหง)
อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา
5
เนื้ อหาการฝึ กอบรม
ประวัติผ้าไหมมัดหมี่
ผ้าไหมมัดหมี่ เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่งนิยมทำมานานแล้ว ในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือของประเทศไทย และบางท้องที่ในเขตภาคกลาง เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี
อุทัยธานี กาญจนบุรี ลพบุรี และชัยนาท วิธีการทำผ้ามัดหมี่คือการมัดด้ายให้เป็นลายที่
เส้นพุ่งหรือเส้นยืนด้วยเชือกแล้วนำไปย้อมสี เพื่อให้สีและลายตามที่กำหนด แล้วจึงนำมา
ทอเป็นผ้า ผ้าไหมมัดหมี่ในบ้านเราส่วนใหญ่นิยมทอผ้ามัดหมี่เส้นพุ่ง แต่มีบางจังหวัดที่มี
การทำผ้ามัดหมี่โดยใช้เส้นยืน ซึ่งได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ราชบุรี เพชรบุรี
ส่วนใหญ่เป็นผ้าชาวเขาซึ่งเป็นผ้าซิ่นมัดหมี่ ราชบุรี สุพรรณบุรี ฯลฯ บางแห่งมีการทอผ้า
มัดหมี่สลับกันกับลายขิต เพื่อเพิ่มความงดงามให้แก่ผ้าไหมมากยิ่งขึ้น ส่วนผ้ามัดหมี่จาก
สุรินทร์ มีชื่อเสียงทั้งในด้านความสวยงามของเส้นไหมและลวดลายซึ่งได้รับอิทธิพลจาก
เขมร
การทอผ้ามัดหมี่จะมีอยู่ทั่วไป 2 ลักษณะ คือ
การทอผ้ามัดหมี่ 2 ตะกรอ เป็นลายขัดธรรมดา ผ้าจะใช้ได้เพียงหน้าเดียว
การทอผ้ามัดหมี่ 3 ตะกรอ เป็นการทอผ้าลายสอง เนื้อผ้าจะแน่น สามารถใช้ผ้าได้ทั้ง 2 ด้าน
โดยด้านหน้าจะให้สีสดใส และลวดลายชัดกว่าด้านใน
ในปัจจุบันมีการทอผ้ามัดหมี่กับหลายรูปแบบ มีการดัดแปลงลายพื้นบ้านผสมกับลายโบราณ
ที่ถ่ายทอดสืบต่อมาเรื่อย ๆ อีกทั้งปัจจุบันผ้าไหมมัดหมี่ได้มีการนำมาออกแบบเสื้อผ้าสตรี-
บุรุษได้อย่างสวยงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่นมาก
6
ผ้าไหมมัดหมี่มีการผลิตกันมาก และเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ผ้าไหมมัดหมี่ลาย
ต่างๆ ทั้ง 2 ตะกรอ และ 3 ตะกรอ ผ้าไหมมัดหมี่หน้านางธรรมดา ผ้ามัดหมี่หน้านาง
ประยุกต์ ผ้ามัดหมี่หน้านางพิเศษ ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความยากง่ายในการมัด และทอต่าง
กัน ความสวยงามจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความปราณีตละเอียดของขบวนการ
มัดหมี่และทอผ้า
สำหรับลวดลายต่างๆ ที่ผู้ทอผ้ามัดหมี่ได้มีการออกแบบลวดลายนั้น ก็จะนำมาจาก
ลวดลายเก่าแก่ที่ยังคงอยู่ ผสมกับแนวความคิดในการผสมลวดลายต่างๆ กัน เช่น
ลายเครื่องตำลึง ลายพญานาคคู่ ลายลูกศร ลายมัดหมี่ผ้าปูมเขมร ลายขอพระเทพ
เป็นต้น
7
ผ้ามัดหมี่ เป็นการทอผ้าอย่างหนึ่งที่มีการสร้างลวดลายก่อนที่จะทำการย้อมสี การ
ทำลายผ้ามัดหมี่เป็นการเอาเชือกมามัดด้ายหรือมัดเส้นไหมตามลวดลายที่ได้ออกแบบ
ไว้ การมัดและย้อมลายจะมีการทำทั้งเส้นทางแนวยืน และแนวนอนหรือที่เรียกว่าแนว
พุ่ง มีการสันนิษฐานว่าการมัดลายในแนวยืนน่าจะมีมาก่อนในแนวพุ่ง และจากการ
สืบค้นมีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับแบบอย่างมาจากประเทศอินเดีย โดยในสมัยโบราณ
ที่มีการค้าขายกันและติดมากับสินค้าอื่ น
การทอผ้ามัดหมี่โบราณนิยมการย้อมสีด้วยสีธรรมชาติ เช่น สีแดงจากครั่ง สีน้ำเงิน
จากคราม เป็นต้น ส่วนผ้าไหมมัดหมี่จะนิยมทำในกลุ่มไท-ลาวในภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ จากเส้นทางการรับแบบอย่างของผ้ามัดหมี่ คือจากอินเดีย ผ่านมาทาง
อินโดนีเซียและกัมพูชาหรือเขมร ดังที่เราจะเห็นได้ว่าผ้าไหมมัดหมี่ของจังหวัดสุรินทร์
และบุรีรัมย์ จะเป็นวัฒนธรรมที่เป็นแบบเขมรอย่างเห็นได้ชัด
ปัจจุบันผ้ามัดหมี่มีการทำกันอย่างแพร่หลาย สามารถทำได้ดีทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม โดย
เฉพาะผ้าไหมจะมีความสวยงามมาก นอกจากตัวผ้าไหมเองแล้ว ลวดลายและสีสันยัง
เป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างความสวยงามให้มากยิ่งขึ้น การอนุรักษ์ลวดลายโบราณ และนำมา
ประยุกต์ใช้ จึงเป็นสิ่งที่น่าจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น การเก็บ
รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผ้าไหมมัดหมี่สีธรรมชาติเพื่อการถ่ายทอดสู่คน
รุ่นต่อไปจึงเป็นเรื่องที่ดีและควรให้การสนับสนุน
8
คุณค่าของผ้าไหมไทย ปัจจุบันการจัดลำดับชั้นคุณภาพเส้นไหมพุ่งอันเป็นเอกลักษณ์
ของไหมไทยยังไม่มีระบบที่แน่นอนเนื่องจากการสาวไหมเส้นพุ่งเป็นอุตสาหกรรมใน
ครอบครัว และใช้วิธีการสาวด้วยมือแบบโบราณ เส้นไหมมีจำนวนเกลียวน้อย ขนาด
ของเส้นไหมไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความชำนาญ ประสบการณ์และความพอใจของแต่ละ
คนเป็นการยากที่จะกำหนดให้เกษตรกรแต่ละคนสาวเส้นไหมที่มีลักษณะเดียวกัน
KetySmile จะมาบอกคุณค่าของผ้าไหมไทยในปัจจุบันเป็นยังไงบ้าง ( KetySmile เรา
เป็นผู้ผลิตและจำหน่าย ชุดเดรสผ้าไทย ชุดเดรสทำงาน เดรสผ้าไทย ชุดเดรสแฟชั่น
งานตัดเย็บจากช่างฝีมืออาชีพ) จะเห็นว่าคุณภาพของเส้นไหมพุ่งแตกต่างกันมาก
ทำให้มีปัญหาเรื่องตลาดราคาของเส้นไหมจะขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลาง ซึ่งกำหนดราคา
ตามความพอใจ เกษตรกรผู้ผลิตเส้นไหมไม่ได้รับความเป็นธรรม ผลประโยชน์ส่วน
ใหญ่ตกอยู่กับพ่อค้าคนกลาง การจัดลำดับชั้นคุณภาพเส้นไหมพุ่งมีปัญหามากมาย
และเป็นเรื่องยุ่งยาก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ทำด้วยมือตามความพอใจของแต่ละ
คน หรือแต่ละหมู่เหล่า แนวทางในการแก้ปัญหาคือ จัดให้เกษตรกรรวมกลุ่มโดยมีโรง
สาวไหมกลางที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐควบคุมดูแลให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดในระยะแรก เพื่อ
ให้เกษตรกรเห็นความสำคัญและผลประโยชน์ที่จะได้รับ การส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยง
ไหมเพื่อขายรังไหมเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหาการจัดลำดับชั้นคุณภาพเส้นไหมพุ่ง
ซึ่งต้องทำควบคู่กันไปกับการส่งเสริมให้เอกชนตั้งโรงงานสาวไหมเส้นพุ่ง เพื่อรับซื้อรัง
ไหมจากเกษตรกร
9
ลายผ้าไหมมัดหมี่
ลายผ้าไหมมัดหมี่เป็นลายผ้าไหมดั้งเดิมที่มีถิ่นกำเนิดในภาคอีสาน ลาย
ผ้าไหมมัดหมี่เกิดจากการมัดเส้นไหมด้วยเชือกหรือฟางตามจุดที่จะให้มีลาย
ตามที่ได้ออกแบบไว้ แล้วนำมาย้อมสี ตรงส่วนที่มีการมัดหมี่จะไม่ติดสีย้อม
ส่วนที่ไม่มัดหมี่จะติดสีตามที่ต้องการ พร้อมทำการย้อมสีหลายครั้งตามเฉดสี
ของลาย เมื่อนำมาทอเป็นผืนจะเกิดลวดลายตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งถือเป็นสิ่ง
สำคัญที่จะให้เกิดความงดงาม
โดยลายผ้ามัดหมี่มักจะผสมผสานกับคตินิยมของกลุ่มคนนั้นๆ ผ้าไหม
มัดหมี่ถือเป็นผ้าไหมที่มีถิ่นกำเนิดในภาคอีสาน ลวดลายต่างๆ จะถูกคิดค้นขึ้น
ซึ่งมักจะได้แรงบันดาลใจมาจากชีวิตประจำวัน และรูปแบบวัฒนธรรมของถิ่น
อาศัยที่สามารถสื่อออกมาเป็นรูปภาพได้ สำหรับลายผ้าไหมมัดหมี่ในภาคอีสาน
มีด้วยกันหลายลายแตกต่างกันในแต่ละท้องที่ ตามวัฒนธรรมที่โดดเด่น โดย
มีมากกว่า 200 ลาย ซึ่งจะมีการเรียกชื่อแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น
10
ลายผ้าไหมมัดหมี่อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่
1. ลายผ้าไหมพื้นเมือง เป็นลายผ้าดั้งเดิม
และเป็นลายพื้นฐานที่มักปรากฏบนผ้าทอ
เกือบทุกประเภท มีลักษณะเป็นรูปทรงเลขา
คณิตต่างๆ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เป็นต้น
2. ลายผ้าไหมเกี่ยวกับสัตว์ เกิดจากแรงบันดาลใจที่
ได้พบเห็นสัตว์หรือสัตว์ที่เป็นเรื่องเล่าในวรรณคดี
ต่างๆแล้านำมาประยุกต์จำทำเป็นลวดลายประกอบ
บนผืนผ้า อาทิ ลายแมงป่อง ลายแมงมุม ลายนก
ยูง ลายไก่ ลายสิงโต ลายช้าง เป็นต้น ลายไก่ ลาย
ช้าง ลายพญานาค ลายนกยูง เป็นต้น
3. ลายผ้าไหมเกี่ยวกับพืช ต้นไม้ เป็นลวดลายที่
เกิดจากแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตของคนใน
สมัยก่อนที่มักจะผูกพัน กับพืชพันธุ์ต่างๆเป็น
อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ต่างๆ พืชอาหาร
เป็นต้น ซึ่งมักจะถูกนำมาเติมแต่ง และประยุกต์
ใช้เป็นลวดลายบนผืนผ้าไหม เช่น ลายดอกไม้
ลายใบไม้ เป็นต้น
11
ประเภทของผ้าไหม แบ่งตามวิธีการทอ
มัดหมี่โฮล หรือ จองโฮล(จองเป็นภาษาเขมร หมายถึง ผูกหรือมัด) หรือ
ซัมป็วตโฮล เป็นหนึ่งในผ้าไหมมัดหมี่ของเมืองสุรินทร์ มัดหมี่แม่ลายโฮล
ถือเป็นแม่ลายหลักของผ้ามัดหมี่สุรินทร์ที่มีกรรมวิธีการมัดย้อมด้วยวิธี
เฉพาะ ไม่เหมือนที่ใดๆ ความโดดเด่นของการมัดย้อมแบบจองโฮล คือใน
การมัดย้อมแบบเดียวนี้ สามารถทอได้ 2 ลาย คือ โฮลผู้หญิง (โฮลแส
ร็ย) หรือผ้าโฮลธรรมดา และสามารถทอเป็นผ้าโฮลผู้ชาย (โฮลเปราะฮ์)
ไว้นุ่งในงานพิธีต่างๆ
มัดหมี่อัมปรม หรือ จองกราเป็นการมัดหมี่ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืนซึ่งมี
ปรากฏที่จังหวัดสุรินทร์แห่งเดียวในประเทศไทย การมัดหมี่อัมปรมนี้จะ
ทอให้ส่วนที่มัดเป็น “กราปะ” คือ จุดปะขาวของเส้นยืน มาชนกับจุดปะขาว
ของเส้นพุ่ง ให้เป็นเครื่องหมายบวกบนสีพื้น เช่น การทอบนพื้นสีแดงซึ่ง
ย้อมด้วยครั่ง ก็เรียกว่า อัมปรมครั่ง การทอบนพื้นสีม่วง ก็เรียกว่า อัม
ปรมปะกากะออม
12
มัดหมี่ลายต่างๆ หรือ จองซินเป็นมัดหมี่ที่เหมือนจังหวัดอื่นๆ
ทั่วๆ ไป มีหลายลาย แบ่งได้ดังนี้
มัดหมี่ลายธรรมดา เช่น ลายหมี่ข้อ หมี่คั่น หมี่โคม ซึ่งจะพบมากที่ บ้าน
จารพัต อำเภอศีขรภูมิบ้านสดอ บ้านนาโพธิ์ บ้านเขวาสินรินทร์ ตำบลเข
วาสินรินทร์ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ บ้านสวาย บ้านนาแห้ว ตำบลสวาย
อำเภอเมืองสุรินทร์
มัดหมี่ลายกนก เช่น ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายสับปะรด ลายพระตะบอง
ลายก้านแย่ง ลายพนมเปญ ลายดอกมะเขือ ส่วนมากจะพบที่ บ้านสวาย
ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ บ้านอู่โลก ตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน
มัดหมี่ลายรูปสัตว์ ต้นไม้ และลายผสมอื่นๆ เช่น รูปนก ไก่ ผีเสื้อ ช้าง
ม้า นกยูง ปลาหมึก พญานาค นำมาผสมกับลายต้นไม้ดอกไม้ต่างๆ
หรือทอลายสัตว์เดี่ยวๆ ตลอดผืน พบมากเกือบทุกหมู่บ้าน
13
วัสดุ/อุปกรณ์
(1) เส้นไหม ใช้เส้นไหมคุณภาพมาตรฐาน ประกอบด้วยเส้นไหมยืน และเส้นไหมพุ่ง
(2) หลักเฝือ คือ อุปกรณ์ในการค้นเส้นยืน เพื่อทำการเตรียมเส้นยืน ก่อนที่จะนำไป
ติดตั้งกี่ทอผ้า
(3) กง คือ อุปกรณ์สำหรับใส่เส้นไหมเพื่อการกรอเส้นไหมเข้าอัก
(4) อัก คือ อุปกรณ์สำหรับการม้วนเก็บเส้นไหมที่ทำการกรอจากกง
(5) ไน/หลา คืออุปกรณ์สำหรับการกรอเส้นไหมเข้าหลอด หรือ เป็นอุปกรณ์ในการตี
เกลียวเส้นไหม และควบตีเกลียวเส้นไหม
(6) หลอด คือ อุปกรณ์สำหรับการม้วนเก็บเส้นไหมเพื่อนำไปในกระสวยเพื่อการพุ่ง
เส้นพุ่งในการทอผ้ามัดหมี่
(7) กระสวย คือ อุปกรณ์สำหรับใส่หลอดม้วนเส้นไหมพุ่งเพื่อพุ่งนำหลอดเส้นพุ่งใน
การทอผ้า
(8) ฟืม คือ อุปกรณ์สำหรับการจัดเรียงเส้นไหมยืนก่อนที่จะนำไปเส้นยืนไปกลางตั้ง
ขึ้นบนกี่ทอผ้า
(9) กี่ทอผ้า คือ อุปกรณ์สำหรับการทอผ้า
(10) ไม้เหยียบหูก คือ อุปกรณ์ที่เป็นท่อนไม้ที่อยู่ด้านล่างของกี่ทอผ้า มีเชือดโยง
ติดกับตะกอฟืม เพื่อใช้เท้าเหยียบให้เส้นยืนสลับขึ้นและลง เพื่อการสอดเส้นพุ่งใน
การทอผ้า
(11) แปรงทาแป้งบนเส้นยืน คือ อุปกรณ์สำหรับใช้ทาน้ำแป้งบนเส้นยืนเพื่อ
ป้องกันเส้นยืนแตกในขณะที่ทอผ้า
(12) ไม้คันผัง คือ อุปกรณ์ที่ทำด้วยไม้ไผ่ ใช้ค้ำยันขอบริมผ้าหน้ากว้างทั้งสองด้าน
ของหน้ากว้างผืนผ้าให้ตึงและตรงตลอดทั้งแนวความยาว
ขั้นตอนการทำ 14
ขั้นตอนการทอผ้า
คือ การเอาเส้นไหมมากกว่า 2 เส้นขึ้นไปมาขัดสลับกัน ซึ่งมีวิธีการทอเป็น
ขั้น ๆ ดังนี้
1.เมื่อเตรียมไหมเส้นพุ่งและไส้หูกเรียบร้อยแล้ว นำเอาเส้นหูกอันใหม่สืบต่อกับไส้
หูกที่ค้างอยู่
ในเขาหูกและร่องฟันฟืมเดิม กางกี่หรือหูกให้เรียบร้อย
2.เอาหลอดไหมเข้าร่องกระสวย ร้อยไหมจากหลอดผ่านรูเล็ก ๆ ข้างกระสวย
หากเส้นไหมหมดจากหลอดแรก ต้องเอาหลอดที่ ตามลำดับหลอดที่ร้อยไว้ บรรจุ
เข้ากระสวยและทอตามลำดับ
3.คล้องเชือกจากเขาหูกอันหนึ่งเข้ากับไม้คันเหยียบข้างใดข้างหนึ่งและ
คล้องเชือกเขาหูกที่เหลืออีกอันเข้ากับไม้คันเหยียบอีกอัน เมื่อเหยียบไม้คัน
เหยียบข้างหนึ่ง ไส้หูกกางออกเป็นช่องเนื่องจากการดึงของเขาหูก พุ่งกระสวย
ผ่านช่องว่างนั้น แล้วดึงฟึมกระทบเส้นฝ้ายที่ออกมาจากกระสวยเข้าไปเก็บไว้
เหยียบไม้คันเหยียบอีกอันพุ่งกระสวยผ่านช่องว่างกลับมาทางเดิมดึงฟืมกระทบ
เส้นฝ้ายเข้าเก็บ เหยียบไม้คันเหยียบอีกอัน พุ่งกระสวย ดึงฟืมกระทบ เหยียบไม้
คันเหยียบ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ จนได้ผืนผ้าเกิดขึ้นยากมากแล้ว จึงพันผืนผ้าไว้
ด้วยไม้กำพั้น
ขั้นตอนการทำ 15
การมัดหมี่
การมัดหมี่ เป็นการทำลวดลายของผืนผ้าโดยการใช้วัสดุกันน้ำมัดกลุ่มเส้นฝ้ายเป็น
ลวดลายตามต้องการก่อนนำฝายย้อมน้ำสี เมื่อแก้วัสดุกันน้ำออกจึงเกิดสีแตกต่างกัน ถ้า
ต้องการเพียง 2 สี จะแก้วัสดุมัดฝ้ายเพียงครั้งเดียวหากต้องการหลายสีจะมีการแก้มัด
วัสดุหลายครั้ง
ก่อนมัดหมี่ต้องค้นหมี่ก่อนโดยการนำเส้นฝ้ายพันรอบหลักหมี่ 1 คู่
นับจำนวนเส้นฝ้ายให้สัมพันธ์กับลายหมี่ที่จะมัดจากนั้นจึงทำการมัดหมี่กลุ่มเส้นฝ้ายในหลัก
หมี่ตามลวดลายหมี่ที่ต้องการเมื่อถอดฝ้ายมัดหมี่ออกจากหลักหมี่นำไปย้อมสีบิดให้หมาด
แล้วจึงแก้ปอมัดหมี่ออกทำให้เกิดลวดลายตรงที่แก้ปอออก นำฝ้ายที่แก้ปอมัดแล้วนี้ไปพัน
รอบหลอดไม้ไผ่เรียกว่า การปั่ นหลอด ร้อยหลอดฝ้ายตามลำดับก่อน-หลัง เก็บไว้อย่างดี
ระวังไม่ให้ถูกรบกวนจนเชือกร้อยขาดฝ้ายมัดหมี่ในหลอดฝ้ายใช้เป็นเส้นพุ่งในการทอ
วิธีการมัดหมี่
1. มัดกลุ่มฝ้ายแต่ละลูกหมี่ด้วยเชือกฟาง จนครบหลักหมี่ ทำเป็นเชิงผ้า
2. การเริ่มต้นลายมัดหมี่ อาจมัดจากด้านบนไล่เรียงลงข้างล่าง หรือมัดข้างล่างก่อน
จึงไล่เรียงขึ้นข้างบน บางคนอาจเริ่มมัดจากตรงกลางก่อน จึงขยายออกไปเต็มหลัก
หมี่
3. เริ่มมัดปลายเชือกด้านหนึ่งกับลูกหมี่ก่อน จึงพันอีกปลายหนึ่งซ้อนทับกันให้แน่น
เพื่อไม่ให้สีย้อมซึมเข้าข้อหมี่ เมื่อพันทับกันไปจนได้ความยาวตามลายหมี่แล้ว มัด
ปลายเชือกกับลูกหมี่ให้แน่นเช่นกัน โดยเหลือปลายเชือกไว้ เมื่อเวลาแก้ปอมัดจะ
ทำได้ง่าย
4. เอาเชือกเส้นหนึ่งสอดเข้าไปในช่องหลักหมี่ข้างใดข้างหนึ่ง ผูกกลุ่มฝ้ายไว้เป็นวง
ไม่ให้หมี่ที่มัดลวดลายแล้วหลุดออกจากกัน และใช้เป็นหูหิ้วสำหรับจับเวลาย้อม ถอด
ฝ้ายมัดหมี่ออกจากหลักหมี่ หลังจากนั้นเราก็จะนำไปย้อมคราม เมื่อย้อมครามเสร็จก็
จะนำมาแก้ปอมัดหมี่
16
ขั้นตอนการทำ
การค้นหมี่
เส้นฝ้ายมีไขฉาบโดยธรรมชาติ ก่อนนำมาใช้ต้องชุบน้ำให้เปียกทั่วอณูของเส้น
ฝ้าย โดยชุบน้ำแล้วทุบด้วยท่อนไม้ผิวเรียบ เรียกว่า การฆ่าฝ้าย ก่อนจะชุบฝ้าย
หมาดน้ำในน้ำแป้งและตากให้แห้ง คล้องฝ้ายใส่กงแล้วถ่ายเส้นฝ้ายไปพันรอบอัก
ตั้งอักถ่ายเส้นฝ้ายพันรอบหลักหมี่ ซึ่งมีความกว้างสัมพันธ์กับความกว้างของฟืม
ที่ใช้ทอผ้า นับจำนวนเส้นฝ้ายให้เป็นหมวดหมู่เเต่ละหมู่มีจำนวนเส้นฝ้ายสัมพันธ์
กับลายหมี่ มัดหมวดหมู่ฝ้ายด้วยเชือกฟาง
วิธีการค้นหมี่
1. เอาฝ้ายที่เตรียมมาแล้วมัดหลักหมี่ด้านล่างก่อนแล้วพันรอบหลักหมี่ไปเรื่อยๆ
เรียกว่า การก่อหมี่
2. การค้นหมี่จะต้องค้นจากล่างขึ้นบนหรือบนลงล่างจนกว่าจะครบจำนวนรอบที่
ต้องการ
ภาษาท้องถิ่นเรียกแต่ละจำนวนว่าลูกหรือลำ ถ้าก่อหมี่ผูก ฝ้ายด้านขวา ก็ต้องวน
ซ้ายมาขวาทุกครั้ง
3. ควรผูกฝ้ายไว้ทุกลูกด้วยสายแนม เพื่อไม่ให้หมี่พันกัน หรือหลุดออกจากกัน
ขั้นตอนการทำ 17
การแก้ปอมัดหมี่
หมี่ที่มัดเสร็จเรียบร้อยและถอดออกจากหลักหมี่แล้วนำไปแช่น้ำให้เปียก
บิดให้หมาด นำไปย้อมสีคราม ล้างสีให้สะอาด จึงนำมาแก้ปอมัดหมี่ พาดราว
กระตุกให้เรียงเส้น ผึ่งให้แห้งได้ฝ้ายมัดหมี่
การปั่ นหลอด
นำฝ้ายมัดหมี่คล้องใส่กงซึ่งวางอยู่ระหว่างตีนกง 1 คู่
หมุนกงคลายฝ้ายออกจากกงพันเข้าหลอดไม้ไผ่เล็กๆ ที่เสียบแน่นอยู่กับเหล็ก
ไนของหลา
ความยาวของหลอดไผ่สัมพันธ์กันกับกระสวยทอผ้า เมื่อหมุนกงล้อไม้ไผ่ของ
หลาเหล็กไนและหลอดจะหมุน
เอาเส้นฝ้ายจากกงพันรอบแกนหลอดไม้ไผ่ให้ได้จำนวนเส้นฝ้ายพอเหมาะกับ
ขนาดองร่องกระสวยทอผ้า
การร้อยฝ้าย
ร้อยหลอกฝ้ายที่ปั่ นแล้วตามลำดับก่อนหลังหากร้อยหลอดผิดลำดับหรือ
เชือกร้อยหลอดขาดทำให้ลำดับฝ้ายผิดไปจะไม่สามารถทอเป็นลวดลายตาม
ความต้องการได้
ขั้นตอนการทำ 18
หลักการทำงานของกี่ทอผ้า
1.ทำให้เกิดช่องว่าง (shedding) โดยสับตะกอยกแล้วแยกไหมเส้นยืนออกเป็น 2 หมู่
โดยหมู่หนึ่งขึ้นและหมู่หนึ่งลงเพื่อให้เกิดช่องว่างให้สอดเส้นไหมพุ่งผ่าน
2.การสอดไหมเส้นพุ่ง (picking) จะใช้กระสวยส่งไหมเส้นพุ่ง สอดไหมเส้นพุ่งให้พุ่ง
ผ่านช่องว่างที่เปิดเตรียมไว้
3.การกระทบไหมเส้นพุ่ง (battering) เมื่อสอดไหมเส้นพุ่งผ่านแล้วจะต้องใช้ตัวฟืม
กระทบไหม เส้นพุ่งให้เรียงสานขัดกับไหมเส้นยืนชิดติดกันแน่นเป็นเนื้อผ้า
4.การเก็บและม้วนผ้าเก็บ (taking up and letting of) เมื่อทอผ้าได้จำนวน
หนึ่งแล้วจะต้องมีการม้วนผ้าเก็บเข้าแกนม้วน โดยจะต้องมีการปรับไหมเส้นยืนให้
หย่อนก่อนจึงม้วนผ้าเก็บ
19
แบบทดสอบ
1.การเลี้ยงไหม ต้องเลี้ยงกี่ระยะจึงจะนำไปสาวเป็น
6. จากภาพ คือวัสดุธรรมชาติชนิดใด และให้สีอะไร *
เส้นใยได้ *
ก. ระยะตัวหนอนวัยที่ 2 รูปภาพที่ไม่มีคำบรรยาย
ข. ระยะตัวหนอนวัยที่ 3 ก. พวงแสด ให้สีแดง
ค. ระยะตัวหนอนวัยที่ 4 ข. พวงแสด ให้สีแสด
ง. ระยะตัวหนอนวัยที่ 5 ค. เงาะ ให้สีแดง
2.สีแดง สกัดจากวัสดุธรรมชาติชนิดใด * ง. เงาะ ให้สีเทา
ก. ดอกกรรณิการ์ 7. ไม้ทะนัด ทำหน้าที่ใด *
ข. ขี้เหล็ก ก. ร้อยเส้นด้ายให้เรียงกัน
ค. มะไฟป่า ข. บังคับความกว้างของการเก็บตะกอ
ง. ฝาง ค. รองรับเส้นด้ายย้ายจากการเก็บตะกอ
3.สีเขียว สกัดจากวัสดุธรรมชาติชนิดใด * ง. หมุนด้ายยืนที่สะดวกในการทอ
ก. ต้นคราม 8. อุปกรณ์ใดใช้ขึ้นด้ายยืนเพื่อเรียงเส้นด้าย ให้ได้ขนาด
ข. ต้นแก้ว หน้าผ้าที่ต้องการ *
ค. เงาะ ก. เฝือ
ง. ครั่ง ข. ฟันหวี
4. วัสดุธรรมชาติข้อใดต่อไปนี้ ไม่ได้สกัดออกมา
ค. กรง
เป็นสีเขียว * ง. กี่กระตุก
ก. ขี้เหล็กบ้าน 9. กรรมวิธีการต้มฟอกเส้นไหมนำเส้นไหมดิบมาแช่ในน้ำ
ข. ผลสมอพิเภก ด่างประมาณนานกี่ชั่วโมง *
ค. ต้นสัก ก. 1-2 ชั่วโมง
ง. ต้นแก้ว ข. 3-4 ชั่วโมง
5. ชื่อลายผ้าไหมมัดหมี่ในภาพ มีชื่อเรียกว่าลาย
ค. 8 ชั่วโมงขึ้นไป
อะไร * ง. 24 ชั่วโมง
10. ผ้าไหมลายโฮล มาจากภาษาถิ่น ภาษาเขมร มีความ
ก. ลายลวดตะขอ
ข. ลายซิกแซก หมายตรงกับข้อใด
ค. ลายตัว S ก. รวงข้าว
ง. ลายขอเจ้าฟ้าสิริวรรณวรี ข. น้ำไหล
ค. ใบมะพร้าว
ง. แหลมคม
20
บรรณานุกรม
“ขั้นตอนการทำผ้ามัดหมี่”,สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2565
จาก https://www.agfind.com/
“ประวัติผ้าไหมมัดหมี่”,สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2565
จาก https://www.ketysmile.com/2020/11/13
“ลายไหมมัดหมี่”,สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2565
จาก https://qsds.go.th/newqsiscent/
21
เฉลยแบบทดสอบ
1. ง
2. ค
3. ข
4. ข
5. ง
6. ง
7. ค
8. ก
9. ค
10. ข
22
ประวัติวิทยากร
นางสาวปัฒมาภรณ์ ธราจารวัตร
นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาสังคมศึกษา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ติดต่อ
โทร 097-9304840
Line ID / izepize
Facebook / Pattamaporn Tharacharawat
THANK YOU