The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นางสาวเยาวเรศ ประทุมสิทธิ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2021-10-18 13:16:18

นางสาวเยาวเรศ ประทุมสิทธิ์

นางสาวเยาวเรศ ประทุมสิทธิ์

รายงานเร่อื ง พฒั นาการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย

นางสาวเยาวเรศ ประทมุ สิทธิ์ กลมุ่ 8 เลขท่ี 19

รายงานนีเ้ ป็นสว่ นหน่ึงของการศกึ ษาคน้ ควา้ เเละการเขยี นรายงานเชิงวิชาการ
สาขาการศกึ ษาปฐมวัย คณะเทคโนโลยคี หกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลธญั บุรี
ภาคเรยี นที1 ปีการศกึ ษา 2564



รายงานเร่อื ง พฒั นาการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย

นางสาวเยาวเรศ ประทมุ สิทธิ์ กลมุ่ 8 เลขท่ี 19

รายงานนีเ้ ป็นสว่ นหน่ึงของการศกึ ษาคน้ ควา้ เเละการเขยี นรายงานเชิงวิชาการ
สาขาการศกึ ษาปฐมวัย คณะเทคโนโลยคี หกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลธญั บุรี
ภาคเรยี นที1 ปีการศกึ ษา 2564



คำนำ

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อปฏิบัติการเขียนรายงานการค้นคว้าที่ถูกต้องอย่างเป็นระบบอัน
เปน็ ส่วนหน่ึงของวิชาการคน้ คว้าและการเขียนรายเชิงวชิ าการ ซ่ึงจะนำไปใช้ในการทำรายงานค้นคว้า
สำหรับรายวิชาอื่นได้อีกต่อไป การที่ผู้จัดทำเลือกทำเรื่อง “พัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็ก
ปฐมวยั ” เน่ืองจาก เดก็ ทมี่ คี วามรสู้ กึ มคี วามคิดเห็นของตวั เอง แตจ่ ะถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่จะ
ช่วยอบรมสั่งสอน นำพาเข้าสู่เส้นทางที่ถูกที่ควร เด็กจึงจะเจริญเติบโตเป็นเดก็ ที่เป็นคนดี มีความสุข
และมคี วามสมดุลในชวี ติ ดงั น้นั การพัฒนาจึงเริม่ ต้นข้นึ ทบี่ ้าน ถา้ พอ่ แม่พัฒนาลกู ในทกุ กจิ กรรม

รายงานเล่มนี้กล่าวถึงเนื้อหาที่น่าสนใจ ประกอบด้วย ความหมายของพัฒนาการทางด้าน
อารมณ์ของเด็กปฐมวัย ประเภทอารมณ์ของเด็กปฐมวัย พ่อแม่จะจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้าน
อารมณ์ให้ลูกวัยอนุบาลได้อย่างไร สมองกับอารมณ์และจิตใจ การจัดประสบการณ์ด้านอารมณ์และ
จิตใจ ลักษณะพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย และปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการทาง
อารมณข์ องเดก็ ปฐมวยั

อีกทั้งขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา สมประจบ ที่กรุณาให้ความรู้และ
ข้อแนะนำโดยตลอด สุดท้ายน้ีหากมีขอ้ ผิดพลาดประการใดผูเ้ ขียนขอน้อมรบั เพื่อนำไปปรับปรุงแกไ้ ข
ในโอกาสต่อไป

นางสาวเยาวเรศ ประทมุ สิทธิ์ กลุม่ 8 เลขที่ 19
15 ตุลาคม 2564



สารบญั

หนา้
คำนำ .................................................................................................................................................... ก
สารบญั ภาพประกอบ...........................................................................................................................ค
บทท่ี

1. บทนำ..................................................................................................................................... 1

1.1. ความหมายของพฒั นาการทางดา้ นอารมณ์ของเดก็ ปฐมวัย... ........................................ 1

1.2. ประเภทอารมณ์ของเดก็ ปฐมวัย..................................................................................... 2

1.3. พ่อแม่ จะจดั กิจกรรมสง่ เสรมิ พฒั นาการด้านอารมณ์ให้ลกู วัยอนบุ าลได้อย่างไร ........... 2

1.4. สมองกับอารมณ์และจติ ใจ............................................................................................. 4

1.5. การจดั ประสบการณ์ด้านอารมณ์และจิตใจ.................................................................... 5

2. ลกั ษณะพฒั นาการทางดา้ นอารมณข์ องเด็กปฐมวยั ............................................................... 7

2.1. ลักษณะพฒั นาการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวยั แตล่ ะปี........................................... 7

2.1.1. พัฒนาการทางอารมณข์ องเดก็ วยั 1 ปี................................................................ 8
2.1.2. พัฒนาการทางอารมณข์ องเดก็ วยั 2 ปี................................................................ 8
2.1.3. พัฒนาการทางอารมณ์ของเดก็ วัย 3 ปี................................................................ 9
2.1.4. พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัย 4 ปี................................................................ 9
2.1.5. พัฒนาการทางอารมณ์ของเดก็ วยั ระหว่าง 5-6 ปี ............................................... 9
2.1.6. องค์ประกอบของพฒั นาการ .............................................................................10
2.2. ปจั จยั ทีม่ ผี ลต่อการพฒั นาการทางอารมณข์ องเดก็ ปฐมวัย...........................................11

2.2.1. ระดับวุฒิภาวะ..................................................................................................12
2.2.2. รูปแบบการอบรมเล้ยี งดู แบบแผนของครอบครวั .............................................12
2.2.3. สถานภาพของครอบครัว...................................................................................12
2.2.4. ส่อื และเทคโนโลยตี า่ งๆ.....................................................................................12
3. สรปุ ......................................................................................................................................13
บรรณานกุ รม .....................................................................................................................................14



สารบญั ภาพประกอบ

ภาพท่ี หนา้
1. ความหมายของพัฒนาการ ..................................................................................................... 1
2. การพัฒนาการเด็กเลก็ ............................................................................................................ 2
3. อารมณ์................................................................................................................................... 7
4. ปัจจยั ที่มอี ทิ ธติ ่อสตปิ ญั ญาของเดก็ ปฐมวยั ..........................................................................11

1

บทท่ี 1
บทนำ

1.1. ความหมายของพฒั นาการทางด้านอารมณข์ องเดก็ ปฐมวยั

ภาพท่ี 1 ความหมายของพฒั นาการ
ทมี่ า (https://eln.theasianparent.com/wp-
content/uploads/2016/07/Fotolia_100876628_Subscription_Monthly_M.jpg)

พ่อแม่ทุกคนย่อมอยากเห็นลูกเติบโตเป็นคนดีและมีความสุข วัยอนุบาลเป็นช่วงเวลาสำคญั
ทส่ี ดุ ช่วงหน่งึ เพราะเปน็ ชว่ ง เวลาทเี่ ด็กเรียนรู้เรอื่ งต่างๆมากที่สุดในชวี ิต เดก็ จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่เช่น
ไรในอนาคต ขึ้นอยูก่ ับการเล้ียงดูในช่วงน้ี เป็นช่วงที่หล่อหลอมลักษณะพิเศษของแต่ละคน หรือที่เรา
เรยี กว่า “บคุ ลิกภาพ” ซึ่งเปลยี่ นแปลงได้ยากเมือ่ เตบิ โตข้นึ ทัง้ นเี้ พราะเดก็ ไม่ใชผ่ ู้ใหญ่ตัวเล็กๆ เดก็ คือ
เด็ก ที่มีความรู้สึก มีความคิดเห็นของตัวเอง แต่จะถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่จะช่วยอบรมสั่งสอน
นำพาเข้าสู่เส้นทางที่ถูกที่ควร เด็กจึงจะเจรญิ เติบโตเป็นเด็กที่เป็นคนดี มีความสุข และมีความสมดลุ
ในชีวิต ดังนั้น การพัฒนาจึงเริ่มต้นขึ้นที่บ้าน ถ้าพ่อแม่พัฒนาลกู ในทุกกิจกรรม ลูกจะมีความสัมพนั ธ์
กับสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง รู้จักกินเป็น ดูเป็น ฟังเป็น บริโภคเป็น มีจิตใจที่ดีงาม มีการแสดงออกทาง
อารมณ์ที่เหมาะสม พร้อมที่จะออกสู่สังคมนอกบ้านต่อไป เพราะเด็กวัยอนุบาลจะเก็บสะสมข้อมูลท่ี
ได้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูแนะ นำที่ถูกต้อง
เหมาะสม จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจดี เด็กจะยอมรับนับถือตนเอง ได้รับการ
ยอมรับจากผูอ้ ่ืน และเด็กกจ็ ะมีความสุขตามมา เมื่อเดก็ มคี วามสุข เด็กจะมกี ำลงั ใจ มีแรงจูงใจในการ
ทำงานตามที่มงุ่ หวงั และสามารถทนตอ่ ความขัดแย้งไดด้ ี ทำให้ประสบความสำเร็จ ถา้ เด็กไม่สามารถ
ทำได้ตามขั้นตอนพัฒนาการ เด็กจะรู้สึกเป็นปมด้อย และจะทำงานในขั้นตอนพัฒนาการที่สูงขึ้นได้
ยาก (“แนวคิด ทฤษฎีและเอกสารงานวิจยั ที่เกี่ยวขอ้ ง,” ม.ป.ป.: ออนไลน์)

2

1.2 ประเภทอารมณข์ องเดก็ ปฐมวัย
ในขณะที่พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยมีการเจริญเติบโต พัฒนาการทางด้าน

อารมณ์ก็เช่นเดียวกัน เด็กวัยอนุบาลจะแสดงออกด้านอารมณ์เด่นชัดขึ้น มีความสนใจในเรื่องต่างๆ
ค่อนข้างส้ัน เวลาดีใจ เสียใจ โกรธ หรือกลัว ก็จะแสดงอารมณอ์ อกมาเต็มที่ ได้แก่ กระโดด กอด ตบ
มือ โวยวาย ร้องไห้เสียงดัง ทุบตี ขว้างปาสิ่งของ ไม่พอใจเมื่อถูกห้าม ฯลฯ เพียงชั่วครู่ก็จะหายไป
อารมณท์ ีเ่ กิดขึน้ กบั เด็กวยั นี้มีดงั น้ี (“พฒั นาการดา้ นอารมณ์ของเด็กปฐมวยั ,” ม.ป.ป.: ออนไลน)์
ด้านบวก

รัก เมื่อเด็กรูส้ ึกมีความสขุ จะแสดงออกด้วยการกอด ยิ้ม หัวเราะ อยากอยู่ใกล้ชิดกับบุคคล
หรอื สงิ่ ทร่ี ัก และอาจติดสง่ิ ของบางอยา่ ง เชน่ ตุ๊กตา หมอน ผ้าหม่

สนุกสนาน เกิดจากความสุข การประสบความสำเร็จในกิจกรรมท่ีทำ หรอื ได้รบั สิ่งใหม่ๆ เด็ก
จะแสดงออกด้วยการตบมอื ยม้ิ หวั เราะ กระโดด กอด ฯลฯ
ดา้ นลบ

โกรธ เม่อื ถกู ขัดใจ ถูกแย่งของเล่น ถกู ห้ามไม่ให้ทำพฤติกรรมบางอย่าง เด็กจะแสดงออกด้วย
การทุบตี กดั ขว่ น หรอื แสดงวาจาโกรธเกร้ียว

กลัว กลวั ถูกทอดทิ้ง กลวั คนแปลกหน้า กลวั ความมืด กลัวผี ซง่ึ มกั จะมาจากจินตนาการของ
เด็กเอง

อจิ ฉา เม่ือมนี อ้ งใหม่ และเด็กไม่เขา้ ใจ อาจแสดงความโกรธ ก้าวร้าว หรือพฤตกิ รรมเบยี่ งเบน
อ่ืนๆ เช่น ดดู น้วิ ปัสสาวะรดทน่ี อน

เศร้า เสียใจ เกิดขึ้นเมื่อเด็กรู้สึกสูญเสียสิ่งที่รักหรือสิ่งที่มีความสำคัญ เช่น ขอ งเล่น จึง
แสดงออกด้วยอาการทเ่ี ศรา้ ซึม ไม่ยอมเลน่ ไมร่ ับประทานอาหาร หรอื รบั ประทานได้น้อยลง

1.3 พ่อแม่ จะจัดกิจกรรมส่งเสรมิ พัฒนาการดา้ นอารมณใ์ หล้ ูกวัยอนุบาลไดอ้ ยา่ งไร

ภาพที่ 2 การพัฒนาการเด็กเลก็
ทมี่ า (http://cdn.mamaexpert.com/files/content/00068/09717/conversions/big.jpg)

3

ให้ความรัก ดูแลใกล้ชิด พ่อแม่มีส่วนช่วยพัฒนาลูกด้านอารมณ์ได้ ด้วยการให้เวลา ดูแลเอา
ใจใส่ ใกล้ชิด แสดงความรักและความเข้าใจ รับฟังและพูดคุยโต้ตอบกับลูก ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน
เช่น เล่านิทาน ทำอาหาร เล่นกีฬา ไปเที่ยว ให้โอกาสลูกเรียนรู้ ฝึกทำสิ่งต่างๆในสภาพแวดล้อมท่ี
ปลอดภัยและเป็นมิตร ฝึกให้ลูกเป็นคนมนี ้ำใจ มีคุณธรรม ก็จะทำใหล้ กู มีจิตใจท่ีดี ที่มั่นคง เกิดความ
ม่ันใจ มคี วามภาคภมู ใิ จในตวั เอง พรอ้ มจะเติบโตเปน็ ผู้ใหญ่ทม่ี ีคณุ ภาพในอนาคต

เป็นแบบอย่างที่ดี เด็กดี เก่ง น่ารัก สร้างได้จากแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่ การเป็นต้นแบบท่ีดี
ของพ่อแม่เปน็ เร่ืองทีส่ ำคญั มาก เพราะไม่เพยี งลกู จะซมึ ซับและเลยี นแบบการกระทำดว้ ยสิง่ ที่รับรูผ้ า่ น
ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ยังรวมถึงแนวคิด ทัศนคติ ความเชื่อ บุคลิกภาพ ท่าทาง นิสัย และอื่นๆจากพ่อ
แม่ เป็นการเรียนรู้แบบทำซ้ำบ่อยๆ รับรู้และเชื่อมโยงจนหล่อหลอมเป็นพฤติกรรมต่อไป สิ่งที่พ่อแม่
สามารถทำได้ในการเป็นตน้ แบบที่ดีคือ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างพอ่ แม่ ลูก พูดคุย
ถึงผลของพฤตกิ รรมรนุ แรงตา่ งๆทีเ่ กิดขนึ้ เคารพความคดิ เหน็ ของลูก เปิดโอกาสให้ลูกไดต้ ดั สินใจและ
ทำในส่ิงที่ตอ้ งการ หรือให้ลกู มีส่วนรับผดิ ชอบงานบ้านเลก็ ๆน้อยๆ เปน็ ตน้

เสริมสร้างความภาคภูมิใจในตัวเอง อย่างที่เราทราบกันดีว่า ช่วง 6 ปีแรกของชีวิต เป็นช่วง
วัยที่สำคัญมากที่สุดในการวางพื้นฐานเรื่องพฤติกรรมและบุคลิกภาพ พ่อแม่สามารถช่วยเสริมและ
สร้างใหล้ ูกเกดิ ความภาคภูมใิ จในตนเองได้ โดยค้นหาจดุ เดน่ สังเกตวา่ ลกู มีความสุขในการทำกิจกรรม
ใดและสนบั สนุนให้ทำกิจกรรมนัน้ ให้มปี ระสิทธภิ าพมากข้นึ นอก จากนีพ้ ่อแมค่ วรสอนใหล้ ูกทำในส่งิ ที่
ดี ฝึกลูกรักการทำดี เสียสละ มีน้ำใจ ช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่เห็นแก่ตัว ด้วยการที่พ่อแม่
ปฏิบัติตนให้ลูกเห็นเป็นตัวอย่าง แล้วลูกจะซึมซับพฤติกรรมที่ดีเหล่านี้จนกลายเป็นนิสัยของเขาเอง
ตอบสนองตอ่ พฤตกิ รรมทถี่ ูกต้อง

การตอบสนองต่อพฤติกรรมที่ดีของลูก จะทำให้ลูกรับรู้ว่า การกระทำนั้นๆ เป็นสิ่งที่ดีและ
ควรทำต่อไป พ่อแม่ควรสังเกตว่าลูกมีความรู้สึกต่อตนเองอย่างไร รีบแก้ไขหากลูกมีความรู้สึกต่อ
ตัวเองที่ผิดๆ ควรชื่นชมให้กำลังใจลูกอย่างสร้างสรรค์ หากลูกได้พยายามและทำในสิ่งที่ถูกต้อง
เหมาะสม

เลี้ยงลูกให้ถูกเพศ เริ่มจากสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพ่อแม่ และแสดงบทบาทที่เหมาะสมของ
พ่อแม่ที่มีต่อกัน เพราะทั้งพ่อและแม่มีความสำคัญในการที่จะสร้างบทบาทที่เหมาะสมให้กับลูก ด้วย
การสร้างบรรยากาศที่ดีในบ้าน วางตัวให้ถูก ต้องกับบทบาทเพศชายและเพศหญิง คุณพ่อมีลักษณะ
ของเพศชายท่ีมเี ข้มแข็ง เปน็ ผ้นู ำ แตอ่ ่อนโยน เอาใจใส่ และดูแลคนในครอบครัวให้มีความสุข คุณแม่
มลี กั ษณะที่นมุ่ นวล มน่ั ใจในตนเอง มีความภาคภมู ใิ จในตวั เอง ลูกจะเกิดความศรัทธาและภูมิใจท้ังใน
เพศของตวั เองและเพศตรงข้าม ชว่ ยลดปัญหาการเบย่ี งเบนทางเพศ

สร้างวินัยให้ลูก คำว่า “วินัย” หมายถึง การจัดระบบระเบียบชีวิตและการจัดระบบสังคม
ทง้ั หมด ทำใหช้ ีวติ และสังคมมีระบบระเบยี บ ทำอะไรได้คลอ่ ง ดำเนนิ ชวี ติ และดำเนนิ กจิ การไดส้ ะดวก
ขึ้น พ่อแม่จึงควรฝึกวินัยให้ลูกตั้งแต่เป็นเด็ก ด้วยการฝึกกิจวัตรประจำวันให้ตรงเวลาและสม่ำเสมอ
ทั้งเรื่องกิน นอน เล่น อาบน้ำ ขับถ่าย ตื่นเช้าไปโรงเรียน กินอาหารเช้า อ่านหนังสือ ทำการบ้าน
ช่วยเหลืองานเล็กๆน้อยๆที่บ้าน สื่อสารกับลูกให้ชัดเจนเกี่ยวกับกฎระเบียบของบ้าน ฝึกให้ลูกเรียนรู้
ขอบเขตของตนเอง ให้ร้วู ่าสงิ่ ใดทำได้และสงิ่ ใดทำไม่ได้ ฝกึ ใหร้ ู้จักควบคมุ อารมณ์ ฝึกใหร้ ูจ้ ักผ่อนคลาย

4

ความ เครียด และหาทางออกที่เหมาะสม เช่น โกรธ-แยกอยูส่ งบลำพัง ฝึกหายใจลึกๆ ค่อยๆผ่อนลม
หายใจ ฝกึ ให้รู้จักทบทวนการกระทำของตนเอง และฝึกใหเ้ รยี นรู้การแก้ปญั หาดว้ ยตนเอง ฯลฯ

เตรียมลูกเข้าโรงเรียน ด้วยการเตรยี มตัวและเตรียมใจลูก พ่อแม่ควรพูดถึงการไปโรงเรียนใน
ภาพพจน์ที่ดี มีคุณครูและเพื่อนที่น่ารัก มีกิจกรรมสนุกๆ และสิ่งต่างๆมากมายน่าค้นหาเรียนรู้ บอก
ลกู วา่ ตอ้ งทำอะไรบา้ งท่โี รงเรียน ฝึกเรือ่ งการรกั ษาเวลา การตรงตอ่ เวลา ในเรือ่ งกจิ วตั รประจำวนั ให้
ลูกช่วยเหลือตัวเองให้ได้ ทำอะไรด้วยตัวเองให้มากที่สุด เข้านอนแต่หัวค่ำ ฝึกเรื่องการบอกความ
ตอ้ งการของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจ เชน่ ปวดอึ ปวดฉี่ ควรจะบอกคณุ ครอู ย่างไร และฝึกการรอคอย ฟัง
ผู้อื่น เรียนรู้การแบ่งปันผู้อื่น การเล่นกับเพื่อน แบ่งของเล่น เป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ (“พัฒนาการด้าน
อารมณข์ องเด็กปฐมวยั ,” ม.ป.ป.: ออนไลน)์

1.4 สมองกับอารมณแ์ ละจติ ใจ
อารมณ์ เป็นภาษาแรกที่เด็กสื่อสารออกมา ประสบการณ์ทุกอย่างที่เด็กได้รับมีความสำคัญ

มาก ความสนใจและความทรงจำ (attention and memory) จะเริ่มก่อตัวเป็นตัวตนของเด็ก
อารมณ์ เปน็ ภาษาแรกที่เดก็ สอ่ื สารออกมา สังเกตได้ว่า อาการยิม้ อยา่ งมีความหมายปรากฏเม่ือเด็กมี
อายุได้ 4 – 6 สัปดาห์ แสดงสีหนา้ ประหลาดใจเมือ่ 3 – 4 เดอื น และคยุ เมือ่ 6 – 8 เดอื น ความกงั วล
ตอ่ คนแปลกหน้ามมี าในราวคร่งึ ปหี ลังของขวบปีแรก

เด็กเรียนรู้ผ่านเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์และจิตใจ
(emotional intelligence) นั้น เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ขวบปีแรก ผ่านเหตุการณ์ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน
การใช้ชีวิตในวัยเด็กสอนให้เขารู้จักความสมหวัง ความผิดหวัง ความวิตกกังวล ความเศร้าใจ ความ
กลัว ความภูมใิ จ ความละอาย ความยนิ ดี กระท่งั ความรูส้ กึ ผดิ

ในช่วง 6 ปีแรกของชีวิตนั้นมีความหมายยิ่งนักต่อการพัฒนาสมอง เด็กต้องการความรัก
ความอบอุ่น ปกป้องให้ปลอดภัย โอบกอด สัมผัส ยิ้ม และพูดคุย แต่ถึงแม้กระนั้นเราจะรูว้ ่าวัยท่วี ่านี้
เป็นโอกาสทองของชวี ิตเด็ก เราก็ไมไ่ ด้รูใ้ นรายละเอียดเท่าท่ีควร ว่าเราจะทำให้ดีที่สดุ ได้อยา่ งไร และ
ท่สี ำคญั ที่สดุ คือ เราได้ปลอ่ ยใหใ้ ครดูแลเดก็

พัฒนาการแห่งอารมณ์และจิตใจของเด็กนั้น เกี่ยวข้องกับการมีความสัมพันธ์กับผู้อ่ืน
สัมพันธภาพถูกชี้นำด้วยเหตุผลของความต้องการอยู่รอด นั่นคือ วงจรสมองเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม
รอบตัว ว่ามีความสำเร็จหรือมีประโยชน์บางอย่างเกิดขึ้น โดยอาศัยการร่วมมือกับผู้อื่น เกือบทุก
ขั้นตอนเด็กมีคนอื่นเป็นสว่ นหนึ่ง อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง สมองถูกออกแบบมาให้พอใจกับการ
มสี มั พนั ธภาพ โดยมรี ะบบของอารมณเ์ ป็นตัวกระตุน้ หรอื ตวั ยับย้งั

เด็กยังไม่มีความคิดเห็นแก่ตัว ในวัยอนุบาลนี้ เด็กยังคงต้องการความรัก ความอบอุ่น โอบ
กอด สมั ผสั เล่นบทบาทสมมติ ครอบครัวควรทำบ้านให้น่าอยู่ อบอนุ่ สำหรบั ลกู เร่มิ สอนให้เด็กเข้าใจ
ระเบียบวินัยและกฎเกณฑ์ อย่าใช้อารมณ์กับเด็ก อย่ากล่าวหาเดก็ เพราะเดก็ วัยนี้ทดลองทำสิ่งต่างๆ
มากกว่าตั้งใจทำความผิด การกระทำของเด็กๆในวัยนี้ไม่มีนัยทางศีลธรรมหรือทางคุณค่าแบบโลกใน
สังคมของผู้ใหญ่ แม้ว่าเด็กจะมีพื้นอารมณ์ต่างกัน แต่เด็กจะไม่มีความคิดเห็นแก่ตัว เอาเปรียบ ชอบ
ลกั ขโมย ทำลาย ฯลฯ

5

เด็กเข้าใจความต้องการของคนอืน่ ในช่วงวยั น้ี เด็กๆ พัฒนาความรู้โดยเชื่อมโยงกับวัตถุและ
เหตุการณ์ต่างๆ เขารู้ว่ามีคนเห็น ได้ยิน และกำลังมองดูเขาอยู่ เขารู้ว่ามีคนอื่นอยู่ และตัวเขามีอยู่
เมื่ออายุได้ 3 ปี เด็กรู้จักคิดในใจ และรู้ว่าคนอื่นก็คดิ อะไรอยู่ในใจเหมือนกัน เด็กแสดงให้เห็นแล้วว่า
เขาเข้าใจความต้องการของคนอื่น และรู้ว่าความต้องการเป็นสิ่งขับเคลื่อนการกระทำของเรา เด็กรู้
แล้ววา่ ความคิดเป็นสิง่ ทสี่ ัมผสั จริงๆไมไ่ ด้ แตม่ ันก็เปน็ ตัวแทนของบางอยา่ งในโลกทเ่ี ปน็ จรงิ มันอยู่ใน
ใจของเดก็ เองและอยใู่ นใจของคนอื่นด้วย

การกอ่ ตวั ของอารมณ์ คอื สว่ นหน่ึงของบุคลกิ ภาพ อารมณเ์ ป็นปฏกิ ริ ยิ าท่เี ด็กสมั พันธ์กับโลก
ภายนอก การช่วยขัดเกลาและพัฒนาอารมณ์และจิตใจไม่ได้ผ่านเหตุผลอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยแรง
บันดาลใจ เช่น ความประทับใจ ความเห็นใจ ความเสียใจ ความกังวล เป็นต้น ผู้ใหญ่ควรนำเด็กให้
ผา่ นเหตุการณร์ ้อนหนาวไป โดยการประคับประคอง ไม่ใชโ่ ดยการ “หกั ดบิ ” หรอื “โอ๋” จนเกินเหตุ

อารมณ์มีผลต่อการเรียนรู้ เมื่อมีอารมณ์ จะมีการหลั่งสารเคมีเข้าในสมอง และมีผลต่อซีน
แนปส์ และความสามารถในการคิด เรียนรู้ และจำ ดังนั้น การทำให้ห้องเรียนมีบรรยากาศในทางที่ดี
ต่ออารมณ์ โดยเฉพาะเป็นที่ที่ปลอดภัย และให้การยอมรับเด็ก ก็จะทำให้เด็กมีแรงจูงใจและประสบ
ความสำเร็จได้ และต้องช่วยหาวิธีลดหรือขจัดอารมณ์ที่มีพื้นฐานจากความกลัว และการขาดความ
เชอ่ื ม่ัน เชน่ การผา่ นคลาย การกำหนดลมหายใจ

เดก็ ต้องเรยี นรผู้ ่านชวี ิตจริง กระบวนการเรยี นรใู้ นหอ้ งเรียนและในบา้ น มักเน้นการรับรคู้ วาม
เป็นตัวเอง และความเป็นคนอื่น โดยผ่านการเรียนที่แข็งกระด้าง ตายตัว โดยแบบเรียนทางสังคม
ศึกษา อันที่จริงแล้ว เด็กจำเป็นต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง วัฒนธรรมจากชีวิตจริง โดยผ่าน
เหตุการณ์ วันเวลา เรื่องราวอันซับซ้อนของชีวิต (“จัดการเรียนรู้ตามหลัก Brain-Based Learning
ดา้ นอารมณ์และจติ ใจ,” ม.ป.ป.: ออนไลน์)

1.5 การจัดประสบการณ์ด้านอารมณ์และจิตใจ
ให้เด็กได้ฝึกฝนการรเิ ริม่ และค้นคว้าหาความท้าทายใหม่ ฝึกเลอื กและฝึกตัดสินใจ และช่วย

ให้เด็กมีความรู้สึกเป็นตวั ตนที่เขม็ แข็งขึ้น เมื่อเด็กอยู่ในเหตกุ ารณจ์ ริง เช่น เล่นกับเพื่อน ทำงานบ้าน
ออกไปซือ้ ของให้แม่ ป้อนข้าวน้อง มีเหตุการณ์จำนวนมากที่เด็กต้องตดั สินใจว่า เขาควรทำอะไร ควร
ทำอยา่ งไร ควรแกป้ ญั หาแบบไหน

ให้เด็กฝึกแสดงความเข้าใจในสิทธิความรับผิดชอบของตนเองและสิทธิของผู้อื่น ส่งเสริม
กิจกรรมแบง่ งานกนั ทำ

ให้เด็กมีประสบการณ์การเล่น และการทำงานที่ใช้ทักษะการแก้ปัญหา รวมถึงการ
ประนีประนอม ไม่ใช้ความรุนแรง ขณะที่เด็กเกี่ยวข้องกับประสบการณ์การเรียนรู้ของเขากับเพื่อน
เด็กจะพัฒนาการรับรู้คุณค่าของตนเอง ซึ่งจะช่วยในเรื่องปฏิกิริยาทางอารมณ์ และจะนำไปสู่การ
เรยี นรู้ตลอดชวี ิต

ให้เด็กได้รู้จักแสดงออกอย่าสนุกสนานกับเรื่องตลก ขำขัน เช่น ฟังเรื่องตลก เล่านิทานสนุก
เล่นบทบาทสมมติ เรื่องตลก และสนุก นอกจากทำให้ขบขัน สนุก อารมณ์ดีแล้ว ยังเป็นการนำเอา
เรื่องราวต่างๆ มาประกอบขึ้นด้วยภาษา ท่าทางพิสดาร กระตุ้นให้สมองรู้จักเหตุการณ์ที่เร้า
จนิ ตนาการอย่างยิ่ง

6

ให้เด็กได้ค้นหาความสัมพันธ์และสร้างมิตรภาพกับเพื่อนและกลุ่มที่ห่างออกไป โดยการจัด
กิจกรรมคละกลุ่ม คละชั้นบ้างตามความเหมาะสม การใช้ชีวิตร่วมกัน ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะรักษา
ความสัมพันธก์ ับผู้อื่น เช่น ช่วยเหลอื เพ่ือน รู้จักขอโทษ ขอบคุณ เอื้ออารี ขณะที่เด็กสัมพันธ์กับผู้อน่ื
ความเข้าใจโลกจะเพิ่มขึ้น เด็กจะเข้าใจในเรื่องความแตกต่าง ความคล้ายคลึงในเรื่องเพศ เชื้อชาติ
และความสัมพนั ธท์ างสงั คมจะชดั เจนมากขน้ึ

ให้เดก็ สะทอ้ นความเขา้ ใจในบทบาทและความสัมพนั ธใ์ นครอบครัว พัฒนาความอดทน ความ
กตญั ญู และซือ่ สัตยส์ ุจริต ผ่านการฟงั และเล่าเรื่อง การทำงานรว่ มกบั เพอ่ื น กจิ กรรมร่วมระหว่างบ้าน
และโรงเรียน ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวเองของเด็กพัฒนาขึ้นมา โดยเชื่อมโยงกับกิจกรรมประจำวัน และ
เหตุการณ์พิเศษของครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น และวฒั นธรรม กิจกรรมร่วมระหว่างบ้านและโรงเรียน
มบี ทบาทสำคญั ช่วยให้เดก็ เกดิ ความรสู้ กึ ม่ันใจท่จี ะก้าวตอ่ ไป

ให้เด็กได้พัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนที่อาศัยอยู่ ชื่นชมประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เรื่อง
เล่า ตำนานของท้องถิ่น โดยผ่านการฟังและการอ่าน รวมทั้งจัดโครงการตลอดปีเพื่อเดินทางไปตาม
สถานที่ต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรมศาสนา การกุศล ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นต่างๆ เด็กจำเป็นต้องมี
พื้นฐานความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมจากชีวิตจริงโดยผ่านเหตุการณ์ วันเวลา เรื่องราวอันซับซ้อนของ
ชวี ิต

ใหเ้ ดก็ ไดแ้ สดงความรูส้ ึกของตนเองผ่านการพูด การฟัง การแสดงดนตรี การฟ้อนรำ และการ
เต้น ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ มีบทบาทสะท้อนความคิดของเด็ก และย้อนกลับไปพัฒนาอารมณ์และ
ตัวตนของเดก็ การพัฒนาผ่านศิลปะไม่ใหผ้ ลทนั ที แต่เป็นการวางรากฐานอุปนิสัยและบุคลกิ ภาพของ
เด็ก

ใหเ้ ด็กพัฒนาความร้สู ึกเห็นใจผอู้ ่นื ผ่านการอา่ นและฟังนิทานท่เี กยี่ วขอ้ งกับบุคคลต่างๆ การ
ฟังนิทาน เรื่องเล่า เรื่องจริง ที่น่าสะเทือนใจ เป็นการจำลองวิถีชีวิตและการตัดสินใจในแบบต่างๆ
และผลของการตดั สินใจน้ัน ทำใหเ้ ด็กเขา้ ใจและเอาเป็นแบบอยา่ งในการดำเนนิ ชวี ติ

ให้เด็กได้เขียนภาพ ดูงานศิลปะ ท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาอารมณ์ ชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่ง
สวยงาม การกอ่ ตวั ของอารมณ์ คอื สว่ นหนง่ึ ของบุคลกิ ภาพ อารมณเ์ ป็นปฏกิ ิริยาทเี่ ด็กสมั พนั ธ์กับโลก
ภายนอก การขัดเกลาและพัฒนาอารมณ์และจิตใจไม่ได้ผ่านเหตุผลอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยแรง
บันดาลใจ เช่น ความประทับใจ ความเห็นใจ ความเสียใจ ความกังวล เป็นต้น (“พัฒนาการด้าน
อารมณข์ องเดก็ ปฐมวยั ,” ม.ป.ป.: ออนไลน์)

7

บทท่ี 2
ลกั ษณะพฒั นาการทางดา้ นอารมณ์ของเดก็ ปฐมวัย

การศึกษาปฐมวัย เป็นการศึกษาเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง6 ปีและเรียนรู้เกี่ยวกับ
พัฒนาการเด็กความต้องการของเดก็ สอนให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ฝกึ พฒั นาการทั้ง 4 ด้าน เช่น
พฒั นาการทางรา่ งกาย พฒั นาการทางดา้ นสังคม พฒั นาการทางด้านอารมณ์ และพัฒนาการทางด้าน
จิตใจ เด็กจะเจริญเติบโตตั้งแต่อยู่ในครรภ์กระทั่งหลังคลอด ร่างกายและสมองจะเจริญเติบโตอย่าง
รวดเร็วในช่วง 0-6 ปี แรกของชีวิต ขบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ การเจริญเติบโต และ
พฒั นาการ

พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะ (maturity) ของอวัยวะระบบ
ตา่ งๆและตวั บคุ คล ทำใหเ้ พ่ิม ความสามารถของบคุ คลให้ทำหน้าท่ีต่างๆไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพสูงขึ้น
ทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ ตลอดจนการเพิ่ม ทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวใน
ภาวะใหมข่ องบคุ คลน้ัน (“พัฒนาการของเด็กปฐมวยั ด้านต่างๆ,” ม.ป.ป.: ออนไลน์)
2.1 ลักษณะพัฒนาการทางด้านอารมณข์ องเด็กปฐมวยั แต่ละปี

ภาพที่ 3 อารมณ์
ท่ีมา (https://www.okmd.or.th/upload/iblock/305/document-bbl-4-d.jpg)
ลกั ษณะพฒั นาการทางดา้ นอารมณ์ของเด็กปฐมวัยการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย
นั้นรุนแรงกว่าวัยทารก ระดับความรุนแรงทางอารมณ์ของเด็กแต่ละคนมีไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับ
องค์ประกอบหลายๆอย่าง เช่น สุขภาพ สิ่งแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู อารมณ์โดยทั่วไปของเด็ก
ปฐมวัย ได้แก่ อารมณ์โกรธ กลัว อิจฉา อยากรู้อยากเห็น อารมณ์สนุกสนาน และอารมณ์รัก ซึ่งมี
ลักษณะดงั น้ี

8

พัฒนาการของเด็ก จะแบง่ ออกเปน็ 6 ลกั ษณะดงั นี้
1. อารมณ์โกรธ
2. อารมณก์ ลวั
3. อารมณอ์ ิจฉา
4. อยากรอู้ ยากเหน็
5. อารมณส์ นกุ สนาน
6. อารมรณ์รัก
1.อารมณโ์ กรธ จะเรมิ่ เมอื่ เดก็ อายุได้ 6 เดือน และจะมอี ัตราความโกรธสูงข้ึนตามลำดบั เด็ก

มักโกรธเมือ่ ถูกขัดใจ ถูกรังแก และเรยี นรู้ว่าวธิ ีที่จะเอาชนะได้งา่ ยที่สดุ คือการแสดงอารมณ์โกรธ เด็ก
จะแสดงอารมณ์โกรธอย่างเปิดเผย เช่น ร้องไห้ กระทืบเท้า กระแทกร่างกาย ทำตัวอ่อน ไม่พูดไม่จา
ฯลฯ เมื่อพ้นวัยนี้ไปแล้วเด็กจะเริ่มควบคุมตัวเองได้บ้าง ในระยะนี้ควรที่จะหลีกเลี่ยงการทำให้เด็ก
โกรธมากท่สี ุด เมือ่ เวลาทเ่ี ด็กโกรธควรจะช้แี จงเหตุผลท่ีไม่ตามใจ

2.อารมณ์กลัว กลัวในสิ่งที่จะมีเหตุผลมากกว่าวัยทารก สิ่งเร้าที่ทำให้เด็กกลัวมีมากขึ้น เชน่
กลัวเสียงดัง คนแปลกหน้า อายุ 3-5 ปี กลัวสัตว์ กลัวถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว พฤติกรรมที่เดก็ แสดงออก
เวลากลวั รอ้ งไห้ วงิ่ หนี หาที่ซอ่ น ความกลัวเหลา่ นจ้ี ะลดลงเม่อื อายมุ ากข้นึ

3.อารมณ์อิจฉา อารมณ์อิจฉาเป็นอารมณท์ ่ีเกิดข้ึนเม่ือเด็กมีความรู้สึกวา่ ตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
หรือ กำลังสูญเสียของที่เป็นของตนไป จะเกิดขึ้นในเด็กอายุ 2-5 ปี เด็กจะอิจฉาน้อง เมื่อเด็กเห็นวา่
พ่อแม่ให้ความสนใจมากกว่าตน พฤติกรรมที่แสดงออกเช่นเดียวกับอารมณ์โกรธ ดังนั้นควรที่จะให้
ความรกั ความอบอุ่นที่ทัดเทยี มกนั เพอ่ื ป้องกนั มิให้เกิดความเล่อื มลำ้

4.อารมณ์อยากรู้อยากเห็น เป็นวัยที่เริ่มรู้จักการใช้เหตุผลมีความเป็นตัวของตัวเองมีความ
สงสยั ในสิง่ ทไ่ี ม่เคยเห็น ชอบสำรวจ ชอบซกั ถาม

5.อารมณ์สนุกสนาน เมื่อเด็กประสบความสำเร็จในสิ่งต่างๆที่ได้กระทำ เด็กจะเกิดความ
สนกุ สนาน ซง่ึ แสดงออกดว้ ยรอยย้มิ และเสียงหัวเราะ

6.อารมณ์รัก ครั้งแระเด็กจะรักตนเองก่อน ต่อมาจะรู้จักการรักคนอื่น อารมณ์นี้เป็นอารมณ์
แห่งความสุข เด็กจะแสดงความรักโดยการกอดจูบลูบคลำ เด็กที่ไม่ได้รับความรักความอบอุ่นจาก
ครอบครวั หรือคนทผ่ี ูกพนั เด็กมักจะเหน็ แกต่ วั ทำให้เด็กไมส่ ามารถสร้างสัมพันธภาพทดี่ ี เด็กมักแสดง
ความรักต่อพ่อแม่ หรือสัตว์เลี้ยงตลอดจนของเล่น(“พัฒนาการเด็ก ด้านอารมณ์จิตใจ,” 2561.:
ออนไลน์)

2.1.1. พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัย 1 ปี ด้านอารมณ์จิตใจ เด็กในช่วงนี้เริ่มรู้จักทำ
อะไรตามใจตนเอง ขัดใจจะโกรธ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย แสดงอารมณ์เปิดเผยตามความรู้สึก มี
ปฏกิ ิรยิ าต่อต้านเมื่อไมพ่ อใจต้องการความเปน็ ตวั ของตวั เอง

2.1.2. พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัย 2 ปี ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กวัยน้ีจะแสดงอารมณ์
ความรู้สึกต่างๆด้วยคำพูด อารมณ์มักจะขึ้นๆลงๆ มีความเป็นตัวของตัวเอง เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการ
ยอมรบั หรอื ชมเชยจะมีความรู้สกึ ท่ีดตี ่อตนเอง

9

2.1.3. พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัย 3 ปี ดา้ นอารมณ์ จิตใจ ร่าเริง แจ่มใส แสดง

อารมณต์ ามความรูส้ กึ ไมท่ ารา้ ยผอู้ ่นื เม่อื ไมพ่ อใจ เร่มิ มีความม่นั ใจในตนเอง รูจ้ กั เลือกเล่นสิ่งท่ตี น

ชอบ สนใจ เลน่ บทบาทสมมตุ ไิ ด้ เดก็ วยั นชี้ อบทาใหผ้ ใู้ หญ่พอใจและไดร้ บั คาชม

2.1.4. พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัย 4 ปี ดา้ นอารมณ์ จิตใจ เป็นวยั ท่ีชอบทา้ ทาย

ผใู้ หญ่ ตอ้ งการใหม้ ีคนฟัง คนสนใจ สามารถแสดงออกทางอารมณไ์ ดเ้ หมาะสมกบั สถานการณ์ ไม่

ทารา้ ยผอู้ ่นื และไม่ทาใหผ้ อู้ ่นื เดือดรอ้ น ไม่แยง่ สง่ิ ของหรือหยิบของผอู้ ่นื มาเป็นของตน

2.1.5. พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัยระหว่าง 5-6 ปี ด้านอารมณ์ จิตใจ แสดงอารมณ์
ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น ยึด
ตัวเองเปน็ ศูนยก์ ลางน้อยลง

การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเดก็ ปฐมวยั พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กปฐมวยั
ยังไม่คงที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เป็นวัยเจ้าอารมณ์ บางครั้งจะมีอารมณ์รุนแรง โมโหร้าย โกรธง่าย เอา
แต่ใจตัวเอง จะสังเกตได้จากการที่เด็กแสดงอารมณ์ในลักษณะต่างๆ เช่น มีอารมณ์หวาดกลัวอย่าง
รุนแรง มีอารมณ์อิจฉาริษยาน้องและโมโหฉุนเฉียวเป็นต้น เด็กแต่ละคนจะมีลักษณะพัฒนาการทาง
อารมณ์แตกตา่ งกนั ตามสภาพส่ิงแวดลอ้ ม การเรียนรทู้ ่แี ตกต่างกัน หากเดก็ ไดร้ บั ความไม่พอใจ เด็กก็
จะสะสมอารมณไ์ ม่พอใจเหล่านั้นไว้ทำใหเ้ ด็กขาดความสุข มีอารมณต์ ึงเครียดและอาจทำให้ชีวิตในวัย
ตอ่ ไปมปี ญั หาได้

ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูจึงควรพยายามหลีกเลี่ยงการเลี้ยงดูเด็กที่ก่อให้เกิดอารมณ์อิจฉาริษยา
อารมณ์โกรธ อารมณ์วิตกกังวล และความตึงเครียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นั่นคือควรพยายาม
สง่ เสริมใหเ้ ดก็ มอี ารมณส์ นกุ สนาน รา่ เริง อารมณ์สงบ เยอื กเย็น อารมณ์รักและมองโลกในแงด่ ี พ่อแม่
ผเู้ ลย้ี งดูตลอดจนครผู ดู้ แู ลเด็กควรคำนึงถงึ สง่ิ ตา่ งๆดงั น้ี

1.ให้ความรักและความอบอุ่น ความเอาใจใส่ต่อเด็ก และการเข้าใจเด็กยอมรับในตัวเด็กจะ
เป็นสิ่งท่ีสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพื้นฐานทางอารมณ์ที่มั่นคง รู้สึกอบอุ่น มีอารมณ์ขัน
มองโลกในแง่ดี

2.การเล่น การเลน่ เป็นธรรมชาตอิ ยา่ งหนึ่งของเดก็ มคี ุณคา่ ทางอารมณ์ ทำใหเ้ ด็กไดร้ ับความ
สนุกสนานเพลิดเพลินมีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส มีจิตใจที่มั่นคง มองโลกในแง่ดี และยังทำให้เด็กเกิด
ความเชื่อมั่นในตนเอง ถ้าหากพ่อแม่ได้ปล่อยให้เด็กได้เล่นตามความต้องการด้วยแล้ว เด็กจะมี
ความสุข การเล่นช่วยให้เด็กผ่อนคลายความตึงเครียดในชีวิตประจำวัน ช่วยระบายอารมณ์ เมื่อเด็ก
เกดิ ความรู้สกึ โกรธ วิตกกังวล หรือคับขอ้ งใจเปน็ การลดความก้าวร้าว และละความไมพ่ ึงพอใจที่ได้รับ
จากผู้ที่อยู่รอบข้าง การเล่นจึงเป็นกิจกรรมที่สนองความต้องการที่จะผ่อนคลายความตึงเครียดทาง
อารมณ์ ฟรอยด์นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงด้านจิตวิเคราะห์กล่าวว่า การเล่นมีคุณค่ามากในแง่ของการ
บำบัดเพราะการเล่นช่วยให้เด็กสามารถลดความไม่พึงพอใจอันเกิดจากประสบการณ์ไดโ้ ดยค่อยๆลด
ความวติ กกงั วล

10

3.การฟังนิทาน นิทานช่วยให้เด็กมีความเพลิดเพลิน เกิดความสุขมากเมื่อได้ฟังนิทาน เด็ก
ปฐมวัยมีจินตนาการตามเนื้อเรื่องในนิทาน นิทานช่วยผ่อนคลายความเครียดลดความวิตกกังวลของ
เด็กๆ ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยจะเป็นวัยที่ชอบฟังนิทานมาก และชอบการเลียนแบบ เด็กจึงมัก
เลียนแบบบุคลิกลักษณะนิสัยตัวละครในนิทาน ถ้าเด็กได้อ่านนิทานที่มีการผูกเรื่องดีๆตัวเอกในเรื่อง
เป็นคนดี จิตใจเยือกเย็น อารมณ์ดี ไม่โกรธใคร แม้ว่าถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกล้อเลียนเมื่อเด็กได้ฟัง
นิทานเหล่านี้ ก็จะส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็ก ให้เด็กมีสุขภาพจิตดี มีอารมณ์แจ่มใส
ไม่โกรธง่าย และยังมีลักษณะนิสัยชอบชว่ ยเหลือคนอื่นอีกด้วย (“พัฒนาการเด็ก ด้านอารมณ์จิตใจ,”
2561.: ออนไลน)์

2.1.6 องคป์ ระกอบของพัฒนาการ วุฒภิ าวะ (Maturation)
หมายถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้นถึงระดับการแสดงศักยภาพที่มีอยู่
ภายในตัวเด็กแต่ละคนในระยะใดระยะหนึ่งที่กำหนดตามวิถีทางของธรรมชาติและนำมาซึ่ง
ความสามารถทำสิ่งใดส่ิงหนึ่งได้เหมาะสมกับวัย ศักยภาพที่เด็กแสดงออกมาในเวลาอันสมควรหรือท่ี
เรียกว่าระดับวุฒิภาวะ(Maturation)ที่มีอยู่ในตัวเด็กตั้งแต่กำเนิดและถูกกำหนดโดยพันธุกรรมด้วย
เหตุนี้ระดับวุฒิภาวะของเด็กที่จะแสดงความสามารถอย่างเดียวกันอาจแสดงออกมาในช่วงเวลาที่
แตกต่างกนั ได้ เชน่ โดยท่ัวไปเดก็ จะวาดรปู ส่ีเหลย่ี มตามแบบได้ ประมาณอายุ 4 ปี เดก็ บางคนอาจจะ
ทำได้เร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์นี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมือและ
ความสัมพันธ์ของมอื และตา รวมทั้งทกั ษะการรับรเู้ กยี่ วกบั รปู รา่ ง
การเรียนรู้(Learning) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ที่ดี
จากการรับหรือจากการปฏิบัติ อบรมสั่งสอน และการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความ
ต้องการและความสนใจของเด็ก ทำให้ความสามารถต่างๆ ของเด็กถูกนำออกมาใช้อย่างมี
ประสิทธิภาพเต็มที่ ทั้งนี้ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีขอบเขตจำกัดทั้งช่วงเวลาความสนใจที่สั้น และ
เนื้อหาที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบของการเล่น ท่ีเด็กได้ลงมือกระทำศึกษาค้น
ความ สำรวจสง่ิ ต่างๆ รอบตัวตามความพึงพอใจของตนเองและเก็บสะสมเปน็ ประสบการณ์ส่วนบคุ คล
เช่น เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีหนังสือนิทานและของเล่น รวมทั้งมผี ู้ปกครองท่ีเอาใจใส่เล่นนิทาน
หรือแนะนำการอา่ น มกั จะเรยี นรกู้ ารอ่านได้อยา่ งรวดเร็ว กวา่ เด็กท่ไี ม่ไดร้ ับความสนใจเท่าทคี่ วร
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นผลของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวุฒิภาวะและการเรียนรู้
กล่าวคือ วุฒิภาวะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างแน่นแคว้นกับการเรียนรู้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหน่ึง
ความสามารถบางอย่างอาจไม่เกิดข้ึนหรือเกดิ ช้ากว่าท่ีควร เช่น ความสามารถในการใชภ้ าษา เด็กที่มี
วุฒิภาวะในการพูดจะสามารถเปลง่ เสยี งพดู ออกมาได้เอง แตถ่ ้าไม่ได้รับการสอนภาษาพดู กจ็ ะใชภ้ าษา
พดู ไมไ่ ด้เลย ในทางตรงกันข้าม เดก็ ทย่ี ังไม่บรรลุวฒุ ิภาวะในการพดู ถงึ แมว้ ่าจะไดรับการเค่ียวเข็ญฝึก
ภาษาพูดมากสักเพยี งใด ก็ไม่อาจพูดได้ ถ้าเด็กยงั ไม่พัฒนาถึงวุฒิภาวะนั้น จึงเหน็ ได้ว่าเด็กแต่ละคนมี
ศักยภาพในการพัฒนาตนเองตามกำหนดเวลาเฉพาะของพัฒนาการนั้นๆ โดยธรรมชาติอันก่อ
ความสามารถในการปรับเปล่ียนพฤตกิ รรมให้เป็นไปตามขั้นตอนของพัฒนาการ โดยมีสภาพแวดล้อม
ช่วยเสริมต่อพัฒนาการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วงเวลาทีเ่ ด็กสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพเตม็ ที่นี้
เรียกว่า ระยะพอเหมาะ (Optimal Period) ลักษณะพฤติกรรมที่เด็กสามารถแสดงออกเมือ่ อยู่ในข้นั

11
พัฒนาการนั้นๆ เรียกว่าพัฒนาการตามวัย (Developmenral Rask)เด็กที่แสดงพฤติกรรมตามข้ัน
พัฒนาการได้พอเหมาะกับวัยถือวา่ มพี ฒั นาการสมวยั
2.2 ปัจจยั ทีม่ ีผลต่อการพฒั นาการทางอารมณข์ องเด็กปฐมวยั

ภาพที่ 4 ปัจจัยท่ีมอี ทิ ธิตอ่ สตปิ ญั ญาของเดก็ ปฐมวยั
ที่มา (https://sites.google.com/site/phathnakarkhxngdekpthmway/home/paccay-thi-mi-

xiththiphl-tx-phathnakar-khxng-dek-pthmway)
จากการที่ได้มีโอกาสไปประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย พบว่าเด็กแต่ละคนมีการ
พัฒนาการที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะที่เห็นได้ชัดเจน คือ อารมณ์ การพัฒนาการทางอารมณ์ในวัยเด็ก
เป็นเรื่องสำคัญที่อาจมีผลถึงความเป็นผู้ใหญ่ต่อไป การพัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัย 2-5 ขวบ ส่วน
ใหญ่อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงง่าย และจะแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ออกมาอย่างเปิดเผย ดังนั้นการอบรม
เลี้ยงดูจากพ่อแม่และสภาพแวดล้อมทางสังคม จะมีผลต่อการพัฒนาการทางอารมณ์อย่างมาก เช่น
เด็กที่เติบโตขึ้นจากสภาพแวดล้อมสงบเงียบได้รับความรักเอาใจใส่ และการตอบสนองความต้องการ
สม่ำเสมอพอ่ แม่มีอารมณค์ งเส้นคงวา จะเตบิ โตข้ึนเป็นคนทีม่ ีอารมณ์ม่ันคงกว่า เดก็ ทม่ี ีสภาพแวดลอ้ ม
ที่ตรงกันข้าม จะเป็นคนที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย(สมพร สุทัศนีย์,2547) ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการ
พัฒนาการทางอารมณ์มีหลากหลายด้วยกัน เช่น พันธุกรรม การเจ็บป่วย การเจริญเติบโตของสมอง
สังคม และสิ่งแวดล้อม ในที่นี้จะกล่าวถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถแก้ไขได้ง่าย
(“ปจั จัยท่ีมผี ลตอ่ พัฒนาการทางอารมณข์ องเด็กปฐมวยั ,” 2017.: ออนไลน์)

12

2.2.1 ระดับวุฒิภาวะ (Maturity)ของผู้เลี้ยงดู ผู้เลี้ยงดูที่อารมณ์เปลี่ยนปลงบ่อย เด็กจะ
ปรับตัวตามไม่ทันจึงเกิดการแสดงอารมณ์อิสระของตนเองออกมา หรือ อารมณ์กลัวเพราะ
ปฏิบัติไม่ถูก ขาดความกล้าในการแสดงออก การเรียนรู้(Learning) ของเด็กปฐมวัย เป็นผล
จากประสบการณ์ที่ได้รับรู้ ได้สัมผัส จากการปฏิบัติ อบรมสั่งสอน และการปฏิสัมพันธ์
(“ปัจจัยทม่ี ีผลต่อพฒั นาการทางอารมณข์ องเด็กปฐมวัย,” 2017.: ออนไลน์)
2.2.2รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู แบบแผนของครอบครัว แบบแผนของครอบครัวบาง
ครอบครัวจะกำหนดข้อปฏิบัติต่างๆ ไว้มากมาย และการปฏิบัติถูกกำหนดขึ้นที่ละน้อยๆ
แต่แรกเริ่ม จนเป็นลกั ษณะนสิ ยั เช่นการกำหนดข้อปฏบิ ตั ทิ ำให้เดก็ ต้องปฏบิ ัติตามรูปแบบที่
กำหนด จนขาดความเป็นผู้นำ ขาดความม่นั ใจเมอื่ โตข้นึ การเลี้ยงดแู บบเอือ้ อาทร ใหค้ วามรัก
ความอบอุ่น เด็กจะเกิดความเห็นใจ เข้าใจสังคม การเลี้ยงดูแบบตามใจ ให้อิสระทุกอย่าง
เด็กจะเป็นผู้ใหญ่ที่ชอบสบายๆ ไม่ชอบระเบียบ วินัย เป็นต้น ดังนั้นการอบรมเลี้ยงดูที่ดี
จะทำให้เด็กวัยนี้มีพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมกับวยั และเป็นผู้ใหญ่ที่มารมณ์ที่มั่นคง
ในสงั คมได้ เดก็ ทม่ี พี ฤตกิ รรมก้าวรา้ วมักมีสาเหตุมาจากการขาดความรัก ความเอาใจใส่ การ
อบรมสั่งสอน ความอบอุ่นในครอบครัว ซึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการตามวัยของเด็กหยุดชะงัก
หรอื ล้มเหลวได้ (“ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย,” 2017.:
ออนไลน์)
2.2.3 สถานภาพของครอบครัว ครอบครัวจุดเร่ิมต้นของชีวิตเดก็ ทุกคน ลักษณะครอบครัว
โครงสร้างขนาดจำนวนสมาชิกในครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว ฐานะเศรษฐกิจและ
สังคม เด็กที่มาจากครอบครัวขยาย จะได้รับการดูแลเอาใจใสอ่ ย่างอบอุ่น มีความเข้าใจผู้อื่น
รู้จักแบ่งปัน มีโอกาสได้เห็น ได้รับรู้ที่หลากหลาย กว่าครอบครัวเดี่ยวแม้จะมีขนาดเล็กก็มี
ความเป็น ตัวของตัวเองใน การอบรมดูแลเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับ
บทบาทของพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ในการให้เวลาที่เหมาะสม ให้รูปแบบการดูแล และให้
ความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว ทำให้เด็กเกิดความมั่นคงทางจิตใจและมีพัฒนาการทาง
อารมณ์ท่ดี ไี ด้ (“ปัจจยั ที่มผี ลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเดก็ ปฐมวัย,” 2017.: ออนไลน)์
2.2.4 สื่อและเทคโนโลยีตา่ งๆ ความเจริญกา้ วหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้การติดต่อ
สื่อสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็วทำให้เด็กปฐมวัยได้รับข้อมูลเร็ว ประกอบกับเด็กวัยนี้มีการ
เลียนแบบได้เร็ว เมื่อเด็กได้รับการถ่ายทอดสิ่งใดและเป็นสิ่งที่เร้าความสนใจ เด็กมักจดจำ
และทำตามทันที โดยสะท้อนออกมาในคำพูดและการกระทำอย่างเด่นชัด เนื่องจากวัยนี้เด็ก
จะแสดงออกอย่างเปิดเผยอยู่แล้ว ดังนั้นหากเด็กวยั นี้ได้รับข้อมูลจากสื่อที่ดี ก็จะทำให้เด็กมี
พฤติกรรม อารมณ์ทีด่ ีได้ (“ปัจจัยที่มีผลตอ่ พัฒนาการทางอารมณข์ องเด็กปฐมวัย,” 2017.:
ออนไลน์)

13

บทที่ 3
สรุป

พ่อแม่ทุกคนย่อมอยากเห็นลูกเติบโตเป็นคนดีและมีความสุข วัยอนุบาลเป็นช่วงเวลาสำคญั
ที่สุดช่วงหนึ่ง เพราะเป็นช่วง เวลาทีเ่ ด็กเรียนรู้เรื่องตา่ งๆมากทส่ี ุดในชีวิต เดก็ จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่เช่น
ไรในอนาคต ขึ้นอยูก่ ับการเล้ียงดูในช่วงน้ี เป็นช่วงทีห่ ล่อหลอมลักษณะพิเศษของแต่ละคน หรือที่เรา
เรียกว่า “บคุ ลิกภาพ” ซึ่งเปลย่ี นแปลงไดย้ ากเม่อื เติบโตขนึ้ ทงั้ นีเ้ พราะเด็กไม่ใช่ผใู้ หญต่ วั เลก็ ๆ เดก็ คือ
เด็ก ที่มีความรู้สึก มีความคิดเห็นของตัวเอง แต่จะถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่จะช่วยอบรมสั่งสอน
นำพาเข้าสู่เส้นทางที่ถูกที่ควร เด็กจึงจะเจริญเติบโตเป็นเด็กที่เป็นคนดี มีความสุข และมีความสมดลุ
ในชีวิต ดังนั้น การพัฒนาจึงเริ่มต้นขึ้นที่บ้าน ถ้าพ่อแม่พัฒนาลูกในทุกกิจกรรม ลูกจะมีความสัมพนั ธ์
กับสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง รู้จักกินเป็น ดูเป็น ฟังเป็น บริโภคเป็น มีจิตใจที่ดีงาม มีการแสดงออกทาง
อารมณท์ เ่ี หมาะสม พรอ้ มทจ่ี ะออกสู่สงั คมนอกบา้ นต่อไป

ลกั ษณะพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัยการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย
นั้นรุนแรงกว่าวัยทารก ระดับความรุนแรงทางอารมณ์ของเด็กแต่ละคนมีไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับ
องค์ประกอบหลายๆอย่าง เช่น สุขภาพ สิ่งแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู อารมณ์โดยทั่วไปของเด็ก
ปฐมวัย ได้แก่ อารมณ์โกรธ กลัว อิจฉา อยากรู้อยากเห็น อารมณ์สนุกสนาน และอารมณ์รัก ซึ่ง
ทง้ั หมดนี้รวมเป็นการพฒั นาทางดา้ นอามรณ์ของเดก็ ปฐมวัย

14

บรรณานกุ รม

“ความหมายของพฒั นาการทางด้านอารมณ์ของเดก็ ปฐมวยั ,” [ออนไลน]์ . เขา้ ถงึ ไดจ้ าก:
https://sites.google.com/site/phathnakarkhxngdekpthmway/home/phathn
akar-khxng-dek-pthmway-dan-tang/phathnakar-dan-xarmn-khxng-dek-
pthmway
[สบื ค้นเมอ่ื 9 สงิ หาคม 2564]

“จดั การเรียนรตู้ ามหลัก Brain-Based Learning ด้านอารมณ์และจิตใจ,” [ออนไลน]์ . เข้าถึงได้จาก:
https://www.okmd.or.th/bbl/documents/339/bbl-emotionally-mentally
[สืบคน้ เม่ือ 9 สงิ หาคม 2564]

“ประเภทอารมณข์ องเด็กปฐมวยั ,” [ออนไลน]์ . เข้าถงึ ไดจ้ าก:
https://eln.theasianparent.com/social-emotional-development-
kindergarten/
[สบื คน้ เมื่อ 9 สงิ หาคม 2564]

“ปัจจยั ทม่ี ผี ลตอ่ การพฒั นาการทางอารมณ์ของเดก็ ปฐมวยั ,” [ออนไลน]์ . เข้าถงึ ไดจ้ าก:
http://164.115.41.60/excellencecenter/?p=161
[สบื ค้นเม่อื 9 สิงหาคม 2564]

“พัฒนาการทางอารมณข์ องเดก็ วยั 1 ปี,” [ออนไลน์]. เข้าถึงไดจ้ าก:
https://baby.kapook.com/view108076.html
[สบื คน้ เม่ือ 9 สิงหาคม 2564]

“พฒั นาการทางอารมณข์ องเด็กวัย 3 ปี,” [ออนไลน์]. เข้าถึงไดจ้ าก:
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/681736
[สบื ค้นเม่ือ 9 สิงหาคม 2564]

“พัฒนาการทางอารมณข์ องเดก็ วัยระหวา่ ง 5-6 ป,ี ” [ออนไลน์]. เขา้ ถึงได้จาก:
https://www.rakluke.com/child-development-all/kid-
development/item/5-6-2.html
[สบื คน้ เมื่อ 9 สิงหาคม 2564]

“ระดับวฒุ ิภาวะ,” [ออนไลน]์ . เขา้ ถึงได้จาก:
https://sites.google.com/site/phathnakarkhxngdekpthmway/home/xngkh-
prakxb-khxng-phathnakar
[สืบคน้ เมือ่ 9 สิงหาคม 2564]

“รูปแบบการอบรมเลยี้ งดู แบบแผนของครอบครวั ,” [ออนไลน์]. เข้าถงึ ได้จาก:
https://slideplayer.in.th/slide/17851902/
[สบื ค้นเมือ่ 9 สงิ หาคม 2564]

15

“ลกั ษณะพัฒนาการทางดา้ นอารมณข์ องเดก็ ปฐมวยั แตล่ ะปี,” [ออนไลน์]. เข้าถงึ ได้จาก:
https://www.brainkiddy.com/article/49/
[สืบคน้ เมอ่ื 9 สงิ หาคม 2564]

“สถานภาพของครอบครัว,” [ออนไลน]์ . เขา้ ถึงไดจ้ าก:
https://sites.google.com/site/ann5481136701/bth-thi4chiwit-laea-
khrxbkhraw-suksa/4-1bthbath-hnathi-khxng-sthaban-khrxbkhraw
[สืบคน้ เมื่อ 9 สงิ หาคม 2564]

“ส่ือและเทคโนโลยีตา่ งๆ,” [ออนไลน]์ . เขา้ ถงึ ไดจ้ าก:
https://docs.google.com/document/preview?hgd=1&id=1XP4mEXFzqSetH
usvLfPZMX2NF7b1huUq8B25OcE5WBk
[สืบค้นเมือ่ 9 สงิ หาคม 2564]


Click to View FlipBook Version