เจ้าจอมมารดาแย้ม
จัดทำโดย
นางสาวฐิติรัตน์ ไกรวิริยะ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/8 เลขที่ 3
เสนอ
คุณครูประกายวรรณ บุญอยู่
โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย
ก
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชานาฏศิลป์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยว
กับประวัติความเป็นมาของ เจ้าจอมมารดาแย้ม รวม
ทั้ งผลงานต่างๆ
ผู้จัดทำหวังอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จะ
เป็นประโยชน์ กับผู้อ่านที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยว
กับบุคคลที่สำคัญทางด้านนาฏศิลป์
นางสาวฐิติรัตน์ ไกรวิริยะ
ผู้จัดทำ
ข หน้า
สารบัญ ก
เรื่อง ข
คำนำ
สารบัญ 1
ประวัติ
ความสัมพันธ์ 2
บทอิเหนาพระราชนิพนธ์รัชการที่ 1
บทพระราชนิพนธ์ราชการที่ 2 3
4
1
ประวัติ
เจ้าจอมมารดาแย้ม เป็นธิดาของพระยาไกรเพ็ชร
รัตนสงคราม (ทองดี) เธอเป็นศิษย์คนหนึ่งของ
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ าจุ้ย กรมหลวง
พิทักษ์มนตรี เจ้าจอมมารดาแย้มจึงเป็นนางละคร
ผู้มีชื่อในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
นภาลัย ที่โดดเด่นจากแสดงเป็นอิเหนา
จึงรับสมญาว่า แย้มอิเหนา
ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระสนม
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มี
พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือ พระเจ้าบรม
วงศ์เธอ พระองค์เจ้ามารยาตร (ประสูติ: 2
กุมภาพันธ์ 2365 — สิ้นพระชนม์: ในรัชกาลที่ 4)
ในปัจฉิมวัย เจ้าจอมมารดาแย้มได้รับคำเชิญจาก
ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด) ซึ่งเป็นลูกศิษย์
คนหนึ่ง ให้มาพำนักที่วังปากคลองตลาดร่วมกัน
เมื่อปี พ.ศ. 2420 ซึ่งเป็นช่วงที่เธอเจ็บป่วย
ดังนั้ นเจ้าจอมมารดาแย้มจึงมอบหน้าที่การปลงศพ
และทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ทั้ งหมดให้แก่ท้าววรจันทร์
แต่สิ้นพิธีปลงศพเจ้าจอมมารดาแย้มแล้ว ท้าววร
จันทร์ได้มอบทรัพย์สมบัติดังกล่าวให้แก่หลานของ
เจ้าจอมมารดาแย้ม
2
ความสัมพันธ์
คู่สมรส
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
บุตร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามารยาตร
บิดามารดา
พระยาไกรเพ็ชรรัตนสงคราม (ทองดี)
3
บทอิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑
๏ ในลักษณสารพระบิดา ว่ากรุงดาหาเป็นศึกใหญ่
ให้เร่งยกพลสกลไกร ไปช่วยชิงชัยให้ทันที
ถึงจะไม่เลี้ยงบุษบา ว่าชั่วช้าอัปลักษณ์ทั้งศักดิ์ศรี
แต่เขาแจ้งอยู่สิ้นทั้งธรณี ว่านางนี้เป็นน้องของตัวมา
อนึ่งท้าวดาหาฤทธิไกร มิใช่อาหรือไรให้เร่งว่า
อันสุริย์วงศ์เราเหล่าเทวา ไม่เคยเสียพาราแก่ผู้ใด
ถ้าแม้นเสียกรุงดาหา ตัวจะอายขายหน้าหรือหาไม่
อันเกิดเหตุทั้งนี้ก็เพราะใคร ถ้าไปอยู่เลี้ยงกับบุตรี
ที่ไหนจะเกิดสงคราม ใครจะหยาบหยามได้ก็ใช่ที่
ซึ่งเกิดเหตุเภทภัยครั้งนี้ เพราะตัวทำความดีเป็นพ้นไป
ครั้งหนึ่งก็ให้เสียวาจา อายชาวดาหากรุงใหญ่
ครั้งนี้จะคิดประการใด จะให้เสียศักดิ์ก็ตามที
แม้นว่ามิยกไปช่วย ถึงเรามอดม้วยอย่าดูผี
อย่าดูทั้งเปลวอัคคี ขาดกันแต่วันนี้ไป
ฯ ๑๔ คำ ฯ
4
บทพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒
๏ ในลักษณนั้ นว่าปัจจามิตร มาตั้งติดดาหากรุงใหญ่
จงเร่งรีบรี้พลสกลไกร ไปช่วงชิงชัยให้ทันที
ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว แต่เขารู้อยู่ว่าตัวนั้ นเป็นพี่
อันองค์ท้าวดาหาธิบดี นั้ นมิใช่อาหรือว่าไร
มาตรแม้นเสียเมืองดาหา จะพลอยอายขายหน้าหรือหาไม่
ซึ่งเกิดศึกสาเหตุเภทภัย ก็เพราะใครทำความไว้งามพักตร์
ครั้งหนึ่งก็ให้เสียวาจา อายชาวดาหาอาณาจักร
ครั้งนี้เร่งคิดดูจงนัก จะซ้ำให้เสียศักดิ์ก็ตามที
แม้นมิยกพลไกรไปช่วย ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี
อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่นี้ขาดกันจนบรรลัย
ฯ ๑๐ คำ ฯ
บทละครที่ทรงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อแต่งแล้ว
ยังส่งประทานเจ้าฟ้ ากรมหลวงพิทักษมนตรีไปลองซ้อม
กระบวนรำอีกชั้น ๑ เล่ากันว่า เจ้าฟ้ ากรมหลวงพิทักษ
มนตรี ให้เอาพระฉายบานใหญ่มาตั้ง แล้วทรงรำทำบท
ทอดพระเนตรในพระฉาย ปรึกษากับนายทองอยู่ นายรุ่ง
ช่วยกันแก้ไขกระบวนรำไปจนเห็นงาม จึงเอาเป็นยุติ ถ้า
ขัดข้อง บางทีถึงกราบทูลขอให้แก้บทก็มี เมื่อเจ้าฟ้ ากรม
หลวงพิทักษมนตรี ทรงคิดกระบวนรำเป็นยุติอย่างใดก็
ทรงซ้อมให้นายทองอยู่ นายรุ่ง ไปหัดละครหลวงที่โรง
ละครริมต้นสน (อยู่หน้าประตูพรหมศรีสวัสดิ์ ตรงที่สร้าง
หอธรรมสังเวชเมื่อรัชกาลที่ ๔) แล้วละครไปซ้อมถวาย
พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยทอดพระเนตร
ทรงติเตียนแก้ไขกระบวนรำอีกชั้น ๑ จึงจะยุติลงเป็น
แบบแผน
ว่าโดยทางตำนานการเล่นละครรัชกาลที่ ๒ นับเป็นหัวต่อ
ของตำนานละครตอน ๑ ด้วย แต่ก่อนนั้ นมา กระบวนเล่น
ละคร จะเป็นวิธีรำก็ดี บทละครก็ดี เล่นตามแบบอย่างครั้ง
กรุงเก่า บทละครพระราชนิพนธ์ที่แต่งใหม่ในรัชกาลที่ ๑ ก็
ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อจะให้มีขึ้นเป็นแบบฉบับสำหรับ
พระนครเป็นข้อสำคัญ บททรงพระราชนิพนธ์อย่างไร ครู
ละครก็ต้องฝึกซ้อมผสมละครไปตามบทนั้ น ด้วยเหตุนี้
ละครเล่นบทพระราชนิพนธ์ครั้งรัชกาลที่ ๑ เช่นเรื่องอุณรุท
จึงดูชักช้าชวนรำคาญ เพราะบทมิได้แต่งปรุงไปกับวิธีเล่น
ละครด้วยกัน ในรัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์บทสำหรับ
เล่นละครเป็นข้อสำคัญ เป็นต้นว่า เรื่องละครที่ทรงเลือกมา
แต่งบทก็ดี บทที่แต่งขึ้นก็ดี เอาแต่ที่เหมาะแก่กระบวนเล่น
ละครเป็นประมาณ เมื่อแต่งบทแล้วยังให้สอบซ้อมกระบวน
รำให้เข้ากับบท จนเห็นเข้ากันเรียบร้อยงดงามแล้ว จึงเอา
เป็นใช้ได้ เพราะฉะนั้ น กระบวนละครครั้งรัชกาลที่ ๒ ทั้งบท
และวิธีรำจึงวิเศษกว่าครั้งไหนๆ ที่เคยปรากฏมาแต่ก่อน จึง
ได้นับถือกันเป็นแบบอย่างของละครรำที่เล่นสืบต่อมาจน
ตราบเท่าทุกวันนี้ ควรนับว่าแบบละครรำของกรุง
รัตนโกสินทร์ ได้เกิดขึ้นเมื่อรัชกาลที่ ๒ เป็นเดิมมา
แต่เมื่อในรัชกาลที่ ๒ แบบและบทละครซึ่งทรงขึ้น
ใหม่ครั้งนั้ น เป็นแต่เล่นละครหลวง ผู้อื่นหามีใคร
กล้าเอาอย่างของหลวงไปเล่นไม่ เจ้านายต่างกรม
เป็นต้นว่า กรมพระราชวังบวรฯ ก็ปรากฏว่าทรงหัด
แต่งิ้วผู้หญิง[๔] พระบาทสมเด็จฯ พระนั่ งเกล้าเจ้า
อยู่หัว ก็ทรงหัดโขนตามประเพณีเดิม เพราะฉะนั้ น
ตัวละครครั้งรัชกาลที่ ๒ ที่ได้เป็นครูละครต่อมาจึงมี
แต่ผู้หญิงเป็นพื้น มีชื่อปรากฏต่อมาหลายคน คือ:-
ครูยืนเครื่อง
๑. เจ้าจอมมารดาแย้ม เป็นตัวอิเหนา มักเรียกกันว่า
คุณโตแย้ม ได้เป็นครูอิเหนาต่อมาแทบทั้งบ้านทั้ง
เมือง อยู่มาจนรัชกาลที่ ๕
ฯลฯ