The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ชุมชนตำบลเกาะพะงัน เเละการทำงานของวิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน จากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by pemai_15128, 2021-11-29 22:20:02

หนังสือประวัติศาสตร์ชุมชนตำบลเกาะพะงัน

เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ชุมชนตำบลเกาะพะงัน เเละการทำงานของวิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน จากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Keywords: วิศวะกรสังคม,เกาะพะงัน,รมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี,ีu2t,ประวัติศาสตร์,ตำบลเกาะพะงัน

K
O
H

ห นั ง สื อ P
ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ H
ชุ ม ช น A
N
จัดทำโดย วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน G
จังหวัดสุราษฏร์ธานี A
N

K จัดทำโดย
O
H ๑.อาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ ตำแหน่ง อาจารที่ปรึกษาวิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน
P ๒.นางสาวพัชราภรณ์ อ่อนภักดี ตำแหน่ วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(บัณฑิตจบใหม่)
H ๓.นายสราวุธ ส่งแสง ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(บัณฑิตจบใหม่)
A ๔.นางสาวภัทรภรณ์ เจินทำ ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(บัณฑิตจบใหม่)
N ๕.นางสาวปิยะวรรณ วงค์ศิลา ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(บัณฑิตจบใหม่)
G ๖.นางสาวปียะธิดา บุญคง ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(บัณฑิตจบใหม่)
A ๗.นางสาวดวงกมล สมบัติแก้ว ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(บัณฑิตจบใหม่)
N ๘.นางสาวกมลทิพย์ พึ่งแพง ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(บัณฑิตจบใหม่)
๙.นางสาวจริยา แฟนแดม ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(บัณฑิตจบใหม่)
๑๐.นางสาวสุปิยา ด่านวิริยะกุล ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(บัณฑิตจบใหม่)
๑๑.นางสาวสิริมา สุวรรณรักษา ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(บัณฑิตจบใหม่)
๑๒.นางสาวมัณฑนา ศิริสมบูรณ์ ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(บัณฑิตจบใหม่)
๑๓.นางณัฐสุดา สว่างวงศ์ ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(ประชาชน)
๑๔.นางสาวพรปวีณ์ อ่อนเจริญ ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(ประชาชน)
๑๕.นางสาวนลิน บุญประสพ ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(ประชาชน)
๑๖.นางสาวปณิสรา บุญประสพ ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(ประชาชน)
๑๗.นางสาวธนัญญา ชมอินทร์ ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(ประชาชน)
๑๘.นายนิติธร บุญนุกูล ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(นักศึกษา)
๑๙.นายสหสวรรษ จิระกุล ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(นักศึกษา)
๒๐.นางสาวกัญญาณัฐ ชูแก้ว ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(นักศึกษา)
๒๑.นางสาวจุฑาทิพย์ ชีวิตนันท์ ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(นักศึกษา)
๒๒.นางสาวอาทิยา ทองจันทร์ ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(นักศึกษา)
๒๓.นางสาวอาอีซะฮ์ จิตติ ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(นักศึกษา)
๒๔.นางสาวกรกนก พันธุ ตำแหน่ง วิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน(นักศึกษา)

คำนำผู้เขียน

หนังสือเล่มนี้จัดทําขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของตำบลเกาะพะงัน
อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดทําเป็นหนังสือ
ประวัติศาสตร์ของตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของตำบล ขนาดและที่ตั้ง ลักษณะ
ภูมิประเทศ แม่น้ำที่สำคัญ ภูมิอากาศทรัพยากรธรรมชาติ การคมนาคม ประวัติความ
เป็นมาของชุมชน โครงสร้างของชุมชน โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ ความเชื่อ
ประเพณีและพิธีกรรม สถานที่สําคัญ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ วัฒนาธรรม
การดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ การยกระดับสินค้าOTOP/อาชีพอื่นการสร้าง
และพัฒนา CREATIVE ECONOMY(การยกระดับการท่องเที่ยว) การนําองค์ความรู้
ไปช่วยบริการชุมชน (HEALTHCARE/เทคโนโลยีด้านต่างๆ)และการส่งเสริมด้านสิ่ง
แวดล้อม/CIRCULAR ECONOMY (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน)หนังสือเล่ม
นี้สามารถดำเนินการจนประสบความ สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากได้รับความ
อนุเคราะห์และสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากอาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ ที่ได้สละอันมี
ค่าแก่คณะผู้จัดทํา เพื่อให้คําปรึกษาและแนะนําตลอดจนตรวจทานแก้ไขข้อบกพร่อง
ต่างๆด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่งจนหนังสือเล่มนี้สําเร็จสมบูรณ์ลุล่วงได้ด้วยดี
คณะผู้จัดทําบอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้

ขอขอบพระคุณเพื่อนร่วมงานที่ช่วยเหลือและให้กําลังใจในการทําหนังสือครั้ง
จนประสบความสําเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ขอขอบพระคุณผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำบลตลอดจนจํานวยความสะดวกในการ
ลงพื้นที่รวมทั้งประสบการณ์ดีๆที่ได้ทํางานร่วมกับชุมชน

สุดท้ายนี้คณะผู้จัดทำหวังว่าหนังสือเล่มนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจศีกษาต่อไป

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ ๑ ข้อมูลพื้นฐาน
๘ ประวัติความเป็น
CONTENT
มาของชุมชน

๑๒ โครงสร้างของ

ชุมชน

๑๘ โครงสร้างของ
สร้างของสังคม

๒๖ ศักยภาพตำบล
๓๓ ภาคผนวก

ส่วนที่หนึ่ง

PART ONE ข้อมูลพื้นฐาน

ขนาด และที่ตั้ง
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะของแหล่งน้ำ
ลักษณะภูมิอากาศ
ทรัพยากรธรรมชาติ
การคมนาคม



ขนาด และที่ตั้ง

ที่ตั้งของอำเภอเกาะพะงัน ตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นอำเภอที่มี
พื้นที่น้ อยที่สุดของจังหวัด ตั้งอยู่ในอ่าวไทย ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศ
ตะวันออกประมาณ100กิโลเมตรห่างจากอำเภอเกาะสมุย
ประมาณ15กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ คือ เกาะพะงัน
มีพื้นที่168 ตารางกิโลเมตร และเกาะเต่า มีพื้นที่25 ตารางกิโลเมตร
(รวม 193 ตารางกิโลเมตร)



ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของพื้นที่ อำเภอเกาะพะงันเป็นหมู่เกาะ
ที่ตั้งอยู่บนไหล่ทวีปอยู่ตอนกลางของอ่าวไทย นอกชายฝั่งทางทิศตะวัน
ออกเฉียงเหนือของจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 100 กิโลเมตร ระหว่าง
เส้นรุ้ง ( Latitude) ที่ 69 องศา – 84 องศาเหนือ และ เส้นแวง
(Longitude)ที่ 05 องศา – 19 องศาตะวันออก ห่างจากแผ่นดินใหญ่
ประมาณ 40 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 770 กิโลเมตร
พื้นที่เกาะพะงันกว่าครึ่งเป็นภูเขาและที่ดอนสูงมีโครงสร้างต่อเนื่อง การใช้
ที่ดินโดยทั่วไปบริเวณที่ราบรอบเกาะ



ลักษณะของแหล่งน้ำ

แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ คลองบางจารุ คลองท่าคู คลองวังหิน
คลองเขานบ คลองเหมืองชัย

“วนอุทยานน้ำตกแพง” ขึ้นในบริเวณน้ำตกแพง บ้านมะเดื่อหวาน ตำบล
เกาะพะงัน โดยเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ มีน้ำตกสวยงาม มีสัตว์
ป่าชุกชุม อยู่ใกล้ชุมชน และได้เริ่ม มีชาวบ้านเข้าไปบุกรุกจับจองพื้นที่ พระครู
สุภัทรธรรมาภิรมจึงได้ชักชวนพระ เณร และชาวบ้าน ตัดถนนเข้าไปที่ ตัว
น้ำตกแพงระยะทาง 1 กิโลเมตร โดยตกลงกับชาวบ้านยุติการบุกรุกบริเวณ
น้ำตกแพง ให้ช่วยกันอนุรักษ์แทน การทำลาย และในปี 2520 พระครูสุภัทรธร
รมาภิรมได้มอบวนอุทยานน้ำตกแพง กลับคืนให้กับกรมป่าไม้ ในขณะ
นั้นเพื่อให้ประกาศเป็น “วนอุทยานน้ำตกแพง” สังกัดกองอุทยานแห่งชาติ



ลักษณะภูมิอากาศ

เกาะพะงันได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้ง 2 ด้าน คือ ลมมรสุมตะวันตก
เฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูกาลแบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดู
ร้อนและฤดูฝน

• ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม เป็นช่วงปลายลมมรสุม ตะวันออก
เฉียงเหนือ อากาศจะคลายความชุ่มชื้น ประกอบกับ มีกระแสน้ า อุ่นพัดจาก
ทะเลจีนใต้ทำให้มีฝนตกน้ อยและอุณหภูมิสูงขึ้น แต่คลื่นลมสงบ น้ า ทะเลใส
เหมาะแก่การท่องเที่ยวเป็ นอย่างยิ่ง
• ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงมกราคม สำหรับช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม
เป็นช่วงลมมรสุมตะวัน ตกเฉียงใต้ทา ให้มีฝนตกชุกไปจนถึงเดือนมกราคม
ของทุกปี โดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายน มีจำนวนวันที่ฝนตกโดยเฉลี่ยถึง 20.2
วัน ต่อเดือน ปริมาณน้ า ฝน 1,919.2 มิลลิเมตรต่อปี

โดยทั่วไปของเกาะพะงัน มีฝนตกเกือบตลอดปี ลักษณะอากาศโดย
ทั่วไปจัดอยู่ในเกณฑ์อบอุ่นโดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ
27.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือน พฤษภาคม
ประมาณ 32.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศร้อน อุณหภูมิ
เฉลี่ยต่ำสุดในช่วงเดือนธันวาคมและเดือนมกราคม ประมาณ 23.9–
24.0 องศาเซลเซียส เป็นช่วงที่อากาศเริ่มเย็นตัวลง ปริมาณน้ำฝน
ตลอดปี ประมาณ 1,848.3 มิลลิเมตร เดือนกุมภาพันธ์ มีปริมาณน้ำ
ฝนน้ อยที่สุด ประมาณ 38.3 มิลลิเมตร เดือนพฤศจิกายนมีปริมาณ
น้ำฝนมาก ประมาณ 427.8มิลลิเมตร



ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรดิน ลักษณะดินเป็น
ดินร่วนปนทราย มีแร่ธาตุน้ อย
แต่มีการระบายน้ำค่อนข้างดี
เหมาะสำหรับสวนมะพร้าว
ทรัพยากรน้ำ แหล่งน้ำสำคัญ
ของตำบลเกาะพะงันมีทั้งน้ำ
จากใต้ดินและจากท่อธาร บาง
แห่งทำที่กักเก็บน้ำเป็ นระบบ
ประปาภูเขา แหล่งน้ำที่สำคัญ
ได้แก่ คลองบางจารุ คลองท่าคู
คลองวังหิน คลองเขานบ
คลองเหมืองชัย

ทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดของตำบลเกาะพะงัน ประมาณ 33,925
ไร่ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ประมาณ 24,450 ไร่ ในปัจจุบัน ที่ดินใน
ตำบลเกาะพะงันมีราคาสูงขึ้น จึงมักจะมีการบุกรุกแผ้วถางป่าทั้งจากราษฎร
ในพื้นที่และต่างถิ่น
ทรัพยากรธรณี พวกแร่ดีบุก แร่พลวง มีอยู่ทั่วไปในเขตสัมปทาน จำนวน 2
แห่ง ปัจจุบันได้มีการล้มเลิกกิจการไปแล้ว
ทรัพยากรทางทะเล เนื่องจากพื้นที่เป็นเกาะมีน้ำทะเลล้อมรอบ มีทรัพยากร
ในทะเลมากมายตามหนังสืออ้างอิง เรื่องราวเกาะพะงันในอดีต และตามคำ
บอกเล่าของผู้เฒ่า ผู้แก่ในตำบลเกาะพะงัน เช่น มีปลาเกือบทุกชนิดชุกชุม
ปะการังที่สวยงาม แหล่งหญ้าทะเลและพะยูน นกนางนวล นกอีแอ่น ฯลฯ
สภาพในปัจจุบันทรัพยากรเหล่านี้ได้ลดลง ไปอย่างมากเนื่องจากเสียความ
สมดุลในระบบนิเวศวิทยาของท้องทะเลไทย
ทรัพยากรขยะ กำจัดขยะโดยวิธี ฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะและเผาด้วย
ความร้อนสูง ที่ดินสำหรับกำจัดขยะที่กำลังใช้ จำนวน 5 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ถนน
ท้องศาลา–ศรีธนู หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะพะงัน



การคมนาคม

จำนวนท่าเรือ บ่อสาธารณะ สะพาน
และถนนสายต่างๆในพื้นที่ตำบลเกาะพะงัน
แยกออกเป็นดังนี้
- ทางเรือ จำนวน 1 แห่ง
- บ่อสาธารณะ จำนวน 5 แห่ง
- สะพานคอนกรีต จำนวน 2 แห่ง
- ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 8 สาย
- ถนนลูกรัง จำนวน 5 สาย

PART TWOส่วนที่สอง

ประวัติความเป็นมา
ของชุมชน

ประวัติความเป็ นมา
ของชุมชน



ประวัติความเป็นมาของชุมชน

คำว่า “พะงัน” สันนิษฐาน
มาจากคำว่า “พะ” แปลว่า พบ กับคำ
ว่า “งัน” หมายถึงหาดทรายที่มอง
เห็นได้เวลาน้ำลด สมัยรัชกาลที่ 5 พะ
งันเป็นเมืองๆ หนึ่ง ขึ้นอยู่กับเมือง
ไชยา พระยาวจี สัตยารักษ์ เจ้าเมือง
ไชยา ได้ส่งหลวงสมุทรคีรีมาเป็นเจ้า
เมืองเกาะพะงัน พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
พระองค์ได้เสด็จประพาสอำเภอ
เกาะพะงัน จำนวน 14 ครั้ง และทรง
จารึกพระอักษร “จปร รศ.108” ไว้ที่
น้ำตกธารเสด็จ ซึ่งเป็นแหล่งท่อง
เที่ยวที่สำคัญของอำเภอเกาะพะงันใน
ปั จจุบัน

พ.ศ. 2440 มีการจัดระบบการปกครองท้องถิ่น เมืองเกาะพะงันถูกยุบ
ไปรวมกับเกาะสมุย เรียกว่าอำเภอเกาะสมุย ดังนั้นเกาะพะงันจึงมีฐานะเป็น
ตำบล มี 2 ตำบล คือ ตำบลเกาะพะงัน และตำบลบ้านใต้ วันที่ 11 กันยายน
2513 กระทรวงมหาดไทยได้แยกเขตท้องที่เกาะพะงันเป็นกิ่งอำเภอ และได้
ประกาศยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอเกาะพะงัน เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2513 ในขณะ
นั้นใช้อาคารรับรองแขกของวัดราษฎร์-เจริญ เป็นที่ทำการอำเภอชั่วคราว วัน
ที่ 13 เมษายน 2520 ประกาศยกฐานะเป็น “อำเภอเกาะพะงัน” และได้มีพิธี
เปิดป้ ายที่ทำ การอำเภอเกาะพะงัน เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2521

๑๐

ประวัติความเป็นมาของชุมชน

เชื่อว่าถ้าเอ่ยคำขวัญ "พระจันทร์สวย น้ำใส

หาดทรายขาว ปะการังแพรวพราว เพชรกลาง

อ่าว เมืองคนดี" หลาย ๆ คนคงส่ายหน้ าไม่รู้

จักว่าคือสถานที่ไหน แต่ถ้าพูดถึง "ฟูลมูล

ปาร์ตี้" นักท่องเที่ยวเกือบจะทั่วโลก ต่างก็ร้อง

อ๋อ! พร้อม ๆ กับคิดถึง "ฟูลมูลปาร์ตี้" ริมหาด

ริ้น "เกาะพะงัน" หรือ "เกาะพงัน" ที่มีชื่อเสียง

โด่งดังก้องโลก เพราะทุกค่ำคืนขึ้น 15 ค่ำ ที่

พระจันทร์เต็มดวง "ฟูลมูลปาร์ตี้" จะบังเกิด

ขึ้นมาสร้างความสนุกครึกครื้น ให้กับบรรดา

นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเพื่อปาร์ตี้นี้โดย

เฉพาะ แต่จริง ๆ แล้ว เกาะพะงัน

ยังมีชายหาดขาว น้ำทะเลใส

ร่มรื่นด้วยทิวไม้ริมชายหาด และ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีก

มากมาย รอให้นักเดินทางไปเยี่ยม

เยือน เพราะฉะนั้น กระปุกดอท

คอมเลยจะพาเพื่อน ๆ เปลี่ยน

บรรยากาศจากแสง สี เสียงอึกทึก

เร้าใจ ไปดื่มด่ำกับทัศนียภาพที่

สวยงาม เงียบสงบ และทำ

กิจกรรมหลากหลายทางทะเล ไม่

ว่าจะเป็น ดำน้ำ เดินป่า ดูนก ชม

วิถีชีวิตชาวเกาะชาวประมงของ

เกาะพะงัน

๑๑

ประวัติความเป็นมาของชุมชน

เกาะพะงัน ใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก เกาะสมุย ของจังหวัด
สุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจาก เกาะสมุย ไปทางทิศเหนือประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้
เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 100 กิโลเมตร
มีเนื้อที่ประมาณ 120,625 ไร่ หรือ 168 ตารางกิโลเมตร มีประชาชนประมาณ
12,159 คน ประกอบด้วย 3 ตำบล คือ ตำบลเกาะพงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบล
เกาะเต่า รวมถึงเกาะน้ อยใหญ่ คือ เกาะนางยวน เกาะแตนนอก เกาะแตนใน
และ เกาะม้า โดย เกาะพะงัน เป็นหนึ่งในจำนวน 48 เกาะที่ตั้งอยู่ในช่อง
อ่างทอง ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อ พ.ศ.2513 และเป็นอำเภอเกาะ
พงัน เมื่อ พ.ศ.2520

สำหรับภูมิประเทศของ เกาะพะงัน มีภูเขาอยู่ตรงกลางเกาะ ทอดตัว
จากทิศเหนือจดทิศใต้ มีที่ราบทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ ส่วนทางทิศ
ตะวันออกเป็นเทือกเขาจดทะเล บางแห่งก็มีอ่าวเล็กอ่าวน้ อยเรือเข้าจอดได้
เป็นบางฤดู ช่วงมรสุมตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนมกราคม จะมีลมตะวันออก
พัดผ่านซึ่งไม่เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยว

PART THREEส่วนที่สาม

โครงสร้างของชุมชน

ด้านการปกครอง
ด้านประชากร
ด้านการศึกษา
ด้านศาสนา

๑๓

โครงสร้างของชุมชน

ด้านการปกครอง

จำนวนหมู่บ้าน เทศบาลครอบคลุมพื้นที่ หมู่ที่ 1-3 ตำบล เกาพะงัน และ
หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านใต้

จำนวนชุมชน เทศบาลได้ดำเนินการจัดตั้งชุมชนทั้งหมด จำนวน
7 ชุมชน ได้แก่

/

๑๔

โครงสร้างของชุมชน

ด้านการปกครอง

๑๕

โครงสร้างของชุมชน

ประชากร

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลเกาะพะงันครอบคลุมหมู่ที่ ๑-๓ ตำบลเกาะพะงัน

และหมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านใต้ มีเนื้อที่ประมาณ ๒๔.๖๕ ตาราง

กิโลเมตร(๑๕,๘๐๖ไร่) ประชากรในเขตเทศบาลสำรวจเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม

2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 7,075 คน เป็นชาย 3,521 คน เป็นหญิง 3,554 คน

มีครัวเรือนทั้งสิ้น 4,124 ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย

279.35 คนต่อตารางกิโลเมตร มีประชากรแฝงประมาณ 5,300 คน มีนัก

ท่องเที่ยวประมาณ 2,000 คนต่อวัน อัตราการเพิ่มของประชากร ร้อยละ

11.60 ต่อปี

๑๖

โครงสร้างของชุมชน

การศึกษา

มีสถานศึกษาในเขตเทศบาล ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่
โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่๑–๖ ระดับประถม
ศึกษา จำนวน๓ แห่ง ได้แก่โรงเรียนวัดราษฎร์เจริญ เปิดสอนระดับประถม
ศึกษาปีที่ ๑- ๖ โรงเรียนบ้านมะเดื่อหวานเปิดสอนระดับประถมศึกษาปีที่๑-๖
และโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงันเปิดสอนระดับอนุบาล และระดับประถม
ศึกษาชั้นปีที่ ๑ ถึงชั้นปีที่ ๖ คน มีพนักงานครูเทศบาล 12 คน บุคลากร
สนับสนุนการสอน1 อัตรา และเทศบาลมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งรับถ่ายโอน
ภารกิจจากกรมการพัฒนาชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๕ จัดการศึกษาเพื่อ
เตรียมความพร้อมเด็กก่อนวัยเรียน ๒ ระดับ ได้แก่ระดับเตรียมอนุบาล ๑
จำนวน 2 ห้องเรียน ระดับชั้นเตรียมอนุบาล ๒ จำนวน ๓ ห้องเรียน มีผู้
ดูแลเด็กทั้งหมด 10 คน และในเขตเทศบาลมีห้องสมุดประชาชน จำนวน
๑ แห่ง

๑๗

โครงสร้างของชุมชน

ศาสนา

ในเขตเทศบาลตำบลเกาะพะงัน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
มีวัด จำนวน ๒ แห่ง คือวัดราษฎร์เจริญ และวัดมธุรวราราม จำนวน
ประชาชนนับถือศาสนาพุทธร้อยละ ๙๐ ศาสนาคริสต์ร้อยละ ๘ ศาสนาอิสลาม
ร้อยละ ๒

PART FOURส่วนที่สี่

โครงสร้างของสังคม

โครงสร้างด้าน
เศรษฐกิจและอาชีพ
ความเชื่อ ประเพณี
และ พิธีกรรม
สถานทีสำคัญ
การเปลี่ยนแปลงทาง
ด้านสังคมและ
วัฒนธรรม

๑๙

โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจเเละ
อาชีพของอำเภอเกาะพะงัน ขึ้นอยู่กับ
การท่องเที่ยวและการผลิตสาขา
เกษตรกรรมเป็นหลัก การพาณิชยกรรม
และบริการประเภทกิจการค้า ส่วนใหญ่
เป็ นกิจการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว
ได้แก่ การบริการที่พัก ร้านอาหาร
ธุรกิจนำเที่ยว การขายของที่ระลึก ทำ
สวนมะพร้าว สวนผลไม้ ประมง ธุรกิจ
บ้านพักตากอากาศ การท่องเที่ยว และ
ค้าขาย การรับจ้างและแรงงาน ในธุรกิจ
ดังกล่าว

พื้ นที่การเกษตรแบ่งเป็ นสวนผล
ไม้ประมาณ ๕๐๐ ไร่ และสวนมะพร้าว
ประมาณ ๑๓,๔๐๐ ไร่ ซึ่งผลไม้ที่นิยม
ปลูก ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ลองกอง

การอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็ น
โรงงานขนาดเล็กใช้แรงงานในครอบครัว
เช่น โรงงานผลิตน้ำแข็ง โรงงานผลิต
น้ำดื่ม

ประชากรร้อยละ 90 ประกอบ
อาชีพเกษตรกรรม ทำสวนมะพร้าว
เลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน สวนผลไม้ ส่วน
การประมงก็เป็นประมงชายฝั่ง มีเรือจับ
ปลาหมึกเป็นหลัก อาชีพธุรกิจการท่อง
เที่ยวร้อยละ 5 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 5 ค
ธนาคม

๒๐

ความเชื่อ ประเพณี และ พิธีกรรม

ความเชื่อ

หลวงพ่อเพชร




**ความเชื่อของเกาะพะงันมีหลวงพ่อเพชร,หลวงพ่อพร้อม,หลวงพ่อ
หลบ ที่คนเกาะพะงันนับถือกันและเสด็จพ่อร.5ที่ประดิษฐานอยู่ที่ธารเสด็จ
(สอบถามจากคนแก่)**

น้ำตกแห่งแรกที่ "ตะลอนเที่ยว" จะพาไปตามรอยเสด็จประพาสของล้นเกล้า
ร.5 บนเกาะพะงันคือ “น้ำตกธารเสด็จ” ปัจจุบันตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติน้ำตก
ธารเสด็จอ.เกาะพะงันจ.สุราษฎร์ธานีห่างจากฝั่งจ.สุราษฎร์ธานี

ประมาณ100ก.ม.ปั จจุบันเราสามารถเดินทางกันได้สะดวกเพราะมีเรือ
โดยสารทั้งประเภทเรือด่วน เรือนอน เและเรือเฟอร์รี่เพื่อข้ามไปยังเกาะพะงัน
แต่หากย้อนไปเมื่อ 100 กว่าปีก่อนนี้ก็ต้องยกย่องว่าพระองค์ทรงวิริยะอย่างยิ่ง
ที่เสด็จไปยังเกาะพะงัน

๒๑

ความเชื่อ ประเพณี และ พิธีกรรม

ประเพณี

**ประเพณีของเกาะพะงัน คือ งานชักพระกลางทะเลมีการพายเรือแข่ง
มีการแต่งตัวสวยงามประกวดในเรือและมีการชกมวยกลางทะเลด้วยถำน้ำจับ
เป็ด (สอบถามจากคนแก่)**ประเพณีชักพระหรือลากพระทางทะเลของชาวบ้าน
บนเกาะพะงันมีมานานนับร้อยปีซึ่งก่อนหน้ านี้เป็นการทำกันแบบหมู่บ้านใคร
หมู่บ้านมันไม่ได้มีการมารวมตัวกันมาในปี นี้เป็ นปี แรกทางเทศบาลตำบล
เกาะพะงันได้ร่วมกับอำเภอเกาะพะงันจัดการรวบรวมหมู่บ้านต่างๆ มาจัดงาน
ประเพณีชักพระหรือลากพระทางทะเลขึ้นที่บริเวณอ่าวท้องศาลาเพื่ อเป็ นการ
สืบสานอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาว
ต่างชาติให้รู้จักแพร่หลายมากขึ้นโดยเฉพาะประเพณีชักพระทางทะเลถือว่าเป็ น
อันซีนของชาวเกาะเนื่ องจากมีที่นี่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทยโดยในอดีตชาว
เกาะได้ถือเอาวันแรม 8 ค่ำซึ่งเป็นวันที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดน้ำทะเลเต็มฝั่งเหมาะ
แก่การชักพระหรือลากพระทางทะเลซึ่งผิดกับงานประเพณีออกพรรษาทั่วไปที่
ถือเอาวันแรม 1 ค่ำเป็นวันชักพระหรือลากพระทางบก

พิธีกรรรม

**วันเข้าพรรษาจำวัดเย็น จำวัดเช้า เดือนสิบทำบุญตายาย ออกพรรษา
รับกฐินและมีงานประจำปี ของวัดซึ่งอาจจะคล้ายๆกับเกาะสมุย(สอบถามจากคน
แก่)** ชาวเกาะพะงันนำอาหารคาวหวานร่วมทำบุญวันสารทเดือนสิบหรือวันรับ
ตายายซึ่งเป็นวันที่ลูกหลานได้ร่วมทำบุญให้พ่อ แม่ และบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป
แล้วจัดขึ้นเพื่ อเป็ นการแสดงความกตัญญูกตเวทีเชื่ อกันว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้ องที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ได้ร่วม
ทำบุญให้โดยเชื่อว่าบรรพบุรุษที่ล่วงลับจะได้รับส่วนบุญในครั้งนี้ได้เต็มที่มี
โอกาสหมดหนี้กรรมได้ไปเกิดใหม่หรือมีความสุขสืบไป.

๒๒

สถานทีสำคัญ

หาดแม่หาด

หาดทรายขาวโค้งทอดยาวประมาณ 1

กิโลเมตร ปกคลุมด้วยต้นไม้นานาชนิดๆ เงียบ

สงบร่มรื่น เหมาะแก่การมาพักผ่อน เล่นน้ำ

ทะเล นอนอาบแดดชิลล์ๆ พร้อมด้วยไฮไลท์ใน

ช่วงเช้า ที่เราจะได้พบกับทะเลแหวกความยาว

ประมาณ 350 เมตร เชื่อมไปยังเกาะม้า ซึ่งไม่

ต้องนั่งเรือออกไปไกลๆ ก็สามารถไปสัมผัส

ความมหัศจรรย์ของท้องทะเลได้

เกาะม้า

เกาะม้า อีกหนึ่ งที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของ

เกาะพะงัน เอาใจคนชอบดำน้ำ เพราะนอกจาก

ที่นี่จะมีทะเลแหวกที่เชื่อมกับหาดแม่หาดแล้ว

ที่นี่ยังมีแนวปะการังที่สมบูรณ์ ทั้งปะการังอ่อน

ปะการังโขด ดอกไม้ทะเล และปลาหลากหลาย

ชนิดอยู่รอบๆ บริเวณเกาะ เป็นจุดดำน้ำแบบ

สน็อกเกิ้ลที่ถือได้ว่าสวยที่สุดบนเกาะพะงันเลย

ทีเดียว

อ่าวโฉลกหลำ
แวะไปเลือกซื้อพร้อมทานอาหารทะเลสดๆ กัน
ที่อ่าวโฉลกหลำ ศูนย์กลางแห่งวิถีชีวิต หมู่บ้าน
ชาวประมงบนเกาะพะงัน อ่าวโฉลกหลำเป็น
อ่าวขนาดใหญ่ หาดทรายขาวละเอียด น้ำทะเล
สีฟ้ าใส มีความยาวชายฝั่งประมาณ 3.5
กิโลเมตร โดยบริเวณกลางอ่าวเป็นสะพาน
เทียบเรือประมงส่งความสดของอาหารทะเลขึ้น
ฝั่ง นอกจากจะมีความสดส่งตรงจากทะเลแล้ว
ที่นี่ยังมีกิจกรรมเอ็กซ์ตรีม ไว้ให้นักท่องเที่ยว
ที่สนใจได้มามันส์กันอีกด้วย

๒๓

สถานทีสำคัญ

อุทยานแห่งชาติธารเสด็จ
พื้นที่ของอุทยานครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะพะงัน ที่อยู่โดย

รอบเกาะพะงัน มีสภาพพันธุ์พืชอุดมสมบูรณ์ ภายในพื้นที่อุทยานฯ ยังมีน้ำตก
ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ อย่างน้ำตกธารเสด็จ ธารน้ำไหล เหมาะสำหรับไป
พักผ่อนหย่อนใจ และที่นี่ยังเป็นน้ำตกที่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี เคย
เสด็จประพาสหลายรัชกาลและทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อไว้บนก้อนหิน
บริเวณใกล้ๆ เป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของที่นี่

เรือหลวงพะงัน
ที่เรือหลวงพงัน บริเวณหาดท้องศาลา เรือรบลำใหญ่ มีอายุประการปฏิบัติ
ภาระให้กองทัพเรอไทยกว่า 40 ปี และได้ปลดระวางเมื่อปี 2551 ภายในท้อง
เรือยังมีการจัดนิทรรศการภาพถ่ายไว้ให้นักท่องเที่ยวชมเรื่องราวที่สำคัญอีก
วัดพุทธเจดิยาราม
เปลี่ยนบรรยากาศไปไหว้พระเสริมบุญ เที่ยวหนึ่งในโบราณสถานที่มีคุณค่า
ทางประวัติศาสตร์ ด้วยสิ่งก่อสร้างสำคัญอย่างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่
มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทสีขาว สูงตระหง่าน 10 เมตร และมีอายุกว่าร้อย
ตั้งอยู่บนยอดเขา ทำให้มีบรรยากาศที่เงียบสงบ เหมาะที่จะมานั่งวิปัสสนากร
รมมฐาน ทำจิตใจให้สงบ ก่อนกลับไปลุยงานที่เคร่งเครียด
วัดเขาถ้ำ

ไหว้พระทำบุญกันอีกสักนิด ที่วัดบนยอดเขา กับบรรยากาศร่มรื่น สบายๆ
ภายในมีพระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปป่าเลไลยก์ไว้ให้สักการะบูชากัน
ด้วยบรรยากาศที่เงียบสงบ ที่วัดนี้จึงเป็นอีกที่หนึ่งที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย
และชาวต่างชาตินิยมมานั่งวิปัสนา และนอกจากจะได้ไหว้พระรับบุญกันแล้ว ที่
นี่ยังถือได้ว่าเป็ นอีกหนึ่ งจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกดินที่สวยงามของเกาะพะงัน

อ่าวศรีธนู
การชมพระอาทิตย์ตกสวยๆ ที่อ่าวศรีธนู เป็นอ่าวที่มีอีกหนึ่งหาดสวยเป็น
อันดับสามของเกาะพะงัน หาดทรายขาวละเอียดเป็นแนวยาว บรรยากาศเงียบ
สงบ สามารถลงเล่นน้ำได้ทั้งวัน ตลอดแนวชายหาด หรือถ้าอยากหากิจกรรม
อื่นๆ ทำ ที่นี่ก็ยังสามารถดำน้ำดูปะการัง และเก็บภาพสวยๆ ของแสงแดดใน
ยามที่พระอาทิตย์ตกดิน

๒๔

การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม

วัฒนธรรม กระบวนการเรียนรู้ของผู้คน
การเรียนรู้เป็ นกระบวนการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ที่ค่อน

ข้างถาวรเนื่ องจากประสบการณ์ที่บุคคลได้รับจากการฝึ กฝนเรียนรู้จะส่งผลให้
เกิดทักษะความชํานาญในการคิด การตัดสินใจ มีเจตคติที่ดีต่อตนเอง
ครอบครัว ชุมชน และสังคม การศึกษาวัฒนธรรมกระบวนการเรียนรู้ของผู้คน
ในชุมชนเกาะพะงัน ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบสุตมยปัญญา
จินตมยปัญญา และภาวนามัยปัญญาดังนี้
1. การเรียนรู้แบบสุตามยปัญญา เป็นการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน โดยการรับรู้ผ่าน
ทางการพบเห็นสิ่งต่างๆ การอ่านและการฟัง
2. การเรียนรู้แบบจินตามยปัญญา เป็นการเรียนรู้ที่มีรากฐานมาจากสุตมัย
ปั ญญาแล้วพัฒนามาเป็ นจินตามยปั ญญา
3. การเรียนรู้แบบภาวนามยปัญญา เป็นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติซึ่งมีฐานมา
จากการฟัง การอ่านการดูแล้วมาคิดมาจินตนาการ

วัฒนธรรมการทํางานของผู้คน
1. วัฒนธรรมการทํางานแบบจารีตนิยม เป็นการทํางานที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่
อดีตจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง ในช่วงปีพ.ศ. 2430-2500 การเดินเข้าออกจาก
เกาะพะงันและแผ่นดินใหญ่ค่อนข้างลําบาก กลุ่มคนที่อาศัยอยู่บนเกาะพะงันมี
น้ อย ซึ่งแบ่งได้2กลุ่ม คือ กลุ่มคนไทยจะประกอบอาชีพทําสวน ทําไร่เลี้ยงสัตว์
เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก และกลุ่มคนจีนที่อพยพเข้ามาจะประกอบ
อาชีพค้าขาย ทําประมง ทําเหมืองแร่เก็บรังนกอีแอ่นขาย
2. วัฒนธรรมการทํางานแบบจริตนิยม เป็นรูปแบบการทํางานในลักษณะการคิด
เองทําเอง เป็นการคิดพัฒนาจากอาชีพเดิมสู่อาชีพใหม่ๆที่สร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
3. วัฒนธรรมการทํางานแบบอํานาจนิยม เป็นการทํางานในลักษณะที่มีแรงผลัก
ดันจากระบบต่าง ๆ ของสังคมที่มีอยู่ในขณะนั้น

๒๕

การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม

วัฒนธรรมการผลิตและการบริโภคของผู้คน

1.จารีตการผลิตและการบริโภค จารีตการผลิตของชาวเกาะพะงันในอดีต
ตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ.2430-2452จนถึงปัจจุบันมีการประกอบอาชีพดังนี้ อาชีพทํา
สวนมะพร้าวและทําสวนผลไม้,อาชีพการทําประมง ,อาชีพทําเหมืองแร่,อาชีพ
ทํารังนกอีแอ่น
2.นวัตกรรมการผลิตและการบริโภคนวัตกรรมการผลิตของชาวเกาะพะงันมี
การเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

ส่วนที่ห้า PART FIVE

ศักยภาพตำบล

การดำเนินการโครงการยกระดับ
เศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบ
บูรณาการ
การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพ
ใหม่(การยกระดับสินค้าOTOP/อา
ชีพอื่นๆ)
การสร้างและพัฒนา Creative
Economy (การยกระดับการท่อง
เที่ยว)
การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการ
ชุมชน(Health care/เทคโนโลยี
ด้านต่างๆ)
การส่งเสริมด้านสิ่ง
แวดล้อม/circular economy(การ
เพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน)

๒๗

การดำเนินการโครงการยกระดับเศรษฐกิจ
และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

จากการสำรวจตำบลเกาะพะงันมีความสมบูรณ์ทางทะเล มีแหล่งดำน้ำที่
สวยงาม เช่น เกาะม้า เกาะราฮัม เกาะแต ใน เกาะแตนอก มีนักท่องเที่ยวดำน้ำ
บริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งการดำน้ำแต่ละครั้ง นักท่องเที่ยวจะทาครีม
กันแดด ให้อาหารปลา และพวกขยะต่างๆที่ทิ้งบริเวณแนวชายฝั่ง ปกติครีม
กันแดดจะมีสารเคมีที่เป็ นอันตรายต่อปะการังก่อให้เกิดสารฟอกขาวแก่ปะการัง
และรบกวนระบบสืบพันธุ์ของปะการังและพวกขนม อาหารที่ให้ปลากินนั้นเป็น
อันตรายต่อปะการัง และทำลายที่อยู่อาศัยของปลา หลังจากทางกลุ่มได้
สอบถามข้อมูลและปัญหาต่างๆในชุมชน โดยสอบถามข้อมูลจากกลุ่ม phangan
sea guardianและผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานต่างๆของเกาะพะงัน พบว่า กลุ่มชาว
ประมงชายฝั่งเกิดปัญหาขาดรายได้ เนื่องจากปะการังมีความเสียหายทำให้ปลา
ไม่มีที่อยู่อาศัย และพวกขยะต่างๆ เช่น อวนแหของชาวประมงหลุดติดตาม
ปะการัง ชาวประมงขาดจิตสำนึกในการรักษาปะการัง และความรู้ด้านต่างๆใน
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล ทางกลุ่มจึงได้นำปัญหานี้มาจัดทำโครงการ
เพื่อฟื้ นฟูปะการังใต้ท้องทะเลแนวชายฝั่ง เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านแนว
ชายฝั่งในการช่วยอนุรักษ์และฟื้ นฟูปะการัง นอกจากนี้ชุมชนต้องการให้มีการ
ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนและสินค้าOTOPและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง
ธรรมชาติ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ตลอดจนการทำงานผลิตภัณฑ์ชุมชน
ที่มีอยู่มากมายที่แตกต่างหลากหลายโดยบูรณาการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย
หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่

๒๘

การดำเนินการโครงการยกระดับเศรษฐกิจ
และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

โครงการ“อนุรักษ์และฟื้ นฟูแหล่งอาหารเพื่อความยั่งยืนของชุมชนและยกระดับ
เศรษฐกิจผลิตภัณฑ์สินค้าโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลชุมชนเกาะพะงัน”



1.อนุรักษ์และฟื้ นฟูแหล่งอาหารเพื่อความยั่งยืนของชุมชน
2.ฝึ กทักษะการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางท้องทะเล
3.ส่งเสริมสัมมาชีพและสร้างทักษะการประกอบอาชีพแก่ประชาชนหรือครัว
เรือนที่มีรายได้น้ อยในพื้นที่ตำบลเกาะพะงันอำเภอเกาะพะงันจังหวัด
สุราษฎร์ธานี
4.ยกระดับเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนเกาะพะงันด้วยระบบ
เทคโนโลยีดิจิทัล

วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรมในการดำเนินการ



1) เพื่ออนุรักษ์และฟื้ นฟูแหล่งอาหารเพื่อความยั่งยืนของชุมชน
2) เพื่อฝึกทักษะการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางท้องทะเล
3) เพื่อส่งเสริมสัมมาชีพและสร้างทักษะการประกอบอาชีพแก่ประชาชนหรือครัว
เรือนที่มีรายได้น้ อยในพื้นที่
ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนเกาะพะงันด้วย
ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล

๒๙

การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่
(การยกระดับสินค้าOTOP/อาชีพอื่นๆ)

โครงการ “ยกระดับเศรษฐกิจและ
พัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน
เกาะพะงันด้วยระบบเทคโนโลยี
ดิจิทัล”คือการจัดทำสินค้า OTOP
ขึ้นเพื่ อเป็ นการสร้างรายได้ให้กับ
คนในพื้นที่ เนื่องจากปัญหาไวรัส โค
วิด 19 ส่งผลกระทบต่อคนในชุมชน
ซึ่งทำให้รายได้ลดลงทำให้ทางกลุ่มมี
ความต้องการที่จะจัดทำโครงการ
ฟื้ นฟูให้คนในชุมชนมีรายได้
หมุนเวียน เพื่อเสริมสร้างฝึกทักษะ
การทำอาหารทะเลตากแห้งและ
อบรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีการ
ตลาดทางสื่อโซเซียลที่สามารถใช้ใน
การค้าขายออนไลน์ให้แก่ชาวบ้านใน
ชุมชนตำบลเกาะพะงัน

๓๐

การสร้างและพัฒนา Creative Economy
(การยกระดับการท่องเที่ยว)

โครงการ “ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง
อนุรักษ์ใต้ท้องทะเลพะงัน”คือการจัด
ทำบ้านปลา หรือ ซั้ง เพื่อเป็นบ้าน เป็น
แหล่งอนุบาลสัตว์ให้แก่ปลาและสัตว์
น้ำในท้องทะเล นอกจากนี้ ยังได้มีการ
จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ รวม
ถึงสื่อวิดีโอ เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้
ความเข้าใจถึงที่มาและความสำคัญ
ของบ้านปลา เพื่อเสริมสร้างและปลูก
ฝั งจิตสำนึกรู้รักษ์ท้องทะเลให้แก่ชาว
บ้านในชุมชนตำบลเกาะพะงัน

๓๑

การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน
(Health care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ)

การอบรมให้ความรู้ด้าน
เทคโนโลยีการตลาดทางสื่อโซ
เซียลที่สามารถใช้ในการค้าขาย
ออนไลน์ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน
ตำบลเกาะพะงันเพื่อมาช่วยใน
การส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์

๓๒

การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/circular economy
(การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน)

โดยจะจัดอบรมให้คนในชุมชน
โดยหลักสูตรที่เลือกมาเป็ นหลัห
สูตรที่นำไปใช้ต่อยอดได้และ
เข้าใจง่าย เช่น การสร้างอาชีพ
โดยการทำผลิตภัณฑ์ปลาตาก
แห้ง จากปลาข้างเหลือง และ
ปลาอินทรีย์

ภาคผนวก

๓๔

กิจกรรมCovid-week
วันที่ 27-28 เมษายน 2564

๓๕

เข้าเยี่ยมครัวเรือยากจนในพื้นที่ตำบลเกาะพะงัน
วันที่ 29 เมษายน 2564

๓๖

กิจกรรมCovid-week ประจำเดือนมิถุนายน
วันที่ 7 มถุนายน 2564

๓๗

กิจกรรมปลูกฟ้าทะลายโจร
วันที่ 16 ตุลาคม 2564

" ร.5 ธารเสด็จ หลวงพ่อเพชรศูนย์รวมใจ
พระจันทร์สวย ทะเลใส หาดทรายขาว ปะการัง

แพรวพราว เพชรกลางอ่าว เมืองคนดี "

คำขวัญอำเภอเกาะพะงัน

● ต้องตั้งเป้าหมาย

'...การทำงานใดๆ ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ควรอย่างยิ่งที่จะตั้งเป้าหมาย ขอบเขต
และหลักการไว้ให้แน่นอน เพราะจะช่วยให้สามารถ ปฏิบัติมุ่งเข้าสู่ผล
สำเร็จได้โดยตรง และถูกต้องพอเหมาะพอดี เป็นการป้องกัน และขจัด

●ความล่าช้า ความสิ้นเปลือง ความเสียเปล่า ทุกอย่างได้อย่างสิ้นเชิง...'

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๐


Click to View FlipBook Version