The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การศึกษาผลสัมฤทธิ์และเจตคติที่ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดในการจัดการเรียนการสอน กรณีศึกษารายวิชาการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ของนักศึกษาระดับชั้น ปวช.2 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ จังหวัดแพร่

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by basketballs.iit, 2019-09-16 22:33:19

วิจัยในชั้นเรียน1_ุ62

การศึกษาผลสัมฤทธิ์และเจตคติที่ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดในการจัดการเรียนการสอน กรณีศึกษารายวิชาการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ของนักศึกษาระดับชั้น ปวช.2 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ จังหวัดแพร่



ช่ือเร่ืองวิจัยในช้ันเรียน การศึกษาผลสมั ฤทธ์ิและเจตคติที่ใชก้ ารจดั การเรียนรู้โดยใชแ้ ผนที่

ความคิดในการจดั การเรียนการสอน กรณีศึกษารายวิชาการจดั การ

ผลิตภณั ฑท์ อ้ งถ่ิน ของนกั ศึกษาระดบั ช้นั ปวช.2 สาขาวิชาการตลาด

วทิ ยาลยั อาชีวศึกษาแพร่ จงั หวดั แพร่

โดย : นายนิพนธ์ ร่องพืช

สาขาวิชา : การตลาด

.............................................................................................................................................................

บทคัดย่อ

การศึกษาคร้ังน้ีมีวตั ถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธ์ิในการจดั การเรียนรู้โดยใช้แผนที่

ความคิด และ ศึกษาเจตคติท่ีดีในการจดั การเรียนรู้โดยใชแ้ ผนท่ีความคดิ ของรายวิชาการประกนั ภยั

รหัสวิชา 2202-2109 ของนักเรียนช้ัน ปวช.2 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่

ประชากรท่ีใชใ้ นการศึกษาคร้ังน้ี ไดแ้ ก่ นกั เรียนสาขาวิชาการตลาด ช้นั ปี ที่ 2 จานวน 34 คน โดย

ใชก้ ลุม่ ตวั อยา่ ง คือ นกั เรียนระดบั ช้นั ปวช. 2 สาขาวชิ าการตลาด จานวน 34 คน วทิ ยาลยั อาชีวศึกษา

แพร่ จงั หวดั ลาปาง ท่ีเรียนวิชาการจดั การผลิตภณั ฑท์ อ้ งถ่ิน รหสั วิชา 2202-2109 ภาคเรียนที่ 1

ปี การศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใชใ้ นการวิจยั ไดแ้ ก่แบบสอบถามความพงึ พอใจ แบบทดสอบก่อน –

หลงั การใช้การจดั การเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด มีการวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉล่ีย ส่วน

เบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า T-test จากการศึกษาดงั กล่าวพบว่าค่าร้อยละความพึงพอใจของกลุ่ม

ตวั อย่างในการจดั การเรียนรู้โดยใช้แผนท่ีความคิดในรายวิชาการประกันภยั โดยรวมนักเรียนมี

ความพึงพอในอยู่ใน ระดับมาก ค่าเฉล่ียความพึงพอใจของกลุ่มตวั อยา่ งที่ในการจดั การเรียนรู้โดย

ใชแ้ ผนท่ีความคดิ ในรายวิชาการประกนั ภยั โดยรวมกลุ่มตวั อยา่ งมีความพงึ พอใจอยใู่ น ระดับมาก มี

ค่าเฉล่ียเท่ากบั 4.30 และเมื่อพิจารณาเป็ นรายขอ้ พบว่ากลุ่มตวั อย่างมีความ พึงพอใจต่อใช้สื่อการ

เรียนการสอน ผลการทดสอบก่อนและหลงั การจดั กิจกรรมการเรียนรู้โดยใชแ้ ผนท่ีความคิดพบว่า

ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนหลงั จากการทาแบบทดสอบดีข้ึน เมื่อเทียบกับผลสัมฤทธ์ิ

ทางการเรียนก่อนการจดั กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด แบบทดสอบวดั ผลสัมฤทธ์ิ

ทางการเรียนมีคะแนนทดสอบหลงั การใชก้ ารจดั การเรียนรู้โดยใชแ้ ผนท่ีความคดิ คะแนน มากกวา่

คะแนนก่อนการใชก้ ารจดั การเรียนรู้โดยใชแ้ ผนท่ีความคิดคะแนน อยา่ งมีนยั สาคญั ทางสถิติที่ระดบั

0.01 แสดงวา่ การใชก้ ารจดั การเรียนรู้โดยใชแ้ ผนท่ีความคิดคะแนนในรายวิชาการประกนั ภยั ทาให้

กลุ่มตวั อยา่ งมีผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนสูง และเจตคติท่ีดีต่อการจดั การเรียนรู้ดงั กลา่ ว



กติ ตกิ รรมประกาศ

วิจยั ในช้นั เรียนฉบบั น้ีสาเร็จไดด้ ว้ ยความกรุณาจากผอู้ านวยการ รองผอู้ านวยการฝ่ าย และ
หวั หนา้ สาขาวชิ าการตลาด ที่ไดก้ รุณาใหค้ าปรึกษา แนะนา แกไ้ ขขอ้ บกพร่องต่าง ๆ เสร็จสมบูรณ์
ผศู้ ึกษาขอกราบขอบพระคุณเป็นอยา่ งสูงไว้ ณ โอกาสน้ี

ขอกราบขอบพระคุณ คณาจารย์สาขาวิชาการตลาด ท่ีได้ให้คาแนะนาแก่ผูศ้ ึกษาตลอด
ระยะเวลา การศึกษา

ขอขอบใจนกั เรียนช้นั ปวช.2 สาขาวิชาการตลาดท่ีใหค้ วามร่วมมือในการทาวจิ ยั ในช้นั เรียน
คร้ังน้ี จนทาใหส้ าเร็จลลุ ว่ งได้

ขอขอบพระคณุ ครอบครัวและญาติพี่นอ้ งทกุ คนที่คอยใหก้ าลงั ใจตลอดระยะเวลาท่ีผ่านมา
คุณค่าท้งั มวลที่ไดจ้ ากการศึกษาคร้ังน้ี ขอมอบใหแ้ กJทุกท่านท่ีไดเ้ อ่ยนามและผทู้ ี่มิไดเ้ อ่ยนามมาน้ี
ทกุ ท่านดว้ ยความเคารพ

นิพนธ์ ร่องพชื

สารบญั ง

เรื่อง หน้า
บทคดั ยอ่ ก

กิตติกรรมประกาศ ง

สารบญั 1
3
สารบญั ตาราง 8
12
บทท่ี 1 บทนา 17
บทท่ี 2 เอกสารทฤษฎีที่เก่ียวขอ้ ง 20
บทที่ 3 วิธีดาเนินการวิจยั 21
บทท่ี 4 ผลการศึกษา 22
บทท่ี 5 สรุปผล อภิปรายผลและขอ้ เสนอแนะ

บรรณานุกรม
ภาคผนวก ก (แบบสอบถามความพึงพอใจ)
ภาคผนวก ข (แบบทดสอบก่อนเรียน/หลงั เรียน)

สารบัญตาราง จ

ตารางท่ี แสดงค่าร้อยละความพึงพอใจของกลุ่มตวั อยา่ งท่ีเรียนรายวิชา หน้า
ตารางท่ี 4.1 การจดั การผลิตภณั ฑท์ อ้ งถิ่น 12
แสดงคา่ เฉล่ียความพึงพอใจของกลุม่ ตวั อยา่ งท่ีในการจดั การ 13
ตารางท่ี 4.2 เรียนรู้โดยใชแ้ ผนท่ีความคิดในรายวชิ าการจดั การผลิตภณั ฑ์
ทอ้ งถ่ิน 15
ตารางที่ 4.3 แสดงผลคะแนนก่อนการวจิ ยั และผลคะแนนหลงั การวจิ ยั 16
ตารางที่ 4.4 แสดงการทดสอบคะแนนก่อน / หลงั การจดั กิจกรรมการเรียนรู้
โดยใชแ้ ผนท่ีความคิดโดยใชส้ ถิติทดสอบ

บทที่ 1
บทนำ

1. ความสำคัญและที่มาของงานวจิ ัย

ในการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้
เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์คือ ดี เก่ง มีสุข อีกทั้งนี้ยังเป็นการเรียนทีช่ ่วยใหผ้ ู้เรียนมี
วธิ ีการเรียนร้มู ากกว่าเป็นการสอนความรู้และในการจดั การเรียนร้โู ดยมุ่งเน้นรูปแบบที่สง่ เสริมกระบวนการคิดโดย
ใช้แผนที่ความคิดเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเชื่อมโยงกับความรู้และ
ประสบการณ์เดิม ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ( meaningful learning ) ต่อผู้เรียนแทนการเรียนรู้
แบบท่องจำ ( rote learning )แผนที่ความคิดเป็นวิธีพัฒนาความสามารถในการจำรูปแบบหนึ่ง ที่สอดคล้องกับ
ลักษณะการทำงานของสมอง กล่าวคือ เป็นการทำงานร่วมกันของสมองทั้งซีกซ้ายและขวา( กาญจนา คุณารักษ์
2545 : 353 ) โดยสมองซีกซ้ายทำหน้าที่วิเคราะห์ใช้เหตุผลเชิงตรรกะ และจดจำข้อมูลที่มีลักษณะเป็นขั้นตอน
หรือเป็นส่วนย่อย ๆ เช่น ตัวอักษร ข้อความ ในขณะที่กระบวนการทำงานของสมองซีกขวาจะรับรู้ข้อมูลเปน็ ภาพ
สัญลักษณ์ จินตนาการ (Wycoff1991 : 56 )การจัดการเรียนรู้ที่ใช้แผนที่ความคิดจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถจดจำ
ข้อมูลได้ดี โดยใช้ทักษะการจัดระบบโครงสร้างของความรู้ การทำความเข้าใจเนื้อหา และความสัมพันธ์ของ
ความคดิ รวบยอด ( Romance and Vitale 1999 , อ้างถึงใน วิสาข์ จตั ิวัตร 2545 : 1 ) นอกจากนยี้ งั มีผลงานวจิ ัย
ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดแล้วประสบผลสำเร็จอาทิเช่นประภาวัลย์ แพร่วานิชย์ ( 2543 :
บทคัดย่อ )วิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แผนผังทางปัญญา เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิด
สร้างสรรค์ของนกั ศกึ ษาพยาบาล โดยใช้รปู แบบการจัดการเรยี นรทู้ ่มี ุ่งเนน้ แผนผงั ทางปญั ญาใหผ้ ูเ้ รยี นระดมสมองมี
เป้าหมายให้มีความคิดที่อิสระ และมีความคิดที่หลากหลาย เพื่อนำมาสร้างแผนผังทางปัญญา ผลการวิจัยพบว่า
นักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดสร้างสรรคห์ ลงั การจัดการเรียนรู้สูงกว่ากลุ่ม
ควบคุม อยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถิตทิ ีร่ ะดับ0.05

ในส่วนของการนำแผนที่ความคิดมาใช้กับเนื้อหาในรายวิชาการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นน่าจะมีความ
เหมาะสมเพราะรายวชิ าการจัดการผลติ ภัณฑ์ท้องถิ่นมเี นือ้ หามากและซบั ซ้อนยากต่อการจดจำ ผเู้ รยี นจงึ ต้องเรียน
โดยอาศัยความจำและความเข้าใจ ฉะนั้นถ้าใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดจะทำให้ผู้เรียนสามารถ
เชื่อมโยงความคิดหลักกับความคิดย่อยได้และเป็นการกระตุ้นความคิดทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นอีก
ดว้ ย

2. วตั ถปุ ระสงคข์ องการวิจัย

1.เพื่อศึกษาผลสมั ฤทธิใ์ นการจดั การเรยี นรโู้ ดยใช้แผนท่ีความคิด
2.เพื่อศึกษาเจตคติท่ดี ีในการจัดการเรียนรโู้ ดยใชแ้ ผนทีค่ วามคดิ

2

3.ขอบเขตการวจิ ัย

3.1 ประชากรและตัวอย่าง
3.1.1 ประชากร
ประชากรท่ีใช้ในการวจิ ัยครง้ั นี้ นักศกึ ษาระดบั ช้ัน ปวช.2 สาขางานการตลาด วิทยาลยั อาชีวศกึ ษาแพร่
รวมทง้ั สิ้น 63 คน
3.1.2 ตัวอย่าง
ตัวอยา่ งท่ใี ชใ้ นการวจิ ัยครงั้ น้ี ผูว้ ิจัยได้เลอื กนกั เรยี นจำนวน 29 คน
3.2 ตัวแปรทศี่ ึกษา
3.2.1 ตัวแปรอสิ ระ ( independent variables ) ได้แกว่ ิธีการจดั การเรยี นรโู้ ดยใช้แผนทคี่ วามคดิ
3.2.2 ตวั แปรตาม ( dependent variables ) ได้แก่ ผลสัมฤทธทิ์ างการเรียนและเจตคติตอ่ การเรยี น
รายวชิ าการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิน่

4. ระยะเวลาทใ่ี ช้ในการวิจยั

การทดลองครง้ั นผี้ ูว้ จิ ยั ได้ทดลองในภาคเรยี นที่ 1 ปีการศกึ ษา 2562 กำหนดเวลาทดลองทั้งสน้ิ 72
ชั่วโมง โดยใชเ้ วลาสอนสัปดาหล์ ะ 4 ชัว่ โมง รวม 18 วนั

5. นยิ ามศัพท์เฉพาะ

5.1 แผนทค่ี วามคดิ ( Mind Mapping ) หมายถงึ เทคนิควิธีการทใ่ี ชใ้ นการสรปุ เนื้อหาโดยการเชอื่ มโยง
ความคดิ รวบยอด และรายละเอยี ดทสี่ ำคัญเขา้ ด้วยกันในรปู ของแผนภมู หิ รือภาพเพ่อื ช่วยในการจำ

5.2 การจัดการเรยี นร้โู ดยใชแ้ ผนท่ีความคิด หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาการจดั การ
ผลิตภัณฑท์ ้องถิน่ โดยใช้แผนท่ีความคิดในขั้นตอนใดขน้ั ตอนหนึ่งของแผนการจดั การเรยี นรูท้ ผี่ วู้ ิจยั สรา้ งข้ึน อาจจะ
เป็นข้นั นำ ขนั้ สอน หรือข้นั สรุป

5.3 ผลสัมฤทธ์ทิ างการเรียน หมายถงึ คะแนนทีไ่ ดจ้ ากการทดสอบวดั ผลสมั ฤทธิ์ในรายวิชาการจดั การ
ผลิตภัณฑท์ อ้ งถน่ิ

5.4 เจตคตใิ นการจัดการเรยี นรู้ หมายถึงความรสู้ ึก ความคิด หรอื พฤติกรรมท่ีตรงกบั สภาพความเป็นจริง
ของกลุ่มตัวอยา่ งท่ีแสดงออกมาในคุณลกั ษณะด้านความมีเหตุผลความอยากรู้อยากเหน็ การเป็นคนใจกวา้ ง การ
เปน็ คนซ่ือสตั ย์และใจเป็นกลาง การมี ความเพยี รพยายาม และการคิดละเอยี ดรอบคอบก่อนตัดสินใจ

6. ประโยชนท์ ่ไี ด้รบั จากการวิจัย

6.1 ผ้เู รียนมผี ลสัมฤทธ์ใิ นการจดั การเรยี นรโู้ ดยใช้แผนท่ีความคดิ
6.2 ผู้เรยี นมีเจตคติที่ดใี นการจัดการเรียนรู้โดยใชแ้ ผนท่ีความคดิ

3

บทที่ 2
การศึกษาเอกสารและงานวจิ ัยท่ีเกยี่ วขอ้ ง

1. บทนำ

ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนศึกษาในปัจจุบันพยายามที่จะฝึกฝนอบรมจิตใจของ เยาวชน
รู้ผิดชอบชั่วดีมากขึ้น การอบรมจริยธรรมในโรงเรียนจะเป็นเสมือนสายป่านที่คอยเหนี่ยวรั้งและฉุดดึงให้เด็กได้มี
สภาพจติ ใจทเี่ ข้าถึงคุณงามความดีของชวี ติ (สมุ น, 2526 : 47) การพฒั นาจรยิ ธรรมคณุ ธรรมใหเ้ ป็นแกน่ สารในการ
ดำเนินชีวิตเพื่อประโยชน์สุขและสันติสุขแห่งตนสังคมไทยและสังคมโลก(กระทรวงศึกษาธิการ, 2540 : 22) โดยมี
การพัฒนาให้เด็กทุกคนเป็นคนเก่ง คนดี สุขภาพแข็งแรง มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เพื่อส่งเสริมและ
ปลูกฝังจริยธรรมให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียนโดยตรง มิใช่เพียงแค่ให้ความรู้ด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว เหมือนดังท่ี
สาโรช บัวศรี (2505 : 1) ได้กล่าวไว้ว่า “...ไม่ว่าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยใด ๆ หากจะปลูกฝังเพียงให้การศึกษา
ทางวิชาการ (academic subject) หรือวิชาชีพ (vocational subject) ล้วน ๆ แต่อย่างเดียวแก่นักเรียน นิสิต
นักศึกษา โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรมอื่น ๆ เช่น การมีความรับผิดชอบ การจริยศึกษา และการมีจริยธรรมสงู ก็นับได้
วา่ โรงเรียนหรอื มหาวิทยาลยั น้ันยังไมไ่ ดท้ ำหน้าทีใ่ ห้หมด ยังไม่ได้สนองความตอ้ งการของชุมชนหรอื
ของประเทศชาติโดยสมบรู ณ์...”

2. ผงั กราฟกิ (graphic organizers)

ผังกราฟิกคือแบบของการสื่อสารเพื่อใช้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมอย่างเป็นระบบมีความเข้าใจ
ง่าย กระชับ กะทัดรัด ชัดเจน ผังกราฟิกได้มาจากข้อมูลดิบหรือความรู้จากแหล่งต่างๆ มาทำจัดกระทำข้อมูลใน
การจัดกระทำข้อมูลต้องใช้ทักษะการคิดเช่น การสังเกต การเปรียบเทียบ การแยกแยะ การจัดประเภท
การเรียงลำดับ การใช้ตัวเลขเช่นค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และการสรุปเป็นต้นจากนั้นมีการเลือกแบบผังกราฟิกเพื่อ
นำเสนอขอ้ มูลที่จัดกระทำแลว้ ตามเปา้ หมายหรือวตั ถปุ ระสงค์ทีผ่ ้นู ำเสนอต้องการ

3. ประโยชนข์ องผังกราฟิกนำเสนอ

1. เปน็ การพัฒนาการคิดในระดบั สงู
2. ชว่ ยใหผ้ ้เู รยี นเข้าใจสงิ่ ท่ีเรียน
3. ช่วยให้ผเู้ รยี นสามารถจำไดเ้ ปน็ ความจำถาวร
4. ชว่ ยให้ผู้เรยี นพฒั นาปัญญาอย่างหลากหลาย (multiple intelligences) เช่น

4. ผังกราฟกิ มีหลายประเภทหรอื หลายแบบ (Kagen , 1988) เชน่

7.1 แผนผงั เวนน์ ไดอะแกรม Venn Diagram (ผงั เปรียบเทียบ)
7.2 ผังคำสำคญั (Word web)
7.3 ผงั มโนทศั น์ (Concept map)
7.4 Mind Mpping
7.5 แผนภาพการสรา้ ง Thinking Classroom สู่ Thinking School
7.6 ผังกราฟกิ เสนอความสัมพนั ธ์ (relational organizers)

4

5. Mind Map คือ อะไร

Mind Mapหรือแผนที่ความคิด เป็นวิธีการบันทึกความคิดเพื่อให้เห็นภาพของความคิดที่หลากหลาย
มุมมอง ที่กว้าง และที่ชัดเจน โดยยังไม่จัดระบบระเบียบความคิดใดๆทั้งสิ้น เป็นการเขียนตามความคิด ที่เกิดขึ้น
ขณะนัน้ การเขยี นมลี กั ษณะเหมือนต้นไมแ้ ตกกง่ิ กา้ น สาขาออกไปเร่ือยๆ ทำให้สมองไดค้ ดิ ไดท้ ำงานตามธรรมชาติ
อย่างและมีการจินตนาการกว้างไกลแผนที่ความคิด ยังเป็นวิธีการหนึง่ ทีใ่ ชใ้ นการบันทึกความคิดของการอภิปราย
กลมุ่ หรอื การระดมความคิด โดยใหส้ มาชิกทุกคนเสนอความคิดเหน็ และวิทยากรจะทำการ จดบันทึกด้วยคำส้ันๆ
คำโตๆ ให้ทุกคนมองเห็น พร้อมทั้งโยงเข้าหากิ่งก้านที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อรวบรวมความคิดที่หลากหลายของทุกคน
ไวใ้ นแผน่ กระดาษแผ่นเดยี ว ทำใหท้ ุกคนได้เห็นภาพความคิดของผูอ้ ืน่ ได้ชัดเจน และเกดิ ความคิดใหม่ตอ่ ไปได้

6. ความเปน็ มาของ Mind Map

แผนที่ความคิด เป็นการนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์ อย่างสูงสุด นาย ธัญญา ผล
อนันต์ เปน็ ผ้นู ำความคิดและวิธีการเขียนแผนที่ความคดิ เข้ามาใช้ และเผยแพร่ในประเทศไทย ผคู้ ดิ รเิ ร่ิมคือโทนี บู
ซาน (Tony Buzan) เป็นชาวองั กฤษ เป็นผู้นำเอาความรู้เรอ่ื งสมองมาปรบั ใชเ้ พ่ือการเรยี นรขู้ องเขา โดยพัฒนาการ
จากการจดบันทึกแบบเดิมท่ี เป็นตวั อักษร เปน็ บรรทัด ๆ เปน็ แถว ๆ ใช้ปากกาหรือดินสอในการจดบันทึก เปล่ียน
มาเป็นบันทึกด้วยคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่รัศมี ออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของ กิ่งไม้ โดยใช้
สีสัน การเขียนแผนที่ความคิดของโทนี บูซาน เป็นการบันทึกในทุกๆเรื่อง ทั้ง ชีวิตจริงส่วนตัวและการงาน เช่น
การวางแผน การตดั สนิ ใจ การช่วยจำ การแก้ปญั หา การ นำเสนอ และการเขียนหนังสอื เปน็ ตน้ การบันทึกแบบนี้
เป็นการใช้ทกั ษะการทำงานร่วมกัน ของสมองทั้งสองซกี คือ ซีกซ้าย วิเคราะห์ คำ ภาษา สัญลักษณ์ ระบบ ลำดับ
ความเป็นเหตุ เป็นผล ส่วนสมองซีกขวา จะทำหน้าที่สังเคราะห์คิด สร้างสรรค์ จินตนาการ ความงาม ศิลปะ
จงั หวะ โดยมีแถบเส้นประสาทคอร์ปสั คอโลซ่ัมเป็นเสมือนสะพานเช่ือม

7. หลกั การเขียน Mind Map

การเขยี น Mind Map ใช้กระดาษแผ่นเดียว การเขียนใช้สีสนั หลากหลาย ใชโ้ ครงสร้างตามธรรมชาติท่ีแผ่
กระจายออกมาจุดศูนย์กลาง ใช้เส้นโยง มีเครื่องหมาย สัญลักษณ์ และรูปภาพที่ผสมผสานร่วมกันอย่างเรียบง่าย
สอดคล้องกบั การทำงานตามธรรมชาตขิ องสมอง

8. วธิ กี ารเขียน Mind Map

8.1 เตรยี มกระดาษเปลา่ ท่ีไม่มีเสน้ บรรทดั และวางกระดาษภาพแนวนอน
8.2 วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรอื แสดงถึงเรือ่ งจะทำ Mind Map กลางหนา้ กระดาษโดย
ใช้สอี ย่างนอ้ ย 3 สี และตอ้ งไม่ตกี รอบด้วยรปู ทรงเรขาคณิต
8.3 คิดถงึ หวั เร่อื งสำคญั ท่เี ป็นสว่ นประกอบของเรือ่ งทท่ี ำ Mind Map โดยใหเ้ ขียนเปน็ คำ ทมี่ ลี กั ษณะ
เป็นหนว่ ย หรอื เป็นคำสำคัญ (Key Word) สนั้ ๆ ท่มี ีความหมาย บนเสน้ ซึ่งเส้นแตล่ ะเส้นจะตอ้ งแตกออกมาจาก
ศนู ยก์ ลางไมค่ วรเกนิ 8 กิ่ง
8.4 แตกความคิดของหัวเรือ่ งสำคญั แต่ละเรอ่ื งในข้อ 3 ออกเป็นก่ิง ๆ หลายกง่ิ โดยเขียนคำหรือวลบี น
เสน้ ที่แตกออกไป ลักษณะของก่งิ ควรเอนไมเ่ กนิ 60 องศา
8.5 แตกความคดิ รองลงไปที่เป็นสว่ นประกอบของแตล่ ะก่ิง ในขอ้ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเสน้ ทแี่ ตก
ออกไป ซ่ึงสามารถแตกความคดิ ออกไปเรื่อยๆ

5

8.6 การเขียนคำ ควรเขียนดว้ ยคำทเ่ี ปน็ คำสำคญั (Key Word) หรอื คำหลัก หรือเป็นวลีที่มคี วามหมาย
ชดั เจน

8.7 คำ วลี สญั ลักษณ์ หรือรูปภาพใดทตี่ ้องการเนน้ อาจใชว้ ธิ กี ารทำใหเ้ ด่น เชน่ การลอ้ มกรอบ หรือใส่
กลอ่ ง เปน็ ต้น

8.8 ตกแต่ง Mind Map ทเ่ี ขียนด้วยความสนุกสนานท้ังภาพและแนวคิดทีเ่ ช่อื มโยงต่อกัน

9. ข้อดีของการทำแผนท่คี วามคดิ

9.1 ทำใหเ้ ห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของหวั ข้อใหญ่ หรือขอบเขตของเรื่อง
9.2 ทำใหส้ ามารถวางแผนเสน้ ทางหรอื ตดั สินใจได้อยา่ งถูกต้อง เพราะร้วู า่ ตรงไหนกำลงั จะไปไหนหรอื
ผา่ นอะไรบา้ ง
9.3 สามารถรวบรวมข้อมลู จำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกนั
9.4 กระต้นุ ให้คิดแก้ไขปญั หา โดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ ๆ ทส่ี ร้างสรรค์
9.5 สรา้ งความเพลิดเพลินในการอ่านและงา่ ยต่อการจดจำ

10. สรปุ

Mind Map เปน็ แผนที่ความคิดท่ีอจั ฉรยิ ะ เปรียบเสมือนลายแทงท่ีนำไปสู่ การจดจำ การเรียบเรียง การ
จัดระเบยี บข้อมลู ตามธรรมชาติ การทำงานของสมองต้ังแต่ตน้ นน่ั หมายความว่า การจำและฟื้นความจำ หรือการ
เรยี กขอ้ มลู เหลา่ นนั้ กลับมาใชใ้ นภายหลงั จะทำได้ง่าย และมคี วามถูกตอ้ งแมน่ ยำกว่าการใช้เทคนคิ การจดบันทึก
แบบเดมิ

11. ความหมายของเจตคติ

เจตคติ มาจากภาษาอังกฤษว่า Attitude ซึ่งเดิมเป็นภาษาลาติน มาจากคำว่า “Aptus’ แปลว่า “โน้ม
เอยี ง” และ “เหมาะสม” ดังนน้ั แอน อนาสตาซี (Anne Anastasi) จงึ ได้ให้ความหมายของเจตคตวิ า่ “เป็นความ
โน้มเอียงที่จะมีปฏิกริ ิยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าในทางชอบ ไม่ชอบ เช่น เชื้อชาติ ประเพณี สถาบัน หรือสิ่งใดสิ่งหน่งึ
หรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หน่ึง” เฟรดเดอริก เจ. แมคโดแนลด์ (Frederic J. Mc. Donall) ได้ให้ความหมาย
ว่า“เจตคติ คือ ความพร้อมที่จะแสดงออกในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง อาจจะเน้นเข้าหาหรือหนี หรือต่อต้าน
เกี่ยวกับบุคคล สถานการณ์ หรอื สงิ่ ใดสงิ่ หนึ่ง เช่น รัก เกลยี ด กลวั ไมพ่ อใจต่อสง่ิ น้ัน

ศพั ท์บัญญตั ิทางวชิ าการศึกษาของไทย ใหค้ วามหมายวา่ “ เจตคติ หมายถงึ ทา่ ทีความรู้สกึ ของคน ซ่ึงเปน็
อำนาจหรอื แรงขับอย่างหนึง่ ทแ่ี ฝงอยู่ในจิตใจมนุษย์ และพรอ้ มทจ่ี ะกระทำอย่างใดอย่างหนงึ่ “

จากแนวความคิดต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถสรปุ ไดว้ ่า “เจตคติ คอื สภาพจติ ใจของบุคคลแต่ละบุคคลทีเ่ กิด
จากประสบการณ์ หรือการเรียนรู้ และมีความพร้อมเพื่อท่จี ะแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ หรือ
สถานการณ์ต่าง ๆ ในทางใดทางหนึ่ง เชน่ ชอบ ไม่ชอบ สนับสนุน เป็นต้น”

6

12. องคป์ ระกอบของเจตคติ

เจตคตจิ ะเกดิ ขน้ึ ได้ จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
12.1 ความคิด (Cognitive Component) เมื่อบคุ คลมีการปะทะ (Interaction) ต่อสิง่ ต่าง ๆ หรือ
สถานการณ์ต่าง ๆ มนุษยจ์ ะเกดิ ความคิดเห็นตอ่ ส่งิ ตา่ ง ๆ และเกดิ การรับรู้ (Perception) หลังจากการรับรู้ ทำให้
มนษุ ยเ์ กิดแนวความคดิ วา่ ส่งิ น้ันหรือสถานการณ์หรอื สภาพการณน์ ้ัน ถูกต้องหรือไม่ถกู ต้อง เหมะสมหรอื ไม่
เหมาะสม ดหี รือไม่ดี เปน็ ตน้
12.2 ความรสู้ ึก (Affective Component) เกิดจากอารมณ์ของบคุ คล ที่มีผลสบื เนื่องจกแนวความคดิ ต่อ
สง่ิ ต่าง ๆ ถา้ บุคคลมีความคดิ ทด่ี ตี อ่ ส่งิ ใด ก็จะมีความร้สู ึกที่ดีตอ่ สิง่ นั้น ชอบหรอื ไมช่ อบ ความรัก ความโกรธ ความ
เกลียด ความพอใจ ความไม่พอใจ เปน็ ตน้
12.3 พฤติกรรม (Behavioral Cmponent) เมอื่ บุคคลมีความคดิ ความรูส้ กึ เกิดข้นึ ผลที่ตามมา คือ การ
แสดงพฤตกิ รรมเพื่อตอบสนองตอ่ สิ่งน้ัน เช่น แสดงออกในการยอมรบั ไมย่ อมรบั ปฏิเสธ หรอื สนับสนุน หรือคัดค้าน
เหล่านเ้ี ปน็ ตน้

7

บทที่ 3
วิธีดำเนนิ การวิจัย

การวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์และเจตคติที่ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดในการจัดการ
เรยี นการสอนกรณศี กึ ษารายวชิ าการจดั การผลติ ภณั ฑ์ท้องถิน่ ของได้ดำเนินการตามขน้ั ตอน ดงั น้ี

1. ประชากรและตวั อย่าง / แหล่งขอ้ มลู

1. 1 ประชากร
ประชากรทีใ่ ช้ในการวจิ ยั คร้งั นี้ คือ นกั ศึกษาระดับช้ันปวช.2 สาขางานการตลาด วทิ ยาลัยอาชวี ศกึ ษา
แพร่ จงั หวดั แพร่ ผวู้ จิ ยั ทกี่ ำลังเรยี นวิชารายวิชาการจดั การผลติ ภัณฑ์ท้องถิ่น ภาคเรยี นท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2562
จำนวน 1 ห้องเรียน รวมท้งั ส้นิ 29 คน
1.2 กลุ่มตวั อยา่ ง
ตัวอยา่ งท่ใี ชใ้ นการวจิ ัยเป็นนักศึกษาระดบั ชน้ั ปวช.2 วทิ ยาลยั อาชวี ศึกษาแพร่ จงั หวดั แพร่ ทกี่ ำลงั เรยี น
รายวชิ าการจัดการผลิตภณั ฑ์ท้องถนิ่ ภาคเรยี นท่ี 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวนท้งั สน้ิ 29 คน

2. เครอื่ งมอื ทใ่ี ช้ในการทดลอง

ประกอบไปด้วยแบบทดสอบกอ่ น / หลงั เรียน แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้แผนท่ีความคดิ ในการ
จดั การเรียนการสอน ซงึ่ มีลักษณะและรายละเอยี ดดงั นี้

1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิโดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก
จำนวน 40 ขอ้ เพือ่ ใหน้ กั เรียนศึกษาและปฏิบตั ิเกีย่ วกับ การจัดการผลติ ภัณฑ์ทอ้ งถนิ่ เน้อื หาในบทเรียนทง้ั
9 บทได้แก่

1. ความรทู้ ั่วไปเกีย่ วกบั ผลติ ภัณฑท์ อ้ งถิน่
2. หลกั การจัดการผลิตภณั ฑ์ท้องถน่ิ
3. วสิ าหกิจชุมชน
4. ประเภทผลิตภัณฑท์ ้องถ่ิน
5. การพฒั นาผลิตภัณฑท์ อ้ งถนิ่
6. การตลาดผลติ ภณั ฑ์ท้องถน่ิ
7. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักธรรมาภบิ าลกับการจัดการผลติ ภณั ฑ์ทอ้ งถ่ิน
8. กฎหมายและองค์การทเี่ ก่ียวข้องกบั การจดั การผลติ ภณั ฑท์ ้องถิ่น
2.แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นการประเมินความพึงพอใจและเจตคติของนักเรียนเมื่อได้เรียนรู้จาก
การจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนดว้ ยแผนท่คี วามคิดโดยคำถามมี 10 ข้อได้แก่
1. นักเรียนจดั และรวบรวมข้อมูลได้
2. นกั เรียนจับสาระหลกั ของเนอ้ื หาได้
3. นักเรยี นเช่ือมโยงสาระเนื้อหาได้
4. นกั เรียนจดั โครงสรา้ งความคดิ ก่อนเขยี นรายละเอยี ดได้
5. นักเรยี นแบง่ กลุม่ ขอ้ มูล
6. นักเรียนมคี วามคิดสรา้ งสรรค์
7. นกั เรียนมคี วามกระตือรอื รน้
8. นกั เรียนมคี วามคดิ รวบยอด

8

9. นกั เรียนเขา้ ใจบทเรียน
10.นักเรยี นมผี ลคะแนนดขี ึ้น

3. ขัน้ ตอนการสร้าง

1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์โดยใช้แบบทดสอบก่อน / หลังเรยี น มขี ัน้ ตอนการสรา้ งต่อไปนี้
1.1 ศึกษาจดุ ประสงคร์ ายวิชา มาตรฐานรายวิชา คำอธิบายรายวิชาและลกั ษณะรายวิชาการจดั การ
ผลติ ภณั ฑท์ ้องถนิ่
1.2 ศึกษาเนื้อหาและกำหนดเนอ้ื หารายวชิ าการจดั การผลติ ภณั ฑท์ ้องถนิ่
1.3 เลอื กรปู แบบแบบทดสอบกอ่ น – หลงั เรยี นและรา่ งข้อสอบในรปู แบบทีเ่ ลอื กไว้จำนวน 40 ขอ้
1.4 ตรวจสอบความถูกต้องตามลักษณะข้อสอบท่ีดี
1.5 จัดทำเป็นแบบทดสอบฉบับร่าง
1.6 นำข้อสอบฉบับรา่ งไปทดลองใช้กบั กลุม่ ตัวอยา่ งท่ีมีลักษณะใกล้เคียงกบั กลมุ่ ทีใ่ ชเ้ กบ็ รวบรวมข้อมลู
จรงิ ในการวิจยั
1.7 วเิ คราะหห์ าคณุ ภาพของแบบทดสอบไดแ้ ก่ ความยากงา่ ย อำนาจจำแนกและความเชื่อมน่ั วา่ มี
คุณภาพตามเกณฑ์ท่ีกำหนดหรือไม่
1.8 หากขอ้ สอบไม่ไดต้ ามเกณฑค์ ุณภาพอาจมีการปรบั เปล่ียน ปรบั ปรงุ หรือตัดทง้ิ ออกไป
1.9 จดั ขอ้ สอบเข้าฉบบั และพิมพ์เปน็ แบบทดสอบฉบบั สมบรู ณ์
2. แบบสอบถามความพึงพอใจเพ่ือวัดเจตคติ มขี ้นั ตอนการสร้างดงั น้ี
2.1 ศกึ ษาวตั ถุประสงค์ของการวจิ ัย
2.2 กำหนดประเด็นในการสอบถามไว้ 10 ด้านไดแ้ ก่
1. นกั เรยี นจัดและรวบรวมข้อมลู ได้

2. นกั เรียนจับสาระหลกั ของเน้ือหาได้
3. นักเรยี นเชอื่ มโยงสาระเนื้อหาได้
4. นักเรียนจดั โครงสร้างความคิดก่อนเขยี นรายละเอียดได้
5. นกั เรียนแบง่ กลุ่มขอ้ มูล
6. นกั เรียนมคี วามคดิ สรา้ งสรรค์
7. นักเรยี นมีความกระตือรอื รน้
8. นกั เรียนมคี วามคดิ รวบยอด
9. นกั เรยี นเข้าใจบทเรียน
10.นกั เรยี นมผี ลคะแนนดขี ้นึ
2.3 พิจารณาแตล่ ะหวั ขอ้ คำถามวา่ มีชัดเจนทางภาษาเหมาะท่ีจะใชก้ ลมุ่ ตัวอยา่ งจะสอบถามหรอื ไม่
2.4 กำหนดแบบสอบถามที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดบั
5 หมายถงึ มคี วามพึงพอใจในระดับมากที่สดุ
4 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดบั มากที่สุด
3 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดบั มากท่สี ุด
2 หมายถงึ มคี วามพึงพอใจในระดับมากท่สี ดุ
1 หมายถงึ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สดุ
2.5 สร้างแบบสอบถามความพงึ พอใจ ตามประเดน็ และรปู แบบคำถาม
2.6 จดั พมิ พ์แบบสอบถามความพงึ พอใจฉบบั สมบรู ณ์

9

3. การเกบ็ รวบรวมข้อมลู
การเก็บรวบรวมข้อมลู ผวู้ ิจัยดำเนนิ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรยี นชั้น ปวช.2 สาขางานการตลาด
จำนวน 29 คน (กล่มุ ตวั อย่าง) ในภาคเรียนท่ี 1 ปกี ารศกึ ษา 2562 รายวชิ าการจัดการผลิตภัณฑ์ทอ้ งถ่นิ

4. การวเิ คราะห์ข้อมูลและสถิติทใี่ ช้
4.1 การวิเคราะห์ผลการวจิ ยั ไดด้ ำเนินการดงั นี้
1. ใช้การคำนวณหาค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เพื่ออธิบายแนวโน้มเข้าสู่
ส่วนกลาง และการกระจายของข้อมูล กรณีที่ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า สูตรในการหา
คา่ เฉลยี่ และค่าส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐานมดี งั นี้

4.1.1.1 สูตรสำหรบั หาค่าเฉลย่ี

X = x

n

เม่อื X แทน ค่าเฉลีย่

x แทน คะแนนการตอบ

n แทน จำนวนกลุ่มตัวอยา่ ง

4.1.1.2 สูตรสำหรบั หาค่าส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน

SD = (x − x)2

n −1

เม่อื SD แทน คา่ สว่ นเบ่ยี งเบนมาตรฐาน

X แทน ค่าเฉล่ีย

x แทน คะแนนการตอบ

n แทน จำนวนกลมุ่ ตวั อย่าง

4.2 การนำคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากแบบทดสอบก่อนและหลัง

การใชก้ ารจัดการเรยี นรูโ้ ดยใชแ้ ผนทค่ี วามคิด โดยใชค้ า่ t-test มีสูตรคือ
t= D
(D)2
 D2 -
N

N(N - 1)

t แทน คา่ สถติ ิ t-test
D แทน ความแตกตา่ งระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียน
D แทน คา่ เฉล่ียของ D

D2 แทน ผลรวมความแตกต่างของคะแนนยกกำลงั สอง

N แทน จำนวนกลมุ่ ตวั อย่าง

10

บทท่ี 4
ผลการศกึ ษา

การวเิ คราะห์ขอ้ มลู แบง่ เป็น 2 สว่ นแต่ละสว่ นจะเสนอผลการวิเคราะห์เปน็ ตารางประกอบและแผนภาพ
ประกอบดงั นี้

ส่วนท่ี1 ข้อมูลเกี่ยวกบั ความพงึ พอใจและเจตคตขิ องผตู้ อบแบบสอบถามในการจัดการเรยี นรู้โดยใช้แผนที่
ความคดิ ให้แกน่ กั เรียนในรายวชิ าการการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถ่ิน

สว่ นท่2ี ข้อมลู แสดงคะแนนผลสัมฤทธ์ิก่อนและหลงั การจัดการเรยี นรู้โดยใชแ้ ผนทค่ี วามคดิ นักเรียน
ระดบั ชน้ั ปวช.2 สาขางานการตลาด วิทยาลยั อาชีวศกึ ษาแพร่ จำนวน 29 คน (กลุ่มตัวอย่าง) ที่เรียนกำลัง
ศกึ ษาอยใู่ นภาคเรยี นที่ 1 ปกี ารศึกษา 2562 รายวิชาการจัดการผลติ ภณั ฑ์ท้องถน่ิ

ส่วนท1่ี
ข้อมูลเกย่ี วกับความพึงพอใจและเจตคตขิ องผ้ตู อบแบบสอบถามในการจัดการเรยี นร้โู ดยใช้แผนท่คี วามคดิ

ใหแ้ กน่ ักเรยี นในรายวชิ าการการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถ่ินรหสั วิชา 2201 – 2109
สญั ลกั ษณ์ทีใ่ ช้ในการวเิ คราะห์ข้อมลู ดงั นี้
X แทน คา่ คะแนนเฉลี่ย
S.D. แทน ค่าส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน
t-test แทน ค่าสถติ ิทดสอบ

11

ตารางท่ี 4.1 แสดงค่ารอ้ ยละความพงึ พอใจของกลุม่ ตวั อยา่ งท่ีเรียนรายวิชาการจดั การผลติ ภณั ฑ์ท้องถ่นิ

ที่ มากทส่ี ุด ระดับคะแนน น้อยท่ีสดุ รวม ค่าเฉล่ยี
มาก ปานกลาง น้อย เลขคณิต

1 4 23 2 0 0 29
13.79 79.31 6.90 0.00 0.00 100.00 4.07

2 13 15 1 0 0 29

44.83 51.72 3.45 0.00 0.00 100.00 4.41

3 9 19 1 0 0 29

31.03 65.52 3.45 0.00 0.00 100.00 4.28

4 14 13 5 2 0 34

41.18 38.24 14.71 5.88 0.00 100.00 4.15

5 8 18 3 0 0 29
27.59 62.07 10.34 0.00 0.00 100.00 4.17

6 13 15 1 0 0 29

44.83 51.72 3.45 0.00 0.00 100.00 4.41

7 15 12 2 0 0 29
51.72 41.38 6.90 0.00 0.00 100.00 4.45

8 9 19 1 0 0 29

31.03 65.52 3.45 0.00 0.00 100.00 4.28

9 18 9 2 0 0 29

62.07 31.03 6.90 0.00 0.00 100.00 4.55

11 16 1 1 0 29

10

37.93 55.17 3.45 3.45 0.00 100.00 4.28

ค่าเฉล่ยี รวม 4.30

ระดบั ความพงึ พอใจโดยรวม มาก

จากตารางที่ 4.1 แสดงค่าร้อยละความพงึ พอใจของกลุ่มตวั อย่างในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่
ความคิดในรายวิชาการจดั การผลิตภณั ฑท์ ้องถน่ิ โดยรวมนักเรยี นมคี วามพงึ พอในอยู่ใน ระดับมาก

12

ตารางที่4.2 แสดงคา่ เฉล่ียความพงึ พอใจของกลมุ่ ตัวอย่างทีใ่ นการจดั การเรียนร้โู ดยใชแ้ ผนท่คี วามคดิ ในรายวิชา
การจัดการผลติ ภัณฑ์ท้องถ่นิ

ท่ี ขอ้ มูลเก่ียวกบั การดำเนินการวิจยั X S.D. ระดบั ความพึง
พอใจ

1. นกั เรยี นจดั และรวบรวมขอ้ มูลได้ 4.07 0.45 มาก

2. นักเรียนจับสาระหลักของเนอ้ื หาได้ 4.41 0.56 มาก

3. นกั เรียนเช่ือมโยงสาระเน้ือหาได้ 4.28 0.52 มาก

4. นักเรยี นจัดโครงสร้างความคิดกอ่ นเขยี นรายละเอยี ดได้ 4.15 0.88 มาก

5. นักเรยี นแบ่งกลุ่มข้อมูลได้ 4.17 0.59 มาก

6. นกั เรียนมีความคดิ สร้างสรรค์ 4.41 0.56 มาก

7. นกั เรียนมคี วามกระตือรือร้น 4.45 0.62 มาก

8. นกั เรียนมีความคดิ รวบยอด 4.28 0.52 มาก

9. นักเรยี นเข้าใจบทเรยี นได้ 4.55 0.62 มากทีส่ ดุ

10. นกั เรยี นมผี ลคะแนนดีขน้ึ 4.28 0.69 มาก

รวม 4.30 0.60 มาก

จากตารางที่4.2 แสดงค่าเฉล่ียความพึงพอใจของกลุ่มตวั อย่างที่ในการจัดการเรียนรโู้ ดยใช้แผนที่ความคิด
ในรายวิชาการจัดการผลิตภณั ฑท์ อ้ งถ่นิ โดยรวมกลมุ่ ตัวอย่างมีความพงึ พอใจอยู่ใน ระดับมาก มีคา่ เฉล่ยี เทา่ กับ
4.30 และเมอื่ พจิ ารณาเปน็ รายขอ้ พบว่ากลุม่ ตัวอยา่ งมีความพงึ พอใจต่อใช้สื่อการเรียนการสอนใน ระดบั มากถึง
มากทสี่ ดุ

แผนภมู แิ สดงความพงึ พอใจการจดั การเรยี นรโู้ ดยใชแ้ ผนทค่ี วามคดิ

80 มากทสี่ ุด
มาก
70 ปานกลาง
นอ้ ย
60 นอ้ ยทส่ี ุด

50
รอ้ ยละ 40

30

20

10

0
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ขอ้

จากแผนภมู ิวงกลมข้อที่ 4.2 แสดงคา่ ร้อยละแสดงความพึงพอใจในระดับคะแนนมากทีส่ ุดคือข้อท่ี 9
นักเรียนเขา้ ใจบทเรยี นได้ มีค่าร้อยละ 62.07 ระดับคะแนนค่ามาก คือข้อที่ 1 นักเรียนจดั และรวบรวมข้อมลู ได้
มคี า่ ร้อยละ 79.31 ระดบั คะแนนปานกลาง คือ ข้อที่ 4 นักเรียนจัดโครงสรา้ งความคิดก่อนเขียนรายละเอยี ดได้

13

มีค่าร้อยละ 14.71 ระดับคะแนนคา่ น้อย คือ ขอ้ ท่ี มคี ่าร้อยละ 0 และระดบั คะแนนน้อยท่ีสดุ มีคา่ รอ้ ยละ 0 ของ
กลุม่ ตวั อย่างท่ีเรยี นวชิ ารายวชิ าการจดั การผลติ ภณั ฑ์ท้องถ่ิน

สรปุ ขอ้ คิดเหน็ จากแบบสอบถามความพึงพอใจ
การจัดการเรียนรโู้ ดยใชแ้ ผนทค่ี วามคดิ ในการจัดกจิ กรรมการเรียนการสอนทำใหน้ ักเรยี นมคี วามกระ-

ตอื รอื ร้นมากขึ้นมีความคดิ รวบยอดเกดิ ความคิดสร้างสรรค์เข้าใจหลกั การและเนื้อหาแต่ละบทเรียนมากขึน้ และ
สนกุ กบั การเรยี นมากขึน้ ควรจะมีการจัดกจิ กรรมการเรียนการสอนในลกั ษณะแบบน้ีทุกๆวชิ าและทุกๆ บทเรียน
และสง่ ผลใหก้ ารประเมนิ ผลตามสภาพจริงอยู่ในระดับดี
ส่วนท่2ี

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนจากการให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนและหลังใช้สื่อ
การเรยี นการสอน(CAI) ซงึ่ เป็นแบบทดสอบเปน็ แบบปรนยั จำนวน 40 ขอ้ ไดผ้ ลดังน้ี

ตารางท่ี 4.3 แสดงผลคะแนนกอ่ นการวจิ ัยและผลคะแนนหลงั การวจิ ัย

คะแนน

นักเรยี นคนที่ ผลคะแนนกอ่ นการวจิ ยั ผลคะแนนหลังการวิจยั
40 คะแนน 40 คะแนน
1 18 29
2 20 35
3 25 38
4 17 28
5 25 33
6 12 20
7 18 22
8 22 28
9 15 24
10 28 34
11 20 25
12 19 29
13 20 30
14 23 34
15 25 39
16 22 33
17 24 29
18 25 34
19 12 26
20 19 30
21 22 32
22 28 36
23 24 32

14

24 19 31
25 25 37
26 20 30
27 8 20
28 28 35
29 17 29

จากตารางท่ี 4.3 แสดงผลการทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนร้โู ดยใชแ้ ผนทค่ี วามคิดพบว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจากการทำแบบทดสอบดีขึ้น เมื่อเทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน
การจดั กจิ กรรมการเรียนรู้โดยใชแ้ ผนทคี่ วามคิด

ตารางท่ี 4.4 แสดงการทดสอบคะแนนก่อน / หลงั การจัดกจิ กรรมการเรียนร้โู ดยใชแ้ ผนทค่ี วามคิดโดยใช้สถติ ิ
ทดสอบ

แบบทดสอบวัด X S.D. t-test
ผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรียน 0.01
7.42 1.701
แบบทดสอบก่อนใช้ 9.02 18.279

แบบทดสอบหลังใช้

จากตารางที่ 4.4 พบว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมคี ะแนนทดสอบหลังการใชก้ ารจัดการ
เรียนรโู้ ดยใช้แผนทค่ี วามคิดคะแนน มากกวา่ คะแนนก่อนการใช้การจดั การเรียนรู้โดยใชแ้ ผนที่ความคดิ คะแนน
อยา่ งมนี ัยสำคญั ทางสถิติทีร่ ะดับ 0.01 แสดงว่าการใช้การจดั การเรียนรูโ้ ดยใชแ้ ผนที่ความคดิ คะแนนในรายวิชา
การจดั การผลติ ภัณฑ์ทอ้ งถิ่นทำใหก้ ลมุ่ ตวั อยา่ งมผี ลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นสูง และเจตคตทิ ดี่ ีต่อการจดั การเรียนรู้
ดงั กลา่ ว

15

บทท่ี 5
สรปุ ผล อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์และเจตคติที่ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดในการจัดการ
เรียนการสอนกรณีศึกษารายวิชาการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของนักศึกษาระดับชั้นปวช.2 สาขางานการตลาด
วิทยาลยั อาชีวศึกษาแพร่ จังหวัดแพร่

ผู้วิจัยไดส้ รปุ ผลเรยี งตามลำดับขัน้ ตอนดังน้ี
1. จุดมุ่งหมายของการวจิ ัย
2. วิธีดำเนินการวิจยั
3. เครอ่ื งมอื ที่ใช้ในการวจิ ยั
4. การเก็บรวบรวมข้อมลู
5. ผลการวจิ ัย
6. อภปิ รายผล
7. ข้อเสนอแนะ

1. จดุ มุง่ หมายของการวจิ ยั

เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์และเจตคติที่ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดในการจัดการเรียนการสอน
กรณีศึกษารายวิชาการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของนักศึกษาระดับชั้นปวช.2 สาขางานการตลาด วิทยาลัย
อาชวี ศึกษาแพร่ จังหวัดแพร่

2. วธิ ดี ำเนินการวิจัย

2.1 ประชากรและกลุ่มตวั อย่างท่ีใชใ้ นการศึกษาวจิ ัย
2.1.1. ประชากร : นักเรียนระดับชั้นปวช. 2 สาขางานการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่

จงั หวัดแพร่ จำนวน 34 คน
2.1.2. กลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนระดับชั้นปวช. 2 สาขางานการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่

จงั หวดั แพร่ จำนวน 29 คน

3. เคร่ืองมือท่ีใชใ้ นการวิจยั

1. แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นการประเมินความพงึ พอใจและเจคติในการจัดการเรียน
การสอนโดยใช้แผนทีค่ วามคิด

2. แบบทดสอบกอ่ น-หลงั การใชก้ ารจัดการเรยี นรู้โดยใชแ้ ผนท่ีความคิด เพื่อให้นักเรียน
เข้าใจหลกั และกระบวนการจัดการผลติ ภณั ฑ์ท้องถ่ิน วสิ าหกจิ ชุมชน ประเภทผลติ ภัณฑ์ท้องถ่ิน การพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ทอ้ งถิน่ การตลาดผลิตภัณฑ์ท้องถน่ิ หลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง และหลักธรรมาภบิ าลกบั การ
จัดการผลิตภัณฑ์ท้องถน่ิ กฎหมายและองค์การท่ีเก่ยี วขอ้ งกบั การจดั การผลติ ภณั ฑ์ท้องถน่ิ

16

4. การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล

การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนระดับชั้น
ปวช. 2 สาขางานการตลาด วิทยาลัยอาชวี ศึกษาแพร่ จำนวน 29 คน (กล่มุ ตัวอย่าง) ที่เรียนกำลังศึกษา
อยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 วิชาการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นพร้อมนำไปวิเคราะห์หาค่าร้อยละ
คา่ เฉล่ยี สว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐาน และคา่ T-test

5. ผลการวิจยั

1. การเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อน / หลังใช้สื่อการจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้แผนที่ความคิดใน
การจัดการเรียนการสอนกรณีศึกษารายวิชาการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น พบว่าคะแนนหลังการจัดการเรียนรู้ สูง
กว่า ก่อนการจัดการเรยี นรู้โดยใช้แผนท่ี อย่างมีนัยสำคญั ทางสถติ ิทรี่ ะดับ .01

2. การเปรียบเทียบร้อยละของระดับความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีค่าเฉลี่ยความพึง
พอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใชแ้ ผนทีค่ วามคิด รายวิชาการจัดการผลติ ภัณฑ์ท้องถิ่น โดยรวม
กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 62.07 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ากลุ่ม
ตัวอยา่ ง มีความพึงพอใจตอ่ ใชส้ ่อื การเรียนการสอนในระดบั มากถงึ มากทส่ี ดุ

6. อภิปรายผลการวจิ ัย

จากผลการวิจัยพบว่าเมื่อมีการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดในการจัดการเรียนการสอน
กรณศี ึกษารายวิชาการจดั การผลติ ภัณฑ์ทอ้ งถน่ิ มาใชแ้ ล้วส่งผลทำให้นักเรียนมผี ลสมั ฤทธ์ทิ างการเรียนท่ีดีข้ึนอย่าง
เห็นได้ชัดเนื่องจากนักเรียนมีความสร้างสรรค์ ความกระตือรือร้น มีคะแนนจากการประเมินผลตามสภาพจริง
สูงข้ึน

7. ข้อเสนอแนะ

ขอ้ เสนอแนะในการทำการวจิ ัยเร่ืองศึกษาผลสัมฤทธิ์และเจตคติที่ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผน
ท่ีความคดิ ในการจดั การเรียนการสอนกรณีศึกษารายวิชาการจดั การผลิตภัณฑ์ท้องถิน่ ของนักศึกษาระดับช้ันปวช.2
สาขางานการตลาด วทิ ยาลยั อาชีวศกึ ษาแพร่ จังหวัดแพร่ ผ้วู ิจยั มีข้อเสนอแนะดังนี้

7.1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวจิ ยั ไปใช้
จากผลการประเมินครั้งนี้ ผู้ประเมินได้พบประเด็นสำคัญๆ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดตามความ

คดิ เห็นของผทู้ ำวิจยั ทีส่ มควรได้รบั การแก้ไข ปรับปรุง ดังตอ่ ไปนี้
1. นักเรยี นจดั และรวบรวมข้อมลู ได้
2. นกั เรียนจัดโครงสร้างความคิดกอ่ นเขียนรายละเอียดได้
3. นักเรียนแบง่ กลมุ่ ข้อมูลได้

7.2. ข้อเสนอแนะในการทำวจิ ยั ครัง้ ตอ่ ไป
1. ควรมีให้นักเรยี นมีการทดลองจัดและรวบรวมขอ้ มลู กอ่ น
2. ควรให้นักเรยี นจดั โครงสร้างแบบคร่าวๆ มาส่งผูส้ อนกอ่ นเพอ่ื ตรวจสอบความถกู ต้อง
3. อธิบายและช้แี นะเพม่ิ เติมในเร่อื งการแบง่ กลุ่มข้อมลู เพื่อใหม้ ีความเหมาะสม
จากข้อเสนอแนะต่างๆ ผ้วู จิ ัยจะนำการประเมินครั้งน้ีไปพจิ ารณา ปรับปรงุ พฒั นา ให้

บรรลุวตั ถุประสงค์ของการจดั ทำสือ่ การเรยี นการสอน ครง้ั ตอ่ ไป

17

บรรณานุกรม

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ.(2548)ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการ
สอน แบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พแ์ หง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั , 244 หน้า.

เกยี รตสิ ุดา ศรสี ุข.(2549).ระเบียบวิธีวิจยั .ลำปาง:โรงพมิ พค์ รองชา่ ง,พิมพ์ครง้ั ที่ 1,250 หน้า.
อรจรีย์ ณ ต๊ะกั่วทุ่ง.(2547).สุดยอดการพัฒนาการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ทจำกัด,

พมิ พค์ ร้งั ที่ 2.
อำไพ ไล้สมุทร และครณ.การจดั การผลติ ภณั ฑ์ทอ้ งถน่ิ .กรงุ เทพฯ: เอมพันธ,์ พิมพค์ รั้งท่ี 2.
ชวลิต ชูกำแพง.(2550).การประเมินการเรียนรู้Learning Assissment.มหาสารคาม: สำนักพิมพ์

มหาวทิ ยาลัยมหาสารคาม,178 หน้า
ชาล แพรัจกุล.(มปป.).เทคนิคการเขียนคำถามเลือกตอบ.กรุงเทพมหานคร: กงิ่ จนั ทรก์ ารพิมพ์.
สมศักดิ์ ภู่ภิวาดาวรรธน์.(2544).การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง.ลำปาง:The

Knowledge.
ปทีป เมธาคุณวุฒิ และทิศนา แขมมณี.(2544).การจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

,กรงุ เทพมหานคร: จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย.
http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Chuleeporn_Richtidach/Chapte
r1
http://www.duangden.com/Ethics/Ethical.html
http://goodqualityofyourlife.blogspot.com/2007/10/mind-map.html
http://www.thaiedresearch.org/result/result.php?id=5184

18

ภาคผนวก ก.

แบบสอบถามความพงึ พอใจ

การใชแ้ บบสร้างแผนท่ีความคิดกรณศี ึกษารายวชิ าการจัดการผลติ ภณั ฑ์ท้องถ่ิน รหัสวชิ า2201 – 2403 คำช้ีแจง
โปรดทำเคร่อื งหมาย / ลงในชอ่ งระดับความคดิ เหน็

ระดบั ความคิดเห็น

ลำดับ เร่อื ง ดมี าก ดี ปานกลาง นอ้ ย นอ้ ย
ที่สดุ
1. นกั เรยี นจัดและรวบรวมขอ้ มูลได้
2. นกั เรียนจบั สาระหลกั ของเน้ือหาได้
3. นักเรยี นเช่ือมโยงสาระเนื้อหาได้
4. นกั เรยี นจดั โครงสรา้ งความคิดก่อนเขยี น

รายละเอียดได้
5. นกั เรียนแบ่งกลุ่มข้อมลู ได้
6. นกั เรียนมีความคดิ สร้างสรรค์
7. นกั เรียนมีความกระตือรือรน้
8. นกั เรียนมีความคิดรวบยอด

คะแนนรวม

ขอ้ แสดงความคดิ เหน็
1. ปัญหา

............................................................................................................................. .........................................
......................................................................................... .............................................................................
............................................................................................................................. .........................................

2. อปุ สรรค
............................................................................................................................. .........................................
......................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .........................................

3. ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................. .........................................
............................................................................................................................. .........................................
......................................................................................... .............................................................................

19

ภาคผนวก ข.
แบบทดสอบก่อนเรยี น / หลงั เรยี น
รายวชิ า การจดั การผลิตภณั ฑท์ ้องถ่นิ (รหสั วชิ า 2201 - 2109)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1. ขอ้ ใดจดั เปน็ ผลติ ภัณฑท์ ้องถ่ิน
ก. ผงชูรสอายิโนะโมะโตะ๊ ทำจากแป้งมันสำปะหลงั แท้
ข. กล้วยทอดปรุงรสของดเี มืองกำแพงเพชร
ค. กล้วยแขกทอดฝีมือแม่
ง. ตกุ๊ ตาเปเปอร์มาเช่รปู หมทู ่ีนำไปส่งครู

2. ผลติ ภณั ฑ์ท้องถิน่ สอดคล้องกับข้อใด
ก. แนวคดิ เศรษฐกิจพอเพยี ง
ข. แนวคิดทนุ นยิ ม
ค. แนวคิดอนรุ ักษ์ไทย
ง. แนวคดิ การใช้ชวี ติ

3. ขอ้ ใดทเ่ี กิดจากการสง่ เสรมิ ใหช้ ุมชนผลติ ภัณฑ์ทอ้ งถน่ิ
ก. คนเมืองงย้ายถ่ินบานมาอยู่ชนบท
ข. คนชนบทยา้ ยถน่ิ ฐานเข้าเมือง
ค. คนชนบทไมเ่ ข้าไปทำงานในเมอื งใหญ่
ง. คนเมอื งมีรายได้สงู ขน้ึ

4. ประเทศใดเก่ยี วข้องกับโครงการหน่ึงตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์มากที่สดุ
ก. มาเลเซยี
ข. อังกฤษ
ค. ลาว
ง. ญป่ี ุ่น

5. ขอ้ ใดกลา่ วถูกเกย่ี วกับผลิตภัณฑท์ ้องถิ่น
ก. ใชท้ รพั ยากรภายในท้องถน่ิ
ข. ใช้เครอ่ื งมือผลติ ของท้องถ่ิน
ค. ไม่ขายให้คนในท้องถ่ิน
ง. ห้ามใชเ้ ครอ่ื งจักรในการผลิต

6. สนิ คา้ ใดแสดงถึงวฒั นธรรมทอ้ งถน่ิ และอตั ลกั ษณข์ องชุมชน
ก. ผกั สดริมสวน ตลง่ิ ชนั
ข. เครือ่ งปนั้ ดนิ เผาลายวิจิตร เกาะเกรด็
ค. ฝรั่งกิมจู นครปฐม
ง. ปลาแห้งรสอรอ่ ย ตลาดน้ำ

20

7. ผลิตภัณฑ์ทอ้ งถน่ิ ท่ชี มุ ชนร่วมกันคดิ ควรมลี ักษณะตามข้อใด
ก. สวยงาม ราคาสูง
ข. คุณภาพดี แข่งขนั ได้
ค. ใชท้ รัพยากรในท้องถิน่ ผสานกับเอกลักษณเ์ ฉพาะของท้องถนิ่
ง. ตน้ ทนุ ต่ำ ทำกำไรไดส้ ูง
8. ขอ้ ใดไม่เก่ียวขอ้ งกับเกณฑ์การคดั สรรหมู่บา้ น OTOP Village Champion
ก. People
ข. Product
ค. Place
ง. Process
9. หากต้องการสงั่ ซื้อผลิตภณั ฑท์ อ้ งถิ่นทางออนไลน์ สามารถจดั ซ้ือไดท้ ี่เวบ็ ไซตใ์ ด
ก. www.lazada.com
ข. www.Thaitambon.com
ค. www.kaidee.com
ง. www.tarad.com
10. ความรขู้ ้อใดเกย่ี วข้องกบั ผลิตภณั ฑ์ชมุ ชนและท้องถน่ิ มากทสี่ ุด
ก. นวัตกรรม
ข. เทคโนโลยีสารสนเทศ
ค. ปราชญ์ชาวบ้าน
ง. เทคนคิ การเสนอขาย
11. หากต้องการทราบผลการดำเนินการตามโครงการหน่งึ ตำบลหนึง่ ผลิตภัณฑ์ จะเกี่ยวขอ้ งกบั หนว่ ยงานใด
ก. กระทรวงมหาดไทย
ข. สำนกั นายกรัฐมนตรี
ค. สำนกั งานคณะกรรมการการอดุ มศึกษา
ง. กระทรวงพาณิชย์
12. ผทู้ มี่ สี ว่ นสำคญั ท่สี ดุ ตอ่ การประสบความสำเร็จของโครงการคือข้อใด
ก. ร้านจำหน่ายวัตถุดิบ
ข. ผ้นู ำชุมชน
ค. หนว่ ยงานเอกชน
ง. ชาวบ้าน
13. ศนู ย์บริการส่งเสรมิ เศรษฐกจิ ฐานราก มีเปา้ หมายตามข้อใดถกู ต้องทส่ี ุด
ก. สร้างความเขม้ แข็งของชุมชน
ข. สร้างจดุ เด่นของผลิตภณั ฑ์
ค. สรา้ งชอ่ งทางการจดั จำหน่ายสินค้า
ง. สร้างงานให้ชุมชน

21

14. บุคคลใดควรเขา้ ไปใชบ้ รกิ ารศนู ยบ์ ริการสง่ เสริมเศรษฐกจิ ฐานราก
ก. นายกระจา่ งเป็นปราชญ์ชาวบ้าน
ข. นายกระโดนตอ้ งการความรูเ้ กย่ี วกับการผลิตสาหรา่ ยปรุงรส
ค. นางสายสมรมที รัพยากรสำหรบั ผลิตสนิ ค้า จำนวนมาก
ง. นางศรีสำอางมีความสามารถในการออกแบบ ชดุ ผา้ ไหม

15. ข้อใดเกย่ี วข้องกับการบริการดา้ นการแลกเปล่ยี นเรยี นรูข้ องศนู ย์บรกิ ารสง่ เสริมเศรษฐกจิ ฐานราก
ก. การใหข้ ้อมูลด้านการลงทะเบยี น OTOP
ข. การเชญิ วิทยากรมาใหค้ วามรู้ดา้ นการตลาด
ค. การเชญิ ผทู้ ่ีประสบความสำเรจ็ มาถา่ ยทอดความรู้
ง. การจดั สถานทส่ี ำหรบั การเจรจาธรุ กจิ

16. ข้อใดคอื การจดั การเครือขา่ ย OTOP
ก. การแยกผผู้ ลติ ผปู้ ระกอบการ OTOP ออกเป็นหมวดหมู่
ข. การสรา้ งสถานท่เี พ่อื ใหผ้ ผู้ ลติ ผู้ประกอบการ OTOP มาทำงานรว่ มกัน
ค. การเชอ่ื มโยงผ้ผู ลิต ผูป้ ระกอบการ OTOP แตล่ ะรายเข้าด้วยกัน
ง. การประชมุ ผ้ผู ลิต ผู้ประกอบการ OTOP

17. การจัดการเครือข่าย OTOP กอ่ ให้เกดิ ผลดีตามข้อใด
ก. เกิดพลงั ในการพฒั นาการผลิต
ข. ลดต้นทนุ การผลติ
ค. การทำงานมีระบบมากข้นึ
ง. สร้างความนา่ เช่ือถือแก่ลูกค้า

18. เกณฑ์ขอ้ ใดไม่เกีย่ วข้องกบั การคัดสรรสุดยอดหนึง่ ตำบลหนง่ึ ผลติ ภัณฑ์
ก. ความเข้มแขง็ ของชมุ ชน
ข. ความเป็นมาของผลติ ภณั ฑ์
ค. คุณภาพของผลิตภณั ฑ์
ง. กระบวนการผลติ ของผลิตภณั ฑ์

19. ขอ้ ใดเปน็ ลักษณะของผลติ ภณั ฑร์ ะดับ 5 ดาว
ก. สามารถพฒั นาต่อได้อีก
ข. มีคณุ ภาพและมีศักยภาพในการส่งออก
ค. ตอ้ งประเมินศักยภาพในการสง่ ออก
ง. มจี ดุ ออ่ นมาก

20. ขอ้ ใดเป็นลักษณะของสินค้าระดบั 4 ดาว
ก. ส่งออกได้
ข. เปน็ ท่ยี อมรบั ในประเทศ
ค. มีคณุ ภาพระดับกลาง
ง. พัฒนายาก

22

21. ขอ้ ใดกล่าวถงึ วิสาหกจิ ชมุ ชนถูกตอ้ ง
ก. แสวงหากำไร
ข. เนน้ การพึ่งพาอาศยั กัน
ค. ต้องการใช้สนิ คา้ ทีม่ ีคุณภาพมากขน้ึ
ง. ระดมทุนจากชุมชน

22. ขอ้ ใดคอื ผปู้ ระกอบการวิสาหกิจชมุ ชน
ก. บคุ คลคนเดยี ว
ข. ชุมชน
ค. บริษทั เอกชน
ง. หน่วยงานรฐั บาล

23. ขอ้ ใดกล่าวถึงจุดประสงค์หลักของวิสาหกิจชุมชนได้ถูกต้อง
ก. มงุ่ สูต่ ลาดโลก
ข. หวงั กำไรสงู สุด
ค. แข่งขันในตลาดผบู้ ริโภค
ง. สร้างรายไดแ้ ละพ่ึงพาตนเอง

24. ขอ้ ใดเป็นจุดด้อยของทชี่ ุมชนทำมาก่อน
ก. ใช้ทนุ สงู
ข. ขาดบุคลากร
ค. ผลติ สนิ คา้ จำนวนมากแต่ไมม่ บี ทบาทรองรบั
ง. เน้นการประกอบธรุ กจิ

25. ชมุ ชนใดมคี วามพร้อมสำหรับการทำวิสาหกิจชมุ ชนมากทส่ี ดุ
ก. ชุมชนทม่ี ีความสัมพนั ธ์กนั เป็นอย่างดี
ข. ชมุ ชนที่มคี วามมัธยสั ถ์
ค. ชุมชนทไ่ี มม่ ีผู้นำ
ง. ชมุ ชนทีต่ า่ งคนตา่ งอยู่

26. เครอื ข่ายวิสาหกจิ ชุมชนมีความสำคัญตามข้อใด
ก. มีช่ือเสยี งมากขน้ึ
ข. มคี วามน่าเชอื่ ถือมากข้นึ
ค. มพี ลงั และความเข้มแข็งมากข้นึ
ง. รฐั บาลควบคมุ ง่ายขนึ้

27. หน่วยงานใดมบี ทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เปน็ แกนกลางใหว้ สิ าหกิจชมุ ชนเกิดพลงั ในการขบั แคล่อื น
ก. กรมส่งเสรมิ การเกษตร
ข. กรมส่งเสรมิ การส่งออก
ค. กรมการค้าภายใน
ง. กรมส่งเสริมสหกรณ์

23

28. กรมส่งเสริมวิสาหกจิ ชุมชนไมม่ ่งุ เน้นในข้อใด
ก. การใหเ้ งินเปล่า
ข. การจดั การเงนิ ทนุ
ค. การจดั การทรัพยากร
ง. การจัดการภูมิปญั ญา

29. ขอ้ ใดเป็นข้อบังคับในการจดทะเบยี นเครอื ข่ายวิสาหกิจชุมชน
ก. มวี สิ าหกจิ ชมุ ชนต้ังแต่ 2 วิสาหกจิ ขน้ึ ไป
ข. มที ุนจดทะเบยี นไม่นอ้ ยกว่า 5 ล้านบาท
ค. หา้ มมบี คุ คลภายนอกเขา้ มาเกี่ยวข้อง
ง. ทุกวิสาหกจิ ชมุ ชนมีทอี่ ยู่ภูมลิ ำเนาเดียวกนั

30. ประโยชน์ของการจดทะเบียนเป็นวิสาหกจิ ชมุ ชน/เครือขา่ ยวสิ าหกิจชุมชน คือข้อใด
ก. ผลติ สินคา้ ได้หลากหลายข้ึน
ข. ได้รบั สิทธิใ์ นการจำหน่ายสินคา้ มากข้ึน
ค. ไดร้ ับการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสรมิ วสิ าหกจิ ชุมชน
ง. ผลิตสนิ คา้ เลียนแบบได้

31. ข้อใดเปน็ ผลิตผลทางการเกษตรทบี่ รโิ ภคสด
ก. ปลาสด
ข. เนื้อสด
ค. ผลไม้สด
ง. ผลไมด้ อง

32. ข้อใดจัดเป็นผลิตผลทางการเกษตรท่ีเปน็ วัตถุดบิ แลผา่ นกระบวนการแปรรูปเบอ้ื งตน้
ก. ปลาทะเล
ข. ไก่ชน
ค. ปลาช่อนแดดเดยี ว
ง. ปลาคราฟ

33. ขอ้ ใดเปน็ เคร่ืองมือทมี่ ีแอลกอฮอลท์ ง้ั หมด
ก. สุราแช่ ชาชกั
ข. ไวน์ เหล้าขาว
ค. น้ำผลไม้ น้ำเฉากว๊ ย
ง. ชาจีน เหล้าขาว

34. “กาแฟชุมพร” จัดเป็นเคร่ืองดืม่ ตามข้อใด
ก. มีแอลกอฮอล์
ข. ไมม่ แี อลกอฮอล์
ค. เคร่อื งดืม่ สำเรจ็ รูป
ง. เครือ่ งดมื่ สำหรบั ผ้ใู หญ่

24

34. “เสือ่ กก” จัดเปน็ ผลิตภณั ฑ์ตามข้อใด
ก. ไม้
ข. จักสาน ถักสาน
ค. เซรามกิ
ง. โลหะ

35. โลช่นั มะหาด ของกลุ่มผู้ผลติ จากจังหวัดสงิ หบ์ รุ ี จัดเปน็ ผลิตภณั ฑต์ ามข้อใด
ก. ยาจากสมนุ ไพร
ข. เครอ่ื งสำอางสมุนไพร
ค. วตั ถอุ ันตรายท่ใี ช้ในบ้านเรือน
ง. ผลิตภัณฑถ์ นอมผิว

36. คณะกรรมการเครือขา่ ย KBO มีหนา้ ท่ีตามข้อใด
ก. แต่งต้งั คณะอนกุ รรมการ
ข. แสวงหาองคก์ รทใ่ี ห้ความรู้
ค. กำหนดโครงสรา้ งและบทบาทหนา้ ที่การดำเนนิ งานตามโครงการ
ง. รวบรวมกล่มุ ผผู้ ลติ ผู้ประกอบการ OTOP

37. ผลติ ภณั ฑ์ไมท่ นั สมยั ก่อให้เกิดผลตามข้อใด
ก. ผู้ผลติ ผูป้ ระกอบการ OTOP ขาดกำลังใจใน การผลติ
ข. ผลิตภัณฑข์ าดความนา่ สนใจ
ค. ผลติ ภัณฑข์ าดเอกลกั ษณ์
ง. ผลติ ภณั ฑร์ าคาถกู

38. ข้อใดมีความหมายตรงกับ Branding Thailand
ก. ชื่อยีห่ อ้ เปน็ ภาษาไทย
ข. ช่อื ยี่หอ้ ถกู ตอ้ งตามหลักภาษาไทย
ค. ตรายห่ี อ้ เสริมสร้างภาพลกั ษณส์ นิ คา้ ไทย
ง. ตรายี่หอ้ ทันสมยั ทดั เทียมต่างชาติ

39. ผลิตภณั ฑ์โอทอปกลุ่ม B สามารถสรา้ งมูลค่าเพ่ิมได้ตามขอ้ ใด
ก. กระบวนการผลติ ท่ีทันสมัย
ข. ออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหส้ วยงาม
ค. สร้างเร่ืองราวความเป็นมาของสนิ ค้า
ง. พฒั นาวัตถดุ ิบท่ีใช้ในการผลิต

40. กรมการพัฒนาชุมชนมีการจัดกลุ่มผลติ ภณั ฑโ์ อทอป ออกเป็น 4 กลุ่ม ผลติ ภัณฑก์ ลุ่ม C มีลกั ษณะตาม ขอ้ ใด
ก. คณุ ภาพดี ราคาสูง ผลติ ได้ปริมาณมาก
ข. คณุ ภาพต่ำ ผลติ ได้นอ้ ย
ค. คณุ ภาพต่ำ ผลติ ได้มาก
ง. ผลติ ได้นอ้ ย ไม่มีตลาดรองรับ

25

41. กรมการพฒั นาชมุ ชนมกี ารจัดกลมุ่ ผลิตภณั ฑ์โอทอป ออกเปน็ 4 กลุ่ม ผลิตภัณฑก์ ลุ่ม D มีลักษณะตาม ข้อใด
ก. คุณภาพดี ราคาสูง ผลิตได้ปรมิ าณมาก
ข. คุณภาพตำ่ ผลติ ได้น้อย
ค. คณุ ภาพตำ่ ผลิตได้มาก
ง. ผลติ ไดน้ ้อย ไม่มตี ลาดรองรบั

42. ข้อใดกล่าวถงึ ชอ่ งทางการจัดจำหน่ายถกู ต้อง
ก. ลู่ทางที่ผลติ ภณั ฑ์ออกจากผูผ้ ลิตสู่ผู้บรโิ ภค
ข. การกระตุน้ ใหผ้ ู้บรโิ ภคตอ้ งการผลติ ภณั ฑ์
ค. การกำหนดราคาใหผ้ ้บู รโิ ภคพึงพอใจ
ง. การให้ขอ้ มูลทเี่ ปน็ จริงแก่ผุ้บรโิ ภค

43. ผลิตภัณฑเ์ ร่ิมมียอดขายเพ่มิ มากขนึ้ เป็นทร่ี ูจ้ กั ของผู้บรโิ ภคอยา่ งแพรห่ ลาย จดั ว่าผลิตภณั ฑ์นนั้ อย่ใู นวงจร
ชวี ติ ผลิตภณั ฑ์ขัน้ ใด
ก. ข้ันแนะนำ
ข. ขัน้ เตบิ โต
ค. ขั้นอม่ิ ตวั
ง. ข้ันถดถอย

44. “ผลิตภัณฑ์แคปซูลเห็ดหลนิ จือ ผลิตโดยการสกดั เย็นจึงทำใหค้ งตวั ยาครบ 100%” คำกลา่ วขา้ งต้นแสดงถึงข้อ
ใดของผลิตภัณฑ์
ก. ลักษณะ
ข. เอกลักษณ์
ค. การผลติ
ง. สรรพคณุ

45. ขอ้ ใดเป็นแหล่งทค่ี วรนำผลิตภณั ฑ์ท้องถ่นิ วางจำหน่าย
ก. ตลาดนดั ท้ายหมู่บ้าน
ข. ป้ายรถประจำทาง
ค. สถานีขนสง่
ง. สถานศึกษา

46. งานแสดงสนิ ค้านานาชาติ เหมาะกับสินคา้ ข้อใด
ก. กล่มุ A
ข. กลุ่ม B
ค. กลมุ่ C
ง. กลมุ่ D

47. ขอ้ ใดเป็นปัจจยั การพจิ ารณาเลอื กบรษิ ทั ขายตรงสำหรับการจำหนา่ ยผลติ ภัณฑ์
ก. ราคาของผลติ ภณั ฑ์
ข. การผลติ ผลติ ภัณฑ์
ค. การวางตำแหนง่ ผลติ ภัณฑ์
ง. สว่ นแบ่งการตลาด

26

48. ข้อใดมีความหมายตรงกับ “พอประมาณ”
ก. ไมเ่ บยี ดเบียนตนเอง
ข. ไม่เบยี ดเบียนผู้อนื่
ค. ไม่เบยี ดเบยี นตนเองและผู้อนื่
ง. ทานอาหาร 2 ม้ือตอ่ วัน

49. เศรษฐกจิ พอเพยี ง 3 หว่ ง 2 เงอื่ นไข ข้อใดกลา่ วถึงเงอ่ื นไขถูกต้อง
ก. ความรู้ คณุ ธรรม
ข. ทกั ษะ สติปญั ญา
ค. สงบ สติ
ง. ความรู้ ทักษะ

50. การจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิน่ โดยการนำทรัพยากรท่มี ีอยูใ่ นท้องถนิ่ มาใช้เปน็ วตั ถดุ บิ ในการผลิตสอดคล้องข้อ
ใด
ก. การมสี ว่ นร่วม
ข. การพงึ่ พาตนเอง
ค. ความพอประมาณ
ง. ทางสายกลาง

51. การปกครองโดยหลกั ธรรมาภิบาลก่อให้เกิดผลตาม ข้อใด
ก. อย่รู ่วมกันอย่างมีความสขุ
ข. ขาดสทิ ธิเสรภี าพ
ค. กดดันภายใต้กฎระเบียบ
ง. แตกความสามัคคี

52. ผูบ้ ริหารกล่าวว่า “หากพนักงานคนใด มีขอ้ เสนอแนะ เรายินดรี ับฟงั ” แสดงถงึ ผบู้ ริหารดงั กลา่ ว บริหารงาน
ตามหลักธรรมาภบิ าลข้อใด
ก. หลักความคุม้ คา่
ข. หลักความรบั ผิดชอบ
ค. หลกั คณุ ธรรม
ง. หลกั การมีสว่ นรว่ ม

53. ผู้บริหารกจิ การทส่ี ามารถสรา้ งความสำเร็จใหอ้ งคก์ ร และสร้างภาพลกั ษณท์ ่ดี ีต่อองค์กร จดั วา่ มคี วามคุ้มค่าใน
ระดบั กิจการข้อใด
ก. ความโปร่งใส
ข. ความซื่อสัตย์
ค. ความรับผิดชอบตอ่ การปฏิบตั งิ านตามหน้าท่ี
ง. ความสามารถในการแข่งขัน

54. ขอ้ ใดเปน็ งานลิขสิทธิ์
ก. คำประกาศเชิญชวนใหม้ าเท่ยี วงานประเพณี
ข. คำสัง่ ของกระทรวงมหาดไทย
ค. ภาพวาดดอกบวั ทว่ี าดโดยนายมานิตย์
ง. คำพพิ ากษา

27

55. ขอ้ มูลใดอยใู่ นสว่ นของระบบวเิ คราะห์ข้อมูลลูกค้า
ก. จดั การขอ้ มลู ติดต่อลกู คา้
ข. การเสนอราคา
ค. การเกบ็ ข้อมูลพฤติกรรมลูกคา้
ง. แบ่งลูกค้าออกเปน็ กลุม่

56. กฎหมายสิทธิบตั รให้ความคุ้มครองบุคคลใด
ก. นกั ดนตรี
ข. ผ้คู ิดท่ารำ
ค. ผ้อู อกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
ง. นกั ประพนั ธ์

57. โครงการหน่งึ ตำบลหนึง่ ผลติ ภัณฑเ์ กี่ยวข้องกบั เครอ่ื งหมายใดมากที่สุด
ก. เครอื่ งหมายมาตรฐานท่ัวไป
ข. เครอื่ งหมายมาตรฐานบังคับ
ค. เคร่อื งหมายฉลากเขยี ว
ง. เครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภณั ฑช์ ุมชน

58. ดา้ นการจดั การผลิตภัณฑท์ อ้ งถน่ิ กระทรวงพาณชิ ยม์ ีหนา้ ทตี่ ามข้อใด
ก. การประชาสัมพันธ์
ข. การกระจายสินค้า
ค. การจัดหาวตั ถุดิบ
ง. การคัดเลอื กผลติ ภณั ฑ์

59. ด้านการจดั การผลติ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ กระทรวงวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหี นา้ ที่ตาม ขอ้ ใด
ก. การค้นหาผลติ ภณั ฑ์
ข. การจดั หาวัตถุดบิ
ค. การขอสทิ ธบิ ตั ร
ง. การประชาสัมพันธ์ข้อมลู

60. การติดตามและประเมนิ ผลเกี่ยวกบั ผลติ ภณั ฑท์ ้องถน่ิ เป็นหน้าทีข่ องหนว่ ยงานใด
ก. กระทรวงมหาดไทย
ข. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศกึ ษา
ค. สำนักนายกรฐั มนตรี
ง. กรมสง่ เสริมการสง่ ออก


Click to View FlipBook Version