The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

1. รูปเล่ม Social Lab ต.แม่คือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่-พร้อม QR Code

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kaweewong88, 2020-08-21 15:01:13

1. รูปเล่ม Social Lab ต.แม่คือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่-พร้อม QR Code

1. รูปเล่ม Social Lab ต.แม่คือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่-พร้อม QR Code

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน ก

คำนำ

การดำเนินงานพื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม (Social Lab) เป็นกิจกรรมตามโครงการศูนย์บริการ
วิชาการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานส่งเสริม
และสนับสนุนวิชาการ ๙ ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการศึกษาสภาพปัญหา ร่วมดำเนินงาน ติดตามและถอดบทเรียน
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชารัฐเพื่อสังคมในชุมชน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นเจ้าภาพ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการในพื้นที่ตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด โดยเริ่มที่การจัดการ
ขอ้ มลู ชว่ ยเหลือ ค้มุ ครอง ปอ้ งกัน นำไปสกู่ ารจดั สวสั ดิการสงั คมและพัฒนาสังคมอยา่ งเปน็ ระบบ ซึ่งตำบล
แม่คือเป็นตำบลต้นแบบด้านการพัฒนาสังคม มีการทำงานที่โดดเด่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกวัย
ด้วยการมีส่วนร่วมจากชุมชน โดยในปี 2563 มีการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส (COVID-๑๙)

การดำเนินงานพื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม (Social Lab) จึงเป็นการศึกษาการขับเคลื่อนการดำเนินงาน

“การป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน” ผ่านการศึกษาข้อมูล รวบรวมข้อมูลและ

การสำรวจข้อมูลตามแบบสำรวจข้อมูลการดำเนินงานในพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จในการ

ดำเนินงานและทศิ ทางการพฒั นางานในอนาคตในพนื้ ทปี่ ฏบิ ตั กิ ารพัฒนาสังคม (Social Lab)

ขอขอบคุณทุกพลังการทำงาน ทุกความคิด ทุกการแลกเปลี่ยน การแบ่งปันความรู้ และการ
ปฏิบัติการเรียนรู้ร่วมกัน จากทีมงานหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (ทีม One Home จังหวัดเชียงใหม่) ทุกท่าน รวมถึงพลังจากชุมชนในตำบลแม่คือ
ผ่านการทำงานที่เข้มแข็งของทีมงานเทศบาลตำบลแม่คือ ท่ีได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน
การดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมในพื้นที่ ก่อเกิดพัฒนางานพื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม (Social Lab)
ในมิติเชิงประเด็น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน เพื่อนำไปสู่พัฒนาสังคม

และจดั สวัสดิการสงั คมท่เี หมาะสมกับบรบิ ทของสภาพปัญหาและพื้นที่ต่อไป

สำนกั งานส่งเสรมิ และสนับสนุนวิชาการ ๙
กรกฎาคม ๒๕๖๓

การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน ข

บทสรปุ ผู้บรหิ าร

การดำเนินงานพื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม (Social Lab) เป็นกิจกรรมตามโครงการศูนย์บริการ
วิชากาการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานส่งเสริม
และสนับสนุนวิชาการ ๙ ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการศึกษาสภาพปัญหา ร่วมดำเนินงาน ติดตามและถอดบทเรียน
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชารัฐเพื่อสังคมในชุมชน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นเจ้าภาพ ซ่ึงจังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการในพื้นที่ตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด โดยเริ่มที่การจัดการ
ข้อมลู ช่วยเหลอื คมุ้ ครอง ปอ้ งกนั นำไปส่กู ารจดั สวสั ดิการสงั คมและพฒั นาสังคมอยา่ งเป็นระบบ ซ่ึงตำบล
แม่คอื เป็นตำบลตน้ แบบด้านการพฒั นาสังคม มกี ารทำงานท่โี ดดเดน่ ในการพัฒนาคุณภาพชวี ติ คนทุกช่วงวัย
ด้วยการมีส่วนร่วมจากชุมชน โดยในปี ๒๕๖๓ มีการระบาดของโรคโคโรนาไวรัส ( COVID-๑๙)
การดำเนินงานพื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม (Social Lab) จึงเป็นการศึกษาการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
“การป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน” ผ่านการศกึ ษาขอ้ มูล รวบรวมข้อมูลและการสำรวจ
ข้อมูลตามแบบสำรวจข้อมูลการดำเนินงานในพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานและ
ทศิ ทางการพัฒนางานในอนาคตในพนื้ ทปี่ ฏิบัตกิ ารพัฒนาสังคม (Social Lab)

สถานการณ์ในการ “ป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน” การช่วยเหลือ การเยียวยา
ผู้ประสบปัญหาทางสังคมจังหวัดเชยี งใหมน่ ั้น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ รวมถึงภาคีเครือข่ายภายนอกกระทรวง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ดำเนินงานช่วยเหลือ
ผู้ประสบปัญหาทางสังคมจังหวัดเชียงใหม่ ทุกหน่วยงานร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจด้านสวัสดิการสังคม
ในด้านการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพ การจัดบริการทางสังคมที่เกี่ยวกับการป้องกัน แก้ไขปัญหา
การพฒั นา และการสง่ เสริมการเข้าถึงสิทธิและความมั่นคงในชวี ิตและทรัพยส์ ิน ใหค้ วามช่วยเหลือผู้ประสบ
ปัญหาทางสังคมในภาวะวิกฤติเร่งด่วนตามสถานการณ์ ให้การช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพ และจัดบริการ
สวัสดิการทางสังคมสำหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น เด็ก เยาวชน สตรี ผู้ด้อยโอกาส รายได้น้อย
ไร้ที่พึ่ง เร่ร่อน และกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ที่ประสบปัญหาทางสังคมในภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือ COVID-๑๙ โดยทุกหน่วยงานจะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรม กระทรวง
ต้นสังกัดและมีการดำเนินการภายใต้ระเบียบการดำเนินงานของแต่ละงาน เพื่อร่วมกันดำเนินการ
ในการป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ อย่างเตม็ ที่

ตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ไม่พบผู้ติดเชื้อ มีการเฝ้าระวังอย่างเต็มท่ี
เนื่องจากมีการสื่อสาร สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน รวมไปถึงการประสานความร่วมมือ
จากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนอย่างเต็มท่ี
เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญกับภาวะวิกฤติได้ในทุกสถานการณ์ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง
พร้อมปรบั ตัวรองรบั ชวี ิตวิถีใหม่ตอ่ ไป

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน ค

“การป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน” ปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินการ
คือ ความร่วมมือของประชาชนทุกคน ที่ใส่ใจในการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ในทุกรูปแบบ ตลอดจน
หน่วยงาน เป็นตัวอย่างในการตื่นตัว ดูแลตนเองอยา่ งดี รวมทั้งการสือ่ สารท่ีมีประสทิ ธภิ าพ และระบบภาคี
เครือข่ายในการทำงานอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างการรับรู้ และสร้างความเข้าใจร่วมกัน
และสามารถนำไปปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน หน่วยงาน เนื่อง จาก
ภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือ COVID-๑๙ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น
และแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก มีผู้คนติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ประชาชนส่วนใหญ่
ต่างมีความหวาดกลัวการติดเชื้อ และพร้อมให้ความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเข้มงวดตามมาตรการ
ของภาครัฐ ซง่ึ การสอื่ สารทมี่ ีประสทิ ธภิ าพและระบบภาคีเครอื ข่ายในการทำงานอยา่ งมีส่วนร่วมเป็นแนวคิด
สำหรับการพัฒนาการดำเนินการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
หรือ COVID-๑๙ ไดอ้ ยา่ งยั่งยืน

นอกจากนี้ การทำงานภายใต้มาตรการและนโยบายที่ชัดเจนจากภาครัฐ และการดำเนินการ
ตามมาตรการของภาครัฐและจังหวัดอย่างเคร่งครัด โดยจังหวัดเชียงใหม่ มีคณะกรรมการโรคติดต่อ
จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเฉพาะกิจจังหวัดเชียงใหม่ (ศ.ข.ฉ.ก.) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานจากทุกภาคส่วน
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพชัดเจนในการทำงาน การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และการประสาน
ความรว่ มมือในการปอ้ งกนั และแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือ COVID-๑๙
อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง มีการรายงานสถิติ ประกาศ ข่าวสาร สรุปมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง รวดเรว็
ทันต่อสถานการณ์วันต่อวัน การรับเรื่องร้องเรียน แจ้งเหตุ โดยการบูรณาการการทำงานจากทุกภาคส่วน
เพื่อการสื่อสาร การสร้างความเข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การรับรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตาม
อย่างเคร่งครัด และต่อเนื่อง เริ่มจากมาตรการที่ชัดเจนของรัฐบาลในระดับประเทศ ระดับจังหวัด
ระดับอำเภอ นำไปสู่ระดับชุมชน เป็นการสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ แนวทางในการปฏิบัติตน
และดำเนินการร่วมกัน ส่งผลให้การป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน เป็นไปอย่างดีเยี่ยม
อกี ทงั้ มกี ารประสานความร่วมมือและการให้ความรว่ มมือจากทุกภาคสว่ นอยา่ งเต็มท่ี

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน ง

สารบญั

เร่อื ง หนา้

คำนำ ก
บทสรปุ ผู้บริหาร ข
สารบัญ ง
บทท่ี 1 สถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19 ) ๑

- สถานการณท์ วั่ โลก ๒
- สถานการณ์ในประเทศไทย ๔
- สถานการณ์ในระดบั จังหวัด ๗
- สถานการณใ์ นระดบั ชุมชนและข้อมลู ชมุ ชน ๑๑
บทท่ี 2 ผลกระทบท่เี กดิ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ๑๑
- ผลกระทบดา้ นเศรษฐกจิ ๑๒
- ผลกระทบดา้ นสังคม การศึกษา สาธารณสขุ และวฒั นธรรม ๑๗
บทที่ 3 การบรหิ ารจดั การสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของ COVID-19 ๑๗
- การบรหิ ารจัดการและมาตรการการดำเนนิ การในระดับจงั หวัด 2๐
- การบริหารจดั การและมาตรการการดำเนนิ การในระดับชุมชน ๒๓
บทท่ี 4 ผลสำเรจ็ ของการดำเนินงานในระดับพ้นื ท่ี ๒๓
- ผลสำเร็จของการดำเนนิ งานในระดบั พน้ื ท่ี ๒๔
- ทิศทางการพัฒนาในอนาคต ๒๘
บทท่ี ๕ สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ ๒๘
- สรุปผลการศกึ ษา ๒๙
- ข้อเสนอแนะ ๓๐
ภาคผนวก ๔๑
บรรณานุกรม

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน ๑

บทท่ี 1

สถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)

สถานการณท์ ่ัวโลก

ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มา
อย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัส
สายพันธนุ์ แ้ี ล้วทั้งหมด 6 สายพนั ธุ์ ส่วนสายพันธุ์ทกี่ ำลังแพร่ระบาดหนกั ทวั่ โลกตอนนเี้ ปน็ สายพันธุ์ท่ยี งั ไม่เคย
พบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และในภายหลังถูกตั้งชื่อ
อย่างเป็นทางการว่า “โควดิ -19” (COVID-19) นนั่ เอง

แม้ว่าอาการโดยทั่วไปจะดูเหมือนเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่ที่กลัวกันทั่วโลกเป็นเพราะเชื้อไวรัสนี้
เป็นสายพันธุ์ใหม่ ที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะตัวไหนที่สามารถรักษาให้หายได้โดยตรง การรักษาเป็นไป
แบบประคับประคองตามอาการเทา่ น้นั

นอกจากนี้ อันตรายที่ทำให้เสี่ยงถึงชีวิต จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิต้านทานโรคของเราไม่แข็งแรง
หรอื เช้อื ไวรัสเข้าไปทำลายการทำงานของปอดได้ จนทำใหเ้ ชือ้ ไวรสั แพรก่ ระจายลุกลามมากขึน้ รวดเรว็ ขึน้

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
เป็น "การระบาดใหญ่" หรือ pandemic หลังจากเชื้อลุกลามไปใน 118 ประเทศและดินแดนทั่วโลก
และมีผู้ ตดิ เชือ้ กวา่ 121,000 คน ทงั้ ได้ครา่ ชวี ิตผู้คนไปแล้วกวา่ 4,300 คน อกี ท้ังยังประกาศให้การ
แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น "ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ"
เนื่องจากมีการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความกังวลว่าการระบาดของไวรัสชนิดนี้
จะแพรไ่ ปส่ปู ระเทศทีม่ ีระบบสาธารณสขุ ออ่ นแอ

การป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน ๒

สถานการณ์ในประเทศไทย

กระทรวงสาธารณสุขประกาศ "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019" หรือ "โรคโควิด-19" เป็นโรคติดต่อ
อันตรายตามพระราชบัญญัตโิ รคติดตอ่ พ.ศ. 2558 โดยให้มผี ลบังคับใชต้ ้ังแตว่ ันที่ 1 มนี าคม ๒๕๖๓

ผู้ติดเชื้อรายใหมส่ ่วนใหญ่พบในกรุงเทพฯ เป็นคนวัยหนุ่มสาวท่ีมีอาการเลก็ น้อย จึงออกไปใช้ชีวติ
ตามปกติ มีการขอความร่วมมือประชาชนทุกคนว่าอย่าเดินทางกลับภูมิลำเนา แม้ว่าจะมีการหยุดงาน
เนื่องจากอาจแพร่เช้ือสู่คนในต่างจังหวดั ได้ ขณะที่คนในต่างจังหวัดก็ไม่ควรเดนิ ทางข้ามจงั หวัด เพราะอาจ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ หน้ากากป้องกัน เจลทำความสะอาด และเครื่องฟอกอากาศหลากชนิด กลายเป็น
ของหายาก ขาดแคลน หรือราคาพุ่งสูงขึ้นหลายเท่า โรงพยาบาลหลายแห่งเรียกร้องรัฐบาลให้ช่วยจัดหา
หน้ากากอนามัยในเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ส่วนหน่วยงานรัฐหลายแห่งออกมาสอนให้คนทั่วไป
เยบ็ หนา้ กากผา้ ไวใ้ ช้เอง

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง "ชื่อและอาการสำคัญ
ของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563" โดยประกาศให้ "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019"
หรือ "โรคโควิด 19" เป็นโรคตดิ ต่ออันตรายตามพระราชบัญญตั ิโรคติดตอ่ พ.ศ. 2558

การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน ๔๓

โดยมใี จความสำคัญดังน้ี

โดยที่เป็นการสมควรให้มีการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19
(Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ
พ.ศ. 2558 เพ่อื ประโยชน์ในการเฝา้ ระวัง ปอ้ งกัน และควบคมุ โรคติดต่ออันตราย

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ
พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ
จงึ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปน้ี

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกระทรวงสาธารณสขุ เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญ ของโรคติดต่อ
อันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 "

ข้อ 2 ประกาศน้ใี ห้ใช้บงั คบั ตงั้ แตว่ ันถัดจากวันประกาศในราชกจิ จานุเบกษาเปน็ ตน้ ไป

ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (14) ของข้อ 1 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อ
และอาการสำคญั ของโรคตดิ ตอ่ อนั ตราย พ.ศ. 2559

"(14) โรคติดเชอื้ ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19))
มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการ
ระบบทางเดนิ หายใจลม้ เหลว และอาจถงึ ขน้ั เสยี ชีวิต "

ประกาศ ณ วนั ท่ี 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ประกาศดังกล่าวนี้ เป็นผลมาจากการประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ
สง่ ผลให้กระทรวงสาธารณสุขของไทยยกระดบั มาตรการป้องกนั การระบาดของไวรัสชนดิ นี้

หลังจากประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ทั้งประชาชน ผู้ประกอบการ เช่น โรงแรม มีหน้าที่
ตามกฎหมายที่ต้องรายงานและแจ้ง เมื่อสงสัยหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่ออันตราย ในกรณี
เดินทางกลับมาจากพื้นที่ ที่มีการระบาด หรือมีโอกาสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เมื่อมีอาการไข้ หรืออาการเกี่ยวกับ
ระบบทางเดินหายใจ ต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ตั้งแต่ขั้นตอนของการ
ซกั ประวตั ิ เพ่อื ช่วยในการรักษาและปอ้ งกนั ตนเองด้วย

สถานการณไ์ วรัสโควดิ -19 เป็นวกิ ฤตทีก่ ระทบรนุ แรงกวา่ ที่เคยเกิดข้ึนก่อนหน้านี้ เพราะเป็นวิกฤต
ที่แพร่กระจายส่งผลกระทบไปทั่วโลก ต่างจาก Hamburger Crisis ในปี 2008 ที่มีผลเฉพาะสหรัฐ
และยุโรป แต่ด้านเอเชียยังดีอยู่ และวิกฤตต้มยำกุ้ง ในปี 1997 ที่กระทบแค่กับไทยและประเทศเอเชีย
ไม่ไปถึงยุโรปและสหรัฐ แต่วิกฤตโควิด-19 กระจายรุนแรงไปทั่วโลกกว่า 208 ประเทศที่มีผู้ติดเช้ือ
และมากกวา่ 144 ประเทศที่มีผูต้ ิดเช้ือมากกวา่ ร้อยรายขน้ึ ไป

ในส่วนประเทศไทย แม้เราจะสามารถจัดการกับสถานการณ์ได้ดี โดยตัวเลขผู้ติดเชื้อลดน้อยลง
ในลักษณะ Flatten the Curve แต่ก็ต้องจับตาดูช่วงหลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่
ทุกประเทศทั่วโลกก็จับตามองในประเทศตัวเองเช่นกัน โดยเฉพาะการทดสอบตรวจหาผู้ติดเชื้อ (Testing)

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน ๕

ในส่วนประเทศไทย จำนวน Testing ไป 227,00 ราย คิดเป็นจำนวน 3,300 คนต่อจำนวนประชากร
1 ล้านคน ซึ่งนับว่าค่อนข้างน้อยอยู่ จึงต้องติดตามสถานการณ์และมาตรการ Testing ในช่วงหลังจาก
ผ่อนคลายล็อกดาวน์

ทั้งนี้ เมื่อดูจากดัชนีล็อกดาวน์ของประเทศที่มีการปิดเมือง มาพล็อตกับดัชนีภาคอุตสาหกรรม
จะออกมาเป็นกราฟ Downward Sloping หมายความว่ายิ่งล็อกดาวน์มาก เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม
ลดลงมาก ชี้ให้เห็นว่า การล็อกดาวน์มีนัยยะสำคัญต่อผลผลิตเศรษฐกิจอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจ
จะกลบั มาฟ้นื ตวั เร็วหรือช้า ไม่ไดข้ น้ึ อยกู่ ับการผ่อนคลายลอ็ กดาวน์อย่างเดียว แตข่ น้ึ อย่กู ับความเชือ่ มั่นและ
พฤติกรรมผู้บริโภคที่จะกลับมาใช้จ่าย ออกไปที่ชุมชนเหมือนก่อนเกิดเกิดวิกฤติโควิด ซึ่งตรงนี้ มาตรการ
Testing ติดตามผู้ป่วยท่ีมปี ระสทิ ธภิ าพมีสว่ นสำคัญในการสรา้ งความเช่อื ม่ันใหผ้ ูบ้ ริโภค

สถานการณใ์ นระดับจังหวดั

ด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือ โควิด ๑๙ (Coronavirus
Disease ๒๐๑๙ (COVID –19) อนั เปน็ โรคติดต่ออันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรอื่ ง ชื่อและ
อาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบบั ท่ี ๓) พ.ศ.๒๕๖๓ มีแนวโนม้ การแพร่กระจายและพบการเพิ่มขึ้น
ของผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว จังหวัดเชียงใหม่ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการป้องกันและยับยั้ง
การแพร่ระบาดของโรค เริ่มจากจังหวัดเชียงใหม่ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเฉพาะกิจจังหวัดเชียงใหม่ (ศ.ข.ฉ.ก.) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์
และสาธารณสุข (EOC) จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อประสานความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
หรือ โควิด ๑๙ อย่างเขม้ แข็งและต่อเนือ่ ง

จังหวัดเชยี งใหม่ มผี ู้ติดเชอ้ื ไวรสั โคโรนา ๒๐๑๙ หรอื โควดิ ๑๙ จำนวน ๔๑ คน และมกี ารรักษาหาย
๔๐ ราย และเสียชีวิต ๑ ราย ( ข้อมูล ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๓ ) มีการเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มแข็ง
โดยมีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดีทั้งในส่วนของการมี สถานสำหรับ Local Quarantine การดูแล
ป้องกัน การรักษาพยาบาล มีการจัดเตรียมโรงพยาบาลเฉพาะในการดูแลผู้ปว่ ยติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
หรือ โควิด ๑๙ นับว่าเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและเฝ้าระวัง รวมถึงประสบความสำเร็จใน
การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคได้เป็นอย่างดี ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในจังหวัดเชียงใหม่
แม้ว่าจะเป็นจังหวัดใหญ่ มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก และเป็นจังหวัดจุดหมายการเดินทาง สำหรับ
คนส่วนใหญ่ รวมไปถงึ จำนวนประชากรท่มี ากและมีประชาชนไปประกอบอาชีพในหลากหลายจังหวดั ทำให้
มกี ารเคลือ่ นยา้ ยของประชาชนมากในชว่ งระยะก่อนการล๊อคดาวน์

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน ๖

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน ๗

สถานการณใ์ นระดบั ชุมชนและขอ้ มูลชุมชน

การป้องกนั และแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน ๘

สถานการณ์ในระดบั ชุมชนและข้อมูลชมุ ชน

เทศบาลตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด จงั หวัดเชียงใหม่

คำขวัญเทศบาลตำบลแมค่ อื
“พระเพชรเก่าพระเจ้าทันใจ ประตูใตด้ อยสะเก็ด

เขตเกษตรกรรม โครงพดั โครงร่ม
สืบสานวฒั นธรรม จกั สานผา้ ฝา้ ยงามล้ำ ตำบลแม่คอื ”

วสิ ัยทัศน์เทศบาลตำบลแม่คือ
"สง่ เสรมิ การศกึ ษา พฒั นาชวี ิต เศรษฐกจิ ดี ประเพณีท้องถ่ิน"

สภาพท่ัวไปและข้อมลู พ้นื ฐานของเทศบาลตำบลแม่คือ

1. ท่ตี งั้ เทศบาลตำบลแม่คือ ต้งั อยเู่ ลขที่ 149 หมทู่ ่ี 2 บา้ นแมค่ ือ ตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด
จังหวดั เชียงใหม่ 20220 โทรศพั ท์ 0-5338-7062 ,0-5338-6128
เวบ็ ไซต์ www.maekhu.go.th
อยหู่ า่ งจากอำเภอดอยสะเก็ดไปทางทศิ ใต้ ประมาณ 9 กิโลเมตร

2. อาณาเขตติดต่อ มีดงั น้ี
ทศิ เหนือ ตดิ ต่อ เทศบาลตำบลตลาดใหญ่
ทศิ ตะวนั ออก ติดตอ่ เทศบาลตำบลแมป่ ูคา
ทศิ ตะวันตก ติดต่อ เทศบาลตำบลสำราญราษฎร์ เทศบาลตำบลสนั ปูเลย
ทศิ ใต้ ตดิ ตอ่ เทศบาลเมอื งตน้ เปา
2.1 ภมู ปิ ระเทศ เปน็ พืน้ ท่ีราบใช้ทำการเกษตรกรรม และใชเ้ ปน็ ที่อยู่อาศยั
2.2 เนื้อที่ ทง้ั หมด 6.72 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 4,200 ไร)่

3. เขตการปกครอง มีหมู่บ้านจำนวน 6 หมบู่ า้ น คอื
หมทู่ ี่ 1 บา้ นแพะแมค่ ือ
หมู่ที่ 2 บ้านแม่คือ
หมทู่ ่ี 3 บ้านสนั ต้นแหน
หมู่ที่ 4 บา้ นป่าบง
หมทู่ ่ี 5 บ้านสนั ตน้ แหนใต้
หมทู่ ่ี 6 บา้ นป่าเสรา้ , เหล่าคา, หนองงู
อยู่ในเขตเทศบาลตำบลแม่คือ เต็มพื้นที่ทุกหม่บู ้าน

การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน ๙

4. จำนวนประชากร 5,802 คน แยกเปน็ ชาย 2,778 คน หญิง 3,024 คน
(ขอ้ มูล ณ กนั ยายน 2561)
4.1 จำนวนครัวเรอื น 2,606 ครัวเรือน
4.2 ความหนาแนน่ เฉล่ีย 828 คน/ตารางกิโลเมตร

5. ผลติ ภณั ฑม์ วลรวมรายได้ มรี ายได้เฉลยี่ 23,000 บาท /คน/ ปี (ข้อมูล จปฐ. ปี 255
ประชากรในพื้นทสี่ ว่ นใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม รับจ้างทว่ั ไป
อตุ สาหกรรมในครวั เรอื น (แกะสลกั , ทำพัด, ทำรม่ , ทำกระดาษสา)
5.1 โรงงานอตุ สาหกรรม จำนวน 5 แหง่
5.2 โรงสีข้าว จำนวน 1 แหง่
5.3 ตลาดเอกชน จำนวน 1 แห่ง
5.4 สถานทีช่ นไก่ เอกชน จำนวน 1 แห่ง
5.5 ปั้มน้ำมัน (ป้ัมหลอด) จำนวน 5 แห่ง
5.6 ที่ทำการไปรษณีย์เอกชน จำนวน - แห่ง

6. การศกึ ษา
6.1 สถานศกึ ษา จำนวน 3 แหง่ ดังนี้
1. โรงเรียนแมค่ ือวิทยา
จำนวนนักเรียน ทัง้ หมด 299 คน
2. โรงเรียนอนบุ าลเทศบาลตำบลแมค่ ือ
จำนวน นักเรียน 121 คน
3. ศนู ย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่คอื
จำนวนเด็กเล็ก 25 คน

6.2 มีท่อี ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บา้ น จำนวน 6 แหง่
6.3 มวี ดั / สำนกั สงฆ์ จำนวน 6 แห่ง ดังน้ี

1. วัดแมค่ ือ
2. วัดป่าแพ่ง
3. วัดไชยพฤกษาวาส (สันตน้ แหน)
4. วดั เทพนิ ทราราม (ปา่ บง)
5. วัดนาคาสถิตย์ (หนองง)ู
6. วัดใหมส่ ารภี
7. สาธารณสุข
7.1 โรงพยาบาลสง่ เสรมิ สขุ ภาพชุมชนตำบลแม่คอื (บ้านสันตน้ แหน)

จำนวน 1 แหง่ บุคลากร 4 คน
7.2 คลีนคิ เอกชน จำนวน 1 แห่ง

8. ความปลอดภยั ในชวี ิตและทรพั ย์สิน
8.1 มี ป้อมตำรวจ สภ.อ.ดอยสะเก็ด (ตู้ยามแม่คือ) จำนวน 1 แหง่

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน ๑๐

ข้อมูลเกย่ี วกบั ศกั ยภาพของทอ้ งถ่ิน ได้แก่ โครงสรา้ งและกระบวนการบริหารงาน
บคุ คล งบประมาณ และเคร่ืองมอื อุปกรณ์ต่าง ๆ

กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลแม่คือ เป็น เทศบาลตำบลแม่คือ
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร
ส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แกไ้ ขเพมิ่ เติม ถึง (ฉบับท่ี 5) พ.ศ.2546 และมาตรา 7 แหง่ พระราชบญั ญตั เิ ทศบาล
พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 มีหน้าที่ต้องทำและอาจจัดทำในเขตเทศบาล
(มาตรา 50 มาตรา 51) เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
มีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชา พนักงานเทศบาล พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้างท่ัวไปของเทศบาล
รองจากนายกเทศมนตรี และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย
และมีอำนาจหนา้ ท่อี ่นื ตามทมี่ กี ฎหมายกำหนด หรอื ตามทีน่ ายกเทศมนตรมี อบหมาย

การป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน @@

บทที่ 2

ผลกระทบทีเ่ กิดจากสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของ COVID -19

ผลกระทบดา้ นเศรษฐกจิ

อาการป่วยจาก COVID-19 อาจจะไม่รุนแรงสำหรับคนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81) แต่กลับเป็น
โรคที่น่ากลัวสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคหอบ ฯลฯ และสิ่งที่จะช่วย
ลดหรือ ป้องกันการระบาดของไวรสั เพื่อมิใหร้ ะบาดไปถึงกลุม่ เสีย่ ง คือ การหลีกเล่ียงการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ด้วยความสามารถในการปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อน
ของมนุษย์ ทำให้สังคมมนุษย์มีการพฒั นาก้าวหนา้ อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการพบปะหารอื เพื่อแลกเปลี่ยน
ความคิดและเจรจาต่อรอง การรวมตัวเพือ่ ถ่ายทอดความรู้เช่นในห้องเรียน และการเดินทางข้ามรัฐ ข้ามแดน
ด้วยเทคโนโลยีคมนาคมต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุค Globalization ที่มนุษย์ทั่วโลกเชื่อมต่อกันไม่ทางใด
กท็ างหนง่ึ แต่ตอนนีก้ ิจกรรมทางสงั คมเหลา่ นี้ ได้กลายเปน็ การสนับสนนุ การระบาด รฐั บาล และ ผู้เชี่ยวชาญ
ทั่วโลก ขอความร่วมมือจากประชาชน ให้งดการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ งดการออกจากบ้าน
งดการ รวมกลุ่ม ข้อปฏิบัติต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลกระทบทำให้การดำเนินชีวิตและการเข้าสังคมของมนุษย์
เปลีย่ นไปโดยสิ้นเชงิ เกิดผลกระทบหลากดา้ น หลายปจั จัย

อาชพี ทจี่ ำเปน็ ในชว่ งวิกฤต

เมือ่ พดู ถึงอาชีพที่มีความสำคัญอย่างมากในชว่ งวิกฤตการระบาดของ Coronavirus แพทย์ พยาบาล
และผู้ให้บริการทางการแพทย์ในส่วนต่าง ๆ คงเป็นคนกลุ่มแรกที่ทุกคนนึกถึง เพราะเป็นสายอาชีพที่เป็น
ด่านหน้าในการรับมือกับไวรัสและผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ในขณะที่คนส่วนใหญ่ สามารถเก็บตัวในบ้าน
หรือทำงานจากท่ีบ้าน (Work from Home) เพอ่ื ปอ้ งกันตัวเองจากการระบาด ยังมีคนในอีกหลายสายอาชีพ
ทย่ี งั ตอ้ งออกทำงานและเผชิญกับความเสี่ยง เช่น พนักงานในห้างสรรพสินค้าแผนกอาหาร และซุปเปอร์มาร์เก็ต
ยังคงต้องทำงานหนักในการจัดเตรียมสินค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถซื้อหาสินค้าที่ต้องการได้ พนักงานทำความสะอาด
และเก็บขยะที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง เพื่อรักษาความสะอาดของบ้านเมือง คนขับรถแท็กซี่
และบริษทั ขนส่งต่าง ๆ ทีย่ ังชว่ ยใหบ้ ริการคนในพ้ืนท่ตี ่าง ๆ ยังสามารถเดินทางหรือสง่ ของหรือสินค้าให้กันได้
รวมถึง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ที่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อมั่นใจว่า ประชาชนอยู่ในกฎระเบียบ
และ เจา้ หน้าท่ีภาครฐั บางภาคสว่ น เช่น สถานเอกอัครราชทตู ในตา่ งประเทศท่ีมหี นา้ ท่ใี ห้ข้อมลู และให้ความ
ชว่ ยเหลอื กบั ประชาชน

ในขณะเดียวกัน มีหลายอาชีพ ที่เป็นที่ยอมรับกันว่าสามารถทำเงินได้มากกว่าอาชีพอื่น ๆ หรือมี
ความมั่นคง เป็นที่ใฝ่ฝันของหลายคน แต่กลับเป็น สายอาชีพแรกๆ ที่ถูกกระทบโดยวิกฤต COVID-19
ก่อนใคร เช่น นักบินสายการบินพาณิชย์ ซึ่งจะมีนักบินจำนวนมากต้องตกงาน เนื่องจากสายการบินต่าง ๆ
กำลังประสบปัญหา ไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ นักร้อง นักแสดง เนื่องจากงานแสดงงานโชว์ต่าง ๆ
ต้องถูกยกเลิก วิกฤตครั้งนี้ทำให้เห็นว่า อาชีพที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่และความอยู่รอดของมนุษย์เป็นอาชีพ
ทจ่ี ะยงั อยตู่ ่อไปได้ โดยเฉพาะในสถานการณไ์ มป่ กติ

การป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน ๑๒

เมือ่ ความตระหนักกลายเป็นความตระหนก

จริงอยู่ที่ประชาชนจะต้องปรับตัว และเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่าง เพื่อป้องกันตัวเองและช่วยลด
การระบาด แต่การตระหนกั บางครั้งก็มีมากเกินไป จนกลายเป็นความตระหนกและก่อให้เกดิ ความวุ่นวายข้ึน
ในสังคม ปรากฏการแรก ที่เราได้เห็นกัน คือ การเหยียดเชื้อชาติในสถานการณ์ COVID-19 การเกลียดกลัว
ชาวต่างชาติหรือ คนจีน (Xenophobia) เกิดจากความไม่รู้ ความกลัว และการตัดสินคนที่ Stereotype
ซึ่งชาวตะวันตกมองว่า COVID-19 เป็นโรคที่เกิดจากคนจีน จึงเกิดความกลัวและความเกลียดชังคนเอเชีย
จงึ เกิดเหตุการณ์ทำร้ายชาวเอเชียขึ้นตามท่เี หน็ ในข่าว แตใ่ นปัจจุบนั เหตกุ ารณ์กเ็ ร่ิมกลบั ตาลปัตร กลายเป็น
คนเอเชียก็เร่ิมกลวั ฝรั่งบา้ ง เพราะการแพรร่ ะบาดในยุโรป และสหรัฐอเมรกิ า ดูจะรนุ แรงขน้ึ เร่อื ย ๆ

การกักตุนสินคา้ เป็นที่เขา้ ใจได้วา่ ในสถานการณ์ทไี่ มป่ กติ มนษุ ยเ์ รา ตอ้ งการเตรียมความพร้อมเพ่ือ
ความอย่รู อด อยา่ งไรกต็ ามโดยหลักการแล้ว การกกั ตนุ สินค้าจำนวนมาก ๆ ไม่มีความจำเป็นในสถานการณ์น้ี
ถึงแม้ว่าหลายคนจะมองว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคลในการกักตุนสินค้า แต่การทำเช่นนี้ก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมา
เช่น คนที่มีรายได้น้อยหรือผู้สูงอายุ ไม่สามารถเข้าถึงสินค้าที่จำเป็นได้ ความวุ่นวาย การแก่งแย่งสินค้า
ปัญหาการโก่งราคาและผู้ค้าที่ฉวยโอกาส ไปจนถึงปัญหาหน้ากากขาดแคลน ซึ่งกระทบไปถึงแพทย์และ
ผู้ให้บริการทางการแพทย์ซึ่งมีความจำเป็น ซึ่งหากประชาชนมีความเข้าใจและปฏิบัติตนในแบบที่เหมาะสม
จะทำให้เราสามารถหลกี เลย่ี งปญั หาเหลา่ นไ้ี ด้

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและความเหลอื่ มล้ำทางสังคม

การเจ็บป่วย เสียชวี ิต การหยุดงาน หรือตกงาน สง่ ผลไปสู่การสูญเสียรายได้ ซง่ึ จะส่งผลกระทบไปสู่
คา่ ใช้จ่ายภายในครัวเรอื น โดยการสูญเสียงานหรอื เสยี รายได้นี้ จะมโี อกาสเกดิ ขน้ึ กบั คนท่มี ีฐานะยากจนท่ีเป็น
แรงงานนอกระบบ (Informal Worker) มากกวา่ คนท่ีมีรายไดแ้ นน่ อนจากงานประจำและมโี อกาสทจี่ ะเกิดข้ึน
ในประเทศด้อยพัฒนา/กำลังพัฒนามากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นผลกระทบจากการแพร่ระบาด
ของเช้ือไวรสั โควิด-19 น้ี จะสง่ ผลตอ่ เนือ่ งไปส่รู ะดบั ความยากจนและความเหล่ือมล้ำทจ่ี ะเพิม่ สูงขึน้ ได้

ผลกระทบในระยะสั้นเหล่าน้ี อาจส่งผลไปสู่ผลกระทบระยะยาวได้ เช่น การที่ประเทศจะสูญเสีย
ขีดความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว (Long-Term Economic
Growth) เนื่องจากจะต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการป้องกันและรักษาเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ จนขาดแคลน
ทรัพยากรในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น นอกจากนี้ยังเกิดการสูญเสียทางด้านทุนมนุษย์
(Human Capital) ของประเทศ ที่จะต้องเจ็บไข้ได้ป่วยเรื้อรัง (เช่นโรคที่เกี่ยวข้องกับปอด) หรือการท่ี
เด็กนักเรียน นักศึกษาจะต้องหยุดเรียน โดยเฉพาะในประเทศที่มีฐานะยากจนที่ระบบการพัฒนาทุนมนุษย์
ระบบสาธารณสุข และระบบการศึกษายงั ไม่ครอบคลุมทวั่ ถงึ นัก

ผลกระทบด้านสังคม การศกึ ษา สาธารณสขุ และวัฒนธรรม

ในประวัติศาสตร์ มนุษย์เราได้ผ่านวิกฤตโรคระบาดมาแล้วหลายครั้ง แต่คงไม่มีครั้งไหน
ทสี่ ง่ ผลกระทบต่อมนุษย์ สังคม และโลก ได้ครอบคลุมมิติได้กว้างขวางได้เท่ากับ COVID-19 เพราะไวรัสตัวน้ี
ไม่เพียงแต่ส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยสูญเสียในระดับบุคคลแล้ว การระบาดของ coronavirus ยังส่งผล
กระทบไปทั่วทุกมิติ และเกือบทุกประเทศ เนื่องจากนับแต่เราได้เข้าสู่ ยุคโลกาภิวัตน์ แม้เส้นเขตแดนรัฐ
ยังจะแบ่งโลกออกเป็นประเทศ ตามที่แสดงในแผนที่ แต่การติดต่อค้าขาย การไปมาหาสู่ รวมทั้ง การสื่อสาร
บนโลกออนไลน์ ทำให้ผู้คนบนโลก ถูกผูกไว้อย่างใกล้ชิด และผลกระทบของการสัมผัสทางตรง ที่มาจาก

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน ๑๓

การสัมผัส และติดเชื้อ และผลกระทบทางใจ ที่มาจากการสื่อสารในโลกออนไลน์ ที่ทำให้การรับรู้ข่าวสาร
การตั้งสติ และการตื่นตระหนก เกิดเป็นกระแสไปทั่วโลก และมีพลวัตที่รวดเร็ว รวมทั้งยังไม่มีใครคาดเดา
ได้วา่ วกิ ฤตการณค์ ร้งั นี้ จะยุติและผ่านพ้นไปเมอื่ ใด

“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ขององค์การสหประชาชาติจะได้รับผลกระทบจากการแพร่
ระบาดของไวรัสครั้งใหญ่แห่งศตวรรษเช่นกัน โดยกลุ่มคนที่เปราะบางและได้รับผลกระทบจากวิกฤตรอบน้ี
หนกั ทส่ี ดุ กค็ ือ ผ้หู ญิง เด็ก ผู้สูงอายุ และแรงงานนอกระบบ

สำหรับด้านสิ่งแวดล้อมนั้น หากมองในระยะสั้น ทุกอย่างก็ดูเหมือนจะดีขึ้น มลพิษลดลงไปตาม
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่น้อยลง เพราะผู้คนต้องเก็บตัวอยู่กับบ้าน มีการเดินทางน้อยลง หลายอุตสาหกรรม
ต้องหยุดงานชั่วคราว เช่น การบิน โรงงานอุตสาหกรรม ทำให้มีการปล่อยคาร์บอนน้อยล ง แต่ก็เชื่อว่า
หากขาดความมุ่งมั่นทจี่ ะพัฒนาอย่างย่งั ยนื แลว้ มลพษิ ต่าง ๆ กค็ งกลบั มาเหมือนเดมิ เม่ือเศรษฐกจิ โลกกลับมา
เดินหนา้ ตามปกติอีกครงั้

โควิด-19 สง่ ผลอยา่ งไรตอ่ เป้าหมายการพัฒนาอยา่ งย่ังยนื

วกิ ฤตโรคระบาดครั้งน้สี ง่ ผลกระทบตอ่ เป้าหมายการพฒั นาทยี่ ัง่ ยนื

• เป้าหมายที่ 1 การสูญเสียรายได้จะทำให้กลุ่มคนที่มีความเปราะบางในสังคมและหลายบ้านมีรายได้ต่ำกว่า
เส้นความยากจน

• เปา้ หมายท่ี 2 เกิดปญั หาในการผลติ และการกระจายอาหาร
• เปา้ หมายที่ 3 ผลกระทบรา้ ยแรงต่อสุขภาพ
• เป้าหมายที่ 4 หลายโรงเรียนถูกปิด การเรียนทางไกลอาจทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพน้อยลงและนักเรียน

บางคนไมส่ ามารถเข้าถงึ การเรยี นออนไลน์ได้
• เป้าหมายที่ 5 ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของผู้หญงิ จะตกอยู่ในความเสี่ยง ความรุนแรงของผู้หญิงเพิ่มระดบั

ขึน้ และสว่ นใหญ่ของคนทำงานสาธารณสขุ และสงั คมเปน็ ผู้หญิงจงึ มีโอกาสไดร้ ับความเสีย่ งมาก
• เป้าหมายที่ 6 การเข้าถึงน้ำสะอาดที่ไม่เพียงพอเป็นอุปสรรคต่อการเขา้ ถึงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อล้างมือ

ซึ่ง เปน็ หนง่ึ ในมาตรการป้องกัน โควิด-19 ท่สี ำคญั ท่สี ุด
• เป้าหมายที่ 7 การจัดหาพลังงานและกำลังคนขาดแคลน ทำให้การเข้าถึงไฟฟ้าชะงักลง การตอบสนอง

ของระบบดูแลสขุ ภาพและสมรรถภาพต่ำลง
• เป้าหมายท่ี 8 กจิ กรรมทางเศรษฐกจิ หยดุ ชะงกั ไดร้ ับรายได้นอ้ ยลง เวลาทำงานลดลง บางอาชพี ตกงาน
• เป้าหมายที่ 11 ประชากรท่ีอยู่อาศยั ในสลัมต้องเผชิญความเส่ียงในการติดเช้ือโควิด-19มากกว่าเพราะความ

หนาแนน่ ในพื้นที่และปัญหาเรอ่ื งสขุ าภบิ าล
• เป้าหมายที่ 13 ความเข้มแข็งกับการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลดลง แต่ผลกระทบต่อ

สิง่ แวดลอ้ มก็ลดลงจากการผลิตลดลง เนอ่ื งจากปรมิ าณการผลิตและการขนสง่ ลดลง
• เป้าหมายที่ 16 ความขัดแย้งทำให้มาตรการต่อสู้โควิด-19 ไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่

ท่ีมีความขดั แย้งมคี วามเส่ียงมากทส่ี ุดทจ่ี ะเกดิ ความสูญเสียจากโรค
• เป้าหมายที่ 17 ซ้ำเติมความเห็นด้านลบต่อโลกาภิวัตน์ แต่ก็เป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของ

ความรว่ มมอื ระหว่างประเทศดา้ นสาธารณสุข

ทั้งนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเป้าหมาย ที่ 11, เป้าหมายที่ 8,เป้าหมายที่ 5 และเป้าหมายที่ 4 จะส่งผล
กระทบอยา่ งมากกบั เป้าหมายท่ี 10 ในการลดความเหลือ่ มลำ้
ที่มา https://thaipublica.org/2020/04/un-sdgs-effect-covid19/

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน ๑๔

ในรายงานระบุผลกระทบจากเป้าหมายด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี การพัฒนาเมืองและชุมชน
ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 11) การมีน้ำสะอาดและสุขอนามัยที่ดี (เป้าหมายที่6) เพราะการระบาดของโรค ส่งผล
เสียรุนแรงต่อสุขภาพของคน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในสลัมจะต้องเสี่ยงติดเชื้อมากกว่า เพราะพื้นที่อาศัยแออัด
มีปัญหาด้านสุขอนามัย ไม่ต่างจากคนที่อยู่ในพื้นที่ขัดแย้งที่มีความเสี่ยงเสียชีวิตจากโรค เพราะความขัดแย้ง
ทำให้มาตรการรับมือโรคไม่มีประสิทธิภาพ ขณะที่คนจำนวนมากที่ไม่มีน้ำสะอาดใช้หรือมีไม่เพียงพอก็ได้รับ
ผลเสยี เช่นกัน เพราะนำ้ สะอาดเปน็ หนงึ่ ในมาตรการป้องกนั โควิด-19 ที่ดีทส่ี ดุ

ขณะเดียวกัน ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้โอกาสในการบรรลุเป้าหมายด้านการเติบโต
ทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การมีงานทำ (เป้าหมายที่ 8) การขจัดความยากจน (เป้าหมายที่ 1) และขจัดความหิวโหย
(เป้าหมายที่ 2) ความเท่าเทียมทางเพศ (เป้าหมายที่ 5) ลดความไม่เท่าเทียมโดยรวม (เป้าหมายท่ี 10)
เพราะการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรสั ประเทศตา่ ง ๆ ได้ตัดสนิ ใจปดิ เมือง ปดิ ประเทศ ส่งผลให้กิจกรรม
ทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก คนมีรายได้น้อยลง เวลาทำงานน้อยลง และบางคนก็ตกงานทันทีโดยไม่ได้ตั้งตัว
โดยเฉพาะหากเกิดกับคนกลุ่มเปราะบางในสังคม ปัญหาก็จะยิ่งหนักหน่วงกว่าทั่วไป ทำให้หลายครอบครัว
มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน และเมื่อพูดถึงงานพบว่า คนทำงานด้านสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์
ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ COVID-19 มากกว่าคนอาชีพอื่น อีกทั้งการระบาดของโรค
ทำให้หลายพนื้ ทเ่ี กดิ ปญั หาด้านการผลิตและการกระจายอาหารอกี ดว้ ย

นอกจากนี้ วิกฤตโควิด-19 ยังส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา (เป้าหมายที่ 4) เมื่อสถาบันการศึกษาปิด
การเรยี นการสอนทางไกลยังไม่มีประสิทธภิ าพเท่าที่ควร และเดก็ จำนวนมากก็ขาดอุปกรณ์จำเป็นสำหรับการ
เรียนทางไกล ส่วนในแง่ของเปา้ หมายพลังงานสะอาด (เป้าหมายที่ 7)ในราคาสมเหตุสมผลก็ได้รับผลกระทบ
เช่นกัน เนื่องจากการขาดแคลนบุคลากรและอุปทานทำให้เกิดปัญหาการเข้าถึงไฟฟ้า ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยัง
ระบบดูแลสขุ ภาพ

อย่างไรก็ตามในวิกฤตครั้งนี้ถือเป็นโอกาสดีที่ได้เห็นว่า ความร่วมมือระหว่างประเทศมีความจำเป็น
อย่างมากที่จะเดินหน้าไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ ดังจะเห็นได้จากความร่วมมือระหว่างประเทศ
ด้านสาธารณสุขเพอ่ื แกว้ ิกฤตใหญข่ องมวลมนุษยชาติ

เราจะก้าวผ่านวิกฤตให้สำเร็จอย่างยั่งยืนได้อย่างไร

มาตรการระดบั โลกรบั มือวิกฤต

การล็อกดาวน์เพื่อสู้วิกฤต โควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจทั่วโลกทั้งในแง่ของอุปสงค์
และอปุ ทานทีช่ ะงักงัน รฐั บาลประเทศต่าง ๆ จงึ ตอ้ งออกมาตรการกระตนุ้ เศรษฐกิจครัง้ ใหญเ่ พอื่ พยงุ เยียวยา
ผู้ได้รับผลกระทบ และฟื้นความเชื่อมั่นให้คืนกลับมาในอนาคต นอกจากช่วยเหลือองค์กรธุรกิจทุกขนาด
ให้ยืนหยดั ในวงการได้ต่อไป เพ่อื หลกี เลย่ี งการปลดพนักงาน ขณะเดยี วกนั กต็ ้องให้ความสำคัญและช่วยเหลือ
ซพั พลายเออร์และผ้บู ริโภคไปพร้อม ๆ กันด้วย

มาตรการการเงินการคลังที่ใช้จะต้องช่วยเหลือแรงงานทุกกลุ่ม รวมถึงลูกจ้างรายวัน และแรงงาน
นอกระบบ เพื่อช่วยให้คนเหล่านี้มีงานทำและมีรายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว มีการชดเชยค่าจ้าง
อยา่ งเหมาะสม

การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน ๑๕

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องเน้นการกระจายทรัพยากรไปยังคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม
ที่เปราะบางที่สุด พร้อมยกระดับความพร้อมด้านการสาธารณสุขฉุกเฉิน การดูแลทางสังคม มีการลดหย่อนภาษี
ช่วยเหลอื ให้คนเขา้ ถึงสินเช่อื ดอกเบีย้ ต่ำ การประกันสขุ ภาพ และเงินชดเชยวา่ งงาน เปน็ ต้น

ช่วงวิกฤต โควิด-19 จำเป็นต้องผ่อนปรนมาตรการกีดกันทางการค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะการขนส่งยา
และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นระหว่างประเทศ ด้วยการลดภาษีนำเข้าหรือการยกเลิกการห้ามขนส่ง
เป็นต้น เพื่อให้ทุกประเทศมียาและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสและรักษาผู้ป่วย
อีกทง้ั ต้องยกเลกิ การควำ่ บาตรประเทศต่าง ๆ เพอื่ ให้ประเทศเหล่านั้นมีอาหาร และเครื่องมอื อุปกรณ์จำเป็น
สำหรบั การป้องกนั การแพร่ระบาดและรกั ษาผู้ป่วย โควิด-19 เพียงพอกบั ความต้องการ

นอกจากน้ี ตอ้ งมมี าตรการปรับโครงสร้างหน้ีให้กับประเทศพฒั นาน้อยที่สุดและประเทศกำลังพัฒนา
ที่มีรายได้น้อย เช่น ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยตลอดปีนี้ การลดหนี้ การสว็อปหนี้ เป็นต้น รวมถึงการปล่อยเงินกู้
แก่ประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งที่ผ่านมา องค์กรระหว่างประเทศ เช่น กองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศ (IMF) ธนาคารโลก กไ็ ด้ประกาศปลอ่ ยกู้เพ่ือช่วยเหลือประเทศสมาชิกให้ฝา่ วิกฤตครั้งนไี้ ปให้สำเร็จ

ขณะที่บรรดาธนาคารกลางประเทศสำคัญๆ ของโลก และสถาบันการเงินระหว่างประเทศสามารถ
ผนึกกำลังกันเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบการเงิน โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาและตลาด
เกิดใหม่ได้ดว้ ย

มาตรการระดับภูมภิ าค…รอดไปด้วยกัน

ในช่วงวิกฤต การค้าเสรีสินค้าและบริการภายในภูมิภาคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต้องยกเลิกมาตรการ
กีดกันทางการค้าทุกรูปแบบที่จะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าและส่งออกยาและอุปกรณ์เครื่องมือ
ทางการแพทย์ท่ีจำเปน็ รวมถงึ ต้องมรี ะบบที่ช่วยให้การขนสง่ สนิ ค้าข้ามแดนไปยังประเทศต่าง ๆ ไดอ้ ยา่ งสะดวก

ส่วนด้านการเงิน ควรมีความร่วมมือกับสถาบันการเงิน ซึ่งรวมบริษัทประกันเพื่อหาโซลูชั่นและ
แนวทางเพ่ือช่วยใหภ้ าคธุรกจิ สามารถฟ้ืนตัวได้หลงั สถานการณ์คล่คี ลายแลว้

วิกฤตโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะงัก สะท้อนถึงความเปราะบางของซัพพลายเชน
และการใช้ทรัพยากรที่ขาดประสิทธิภาพในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นจึงถึงเวลาต้องทบทวนเรื่องเหล่านี้กันใหม่
เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับระบบซัพพลายเชนและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด เช่น การให้
ความสำคัญและนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง การมีมาตรการ
ดูแลจัดการสภาพภูมิอากาศ และการยกระดับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศต่าง ๆ เป็นต้น
รวมถึงควรมนี โยบายดา้ นสงิ่ แวดล้อมแบบเบ็ดเสร็จเพ่ือจัดการประเด็นปัญหาข้ามพรมแดน ท่อี าจช่วยป้องกัน
และลดผลกระทบของโรคระบาดระดับโลกแบบน้ีในอนาคต ควรมกี ารวางกรอบนโยบายรว่ มกัน เช่น กำหนด
มาตรฐานสุขอนามัยที่สอดคล้องกัน การแก้ปัญหาภัยคุกคามที่เกี่ยวกับการค้าผิดกฎหมาย การเปลี่ยนแปลง
ของสภาพภมู อิ ากาศ เป็นต้น

มาตรการระดับประเทศ… ไม่ทิง้ ใครไว้ขา้ งหลัง

มาตรการการคลังที่มีเป้าหมายชัดเจนเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพื่อช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบ
หนักที่สุดจากการแพร่ระบาดของไวรัสครั้งนี้ เพื่อให้พวกเขาได้รับบริการทางการแพทย์อย่างเหมาะสม
และใช้ชีวิตต่อไปได้ เช่น การแจกเงินให้ผู้ได้รับผลกระทบ การจัดสวัสดิการสังคม การชดเชยรายได้ระหว่าง

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน ๑๖

เจ็บป่วย ส่วนในระดับผู้ประกอบการอาจมีการลดหย่อนภาษีหรือยืดเวลาเสียภาษี สมทบการจ่ายค่าจ้าง
พนกั งานเพือ่ ทำใหบ้ รษิ ัทดำเนนิ ธุรกจิ ตอ่ ไปได้และไม่ปลดพนักงานช่วงเกดิ วิกฤต

ขณะเดยี วกัน ตอ้ งดแู ลเรือ่ งสทิ ธิมนุษยชนและไมเ่ ลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะคนกลุ่มเปราะบางของสังคม
ที่มักได้รับผลกระทบหนักที่สุด เช่น ทุกคนต้องมีสิทธิรับบริการตรวจคัดกรองเชื้อและการรักษากรณเี จ็บป่วย
โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ มีการให้ข้อมูลจำเป็นและชัดเจนแก่คนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ให้ความชว่ ยเหลือ
ทางการเงนิ แก่ผพู้ กิ ารและครอบครัว ดแู ลคนไรบ้ า้ นและคนกล่มุ เปราะบางอ่ืน ๆ เพอ่ื ลดความเส่ยี งการติดเชื้อ
และมีการเตรียมมาตรการเปิดเรียนหลังวิกฤต ตลอดจนมีนโยบายส่งเสริมการจ้างงานในระยะสั้น
และระยะยาวใหค้ นทกุ กล่มุ โดยเฉพาะคนร่นุ หนุ่มสาวดว้ ย

ในสว่ นของผู้ประกอบการ SMEs ตอ้ งมมี าตรการช่วยเหลือเร่งด่วนโดยตรงทนั ที เพ่ือช่วยให้ทำธุรกิจ
ต่อไปได้ หน่วยงานราชการอาจมีการจัดซื้อฉุกเฉินเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีมาตรการ
ลดการจา่ ยสมทบประกันสังคมชั่วคราว ลดภาษีมูลค่าเพมิ่ มสี ว่ นลดภาษี และอาจมกี ารอดุ หนุนเงินทุนเพ่ือให้
SMEs สามารถนำไปใช้จ่ายค่าเช่า ค่าน้ำค่าไฟ จ่ายเงินเดือนพนักงาน และใช้จ่ายจำเป็นอื่น ๆ ทั้งนี้ ต้องมี
มาตรการเพื่อธุรกิจนอกระบบ ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 80% ของผู้ประกอบการทั่วโลก และโดยทั่วไปคนกลุ่มนี้
จะไดร้ บั ประโยชน์จากนโยบายภาครฐั

อกี ภาคสว่ นที่ไดร้ ับผลกระทบหนกั จากวิกฤต โควิด-19 คือ สถาบันการศึกษาที่ต้องปิดทำการ ทำให้
นกั เรยี นนกั ศกึ ษาต้องหนั ไปเรยี นทางไกลแทน สำหรบั เรอ่ื งนี้ ตอ้ งรว่ มมือกันคิดคน้ และจัดหาโซลูชั่นการศึกษา
ทางไกลท่ีมีประสิทธิภาพ พร้อมชว่ ยใหค้ รแู ละผู้ปกครองคุ้นเคยและบริการจัดการการเรียนท่ีบ้านได้ดีมากข้ึน
ต้องมีนโยบายและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่ทำให้ทุกคนมีโอกาสเรียนรู้ได้เหมือนกัน โดยไม่ปล่อยให้วิกฤต
ซ้ำเตมิ ความเหลื่อมล้ำทางการศกึ ษาใหย้ ำ่ แย่ลงไปอีก

นอกจากนี้ ต้องมีมาตรการส่งเสริมการกระชับความสัมพันธ์ทางสังคม หลังจากผู้คนต้องเว้น
ระยะห่างทางกายเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของไวรัสมาระยะหนึ่ง ด้วยการเปิดโอกาสให้ เข้าถึง
แหล่งข้อมูลด้านวฒั นธรรมและการศกึ ษาได้ฟรี เพอ่ื ช่วยเยยี วยาความรู้สกึ โดดเด่ยี วทางสังคมของผ้คู นลงได้

วิกฤต โควิด-19 คือ ความท้าทายครั้งสำคัญของมวลมนุษยชาติ ที่จะพลิกโฉมสรรพสิ่งไปตลอดกาล
ซึ่งหากมีมาตรการรับมือวิกฤตได้ดีในทุกขั้นตอน และร่วมมือร่วมใจปฏิบัติกันอย่างจริงจัง ก็เชื่อว่า เราจะฝ่า
วิกฤตคร้ังใหญ่ครัง้ นีไ้ ปได้ และพรอ้ มจะรบั มือวิกฤตอนื่ ๆ ในอนาคตไดอ้ ยา่ งดีเช่นกัน

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน ๑๗

บทท่ี 3

การบรหิ ารจดั การสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของ COVID-19

การบรหิ ารจดั การและมาตรการการดำเนินการในระดบั จังหวัด

จังหวัดเชียงใหม่ มีการบริหารจัดการและมาตรการการดำเนินการในระดับจังหวัด โดยมีคำส่ัง
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ จนถึงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ จำนวนทั้งสิ้น ๒๓ ฉบับ ในเรื่อง
มาตรการเรง่ ดว่ นในการปอ้ งกันวกิ ฤตการณจ์ ากโรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา ๒๐๑๙ หรอื โควดิ ๑๙ และมาตรการ
ต่าง ๆ ตามสถานการณ์ในขณะนั้น นอกจากนี้ยังมีศูนย์ข้อมูลข่าวสารเฉพาะกิจจังหวัดเชียงใหม่ (ศ.ข.ฉ.ก.)
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC)จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการบูรณาการ
ทำงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสานความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาด
ของโรคติดเชอ้ื ไวรสั โคโรนา ๒๐๑๙ หรือ โควดิ ๑๙ อยา่ งเข้มแข็งและตอ่ เนือ่ ง

จงั หวดั เชยี งใหม่มีผู้ตดิ เช้ือไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือ โควิด ๑๙ จำนวน ๔๑ คน และมีการรักษาหาย
๔๐ ราย และเสียชีวิต ๑ ราย มีการเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มแข็ง โดยมีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี
ทั้งในส่วนของการมี สถานสำหรับ Local Quarantine การดูแลป้องกัน การรักษาพยาบาล มีการจัดเตรียม
โรงพยาบาลเฉพาะในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือ โควิด ๑๙ นับว่าเป็นการเตรียมความ
พร้อมในการป้องกันและเฝ้าระวัง รวมถึงประสบความสำเร็จในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคได้
เป็นอย่างดี ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในจังหวัดเชียงใหม่ แม้ว่าจะเป็นจังหวัดใหญ่ มีนักท่องเที่ยว
จำนวนมาก และเป็นจังหวัดจุดหมายการเดินทางสำหรับคนส่วนใหญ่ รวมไปถึงจำนวนประชากรที่มาก
และมีประชาชนไปประกอบอาชพี ในหลากหลายจงั หวดั ทำใหม้ ีการเคลอ่ื นย้ายของประชาชนมากในชว่ งระยะ
ก่อนการลอ๊ คดาวน์

นอกจากนี้การช่วยเหลือ การเยียวยา ผู้ประสบปัญหาทางสังคมจังหวัดเชียงใหม่นั้น หน่วยงาน
ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงภาคีเครือข่ายภายนอกกระทรวง
ท้ังภาครัฐและภาคเอกชนที่ดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมจังหวัดเชียงใหม่ ทุกหน่วยงานร่วมกัน
ขับเคลื่อนภารกิจด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ในด้านการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพ
การจัดบริการทางสังคมที่เกี่ยวกับการป้องกัน แก้ไขปัญหา การพัฒนา และการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิและ
ความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมในภาวะวิกฤติเร่งด่วน
ตามสถานการณ์ ให้การช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพ และจดั บริการสวสั ดิการสงั คมสำหรบั ทุกกลุ่มเป้าหมาย
ไม่ว่าจะเป็น เด็ก เยาวชน สตรี ผู้ด้อยโอกาส รายได้น้อย ไร้ที่พึ่ง เร่ร่อน และกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ที่ประสบ
ปญั หาทางสงั คมในภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา ๒๐๑๙ หรือ COVID ๑๙

โดยทุกหน่วยงานจะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรม กระทรวงต้นสังกัดและมีการดำเนินการ
ภายใต้ระเบียบการดำเนินงานของแต่ละงาน เพื่อร่วมกันดำเนินการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-๑๙
อยา่ งเตม็ ท่ี

การป้องกนั และแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน ๑๘

นอกจากน้ี ทีมหน่วยงานสังกดั กระทรวงการพัฒนาสงั คมและความมน่ั คงของมนุษย์ จงั หวดั เชียงใหม่
หรือ ทีมone home จังหวัดเชียงใหม่ ได้ประสานความร่วมมือกันโดยมีการดำเนินการร่วมสำรวจข้อมูล
ผู้ประสบปัญหาทางสังคม ผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
เป็นความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์ท่ีทีม One Home เชียงใหม่ ร่วมกันสานพลังความร่วมมือ เริ่มจากการ
ประชุมเตรียมความพร้อมทีมงานจากทุกหน่วยงาน รวมไปถึงการประสานการดำเนินงานกับหน่วยงาน
ภายนอกกระทรวง เพื่อให้ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนได้รับความช่วยเหลือจากทั่วถึงพร้อมกับมีการจัด
ระเบียบเพอ่ื ป้องกนั ภาวะเส่ียงในการแพรร่ ะบาดของเช้ือโรค เพือ่ ให้ผู้ประสบปัญหาท่ีมคี วามเดือดร้อน ได้รับ
การช่วยเหลือและสัมภาษณ์ ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เพื่อวางแผนให้ความช่วยเหลือตามกระบวนการและภารกจิ
ของหน่วยงานกระทรวงการพัฒนาสงั คมและความมั่นคงของมนษุ ย์ต่อไป

ในส่วนของการขับเคลื่อนมาตรการที่รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์รับผิดชอบต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19)
ท้ัง 4 ดา้ น สกู่ ารปฏบิ ตั ิของจงั หวดั เชยี งใหม่มีการดำเนินการ ไดแ้ ก่

๑) ด้านการสาธารณสุข มีการสำรวจและเฝ้าระวังกลุ่มเป้าหมายในสถาบัน ควบคุมและจำกัดพื้นท่ี
การแพรร่ ะบาดและการเตรยี มความพร้อมดา้ นการรกั ษาพยาบาล

๒) ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน มอบหน้ากากผ้า ให้กับกลุ่มเป้าหมายเปราะบาง ในพื้นที่ 25 อำเภอ
จำนวน 53,000 ชิ้น โดยให้ อพม.เป็นผู้ดำเนินการแจกให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่และผู้มาใช้บริการ
มอบเจลแอลกอฮอลล์ า้ งมอื สบลู่ า้ งมือให้กับ สถานรบั เลย้ี งเด็กและสถานสงเคราะห์เดก็ เอกชน

๓) ด้านมาตรการป้องกัน ภายในหน่วยงาน มีการเหลื่อมเวลาการทำงาน และทำงานที่บ้าน (Work
Form Home) การคัดกรองก่อนเข้าหน่วยงาน งดการเข้าเยีย่ มผ้ใู ช้บริการในสถาบัน และการจัดกจิ กรรมจาก
บุคคลภายนอก รวมถึงใหค้ วามร้คู วามเข้าใจแกผ่ ูม้ าใชบ้ ริการ

๔) ด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา สำรวจผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้มาตรการ แก้ไข
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในการช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ เพื่อ
แกไ้ ขปัญหาความเดือดร้อน

กระบวนการทำงาน (Process) ในภาวะวกิ ฤตภิ ายใต้สถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19) หน่วยงานสังกัดกระทรวง พม.ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ทำการสำรวจ
กลุ่มเป้าหมายในสถาบัน เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง/ขอทาน และผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
ในกรณที ีพ่ บเจา้ หน้าทห่ี รือ กลมุ่ เปา้ หมาย และยืนยนั ติดเชอ้ื โรคโรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา 2019 ในหน่วยงาน
ให้ประสานหนว่ ยงานสาธารณสุขจังหวัด เพอ่ื ทำการสำรวจคนร่วมงาน ทีอ่ ย่ใู นข่ายสัมผัสโรค ซ่ึงต้องให้หยุดงาน
ทันทีและกักกันตนเอง ณ ที่พักอาศัยหรือที่ที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกำหนดไว้ เพื่อสังเกตอาการ
เป็นเวลา 14 วนั หลังจากใกล้ชดิ ผ้ปู ว่ ยครั้งสุดทา้ ย และให้รายงานตามแบบฟอรม์ ของ พม.กำหนด

อีกทงั้ ยังมแี นวทางการดำเนินงาน สำหรบั กลมุ่ เปา้ หมาย เพ่ือรองรบั ความปรกติใหม่ (New Normal)
หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยเป็นการบูรณาการ
ร่วมกับหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย รวบรวมข้อมูลผู้ที่ได้รับผลกระทบและไม่ได้รับการช่วยเหลือ สำรวจ
ความต้องการและช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม พร้อมกับมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ
คุ้มครองช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นประสบปัญหาทางสังคมในกรณีได้รับ

การป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน ๑๙

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน
ประกอบด้วย การใหค้ ำปรึกษาแนะนำ เยยี่ มบา้ นช่วยเหลอื หรอื ส่งต่อหน่วยงานอ่ืนท่เี ก่ยี วข้อง การจดั ประชุม
คณะกรรมการฯ จ่ายเงินอุดหนุนช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาฯ โดยมีการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ประสบปัญหา
ทางสังคมจำนวน 631 ราย ช่วยเหลือแล้ว 486 ราย ผู้ที่ลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกันและได้รับเงินเยียวยาแล้ว
จำนวน 145 ราย (ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่
ณ วนั ที่ ๔ มถิ ุนายน ๒๕๖๓).

สถานการณ์การแพร่ระบาดโรค COVID -19 ในครั้งนี้ เป็นประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งของมวล
มนุษยชาติ ที่ต้องเผชิญร่วมกัน ต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อที่จะช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน
ท่ามกลาง ปัญหาความยากลำบาก เดือดร้อน ของผู้คนทั่วโลก ในความมานะ พยายามของทีมทัพหน้าที่
ต้องต่อสู้ แก้ไขปัญหา การแพร่ระบาดของโรคจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดกำลัง
ทัพหลัง ความร่วมมือ ร่วมใจของประชาชนทุกคนที่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อก้าวข้าม
ผ่านช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ไปด้วยกัน หน่วยงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เป็นกลไก ฟันเฟืองที่ร่วมเป็นพลัง ป้องกัน แก้ไขปัญหา คุ้มครองสวัสดิภาพ และพิทักษ์สิทธิ และเยียวยา
ประชาชนทุกกลุ่มเปา้ หมายท่ีประสบปัญหาทางสังคม และได้รบั ผลกระทบจากวิกฤติโรคระบาดในครั้งนี้

การป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน ๒๐

การบรหิ ารจัดการและมาตรการการดำเนินการในระดบั ชุมชน

ข้อมูลการดำเนนิ งานปอ้ งกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 ด้วยชุมชน
ตำบลแมค่ อื อำเภอ ดอยสะเกด็ จงั หวัด เชียงใหม่

๑. ขอ้ มูลพ้นื ฐานประชากร
-ข้อมูลชุมชน จำนวน 6 ชุมชน ได้แก่ ม.1 บ้านแพะ ม.2 บ้านแม่คือ ม.3 บ้านสันต้นแหน

ม.4 บ้านป่าบง ม.5 บ้านสันต้นแหน และ ม.6 บา้ นหนองงู
-จำนวนประชากร 5,950 คน ชาย 2,848 คน หญิง 3,102 คน ผูส้ ูงอายุ 1,312 คน
-จำนวนครัวเรือน 2,754 ครวั เรอื น

ขอ้ มลู ผู้ประสบปญั หาความเดือดร้อน

ที่ ประเภท จำนวน (คน) หมายเหตุ
๑ จำนวนผู้มบี ตั รสวสั ดกิ ารแห่งรฐั --

2 จำนวนมารดาท่ีรบั เงนิ โครงการเงนิ อุดหนุนเด็กแรกเกดิ 123 -

3 จำนวนผูส้ ูงอายทุ ีร่ บั เงนิ เบีย้ ยังชพี ผู้สูงอายุ 1,098 -

4 จำนวนคนพิการท่รี บั เงินเบย้ี ยังชีพคนพิการ 185 -

5 ผู้ประสบปญั หาความเดือดร้อน ยากลำบาก ในการครองชีพ 50 -

6 เด็กและเยาวชนอยใู่ นสภาวะยากลำบาก 29 -

7 เด็กออกจากโรงเรียนกลางคัน --

8 เดก็ เยาวชน มีพฤติกรรมเส่ียงต่อการกระทำผดิ 10 -

9 มารดาวยั รุ่น (อายุตำ่ กวา่ 18 ปี) 21 -

10 มารดาเลยี้ งเดยี่ ว 5-

11 ครอบครัวแหวง่ กลาง(ปู่ยา่ ตายาย หรอื ญาติ ดแู ลแทนบิดา มารดา) 30 -

12 ครอบครัวประสบปัญหาความรนุ แรงในครอบครัว --

13 ผสู้ งู อายอุ าศัยอยตู่ ามลำพัง 30 -

14 ผู้ปว่ ยตดิ เตยี ง 20 -

15 ผูป้ ่วยเรอ้ื รงั 10 -

การป้องกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน ๒๑

ท่ี ประเภท จำนวน (คน) หมายเหตุ
16 คนเรร่ อ่ น ไร้ที่พ่งึ 5-
120 -
17 กลุ่มชาตพิ นั ธุ์ (ระบ.ุ ....) --

18 ผู้ประสบปญั หาทางสังคมอ่ืน ๆ (ระบ.ุ ....)

2. ขอ้ มูลสถานการณ์ ในการดำเนนิ งาน ปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน
- จำนวนผู้ปว่ ย COVID-19 ในพน้ื ท่ี - คน
- จำนวนผู้ทีม่ กี ารดำเนนิ การในการกักตวั (State Quarantine ) 1 คน
- สถานที่รองรบั การกักตัว (State Quarantine ) - แหง่ ได้แก่ -
- จำนวนผู้ไดร้ บั ผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 จำนวน 5,000 คน

๓. การจดั การในการดำเนินงาน ป้องกนั และแก้ไขปัญหา COVID-19 ดว้ ยชุมชน

แนวนโยบายและระเบียบปฏิบตั ใิ นการดำเนนิ การป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-19 ด้วยชุมชน
-ปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด มีการคัดกรองผู้มารับบริการ

ของทางเทศบาล หรอื กิจกรรมในชมุ ชนอยา่ งเครง่ ครัด
รปู แบบ แนวทางและขน้ั ตอนการดำเนนิ งานการป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-19 ดว้ ยชุมชน
- มีการประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวังผู้เดินทางมาจากต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ ต้องแจ้ง

ให้ อสม.รว่ มกบั รพ.สต.,ชมรมกำนนั ผใู้ หญ่บา้ น รว่ มกบั เทศบาลตำบลแมค่ อื และสาธารณสุขอำเภอ
งบประมาณในการดำเนนิ งานการป้องกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน
- จำนวน 200,000 บาท โดยการจัดทำหน้ากากผา้ อนามัยสำหรับประชาชน และมอบเงนิ

ชว่ ยเหลือครอบครวั ละ 300 บาท
ผลการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 ดว้ ยชุมชน
- ไม่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ในชุมชน ประชาชนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตน

เปน็ อยา่ งดี ประชนชนมคี ณุ ภาพชีวติ ดี ช่วยเหลือดูแลกนั
ทรพั ยากรและทนุ ทางสังคมในการร่วมดำเนินงานการป้องกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วย

ชุมชน
- ในชมุ ชนมเี ครือขา่ ยการทำงานที่เข้มแข็ง เช่น รพ.สต. ทีมงานอสม. ทีมผใู้ หญบ่ า้ น ทีมงาน

สมาชกิ สภา และเทศบาลตำบลแมค่ อื ดูแลและคดั กรอง
ปจั จัยความสำเรจ็ ในการดำเนนิ งานการป้องกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน
- ความร่วมมือของประชาชนทุกคน ที่ใส่ใจในการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ในทุกรูปแบบ

ตลอดจนหนว่ ยงาน เป็นตวั อยา่ งในการตน่ื ตวั ดแู ลตนเองอย่างดี
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนนิ งานการป้องกนั และแกไ้ ขปัญหา COVID-19 ดว้ ยชุมชน
- มงี บประมาณในการใหค้ วามชว่ ยเหลือผู้ขาดงาน ขาดรายได้ มีจำนวนนอ้ ย
- คนเดินทางมาจากตา่ งจังหวัดไมแ่ จ้งผนู้ ำ
- การให้ความชว่ ยเหลอื เป็นถงุ ยังชพี และเงิน มรี ะเบยี บและข้อจำกัด

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน ๒๒

ข้อเสนอแนะในภาพรวมตอ่ การดำเนนิ งานการปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน
- การตั้งด่านตรวจระดับตำบล ควรมีการจัดเวรผู้นำชุมชน ตั้งด่านหลาย ๆ จุด ที่เป็น

จดุ เส่ียงสำหรบั คนเข้า-ออก ในชุมชน ประชาสมั พันธข์ ่าวสารบอ่ ย ๆ

ตัวอย่างการจดั กิจกรรมชว่ งสถานการณก์ ารระบาดของโรคติดเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

กิจกรรมการประชาสมั พันธก์ ารแจกเบย้ี ยงั ชพี ประจำเดือน เมษายน พ.ศ.2563

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีแนวโน้มการ
แพร่ระบาดที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อป้องกัน และลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ เทศบาลตำบลแม่คือ จึงกำหนด
ออกหน่วยให้บริการการแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ ประจำเดือนเมษายน 2563 ในวันศุกร์
ท่ี 3 เมษายน 2563 ตัง้ แต่เวลา 09.30 น. ถงึ 12.00 น. ณ จดุ บริการของแต่ละหมู่บ้าน

*หมายเหตุ* เฉพาะผู้ป่วยติดเชื้อ สามารถมารับเบี้ยยังชีพไดท้ ่ีสำนกั งานเทศบาลตำบลแม่คือ ในวันศุกร์
ที่ 3 เมษายน 2563 ต้ังแตเ่ วลา 13.00 น. ถงึ 16.30 น.

หมูท่ ี่ 1 สถานท่ี ณ ศาลาเอกประสงค์ SML หมู่ที่ 1
หมทู่ ี่ 2 สถานท่ี ณ ศาลาเกริก หนา้ วดั แมค่ ือ
หมู่ที่ 3 สถานที่ ณ ตลาดประชารฐั หมทู่ ี่ 3
หม่ทู ี่ 4 สถานที่ ณ ศาลาที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมบู่ า้ น
หมทู่ ี่ 5 สถานท่ี ณ ศาลาเอกประสงค์ SML หม่ทู ่ี 5
หม่ทู ี่ 6 สถานท่ี ณ วดั หนองงู

การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน ๒๓

บทท่ี 4

ผลสำเรจ็ ของการดำเนนิ งานในระดับพื้นท่ี

ตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีการดำเนินการในการป้องกัน และลดความเสี่ยง
ในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งมีแนวโน้มการแพร่ระบาดที่เพิ่มมาก
ขึ้น ไม่ให้เข้าสู่หมู่บ้านและชุมชน ตลอดจนเพื่อปอ้ งกันกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเส่ียงที่ง่ายตอ่ การติดเชื้อที่อยู่
ในหมู่บ้านและชุมชน มีการดำเนินการในการค้นหาและเฝ้าระวังคนในพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเช้ือ
COVID -19 ทุกแห่งในตำบล ในช่วงที่มีสถานการณ์การระบาดของโรค โดยมีการดำเนินงานการป้องกัน
และแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน ได้แก่

การดำเนนิ งานการป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 ดว้ ยชุมชน

ตำบลแม่คือ มีการดำเนินงานด้านการสวัสดิการสังคมในทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการจัดทำข้อมูล
และพัฒนาการดำเนินงานพัฒนาข้อมูลร่วมกับมหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ และมีการขับเคลื่อน
การดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างสวัสดิการให้กับประชากรในพื้นที่ โดยการประสานกับหน่วยงานทั้งภายใน
และภายนอก

และในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 ในพืน้ ทไี่ ม่พบผู้ติดเชื้อ แต่มีสถานที่เสี่ยง
ที่มีการรวมกลุ่มของประชาชนหลายแห่ง ได้มีการดำเนินการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID -19
อย่างเขม้ แขง็ ดว้ ยพลังจากเครือขา่ ยในพ้นื ทีแ่ ละเจ้าหน้าท่ีทุกภาคสว่ น

ถงึ แมใ้ นวนั นีใ้ นพืน้ ที่ตำบลแม่คือ จะไมพ่ บผตู้ ดิ เช้อื แต่ยังมีผู้ไดร้ บั ผลกระทบและประสบปัญหาความ
ยากลำบาก ยังรอคอยความช่วยเหลือ เยียวยา แต่การขับเคลื่อนงาน Social Lab หรือ พื้นที่ปฏิบัติการ
พัฒนาสังคม เพื่อก้าวไปสู่การเป็น Social Smart City ชุมชนต้นแบบด้านสังคม ในพื้นที่ตำบลแม่คือ อำเภอ
ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019
หรือ COVID -19 ทีมงานหน่วยงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่
หรือ ทีม ONE HOME เชียงใหม่ ได้ร่วมกันขับเคลื่อนงาน Social Lab ภายใต้ประเด็น “การป้องกันและ
แก้ไขปัญหา COVID -19 ด้วยชุมชน” เพื่อรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมในพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วม
ของประชารัฐเพื่อสังคมในชุมชน และสามารถขยายผลไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นได้ต่อไป ซึ่งการดำเนินงาน
Social Lab หรือ พื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม เป็นหนึ่งในกิจกรรมของการดำเนินงานโครงการศูนย์บริการ
วิชาการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคมในระดับพื้นที่ ของสำนักงานส่งเสริมสนับสนุนวิชาการ ๙
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คือ การศึกษาสภาพปัญหา
ร่วมดำเนินงานติดตามและถอดบทเรียน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชารัฐเพื่อสังคมในชุมชน
โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเจ้าภาพสร้างชุมชนจัดการตนเอง เริ่มที่การจัดการข้อมูล ช่วยเหลือ
คุ้มครอง ป้องกัน นำไปสู่การจัดสวัสดิการสังคมและพัฒนาสังคมอย่างเป็นระบบ เพื่อก้าวไปสู่การเป็น
Social Smart City ชมุ ชนตน้ แบบดา้ นสงั คมตอ่ ไป

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน ๒๔

ตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่นั้น ไม่พบผู้ติดเชื้อ มีการเฝ้าระวังอย่างเต็มท่ี

เนื่องจากมีสถานที่ชุมชน จำนวนหลายแห่ง ได้มีการสื่อสาร การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน

รวมไปถึงการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ประสบปัญหา

ความเดือดร้อนอย่างเต็มที่ เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญกับภาวะวิกฤติได้ในทุกสถานการณ์ที่อาจ

มีการเปลีย่ นแปลง พร้อมปรับตวั รองรับชีวติ วิถีใหม่ได้ต่อไป

ทีม One Hone เชียงใหม่ ได้ร่วมกันขับเคลื่อนงาน โดยได้ประสานความร่วมมือ ในการให้ความ
ช่วยเหลือเบื้องต้น เป็นการบรรเทาสภาพปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วน โดยการมอบเครื่องอุปโภคบริโภค
และการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหา การลงพื้นที่เยี่ยมบ้านสอบข้อเท็จจริง ผู้ประสบปัญหา
เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือและประสานการช่วยเหลือ เยียวยา อย่างเหมาะสม รวมไปถึง การวิเคราะห์
วางแผนในการดำเนินงาน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนให้เป็นพื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม เป็นชุมชนต้นแบบ
ที่เข้มแข็ง มีจิตอาสา เข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ กินอิ่ม นอนอุ่น ลดการพึ่งพาจากภาครัฐ ภายใต้การบูรณาการ
ระบบ “คน งาน งบประมาณ และทุนทางสังคม” กบั ภาคีเครือข่าย ทงั้ ในและนอกกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ แบบ 360 องศา เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายโอนประสบการณ์
เป็น Social Lab ดา้ นการพฒั นาสังคมทม่ี ุง่ สคู่ วามม่ันคงของมนุษยต์ ่อไป

นอกจากนี้ จังหวัดเชยี งใหม่มีการขับเคล่ือน กิจกรรม CSR รว่ มฝา่ โควดิ -19 CSR หรอื Corporate
Social Responsibility คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินกิจการ
ภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก
องค์กร เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการจัดกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ให้ความสำคัญต่อสังคม ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีในมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด ร่วมเป็น CSR ช่วยเหลือ
เยียวยาผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มุ่งสร้าง
เสริมเครือข่ายจากทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม ภายใต้วิสยั ทัศน์ “สร้างสังคมดี คนมีคุณภาพ”
พร้อมไปกับการจัดระบบสวัสดิการที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนมีหลักประกัน
และมคี วามมัน่ คงในชวี ิต

ทิศทางการพฒั นาในอนาคต

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้สภาพเศรษฐกิจในประเทศไทย
ชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อระบบสังคมและระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ รายย่อย
ลูกจ้างทั่วไป พ่อค้า แม่ค้า เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา นักเรียนนกั ศึกษา หรือแม้แต่พนกั งานประจำ ล้วนได้รบั
ผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้น แต่หากเรามองให้ดี สถานการณ์ในครั้งนี้ได้มอบบทเรียนสำคัญให้เราทุกคน มีสติ
ไม่ประมาท และเริ่มต้นวางแผนชีวิต การงาน สำหรับการเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
ขึ้นอีกครั้ง ในยุค New Normal ภายหลังผ่านวิกฤติโควิด-19 ชีวิตของเราทกุ คน รวมทั้งการทำงานจะต้อง
เปล่ียนแปลงไป ไม่เหมือนเดิม สิ่งสำคัญในการทำงาน คือ การทำงานเป็นทีมและบูรณาการการทำงาน
กับเครือข่ายทุกภาคส่วน อาจจะต้องรักษาระยะห่างทางสังคม สร้างพลังใจให้ทีมงานให้พร้อม ฟันฝ่า
อุปสรรคต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญร่วมกัน ก้าวเดินร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความหวังและพลังใจเพื่อก้าวข้าม
ผา่ นทุกปญั หาและทกุ อปุ สรรค

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน ๒๕

“ช่วงที่รัฐบาลมีการคลายล็อก พนักงานทยอยกลับเข้ามาทำงาน หน่วยงานยังต้องคงนโยบายเดิม
ท่ที ำมาตงั้ แต่ชว่ งท่ีมกี ารระบาด ป้องกนั ตนเองไม่ใหร้ บั และแพรเ่ ช้ือใหค้ นอน่ื การท่จี ะตอ้ งใส่หน้ากากอนามัย
มาทท่ี ำงาน ในระหว่างทำงาน การล้างมอื เวลาจบั สมั ผัสพ้ืนที่ต่าง ๆ ในสถานทที่ ำงาน พน้ื ทใ่ี ช้รว่ มกัน สง่ิ ของ
ที่ใช้ร่วมกัน การวัดอุณหภูมิก่อนเข้าที่ทำงาน การสังเกตอาการ ว่ามีอาการไม่สบาย เจ็บป่วย หรือคนที่บ้าน
ที่มีอาการเจ็บป่วย ต้องรายงานหัวหน้าหน่วยงาน การแยกตนเองออกจากผู้อื่น และควรรีบไปพบแพทย์
เพอ่ื รับการตรวจวนิ ิจฉยั ตอ่ ไป”

“ที่สำคัญ พนักงานที่ไม่ได้เดินทางด้วยพาหนะส่วนตัว ใช้ระบบขนส่งสาธารณะต้องดูว่า นโยบาย
ของการขนส่งสาธารณะนั้น ๆ ใช้มากน้อยแค่ไหน มีการเว้นระยะห่างหรือไม่ ต้องระวัง แม้กระทั่งห้องน้ำ
ลฟิ ท์สาธารณะ ในอาคารท่ีทำงาน เป็นสงิ่ ทเ่ี ราตอ้ งปฏิบัตติ ่อไป”

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน ๒๖

New Normal คอื อะไร?

New Normal คือ ความปรกติใหม่ หรือฐานวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งหมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิต
อย่างใหม่ ที่แตกต่างจากอดีตเพราะได้รับผลกระทบจากบางสิ่ง บางเหตุการณ์ จนแบบแผนและแนวทาง
ที่คุ้นเคยเกิดการเปลี่ยนแปลงสู่วิถีชีวิตใหม่ เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้เกิดความคุ้นชิน และกลายเป็นส่วนหน่ึง
ของวถิ ชี วี ิตปรกติ

ท่มี าของ New Normal
New Normal ถกู ใช้ครง้ั แรกโดยบิลล์ กรอส (Bill Gross) ผ้กู อ่ ตง้ั บริษทั บรหิ ารสินทรัพยช์ าวอเมริกัน

โดยใช้อธิบายสภาวะเศรษฐกิจโลก หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ ในสหรัฐฯ ช่วงระหว่าง
ปี 2007-2009 และถูกนำมาใช้สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอยลง และมีโอกาสที่จะไม่กลับมา
เตบิ โตถึงระดับเดมิ ได้อกี

พฤติกรรมแบบ New Normal

1. การใชเ้ ทคโนโลยี และอินเทอรเ์ นต็
เทคโนโลยีควบคู่กับอินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตมากขึ้น ที่จากเดิมมีมากอยู่แล้ว
แต่ในสังคมยุค New Normal สิ่งเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในแทบทุกจังหวะชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การเรียนออนไลน์
การทำงานที่บ้าน การประชุมออนไลน์ การซื้อสินค้าออนไลน์ การทำธุรกรรม และการเอ็นเตอร์เทนชีวิต
รปู แบบต่าง ๆ อย่างดูหนงั ฟงั เพลง

การป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน ๒๗

2. การเวน้ ระยะหา่ งทางสังคม
ผู้คนในสังคมจะเห็นความสำคัญของการเว้นระยะห่างที่เป็นแนวทางการใช้ชีวิตช่วงวิกฤติโควิด -19
และจะดำเนินชีวิตแบบนั้นต่อไป โดยรักษาระยะห่างทางกายภาพเพิ่มขึ้น และใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วย
ในการสื่อสารและการใช้ชีวิต ลดการปฏิสัมพันธ์ การไปในสถานที่สาธารณะ และเน้นการทำกิจกรรมที่บ้าน
มากข้นึ

3. การดูแลใสใ่ จสขุ ภาพทั้งตัวเองและคนรอบขา้ ง
โดยเกิดความคุ้นชินจากช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่ต้องดูแลด้านสุขภาพและความสะอาดเพื่อป้องกัน
การแพร่เชื้อ ดังนั้นพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ และการล้างมืออย่างถูกวิธี และหมั่น
สังเกตตัวเองเมื่อไม่สบายจะยังคงมีต่อไป รวมถงึ การหนั มาใสใ่ จสขุ ภาพ การออกกำลงั กาย และการทำประกัน
สขุ ภาพจะมแี นวโน้มมากข้นึ

4. การใชเ้ งินเพอ่ื การลงทนุ
ยุค New Normal เป็นจังหวะที่ผู้คนยังระมัดระวังการลงทุนใหม่ ๆ และลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
เพราะแนวโนม้ เศรษฐกิจยังไมแ่ นน่ อน

5. การสรา้ งสมดลุ ชีวติ
การมีโอกาสได้ทำงานที่บ้าน ลดจำนวนวันการเข้าทำงานในสำนักงาน หรือการลดการพบปะผู้คน
ในสังคม แล้วหนั มาใชช้ วี ติ และทำงานที่บ้าน ทำให้ผ้คู นมองเห็นแนวทางที่จะสร้างสมดุลชีวติ ระหว่างอยู่บ้าน
มากข้ึน และจะเปน็ แนวทางในการปรบั สมดุลชีวิตระหวา่ งเวลาสว่ นตัว การงาน และสังคมใหส้ มดลุ มากยิ่งขน้ึ

ประชาชนคนทำงาน

1. การรักษาระยะห่างในทีท่ ำงาน คนทำงานที่เปลี่ยนจากการทำงานที่บ้าน และกลับมาเข้าทำงาน
ท่ีสำนักงาน ยังคงคุ้นเคยกับการปฏิบัติแบบรักษาระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัส และยังคงเห็น
ความสำคญั จากการดูแลสขุ ภาพในท่ที ำงานมากขนึ้

2. ใช้เทคโนโลยีช่วยทำงานมากยิ่งขึ้น จากการรักษาระยะห่างทางสังคมและการ work from home
ที่เคยปฏิบัตจิ นเคยชิด ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงาน โดยเฉพาะอนิ เทอร์เน็ตและแอปพลิเคชัน
ตา่ ง ๆ เช่น การประชุมงาน การสง่ งาน

3. มกี ารพัฒนาทกั ษะผ่านคอร์สออนไลน์ ในการทำงานชว่ งโควดิ -19 ทำให้ผคู้ นบางกล่มุ ถกู เลิกจ้าง
หรือถูกลดเงินเดือน การพัฒนาตัวเองเพื่อให้มีความสามารถ และเป็นผู้เชี่ยวชาญตามที่ตลาดแรงงาน
ยังต้องการจึงมีความสำคัญ ดังนั้นการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์
ผา่ นชอ่ งทางออนไลน์ จึงเป็นทางเลอื กของพนกั งานท่ที ำให้ได้พัฒนาตวั เองพร้อมกับทีย่ งั ทำงานประจำได้อยู่

New Normal ในวันนี้อาจเป็นแนวทางในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
และจะกลายเปน็ คำท่ีถูกพูดถึงอย่างปรกตวิ ิธีในอนาคตเหมือนกับที่เคยเกิดขน้ึ แลว้ ในวิกฤติต่าง ๆ ก่อนหน้านี้
แต่การเตรยี มพร้อมและตั้งรับอย่างดยี ังเปน็ สิง่ สำคัญที่จะทำให้ท้งั ธุรกจิ และชวี ติ สามารถดำรงอยู่ได้ไม่ว่าจะมี
อกี ก่วี กิ ฤติผ่านเข้ามา

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน ๒๘

บทท่ี ๕

สรปุ ผลการศกึ ษาและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศกึ ษา

สถานการณใ์ นการ “ป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน” การชว่ ยเหลอื การเยียวยา
ผู้ประสบปัญหาทางสังคมจังหวัดเชียงใหม่นั้น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ รวมถึงภาคีเครือข่ายภายนอกกระทรวง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ดำเนินงานช่วยเหลือ
ผู้ประสบปัญหาทางสังคมจังหวัดเชียงใหม่ ทุกหน่วยงานร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจด้านสวัสดิการสังคม
ในด้านการสงเคราะห์และคมุ้ ครองสวัสดภิ าพ การจัดบรกิ ารทางสังคมที่เก่ียวกบั การปอ้ งกัน แก้ไขปญั หา การ
พัฒนา และการส่งเสริมการเข้าถึงสทิ ธิและความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน ให้ความชว่ ยเหลือผู้ประสบปญั หา
ทางสงั คมในภาวะวิกฤติเร่งด่วนตามสถานการณ์ ให้การชว่ ยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพ และจดั บริการสวัสดิการ
ทางสังคมสำหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น เด็ก เยาวชน สตรี ผู้ด้อยโอกาส รายได้น้อย ไร้ที่พึ่ง เร่ร่อน
และกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ที่ประสบปัญหาทางสังคมในภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ หรือ COVID-๑๙ โดยทุกหน่วยงานจะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรม กระทรวงต้นสังกัด
และมีการดำเนินการภายใต้ระเบียบการดำเนินงานของแต่ละงาน เพื่อร่วมกันดำเนินการในการป้องกัน
และแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ อยา่ งเต็มที่

ตำบลแม่คอื อำเภอดอยสะเก็ด จงั หวัดเชยี งใหม่ ไมพ่ บผตู้ ดิ เช้ือ มกี ารเฝ้าระวังอยา่ งเต็มที่ เนื่องจาก
มีการสอื่ สาร สร้างความเข้าใจท่ีถูกต้องให้กับประชาชน รวมไปถึงการประสานความรว่ มมือจากหนว่ ยงานต่าง ๆ
เพื่อให้ความช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนอย่างเต็มที่ เป็นการเตรียมความพร้อม
เพอ่ื เผชิญกับภาวะวกิ ฤตไิ ดใ้ นทุกสถานการณ์ท่ีอาจมกี ารเปลยี่ นแปลง พรอ้ มปรบั ตวั รองรบั ชีวติ วถิ ใี หมต่ ่อไป

“การป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน” ปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินการ
คือ ความรว่ มมือของประชาชนทุกคน ทใ่ี ส่ใจในการประชาสัมพนั ธ์ รณรงค์ในทกุ รปู แบบ ตลอดจนหน่วยงาน
เป็นตัวอย่างในการตื่นตัว ดูแลตนเองอย่างดี รวมทั้งการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และระบบภาคีเครือข่าย
ในการทำงานอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างการรับรู้ และสร้างความเข้าใจร่วมกัน
และสามารถนำไปปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน หน่วยงาน เนื่องจาก
ภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือ COVID-๑๙ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น
และแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก มีผู้คนติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ประชาชนส่วนใหญ่
ต่างมีความหวาดกลัวการติดเชื้อ และพร้อมให้ความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเข้มงวดตามมาตรการ
ของภาครัฐ ซึ่งการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและระบบภาคีเครือข่ายในการทำงานอย่างมีส่วนร่วมเป็นแนวคิด
สำหรับการพัฒนาการดำเนินการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
หรอื COVID-๑๙ ได้อย่างยัง่ ยืน

การป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน ๒๙

นอกจากนี้ การทำงานภายใต้มาตรการและนโยบายที่ชัดเจนจากภาครัฐ และการดำเนินการ
ตามมาตรการของภาครัฐและจังหวัดอย่างเคร่งครัด โดยจังหวัดเชียงใหม่ มีคณะกรรมการโรคติดต่อ
จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเฉพาะกิจจังหวัดเชียงใหม่ (ศ.ข.ฉ.ก.) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานจากทุกภาคส่วน
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพ ชัดเจน ในการทำงาน การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และการประสาน
ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือ โควิด ๑๙
อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง มีการรายงานสถิติ ประกาศ ข่าวสาร สรุปมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง รวดเรว็
ทันต่อสถานการณ์วันต่อวัน การรับเรื่องร้องเรียน แจ้งเหตุ โดยการบูรณาการการทำงานจากทุกภาคส่วน
เพื่อการสื่อสาร การสร้างความเข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การรับรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตาม
อย่างเคร่งครัด และต่อเนื่อง เริ่มจากมาตรการที่ชัดเจนของรัฐบาลในระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับ
อำเภอ นำไปสู่ระดับชุมชน เป็นการสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ แนวทางในการปฏิบัติตนและดำเนินการ
ร่วมกนั ส่งผลใหก้ ารป้องกนั และแก้ไขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน เป็นไปอย่างดีเย่ียม อกี ทั้งมีการประสาน

ความร่วมมอื และการใหค้ วามร่วมมอื จากทุกภาคส่วนอยา่ งเต็มที่

ขอ้ เสนอแนะ

๑. รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงชุมชน ควรมีการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับกรณี
การแพร่ระบาดของโควดิ -19 คล่ีคลายลง ใหท้ ุกภาคสว่ น รวมถึงประชาชนทุกคนมคี วามพร้อมเดินหน้าต่อไป
เพ่ือใหส้ ามารถดูแลตนเอง ครอบครัว ชมุ ชน สังคม รวมไปถึงการแขง่ ขันกับประเทศอ่นื ๆ ทว่ั โลก

๒. รฐั บาลและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เก่ียวขอ้ ง ควรมนี โยบายในการช่วยเหลือประชาชนทุกคนและภาค
ธุรกิจใหม้ ากที่สุด ครอบคลมุ ทุกกลมุ่ เปา้ หมายเพ่ือเยยี วยาประชาชนและภาคธุรกิจ อยา่ งเทา่ เทยี มและท่ัวถงึ

๓. รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงชุมชน ควรมีการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับวิกฤติ
และสถานการณต์ า่ ง ๆ ที่อาจเกิดข้ึนในอนาคต

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน ๓๐

ภาคผนวก

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน ๓๑

ภาพกจิ กรรมการขบั เคล่อื นพน้ื ท่ีปฏิบตั ิการทางสังคม (Social Lab : SL)
วนั ที่ ๘ พฤษภาคม 2563

ณ เทศบาลตำบลแมค่ ือ อำเภอดอยสะเกด็ จงั หวดั เชียงใหม่

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน ๓๒

ภาพกิจกรรมการขบั เคลือ่ น“การป้องกนั และแก้ไขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน”ของจงั หวดั เชียงใหม่
วนั ท่ี ๑๐ มิถนุ ายน 2563

ณ ชุมชนช้างคลาน อำเภอเมือง จงั หวัดเชียงใหม่

การป้องกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน ๓๓

ภาพกจิ กรรมการขบั เคลอื่ น“การป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน”ของจังหวัดเชียงใหม่
วันที่ ๒๙ พฤษภาคม 2563

ณ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสงั คมผสู้ งู อายุ บา้ นธรรมปกรณ์ อำเภอเมอื ง จงั หวัดเชยี งใหม่

การป้องกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน ๓๔

ภาพกิจกรรมการขบั เคลอ่ื น“การปอ้ งกนั และแก้ไขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน” ของจงั หวดั เชียงใหม่
การเยี่ยมบา้ นผู้ประสบปัญหาความเดอื ดรอ้ นของทีมOne Home จงั หวัดเชียงใหม่
วันที่ ๒๐ พฤษภาคม 2563
ณ จังหวัดเชียงใหม่

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน ๓๕

ภาพกจิ กรรมการขบั เคลอ่ื น“การปอ้ งกนั และแก้ไขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน” ของจงั หวดั เชยี งใหม่
กจิ กรรมการมอบถุงยังชีพ และการลงพนื้ ท่เี ยี่ยมบา้ นผูป้ ระสบปัญหาความเดือดร้อน
ของทมี One Home จงั หวดั เชยี งใหม่
วันที่ ๘ พฤษภาคม 2563
ณ ตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเกด็ จังหวัดเชยี งใหม่

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ด้วยชุมชน ๓๖

ภาพกจิ กรรมการขบั เคลอ่ื น“การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน”ของจงั หวดั เชยี งใหม่
กจิ กรรมการมอบถุงยังชพี และการลงพ้ืนท่เี ยี่ยมบ้านผปู้ ระสบปัญหาความเดือดร้อน
ของทีมOne Home จังหวดั เชียงใหม่
วนั ท่ี ๘ พฤษภาคม 2563
ณ ตำบลแมค่ ือ อำเภอดอยสะเกด็ จงั หวัดเชียงใหม่

การป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน ๓๗

ภาพการขบั เคลื่อน “การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน”
ของ เทศบาลตำบลแมค่ อื อำเภอดอยสะเกด็ จงั หวดั เชยี งใหม่

การป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน ๓๘

ภาพการขบั เคลื่อน “การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน”
ของ เทศบาลตำบลแมค่ อื อำเภอดอยสะเกด็ จงั หวดั เชยี งใหม่

การป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน ๓๙

ภาพการขบั เคลื่อน “การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน”
ของ เทศบาลตำบลแมค่ อื อำเภอดอยสะเกด็ จงั หวดั เชยี งใหม่

การป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ด้วยชมุ ชน ๔๐

ภาพการขบั เคลื่อน “การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน”
ของ เทศบาลตำบลแมค่ อื อำเภอดอยสะเกด็ จงั หวดั เชยี งใหม่

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน ๔๑

บรรณานกุ รม

กรมควบคุมโรค. (๒๕๖๓) สถานการณ์การระบาดโรคโควดิ -๑๙ . สบื คน้ 3 มิถนุ ายน 2563,จาก
http://www.ddc.moph.go.th/viralpneumonia/fag-more.php.

จงั หวดั เชียงใหม่. (๒๕๖๓) ศนู ย์ขอ้ มลู ข่าวสารเฉพาะกิจจังหวดั เชียงใหม่ . สืบคน้ 15 มิถุนายน 2563,
จาก http://www.chiangmai.go.th.

เทศบาลตำบลแม่คือ (๒๕๖๓) ประวัติเทศบาล ขอ้ มลู ท่ัวไป . สืบคน้ 10 มถิ นุ ายน 2563,จาก
http://www.maekhu.go.th.

SCBThailand.(๒๕๖๓) ประเทศไทยหลังโควิด-19 . สืบค้น 7 พฤษภาคม 2563 , จาก
http://www.scb.co.th.

ThaiPublica. (๒๕๖๓) ผลกระทบ SDGs จากวิกฤติโควิด-19 และมาตรการรบั มือหลงั การระบาด .
สืบคน้ 2๖ เมษายน 2563,จาก http:// www.thaipublica.org.

We are CP.(๒๕๖๓) โควิด-19กับพฤตกิ รรม “ New Normal” มาตรฐานวถิ ีชีวติ ใหมใ่ นวนั นแี้ ละ
ตลอดไป . สบื ค้น ๑๙ พฤษภาคม 2563,จาก http://www.wearecp.com.

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชุมชน

เอกสารวชิ าการ ประจำปี 256๓
พนื้ ทป่ี ฏิบัติการพฒั นาสงั คม (Social Lab : SL)

“การป้องกนั และแกไ้ ขปัญหา COVID–๑๙ ด้วยชมุ ชน”

เทศบาลตำบลแมค่ ือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชยี งใหม่

เจา้ ของและผู้จัดพมิ พ์ :
สำนักงานสง่ เสรมิ และสนับสนุนวิชาการ 9
บริเวณศนู ย์ราชการจังหวดั เชียงใหม่ ถนนโชตนา
ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่
จงั หวดั เชียงใหม่ ๕๐๓๐๐
โทรศัพท์ ๐๕๓-๑๑๒๔๘๕-๖ โทรสาร ๐๕๓-๑๑๒๔๙๑
Email: [email protected]

ที่ปรึกษาโครงการ : ธิแก้ว ผอู้ ำนวยการสำนักงานส่งเสรมิ และสนบั สนุนวิชาการ ๙
นายธนู สใุ จ นักพัฒนาสงั คมชำนาญการพเิ ศษ
นางสาวอจั ฉรา ฉตั รภูติ นกั พฒั นาสงั คมชำนาญการพเิ ศษ
นายธนากร

คณะทำงาน:

หนว่ ยงานสงั กดั กระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมน่ั คงของมนุษย์ในพน้ื ทจี่ ังหวัดเชียงใหม่
เทศบาลตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเกด็ จังหวัดเชียงใหม่
สำนกั งานสง่ เสริมและสนบั สนุนวชิ าการ ๙
นางพรรคริน อดุ มวฒั นานันท์ นกั พฒั นาสังคมชำนาญการ
นางสาวภารำพึง อริยะ นักพฒั นาสงั คมชำนาญการ
นางสาวแคทริยา ฆวีวงศ์ นกั พัฒนาสังคม
นายดนพุ งศ์ กาญจนธีรานนท์ เจา้ หน้าทพ่ี ัฒนาสงั คม
นางสาวจิรชยา ขตั ิรัตน์ เจ้าหนา้ ที่พฒั นาสงั คม
นางสาวเมษยา ตน้ คุณ พนักงานบรกิ าร
นายไพฑรู ย์ ชยั ชนะ พนักงานบริการ

เรยี บเรยี ง อุดมวฒั นานนั ท์ นักพฒั นาสังคมชำนาญการ
นางพรรครนิ ฆวีวงศ์ นักพฒั นาสังคม

ออกแบบปก-รปู เล่ม
นางสาวแคทริยา

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-๑๙ ดว้ ยชมุ ชน


Click to View FlipBook Version