The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

8. Social Lab ต.เปือ อ.เชียงกลาง จังหวัดน่าน-พร้อม QR Code

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kaweewong88, 2020-08-23 06:58:29

8. Social Lab ต.เปือ อ.เชียงกลาง จังหวัดน่าน-พร้อม QR Code

8. Social Lab ต.เปือ อ.เชียงกลาง จังหวัดน่าน-พร้อม QR Code

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 0

การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 1

พนื้ ที่ปฏิบัตกิ ารพฒั นาสงั คม (Social Lap)

องคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จงั หวัดนา่ น
“การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมชุ น”

จดั ทำโดย

ศูนย์บริการวิชาการพัฒนาสงั คมและจัดสวสั ดกิ ารสงั คม
สำนักงานส่งเสริมและสนบั สนุนวิชาการ 9
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่นั คงของมนษุ ย์

ทอ่ี ยู่

บรเิ วณศนู ยร์ าชการจังหวดั เชยี งใหม่
ถ.โชตนา ตำบลชา้ งเผือก อำเภอเมอื งเชยี งใหม่ จงั หวัดเชยี งใหม่ 50300
โทรศพั ท์ 053-112485-6 โทรสาร 053-112491
Facebook : ศูนย์บรกิ ารวิชาการพัฒนาสังคมและจดั สวสั ดกิ ารสังคม สสว. 9
เวบ็ ไซด์ : www.tpso-9.m-society.go.th

เผยแพร่

กรกฎาคม 2563

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน ก

คำนำ

การดำเนินงานพื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม(Social Lab) เป็นกิจกรรมตามโครงการ
ศูนย์บริการวิชาการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคม ประจำปี พ.ศ. 2563 ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงาน
ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 9 ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์ในพื้นที่จังหวัดลำพูน โดยเป็นการศึกษาสภาพปัญหา ร่วมดำเนินงาน ติดตามและถอดบทเรียน
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชารัฐเพ่ือสังคมในชุมชน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน
เป็นเจ้าภาพ ซ่งึ จงั หวดั นา่ นดำเนนิ การในพ้ืนท่ีตำบลเปือ อำเภอเชยี งกลาง จงั หวดั นา่ น โดยเร่ิมที่การจัดการ
ข้อมูล ช่วยเหลือ คุ้มครอง ป้องกัน นำไปสู่การจัดสวัสดิการสังคมและพัฒนาสังคมอย่างเป็นระบบ
ซ่งึ ตำบลเปือเป็นตำบลต้นแบบด้านการพัฒนาสังคม มีการทำงานทโี่ ดดเดน่ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุก
วัยด้วยการมีส่วนร่วมจากชุมชน โดยในปี 2563 มีการแพร่ระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส (COVID-19)
การดำเนินงานพื้นท่ีปฏิบัติการพัฒนาสังคม(Social Lab) จึงเป็นการศึกษาการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
“การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-19 ด้วยชมุ ชน” ผา่ นการศกึ ษาขอ้ มลู รวบรวมข้อมูลและการสำรวจ
ข้อมูลตามแบบสำรวจข้อมูลการดำเนินงานในพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานและ
ทิศทางการพัฒนางานในอนาคตในพ้ืนทป่ี ฏิบตั กิ ารพัฒนาสงั คม (Social Lab)

สำนักงานส่งเสริมและสนบั สนนุ วิชาการ 9
กรกฎาคม 2563

การป้องกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน ข

บทสรุปผู้บริหาร

การดำเนินงานพื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม (Social Lab) เป็นกิจกรรมตามโครงการศูนย์บริการ
วิชาการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคม ประจำปี พ.ศ.2563 ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานส่งเสริม
และสนับสนุนวิชาการ 9 ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ใน
พื้นที่จังหวัดน่าน โดยเป็นการศึกษาสภาพปญั หา ร่วมดำเนินงาน ติดตามและถอดบทเรียน เพื่อส่งเสริมให้
เกิดการมสี ่วนรว่ มของประชารัฐเพ่ือสังคมในชุมชน โดยมีองคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถิ่นเป็นเจ้าภาพ ซง่ึ จังหวัดน่าน
ดำเนินการในพ้นื ทอ่ี งคก์ ารบริหารสว่ นตำบลเปอื อำเภอเชยี งกลาง จงั หวัดน่าน โดยเรม่ิ ทกี่ ารจัดการข้อมูล
ช่วยเหลือ คุ้มครอง ป้องกัน นำไปสู่การจัดสวัสดิการสังคมและพัฒนาสังคมอย่างเป็นระบบ ซึ่งตำบล เปือ
เป็นตำบลต้นแบบด้านการพัฒนาสังคม มีการทำงานที่โดดเด่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกวัยด้วย
การมีส่วนร่วมจากชุมชน โดยในปี 2563 มีการแพร่ระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส (COVID-19) การดำเนินงาน
พื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม(Social Lab) จึงเป็นการศึกษาการขับเคลื่อนการดำเนินงาน “การป้องกัน
และแก้ไขปัญหา COVID-19 ด้วยชุมชน” ผ่านการศึกษาข้อมูล รวบรวมข้อมูลและการสำรวจข้อมูลตาม
แบบสำรวจข้อมูลการดำเนินงานในพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานและทิศทาง
การพฒั นางานในอนาคตในพื้นทปี่ ฏิบตั ิการพฒั นาสังคม (Social Lab)

สถานการณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 ในพื้นที่จังหวัดน่านได้มีการดำเนินการ
ช่วยเหลือ การเยียวยา ผู้ประสบปัญหาทางสังคมในจังหวัดน่าน โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงภาคีเครือข่ายภายนอกกระทรวง ทั้งภาครัฐ
และภาคเอกชนที่ดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมจังหวัดน่าน ทุกหน่วยงานร่วมกันขับเคลื่อน
ภารกจิ ด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ใหค้ ำปรึกษา คุ้มครองสวสั ดิภาพ การจดั บรกิ ารทางสังคมท่ี
เกี่ยวกับการป้องกัน แก้ไขปัญหา และการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิและความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินให้
ความชว่ ยเหลอื ผู้ประสบปญั หาทางสังคมในภาวะวิกฤติเร่งดว่ นตามสถานการณ์ ให้การชว่ ย เหลือคุ้มครอง
สวัสดิภาพ และจัดบริการสวัสดิการสังคมสำหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็ก เยาวชน สตรี ผู้ด้อยโอกาส
ผู้มีรายได้น้อย ไร้ที่พึ่ง เร่ร่อน และกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ที่ประสบปัญหาทางสังคมในภาวการณ์แพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ COVID-19 โดยทุกหน่วยงานร่วมกันดำเนินการในการป้องกัน
และแก้ไขปญั หา COVID-19 อย่างเต็มท่ี อกี ทงั้ การทำงานภายใตม้ าตรการและนโยบายทีช่ ดั เจนจากภาครัฐ
และการดำเนินการตามมาตรการของภาครัฐและจังหวัดอย่างเคร่งครัด โดยจังหวัดน่าน
มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดน่าน ประชาสัมพันธ์จังหวัดน่านให้ความสำคัญเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล
ใหก้ ับประชาชนในจังหวดั มีการจดั ต้งั ศนู ย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
(COVID-19) ศูนย์ข่าวโควิด19 น่าน ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานจากทุกภาคส่วน
ท่เี กย่ี วข้อง เพือ่ สรา้ งความเปน็ เอกภาพ ชดั เจน ในการทำงาน การสื่อสาร ประชาสมั พันธ์ และการประสาน

การปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน ค

ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด -19
อย่างเข้มแข็งและตอ่ เนื่อง มีการรายงานสถติ ิ ประกาศ ข่าวสาร สรุปมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนือ่ ง รวดเรว็
ทันต่อสถานการณ์วันต่อวัน การรับเรื่องร้องเรียน แจ้งเหตุ โดยการบูรณาการการทำงานจากทุกภาคส่วน
ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ทั้งในระยะที่มีการแพร่ระบาดของโรค ระยะของการบังคับใช้
มาตรการต่างๆอย่างเข้มงวดในช่วงล๊อคดาวน์ จนกระทั่งเข้าสู่การผ่อนคลายมาตรการต่างๆลง เพื่อการ
สื่อสาร การสร้างความเข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การรับรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตามอย่าง
เคร่งครัด และต่อเนื่อง เริ่มจากมาตรการที่ชัดเจนของรัฐบาลในระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ
นำไปสูร่ ะดับชมุ ชน เป็นการสร้างการรับรู้ สรา้ งความเขา้ ใจ แนวทางในการปฏิบัติตนและดำเนินการร่วมกัน
สง่ ผลใหก้ ารป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-19 ด้วยชุมชน เปน็ ไปอยา่ งดเี ยี่ยมและมีประสิทธภิ าพ

สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 ด้วยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเปือ
มีปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินการ มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและระบบภาคีเครือข่ายในการทำงาน
ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างการรับรู้ และสร้างความเข้าใจร่วมกันและสามารถนำไป
ปฏิบตั ติ ามไดอ้ ย่างถูกต้อง ท้งั ในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน หน่วยงาน เนอ่ื งจากภาวะการแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ COVID-19 เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไป
ทั่วโลก มีผู้คนติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นท่ีต่างมีความหวาดกลัวการติด
เชื้อ จึงพร้อมให้ความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเข้มงวดตามมาตรการของภาครัฐ รวมทั้งการให้ความ
ร่วมมือกับทุกภาคส่วนอย่างเต็มท่ีในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เพื่อให้ทุกคนในชุมชน
ปลอดภัยจากโรคระบาด

การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน ง

สารบัญ

คำนำ หน้า
บทสรปุ ผูบ้ ริหาร
บทที่ 1 สถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรน่า 2019 (COVID-19 ) ก

- สถานการณ์ทวั่ โลก 1
- สถานการณใ์ นประเทศไทย 1
- สถานการณ์ในระดับจงั หวดั 2
- สถานการณใ์ นระดบั ชมุ ชนและขอ้ มูลชมุ ชน 6
บทท่ี 2 ผลกระทบท่ีเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 8
- ผลกระทบดา้ นเศรษฐกจิ 18
- ผลกระทบด้านสงั คม การศึกษา สาธารณสุข และวัฒนธรรม 18
บทที่ 3 การบรหิ ารจัดการสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของ COVID-19 20
- การบริหารจัดการและมาตรการการดำเนนิ การในระดับจงั หวดั 25
- การบรหิ ารจัดการและมาตรการการดำเนินการในระดับชุมชน 25
บทท่ี 4 ผลสำเร็จของการดำเนนิ งานในระดบั พ้นื ที่ 28
- ผลสำเร็จของการดำเนินงานในระดบั พน้ื ที่ 30
- ทิศทางการพัฒนาในอนาคต 30
บทที่ ๕ สรปุ ผลการศกึ ษาและข้อเสนอแนะ 36
- สรปุ ผลการศกึ ษา 40
- ขอ้ เสนอแนะ 40
บรรณานุกรม 46
ภาคผนวก

การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 1

บทท่ี 1

สถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคติดเชอ้ื ไวรสั โคโรน่า 2019 (COVID-19)

1.1 สถานการณท์ ่วั โลก

ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มา
อย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัส
สายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพรร่ ะบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ท่ียังไม่
เคยพบมาก่อน คือ สายพนั ธุ์ท่ี 7 จึงถกู เรยี กวา่ เปน็ “ไวรัสโคโรนาสายพนั ธ์ุใหม่” และในภายหลงั ถูกตั้งช่ือ
อย่างเปน็ ทางการว่า “โควดิ -19” (COVID-19) นนั่ เอง

แม้ว่าอาการโดยทว่ั ไปจะดเู หมอื นเปน็ เพยี งไข้หวัดธรรมดา แต่ทีก่ ลัวกันท่ัวโลกเปน็ เพราะ เชื้อ
ไวรัสนี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ ที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะตัวไหนที่สามารถรักษาให้หายได้โดยตรง การรักษาเป็นไป
แบบประคับประคองตามอาการเท่านั้น นอกจากนี้ อันตรายที่ทำให้เสี่ยงถึงชีวิต จะเกิดขึ้นเมื่อระบบ
ภูมิต้านทานโรคของเราไม่แข็งแรง หรือเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายการทำงานของปอดได้ จนทำให้เชื้อไวรัส
แพร่กระจายลุกลามมากข้ึน รวดเรว็ ข้นึ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น
"การระบาดใหญ"่ หรอื pandemic หลังจากเช้ือลุกลามไปใน 118 ประเทศและดินแดนท่ัวโลก และมีผู้ ติด
เชื้อกว่า 121,000 คน ทั้งได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 4,300 คน อีกทั้งยังประกาศให้การแพร่ระบาดของ
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น "ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ" เนื่องจากมีการพบ ผู้ติดเชื้อ
รายใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความกังวลว่าการระบาดของไวรัสชนิดนี้จะแพร่ไปสู่ประเทศที่มีระบบ
สาธารณสุขอ่อนแอ

การป้องกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 2

1.2 สถานการณใ์ นประเทศไทย

สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย จึงถือให้วันที่ 4 มกราคม.2563 เป็นจุดเริ่มแรกของการรับมือ
กบั โรคระบาด "โควดิ -19" (เดิมเรยี กเพอื่ ความเข้าใจตรงกนั ว่า โรคปอดอกั เสบจากอู่ฮัน่ , ปอดอักเสบจากเชื้อ
ไวรัสโคโรน่า และได้รบั การประกาศ ชื่อโดยองคก์ ารอนามัยโลกว่า COVID-19 ภายหลงั ) โดยได้เร่ิมคัด
กรองผู้โดยสารเที่ยวบินตรงจากเมืองอู่ฮัน่ ประเทศจีนต้นตอการระบาด เพียงไม่นานประเทศไทยพบผู้ป่วย
ยืนยันในประเทศไทยเป็นรายแรกที่ไม่มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่ระบาด โดยเป็นคนมีอาชีพขับรถแท็กซ่ี
และมีประวัติรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จึงเพิ่มการเฝ้าระวัง ในผู้ป่วยปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุ ใน
พื้นที่ 8 จังหวัด ที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไป ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ชลบุรี
ประจวบคีรีขนั ธ์ กระบ่ี และภเู กต็ และรฐั บาลไทยได้ขยายพืน้ ที่เสยี่ งในการคัดกรองผเู้ ดินทางผ่านสนามบิน
ครอบคลุมประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ด้วย ช่วงต้นเดือนมีนาคม 63 ได้มีการประกาศผู้เสียชีวิต
รายแรกจากโควิด-19 รายแรกในไทย จึงเริ่มมีมาตรการประกาศประเทศเสี่ยง เขตติดโรคติดต่ออันตราย
ตอ้ งกักตัวทุกคน และหน้ากากอนามัยทางการแพทย์เร่ิมขาด โดยมีประกาศให้หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์
ถูกสั่งห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย และประกาศให้ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่เป็นเขตโรคติดต่อจะต้องแสดง
ใบรับรองแพทย์ และในช่วงเดอื นต้นเดือนมนี าคม 2563 นี้เองเริ่มมีการระบาดหนักจากการตรวจพบผ้ปู ่วย
โควิด-19 จากการไปสนามมวยลุมพินี ซึ่งมีจัดการแข่งขันชกมวยรายการใหญ่ ชื่อว่า “ลุมพินีแชมเปี้ยน
เกยี รตเิ พชร” มกี ารจัดคูม่ วยดังขน้ึ ชก 11 คู่ และแจกรถยนต์ 3 คนั ทำใหม้ ีเซยี นมวยและประชาชนเข้าชม
เปน็ จำนวนมาก หลงั จากน้ันทำใหเ้ กิดการระบาดขึน้ ในหลายพืน้ ท่ี เนอ่ื งจากผู้เข้าชมและผ้เู ข้าแขง่ ขันมาจาก
หลายจังหวัด และตรวจพบว่ามผี ู้ติดเชื้อทว่ั ประเทศจากการเข้ารับชมการแข่งขนั ในสนามมวยดังกล่าวสูงถึง
164 คน อย่างไรก็ตาม จุดกระเพื่อมแรกของการระบาดภายในประเทศเกิดขึ้น ทำให้รัฐบาลประกาศจัดตัง้
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 15 มาตรการเร่งด่วน และให้ปิด
มหาวทิ ยาลยั โรงเรียนนาชาติ สถาบันกวดวชิ า เปน็ ระยะเวลา 2 สปั ดาห์ ปดิ ผบั สถานบนั เทิง สถานบริการ
นวดแผนโบราณและโรงมหรสพ ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ชั่วคราว 14 วัน และงดการจัดกิจกรรม
รวมคนจำนวนมากที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งปลายเดือนมีนาคม 2563 มีการเริ่ม
ใชพ้ .ร.ก.สถานการณฉ์ ุกเฉินทัว่ ราชอาณาจักรห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานทวั่ ราชอาณาจักร (เคอร์ฟิว)
และสง่ั หา้ มไมใ่ หค้ นต่างชาตแิ ละคนไทยเดนิ ทางเข้าประเทศไทย หา้ มเครื่องบินทกุ ประเทศและผู้โดยสารเข้า
ประเทศไทย และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ การดูแลตัวเอง ทั้งล้างมือบ่อยๆ หรือการไม่ออกไปพบปะ
ผู้คนแออัดในพื้นที่เสี่ยง หรือทำตามคำแนะของแพทย์ และรัฐบาลยืนยันว่าผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 หรือผู้ป่วยที่เข้าข่ายเกณฑ์ สอบสวนโรคทุกรายสามารถรักษาฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งศูนย์บริหาร
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (โควดิ -19) หรอื ศบค. กระทรวงสาธารณสุข
ได้แถลงผู้ติดเชือ้ สะสมรวม ผเู้ สยี ชวี ิตสะสม รักษาหายปว่ ยแล้ว ใหป้ ระชาชนรับทราบในทกุ วัน

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 3
กระทรวงสาธารณสุขประกาศ "โรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา 2019" หรอื "โรคโควิด-19" เปน็ โรคติดต่อ
อันตรายตามพระราชบญั ญัตโิ รคตดิ ต่อ พ.ศ. 2558 โดยใหม้ ผี ลบงั คับใชต้ งั้ แตว่ ันท่ี 1 มี.ค.2563 และเวบ็ ไซต์
ราชกิจจานเุ บกษา เผยแพรป่ ระกาศกระทรวงสาธารณสขุ เรอื่ ง "ชือ่ และอาการสำคญั ของโรคติดตอ่ อันตราย
(ฉบบั ที่ 3) พ.ศ. 2563" โดยประกาศให้ "โรคติดเชอื้ ไวรัสโคโรนา 2019" หรือ "โรคโควิด 19" เปน็ โรคติดต่อ
อนั ตรายตามพระราชบัญญตั โิ รคตดิ ตอ่ พ.ศ. 2558 โดยมีใจความสำคญั ดงั น้ี

โดยที่เป็นการสมควรให้มีการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19
(Coronavirus Disease 2019 (COVID -19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.
2558 เพือ่ ประโยชนใ์ นการเฝา้ ระวงั ปอ้ งกนั และควบคุมโรคติดตอ่ อันตราย

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ
พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ
จงึ ออกประกาศไว้ ดงั ต่อไปน้ี

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญ ของโรคติดต่อ
อันตราย (ฉบับท่ี 3) พ.ศ. 2563 "

การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 4

ข้อ 2 ประกาศนี้ใหใ้ ช้บงั คบั ตงั้ แตว่ ันถัดจากวนั ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (14) ของข้อ 1 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและ
อาการสำคญั ของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. 2559

(14) โรคตดิ เช้ือไวรสั โคโรนา 2019 หรอื โรคโควดิ 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)
มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการ
ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงข้ันเสยี ชีวติ " ประกาศ ณ วันท่ี 26 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2563

ประกาศดังกล่าวนี้ เป็นผลมาจากการประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ
สง่ ผลใหก้ ระทรวงสาธารณสขุ ของไทยยกระดับมาตรการป้องกนั การระบาดของไวรัสชนิดน้ี

หลังจากประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ทั้งประชาชน ผู้ประกอบการ เช่น โรงแรม มีหน้าที่ตาม
กฎหมายที่ต้องรายงานและแจ้ง เมื่อสงสัยหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่ออันตราย ในกรณี
เดินทางกลับมาจากพื้นที่ ที่มีการระบาด หรือมีโอกาสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เมื่อมีอาการไข้ หรืออาการเกี่ยวกบั
ระบบทางเดินหายใจ ต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ขั้นตอนของการซัก
ประวตั ิ เพื่อชว่ ยในการรักษาและป้องกันตนเองด้วย

สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 เป็นวิกฤตที่กระทบรุนแรงกว่าที่เคยเกดิ ขึ้นก่อนหน้านี้ เพราะเป็นวกิ ฤต
ท่แี พรก่ ระจายสง่ ผลกระทบไปทั่วโลก ตา่ งจาก Hamburger Crisis ในปี 2008 ท่มี ผี ลเฉพาะสหรัฐและยุโรป
แต่ด้านเอเชียยังดีอยู่ และวิกฤตต้มยำกุ้ง ในปี 1997 ที่กระทบแค่กับไทยและประเทศเอเชีย ไม่ไปถึงยุโรป
และสหรัฐ แต่วิกฤตโควิด-19 กระจายรุนแรงไปทั่วโลกกว่า 208 ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ และมากกว่า 144
ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่าร้อยรายขึ้นไป ในส่วนประเทศไทย แม้เราจะสามารถจัดการกับสถานการณ์
ได้ดี โดยตัวเลขผู้ติดเช้ือลดน้อยลง ในลักษณะ Flatten the Curve แต่ก็ต้องดูช่วงหลังการผ่อนคลาย
มาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ ทุกประเทศทั่วโลกก็จับตามองในประเทศตัวเองเช่นกัน โดยเฉพาะการ
ทดสอบตรวจหาผู้ติดเชื้อ (Testing) ในส่วนประเทศไทย จำนวน Testing ไป 227,00 ราย คิดเป็นจำนวน
3,300 คนต่อจำนวนประชากร 1 ล้านคน ซึ่งนับว่าค่อนข้างน้อยอยู่ จึงต้องติดตามสถานการณ์และมาตรการ
Testing ในช่วงหลังจาก ผ่อนคลายล็อกดาวน์ทั้งนี้ เมื่อดูจากดัชนีล็อกดาวน์ของประเทศที่มีการปิดเมือง
มาพล็อตกับดัชนีภาคอุตสาหกรรม จะออกมาเป็นกราฟ Downward Sloping หมายความว่ายิ่งล็อกดาวน์
มาก เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมลดลงมาก ชี้ให้เห็นว่า การล็อกดาวน์มีนัยยะสำคัญต่อผลผลิตเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม อย่างไรกด็ ี เศรษฐกจิ จะกลบั มาฟนื้ ตัวเรว็ หรือชา้ ไมไ่ ดข้ นึ้ อยู่กับการผ่อนคลายล็อกดาวน์อย่าง
เดียว แต่ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นและพฤติกรรมผู้บริโภคที่จะกลับมาใช้จ่าย ออกไปที่ชุมชนเหมือนก่อนเกิด
เกิดวิกฤติโควิด ซึ่งตรงนี้ มาตรการ Testing ติดตามผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพมีส่วนสำคัญในการสร้างความ
เชอ่ื ม่ันใหผ้ บู้ ริโภค

ดังนั้นประเทศไทยยังคงต้องระมัดระวังอย่างมาก ไม่ให้มีการระบาดภายในประเทศเกิดขึ้นเราคง
จะต้องต่อสู้ไปอีกยาวนานทุกคนจะต้องช่วยกัน ที่จะไม่ลืม กำหนดระยะห่างสำหรับบุคคล สังคม ล้างมือ
ใสห่ นา้ กากอนามยั

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 5

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 6

1.3 สถานการณใ์ นระดับจงั หวัด

ด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease
2019 (COVID-19) อันเปน็ โรคติดต่ออันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชอ่ื และอาการสำคัญ
ของโรคติดต่ออนั ตราย (ฉบบั ท่ี ๓) พ.ศ.2563 มแี นวโนม้ การแพร่กระจายและพบการเพิม่ ขนึ้ ของผู้ปว่ ยอย่าง
รวดเรว็ จังหวัดลำพูนจึงมีความจำเป็นเรง่ ด่วนที่จะต้องดำเนินการป้องกันและยับย้ังการแพร่ระบาดของโรค
เริม่ จากมกี ารแตง่ ต้ังคณะกรรมการโรคติดต่อจงั หวัดลำพูน จดั ต้งั ศูนยบ์ รหิ ารสถานการณก์ ารแพร่ระบาดโรค
ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ศูนย์ข่าวโควิด19 น่าน ศูนย์ข้อมูล COVID -19 ซึ่งเป็นการบูรณา
การทำงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาด
ของโรคตดิ เชอื้ ไวรัสโคโรนา่ 2019 หรือ โควิด 19 อย่างเข้มแข็งและต่อเน่ือง

จงั หวัดนา่ นเปน็ จงั หวัดทีย่ ังไม่มีผูต้ ิดเช้ือไวรัสโคโรน่า 2019 หรอื โควิด 19 และจังหวดั นา่ น เป็น 1
ใน 9 จังหวัดของภาคเหนอื ตอนบนที่ยงั ไมม่ ีรายงานผู้ติดเช้ือ มีผู้ป่วยสะสม 0 ราย ซึ่งมากจากความร่วมมือ
ของทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยประชาชนในจังหวัดน่านต่างให้ความ
ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และมีชุมชนที่เข้มแข็งในการเฝ้าระวัง รักษาตัวเอง เพื่อป้องกันการติดเช้ือ
เกิดจากความเข้มแข็งและความร่วมมือร่วมใจกนั ในการสกดั การแพรร่ ะบาดของเชอ้ื ไวรสั โควดิ -19 ให้เหน็ ว่า
จงั หวดั นา่ นไม่มีผปู้ ว่ ยในพ้ืนทอ่ี ย่กู ่อนแล้ว และไม่มีผ้ปู ว่ ยใหมเ่ ขา้ มาในพ้ืนที่ และจงั หวัดไดม้ ีมาตรการฉุกเฉิน
สั่งระงับการเดินทางเข้าจังหวัดน่านเป็นการชั่วคราว เส้นทางผ่านด่านห้วยน้ำอุ่น อำเภอเวียงสา
ซึ่งเป็นเส้นทางหลักเข้าจังหวัดน่าน รอยต่อจังหวัดแพร่ที่ด่าน อำเภอบ้านหลวง รอยต่อ จังหวัดพะเยา
และด่านบ้านสะเกิน อำเภอสองแคว รอยต่อจังหวัดพะเยา และ เพื่อให้จังหวัดน่านเป็นจังหวัดทีป่ ลอดเช้ือ
ได้มีมาตรการคำสั่งจากผู้ว่าราชการจังหวัดน่านห้ามเข้า-ออกเมืองถ้าไม่จำเป็น ห้ามขายเครื่องด่ืม
แอลกอฮอล์ ห้ามรวมตัว งดกิจกรรมทางศาสนา และการรวมตัวชุมชนเพื่อกิจกรรมต่างๆ รวมถึงผู้ที่
เดินทางกลับเข้ามาในจังหวัดน่าน ต้องกักตัว 14 วันทุกราย โดยมีเจ้าหน้าที่ อสม. ,อปพร. ,เทศกิจ และ
เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิง่ แวดล้อม สำนักงานเทศบาลเมืองน่าน นำเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย
ตรวจวัดทุกคนที่ตลาดสดในเขตเทศบาลเมือง เพื่อคุมเข้มรักษามาตรการในพื้นที่เสี่ยง ที่ยังเป็นพื้นที่
สาธารณะที่มีประชาชนจำเป็นต้องมารวมตัวกัน ซึ่งนอกจากตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายแล้ว ยังต้องใส่
หน้ากากอนามัย และ ล้างมือด้วย เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเช้ือไวรัส และผู้ว่าราชการ
จังหวัดน่าน ได้ออกมาตรการควบคุมและป้องกันโรคเพิ่มขึ้นอีก 3 ฉบับ เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโค
วิด-19 ในพื้นที่ บังคับให้ทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้ง ตลอดระยะเวลาที่เดินทาง
หรือปฏิบัติภารกิจนอกบ้าน หรือออกไปทำงานนอกพ้ืนที่ ได้ออกมาตรการคุมเข้มทุกอย่างที่ทุกคนต้อง
ปฏิบัตอิ ยา่ งเคร่งครัด หากฝ่าฝนื มคี วามผิดท้งั จำและปรบั และไดอ้ อกมาตรการคุมเข้มทุกอย่างที่ทุกคนต้อง
ปฏบิ ัติอย่างเครง่ ครดั หากฝ่าฝืนมีความผิดท้งั จำและปรบั เพือ่ ให้จังหวัดนา่ นเป็นจงั หวดั ทปี่ ลอดเช้ือ

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 7

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 8

1.4 สถานการณใ์ นระดบั ชมุ ชนและขอ้ มลู ชุมชน

1.4.1 สถานการณใ์ นระดบั ชุมชน

สถานการณใ์ นพนื้ ที่ตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวดั น่าน ไม่พบจำนวนผู้ป่วยติดเช้ือไวรัส
โคโรน่า 2019 หรือ โควิด 19 ในพ้ืนที่ สำหรับคนทเ่ี ปน็ กล่มุ เสี่ยงหรือเปน็ ผู้ที่เดินทางมาจากจังหวัดท่ีมี
ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด 19 จะมีการดำเนินการกักตัวจำนวน 190 คน และได้มีการ
จัดเตรียมสถานที่รองรับการกักตัวผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ห้องประชุม 2 องค์การ
บริหารส่วนตำบลเปือ เป็นสถานที่กักตัวกลุ่มเสี่ยง โดยจะมีการกักตัวระยะเวลา 14 วัน เพื่อป้องกัน
ไม่ให้แพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ไปยังบุคคลอื่นภายในชุมชนได้ และในส่วนผู้ที่ไดร้ บั ผลกระทบจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในพื้นที่ตำบลเปือ จำนวน 500 คน และทาง
องคก์ ารบริหารสว่ นตำบลเปือได้มีแนวนโยบายและระเบยี บปฏิบตั ิในการดำเนนิ การป้องกันและแก้ไข
ปัญหาการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตามหนังสือสั่งการด่วนที่สุด ที่ สธ 0410.71050
ลงวันท่ี 19 มีนาคม 2563 โดยให้ทกุ คนในพ้ืนท่ปี ฏบิ ตั ิตามอยา่ งเคร่งครัด

1.4.2 ข้อมูลชุมชนองค์การบรหิ ารส่วนตำบลเปอื

วสิ ัยทัศน์
“พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สืบสานวฒั นธรรม นำชมุ ชนเข้มแข็ง แหล่งนำ้ สมบูรณ์ เพิม่ พูนเกษตรกรรม

น้อมนำเศรษฐกจิ พอเพยี ง”

พนั ธกิจ
1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการ

ของประชาชน เพื่อรองรับการขยายตัวขององค์การบริหารส่วนตำบลในอนาคตและเศรษฐกิจของ
องค์การบรหิ ารสว่ นตำบล

2. ปรับปรุงพัฒนาระบบบรหิ ารการจดั การท่ดี ีโดยใหป้ ระชาชนมีสว่ นรว่ มในการตดั สนิ ใจ

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 9

3. จดั การทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อมเพือ่ การพัฒนาที่ยง่ั ยืน
4. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษาและสาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนา
ศลิ ปวฒั นธรรมอันดีงามและภูมปิ ัญญาทอ้ งถ่ิน
5. ปรบั ปรุงและพัฒนาระบบบรหิ ารการจัดการความม่นั คงและปลอดภยั ในชีวติ และทรัพย์สิน
ของประชาชน

สภาพทวั่ ไป

1. ด้านกายภาพ
1.1 ทตี่ งั้ ตำบลเปือ
ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๒ (ราช
กิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 16 ตอนพิเศษ 82ง วันที่ 15 ตุลาคม 2542) ตั้งอยู่เลขท่ี
111 บ้านสันทนา หมู่ที่ 4 ตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน รหัสไปรษณีย์ 55160 มีพ้ืนที่
ทั้งหมด 79 ตารางกโิ ลเมตร อยหู่ ่างจากอำเภอเชียงกลาง 7 กโิ ลเมตร และหา่ งจากตัวจังหวัดน่าน 73
กิโลเมตร ตามทางหลวงแผน่ ดินหมายเลข 1080 มีเขตการปกครองติดต่อกบั พนื้ ท่ใี กล้เคยี ง ดังต่อไปน้ี
ทศิ เหนอื ตดิ ตอ่ กับ องคก์ ารบรหิ ารส่วนตำบลท่งุ ชา้ ง
ทศิ ใต้ ติดตอ่ กับ เทศบาลตำบลเชียงกลาง
ทศิ ตะวนั ออก ติดตอ่ กับ องค์การบรหิ ารสว่ นตำบลพระธาตุ
ทศิ ตะวนั ตก ติดตอ่ กับ องค์การบรหิ ารส่วนตำบลนาไรห่ ลวง อำเภอสองแคว

1.2 ลกั ษณะภมู ปิ ระเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของหมู่บ้านเป็นที่ราบระหว่างหุบเขาโดยเป็นที่ราบต่ำ

และสลับกับทร่ี าบสูงมแี ม่น้ำ และลำนำ้ ธรรมชาตไิ หลผา่ น ไดแ้ ก่ แม่น้ำนา่ น แม่น้ำเปอื เป็นต้น
1.3 ลกั ษณะภูมอิ ากาศ
สามารถแบ่งฤดกู าลออกเปน็ ๓ ฤดู ดังนี้
1) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงราวปลายเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจากลม

มรสมุ ตะวนั ตกเฉยี งใต้ที่ผัดผ่านทะเลและมหาสมทุ ร เปน็ ลมที่มคี วามช้ืนสูง ทำใหฝ้ นตกชุก
2) ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ประมาณเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพล

ของลมมรสมุ ตะวนั ออกเฉยี งเหนือท่ีพัดพามาจากประเทศจีน นำเอาอากาศหนาวเยน็ เขา้ มาปกคลุม
3) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ในช่วงนี้จะได้รับอิทธิพล

จากลมมรสมุ ตะวันออกเฉยี งใต้ จะมีอากาศรอ้ นอบอ้าวท่วั ไปและมฟี า้ หลัวเกือบทุกวนั

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 10

1.4 ลกั ษณะของดนิ
ลักษณะของดิน เป็นดินในพ้ืนท่ีลุ่มนำ้ ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรได้

เป็นอย่างดีซึ่งมีลักษณะเป็นดินปนทราย โดยเฉพาะหมู่บ้านในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ลุ่มน้ำดังนี้ ลำน้ำเปือ
ประกอบด้วย บ้านสันทนา หมู่ 4 บ้านวังว้า หมู่ 5 บ้านห้วยเลื่อน หมู่ 6 บ้านดอนสบเปือ หมู่ 7
และแม่น้ำนา่ น ประกอบดว้ ย บา้ นดอนสบเปอื หมู่ 7 บ้านส้อ หมู่ 9 และบ้านหนองผุก หมู่ 10

1.5 ลกั ษณะของแหลง่ นำ้
แหลง่ นำ้ ที่สำคญั ทีใ่ ช้ประโยชนใ์ นการเกษตรการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค
1. ลำนำ้ นา่ น ไหลผา่ น บ้านหว้ ยพา่ น, บ้านส้อ, บา้ นดอนสบเปือ, บา้ นหนองผกุ
2. ลำน้ำเปือ ไหลผา่ น บา้ นสันทนา, บา้ นวังว้า, บา้ นห้วยเลื่อน, บา้ นดอนสบเปือ ลงสลู่ ำน้ำ

นา่ น
3. ลำนำ้ ก่มุ ไหลลงสอู่ า่ งเก็บนำ้ ออ้ ไหลผา่ นบ้านสันทนา, บ้านวงั ว้า, บา้ นห้วยเลือ่ น

2. ดา้ นการเมอื ง/การปกครอง
เขตการปกครอง

มีหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 10 หมู่บ้าน 1,083 ครัวเรือน ประชากรชาย 1,668
คน หญงิ 1,642 คน รวมท้งั สิ้น 3,310 คน มีหมู่บา้ นไดแ้ ก่

หมูท่ ี่ ชื่อหมบู่ ้าน
3 บา้ นนำ้ อ้อ

4 บา้ นสนั ทนา

5 บา้ นวังว้า
6 บา้ นหว้ ยเลอ่ื น

7 บ้านดอนสบเปือ

9 บา้ นส้อ

10 บ้านหนองผุก
12 บา้ นเด่นพัฒนา

13 บา้ นหว้ ยพ่าน

14 บ้านนำ้ มดี

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 11

3. ประชากร
ขอ้ มลู เกยี่ วกบั จำนวนประชากร
- หม่บู ้านในเขตองคก์ ารบริหารสว่ นตำบลเปอื เตม็ ทั้งหมบู่ า้ น มีจำนวน 6 หมบู่ า้ น ไดแ้ ก่

หมทู่ ี่ 3 บา้ นนำ้ ออ้ ชาย 273 คน หญิง 286 คน รวม 559 คน 183 ครัวเรอื น
หมู่ที่ 9 บ้านสอ้ ชาย 274 คน หญงิ 261 คน รวม 535 คน 170 ครวั เรือน
หมู่ท่ี 10 บ้านหนองผกุ ชาย 302 คน หญิง 280 คน รวม 582 คน 223 ครัวเรอื น
หมทู่ ่ี 12 บ้านเดน่ พฒั นา ชาย 314 คน หญงิ 305 คน รวม 619 คน 190 ครวั เรือน
หมทู่ ี่ 13 บา้ นห้วยพา่ น ชาย 91 คน หญงิ 78 คน รวม 169 คน 50 ครัวเรอื น
หม่ทู ี่ 14 บา้ นนำ้ มีด ชาย 81 คน หญงิ 91 คน รวม 172 คน 45 ครัวเรือน

- หมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเปือบางส่วน โดยอีกส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบล
เชยี งกลาง มี 4 หมู่บา้ น ได้แก่

หมทู่ ่ี 4 บ้านสนั ทนา ชาย 123 คน หญิง 143 คน รวม 266 คน 96 ครัวเรอื น
หมทู่ ี่ 5 บา้ นวงั ว้า ชาย 119 คน หญิง 111 คน รวม 230 คน 72 ครัวเรอื น
หมทู่ ี่ 6 บ้านหว้ ยเลื่อน ชาย 58 คน หญิง 54 คน รวม 112 คน 33 ครัวเรือน
หมูท่ ่ี 7 บา้ นดอนสบเปอื ชาย 33 คน หญิง 33 คน รวม 66 คน 21 ครัวเรือน
4. ทรพั ยากรธรรมชาติ
4.1 น้ำ
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเปือมีแหล่งน้ำที่เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติและที่ได้
นำมาใชเ้ พ่อื การอปุ โภคและบรโิ ภคและนำมาใช้เพือ่ การเกษตรอยจู่ ำนวน 4 สาย ดงั นี้
1. แม่น้ำน่าน บ้านห้วยพ่าน หมู่ที่ 13 บ้านดอนสบเปือ หมู่ที่ 7 บ้านส้อ หมู่ที่ 9 บ้านหนองผุก
หมู่ท่ี 10
2. ลำหว้ ยพา่ น บ้านห้วยพา่ น หมทู่ ี่ 13
3. ลำน้ำอ้อ บ้านน้ำออ้ หมทู่ ่ี 3 บา้ นวงั วา้ หม่ทู ี่ 5 และบ้านหว้ ยเลอ่ื น หม่ทู ี่ 6
4. ลำนำ้ เปอื บา้ นสันทนา หม่ทู ี่ 4 บ้านวงั ว้า หมทู่ ่ี 5 บา้ นห้วยเลอื่ น หมทู่ ่ี 6 บ้านดอนสบเปอื หมู่ที่ 7
5. ลำน้ำมดี บ้านน้ำมีด หมู่ท่ี 14

4.2 ปา่ ไม้
พน้ื ทีส่ ่วนใหญข่ องตำบลเปอื เปน็ พื้นทปี่ า่ ไมซ้ ึง่ เปน็ อยใู่ นเขตป่าสงวนแห่งชาติ และป่า

การป้องกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 12

4.3 ภเู ขา
มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา และมีเขาเรียงรายรอบพื้นที่และมีภูเขาสูงอยู่บริเวณทางทิศ
ตะวนั ตกของพืน้ ทีต่ ำบล

4.4 คุณภาพของทรพั ยากรธรรมชาติ
เป็นแหล่งที่ทำมาหากินของชาวตำบลเปือและตำบลข้างเคยี งเนื่องจากว่าพ้ืนท่ีป่ามีความอุดม
สมบรู ณม์ ากมีตน้ ไม่ขนาดใหญป่ กคลมุ ทุกพ้ืนท่ี เชน่ การหาหนอ่ ไม้ การเกบ็ ของปา่ กนิ และการนำสัตว์
ไปเล้ียงในปา่

5. สภาพเศรษฐกจิ
1. ระบบเศรษฐกจิ

1.1 การเกษตร
มีการประกอบอาชพี ทางการเกษตรกรรมเป็นหลกั เช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน ปลูกผัก
- ทำสวน ไดแ้ ก่ มะม่วง มะขามหวาน ลำไย ลนิ้ จี่ สม้
- ปลูกผกั ได้แก่ ผักกาดเขียวปลี ถัว่ ฝักยาว ถวั่ ลนั เตา แตงกวา
- ทำไร่ ไดแ้ ก่ ปลูกข้าว ขา้ วโพด ถวั่ เหลือง ถั่วลิสง ยาสูบ
1.2 การปศสุ ัตว์
ประชาชนที่ประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นลักษณะของการเล้ยี งเป็นครอบครัวเพอื่ การบริโภคใน
ครัวเรอื น เช่น เลีย้ งไก่ เป็ด หมู โค กระบอื
1.3 การบรกิ าร
มรี สี อรท์ จำนวน 4 แหง่
1. ไร่จฑุ ามาศ รีสอร์ท ตั้งอยู่บ้านนำ้ ออ้ หมทู่ ่ี 3
2. น้ำออ้ รสี อร์ท ตัง้ อยบู่ ้านนำ้ ออ้ หมู่ท่ี 3
3. ปลายน่าน รีสอรท์ ตั้งอยบู่ า้ นน้ำออ้ หมู่ที่ 4
4. เอื้องดอย รีสอร์ท ตง้ั อยบู่ ้านสันทนา หม่ทู ี่ 4

1.4 การทอ่ งเท่ยี ว
เขตองคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบลเปอื มีสถานท่ีท่องเที่ยวหลายแหง่ ได้แก่ สวนสาธารณะ

อ่างเก็บน้ำน้ำอ้อ ตั้งอยู่บ้านน้ำอ้อ หมู่ที่ 3 รอยพระบาท บ้านดอนสบเปือ หมู่ที่ 7 เขตอนุรักษ์พันธ์ุ
ปลาและล่องแพแมน่ ้ำนา่ นจาก บา้ นหว้ ยพา่ น หม่ทู ่ี 13 ถึง บ้านดอนสบเปือ หมูท่ ่ี 7

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 13

1.5 การพาณชิ ย์และกลมุ่ อาชพี
ประชาชนสว่ นใหญป่ ระกอบอาชพี ทางด้านการเกษตรกรรมซง่ึ มีพ้ืนที่ท้งั หมดในการ

เพาะปลูกประมาณ 7,084 ไร่ พืชที่ปลูก ได้แก่ ข้าว ถั่วเหลือง ข้าวโพด ยาสูบ และพืชผักสวนครัว
ซง่ึ มกี ารส่งเสริมการปลกู โดยเอกชน

2. เศรษฐกจิ พอเพียงท้องถิ่น (ดา้ นการเกษตรและแหล่งน้ำ)
2.1 ขอ้ มูลด้านแหลง่ น้ำทางการเกษตร
1. โครงการสบู นำ้ ด้วยพลงั ไฟฟา้ บา้ นหนองผุก หมู่ท่ี 10 พ้ืนท่ีไดร้ บั ประโยชน์ หม่ทู ่ี 10
2. อ่างเกบ็ น้ำน้ำอ้อ พน้ื ท่ีไดร้ ับประโยชน์ หม่ทู ่ี 5, 6, 7
3. อ่างเก็บน้ำหว้ ยสอ้ พ้นื ที่ได้รับประโยชน์ หม่ทู ่ี 9, 10
4. อา่ งเกบ็ นำ้ หว้ ยมื่น พน้ื ที่ได้รับประโยชน์ หมู่ท่ี 10
5. อ่างเก็บนำ้ หว้ ยข้าวหลาม พ้นื ท่ีไดร้ ับประโยชน์ หมูท่ ่ี 10, 12

2.2 ขอ้ มลู ดา้ นแหล่งนำ้ กนิ น้ำใช้ (หรือนำ้ เพื่อการอุปโภค บริโภค)
1. อา่ งเกบ็ น้ำน้ำอ้อ หมบู่ ้านท่ีใชป้ ระโยชน์ หมทู่ ี่ 5 , 6 , 7
2. อา่ งเกบ็ น้ำห้วยส้อ หมูบ่ า้ นทีใ่ ชป้ ระโยชน์ หม่ทู ี่ 9 , 12
3. อา่ งเก็บน้ำหว้ ยมน่ื หมบู่ ้านทใี่ ชป้ ระโยชน์ หมทู่ ี่ 12
4. อ่างเก็บน้ำหว้ ยข้าวหลาม หม่บู ้านทใี่ ช้ประโยชน์ หมู่ท่ี 10 , 12
5. สระเกบ็ นำ้ หว้ ยแล้ง หมบู่ ้านท่ีใช้ประโยชน์ หมทู่ ่ี 9 , 12
6. แม่นำ้ น่าน หม่บู า้ นท่ใี ชป้ ระโยชน์ หมู่ 9 , 11 , 12
7. ห้วยน้ำมดี หม่บู า้ นท่ใี ชป้ ระโยชน์ หมู่ 14
8. หว้ ยพา่ น หมู่บา้ นทใ่ี ช้ประโยชน์ หมู่ 13

6. สภาพทางสังคม

6.1 การศกึ ษา
1. โรงเรียนระดบั ประถมศกึ ษา จำนวน ๔ แหง่
2. ศูนยพ์ ฒั นาเดก็ เล็กก่อนวัยเรยี น จำนวน ๓ แห่ง
3. ศนู ย์การเรียนรชู้ ุมชน จำนวน ๑ แห่ง

6.2 สาธารณสุข
การให้บริการด้านสาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาล

ส่งเสรมิ สุขภาพบ้านส้อเดน่ พฒั นา และมศี นู ย์บรกิ ารสาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 10 แห่ง

การปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 14

6.3 อาชญากรรม
เขตองคก์ ารบรหิ ารส่วนตำบลเปอื ไมม่ ีปญั หาทางดา้ นอาชญากรรม ประชาชนอยู่กันอย่าง

สงบสขุ มีชมรมตำรวจบา้ นและมกี ารตง้ั เวรยามของแต่ละหมู่บา้ น
6.4 การสังคมสงเคราะห์
มกี ารดำเนนิ การดา้ นสงั คมสงเคราะห์ในลักษณะมอบเบ้ยี ยงั ชพี ดังนี้

หมทู่ ่ี ประเภทเบย้ี ยังชพี รวม

ผ้สู งู อายุ ผู้พิการ ผปู้ ว่ ยเอดส์

3 101 34 1 136

4 58 19 1 78

5 39 14 - 53

6 19 7 - 26

7 18 7 - 25

9 127 39 1 167

10 126 35 - 161

12 139 38 - 177

13 25 11 - 36

14 30 4 - 34

รวม 682 208 3 893

(ข้อมลู ณ เดือนพฤษภาคม 2562)

6.5 ศาสนา ประเพณี และวฒั นธรรม
6.5.1 การนบั ถอื ศาสนา
ประชาชนส่วนใหญน่ ับถือศาสนาพุทธ มีวัดต้งั อย่ใู นเขตองคก์ ารบรหิ ารส่วน

ตำบลเปอื และเป็นศนู ยก์ ลางของการประกอบพธิ กี รรมทางศาสนาในวนั สำคัญทางศาสนา ดังนี้
1.วดั จำนวน 4 แหง่ ได้แก่ วดั น้ำออ้ บา้ นน้ำออ้ หมทู่ ี่ 3 วัดจอมราษฎร์ บา้ นวงั วา้

หม่ทู ่ี 5 วัดประดษิ ฐ์ส้อ บา้ นส้อ หมทู่ ี่ 9และวัดหนองผุก บ้านหนองผกุ หมู่ที่ 10
2.ท่พี ักสงฆ์ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ทพ่ี กั สงฆ์บา้ นสันทนา หมู่ที่ 4 ทพี่ กั สงฆบ์ ้าน

หว้ ยเลอื่ น หมูท่ ี่ 6 ทพ่ี ักสงฆ์บา้ นหว้ ยพา่ น หมทู่ ่ี 13 และทีพ่ กั สงฆ์บา้ นนำ้ มีด หมู่ที่ 14
3. โบสถ์ 2 แหง่ ได้แก่ โบสถบ์ ้านวงั วา้ หมทู่ ี่ 5 และโบสถบ์ า้ นนำ้ มีด หมทู่ ี่ 14

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 15

6.5.2 ประเพณีและงานประจำปี
ประชาชนมขี นบธรรมเนียมประเพณีเหมือนท้องถิ่นทัว่ ไปทางภาคเหนอื ประเพณี

ท่ีสำคญั ของชมุ ชน ได้แก่ ประเพณสี งกรานต์ และงานลอยกระทง เปน็ ตน้

6.5.3 ภูมปิ ญั ญาทอ้ งถิ่น ภาษาถน่ิ
ยาสมุนไพร , การจักสานวสั ดุจากไม้ไผ่ , การจักสานวสั ดุจากหวาย ,การแกะสลัก

พระ, การย้อมแหจากเม็ดสุระ , การตัดตงุ , การทอผ้า
ภาษาทใ่ี ช้ คอื ภาษาคำเมือง

6.5.4 สนิ ค้าพืน้ เมืองและของท่รี ะลึก
พระแกะสลัก , โคมไฟทำจากไม้ไผ่ , เกา้ อี้ โต๊ะ ขันโตกทำจากหวาย , เมล็ดพันธุ์

พชื ปลอดสารพิษ ยาสมนุ ไพร , ผ้าเช็ดหนา้ , ผา้ ซนิ่ พ้นื เมอื ง

ข้อมูลพื้นฐานประชากร
- ขอ้ มลู ชมุ ชน จำนวน 10 ชุมชน ไดแ้ ก่ หมู่ที่ 3 บา้ นน้ำออ้ หมู่ที่ 4 บ้านสันทนา

หมทู่ ี่ 5 บา้ นวังวา้ หม่ทู ่ี 6 บ้านหว้ ยเลอื่ น หมทู่ ่ี 7 บ้านดอนสบเปอื หมู่ท่ี 9 บ้านส้อ หม่ทู ี่ 10
บา้ นหนองผุก หมู่ท่ี 12 บา้ นเดน่ พัฒนา หมู่ที่ 13 บา้ นหว้ ยพา่ น หมู่ที่ 14 บ้านน้ำมดี

- จำนวนประชากร 3310 คน ชาย 1,694 คน หญงิ 1,616 คน ผสู้ ูงอายุ 739 คน
- จำนวนครวั เรือน 1,083 ครัวเรือน

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 16

ข้อมูลผู้ประสบปัญหาความเดอื ดรอ้ น

ที่ ประเภท จำนวน หมายเหตุ
(คน)
1 จำนวนผู้มบี ัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 809 -
2 จำนวนมารดาทรี่ บั เงินโครงการเงนิ อดุ หนนุ เด็กแรกเกิด 79 -
3 จำนวนผสู้ งู อายทุ รี่ บั เงินเบี้ยยังชพี ผสู้ ูงอายุ 724 -
4 จำนวนคนพิการทร่ี ับเงินเบย้ี ยังชพี คนพิการ 212 -
5 ผ้ปู ระสบปัญหาความเดือดร้อนยากลำบากในการครองชพี 500 -
6 เดก็ และเยาวชนอย่ใู นสภาวะยากลำบาก 50 -
7 เด็กออกจากโรงเรยี นกลางคนั 3-
8 เด็ก เยาวชน มีพฤติกรรมเส่ียงต่อการกระทำผิด 5-
9 มารดาวัยรุ่น 30 -
10 มารดาเลีย้ งเดยี่ ว 10 -
11 ครอบครัวแหว่งกลาง (ปู่ ยา่ ตา ยาย หรอื ญาติ ดแู ลแทนบิดา 30 -

มารดา) 2-
12 ครอบครวั ประสบปญั หาความรนุ แรงในครอบครวั 100 -
13 ผูส้ ูงอายุอาศัยอยตู่ ามลำพัง 6-
14 ผูป้ ่วยตดิ เตียง 535 -
15 ผูป้ ่วยเรอ้ื รงั 212 -
16 คนพกิ าร

การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 17

ท่ี ประเภท จำนวน หมายเหตุ
(คน)
17 คนเรร่ อ่ น ไร้ที่พ่ึง 10 -
18 กลุ่มชาติพนั ธุ์ -
19 ผูป้ ระสบปัญหาทางสังคมอื่นๆ 2 -

290

ข้อมูลสถานการณ์ ในการดำเนนิ งาน ปอ้ งกันและแก้ไขปัญหา COVID – 19 ด้วยชมุ ชน
- จำนวนผปู้ ว่ ย COVID – 19 ในพืน้ ท่ี - คน
- จำนวนผ้ทู ่มี ีการดำเนนิ การในการกกั ตัว (State Quarantine) 190 คน
- สถานที่รบั รองการกักตวั (State Quarantine) 1 แหง่ ไดแ้ ก่ หอ้ งประชุม 2
องค์การบรหิ ารสว่ นตำบลเปือ
- จำนวนผู้ไดร้ บั ผลกระทบจากสถานการณ์ COVID – 19 จำนวน 500 คน

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 18

บทท่ี 2

ผลกระทบท่เี กิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID -19

2.1 ผลกระทบด้านเศรษฐกจิ

สำหรับอาการป่วยจาก COVID-19 อาจจะไม่รุนแรงสำหรับคนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81)
แต่กลบั เป็นโรคทนี่ ่ากลวั สำหรบั ผู้สงู อายุและผ้ทู ม่ี โี รคประจำตวั บางอยา่ ง เชน่ โรคหัวใจ โรคหอบ ฯลฯ
และสิ่งที่จะช่วยลดหรือ ป้องกันการระบาดของไวรัสเพื่อมิให้ระบาดไปถึงกลุ่มเสี่ยง คือการหลีกเลี่ยง
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนษุ ย์ ไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มเสีย่ งหรอื ไม่ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ด้วยความสามารถ
ในการปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของมนุษย์ ทำให้สังคมมนุษย์มีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะ
เป็นการพบปะหารือเพื่อแลกเปล่ียน ความคดิ และเจรจาต่อรอง การรวมตัวเพ่อื ถ่ายทอดความรู้เช่นใน
ห้องเรียน และการเดินทางข้ามรัฐ ข้ามแดนด้วยเทคโนโลยีคมนาคมต่างๆ โดยเฉพาะในยุค
Globalization ที่มนษุ ย์ทวั่ โลกเชอ่ื มต่อกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แตต่ อนนกี้ จิ กรรมทางสงั คม เหล่าน้ี ได้
กลายเป็นการสนับสนุน การระบาด รัฐบาล และ ผู้เช่ียวชาญทั่วโลก ขอความร่วมมือจากประชาชน
ให้งดการเดินทางทัง้ ในและต่างประเทศ งดการออกจากบ้าน งดการ รวมกลมุ่ ขอ้ ปฏบิ ัติต่างๆ เหล่าน้ี
ส่งผลกระทบทำให้การดำเนินชีวิตและการเข้าสังคมของมนุษย์เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงเกิดผลกระทบ
หลากด้าน หลายปจั จัย

อาชีพที่จำเปน็ ในช่วงวิกฤต

เมื่อพูดถึงอาชีพที่มีความสำคัญอย่างมากในช่วงวิกฤตการระบาดของ Coronavirus แพทย์
พยาบาล และผู้ให้บรกิ ารทางการแพทย์ในส่วนต่างๆ คงเปน็ คนกลุ่มแรกทท่ี ุกคนนกึ ถงึ เพราะเป็นสาย
อาชีพที่เป็น ด่านหน้าในการรับมือกับไวรัสและผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ในขณะที่คนส่วนใหญ่ สามารถ
เกบ็ ตวั ในบ้านหรือทำงานจากทบ่ี ้าน (Work from Home) เพื่อป้องกันตัวเองจากการระบาด ยังมีคน
ในอีกหลายสายอาชีพ ที่ยังต้องออกทำงานและเผชิญกับความเสี่ยง เช่น พนักงานในห้างสรรพสินค้า
แผนกอาหาร และซุปเปอร์มาร์เก็ตยงั คงต้องทำงานหนกั ในการจดั เตรยี มสินค้า เพื่อให้ลูกคา้ สามารถ
ซื้อหาสินค้าที่ต้องการได้ พนักงานทำความสะอาด และเก็บขยะที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีความ
เสี่ยง เพื่อรักษาความสะอาดของบ้านเมือง คนขับรถแท็กซี่ และบริษัทขนส่งตา่ งๆ ที่ยังช่วยให้บรกิ าร
คนในพื้นที่ต่างๆ ยังสามารถเดินทางหรือส่งของหรือสินค้าให้กันได้ รวมถึง เจ้าหน้าที่รักษาความ
ปลอดภัยต่างๆ ที่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่เพือ่ มั่นใจว่า ประชาชนอยู่ในกฎระเบียบ และ เจ้าหน้าที่ภาครฐั
บางภาคส่วน เช่น สถานเอกอัครราชทูตในต่างประเทศที่มีหน้าที่ให้ข้อมูลให้ความช่วยเหลือกับ
ประชาชน

การป้องกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 19

ในขณะเดียวกัน มีหลายอาชีพ ที่เป็นที่ยอมรับกันว่าสามารถทำเงินได้มากกว่าอาชีพอื่นๆ
หรือมีความมั่นคง เป็นที่ใฝ่ฝันของหลายคน แต่กลับเป็น สายอาชีพแรกๆ ที่ถูกกระทบโดยวิกฤต
COVID-19 ก่อนใคร เช่น นักบินสายการบินพาณิชย์ ซึ่งจะมีนักบินจำนวนมากต้องตกงาน เนื่องจาก
สายการบินตา่ งๆกำลงั ประสบปัญหา ไม่สามารถใหบ้ ริการได้ตามปกติ นกั ร้อง นักแสดง เนื่องจากงาน
แสดงงานโชว์ต่างๆต้องถูกยกเลิกวิกฤตครั้งนี้ทำให้เห็นว่า อาชีพที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่และความอยู่
รอดของมนุษยเ์ ป็นอาชพี ท่จี ะยงั อยู่ต่อไปได้ โดยเฉพาะในสถานการณไ์ มป่ กติ

เมอื่ ความตระหนักกลายเปน็ ความตระหนก
ประชาชนจะต้องปรับตัว และเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่าง เพื่อป้องกันตัวเองและช่วยลด
การระบาด แต่การตระหนัก บางครั้งก็มีมากเกนิ ไป จนกลายเป็นความตระหนกและก่อให้เกดิ ความ
วนุ่ วายข้นึ ในสงั คม ปรากฏการแรก ทเ่ี ราไดเ้ หน็ กัน คือ การเหยยี ดเชอื้ ชาตใิ นสถานการณ์ COVID-19
การเกลียดกลัวชาวต่างชาติหรือ คนจีน (Xenophobia) เกิดจากความไม่รู้ ความกลัว และการตัดสิน
คนที่ Stereotype ซึ่งชาวตะวันตกมองว่า COVID-19 เป็นโรคที่เกิดจากคนจีน จึงเกิดความกลัวและ
ความเกลียดชังคนเอเชีย จึงเกิดเหตุการณ์ทำร้ายชาวเอเชียขึ้นตามที่เห็นในข่าว แต่ในปัจจุบัน
เหตุการณ์ก็เริ่มกลับตาลปัตร กลายเป็นคนเอเชียก็เริ่มกลัวฝรั่งบ้าง เพราะการแพร่ระบาดในยุโรป
และสหรัฐอเมรกิ า ดจู ะรนุ แรงข้นึ เรือ่ ยๆ
การกักตุนสินค้า เป็นที่เข้าใจได้ว่า ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ มนุษย์เรา ต้องการเตรียมความ
พร้อมเพอื่ ความอยรู่ อด อย่างไรก็ตามโดยหลักการแลว้ การกกั ตุนสนิ ค้าจำนวนมากๆ ไมม่ คี วามจำเป็น
ในสถานการณ์นี้ ถึงแม้ว่าหลายคนจะมองว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคลในการกักตุนสินค้า แต่การทำเช่นนี้
ก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมา เช่น คนที่มีรายได้น้อยหรือผู้สูงอายุ ไม่สามารถเข้าถึงสินค้าที่จำเป็นได้
ความวุ่นวาย การแก่งแย่งสินค้า ปัญหาการโก่งราคาและผู้ค้าที่ฉวยโอกาส ไปจนถึงปัญหาหน้ากาก
ขาดแคลน ซึ่งกระทบไปถึงแพทย์และผู้ให้บริการทางการแพทย์ซึ่งมีความจำเป็น ซึ่งหากประชาชนมี
ความเขา้ ใจและปฏบิ ตั ิตนในแบบท่เี หมาะสมจะทำให้เราสามารถหลีกเล่ียงปญั หาเหลา่ น้ไี ด้

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและความเหล่ือมลำ้ ทางสงั คม

การเจ็บป่วย เสียชีวิต การหยุดงาน หรือตกงาน ส่งผลไปสู่การสูญเสียรายได้ ซึ่งจะส่งผล
กระทบไปสู่ คา่ ใช้จา่ ยภายในครัวเรือน โดยการสูญเสียงานหรือเสยี รายได้น้ี จะมีโอกาสเกิดขึ้นกับคน
ที่มีฐานะยากจนที่เป็นแรงงานนอกระบบ (Informal Worker) มากกว่าคนที่มีรายได้แน่นอนจากงาน
ประจำ และมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นในประเทศด้อยพัฒนา กำลังพัฒนามากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว
ดงั นนั้ ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชอ้ื ไวรัสโควิด-19 นี้ จะสง่ ผลตอ่ เนอ่ื งไปสูร่ ะดับความยากจน
และความเหลือ่ มลำ้ ทจ่ี ะเพม่ิ สงู ข้ึนได้

การป้องกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 20

ผลกระทบในระยะสั้นเหล่านี้ อาจส่งผลไปสู่ผลกระทบระยะยาวได้ เช่น การที่ประเทศ
จะสูญเสีย ขีดความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว (Long-
Term Economic Growth) เนื่องจากจะต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการป้องกันและรักษาเช้ือ
ไวรัสโควิด-19 น้ี จนขาดแคลนทรัพยากรในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทจี่ ำเป็น นอกจากน้ียังเกิด
การสูญเสยี ทางด้านทุนมนุษย์ (Human Capital) ของประเทศ ทจี่ ะต้องเจ็บไข้ได้ปว่ ยเร้ือรัง (เช่นโรค
ท่ีเกย่ี วข้องกับปอด) หรือการทเี่ ด็ก นักเรยี นนกั ศกึ ษาจะต้องหยดุ เรยี น โดยเฉพาะในประเทศที่มีฐานะ
ยากจน ที่ระบบการพัฒนาทุนมนุษย์อย่าง ระบบสาธารณสุขและระบบการศึกษายังไม่ครอบคลุม
ทัว่ ถึงนกั

จากสถานการณ์ดงั กล่าวส่งผลให้ครัวเรอื นเปราะบางมีรายได้ไม่เพียงพอใช้จา่ ย ถึงแม้ว่าจะมี
แรงงานอีกจำนวนมากที่ๆไม่ตกงาน แต่จำนวนชัว่ โมงการทำงานและรายได้ลดลงอย่างมาก ตราบใดท่ี
ยังไม่มียารักษาและวัคซีน ความเสี่ยงในตลาดแรงงานมีแนวโน้มส่งผลต่อเนื่องไปยงั คุณภาพชีวิตของ
ภาคครัวเรือนท่ีมีความเปราะบางอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ส่งผลให้การใช้จ่ายในประเทศได้รับผลกระทบ
เพิ่มเติมจากความกังวลและหวาดกลัวกับสถานการณ์แพร่ระบาด นำไปสู่การลดลงของการเดินทาง
ทอ่ งเทยี่ วและการจับจ่ายใชส้ อย

2.2 ผลกระทบดา้ นสงั คม การศึกษา สาธารณสุข และวฒั นธรรม

ด้านสังคม
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากโรคอุบัติใหม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุม

โรคและสุขภาพที่มีแนวโน้มของขนาดและความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากการเคลื่อน
ย้ายของประชากร การอยู่ร่วมกนั อย่างหนาแน่น ประชาชนบางกลุ่มมคี วามเสี่ยงที่จะติดโรคเน่ืองจาก
มีภูมิคุ้มกันต่ำ ประชาชนบางกลุ่มมีโอกาสแพร่เชื้อโรคหรือรับโรคได้ง่าย เช่น กลุ่มผู้เดินทางไป
ต่างประเทศ เป็นต้น โดยรัฐบาลได้กำหนดนโยบายและออกมาตรการควบคุม รวมทั้งป้องกันโรค
อยา่ งเข้มงวดต่อเน่ืองในชว่ งระยะเวลาทผี่ ่านมา อย่างไรกต็ าม การควบคุมและป้องกนั โรคซึ่งเป็นโรค
อุบัติใหม่ก็ยังมีปัญหาหรือช่องว่างในการดำเนินงานต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมาย อาทิ การเตรียมความ
พร้อมในการรับมือที่จะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความพร้อมของโรงพยาบาล บุคลากรทาง
การแพทย์ การสอื่ สารท่ีมีประสิทธิภาพ องค์ความรู้เดมิ และองคค์ วามรูใ้ หมท่ ีจ่ ะต้องวจิ ยั เพ่ิม สำหรับ
สถานการณ์ผู้สูงอายุที่ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ของประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นอายุ 60 ปีขึ้นไป
เสียชีวิต จึงแสดงใหเ้ ห็นว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเปราะบางทท่ี ำให้เกิดการเสยี ชวี ิตมากทีส่ ุด ดังนั้น บุคคล
ในครอบครัว ซึง่ ผูใ้ กลช้ ดิ หรือแม้แตช่ ุมชนท่ีมีผู้สูงอายุเฝ้าระวังความเสีย่ งจากโรคที่มีต่อผู้สูงอายุ โดย
การป้องกันและดแู ลผสู้ ูงอายุอย่างใกลช้ ิด

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 21

การศึกษา

ช่วงการระบาดของเชื้อไวรสั โควิด-19 หลายประเทศใชว้ ธิ ีการสอนทางไกล ไม่ว่าจะเป็นการ
สอนออนไลน์ผ่าน Massive Open Online Courseware (MOOC) หรือแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ครู
สอนในห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หรือใช้การถ่ายทอดการสอนผ่านสัญญาณโทรทัศน์
เพ่อื ใหเ้ ด็กเรยี นต่อท่ีบ้านได้ขณะปิดโรงเรียน แตก่ ารใช้วธิ ดี งั กล่าวทำใหเ้ ด็กบางกลุ่มโดยเฉพาะเด็กใน
ครอบครัวที่มีฐานะยากจนเสียเปรียบ เพราะไม่มีอุปกรณ์ดิจิทัลที่บ้าน นอกจากนี้ ในการเรียนระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน เด็กจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ การเรียนที่บ้านจึงเป็นการผลักภาระให้
ผู้ปกครอง อาจทำให้เหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้นหากผู้ปกครองไม่มีความพร้อมในการ
ชว่ ยเหลอื บตุ รหลานของตนในการเรยี นเพ่ือ ปอ้ งกันไม่ใหเ้ ด็กที่ไม่มีความพร้อมเสยี โอกาส รัฐบาลของ
หลายประเทศได้จัดหาอุปกรณ์การเรียนให้แก่เด็กกลุ่มดังกล่าว เช่น รัฐบาลฮ่องกงให้โรงเรียนสำรวจ
ความพร้อมนักเรียน และจัดหาคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนยืมเรียน รัฐนิวยอร์กเตรียม iPad พร้อม
อินเทอร์เน็ตให้นักเรียนยืมกว่า 3 แสนเครื่อง และรัฐแคลิฟอร์เนียร่วมมือกับบริษัท Google จัดหา
Chromebooks และ Mobile Hotspot ให้นักเรียน รวมทั้งออกคู่มือให้ผู้ปกครองสามารถช่วยเหลอื
เดก็ ในการใช้อปุ กรณ์

สำหรับประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลค่อนข้างสูง ข้อมูลของสหภาพ
โทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) บ่งชี้ว่า สัดส่วนของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ค่อนข้างต่ำเม่ือ
เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแลว้ นอกจากนี้ การสำรวจของสำนักงานสถติ ิแห่งชาติยัง
สะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำสูงในการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัล โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีฐานะยากจน
และครัวเรอื นภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ ย่งิ ไปกว่านน้ั ยงั มนี ักเรียนกว่า 8 หมื่นคน อยู่ในพื้นที่ท่ีไฟฟ้า
เข้าไม่ถึง ดังนั้น รัฐบาลต้องสำรวจความพร้อมของครัวเรือนเด็ก และมีมาตรการที่หลากหลายเพื่อ
เตรยี มความพร้อมในการเขา้ ถึงการเรียนทางไกลของเดก็ ทม่ี ีสภาพความขาดแคลนแตกต่างกัน

รัฐบาลไทยควรมีมาตรการเปิด-ปิดโรงเรียนให้สอดรับกบั ความรุนแรงของการระบาดของโรค
มีความยืดหยุ่นในแต่ละพื้นที่ และใช้มาตรการด้านอื่นควบคู่ในกรณีเปิดโรงเรียน นอกจากนี้ ควรเร่ง
สำรวจความพร้อมในการเข้าถึงการเรียนทางไกลของเด็ก เพื่อเตรียมอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนให้
เหมาะสมกบั บริบทของครอบครัวเดก็ ที่แตกตา่ งกนั โดยดำเนินการ 6 ประการ ดังนี้

1. กำหนดมาตรการเปิด-ปิดโรงเรียนให้สอดคล้อง และยืดหยุ่นตามความรุนแรงของการ
ระบาดของไวรัส โควิด-19 โดยวางแนวทางให้ พื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่องในช่วง 2
สัปดาห์ที่ผ่านมาต้องปิดโรงเรียน และให้เด็กเรียนทางไกลที่บ้านจนสถานการณ์ลดความรุนแรงลงจน
สามารถกลับมาเปิดโรงเรียนได้

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 22

2. ปรับปรุงห้องเรียนให้เป็น “ห้องเรียนปลอดภัย ห่างไกล โควิด-19” โดยกำหนดแนวทาง
ให้โรงเรียนทุกแห่งสำรวจความพร้อมของห้องเรียน โดยกระทรวงศึกษาธิการ ควรประสานงานกับ
หน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยากำหนดลักษณะของห้องเรียนที่เหมาะสม เช่น จัดระยะห่าง
ระหว่างนักเรียนอย่างน้อย 1 เมตร และมีอากาศหมุนเวียนอย่างน้อย 10 เท่าของปริมาณอากาศใน
ห้องเรียน เป็นต้น เพื่อให้โรงเรียนทุกแห่งประเมินความพร้อมด้านกายภายของตน ทั้งน้ีกระทรวง
ศกึ ษาธิการควรส่ือสารอย่างชัดเจน โดยกำหนดแนวทางที่อิงกบั แบบแปลนอาคารเรยี นมาตรฐาน หรือ
ในกรณีที่โรงเรียนไม่ได้ใช้แบบแปลนมาตรฐาน ควรแจ้งให้โรงเรียนทราบถึงมาตรฐานของการระบาย
อากาศอย่างชัดเจน

3. สำรวจความพรอ้ มการเรียนทางไกลของเด็ก เพ่อื ประเมนิ ความเสย่ี งกระทรวงศึกษาธิการ
หรือหน่วยงานต้นสังกัดโรงเรียน ควรประสานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลพื้นฐานครั ว
เรอื นนกั เรียนมาบรู ณาการรว่ มกันเพ่ือจัดกลุ่มตามระดับความเส่ยี งในการเข้าถึงการเรียนทางไกล โดย
แบ่งเด็กเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความพร้อม ได้แก่ เด็กมีอุปกรณ์ดิจิทัลพร้อมอินเทอร์เน็ตที่บ้าน
กลมุ่ ท่มี ีความเส่ยี ง ไดแ้ ก่ เด็กทไ่ี ม่มีอุปกรณ์ดจิ ิทลั และอินเทอร์เน็ตท่ีบา้ น แต่เข้าถึงไฟฟ้าได้ และกลุ่ม
ทม่ี ีความเสย่ี งสูง ไดแ้ ก่ เด็กที่ไม่มีอุปกรณด์ จิ ิทลั และอนิ เทอร์เนต็ ท่บี ้าน และไมม่ ีไฟฟ้าใช้ ทัง้ นี้ ควรใช้
ขอ้ มลู เพื่อประเมนิ ความพร้อมของผปู้ กครองด้วย เชน่ เปน็ เดก็ อย่กู บั พ่อแมห่ รือไม่ เพ่ือวางแผนให้การ
สนับสนนุ เพิ่มเติมแกค่ รอบครัวทีผ่ ปู้ กครองไมพ่ ร้อมสนับสนุนบุตรหลานในกรณีท่ตี ้องเรยี นทบ่ี ้าน

4. เตรียมอุปกรณ์ให้แก่นักเรียนที่มีความเสี่ยงที่จะเสียโอกาสจากการเรียนทางไกล ในกรณี
โรงเรียนต้องปิดเพราะพื้นที่มีการระบาดรุนแรง หรือโรงเรียนที่ไม่สามารถจัดชั้นเรียนในห้องเรียนแก่
เด็กทุกคนได้ กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัดควรจดั เตรียมอุปกรณ์ รวมทั้งสื่อการเรียน
การสอนแก่เด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น จัดเตรียมแท็บเล็ต (Tablet) พร้อมเข้าถึง
อินเทอร์เน็ต ให้ยืมเรียน แก่เด็กที่ขาดแคลนอุปกรณ์ที่บ้าน แต่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ เพื่อให้เด็ก
สามารถเรียนออนไลน์ได้ และจัดเตรียม “สื่อแห้ง” ในรูปชุดสื่อการเรียนรู้ (Learning Packages)
สำหรับเดก็ ที่บ้านไมม่ ไี ฟฟ้าใช้ เปน็ ต้น

5. ใช้มาตรการทางสาธารณสุข และมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
ในโรงเรียนทเี่ ปิดการเรยี นการสอน ในกรณที ่โี รงเรียนสามารถจดั การสอนได้ หรอื ใชก้ ารสอนแบบผสม
ควรบังคับใช้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดตาม “แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา
เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (Covid-19)”ที่กำหนดโดย
กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับองค์กร UNICEF อย่างเคร่งครัด เช่น ไม่ให้นักเรียน ครู หรือเจ้าหน้าท่ที ่ี
เจ็บปว่ ยมาโรงเรียน กำหนดให้มีการล้างมือด้วยสบู่เปน็ ประจำ และรณรงคส์ ่งเสริมให้สวมใส่หน้ากาก
อนามัย เปน็ ต้น

การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 23

6. ส่ือสารให้ผู้ปกครองทราบความจำเป็นของมาตรการเปิด-ปิดโรงเรียน รวมทั้งให้คู่มือ
สนับสนนุ เด็กสำหรบั การเรยี นทางไกล โดยให้ผปู้ กครองทราบว่ารัฐบาลมแี นวทางการเปิด-ปดิ โรงเรียน
อย่างไร เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถประเมนิ สถานการณ์ในอนาคตได้ นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ
ควรจัดทำค่มู ือสำหรับผู้ปกครองสำหรับสนบั สนนุ บุตรหลานในกรณีเรียนที่บา้ น เช่น วธิ กี ารใช้อุปกรณ์
ดจิ ทิ ัลเพอื่ เรียนออนไลน์ แนวทางแก้ปญั หาเบือ้ งต้น หรอื ค่มู ือการใช้สื่อการเรียนรู้ เปน็ ต้น

ดังนั้น การศึกษาต้องปรับตัวในช่วงสถานการณ์ โควิด-19” เพื่อให้เด็กกลับมาเรียนตามปกติ
ให้ได้เร็วที่สุดเท่านั้น แต่จะทำอย่างไรให้เด็กสามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่องในสถานการณ์ที่อาจต้อง
เรียนที่บ้านช่วงหนึ่ง แล้วสลับกลับมาเรียนตามปกติภายหลังสถานการณ์ระบาดลดความรุนแรงลง
รวมทั้งระบบการศึกษาทั้งระบบจำเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับรูปแบบที่ซับซ้อนม ากขึ้น
โดยเฉพาะกระบวนการจดั การเรียนการสอน

ด้านสาธารณสุข

ผลกระทบสำคัญจากโรค COVID-19 ต่อสุขภาพคนไทยมีแนวโน้มที่ประชาชนมีโรคหรือ
ปัญหาสุขภาพและสังคมบางประเภทมากขึ้น เช่น เครียด ซึมเศร้า ความรุนแรงในครอบครัว
อาชญากรรม นอกจากนี้โรคเรื้อรังหลายชนิดจะได้รับผลกระทบจากปัญหาโรค COVID-19 ที่ทำให้
ผู้ป่วยได้รับการรกั ษาช้าลงหรือไม่เป็นไปตามนัดหมาย เช่น เบาหวาน ความดัน เอดส์ มะเร็ง เป็นต้น
และนอกจากน้ียังสง่ ผลกระทบต่อระบบการดูแลทางการแพทย์ทตี่ อ้ งปรับตวั เพ่อื ป้องกนั การตดิ เชื้อต่อ
บุคลากรและต่อผู้ป่วย จะมีการปรับกระบวนการต่างๆ เช่น จำกัดจำนวนบุคลากรที่ทำงาน จำกัด
จำนวนผู้ป่วยที่จะมารับการดูแล คัดกรองโรค การนอนโรงพยาบาลล่วงหน้าระหว่างรอผลคัดกรอง
ก่อนผ่าตัด สำรองห้องผ่าตัดและห้องพักผู้ป่วย ฯลฯ เรื่องเหล่าน้ีส่งผลให้กระบวนการรอคอยหรือควิ
ในการรอรับการดูแลรักษายาวนานขึ้น ศักยภาพเชิงปริมาณในการดูแลรกั ษาลดลง และอาจส่งผลต่อ
ผลลัพธ์ด้านสุขภาพจากการดูแลรักษาได้ และส่งผลทางตรงต่อลักษณะการดูแลสุขภาพของ
ประชาชน รายได้ที่ลดลง รายจ่ายที่มากขึ้น รวมถึงหนี้สินครัวเรือน จะส่งผลให้คนจำนวนไม่น้อยมี
ปัญหาในการไปรบั การดแู ลรักษายามเจ็บปว่ ย แม้จะมีระบบหลักประกนั สุขภาพแหง่ ชาติหรืออ่ืนๆ อยู่
ก็ตาม แต่ค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร การขาดรายได้จากการลางาน ล้วนจะเป็นปัจจัย
สำคัญที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยอาจไม่สามารถไปรับการดูแลรักษาได้ รวมถึงการตัดสินใจไม่ไปรับยา
ต่อเนื่อง ไม่ไปตรวจตามนัด และอื่นๆ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ
ระบาดของโรค COVID-19 การช่วยเหลือท่ีรฐั บาลและหนว่ ยงานตา่ งๆ ควรพจิ ารณา ได้แก่

1. ประยุกต์ใช้การแพทย์ทางไกลเพื่อให้คำปรึกษาและการดูแลผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องมาท่ี
โรงพยาบาล แตท่ ัง้ แพทยแ์ ละผปู้ ว่ ยควรคำนงึ ถึงโอกาสผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนในการตรวจวินจิ ฉัย

การป้องกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 24

2. พัฒนาเครือข่ายบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการรัฐและเอกชนที่ครอบคลุมทุกพื้นท่ี
ทั้งลักษณะตั้งรับและเชิงรุก โดยหารือแนวทางให้เบิกจ่ายจากระบบหลักประกันสุขภาพต่างๆได้
เพื่อเสรมิ ใหร้ ะบบการแพทย์ทางไกลทำงานได้มปี ระสิทธภิ าพมากขึน้ และเพือ่ ให้เกดิ การจดั การตนเอง
ของประชาชนในระยะยาว

3. หน่วยงานระดับพื้นที่ควรพิจารณาจัดระบบขนส่งสาธารณะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ยากจน
ให้สามารถเดินทางไปยงั สถานพยาบาลไดต้ ามนดั หมายท่จี ำเป็น

4. เสรมิ สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายคลนิ ิกและร้านยาในชุมชน ในการใหบ้ รกิ ารปรึกษา
และดูแลรักษาผู้ป่วย รวมถึงการประสานงานร่วมกับระบบยาของโรงพยาบาลเพื่อนำส่งยาสู่ผู้ป่วยใน
พน้ื ท่หี ากจำเปน็

5. สถานประกอบกิจการขนาดกลางและใหญ่ควรพิจารณาจัดระบบดูแลรักษาบุคลากรใน
ทท่ี ำงาน โดยประสานความร่วมมือกบั สถานพยาบาลในพ้นื ทอี่ ย่างเปน็ ระบบ

การป้องกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 25

บทท่ี 3

การบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID -19

3.1 การบรหิ ารจดั การและมาตรการการดำเนนิ การในระดบั จังหวดั

สถานการณ์จังหวัดน่าน มีผู้ป่วยสะสม 0 ราย จังหวัดน่านยังเป็น 1 ใน 9 จังหวัด ที่ยังเป็น
พื้นที่สีขาว ไม่พบผู้ติดเชื้อ โควิด 19 โดยประชาชนในจังหวัดน่านต่างให้ความร่วมมือกับหน่วยงาน
ภาครฐั และมชี มุ ชนที่เข้มแข็งในการเฝา้ ระวัง รักษาตวั เอง เพอ่ื ปอ้ งกันการตดิ เชื้อ แม้กระท่ังในตลาด
สดเช้าและเย็นของจังหวัดน่าน ได้มีมาตรการป้องกันการติดเชื้อโดยมีระเบียบข้อบังคับใช้เป็น
กฎระเบียบของตลาดออกมา คือผู้ที่ไม่สวมใส่หน้ากากอนามัย ห้ามเข้าตลาดมาซื้อของ และพ่อค้า
แม่ค้าที่ไม่สวมใส่หน้ากากอนามัย ก็ห้ามเข้ามาขายของเช่นกันขณะท่ีร้านค้าต่างๆ ในพื้นที่เทศบาล
เมืองต่างก็ให้ความร่วมมือพร้อมใจกันสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมทั้งติดป้ายหน้าร้านห้ามลูกค้าไม่
สวมใส่หน้ากากอนามัยเข้าร้านเดด็ ขาด สำหรบั มาตรการควบคุมพนื้ ท่ีเส่ยี งใหป้ ิดทำการ เช่น ผับ บาร์
ร้านอาหารกลุ่มเสี่ยง ในส่วนของเทศบาลเมืองน่านได้นำรถติดเครื่องเสียงออกไปประกาศตามแหล่ง
ชุมชนตลาด และตามตรอกซอกซอยในเขตเทศบาลเมืองน่าน ใหต้ ระหนักถึงภัยอันตรายจากโควิด-19
โดยมีข้อความเสียงว่า "...ให้ช่วยกันสอดส่องดูแลหากใครกลับมาจากต่างจังหวัดให้แจ้งกับ อสม.
หมู่บา้ น หรือแจง้ หวั หน้าบ้าน กำนนั ผใู้ หญ่บ้าน ให้ทราบ หรือหากกลับมาแลว้ มีอาการเป็นไข้ หรือไม่
มั่นใจใหโ้ ทรไปแจง้ กับสายด่วน 1669 ทันที

เนื่องจากทางจังหวัดได้มีมาตรการฉุกเฉิน สั่งระงับการเดินทางเข้าจังหวัดน่านเป็นการ
ชั่วคราว เส้นทางผ่านด่านห้วยน้ำอุ่น อำเภอเวียงสา ซึ่งเป็นเส้นทางหลักเข้าจังหวัดน่าน รอยต่อ
จังหวัดแพร่ที่ด่าน อำเภอบ้านหลวง รอยต่อ จังหวัดพะเยา และ ด่านบ้านสะเกิน อำเภอสองแคว
รอยต่อจังหวัดพะเยา และทางจังหวัดได้เพิ่มมาตรการ มีคำสั่งให้สถานที่ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก-ส่ง
ที่จำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกแห่งในจังหวัดน่าน งดจำหน่ายสุรา หรือเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ทุกชนดิ เพอื่ แกไ้ ขปัญหาและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ผใู้ ดฝ่าฝืนมีความผิด
มาตรา 52 แห่ง พรบ.โรคตดิ ต่อ พ.ศ.2558 ระวางโทษจำคุกไม่เกนิ 1 ปี ปรับไม่เกนิ 1 แสนบาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ และทางจังหวัดน่านนี้โชคดีที่มีประชาชนและชุมชนที่เข็มแข็งให้ความร่วมมือกับ
เจ้าหน้าที่และตระหนักถึงภัยร้ายจากเชื้อไวรัส ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือและผู้ท่ี
กลับมาภูมิลำเนาเมื่อกลับมาถึงก็ให้ความร่วมมือในการกักตัวเองอยู่ที่บ้าน หรือ พื้นที่ส่วนตัวจนครบ
กำหนด โดยจะมีเจ้าหน้าที่ เข้าไปตรวจสอบอยู่เป็นประจำ จนทำให้จังหวัดน่านยังเป็นพื้นที่สีขาว
สำหรับสถานการณโ์ รคโควิด19 ในจงั หวดั นา่ น ปจั จบุ ันยงั ไมพ่ บผ้ปู ่วย

การป้องกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 26

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ได้ประกาศผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว
ทเี่ ข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MOU) ภายใต้บันทึกข้อตกลง
ว่าด้วยการจ้างแรงงานซึ่งวาระการจ้างงานจะครบ 4 ปี และคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลง
ว่าด้วยการข้ามแดนในลักษณะไป-กลับ หรือตามฤดูกาล โดยให้แรงงานกลุ่มดังกล่าวอยู่ใน
ราชอาณาจักรและทำงานไปพลางก่อนจนถึงวันที่ 31 ก.ค.2563 ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงการกลับมา
แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากแรงงานที่เดินทางเข้ามาใหม่ ลดความสุ่มเสี่ยงที่แรงงานบางส่วน
จะเปลี่ยนเป็นแรงงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ลดสภาวะการขาดแคลนแรงงานของสถาน
ประกอบการที่ยังต้องการจ้างคนต่างด้าว รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
ภายหลังจากการสถานการณ์โรคโควิด-19 คลี่คลาย พร้อมทั้งให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
แรงงานเตรยี มความพร้อมในการอำนวยความสะดวกให้กับแรงงานต่างด้าว ท้ัง 3 สญั ชาติ มีแผนและ
มาตรการรองรบั เพือ่ ให้การปฏิบัติหน้าท่ีเกดิ ประสิทธภิ าพสงู สุดและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล

ทั้งนี้สำนักงานจัดหางานจังหวัดน่าน ได้ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ เกี่ยวกับโรคโควิด 19
เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน การระบาดของโรคดังกล่าวในสถานประกอบการ พร้อมทั้งขอความ
ร่วมมือไปยังนายจ้าง สถานประกอบการที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าว ให้สร้างความเข้าใจถึงอันตราย
เกี่ยวกับโรคติดต่ออันตราย เพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้รับทราบข้อมูลและปฏิบัติตนให้ถูกต้อง
หลีกเลี่ยง การเดินทางข้ามจังหวัด และการไปอยู่ในที่ชุมนุมชน หรือกลุ่มคนหมู่มาก ในช่วงเวลาของ
การแพร่ระบาดของโรค และขอให้นายจ้างจัดให้แรงงานต่างด้าวสวมใส่หน้ากากอนามัยในการ
ปฏบิ ัติงาน หมน่ั ล้างมอื และหลกี เล่ียงการรับประทานอาหารรว่ มกันเปน็ กลุ่ม เพ่อื ป้องกันการและลด
ความเส่ียงในการแพร่ระบาดของเช้ือไวรสั COVID-19

สำหรับแนวทางปฏิบัติในการเดินทางเข้าพื้นที่จังหวัดน่าน สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากจังหวัด
ระยอง มรี ายละเอียดดังน้ี

1. มอบหมายสำนักงานขนส่งจงั หวดั นา่ น ดำเนินการตรวจคดั กรองผู้ที่เดินทางมาจากจังหวัด
ระยอง เสน้ ทางเดนิ รถขนสง่ โดยสาร ระยอง - น่าน ณ สถานขี นสง่ ผู้โดยสารจังหวดั นา่ นทกุ แห่ง

2. มอบหมายสำนักงานขนส่งจังหวัดน่าน อำเภอทุกอำเภอ และเทศบาลเมืองน่าน
ประชาสัมพันธใ์ ห้ผทู้ เี่ ดินทางมาจากจังหวดั ระยอง ไปรายงานตวั พรอ้ มกรอกข้อมลู และประเมินตนเอง
ตามแบบคัดกรองผู้เดินทางเข้าพื้นที่จังหวัดน่าน ลงนามรับรองความถูกต้องและเป็นจริง ภายใน 24
ชวั่ โมง ณ สถานที่ดงั ตอ่ ไปนี้

2.1 กรณบี า้ นหรือทพี่ กั อย่ใู นเขตเทศบาลเมืองนา่ น ให้ไปรายงานตวั พร้อมกรอกขอ้ มลู
และประเมนิ ตนเอง ทก่ี องสาธารณสุขและส่งิ แวดลอ้ ม เทศบาลเมืองนา่ น

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 27

2.2 กรณบี ้านหรือทพ่ี ักอยู่ในเขตหม่บู ้านและตำบลนอกเขตเทศบาลเมืองนา่ น ใหไ้ ป
รายงานตวั พร้อมกรอกข้อมูลและประเมินตนเอง ท่ีผใู้ หญบ่ า้ น

2.3 กรณีพักในโรแรมและที่พักเอกชน ให้ไปรายงานตัวพร้อมกรอกข้อมูลและประเมิน
ตนเอง ท่เี จา้ หนา้ ทีโ่ รงแรมหรอื ทพ่ี กั เอกชน

3. ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตามข้อ 2 (เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข
และสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองน่าน ผู้ใหญ่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าท่ี
โรงแรม หรือที่พักเอกชน ตรวจสอบความครบถ้วนสมบรู ณ์ของข้อมลู และประเมนิ ตนเองตามแบบคดั
กรองผเู้ ดนิ ทางเขา้ พน้ื ที่จังหวดั นา่ น ดังนี้

3.1 กรณมี คี ะแนนผลการประเมินตนเองตามแบบคัดกรองผเู้ ดินทางเขา้ พืน้ ท่จี ังหวดั น่าน
อยูใ่ นเกณฑ์มาตรฐาน ให้ผู้ท่เี ดนิ ทางมาจากจงั หวัดระยอง ฝา้ สังเกตอาการตนเอง (Self Monitoring)
ไมต่ ้องกกั ตวั และตอ้ งรายงานอาการท่ผี ิดปกติต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เปน็ เวลา 14 วัน

3.2 กรณีมคี ะแนนผลการประเมินตนเองตามแบบคดั กรองผเู้ ดนิ ทางเข้าพน้ื ที่จังหวัดน่าน
สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ให้แจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตามข้อ 2 แจ้ง
สาธารณสุขอำเภอหรือผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภูมิลำเนาประเมิน ตนเองตาม
แบบคัดกรองผเู้ ดินทางเข้าพนื้ ที่จงั หวัดน่านอีกคร้ัง หากเห็นว่ามีความเส่ียงสูงให้สั่งผู้ท่ีเดินทางมาจาก
จงั หวัดระยอง กักตวั อยู่ภายในบา้ นหรือท่ีพกั ตนเองหรอื โรงแรมสถานท่พี ักเอกชน เป็นเวลา 14 วัน

การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 28

3.2 การบรหิ ารจัดการและมาตรการการดำเนนิ การในระดบั ชมุ ชน

แนวนโยบายและระเบยี บปฏิบตั ใิ นการดำเนินการป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID – 19
ด้วยชุมชนของตำบลเปอื อำเภอเชียงกลาง จงั หวัดนา่ น

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (โควดิ -19) มีแนวโน้มการแพร่
ระบาดทีเ่ พิ่มมากข้นึ ดงั นัน้ จึงมแี นวทางการปอ้ งกันและลดความเส่ยี งในการแพร่ระบาดเข้าสู่หมู่บ้าน
และชมุ ชุนของตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จงั หวดั นา่ น ตลอดจนเพื่อป้องกนั กลมุ่ ผู้สูงอายุซ่ึงเป็นกลุ่ม
เสี่ยงทง่ี ่ายต่อการตดิ เชื้อท่ีอยู่ในหมู่บ้านและชุมชน จึงมีการดำเนินการในการค้นหาและเฝ้าระวังคนใน
พืน้ ที่ ทีม่ ีความเสี่ยงตอ่ การตดิ เช้อื โควดิ -19 ทกุ แหง่ ในตำบล ดังน้ี

1. มาตรการปอ้ งกันการแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชื้อเขา้ สูห่ มบู่ ้านและชมุ ชน

การคัดกรองผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้รับความร่วมมือของบุคลากรใน
หมู่บ้านและชุมชน ทุกภาคส่วน ได้แก่ ข้าราชการ สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ช่วย
ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. อปพร. ฯลฯ ร่วมกัน
คน้ หาและคดั กรองว่ามีคนในหมู่บา้ นท่ีเป็นกลุ่มท่ีมคี วามเสย่ี ง เข้ามาพกั อาศัยอยใู่ นหมู่บ้านและชุมชน
ดงั นี้

1.1 ผู้ที่เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่เป็นพื้นที่สีแดง และกลับมาจาก
ตา่ งประเทศ จากประเทศเพ่อื นบ้าน หรอื มีการเดนิ ทางไปยังพ้ืนท่ีเสย่ี งตอ่ การแพรร่ ะบาดที่มีคนแออัด
เบยี ดเสียด ไดแ้ ก่ สนามกฬี า สนามม้า สนามชนโค สนามชนไก่ สถานบนั เทงิ หรือการไปร่วมกิจกรรม
ที่มคี นเขา้ รว่ มเปน็ จำนวนมาก ฯลฯ ต้ังแต่วนั ที่ 6 มีนาคม 2563 เปน็ ต้นมา และผู้ทีอ่ ยู่ในระยะใกล้ชิด
กับผ้ปู ว่ ยติดเชอื้ โควดิ -19 หรือไปร่วมอยใู่ นสถานทท่ี ผี่ ู้ป่วยโควดิ -19ไปปรากฏตวั

1.2 การปฏิบัติในกรณีที่หมู่บ้านและชุมชนใดมีผู้เข้าข่ายตามข้อ 1.1 ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
จัดทำบญั ชรี ายชือ่ ตามสิ่งทีส่ ่งมาดว้ ย เพอื่ เฝ้าตดิ ตามสังเกตอาการเปน็ ระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ผู้
นั้นเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด และให้ขอความร่วมมือผู้นั้นให้งดหรือหลีกเลี่ยงการ
เดินทางไปยงั สถานท่ีต่างๆ นอกหม่บู ้านและชมุ ชนไว้ก่อนหรือพักอาศัยอยู่แต่ในบ้านเรือนเป็นเวลาไม่
น้อยกว่า 14 วัน และขอให้รายงานข้อมูลดังกล่าวให้เทศบาล รพ.สต. อสม. ผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม
และเฝ้าระวงั และใหส้ ง่ ขอ้ มูลให้อำเภอทราบเพือ่ บนั ทึกข้อมลู เขา้ ระบบรายงาน

การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 29

2. มาตรการเฝา้ ระวังโรคตดิ ตอ่ ภายในหมูบ่ า้ นและชุมชน

2.1 การแจ้งเตือนราษฎรในหมู่บา้ น กำนันและผใู้ หญบ่ า้ น ฯลฯ ในฐานะเจา้ พนกั งานควบคุม
โรคตดิ ต่อ แจง้ เจ้าบา้ น หรอื ผู้ดูแลบ้าน ให้ปฏบิ ตั ิ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ว่า กรณี
มีผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยเป็นโรคติดเชื้ออยู่ในบ้านให้รีบแจ้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำ
ตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู่ใหญ่บ้าน ในฐานะเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อโดยทันที และให้กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน รีบแจ้งเจ้าหน้าท่ีสาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือขององค์กร
ปกครองสว่ นทอ้ งถน่ิ ทราบ

2.2 กรณีบุคคลที่เดินทางกลับจากกรุงเทพฯ จากจังหวัดที่เป็นพื้นที่สีแดงและกลับมาจาก
ต่างประเทศ จากประเทศเพื่อนบ้าน หรือมีการเดินทางไปยังสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดที่มีคน
แออดั และ มอี าการป่วย ให้กำนนั ผู้ใหญบ่ ้าน รีบแจง้ เจา้ หนา้ ที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบล หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบทันที เพื่อเข้ารับการรักษาและประเมิน
อาการว่าเข้าข่ายสงสัยว่าจะติดเชื้อโควิด-19หรือไม่ หากเข้าข่ายสงสัยให้ดำเนินการตามมาตรการ
ทค่ี ณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกำหนด

2.3 กรณบี คุ คลท่เี ปน็ ผู้ทอี่ ย่ใู กลช้ ิดกบั ผู้ป่วยติดเชื้อโควดิ -19 หรอื ไปร่วมอยใู่ นสถานท่เี สี่ยงท่ีมี
ผู้ที่ติดเชือ้ โควิด-19ไปตามทีร่ ัฐบาลกำหนดไว้ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านรีบแจง้ เจ้าหนา้ ท่ีสาธารณสขุ ประจำ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทราบทันที เพื่อดำเนินการ
ตามมาตรการคัดกรอง คดั แยก กกั กนั หรอื คมุ ไว้สังเกต ตามทค่ี ณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกำหนด

3. การป้องกันและเฝ้าระวังสถานที่ต่างๆ โดยให้งดกิจกรรมรวมกลุ่มที่มีจำนวนมาก
รวมถึงร้านค้า รา้ นอาหารมมี าตรการป้องกันการแพร่เชื้อ จดั ทนี่ ัง่ ให้หา่ งกันอยา่ งน้อย 1 เมตร

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 30

บทที่ 4

ผลสำเรจ็ ของการดำเนนิ งานในระดบั พื้นท่ี

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานในระดับพืน้ ที่ตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
ประชาชนในพื้นที่มีการตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริม่ จากตนเองในครัวเรือนและมี
การประสานงานและความร่วมมือในการดำเนินการในการป้องกัน และลดความเสี่ยงในการแพร่
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งมีแนวโน้มการแพร่ระบาดที่เพิ่มมากข้ึน
ป้องกันไม่ให้เข้าสู่หมู่บ้านและชุมชน ตลอดจนเพื่อป้องกันกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ง่ายต่อการ
ติดเชื้อทอ่ี ยูใ่ นหมู่บ้านและชุมชน มีการดำเนินการในการคน้ หาและเฝ้าระวังคนในพื้นที่ ท่ีมีความเสี่ยง
ต่อการติดเชื้อโควิด-19 ทุกแห่งในตำบล ในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โดยมีการ
ดำเนนิ งานการป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-19 ด้วยชมุ ชน ดังนี้

4.1 การดำเนนิ งานการปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน

1. จัดทำ “ตู้ปันสุข” ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเปือ โดยมีการประชาสัมพันธ์เชิญชวน
ทุกคนรว่ มกนั แบง่ ปนั เครื่องอุปโภค บรโิ ภค มอบของใชเ้ ครื่อง อุปโภค บรโิ ภค ในตปู้ นั สขุ แม้เปน็ เพยี ง
ตู้ใบเล็กๆ แต่เต็มไปด้วยความสุขแห่งการช่วยเหลือแบ่งปันของคนเมืองเปือยามที่กำลังเจอวิกฤต ณ
เวลานี้ ตู้แห่งการแบ่งปันได้เกิดขึ้นองค์การบริหารส่วนตำบลเปือ คนที่พอมีเหลือก็จะนำอาหารข้าว
ของเครื่องใช้มาใส่ไว้ให้กับคนที่กำลังเดือดร้อน ซึ่งเป็นภาพที่ใครเห็นก็ต้องรู้สึกกับคำว่า "เฮาคน
เมืองเปือไมท่ ิง้ กัน"

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 31

2. สำนกั งานปลัด อบต.เปอื และพนกั งาน อบต.เปือ มอบสิ่งของเคร่ืองอุปโภค บริโภค ให้กับ
อำเภอเชียงกลาง เพื่อมอบให้กับผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรค
ระบาด เชื้อไวรัสโคโรนา่ 2019

3. คณะสงฆ์ สามเณร ตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ได้นำยารักษาโรคและเคร่อื ง
อุปโภค บริโภค สิ่งของ มาบริจาคในตู้ปันสุข ตู้เติมบุญ เพื่อแจกจ่ายแก่คนยากไร้ ตกงาน ผู้ที่ได้รับ
ผลกระทบจากสถานการณก์ ารแพร่ระบาดจากเชอ้ื ไวรัสโคโรนา่ 2019 (โควดิ -19) ในพ้นื ท่ี

การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 32

4. คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลเปือ สมาชิกสภา พนักงานเจ้าหน้าที่องค์การ
บริหารส่วนตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ได้ร่วมกันจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อแจกจ่าย
ให้กับประชาชนในพื้นที่ อบต.เปือ จำนวน 10 หมบู่ ้าน

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 33

5. องคก์ ารบริหารสว่ นตำบลเปือ ส่งมอบความหว่ งใยสุขภาพ มอบหน้ากากอนามัยให้สถานี
ตำรวจภูธรเชียงกลาง เพื่อให้เจ้าหน้าตำรวจ สภ.เชียงกลางได้นำไปใช้ปฏิบัติงานในการป้องกันโรค
ระบาด ไวรัสโคโรนา่ 2019 (โควิด-19)

6 .ในงานพิธีต่างๆ เช่น งานศพ เน้นการจัดงานให้เรียบง่ายให้เรียบร้อยและมีระยะเวลาให้
น้อยที่สุด โดยเน้นใช้หลัก Social Distancing คือ จัดระยะห่างระหว่างเก้าอี้ไม้น้อยกว่า 1 เมตร
ใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ จัดอาหารและน้ำดื่ม โดยเน้นการใช้เฉพาะบุคคลไม่นั่งล้อมวงกันเหมือนท่ี
ผ่านมา (จดั ทำอาหารเปน็ ขา้ วกล่อง)

7. พนักงานเจ้าหนา้ ท่ี ลูกจ้าง องคก์ ารบริหารส่วนตำบลเปือ ร่วม ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้าง
ความมั่นคงทางอาหาร บำรุงรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพร อนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยเริ่มขับเคลื่อนภายใน
องค์กร องค์การบริหารส่วนตำบลเปือ พร้อมขยายผลยังครัวเรือนพนักงาน ไปสู่ชุมชนตำบลเปือใน
การลดผลกระทบจากโรคระบาด ไวรสั โคโรน่า 2019 (โควิด-19)

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 34

8. องค์การบริหารส่วนตำบลเปือ ได้มีการประชาสัมพันธ์ติดประกาศให้ผู้มาติดต่อราชการ
สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลเปือได้ปฏบิ ตั ิตามมาตรการปอ้ งกันการแพร่ระบาดของโรคตดิ เช้อื
ไวรัส โคโรนา 2019 (COVID -19) ทุกคน

การป้องกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 35

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 36

4.2 ทิศทางการพฒั นาในอนาคต

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้สภาพเศรษฐกิจใน
ประเทศไทยชะลอตัว สง่ ผลกระทบตอ่ ระบบสังคมและระบบเศรษฐกิจ ไมว่ ่าจะเปน็ ผปู้ ระกอบการราย
ใหญ่ รายย่อย ลูกจ้างทั่วไป พ่อค้า แม่ค้า เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา นักเรียนนักศึกษา หรือแม้แต่
พนักงานประจำ ล้วนได้รับผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้น แต่หากเรามองให้ดี สถานการณ์ในครั้งนี้ได้มอบ
บทเรียนสำคัญให้เราทุกคน มีสติ ไม่ประมาท และเริ่มต้นวางแผนชีวิต การงาน สำหรับการเตรียม
ความพร้อมเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินข้นึ อีกครั้ง ในยคุ New Normal ภายหลงั ผ่านวิกฤติโควิด-19
ชีวิตของเราทุกคน รวมทั้งการทำงานจะต้องเปลีย่ นแปลงไปไม่เหมือนเดิม สิ่งสำคัญในการทำงาน คือ
การทำงานเป็นทีมและบูรณาการการทำงานกับเครือข่ายทุกภาคสว่ น อาจจะต้องรักษาระยะห่างทาง
สังคม (Social Distancing) สร้างพลังใจให้ทีมงานให้พร้อม ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆที่ต้องเผชิญร่วมกนั
กา้ วเดนิ ร่วมกันอย่างมีความสุข ดว้ ยความหวังและพลังใจเพอื่ ก้าวข้ามผ่านทกุ ปญั หาและทุกอปุ สรรค

“ช่วงทร่ี ัฐบาลมีการคลายล็อก พนักงานทยอยกลบั เขา้ มาทำงาน หน่วยงานยงั ตอ้ งคงนโยบาย
เดิมที่ทำมาตั้งแต่ช่วงที่มีการระบาด ป้องกันตนเองไม่ให้รับและแพร่เชื้อให้คนอื่น การที่จะต้องใส่
หน้ากากอนามัยมาท่ีทำงาน ในระหว่างทำงาน การล้างมือเวลาจับสัมผัสพื้นทีต่ ่างๆ ในสถานที่ทำงาน
พื้นที่ใช้ร่วมกัน ส่ิงของที่ใช้ร่วมกัน การวัดอุณหภูมิก่อนเข้าที่ทำงาน การสังเกตอาการ ว่ามีอาการไม่
สบาย เจ็บป่วย หรือคนที่บ้านที่มีอาการเจ็บป่วย ต้องรายงานหัวหน้าหน่วยงาน การแยกตนเองออก
จากผู้อื่น และควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยต่อไป” และที่สำคัญ พนักงานที่ไม่ได้
เดินทางด้วยพาหนะส่วนตัว ใช้ระบบขนส่งสาธารณะต้องดูว่า นโยบายของการขนส่งสาธารณะนั้นๆ
ใช้มากน้อยแคไ่ หน มีการเวน้ ระยะหา่ งหรอื ไม่ ต้องระวัง แม้กระทัง่ หอ้ งนำ้ ลฟิ ทส์ าธารณะ ในอาคารที่
ทำงาน เปน็ สิ่งทีเ่ ราตอ้ งปฏบิ ตั ิต่อไป

การป้องกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 37

พฤติกรรมแบบ New Normal ท่ีควรปฏิบัติ

1. การใชเ้ ทคโนโลยี และอนิ เทอรเ์ น็ต
เทคโนโลยีควบคู่กับอินเทอร์เนต็ จะเขา้ มามบี ทบาทกับการใชช้ วี ิตมากขน้ึ ท่ีจากเดิมมีมาก

อยู่แล้ว แต่ในสังคมยุค New Normal สิ่งเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในแทบทุกจังหวะชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การ
เรยี นออนไลน์ การทำงานทีบ่ ้าน การประชมุ ออนไลน์ การซ้ือสนิ ค้าออนไลน์ การทำธรุ กรรม และการ
เอน็ เตอร์เทนชีวติ รปู แบบตา่ งๆ อย่างดหู นัง ฟงั เพลง

2. การเว้นระยะหา่ งทางสังคม
ผู้คนในสังคมจะเห็นความสำคัญของการเว้นระยะห่างท่ีเป็นแนวทางการใชช้ ีวิตช่วงวิกฤติ

โควิด-19 และจะดำเนินชีวิตแบบนั้นตอ่ ไป โดยรักษาระยะหา่ งทางกายภาพเพ่ิมข้ึน และใช้เทคโนโลยี
เขา้ มามีส่วนชว่ ยในการสอื่ สารและการใช้ชวี ติ ลดการปฏสิ ัมพันธ์ การไปในสถานทสี่ าธารณะ และเน้น
การทำกิจกรรมทบี่ า้ นมากขึ้น

3. การดูแลใสใ่ จสุขภาพทงั้ ตัวเองและคนรอบขา้ ง
โดยเกิดความคุ้นชินจากช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่ต้องดูแลด้านสุขภาพและความสะอาดเพ่ือ

ปอ้ งกนั การแพรเ่ ช้ือ ดังนน้ั พฤตกิ รรมการใชห้ น้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ และการล้างมืออย่างถูก

การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 38

วิธี และหมั่นสังเกตตัวเองเมื่อไม่สบายจะยังคงมีต่อไป รวมถึงการหันมาใส่ใจสุขภาพ การออกกำลัง
กาย และการทำประกนั สขุ ภาพจะมแี นวโนม้ มากขนึ้

4. การใชเ้ งนิ เพ่อื การลงทุน
ยุค New Normal เป็นจังหวะที่ผู้คนยังระมัดระวังการลงทุนใหม่ๆ และลดการใช้จ่าย

ฟมุ่ เฟือย เพราะแนวโนม้ เศรษฐกจิ ยงั ไม่แนน่ อน

5. การสร้างสมดุลชวี ิต
การมีโอกาสไดท้ ำงานทีบ่ ้าน ลดจำนวนวนั การเข้าทำงานในสำนักงาน หรือการลดการพะ

ปะผูค้ นในสงั คม แล้วหนั มาใชช้ ีวติ และทำงานท่ีบ้าน ทำใหผ้ ู้คนมองเหน็ แนวทางท่ีจะสร้างสมดุลชีวิต
ระหว่างอยู่บ้านมากขึ้น และจะเป็นแนวทางในการปรับสมดุลชีวิตระหว่างเวลาส่วนตัว การงาน และ
สังคมให้สมดลุ มากย่งิ ขน้ึ

ข้อปฏบิ ัติสำหรับประชาชนวัยทำงาน

1. การรักษาระยะห่างในที่ทำงาน คนทำงานที่เปลี่ยนจากการทำงานที่บ้าน และกลับมาเข้า
ทำงานที่สำนักงาน ยังคงคุ้นเคยกับการปฏิบัติแบบรักษาระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัส
และยังคงเหน็ ความสำคัญจากการดแู ลสขุ ภาพในทท่ี ำงานมากขึน้

2. ใช้เทคโนโลยีช่วยทำงานมากยง่ิ ข้ึน จากการรักษาระยะหา่ งทางสังคมและการ work from
home ที่เคยปฏิบัติจนเคยชิด ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงาน โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต
และแอปพลเิ คชนั ต่างๆ เชน่ การประชุมงาน การสง่ งาน

3. มีการพัฒนาทักษะผ่านคอร์สออนไลน์ ในการทำงานช่วงโควิด-19 ทำให้ผู้คนบางกลุ่มถูก
เลิกจ้าง หรือถูกลดเงินเดือน การพัฒนาตัวเองเพื่อให้มีความสามารถ และเป็นผู้เชี่ยวชาญตามที่
ตลาดแรงงานยังต้องการจึงมีความสำคัญ ดังนั้นการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ
และประสบการณ์ ผ่านช่องทางออนไลน์ จึงเป็นทางเลอื กของพนักงานที่ทำใหไ้ ด้พัฒนาตวั เองพร้อม
กับท่ยี งั ทำงานประจำไดอ้ ยู่

การป้องกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 39

การป้องกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 40

บทที่ ๕

สรปุ ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ

สรปุ ผลการศึกษา

สถานการณ์ในการ “การป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 ด้วยชุมชน” การช่วยเหลือ
การเยียวยา ผู้ประสบปัญหาทางสังคมจังหวัดน่านนั้น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงภาคีเครือข่ายภายนอกกระทรวง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ได้มีแนวทางดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมจังหวัดน่าน ทุกหน่วยงานร่วมกัน
ขับเคลื่อนภารกิจด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ในด้านการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิ
ภาพ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในการดูแลตนเองและการใช้ชีวิตประจำวันในช่วงเกิดโรคระบาด
เกิดขึ้น มีการจัดบริการทางสังคมท่ีเก่ียวกับการป้องกัน แก้ไขปัญหา การพัฒนา และการส่งเสรมิ การ
เขา้ ถงึ สิทธิและความม่ันคงในชวี ิตและทรัพย์สิน ใหค้ วามชว่ ยเหลือ ผูป้ ระสบปญั หาทางสังคมในภาวะ
วิกฤติเร่งด่วนตามสถานการณ์ ให้การช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพ และจัดบริการสวัสดิการสังคม
สำหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็ก เยาวชน สตรี ผู้ด้อยโอกาส รายได้น้อย ไร้ที่พึ่ง เร่ร่อน
และกล่มุ เป้าหมายอื่นๆ ทีป่ ระสบปญั หาทางสังคมในภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า
2019 หรือ COVID 19 โดยทุกหน่วยงานจะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงและมีการ
ดำเนินการภายใต้ระเบียบการดำเนินงานของแต่ละงาน เพื่อร่วมกันดำเนินการในการป้องกันและแก้ไข
ปัญหา COVID-19 อย่างเต็มท่ี โดยให้คำปรึกษาแนะนำผู้ได้รับผลกระทบ และลงเยี่ยมบ้านสอบ
ขอ้ เท็จจรงิ เพอื่ ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผูป้ ระสบปญั หา รวมท้งั การมอบสงิ่ ของเคร่ืองอุปโภคบริโภค
ร่วมกับคณะภาคีกัลยาณมิตรพิชิตโควิดน่าน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชนและศูนย์ส่งเสริม
ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจจังหวัดน่าน CSR Nan Center รว่ ม 19 องคก์ ร 5 ภาคีในการ
ออกพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทุกอำเภอ และมีการจัดตั้งศูนย์บริหาร
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับจังหวัด และแต่งตั้งปฏิบัติการเพ่ือ
บริหารราชการในภาวะวิกฤติของหน่วยงานกระทรวง พม. ในจังหวัด จำนวน 4 ทีม เพื่อปฏิบัติ
ราชการแทนในกรณีที่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทั้งหมดของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่สามารถ
ปฏิบตั ิงานได้

นอกจากนี้ การทำงานภายใต้มาตรการและนโยบายทีช่ ดั เจนจากภาครัฐ และการดำเนินการ
ตามมาตรการของภาครัฐและจังหวัดอย่างเครง่ ครดั โดยจังหวดั นา่ นมีการตั้งคณะกรรมการโรคติดต่อ
จังหวัดน่าน มีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 41

(COVID-19) ศนู ย์ข่าวโควดิ 19 น่าน ศูนยข์ อ้ มลู COVID-19 ซ่งึ เปน็ การบูรณาการทำงานจากทุกภาค
ส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพ ชัดเจน ในการทำงาน การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์
และการประสานความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า
2019 หรือ โควิด 19 อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง มีการรายงานสถิติ ประกาศ ข่าวสาร สรุปมาตรการ
ต่างๆ อย่างตอ่ เน่ือง รวดเรว็ ทันตอ่ สถานการณ์วันต่อวัน การรับเรอ่ื งรอ้ งเรยี น แจง้ เหตุ โดยการบูรณา
การการทำงานจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ทั้งในระยะที่มีการแพร่
ระบาดของโรค ระยะของการบังคับใช้มาตรการต่างๆอย่างเข้มงวดในช่วงล๊อคดาวน์ จนกระทั่งเข้าสู่
การผ่อนคลายมาตรการต่างๆลง เพื่อการสื่อสาร การสร้างความเข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่
การรับรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และต่อเนื่อง เริ่มจากมาตรการที่ชัดเจน
ของรัฐบาลในระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ นำไปสู่ระดับชุมชน เป็นการสร้างการรับรู้
สร้างความเข้าใจ แนวทางในการปฏิบัติตนและดำเนินการร่วมกัน ส่งผลให้การป้องกันและแก้ไข
ปัญหา COVID-19 ด้วยชุมชน เป็นไปอย่างดีเยี่ยมและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งมีการประสานความ
รว่ มมอื และการให้ความรว่ มมอื จากทกุ ภาคสว่ นอยา่ งเตม็ ท่ี

สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลเปือได้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 ด้วย
ชุมชน” โดยมีการจัดอบรมสอนทำหน้ากากผ้าให้กับผู้ที่สนใจและสอนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานฝึกทำ
หน้ากากผ้าเพื่อนำไปแจกให้ประชาชนในพื้นที่ในการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
มีการจัดอบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ให้ทุกกลุ่มเป้าหมาย อาทิ
เช่น ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน ผู้นำชุมชน แกนนำอสม. อพม. และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความรู้มา
ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 อีกทั้งมีการจัดทำ “ตู้ปันสุข” ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเปอื
โดยมีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนทุกคนร่วมกันแบ่งปันเครื่องอุปโภค บริโภค มอบของใช้ เครื่อง
อุปโภค บริโภค ในตู้ปันสุข แม้เป็นเพียงตู้ใบเล็กๆ แต่เต็มไปด้วยความสุขแห่งการช่วยเหลือแบ่งปัน
ของคนเมืองเปือยามที่กำลังเจอวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และทางองค์การ
บริหารส่วนตำบลเปือมีการประชาสัมพันธ์รับบริจาคของโดยมีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
ภาคประชาชน มาร่วมมอบสิ่งของไว้แจกจ่ายผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ตู้ปันสุข และนอกจากนี้องค์การ
บริหารส่วนตำบลเปือได้มีการประชาสัมพันธ์ติดประกาศให้ผู้มาติดต่อราชการ ที่สำนักงานองค์การ
บริหารส่วนตำบลเปือได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา
2019 (COVID -19) ทกุ คน

ปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินการ คือ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและระบบภาคีเครือข่ายใน
การทำงานอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างการรับรู้ และสร้างความเข้าใจร่วมกันและ
สามารถนำไปปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ทง้ั ในระดับบุคคล ครอบครัว ชมุ ชน หนว่ ยงาน เน่ืองจาก
ภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ COVID 19 เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 42

และแพร่ระบาดอย่างรวดเรว็ ไปทั่วโลก มีผู้คนติดเชอื้ และเสียชวี ิตเป็นจำนวนมาก ประชาชนส่วนใหญ่
ต่างมีความหวาดกลัวการติดเชื้อ และพร้อมให้ความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเข้มงวดตาม
มาตรการของภาครัฐ ซึ่งการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและระบบภาคีเครือข่ายในการทำงานอย่างมี
ส่วนร่วม เป็นแนวคิดสำหรบั การพัฒนาการดำเนินการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเช้ือไวรัส
โคโรน่า 2019 หรอื COVID 19 ได้อยา่ งย่งั ยนื โดยตอ้ งอาศัยความร่วมมือของประชาชนและจิตสำนึก
ของทุกคนในจังหวัด การรับผิดชอบต่อส่วนรวม ไม่พาตัวเองไปเสี่ยงหรือรับเชื้อ ซึ่งจะส่งผลทางอ้อมให้
ระบบการแพทย์และสาธารณสุขของพื้นที่ สามารถดูแลและรักษาผู้ป่วยให้หายได้ทัน และลดความตึง
เครียดของบุคลากรทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี

ข้อเสนอแนะ
1. รัฐบาลและหน่วยงานตา่ งๆรวมถึงชุมชน ควรมกี ารเตรยี มความพร้อม เพื่อรองรับกรณีการ
แพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง ให้ทุกภาคส่วน รวมถึงประชาชนทุกคนมีความพร้อมเดินหน้า
ตอ่ ไป เพอ่ื ให้สามารถดูแลตนเอง ครอบครวั ชมุ ชน สังคม รวมไปถงึ การแข่งขันกับประเทศอ่ืนๆท่วั โลก
2. รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักในการปฏิบัติ
ตามมาตรการสุขลักษณะ ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเมือออกจากบ้านอย่าง
เคร่งครัดและต่อเนอื่ ง
3. รฐั บาลและหนว่ ยงานต่างๆรวมถึงชุมชน ควรมกี ารเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับวกิ ฤติ
และสถานการณต์ า่ งๆที่อาจเกิดขนึ้ ในอนาคต.

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 43

บรรณานุกรม

กรมควบคุมโรค. (2563) สถานการณ์การระบาดโรคโควดิ -19 . สบื ค้นเม่ือ 30 มิถนุ ายน 2563,จาก
http://www.ddc.moph.go.th/viralpneumonia/fag-more.php.

สำนักงานประชาสัมพนั ธจ์ ังหวดั นา่ น. (2563) สบื ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563, จาก
https://pr.prd.go.th/nan/main.php?filename=intro

ประชาสัมพันธ์จังหวัดนา่ น. (2563) สถานการณโ์ รคโควดิ -19 จงั หวัดนา่ น. สืบคน้ เม่ือ 30
มิถนุ ายน 2563,จาก https://www.facebook.com/nanprovince

องค์การบริหารส่วนตำบลเปอื . (2563) สบื ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563, จาก
http://www.pue.go.th/page.php?pagename=contact

การศกึ ษาพ้นื ฐานในยคุ โควิด-19 (2563) สบื ค้นเม่ือ 30 มถิ นุ ายน 2563, จาก
https://tdri.or.th/2020/05/basic-education-in-covid-19-crisis-reopening-
school-after-lockdown/

การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 44

ภาคผนวก


Click to View FlipBook Version