The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การจัดการความรู้-KM เรื่อง เรียนรู้เพื่อป้องกันภัยพิบัติใกล้ตัว จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 9

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kaweewong88, 2021-07-02 23:46:52

เรียนรู้เพื่อป้องกันภัยพิบัติใกล้ตัว

การจัดการความรู้-KM เรื่อง เรียนรู้เพื่อป้องกันภัยพิบัติใกล้ตัว จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 9

Keywords: ภัยพิบัติ

เรยี นรเู้ พือ่ ป้องกันภยั พบิ ัติใกลตั ัว 45

1. จัดเจ้าหน้าที่ติดตามข้อมูลสถานการณ์และการแจ้งเตือนจากหน่วยงานท่ี
รับผิดชอบ เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมทรัพยากรธรณี ศูนย์เตือนภัยพิบัติ
แหง่ ชาติ กรมปอ้ งกนั และบรรเทาสาธารณภยั ฯลฯ ตลอด 24 ชั่วโมง

2. แจ้งเตือนหน่วยงานในระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินทราบ
เพือ่ เตรียมการรับสถานการณ์ ตามแผนของหน่วยงาน และแจง้ เตือนประชาชนในพ้ืนที่เสี่ยงภัย
ทราบ

3. แจ้งเตอื นเครือขา่ ยดา้ นการป้องกันและบรรเทาสาธารณภยั ในพ้ืนที่ เชน่ สถานี
วิทยุกระจายเสียงประจำท้องถิ่น สถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลทีวี และสื่อต่าง ๆ ในพื้นที่กลุ่มมวลชน
มสิ เตอรเ์ ตือนภัย อปพร. เพ่ือติดตามสถานการณ์ และแจง้ เตอื นให้ประชาชนในพื้นที่ทราบอนึ่ง
การแจ้งเตือนภัยตามข้อ 2 และ ข้อ 3 ให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด
จัดวางระบบตรวจสอบว่าหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่าย
ด้านการปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการแจ้งเตือนภยั ไปยังตำบล หมบู่ ้าน เพ่ือให้
ประชาชนในพนื้ ท่ีทราบขอ้ มูลการแจ้งเตอื นภัยนนั้ ๆ แล้วโดยทันที

4. รายงานผลการเตรียมความพร้อมให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทราบ
ภายใน 24 ช่วั โมง นับแตไ่ ดร้ ับการแจ้งเตอื น

5. กรณีเกิดสถานการณ์สาธารณภัยในพื้นที่รับผิดชอบ ให้รายงานผลการปฏิบัติ
ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภยั ทราบทกุ ระยะศูนยเ์ ตือนภยั พบิ ตั ิแหง่ ชาติ เปน็ หน่วยงาน
ในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลกลางทาง
ด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ และควบคุมสั่งการในภาวะวิกฤติตลอดจนแจ้งเตือนภัยพิบั ติ
ทุกประเภท ซึ่งเกิดขึ้นภายในประเทศไทยได้จัดเตรียมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารของหนว่ ยงานและประสานงานกบั หนว่ ยงานต่างๆ เพ่อื การเชอ่ื มตอ่ ระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศและการส่ือสาร ศูนยป์ ฏบิ ตั ิการรองรบั เหตุฉุกเฉินระดับกระทรวง ระดับจังหวัดและ
ศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้า โดยใช้ระบบ ECO (Emergency Operation Center Web) ระบบ
การประชุมทางไกล (Web Conference)และระบบการถ่ายทอดภาพสัญญาณประสาน
เครือข่าย C4I กระทรวงกลาโหม และระบบ VTC ของกระทรวงมหาดไทยไปยังแผนที่
สถานการณ์ร่วมกัน NCOP (National Common Operation Picture) ระบบเตือนภัย
ล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ เป็นการช่วยลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนใน
ประเทศไทยและชาวต่างประเทศที่พำนักหรือเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย พร้อมกันน้ี
ยังช่วยสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในประเทศและชาวต่างประเทศ

เรียนรเู้ พอื่ ปอ้ งกนั ภยั พิบัตใิ กลตั ัว 46

รวมทั้งสร้างเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้อีกทางหนึ่งด้วยการตั้งศูนย์
อำนวยการเฉพาะกิจกิจกรรมหลักและสำคัญของกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนทุก
ระดับคือ การเข้าระงับและต่อต้านภัยฝา่ ยพลเรือนที่กำลังจะเกิด หรอื เกดิ ขึ้นแล้วให้หมดส้ินไป
โดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพ่ือลดอันตรายและความเสียหายต่อชวี ิตและทรัพย์สินของทาง
ราชการและประชาชน ในการปฏิบัติเมื่อเกิดสาธารณภัยในปัจจุบัน จะต้องจัดตั้ง
ศนู ยอ์ ำนวยการเฉพาะกจิ มขี ั้นตอนดงั นี้

1. จดั ตั้งศนู ย์อำนวยการเฉพาะกจิ
1.1 ดำเนินการควบคุมพ้ืนทป่ี ระสบภยั และอำนวยการปฏบิ ัติ
1.2 ดำเนินการประกาศแนะนำแจ้งเตือนประชาชนและเจ้าหน้าที่ให้หลบ

ภยั เพอ่ื เตรียมการป้องกันลดอนั ตรายและความเสียหาย หากจำเป็นและสมควรให้ผู้อำนวยการ
ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่สั่งการให้ดำเนินการป้องกันภัยตามแผนที่ได้เตรียมการไว้
ลว่ งหน้าตามควรแก่กรณี

2. การจัดตงั้ หน่วยกู้ภยั ขน้ึ ในศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ
2.1 เตรียมพร้อมประจำ ณ ที่ตั้งมีเจ้าหน้าที่ เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์

เคร่ืองมอื ส่ือสารและยานพาหนะให้พอทจ่ี ะระงับและบรรเทาภัย
2.2 หนว่ ยก้ภู ยั ประกอบด้วย
2.2.1 ชุดเคลื่อนที่เร็ว สามารถเคลื่อนที่ออกไประงับและบรรเทาภัย

ไดท้ ันที
2.2.2 ชุดสนับสนุน เตรียมพร้อม ณ ที่ตั้งสามารถเคลื่อนที่ไปเสริม

กำลังชุดเคลือ่ นท่เี ร็วไดเ้ มือ่ ได้รบั การร้องขอ
2.3 เมือ่ ภัยลุกลามจนเกินกำลงั ของหนว่ ยจะระงับไดโ้ ดยลำพงั หรือไม่อาจ

ระงับได้โดยเรว็ ตามขดี ความสามารถท่ีมีอยู่ในกองอำนวยการป้องกันภยั ฝ่ายพลเรือนเขตท้องท่ี
ให้แจ้งขอกำลังสมทบจากกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ที่ติดต่อหรือเขต
ท้องท่ีอื่นตามท่ีได้มีการประสานกันไว้

2.4 เมื่อกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ร้องขอหรือ
เมื่อเห็นสมควร กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัดจะประสานกับหน่วยอื่น ให้การ
สนับสนนุ สง่ กำลงั เจา้ หนา้ ที่ เครอ่ื งมือ เครื่องใช้ ไปช่วยเหลอื สนบั สนุนในการระงับและบรรเทา
ภยั ทนั ที

เรยี นรู้เพอ่ื ป้องกันภยั พบิ ัตใิ กลัตัว 47

3. การปฏิบัติเมื่อสาธารณภัยรุนแรงเกินขีดความสามารถของกองอำนวยการ
ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ภายในจงั หวัดกรณีที่สาธารณภัยรุนแรงเกิดขีดความสามารถ
ของกองอำนวยการป้องกันภยั ฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ภายในจังหวัด จะสามารถรับสถานการณ์
ได้ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัด จำเป็นที่จะต้องตั้ง
ศู น ย ์ อ ำ น ว ยกา ร เฉ พา ะกิ จช่ วย เห ลื อผู ้ป ระส บ ภัย ขึ้ น เพื ่ อท ำกา รบ ร รเ ท าแ ละช ่ว ยเหลือ
ผูป้ ระสบภัยในพนื้ ท่เี กดิ เหตุให้ท่ัวถึงภายใน 24 ชว่ั โมง

4. องค์กรปฏิบัติช่วยเหลือผู้ประสบภัยเฉพาะกิจการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็น
ภารกิจที่จะต้องอาศัยความร่วมมือในการปฏิบัติจากทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานและบุคคลใน
จังหวัด ซึ่งจะมีองค์กรหลักในการประสานการปฏิบัติเพื่อให้บังเกิดเอกภาพอย่างเป็นรูปธรรม
กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวดั โดยผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจงั หวัด
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยข้ึน
เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่ประสบภัยหรือพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อทำการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่
ที่สาธารณภัยได้เกิดขึ้นอย่างรุนแรง เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการ และ
ประสานการปฏบิ ตั ิของหน่วยงานต่างๆ ที่ไปร่วมปฏิบัติงานในพ้นื ท่ี เพ่อื ให้การปฏบิ ัติมีเอกภาพ
เป็นรูปธรรมและมีประสทิ ธิภาพสูงสดุ

5. โครงสรา้ งศนู ยอ์ ำนวยการช่วยเหลอื ผู้ประสบภัย ประกอบดว้ ย 7 ฝา่ ย ดังน้ี
5.1 ฝา่ ยอำนวยการ
5.2 ฝ่ายแจ้งเตอื นภัย
5.3 ฝ่ายประสานช่วยเหลอื
5.4 ฝ่ายประชาสัมพนั ธ์และสอ่ื สาร
5.5 ฝา่ ยรบั บรจิ าคและบัญชี
5.6 ฝ่ายรักษาความสงบเรียบรอ้ ย
5.7 ฝ่ายฟน้ื ฟบู ูรณะ

6. ระบบปฏบิ ัติการระบบปฏบิ ัติการประกอบด้วย 3 ขน้ั ตอน ดังนี้
6.1 การดำเนินงานก่อนเกิดภัยหรอื ภยั ใกล้จะเกิดข้ึนในสถานการณ์ปกติให้

หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบรับทราบและซักซ้อมความเข้าใจในภารกิจหน้าที่ของตน
พร้อมทั้งเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้มีความพร้อมอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้
ทุกโอกาสทสี่ าธารณภยั ได้เกิดขึ้นอย่างรนุ แรง

เรยี นร้เู พ่อื ป้องกันภยั พบิ ัตใิ กลตั วั 48

6.2 การดำเนินงานขณะเกิดภัยกรณีเกิดสาธารณภัยอย่างรุนแรง
ให้ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัดออกคำสั่งจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ
ชว่ ยเหลอื ผปู้ ระสบภัยข้ึน มีโครงสรา้ งศูนยต์ ามท่ีได้กล่าวไว้ข้างตน้ และมคี ำส่ังแต่งต้ังเจ้าหน้าที่
จากหน่วยต่าง ๆ ไปประจำทุกฝ่ายของแต่ละส่วน เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่บรรเทาและ
ช่วยเหลือผปู้ ระสบภัยไดอ้ ย่างทั่วถึงภายใน 24 ชั่วโมง

6.3 การดำเนินงานภายหลังการเกิดภัยเมื่อสถานการณ์สาธารณภัย
ได้กลับคืนสู่สภาวะปกติ ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัด ออกคำสั่งยุติ
การปฏิบตั ิงาน และมอบภารกจิ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการฟ้ืนฟบู ูรณะใหแ้ ก่ อำเภอและ
ส่วนราชการท่รี บั ผิดชอบดำเนนิ การตามอำนาจหน้าที่ตอ่ ไป

การประเมนิ ความเสียหายและฟนื้ ฟูโครงสร้างพืน้ ฐาน
ในระเบียบกระทรวงการคลงั วา่ ดว้ ยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
พิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 ได้กำหนดให้จังหวัดจะต้องมีคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือ
ผู้ประสบภยั พิบัติทัง้ ในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ โดยมีรายละเอียดและอำนาจหนา้ ที่ ดังนี้
ข้อ 10 ให้จังหวัดแต่งตงั้ คณะกรรมการให้ความชว่ ยเหลือผู้ประสบภัยพิบตั ิระดบั อำเภอ หรือก่ิง
อำเภอคณะหน่งึ เรยี กวา่ “คณะกรรมการให้ความชว่ ยเหลือผปู้ ระสบภยั พิบัติอำเภอ” เรยี กโดย
ย่อว่า “ก.ช.ภ.อ.” หรือ “คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกิ่งอำเภอ”
เรียกโดยย่อว่า “ก.ช.ภ.กอ.” แล้วแต่กรณี ประกอบด้วย นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็น
หวั หน้าประจำกง่ิ อำเภอเปน็ ประธานกรรมการ หัวหนา้ สว่ นราชการประจำอำเภอหรือกิ่งอำเภอ
ทเี่ ก่ียวข้องหรือผู้แทน ผแู้ ทนกระทรวงกลาโหมหน่ึงคน ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณ
ภัยหนึ่งคน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอหรือกิ่งอำเภอนั้นหนึ่งคน
เป็นกรรมการ และปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคงเป็นกรรมการและเลขานุการข้อ 11
ให้ ก.ช.ภ.อ. หรือ ก.ช.ภ.กอ. มอี ำนาจหนา้ ที่ดังน้ี
1. สำรวจความเสียหายจากภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในอำเภอหรือกิ่งอำเภอ
แล้วแต่กรณี และความต้องการรับความช่วยเหลือด้านต่างๆ ของผู้ประสบภัยพิบัติ โดยจัดทำ
บญั ชเี ปน็ ประเภทไว้
2. พิจารณาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบตั ิตามหลักเกณฑ์วิธีการทีก่ ระทรวงการคลัง
กำหนด

เรียนรู้เพ่ือป้องกนั ภยั พบิ ัตใิ กลัตัว 49

3. ประสานงานและร่วมดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกับ ก.ช.ภ.อ. หรือ
ก.ช.ภ.กอ. อนื่ ในกรณที ่ีเกิดภัยพิบัตกิ รณีฉกุ เฉนิ ข้นึ ในหลายอำเภอหรือหลายกิ่งอำเภอ

4. รายงานผลการสำรวจตาม (1) และการแก้ไขความเดือดร้อนเฉพาะหน้าที่ได้
ดำเนินการไปแล้วให้ ก.ช.ภ.จ. ทราบหรือเพื่อพิจารณาด าเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
ต่อไปข้อ 12 ให้จังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติระดับจังหวัด
คณะหนึง่ เรยี กวา่ “คณะกรรมการให้ความชว่ ยเหลือผู้ประสบภัยพบิ ัติจังหวัด” เรียกโดยย่อว่า
“ก.ช.ภ.จ.” ประกอบดว้ ย ผวู้ ่าราชการจังหวัดเปน็ ประธานกรรมการ หัวหนา้ สว่ นราชการระดับ
จังหวัดที่เกี่ยวข้องหรือผู้แทน ผู้แทนกระทรวงกลาโหมหนึ่งคน ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทา
สาธารณภยั หน่งึ คน ผแู้ ทนองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินในเขตจังหวัดหนึ่งคน เป็นกรรมการและ
ปลัดจงั หวัดเป็นกรรมการและเลขานุการข้อ 13 ให้ ก.ช.ภ.จ. มอี านาจหน้าท่ีดังนี้

1. สำรวจความเสียหายจากภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในจังหวัดและ
ความตอ้ งการรับความช่วยเหลือด้านต่างๆ ของผู้ประสบภัยพิบัติ

2. พิจารณาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการท่ี
กระทรวงการคลงั กำหนด

3. ระดมสรรพกำลัง ควบคุม เร่งรัด และประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ
ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ เพื่อให้ผู้ประสบภัยพิบัติได้รับความช่วยเหลืออย่าง
รวดเร็วทัว่ ถงึ และไม่ซ้ำซ้อน

4. พิจารณาอนมุ ัตคิ ่าใชจ้ ่ายในการชว่ ยเหลือผู้ประสบภยั พบิ ตั ิสำหรับสว่ นราชการ
หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่มีวงเงินทดรองราชการตามระเบียบนี้ แต่จำเป็นต้องดำเนินการ
ช่วยเหลือผปู้ ระสบภัยพิบตั ติ ามมตขิ อง ก.ช.ภ.จ.

5. จัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กำลังคน อุปกรณ์ เครื่องมือ
เครื่องใช้ ยานพาหนะ และอื่น ๆ ที่จำเป็นจากส่วนกลางในกรณีภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินที่เกิดขึ้น
เกนิ กวา่ ความสามารถของจงั หวดั

6. ประสานงานและร่วมดำเนนิ การชว่ ยเหลอื ผปู้ ระสบภัยพิบตั กิ ับ ก.ช.ภ.จ. อ่นื ใน
กรณภี ยั พิบัติกรณีฉุกเฉนิ เกดิ ขึน้ ในหลายจงั หวดั

7. รายงานความเสียหายจากภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในจังหวัด การแก้ไข
ความเดือนร้อนเฉพาะหน้าที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และโครงการขอรับการสนับสนุน
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัตจิ ากสว่ นกลางให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภยั ทราบหรือ
เพื่อพิจารณาด าเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่อไปข้อ 14 การประชุมคณะกรรมการ

เรียนรเู้ พอ่ื ปอ้ งกนั ภยั พิบตั ิใกลตั ัว 50

ตามข้อ 10 หรือข้อ 12 ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ
ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมในการประชุมคราวใด ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่
อาจปฏิบัติหน้าทีไ่ ด้ให้กรรมการที่มาประชุมเลอื กกรรมการคนหนึง่ เป็นประธานในที่ประชุมมติ
ของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรณีท่ีมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานลงคะแนนเสียงอีก
หนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาดขั้นตอนการประเมินความเสียหายภายหลังจากเกิดภัยพิบัติ เพื่อให้
ทราบถงึ ความต้องการของผ้ปู ระสบภยั ในปจั จบุ ัน มดี งั น้ี

1. ก.ช.ภ.อ. จะมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และสำรวจความ
เสียหายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยขึ้นมาคณะหนึ่ง ซึ่งในคำสั่งแต่งตั้งจะระบุประเภทของภัย
ผปู้ ระสบภัย สถานท่ีและความเสยี หาย

2. หลังจากนั้นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และสำรวจความเสียหายจะ
ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบรายละเอียดของความเสียหาย โดยจัดทำเป็นแบบสอบข้อเท็จจริง
ผู้ประสบภยั

3. เมื่อได้ผลการตรวจสอบรายละเอียดแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง
จะต้องมีบันทึกคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และสรุปผลการให้ความเห็นในการ
ช่วยเหลือผู้ประสบภัย หลังจากนั้นผู้ประสบภัยจึงจะได้รับการช่วยเหลือตามขั้นตอนต่อไป
สำหรับระดับจังหวัดก็ดำเนินการในลักษณะเดียวกันจากการรวบรวมคู่มือการดำเนินการ
จัดระบบบริการ สำหรับงานที่มีความเชื่อมโยงหลายส่วนราชการของ ก.พ.ร. ที่จัดทำขึ้นใน
ปี 2548 พบว่าในสว่ นของกระบวนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบตั ิ ตามระเบียบปฏิบัติ
จริงจะต้องมีการสำรวจความเสียหายและมีการรายงานประเมินผลเบื้องต้น โดยนายอำเภอใน
ฐานะประธานคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) ไปยังผู้ว่า
ราชการจังหวัดและทำการประกาศพื้นที่ประสบภัยพร้อมตั้งคณะกรรมการระดับอำเภอและ
จังหวัด สำรวจรายละเอียดพร้อมพิจารณาให้ความช่วยเหลือซึ่งต้องใช้เวลาถึง 30 วัน โดยมี
เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานและองค์การที่เกี่ยวข้องที่จะต้องทำการตรวจสอบข้อมูลก่อนให้ความ
ช่วยเหลืออย่างไรก็ตามหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ประเมิน
คา่ ความเสียหายยังปฏบิ ัติไมเ่ ปน็ มาตรฐานสากล โดยมงุ่ เน้นไปท่ีการชว่ ยเหลือหลังเกิดภัยพิบัติ
เป็นหลัก ควรพิจารณาใช้แนวทางการประเมินค่าภัยพิบัติขององค์กรเพื่อการบริหารจัดการ
สถานการณ์ฉกุ เฉินแห่งรัฐบาลกลาง สหรฐั อเมรกิ า (The Federal Emergency Management
Agency-FEMA) ควบคู่กันไปเพื่อทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยจะ
กลา่ วถงึ ในลำดับตอ่ ไป

เรียนรู้เพ่อื ปอ้ งกันภยั พบิ ตั ใิ กลัตัว 51

ระยะฟื้นฟูผู้ประสบภยั หลังส้ินสดุ ภัยพบิ ตั ิ
กระทรวงการพฒั นาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์

ได้แก่ ช่วยเหลือ เยียวยาผู้ประสบภัยร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง สรุปผล
การดำเนนิ งาน โดยการใหค้ วามชว่ ยเหลอื เยียวยา ผูป้ ระสบภยั พบิ ัติ เปน็ การให้ความช่วยเหลอื
เยียวยาผู้ประสบภัย ตามระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ ว่าด้วย
การจ่ายเงินอุดหนุนเพ่ือชว่ ยเหลือผปู้ ระสบปัญหาทางสังคม กรณีฉกุ เฉนิ พ.ศ. 2547 และแก้ไข
เพ่ิมเตมิ พ.ศ. 2550 ดงั นั้น การศึกษาขอ้ มูลเก่ยี วกบั ระเบียบ กฎเกณฑใ์ นการชว่ ยเหลือเบื้องต้น
เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสามารถสรุปเป็นผังกระบวนงานและขั้นตอน เพื่อง่ายต่อความเข้าใจของ
ผู้ปฏิบตั ิ ดงั น้ี

ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยการจ่ายเงนิ อดุ หนุน
เพือ่ ช่วยเหลอื ผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพม่ิ เติม พ.ศ. 2550

เรียนรู้เพ่ือปอ้ งกันภยั พบิ ัตใิ กลัตัว 52

กระบวนงานการช่วยเหลอื ผู้ประสบปญั หาทางสงั คมกรณีฉุกเฉิน

ผังกระบวนการและข้ันตอนการปฏบิ ตั ิงานการสงเคราะหค์ รอบครัวผมู้ ีรายได้น้อยและไร้ทีพ่ ึ่ง

เรียนรเู้ พือ่ ปอ้ งกนั ภยั พิบัตใิ กลัตัว 53

ผงั กระบวนการและขนั้ ตอนการปฏบิ ตั ิงาน การสงเคราะห์เด็กในครอบครวั ยากจน

นอกจากนี้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีการประชาสัมพันธ์
ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (Social Assistance Center) ซึ่งเป็นศูนย์กลางให้คำปรึกษาแนะนำ
ปัญหาสังคมทุกประเภททางโทรศัพท์ โดยมีบริการสายด่วน 1300 รับแจ้งและช่วยเหลือผู้
ประสบปัญหาทางสังคมเบื้องต้น ประสานส่งต่อความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องท้ัง
ภาครฐั เอกชน และองคก์ รปกครองสว่ นท้องถนิ่ ผปู้ ระสบปญั หาสามารถโทรแจง้ ไปยังสายด่วน
1300 ได้ตลอด 24 ชัว่ โมง

เรียนรเู้ พื่อป้องกนั ภยั พบิ ตั ิใกลตั วั 54

หนว่ ยงานชว่ ยเหลือยามฉุกเฉิน

ศูนยเ์ ตอื นภัยพบิ ตั ิแหง่ ชาติ 192
สายด่วนกรมปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภยั 1784
ศนู ย์บริการข่าวอากาศ กรมอตุ ินิยมวิทยา 1182
แจ้งเหตดุ ว่ น เหตรุ า้ น 191
ศนู ยด์ ับเพลิง 199
ตำรวจท่องเที่ยว 1699
ตำรวจทางหลวง 1193
เหตดุ ่วนทางน้ำ ศูนยป์ ลอดภยั ทางนำ้ 1199
อุบัตเิ หตทุ างน้ำ กองบัญชาการตำรวจ 1196
ศนู ยบ์ ริการขอ้ มูลภาครฐั เพื่อประชาชน 1111
กรมการขนส่งทางบก 1584
ศนู ย์รับเรือ่ งร้องเรยี น การไฟฟา้ สว่ นภมู ิภาค 1129
ศูนย์รับเรือ่ งร้องเรียน การประปาสว่ นภูมภิ าค 1662
ศนู ย์รับเร่อื งร้องเรยี น การไฟฟ้านครหลวง 1130
ศูนย์รับเรอื่ งร้องเรยี น การประปานครหลวง 1125
ศูนย์ประชาบดี / แจง้ คนหาย 1300
สายด่วนกรมสขุ ภาพจติ 1323

เรียนรู้เพ่ือปอ้ งกันภยั พิบัตใิ กลตั วั 55

บทสรุป

ภัยธรรมชาติ นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หรือมนุษย์ได้ทำให้มัน
เกิดขึ้นมา ภัยธรรมชาติมีหลายรปู แบบแตกต่างกันไป บางอย่างร้ายแรงน้อย บางอย่างรา้ ยแรง
มาก ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น อุทกภัยหรือน้ำท่วม พายุ แผ่นดินไหว
เปน็ ตน้ ซงึ่ ภยั ธรรมชาตติ ่างๆ ไม่วา่ จะรา้ ยแรงมากหรอื น้อยก็เกิดขนึ้ ได้ทกุ เวลาโดยท่มี นุษย์ไม่ได้
ต้ังตัว ซง่ึ มนุษยท์ ่ัวโลกได้นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างส้นิ เปลอื งในปริมาณมาก

ปจั จุบนั การเปลีย่ นแปลงทางสภาวะแวดล้อมของโลก อาจเกดิ ขึ้นเนือ่ งจากปัจจัย
ธรรมชาตหิ รอื จากการกระทำของมนุษย์ ไดส้ ่งผลให้เกิดปัญหาภัยพบิ ัติต่างๆ ทงั้ ในประเทศไทย
และภูมิภาคต่างๆ อาทิ แผ่นดินไหว ภัยแล้ง ภัยหนาว อัคคีภัย อุทกภัย ตลอดจนภัยพิบัติอืน่ ๆ
ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อประชาชน ลักษณะการเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่
การเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ไปจนถึงการเกิดอย่างฉับพลันและรุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตและ
ความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติทาง
ธรรมชาติและการเปล่ยี นแปลงทางธรรมชาติในโลกต่างๆ เพอื่ จะไดป้ รับวถิ ีชีวติ ให้สอดคล้องกับ
สภาวะในขณะนี้

ดงั นนั้ การศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเก่ียวกับด้านภัยพิบตั ิ จึงมีความสำคัญ
ต่อการดำเนินชีวิต เพื่อความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจาก
ภัยพิบัติ เพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมความพร้อม รวมไปถึงการปฏิบัติตนและแก้ปัญหา
หลังจากเกิดภัยพิบัติต่างๆ อีกทั้งยังสามารถให้ความสำคัญกับมาตรการเชิงรับกับการฟื้นฟู
การจัดการดูแลให้กับผู้ได้รับผลกระทบ ให้ความช่วยเหลือหลังเกิดภัยพิบัติ เพื่อลดความเสี่ยง
หรือโอกาสที่จะได้รับผลกระทบนั้นมีน้อยลงได้ จึงถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนของสังคมควร
ให้ความสำคัญกับเรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติต่างๆนี้ ที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกคน
ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ การศึกษา หรือแม้แต่ในระดับชุมชนและประชนชนเอง
จำเปน็ ต้องมคี วามเข้าใจและมีความตระหนักในเร่ืองนี้อยา่ งจรงิ จัง เพอื่ ประเทศไทยจะสามารถ
ก้าวหน้าไปเป็นประเทศที่ปรบั การฟ้ืนตวั จากภยั พบิ ัติ ได้อย่างยั่งยนื อย่างย่ังยืน

ผจู้ ัดทำ

เรยี นร้เู พ่อื ปอ้ งกันภยั พบิ ตั ิใกลตั วั 56

เรยี นรู้เพ่อื ปอ้ งกันภยั พบิ ัตใิ กลตั วั 57

เอกสารอ้างอิง

ศูนยเ์ ตือนภัยพบิ ตั แิ หง่ ชาติ, กฎเตือนภยั เพื่อเผชญิ ภัยธรรมชาต.ิ เอกสารสำเนาเผยแพร.่ มปป.

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หนึ่งในหนทางรับมือกับภัยสุขภาพจาก
ภาวะโลกรอ้ น. พมิ พค์ รัง้ ท่ี 1 : กมุ ภาพันธ์ 2554.

บริษัทบางจากปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) : คู่มือคนไทยเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ พิมพ์ครั้งที่ 1
กรกฎาคม 2554.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทย : คู่มือประชาชนในการเตรียมตัวให้
รอดปลอดภัยพิบตั .ิ พิมพค์ รั้งที่ 6 : มกราคม 2560.

กรมปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภยั กระทรวงมหาดไทย : การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสู่การ
พัฒนาทยี่ ่งั ยนื .พิมพ์ครงั้ ท่ี 1: พฤศจกิ ายน 2557.

สำนกั งานสง่ เสรมิ และสนับสนนุ วิชาการ 9 เชียงใหม่ : เวชมนต์ของคน พม.เชยี งราย ตอ่ การ
ช่วยเหลือผ้ปู ระสบภยั พบิ ตั ิ (แผ่นดนิ ไหว).ประจำปี 2562

การจดั การความรู้ (Knowledge Management : KM)
เร่อื ง “เรียนรเู้ พ่อื ปอ้ งกันภยั พบิ ตั ิใกล้ตวั ”

เจา้ ของและผ้จู ัดพมิ พ์ :

สำนักงานสง่ เสริมและสนับสนนุ วิชาการ 9

บริเวณศูนย์ราชการจงั หวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา

ตำบลชา้ งเผอื ก อำเภอเมืองเชียงใหม่

จงั หวดั เชียงใหม่ 50300

โทรศัพท์ 053-112485-6 โทรสาร 053-112491

Email: [email protected] เวป็ ไซต์ [email protected]

ท่ปี รึกษาโครงการ :

นายธนู ธแิ กว้ ผ้อู ำนวยการสำนักงานสง่ เสรมิ และสนบั สนุนวิชาการ 9

นางสาวอัจฉรา สุใจ นกั พฒั นาสังคมชำนาญการพเิ ศษ

คณะทำงาน :

สำนกั งานส่งเสรมิ และสนบั สนนุ วิชาการ 9

นางพรรครนิ อดุ มวฒั นานันท์ นักพัฒนาสงั คมชำนาญการ

นางสาวณชิ รตั น์ ยานะ เจา้ พนกั งานพัฒนาสงั คมปฏบิ ัติงาน

นางสาวแคทรยิ า ฆวีวงศ์ นักพฒั นาสังคม

นางสาวจีราวรรณ แก้วธรรมานกุ ูล พนกั งานระบบคอมพิวเตอร์

ปก-รูปเลม่ :

นางสาวจรี าวรรณ แกว้ ธรรมานกุ ูล พนกั งานระบบคอมพิวเตอร์


Click to View FlipBook Version