The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

4. Social Lab ต.ผาบ่อง อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน พร้อม QR Code

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kaweewong88, 2020-08-22 10:22:37

4. Social Lab ต.ผาบ่อง อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน พร้อม QR Code

4. Social Lab ต.ผาบ่อง อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน พร้อม QR Code

พ้ืนที่ปฏบิ ตั ิการพฒั นาสงั คม (Social Lap)
องคก์ ารบรหิ ารสว่ นตาบลผาบ่อง
อาเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จงั หวดั แม่ฮ่องสอน
“การป้ องกนั และแกไ้ ขปัญหา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน”

จดั ทาโดย

ศนู ยบ์ รกิ ารวิชาการพฒั นาสงั คมและจดั สวสั ดิการสงั คม
สานกั งานสง่ เสรมิ และสนบั สนนุ วิชาการ 9
กระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมนั่ คงของมนษุ ย์

ที่อย่ ู

บรเิ วณศนู ยร์ าชการจงั หวดั เชียงใหม่
ถ.โชตนา ต.ชา้ งเผอื ก อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศพั ท์ 053-112485-6 โทรสาร 053-112491

ศนู ยบ์ ริการวิชาการพฒั นาสงั คมและจดั สวสั ดิการสงั คม สสว.9
[email protected]
www.tpso-9.m-society.go.th

เผยแพร่

กรกฎาคม 2563

การป้องกนั และแกไ้ ขปัญหา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน ก

คำนำ

การดำเนินงานพื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม (Social Lab) เป็นกิจกรรมตามโครงการศูนย์บริการ
วิชาการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคม ประจำปี พ.ศ.2563 ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานส่งเสริมและ
สนับสนุนวิชาการ 9 ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นท่ี
จังหวัดแมฮ่ อ่ งสอน โดยเป็นการศึกษาสภาพปญั หา รว่ มดำเนินงาน ตดิ ตามและถอดบทเรยี น เพอ่ื สง่ เสรมิ ให้
เกิดการมีส่วนร่วมของประชารัฐเพื่อสังคมในชุมชน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเจ้าภาพ
ซึ่งจังหวัดแม่อ่องสอน ดำเนินการในพื้นที่ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน โดยเริ่มที่การจัดการข้อมลู
ช่วยเหลือ คุ้มครอง ปอ้ งกนั นำไปสกู่ ารจดั สวสั ดิการสังคมและพัฒนาสงั คมอยา่ งเป็นระบบ ซงึ่ ตำบลผาบ่อง
เป็นตำบลต้นแบบด้านการพัฒนาสังคม มีการทำงานที่โดดเด่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกวัยด้วย
การมีส่วนร่วมจากชุมชน โดยในปี พ.ศ.2563 มีการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส (COVID-19)
การดำเนินงานพื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม (Social Lab) จึงเป็นการศึกษาการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
“การป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 ด้วยชุมชน” ผ่านการศึกษาข้อมูล รวบรวมข้อมูลและ
การสำรวจข้อมูลตามแบบสำรวจข้อมูลการดำเนินงานในพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จในการ
ดำเนินงานและทิศทางการพัฒนางานในอนาคตในพ้นื ที่ปฏิบตั ิการพฒั นาสงั คม (Social Lab)

ขอขอบคุณทุกพลังการทำงาน ทุกความคิด ทุกการแลกเปลี่ยน การแบ่งปันความรู้ และการปฏิบัติ
การเรียนรู้ร่วมกนั จากทมี งานหนว่ ยงานสังกัดกระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมนั่ คงของมนุษย์ ในพื้นท่ี
จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ทีม One Home จังหวัดแม่ฮ่องสอน) ทุกท่าน รวมถึงพลังจากชุมชนในตำบลผาบ่อง
ผ่านการทำงานที่เข้มแข็งของทีมงานองค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง ที่ได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญ
ในการขับเคลื่อนการการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมในพ้ืนท่ี กอ่ เกดิ พัฒนางานพ้ืนที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม
(Social Lab) ในมิติเชิงประเด็น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 ด้วยชุมชน เพื่อนำไปสู่พัฒนา
สังคมและจัดสวสั ดิการสงั คมทเ่ี หมาะสมกบั บริบทของสภาพปัญหาและพื้นท่ีต่อไป

สำนกั งานสง่ เสริมและสนับสนนุ วิชาการ 9
กรกฎาคม 2563

การป้องกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน ข

บทสรปุ ผบู้ ริหำร

การดำเนินงานพื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม (Social Lab) เป็นกิจกรรมตามโครงการศูนย์บริการ
วิชาการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคม ประจำปี พ.ศ.2563 ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานส่งเสริมและ
สนับสนุนวิชาการ 9 ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่
จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเปน็ การศึกษาสภาพปัญหา รว่ มดำเนินงาน ตดิ ตามและถอดบทเรยี น เพ่อื ส่งเสริมให้
เกิดการมีส่วนร่วมของประชารัฐเพื่อสังคมในชุมชน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเจ้าภาพ
ซึ่งจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำเนินการในพื้นที่ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน โดยเริ่มที่การจดั การข้อมลู
ชว่ ยเหลือ คุม้ ครอง ปอ้ งกนั นำไปสู่การจัดสวัสดิการสังคมและพัฒนาสังคมอยา่ งเปน็ ระบบ ซ่งึ ตำบลผาบ่อง
เป็นตำบลต้นแบบด้านการพัฒนาสังคม มีการทำงานที่โดดเด่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกวัยด้วยการ
มีส่วนร่วมจากชุมชน โดยในปี2563 มีการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส (COVID-19) การดำเนินงาน
พื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาสังคม (Social Lab) จึงเป็นการศึกษาการขับเคลื่อนการดำเนินงาน “การป้องกัน
และแก้ไขปัญหา COVID-19 ด้วยชุมชน” ผ่านการศึกษาข้อมูล รวบรวมข้อมูลและการสำรวจข้อมูลตาม
แบบสำรวจข้อมูลการดำเนินงานในพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานและทิศทาง
การพฒั นางานในอนาคตในพื้นท่ปี ฏิบตั กิ ารพฒั นาสงั คม (Social Lab)

สถานการณ์ในการ “การป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 ด้วยชุมชน” การช่วยเหลือ
การเยียวยา ผู้ประสบปัญหาทางสังคมจังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงภาคีเครือข่ายภายนอกกระทรวง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ดำเนนิ งาน
ช่วยเหลือผูป้ ระสบปัญหาทางสังคมจังหวดั แมฮ่ ่องสอน ทุกหน่วยงานร่วมกันขบั เคลอ่ื นภารกิจด้านสวัสดิการ
สงั คมและสังคมสงเคราะห์ ในด้านการสงเคราะห์และคมุ้ ครองสวัสดิภาพ การจดั บรกิ ารทางสงั คมท่ีเก่ียวกับ
การป้องกัน แก้ไขปัญหา การพัฒนา และการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิและความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน
ใหค้ วามชว่ ยเหลอื ผปู้ ระสบปัญหาทางสังคมในภาวะวิกฤติเร่งด่วนตามสถานการณ์ ใหก้ ารช่วยเหลือคุ้มครอง
สวัสดิภาพ และจัดบริการสวัสดิการสังคมสำหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น เด็ก เยาวชน สตรี
ผดู้ อ้ ยโอกาส รายไดน้ อ้ ย ไร้ท่ีพึ่ง เรร่ ่อน และกลุม่ เปา้ หมายอื่นๆ ท่ปี ระสบปญั หาทางสังคมในภาวะการแพร่
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 หรือ COVID-19 โดยทุกหน่วยงานจะได้รับงบประมาณสนบั สนุน
จากกรม กระทรวงต้นสังกัดและมีการดำเนินการภายใต้ระเบียบการดำเนินงานของแต่ละงาน เพื่อร่วมกัน
ดำเนนิ การในการป้องกนั และแก้ไขปัญหา COVID-19 อยา่ งเต็มที่

“การป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 ด้วยชุมชน” ปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินการ
คือ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและระบบภาคีเครือข่ายในการทำงานอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้ชุมชน
สามารถสร้างการรบั รู้ และสร้างความเขา้ ใจร่วมกนั และสามารถนำไปปฏิบตั ิตามไดอ้ ยา่ งถกู ต้อง ท้ังในระดบั บุคคล
ครอบครัว ชุมชน หนว่ ยงาน เนือ่ งจากภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19
เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก มีผู้คนติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ประชาชนส่วนใหญ่ต่างมีความหวาดกลัวการติดเชื้อ และพร้อมให้ความร่วมมือในการดำเนินการ
อย่างเข้มงวดตามมาตรการของภาครฐั ซึง่ การสอื่ สารทมี่ ปี ระสทิ ธภิ าพและระบบภาคีเครือข่ายในการทำงาน
อย่างมีส่วนร่วม เป็นแนวคิดสำหรับการพัฒนาการดำเนินการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อ
ไวรสั โคโรนา 2019 หรอื COVID-19 ได้อย่างยัง่ ยนื

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปัญหา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน ค

นอกจากนี้ การทำงานภายใต้มาตรการและนโยบายที่ชัดเจนจากภาครัฐ และการดำเนินการตาม
มาตรการของภาครัฐและจังหวัดอย่างเคร่งครัด โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
แม่ฮ่องสอน มีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ศูนย์ข่าวโควิด 19 แม่ฮ่องสอน ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานจากทุกภาคส่วน
ท่เี ก่ยี วขอ้ ง เพอ่ื สรา้ งความเปน็ เอกภาพที่ชดั เจน ในการทำงาน การสือ่ สาร ประชาสัมพันธ์ และการประสาน
ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19
อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง มีการรายงานสถิติ ประกาศ ข่าวสาร สรุปมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวดเรว็
ทันต่อสถานการณ์ การรับเรื่องร้องเรียน แจ้งเหตุ โดยการบูรณาการการทำงานจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครฐั
ภาคเอกชนและภาคประชาชน ทัง้ ในระยะทมี่ ีการแพร่ระบาดของโรค ระยะของการบังคับใช้มาตรการต่างๆ
อย่างเขม้ งวดในช่วงลอ๊ คดาวน์ จนกระท่ังเข้าสู่การผอ่ นคลายมาตรการต่างๆ เพื่อการสื่อสาร การสร้างความเข้าใจ
อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การรับรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และต่อเน่ืองโดยเริ่มจาก
มาตรการทช่ี ดั เจนของรฐั บาลในระดบั ประเทศ ระดบั จงั หวัด ระดับอำเภอ นำไปสรู่ ะดับชุมชน เป็นการสร้าง
การรับรู้ สร้างความเข้าใจ แนวทางในการปฏิบัติตนและดำเนินการร่วมกัน ส่งผลให้การป้องกันและแก้ไขปัญหา
COVID-19 ด้วยชุมชน เป็นไปอย่างดีเยี่ยมและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งมีการประสานความร่วมมือและ
การให้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างเตม็ ท่ี

การปอ้ งกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน ง

สำรบญั

เรื่อง หน้า

คำนำ ก
บทสรปุ ผู้บรหิ าร ข
สารบญั ง
บทท่ี 1 สถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคติดเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
1
- สถานการณ์ทว่ั โลก 2
- สถานการณใ์ นประเทศไทย 5
- สถานการณใ์ นระดบั จงั หวดั 7
- สถานการณใ์ นระดับชมุ ชนและข้อมูลชุมชน
บทท่ี 2 ผลกระทบท่ีเกดิ จากสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของ COVID-19 15
- ผลกระทบด้านเศรษฐกจิ 16
- ผลกระทบดา้ นสงั คม การศึกษา สาธารณสุข และวัฒนธรรม
บทท่ี 3 การบรหิ ารจัดการสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของ COVID-19 21
- การบรหิ ารจดั การและมาตรการการดำเนนิ การในระดบั จังหวัด 23
- การบรหิ ารจัดการและมาตรการการดำเนนิ การในระดบั ชุมชน
บทท่ี 4 ผลสำเรจ็ ของการดำเนนิ งานในระดับพ้ืนที่ 29
- ผลสำเร็จของการดำเนนิ งานในระดับพื้นที่ 30
- ทิศทางการพัฒนาในอนาคต
บทที่ 5 สรปุ ผลการศึกษาและขอ้ เสนอแนะ 33
- สรปุ ผลการศกึ ษา 34
- ข้อเสนอแนะ 35
เอกสารอา้ งอิง

การป้องกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 1

บทที่ 1

สถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคติดเชือ้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)

สถานการณ์ท่ัวโลก

ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรก
ในปี 1960 แต่ยังไมท่ ราบแหล่งที่มาอยา่ งชดั เจนว่ามาจากทีใ่ ด แต่เป็นไวรัส
ทสี่ ามารถติดเชือ้ ได้ทัง้ ในมนุษยแ์ ละสตั ว์ ปจั จุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์
นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลก
ตอนน้เี ป็นสายพันธ์ุทยี่ ังไม่เคยพบมาก่อน คอื สายพนั ธทุ์ ่ี 7 จึง ถูกเรียกว่าเป็น
“ไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใุ หม่” และในภายหลงั ถกู ตง้ั ชอ่ื อย่างเป็นทางการว่า
“โควดิ -19” (COVID-19) นั่นเอง

แม้ว่าอาการโดยทั่วไปจะดูเหมือนเปน็ เพียงไข้หวัดธรรมดา แต่ที่กลัวกันทั่วโลกเปน็ เพราะเชื้อไวรัส
นี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ ที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะตัวไหนที่สามารถรักษาให้หายได้โดยตรง การรักษาเป็นไปแบบ
ประคบั ประคองตามอาการเท่าน้ัน

นอกจากนี้ อนั ตรายทที่ ำให้เสีย่ งถงึ ชีวติ จะเกดิ ข้นึ เมื่อระบบภมู ติ ้านทานโรคของเราไม่แข็งแรง หรือ
เชอ้ื ไวรัสเขา้ ไปทำลายการทำงานของปอดได้ จนทำให้เชือ้ ไวรสั แพร่กระจายลุกลามมากขึน้ รวดเรว็ ขึน้

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่เป็น
"การระบาดใหญ่" หรือ pandemic หลังจากเชื้อลุกลามไปใน 118 ประเทศและดินแดนทั่วโลก และ
มีผู้ติดเชื้อกว่า 121,000 คน ทั้งได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 4,300 คน อีกทั้งยังประกาศให้การแพร่
ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น "ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ" เนื่องจาก
มีการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความกังวลว่าการระบาดของไวรัสชนิดนีจ้ ะแพร่ไปสู่
ประเทศทมี่ ีระบบสาธารณสขุ ออ่ นแอ

การป้องกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 2

สถานการณ์ในประเทศ

กระทรวงสาธารณสุขประกาศ "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019" หรือ "โรคโควิด-19" เป็นโรคติดต่อ
อันตรายตามพระราชบญั ญัติโรคตดิ ต่อ พ.ศ. 2558 โดยให้มผี ลบงั คับใช้ตั้งแตว่ ันที่ 1 มี.ค. 2563

ผู้ติดเชื้อรายใหมส่ ว่ นใหญ่พบในกรุงเทพฯ เป็นคนวัยหนุ่มสาวที่มีอาการเล็กนอ้ ย จึงออกไปใช้ชีวติ
ตามปกติ มีการขอความร่วมมือประชาชนทุกคนว่าอย่าเดินทางกลับภูมิลำเนา แม้ว่าจะมีการหยุดงาน
เนื่องจากอาจแพร่เชื้อสู่คนในต่างจังหวดั ได้ ขณะที่คนในต่างจังหวัดก็ไมค่ วรเดินทางข้ามจังหวดั เพราะอาจ
เสยี่ งตอ่ การติดเชอื้ ได้ หนา้ กากป้องกนั เจลทำความสะอาด และเครอื่ งฟอกอากาศหลากชนิด กลายเป็นของ
หายาก ขาดแคลน หรือราคาพุ่งสูงขึ้นหลายเท่า โรงพยาบาลหลายแห่งเรียกร้ องรัฐบาลให้ช่วยจัดหา
หน้ากากอนามัยในเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ส่วนหน่วยงานรัฐหลายแห่งออกมาสอนให้คนทั่วไป
เยบ็ หนา้ กากผา้ ไว้ใชเ้ อง

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง "ชื่อและอาการสำคัญ
ของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563" โดยประกาศให้ "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019" หรือ
"โรคโควดิ -19" เป็นโรคติดต่ออนั ตรายตามพระราชบัญญัติโรคตดิ ตอ่ พ.ศ. 2558

การป้องกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 3

โดยมีใจความสำคญั ดังนี้

โดยที่เป็นการสมควรให้มีการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19
(Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ
พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชนใ์ นการเฝ้าระวงั ป้องกนั และควบคุมโรคตดิ ต่ออนั ตราย

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ
พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ
จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญ ของโรคติดต่อ
อันตราย (ฉบบั ที่ 3) พ.ศ. 2563"

ข้อ 2 ประกาศน้ีให้ใชบ้ ังคบั ต้งั แตว่ นั ถดั จากวนั ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเปน็ ตน้ ไป

ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (14) ของข้อ 1 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและ
อาการสำคญั ของโรคตดิ ตอ่ อนั ตราย พ.ศ. 2559

" (14) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19))
มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรง
จะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถงึ ขน้ั เสยี ชวี ิต "

ประกาศ ณ วนั ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ประกาศดังกล่าวนี้ เป็นผลมาจากการประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ
ส่งผลให้กระทรวงสาธารณสขุ ของไทยยกระดบั มาตรการปอ้ งกันการระบาดของไวรสั ชนดิ นี้

หลังจากประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ทั้งประชาชน ผู้ประกอบการ เช่น โรงแรม มีหน้าที่ตาม
กฎหมายที่ต้องรายงานและแจ้ง เมื่อสงสัยหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่ออันตราย ในกรณี
เดินทางกลับมาจากพื้นที่ ที่มีการระบาด หรือมีโอกาสใกล้ชิดกับผูป้ ่วย เมื่อมีอาการไข้ หรืออาการเกี่ยวกบั
ระบบทางเดินหายใจ ต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ตั้งแต่ขั้นตอนของการซักประวัติ
เพ่ือชว่ ยในการรกั ษาและปอ้ งกนั ตนเองดว้ ย

สถานการณ์ไวรสั โควิด-19 เป็นวิกฤตท่ีกระทบรุนแรงกวา่ ที่เคยเกิดขึ้นกอ่ นหน้าน้ี เพราะเป็นวกิ ฤต
ทีแ่ พร่กระจายสง่ ผลกระทบไปทัว่ โลก ต่างจาก Hamburger Crisis ในปี 2008 ที่มผี ลเฉพาะสหรัฐและยุโรป
แต่ด้านเอเชียยังดีอยู่ และวิกฤตต้มยำกุ้ง ในปี 1997 ที่กระทบแค่กับไทยและประเทศเอเชีย ไม่ไปถึงยุโรป
และสหรัฐ แตว่ ิกฤตโควดิ -19 กระจายรุนแรงไปทวั่ โลกกว่า 208 ประเทศที่มีผตู้ ิดเชื้อ และมากกว่า 144 ประเทศ
ท่ีมีผตู้ ดิ เช้อื มากกวา่ ร้อยรายขึ้นไป

ในส่วนประเทศไทย แม้เราจะสามารถจัดการกับสถานการณ์ได้ดี โดยตัวเลขผู้ติดเชื้อลดน้อยลง
ในลักษณะ Flatten the Curve แต่ก็ต้องจับตาดูช่วงหลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งเป็นสิ่งท่ี
ทุกประเทศทั่วโลกก็จับตามองในประเทศตัวเองเช่นกัน โดยเฉพาะการทดสอบตรวจหาผู้ติดเชื้อ (Testing)
ในส่วนประเทศไทย จำนวน Testing ไป 227,00 ราย คิดเป็นจำนวน 3,300 คนต่อจำนวนประชากร
1 ล้านคน ซึ่งนับว่าค่อนข้างน้อยอยู่ จึงต้องติดตามสถานการณ์และมาตรการ Testing ในช่วงหลังจาก
ผ่อนคลายลอ็ กดาวน์

การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 4

ทั้งนี้ เมื่อดูจากดัชนีล็อกดาวน์ของประเทศที่มีการปิดเมือง มาพล็อตกับดัชนีภาคอุตสาหกรรม
จะออกมาเป็นกราฟ Downward Sloping หมายความว่ายิ่งล็อกดาวน์มาก เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม
ลดลงมาก ชี้ให้เห็นว่า การล็อกดาวน์มีนยั ยะสำคัญต่อผลผลิตเศรษฐกิจอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจ
จะกลบั มาฟื้นตัวเรว็ หรือชา้ ไม่ได้ข้นึ อยกู่ ับการผ่อนคลายลอ็ กดาวน์อย่างเดียว แต่ข้ึนอยกู่ บั ความเช่ือมน่ั และ
พฤติกรรมผู้บริโภคที่จะกลับมาใช้จ่าย ออกไปที่ชุมชนเหมือนก่อนเกิดเกิดวิกฤติโควิด ซึ่งตรงนี้ มาตรการ
Testing ติดตามผปู้ ่วยที่มปี ระสิทธภิ าพมีส่วนสำคญั ในการสรา้ งความเช่ือม่นั ใหผ้ ู้บริโภค

การระบาดของทั่วโลก ยังมีอัตราในการเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด เมื่อเดือนเมษายนถึงต้นพฤษภาคม
อัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้น 1 ล้านคนจะใช้เวลา 12 วัน ต่อมาเมื่อถึงกลางเดือนพฤษภาคม ถึงต้นมิถุนายน
เป็นตน้ มา อตั ราการเพมิ่ ข้นึ ในอตั รา 1 ลา้ นคนทุก 10 วนั มาในเดือนมิถุนายน 2563 มีแนวโน้มท่จี ะเพ่ิมข้ึน
อาทิตย์ละ 1 ล้านคน ที่สำคัญ โรคระบาดเข้าสู่ประเทศ ลาตินอเมริกา และมีอัตราการเพิ่มตัวสูงมาก
โดยเฉพาะในบราซิล นอกจากนี้การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วยังเพิ่มขึ้นในอินเดีย บังคลาเทศ และประเทศ
ในตะวันออกกลางสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการระบาด จะเข้าสู่ทวีปแอฟริกาในที่สุด ตัวเลขที่ไม่ได้วินิจฉัยจะมี
จำนวนมากในประเทศเพื่อนบ้านเรา ที่มีการระบาดมากและรวดเร็ว ก็คงจะเป็นอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
การระบาดทั่วโลกยังสูงอยู่ รวมทั้งประเทศที่ไม่อยู่ไกลจากบ้านเรานักเรายังคงต้องระมัดระวังอย่างมาก
ไม่ให้มีการระบาดภายในประเทศเกิดขึ้นเราคงจะต้องต่อสู้ไปอีกยาวนานทุกคนจะต้องช่วยกัน ที่จะไม่ลืม
กำหนดระยะหา่ งสำหรบั บคุ คล สงั คม ล้างมอื ใส่หน้ากากอนามยั

การป้องกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 5

สถานการณใ์ นระดับจังหวดั
ด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease
2019 (COVID-19)) อันเป็นโรคตดิ ตอ่ อันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรือ่ ง ช่ือและอาการสำคัญ
ของโรคติดต่ออนั ตราย (ฉบบั ที่ 3) พ.ศ.2563 มีแนวโนม้ การแพร่กระจายและพบการเพ่ิมขึน้ ของผู้ป่วยอย่าง
รวดเร็ว จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาด
ของโรค เริม่ จากมกี ารแต่งตัง้ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวดั แม่ฮ่องสอน จัดตัง้ ศนู ย์บริหารสถานการณ์การ
แพรร่ ะบาดโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ข่าวโควิด 19 แม่ฮอ่ งสอน ศูนยข์ อ้ มลู COVID-19
ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานความร่วมมือ ในการป้องกันและแก้ไข
ปญั หาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรอื โควิด 19 อยา่ งเขม้ แข็งและตอ่ เนอ่ื ง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผู้ติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 จำนวน 5 ราย และมีการรักษา
หายทั้งหมด 5 ราย ไม่มีรายงานผู้ป่วย COVID-19 รายใหม่ ตั่งแต่ วันที่ 30 มีนาคม 2563 จนถึงวันท่ี
31 กรกฎาคม 2563 ไมพ่ บผตู้ ิดเชือ้ มาแล้ว 124 วนั นับวา่ ประสบความสำเรจ็ ในการดำเนินการป้องกันและ
ควบคุมโรคได้ดีย่ิง ด้วยความร่วมมอื จากทกุ ภาคสว่ นในจงั หวัดแมฮ่ อ่ งสอน

ขอ้ มลู ณ 31 กรกฎาคม 2563

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 6

การป้องกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 7

สถานการณใ์ นระดบั ชุมชน และข้อมลู ชุมชน
องคก์ ารบรหิ ารส่วนตำบลผาบอ่ ง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

1. สภาพทวั่ ไปและข้อมลู พ้ืนฐาน
1.1 สภาพท่ัวไป
ตำบลผาบ่อง เปน็ ตำบลในเขตการปกครองของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ซงึ่ ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน

ไดแ้ ก่ หมู่ท่ี 1 บ้านผาบ่อง ,หมทู่ ่ี 2 บ้านปา่ ปุ๊ , หมทู่ ี่ 3 บ้านหว้ ยเดือ่ ,หมู่ท่ี 4 บ้านแม่สะกึด ,หมู่ท่ี 5 บา้ นทา่ โป่งแดง
, หมูท่ ่ี 6 บ้านห้วยโป่งกาน , หมู่ที่ 7 บา้ นห้วยแก้ว , หมูท่ ่ี 8 บา้ นขุนห้วยเด่ือ , หม่ทู ่ี 9 บา้ นห้วยน้ำส่อม , หมู่ที่ 10
บา้ นหวั น้ำแมส่ ะกึด , หมู่ที่ 11 บา้ นม่อนตะแลง , หมทู่ ่ี 12 บา้ นผาบ่องเหนือ

1.2 อาณาเขต
ทิศเหนือ ติด ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แมฮ่ อ่ งสอน
ทศิ ใต้ ติด ต.ห้วยโปง่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
ทศิ ตะวนั ออก ติด ต.หว้ ยปลู ิง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
ทศิ ตะวนั ตก ตดิ สาธารณรฐั สังคมนิยมแห่งสหภาพพมา่

1.3 เน้อื ท่ี เน้อื ท่ีทั้งหมดประมาณ 408 ตารางกิโลเมตร หรอื ประมาณ 160,625 ไร่
1.4 ภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีพื้นที่ราบอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำ และที่ราบหุบเขา
มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผา่ น เช่น แมน่ ้ำปาย และแม่นำ้ สะมาด

ทีม่ า : รปู ภาพ https://www.tlcthai.com/travel/47176/highlander-village.html/008-8

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 8

1.5 หมู่บ้าน ประชากรและครัวเรือน แบ่งออกเป็น 12 หมู่บ้าน 4,720 ครัวเรือน ประชากรทั้งส้ิน
10,586 คน แบง่ ออกเป็น เพศชาย 5,383 คน และเพศหญิง 5,203 คน โดยมรี ายละเอียดดังนี้

หมู่ท่ี หมูบ่ า้ น ชาย (คน) จำนวนประชากร รวม (คน) จำนวนครัวเรือน
0 หญงิ (คน) 0 (หลัง)
0 ผาบ่อง 708 0
1 ผาบ่อง 519 713 1,421 1
2 ปา่ ปุ๊ 505 1,024 565
3 หว้ ยเดือ่ 1,184 1,140 2,324 441
4 แมส่ ะกึด 314 330 644 884
5 ท่าโป่งแดง 483 500 983 310
6 ห้วยโป่งกาน 352 337 689 535
7 ห้วยแก้ว 284 270 554 259
8 หว้ ยเสือเฒ่า 551 498 1,049 202
9 น้ำส่อม 298 242 540 359
10 หวั น้ำแมส่ ะกดึ 337 324 661 154
11 มอ่ นตะแลง 173 161 334 452
12 ผาบอ่ งเหนือ 180 183 363 324
5,383 5,203 10,586 234
รวมท้ังตำบล 4,720

ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2562

2. สภาพทางเศรษฐกจิ

2.1 อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว
กระเทียม พืช ผักผลไม้ เปน็ ตน้ อาชพี รองลงมา คือดา้ นปศสุ ตั ว์ แต่จะเปน็ การเลยี้ งเพื่อไวใ้ ช้เป็นแรงงาน และ
บริโภคภายในครัวเรอื นเท่านั้น โดยสัตว์ที่นิยมเลยี้ ง ไดแ้ ก่ โค กระบือ ไก่ สุกร และปลา เป็นต้น

2.2 หน่วยงานธรุ กิจในเขตองค์การบริหารสว่ นตำบล
- ธนาคาร 0 แห่ง
- โรงแรม 1 แหง่
- เกสซเฮ้าส์ 5 แห่ง
- ปัม๊ น้ำมัน และก๊าซ 7 แหง่
- โรงงานอตุ สาหกรรม 1 แห่ง
- โรงสี 4 แห่ง

การปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 9

3. สภาพสงั คม

3.1 สถานศกึ ษา 11 แห่ง
- โรงเรยี นประถมศึกษา 1 แห่ง
- โรงเรียนมัธยม 0 แห่ง
- โรงเรยี นอาชวี ะศึกษา 0 แห่ง
- โรงเรยี น/สถาบันชน้ั สูง 8 แห่ง
- ทอี่ ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน

3.2 สถาบนั และองคก์ รทางศาสนา 7 แหง่
- วดั /สำนักสงฆ์ 0 แหง่
- มสั ยดิ 7 แหง่
- ศาลเจ้า 6 แหง่
- โบสถ์ 1 แหง่
1 แห่ง
3.3 สาธารณสขุ 0 แหง่
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 0 แหง่
- สถานอี นามยั ประจำตำบล/หมบู่ ้าน รอ้ ยละ 100
- สถานพยาบาลเอกชน
- รา้ นขายยาแผนปจั จุบนั
- อตั ราการมีและใช้สว้ มราดน้ำ

3.4 ความปลอดภัยในชวี ติ และทรพั ย์สิน 1 แหง่
- สถานตี ำรวจชุมชน 0 แห่ง
- สถานีดบั เพลงิ

4. การบริการพ้นื ฐาน

4.1 การคมนาคม
การคมนาคมติดต่อมีทางหลวงแผ่นดิน 1 เส้นทาง คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108

เป็นถนนลาดยางตลอดเส้นทางถนนมีลักษณะ คดเคี้ยวชันลงไปตามเขาสำหรับเส้นทาง เชื่อมต่อระหว่าง
หมบู่ า้ นเปน็ สภาพถนนลกู รงั การคมนาคมไม่สะดวก

4.2 การโทรคมนาคม
- ทล่ี ำการไปรษณโี ทรเลข 0 แหง่
- สถานีโทรคมนาคม 0 แหง่

4.3 การไฟฟา้
จำนวนไฟฟา้ เขา้ ถึง 10 หมู่บ้าน และจำนวนประชากรที่ใช้ไฟมีประมาณ 6,500 คน

4.4 แหล่งนำ้ ธรรมชาติ / แหล่งนำ้ ต้ืนท่สี รา้ งขน้ึ

- ลำนำ้ , ลำหว้ ย 10 สาย
- ฝาย 13 แห่ง
- บอ่ น้ำตน้ื 43 แห่ง
- บอ่ โยก 13 แห่ง

การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 10

5. สถานที่ทอ่ งเท่ยี ว

หมทู่ ่ี 1 บ้านผาบอ่ ง สถานท่ีท่องเท่ียว นำ้ พรุ ้อน

หมู่ท่ี 2 บา้ นป่าปุ๊ สถานที่ทอ่ งเทย่ี ว หมบู่ ้านวฒั นธรรมไทยใหญ่

หมทู่ ี่ 3 บา้ นห้วยเดื่อ สถานที่ทอ่ งเท่ยี ว ท่าเรือ , กระเหรี่ยงคอยาว (ห้วยปูแ่ กง) , น้ำเพยี งดนิ

หม่ทู ่ี 4 บ้านโป่งแดง สถานทท่ี ่องเท่ียว เรือนประทบั แรม / โครงการพระราชดำริ , ท่าเรือประวตั ิศาสตร์ ,
สะพานแมน่ ้ำปาย

หมู่ที่ 6 บา้ นห้วยโปง่ กาน สถานท่ีท่องเทีย่ ว นำ้ ตกหว้ ยโป่งกาน , หมู่บ้านกระเหร่ยี งขาว

หมู่ที่ 8 บา้ นเสือเฒา่ สถานทท่ี อ่ งเทยี่ ว หมบู่ า้ นกระเหร่ียงแดง , หม่บู า้ นกระเหร่ียงคอยาว , ทวั ร์นัง่ ช้าง

หม่ทู ่ี 10 บา้ นหวั นำ้ แม่สะกดึ สถานท่ีท่องเทย่ี ว อ่างเก็บน้ำนากระจง

หมู่ท่ี 11 บ้านม่อนตะแลง สถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว อา่ งเกบ็ นำ้ ม่อนตะแลง

หมู่ท่ี 11 บา้ นผาบอ่ งเหนือ สถานที่ทอ่ งเท่ยี ว น้ำตกห้วยตำขอ่ น , เข่อื นพลังน้ำผาบ่อง

6. ขอ้ มูล อืน่ ๆ

ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขาสูง จึงมีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปาย ที่เป็น
แหลง่ ทอ่ งเที่ยว และมแี มน่ ้ำแมส่ ะมาดในการนำไปสร้างเขอ่ื นไฟฟ้าพลังนำ้ เพ่ือใชใ้ นการเกษตร

7. จุดเดน่ ของพน้ื ท่ี (เอือ้ ต่อการพฒั นาตำบล)

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ ของ
องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง เป็นภูเขาสลับกับพื้นที่
ราบ ยังมีความเป็นธรรมชาติที่สวยงาม ประกอบกับมี
แหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม เช่น น้ำพุ , หมู่บ้านวัฒนธรรม
ไทยใหญ่ , ท่าเรอื , ลอ่ งแพ , กระเหรี่ยงคอยาว , หม่บู ้าน
กระเหรี่ยงขาว , หมู่บ้านกระเหรี่ยงแดง ที่เอื้ออำนวยต่อ
การพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ตลอดจนพื้นที่ติดกับ
ชายแดน เอื้อต่อการค้าชายแดน รวมทั้งมีประเพณี
วัฒนธรรมและภูมิปัญญาชาวบ้านที่แตกต่างกัน เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายชนเผ่า เช่น
ไทยใหญ่ , กระเหรี่ยงขาว , กระเหรี่ยงแดง , กระเหรี่ยงคอยาว ซึ่งแต่ละชนเผ่าต่างก็มีวิถีชีวิต ประเพณี
ดงั่ เดมิ ของตนเองทแ่ี ตกตา่ งกันไป

ทม่ี า : รปู ภาพ https://www.m-culture.go.th/th/article_view.php?nid=29871

การปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 11

8. ยทุ ธศาสตร์และแนวทางการพฒั นา

การป้องกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 12

การป้องกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 13

การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 14

ท่มี า : รปู ภาพ , รายงานผลการดำเนินงาน ปี 2562 อบต.ผ่าบอ่ ง

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 15

บทท่ี 2

ผลกระทบทเี่ กิดจากสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของ COVID-19

ผลกระทบดา้ นเศรษฐกิจ

อาการป่วยจาก COVID-19 อาจจะไม่รุนแรงสำหรับคนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81) แต่กลับเป็นโรค
ที่น่ากลัวสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคหอบ ฯลฯ และสิ่งที่จะช่วยลด
หรือ ป้องกันการระบาดของไวรัสเพื่อมิให้ระบาดไปถึงกลุ่ม เสี่ยง คือ การหลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ด้วยความสามารถในการปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อน
ของมนุษย์ ทำให้สังคมมนุษย์มีการพฒั นาก้าวหนา้ อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการพบปะหารือเพื่อแลกเปลี่ยน
ความคิดและเจรจาตอ่ รอง การรวมตัวเพื่อถ่ายทอดความรู้เช่นในห้องเรียน และการเดินทางข้ามรฐั ข้ามแดน
ด้วยเทคโนโลยคี มนาคมตา่ งๆ โดยเฉพาะในยุค Globalization ทมี่ นษุ ย์ทั่วโลกเชอื่ มตอ่ กนั ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
แต่ตอนนี้กิจกรรมทางสังคม เหล่านี้ ได้กลายเป็นการสนับสนุน การระบาด รัฐบาล และ ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก
ขอความรว่ มมือจากประชาชน ใหง้ ดการเดนิ ทางทั้งในและต่างประเทศ งดการออกจากบ้าน งดการ รวมกลุ่ม
ข้อปฏิบัติต่างๆ เหล่าน้ี ส่งผลกระทบทำให้การดำเนินชีวิตและการเข้าสังคมของมนุษย์เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
เกดิ ผลกระทบหลากดา้ น หลายปจั จยั

อาชีพทจ่ี ำเป็นในชว่ งวิกฤต

เมอ่ื พูดถงึ อาชพี ท่ีมีความสำคัญอย่างมากในช่วงวกิ ฤตการระบาดของ Coronavirus แพทย์ พยาบาล
และผู้ให้บริการทางการแพทย์ในส่วนต่างๆ คงเป็นคนกลุ่มแรกที่ทุกคนนึกถึง เพราะเป็นสายอาชีพที่เป็น
ด่านหน้าในการรับมือกับไวรัสและผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ในขณะที่คนส่วนใหญ่ สามารถเก็บตัวในบ้านหรือ
ทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) เพื่อป้องกันตัวเองจากการระบาด ยังมีคนในอีกหลายสายอาชีพ
ท่ียงั ตอ้ งออกทำงานและเผชิญกับความเสี่ยง เชน่ พนักงานในห้างสรรพสินค้าแผนกอาหาร และซุปเปอร์มาร์เก็ต
ยังคงต้องทำงานหนักในการจัดเตรียมสินค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถซื้อหาสินค้าที่ต้องการได้ พนักงานทำความ
สะอาด และเก็บขยะที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง เพื่อรักษาความสะอาดของบ้านเมือง คนขับ
รถแทก็ ซ่ี และบรษิ ทั ขนสง่ ต่างๆ ท่ียังชว่ ยให้บรกิ ารคนในพน้ื ทตี่ ่างๆ ยงั สามารถเดินทางหรือส่งของหรือสินค้า
ให้กันได้ รวมถึง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต่างๆ ที่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อมั่นใจว่า ประชาชนอยู่
ในกฎระเบียบ และเจ้าหน้าท่ีภาครัฐบางภาคส่วน เชน่ สถานเอกอคั รราชทูตในต่างประเทศที่มหี นา้ ท่ีให้ข้อมูล
ใหค้ วามชว่ ยเหลือกับประชาชน

ในขณะเดียวกัน มีหลายอาชพี ทีเ่ ป็นที่ยอมรบั กันวา่ สามารถทำเงินได้มากกว่าอาชพี อื่นๆ หรอื มีความ
มั่นคง เปน็ ทใ่ี ฝฝ่ ันของหลายคน แต่กลับเปน็ สายอาชีพแรกๆ ทีถ่ ูกกระทบโดยวกิ ฤต COVID-19 ก่อนใคร เชน่
นักบินสายการบินพาณิชย์ ซึ่งจะมีนักบินจำนวนมากต้องตกงาน เนื่องจากสายการบินต่างๆ กำลังประสบปัญหา
ไมส่ ามารถให้บรกิ ารได้ตามปกติ นักร้อง นกั แสดง เน่ืองจากงานแสดงงานโชว์ตา่ งๆ ตอ้ งถูกยกเลกิ วกิ ฤตคร้ังนี้
ทำให้เห็นวา่ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่และความอยูร่ อดของมนุษย์เป็นอาชีพที่จะยังอยู่ต่อไปได้ โดยเฉพาะ
ในสถานการณ์ไม่ปกติ

เมอ่ื ความตระหนักกลายเป็นความตระหนัก

จริงอยู่ที่ประชาชนจะต้องปรับตัว และเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่าง เพื่อป้องกันตัวเองและช่วยลด
การระบาด แต่การตระหนักบางครั้งก็มีมากเกินไปจนกลายเป็นความตระหนกและก่อให้เกิดความวุ่นวายขนึ้

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 16

ในสังคม ปรากฏการแรก ท่ีเราได้เห็นกัน คือ การเหยียดเชื้อชาติในสถานการณ์ COVID-19 การเกลียดกลัว
ชาวต่างชาติหรือ คนจีน (Xenophobia) เกิดจากความไม่รู้ ความกลัว และการตัดสินคนที่ Stereotype
ซึ่งชาวตะวันตกมองว่า COVID-19 เป็นโรคที่เกิดจากคนจีน จึงเกิดความกลัวและความเกลียดชังคนเอเชีย
จงึ เกดิ เหตุการณ์ทำร้ายชาวเอเชียขน้ึ ตามทเี่ หน็ ในข่าว แต่ในปจั จุบัน เหตกุ ารณ์กเ็ ริม่ กลับตาลปัตร กลายเป็น
คนเอเชียก็เร่มิ กลัวฝร่งั บา้ ง เพราะการแพรร่ ะบาดในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ดูจะรุนแรงข้นึ เรื่อยๆ

การกักตุนสินค้า เป็นที่เข้าใจได้ว่า ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ มนุษย์เรา ต้องการเตรียมความพร้อม
เพื่อความอยู่รอด อย่างไรก็ตามโดยหลักการแล้ว การกักตุนสินค้าจำนวนมากๆ ไม่มีความจำเป็นใน
สถานการณ์นี้ ถึงแม้ว่าหลายคนจะมองว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคลในการกักตุนสินค้า แต่การทำเช่นนี้ก่อให้เกิด
ปัญหาที่ตามมา เช่น คนที่มีรายได้น้อยหรือผู้สูงอายุ ไม่สามารถเข้าถึงสินค้าที่จำเป็นได้ ความวุ่นวาย
การแกง่ แย่งสินค้า ปัญหาการโก่งราคาและผู้คา้ ที่ฉวยโอกาส ไปจนถึงปญั หาหน้ากากขาดแคลน ซ่ึงกระทบไป
ถงึ แพทย์ และผู้ใหบ้ ริการทางการแพทย์ซ่ึงมีความจำเปน็ ซึง่ หากประชาชนมีความเข้าใจและปฏิบัตติ นในแบบ
ทเี่ หมาะสมจะทำให้เราสามารถหลกี เลยี่ งปญั หาเหล่านไ้ี ด้

ผลกระทบต่อเศรษฐกจิ โลกและความเหล่อื มลำ้ ทางสังคม

การเจบ็ ปว่ ย เสยี ชวี ิต การหยุดงาน หรือตกงาน ส่งผลไปสูก่ ารสูญเสียรายได้ ซ่ึงจะส่งผลกระทบไปสู่
ค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน โดยการสูญเสียงานหรือเสียรายได้น้ี จะมีโอกาสเกิดขึ้นกับคนที่มีฐานะยากจน
ท่ีเปน็ แรงงานนอกระบบ (Informal Worker) มากกวา่ คนท่มี ีรายได้แนน่ อนจากงานประจำ และมีโอกาสที่จะ
เกิดข้นึ ในประเทศด้อยพฒั นา/กำลงั พัฒนามากกวา่ ประเทศท่ีพัฒนาแล้ว ดงั นัน้ ผลกระทบจากการแพร่ระบาด
ของเชือ้ ไวรัสโควดิ -19 นี้ จะสง่ ผลตอ่ เนอื่ งไปสู่ระดบั ความยากจนและความเหลื่อมล้ำท่จี ะเพิ่มสงู ขึ้นได้

ผลกระทบในระยะสั้นเหล่านี้ อาจส่งผลไปสู่ผลกระทบระยะยาวได้ เช่น การที่ประเทศจะสูญเสีย
ขีดความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว (Long-Term Economic
Growth) เน่อื งจากจะต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการป้องกนั และรักษาเชื้อไวรสั โควิด-19 น้ีจนขาดแคลน
ทรัพยากรในการลงทุนในโครงสรา้ งพืน้ ฐานท่ีจำเปน็ นอกจากน้ียงั เกดิ การสูญเสยี ทางด้านทุนมนุษย์ (Human
Capital) ของประเทศ ที่จะต้องเจ็บไข้ได้ป่วยเรื้อรัง (เช่นโรคที่เกี่ยวข้องกับปอด) หรือการที่เด็ก นักเรียน
นักศึกษาจะต้องหยุดเรียน โดยเฉพาะในประเทศที่มีฐานะยากจน ที่ระบบการพัฒนาทุนมนุษย์อย่าง ระบบ
สาธารณสขุ และระบบการศึกษายงั ไม่ครอบคลมุ ทั่วถึงนัก

ผลกระทบดา้ นสังคม การศกึ ษา สาธารณสขุ และวัฒนธรรม

ในประวัติศาสตร์ มนุษย์เราได้ผ่านวิกฤตโรคระบาดมาแล้วหลายครั้ง แต่คงไม่มีครั้งไหน
ที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ สังคม และโลก ได้ครอบคลุมมติ ิได้กว้างขวางไดเ้ ทา่ กับ COVID-19 เพราะไวรัสตัวน้ี
ไม่เพียงแต่ส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยสูญเสียในระดับบุคคลแล้ว การระบาดของ coronavirus ยังส่งผล
กระทบไปทว่ั ทุกมิติ และเกือบทกุ ประเทศ เนอ่ื งจากนบั แต่เราได้เข้าสู่ ยคุ โลกาภวิ ัตน์ แม้เสน้ เขตแดนรัฐยังจะ
แบง่ โลกออกเป็นประเทศ ตามทีแ่ สดงในแผนที่ แต่การตดิ ต่อค้าขาย การไปมาหาสู่ รวมท้ัง การสอ่ื สารบนโลก
ออนไลน์ ทำให้ผู้คนบนโลก ถูกผูกไว้อย่างใกล้ชิด และผลกระทบของการสัมผัสทางตรง ที่มาจากการสัมผัส
และติดเชื้อ และผลกระทบทางใจ ที่มาจากการสื่อสารในโลกออนไลน์ ที่ทำให้การรับรู้ข่าวสาร การตั้งสติ
และการตื่นตระหนก เกิดเป็นกระแสไปทั่วโลก และมีพลวัตที่รวดเร็ว รวมทั้งยังไม่มีใครคาดเดาได้ว่า
วกิ ฤตการณ์คร้ังน้ีจะยุติและผ่านพ้นไปเมื่อใด

การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 17

“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ขององค์การสหประชาชาติจะได้รับผลกระทบจากการแพร่
ระบาดของไวรัสครั้งใหญ่แห่งศตวรรษเช่นกัน โดยกลุ่มคนที่เปราะบางและได้รับผลกระทบจากวิกฤตรอบนี้
หนักทส่ี ุดก็คอื ผูห้ ญงิ เด็ก ผู้สงู อายุ และแรงงานนอกระบบ

สำหรับด้านสิ่งแวดล้อมนั้น หากมองในระยะสั้น ทุกอย่างก็ดูเหมือนจะดีขึ้น มลพิษลดลงไปตาม
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่น้อยลง เพราะผู้คนต้องเก็บตัวอยู่กับบ้าน มีการเดินทางน้อยลง หลายอุตสาหกรรม
ต้องหยุดงานชั่วคราว เช่น การบิน โรงงานอุตสาหกรรม ทำให้มีการปล่อยคาร์บอนน้อยลง แต่ก็เชื่อว่าหาก
ขาดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างยั่งยืนแล้ว มลพิษต่างๆ ก็คงกลับมาเหมือนเดิมเมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมา
เดินหน้าตามปกติอกี ครัง้

โควิด-19 สง่ ผลอย่างไรต่อเปา้ หมายการพัฒนาอยา่ งยง่ั ยนื

วกิ ฤตโรคระบาดคร้ังนี้ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการพฒั นาท่ยี งั่ ยนื
- เป้าหมายท่ี 1 การสูญเสยี รายไดจ้ ะทำใหก้ ลุ่มคนท่ีมคี วามเปราะบางในสังคมและหลายบา้ นมรี ายได้

ต่ำกว่าเสน้ ความยากจน
- เปา้ หมายที่ 2 เกดิ ปญั หาในการผลติ และการกระจายอาหาร
- เปา้ หมายท่ี 3 ผลกระทบรา้ ยแรงตอ่ สขุ ภาพ
- เป้าหมายท่ี 4 หลายโรงเรยี นถูกปดิ การเรยี นทางไกลอาจทำให้การเรียนมีประสทิ ธภิ าพน้อยลงและ

นกั เรยี นบางคนไม่สามารถเขา้ ถงึ การเรียนออนไลน์ได้
- เป้าหมายที่ 5 ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของผู้หญิงจะตกอยูใ่ นความเส่ียง ความรุนแรงของผู้หญงิ

เพิม่ ระดบั ขึ้น และส่วนใหญ่ของคนทำงานสาธารณสุขและสงั คมเป็นผูห้ ญงิ จึงมีโอกาสได้รบั ความเสี่ยงมาก
- เป้าหมายที่ 6 การเข้าถึงน้ำสะอาดที่ไม่เพียงพอเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก

เพอ่ื ลา้ งมอื ซ่ึง เปน็ หนงึ่ ในมาตรการป้องกนั โควิด-19 ทสี่ ำคัญท่ีสดุ
- เป้าหมายที่ 7 การจัดหาพลังงานและกำลังคนขาดแคลน ทำให้การเข้าถึงไฟฟ้าชะงักลง

การตอบสนองของระบบดแู ลสุขภาพและสมรรถภาพต่ำลง
- เปา้ หมายท่ี 8 กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก ได้รบั รายได้น้อยลง เวลาทำงานลดลง บางอาชีพตกงาน
- เป้าหมายที่ 11 ประชากรที่อยู่อาศัยในสลัมต้องเผชิญความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่า

เพราะความหนาแน่นในพืน้ ที่และปัญหาเร่ืองสุขาภบิ าล
- เป้าหมายที่ 13 ความเขม้ แข็งกบั การต่อสู้กับการเปล่ียนแปลงสภาพภมู ิอากาศลดลง แตผ่ ลกระทบ

ตอ่ ส่งิ แวดล้อมกล็ ดลงจากการผลิตลดลง เน่อื งจากปริมาณการผลติ และการขนส่งลดลง
- เป้าหมายที่ 16 ความขัดแย้งทำให้มาตรการต่อสู้โควดิ -19 ไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนที่อาศัยอยู่

ในพื้นทีท่ ่ีมีความขัดแย้งมคี วามเสี่ยงมากทสี่ ดุ ทจ่ี ะเกิดความสญู เสยี จากโรค
- เป้าหมายที่ 17 ซ้ำเติมความเห็นด้านลบต่อโลกาภิวัตน์ แต่ก็เป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญ

ของความรว่ มมอื ระหว่างประเทศด้านสาธารณสุข
ทั้งนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเป้าหมายที่ 11 , เป้าหมายที่ 8 , เป้าหมายที่ 5 และเป้าหมายที่ 4

จะส่งผลกระทบอยา่ งมากกับเป้าหมายท่ี 10 ในการลดความเหลือ่ มลำ้

ท่ีมา https://thaipublica.org/2020/04/un-sdgs-effect-covid19/

การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 18

ในรายงานระบุผลกระทบจากเป้าหมายด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี การพัฒนาเมืองและชุมชน
ยั่งยืน (เปา้ หมายท่ี 11) การมีนำ้ สะอาดและสขุ อนามัยท่ดี ี (เป้าหมายท่ี6) เพราะการระบาดของโรค ส่งผลเสยี
รุนแรงต่อสุขภาพของคน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในสลัมจะต้องเสี่ยงติดเชื้อมากกว่า เพราะพื้นที่อาศัยแออัด
มีปัญหาด้านสุขอนามัย ไม่ต่างจากคนที่อยู่ในพื้นที่ขัดแย้งที่มีความเสี่ยงเสียชีวิตจากโรค เพราะความขัดแย้ง
ทำให้มาตรการรับมือโรคไม่มีประสิทธิภาพ ขณะที่คนจำนวนมากที่ไม่มีน้ำสะอาดใช้หรือมีไม่เพียงพอก็ได้รับ
ผลเสยี เช่นกนั เพราะน้ำสะอาดเปน็ หน่งึ ในมาตรการปอ้ งกันโควิด-19 ที่ดที ส่ี ุด

ขณะเดียวกัน ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้โอกาสในการบรรลุเป้าหมายด้านการเติบโตทาง
เศรษฐกิจ ได้แก่ การมีงานทำ (เป้าหมายที่ 8) การขจัดความยากจน (เป้าหมายที่ 1) และขจัดความหิวโหย
(เป้าหมายที่ 2) ความเท่าเทยี มทางเพศ (เป้าหมายที่ 5) ลดความไม่เท่าเทียมโดยรวม (เป้าหมายที่10) เพราะ
การป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส ประเทศต่างๆ ได้ตัดสินใจปิดเมือง ปิดประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทาง
เศรษฐกิจหยุดชะงัก คนมีรายได้น้อยลง เวลาทำงานน้อยลง และบางคนก็ตกงานทันทีโดยไม่ได้ตั้งตัว
โดยเฉพาะหากเกิดกับคนกลุ่มเปราะบางในสังคม ปัญหาก็จะยิ่งหนักหน่วงกว่าทั่วไป ทำให้หลายครอบครัวมี
รายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน และเมื่อพูดถึงงานพบว่า คนทำงานด้านสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์ส่วน
ใหญ่เป็นผู้หญิง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ COVID-19 มากกว่าคนอาชีพอื่น อีกทั้งการระบาดของโรคทำให้
หลายพ้ืนทเี่ กิดปญั หาด้านการผลิตและการกระจายอาหารอีกด้วย

นอกจากนี้ วิกฤตโควิด-19 ยังส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา (เป้าหมายที่ 4) เมื่อสถาบันการศึกษาปิด
การเรยี นการสอนทางไกลยังไม่มีประสิทธิภาพเทา่ ท่ีควร และเดก็ จำนวนมากก็ขาดอุปกรณจ์ ำเป็นสำหรับการ
เรยี นทางไกล ส่วนในแง่ของเป้าหมายพลังงานสะอาด (เป้าหมายท่ี 7) ในราคาสมเหตุสมผลก็ไดร้ ับผลกระทบ
เช่นกัน เนื่องจากการขาดแคลนบุคลากร และอุปทานทำให้เกิดปญั หาการเข้าถึงไฟฟ้า ซึ่งส่งผลต่อเน่ืองไปยัง
ระบบดูแลสุขภาพ

อย่างไรก็ตามในวิกฤตครั้งนี้ถือเป็นโอกาสดีที่ได้เห็นว่า ความร่วมมือระหว่างประเทศมีความจำเป็น
อย่างมากที่จะเดินหน้าไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ ดังจะเห็นได้จากความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน
สาธารณสขุ เพ่ือแกว้ ิกฤตใหญ่ของมวลมนษุ ยชาติ

เราจะกา้ วผา่ นวกิ ฤตให้สำเร็จอย่างย่ังยนื ไดอ้ ย่างไร

มาตรการระดับโลกรับมือวิกฤต

การล็อกดาวน์เพื่อสู้วิกฤต โควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจทั่วโลกทั้งในแง่ของอุปสงค์
และอุปทานที่ชะงัก รัฐบาลประเทศต่างๆ จึงต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่เพื่อพยุง เยียวยาผู้
ได้รับผลกระทบ และฟื้นความเชื่อมั่นให้คืนกลับมาในอนาคต นอกจากช่วยเหลือองค์กรธุรกิจทุกขนาด
ให้ยืนหยดั ในวงการไดต้ ่อไป เพอ่ื หลีกเลยี่ งการปลดพนักงาน ขณะเดยี วกันก็ต้องให้ความสำคัญและช่วยเหลือ
ซพั พลายเออร์และผูบ้ ริโภคไปพร้อมๆ กันดว้ ย

มาตรการการเงินการคลังที่ใช้จะต้องช่วยเหลือแรงงานทุกกลุ่ม รวมถึงลูกจ้างรายวัน และแรงงาน
นอกระบบ เพื่อช่วยให้คนเหล่านี้มีงานทำและมีรายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว มีการชดเชยค่าจ้างอย่าง
เหมาะสม

การปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 19

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องเน้นการกระจายทรัพยากรไปยังคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม
ที่เปราะบางที่สุด พร้อมยกระดับความพร้อมด้านการสาธารณสุขฉุกเฉิน การดูแลทางสังคม มีการลดหย่อนภาษี
ช่วยเหลอื ใหค้ นเข้าถงึ สินเช่อื ดอกเบยี้ ต่ำ การประกันสุขภาพ และเงินชดเชยวา่ งงาน เปน็ ตน้

ช่วงวิกฤต โควิด-19 จำเป็นต้องผ่อนปรนมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ โดยเฉพาะการขนส่งยา
และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นระหว่างประเทศ ด้วยการลดภาษีนำเข้าหรือการยกเลิกการห้ามขนส่ ง
เป็นต้น เพื่อให้ทุกประเทศมียาและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพือ่ สกัดการแพร่ระบาดของไวรัส และรักษาผ้ปู ว่ ย
อีกทั้ง ต้องยกเลิกการคว่ำบาตรประเทศต่างๆ เพื่อให้ประเทศเหล่านัน้ มอี าหาร และเครื่องมืออุปกรณ์จำเปน็
สำหรับการปอ้ งกนั การแพรร่ ะบาดและรักษาผ้ปู ว่ ย โควดิ -19 เพียงพอกบั ความต้องการ

นอกจากนี้ ตอ้ งมมี าตรการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับประเทศพฒั นาน้อยทสี่ ุดและประเทศกำลังพัฒนา
ที่มีรายได้น้อย เช่น ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยตลอดปีนี้ การลดหนี้ การสว็อปหนี้ เป็นต้น รวมถึงการปล่อยเงินกู้
แก่ประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งที่ผ่านมา องค์กรระหว่างประเทศ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(IMF) ธนาคารโลก ก็ไดป้ ระกาศปลอ่ ยกู้เพื่อชว่ ยเหลอื ประเทศสมาชิกให้ฝ่าวกิ ฤตคร้ังนี้ไปใหส้ ำเร็จ

ขณะที่บรรดาธนาคารกลางประเทศสำคัญๆ ของโลก และสถาบันการเงินระหว่างประเทศสามารถ
ผนึกกำลังกันเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบการเงิน โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิด
ใหมไ่ ด้ด้วย

มาตรการระดับภูมภิ าค… รอดไปด้วยกัน

ในช่วงวิกฤต การค้าเสรีสินค้าและบริการภายในภูมิภาคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต้องยกเลิกมาตรการ
กีดกันทางการค้าทุกรูปแบบที่จะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าและส่งออกยาและอุปกรณ์เครื่องมือ
ทางการแพทยท์ ีจ่ ำเป็น รวมถึงตอ้ งมีระบบทช่ี ่วยใหก้ ารขนสง่ สนิ ค้าข้ามแดนไปยงั ประเทศตา่ งๆ ได้อย่างสะดวก

ส่วนด้านการเงิน ควรมีความร่วมมือกับสถาบันการเงิน ซึ่งรวมบริษัทประกันเพื่อหาโซลูชั่นและ
แนวทางเพอ่ื ชว่ ยใหภ้ าคธรุ กจิ สามารถฟ้นื ตวั ไดห้ ลังสถานการณ์คล่คี ลายแลว้

วิกฤตโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะงัก สะท้อนถึงความเปราะบางของซัพพลายเชนและ
การใช้ทรัพยากรที่ขาดประสิทธิภาพในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นจึงถึงเวลาต้องทบทวนเรื่องเหล่านี้กันใหม่
เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับระบบซัพพลายเชนและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด เช่น การให้
ความสำคัญและนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง การมีมาตรการ
ดูแลจัดการสภาพภูมิอากาศ และการยกระดับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศต่างๆ เป็นต้น
รวมถึงควรมีนโยบายด้านสงิ่ แวดล้อมแบบเบ็ดเสร็จเพ่ือจัดการประเด็นปญั หาข้ามพรมแดน ทอ่ี าจช่วยป้องกัน
และลดผลกระทบของโรคระบาดระดับโลกแบบนใ้ี นอนาคต ควรมกี ารวางกรอบนโยบายรว่ มกัน เชน่ กำหนด
มาตรฐานสุขอนามัยที่สอดคล้องกัน การแก้ปัญหาภัยคุกคามที่เกี่ยวกับการค้าผิดกฎหมาย การเปลี่ยนแปลง
ของสภาพภูมอิ ากาศ เป็นต้น

มาตรการระดบั ประเทศ… ไมท่ ง้ิ ใครไวข้ า้ งหลัง

มาตรการการคลังที่มีเป้าหมายชัดเจนเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพื่อช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบ
หนักที่สุดจากการแพร่ระบาดของไวรัสครั้งนี้ เพื่อให้พวกเขาได้รับบริการทางการแพทย์อย่างเหมาะสมและ
ใช้ชีวิตต่อไปได้ เช่น การแจกเงินให้ผู้ได้รับผลกระทบ การจัดสวัสดิการสังคม การชดเชยรายได้ระหว่างเจ็บป่วย

การป้องกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 20

ส่วนในระดับผู้ประกอบการอาจมีการลดหย่อนภาษีหรือยืดเวลาเสียภาษี สมทบการจ่ายค่าจ้างพนักงาน
เพอื่ ทำใหบ้ ริษัทดำเนนิ ธุรกจิ ต่อไปได้และไม่ปลดพนักงานช่วงเกิดวกิ ฤต

ขณะเดยี วกนั ตอ้ งดูแลเร่ืองสทิ ธิมนุษยชนและไมเ่ ลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะคนกลุ่มเปราะบางของสังคม
ที่มักได้รับผลกระทบหนักทีส่ ุด เช่น ทุกคนต้องมีสิทธิรับบริการตรวจคัดกรองเชือ้ และการรักษากรณีเจ็บป่วย
โดยไม่มีการเลือกปฏบิ ัติ มีการให้ข้อมูลจำเป็นและชัดเจนแก่คนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทยี มกัน ให้ความชว่ ยเหลือ
ทางการเงินแก่ผู้พิการและครอบครัว ดูแลคนไร้บา้ นและคนกลุ่มเปราะบางอื่นๆ เพอ่ื ลดความเส่ียงการติดเชื้อ
และมีการเตรียมมาตรการเปิดเรียนหลังวิกฤต ตลอดจนมีนโยบายส่งเสริมการจ้างงานในระยะสั้นและ
ระยะยาวให้คนทุกกลุ่มโดยเฉพาะคนรนุ่ หน่มุ สาวดว้ ย

ในสว่ นของผู้ประกอบการ SMEs ต้องมมี าตรการชว่ ยเหลือเร่งด่วนโดยตรงทันที เพือ่ ช่วยให้ทำธุรกิจ
ต่อไปได้ หน่วยงานราชการอาจมีการจัดซื้อฉุกเฉินเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีมาตรการ
ลดการจา่ ยสมทบประกนั สังคมชั่วคราว ลดภาษมี ลู ค่าเพิ่ม มีส่วนลดภาษี และอาจมีการอดุ หนุนเงินทุนเพ่ือให้
SMEs สามารถนำไปใช้จ่ายค่าเช่า ค่าน้ำค่าไฟ จ่ายเงินเดือนพนักงาน และใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ ทั้งนี้ ต้องมี
มาตรการเพื่อธุรกิจนอกระบบ ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 80% ของผู้ประกอบการทั่วโลก และโดยทั่วไปคนกลุ่มนี้
จะได้รบั ประโยชนจ์ ากนโยบายภาครัฐ

อีกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤต โควิด-19 คือ สถาบันการศึกษาที่ต้องปิดทำการ
ทำให้นักเรียนนักศึกษาต้องหันไปเรียนทางไกลแทน สำหรับเรื่องนี้ ต้องร่วมมือกันคิดค้นและจัดหาโซลูชั่น
การศึกษาทางไกลที่มีประสิทธิภาพ พร้อมช่วยให้ครูและผู้ปกครองคุ้นเคยและบริการจัดการการเรียนที่บ้าน
ได้ดีมากขึ้น ต้องมีนโยบายและแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่ทำให้ทุกคนมีโอกาสเรียนรู้ได้เหมือนกัน โดยไม่ปล่อย
ใหว้ ิกฤตซำ้ เตมิ ความเหล่ือมลำ้ ทางการศกึ ษาใหย้ ำ่ แยล่ งไปอีก

นอกจากนี้ ต้องมีมาตรการส่งเสริมการกระชับความสัมพันธ์ทางสังคม หลังจากผู้คนต้องเว้น
ระยะห่างทางกายเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของไวรัส มาระยะหนึ่ง ด้วยการเปิดโอกาสให้เข้าถึง
แหลง่ ข้อมลู ด้านวัฒนธรรมและการศึกษาไดฟ้ รี เพอื่ ชว่ ยเยียวยาความรูส้ ึกโดดเดย่ี วทางสงั คมของผคู้ นลงได้

วิกฤต โควิด-19 คือ ความท้าทายครั้งสำคัญของมวลมนุษยชาติ ที่จะพลิกโฉมสรรพสิ่งไปตลอดกาล
ซ่งึ หากมีมาตรการรับมือวิกฤตได้ดีในทุกขั้นตอน และร่วมมือร่วมใจปฏบิ ัติกันอย่างจริงจัง กเ็ ชอ่ื ว่า เราจะฝ่าวิกฤต
ครั้งใหญ่ครั้งน้ีไปได้ และพร้อมจะรบั มอื วกิ ฤตอืน่ ๆ ในอนาคตไดอ้ ย่างดีเชน่ กนั

การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 21

บทท่ี 3

การบริหารจดั การสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของ COVID-19

การบริหารจดั การและมาตรการการดำเนินการในระดับจงั หวัด

จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีการบริหารจัดการและมาตรการการ
ดำเนินการในระดับจังหวัด โดยมีคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จำนวนทั้งส้ิน
14 ฉบับ ในเรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จาก
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 และมาตรการต่างๆ
ตามสถานการณ์ ในขณะน้นั นอกจากนย้ี งั มี ประกาศคณะกรรมการ
โรคติดต่อจังหวัดแม่ฮ่องสอน จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2563
จำนวนทั้งสิน้ 9 ฉบับ โดย การทำงานภายใต้มาตรการและนโยบาย
ที่ชัดเจนจากภาครัฐ และการดำเนินการตามมาตรการของภาครัฐ
และจังหวัดอย่างเคร่งครัด โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแมฮ่ ่องสอน มีการจัดตง้ั
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ข่าวโควิด แม่ฮ่องสอน
ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพ
ชัดเจน ในการทำงาน การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และการประสานความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไข
ปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง มีการ
รายงานสถติ ิ ประกาศ ขา่ วสาร สรปุ มาตรการต่างๆ อย่างตอ่ เนือ่ ง รวดเรว็ ทนั ตอ่ สถานการณว์ นั ต่อวนั การรับ
เรื่องร้องเรียน แจ้งเหตุ โดยการบูรณาการการทำงานจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค
ประชาชน ทั้งในระยะที่มีการแพร่ระบาดของโรค ระยะของการบังคับใช้มาตรการต่างๆ อย่างเข้มงวดในช่วง
ลอ๊ คดาวน์ จนกระทั่งเขา้ สู่การผอ่ นคลายมาตรการตา่ งๆ ลง

ซึ่งจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 จำนวน 5 ราย และมีการรักษา
หายทั้งหมด 5 ราย ไม่มีรายงานผู้ป่วย COVID-19 รายใหม่ ตั่งแต่ วันที่ 30 มีนาคม 2563 จนถึงวันท่ี
31 กรกฎาคม 2563 ไม่พบผู้ติดเชื้อมาแล้ว 124 วัน นับว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินการป้องกัน
และควบคมุ โรคได้ดยี ิง่ ด้วยความร่วมมอื จากทุกภาคส่วนในจังหวดั แมฮ่ ่องสอน

นอกจากนี้การช่วยเหลือ การเยียวยา ผู้ประสบปัญหาทางสังคมจังหวัดแม่ฮ่องสอน นั้น หน่วยงาน
ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงภาคีเครือข่ายภายนอกกระทรวง
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทุกหน่วยงาน
ร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ในด้านการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพ
การจัดบริการทางสังคมที่เกี่ยวกับการป้องกัน แก้ไขปัญหา การพัฒนา และการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิและ
ความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน ให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบปัญหาทางสังคมในภาวะวิกฤติเร่งด่วนตาม
สถานการณ์ ให้การช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพ และจัดบริการสวัสดิการสังคมสำหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย

การป้องกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 22

ไม่ว่าจะเป็น เด็ก เยาวชน สตรี ผู้ด้อยโอกาส รายได้น้อย ไร้ที่พึ่ง เร่ร่อน และกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ที่ประสบ
ปญั หาทางสังคม ในภาวะการแพรร่ ะบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 หรอื COVID-19

โดยทุกหน่วยงานจะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรม กระทรวงต้นสังกัดและมีการดำเนินการ
ภายใต้ระเบียบการดำเนินงานของแต่ละงาน เพื่อร่วมกันดำเนินการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-19
อย่างเต็มที่

การบริหารจัดการและมาตรการการดำเนินการในระดับจงั หวดั
ภาพกิจกรรม จงั หวัดแมฮ่ ่องสอน การดำเนนิ งานปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา COVID–19

การป้องกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 23

การบริหารจัดการและมาตรการการดำเนินการในระดับชุมชน

แนวนโยบายและระเบียบปฏิบตั ิ
ในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID–19 ด้วยชมุ ชน ตำบลผาบ่อง

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มีแนวโน้มการแพร่ระบาด
ที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกัน และลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดเข้าสู่หมู่บ้านและชุมนุมของ
ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตลอดจนเพื่อป้องกันกลุม่ เสีย่ งที่ง่ายต่อการตดิ เชือ้
ทอี่ ยูใ่ นหม่บู า้ นและชุมชน ดังนี้

การจดั การในการดำเนนิ งาน ป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID–19 ด้วยชุมชน
1. แนวยโยบายและระเบยี บปฏบิ ัติในการดำเนนิ การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID–19 ดว้ ยชมุ ชน
- ยึดตามแนวนโยบายและระเบียบปฏิบัติ ของรัฐบาล และกระทรวงมหาดไทย

เนน้ ให้ชุมชนเปน็ ผู้ดำเนินกิจกรรมในชุมชนเอง
2. รูปแบบ แนวทางและขนั้ ตอนการดำเนนิ งานการป้องกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID–19 ดว้ ยชมุ ชน
- วางแผน ทำโครงการ เพื่อดำเนินกิจกรรม / สร้างแกนนำในชุมชน / ดำเนิน

กิจกรรมการป้องกันโรคติดต่อเชอื้ ไวรสั โควดิ -19 รวมถึงกิจกรรมเฝา้ ระวงั
3. งบประมาณในการดำเนนิ งานการปอ้ งกันแก้ไขปัญหา COVID–19 ดว้ ยชมุ ชน
- 210,000 บาท
4. ผลการดำเนินงานการการดำเนนิ งานการปอ้ งกนั แกไ้ ขปัญหา COVID–19 ดว้ ยชุมชน
- ประชาชนในพ้นื ท่ีตำบลผาบ่อง ไดร้ บั การเฝา้ ระวงั และป้องกันตนเองจากการติด

เชื่อไวรัสโคโรน่า 2019 (ชุมชนจัดทำหน้ากากอานามัยใหป้ ระชาชนทุกคนในชุมชน / มีการเฝ้าระวัง โดยการ
จดั ใหใ้ นกลมุ่ เสย่ี ง โดย อสม. ในชมุ ชน)

5. ทรพั ยากรและทนุ ทางสงั คมในการร่วมการดำเนนิ งานการป้องกนั แก้ไขปัญหา COVID–19 ดว้ ยชุมชน
- องคก์ ารบริหารส่วนตำบลผาบ่อง สนบั สนุนงบประมาณ และวัสดอุ ุปกรณ์ใหก้ ับชุมชน
- ชุมชนเป็นทุนทางสังคม คือ คนในชุมชนร่วมกันจัดทำหน้าการอานามัย และ

ร่วมกนั เฝา้ ระวังบุคคลผทู้ มี่ คี วามเส่ียงในชุมชน
6. ปจั จัยความสำเรจ็ ในการดำเนนิ การป้องกนั แก้ไขปัญหา COVID–19 ด้วยชุมชน
- ประชาชนทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหา COVID–19

(ทำให้คนในชุมชนเหน็ ค่า เปน็ ปญั หาที่ตอ้ งรว่ มมอื กนั ป้องกัน และแกไ้ ข)
7. ปญั หาและอุปสรรคในการดำเนนิ งานการป้องกนั แก้ไขปัญหา COVID–19 ด้วยชุมชน
- รอวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินการ เนื่องจากเป็นช่วงที่ทุกหน่วยงาน ดำเนินการ

ป้องกันและเฝ้าระวัง เช่นเดียวกัน ทำให้ วัสดุ อุปกรณ์ เช่น ผ้า และ ยางยืด ขาดตลาด ต้องใช้เวลาในการสง่ั
วัสดุ อุปกรณ์ ค่อนขา้ งนาน

การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน 24

8. ขอ้ เสนอแนะในภาพรวมต่อการดำเนนิ งานการป้องกันแก้ไขปัญหา COVID–19 ด้วยชุมชน
- ควรสร้างความร่วมมือ โดยการชี้แจงข้อเท็จจริงในปัญหาให้ประชาชนในชุมชน

รับทราบ เพื่อสร้างความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน จะทำให้มองเห็นปัญหา และร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหา
ได้อย่างตรงประเด็น

การบรหิ ารจดั การและมาตรการการดำเนนิ การในระดบั ชมุ ชน
ภาพกจิ กรรม องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง อ.เมอื งแมฮ่ อ่ งสอน จ.แม่ฮ่องสอน

การดำเนินการปอ้ งกันแก้ไขปัญหา COVID–19 ด้วยชุมชน
วันที่ 16 มี.ค 2563 นายอภิสิทธิ์ จันทร์โอพาส
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง เป็นประธานเปิด
พิธีโครงการอบรมให้ความรู้เพิ่มศักยภาพ อสม. ผู้นำ
ชุมชนและชุมชน กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการให้
ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
(COVID-19) และการจัดทำหน้ากากอานามัยเพื่อป้องกัน
ตนเอง ณ ห้องประชุมอาคาร สกสค. ตำบลผาบ่อง
อำเภอเมอื งแมฮ่ อ่ งสอน จังหวัดแมฮ่ ่องสอน

การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 25

วันท่ี 21 - 22 มนี าคม 2563 อบต.ผาบอ่ ง ได้ออกฉดี พ่นฆา่ เชอื้ ไวรสั โควดิ -19 ในพนื้ ที่หมู่บ้านเขต
ตำบลผาบอ่ ง ตามสถานที่ต่างๆ

วันที่ 27 มีนาคม 2563 องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง และ นายกฯ อภิสิทธิ์ จันทรโอพาส
ได้มอบอุปกรณ์ทำหน้ากากอนามัย เเก่ประชาชนตำบลผาบ่อง เพ่ือร่วมกันจัดทำหน้ากากอนามัยเเจกจ่าย
ให้กบั ประชาชนในพนื้ ท่ีตำบลผาบ่อง ด้วยความเป็นห่วงใยในสุขภาพของประชาชนในตำบลผาบอ่ ง

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 26

วันท่ี 28 มีนาคม 2563 องค์การบรหิ ารส่วนตำบลผาบ่อง ได้ร่วมกบั อสม. และประชาชนในตำบล
ผาบอ่ งจดั ทำหน้ากากอนามัยเพอ่ื เเจกจ่ายใหเ้ เก่ประชาชนในพื้นทีต่ ำบลผาบ่องเพ่อื ป้องกันการเเพร่ระบาด
โรคโควิค-19

วันที่ 31 มีนาคม 2563 องค์การบรหิ ารสว่ นตำบลผาบ่อง (ส่วนงานสาธารณสขุ ) ไดร้ ่วมกบั ประชาชน
ในพื้นที่ตำบลผาบ่องจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อเเจกจ่าย ให้เเก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลผาบ่องเพื่อป้องกัน
การเเพรร่ ะบาดตดิ ต่อโรคโควคิ -19

วนั ท่ี 2 เมษายน 2563 องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง ได้ใหค้ วามรู้เเก่พนักงานในการป้องกันการ
เเพร่ระบาดโรคโควิค-19 เเละตรวจสขุ ภาพพนักงาน อบต.ผาบ่อง เพอื่ ทำความเขา้ ใจเเละเฝ้าระวัง ต่อไป

การปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 27

วันที่ 2 เมษายน 2563 องค์การบริหารส่วนตำบลผาบอ่ งได้ร่วมกับประชาชนหมู่ที่ 12 ออกเเจกจ่าย
หน้ากากอนามัย ให้เเกป่ ระชาชนในพื้นที่ตำบลผาบ่องเพอ่ื ป้องกนั การเเพร่ระบาดโรคโควิค-19

วันที่ 4 เมษายน 2563 องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่องได้ร่วมกับผู้นำชุมชนเเละชาวบ้านผาบ่อง
เดินขบวนเเจกหนา้ กากอนามัย ใหก้ บั ประชาชนในพืน้ ท่ตี ำบลผาบอ่ ง เพื่อป้องกนั การเเพร่ระบาดโรคโควคิ -19

วันที่ 9 เมษายน 2563 องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง ได้จัดการประชาสมั พันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับ
การป้องกันการเเพร่ระบาดโรคโควิค-19 ใหเ้ เก่ พี่น้องประชาชนในพืน้ ทต่ี ำบลผาบอ่ ง

การป้องกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 28

วันที่ 15 เมษายน 2563 นายอภิสิทธิ์ จันทร์โอภาส นายก อบต.ผาบ่อง ได้ส่งมอบวัสดุ อุปกรณ์
สำหรับเฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ให้กับ รพ.สต. และอสม. ในพื้นที่ตำบล
ผาบ่อง 12 หมู่บ้าน ได้แก่ เครื่องวัดไข้แบบดิจิทัล หมู่บ้านละ 1 เครื่อง รวม 12 หมู่บ้าน สเปรย์แอลกอฮอล์
สำหรับ อสม. ในพื้นตำบลผาบ่อง เจลแอลกอฮอล์สำหรับ รพ.สต.ผาบ่อง เพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการ
แพร่ระบาดของโรคตดิ เช้ือไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นทีต่ ำบลผาบ่อง ต่อไป

วันที่ 22 เมษายน 2563 นายกอภิสิทธิ์ จันทร์โอพาส ได้เข้าร่วมมอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
แอลกอฮอล์ จากการไฟฟ้าฝ่ายผลติ แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ใหเ้ เก่ โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ เพื่อนำไปใช้ ตอ่ ไป

การป้องกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 29

บทท่ี 4

ผลสำเรจ็ ของการดำเนนิ งานในระดบั พ้นื ที่

ตำบลผาบ่อง อำเภอเมอื งแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮอ่ งสอน มีการดำเนินการในการป้องกนั และลดความเสี่ยง
ในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งมีแนวโน้มการแพร่ระบาดที่เพิ่มมากขึ้น
ไมใ่ หเ้ ขา้ สหู่ มู่บ้านและชุมชน ตลอดจนเพอ่ื ป้องกันกลมุ่ เส่ียงที่งา่ ยตอ่ การตดิ เช้ือทอี่ ยู่ในหมู่บ้านและชมุ ชน

การดำเนนิ งานการป้องกันและแกไ้ ขปัญหา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน
1. องค์การบริหารสว่ นตำบลผาบอ่ ง อบรมใหค้ วามรูเ้ พม่ิ ศักยภาพ อสม. ผนู้ ำชมุ ชน และชุมชนตำบล

ผาบ่อง กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
และการจัดทำหนา้ กากอานามยั เพือ่ ป้องกนั ตนเอง

2. องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง ได้ออกฉีดพ่นฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่หมู่บ้านเขตตำบลผาบ่อง
ตามสถานท่ีตา่ งๆ

3. องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง ได้มอบอุปกรณ์ทำหน้ากากอนามัย เเก่ประชาชนตำบลผาบ่อง
เพื่อร่วมกันจัดทำหนา้ กากอนามยั เเจกจา่ ย ให้กับประชาชนในพืน้ ที่ตำบลผาบ่อง เพื่อป้องกันการเเพร่ระบาด
โรคโควคิ -19

4. องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง ได้ร่วมกับ อสม. ประชาชนในตำบลผาบ่อง ร่วมเดินขบวน
เเจกหน้ากากอนามัย ให้เเก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลผาบอ่ ง เพอื่ ป้องกนั การเเพร่ระบาดโรคโควิค-19

5. องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง ได้ให้ความรู้เเก่พนักงานในการป้องกันโรคโควิค-19 เเละตรวจ
สุขภาพพนักงาน อบต.ผาบอ่ ง เพ่ือทำความเข้าใจเเละเฝ้าระวัง ตอ่ ไป

6. องคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบลผาบอ่ ง ไดจ้ ัดการประชาสัมพนั ธใ์ ห้ความรู้เก่ยี วกบั การป้องกันการเเพร่ระบาด
โรคโควิค-19 ใหเ้ เก่ พี่น้องประชาชนในพื้นทต่ี ำบลผาบ่อง

7. องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง โดย นายอภิสิทธิ์ จันทร์โอภาส นายก อบต.ผาบ่อง ได้ส่งมอบ
วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับเฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ให้กับ รพ.สต. และอสม.
ในพื้นทต่ี ำบลผาบ่อง 12 หมบู่ ้าน ไดแ้ ก่ เครอ่ื งวัดไข้แบบดิจิทลั หมูบ่ ้านละ 1 เครือ่ ง รวม 12 หมู่บา้ น สเปรย์
แอลกอฮอล์สำหรับ อสม. ในพื้นตำบลผาบ่อง เจลแอลกอฮอล์สำหรับ รพ.สต.ผาบ่อง เพื่อเฝ้าระวัง และ
ปอ้ งกันการแพร่ระบาดของโรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพ้นื ทีต่ ำบลผาบอ่ ง ต่อไป

8. นายอภิสิทธิ์ จันทร์โอพาส นายก อบต.ผาบ่อง ได้เข้าร่วมมอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
แอลกอฮอล์ จากการไฟฟา้ ฝา่ ยผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้เเก่ โรงพยาบาลศรสี ังวาลย์ เพ่ือนำไปใช้ ต่อไป

การป้องกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 30

ทิศทางการพฒั นาในอนาคต

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้สภาพเศรษฐกิจในประเทศไทย
ชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อระบบสังคมและระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ รายย่อย
ลูกจ้างทั่วไป พ่อค้า แม่ค้า เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา นักเรียนนกั ศึกษา หรือแม้แต่พนักงานประจำ ล้วนได้รบั
ผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้น แต่หากเรามองให้ดี สถานการณ์ในครั้งนี้ได้มอบบทเรียนสำคัญให้เราทุกคน มีสติ
ไมป่ ระมาท และเรม่ิ ต้นวางแผนชีวิต การงาน สำหรบั การเตรียมความพร้อมเมื่อเกดิ สถานการณฉ์ ุกเฉินข้ึนอีกคร้ัง
ในยุค New Normal ภายหลังผา่ นวกิ ฤติโควดิ -19 ชีวิตของเราทุกคน รวมทัง้ การทำงานจะต้องเปล่ียนแปลง
ไปไม่เหมือนเดิม สิง่ สำคัญในการทำงาน คือ การทำงานเป็นทีมและบูรณาการการทำงานกับเครือข่ายทุกภาคส่วน
อาจจะตอ้ งรักษาระยะห่างทางสังคม สร้างพลังใจให้ทมี งานให้พร้อม ฟันฝ่าอปุ สรรคต่างๆ ที่ต้องเผชิญร่วมกัน
กา้ วเดนิ ร่วมกนั อยา่ งมีความสุข ด้วยความหวังและพลงั ใจเพ่ือกา้ วข้ามผา่ นทกุ ปญั หาและทกุ อปุ สรรค

“ช่วงที่รัฐบาลมีการคลายล็อก พนักงานทยอยกลับเข้ามาทำงาน หน่วยงานยังต้องคงนโยบายเดิม
ทที่ ำมาตงั้ แตช่ ่วงท่ีมีการระบาด ป้องกนั ตนเองไม่ใหร้ ับและแพรเ่ ชื้อให้คนอ่ืน การท่ีจะต้องใส่หน้ากากอนามัย
มาที่ทำงาน ในระหว่างทำงาน การลา้ งมอื เวลาจบั สมั ผสั พน้ื ที่ตา่ งๆ ในสถานท่ที ำงาน พ้ืนท่ีใช้ร่วมกัน ส่ิงของ
ที่ใช้ร่วมกัน การวัดอุณหภูมิก่อนเข้าที่ทำงาน การสังเกตอาการ ว่ามีอาการไม่สบาย เจ็บป่วย หรือคนที่บ้าน
ที่มีอาการเจ็บป่วย ต้องรายงานหัวหน้าหน่วยงาน การแยกตนเองออกจากผู้อื่น และควรรีบไปพบแพทย์
เพื่อรบั การตรวจวนิ ิจฉยั ต่อไป”

“ที่สำคัญ พนกั งานท่ีไม่ได้เดินทางด้วยพาหนะสว่ นตัว ใช้ระบบขนส่งสาธารณะต้องดูวา่ นโยบายของ
การขนส่งสาธารณะนั้นๆ ใช้มากน้อยแค่ไหน มีการเว้นระยะห่างหรือไม่ ต้องระวัง แม้กระทั่งห้องน้ำ ลิฟท์
สาธารณะ ในอาคารท่ที ำงาน เปน็ สิง่ ทเ่ี ราตอ้ งปฏิบตั ติ อ่ ไป”

การปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 31

New Normal คอื อะไร ?
New Normal คอื ความปรกตใิ หม่ หรอื ฐานวิถีชวี ิตใหม่ ซงึ่ หมายถงึ รูปแบบการดำเนนิ ชวี ติ อย่างใหม่

ที่แตกต่างจากอดีตเพราะได้รับผลกระทบจากบางสิ่ง บางเหตุการณ์ จนแบบแผนและแนวทางที่คุ้นเคยเกิด
การเปลี่ยนแปลงสู่วิถีชีวิตใหม่ เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้เกิดความคุ้นชิน และกลายเป็นส่วนหนึ่งของ
วิถชี วี ิตปรกติ

ท่ีมาของ New Normal
New Normal ถกู ใช้คร้ังแรกโดยบิลล์ กรอส (Bill Gross) ผูก้ ่อต้งั บรษิ ัทบรหิ ารสนิ ทรพั ยช์ าวอเมริกัน

โดยใช้อธิบายสภาวะเศรษฐกิจโลก หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ ในสหรัฐฯ ช่วงระหว่าง
ปี 2007-2009 และถูกนำมาใช้สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจท่ีถดถอยลง และมีโอกาสท่ีจะไม่กลบั มาเติบโต
ถึงระดับเดิมไดอ้ ีก

พฤตกิ รรมแบบ New Normal

1. การใช้เทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีควบคู่กับอินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตมากขึ้น ที่จากเดิมมีมากอยู่แล้ว
แต่ในสังคมยุค New Normal สิ่งเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในแทบทุกจังหวะชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การเรียนออนไลน์
การทำงานที่บ้าน การประชุมออนไลน์ การซื้อสินค้าออนไลน์ การทำธุรกรรม และการเอ็นเตอร์เทนชีวิต
รูปแบบตา่ งๆ อยา่ งดูหนัง ฟงั เพลง

2. การเว้นระยะหา่ งทางสงั คม
ผู้คนในสังคมจะเห็นความสำคัญของการเว้นระยะห่างที่เป็นแนวทางการใช้ชีวิตช่วงวิกฤติโควิด-19
และจะดำเนินชีวิตแบบนัน้ ต่อไป โดยรักษาระยะห่างทางกายภาพเพิ่มขึ้น และใช้เทคโนโลยีเข้ามามีสว่ นช่วย
ในการสอื่ สารและการใชช้ ีวิต ลดการปฏสิ ัมพันธ์ การไปในสถานท่สี าธารณะ และเน้นการทำกจิ กรรมทีบ่ ้านมากขึ้น

3. การดูแลใส่ใจสขุ ภาพทง้ั ตวั เองและคนรอบขา้ ง
โดยเกิดความคุ้นชินจากช่วงวิกฤติโควดิ -19 ที่ต้องดูแลด้านสุขภาพและความสะอาดเพื่อป้องกันการ
แพรเ่ ชือ้ ดงั น้นั พฤตกิ รรมการใช้หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ และการลา้ งมืออย่างถูกวธิ ี และหมั่นสังเกต
ตัวเองเมื่อไม่สบายจะยังคงมีต่อไป รวมถึงการหันมาใส่ใจสุขภาพ การออกกำลังกาย และการทำประกัน
สขุ ภาพจะมแี นวโนม้ มากข้ึน

4. การใชเ้ งนิ เพ่ือการลงทนุ
ยุค New Normal เป็นจังหวะที่ผู้คนยังระมัดระวังการลงทุนใหม่ๆ และลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจยงั ไม่แนน่ อน

5. การสรา้ งสมดุลชีวติ
การมีโอกาสได้ทำงานที่บ้าน ลดจำนวนวันการเข้าทำงานในสำนักงาน หรือการลดการพะปะผู้คน
ในสังคม แลว้ หนั มาใชช้ ีวิต และทำงานที่บา้ น ทำใหผ้ คู้ นมองเหน็ แนวทางที่จะสร้างสมดุลชีวติ ระหว่างอยู่บ้าน
มากข้นึ และจะเปน็ แนวทางในการปรบั สมดุลชวี ิตระหวา่ งเวลาส่วนตวั การงาน และสงั คมใหส้ มดุลมากย่ิงขนึ้

การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 32

ประชาชนคนทำงาน

1. การรักษาระยะห่างในที่ทำงาน คนทำงานที่เปลี่ยนจากการทำงานที่บ้าน และกลับมาเข้าทำงาน
ที่สำนักงาน ยังคงคุ้นเคยกับการปฏิบัติแบบรักษาระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัส และยังคงเห็น
ความสำคัญจากการดูแลสุขภาพในที่ทำงานมากขนึ้

2. ใช้เทคโนโลยีช่วยทำงานมากยิ่งขึ้น จากการรักษาระยะห่างทางสังคมและการ work from
home ที่เคยปฏิบัติจนเคยชิด ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงาน โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต
และแอปพลิเคชันต่างๆ เชน่ การประชุมงาน การส่งงาน

3. มีการพัฒนาทักษะผ่านคอร์สออนไลน์ ในการทำงานช่วงโควดิ -19 ทำใหผ้ ู้คนบางกลุ่มถูกเลิกจ้าง
หรือถูกลดเงินเดือน การพัฒนาตัวเองเพื่อให้มีความสามารถ และเป็นผู้เชี่ยวชาญตามที่ตลาดแรงงาน
ยังต้องการจึงมีความสำคัญ ดังนั้นการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์
ผา่ นช่องทางออนไลน์ จงึ เปน็ ทางเลือกของพนักงานทีท่ ำให้ได้พัฒนาตวั เองพร้อมกับท่ียงั ทำงานประจำได้อยู่

New Normal ในวันนี้อาจเป็นแนวทางในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
และจะกลายเป็นคำที่ถูกพูดถึงอย่างปรกติวิธีในอนาคตเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในวิกฤติต่างๆ ก่อนหน้านี้
แต่การเตรียมพร้อมและตั้งรับอย่างดียังเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ทั้งธุรกิจและชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ไม่ว่า
จะมีอีกก่ีวกิ ฤตผิ า่ นเข้ามา

การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน 33

บทที่ 5

สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา

สถานการณ์ในการ “การป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 ด้วยชุมชน” การช่วยเหลือ
การเยียวยา ผู้ประสบปัญหาทางสังคมจังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงภาคีเครือข่ายภายนอกกระทรวง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ดำเนินงาน
ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมจงั หวัดแม่ฮ่องสอน ทุกหน่วยงานร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจด้านสวัสดิการ
สังคมและสังคมสงเคราะห์ ในด้านการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพ การจัดบริการทางสังคมที่เกี่ยวกับ
การป้องกัน แก้ไขปัญหา การพัฒนา และการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิและความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน
ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสงั คมในภาวะวิกฤติเร่งด่วนตามสถานการณ์ ใหก้ ารช่วยเหลือคุ้มครอง
สวัสดิภาพ และจัดบริการสวัสดิการสังคมสำหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น เด็ก เยาวชน สตรี
ผูด้ อ้ ยโอกาส รายไดน้ อ้ ย ไรท้ พี่ ึง่ เรร่ ่อน และกลมุ่ เป้าหมายอน่ื ๆ ท่ปี ระสบปญั หาทางสังคมในภาวะการแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 โดยทุกหน่วยงานจะได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก
กรม กระทรวงต้นสังกัด และมีการดำเนินการภายใต้ระเบียบการดำเนินงานของแต่ละงาน เพื่อร่วมกัน
ดำเนินการในการปอ้ งกนั และแกไ้ ขปัญหา COVID-19 อยา่ งเต็มท่ี

การพฒั นา “การปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ด้วยชมุ ชน” ปจั จัยทีส่ ำคญั ในการดำเนินการ
คือ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและระบบภาคีเครือข่ายในการทำงานอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้ชุมชน
สามารถสร้างการรับรู้ และสร้างความเข้าใจร่วมกันและสามารถนำไปปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ทั้งในระดับ
บุคคล ครอบครัว ชุมชน หน่วยงาน เนื่องจากภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ
COVID-19 เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก มีผู้คนติดเชื้อและเสียชีวิต
เป็นจำนวนมาก ประชาชนส่วนใหญ่ต่างมีความหวาดกลัวการติดเชื้อ และพร้อมให้ความร่วมมือในการ
ดำเนินการอย่างเข้มงวดตามมาตรการของภาครัฐ ซึ่งการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและระบบภาคีเครือข่าย
ในการทำงานอย่างมีส่วนร่วม เป็นแนวคิดสำหรับการพัฒนาการดำเนินการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
โรคตดิ เช้อื ไวรสั โคโรนา 2019 หรอื COVID-19 ไดอ้ ย่างย่งั ยนื

นอกจากนี้ การทำงานภายใต้มาตรการและนโยบายที่ชัดเจนจากภาครัฐ และการดำเนินการตาม
มาตรการของภาครัฐและจังหวัดอย่างเคร่งครัด โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
แม่ฮ่องสอน มีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ศูนย์ข่าวโควิด-19 แม่ฮ่องสอน ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานจากทุกภาคส่วน
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพ ชัดเจน ในการทำงาน การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และการประสาน
ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19
อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง มีการรายงานสถิติ ประกาศ ข่าวสาร สรุปมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว
ทันต่อสถานการณ์วันต่อวัน การรับเรื่องร้องเรียน แจ้งเหตุ โดยการบูรณาการการทำงานจากทุกภาคส่วน
ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ทั้งในระยะที่มีการแพร่ระบาดของโรค ระยะของการบังคับใช้
มาตรการต่างๆ อย่างเข้มงวดในช่วงล๊อคดาวน์ จนกระทั่งเข้าสู่การผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ลง เพื่อการ
สื่อสาร การสร้างความเข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การรับรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตามอย่าง
เคร่งครัด และต่อเนื่อง เริ่มจากมาตรการที่ชัดเจนของรัฐบาลในระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ด้วยชุมชน 34

นำไปสู่ระดับชุมชน เป็นการสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ แนวทางในการปฏิบัติตนและดำเนินการร่วมกนั
ส่งผลให้การป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 ด้วยชุมชน เป็นไปอย่างดีเยี่ยมและมีประสิทธิภาพ
อกี ทั้งมีการประสานความรว่ มมือและการให้ความรว่ มมอื จากทุกภาคสว่ นอยา่ งเต็มที่

ข้อเสนอแนะ

1. รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ รวมถึงชุมชน ควรมีการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับกรณีการแพร่
ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง ให้ทุกภาคส่วน รวมถึงประชาชนทุกคนมีความพร้อมเดินหน้าตอ่ ไป เพื่อให้
สามารถดูแลตนเอง ครอบครวั ชุมชน สงั คม รวมไปถงึ การแขง่ ขันกบั ประเทศอ่ืนๆ ทว่ั โลก

2. รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรมีนโยบายในการช่วยเหลือประชาชนทุกคนและ
ภาคธุรกิจใหม้ ากท่ีสดุ ครอบคลมุ ทกุ กลุ่มเป้าหมายเพื่อเยยี วยาประชาชนและภาคธุรกจิ อยา่ งเทา่ เทยี มและทัว่ ถึง

3. รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ รวมถึงชุมชน ควรมีการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับวิกฤติและ
สถานการณ์ต่างๆ ท่อี าจเกิดขน้ึ ในอนาคต

การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 35

เอกสารอา้ งอิง

กรมควบคุมโรค. (2563) สถานการณ์การระบาดโรคโควดิ -19 . สืบค้น 3 มถิ นุ ายน 2563 , จาก
http://www.ddc.moph.go.th/viralpneumonia/fag-more.php.

จังหวัดแมฮ่ ่องสอน. (2563) ข้อมลู สถานการณโ์ ควดิ 19 . สบื ค้น 31 กรกฎาคม 2563 , จาก
http://www.maehongson.go.th/th/

องค์การบรหิ ารสว่ นตำบลผาบ่อง. (2563) ข่าวประชาสัมพนั ธ์ . สบื ค้น ๖ มิถุนายน 2563 , จาก
http://www.phabong.go.th/pabong/
http://www.facebook.com › people › อบตผาบ่อง-แมฮ่ ่องสอน

SCBThailand. (2563) ประเทศไทยหลังโควดิ -19 . สบื ค้น 7 พฤษภาคม 2563 , จาก
http://www.scb.co.th.

ThaiPublica. (2563) ผลกระทบ SDGs จากวิกฤติโควดิ -19 และมาตรการรับมือหลังการระบาด . สืบคน้
26 เมษายน 2563 , จาก http://www.thaipublica.org.

We are CP . (2563) โควดิ -19 กับพฤติกรรม “New Normal” มาตรฐานวิถีชวี ติ ใหม่ในวันน้แี ละ
ตลอดไป . สบื ค้น 19 พฤษภาคม 2563 , จาก http://www.wearecp.com.

……………………………………………………………………………….

การปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชมุ ชน 36

เอกสารวิชาการ ประจำปี 2563
พื้นท่ีปฏิบัติการพัฒนาสงั คม (Social Lab : SL)

“การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา COVID-19 ดว้ ยชุมชน”

องคก์ ารบริหารสว่ นตำบลผาบ่อง อำเภอเมอื งแม่ฮอ่ งสอน จังหวัดแมฮ่ อ่ งสอน

เจ้าของและผจู้ ดั พมิ พ์ :
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 9
บริเวณศูนยร์ าชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา
ตำบลชา้ งเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่
จงั หวดั เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ 053-112485-6 โทรสาร 053-112491
Email: [email protected]

ท่ีปรึกษาโครงการ : ธแิ ก้ว ผู้อำนวยการสำนกั งานสง่ เสริมและสนับสนุนวิชาการ 9
นายธนู สใุ จ นกั พฒั นาสงั คมชำนาญการพิเศษ
นางสาวอจั ฉรา ฉัตรภูติ นักพฒั นาสังคมชำนาญการพิเศษ
นายธนากร

คณะทำงาน:
หน่วยงานสงั กดั กระทรวงการพฒั นาสังคมและความมน่ั คงของมนุษยพ์ ื้นท่ีจังหวดั แม่ฮ่องสอน
องค์การบริหารสว่ นตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จงั หวัดแมฮ่ ่องสอน
สำนักงานสง่ เสรมิ และสนบั สนนุ วชิ าการ 9
นางพรรครนิ อุดมวฒั นานนั ท์ นกั พฒั นาสงั คมชำนาญการ
นางสาวภารำพงึ อรยิ ะ นกั พัฒนาสังคมชำนาญการ
นางสาวแคทริยา ฆวีวงศ์ นักพฒั นาสังคม
นายดนุพงศ์ กาญจนธีรานนท์ เจา้ หน้าทีพ่ ฒั นาสงั คม
นางสาวจิรชยา ขัตริ ัตน์ เจา้ หนา้ ท่ีพฒั นาสังคม
นายไพฑรู ย์ ชยั ชนะ พนกั งานบริการ

เรียบเรียง-รูปเล่ม พนกั งานบรกิ าร
นายไพฑูรย์ ชยั ชนะ

ออกแบบปก นกั พัฒนาสงั คม
นางสาวแคทริยา ฆววี งศ์


Click to View FlipBook Version