The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือชี้แจงผู้เกษียณ ปี66

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Noppadon Koedmanee, 2023-08-21 11:01:44

หนังสือชี้แจงผู้เกษียณ ปี66

หนังสือชี้แจงผู้เกษียณ ปี66

21/08/66 12 เพื่อความมั่นคงในชีวิต สําหรับคนที่เรารักและผูกพัน สนใจสมัครเปน...สมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห สมาชิกของสหกรณอ  อมทรพัย  รัฐวิสาหกิจไทย ตดิต่อ ฝ่ายสวสัดกิาร สหกรณ์ออมทรพัย์(สอฟ.) โทรศพัท์มอืถอื 080-818-8583 โทรศพัท์สา ํ นกังาน 02-226-2511-3 ต่อ 122 02-225-7713-4 ต่อ 122 จบการบรรยาย แตชีวิตยังไมจบ ชีวิตยังตองดําเนินตอไป ชีวิตจะยาวนานเพียงใด ไมมีใครรูได เรารูวันที่เราเกิด แตเราไมมีทาง...รว ูันที่เราตาย โดย ไพบลูย์แกว้เพทาย ผพู้ยายามมีชีวิตอย...เพื ู่Éอ...ความหมายแห่งชีวิต 34


บทความ เรื่อง “สหกรณ์ออมทรัพย์ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต” เพื่อลงในหนังสือ “ข่าว สอฟ.” เดือน มกราคม 2565 สหกรณ์ออมทรัพย์ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต โดย ไพบูลย์ แก้วเพทาย -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------. 1. ทำไมต้องเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2492แต่สหกรณ์ออมทรัพย์ในการไฟฟ้านครหลวงเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2522 ปัจจุบันมีชื่อว่า “สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง จำกัด” ในอดีตแต่ ดั้งเดิมมีชื่อว่า “สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานการไฟฟ้านครหลวง จำกัด” เหตุที่ต้องเปลี่ยนชื่อจากเดิม เนื่องจากคณะรัฐประหาร รสช.(คณะรักษาความสงบแห่งชาติ)ได้แบ่งแยกสหภาพแรงงาน ภาครัฐวิสาหกิจกับสหภาพแรงงานภาคเอกชนออกจากกัน แล้วใช้กฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฉบับใหม่ ในปี 2534 ถือเป็นบทเรียนทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานับหลายร้อยปีที่ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่มีการรัฐประหารใด หรือรัฐเผด็จการใด จะส่งเสริมสนับสนุนสหภาพแรงงาน หรือการรวมตัวเป็นองค์กรของประชาชน กำเนิดของสหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวงจำกัด มาจากแนวคิดที่เป็นวิสัยทัศน์ของ นายไพศาล ธวัชชัยนันท์ อดีตผู้นำแรงงานของการไฟฟ้านครหลวงและผู้นำแรงงานระดับชาติ ที่สร้างขบวนการแรงงานให้ เป็นเอกภาพหนึ่งเดียวทั้งภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน จนเป็นที่เกรงขามของรัฐบาลในยุคนั้น(พ.ศ.2515-2530) จากการที่ นายไพศาล ธวัชชัยนันท์ได้ไปดูงานที่ประเทศอิสราเอล ซึ่งมีระบบสหกรณ์ที่เข้มแข็งจนเป็นระบบเศรษฐกิจ ภาคสหกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ เข้มแข็ง และเจริญก้าวหน้า จึงมีความคิดดำริที่ต้องการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น แรกเริ่มต้องการจัดตั้งเป็น สหกรณ์ร้านค้า แต่ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้แนะนำให้จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อเป็นแหล่งบริการทางการเงินแก่สมาชิก ทั้งในด้านเป็นแหล่งออมเงินและแหล่งเงินกู้แก่สมาชิกที่จำเป็นเดือดร้อน ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อ “บำบัดทุกข์..บำรุงสุข” 2. จดทะเบียนเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ นายไพศาล ธวัชชัยนันท์ ประธานสหภาพแรงงานพร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้รณรงค์สมาชิกและระดมทุนเรือนหุ้น เพื่อจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ให้เป็นสถาบันการเงิน ของคน กฟน. ช่วงแรกที่พยายามจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์นั้น ทางฝ่ายบริหารไม่ค่อยเห็นด้วย สหภาพแรงงานฯจึงร่วมกับกรมแรงงาน และกรมส่งเสริมสหกรณ์ในยุคนั้น พยายามชี้แจง เพื่อทำความเข้าใจและผลักดันจนสามารถจัดตั้งได้สำเร็จ โดยเป็นสหกรณ์ ออมทรัพย์แห่งแรกที่ใช้ชื่อ “สหภาพแรงงาน”ในการก่อตั้ง กว่าจะก่อตั้งสำเร็จ ต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี สหกรณ์ออมทรัพย์ยุคเริ่มแรก มีชื่อว่า “สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานการไฟฟ้านครหลวง จำกัด” ได้รับการจด ทะเบียน เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2522 โดยมีสมาชิกเริ่มแรกจำนวน 937 คน และมีเงินทุนเริ่มแรก 200,000.00 บาท ต่อมาในปี 2525 สหภาพแรงงานได้นำเงินทุนมาฝากไว้ในสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ จำนวน 2,000,000.00 บาท ถือเป็นจุด เริ่มต้นในการรณรงค์ให้สมาชิกสหกรณ์นำเงินมาฝากไว้กับสหกรณ์นอกจากการถือหุ้น “มีเงินก็มาฝาก..ลำบากก็มาถอน..เดือดร้อนก็มากู้” 3. ยุคก่อร่างสร้างกิจการ สหกรณ์ออมทรัพย์ถือเป็นสถาบันการเงินในรูปแบบ“สหกรณ์”ที่ดำเนินธุรกิจโดยยึดถืออุดมการณ์ หลักการและวิธีการ สหกรณ์ อันเป็นวิถีทางที่แตกต่างจากสถาบันการเงินแบบธนาคารพาณิชย์ นับแต่ก่อตั้ง ยุคแรกถือเป็นยุคแห่งการก่อร่างสร้างตัว ให้เจริญก้าวหน้าและเติบโต ซึ่งอยู่ในช่วงสองทศวรรษแรกหรือ ยี่สิบปีแรก(พ.ศ.2522-2542) โดยแบ่งเป็นสองช่วง ดังนี้ 35


บทความ เรื่อง “สหกรณ์ออมทรัพย์ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต” เพื่อลงในหนังสือ “ข่าว สอฟ.” เดือน มกราคม 2565 ช่วงแรก..เริ่มก่อร่าง(พ.ศ.2522-2532)สหกรณ์ออมทรัพย์ พยายามรณรงค์ให้สมาชิกออมเงินในรูปของค่าหุ้น โดยการ หักเงินเดือน ณ ที่จ่าย ทุกเดือน ขณะเดียวกัน สมาชิกที่จำเป็นเดือดร้อน สามารถกู้เงินไปใช้จ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่เงินทุนไม่เพียงพอต่อการให้เงินกู้แก่สมาชิก สหกรณ์ออมทรัพย์ฯจึงต้องวางแผนงานโครงการพัฒนาระบบงาน เพื่อ รณรงค์ให้สมาชิกมาฝากเงิน เริ่มแรก สมาชิกยังไม่ค่อยไว้วางใจหรือเชื่อมั่นการบริหารเงินของคณะกรรมการ เงินฝากเข้ามา น้อยมาก แม้จะเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ จึงริเริ่มในการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ ช่วงที่สอง..เริ่มสร้างกิจการ(พ.ศ.2532-2542) เป็นยุคแห่งการสร้างเนื้อสร้างตัวให้เจริญเติบโต โดยการนำเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์มาใช้ในการวางระบบฐานข้อมูล ระบบการออกใบเสร็จ(Billing) และโปรแกรมระบบเงินฝาก โดยเฉพาะระบบเงินฝากในการรับฝากถอนเงิน ใช้เครื่องพิมพ์สมุดคู่ฝาก และประมวลผลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จึงทำ ให้สมาชิกมีความเชื่อใจและเชื่อมั่นมากขึ้น ปริมาณเงินรับฝากเริ่มเจริญเติบโต นี่คือ รากเหง้าในการ..ก่อร่างสร้างตัว..ด้วยความเหนื่อยยากของอดีตผู้นำและสมาชิกในยุคเริ่มแรก 4. ยุคแห่งวิกฤตการบริหาร ยุคนี้ เป็นช่วงสองทศวรรษต่อมา หรือช่วงยี่สิบปีหลัง(พ.ศ.2542-2562) นับจากก่อตั้ง โดยแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงสิบปีแรกของยุคนี้(พ.ศ.2542-2552) สหกรณ์ออมทรัพย์เริ่มส่อให้เห็นเป็นวิกฤต อันมีรากฐานแห่งปัญหามาจาก ผู้นำบางคนที่เข้ามาบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์แล้ว มีพฤติกรรมกระทำทุจริตจากเงินกู้พิเศษ โดยนำ“ที่ดินเปล่า” มาประเมิน ราคาเป็น “ที่ดินพร้อมบ้าน” จนต้องถูกศาลพิพากษาให้จำคุก ซึ่งกล่าวขานกันว่า “โครงการบ้านหาย” การบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์เริ่มยุ่งยาก เมื่อมีการนำเอาเงินกู้มาหาเสียง ผลิตนโยบายปล่อยเงินกู้แบบสุดสุด ผู้นำบาง คนพูดอย่างคะนองว่า“เงินไม่ใช่ของเรา..ปล่อยกู้ให้หมด” หรือ“สมาชิกจะผ่อนได้หรือไม่ ให้ไปตายดาบหน้า”การหาเสียง ด้วยนโยบายนำผลประโยชน์มาหลอกล่อ เพื่อให้ได้เข้ามาบริหาร..แล้วกระทำการ“ฉ้อฉลกลโกง” ช่วงสิบปีหลังของยุคนี้(พ.ศ.2552-2562) อาการวิกฤตเสียหายเริ่มก่อตัว สมาชิกเริ่มผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจากปล่อย กู้เกินความสามารถชำระหนี้ ประกอบกับผู้นำบางคนในบางช่วง กำหนดโครงการเงินกู้เพื่อตัวเอง และกลุ่มพรรคพวก รวมทั้ง พยายามกดดัน กฟน. ให้สมาชิกต้องมีเงินได้คงเหลือไม่น้อยกว่า 30% เรียกร้องให้ กฟน.เรียกเก็บค่าน้ำค่าไฟ(ทั้งที่ไม่ได้เก็บมา กว่า 40 ปี)กับสหกรณ์และเรียกร้อง กฟน.ไม่ให้หักเงินชำระหนี้ที่ค้างชำระหนี้มาหลายปีของสมาชิกที่ถูกปลดออก ทำให้เงินเดือนสมาชิกติดลบเพิ่มขึ้นนับหลายร้อยคน เกิดหนี้ที่ไม่ก่อรายได้(NPL)เป็นจำนวนมากสร้างความเสียหายแก่ สหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์อย่างมาก..บอกได้ว่า สหกรณ์ฯเกิดวิกฤตที่ค่อนข้างรุนแรง ถือเป็นปัจจัยเสี่ยง ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่สหกรณ์ออมทรัพย์ต้องเผชิญ ส่งผลให้ต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หรือสำรอง หนี้สูญ เป็นค่าใช้จ่ายมหาศาล บางปีต้องสำรองหนี้เกือบ 100.00 ล้านบาท ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่ม กำไรหดหาย ส่งผลให้อัตราเงิน ปันผลลดลง ซึ่งเคยลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เหลือเพียงแค่ 4.30% ถือเป็นยุควิกฤต ที่เกิดจากคนบางคน ที่มีความคิดที่ว่า “ข้าฯไม่ได้บริหาร ก็ทำลายมันเสียเลย” การบริหารการเงินนั้น ไม่ควรมีการเมืองหรือสร้างม๊อบมากดดัน เพื่อสนองความต้องการหรือประโยชน์ส่วนตัวของใคร หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เรื่องการบริหารเงิน ไม่จำเป็นต้องเลือกกรรมการหลายๆฝ่ายเข้ามาคานอำนาจกัน ซึ่งเป็นแนวทาง ที่ก่อให้เกิดปัญหาและขัดแย้ง และการนำข้อมูลไปก่อม๊อบทำลายโจมตีกัน โดยกิจการสหกรณ์นั้น มีหน่วยงานกำกับและตรวจสอบทางการเงินโดยภาครัฐ มีระบบคานอำนาจหรือควบคุมซึ่งกัน และกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งสมาชิกผู้ถือหุ้น ผู้ฝากเงิน และผู้กู้เงิน รวมทั้งมีระบบตรวจสอบเป็นขั้นตอน ซึ่งเป็นการตรวจสอบและควบคุมกันเอง..โดยระบบที่ดีอยู่แล้ว สมาชิกทุกคนต้องพร้อมที่จะยืนหยัดเพื่อความมั่นคง มิยอมให้ใครมาก่อความเสียหายเหมือนที่ผ่านมาอีก 5. การเปลี่ยนแปลง..เพื่อก้าวสู่“ยุคใหม่..ทันสมัย..ก้าวหน้า” จากสี่ทศวรรษที่ผ่านมา สหกรณ์ออมทรัพย์ได้ผ่านทุกข์ผ่านสุข และผ่านร้อนผ่านหนาวมากว่า 40 ปี สุดท้ายแล้ว เรา ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวไปข้างหน้า เราไม่สามารถพึ่งบุญเก่าแบบเดิมได้อีกต่อไป ทศวรรษที่ 5 ต่อไป หรือ ปี 2562-2572 สหกรณ์ออมทรัพย์จะต้องก้าวไปสู่ “ยุคใหม่..ทันสมัย..ก้าวหน้า” 5.1 ยุคใหม่สหกรณ์ออมทรัพย์จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เมื่อมีปัญหาวิกฤตเกิดขึ้นจากปัจจัยทั้งภายในภายนอก จึงต้อง 36


บทความ เรื่อง “สหกรณ์ออมทรัพย์ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต” เพื่อลงในหนังสือ “ข่าว สอฟ.” เดือน มกราคม 2565 ก้าวสู่ “ยุคใหม่” จากเดิมเคยพึ่งการบริหารเงินด้วยการรับฝากและการให้เงินกู้ หากแต่ปัจจุบันการให้เงินกู้แก่สมาชิกน้อยลง เนื่องจากกฎเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งระเบียบของ กฟน.และกฎกระทรวง รวมทั้งการใช้นโยบายและแนวคิดเชิงหลักการและอุดมการณ์สหกรณ์มาใช้ในการดำเนินงานสหกรณ์ เพื่อสร้างคุณภาพ ชีวิตของสมาชิกทั้งปัจจุบันและอนาคต ด้วยหลักคิดที่ว่า การลงทุนในสินทรัพย์..ที่ไม่สร้างรายได้ ก็คือ การเพิ่มต้นทุนให้กับตัวเอง การกู้เงิน..ที่ไม่สร้างรายได้ ก็คือ ภาระหนี้ที่ต้องชำระ...เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จึงมีผลทำให้การให้เงินกู้แก่สมาชิกน้อยลง มีเงินทุนคงเหลือมากขึ้น ดังนั้น เมื่อมีเงินทุนคงเหลือจำนวนมาก มีสภาพคล่องสูง เงินทุนทุกบาททุกสตางค์ ล้วนมีภาระต้นทุนทางการเงิน หาก ต้องบริหารสินทรัพย์ด้วยการนำฝากธนาคาร เราจะไม่สามารถหารายได้ที่สร้างความพึงพอใจแก่สมาชิก ที่นำเงินเกษียณอายุ มาออม ด้วยการถือหุ้นและฝากเงินไว้กับสหกรณ์ โดยเฉพาะในกิจการรัฐวิสาหกิจ เราไม่มีเงินบำนาญหลังเกษียณอายุ มีแต่เงินบำเหน็จก้อนสุดท้ายหลังเกษียณอายุ หาก ไม่สามารถหารายได้จากเงินบำเหน็จ ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ สุดท้ายต้องใช้เงินต้นดำรงชีพ เงินก็จะร่อยหลอไปเรื่อย ๆ ชะตากรรมจึงขึ้นอยู่กับว่า “ตายก่อนเงินหมด หรือ เงินหมดก่อนตาย” ยุคใหม่ของสหกรณ์ออมทรัพย์ จึงต้องหาแนวทางทำรายได้ด้วยการลงทุน เพื่อเป็นรายได้และกำไรที่สามารถสนองตอบ ต่อความต้องการของสมาชิก ให้สามารถมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ หลังเกษียณอายุซึ่งไม่มีรายได้รายเดือนแล้ว สหกรณ์ออมทรัพย์ยุคใหม่ ต้องสรรค์สร้างคุณภาพชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคต ด้วยการรณรงค์ให้ยึดถือคติที่ว่า ต้องไม่ใช้ชีวิตแบบ..“เสพสุขวัยหนุ่ม..เป็นขอทานวัยเกษียณ” หลังเกษียณอายุต้องมีเงินอย่างน้อย 3 ล้านบาท 5.2 ยุคทันสมัย โลกกำลังก้าวไปด้วยเทคโนโลยี สหกรณ์ออมทรัพย์ก็ต้องก้าวไปข้างหน้าด้วย “เทคโนโลยีที่ทันสมัย” เช่นกัน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่สมาชิกที่ใช้บริการ รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสหกรณ์ สามารถเข้าถึงข้อมูลการเงินส่วนตัวและ กระทำธุรกรรมแบบออนไลน์ได้มากขึ้นด้วย Application ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้ง สามารถตรวจสอบรายการธุรกรรมเพื่อ ป้องกันการทุจริต โดยใช้เทคโนโลยีกระทำการตรวจสอบกระทบยอดรายการธุรกรรม หรือ Check and Balance ซึ่งเป็นวิธีที่ สามารถตรวจสอบซึ่งกันและกันผ่าน “เทคโนโลยีที่ทันสมัย”ได้เป็นอย่างดี โดยขณะนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ได้พัฒนาโปรแกรม WEB Application และ WEB Member เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่ง สมาชิกสามารถเข้าดูข้อมูลและตรวจสอบรายการธุรกรรมของตนเองผ่าน Web : MEACOOP ได้แบบ Real Time นอกจากนั้นยังได้จัดทำ Mobile Applicationเชื่อมต่อกับธนาคารกรุงศรีอยุธยาเสร็จเรียบร้อยแล้วสมาชิกสามารถ ทำรายการธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ ทั้งรายการนำฝากเงินและการถอนเงิน ส่วน Mobile Application ที่เชื่อมต่อกับธนาคารกรุงไทย จะแล้วเสร็จภายในมีนาคม 2566 ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบดังนี้ Follow me สำหรับการเข้าดูข้อมูลสมาชิกเป็นส่วนตัว จะเสร็จเรียบร้อยภายในเดือนธันวาคม 2565 Pro-money สำหรับการกระทำธุรกรรมฝากเงิน..ถอนเงิน..โอนเงิน จะเสร็จเรียบร้อยภายในเดือนมีนาคม 2566 เมื่อสมาชิกสามารถกระทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือโดยการเชื่อมต่อMobile Applicationกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารกรุงไทยแล้ว ประมาณเดือนมิถุนายน2566สหกรณ์ออมทรัพย์จำเป็นต้องยกเลิกรถบริการเคลื่อนที่หรือรถโมบาย เนื่องจากเป็นวิธีการที่โบราณ มีภาระต้นทุนสูง และมีปัญหาด้านบุคลากร ไม่มีใครอยากถือเงินออกไปตามเขตต่างๆ 5.3 ยุคก้าวหน้า อนาคตต่อไป สหกรณ์ออมทรัพย์จะต้องมุ่งมั่นก้าวเดินไปข้างหน้า ด้วยการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคใหม่ของ การลงทุนและการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ให้บริการสมาชิกด้วยความสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สหกรณ์ออม ทรัพย์มีความเจริญเติบโตและก้าวหน้า อยู่บนพื้นฐานของระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ การบริหารความเสี่ยง ที่ดีและมีธรรมาภิบาลที่เข้มแข็ง สหกรณ์ออมทรัพย์ต้องก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นคงและยั่งยืน ด้วยวิถีแห่งความก้าวหน้า สมาชิกก้าวหน้า กรรมการก้าวหน้า และองค์กรก้าวหน้า เพื่อนำสหกรณ์ออมทรัพย์สู่อนาคต ด้วยแนวทางบริหารยุคใหม่และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีศักยภาพการบริหาร ที่เพียบพร้อมด้วยประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อกินดีอยู่ดี(Well Being) ความเป็นธรรมทางสังคม(Social Justice) และ สงบสันติสุข(Peace and Happiness) ร่วมก้าวไปด้วยกัน..เพื่อชีวิตที่ดีกว่า 37


บทความ เรื่อง “สหกรณ์ออมทรัพย์ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต” เพื่อลงในหนังสือ “ข่าว สอฟ.” เดือน มกราคม 2565 6. ก้าวฝ่าข้ามวิกฤตสู่อนาคต นับจากปี 2562 เป็นต้นมา นับจากจุดเริ่มต้นของการก้าวเดินสู่ทศวรรษที่ 5 ของสหกรณ์ ไม่มีใครทำลายเราได้ แม้จะมี แนวคิดของคนบางคนที่พูดว่า “เมื่อไม่ได้บริหาร ก็ทำลายมันเลย” เพราะจะเข้าข่ายว่า “ถ้าสหกรณ์เจ๊งล้ม ก็ไม่ต้องใช้หนี้” แม้จะประสบวิกฤต สหกรณ์ออมทรัพย์ฯยังคงพยายามก้าวฝ่าข้ามวิกฤตไปให้ได้ ด้วยจิตวิญญาณสหกรณ์ที่มุ่งมั่น เรายังคงบริหารการเงินเพื่อสิทธิผลประโยชน์ของสมาชิกอย่างเข้มแข็ง สามารถจ่ายเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนได้อย่าง สม่ำเสมอ และเพิ่มขึ้นตลอด 5 ปีที่ผ่านมา นับจากจุดเริ่มต้นเข้าสู่ทศวรรษที่ 5 (พ.ศ.2562-2572) ดังนี้ ปี กำไรสุทธิ เงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน ปี 2565 อัตราดอกเบี้ย 2560 446.16 4.30% 4.90% ดอกเบี้ยเงินกู้ 5.00% 2561 532.98 5.00% 7.00% หัก เงินเฉลี่ยคืน15% 0.75% 2562 564.93 5.10% 7.15% ดอกเบี้ยเงินกู้สุทธิ 4.25% 2563 744.33 5.50% 12.00% เงินปันผล 5.75% 2564 771.29 5.75% 15.00% ดอกเบี้ยเงินฝาก 3.50% พิจารณาผลประกอบการช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กำไรสุทธิ เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนเพิ่มขึ้นตลอด ยิ่งข้อมูลโครงสร้างอัตรา ดอกเบี้ยปีล่าสุด จากดอกเบี้ยเงินกู้หักเงินเฉลี่ยคืนแล้ว อัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงเหลือสุทธิเพียง 4.25% ซึ่งน้อยกว่าอัตราเงินปัน ผลถึง 1.50% และมีส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพียงแค่ 0.75% เท่านั้น สมาชิกได้รับผลประโยชน์เต็มที่ ทั้งผู้กู้เงิน ผู้ฝากเงิน และผู้ถือหุ้น สหกรณ์ฯมุ่งมั่นเดินไปข้างหน้าต่อไปอย่างเข้มแข็งและมั่นคงเพื่อสมาชิก ไม่หวั่นไหวต่อปัญหาหรือภัยคุกคามใดๆ แม้จะมีคนบางคนพยายามรังแกและจ้องทำลายองค์กรของพวกเราก็ตาม ใครก่อกรรมใด..ย่อมได้รับกรรมที่ก่อ 7. บทสรุปสำหรับอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เมืองมีที่มา..สังคมมีเรื่องราว..ประเทศมีประวัติศาสตร์ องค์กรย่อมมีรากเหง้า ทุกๆชุมชน ทุกๆสังคม และทุกๆที่ ย่อมมีอดีตและเรื่องราว ที่ดำเนินไปตามวิถีของแต่ละท้องถิ่นและมีความเป็นไปตาม พัฒนาการของแต่ละท้องที่องค์กรทุกองค์กร ต้องมีอดีตมีเรื่องราวความเป็นมา สหกรณ์ออมทรัพย์ของเรา ก็มีอดีตและมีเรื่องราวเช่นกัน...รากเหง้าจากอดีตถึงปัจจุบัน ผู้นำในอดีตแต่ละยุคแต่ละสมัย พยายามก่อร่างสร้างตัวเพื่อความเจริญก้าวหน้าขององค์กรตามเงื่อนไขและเหตุการณ์แต่ละช่วงมาตลอดหลายทศวรรษ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ถ้าไม่มีก้าวที่หนึ่ง ก็ย่อมไม่มีก้าวที่สอง..สาม..สี่..และห้า ผู้นำบางคนพยายามสร้างกระแสต่อต้านคนเกษียณอายุ ทั้งๆที่สมาชิกทุกคนต้องเกษียณอายุถือเป็นความคับแคบและ พยายามไม่เข้าใจความทุ่มเทเสียสละสร้างองค์กร ด้วยความเหนื่อยยากของผู้นำในอดีตที่ผ่านมา กว่าจะมาเป็นวันนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ต้องผ่านอุปสรรค..ผ่านวิกฤตมาอย่างยากลำบาก จากความไว้วางใจที่มีอยู่น้อย นิด ไม่มีใครอยากนำเงินมาฝาก จนกระทั่งวันนี้ เรามีทุนดำเนินงาน(สินทรัพย์)เกือบ 40,000.00 ล้านบาท สมาชิกที่เกษียณอายุของทุกปีจะนำเงินบำเหน็จมาฝากไว้กับสหกรณ์ฯ ทำให้มีเงินทุนที่สามารถนำมาช่วยเหลือสมาชิก โดยเฉพาะสมาชิกรุ่นใหม่ๆ ที่เงินเดือนยังน้อย..ได้กู้เงินไปบรรเทาความจำเป็นเดือดร้อน ทุกองค์กร ต้องมีรากเหง้า..และมีที่มา มิใช่อยู่ๆจะเป็นวันนี้ได้ เราจึงต้องเคารพซึ่งกันและกันระหว่างรุ่นต่อรุ่น เพื่อส่ง ต่อรุ่นต่อรุ่น ในการสานต่อเจตนารมณ์ให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองที่มีความเข้มแข็งมั่นคง ไม่ว่าคนรุ่นเก่า คนรุ่นกลาง หรือคนรุ่นใหม่ ล้วนมีบทบาทและส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองขององค์กร จากรุ่นต่อรุ่น ด้วย จิตวิญญาณ..เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน..ที่ยึดมั่นต่อ..วิถีแห่งสหกรณ์(Way of Cooperative) คือ มีเงินก็มาฝาก..ลำบากก็มาถอน..เดือดร้อนก็มากู้ One for All คนแต่ละคน...เพื่อรวมเป็นหนึ่ง All for One คนทุกคนร่วมกัน...เพื่อช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน ============================================== ============================== 38


เรื่อง เงินกู้กับคุณภาพชีวิตหลังเกษียณอายุ 1. การให้เงินกู้แก่สมาชิกกับหลักการและอุดมการณ์สหกรณ์ เป้าหมายอุดมการณ์สหกรณ์คือ การกินดีอยู่ดี(Well-being) ความเป็นธรรมทางสังคม(Social Justice) และความสงบ สันติสุข(Peace and Happiness) โดยสหกรณ์เป็นองค์กรแห่งการส่งเสริมให้สมาชิกช่วยเหลือตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและ กัน เพื่อให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีหลักประกันในชีวิตจนกระทั่งวันตาย สหกรณ์จึงมีหลักการและแนวทางที่สำคัญ คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเล็กคนน้อยที่มีเงินได้รายเดือนและมิได้มีเงิน ทองร่ำรวย ให้มีความมั่นคงและความมั่งคั่งในชีวิต การสร้างสมาชิกให้มีคุณภาพชีวิต จึงต้องให้สมาชิกสามารถพึ่งตนเองได้ เมื่อ พึ่งตนเองได้ จะเกิดความเข้มแข็งในการดำรงชีพ และสามารถช่วยเหลือสมาชิกอื่นๆที่ยังไม่เข้มแข็งได้โดยยึดถือหลักดังนี้ One for All แต่ละคนรวมกลุ่มกันหรือร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อทุกสิ่ง(หนึ่งเดียวสู่ทั้งปวง) เพื่อความเข้มแข็งของทุกๆคน All for One คนทุกคนที่รวมกลุ่มกัน เพื่อคนแต่ละคน(ทั้งปวงสู่หนึ่งเดียว) ร่วมกันเพื่อช่วยเหลือคนที่จำเป็นเดือดร้อน “มีเงินก็มาฝาก ลำบากก็มาถอน เดือดร้อนก็มากู้” คนมีเงินเหลือก็นำมาออมไว้ในสหกรณ์ แล้วนำมาให้สมาชิกที่จำเป็นกู้ เพื่อการบำบัดทุกข์..คนที่จำเป็นเดือดร้อน และ เพื่อการบำรุงสุข..คนที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2. การก่อหนี้กับคุณภาพชีวิต เงินกู้ ก็คือ หนี้สิน...ซึ่งเป็นภาระผูกพันไปจนกว่าหนี้จะหมดสิ้นไป(เหมือนพันธนาการของชีวิต) ดังนั้น หนี้สินจึงสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ทุกครั้งที่ยื่นกู้ หรือก่อหนี้ ต้องคิดอยู่เสมอว่า เราจะอยู่อย่างไร หลังหักชำระหนี้ราย เดือน เพราะการก่อหนี้ คือ การสร้างภาระค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน ซึ่งต้องคำนึงถึงการบริหารรายได้และค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน ภาระที่ต้องชำระงวดหนี้มิใช่เพียงเงินต้นที่กู้ไป หากยังมีดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายด้วย หนี้สินจะเป็นภาระผูกพันต่อไปในอนาคตอีกหลายปีแล้วแต่ประเภทของเงินกู้ เพราะเป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ก่อน ซึ่งเงินนั้น มาจากเงินของเพื่อนสมาชิกอื่น ที่มีเงินเหลือและนำมาฝากหรือถือหุ้นไว้ และสหกรณ์จะนำเงินทุนนั้นมาให้กู้แก่สมาชิกที่ จำเป็นเดือดร้อน ตามแนวทาง “การช่วยตนเองและการช่วยซึ่งกันและกัน”(Self-Help and Mutual Help Organization) เมื่อสหกรณ์ได้ช่วยเหลือบำบัดทุกข์แก่สมาชิกที่จำเป็นเดือดร้อนไปแล้ว หากต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ก็สามารถ มากู้เพื่อบ้านที่อยู่อาศัย หรือปรับปรุงต่อเติมที่อยู่อาศัย หรือซื้อรถซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อให้ชีวิตและครอบครัวมี ความสุขและสะดวกสบายตามควรแก่อัตภาพ เมื่อสร้างหนี้แล้ว คุณภาพชีวิตจะด้อยลงหรือดีขึ้น ก็อยู่ที่สมาชิกต้องพิจารณาว่า เมื่อถูกหักเงินเดือนชำระหนี้แล้ว จะดำรง ชีพอยู่อย่างไร ทั้งค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าน้ำค่าไฟ และค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ จงตระหนักไว้เสมอว่า วันใดที่ใช้จ่ายเงินสูงกว่ารายได้..ชีวิตจะขาลง แต่หากรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย..ชีวิตจะขาขึ้น 3. ชีวิตที่ใฝ่ฝัน คนเราเกิดมา ชีวิตที่ใฝ่ฝัน คือ ชีวิตที่ดีงาม มีคุณภาพ มีหลักประกันที่มั่นคง ชีวิตที่ใฝ่ฝัน อยู่ที่ว่า ต้องการดำเนินชีวิตอย่างไร รักในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่รัก รักในสิ่งที่ทำ หมายความอย่างไร ถือเป็นชีวิตที่ใฝ่ฝันใช่หรือไม่ ตอบว่า ไม่ใช่สิ่งที่ใฝ่ฝันแน่นอน เนื่องจากถือเป็นการบีบ บังคับใจตนเองให้รักในสิ่งที่ทำหรือจำเป็นต้องรักในสิ่งที่ทำ เพราะถ้าไม่ทำ ก็จะไม่มีเงินใช้หนี้(ทาสของเงิน) และอาจอยู่ไม่ได้มันจึง เป็นเพียงคำพูดที่ปลอบใจมากกว่า เพื่อให้มีความสุขในสิ่งที่ทำ จึงให้พยายามทำใจให้รักในสิ่งที่ทำ แล้วอนาคตจะดีเอง ทำในสิ่งที่รัก หมายความอย่างไร ถือเป็นชีวิตที่ใฝ่ฝันใช่หรือไม่ ตอบว่า น่าจะใช่สิ่งที่ใฝ่ฝัน เนื่องจากถือเป็นการดำเนิน ชีวิตในสิ่งที่เรารักหรือสิ่งที่เราชอบ คงไม่มีใครไม่ชอบทำในสิ่งที่ตนเองรักหรือสิ่งที่ตนเองชอบ ทุกชีวิตที่เกิดมา ย่อมมีความใฝ่ฝัน ตามสัจจะแห่งชีวิตที่ว่า มนุษย์เกิดมาย่อมมีเจตน์จำนงอันอิสระ(Free Will) แต่ความเป็นจริง เราไม่สามารถทำตามความใฝ่ฝันได้ เพราะสภาพแวดล้อม และสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เช่น เราจำเป็นต้องเรียนในสาขาที่ทำให้มีงานทำมากกว่าเรียนในสาขาที่ชอบ แต่ต้องตกงานและดำรงชีพอยู่แบบยากลำบาก ในมุมมองทางการเงิน การดำเนินชีวิตอาจจำเป็นต้องกู้หนี้ เพื่อความจำเป็นเดือดร้อนหรือเพื่อสร้างคุณภาพชีวิต เราอาจ จำเป็นต้อง “รักในสิ่งที่ทำ”หรือ“รักในงานที่ทำ” มุ่งทำงานหนักเพื่อชีวิตที่ดีในอนาคต ซึ่งทำให้เราต้องเป็น “ทาสของเงิน” ถือ เป็นกระบวนการดำเนินชีวิต แต่เราจะเป็น“ทาสของเงิน”ตลอดชีวิตไม่ได้ เท่ากับเราต้องทุกข์ทรมานตลอดชีวิต 39


จุดเริ่มต้นของการดำเนินชีวิต เราอาจต้อง“รักในสิ่งที่ทำ” และวางแผนชีวิตเพื่อบรรลุถึงซึ่ง“วิถีชีวิตที่ดีงาม” นั่นคือ เราสามารถ “ทำ..ในสิ่งที่รัก” เพื่อบรรลุถึงชีวิตที่เราใฝ่ฝัน การที่จะนำไปสู่ความใฝ่ฝันดังกล่าวได้ เราต้อง“ให้เงินทำงานหารายได้” หรือ ทำให้“เงินเป็นทาสของเรา” เพื่อนำชีวิตไปสู่ “อิสรภาพทางการเงิน(Financial Independence)” 4. อิสรภาพทางการเงิน(Financial Independence) การบรรลุความเป็นอิสรภาพทางการเงิน ต้องเริ่มจากการบริหารการเงินส่วนบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ หากรายรับหักรายจ่ายแล้วติดลบ เท่ากับชีวิตเริ่มขาดทุนเป็นขาลง กลายเป็นวิถีคนจน เพราะรายรับที่ติดลบ ต้องกู้หนี้ ยืมสินมาดำรงชีวิต ภาระหนี้ ก็คือ ภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น กลายเป็นภาระในการดำเนินชีวิตและอาจต้องเป็นทาสของเงิน คือ ทำงานหาเงินใช้หนี้ตลอดชีวิต หากไม่เปลี่ยนแปลงชีวิตตนเอง แม้ตายไปหนี้ก็ยังไม่หมด วิถีคนจน คือ รายรับ - รายจ่าย = ขาดทุน ต้องก่อหนี้มาดำรงชีวิต วิถีคนจนตลอดกาล คือ รายรับ – รายจ่าย - งวดหนี้= ยิ่งขาดทุน ต้องเป็นหนี้ตลอดชีวิต หากรายรับสูงกว่ารายจ่าย ชีวิตจะเริ่มกำไรเป็นขาขึ้น กลายเป็นวิถีคนชั้นกลางแต่หากนำกำไรไปซื้อรถยนต์ซื้อบ้านหลัง ใหญ่เกินตัว เท่ากับเพิ่มรายจ่าย ทำให้กำไรหดหาย เพราะภาระหนี้ คือ ต้นทุนค่าใช้จ่าย จากคนชั้นกลางก็อาจกลายเป็นคนจนได้ คนชั้นกลาง คือ รายรับ - รายจ่าย = กำไร โดยนำกำไรไปซื้อรถซื้อบ้านหลังใหญ่ที่เกินตัว คนชั้นกลางจะกลายเป็นวิถีคนจน รายรับ – รายจ่าย - งวดหนี้ (เท่ากับ เพิ่มหนี้ เพิ่มรายจ่าย) = กำไรหดหาย หากนำกำไร(รายรับสูงกว่ารายจ่าย) ไปลงทุนเสริมสร้างรายได้เพิ่ม จากชนชั้นกลางอาจพัฒนาขึ้นเป็นคนรวย วิถีคนรวย คือ รายรับ – รายจ่าย - งวดหนี้ + รายได้เพิ่มจากเงินลงทุน = กำไรเพิ่มขึ้น จากคนชั้นกลางสู่วิถีคนรวย เป้าหมายของชีวิตแบบวิถีคนรวย คือ อิสรภาพทางการเงิน โดยให้เงินเป็นทาสของเรา เพื่อให้เงินทำงานสร้างรายได้ ดังนั้นในการก่อหนี้นั้น สมาชิกคงต้องพิจารณาว่า เราต้องการก่อหนี้อย่างไร เพราะหนี้มีทั้ง “เป็นโทษและเป็นคุณ” 4.1 หนี้ที่เป็นโทษ คือ หนี้ที่สร้างภาระ(ค่าใช้จ่าย) ซึ่งเป็นหนี้ที่นอกจากไม่ก่อรายได้แล้ว ยังสร้างภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งกรณีนี้ อาจเป็นหนี้ที่จำเป็นหรือไม่จำเป็นก็ได้ และ อาจเป็นหนี้ที่สร้างสุขหรือเสพสุขก็ได้ (1) หนี้ที่จำเป็น เช่น การศึกษาของบุตร หรืออาจเป็นปัญหาวิกฤตในชีวิต การรักษาพยาบาล หรืออุบัติเหตุ หรืออื่นๆ (2) หนี้ที่ไม่จำเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายการบริโภคที่เกินความจำเป็น หรือการใช้จ่ายเกินตัว หรือฟุ่มเฟือย (3) หนี้ที่สร้างสุข เช่น การเคหะที่อยู่อาศัย การซื้อยานพาหนะ การซื้อทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ไม่สร้างรายได้ (4) หนี้ที่เสพสุข เช่น การกินดื่มเที่ยว อบายมุข สุรานารีพาชีกีฬาบัตร ที่มักก่อปัญหาหนี้สินที่ล้นพ้นตัว 4.2 หนี้ที่เป็นคุณ คือ หนี้ที่สร้างรายได้ การก่อหนี้ประเภทนี้ อาจเป็นหนี้ที่เพิ่มรายได้หรือหนี้ที่ลดรายจ่ายก็ได้ (1) หนี้ที่เพิ่มรายได้เช่น กู้เงินไปประกอบอาชีพ นำที่ดินเปล่ามากู้เพื่อหารายได้(หอพัก) ซื้อยานพาหนะหารายได้และอื่นๆ (2) หนี้ที่ลดรายจ่าย เช่น การกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำไปชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง(Refinance) ระหว่างการดำเนินชีวิตแบบ “เราเป็นทาสของเงิน” กับ “เงินเป็นทาสของเรา” เราต้องการวิถีชีวิตแบบไหน ก็อยู่ที่วิธีคิด และวิธีการใช้ชีวิตของเรา ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่า เราตระหนักในอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์หรือไม่ โดยเฉพาะ การบรรลุซึ่งวิถีชีวิตแบบสหกรณ์ : Cooperative Way of Life 5. เงินกู้ต้องไม่สร้างความเสียหายแก่สหกรณ์ เพื่อให้“สหกรณ์มั่นคง สมาชิกมั่งคั่ง เงินปันผลยั่งยืน” เราต้องตระหนักร่วมกัน เพื่อมิให้การให้เงินกู้แก่สมาชิกเกิดการ สูญเสียหรือความเสียหายแก่สหกรณ์จากการสำรองหนี้สูญ เหมือนที่ผ่านมานับสิบปี มีผลกระทบให้เงินปันผลของสมาชิกหดหาย สหกรณ์จำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์การกู้ที่ดีและเหมาะสม คำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้(Default) สุดท้ายแล้ว หากจำเป็นต้องมีความเสี่ยงจากการช่วยเหลือสมาชิกที่จำเป็นเดือดร้อน ก็ต้องเป็นความเสี่ยงที่พอยอมรับได้ ทั้งนี้ สหกรณ์จะต้องพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ 3 ประการ คือ 5.1 วัตถุประสงค์การกู้ ความเสี่ยงเบื้องต้นที่สำคัญ คือ การนำเงินกู้ไปทำอะไร มีวัตถุประสงค์อย่างไร หากไม่ต้องกู้เงิน มีความจำเป็นและเดือดร้อน มากน้อยเพียงใด.. และหากจำเป็น ควรกู้ในวงเงินเท่าไร ที่ทำให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้..หลังจากหักงวดชำระหนี้ ความเสี่ยงจากการให้เงินกู้จะสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับว่า กู้ไปเสพสุขกินเที่ยวเล่น หรือ กู้ไปเพื่อบรรเทาความจำเป็นเดือดร้อนใน ชีวิตและครอบครัว โดยวิถีแห่งสหกรณ์(Way of Cooperative) จะต้อง“กู้ตามความจำเป็น...มิใช่กู้ตามสิทธิ” สมาชิกผู้กู้ จำเป็นต้องบริหารชีวิตและจัดการวงเงินกู้ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงความเสี่ยงในอนาคต หาก มีสิทธิกู้ในวงเงิน 1,000,000.00 บาท แต่มีความจำเป็นเพียง 300,000.00 บาท ก็ให้กู้ตามความจำเป็นของตนเอง มิใช่กู้ตามสิทธิ เต็มวงเงินที่มี มิเช่นนั้น เมื่อจำเป็นเดือดร้อนขึ้นมา จะไม่มีวงเงินกู้คงเหลือให้กู้สหกรณ์ก็ไม่สามารถให้กู้ได้ เนื่องจากผิดระเบียบ ข้อบังคับ และคณะกรรมการจะมีความผิดที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ อาจถูกลงโทษจากนายทะเบียนสหกรณ์ หรือหาก 40


เกิดความเสียหายทางการเงิน คณะกรรมการก็อาจต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นส่วนตัว 5.2 ความสามารถในการชำระหนี้ ความสามารถชำระหนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ในอนาคต ซึ่งอาจเกิด การผิดนัดชำระหนี้(Default) และเกิดเป็นหนี้เสียหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(Non-Performing Loan-NPL) โดยมีผลกระทบ ก่อให้เกิดความเสียหายจากการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หรือการสำรองหนี้สูญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และ หนี้เสียจะเกิดความยุ่งยากลำบาก..ที่ไม่ง่ายในการบริหารจัดการ ความเสียหายที่เกิดจากการไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือการผิดนัดชำระหนี้ สมาชิกผู้กู้อาจถูกปลดออกจากการเป็นสมาชิก ตามข้อบังคับ สหกรณ์ได้รับผลกระทบทำให้กำไรหดหาย ขาดความมั่นคง และขาดความน่าไว้วางใจ ส่วนสมาชิกทั้งหมด ต้องรับ ผลพวงจากเงินปันผลที่ลดลง ต้องรับภาระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน ทำให้การดำเนินชีวิตทุกข์ยากลำบากขึ้น สหกรณ์จึงต้องบริหารให้เกิดความมั่นใจว่า สมาชิกสามารถชำระหนี้ได้ โดยกำหนดเงินได้รายเดือนต้องคงเหลือไม่น้อย กว่า 30% รายได้ที่นำมาคำนวณวงเงินกู้ จะต้องใช้เงินได้ค่าล่วงเวลาให้น้อยที่สุด เนื่องจากเป็นรายได้ที่ไม่แน่นอน 5.3 หลักประกันเงินกู้ หลักประกันเงินกู้ มี 2 ประเภท คือ (1) หลักประกันที่ใช้บุคคลค้ำประกัน ถือเป็นความเสี่ยงสูงที่สุดซึ่งธนาคารจะไม่ค่อยมีเงินกู้แบบใช้บุคคลค้ำประกัน ขณะที่ สหกรณ์ให้เงินกู้แก่สมาชิกด้วยวงเงินที่ค่อนข้างสูงถึง 1-2 ล้านบาท แต่สหกรณ์มีข้อดีและมีความเสี่ยงที่พอยอมรับได้ ซึ่งสามารถ หักงวดชำระหนี้ ณ ที่จ่ายจากเงินเดือน ตามที่กฎหมายสหกรณ์ มาตรา 42/1 กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดจะต้องหักเงินได้ ณ ที่ จ่าย เพื่อชำระหนี้แก่สหกรณ์ตามหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน โดยให้ชำระหนี้จนกว่าหนี้หรือภาระผูกพันจะระงับสิ้นไป ซึ่ง หนังสือยินยอมดังกล่าวจะถอนคืนไม่ได้ เว้นแต่สหกรณ์ให้ความยินยอม (2) หลักประกันที่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันเงินกู้มี 3 ประเภท ซึ่งมีระดับ ความเสี่ยงตามลำดับ ดังนี้ อสังหาริมทรัพย์ มีความเสี่ยงสูงที่สุด แต่ต่ำกว่าบุคคลค้ำประกัน หลักทรัพย์ที่เป็นตราสารหนี้(พันธบัตรและหุ้นกู้) มีความเสี่ยงต่ำรองลงมาจากอสังหาริมทรัพย์ เงินหุ้นเงินฝากในสหกรณ์ มีความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด เนื่องจากใช้เงินของตนเองค้ำประกัน อดีตที่ผ่านมา สหกรณ์จะถูกกดดันให้ปล่อยกู้วงเงินสูงๆและให้หักเงินเดือนจนหมด แต่สุดท้ายเมื่อไปไม่รอด ก็หาว่าสหกรณ์ โหดร้าย หักเงินเดือนจนหมด..ไม่มีกินไม่มีใช้ แล้วยังไปกดดันฝ่ายบริหารมิให้หักชำระหนี้ จนกลายเป็นหนี้เสียจำนวนมาก นับจากนี้ต่อไป การให้เงินกู้ของสหกรณ์ต้องไม่ก่อความเสียหาย กลายเป็นหนี้เสีย(NPL) เพราะผู้กู้เพียงไม่กี่คน สามารถสร้างความเสียหายแก่สมาชิกจำนวนมากนับหมื่นคน 6. หนี้ต้องหมดภายในเกษียณอายุ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสหกรณ์ เกิดจากการปล่อยกู้ด้วยวงเงินที่สูง เงินได้ไม่พอชำระหนี้ เงินเดือนติดลบ ผิดนัดชำระ หนี้ หลายคนขอพักชำระหนี้ การพักชำระหนี้ ก็คือการผลักภาระไปไว้อนาคตหรือหลังเกษียณอายุสหกรณ์ต้องออกระเบียบการ ปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งมีเกณฑ์ให้ผ่อนชำระเกินเกษียณอายุ นี่คือ ปัญหายุ่งยากที่สร้างความเสียหายในอนาคต การปรับโครงสร้างหนี้สหกรณ์จะพยายามให้สมาชิกนำบ้านที่ดินมาค้ำประกันเพื่อให้สามารถขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ ไปหลังเกษียณอายุ และพยายามปลดไถ่หนี้ที่มีผู้ค้ำประกันออกไป หรือ ให้เหลือหนี้ที่รับภาระน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม เกษียณอายุแล้ว มีหนี้คงค้างเหลืออยู่ ชีวิตจะอยู่ยากลำบาก เพราะมีภาระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย หากไม่ สามารถชำระหนี้ได้ สุดท้ายต้องถูกปลดออกจากสมาชิก ถูกยึดที่ยึดบ้าน ไม่มีทรัพย์สินเหลือไว้ให้ลูกหลานหรือคนที่รัก หลักเกณฑ์การกู้จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยง ที่สมาชิกไม่สามารถชำระหนี้ได้ และมีหนี้คงเหลือหลังเกษียณอายุ ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดความเสียหาย สมาชิกผู้กู้ต้องพยายามตั้งใจและมีเจตนาชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนเกษียณอายุ กฎเหล็ก คือ หนี้ต้องหมดภายในเกษียณอายุ 7. บทสรุปแนวทางการดำเนินชีวิต หลายสิบปีที่ผ่านมา สหกรณ์เกิดวิกฤต จากการให้เงินกู้ที่มีวงเงินมากเกินความสามารถการชำระหนี้ทำให้สมาชิกมี หนี้สินล้นพ้นตัว สร้างหนี้ต่อเนื่อง ทำให้เงินได้ไม่พอดำรงชีพ สหกรณ์จึงต้องวางแนวทางการให้ความรู้ด้าน “การบริหารการเงินส่วนบุคคล(Personal Finance)” โดยให้รู้จักวางแผน การเงิน ด้วยการเรียนรู้ในการบริหารรายได้และค่าใช้จ่ายของตนเอง ซึ่งรายได้จะมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้ Active Income รายได้จากการทำงาน ซึ่งจะบริหาร Active Income อย่างไร ที่จะนำไปสู่การสร้างรายได้ในอนาคต Passive Income รายได้ที่เกิดจากการบริหารทรัพย์สิน คือ การนำทรัพย์สินไปหารายได้..ให้ทรัพย์สินทำเงินให้เรา บิลเกตส์“ชีวิตที่เกิดมายากลำบาก ไม่ใช่ความผิดของคุณ แต่ถ้าคุณตายอย่างยากลำบาก นั่นคือ ความผิดของคุณ” ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 41


จดหมายข่าว สอฟ. ฉบับที่ 4 ประจำเดือน กันยายน-ตุลาคม 2565 ผมขอเรียนชี้แจงถึงแนวทางการบริหารการเงินใน สอฟ. โดยเฉพาะเกี่ยวกับการให้เงินกู้แก่สมาชิกนั้น ต้องมีความมั่นคงทั้ง..องค์กรสหกรณ์และชีวิตของสมาชิกทุกคน ในช่วงหนึ่ง2-3เดือนที่ผ่านมา มีเพื่อนสมาชิกคนหนึ่ง ต้องฆ่าตัวตายโดยใช้ปืนยิงตัวเอง สหกรณ์ฯรู้สึกเสียใจและไม่อยากให้เกิด เหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น สมาชิกรายนี้มีอายุ 63 ปี มีภรรยาและลูกสองคนซึ่งยังเล็กอยู่ จากการตรวจสอบสถานะ ปรากฏว่า เกษียณแล้ว ยัง มีหนี้คงเหลืออยู่ประมาณสี่แสนบาท ในรอบสองปีมานี้ ชำระหนี้บ้างไม่ชำระหนี้บ้าง ซึ่งเป็นการผิดนัดชำระหนี้เกือบ 2 ปี สหกรณ์ฯก็ได้พยายามผ่อนผันมาตลอด เนื่องจากมีหลักทรัพย์บ้านที่ดินมูลค่าประมาณ 2 ล้านบาท เจ้าหน้าที่ฝ่ายติดตามหนี้ก็ พยายามโทรศัพท์ติดต่อหลายครั้งหลายหน แต่ก็ไม่ยอมรับโทรศัพท์และมาพบเจ้าหน้าที่สหกรณ์ที่รับผิดชอบอยู่ โดยข้อบังคับกำหนด ว่า หากผิดนัดชำระหนี้ติดต่อกันสองงวดหรือรวมสามงวดในหนึ่งปี ก็อาจให้พ้นจากสมาชิกภาพ แต่เราก็ผ่อนผันมาตลอดสองปี สุดท้ายเราก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ คือ ให้พ้นจากสมาชิกภาพ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายจากการตั้งสำรองหนี้ กลาย เป็นค่าใช้จ่ายของสหกรณ์ และทำให้เงินปันผลลดลง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสมาชิกส่วนใหญ่ จึงทำให้เพื่อนของเราคนนี้มีอาการเครียด ยิ่งมีอาการป่วยเป็นโรคเก๊าและโรคไตอยู่ด้วย กอปรกับเป็นห่วงครอบครัว และลูกยัง เล็กอยู่ กลัวสหกรณ์จะยึดบ้านที่ดินขายทอดตลาด ทั้งๆที่สามารถมาพูดคุยปรึกษาหาทางออกกับสหกรณ์ฯก่อนได้ แต่กลับคิดสั้น..ยิงตัวตาย เพื่อนำเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ของสหกรณ์ ที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ เป็นเงิน 600,000 บาท มา ชำระหนี้ 400,000 บาทกับสหกรณ์เพื่อให้ปลอดหนี้ เหลือบ้านเหลือที่ดินไว้ให้ครอบครัว เพื่อลูกเมีย ซึ่งมีลูกที่ยังเล็กอยู่ ผมในนามคณะกรรมการดำเนินการสอฟ. ขอแสดงความเสียใจ และจะพยายามแก้ไขไม่ให้มีหนี้ค้างหลังเกษียณอายุ ผมขอถือโอกาสนี้ พูดคุยและเสนอแนะความเห็นต่อพี่น้องสมาชิกทุกๆคน เพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก ก่อนอื่น ผมใคร่เรียนชี้แจงว่า โดยหลักพื้นฐานของสหกรณ์นั้น เราบริหารโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการช่วยเหลือสมาชิกอยู่แล้ว เพราะเรา คือ สหกรณ์ ที่มีหลักการและอุดมการณ์สหกรณ์เป็นหลักยึด ตามแนวทางการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Self Help and Mutual Help) ซึ่งหมายความถึง สมาชิกพึงใช้ชีวิตโดยพึ่งตนเองหรือช่วยเหลือตนเองตามหลักการและอุดมการณ์ สหกรณ์เป็นด้านหลัก เพื่อให้เกิดความมั่นคงเข้มแข็งในการดำเนินชีวิตและให้ความช่วยเหลือคนอื่นต่อไปตามแนวทางการช่วยเหลือซึ่ง กันและกัน โดยการบำบัดทุกข์..บำรุงสุข “มีเงินก็มาฝาก ลำบากก็มาถอน เดือดร้อนก็มากู้” ผมอยากเรียนว่า เงินทุกบาททุกสตางค์ เป็นของสมาชิก..ที่นำมาฝาก..นำมาถือหุ้นไว้ในสหกรณ์ด้วยความไว้วางใจ ขอยืนยัน ว่า เงินของสหกรณ์มิใช่เงินของคณะกรรมการ ดังนั้น คณะกรรมการที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามา จึงมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการกำกับ ดูแลเงินของสมาชิกให้ดีที่สุด ไม่ให้เกิดความเสียหาย ยิ่งขณะนี้มีกฎหมายและกฎกระทรวงใหม่ ซึ่งมีบทกำหนดโทษที่รุนแรง หากเกิด ความเสียหายขึ้น จะต้องรับผิดหรือรับผิดชอบทั้งทางแพ่งและอาญา เนื่องจากกระทำการให้เกิดความเสียหายโดยประมาทเลินเล่อ มีเพื่อนของเราบางส่วน กล่าวว่า สหกรณ์ฯไม่ช่วยเหลือสมาชิก และได้มายื่นหนังสือ ขอให้เปิดขยายวงเงินกู้เพิ่มขึ้นและขอขยาย การชำระหนี้ได้ถึงอายุ 70 ปี ทั้งๆที่สหกรณ์ฯมีเงินกู้ประเภทสามัญรวมหนี้ 3 ล้านบาทและผ่อนชำระภายใน 150 งวดหรือ 12.5 ปีอยู่ แล้ว ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายและกฎกระทรวงกำหนดไว้ เราคงกระทำการที่ผิดจากนี้ไม่ได้ มิเช่นนั้น ถือว่ากระทำผิดกฎหมาย คำถามว่า สหกรณ์ฯไม่ช่วยเหลือสมาชิกเลยจริงหรือไม่? คงต้องชี้แจงให้ทราบทั่วกันว่า ทุกวันนี้ มีสมาชิกไม่น้อย ที่มีเงินเดือน 20,000-30,000 บาท แต่มีหนี้กับสหกรณ์ฯถึง 3-4 ล้านบาท ถือว่า เป็นหนี้วงเงินที่สูงมาก เมื่อเทียบกับเงินได้ หาก Walk in เข้าไปกู้ ธนาคารพาณิชย์คงจะไม่ได้กู้ง่ายๆด้วยวงเงินแบบนี้ อีกทั้งธนาคารยังมีเงื่อนไขกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดกว่าสหกรณ์มาก ดังนั้น สหกรณ์จึงขอความร่วมมือจากพี่น้องสมาชิกทุกคน ได้ช่วยกันดูแลตนเอง ให้มีวินัยการเงินที่ดี ไม่พึงใช้เงินกู้เพื่อดำรงชีพ ยิ่งไม่สมควรใช้เงินกู้ เพื่อการสุรุ่ยสุร่ายเกินตัว หรือกินใช้อย่างหรูหราเสพย์สุขอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะการพนัน เพราะเงินของสหกรณ์ นั้น เราให้กู้..เพื่อบำบัดทุกข์แก่สมาชิกที่จำเป็นเดือดร้อน และบำรุงสุขแก่ครอบครัว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งปัจจุบันและอนาคต กฎเหล็ก..ที่สหกรณ์ฯจำเป็นต้องถือปฏิบัติ คือ ต้องชำระหนี้ให้หมดภายในเกษียณอายุและงวดผ่อนชำระหนี้ต้องไม่กระทบต่อ การดำเนินชีวิตปกติ สมาชิกที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้มีเงินเหลือไว้ใช้ไว้กินดำรงชีพ ก็ต้องยุติการก่อหนี้อีกอย่างน้อย 5 ปี จำเป็นต้องหยุดพฤติกรรมที่ใช้จ่ายแบบมือเติบ กลับคืนสู่สามัญ เพื่อให้อยู่รอด..ปลอดจากหนี้สิน..ที่ล้นพ้นเกินตัว ................................................................………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ประธานแถลง...โดย ไพบูลย์ แก้วเพทาย เรื่อง หนี้..ควรต้องหมดภายในเกษียณอายุ 42


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ตั้งแต่เกิดมา..จนถึงวัยทำงาน..มีรายได้ เราได้สร้างโอกาสสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตเพียงใด ทั้งปัจจุบันและอนาคต ซึ่งมิใช่เพียงชีวิตเราเท่านั้น หากแต่..ยังหมายถึงการสร้างโอกาสให้กับครอบครัวของเราที่ยังอยู่อีกด้วย คนเรานั้น เกิดมาในโลกใบนี้ ไม่มีใครรู้ว่า เราเกิดมาจากไหน และ ไม่รู้ว่า ตายแล้วจะไปไหน..เช่นกัน เมื่อเกิดมาแล้ว เราก็ ควรจะทำชีวิตของเราให้ดีที่สุด ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งวันตาย...เรารู้วันที่เราเกิด แต่เรามิอาจรู้วันที่เราตาย โดยพระพุทธศาสนา เราเชื่อกันว่า เราทุกคนล้วนมีกรรม หรือการกระทำที่เราก่อขึ้น จะเป็นผลแห่งกรรมดีหรือ กรรมไม่ดี ก็ตาม เมื่อเกิดมาก็มีกรรมติดตัวมาแล้ว เรียกว่า “กรรมลิขิต” แต่พระพุทธศาสนาก็มิได้สอนให้เรา ใช้ชีวิตที่เป็นอยู่แบบรับกรรมไป ตามยถากรรม แต่สอนให้สามารถสร้างกรรมใหม่ของเราเองได้ คือ“ลิขิตกรรม”ของเราขึ้นมาใหม่ เคยสงสัยบ้างไหมว่า คนเราเกิดมาทำไม? บางคนกล่าวว่า “เกิดมาเพื่อชดใช้กรรม” บางคนกล่าวว่า “เกิดมาเพื่อจะตาย” คนเราเกิดมา..เพื่ออะไรก็ตาม เราไม่สามารถหยั่งรู้ได้ลึกซึ้งมากนัก แต่เมื่อได้เกิดมาแล้ว ผมเชื่อว่า...ทุกคนย่อมต้องการ แสวงหาสิ่งที่ดีงามให้กับชีวิตของตัวเองและสร้างสิ่งดีๆให้กับ..คนที่เรารัก.ราผูกพัน คือ ครอบครัว พ่อแม่ พี่ น้อง เมียและลูกหลาน ผมยังเชื่อมั่นว่า มนุษย์ทุกคนที่เกิดมา คงไม่คิดถึงแต่ตัวเองเท่านั้น หากแต่ยังคิดถึงคนที่เรารัก..เราผูกพันด้วย เพราะมันเป็น ธรรมชาติของสัตว์โลกทั้งหลายที่เกิดมาในโลกใบนี้ ดังนั้น เมื่อเราเกิดมาแล้ว ก็เป็นสิ่งที่เราต้อง “ลิขิตกรรม”ของเราเองขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าอดีตจะมีกรรมเช่นไร ก็เป็นเรื่องของ อดีตที่ผ่านไป ซึ่งเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได้แต่เราสามารถทำหน้าที่หรือกระทำกรรมในปัจจุบันให้ดีที่สุดได้ โดยให้อยู่กับ ปัจจุบัน สร้างชีวิตปัจจุบันให้ดีงามแก่ตนเอง รวมถึงคนที่เรารักและผูกพัน สหกรณ์ออมทรัพย์คือ สถาบันทางการเงินของเรา ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่าย เพราะสหกรณ์มีอุดมการณ์ หลักการ และ วิธีการสหกรณ์ ที่มุ่งส่งเสริมให้เรา “ช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” (Self-help and Mutual Help Organization) เพื่อเป็นแนวทางใน“การบำบัดทุกข์บำรุงสุข”ร่วมกันในหมู่สมาชิก มีเงินก็มาฝาก..ลำบากก็มาถอน..เดือดร้อนก็มากู้ ยามเดือดร้อนในการดำรงชีพภายในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยสี่ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค รวมถึงค่า เล่าเรียนบุตร และอื่นๆ เราก็สามารถช่วยเหลือกันเอง เพื่อบำบัดทุกข์บรรเทาความเดือดร้อนที่..จำเป็น(Needs) ยามที่เราสามารถดำรงชีพด้วยการพึ่งตัวเราเองได้อย่างเข้มแข็งแล้ว มนุษย์ทุกคนก็ยังต้องการชีวิตที่ดีๆมีความสุข ด้วยการ สร้างคุณค่าแห่งชีวิตให้มีคุณภาพแก่ครอบครัวตามอัตภาพ อันเป็นวิถีแห่งความสุขที่มนุษย์..ปรารถนา(Want) นี่คือ สิ่งดีงามที่มนุษย์ทุกคนใฝ่ฝัน..ที่จะบรรลุให้ถึง..ด้วยวิถีชีวิตแห่งสหกรณ์(Cooperative Way of Life) สถาบันสหกรณ์ออมทรัพย์จึงทำให้เราสามารถกู้เงินได้ง่ายกว่าการที่เรา Walk in เข้าไปหาธนาคารพาณิชย์ ในระหว่างที่เรามีเงินได้รายเดือน สหกรณ์ออมทรัพย์ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือแหล่งเงินกู้ได้อย่างง่ายๆ ด้วยเงินทุนของพวกเรากันเอง ที่นำมาฝากมาออมไว้..ทั้งในรูปของทุนเรือนหุ้นและเงินฝาก พวกเราในฐานะพนักงานรัฐวิสาหกิจ มิใช่คนร่ำรวย..ที่เกิดมาในกองเงินกองทอง เราเป็นเพียงคนเล็กคนน้อย ที่ได้รับ เงินเดือนทุกเดือนในการดำรงชีพ หากจะเดินเข้าหาธนาคารพาณิชย์ เพื่อขอกู้ยืมเงินนั้น แสนยากเย็น ดังนั้น สหกรณ์ออมทรัพย์คือ ทางออกที่สร้างสรรค์ชีวิตของเรา ไม่ว่าการส่งลูกเรียนหนังสือ การใช้จ่ายด้านการศึกษา ซื้อรถ ซื้อบ้านที่อยู่อาศัย ตลอดจนสิ่ง อำนวยความสะดวกในชีวิต..เพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดีขณะที่ยังทำงานและมีเงินได้รายเดือน ชีวิตไม่แน่นอน..ความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ระหว่างดำเนินชีวิต ภาวะเกิด แก่ เจ็บ ตาย คือ ความเสี่ยงที่ทุกคน ต้องประสพ แล้วคนเรา มีความต้องการขั้นพื้นฐานอย่างไร เรื่องนี้ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วยอึ๊งภากรณ์อดีตอธิการบดีมหาวิทยา ลัยธรรมศาสตร์เคยเขียนเป็นบทความไว้ในหนังสือ เรื่อง “จากครรภ์มารดา..ถึงเชิงตะกอน” ตายไป..เหลืออะไรไว้บ้าง? โดย..ไพบูลย์ แก้วเพทาย 43


ซึ่งถือเป็นความใฝ่ฝันและความคาดหวังต่อสังคมไทย และ วิถีชีวิตคนไทยในอนาคต ให้บรรลุมาตรฐานชีวิตที่ดี และความ ต้องการระดับพื้นฐานที่มนุษย์พึงได้รับ ด้วยการรังสรรค์“หลักประกันในชีวิต” (Life Insurance) สำหรับคนทุกคน เพื่อนำไปสู่ จุดมุ่งหมายในการรังสรรค์“ความมั่นคงทางสังคม”(Social Security) ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ในบทความดังกล่าว ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ใฝ่ฝันว่า ทุกชีวิต..ควรมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน “ผมจำเป็นต้องมีเวลาว่าง สำหรับเพลิดเพลินกับครอบครัว มีสวนสาธารณะที่เขียวชอุ่ม สามารถมีบทบาทและชมศิลปะ วรรณคดี นาฏศิลป์ ดนตรี วัฒนธรรมต่างๆ เที่ยวงานวัด งานลอยกระทง งานนักขัตฤกษ์ งานกุศล อะไรได้พอสมควร” นอกจากนั้นแล้ว ยังนำเสนอแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาในเชิงสหกรณ์ไว้ด้วยว่า “ผมต้องการอากาศบริสุทธิ์สำหรับหายใจ น้ำบริสุทธิ์สำหรับดื่ม” “เรื่องอะไรที่ผมทำเองไม่ได้ หรือได้แต่ไม่ดี ผมก็จะขอความร่วมมือกับเพื่อนฝูงในรูปสหกรณ์ หรือสโมสร หรือสหภาพ จะได้ช่วยซึ่งกันและกัน” เมื่อวาระสุดท้ายของชีวิตมาถึง ซึ่งไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ “เมื่อตายแล้วยังมีสมบัติเหลืออยู่ เก็บไว้ให้เมียผมพอใช้ในชีวิตของเธอ ถ้าลูกยังเล็กอยู่ก็เก็บไว้เลี้ยงให้โต แต่ลูกที่โตแล้ว ไม่ให้ นอกนั้นรัฐบาลควรเก็บไปหมด(ภาษี) จะได้ใช้เป็นประโยชน์ในการบำรุงชีวิตของคนอื่นๆบ้าง ตายแล้ว เผาผมเถิด อย่าฝัง คนอื่นจะได้มีที่ดินอาศัยและทำกิน และอย่าทำพิธีรีตองในงานศพให้วุ่นวายไป นี่แหละ คือ ความหมายแห่งชีวิต นี่แหละ คือ การพัฒนาที่ควรให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของทุกคน” นั่นคือ ส่วนหนึ่งของบทความเรื่อง “จากครรภ์มารดา..ถึงเชิงตะกอน” ซึ่งพูดถึงหลักการพื้นฐานในการดำรงชีวิต อันเป็น แรงบันดาลใจของ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ที่เขียนไว้นานเกือบ 50 ปีแล้ว(ตั้งแต่ปี 2516) ดังนั้น เมื่อสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นแหล่งที่พึ่งทางการเงิน ในช่วงที่ยังมีงานทำ และมีเงินได้รายเดือน จึงสามารถเป็นแหล่ง เงินทุนในการ“บำบัดทุกข์..บำรุงสุข”เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี แต่โลกใบนี้..ไม่มีอะไรแน่นอน ชีวิตที่เกิดมา..จนกระทั่งตาย..ล้วนต้อง ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้มี“ชีวิตที่ดี”(Well-being) แต่นั่นก็ยังไม่พอ เรายังต้องคิดถึงยามชราภาพ..ยามที่ไม่มีเงินได้รายเดือนแล้ว ชีวิตจะอยู่อย่างไร เมื่อถึงวาระที่ต้อง จากโลกนี้ไป เราทิ้งอะไรไว้ให้คนที่ยังอยู่ ซึ่งเป็นคนที่เรารักและผูกพัน หรือ..เราต้องการ..จากไปโดยไม่มีอะไรเหลืออยู่ ปล่อยให้คนที่เรารัก..และผูกพัน ต้องสิ้นหวัง..ไปตายเอาดาบหน้า สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ที่พวกเรา“คนรัฐวิสาหกิจ”ร่วมกันก่อตั้งขึ้น ก็เพื่อให้มีความมั่นคงในชีวิต ทั้งของเราและคนที่ เรารัก หากเป็นสมาชิกสมาคมฯ เมื่อเสียชีวิตยังมีเงินคงเหลือไว้ให้ประมาณ 400,000-600,000 บาท ซึ่งขึ้นกับยอดจำนวนสมาชิก ปัจจุบัน สมาคมฯมีสมาชิกประมาณ 21,600 คน สมาชิกเสียชีวิต สมาชิกทั้งหมดช่วยกันจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อทำบุญให้ เพื่อนของเราที่เสียชีวิตศพละ 20 บาท จะ ได้รับเงินสงเคราะห์21,600 x 20 = 432,000 บาท และสมาคมฯมีเป้าหมายที่จะรณรงค์ เพิ่มจำนวนสมาชิกให้ได้ 30,000 คน เพื่อให้จ่ายเงินสงเคราะห์ให้ได้ 600,000 บาท (30,000 x 20 =600,000 บาท) สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ คือการรวมกลุ่มกันช่วยเหลือกัน ใครตายก่อน เราก็ช่วยเขาก่อน เมื่อเราตาย คนอื่นๆก็ร่วมกัน ช่วยเรา แม้เรา..อายุยังน้อย แต่ชีวิตนั้นไม่แน่นอน คนอายุน้อย..อาจตายก่อน..คนอายุมาก..ก็มีให้เห็นมากมาย มีเพียงแนวทางนี้เท่านั้น ที่เราสามารถรังสรรค์..ชีวิตให้มีความหมาย..ในขณะยังมีชีวิตอยู่ โปรดจำไว้ว่า ไม่มีใครสร้างคุณค่าแห่งชีวิตให้เกิดขึ้นได้..เราต้องสร้างด้วยตัวของเราเอง หากแต่คุณค่าแห่งชีวิตนี้ จะเกิดขึ้นได้ เราจะทำด้วยตัวคนเดียว ก็คงจะได้ไม่มากนัก ดังนั้น พวกเรา“คนรัฐวิสาหกิจ”จึง ร่วมกันก่อ..ร่วมกันสร้าง“สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์สมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์รัฐวิสาหกิจไทย”แห่งนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นหลักประกันในชีวิต..มอบให้แก่คนที่..เรารัก..และผูกพัน หลังจากที่เราต้องจากโลกนี้ไปแล้ว จงร่วมกันรังสรรค์ความใฝ่ฝัน..สู่...“ความหมายแห่งชีวิต..ที่ดีงาม” จงร่วมกันสร้างอนาคตให้กับลูกหลานของเรา...“ชีวิตเกิดมาแล้ว..ต้องไม่สูญเปล่า” -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 44


เรียนพี่น้องสมาชิกทุกท่าน อัตราเงินปันผลของแต่ละสหกรณ์จะมีความแตกต่างกันไป ดังนั้น เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์อัตราเงินปันผลของ สหกรณ์แต่ละแห่งว่า อัตราเงินปันผลควรเป็นเท่าไร ทำไมถึงจ่ายเงินปันผลอัตรานี้ 1. การจัดสรรเงินปันผลของสหกรณ์ โดยปกติอัตราเงินปันผลที่สหกรณ์จ่าย เป็นผลตอบแทนการถือหุ้นแก่สมาชิกที่ถือหุ้นนั้น จะมีอัตราที่แตกต่างกันไป เหมือนธุรกิจทั่วไป แต่สหกรณ์จะมีกฎกระทรวงกำหนดเพดานอัตราเงินปันผลไว้ ปัจจุบันยังกำหนดไว้ที่อัตราไม่เกิน 10% แต่อนาคตมีแนวโน้มว่า จะมีกฎกระทรวงออกมาใหม่กำหนดให้ไม่เกินอัตรา 8 % เงินปันผลของสหกรณ์จะได้รับการจัดสรรจากกำไรสุทธิของแต่ละปี และสหกรณ์ยังมีการจัดสรรเป็นเงินเฉลี่ยคืนแก่ สมาชิกที่มีส่วนร่วมในธุรกิจของสหกรณ์ด้วย นอกจากนั้นสหกรณ์ยังต้องจัดสรรเป็นทุนสำรองตามกฎหมายไม่น้อยกว่า 10% และจัดสรรอื่นๆเพื่อเป็นสวัสดิการแก่สมาชิก และเป็นสาธารณประโยชน์แก่สังคม แล้วแต่วัฒนธรรมของแต่ละสหกรณ์ ทำไมต้องจัดสรรเพื่อสวัสดิการและสาธารณประโยชน์ เพราะสหกรณ์ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนิติบุคคล ซึ่งอยู่ ในอัตรา 20-30% ของกำไรสุทธิซึ่งธุรกิจทั้งหลายต้องจ่ายเป็นภาษีนิติบุคคล แต่สหกรณ์ได้รับการยกเว้น ข้อมูลผลดำเนินงานของระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศ ปี 2563-2565 ปี/รายการ รายได้รวม-ลบ. สัดส่วน% ค่าใช้จ่ายรวม-ลบ. สัดส่วน% กำไรสุทธิ-ลบ. สัดส่วน% 2563 161,691.47 100% 68,326.87 42.26% 93,364.60 57.74% 2564 157,820.66 100% 65,259.65 41.35% 92,561.01 58.65% 2565 158,098.48 100% 62,746.00 39.69% 95,352.48 60.31% หากปี 2565 สหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศต้องเสียภาษีนิติบุคคล 30% จะต้องจ่ายเป็นเงินถึง 28,605.74 ล้านบาท ที่มา : กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 2. ปัจจัยที่กำหนดอัตราเงินปันผล ตามที่ได้ชี้แจงแล้วว่า สหกรณ์ออมทรัพย์แต่ละแห่งจะจ่ายเงินปันผลที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยที่ทำให้การ จ่ายเงินปันผลแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นกับสถานะการเงินและแนวทางของสหกรณ์แต่ละแห่ง ซึ่งสามารถวิเคราะห์จากงบการเงิน ของสหกรณ์นั้นๆ โดยพิจารณาจากข้อมูลดังต่อไปนี้ 2.1 พิจารณาจากโครงสร้างของเงินทุน อัตราเงินปันผลจะสูงหรือต่ำ ขึ้นกับโครงสร้างของเงินทุนว่า มีสัดส่วนอย่างไร โดยพิจารณาจากโครงสร้างเงินทุนที่ เป็นแหล่งที่มาของเงินทุนและแหล่งใช้ไปของเงินทุน ดังต่อไปนี้ (1 ) โครงสร้างของแหล่งที่มาของเงินทุน(Source of Fund) คือ หนี้สินและทุน แหล่งที่มาของเงินทุนของสหกรณ์ มาจากแหล่งหลักๆ 3 ช่องทางด้วยกัน คือ (1.1) ทุนเรือนหุ้นของสมาชิก (ส่วนของทุนสหกรณ์) ต้นทุนเงินทุน คือ อัตราเงินปันผล ส่วนของทุนอื่น เช่น ทุนสำรองตามกฎหมาย เป็นเงินทุนที่สะสมไว้ ถือเป็นเงินทุนที่ไม่มีต้นทุน (1.2) เงินรับฝากจากสมาชิก (ส่วนของหนี้สิน : ที่มิใช่การก่อหนี้ เงินรับฝากเกิดจากความเชื่อมั่น) ต้นทุนเงินทุน คือ อัตราดอกเบี้ยเงินรับฝาก (1.3) เงินกู้ยืมจากภายนอก (ส่วนของหนี้สิน : ที่เป็นการก่อหนี้ เนื่องจากการขาดเงินทุนในการบริการสมาชิก) ต้นทุนเงินทุน คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ที่มาของเงินทุนทั้งสามแหล่ง จะมีต้นทุนทางการเงินที่สหกรณ์ต้องจ่าย โดยต้องทำการคำนวณหาต้นทุนที่ แท้จริงของสหกรณ์ โดยการคำนวณหาอัตราต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก(Weighted Average Cost of Capital) (2) โครงสร้างของแหล่งใช้ไปของเงินทุน(Use of Fund) คือ สินทรัพย์ จากแหล่งใช้ไปของเงินทุน สหกรณ์ต้องพยายามบริหารหรือจัดสรรเงินทุน(สินทรัพย์)นั้น เพื่อแสวงหารายได้ให้ คุ้มกับต้นทุนของสหกรณ์ ซึ่งสหกรณ์สามารถบริหารเงินทุนในช่องทางหลักตามกฎหมายได้ดังนี้ ประธาน..แถลง โดย ไพบูลย์ แก้วเพทาย 45


(2.1) การบริการเงินกู้แก่สมาชิก รายได้ คือ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่สมาชิก (2.2) การให้เงินกู้แก่สหกรณ์อื่นๆ รายได้ คือ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่สหกรณ์อื่น (2.3) การฝากเงินแก่ชุมนุมสหกรณ์ หรือสหกรณ์อื่น รายได้ คือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ที่ได้รับจากเงินฝาก (2.4) การนำเงินทุนไปลงทุนในตลาดการเงิน(Financial Market) ดังนี้ ลงทุนในตราสารหนี้ คือ พันธบัตรและหุ้นกู้ รายได้ คือ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรและหุ้นกู้ ลงทุนในตราสารทุน คือ หุ้นสามัญตามที่กฎหมายกำหนด รายได้ คือ เงินปันผลหุ้น(Dividend Yield) กับ การทำกำไรจากการจำหน่ายตราสารหุ้น(Capital Gain) (3) สรุปอัตราเงินปันผลจะสูงหรือต่ำมาจากสัดส่วนของโครงสร้างเงินทุนตามข้อ (1) และ (2) สาเหตุที่สหกรณ์สามารถจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูงกว่าหรือต่ำกว่า ให้พิจารณาจากสัดส่วน ดังนี้ (3.1) สหกรณ์ที่มีสัดส่วนโครงสร้างเงินทุนของเงินรับฝากมากกว่าทุนเรือนหุ้น สัดส่วนเงินรับฝากยิ่งสูงกว่าทุน เรือนหุ้นมากเท่าไร ก็ยิ่งสามารถจ่ายเงินปันผลได้สูงขึ้น (3.2) สหกรณ์ที่มีสัดส่วนการบริหารเงินทุนหรือสินทรัพย์ เพื่อจัดหารายได้ หากมีการลงทุนในตลาดการเงินมาก ก็สามารถทำรายได้สูงและมีอัตราเงินปันผลที่สูงด้วย แต่ก็อาจต้องยอมรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นด้วย 2.2 พิจารณาจากโครงสร้างอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินปันผลของสหกรณ์จะเป็นเท่าไรนั้น นอกจากจะพิจารณาสัดส่วนของโครงสร้างเงินทุนตามข้อ 2.1 แล้ว ให้ พิจารณาจากโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยด้วย (1 ) ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมาก(Spread) จะทำให้อัตราเงินปันผลสูง (2) ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากน้อย(Spread) จะทำให้อัตราเงินปันผลตำ (3) ทั้งนี้ โครงสร้างเงินทุนจะมีผลเป็นด้านหลัก ซึ่งนอกจากทำให้อัตราเงินปันผลสูงแล้ว ยังสามารถทำให้โครงสร้าง ดอกเบี้ยมีส่วนต่างที่น้อยลง บางแห่งยังสามารถทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำกว่าอัตราเงินปันผลด้วย 2.3 พิจารณาการจัดสรรกำไรสุทธิ การกำหนดอัตราเงินปันผล ยังขึ้นกับแนวทางและวัฒนธรรมของแต่ละสหกรณ์ บางแห่งอาจจัดสรรโดยคำนึงถึงผู้ถือ หุ้น ผู้กู้เงิน รวมทั้งคำนึงถึงผู้ฝากเงินด้วย เพราะทั้งสามกลุ่ม ถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholder) สหกรณ์บางแห่งนำกำไรส่วนใหญ่มาจ่ายเงินปันผลเป็นด้านหลัก บางแห่งนำมาเฉลี่ยจ่ายให้ทั้งเงินปันผลและเงิน เฉลี่ยคืน ขณะที่บางแห่งมีการจัดสรรเข้ากองทุนต่างๆ ทั้งเป็นกองทุนสวัสดิการสมาชิก และ กองทุนเพื่อสาธารณประโยชน์ 3. การจ่ายเงินปันผลของสหกรณ์บางแห่ง เรามาดูการจ่ายเงินปันผลจริงของสหกรณ์บางแห่ง เพื่อเปรียบเทียบให้ชัดเจนตามที่ได้ชี้แจงในข้อ 2 3.1 สัดส่วนของโครงสร้างเงินทุนจำนวน 6 แห่ง รายการ สอ.M สอ.E สอ.P สอ.W สอ.T สอ.K สินทรัพย์ (ลบ.) 38,510 147,236 64,694 15,987 41,037 48,815 สัดส่วนโครงสร้างเงินทุน-แหล่งที่มาของเงินทุน ทุนเรือนหุ้น (ลบ.) 9,761 54,546 24,424 4,920 6,887 10,680 เงินรับฝาก+เงินกู้ยืม (ลบ.) 26,891 88,132 44,614 10,099 31,891 35,281 ทุนเรือนหุ้นต่อสินทรัพย์ % 25.35% 37.05% 37.75% 30.78% 16.78% 21.88% เงินรับฝาก/กู้ยืมต่อสินทรัพย์ % 69.83% 59.86% 68.96% 63.17% 77.71% 72.27% สัดส่วนโครงสร้างเงินทุน-แหล่งใช้ไปของเงินทุน เงินให้กู้แก่สมาชิก (ลบ.) 12,596 15,400 23,099 8,692 12,518 10,984 เงินลงทุน (ลบ) 25,126 128,292 30364 7,120 28,269 37,457 เงินให้กู้แก่สมาชิกต่อสินทรัพย์% 32.71% 10.46% 35.71% 54.37% 30.50% 22.50% เงินลงทุนต่อสินทรัพย์ % 65.45% 87.13% 46.93% 44.54% 68.89% 76.73% อัตราเงินปันผล % 6.00% 7.50% 5.41% 4.20% 4.80% 6.12% เงินเฉลี่ยคืน % 18.00% 10.00% 10.58% 5.50% 12.00% 35.15% จากข้อมูลงบการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์จำนวน 6 แห่ง (ที่มา : Website ของสหกรณ์ออมทรัพย์แต่ละแห่ง) ในที่นี้ จะไม่เปิดเผยชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ทั้งหกแห่ง แต่จะแทนด้วยตัวอักษร จะเห็นว่า สอ.T มีสัดส่วน เงินรับฝากและเงินกู้ยืมต่อสินทรัพย์ สูงที่สุด คือ 77.71% รองลงมา คือ สอ.K คือ 72.27% ขณะที่ สอ.E มีสัดส่วนน้อยที่สุด คือ 59.86% แต่กลับจ่ายเงินปันผลได้สูงสุดที่อัตรา 7.50% 46


เนื่องจาก สอ.E มีสัดส่วนเงินลงทุนต่อสินทรัพย์ถึง 87.13% สินทรัพย์ 100% นำไปลงทุนถึง 87.13% (รวมสภาพคล่อง ที่อยู่ในธนาคารด้วย) ซึ่งการนำไปลงทุนสูงที่สุด ก็ต้องยอมรับในความเสี่ยงที่สูงขึ้นตามไปด้วย 3.2 โครงสร้างอัตราดอกเบี้ยจำนวน 6 แห่ง รายการ สอ.M สอ.E สอ.P สอ.W สอ.T สอ.K อัตราดอกเบี้ยเงินกู้% 5.00% 4.90% 6.00% 5.50% 4.50% 5.45% อัตราดอกเบี้ยเงินรับฝาก % 3.50% 3.90% 3.50% 3.50% 3.00% 3.50% ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย % 1.50% 1.00% 2.50% 2.00% 1.50% 1.95% กำไรสุทธิ(ลบ.) 1,166 4,798 1,631 251 426 960 ทุนเรือนหุ้น (ลบ.) 9,761 54,546 24,424 4,920 6,887 10,680 กำไรต่อทุนเรือนหุ้น%(ROE) % 11.96% 8.80% 6.68% 5.10% 6.19 8.99% กำไรต่อหุ้นๆละ10บาท(EPS) บ. 1.19 0.88 0.67 0.51 0.62 0.90 กำไรต่อสินทรัพย์(ROA) % 3.03% 3.26% 2.52% 1.57% 1.04% 1.97% อัตราเงินปันผล 6.00% 7.50% 5.41% 4.20% 4.80% 6.12% เงินเฉลี่ยคืน 18.00% 10.00% 10.58% 5.50% 12.00% 35.15% กำไรต่อทุนเรือนหุ้น คือ Return on Equity (ROE) หมายถึง หุ้น 100 บาท สามารถทำกำไรได้เท่าไร? กำไรต่อหุ้น คือ Earning per Share (EPS) หมายถึง มูลค่าหนึ่งหุ้น สามารถทำกำไรได้หุ้นละเท่าไร? กำไรต่อสินทรัพย์ คือ Return on Asset (ROA) หมายถึง สินทรัพย์ 100 บาท สามารถทำกำไรได้เท่าไร? จากข้อมูลโครงสร้างอัตราดอกเบี้ย จะเห็นว่าสอ.P มีส่วนต่างดอกเบี้ยสูงที่สุด คือ 2.50% แต่สอ.E มีส่วนต่างดอกเบี้ย ต่ำที่สุดคือ 1.00% แต่ปรากฏว่า สอ.E จ่ายเงินปันผลสูงที่สุดที่อัตรา 7.50% ถ้าวิเคราะห์ความสามารถการทำกำไรต่อทุนเรือนหุ้น จะเห็นว่า สอ.M มีประสิทธิภาพในการทำกำไรต่อทุนเรือนหุ้น สูงที่สุด คือ 11.96% อันดับสอง คือ สอ.K อัตรา 8.99% แต่ สอ.E สามารถทำกำไรต่อสินทรัพย์ได้สูงที่สุด คือ 3.26% คำอธิบาย คือ สอ.E จัดสรรเป็นเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมด โดยมีเงินเฉลี่ยคืนเพียง 10.00% ส่วน สอ.K จัดสรร เป็นเงินเฉลี่ยคือถึง 35.15% เป็นการกระจายผลประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ส่วน สอ.M นอกจากกระจายเงินเฉลี่ยคืน 18.00% แล้ว สอ.แห่งนี้ยังจัดสรรเป็นเงินทุนสวัสดิการต่างๆ รวมทั้งได้จัด สรรเป็นทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผลด้วย เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดในอนาคต ส่วน สอ.T จ่ายเงินปันผลต่ำและกำไรต่ำกว่าที่ควรเป็น เนื่องจากต้องตั้งด้อยค่าหุ้นกู้การบินไทยถึง 118.25 ล้านบาท 4. แนวทางการจัดสรรกำไรสุทธิของสหกรณ์จำนวน 6 แห่ง รายการ สอ.M สอ.E สอ.P สอ.W สอ.T สอ.K กำไรต่อทุนเรือนหุ้น(ROE) % 11.96% 8.80% 6.68% 5.10% 6.19 8.99% อัตราเงินปันผล % 6.00% 7.50% 5.41% 4.20% 4.80% 6.12% อัตราเงินเฉลี่ยคืน % 18.00% 10.00% 10.58% 5.50% 12.00% 35.15% เงินปันผลต่อกำไรสุทธิ% 48.15% 84.11% 77.51% 80.74% 75.51% 66.35% เงินเฉลี่ยคืนต่อกำไรสุทธิ% 9.66% 1.45% 8.82% 4.33% 6.31% 13.29% รวมสัดส่วนต่อกำไรสุทธิ% 57.81% 85.56% 86.33% 85.07% 81.82% 79.64% สรุปจากแนวทางการจัดสรรกำไรสุทธิ เราสามารถทราบถึงวัฒนธรรมการบริหารสิทธิผลประโยชน์ของสมาชิก สอ.E จ่ายเงินปันผลในอัตราสูงที่สุด 7.50% และมีสัดส่วนสูงสุดถึง 84.11%ของกำไรสุทธิ โดยจัดสรรส่วนอื่นน้อยมาก บางสหกรณ์ เช่น สอ.K จัดสรรเป็นเงินเฉลี่ยคืนให้กับผู้กู้ถึง 35.15% คิดเป็นสัดส่วน 13.29% ของกำไรสุทธิและมีหลาย สหกรณ์จัดสรรเข้าทุนสวัสดิการต่างๆ รวมทั้งได้จัดสรรเป็นเงินทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผล เพื่อเป็นการบริหารความ เสี่ยงต่อความไม่แน่นอนในอนาคต 5. สรุปปัจจัยในการกำหนดเงินปันผลของสหกรณ์ ปัจจัยที่ทำให้การจ่ายเงินปันผลแตกต่างกันระหว่างสหกรณ์ต่างๆนั้น มาจากสัดส่วนโครงสร้างเงินทุนที่แตกต่างกัน และส่วนต่างของโครงสร้างอัตราดอกเบี้ย รวมถึงแนวทางและวัฒนธรรมภายใน (เช่น มีสวัสดิการหรือไม่ การจัดสรรเป็น ธรรมทั่วถึงหรือไม่) ที่มีส่วนในการกำหนดสัดส่วนการจัดสรรกำไรสุทธิของแต่ละสหกรณ์ด้วย ดังนั้น อัตราเงินปันผลที่แตกต่างกัน จึงต้องทำการวิเคราะห์ทั้งทางงบการเงินและแนวทางที่ยึดถือ @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@ 47


1.ความนำ : การลงทุนของสหกรณ์ เนื่องจากอาจมีสมาชิกของสหกรณ์และองค์กรสมาชิกทั้งหลาย มีความกังวลว่า การลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นสามัญ จะมี ความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง และอาจมีข้อสงสัยว่า การลงทุนในหุ้นสามัญมีกำไรดี นำเงินไปลงทุนคริปโต(Crypto Currency)ด้วยหรือไม่? โดยแนวทางการลงทุนของสหกรณ์ เราไม่สามารถนำเงินทุนสหกรณ์ไปลงทุนในคริปโต(Crypto Currency)ได้ เพราะกฎหมาย ไม่อนุญาตให้ลงทุน สหกรณ์จะลงทุนได้ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น คือ 1.1 ลงทุนในตราสารหนี้คือ พันธบัตรรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ(Bond) และ หุ้นกู้เอกชน(Debenture) 1.2 ลงทุนในตราสารทุน คือ หุ้นสามัญ ที่กฎหมายกำหนดให้ลงทุนได้ตามกฎหมายสหกรณ์มาตรา 62(3) เท่านั้น หุ้นสามัญที่สามารถลงทุนได้ คือ หุ้นของรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561ซึ่งมีอยู่เพียง 5 หุ้นเท่านั้น คือ #หุ้น ปตท.(PTT), #หุ้น ปตท.สผ.(PTTEP), #หุ้น ปตท.น้ำมันและค้าปลีก(OR), #หุ้น ทอท.(AOT), #หุ้น อสมท.(MCOT), ส่วนหุ้นสามัญของธนาคารพาณิชย์ซึ่งถือเป็นหุ้นชั้นดีมีปัจจัยพื้นฐานดีนั้น สหกรณ์สามารถขอความเห็นชอบจากนายทะเบียน สหกรณ์ให้ลงทุนเพิ่มเติมได้ตามมาตรา 62(6) ขณะนี้ มีบางสหกรณ์ออมทรัพย์ได้รับความเห็นชอบให้ลงทุนในหุ้นของธนาคารพาณิชย์ ได้ โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ คือ #หุ้นธนาคารกรุงไทย(KTB) #หุ้นธนาคารกรุงศรีอยุธยา(BAY) #หุ้นธนาคารไทย พาณิชย์(SCB) #หุ้นธนาคารกรุงเทพ(BBL) #ธนาคารกสิกรไทย(KBANK) 2.การบริหารความเสี่ยงในหุ้นสามัญ การลงทุนในหุ้นสามัญที่กฎหมายกำหนดนั้น จะเห็นว่า เป็นหุ้นชั้นดี มีปัจจัยพื้นฐานมั่นคงและมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ พร้อมทั้ง สหกรณ์ควรตั้งคณะกรรมการพิจารณาเงินลงทุน เพื่อบริหารความเสี่ยงโดยพิจารณาถึงภาวะตลาดหุ้นและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น เพื่อการกระจายความเสี่ยง สหกรณ์ควรจัดจ้างมืออาชีพที่เชี่ยวชาญการลงทุนมาบริหารให้ดังนี้ 2.1 จัดจ้างบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) แบบกองทุนส่วนบุคคล(Private Fund) 2.2 จัดจ้างบริษัทหลักทรัพย์(บล.) ลงทุนโดยระบบ AI (ระบบการลงทุนโดยโปรแกรมอัตโนมัติ) 2.3 ลงทุนโดยคณะกรรมการพิจารณาเงินลงทุนของสหกรณ์ซึ่งอาจมีการลงทุนด้วยคณะกรรมการพิจารณาเงินลงทุนเองก็ได้ หากมีความรู้ประสบการณ์ในการลงทุน การลงทุนของสหกรณ์ เป็นการลงทุนในแบบ “นักลงทุน”(Investor) แต่ก็ต้องพยายามกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และมี คณะกรรมการพิจารณาเงินลงทุน จะมีหน้าที่ในการบริหารเงินลงทุน โดยกำหนดนโยบายและแผนการลงทุน และมีหน้าที่กำกับดูแลให้ เป็นไปตามนโยบายและแผน รวมทั้งติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างรายได้ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 3.แนวทางการลงทุนตามที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด โดยทั่วไป การบันทึกบัญชีตามมาตรฐานบัญชี กรณีเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน มี 3 วิธี ดังนี้ 3.1 บันทึกบัญชีแบบ “ตราสารที่ถือไว้จนครบกำหนด” 3.2 บันทึกบัญชีแบบ “ตราสารที่ถือไว้เผื่อขาย” 3.3 บันทึกบัญชีแบบ “ตราสารที่ถือไว้เพื่อค้า” ทั้งนี้ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กำหนดให้สหกรณ์บันทึกบัญชีเงินลงทุน ดังนี้ กรณีลงทุนในตราสารหนี้กำหนดให้บันทึกบัญชีแบบ “ตราสารทีถือไว้จนครบกำหนด” กรณีลงทุนในตราสารทุน กำหนดให้บันทึกบัญชีแบบ “ตราสารที่ถือไว้เผื่อขาย” สำหรับการลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นสามัญ จะมีลักษณะ 2 แบบ(Style) ดังนี้ ก.แบบนักลงทุน(Investor) โดยเป็นแบบที่มีลักษณะการลงทุนระยะยาว เป็นหุ้นชั้นดีมั่นคงที่จ่ายเงินปันผลดี มุ่งเน้นที่หุ้นราคา ถูกหรือต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน หรือมุ่งถือหุ้นที่มีอนาคตโดยถือระยะยาวเพื่อรอมูลค่าพื้นฐานสูงขึ้น การตัดสินใจซื้อหุ้นโดยวิธีวิเคราะห์ ปัจจัยพื้นฐาน รวมทั้งพิจารณาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและแนวโน้มทางธุรกิจของหุ้นที่จะซื้อ ข.แบบนักเก็งกำไร(Trader) โดยเป็นแบบที่มีลักษณะการลงทุนระยะสั้น เน้นทำกำไรระยะสั้น ซื้อขายหรือเข้าออกเร็วแบบเล่น ทั้งรอบขาขึ้นและขาลง บางครั้งต้องทำCut Loss ยอมขายขาดทุน การตัดสินใจซื้อขายหุ้นจะไม่สนใจมูลค่าพื้นฐานหรือปัจจัยพื้นฐาน แต่จะใช้วิธีพิจารณาโดยวิเคราะห์จากกร๊าฟเชิงเทคนิคและเชิงสถิติแบบเก็งกำไรระยะสั้น บทความ การลงทุนกับการบริหารความเสย ี่ง 48


พิจารณาจากแนวทางบันทึกบัญชีกรณีการลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นสามัญนั้น จะเห็นว่า เป็นแนวทางการลงทุนแบบนักลงทุน คือ “ตราสารที่ถือไว้เผื่อขาย” เป็นการลงทุนแบบระยะสั้นและระยะยาว ไม่เน้นการลงทุนแบบเก็งกำไรระยะสั้น 4.การหารายได้จากการลงทุนแบบนักลงทุน สหกรณ์มีแนวทางการลงทุนแบบ “นักลงทุน(Investor)” ซึ่งเน้นหารายได้จากเงินปันผล หากราคาหุ้นสูงขึ้น ก็อาจขายทำกำไร การหารายได้จากการลงทุนในหุ้นสามัญ จึงมี 2 ส่วนด้วยกัน ดังนี้ 4.1 การรับรู้รายได้(Realized Yield) จากเงินปันผลตามหุ้น คือ Dividend Yield 4.2 การรับรู้รายได้(Realized Gain) จากการขายหุ้นทำกำไร คือ Capital Gain โดยแนวทางการลงทุนแบบนักลงทุนของสหกรณ์ จะเป็นการลงทุนหรือเข้าซื้อหุ้นเมื่อราคาหุ้นลงต่ำ ตามสถานการณ์ที่ขึ้นลงแต่ ละช่วง จะขายเมื่อราคาหุ้นขึ้นสูงทำกำไรแบบ Capital Gain หากหุ้นที่ถืออยู่มีราคาสูง ก็ถือไว้เพื่อรับเงินปันผล(Dividend Yield) ในการบันทึกบัญชี ราคาหุ้นที่ถืออยู่จะกำไรหรือขาดทุนก็ตาม สหกรณ์จะบันทึก“กำไรขาดทุนจากเงินลงทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น” ไว้ ในหมวดบัญชีทุนของสหกรณ์ ตราบใดที่ยังไม่ขายออกไป ถือว่ายัง“ไม่รับรู้กำไรขาดทุน(Unrealized)” ใน“งบกำไรขาดทุน” 5.การลงทุนถือหุ้นเพื่อหารายได้จากเงินปันผล การลงทุนเพื่อหารายได้จากเงินปันผล จะมีกิจการต่างๆลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีเพื่อรับเงินปันผล เช่น หุ้น ปตท. ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น(หุ้น) %หุ้น 1.30บาทต่อหุ้น 1 กระทรวงการคลัง 14,598,855,750 51.11 18,978.51 2 กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด(มหาชน) 1,736,895,500 6.08 2,257.96 3 กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด(มหาชน) 1,736,895,500 6.08 2,257.96 4 บริษัท ไทยเอ็นวิติอาร์ จำกัด(ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) 1,505,258,636 5.27 1,956.84 5 SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 539,426,743 1.89 7,01.25 6 ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทยจำกัด 441,088,900 1.54 573.42 7 สำนักงานประกันสังคม 440,198,900 1.54 572.26 8 STATE STREET EUROPE LIMITED 392,348,364 1.37 510.05 9 THE BANK OF NEW YORK MELLON 330,507,375 1.16 429.66 10 สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจำกัด 310,198,700 1.09 403.26 รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 อันดับแรกของ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ข้อมูล ณ วันที่ 28 กันยายน 2565 XD จากตาราง จะเห็นว่า มีผู้หุ้นใหญ่อันดับที่ 6 คือ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทยจำกัด สำนักงานประกันสังคมถือหุ้น ใหญ่เป็นอันดับ 7 ซึ่งสำนักงานประกันสังคม เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน ปตท.มานานแล้ว โดยถือเป็นการลงทุน เพื่อหารายได้จากเงินปันผล และอันดับที่ 10 คือ สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจำกัด จากข้อมูลในตาราง จะเห็นว่า มีหลายหน่วยงานที่ถือหุ้นสามัญของ ปตท.(PTT) โดยเป็นลักษณะของการลงทุน ที่หวัง ผลตอบแทนจากเงินปันผล ซึ่งในเดือนกันยายนนี้ ปตท.ประกาศขึ้น XD เพื่อจ่ายเงินปันผลในอัตรา 1.30 บาทต่อหุ้น ณ 28 กันยายน 2565 และจ่ายเงินปันผลวันที่ 12 ตุลาคม 2565 จากเดือนมีนาคม 2565 หุ้น ปตท.ได้จ่ายเงินปันผล 0.80 บาทต่อหุ้น โดยขึ้น XD วันที่ 3 มีนาคม 2565 และกำหนดจ่ายเงินปัน ผลวันที่ 29 เมษายน 2565 สำหรับเดือนมีนาคม 2566 นี้คาดว่าจะจ่ายในอัตรา 0.80 บาทต่อหุ้น เท่ากับเดือนมีนาคม 2565 เงินปันผลที่ได้รับ(ล้านบาท) ชุมนุม-สอ ประกันสังคม สอ.กฟผ. หมายเหตุ เดือนมีนาคม 2565 (จ่ายแล้ว 0.80 บาทต่อหุ้น) Xxx xxx xxx เงินปันผลในปี2565 เดือนกันยายน 2565 (จ่ายแล้ว 1.30 บาทต่อหุ้น) 573.42 572.26 403.26 จ่าย 2 ครั้ง คือ เดือนมีนาคม 2566 (คาดว่าจะจ่าย 0.80 บาทต่อหุ้น) 352.87 352.16 248.16 0.80 + 1.30 = รวมประมาณการเงินปันผลสองครั้ง 926.29 924.42 651.42 = 2.10 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ เงินปันผลเดือนมีนาคม 2566 มีสมมติฐานว่า จำนวนหุ้นเดือนมีนาคม 2566 มีจำนวนหุ้นคงที่ เท่ากับ เดือนกันยายน 2565 การลงทุนแบบ“นักลงทุน”(Investor)มุ่งเน้นลงทุนระยะยาว คาดหวังทั้งเงินปันผลและกำไรจากการขาย ไม่ใช่การลงทุนแบบ “นักเก็งกำไร”(Trader) ซึ่งเป็นการเน้นลงทุนระยะสั้น ซื้อขายเร็ว และมีความเสี่ยงที่สูงกว่า ทั้งนี้จากข้อมูลจะเห็นว่า ปีบัญชีของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทยจำกัดจะปิดบัญชี ณ 31 มีนาคม 2566 ซึ่งเงินปัน ผล ที่ ชสอ.จะได้รับในปีบัญชีนี้(เมษายน2565-มีนาคม2566) คาดว่า จะได้รับเงินปันผลรวมสองครั้ง เป็นเงิน 926.29 ล้านบาท 5.บทสรุปสำหรับการลงทุน. สหกรณ์บริหารเพื่อผลประโยชน์ของสมาชิก ก็ต้องมีความระมัดระวัง เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@๑ใ๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑ 49


ข้อชี้แจงเกี่ยวกับผลการดำเนินงานปี 2565 1.ความนำ จากงบการเงินปี 2565 ที่ได้เผยแพร่ไปแล้วนั้น คงเป็นที่ทราบกันแล้วว่า สินทรัพย์ในปีนี้ เพิ่มขึ้นเป็น 38,510.50 ล้านบาท ส่วนกำไรสุทธิเป็นเงิน 1,166.11 ล้านบาท อัตราเงินปันผล 6.00% และ เงินเฉลี่ยคืน 18.00% มีสมาชิกจำนวนมาก ถามถึงเงินปันผลปีนี้ ซึ่งอัตรา 6.00% ก็คงเป็นที่น่าพึงพอใจ แต่มีสมาชิกบางคนตั้งข้อสงสัย ว่า ทำไมปีนี้กำไรเยอะแยะ นำเงินไปทำอะไร ถึงได้กำไรเยอะแยะ ผมจึงขอโอกาสนี้ชี้แจงให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน 2.ผลการดำเนินงานปี2565 เปรียบเทียบผลประกอบการปีที่แล้ว พ.ศ.2564 กับ ปีนี้พ.ศ.2565 รายการ ปี2564 ปี2565 เพิ่มขึ้น(ลดลง) เปอร์เซ็นต์ สินทรัพย์ 35,349.25 38,510.50 3,161.25 8.94% หนี้สิน 24,581.22 27,236.24 2,655.02 10.80% ทุนของสหกรณ์ 10,768.02 11,274.26 506.24 4.70% รายได้ 1,774.40 2,138..20 363.80 20.50% ค่าใช้จ่าย 1,003.11 972.09 (31.02) (3.09%) กำไรสุทธิ 771.29 1,166.11 394.82 51.19% วิเคราะห์ในภาพรวม จะเห็นว่า ฐานะของกิจการเจริญเติบโตเป็นอย่างดี สินทรัพย์เพิ่มขึ้นถึง 8.94% และ เงินรับ ฝากเพิ่มขึ้นประมาณ 10% แต่ที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญอย่างมาก คือ รายได้รวม เพิ่มขึ้นถึง 363.80 ล้านบาท คิดเป็น 20.50% ค่าใช้จ่ายรวม ลดลงถึง 31.02 ล้านบาท คิดเป็น (3.09%) จึงมีผลทำให้ผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 394.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้น คิดเป็น 51.19% กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมาก มาจากไหน พิจารณาตามข้อมูลจะเห็นว่า มาจาก รายได้รวมที่เพิ่มขึ้นถึง363.80 ล้านบาท ประกอบกับค่าใช้จ่ายที่ลดลงถึงขั้นติดลบ (31.02) ล้านบาท สองรายการนี้ให้ดูรายละเอียดในข้อถัดไป 3.รายได้จากเงินลงทุนที่เกินคาด รายการ(ล้านบาท) ปี2564 ปี2565 เพิ่มขึ้น(ลดลง) เปอร์เซ็นต์ เงินให้กู้สมาชิก 13,816.18 12,596.54 (1,219.64) (8.83%) เงินลงทุน 19,965.75 24,739.03 4,773.28 23.91% รายได้จากเงินลงทุน 934.52 1,399.58 465.06 49.76% รายได้จากเงินให้กู้สมาชิก 746.19 665.84 (80.35) (10.77%) รายได้ประเภทอื่นๆ 93.69 72..78 (20.91) (22.32%) จากข้อมูลตัวเลข จะเห็นว่า มีการนำเงินไปลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 4,773.64 ล้านบาท ซึ่งสามารถชดเชยกับเงินให้กู้แก่ สมาชิกที่ลดลงถึง 1,219.64 ล้านบาท โดยสัดส่วนนี้ ทำให้การบริหารรายได้ของสหกรณ์ มีรายได้หลักมาจากการลงทุน จะเห็นว่า ปีนี้รายได้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 465.06 ล้านบาทคิดเป็น 49.76% (โดยลงทุนตามที่กฎหมายกำหนด) สาร..จากประธานฉบับที่01/2566 วนัที่30 มกราคม 2566 โดย นายไพบูลย์ แก้วเพทาย ประธานกรรมการด าเนินการ สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้ านครหลวงจ ากัด 50


ซึ่งรายได้จากเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากนี้ สามารถชดเชยกับรายได้เงินให้กู้แก่สมาชิกที่ลดลงถึง 80.35 ล้าน บาท คิดเป็น 10.77% และมีรายได้ประเภทอื่นๆที่ลดลงอีก 20.91 ล้านบาท คิดเป็น 22.32% ดังนั้น กำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นมาก ส่วนใหญ่จึงมาจากรายได้เงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นถึง 465.06 ล้านบาท 4.ค่าใช้จ่ายที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นัยสำคัญของค่าใช้จ่ายที่ลดลง อันมีผลทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น นอกจากรายได้เงินลงทุน รายการ(ล้านบาท) ปี2564 ปี2565 เพิ่มขึ้น(ลดลง) เปอร์เซ็นต์ ต้นทุนทางการเงิน 841.04 913.59 72.55 8.62% ค่าใช้จ่ายการบริหาร 113.61 123.32 9.71 8.55% หนี้สงสัยจะสูญ 48.46 (64.82) (113.28) 233.76% ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,003.11 972.09 (31.02) 3.09% ยอดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายการบริหารยังคงเป็นไปตามปกติ แต่ค่าใช้จ่ายที่ลดลง อย่างมีนัยสำคัญ คือ หนี้สงสัยจะสูญ โดยปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 48.46 ล้านบาท ขณะที่ปีนี้ นอกจากหนี้สงสัยจะสูญไม่เพิ่มขึ้น แล้ว ยังสามารถลดยอดหนี้สงสัยจะสูญลงถึง 64.82 ล้านบาท (การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลดลง) หมายความว่าการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หรือการตั้งสำรองหนี้สูญ เป็นค่าใช้จ่ายในปีนี้ นอกจากไม่มียอดเพิ่ม ขึ้นแล้ว ยังสามารถแก้ไขปัญหาหนี้NPL ที่สามารถเรียกกลับคืนเป็นรายได้หรือลดรายจ่ายลงอีกถึง 64.82 ล้านบาท ดังนั้น การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จึงลดลงจากปีที่แล้วถึง 48.46+64.82 = 113.28 ล้านบาท 5.ภาระต้นทุนทางการเงินที่ต้องบริหาร จาก NPL และค่าใช้จ่ายจากการตั้งสำรองหนี้สูญ แม้จะดีขึ้นในปีนี้แต่สหกรณ์ยังคงมีปัญหา NPLและภาระต้นทุน ในการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญหรือการตั้งสำรองหนี้สูญต่อไปอีกหลายปี ดังข้อมูลต่อไปนี้ ปี Gross NPL ตั้งค่าเผื่อ ยอดค่าเผื่อหนี้ Net NPL เงินให้กู้ %Net NPL 2561 905.07 72.24 358.65 546.42 17,302.56 3.16% 2562 953.65 80.33 438.98 514.67 16,388.37 3.14% 2563 1,334.29 86.88 525.86 808.43 14,814.96 5.46% 2564 1,148.71 48.46 574.32 574.39 13,816.18 4.16% 2565 949.97 (64.82) 509.50 440.47 12,596.54 3.50% ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 Gross NPL ยังคงมียอดอยู่ 949.97 ล้านบาท และเมื่อหักยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะ สูญแล้ว ยังมียอด Net NPL คงเหลืออยู่อีกถึง 440.47 ล้านบาท(949.97-509.50 = 440.47 ล้านบาท) อย่างไรก็ตาม จากการทำงานอย่างหนักมาหลายปีทำให้มีสัญญาณของปัญหา NPL ที่ดีขึ้นมาก โดยเฉพาะปีนี้ การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ นอกจากไม่เพิ่มขึ้นแล้วยังลดลงอีก และมีผลต่อกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นเกินคาดหมาย 6.บทสรุปสำหรับปีต่อไป จากการบริหารที่ต้องใช้ศักยภาพ ทั้งความรู้และประสบการณ์ทางการเงิน รวมทั้งต้องมีสมาธิที่มุ่งมั่น ในการกำกับ ดูแลการเงินและการลงทุน ด้วยหลักบริหารความเสี่ยงที่ดี และระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งงยึดมั่น ในหลักธรรมาภิบาล เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และก้าวไปข้าหน้าด้วยวิถีแห่งจิตวิญญาณสหกรณ์ ปีนี้ กำไรสุทธิของสหกรณ์พุ่งทะลุเพดานไปมาก แต่ยังต้องระมัดระวัง เพราะไม่มีอะไรแน่นอน กำไรที่เพิ่มขึ้นมาก จึงจำเป็นต้องสะสมเงินปันผลเพื่อสำรองความเสี่ยงไว้สำหรับอนาคตที่อาจไม่แน่นอน เพื่อความยั่งยืนของเงินปันผลที่คาดหวัง จงร่วมเดินไปข้างหน้าต่อไป..ด้วย“สหกรณ์ยุคใหม่..ทันสมัย..และก้าวหน้า @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@ 51


สวัสดีครับพี่น้องสมาชิก สอฟ.ทุกท่าน การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 ได้ผ่านพ้นไปด้วยความเรียบร้อย ผมต้องขอขอบ คุณพี่น้องสมาชิก ที่ได้กรุณาเลือกทีมงานที่ทำงานร่วมกันมาอย่างเป็นเอกภาพ ทำให้สามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีสมาธิ ในโอกาสนี้ ผมมีเรื่องราวต่างๆที่จะขอชี้แจงและรายงานเพื่อให้พี่น้องได้รับทราบและเข้าใจร่วมกัน ดังต่อไปนี้ 1.ทำไมกำไรของเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จึงติดลบ ก่อนอื่น ขอชี้แจงว่า เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มักจะมีกำไรติดลบ ยกเว้นปี2565 ที่มีกำไร เนื่องจากปีที่แล้ว หุ้นพุ่งตั้งแต่ต้นปี จึงสามารถทำกำไรจากเงินลงทุนมาช่วยเสริมทำให้มีกำไร ส่วนปีนี้ติดลบเหมือนทุกปีที่ผ่านมา..ทำไมติดลบ 24.45 ล้านบาท? 1. เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ที่มีภาระค่าใช้จ่ายทั้งเบี้ยประชุม เบี้ยสวัสดิการ งบประมาณค่าใช้จ่าย ตัดจ่ายเข้ากองทุนต่างๆ และค่าใช้จ่ายประชุมใหญ่อื่นๆ รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นโดยประมาณ 50 ล้านบาท 2. ตลาดหุ้นซบเซาอย่างหนักตั้งแต่ต้นปี ทำให้การทำกำไรจากเงินลงทุนมาช่วยเสริมค่าใช้จ่ายไม่สามารถกระทำได้ 3. ปกติเงินทุนที่เป็นเงินรับฝาก มียอดรวม 27,691.52 ล้านบาท มีต้นทุนเงินฝาก 3.50-3.75% ขณะที่เงินให้สมาชิกกู้มียอดรวม 11,975.18 ล้านบาท ดอกเบี้ยรับ 5.00% สัดส่วนที่ต้องจ่ายต้นทุนดอกเบี้ยจากยอดเงินรับฝาก 27,691.52 ล้านบาท จึงสูงกว่า รายได้ จากยอดเงินให้กู้11,975.18 ล้านบาท แม้ดอกเบี้ยกู้จะสูงกว่าดอกเบี้ยฝาก แต่สัดส่วนยอดเงินรับฝากสูงกว่ายอดเงินให้กู้ถึง 2.31 เท่า จากเหตุผลทั้ง 3 ประการ หากไม่มีกำไรจากเงินลงทุนมาช่วยเสริม ย่อมทำให้กำไรติดลบ..แต่ก็ไม่น่าต้องกังวลอะไร? 2.กรณีวิกฤตธนาคารSVB ในสหรัฐอเมริกา กรณีธนาคาร SVB (Silicon Valley Bank)ในสหรัฐอเมริกา เกิดวิกฤต ขอเรียนว่า พี่น้องสมาชิกไม่ต้องตกใจเป็นกังวล กรณี ธนาคาร SVB ที่เกิด Bank Run(คือ ธนาคารวิกฤตเนื่องจากผู้ฝากเงินแตกตื่นตกใจ-Panic แห่กันไปถอนเงินจำนวนมาก) ทำให้ ธนาคารเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ทั้ง ๆ ที่สินทรัพย์ของธนาคารยังมีคุณภาพดีอยู่ ไม่มีหนี้เสีย NPL เพียงแต่มีปัญหาจากลูกค้าจำนวนหนึ่ง ที่เกิดปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงและ เร็วไป มีปัญหาต้นทุนสูงจากการระดมเงินทุน จึงมาถอนเงินมากขึ้น ทางธนาคารจึงนำสินทรัพย์ประเภทตั๋วสัญญาใช้เงิน(PN)ออกมา ขาย โดยขายขาดทุน 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 63,000 ล้านบาท) เพื่อนำมารองรับการถอนเงิน ทำไมขายตั๋วสัญญาใช้เงิน จึงขาดทุน เนื่องจากดอกเบี้ยนโยบาย(FED) ของสหรัฐขึ้นแรงและเร็ว ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นมาก ขณะที่ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาธาร SVB ถืออยู่ก่อน มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า เมื่อนำเสนอออกขาย จึงต้องขายแบบกำหนดส่วนลด คือ ขาย ในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน เพื่อให้ผู้ซื้อตั๋วได้รับดอกเบี้ยที่คุ้มกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่สูงขึ้น นี่คือวิกฤตที่เกิดจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วและแรงเกินไป จึงมีผลกระทบต่อธุรกิจ ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น และหาเงินทุน ยากขึ้น ทำให้ขาดสภาพคล่อง จึงส่งผลมายังธนาคาร ทั้ง ๆที่ธนาคารมีสินทรัพย์ที่ดีไม่มีปัญหา วิกฤตครั้งนี้พี่น้องสมาชิกไม่ต้องกังวลตกใจแต่ประการใด เพราะเราไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องต่อกันแต่อย่างใด 3.การจัดสรรกำไรและเงินปันผลของ สอฟ. คงทราบแล้วว่า สอฟ.จ่ายเงินปันผลปีนี้ถึง 6.00% ซึ่งมาจากกำไรที่เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว กำไรสุทธิปีที่แล้ว 771.29 ล้านบาท ส่วนปีนี้ 1,166.11 ล้านบาท สูงขึ้นถึง 394.82 ล้านบาท คิดเป็น 51.19% ของปีที่แล้ว มีสมาชิกสงสัยว่า สอฟ.สามารถจ่ายเงินปันผลได้มากกว่า 6.00% แต่ทำไมจ่ายแค่ 6.00% ขอเรียนชี้แจงว่า สอฟ.จำเป็นต้องจัดสรรเข้ากองทุนสวัสดิการสมาชิกเป็นจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาหลายปี มีภาวะติดลบ ปีนี้มี กำไรมาก ดังนั้น สอฟ.จึงต้องสมทบเข้ากองทุนมากขึ้น เพื่อสำรองและรองรับในการจ่ายสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่ที่สำคัญ คือ การจัดสรรเข้ากองทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผล ซึ่งเป็นการจัดสรรไว้เพื่อการบริหารความเสี่ยงในอนาคตหรือ สำรองไว้กรณีที่ปีหน้าหรือปีต่อๆไป อาจประสบภาวะที่ทำให้กำไรหดลง และมีผลกระทบต่อเงินปันผลที่อาจลดต่ำลง เช่น หากปีหน้าอัตราเงินปันผลต่ำลงเหลือเพียง 5.00% สอฟ.ก็อาจนำมาสมทบจ่ายให้ได้ถึง 6.00% เท่ากับปีนี้ ขอเรียนว่า ปีที่แล้ว เป็นปีที่ภาวะวิกฤตจากโรคโควิด19 ได้คลี่คลายลงไปมาก รัฐบาลจึงเปิดการท่องเที่ยวเกือบเต็มรูปแบบ ทำ ให้ตลาดหุ้นพุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะหุ้น AOT(บริษัทท่าอากาศยานไทย) ธุรกิจการบินฟื้นตัว และ PTTEP(ภาวะราคาน้ำมันพุ่งสูง) ทำให้หุ้น ทั้งสองพุ่งทะลุสูงขึ้นมาก สอฟ.จึงสามารถทำรายได้เพิ่มขึ้นมากจากหุ้นทั้งสองดังกล่าว แน่นอนว่า การทำกำไรในปีหน้า(2566)อาจได้ไม่มากเท่ากับปีนี้(2565)ก็ได้เพราะยังไม่สามารถทราบภาวะตลาดหุ้นในปี2566 เราจึงจำเป็นต้องสำรองความเสี่ยงด้านอัตราเงินปันผลไว้ก่อน มิใช่กำไร..มีเท่าไร ก็นำมาแบ่งปันกันโดยไม่คำนึงถึงอนาคตที่อาจ จะยังไม่แน่นอน ต้องเข้าใจว่า การลงทุนมีความเสี่ยง เราจำเป็นต้องระมัดระวังและมีการบริหารความเสี่ยงที่ดีไว้ก่อน จดหมายเปิ ดผนึก ฉบับที่02/2566 วนัที่27 มีนาคม 2566 โดย นายไพบูลย์ แก้วเพทาย ประธานกรรมการด าเนินการ สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้ านครหลวงจ ากัด 52


4.ปี2565 กำไรเยอะแยะมาจากไหน? จากงบการเงินปี 2565 สอฟ.มีกำไรเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2564 ถึง 51.19% มีสมาชิกบางคนสงสัยว่า เรากำไรเยอะแยะ เอาเงินไป ทำอะไรหรือนำไปลงทุนเสี่ยงหรือไม่? จึงขอเรียนชี้แจงให้ทราบทั่วกันว่า กำไรมาจากไหน..เยอะแยะ? รายการ/ล้านบาท 2564 2565 มากกว่า(น้อยกว่า) คิดเป็น% 1.รายได้รวมทั้งสิ้น 1,774.40 2,138.20 363.80 20.50% 1.1 รายได้จากดอกเบี้ยให้กู้สมาชิก 746.19 665.84 (80.35) (10.77%) 1.2 รายได้จากการลงทุน 934.52 1,399.58 465.06 49.76% 1.3 รายได้อื่นๆ 93.69 72.78 (20.91) (22.32%) 2.ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,003.11 972.09 (31.02) (3.09%) 2.1 ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินรับฝาก 841.04 913.59 72.55 8.63% 2.2 ค่าใช้จ่ายการบริหาร 113.61 123.32 9.71 8.55% 2.3 ค่าใช้จ่ายค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 48.46 (64.82) (113.28) (233.76%) 3.กำไรสุทธิ 771.29 1,166.11 394.82 51.19% จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า กำไรเยอะแยะมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 2 ประการ ดังนี้ 4.1 รายได้รวมเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเป็นเงิน 363.80 ล้านบาท ซึ่งรายได้หลักที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คือรายได้จากการลงทุน ที่เพิ่มขึ้นถึง 465.06 ล้านบาท คิดเป็น 49.76% ของรายได้การลงทุนปีที่แล้ว 4.2 ค่าใช้จ่ายรวมลดลงจากปีที่แล้ว ติดลบเป็นเงิน (31.02) ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายหลักที่ลดลงที่ทำให้ค่าใช้จ่ายรวมลดลง คือ ค่าใช้จ่าย-ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งในปี 2564 มีการตั้งค่าเผื่อหนี้ 48.46 ล้านบาท แต่ปีนี้ 2565 นอกจากไม่มีการตั้งค่าเผื่อหนี้ฯแล้ว ยังสามารถแก้ไขหนี้เสียกลับเป็นหนี้ดีได้อีก 64.82 ล้านบาท จึงทำให้ค่าเผื่อหนี้ฯลดลงเป็นเงิน 48.46+64.82 = (113.28) ล้านบาท นี่คือ นัยสำคัญ ที่ทำให้กำไรของ สอฟ.เพิ่มขึ้นเยอะแยะ ซึ่งปี 2566 อาจจะไม่ได้กำไรแบบนี้..ก็ได้ 5.ปี2566 สอฟ.ประมาณกำไรสุทธิไว้อย่างไร? ปี 2565 ต้องถือว่า เป็นปีที่มีโอกาสทำกำไรจากเงินลงทุน เพราะตั้งแต่ต้นปี ไทยเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวเข้า ทำให้หุ้นของ บริษัทท่าอากาศยานไทยพุ่งขึ้น รวมถึงหุ้นของ ปตท.สผ.ที่ทยานขึ้นสูงเนื่องจากสงครามรัสเซียกับยูเครน ตามที่ทราบกันอยู่แล้ว การทำกำไรจากเงินลงทุนในหุ้นปี 2565 จึงดีขึ้นกว่าปี 2564 ค่อนข้างมาก เพราะปี 2564 ตลาดหุ้นค่อนข้างซบเซา(Side Way) คือ ตลาดหุ้นไม่ค่อยไปไหนหรือไม่ขึ้นไม่ลงมาก ทำให้ปี 2564 ทำกำไรไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นในปีนี้2566 จึงยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า จะมีโอกาสทำกำไรจากตลาดหุ้นเหมือนปี 2565 มากน้อยเพียงใด สอฟ.จึงประมาณการกำไรในปี 2566 ไว้ต่ำกว่าปี 2565 รายการ/ล้านบาท 2562 2563 2564 2565 2566≈ เทียบปี2565-66 รายได้ทั้งสิ้น 1,448.83 1,695.00 1,774.40 2,138.20 2,314.72 176.52 ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น (883.90) (950.67) (1,003.11) (972.09) (1,253.62) (281.53) กำไรสุทธิ 564.93 744.33 771.29 1,166.11 1,061.10 (105.01) กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 31.95 179.40 26.96 394.82 (105.01) จากข้อมูลในตาราง จะเห็นว่าปี2563 กำไรเพิ่มขึ้นมากจากปี2562 ถึง 179.40 ล้านบาท ส่วนปี2564 มีกำไรเพิ่มขึ้นเพียง 26.96 ล้านบาท แต่ปี 2565 กำไรเพิ่มขึ้นสูงอย่างมาก ซึ่งมากกว่าปี 2564 ถึง 394.82 ล้านบาท คิดเป็น 51.19% ดังนั้น ในปี2566 จึงตั้งประมาณการกำไรสุทธิไว้เพียง 1,061.10 ล้านบาท ลดลง (105.01) ล้านบาท เนื่องจากกำไรสุทธิปี 2565 มิใช่กำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นจากภาวะการณ์ปกติ 5.เงินช่วยเหลือฌาปนกิจสงเคราะห์ ตามที่ สอฟ.ได้จัดสรรเงินทุนสาธารณประโยชน์ช่วยเหลือสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์คนละ 900.00 บาท มีหลักอย่างไร? 5.1 เงินช่วยเหลือนี้ เป็นเงินจากทุนสาธารณประโยชน์ ซึ่งมิได้เป็นค่าใช้จ่ายของ สอฟ. จึงไม่มีผลกระทบต่อกำไรของ สอฟ. 5.2 เงิน 900.00 บาท เป็นการช่วยเหลือในส่วนที่มีจำนวนสมาชิกฌาปนกิจตายเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น 5.3 สมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ยังคงต้องจ่ายเงินสงเคราะห์ล่วงหน้าปีละ 5,000.00 บาทเหมือนเดิม(สมาชิกตายไม่เกิน 250คน) 5.4 เงินช่วยเหลือนี้ ไม่ได้จ่ายเป็นการประจำ หากสมาชิกตายน้อย ก็ไม่ต้องจ่าย หรือถ้าทุนสาธารณประโยชน์ไม่มี ก็ไม่จ่าย 5.5 สมาชิกสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ถือเป็นการช่วยเหลือให้สมาชิกมีเงินเหลือหลังการตาย เป็นการช่วยให้ ครอบครัวหมดหนี้ สหกรณ์ไม่ต้องเกิดหนี้เสีย เพราะเงินสงเคราะห์ที่ได้ จะมาช่วยรับภาระหนี้ได้เป็นอย่างดีจึงเป็นผลดีกับสหกรณ์ 6.สรุป ข้อชี้แจงทั้งหมดนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน ไม่อยากให้ใครก็ตาม นำไปพูดแบบไม่เข้าใจ หรืออาจมีเจตนาที่ไม่ดีเพราะ สอฟ. ทำงาน..โปร่งใสมาตลอด วันนี้เราเดินไปข้างหน้า ด้วยแนวคิด“สหกรณ์ยุคใหม่ ทันสมัย ก้าวหน้า” เพื่อสมาชิกทุกคน ============================================================================================================================================================================================================= 53 ================================================================================================================================.


เรื่อง กำไร สอฟ.ยังชะลอตัวช่วงไตรมาสหนึ่ง สวัสดีครับพี่น้องสมาชิก สอฟ.ทุกท่าน ก่อนอื่น ผมขอสวัสดีปีใหม่ไทย สุขสรรค์วันสงกรานต์ หวังว่าสมาชิกทุกท่านจะได้รับความสุขสดชื่นและหรรษากันทั่วหน้า บรรยากาศวันสงกรานต์เพิ่งผ่านพ้นไป ผมถือโอกาสรายงานสถานการณ์การเงินของ สอฟ.ต่อพี่น้องทุกท่าน ดังนี้ ขณะนี้ สอฟ.ของเราได้ผ่านพ้นช่วงไตรมาสหนึ่งไปแล้ว ผมได้พยายามติดตามอย่างใกล้ชิดกับสถานการณ์การบริหารเงินของเรา ในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2566 พบว่า การทำกำไรอ่อนตัวลงกว่าช่วงไตรมาสปี 2564-2565 ผลการดำเนินงานยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ซึ่งค่อนข้างน่ากังวลและหนักใจพอสมควร เนื่องจาก การทำรายได้ เพื่อให้มีผลกำไรที่ดีในช่วงไตรมาสหนึ่งนั้น ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากการลงทุนในตลาดหุ้นค่อนข้างซบเซาอย่างหนัก ปัจจุบันนี้ สอฟ.มิได้พึ่งรายได้จากดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่สมาชิกเป็นด้านหลัก ซึ่งรายได้จากดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่สมาชิกนั้นมีสัดส่วน น้อยกว่าผลตอบแทนการลงทุนอยู่มาก เมื่อตลาดการลงทุนซบเซา จึงมีผลกระทบต่อกำไรสุทธิที่ตั้งไว้ กำไร(ขาดทุน)แต่ละเดือนของช่วงไตรมาสหนึ่งเทียบกับงบประมาณปี 2566 และ เทียบกับปี 2564-2565 เดือน Estimateปี66 Actual66 มาก(น้อย)กว่า Actual65 Actual64 มกราคม 88,429,566.66 8,549,927.38 (79,879,639.29) 25,224,555.39 25,999,526.23 กุมภาพันธ์ 88,429,566.66 (32,998,168.14) (121,427,734.81) 15,997,405.15 47,815,587.65 มีนาคม 88,429,566.66 56,428,855.15 (32,000,711.52) 81,357,407.08 67,402,304.45 รวมไตรมาสหนึ่ง 265,288,700.00 31,980,614.39 (233,308,085.62) 122,579,367.62 141,217,418.33 เมษายน 88,429,566.66 - 165,051,373.19 167,568,726.97 พฤษภาคม 88,429,566.66 - 85,790,529.31 33,904,997.92 มิถุนายน 88,429,566.66 - 90,969,165.29 49,077,619.26 กรกฎาคม 88,429,566.66 - 41,869,201.96 43,728,053.01 สิงหาคม 88,429,566.66 - 77,123,730.43 60,308,094.35 กันยายน 88,429,566.66 - 185,815,286.38 59,381,166.29 ตุลาคม 88,429,566.66 - 246,833,536.43 169,625,699.44 พฤศจิกายน 88,429,566.66 - 41,849,715.07 69,084,965.84 ธันวาคม 88,429,566.74 - 108,228,114.81 (22,606,687.21) กำไรสุทธิ 1,061,154,800.00 ??? ??? 1,166,110,020.49 771,290,054.20 หากดูจากช่วงไตรมาสหนึ่ง ปี 2564 ได้กำไรสูงถึง 141.22 ล้านบาท แต่ปี 2565 กำไรลดลงเหลือ 122.58 ล้านบาท แต่ช่วง กลางปีและปลายปี ผลกำไรปี 2565 กลับสูงขึ้นกว่า ปี 2564 ค่อนข้างสูง สาเหตุ เนื่องมาจาก การเปิดประเทศให้นักท่องเทียวเข้ามา ทำให้หุ้นสามัญบริษัทท่าอากาศยานฯ(AOT) พุ่งทะยานขึ้น รวมถึงสงครามยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันขึ้นสูง หุ้นสามัญ ปตท.สผ.(PTTEP) ได้รับอานิสงส์เพิ่มขึ้นสูงมาก เราจึงสามารถทำรายได้จากการลงทุนหุ้นทั้งสองในปี 2565 ได้สูงมาก ทำให้ปี 2565 มีกำไรเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 394.82 ล้านบาท คิดเป็น 51.19% ของกำไรปี 2564 ส่วนไตรมาสหนึ่งปี2566 เราทำกำไรได้เพียง 31.98 ล้านบาทเท่านั้น น้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึง 233.31 ล้านบาท เริ่มต้นช่วงไตรมาสหนึ่ง ตลาดหุ้นซบเซาอย่างหนัก ไม่มีสัญญาณที่ดีหรือมีปัจจัยบวก คงหวังเพียงให้รีบมีการเลือกตั้ง และรอดู ประกาศผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ไตรมาสหนึ่ง ที่มีกำไรพุ่งขึ้น 11.70% เป็นเงิน 1.9 แสนล้านบาท ซึ่งอาจมีผลให้ตลาดหุ้น คึกคักขึ้น ส่วนสหรัฐอเมริกาชะลอการขึ้นดอกเบี้ยลง จะมีผลให้ตลาดหุ้นดีขึ้น เนื่องจากเมื่อดอกเบี้ยขึ้น ต่างประเทศจะดึงเงินกลับ สอฟ.กำลังติดตามอย่างใกล้ชิด แต่ก็มีข้อบ่งชี้ว่า กำไรปีนี้อาจไม่สูงเท่าปีที่แล้ว(ปี2565) เรายังมีเวลาเหลืออีกกว่า 9 เดือน หวังว่า ตลาดหุ้นจะคึกคักขึ้นหลังเลือกตั้ง รวมถึงปัจจัยบวกที่ออกมา อย่างไรก็ตาม หุ้นสามัญที่เราลงทุนไว้ ก็ยังมีรายได้จากเงิน ปันผลอยู่ ยังไม่ถึงกับย้ำแย่เสียทีเดียว ส่วนความเสี่ยงนั้น ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เพราะเราพยายามบริหารความเสี่ยงให้ดีอยู่แล้ว สอฟ.จะติดตามและพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผลการดำเนินงานออกมาดีพอสมควร ขอให้เชื่อมั่น..ไว้ใจ..ไปด้วยกัน @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@ จดหมายเปิ ดผนึก ฉบับที่03/2566 วนัที่20 เมษายน 2566 โดย นายไพบูลย์ แก้วเพทาย ประธานกรรมการด าเนินการ สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้ านครหลวงจ ากัด 54


สวัสดีครับพี่น้องสมาชิก สอฟ.ทุกท่าน จดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ ผมขอโอกาสชี้แจงในหลายๆเรื่อง ดังต่อไปนี้ 1. เรื่อง Mobile Application Mobile Application ที่เชื่อมต่อกับบัญชีของธนาคารกรุงศรีอยุธยาฯนั้น ถือใช้มาเกือบหนึ่งปีแล้ว ส่วนที่จะเชื่อมต่อกับธนาคาร กรุงไทยฯ ขณะนี้กำลังดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ คือ เดือนมีนาคม 2566 เนื่องจากยังมีปัญหาต้องปรับปรุง ซึ่งเรามีการพัฒนาระบบโดยแบ่งเป็น 2 ระบบ คือ Follow Me และ Pro-Money 2. เรื่อง ระบบ Follow Me ขอเรียนว่า ระบบ Follow Me ขณะนี้ ได้มีการทดสอบภายในและดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว สมาชิกสามารถเข้าไปโหลดใน Play Store หรือ App Store ได้โดยพิมพ์คำว่า“สอฟ.”ได้เลย เมื่อติดตั้งAppเสร็จแล้ว ให้เข้าไปลงทะเบียน กรอกข้อมูล และแสดง ตัวตน เพื่อเข้าสู่ระบบและสามารถเปิดดูข้อมูลส่วนตัวของเรา ขอเรียนว่า ระบบ Follow Me เราสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว ยังไม่สามารถกระทำธุรกรรมได้ เปรียบเสมือนเข้าไป ใน Website ของสหกรณ์ฯ สามารถดูข้อมูลส่วนตัวของเราเอง ทั้งทุนเรือนหุ้น เงินฝาก เงินกู้ ภาระค้ำประกัน สัญญาเงินกู้ ใบเสร็จรับ เงิน เงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน ผู้รับโอนประโยชน์ ข่าวสารต่างๆของสหกรณ์และข้อมูลส่วนตัว 3. เรื่อง ระบบ Pro Money กรณีระบบ Pro Money ที่สามารถกระทำธุรกรรมได้นั้น กำลังดำเนินการใกล้เสร็จแล้ว คาดว่า จะเสร็จปลายเดือนพฤษภาคม 2566 จะทำการทดสอบภายในก่อน และอาจใช้ได้จริงประมาณเดือนกรกฎาคม 2566 ระบบนี้ ก็คงทำงานคล้ายๆกับ App. ธนาคารต่างๆ แต่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้เช่น การโอนเงิน การถอนเงิน และอื่นๆ โดยจะสูงกว่าของธนาคารกรุงศรีฯ เหตุที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เนื่องจากเราไปเชื่อมต่อกับระบบของธนาคารฝ่ายเดียว เราจึงต้องเสีย ส่วนธนาคารด้วยกันไม่ต้องเสีย เพราะระหว่างธนาคารมีธุรกรรมร่วมกัน ต่างคนต่างใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างธนาคารทั้งหลาย เมื่อระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว สหกรณ์ฯจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง 4. การป้องกันภัยกรณีการใช้ App. เป็นที่เข้าใจได้ว่า ขณะนี้ สมาชิกทั้งหลายรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการใช้ App จะไม่ปลอดภัย กลัวถูก Link เข้ามาดูดเงินของเรา ก่อนอื่น ขอเรียนชี้แจงก่อนว่า โดย App.ของเราที่เชื่อมต่อกับธนาคารกรุงไทย มีการวางระบบป้องกันภัยไว้แล้ว ดังนี้ 4.1 ระบบป้องกันภัยภายใน (1) เรามีมาตรฐานการเชื่อมต่อกับธนาคารกรุงไทยฯ มี Fire Wall, การเข้ารหัส (2) การเชื่อมต่อกับธนาคารด้วย Link : Internet Fixed IP (3) เรามีระบบป้องกันผู้บุกรุก การโจมตี การเจาะระบบ ด้วย Fire Wall : Fortinet-FortiGate 60F (4) เรามีการเข้ารหัสสื่อสารระหว่างสหกรณ์กับธนาคาร และ ระหว่างโทรศัพท์กับWeb Hostingของสหกรณ์ 4.2 การยืนยันตัวตน (1) มีการยืนยันตัวตนในการเข้าใช้ โดย Pin Code การเปิดใช้งานด้วย Function : Face ID(ใบหน้า) และ Finger Scan(นิ้วมือ) (2) ป้องกันภัยโดยใช้การยืนยันรหัส OTP (One Time Password) (3) การเชื่อมผูกบัญชีกับธนาคารกรุงไทยผ่าน KTB Next ต้องยืนยันตัวตนตามมาตรฐานบนระบบธนาคาร 4.3 การตรวจสอบธุรกรรมการโอนเงิน สหกรณ์จะตรวจสอบรายงานการทำธุรกรรมเป็นรายวันทุกวัน โดยใช้รายการที่ธนาคารส่งมาเทียบกับรายงานการทำรายการในระบบ 5. การยกเลิกรถบริการเคลื่อนที่(รถMobile) ตามที่เคยแจ้งไว้ว่า เมื่อเราลงทุนจัดทำ Mobile App. เพื่อบริการผ่านระบบเทคโนโลยีที่รวดเร็วแล้ว ก็คงต้องยกเลิกรถMobile ที่ ล้าหลัง เพราะปัจจุบันไม่มีธนาคารไหนใช้แล้ว ขอให้พวกเรากรุณาช่วยกันใช้บริการที่..ทันสมัยและก้าวหน้า..ด้วยสหกรณ์ยุคใหม่ ภาระเกี่ยวกับรถMobile ค่าใช้จ่ายสูง รถเสียบ่อย เจ้าหน้าที่ไม่ต้องการไป ความเสี่ยงสูง เจ้าหน้าที่ป่วยหาคนแทนไม่ได้ และอื่นๆ 6. สรุป สมาชิกอาจรู้สึกกังวลถึงความปลอดภัยในการใช้ APP ขอแนะนำว่า เราต้องตั้งใจและมีสมาธิ ห้ามมิให้กดLink ใดๆทั้งสิ้น เวลามี โทรศัพท์แปลกๆที่เราไม่รู้จัก ไม่ต้องสนใจ แม้จะอ้างอะไรก็ตาม ไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น ให้รีบติดต่อสอบถามสหกรณ์โดยตรง ๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑ ๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑ ๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑ จดหมายเปิ ดผนึก ฉบับที่04/2566 วนัที่16 พฤษภาคม 2566 โดย นายไพบูลย์ แก้วเพทาย ประธานกรรมการด าเนินการ สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้ านครหลวงจ ากัด 55


เรื่อง สหกรณ์กับการลงทุน 1. การลงทุนของระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ ตามที่เคยชี้แจงไปแล้วว่า ปัจจุบันนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ทั้งระบบ มีสภาพคล่องคงเหลือหลังจากการบริการให้เงินกู้แก่สมาชิกแล้ว เป็นจำนวนมาก ดังข้อมูลการเงิน ปี2564 ต่อไปนี้ รายการ สินทรัพย์รวม เงินให้กู้ยืม เงินลงทุน สินทรัพย์อื่น 1. จำนวนเงิน(ล้านบาท) 2,999,238.77 2,168,813.63 511,119.35 319,305.79 2. คิดเป็นร้อยละ 100.00% 72.31% 17.04% 10.65 สหกรณ์ออมทรัพย์ทั้งระบบ มีจำนวนสหกรณ์ 1,374 แห่ง มีสมาชิกสหกรณ์รวม 3,405,917 คน จากข้อมูลการเงิน จะเห็นว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศ มีการลงทุนทั้งสิ้น 511,119.35 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.04 ของ สินทรัพย์รวมทั้งประเทศ ถือเป็นสภาพคล่องคงเหลือ หลังจากการบริการเงินให้กู้แก่สมาชิกหรือการให้บริการสินเชื่อแก่สมาชิก ซึ่งมี จำนวนเงิน 2,168,813.63 ล้านบาท คิดเป็น 72.31% และนอกนั้นเป็นสินทรัพย์อื่น นี่คือ แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต(Trend) มีสาเหตุมาจากกฎเกณฑ์การกู้ที่“กรมส่งเสริมสหกรณ์” พยายามออกหลักเกณฑ์ มากำกับ เพื่อให้สหกรณ์ทั้งหลายต้องบริหารความเสี่ยง จึงทำให้ยอดการปล่อยสินเชื่อหรือยอดเงินให้กู้น้อยลง มิใช่เพียงแค่นี้ หน่วยงานรัฐยังพยายามเข้ามาแทรกแซงหรือคุกคาม(Disrupt) โดยเข้ามาควบคุมอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝาก มิใช่ เพียงกรมส่งเสริมสหกรณ์เท่านั้น หากแต่ยังมี“กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย”ด้วย เพราะกฎหมายใหม่ เปิดช่องให้ ทั้งสองหน่วยงาน เข้ามามีบทบาทหน้าที่ในการกำกับการออกกฎกระทรวง จึงไม่ใช่เพียงการควบคุมการให้เงินกู้แก่สมาชิกเท่านั้น หากยังพยายามควบคุมหรือสกัดเงินรับฝากมิให้เจริญเติบโตอีกด้วย ถือเป็นแนวโน้ม(Trend)ของสหกรณ์ออมทรัพย์ทั้งระบบ ซึ่ง สอฟ.ของเราก็อยู่ในแนวโน้ม(Trend)นี้เช่นกัน 2. การลงทุนของ สอฟ. สอฟ.มีสภาพคล่อง เงินคงเหลือสูงเช่นเดียวกับสหกรณ์ออมทรัพย์อื่นๆทั่วประเทศ จึงจำเป็นต้องนำไปลงทุนในตลาดการเงิน ตามที่กฎหมายกำหนด คือ ตราสารหนี้และตราสารหุ้น ซึ่ง สอฟ.จะนำไปลงทุนนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ โดยเฉพาะการลงทุนในตราสารหุ้นนั้น กฎหมายกำหนดให้ลงทุนในหุ้นได้ตามมาตรา 62(3) กำหนดให้ลงทุนในหุ้นสามัญของรัฐ วิสาหกิจเท่านั้น รัฐวิสาหกิจนี้เป็นไปตามคำนิยามตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561 นอกจากหุ้นสามัญของรัฐวิสาหกิจแล้ว สอฟ.ยังได้ลงทุนในหุ้นสามัญของธนาคารพาณิชย์ โดยขอความเห็นชอบจากนายทะเบียน สหกรณ์ให้ลงทุนในหุ้นสามัญธนาคารพาณิชย์ได้ตามมาตรา 62(6) ขณะนี้ สอฟ.สามารถลงทุนได้ตามกฎหมายกำหนด มีอยู่ 8 หุ้น คือ หุ้นรัฐวิสาหกิจ คือ -*PTT -*PTTEP -*OR-PTT -*AOT -*MCOT หุ้นธนาคารพาณิชย์ คือ -*KTB -*SCB -*BAY 3. ความเสี่ยงจากการลงทุน ปกติการลงทุนในตลาดการเงิน(Financial Market) มีทั้งตลาดหุ้นหรือหุ้นสามัญ ซึ่งย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่าการนำไปลงทุนใน ตลาดเงินและตลาดตราสารหนี้แต่ก็สามารถชี้แจงได้ว่า ในตลาดการเงินนั้น มีทั้งที่เสียงต่ำ เสี่ยงปานกลาง และเสี่ยงสูง ซึ่งอยู่ที่การ บริหารความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้กลั่นกรองความเสี่ยงมาแล้วในเบื้องต้น จากงบการเงินประจำปีและฉบับย่อทุกเดือน มีรายงานการขาดทุนจากเงินลงทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น จะมียอดขึ้นๆลงๆตามตลาดหุ้น ผมขอเรียนว่า สมาชิกคงไม่ต้องกังวล เนื่องจากการลงทุนในหุ้นสามัญ ยอดกำไรหรือขาดทุนที่ยังไม่รับรู้(Unrealized Gain and Loss) จะไม่มีผลต่องบกำไรขาดทุน ถ้ายังไม่ขายออก แต่จะเป็นการบันทึกไว้ในหมวดทุน อีกประการหนึ่ง สหกรณ์ลงทุนในแบบนักลงทุน(Investor) ไม่ใช่ลงทุนแบบนักเก็งกำไร(Trader) เราสามารถดูได้จากผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 อันดับแรกของ ปตท.-PTT จะเห็นว่า ณ 3 มีนาคม 2566 สำนักงานกองทุนประกันสังคม เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับที่ 6 มีจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 503.27 ล้านหุ้น มีมูลค่ารวมเป็นเงิน 15,853.01 ล้านบาท(ราคาหุ้นปิดที่ 31.50 บาท ต่อหุ้น) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มานานแล้ว มีวัตถุประสงค์แบบนักลงทุนเพื่อหารายได้จากเงินปันผล(Dividend Yield) การลงทุนแบบนักลงทุน(Investor)ส่วนใหญ่จะลงทุนในหุ้นที่เป็นหุ้นชั้นดี มีความมั่นคงและมีผลประกอบการที่ดี ซึ่งมีระดับ จดหมายเปิ ดผนึก ฉบับที่05/2566 วนัที่06 มิถุนายน 2566 โดย นายไพบูลย์ แก้วเพทาย ประธานกรรมการด าเนินการ สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้ านครหลวงจ ากัด 56


ความเสี่ยงต่ำ นักลงทุนจะเน้นให้มีรายได้จากเงินปันผล ส่วนหุ้นขึ้นๆลงๆ ก็ถือเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะหุ้นของ ปตท.นั้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดคือ กระทรวงการคลัง ซึ่งถือหุ้นอยู่ทั้งสิ้น 14,598.85 ล้านหุ้น คิดเป็น 51.11% มีมูลค่า ณ วันที่ 3 มีนาคม 2566 เป็นเงินทั้งสิ้น 459,863.77 ล้านบาท(ราคาปิดที่ 31.50 บาทต่อหุ้น คูณด้วย 14,598.85 หุ้น) 4. สถานะเงินลงทุนของ สอฟ.เทียบกับสหกรณ์อื่น ข้อมูลการลงทุนเปรียบเทียบกับสหกรณ์อื่นที่มีสินทรัพย์ขนาดใหญ่ระดับเดียวกันปี2565 (ล้านบาท) รายการ สอ.M สอ.E สอ.P สอ.W สอ.T สอ.K ชุมนุม สอ. สินทรัพย์ (ล้านบาท) 38,510 147,236 64,694 15,987 41,037 48,815 131,094.67 เงินลงทุน (ล้านบาท) 25,126 128,292 30,364 7,120 28,269 37,457 64,635.53 เงินลงทุนต่อสินทรัพย์(%) 65.45% 87.13% 46.93% 44.54% 68.89% 76.73% 49.30% กำไร(ขาดทุน)ที่ยังไม่เกิดขึ้น (1,088.70) (6,083.01) (16,98) 1.74 (353.07) (613.66) (6,741.76) คิดเป็นร้อยละ(%) ของเงินลงทุน (4.33%) (4.74%) (00.06%) 0.02% (1.25%) (1.37%) (10.43%) ข้อมูล ณ วันที่.... 31ธ.ค.65 31ธ.ค.65 31ธ.ค.65 31ธ.ค.65 31ธ.ค.65 31ธ.ค.65 31มี.ค.66 กำไร(ขาดทุน)ที่ยังไม่เกิดขึ้น หมายถึง ยังไม่รับรู้กำไรหรือขาดทุน(Unrealized Gain and Loss) ตราบใดที่ยังไม่ขายออก ก็ยังไม่ รับรู้กำไรหรือขาดทุน จะรับรู้ ก็ต่อเมื่อมีการจำหน่ายหุ้นนั้นออกไป ข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลของสหกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนในสัดส่วนที่สูง อันดับหนึ่ง คือ สอ.E มีสัดส่วนเงินลงทุนสูงที่สุด คือ 128,292 ล้านบาท คิดเป็น 87.13% ของสินทรัพย์รวม อันดับสอง คือ สอ.Kคิดเป็น 76.73% อันดับสาม คือ สอ.Tคิดเป็น 68.89% อันดับสี่คือ สอ.M คิดเป็น 65.45% อันดับต่ำที่สุด คือ ชุมนุม สอ.แห่ง ปทท. คิดเป็น 49.30% แต่มียอดขาดทุนสูงที่สุด คือ 6,741.76 ล้านบาทคิดเป็น 10.43% การขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น(Unrealized Loss) ที่บันทึกไว้ในหมวดทุนของสหกรณ์นั้น สมาชิกไม่ควรต้องกังวลมากนัก เพราะหุ้น สามัญที่เราลงทุนนั้น เป็นหุ้นรัฐวิสาหกิจที่มั่นคง และมีเงินปันผลที่ดี เช่น #ปตท. #ปตท.สผ. #ธนาคารกรุงไทย 5. สไตล์การลงทุนแบบนักลงทุน สหกรณ์ฯใช้แนวทางการลงทุนแบบนักลงทุน(Investor) มิใช่แบบนักเก็งกำไร(Trader)สหกรณ์ฯจึงลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ ที่มี ปัจจัยพื้นฐานดีและมีความมั่นคง เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว โดยเฉพาะหุ้น ปตท.(PTT) ที่เป็นหุ้นดีขนาดใหญ่ มีเงินปันผลดี ข้อมูลของผู้ถือหุ้น ปตท.(PTT) รายใหญ่10 อันดับแรก ณ วันที่ 28 กันยายน 2565 อันดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (ล้านหุ้น) คิดเป็น ร้อยละ% เงินปันผล0.80 บาท/หุ้น มี.ค.65 เงินปันผล1.30 บาท/หุ้น ก.ย.65 เงินปันผลรวม ปี 2565 1. กระทรวงการคลัง 14,598.85 51.11% 11,679.08 18,978.51 30,657.59 2. กองทุนรวมวายุภักษ์ 1,736.89 6.08% 1,389.51 2,257.96 3,647.47 3. กองทุนรวมวายุภักษ์ 1,736.89 6.08% 1,389.51 2,257.96 3,647.47 4. บ.ไทยเอ็นวิติอาร์จำกัด 1,505.26 5.27% 1,204.21 1,956.84 3,161.05 5. บ.South East Asiaฯ 539.43 1.89% 431.54 701.26 1,132.80 6. ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ 441..09 1.54% 352.87 573.42 926.29 7. สำนักงานกองทุนประกันสังคม 440.20 1.54% 352.16 572.26 924.42 8. บ.State Street Europe 392.35 1.37% 313.88 510.05 823.93 9. Bank of New York Mellon 330.51 1.16% 264.41 429.66 694.07 10 สหกรณ์ออมทรัพย์ กฟผ. 310.20 1.09% 248.16 403.26 651.42 ??? สหกรณ์ออมทรัพย์ สร.กฟน. 118.29 0.41% 94.63 153.78 248..41 จากข้อมูลในตาราง จะเห็นว่า กระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่งสัดส่วน 51.11% ได้รับเงินปันผล 30,657.59 ล้านบาท สหกรณ์ออมทรัพย์มีสองแห่งที่ถือหุ้นใหญ่อันดับ 6คือ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่ง ปทท. และอันดับ 10คือ สอ.กฟผ. ส่วนสหกรณ์ออมทรัพย์ สภฟ.การไฟฟ้านครหลวง มีหุ้นอยู่ 118.29 ล้านหุ้น ได้รับเงินปันผลปี 2565 เป็นเงิน 248.41 ล้านบาท ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลจริงที่ใกล้เคียง ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนเล็กน้อย นอกจากนั้น จะเห็นว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ จะถือหุ้นไว้เพื่อรับ รายได้เป็นเงินปันผล แม้หุ้น ปตท.จะขึ้นหรือลงตามตลาดหุ้น ก็ไม่มีปัญหา เพราะถือเป็นการลงทุนไว้หารายได้จากเงินปันผล โดย เฉพาะกระทรวงการคลังถือหุ้นมาตั้งแต่ต้น และสำนักงานประกันสังคมก็ถือหุ้น ปตท.ไว้หลายสิบปีแล้ว 6. สรุปการลงทุนของสหกรณ์ สหกรณ์ลงทุนในหุ้นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งเป็นหุ้นรัฐวิสาหกิจที่มีความมั่นคง ความเสี่ยงต่ำ และมิได้มีลักษณะเก็งกำไร ดังนั้น จึงขอให้สมาชิกเข้าใจและไม่พึงกังวลจนเกินความเป็นจริง สหกรณ์ฯจะพยายามกำกับดูแลความเสี่ยงให้ดีที่สุด @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@ 57


เรียนพี่น้องสมาชิก จดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ ผมมีหลายเรื่องราวที่จะชี้แจงให้เกิดความเข้าใจ ดังนี้ 1. เรื่องการจัดตั้งชุมนุมสหกรณ์ฯ คงมีสมาชิกจำนวนมากได้รับรู้แล้วว่า ขณะนี้นายทะเบียนสหกรณ์ได้รับจดทะเบียนจัดตั้ง“ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ รัฐวิสาหกิจไทย จำกัด” เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 มีเลขทะเบียนสหกรณ์ที่ 1010000125669 ซึ่งมีสมาชิก บางส่วนสงสัยว่า ทำไมสหกรณ์ต้องจดทะเบียนใหม่ ตอบว่า ไม่ใช่สหกรณ์ฯจดทะเบียนใหม่ แต่เป็นชุมนุมสหกรณ์ฯ ขอเรียนชี้แจงว่า ชุมนุมสหกรณ์ฯที่ได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวนั้น มาจากสหกรณ์ออมทรัพย์ในกิจการรัฐวิสาหกิจที่ รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็น“ชมรมสหกรณ์ออมทรัพย์รัฐวิสาหกิจ” เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 โดยมีผมเป็นประธานชมรมฯ ชมรมฯได้ขับเคลื่อนเพื่อคัดค้านกฎกระทรวงของกรมส่งเสริมสหกรณ์ในหลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็นที่มีผลกระทบต่อ สิทธิผลประโยชน์ของสมาชิก รวมทั้งเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินฝากด้วย ที่เข้ามาก้าวก่ายกำหนดกฎเกณฑ์มากเกินไป แต่หลายครั้งที่ชมรมฯทำหนังสือถึงกรมส่งเสริมสหกรณ์ จะได้รับคำตอบว่า ชมรมฯมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายสหกรณ์ ดังนั้น ชมรมฯ จึงมีมติให้จัดตั้งเป็นนิติบุคคลในนาม “ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์รัฐวิสาหกิจไทย จำกัด” ซึ่งมีสหกรณ์ฯจำนวน 10 แห่ง ที่ร่วมกันจัดตั้งขึ้น ดังนี้ สอ.กฟน. สอ.กฟภ. สอ.กปน. สอ.เภสัชกรรม สอ.ทีโอทีสอ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย สอ.สนง.สลากกินแบ่งรัฐบาล สอ.ยาสูบ สอ.การยางแห่งประเทศไทย สอ.วิทยุการบิน 2. เรื่องการหักเงินได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ตั้งแต่ปี2558 สหภาพฯได้เรียกร้องให้ กฟน.หักเงินเดือนพนักงานชำระหนี้แก่สหกรณ์ฯแล้วต้องมีเงินคงเหลือไม่น้อย 30% ซึ่ง กฟน.ได้ออกระเบียบมาใช้บังคับ ปรากฏว่า สหกรณ์ฯไม่สามารถหักเงินชำระหนี้ได้ครบถ้วนตามสัญญากู้ที่ทำไว้ มีหนี้ผิดนัด ชำระจำนวนมากกว่า 900 คน เกิดหนี้เสียNPLและต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวนมาก ทั้งๆที่การออกระเบียบขึ้นถือใช้บังคับนั้น ไม่ควรที่จะใช้บังคับย้อนหลัง แต่ กฟน.กลับออกมาใช้บังคับย้อนหลัง เมื่อไม่สามารถหักเงินเดือนชำระหนี้ได้ครบตามสัญญาจึงถือว่าผิดนัดชำระหนี้ บางคนติดลบทบค้างเป็นเวลานานกว่า 5 ปี เชิญให้ปรับโครงสร้างหนี้ แต่ก็ไม่ยอมมาทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้สหกรณ์ฯจึงจำเป็นต้องให้พ้นจากสมาชิกภาพตามข้อบังคับ แต่สหกรณ์ฯยังคงส่งงวดชำระหนี้ให้ กฟน.หักตามกฎหมายสหกรณ์ มาตรา 42/1 และตามหนังสือยินยอมให้หักชำระหนี้ซึ่ง เป็นภาระผูกพันที่ให้ กฟน.หักชำระหนี้ส่งแก่สหกรณ์ โดยช่วงแรก กฟน.ยังคงหักเงินเดือนนำส่งให้สหกรณ์ฯ ต่อมาสหภาพฯยื่นเรื่องให้ กฟน.ยุติการหักเงินเดือนชำระหนี้ เนื่องจากมิได้เป็นสมาชิกสหกรณ์แล้ว ซึ่งทาง กฟน.จึงขอหารือ ไปยังกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่า กรณีพนักงานที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์แล้ว กฟน.จะยังหักเงินเดือนนำส่งสหกรณ์ได้หรือไม่? กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ตอบข้อหารือตามหนังสือที่ กษ ๑๑๑๕/๓๔๘๗ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๔ วินิจฉัยว่า “หน่วยงานต้นสังกัดจะหักเงินได้รายเดือนของพนักงานให้กับสหกรณ์ ต้องมีองค์ประกอบครบ ๓ ข้อ ดังนี้ (๑) เป็นพนักงานของหน่วยงานตามข้อบังคับสหกรณ์ฯ (๒) พนักงานต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ (๓) คำยินยอมของพนักงานหรืออดีตพนักงานซึ่งให้หน่วยงานหักเงินชำระหนี้ได้ องค์ประกอบดังกล่าว จะขาดองค์ประกอบในข้อใดข้อหนึ่งมิได้ หากขาดองค์ประกอบข้อใดแล้ว มีผลทำให้คำยินยอม ตามข้อ(๓)เป็นอันสิ้นผลและไม่มีสภาพบังคับ เมื่อพนักงานออกจากสมาชิกสหกรณ์ จึงไม่อาจอ้างได้ว่า เป็นการหักเงินตามคำ ยินยอมตามมาตรา ๔๒/๑ แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม” กฟน.จึงระงับการหักเงินเดือนนำส่งสหกรณ์ฯเพื่อชำระหนี้ ทั้งๆ มาตรา 42/1 นั้น ยังมีบทบัญญัติเป็นองค์ประกอบไว้อีกว่า (1) ให้หน่วยงานหักเงินเดือนชำระหนี้หรือภาระผูกพันตามหนังสือยินยอมจนกว่าหนี้หรือภาระผูกพันนั้นจะระงับสิ้นไป (2) หนังสือยินยอมนั้น มิอาจถอนคืนได้ เว้นแต่สหกรณ์ให้ความยินยอม จากการวินิจฉัยข้อกฎหมายของกรมส่งเสริมสหกรณ์ดังกล่าวนี้ ทำให้สหกรณ์ฯมิได้รับชำระหนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม 2566 เป็นเงินทั้งสิ้น 63.98 ล้านบาท แน่นอนว่า ยอดค้างชำระหนี้ เป็นหน้าที่ของสหกรณ์ฯในการติดตามหนี้ แต่จากการวินิจฉัยของกรมส่งเสริมสหกรณ์และการละเลยไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด มีผลให้สหกรณ์ฯเกิดความเสียหาย และต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพื่อตัดเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทำให้กำไรสุทธิและเงินปันผลลดลง สหกรณ์ฯจึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลมีคำพิพากษาตามคดีหมายเลขแดงที่ พ 1323/2566 ให้ กฟน.มี หน้าที่ต้องหักเงินเดือนส่งแก่สหกรณ์ตามมาตรา 42/1 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ.2542 จดหมายเปิ ดผนึก ฉบับที่06/2566 วนัที่18 กรกฎาคม 2566 โดย นายไพบูลย์ แก้วเพทาย ประธานกรรมการด าเนินการ สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้ านครหลวงจ ากัด 58


จากกรณีดังกล่าวนับเป็นอุทาหรณ์ว่า การวินิจฉัยกฎหมายที่ผิดพลาดและการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ก่อให้เกิด ความเสียหายต่อส่วนรวมทั้งสหกรณ์และสมาชิกส่วนใหญ่ แล้วใครล่ะที่จะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ปัจจัยสาเหตุหลัก คือ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ไม่มีหน้าที่วินิจฉัยข้อกฎหมาย แต่ชอบทำอวดเก่ง ทำตัวเป็นผู้พิพากษาวินิจฉัยข้อกฎหมาย ส่วน กฟน.นั้น ก็ขอให้ระมัดระวังในอนาคต เพราะสหกรณ์มีกฎหมายรองรับ หากเกิดความเสียหาย ผู้ที่เสียหายคือสมาชิก ส่วนใหญ่จำนวนมาก มิใช่คนบางคนที่บิดพริ้วไม่ชำระหนี้ การดำเนินการหรือการวินิจฉัยใดๆ สมควรปรึกษาหารือร่วมกันก่อน มีข้อสังเกตุกรณีพนักงาน กฟน. กู้เงินธนาคารกรุงไทย กฟน.ยังสามารถหักเงินเดือนพนักงานเพื่อนำส่งชำระหนี้แก่ ธนาคารกรุงไทยตามข้อตกลงได้ ทั้ง ๆที่ไม่มีกฎหมายสหกรณ์มาตรา 42/1 บัญญัติรองรับไว้แต่อย่างใด หนังสือยินยอมถือเป็นหนังสือที่กำหนดภาระผูกพัน เหมือนกับผู้ค้ำประกันเงินกู้ ที่ระเบียบสหกรณ์กำหนดว่า ต้องเป็น พนักงานและเป็นสมาชิก หากต่อไปผู้ค้ำประกันดังกล่าวมิได้เป็นสมาชิกแล้ว แต่ภาระผูกพันดังกล่าว ก็ยังคงมีผลอยู่ตามกฎหมาย การวินิจฉัยข้อกฎหมายใดๆ จะต้องคำนึงถึงส่วนรวม ไม่ก่อความเสียหายหรือความสงบเรียบร้อย ให้สามารถปฏิบัติได้ไม่ใช้ บังคับย้อนหลัง รวมทั้งต้องวินิจฉัยให้เป็นคุณ..มิใช่เป็นโทษ มิเช่นนั้น จะถือเป็นการละเลยให้เกิดเสียหาย 3. สถานการณ์ของการบินไทย ตามที่ทราบกันแล้วว่า สหกรณ์ฯของเรามีหุ้นกู้อยู่กับการบินไทย 620.00 ล้านบาท และยังต้องตั้งการด้อยค่าหุ้นกู้ปีละ 5% คิดเป็น 31.00 ล้านบาทเป็นค่าใช้จ่าย โดยการบินไทยต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการโดยคำสั่งศาลล้มละลายกลาง หุ้นกู้ที่มีอยู่ตามแผนฟื้นฟูกิจการ จะได้รับคืนโดยยืดหนี้ออกไปไม่เกิน 16 ปี ดอกเบี้ยลดลงเหลือ 0.50% ปลอดดอกเบี้ย 3 ปี ต่อมามีการแก้ไขแผนอีกหนึ่งครั้งในปี 2565 โดยให้หุ้นกู้แปลงหนี้เป็นทุน(หุ้นสามัญ) 50% ทั้งนี้คาดว่า การบินไทยจะสามารถ กลับมาดำเนินงานตามปกติและออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งสามารถเข้าซื้อขายหุ้นในตลาดได้ภายในปี 2567 การบินไทยสามารถออกจากแผนฟื้นฟูกิจการและกลับมาดำเนินงานปกติ..เป็นไปได้หรือไม่? พิจารณาจากงบการเงินและผลประกอบการของบริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน)ปี 2563-2566 ดังนี้ ข้อมูลการเงิน(ล้านบาท) 1Q2566 2565 2564 2563 สินทรัพย์รวม 208,444.53 198,177.72 161,219.25 208,790.92 หนี้สินรวม 266,947.41 269,202.35 232,469.73 337,455.78 ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม (58,502.89) (71,024.63) (71,250.48) (128,664.86) รายได้รวม 44,625.00 105,212.31 89,981.00 48,636.86 ค่าใช้จ่ายรวม 28,603.52 94,094.13 28,200.38 175,134.03 กำไร(ขาดทุน)จากการดำเนินงาน 16,021.48 11,118.18 61,780.62 (121,904.02) หัก EBITDA (3,498.57) (11,369.79) (6,667.32) (19,275.88) กำไร(ขาดทุน)สุทธิ 12,522.91 (251.61) 55,113.30 (141,179.90) EBITDA=Earning before *Interest , *Tax , *Depreciation , *Amortization สรุปผลช่วงสามปีที่ผ่านมา สินทรัพย์เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง และส่วนของทุนติดลบสะสมลดลง รายได้เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายลดลง อันมีผลต่อกำไร(ขาดทุน)ดีขึ้น นี่คือ สัญญาณบวกจากการบริหารแผนฟื้นฟูกิจการ รายได้รวมในปี 2563-64 มาจากการขายสินทรัพย์ออกไป แต่ปี 2565 มีรายได้จากการดำเนินธุรกิจหลักสูงถึง 105,212.31 ล้านบาท ช่วงไตรมาสแรก(1Q)ปีนี้ สามารถทำรายได้ถึง 44,625.00 ล้านบาท ถือเป็นศักยภาพเชิงธุรกิจการบินของการบินไทย กำไรสุทธิปี 2564 เพิ่มขึ้นมากมาจากการขายสินทรัพย์ ส่วนกำไรปี 2565 มีกำไรจากการดำเนินงาน 11,118.18 ล้านบาท เมื่อหักต้นทุน EBITDA ออกแล้ว ขาดทุนเพียง 251.61 ล้านบาท ถือว่า มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ส่วนกำไรสุทธิช่วงไตรมาสแรก(1Q) ปี 2566 หลังหักต้นทุน EBITDA แล้ว มีกำไรสุทธิถึง 12,522.91 ล้านบาท ถือเป็นข่าวดีเชิงบวกในการออกจากแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน) ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสหกรณ์ฯด้วย 4. กรณีบริษัทสตาร์คคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ STARK กรณี STARK ซึ่งเป็นธุรกิจด้านการผลิต(รวมสายไฟและเคเบิ้ล)ล้มละลายซึ่งก่อความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้นสามัญและผู้ถือหุ้น กู้จำนวนหลายหมื่นล้านบาท เรื่องนี้ขอเรียนชี้แจงต่อพี่น้องสมาชิกว่า ไม่ต้องเป็นห่วงใดๆ เพราะไม่มีสหกรณ์แห่งใดเกิดความ เสียหายจาก STARK เนื่องจากหุ้นกู้ STARK มี Credit Rating อยู่ในระดับกลุ่ม B ซึ่งสหกรณ์ลงไม่ได้ หุ้นกู้ที่สหกรณ์ลงทุนได้ต้องมี Credit Rating ตั้งแต่ A- ขึ้นไปเท่านั้น (*A- *A *A+ *AA- *AA *AA+ *AAA) 5. สรุปความเสี่ยงของสหกรณ์ สถานการณ์การบินไทยเป็นข่าวดี และ STARK ไม่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ จึงไม่น่าห่วง แต่ที่ห่วงคือกำไรปีนี้ จะต่ำกว่าปีที่แล้ว ค่อนข้างแน่ แต่จะกระทบเงินปันผลแค่ไหนนั้น เรายังมีเวลาอีกครึ่งปี สหกรณ์จะพยายามเต็มที่เพื่อให้กระทบน้อยที่สุด วันนี้ขบวนการสหกรณ์ไม่ได้เสี่ยงจากการลงทุนมากนัก เพราะมีการบริหารความเสี่ยงที่ดีพอสมควร แต่ที่เป็นความเสี่ยงและ เป็นภัยคุกคาม คือ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ลุแก่อำนาจและพยายามใช้อำนาจเพื่อการควบคุมมากกว่าการส่งเสริมแนะนำ บทบาทของกรมส่งเสริมสหกรณ์ควรมีหน้าที่ให้คำแนะนำที่ดีๆ แก่สหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์เจริญเติบโตและก้าวหน้า ๑ ๑ ๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑ 59


ในโอกาสนี้ผมมีเรื่องต่างๆที่ต้องการชี้แจงข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้พี่น้องสมาชิกรับทราบเพิ่มเติม เนื่องจาก ขณะนี้ สอฟ.บริหารมาแล้วครบครึ่งปีหรือ สองไตรมาส เรามีผลการดำเนินงานอย่างไร ดังต่อไปนี้ 1. เรื่อง เงินสงเคราะห์ฌาปนกิจสงเคราะห์สามารถนำมาหักชำระหนี้ได้ สหกรณ์มีวัตถุประสงค์ให้เงินกู้แก่สมาชิกเพื่อความจำเป็นเดือดร้อน รวมทั้งสร้างชีวิตให้มีคุณภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต ขณะเดียวกัน สอฟ.ยังพยายามสร้างสวัสดิการกรณีเสียชีวิตกับสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์สมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์ รัฐวิสาหกิจไทย(สสอร.) หากเสียชีวิตจะได้รับการสงเคราะห์กว่า 400,000 บาท โดยเงินสงเคราะห์นี้สามารถนำมาหักชำระหนี้ได้ เนื่องจากศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้วว่า เมื่อสมาชิกผู้ตายระบุขอมอบเงินจัดการศพและเงินสงเคราะห์ให้แก่ทายาทเป็น ผู้รับเงินสงเคราะห์เพื่อชำระหนี้แก่สหกรณ์ตามจำนวนที่ค้างชำระและเพื่อจัดการศพ โดยศาลฎีกายังวินิจฉัยไว้อีกว่า “ตามใบสมัครที่ผู้ตายสมัครสมาชิกสมาคมฯ ระบุไว้ชัดเจนว่า เพื่อชำระหนี้แก่สหกรณ์ฯตามจำนวนที่ค้างชำระก่อน ถือ เป็นคู่สัญญากู้หรือค้ำประกันโดยตรงกับสหกรณ์ฯและสหกรณ์ฯได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตลอดมาตั้งแต่ ผู้ตายสมัครเข้าสมาชิกสมาคมฯ” “สหกรณ์ฯจึงย่อมมีสิทธิดีกว่าโจทก์ทั้งสองตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374 และ มาตรา 375” คุณค่าของชีวิตคือการสร้างหลักประกันในชีวิตให้แก่คนที่เรารักและผูกพัน ตายไปเหลืออะไรไว้บ้าง..มิใช่เหลือแต่หนี้ ขอเชิญชวนเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมฯ เพื่อช่วยเหลือกันศพละ 20 บาท เสียชีวิต..ได้รับเงินกว่า 400,000 บาท 2. เงินปันผลกับผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก ณ 30 มิถุนายน 2566 จากงบการเงินฉบับย่อ ณ 30 มิถุนายน 2566 หมายเหตุด้านล่างของตารางนั้น ขอเรียนชี้แจงดังนี้ 2.1 เงินให้กู้ที่ไม่ก่อรายได้(NPL) 932.48 ล้านบาทเป็นยอดรวม NPL หรือ Gross NPL ซึ่งยังไม่ได้หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะ สูญออก ณ 31 ธันวาคม 2565 ซึ่ง สอฟ.หักค่าเผื่อหนี้ฯไปแล้ว 504.78 ล้านบาท คงเหลือ Net NPL เป็นเงิน 445.19 ล้านบาท หมายความว่า สอฟ.ได้รับรู้ความเสียหายไปแล้ว 504.78 ล้านบาท(ตั้งเป็นค่าใช้จ่ายแล้ว) 2.2 สินทรัพย์ที่นำไปค้ำประกันเงินกู้ยืม 4,808.00 ล้านบาท หมายถึงเรานำพันธบัตรและหุ้นกู้ไปค้ำประกันเป็นวงเงินกู้ยืม ไว้กับธนาคารโดยใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อสำรองไว้ยามขาดสภาพคล่อง ถือเป็นการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน สำหรับผลการดำเนินงานช่วงครึ่งปีหรือไตรมาสสอง ณ 30 มิถุนายน 2566 ดังนี้ (ล้านบาท) รายการครึ่งปี เกิดจริง64 เกิดจริง65 เกิดจริง66 ประมาณการ66 คิดเป็น% รายได้รวมครึ่งปี 854.67 969.22 854.78 1,157.36 73.86% ค่าใช้จ่ายครึ่งปี 462.90 504.83 546.73 626.78 87.23% กำไรสุทธิครึ่งปี 391.77 464.39 308.05 530.58 58.06% กำไรสุทธิทั้งปี 771.29 1,166.11 ???? 1,061.15 กำไรสุทธิ6เดือนปี2566 เป็นเงิน 308.05 ล้านบาท ยังไม่รวมรายได้จาก Private Fund) เดือนมิถุนายน 2566 เป็นเงิน 16.84 ล้านบาท เมื่อรวมรายได้จาก Private Fund เท่ากับกำไรสุทธิ6เดือนปี2566 รวมกำไรสุทธิทั้งสิ้นเป็นเงิน 324.89 ล้านบาท จากข้อมูลในตาราง จะเห็นว่า ผลการดำเนินงานในปี2566 มิเพียงต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เท่านั้น แต่ยังต่ำกว่าปี 2564 ที่ ทำกำไรได้ค่อนข้างยากเพราะตลาดหุ้นซบเซา(Side Way)ซึ่งทำกำไรสุทธิเพียง 771.29 ล้านบาท แต่ปีนี้กลับหนักกว่าปี 2564 อีก ครึ่งปี 2566 กำไร 324.89 ล้านบาท และ ครึ่งปี 2564 กำไร 391.77 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่า 66.88 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สอฟ.ยังมีเวลาอีกครึ่งปี ที่ต้องกำกับติดตาม(Monitoring)อย่างใกล้ชิด เพื่อให้บลจ.พยายามทำกำไรเพิ่มขึ้น ในช่วงครึ่งปีหลัง หากเราคาดหวังว่า สามารถทำกำไรสุทธิทั้งปีได้ถึง 700-800 ล้านบาท จะสามารถจ่ายเงินปันผลได้เท่าไร ปี 2564 ทำกำไร 771.29 ล้านบาท เราจ่ายเงินปันผล 5.75% ถ้าหากปีนี้สามารถทำกำไรถึง 700-800 ล้านบาท เราอาจ ประมาณการจ่ายเงินปันผลได้เพียง 5.50-5.75% สมมติว่า เราสามารถจ่ายเงินปันผลจริงๆได้เพียงอัตรา 5.50% เราก็อาจนำทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผลมาช่วยเสริมให้ได้ถึง 6.00% เนื่องจากปี 2565 เรามีกำไรมากเป็นพิเศษ จึงได้ บริหารความเสี่ยงโดยเก็บออมไว้ในทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผล สามารถนำมาจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นอีก 0.50% ได้อย่างสบายๆ 3. บทสรุปที่คาดหวัง ในฐานะประธานและคณะกรรมการ เราตั้งเป้าหมายไว้เพื่อ“สหกรณ์มั่นคง..สมาชิกมั่งคั่ง..เงินปันผลยั่งยืน”โดยพยายาม จะจ่ายเงินปันผลแก่สมาชิกอย่างยั่งยืน ด้วยเป้าหมายที่คาดหวังไว้ ในอัตรา 5.00%-6.00% เราพร้อมที่จะใช้ความรู้และศักยภาพการบริหารเงิน เพื่อเงินปันผลที่ยั่งยืนและมีความเสี่ยงที่พอยอมรับได้... @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @ เมื่อผลตอบแทน @@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @ ดี... @@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ ความมั่นคง @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@ ต้อง@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@ @@@@@ @@@@ ดีด้วย...ซึ่งเราตระหนักอยู่เสมอว่า การลงทุนมีความเสี่ยง @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @ .. @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @ ขอให้เชื่อมั่น @@@ @@@ จดหมายเปิ ดผนึก ฉบับที่07/2566 วนัที่26 กรกฎาคม 2566 โดย นายไพบูลย์ แก้วเพทาย ประธานกรรมการด าเนินการ สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้ านครหลวงจ ากัด 60


รายได้ของสหกรณ์กับการลงทุนในตลาดทุน ปี2566 ก่อนอื่นผมขอทำความเข้าใจก่อนว่า ตลาดทุนคืออะไร เงินทุนของสหกรณ์ฯ นอกเหนือจากการให้สมาชิกกู้และการให้เงินกู้แก่สหกรณ์อื่นๆตามกฎหมายแล้ว หากมีเงินทุนคงเหลือ หรือมีสภาพคล่องส่วนเกินจากการให้กู้ เราสามารถนำไปลงทุนในตลาดการลงทุนได้ เรียกว่า ตลาดการเงิน(Financial Market) ตลาดการเงิน(Financial market) แบ่งเป็นตลาด 2 ส่วนด้วยกัน คือ (๑) ตลาดเงิน(Money Market) เป็นแหล่งลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นไม่เกินหนึ่งปี ประเภทตั๋วเงินต่าง ๆ(Notes) *ตั๋วเงินคลัง(Treasury Bill) *บัตรเงินฝาก(NCD : Negotiable Certificate of Deposit) *ตั๋วสัญญาใช้เงิน(PN : Promissory Note) *ตั๋วแลกเงิน(BE : Bill of Exchange) (๒) ตลาดทุน(Capital Market) เป็นตลาดสำหรับตราสารหนี้ระยะยาวเกินกว่าหนึ่งปีซึ่งมีตลาด ๒ ประเภท คือ (๒.๑) ตลาดตราสารหนี้(Debt Market) เป็นแหล่งลงทุนตราสารหนี้(Fixed Income Security) มีอยู่ ๒ ประเภท คือ ก. ประเภทตราสารหนี้ระยะสั้น จะอยู่ในตลาดเงินหรือตั๋วเงินต่างๆ ดูข้อ (๑) ข. ประเภทตราสารหนี้ระยะยาว มี ๒ ประเภท คือ *พันธบัตรของรัฐ(Government Bond) *หุ้นกู้เอกชน(Corporate Bond หรือ Debenture) (๒.๒) ตลาดหุ้น(Equity Market) เป็นตลาดหรือแหล่งลงทุนในตราสารทุน มี *หุ้นสามัญ(Shares – Common Stock) และ *หุ้นบุริมสิทธิ์(Preferred Stock) จากแหล่งลงทุนด้งกล่าวข้างต้น สหกรณ์ฯสามารถลงทุนได้ตามกฎหมาย ซึ่งผมได้เคยเขียนชี้แจงไปแล้ว แต่ฉบับนี้จะไม่ กล่าวถึงอีก เพียงขอชี้แจงสรุปสั้นๆว่า สหกรณ์ฯสามารถลงทุนทั้งตราสารหนี้และตราสารทุนได้ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น การบริหารสินทรัพย์ของสหกรณ์ฯ มีสัดส่วนของเงินทุน ณ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ดังนี้ สัดส่วนสินทรัพย์ปี๒๕๖๕ เงินให้กู้สมาชิก เงินลงทุน สินทรัพย์อื่น รวมเป็นเงิน ๑.ยอดจำนวนเงิน(ล้านบาท) ๑๒,๕๙๖.๕๔ ๒๔,๗๓๙.๐๓ ๑,๑๗๔.๙๓ ๓๘,๕๑๐.๕๐ ๒.คิดเป็นร้อยละ(%) ๓๒.๗๑ ๖๔.๒๔ ๓.๐๕ ๑๐๐.๐๐ เงินรับฝากจากสมาชิก ณ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ เป็นเงินทั้งสิ้น ๒๖,๘๔๑.๑๓ ล้านบาท หากพิจารณาการหารายได้จากการบริหารเงินทุน(สินทรัพย์) จะเห็นว่า สหกรณ์ฯหารายได้จากเงินให้กู้แก่สมาชิกได้น้อยลง มาก เพราะมีสัดส่วนอยู่เพียงร้อยละ ๓๒.๗๑ ส่วนใหญ่ต้องนำไปลงทุน ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ ๖๔.๒๔ ดังนั้น หากไม่มีการลงทุน มีแต่การให้สมาชิกกู้สหกรณ์ฯคงจ่ายเงินปันผลได้ไม่มากนัก พิจารณาจากการเทียบรายได้เงินให้กู้สมาชิก(ดอกเบี้ยเงินกู้) กับ ต้นทุนการเงิน(ดอกเบี้ยเงินรับฝาก) โดยตั้งสมมติฐานจากตัวเลขของงบการเงิน ๒๕๖๕ และใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่โดยประมาณ รายการ ยอดเงิน(ล้านบาท) อัตราดอกเบี้ย% เป็นเงิน(ล้านบาท) หมายเหตุ ยอดเงินรับฝากทั้งสิ้น ๒๖,๘๔๑.๑๓ ๓.๕๐% ๙๓๙.๔๔ ต้นทุนดอกเบี้ยฝาก ยอดเงินให้กู้แก่สมาชิกทั้งสิ้น ๑๒,๕๙๖.๕๔ ๕.๐๐% ๖๒๙.๘๓ รายได้ดอกเบี้ยกู้ ต้นทุนทางการเงินหรือดอกเบี้ยเงินรับฝาก รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๙๓๙.๔๔ ล้านบาท รายได้จากการให้เงินกู้แก่สมาชิกหรือดอกเบี้ยเงินกู้รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๖๒๙.๘๓ ล้านบาท สหกรณ์ฯจะขาดทุนทันทีเป็นเงิน ๓๐๙.๖๑ ล้านบาท(โดยประมาณ ) ยังไม่นับรวมต้นทุนเงินเฉลี่ยคืน ค่าใช้จ่ายในการ บริหาร และอื่นๆ ถ้าสหกรณ์ฯมีรายได้เงินให้กู้แก่สมาชิกเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีรายได้จากเงินลงทุน เงินปันผลจะตกต่ำแน่นอน เมื่อสหกรณ์ฯต้องพยายามหารายได้จากเงินลงทุน จะมีความเสี่ยงจากการลงทุน โดยเฉพาะภาวะตลาดหุ้นที่ไม่แน่นอนหรือ ซบเซา ทำให้มีผลกระทบต่อการทำกำไรจากการขายหุ้น(Capital Gain) มีแต่รายได้จากเงินปันผล(Dividend Yield)เท่านั้น จากภาวะตลาดหุ้นปีนี้ ที่ค่อนข้างซบเซาอย่างหนัก(Side Way) ตลาดหุ้นไม่ขยับไปไหนตั้งแต่ต้นปี คาดหวังว่า หลังเลือกตั้ง ตลาดหุ้นน่าจะขยับ แต่ติดปัญหาการตั้งรัฐบาลล่าช้า ทำให้การลงทุนของสหกรณ์ฯ..สูญเสียโอกาส ไม่สามารถทำกำไรได้มากเท่า กับปีที่แล้ว(ปี ๒๕๖๕) ที่เราสามารถทำกำไรพุ่งทะลุเพดานถึง ๑,๑๖๖.๑๑ ล้านบาท เมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานช่วงครึ่งปีนี้กำไรเกิดขึ้นจริงเพียง ๓๒๔.๘๙ ล้านบาท ไม่สามารถทำกำไรบรรลุเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ครึ่งปีเป็นเงิน ๕๓๐.๕๘ ล้านบาทได้(ทั้งปีประมาณการไว้ ๑,๐๖๑.๑๕ ล้านบาท) และ ยังต่ำกว่าปี๒๕๖๔ อีกด้วย ปี ๒๕๖๔ ภาวะตลาดหุ้นซบเซาเช่นกัน กำไรครึ่งปี(๒๕๖๔) ๓๙๑.๗๗ ล้านบาท (ทั้งปีกำไรสุทธิ ๗๗๑.๒๙ ล้านบาท) ปีนี้ ตลาดหุ้นซบเซา กำไรหดหาย เงินปันผลจะเป็นเท่าไร? (โปรดติดตาม..วิเคราะห์ฉบับต่อไป) @ @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@ @@@@@@ @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ @@@@ @@@@ @@@@@ จดหมายเปิ ดผนึก ฉบับที่08/2566 วนัที่สิงหาคม 2566 โดย นายไพบูลย์ แก้วเพทาย ประธานกรรมการด าเนินการ สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้ านครหลวงจ ากัด 61


62


63


64


65


66


67


68


69


70


71


72


73


74


75


76


77


78


79


80


81


82


83


Click to View FlipBook Version