The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Khun_Effys, 2024-01-04 15:00:18

รายงาน

รายงาน

รายงาน เรื่อง แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 จัดทำโดย นายธนกฤต วิเชียรพนัส 6521165079 เสนอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรีภรณ์ บางเขียว (ผู้สอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร) รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้า รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร รหัสวิชา 1190201 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566


คำนำ รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ ในเรื่องแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 โดยได้ศึกษาผ่านแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ เช่น หนังสือ ห้องสมุด และเว็บไซต์ต่างๆ ผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดทำรายงานเล่มนี้จะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้อ่านเป็นอย่างดี ผู้จัดทำ นายธนกฤต วิเชียรพนัส ก


สารบัญ เรื่อง หน้า แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 1 1. สภาพปัจจุบันของหลักสูตรไทย 1 1.1 หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 1 1.2 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 2 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) 1.3 หลักสูตรการอาชีวศึกษา 2 - ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 2 - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 2 - หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ 3 1.4 หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) 3 2. สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทย 4 2.1 หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 4 2.2 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 4 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) 2.3 หลักสูตรการอาชีวศึกษา 4 - ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 4 - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 5 - หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ 5 2.4 หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) 5 ข


สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า 3. แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 6 3.1 หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 6 3.2 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 6 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) 3.3 หลักสูตรการอาชีวศึกษา 7 - ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 7 - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 7 - หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ 8 3.4 หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) 8 สรุป 9 ข


แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology :ICT) ทำให้ทักษะที่จำเป็นสำหรับคนใน ยุคศตวรรษที่ 21 มีความแตกต่างไปจากยุคศตวรรษที่ 20 เหตุเนื่องจากงานที่เคยใช้คนทำงานกับเครื่องจักรกำลังเปลี่ยนแปลง อย่างต่อเนื่อง เพราะคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมได้ขยายขีดความสามารถจนสามารถทำงาน แทนที่คนได้ ทำให้สัดส่วนแรงงานลดลงเกิดขึ้นในงานที่ใช้สัมผัสรับรู้อย่างจำเจและงานที่ใช้แรงงานแบบซ้ำๆซากๆ ซึ่งเป็นงานที่ป้อนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำแทน แต่สัดส่วนแรงงานระดับชาติบางส่วนที่เพิ่มขึ้นในงานที่เน้นการคิด อย่างผู้เชี่ยวชาญและต้องใช้ การสื่อสารที่ซับซ้อนซึ่งเป็นงานที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำแทนได้ 1. สภาพปัจจุบันของหลักสูตรไทย 1.1 หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้การศึกษาปฐมวัยที่ต้องพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิด - 5 ปีให้มีพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้เหมาะสมกับวัย ความสามารถ และความแตกต่างของแต่ละบุคคล เป็นการเตรียมความ พร้อมในการเรียนรู้และสร้างรากฐานของชีวิต เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีระเบียบวินัย ภูมิใจในชาติ และรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตามเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็น. พ.ศ. 2560 มาตรา 54 อาศัยอำนาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. พ.ศ. 2545 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2560 ดังแนบท้ายคำสั่งนี้ ให้ใช้แทนหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2546 สำหรับสถาบันการศึกษา หรือศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยทุกแห่งตาม นำหลักสูตรนี้ไปใช้โดยการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเด็กและสภาพ ท้องถิ่น 1


1.2 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้าน ร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุขมีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาการประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนา ตนเองได้ตามศักยภาพ มีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากลสอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 1.3 หลักสูตรการอาชีวศึกษา - ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 เป็นหลักสูตรหลังมัธยมศึกษาตอนต้นหรือ เทียบเท่า ที่ พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการศึกษาด้านวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และเพื่อยกระดับ การศึกษาวิชาชีพ ของบุคคลให้สูงขึ้น สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนการศึกษา แห่งชาติเป็นไปตามกรอบ คุณวุฒิแห่งชาติมาตรฐานการศึกษาของชาติและกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติตลอดจนยึดโยงกับ มาตรฐาน อาชีพ โดยเน้นการเรียนรู้สู่การปฏิบตัิเพื่อพัฒนาสมรรถนะกำลังคนระดับฝีมือ รวมทั้งคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนของ ตลาดแรงงาน ชุมชน สังคม และสามารถประกอบอาชีพอิสระได้ - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น เพื่อใช้ในการจัด การศึกษาด้านวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และเพื่อยกระดับการศึกษาวิชาชีพของบุคคลให้สูงขึ้น สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นไปตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติและกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติตลอดจนยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ โดยเน้นการ เรียนรู้สู่การปฏิบัติเพื่อพํมนาสมรรถนะกำลังคนระดับเทคนิค รวมทั้งคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวชิาชีพและ กิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคน ของตลาดแรงงาน ชุมชน สังคม และ สามารถประกอบอาชีพอิสระได้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกระบบ และวิธีการเรียนได้อย่างเหมาะสมตาม ศักยภาพ ตามความสนใจและโอกาสของตน ส่งเสริมให้มีการประสาน ความร่วมมือเพื่อจัดการศึกษาและพัฒนา หลักสูตรร่วมกันระหว่างสถาบัน สถานศึกษา หน่วยงาน สถานประกอบการและองคก์รต่าง ๆ ทั้งในระดับชุมชน ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ 2


- หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ปัจจุบันสาขาเทคโนโลยีได้มีความหลากหลายและแตกแขนงเป็นสาขาเทคโนโลยีย่อยหลายๆด้าน เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและความต้องการของสังคมจึงมีหลายสถาบันจัดทํา หลักสูตรที่มุ่งเน้น องค์ความรู้ที่แตกต่างและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละสถาบันซึ่งหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตเป็นการเรียนการ สอนที่มุ่งเน้นผลิตนักเทคโนโลยีระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมีความรู้ หลากหลายจากศาสตร์ต่าง ๆ มาผสมผสานเพื่อใช้ประโยชน์ในการดําเนินงานด้านเทคโนโลยีในลักษณะ สหวิทยาการบัณฑิตมีความสามารถด้านปฏิบัติงานที่นําความรู้ด้าน ทฤษฎีมาประยุกต์และมีความสามารถพัฒนา งานทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม 1.4 หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) การรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษาต้องดําเนินการใหม่เป็นไปตาม ประกาศ คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งตั้ง หรือมอบหมายผู้ ตรวจสอบและการตรวจสอบการดําเนินการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2565 และนําหลักการการ บริหารคุณภาพ และระบบบริหารงานที่เป็นสากลมาประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานการ อุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษาในบริบทของประเทศไทย สถาบันอุดมศึกษา ต้องแสดงความรับผิดชอบที่ ตรวจสอบได้ในการผลิตบัณฑิตใหม่ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กําหนดไว้ในหลักสูตร การศึกษา โดยออกแบบและ พัฒนาระบบและกลไก หรือวิธีการ พร้อมหลักฐานเชิงประจักษ์สําหรับการตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาและ ตรวจสอบการดําเนินการจัดการศึกษา เพื่อการรับรอง มาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา 3


2. สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทย 2.1 หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปัญหาที่พบในการบริหารงานวิชาการการศึกษาปฐมวัย สามารถสรุปสภาพ ปัญหาในการบริหารงาน วิชาการการศึกษาปฐมวัย ดังนี้ - ปัญหาด้านผู้บริหาร นิเทศ กำกับ ติดตามงานไม่ต่อเนื่อง - ปัญหาด้านครู ครูไม่ครบชั้น และไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็ก - ปัญหาด้านผู้ปกครอง ผู้ปกครองให้ความร่วมมือค่อนข้างน้อยในการดูแลเอาใจใส่ - ปัญหาด้านงบประมาณ มีความล่าช้า งบประมาณไม่เพียงพอ - ปัญหาด้านหลักสูตร ครูขาดความรู้ความเข้าใจหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2.2 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พบว่า การใช้หลักสูตร ในโรงเรียนต้นแบบ มีปัญหาอยู่ในระดับมาก เพราะสถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรไม่สอดคล้องกับความต้องของ ท้องถิ่นและสภาพของสถานศึกษาที่เป็นอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับ แนนซี่ (Nancy. 1992) ที่ชี้ให้เห็นว่า การนำหลักสูตร ใหม่ไปใช้นั้น ครูผู้สอนต้องได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครูผู้สอนเกิดความ มั่นใจใน กระบวนการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.3 หลักสูตรการอาชีวศึกษา - ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 ปัญหาที่พบส่วนใหญ่มักจะมีปัญหา ดังนี้ ด้านหลักสูตร องค์ประกอบของหลักสูตรมีไม่ครบถ้วน การจัดทำหลักสูตรขาดการวิเคราะห์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่มี ส่วนในการจัดการจัดทำหลักสูตร ด้านครูผู้สอน ครูขาดความตระหนัก เจตคติ ขาดการทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและโครงสร้างของ หลักสูตร ด้านสื่อการเรียนการสอน ขาดสื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอน ขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอน ขาดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและวิธีการที่หลากหลาย 4


- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 ปัญหาที่พบส่วนใหญ่มักจะมีปัญหา ดังนี้ ด้านหลักสูตร องค์ประกอบของหลักสูตรมีไม่ครบถ้วน การจัดทำหลักสูตรขาดการวิเคราะห์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่มี ส่วนในการจัดการจัดทำหลักสูตร ด้านครูผู้สอน ครูขาดความตระหนัก เจตคติ ขาดการทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและโครงสร้างของ หลักสูตร ด้านสื่อการเรียนการสอน ขาดสื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอน ขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอน ขาดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและวิธีการที่หลากหลาย - หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่มักจะมีปัญหา ดังนี้ ด้านหลักสูตร องค์ประกอบของหลักสูตรมีไม่ครบถ้วน การจัดทำหลักสูตรขาดการวิเคราะห์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่มี ส่วนในการจัดการจัดทำหลักสูตร ด้านครูผู้สอน ครูขาดความตระหนัก เจตคติ ขาดการทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและโครงสร้างของ หลักสูตร ด้านสื่อการเรียนการสอน ขาดสื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอน ขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอน ขาดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและวิธีการที่หลากหลาย 2.4 หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) ในปัจจุบันก็ยังพบว่าคุณภาพอุดมศึกษายังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรในหลายประเด็น สาเหตุหลักมีหลาย ประการ ประกอบด้วย - สถาบันอุดมศึกษาปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการ เรียนการสอนและการวิจัย - ทิศทางการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวมไม่ชัดเจน - รัฐบาลไม่มีการควบคุมการเปิดสาขาวิชาของแต่ละมหาวิทยาลัยให้ตรงตามความต้องการของประเทศและ ตลาดแรงงาน 5


3. แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 3.1 หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 การศึกษาสำหรับเด็กเล็ก และก่อนประถมศึกษาจะขยายตัวมากกว่าระดับอื่น - การเพิ่มคุณภาพของครูประถม - การเพิ่มงบประมาณ การปรับปรุงคุณภาพ และหลักสูตรโดยเน้นการประกอบอาชีพ - การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น 3.2 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) - ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้มากขึ้น เพื่อเป็นการระดมสมองระหว่าง ผู้บริหาร ครู และชุมชน ในการจัดทำหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ - ควรปรับปรุงเรื่องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน และการปรับกระบวนทัศน์ของครูผู้สอนเกี่ยวกับ การเรียนรู้ใหม่ให้ทันต่อเหตุการณ์ - ครูผู้สอนต้องมีการเตรียมความพร้อมในการจัดหาสื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน มีการเตรียมสื่อ เทคโนโลยีที่ หลากหลาย - ครูควรพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้สนองต่อความต้องการของผู้เรียน ควรจัดสัมมนาครูโรงเรียนในสังกัด เพื่อให้ทุกโรงเรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ออกแบบและพัฒนาแผนการ จัดการเรียนรู้ถือว่าเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนพึงตระหนักและให้ความสำคัญ เพระจะส่งผลดีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สนองต่อความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง 6


3.3 หลักสูตรการอาชีวศึกษา - ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรหรือการปรับปรุงสาระสําคัญของหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิ อาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ให้เป็นหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบัน การ อาชีวศึกษา และสถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การอนุมัติหลักสูตร ให้เป็นหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยความ เห็นชอบของ คณะกรรมการการอาชีวศึกษา การประกาศใช้หลักสูตรให้ทําเป็ นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ การพัฒนารายวิชาหรื อกลุ่มวิชาเพิ่มเติม สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันสามารถ ดําเนินการได้ โดยต้อง รายงานให้สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทราบ - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 พัฒนาด้านหลักสูตร ให้มีองค์ประกอบของหลักสูตรมีครบถ้วน พัฒนาด้านครูผู้สอน ให้ครูมีความตระหนัก เจตคติ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและโครงสร้างของหลักสูตร เป็นอย่างดี พัฒนาด้านสื่อการเรียนการสอน เตรียมพร้อมสื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการ เรียนการสอน พัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอน มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและวิธีการที่หลากหลาย 7


- หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พัฒนาด้านหลักสูตร ให้มีองค์ประกอบของหลักสูตรมีครบถ้วน พัฒนาด้านครูผู้สอน ให้ครูมีความตระหนัก เจตคติ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและโครงสร้างของหลักสูตร เป็นอย่างดี พัฒนาด้านสื่อการเรียนการสอน เตรียมพร้อมสื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการ เรียนการสอน พัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอน มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและวิธีการที่หลากหลาย 3.4 หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) สถาบันอุดมศึกษาจําเป็นต้องพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับสภาพจริง และให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต ซึ่งโลกได้มีการ พัฒนาเปลี่ยนแปลงเจริญก้าวหน้าไป อย่างรวดเร็วทุกด้านทั้งในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทําให้ ประเทศของเราจําเป็นต้องปรับเปลี่ยน บทบาทให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการแข่งขันในประชาคมโลกมาก ยิ่งขึ้น 8


สรุป หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ กำหนดแนวทางในการประกอบ อาชีพตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจของตนเอง ดังนั้นการบริหารจัดการหลักสูตรจำเป็นจะต้อง เข้าใจถึงแนวโน้มการพัฒนาสาขาวิชาที่จะอยู่ในหลักสูตรเพื่อที่จะได้วางแผนการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีความ เหมาะสมทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การจัดการเรียนการสอนในแต่ละ สาขาวิชา ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ กระบวนการ มีความสามารถและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่กำหนดในมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร ดังนั้นผู้สอนต้องมีเทคนิคและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับ ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ การสร้างความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบสืบเสาะ การเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐาน การเรียนรู้แบบบูรณาการ STEM และ STEAM และมีการ จัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการใช้เทคโนโลยีในรูปของการเรียนรู้ผ่านสื่อเคลื่อนไหว เพื่อเสริมสร้างทักษะที่ สำคัญของผู้เรียนได้แก่ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะในโลกจริง เป็น ต้น การวัดและประเมินผลควรทำเพื่อพัฒนาโดยใช้วิธีการที่หลากหลายเหมาะกับผู้เรียนที่แตกต่างกันและนำผลที่ ได้ไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนต่อไป นอกจากนี้การจัดการเรียนการสอนควรนำสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการ สอนและประเมินผู้เรียน เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพมากขึ้น 9


Click to View FlipBook Version