The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by baaittoey Tongjai, 2023-09-05 04:16:25

จังหวัดกระบี่

กระบี่

Krabi จังหวัดกระบี่ จั บี่ จังหวัดกระบี่ ต้ต้ ต้ต้ องใจ พัพั พัพั นธ์ุธ์ุธ์ุธ์ุฤทธิ์ธิ์ ธิ์ธิ์ เลขที่ที่ ที่ที่ ๅ ม.4/5


คำ นำ รายงานเล่มนี้จัดทำ ขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาการคำ นวณ ว31102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 5 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง จังหวัดกระบี่ และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำ หวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือ นักเรียน นักศึกษา ที่กำ ลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำ หรือข้อผิด พลาดประการใด ผู้จัดทำ ขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ก


สารบัญ เรื่อง คำ นำ สารบัญ ประวัติ สัญลักษณ์ คำ ขวัญ ตรา ต้นไม้ ภูมิศาสตร์ ทีี่ตั้ง อาณาเขตติดต่อ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เศรษฐกิจ เกษตรกรรม การท่องเทื่ยว วัฒนธรรมและประเพณี สถานที่ท่องเทื่ยว สถานที่ท่องเทื่ยวทางธรรมชาติ สถานที่ท่องเทื่ยวทั่วไป บรรณานุกรม หน้า ก ข 1 5 5 6 6 7 7 7 7 7 8 8 9 10 14 14 18 19 ข


จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานได้ว่า บริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณก่อน ประวัติศาสตร์ และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ดินแดนนี้เดิมคือ บันไทยสมอ มีสภาพเป็น ชุมชนเล็ก ๆ ขึ้นอยู่กับอาณาจักรนครศรีธรรมราช เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย เจ้าพระยานคร (น้อย) ได้มอบหมายให้ปลัดเมืองไปตั้งเพนียดคล้องช้างที่กระบี่ ทำ ให้ผู้คน อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันมากขึ้นจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ ต่อมายกฐานะเป็น แขวงเมืองกาสัย หรือ ปกาสัย[4] ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช ประมาณปี พ.ศ. 2415 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองปกาสัย และพระราชทานนามว่า เมืองกระบี่ เมื่อได้ประกาศตั้งขึ้น เป็นเมืองแล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำ การอยู่ที่ตำ บลกระบี่ใหญ่ (บ้านตลาดเก่า) ในท้องที่อำ เภอเมือง กระบี่ปัจจุบัน มีหลวงเทพเสนาเป็นเจ้าเมืองกระบี่คนแรก จนในปี พ.ศ. 2418 เมืองกระบี่ได้แยกออก จากการปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพ และ ในปี พ.ศ. 2443 สมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้ย้าย ที่ตั้งเมืองไปอยู่ตำ บลปากน้ำ ซึ่งอยู่ใกล้ปากอ่าวเป็นร่องน้ำ ลึก ให้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจนถึง ปัจจุบันนี้ ปปรระะวัวั วั ติ วั ติ ๅ


สมัย กรุงรัตนโกสินทร์ จนมาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ก็ได้มีการตั้ง จังหวัดกระบี่ ขึ้น ซึ่งในอดีตก็เป็น แค่เพียงแขวงหนึ่ง อยู่ในอำ นาจปกครองและบังคับบัญชาของเมืองนครศรีธรรมราช มีชื่อเรียกว่า “แขวง เมืองปกาสัย” โดยพระยาผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชนั้น สั่งให้ปลัดเมืองฯ มาตั้งค่ายทำ เพนียดจับช้าง ใน ท้องถิ่นที่ตำ บลปกาสัย และได้มีราษฎรจากเมืองนครศรีธรรมราช เลยทำ ให้มีผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐาน หา แหล่งทำ มาหากินเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีการประกาศตั้งขึ้นเป็นเมืองแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำ การอยู่ที่ ตำ บลกระบี่ใหญ่ (บ้านตลาด เก่า) จนมาในปี พ.ศ.2418 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองกระบี่ ออกจากการปกครองของ เมืองนครศรีธรรมราช กลายเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และในปี พ.ศ.2443 ได้ย้ายที่ตั้งเมืองไป อยู่ตำ บลปากน้ำ อยู่ใกล้ปากอ่าวเป็นร่องน้ำ ลึก เรือใหญ่สามารถเข้าเทียบท่าได้ ทำ ให้กลายมาเป็นที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดจนถึงปัจจุบัน ที่มาของชื่อ กระบี่ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำ นานว่า มีชาวบ้านได้ขุดพบมีดดาบโบราณเล่มหนึ่ง จึงนำ มามอบให้กับเจ้าเมืองกระบี่ และต่อมาไม่นานก็มีการขุดพบมีดดาบโบราณเล่มหนึ่ง ที่มีรูปร่างคล้ายกับมีดดาบโบราณเล่มใหญ่ เลยนำ มามอบ ให้กับเจ้าเมืองกระบี่เช่นกัน ซึ่งเจ้าเมืองกระบี่ก็เห็นว่าเป็นดาบโบราณนี้ สมควรเก็บไว้เป็นดาบคู่บ้านคู่เมือง เพื่อ ความเป็นสิริมงคล แต่ขณะนั้นเอง เมืองยังสร้างไม่เสร็จ เลยนำ ดาบไปเก็บไว้ในถ้ำ เขาขนาบน้ำ หน้าเมือง โดยวางดาบหรือกระบี่ ไขว้กันไว้ ซึ่งลักษณะการวางดาบแบบนี้เอง ก็กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของตราประจำ จังหวัดกระบี่ค่ะ ซึ่งบ้านที่ ขุดพบดาบใหญ่นั้น มีการตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านกระบี่ใหญ่” ส่วนบ้านที่ขุดพบดาบเล็กก็มีชื่อว่า “บ้านกระบี่น้อย” ซึ่งก็ยังมีอีกตำ นานหนึ่งเล่าอีกว่า คำ ว่า “กระบี่” นั้น อาจจะเรียกมาจากพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง ที่มีมากในท้องถิ่น นั่นก็คือต้น “หลุมพี” เลยเป็นที่มาของชื่อท้องถิ่นว่า บ้านหลุมพี แต่ต่อมามีชาวมลายูและชาวจีน เข้ามาค้าขาย ก็ได้เรียกเพี้ยนเป็น “บ้าน-กะ-ลู-บี” หรือ “คอโลบี” พอนานๆ เข้า ก็ได้ปรับเป็นสำ เนียงไทยว่า “กระบี่” 2


3


4


ถิ่นหอยเก่า เขาตระหง่าน ธารสวย รวยเกาะ เพาะปลูกปาล์ม งามหาดทราย ใต้ทะเลสวยสด มรกตอันดามัน คำ ขวัญประจำ จังหวัดกระบี่ ถิ่นหอยเก่า หมายถึง สุสานหอย เจ็ดสิบห้าล้านปี เขาตระหง่าน หมายถึง เขาขนาบน้ำ ธารสวย หมายถึง ธารโบกขรณี รวยเกาะ หมายถึง มีเกาะใหญ่เกาะ น้อยจำ นวน ๑๓๐ เกาะ เพาะปลูกปาล์ม หมายถึง มีปาล์มน้ำ มัน เป็นพืชเศรษฐกิจ งามหาดทราย หมายถึง มีหาดทรายสวยงาม ใต้ทะเลสวยสด หมายถึง ใต้ทะเลมีแหล่ง ปะการังที่สวยงามมาก มรกตอันดามัน หมายถึง ตั้งอยู่เขตทะเลอันดามัน ซึ่งมีน้ำ ทะเลสีเขียวมรกต สัสัสัสั ญญลัลั ลัลั กกษษณ์ณ์ณ์ณ์ปปรระะจำจำ จำจำ จำจำจัจั จัจังงหหวัวั วัวั ดด 5


ลักษณะทั่วไป: เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำ ต้นเปลา ตรง เปลือกสีขาวอมเทา มีน้ำ ยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบรูปหอกกลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 10-30 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม ท้องใบมี คราบสีขาว หลังใบสีขาว ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง จำ นวนมาก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมเหลืองเชื่อมติด กันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ออกดอกระหว่าง เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ตราสัญลักษณ์ประจำ จังหวัดกระบี่ รูปกระบี่ไขว้ ภูเขา และทะเล รูปกระบี่ไขว้ เบื้องหลังมีภูเขาและทะเล กระบี่ไขว้ หมาย ถึง อาวุธโบราณซึ่งมีผู้ค้นพบในท้องที่จังหวัด จำ นวน 2 เล่ม ภูเขา หมายถึงเทือกเขาพนมเบญจา ซึ่งเป็นภูเขา สูงสุดของกระบี่ ซับซ้อนกันถึง 5 ยอด จึงเรียกว่า พนม เบญจา มีเมฆปกคลุมตลอดเวลา และกั้นเขตแดนกับ จังหวัดอื่น ทะเล หมายถึง อาณาเขตอีกด้านหนึ่งของ กระบี่ ซึ่งติดกับฝั่งทะเลอันดามันหรือมหาสมุทรอินเดีย ต้นไม้/ดอกไม้ประจำ จังหวัดกระบี่ ชื่อวิทยาศาสตร์ :ALSTONIA MACROPHYLLA WALL วงศ์ :APOCYNACEAE ชื่ออื่น :ทุ้งฟ้าไก่, ตีนเทียน, พวมพร้าว ถิ่นกำ เนิด. :ป่าดงดิบ ภาคใต้ ต้นทุ้งฟ้า หรือดอกต้นฟ้า 6


อาณาเขต ทิศเหนือ จดจังหวัดพังงาและจังหวัดสุราษฎร์ธานีทางด้าน อำ เภอทับปุด อำ เภอพนม อำ เภอพระแสง และอำ เภอชัยบุรี ทิศใต้ จดจังหวัดตรังและทะเลอันดามันทางด้านอำ เภอสิเกา ทิศตะวันออก จดจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดตรังทางด้านอำ เภอบาง ขัน อำ เภอทุ่งใหญ่ และอำ เภอวังวิเศษ ทิศตะวันตก จดจังหวัดพังงาและทะเลอันดามันทางด้านอำ เภอทับปุด ที่ตั้ง จังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดขนาดเล็กที่มากด้วย ทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และมรดกทาง วัฒนธรรม อันเก่าแก่ การผสมผสานการดำ รงชีวิต ของผู้คนที่ต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา และ ความเชื่อ ที่แตกต่างอย่างกลมกลืน ตั้งอยู่ทางด้านฝั่งทะเล ตะวันตกของภาคใต้ติดกับทะเลอันดามัน อยู่ห่าง จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงแผ่นดินประมาณ ๘๑๔ กิโลเมตร มีพื้นที่ ทั้งหมด ๔,๗๐๘.๕๑๒ ตาราง กิโลเมตร หรือประมาณ ๒,๙๔๒,๘๒๐ ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดกระบี่ทางตอนเหนือประกอบด้วย เทือกเขายาวทอดตัวไป ในแนวเหนือใต้ สลับกับสภาพพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาด และลอนชัน มีที่ราบชายฝั่งทะเลทาง ด้านตะวันตก บริเวณทางตอนใต้มี สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขากระจัดกระจายสลับกับพื้นที่แบบ ลูกคลื่น ส่วนบริเวณทางตอนใต้สุด และตะวันตก เฉียงใต้ มีสภาพพื้นที่เป็นแบบลูกคลื่นลอนลาด จนถึงค่อนข้างราบเรียบ และมีภูเขาสูง ๆ ต่ำ ๆ สลับกันไป บริเวณ ด้านตะวันตกมีลักษณะเป็น ชายฝั่งติดกับทะเลอันดามัน ยาวประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร ประกอบด้วยหมู่เกาะน้อย ใหญ่ จำ นวน ๑๕๔ เกาะ แต่เป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่เพียง ๑๓ เกาะ เกาะที่สำ คัญ ได้แก่ เกาะลันตา เป็นที่ตั้ง ของอำ เภอเกาะลันตา และเกาะพีพี ซึ่งอยู่ในเขตอำ เภอเมือง เป็นสถานที่ ท่องเที่ยวที่สวยงามติดอันดับของโลก ภูมิอากาศ จังหวัดกระบี่ มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวัน ออกเฉียงเหนือ ทำ ให้มีฝนตกชุกตลอดปี และมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน มี 4 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝน มี 8 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ไปจนถึงเดือนตุลาคม ภูภู ภูภู มิมิ มิศาสตร์ มิศาสตร์ 7


เกษตรากรรม ผลผลิตด้านการเกษตร - การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ จังหวัดกระบี่มีพื้นที่ปลูกปาล์มนำ้ มันมากที่สุด รองลงมาคือ ยางพารา ทุเรียน เงาะ ลองกอง และมังคุด ตามลาดับ - การลี้ยงสัตว์ จังหวัดกระบี่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงคือ โคเนื้อ ไก่ สุกร ไก่ไข่ และแพะ ตามลาดับ เเศศรรษษฐฐกิกิ กิกิ จจ 8


การท่องเทื่ยว จังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพการท่องเที่ยวในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ มี แหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ทางศิลป วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และ สุขภาพ ในปี พ.ศ. 2556 จังหวัดกระบี่ มีจานวนนักท่องเที่ยว จำ นวน 3,685,675 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่ ผ่านมา ร้อยละ 16.61 พบว่านักท่องเที่ยวในพื้นที่ จังหวัดกระบี่มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี และกลุ่มนักท่องเที่ยวมีความ หลากหลายมากยิ่งขึ้นโดยมี นักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นจากปีที่ผ่านมาสูงถึง ร้อยละ 69.70 คือ นักท่องเที่ยวจีน รองลงมา คือ ไต้หวัน แคนนาดา ฮ่องกง และแอฟริกา หากมีการเปิด AEC แล้ว คาดว่านักท่องเที่ยวจาก AEC จะ เดินทางมาเที่ยวกระบี่เพิ่มขึ้น 9


วัวั วั ฒนธรรมและประเพณี วั ฒนธรรมและประเพณี งานประเพณีชักพระ เดิมจัดเป็นบุษบกพนมเรือสลักลวดลายสวยงาม มีการละเล่นเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงเรือ ฃ(เพลงชักพระ) ปัจจุบันได้นำ ยอดพนมเรือใส่รถแทนเรือ การละเล่นเพลงชักพระจึงหมดไป งานประเพณีสารทเดือนสิบ เดือนสิบเป็นประเพณีสำ คัญของชาวใต้เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ขนมที่ขาดไม่ได้คือ ขนมลา ขนมเจาะหู ขนมพอง ขนมบ้า และขนมกงหรือไข่ปลา 10


ประเพณีลอยเรือชาวเล จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือ เดือน 6 (เดือนพฤษภาคม) และในเดือน 11 (เดือนตุลาคม) ระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ – แรม 1 ค่ำ ณ หมู่บ้านชาวเลสังกาอู้ เกาะลันตาใหญ่ บริเวณชายหาดใกล้ๆ กับบ้านศาลาด่าน เป็นงานประเพณีเก่าแก่ของชาวเลซึ่งหาดูได้ยาก นักท่องเที่ยวที่สนใจศึกษาถึง วิถีชีวิตของชาวเลก็สามารถเดินทางไปร่วมงานได้เช่นกัน หนังตะลุง แสดงให้เห็นการผสมผสานกับ วัฒนธรรมอินเดีย ในจังหวัดกระบี่ มีศิลปินหนังตะลุงหลายคณะ มโนราห์ การแสดงพื้นบ้านของจังหวัดทาง ภาคใต้ที่ขึ้นชื่อที่แสดงถึงวัฒนธรรม ของชาวภาคใต้ได้เป็นอย่างดี 1 1


แม้จะมาจากต่างถิ่น กำ เนิดมาจากต่างแดน นับถือและเคารพในสิ่งที่แตกต่าง แต่ในงานลานตา ลันตา เราจะ ได้พบแต่ความรื่นเริง รอยยิ้ม และความสนุกสนานของนักท่องเที่ยวและชาวบ้านในเกาะลันตา ด้วยเพราะ งานนี้เป็นการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านและผู้ประกอบการในเกาะลันตา ที่ต้องการให้มีงานเทศกาลที่สื่อ ถึงความเป็นหนึ่งเดียวของวัฒนธรรมในท้องถิ่นต่างๆ ทั้งในภาคใต้และภูมิภาคอื่นๆ ในงานลานตา ลันตา นอกจากการแสดงพื้นบ้านทางภาคใต้แล้ว ยังมีการแสดงบนเวที ซึ่งจะเป็นการแสดงของวงดนตรีสากล, การเริงระบำ แบบภาคกลาง และการดนตรีเร็กเก้จากศิลปินคุณภาพ นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวจะได้ฟังแนว ดนตรี่ผสานจากเครื่องดนตรีตะวันตกและเครื่องดนตรีตะวันออกจากวงอัสลี มาลา ในส่วนอาหารและเครื่องดื่มสำ หรับคนที่เข้ามาเที่ยวในงาน จะมีการออกร้านจากร้านค้า บาร์ และโรมแรมชื่อ ดังในเกาะ ในราคาถูก ซึ่งจะมีการจัดร้านให้สอดคล้องกับแนวคิดของงานคือ เป็นงานเพื่อสื่อถึงวัฒนธรรม และประเพณีของคนเกาะลันตา และที่ขาดไม่ได้และเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆเป็นอย่างมากคือ การแสดงละคร ใบ้, ละคนหุ่น, สอนวิชาวาดเขียน ให้เด็กๆในงานได้ชม ตลอดตามถนนทางเดิน อันได้ประดับประดาไปด้วย โคมไฟจีนหลากสีตามแนวถนนสายนี้ เทศกาล ลานตา ลันตา ประเพณีและวัฒนธรรมของมนุษยชาติที่แตกต่างกัน ได้รวมความเป็นหนึ่งเดียวใจเดียว ปลูก สร้างความรู้รักสามัคคี ให้ผู้คนแม้จะต่างเชื้อชาติ ศาสนา และความเชื่อ ได้สะท้อนให้เราได้เห็น อย่างชัดเจน ในงานเทศกาลประจำ ปีเกาะลันตา “เทศกาลลานตา ลันตา” 12


ลิเกป่า เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ดัดแปลงมาจากลิเกสิบสองภาษา เริ่มต้นจะเล่นเรื่องราวของ แขกแดงว่ามาจากเมืองลักกะตา (กัลกัตตา) มาค้าขายบนฝั่งทะเลตะวันตก แล้วมาได้ ภรรยาเป็นคนพื้นเมืองชื่อ “ยายี” หรือ “ยาหยี” และพากลับบ้านเมือง จากนั้นจะ แสดงเรื่องอื่นต่อไป ลิเกป่าเป็นการแสดงที่ประสานวัฒนธรรมหลากหลายเข้าด้วยกัน อาทิ ดนตรีจะใช้รำ มะนา ทับโหม่ง กลอง ฉิ่ง บทกลอนจะมีการประสมทำ นองมโนราห์ กับเพลงบุรันยาวา ศิลปินลิเกป่าในกระบี่มีจำ นวนมาก เพราะนิยมเล่นกันมาช้านาน และน่าจะเกิดขึ้นครั้งแรกในดินแดนบริเวณนี้ ปัจจุบันลิเกป่ายังมีหลายคณะ เช่นนาย ตรึก ปลอดฤทธิ์ ซึ่งได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม 13


สถานที่ สถานที่ ที่ที่ ท่ท่ ท่ท่ อองงเเทื่ทื่ ทื่ทื่ทื่ทื่ ยยวว ทะเลแหวก หนึ่งในที่เที่ยวสุดอันซีนของกระบี่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งมีที่มาจากปรากฏการณ์ธรรมชาติเมื่อยามน้ำ ลด ที่จะพัดพาเอาเม็ดทรายมารวมกัน ณ ที่นี้ และเผยให้เห็นแนวสันทรายยาวเชื่อมต่อได้ระหว่าง 3 เกาะ คือ เกาะไก่ เกาะหม้อ และเกาะทับ นักท่องเที่ยวสามารถเดินเล่นไป-มาระหว่างเกาะ ท่ามกลางบรรยากาศน้ำ สวยทะเลใสของกระบี่ สระมรกต ตั้งอยู่ที่อำ เภอคลองท่อม ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประมง โดยมีต้นกำ เนิดมาจากธารน้ำ อุ่นในผืนป่า ที่ราบต่ำ ภาคใต้ ไฮไลท์อยู่ที่นักท่องเที่ยวจะได้ชื่นชมกับสระน้ำ ธรรมชาติที่มีสีเขียวเหมือนมรกตขนาด ใหญ่ และมีความใสจนมองเห็นพื้นหินข้างล่างได้อย่างชัดเจน รอบ ๆ บริเวณยังมีศาลาเอาไว้ให้นักท่อง เที่ยวได้นั่งพักผ่อน ชมวิวทิวทัศน์ รวมถึงยังได้เพลิดเพลินกับการว่ายน้ำ เล่น 14 สถานที่ท่องเทื่ยวทางธรรมชาติ


อ่าวนาง เป็นหาดที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของกระบี่ ด้วยเพราะเป็นจุดต่อเรือไปยังที่ต่างๆ ได้สะดวก จึงทำ ให้มีนักท่องเที่ยวแวะเข้ามาเที่ยวที่อ่าวนางเป็นจำ นวนมาก มีลักษณะเป็นหาดทรายทอดยาว มีถนนเลียบชายหาด มีภูเขาคั่นระหว่างชายหาด ทิวทัศน์โดยรอบสวยงามแปลกตา และยังเป็นสถานที่ ที่เหมาะสำ หรับเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม ป่าพรุท่าปอม คลองสองน้ำ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองจิก ที่นี่มีแหล่งน้ำ จืดที่ใสสะอาดเสียจนมองเห็นพื้นน้ำ เบื้องล่าง ประดับด้วยรากไม้ป่า หลุมพีที่เลื้อยไปเลื้อยมา ยิ่งเมื่อแดดสาดแสงลงมาจับต้องแอ่งน้ำ เหล่านี้ ยิ่งก่อให้เกิดประกายระยิบระยับ นักท่องเที่ยวจะได้เดินชมธรรมชาติบนสะพานไม้ระแนง ทอดตัวเลื้อยไปตามแอ่งน้ำ บางช่วงมีเก้าอี้ไม้นั่งพัก นั่งชมทัศนียภาพสองข้างทาง หรือเติมดีกรีผจญภัยอีกนิดด้วยการพายคายักล่องไปตามแนวป่าโกงกาง 15


อ่าวนางน้ำ ตกร้อนคลองท่อม ตั้งอยู่ในเขตอำ เภอคลองท่อม บริเวณบ้านบางคราม-บ้านบางเตียว มีลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำ ธรรมชาติ กลางป่ารองรับน้ำ ตก ที่ไหลมาพร้อมกับสายน้ำ แร่ และเป็นธารน้ำ พุร้อนผุดที่ขึ้นมาจากใต้ดินตามธรรมชาติ ในอุณหภูมิพอเหมาะที่นักท่องเที่ยวสามารถลงไปแช่ได้ ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถบำ บัดอาการไขข้ออักเสบ ปวด เมื่อยกล้ามเนื้อ และเกี่ยวกับผิวหนัง หาดถ้ำ พระนาง เชื่อกันว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่สถิตของพระนางอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งชาวเรือแถบนี้เคารพสักการะ หากแต่ สวยงามน่าประทับใจ ลองนักท่องเที่ยวเข้าไปอยู่ภายในถ้ำ และมองออกมาข้างนอก ปากโพรงถ้ำ จะมี หินย้อยลงมาเป็นฉากระย้าสวยงาม มีท้องทะเลกว้างและเกาะน้อยใหญ่เรียงราย ในยามพระอาทิตย์ตกจะ เป็นมุมมองสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย 16


เกาะพีพี เกาะพีพี สวรรค์ของนักดำ น้ำ เป็น ที่เที่ยวกระบี่ ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเกาะที่มีความสวยงามเป็นอันดับ ต้นๆ ของโลก เพราะทีนี่มีหาดทรายสวย ขาวละเอียด น้ำ ทะเลใสสะอาด และมีปะการังดอกไม้ทะเล และฝูงปลาหลากสีสัน ที่มีความสวยงามอุดม สมบูรณ์อยู่มาก จนได้รับการขนานนามว่าเป็นอาณาจักรแห่งบุปผาใต้สมุทร โดยหมู่เกาะพีพีนั้นประกอบไปด้วย 6 เกาะ คือ เกาะพีพีดอน เกาะพีพีเล เกาะยูง เกาะไม้ไผ่ เกาะบิ ดะนอก และเกาะบิดะใน ซึ่งแต่ละเกาะล้วนมีหาดทรายสวย ทะเลใส ทิวทัศน์โดยรอบงดงาม เหมาะกับการมาเที่ยวพักผ่อนสุดๆ เกาะพีพีจึงเป็น สถานที่ท่องเที่ยวกระบี่ ที่ไม่ควรพลาด สุสานหอย ตั้งอยู่ที่ชายทะเลบ้านแหลมโพธิ์ ห่างจากตัวเมือง กระบี่ประมาณ 17 กิโลเมตร สภาพเป็นลานหินกว้าง ยื่นลงไปในทะเล เมื่อเข้าไปดูใกล้ ๆ จะเห็นเป็นซาก หอยอัดแน่นจนกลายเป็นหาดหินริมทะเล ทั้งนี้ สุสานหอย คือซากดึกดำ บรรพ์ของหอยขมน้ำ จืด ที่ ทับถมจับตัวกันบนชั้นหินลิกไนต์และหินดินดาน กลายเป็นลานหินขนาดกว้างใหญ่อยู่ริมทะเล 17


วัดบางโทง วัดบางโทง หรือที่เรียกว่า วัดมหาธาตุวชิรมงคล เป็นอีกหนึ่งวัดที่สวยงดงามมากๆ ใน จังหวัดกระบี่ค่ะ ภายในวัดประดิษฐาน องค์พระมหาธาตุเจดีย์ มีความสูงกว่า 95 เมตร จัดว่า เป็นพระมหาธาตุเจดีย์ที่สูงที่สุดในภาคใต้ โดยมีกาีรตกแต่งชให้มีความคล้ายกับ พุทธคยา ที่ อินเดีย ภายในยังประดับตกแต่งด้วยภาพเขียนพุทธประวัติที่สวยงาม วัดถ้ำ เสือ วัดถ้ำ เสือ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองกระบี่ไม่ไกล เป็นวัดสวยอีกแห่งหนึ่งของกระบี่ ที่มีความสงบเงียบ และ ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติค่ะ มีภูเขาและต้นไม้โอบล้อม ร่มรื่น นอกจากวัดจะเป็น สถานที่ปฏิบัติธรรม สำ หรับสายบุญแล้ว ที่นี่ยังเป็นอีก จุดชมทะเลหมอก สวยๆ ในกระบี่ด้วยเช่นกันค่ะ มีความสูงเหนือระดับ น้ำ ทะเล ประมาณ 600 เมตร โดยที่เราต้องเดินขึ้นบันได 1,237 ขั้นเพื่อไปถึงเลยทีเดียว แต่คุ้มค่าแน่นอน 18 สถานที่ท่องเทื่ยวทั่วไป


19 บรรณานุกรม https://www.opsmoac.go.th/krabi-dwl-files-441691791832 http://krabi.thailocallink.com/content/general.pdf https://www.krabipao.go.th/content/general#:~:text=สภาพ ภูมิประเทศโดยทั่วไปของ,สภาพพื้นที่เป็นแบบลูก https://roijang.com/ที่เที่ยวกระบี่ https://travel.trueid.net/detail/3wN2XMgdjb8 https://www.makalius.co.th/รีวิว/krabitravel/ https://chickenthree94.wordpress.com/สัญลักษณ์ประจำ จังหวัดก/ https://travel.trueid.net/detail/OmozzPXk64Aa


โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ 146 ถนนเทศบาลสาย 1 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ 146 ถนนเทศบาลสาย 1 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 website : https://www.scc.ac.th Email : scc@scc.ac.th Tel. 02-465-0954 / 02-890-0977


Click to View FlipBook Version