The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ฟ้อนแขบลาน E-book

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by phetchabun.jmp, 2022-10-07 04:15:02

ฟ้อนแขบลาน

ฟ้อนแขบลาน E-book

Keywords: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์,ฟ้อนแขบลาน

แบบสำรวจและจดั ฐานข้อมูลมรดกภมู ิปัญญาทางวัฒนธรรม
ของสภาวัฒนธรรมจงั หวัดเพชรบรู ณ์

๑. ช่อื รายการมรดกภูมปิ ัญญาทางวัฒนธรรม
ช่ือรายการ ฟ้อนแขบลาน หรอื ฟ้อนแถบลาน
ชอ่ื เรยี กในท้องถน่ิ
ชอ่ื ภาษาอ่นื (ถ้าม)ี -

๒. ประเภทมรดกภมู ิปญั ญาทางวัฒนธรรม
 รายการตัวแทนมรดกภมู ิปญั ญาทางวัฒนธรรม (มีการปฏิบัตอิ ย่างแพร่หลาย)
 รายการมรดกภูมปิ ญั ญาทางวัฒนธรรมที่ตอ้ งได้รบั การส่งเสรมิ และรักษาอยา่ งเร่งด่วน

(เส่ยี งต่อการสญู หาย)

๓. ลักษณะมรดกภมู ปิ ญั ญาทางวฒั นธรรม (ตอบไดม้ ากกว่า ๑ หัวขอ้ )
 วรรณกรรมพนื้ บา้ นและภาษา
 ศลิ ปะการแสดง
 แนวปฏิบตั ทิ างสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล

 ความรแู้ ละการปฏิบัตเิ กย่ี วกับธรรมชาติและจักรวาล
 งานช่างฝมี ือดั้งเดิม
 การเลน่ พน้ื บา้ น กฬี าพ้นื บา้ นและศลิ ปะการต่อสปู้ ้องกนั ตัว

๔. ประวตั คิ วามเปน็ มาและรายละเอียดมรดกภมู ิปัญญาทางวัฒนธรรม

ฟ้อนแขบลาน เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของกลุ่มชนลาวเวียง ที่อพยพมาอยู่ในแถบตำบลบ้านติ้ว
ตำบลหว้ ยไร่ ตำบลบ้านโสก ตำบลบา้ นหวาย ตำบลนำ้ ดกุ ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสกั จงั หวัดเพชรบูรณ์
ซึ่งเป็นพื้นที่เขตติดต่อกันทั้ง ๖ ตำบล จากคำบอกเล่าของคนในชุมชนเล่าว่า ประมาณกว่า ๔๐๐ ปีที่แล้ว มี
ชาวบ้านกลุ่มหน่ึงได้อพยพมาจากเวียงจนั ทนห์ รือกรุงศรสี ิตนาคนหุตลงมาทางใต้ มาต้ังถนิ่ ฐานบ้านเรือน ทำไร่
นาอยูท่ ล่ี ะแวกชุมชนพุทธนาเวียง อำเภอภูเขียว จงั หวัดชยั ภูมิ และได้อพยพตดิ ตามกันมา เรอื่ ย ๆ ทุกปี ทำให้
ผูค้ นมากขึน้ ทำใหท้ ่ีทำกนิ ลด น้อยลง และเปน็ เหตใุ ห้อพยพต่อไปอกี โดยข้ามเทือกเขามาทางทิศตะวนั ตก เพ่ือ
แสวงหาที่ทำกินต่อไปได้พบผนื แผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์มีแมน่ ้ำและพน้ื ทร่ี าบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก จึงได้
ตั้งถิ่นฐานขึ้นครั้งแรกที่บ้านท่าช้างสันนิษฐานว่าคงเดินทางด้วยขบวนช้างเป็น จำนวนมาก จึงได้สร้างวัดท่า
ชา้ งขน้ึ (ปัจจุบัน คือวัดโฆษา ทางเขา้ วดั มีรปู ช้าง ๒ ตวั เป็นสญั ลกั ษณ)์ ตอ่ จากนั้นกม็ ีผู้คนมากข้ึนทำให้ที่ทำกิน
ลดน้อยลงอีก ก็จึงได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานขึ้นอีกครั้งที่ ๒ สันนิษฐานว่าคงมีป่าติ้วอยู่เป็นจำนวนมาก และเม่ือ
จดั ตง้ั เป็นหมบู่ า้ นข้ึนมาแล้ว จึงเรียนวา่ บา้ นตวิ้ หลักฐานอ้างอิงวา่ คนบ้านติว้ มีบรรพบุรุษร่วมกับคนไทยพุทธนา
เวยี ง ซ่งึ อพยพมาจากเวียงจนั ทร์ ดว้ ยการพูดสำเนยี งเดียวกัน เช่น

ว่าอย่างนน้ั เป็น ว่าอัน้ อยา่ งนั้น เป็น อั้น

ฉนนั้ เปน็ สัน้ วา่ ฉนนั้ เป็น วา่ สัน้

เปน็ หยัง เป็น เปี๋ยง ปงั๋ อเี ปย๋ี ง ผิสงั เปน็ ผัง เผยี ง ปสิ ัง

อยา่ งใด เปน็ จง่ั ใด กอ่ ทำ เป็น กะทำ

แก่ข้า เปน็ ก็ข้า หมากปราง เป็น หมากผาง

ฉลอง เปน็ สอง สลาก เป็น สาก ฯลฯ

2
นอกจากสำเนยี งเหมือนกัน และการสร้างวดั ให้ชื่อวดั เดียวกนั คือ วดั ศรีภมู ิ ชาวบ้านเรยี กว่าวัดใหญ่ใน
สมัยนั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๐ ก็ได้พระภิกษุจากเวียงจันทร์มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก จะเห็นได้ว่าจาก
ถาวรวัตถุคือเจดีย์ ซึ่งสร้างจากศรัทธาชาวเวียงจันทร์บรรจุอัฐิของพระครูชาหลักคำ (น้อย)
อนั เป็นธรรมเนียมสมณศักดิ์ ซึ่งปรากฏอยูท่ ี่วดั ศรภี ูมิหรือวัดใหญ่
ความหมายของฟ้อนแขบลาน และเซงิ้ กาพย์

“ฟ้อนแขบลาน ” หมายถงึ การแสดงของชาวบ้านในงานบุญป้ังไฟ ท่ีมีผู้หญิงมารว่ มกัน โดย
ใส่เสื้อที่ตกแต่งด้วยแขบลาน ( แถบลาน) คือชื่อของ ใบอ่อนของต้นลาน (ปาล์มชนิดหนึง่ ) ซึ่งในอดีตชาวบ้าน
นำใบอ่อนตน้ ลานมาผ่งึ แดดให้แห้ง และนำมายอ้ มขมน้ิ ใหเ้ ปน็ สีเหลืองและตดั ให้มีรอยยัก หรอื ถัก เป็นเปีย
นำมาเย็บติดกับเสื้อ เพื่อประดับและนำมาสวมใส่ในการฟ้อนในงานบุญปั้งไฟ จึงเป็นที่มาของชื่อ “ฟ้อนแขบ
ลาน” โดยนุ่งผ้ามุกซึ่งเป็นผ้าที่ทอด้วยมือของชาวบ้านตำบลบ้านติ้ว และมีการสวมนิ้วประดับ สวมแว่นตาสี
ดำ ผกู ผ้าสีแดงไว้ท่ศี ีรษะ โดยมที า่ ฟ้อนเปน็ เอกลักษณข์ องทอ้ งถิน่ จำนวน ๑๔ ท่า

“เซง้ิ กาพย์” หมายถึง การละเลน่ ทน่ี ยิ มเลน่ กนั กอ่ นงานบญุ ปัง้ ไฟ ๓ วัน ๓ คืน ซง่ึ มดี นตรคี ือ
กลองป้งั ฉาบ ฉิง่ คอ้ น และแคน โดยมผี รู้ อ้ งกลอนขอเงิน ไปตามบา้ นเรือนในหมบู่ ้าน ทงั้ กลางวันและกลางคืน
เพื่อบอกใหช้ าวบ้านรู้ว่าใกลจ้ ะถงึ งานบญุ ของหมู่บา้ นแล้ว

ภาพเส้ือแขบลานตกแต่งดว้ ยใบลาน ผา้ ถงุ ใช้ผ้ามกุ

3

ภาพใบลานที่เย็บติดกับเส้ือ
ประวตั ศิ าลเจ้าพอ่ ผาแดง หรอื ศาลเจ้าพ่อมเหศักด์ิ

ศาลเจ้าพ่อผาแดง ซึ่งมีอยู่ประจำหมู่บ้าน และแต่ละหมู่บ้านจะมีชื่อเรียกศาลแตกต่างกัน
ออกไป เช่น ตำบลบ้านติ้ว เรียกศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ ตำบลบ้านหวาย เรียกศาลเจ้าพ่อผาหล้า ตำบลบ้านโสก
เรียกศาลเจ้าพ่อสีชมพู ตำบลน้ำดุกเรียกศาลเจ้าพ่อขุนด่าน ตำบลปากช่องเรียกศาลเจ้าพ่อหมื่นด่าน
ศาลแต่ละหม่บู ้านเป็นศาลท่ชี าวบ้านเชื่อวา่ มีดวงวิญญาณเจ้าพ่อผาแดงสถติ อยู่ และชื่อที่ใช้เรียกศาลนั้นเป็นชื่อ
ขององค์รักษท์ ่คี อยปกป้องรกั ษาเจา้ พ่อผาแดง

เจ้าพ่อผาแดง ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ที่ผาแดง อันเป็นความเชื่อมาจากด้ั งเดิมว่าเป็น
ผีของบรรพบุรุษที่คอยดูแลปกป้องตั้งแต่การอพยพมา เมื่อถึงบริเวณพักค้างที่ใดก็จะต้องตั้งศาลให้เจ้าพ่อ
ที่ตามมาปกป้องคุ้มครอง คำว่า ผา หมายถึง แข็งแกร่ง แข็งแรง กล้าหาญ สัญลักษณ์ของเจ้าพ่อคือ แต่งกาย
ด้วยสีแดง ถือดาบ มีผ้าโพกหัวสีแดง มีดวงตาที่วิเศษเป็นไฟ จึงต้องปิดตาด้วยผ้าสีแดง ป้องกัน
มิให้ทำรา้ ยลูกหลานของตน

ศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ ซึ่งเป็นสิ่งศักดส์ิ ิทธ์ิและเคารพบูชาของหมู่บ้านและชมุ ชน

4

ความเชื่อมโยงฟอ้ นแขบลานกบั เจา้ พ่อผาแดง
เพื่อให้เจ้าพ่อผาแดงดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พิธีกรรมขอฝนด้วยการจุดบั้งไฟนี้ จะ

กำหนดเวลาในช่วงระยะเดือนห้า หรือเดือนหกของทุก ๆ ปี สาเหตุที่เรียกการแสดงชุดนี้ว่า ฟ้อนแถบลาน
เพราะตัวเสื้อของผู้แสดงจะนำใบลานย้อมสีเหลืองมาตัดและเย็บติดตามตัวเสื้อเป็นลวดลายที่สวยงาม และ
เอกลักษณ์เฉพาะของชาวบ้านหลม่ สัก ฉะนั้น คำว่า “แขบลาน” จึงมาจากคำว่า “แถบลาน” ของตัวเสือ้ ของ
ผู้ฟอ้ น ลกั ษณะวธิ ีการฟ้อนแขบลานคล้ายกบั การแสดงเซ้ิงบั้งไฟทางภาคอีสาน แตจ่ ะมเี อกลกั ษณท์ ่แี ปลกตา
ออกไป แต่ยังสืบเนื่องมาจากอาชีพหลักส่วนใหญ่ของชาวบ้านอำเภอหล่มสักจะประกอบอาชีพทางด้านการ
เกษตรกรรม และอาศัยลักษณะดินฟ้าอากาศทางธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เมื่อจะเข้าสู่ฤดูการทำไร่ ทำนา
ชาวบ้านจะทำพธิ ีบวงสรวงดวงวิญญาณเจา้ พอ่ ผาแดง ซ่ึงชาวบา้ นเรียกวา่ “การเลี้ยงปี” การเล้ียงปีนี้จะ
ทำพธิ ีท่ีศาลเจา้ พ่อผาแดง ซ่ึงมีอย่ปู ระจำหมูบ่ ้าน

ในการเลี้ยงปีนี้ กวนจ้ำจะเป็นผู้นำชาวบ้านในการทำพิธี “กวนจ้ำ” คือบุคคลที่ชาวบ้านให้ความ

เคารพนับถือ เพราะเชื่อว่าสามารถติดต่อกับดวงวิญญาณของเจ้าพ่อผาแดง เมื่อถึงวันทำพิธีแห่บั้งไฟชาวบ้าน

จะนำมาชุมชนกันทว่ี ัดพอได้เวลาทำพธิ ีกวนจ้ำจะเชิญดวงวิญญาณเจา้ พ่อผาหล้า เจ้าพอ่ สชี มพู เจ้าพ่อ

ขุนด่าน เจ้าพ่อหมื่นหล้าด่านประทับร่างทรง นางเทียม ต่อจากนั้นบรรดาเจ้าพ่อจะนำขบวนแห่บั้งไฟ

เดินขบวนรอบอุโบสถ ๓ รอบ ขณะที่เดินแห่นี้จะมีการรำฟ้อนแขบลานตามหลังขบวนเจ้าพ่อ

การฟ้อนแขบลานนี้อาจสันนิฐานว่า เป็นการแสดงความสนุกสนานของเหล่าบรรดาทหารที่ติดตามเจ้าพ่อ

ผาแดงมาในขบวนแห่ในสมัยก่อน ในการแห่บั้งไฟนี้จะมีการตีกลองในจังหวะทีเ่ ร้าใจ ทำให้เหล่าบรรดาทหาร

รู้สึกครึกครื้นสนุกสนาน จึงทำท่าทางขยับแขน – ขยับขา ให้เข้ากับจังหวะกลอง ต่อมาจึงกลายเป็นประเพณี

ชาวบา้ นนยิ มแสดงสบื ตอ่ กันมา

เหตุทใี่ ชฟ้ ้อนแขบลานประกอบการแหบ่ ัง้ ไฟ สันนิษฐานได้ ๒ สาเหตุคือ

๑. สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ในหนังสือนิทานประวัติศาสตร์โบราณคดี

ตอนไปเมอื งเพชรบรู ณ์ มขี ้อความว่า ระหว่างเพชรบูรณ์กับหล่มสัก มีตน้ ลานขึ้นอยู่เปน็ หมู่ใหญ่ บางแห่งจะ

มีต้นลานขึ้นล้วน จะหาต้นไม้อื่นแซมไม่ได้เลย ต้นลานที่เพชรบูรณ์มีลำต้นสูงใหญ่ ชูสล้าง ใบยาวราว ๖๐

ศอก มอี ายุนบั ต้งั แต่ร้อยปที ้งั นน้ั ท่านผรู้ ู้บางทา่ นบอกว่า ต้นลานมอี ายุยนื ถงึ ๑๕๐ ปี เพชรบูรณ์เป็นท่ี ๆ มี

ตน้ ลานมากกวา่ จงั หวดั อ่ืน ใบลานท่นี ำมาจารกึ เปน็ คมั ภีร์พระธรรมกว็ ่านำไปจากเมืองนโี้ ดยมาก

๒. การทใ่ี ชฟ้ ้อนแขบลานมาประกอบการแห่บงั้ ไฟ เพราะลักษณะท่าฟอ้ นบางทา่ เหมือนกับ

ท่ารำดาบของทหารโบราณ เชน่ ท่าเก้ียวเกลา้ ซ่งึ ได้กล่าวไว้ในโคลงนริ าศหริภุญชัยมีข้อความว่า

สญู ญารามหนึ่งนน้ั ปนู เลง็

มีรปู ทัง้ เมง็ มา่ นเง้ียว

ถอื ดาบกับเกง สกับแกน่ คมแฮ

เชงิ ชาตฟิ ันเกลา้ เกยี้ ว แกว่นสสู้ งคราม

จากโคลงข้างต้นจะเห็นว่า ในสมัยก่อนทหารใช้ดาบเป็นอาวุธในการทำศึกสงครามและการ

แต่งตัวของฟ้อนแขบลานคล้ายกับชุดทหาร เช่น ลักษณะการใช้ผ้าโพกศีรษะ จะใช้ผ้าพันรอบศีรษะ และมี

ผ้าห้อยลงมาปิดหูทั้งสองข้าง คล้ายกับหมวกหูกระต่ายของทหาร และลักษณะขบวนแห่บั้งไฟที่มีร่างทรงนำ

ขบวนฟ้อนแขบลาน จะคล้ายกับขบวนการเสด็จ ของกษัตริย์ในสมัยก่อน ที่จะต้องมีทหารติดตามขบวนเพ่ือ

แสดงความเกรียงไกรยิ่งใหญ่ และเสริมบุญบารมีของกษัตริย์ในอดีต ต่อมาจึงได้วิวัฒนาการขึ้นจากที่เคยใช้

ดาบก็เปลี่ยนเป็นใช้เล็บแทน และที่เคยแสดงท่าทางประกอบจังหวะกลองเพียงอย่างเดียว ก็มีการนำบทร้อง

มาแทรกประกอบการแสดง และยงั ปรับปรงุ ท่ารำให้ดเู ป็นการฟ้อนท่มี ีลักษณะเด่นเฉพาะตวั ยิ่งขึ้น

5

ประเภทของการฟ้อนรำ
ฟ้อนแขบลาน จัดเป็นการฟ้อนรำท่ใี ช้ในพธิ กี รรม โดยจะมกี ารฟอ้ นในงานวันบุญหลวงคือบุญ

บั้งไฟ ซึ่งมีสภาพความเป็นอยู่ ศิลปกรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายคลึงกับ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังเกตจากองค์พระธาตุวัดโพนชัย ตำบลบ้านติ้ว จะมีรูปทรงคล้ายกับองค์พระธาตุ
นครพนม แม้แต่ช่ือสถานที่บางแห่งก็คล้ายกันเช่น “โนนสาวเอ้” บ้านติ้ว และ “ผาแดง” รวมทั้งประเพณีงาน
บุญบั้งไฟ ของชาวตำบลบ้านติ้ว ซึ่งเป็นการจัดงานในระดับหมู่บ้าน ยังไม่จัดใหญ่โตในระดับอำเภอหรือจังหวดั
แต่มีสิ่งที่แฝงไว้ในงานบุญ คือความร่วมมือร่วมใจ สามัคคีของชาวบ้านที่ร่วมกันทำบั้งไฟและแต่งตัวมารำ
แขบลานในพิธีบวงสรวง เป็นการรำบวงสรวงเจ้าพ่อผาแดง เพื่อบันดาลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล
และเพียงพอแกก่ ารทำการเกษตร

ประวัติความเป็นมา

คุณตาสลิด แก้วขาว เล่าว่า ประวัติความเป็นมาของการฟ้อนแขบลาน มีมานานกว่าร้อยปี

มาแล้ว ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๓๙๖ มาแลว้ เรมิ่ ต้งั แตค่ รูบาเงา้ ตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอหลม่ สัก ไดเ้ ดนิ ทางไปประเทศ

ลาว เวียงจันทร์ไปเห็นการแสดงฟ้อนแขบลานที่ประเทศลาว ในเมืองเวียงจันทร์ และได้จดจำมาและถ่ายทอด

ให้ชาวบ้านไดฝ้ ึกซ้อมและใช้เป็นการแสดง ในวันเพ็ญเดือนแปดของทุกปี ชาวบ้านทีอ่ าศัยอยู่ตาม ลำ

ห้วยขอนแก่นทำมาหากิน เมื่อถึงเดอื นแปด จะข้นึ ไปตดั เอายอด ใบลานมาตากแดดให้แห้งแล้วเตรยี มไม้สองอัน

มาประกบกันเข้า ยักเป็นเขี้ยวหมาตายปะใส่ใบลานยัดเป็นรูปออกมา แล้วใช้หัวขมิ้นมาฝนหรือตำให้ละเอียด

แลว้ ทำเปน็ สเี หลอื งยอ้ มใบลานยักเป็นเขยี้ วหมาตายเพื่อใหด้ สู วยงาม ส่วนตวั เส้อื ในสมัยโบราณก็

นำเอาเสื้อผ้าที่ใส่ไปทำงานที่มีแขนยาว นำมาย้อมเป็นสีดำโดยใช้มะเกลือตำและผสมน้ำน้ำเสื้อลงไปย้อมและ

ตากแดดใหแ้ หง้ นำใบลานท่ีมีลายยักมาเย็บรอบ ๆ ตัวเสื้อให้เปน็ ลวดลายสวยงาม ส่วนเครอื่ งประดับน้วิ มือ

ท่ีใชร้ ำจะนำเอาไม้ไผ่มาสานเป็นนวิ้ มือยาวและประดับตรงปลายน้ิวด้วยสีสนั เช่นเหลืองแดงจากด้ายสี ผ้านุ่งจะ

เป็นผ้าที่ทอจากกี่ ซึ่งผู้หญิงจะทอผ้าไว้สำหรับใช้เองแทบทุกหลังคาเรือนคือผ้ามุก ที่เอวมีเชือกร้อยกระดิ่ง

ที่หล่อด้วยทองเหลือง กระดิ่งเป็นสัญลักษณ์ของม้าของเจ้าพ่อมเหศักดิ์ มีผ้าคาดหัวสีแดงและใส่แว่นตาดำ

ตามความเช่อื วา่ เมื่อมีบญุ บงั้ ไฟเหล่านางรำเหลา่ นี้เปรยี บเสมือนนางสนม องค์รักษ์ของเจา้ พอ่ มเหศักดิห์ รอื เจ้า

พ่อผาแดง ซึ่งได้ฟ้อนอัญเชิญต้อนรับเจ้าพ่อที่มาเล่นบุญบั้งไฟ ผ่านร่างทรงคือนางเทียมเมื่อเจ้าพ่อลงร่างแล้ว

และเชื่อกันว่าเจ้าพ่อมีตาที่ร้อนแรงเป็นไฟห้ามมิให้มองหน้าหรือสบตาเจ้าพ่อ นางรำจึงต้องใส่แว่นตาดำเพ่ือ

ปิดบังสายตา และเจ้าพ่อมเหศักดิ์เมื่อท่านมาประทับร่างทรงนางเทียมแล้วท่านจะหลับตาตลอดเวลา

ไมล่ ืมตา

ความเช่อื และความสำคัญของการฟ้อน
ชาวบ้านตำบลบ้านติ้วเชื่อและนับถือเจ้าพ่อมเหศักดิ์หรือเจ้าพ่อผาแดง เจ้าพ่อตาไฟ ในงาน

บุญหลวง บุญบั้งไฟจึงได้ร่วมแรงร่วมใจสามคั คีกันแทบทุกหลงั คาเรือนเพื่อจัดเตรียมงานต้อนรับเจ้าพ่อที่จะลง
มาเยี่ยม โดยมีการละเล่นเซิ้งกาพย์ของเหล่าผู้ชายที่ชอบสนุกสนานมาร้องบทกาพย์ไปตามบ้านเรือนก่อนวัน
งาน ๓ วันเพื่อประกาศให้ชาวบ้านในหมู่บ้านรู้ว่าใกล้ถึงเทศกาลงานสำคัญของหมู่บ้านแล้ว ผู้ชายก็จะช่วยกัน
ทำบั้งไฟจากไม้ไผ่และดินปืน ผู้หญิงจะหาเครื่องแต่งกายเพื่อร่วมฟ้อนแขบลานต้อนรับเจ้าพ่อ ส่วนเด็ก ๆ จะ
ช่วยกันทำหัวตลกเพื่อร่วมแห่ขบวนโดยใช้สุ่มไก่หรือตะกล้า เข่ง นำเศษผ้ามาประดับและเขียนหัวให้ตลกหรือ
น่ากลัว นอกจากนี้เหล่าผู้ชายยังทำอวัยวะเทียมของผู้ชายในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อร่วมขบวนแห่เชื่อกันว่าเอาไว้
สำหรบั หลอกผีเปรตผหู้ ญงิ

6

เมื่อถึงวันงานในตอนเช้าที่บ้านของนางเทียม จะมีพิธีการทรงร่างของเจ้าพ่อโดยมีนางเทียมคือผู้หญิง
ในหมู่บ้านที่เป็นร่างทรงซึ่งมีอายุประมาณ ๗๐ ปีแล้ว ในพิธีโดยมีเครื่องบูชาประกอบด้วยขันธ์ ๕
(ดอกไมส้ ขี าว ธปู เทยี นขาว อย่างละ ๕ ค่ใู สพ่ านวางไว้) ขนั ธ์ ๘ พร้อมด้วยสมนุ หอ (สมนุ คือ บรวิ ารหรือผรู้ ับใชเ้ จา้ พ่อ)

โดยรา่ งทรงไดร้ ำอัญเชิญเจ้าพอ่ ลงมาประทับร่างทรง ซึง่ มนี างรำอีก ๑ คน และหมอแคนอีก ๑ คนเป่า
แคนประกอบ เม่อื เจ้าพ่อประทับร่างทรงแลว้ สังเกตจากจะเรมิ่ แต่งกายด้วยผา้ แดงท้งั ชดุ เส้ือแดงผา้ น่งุ แดง
ผา้ โพกหวั สแี ดง ผา้ ผกู ตามแี ดง ทเ่ี ตรยี มไว้ และเร่ิมทำพิธีทำนายฟ้าฝน การทำมาหากินของชาวบ้าน โดยจะเร่ิม
ขบวนแห่ออกจากบ้านร่างทรงของเจ้าพ่อมเหศักดิ์หรือเจ้าฟ้าตาไฟ ประกอบด้วยขบวนนางรำที่ฟ้อน
แขบลาน ผีตะหลก ฝอยลม(ผู้ใหญ่บ้าน) ฝอยหลวง(กำนัน) ไปยังศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ เมื่อไปถึงศาลจะเริ่มพิธี
ด้วยการเซ่นไหวด้ ้วย ด้วงเพียง (ควาย) และเหล้าขาว เจ้าพ่อจะกินเคร่ืองเซ่นไหว้ด้วยวิธีดมกลิ่นดว้ งเพียงที่ผูก
กล่าวไว้ที่หอ ส่วนเหล่าเปดิ ขวดไว้ไม่ต้องรนิ เจ้าพ่อจะใช้ไม้จิ้มเหล้าจากขวดและยกขึ้นด่ืมเพื่อเป็นการเซ่นไหว้
ชาวบ้านจะซักถามเจ้าพ่อเรื่องฝนฟ้า ว่า “ฟ้าฝนปีนี้เป็นสังใด๋ ”(อย่างไร) เจ้าพ่อจะถามกลับว่า “สิเอาน้ำพอ
ปานใด๋ สเิ อาทว่ มหัวเขา่ ไก่หรอื สเิ อาให้ส้นิ ชาวบา้ นกจ็ ะตอบตามความต้องการ เมื่อเสร็จพิธขี อฟา้ ขอฝนแลว้ เจา้
พ่อจะลงจากศาลเจ้าพ่อเพื่อร่วมขบวนแห่ไปยังวัดศรีภูมิบ้านติ้ว โดยมีบั้งไฟร่วมแห่ตามด้วยนางรำแขบลาน
และการแหก่ ารละเลน่ ตะหลกของผ้ชู ายและเด็ก ๆ ในหมูบ่ า้ น เมอื่ ขบวนแห่มาถงึ วัดจะมกี ารนิมนตพ์ ระภิกษุ ๑
รูป (เจ้าผ้าหลาย) มาเป็นผู้อันเชิญเจ้าพ่อมเหสักข์หรือเจ้าฟ้าตาไฟเข้าวัด ส่วนขบวนแห่จะแห่รอบอุโบสถด้วย
การเวียนไปทางขวาให้ครบ ๓ รอบ เสร็จแล้วอันเชญิ เจ้าพ่อ ฝอยลม ฝอยหลวง ผู้เฒา่ ผแู้ ก่ท่ีเคารพนบั ถือ
เข้าไปในอุโบสถเพื่อทำพิธี สอบถามการทำมาหากินของชาวบ้าน ความเป็นอยู่ ที่อยากรู้จากเจ้าพ่อ เมื่อเสร็จ
แล้ว จงึ อันเชญิ เจ้าพอ่ มเหสักขอ์ อกจากร่างทรง เปน็ อันเสรจ็ พธิ ี

ตอ่ จากนนั้ กลุ่มบง้ั ไฟของหม่บู ้านตา่ ง ๆ ในตำบลบ้านตว้ิ ทีแ่ หแ่ ละเล่นอยู่ในบริเวณวดั จะนำบง้ั ไฟไปจดุ
ทห่ี นองขาม เพื่อแขง่ ขันว่าบัง้ ไฟหมบู่ ้านไหนจะชนะ โดยวัดจากความสูงที่จุดแลว้ พุ่งข้ึนไปบนฟ้าว่าสงู ท่สี ุดเป็น
ผู้ชนะ ส่วนผแู้ พ้จะโดนนำไปโยนลงในบอ่ โคน

ขัน้ ตอนและเวลาในการฟอ้ นรำ
การฟ้อนแขบลานของชาวบ้านติ้ว จะไม่มีการฝึกซ้อมเตรียมตัวล่วงหน้า เมื่อถึงวันงาน

บุญหลวง หรือบุญเจ่อย แล้ว เหล่านางรำจะพรอ้ มกันแต่งกายอย่างเตม็ ท่ีและเหมือนกันไปพรอ้ มกันท่ีบา้ นนาง
เทียมและท่ีศาลเจ้าพ่ออยา่ งพร้อมเพรยี งกันสว่ นเวลาในการฟ้อนรำข้ึนอยู่กบั ระยะทางทีขบวนแห่จะเดินทางไป
ถึง คือเริ่มจากบ้านนางเทียมถึงศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ประมาณ ๓๐๐ เมตร และจากศาลเจ้าพ่อมเหสักข์ถึง
วดั ศรภี ูมบิ า้ นติ้วประมาณ ๔๐๐ เมตร นางรำจะฟ้อนแขบลานไปด้วยและเดินไปดว้ ย ซ่งึ มีทา่ รำทั้งหมดจำนวน
๑๔ ท่า เมอ่ื ครบและยังไมถ่ งึ ก็เรม่ิ ฟ้อนจากท่าแรกใหม่ต่อไปเร่ือย ๆ

บทเพลงทใี่ ช้ในการประกอบฟอ้ นรำ
การฟ้อนแขบลานบ้านติ้วจริง ๆ แล้วไม่มีบทเพลงประกอบ เพราะถือว่าการรำบวงสรวง

เจ้าพ่อ มแี ต่เสยี งดนตรีประกอบดว้ ยเคร่ืองดนตรีดงั น้ี กลองป้งั (กลองสองหน้า มขี นาดใหญ่) ฆอ้ งโหม่ง ฉาบ
ฉง่ิ และแคน แตก่ ่อนวันงานจะมีการละเลน่ ของกลุ่มผชู้ ายซ่ึงพากันร้องกลอนสดที่เรียกว่า “เซ้ิงกาพย์” ไปตาม
บ้านเรือนของชาวบ้านในหมบู่ า้ นกอ่ นวนั งาน ๓ วัน ๓ คนื โดยมเี นอื้ รอ้ งดังน้ี



กลอนสดหรือ “เซิ้งกาพย์”

...โอ๋โฮโ้ อ๊...โฮ.้ .โอโ๋ อ.้ โอ...

ขอเหลา้ เดด็ นำเจ้าจกั โหล ขอเหล้าโทนำเจา้ จักขวด

เจ้าบใ่ ห้ตวั ข่อยก็บห่ นี ต๋ายเป็นผกี ส็ นิ ำมาหลอก

ออกนอกบา้ นกส็ ิหว่านดนิ นำ ตายเป็นตุ่นกส็ มิ าหยุ่นเครอื โผง

ตายเปน็ หนกู ็มาเจาะเครือหูก ตายเปน็ ลกู น่อยน่อยกะสแิ อ่วกินนม

โอ๋โฮ้โอ๊...โฮ้..โอโ๋ อ.้ โอ...โอล่ ะหนอกะมาโอล๋ ะหนอ

หนตางงอกต็ ะเข้าบ้านหญ่าแม่ บา้ นหญา่ แม่ก็หลงั ใหญ่หลงั โต๋

บ้านหญา่ ลงุ กะหลังสงู หลังใหญ่ ได้หยนิ บอ่ ไป กะพนี่ ้องมายาม

ป๋ีละยามกะคือปลี๋ ะเถื่อ อย่าเฝา้ เบ่ือกะท้งั ลูกทัง้ หลาน

มาขอทานกบั ศรทั ธายา่ แม่ มาขอแผ่จัตตุปัจจัย

สิเอาไปเปน็ ค่ากระดาษ ขอจกั ยส่ี บิ บาทเป็นค่าขเี้ กลือ

บ่ใหเ้ สียกะใหเ้ ขาจักอย่าง อา้ ยสวา่ งก็ไปเชือ่ เขามา

วนั ละพาก็หลายพันหลายรอ้ ย ตวั ของข่อยกจ็ ังได้มาหา

มาหาพ่อหาแม่

โอ๋โฮโ้ อ๊...โฮ.้ .โอโ๋ อ้.โอ...

เจ้าให้แล้วกแ็ ถมพรเฮาแด่ ให้ยา่ แมก่ ็ใหอ้ ยสู่ ุขขี

ให้เจ้าเป็นคนดี อย่าสูเจ็บสไู ข้ ให้เจา้ ได้บญุ วาสนา

โอโ๋ ฮ้โอ๊...โฮ้..โอ๋โอ.้ โอ...

เจ้าสใิ ห้กะสิอยา่ อยนู่ าน เจ้าสิทานเจา้ อย่าสู่ซ้า

เฝ้าไปหนา้ หาเพ่นหลายเฮือน เด๋ยี วบ่เหมอื นมนั สิตกตำ่ ต้อย

หว่ งเด็กน่อยเจา้ อยากเฮียนนอน ดกึ ออนซอนกะหลอกตาตื่น

เขาเปิงเซิงควายตตุ้ าขวา เขาลาลาคอื กะสวยตำหกู

เขาซกู่ ลูกกะตากะเธอ เขาเปิกเสือกคอื ควายน่อยออกใหม่

ขวดิ เขาใสก่ ะยงั ใหญ่ยงั สงู โอ๋โฮโ้ อ๊...โฮ้..โอโ๋ อ้.โอ...

ข่อยสวิ า่ ตามฮดี ตามฮอย ตามทำนองบา้ นเมอื งพ่อแม่

ไผก่ ะแผท่ ุกผูท้ ุกคน เว้าไป่โดนมันสิอิดสลิ า้

มนั สิซา้ กะสิเม่อื ยทางไป ทางสิไปม่ ันกะสิยังมอี ยู่

ยงั บ้านหม่บู ้านป้าบา้ นลงุ บา้ นตาผุงกะสหายอ้ายเส่ยี ว

ผสู้ ิเกย่ี วสายนส่ี ายแนน บ้านตาแผนกะเป็นพ่ีเป็นน้อง

ผเู้ กยี่ วขอ้ งกะเปน็ ซู้เป็นสาว มาม่วนอาม่วนอาวคมุ้ เหนือคุ้มใต้

อีแ่ มใ่ หญ่ป่ันใด๋สิทาน เผิน่ ใหแ้ ล้วกแ็ ถมพรเฮาแด่

เหลา้ ขา้ วสุกใดเ้ พียงปายตาล เหลา้ ข้าวสารกะไดเ้ พยี งปายพรา้ ว

เหล้าขา้ วจา้ วได้เพียงเจา้ ทุกเฮือน

โอ๋โฮ้โอ๊...โฮ.้ .โอ๋โอ.้ โอ...

8

เคร่ืองแตง่ กายการฟอ้ นแขบลาน
๑. ผ้าซนิ่ มกุ มลี กั ษณะเป็นผ้าพนื้ สแี ดง ทอลายมุกด้วยสีต่าง ๆ กนั บนพนื้ ผนื ผ้า สที ี่นยิ มแต่ง

ดั้งเดิมคือ ทอด้วยด้ายสีเหลือง ย้อมมาจากไม้เข หรือดอกสีเหลืองของต้นฝาง สีครามจากต้นครามและสีแดง
จากครั่ง หรือไมฝ้ าง เปน็ ลายขวางทล่ี ายข้างล่างของผ้าซน่ิ จะเป็นสีแดง ผา้ นงุ่ ทอเปน็ ผืนเดียวมีเซิงหัวและท้าย
ผ้าซิ่น โดยมีคติความเชื่อที่ว่า เป็นผ้าซิ่นสำหรับใช้ในงานศักดิ์สิทธิ์ งานเลี้ยงผี เป็นซิ่นสำหรับดวงวิญญาณ
หากเป็นบุคคลธรรมดามีชีวิตอยู่จะต้องนุ่งซิ่นที่มีการต่อหัวซิ่น ต่อตีนซิ่น และอีกประการหนึ่งคือว่า ผ้าซิ่นมุก
เป็นเอกลักษณ์ด้านวิถีชีวิตในชุมชนที่ถักทอเครื่องนุ่งห่มสวมใส่ประยุกต์จากวัสดุทางธรรมชาติและถือว่าเป็น
ความรู้ด้านภูมปิ ญั ญาทอ้ งถิ่นอย่างดเี ย่ียม

๒. เสื้อม่อฮ่อม หรือ เสื้อผ้าฝ้ายย้อมคราม จะตกแต่งลวดลายด้วยใบลานอ่อนๆ นำไปตาก
แห้งจนไดส้ ีเหลืองสด แล้วนำมาถักสานดัดแปลงเป็นลวดลายตา่ งๆ เยบ็ แปะตดิ กบั ตวั เสื้อ เพ่อื ความสวยงาม

การตกแต่งเสื้อที่ใช้แสดงทำมาจากใบลานอ่อนตากแห้ง ในปัจจุบันได้ประยุกต์โดยการนำ
หลอดพลาสติก หรือริบบิ้นมาประดับตกแต่งแทน เนื่องจาก ต้นลานมีน้อยเพราะชาวบ้านได้โค่นต้นลาน
เพื่อปรับพื้นทีใ่ นการทำนา คงมีแต่ตามหัวไร่ปลายนา ทำให้หาวัสดุได้ยาก จึงประยุกต์การตกแต่งเสื้อแขบลาน
ให้มคี วามนำสมยั สอดคล้องกับวถิ ชี ีวิตชุมชน เพ่อื เปน็ การสร้างจินตนาการ เพิม่ ความคิดสร้างสรรค์ และทำการ
ซักไดง้ า่ ยกวา่ ใบลาน แตย่ ังคงสืบสานวฒั นธรรมท้องถนิ่ ใหค้ งอยู่สบื ไป

๓. ผ้าโพกสีแดง ใช้โพกศีรษะขณะที่ประกอบพิธีฟ้อนแขบลานเพื่อบวงสรวงเทพ
เจ้าสง่ิ ศักด์ิสทิ ธิ์ เพอ่ื แสดงถึงความเคารพเทิดทนู ฯ และตามความเชือ่ ถือว่า สีแดง เปน็ สญั ลกั ษณ์ของเทพเจ้าส่ิง
ศกั ด์ิสิทธิ์

๔. เล็บ เล็บยาวสีแดงใช้สำหรับสวมนิ้วมือประกอบการฟ้อนแขบลาน ทำด้วยไม่ไผ่หรือไม้
รวกที่สานจากเส้นตอก ทำให้เป็นกรวยสำหรับสวมนิ้วมือเข้าไป มีความยาวประมาณ ๗-๘ นิ้ว พันด้วยด้าย
สแี ดง ตรงปลายไมท้ ีเ่ ป็นเลบ็ จะใชด้ ้ายหรือพรมสแี ดงทำเป็นพู่บานเหมือนดอกไม้ เพ่อื ความโดดเดน่ สวยงามใน
การฟ้อน และเปรยี บเล็บทเี่ ป็นพสู่ แี ดง เสมอื นกบั ดอกไม้ของเทพเจ้าส่งิ ศักดิ์สทิ ธ์ิ

๕. กระดิ่ง กระดิ่งจะใช้ผูกสะเอวเพื่อประกอบการฟ้อนแขบลาน กระดิ่งถือได้ว่า
เป็นสัญลักษณข์ องววั ควาย ซึง่ สะทอ้ นถึงวถิ ชี วี ติ ของชุมชนทอ้ งถ่ินในการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ทำไร่
ทำนา

๖. แว่นตาสีดำ ใช้ประกอบการฟ้อนแขบลานเพื่อปิดอำพรางแววตาซึ่งแสดงถึงความเคารพ
นอบน้อม โดยความเชื่อว่าจะได้ไม่เป็นการจาบจ้วงสบตาต่อเทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะอาจเป็นการ
ลบหลูต่ อ่ เทพเจา้ ได้

๕. พื้นที่ปฏิบัติมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (พื้นที่ที่ปรากฏหรือชุมชนที่มีการปฏิบัติมรดกภูมิปัญญา
ทางวฒั นธรรม)

ตำบลบ้านตว้ิ อำเภอหลม่ สกั จังหวัดเพชรบูรณ์
https://goo.gl/maps/k3fvAYsLUuZGJnrV
16.804168091640715, 101.30442049594117

๖. คณุ ค่าและความสำคญั ของมรดกภมู ปิ ญั ญาทางวฒั นธรรมในแตล่ ะระดับ
 ระดับปัจเจกบคุ คล
 ระดับครอบครัว
 ระดบั ชุมชนทอ้ งถ่ิน
 ระดับประเทศ

9

7. รายช่อื ผสู้ ืบทอด / ผคู้ รอง / ผทู้ ่เี กี่ยวข้องหลักในปัจจุบัน

รายขื่อบุคคล/หัวหน้าคณะ/ อายุ/อาชีพ ที่อยู่ (สถานทต่ี ิดต่อ) / หมายเลขโทรศัพท์
กล่มุ /สมาคม/ชมุ ชน ขา้ ราชการครูชำนาญ
71 หมู่ 3 ต.บ้านหวาย อ.หล่มสกั
นางศรีนวล ศรีบญุ มี จ.เพชรบูรณ์ 67110
111 หมู.่ 3 ต.บา้ นหวาย อ.หล่มสกั
นางกุหลาบ แหยมนาค ข้าราชการครชู ำนาญ จ.เพชรบรู ณ์ 67110
41/1 หม.ู่ 1 ต.บ้านหวาย อ.หลม่ สกั
นางสาวมนตน์ ภา กอ้ นดี ขา้ ราชการการพยาบาล จ.เพชรบรู ณ์ 67110
ชำนาญการ

8. ปจั จบุ นั รายงานมรดกภมู ปิ ัญญาทางวฒั นธรรมไดร้ บั การประกาศข้ึนบัญชใี นระดบั ใด
 ยังไม่เคยได้รับการประกาศข้ึนบัญชี (รายการสำรวจและจัดเกบ็ ใหม่)

 ระดับจังหวดั (รายการเบื้องต้นมรดกภมู ปิ ัญญาทางวัฒนธรรม)
 ระดับชาติ
 ระดับนานาชาติ (ยูเนสโก)

9. จากข้อ 8 ควรจะเสนอรายการมรดกภมู ปิ ัญญาทางวัฒนธรรมไดร้ ับการประกาศข้นึ บัญชีในระดบั ใด
 สำรวจและจัดเกบ็ เทา่ นน้ั (ยงั ไม่ควรได้รับการประกาศข้ึนบญั ชี)
 ระดับจังหวัด (รายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวฒั นธรรม)

 ระดบั ชาติ
 ระดับนานชาติ (ยเู นสโก)

10. เอกสารอา้ งอิงและ/หรือผลงานทเ่ี กยี่ วข้องในการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปญั ญาทางวฒั นธรรม
https://wisonk.wordpress.com/2016/06/13/%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%A

D%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B
8%99-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1-
%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99/

facebook.com/media/set/?vanity=234752743312095&set=a.500020973451936

11. รูปภาพ พร้อมคำอธบิ ายใต้ภาพจำนวน 10 ภาพ

ภาพท่ี 1
วธิ กี ารฟ้อน
ผู้ฟ้อนแขบลานนี้ จะฟ้อนเป็นคู่ ๆ ทั้งชายและหญิง ไม่จำกัดจำนวนและอายุ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่
กับศรัทธาของผู้ที่จะฟ้อนแขบลาน การฟ้อนก็จะฟ้อนไปตามจังหวะดนตรีซึ่งมี กลองปั้ง ฆ้องและฉาบ ซึ่งนัก
ดนตรีนจี้ ะหามนำขบวนฟ้อนแขบลาน พรอ้ มกับร้องเพลงเปน็ ภาษาถน่ิ (ไทลาว) ของชาวหล่มสกั เรียกว่า
การเซิ้งกาพย์

10
นอกจากนี้ยังมกี ารขบั ร้อง “เซิง้ กาพย์” ของกลุม่ ผู้ใหญ่ทรี่ อ้ งไปขอเงนิ เรยี่ ไรตามบา้ นเรือนต่าง ๆ
เป็นเสมอื นการบอกข่าวให้เตรยี มพร้อมวา่ ใกล้ถึงวันงานบุญเจ่อย (บุญบงั้ ไฟ) ของหมู่บ้านแลว้

ภาพที่ 2
คำร้องเป็นกลอนสด ที่มีการสืบทอดกันมา โดยมีเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองบั้ง
เป็นกลองสองหน้า แคน ฉง่ิ ฉาบ โหม่ง

11
ภาพที่ 3
“ฟ้อนแขบลาน” เป็นชื่อที่มาจากเสื้อที่ใช้สวม คือในสมัยโบราณจะใช้เสื้อที่ใส่ไปทำงานซึ่งเก่าแล้วจะ
นำมายอ้ มคราม, มะโก หรือมะเกลอื เพอ่ื ใหเ้ ส้ือมีสีดำและดูใหม่ แลว้ นำใบลานออ่ น มาผงึ่ ใหแ้ ห้งทาดว้ ยขม้ินให้
เหลืองนำมาถักหยัก ๆ แล้วนำมาประดับตามตัวเสื้อ คอ แขน เพื่อให้สวยงาม ซ่ึงเป็นที่มาชื่อ ฟ้อนแขบลาน
น่ันเอง

ภาพท่ี 4
สว่ นผา้ นงุ่ จะเป็นผา้ ทอบา้ นต้ิว เรียกว่าผา้ ซ่นิ มกุ บา้ นตว้ิ เป็นผา้ ประจำตำบลนโ้ี ดยมีการทอสองช้ันเป็น
ดอกยกขน้ึ มาดูนนู สวยงาม นอกจากนเ้ี ครื่องแตง่ กายยังประกอบดว้ ย ผา้ โพกหวั สแี ดง สวมแวน่ ตาดำ เปน็ ความ
เช่ือวา่ นางรำทุกคนต้องสวมแว่นตาเพราะหากไปสบตากบั เจ้าพ่อมเหศักดิ์ (เจา้ พ่อตาไฟ) แลว้ จะตาบอด และมี
กระดิง่ ที่นำมาร้อยห้อยไว้ทเ่ี อวเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเปน็ ทาสที าสาของเจ้าพ่อและนว้ิ มือประดับด้วยไม้ไผ่
ท่ีนำมาสานเป็นนิว้ มือยาว ประดับปลายดว้ ยด้ายสี

ภาพที่ 5 12
ภาพที่ 6

ก่อนการแสดง จะมีการไหว้ครูก่อนเพื่อรำลึกถึงบุญคุณครูบาอาจารย์ที่ได้คิดถ่ายทอดวิชาให้
โดยมีสิ่งของที่ต้องเตรียมคือ การแต่งขันธ์ ๕ ประกอบด้วย ธูป เทียน ดอกไม้ จำนวน ๕ คู่ เหล้าขาว ๑ ขวด
เงนิ คา่ คาย จำนวน ๒๔ บาท แกว้ ใสน่ ้ำอบ เมอื่ พรอ้ มจะนำเครอ่ื งไหว้มาต้ังและนำอุปกรณ์ดนตรีมาวางรวมกัน
ครู (ตาสลดิ แกว้ ขาว ) จะท่องคำบชู าครู นางรำ นกั ดนตรี จะต้องไหวท้ ุกคน

ภาพท่ี 7 ภาพที่ 8

เมื่อไหว้ครูเรียบร้อยแล้ว ตาสลิดจะนำใบไม้มาจุ่มใสแล้วน้ำอบและปะพรมเหล่านางรำและนักดนตรี
ทกุ คนเพื่อเปน็ ขวญั กำลังใจในการแสดง นอกจากนี้ยงั ต้องดมื่ เหล้าขาวจากแกว้ เดียวกนั ทุกคนเพ่ือให้ใจกล้าและ
เปน็ การไหวค้ รูเพื่อในวนั นีจ้ ะได้ฟ้อนแขบลานโดยราบรน่ื ไมต่ ดิ ขัดต่อไป

13
ภาพที่ 9

เหล่านางรำนบั ร้อยกว่าคน ร่วมกนั ฟ้อนแขบลานในงานบุญบง้ั ไฟ ของตำบลบา้ นต้วิ แสดงความสมคั ร
สามัคคี รว่ มใจกนั เพราะมิได้มกี ารฝกึ ซ้อมกนั ก่อนวนั งานแต่ใช้การจดจำและถ่ายทอดกันมาจากรุน่ หนงึ่ สู่อีก
รุ่นหนงึ่ ได้อย่างงดงามทส่ี ดุ

ภาพท่ี 10

ขบวนแห่ประกอบไปดว้ ยบ้งั ไฟเพ่ือใช้จดุ บวงสรวงเจ้าพ่อมเหศักดิ์ (เจา้ พอ่ ผาแดง) ซ่ึงท่านโปรดสแี ดง
มากทสี่ ดุ จะเหน็ ไดว้ ่าการในวันงานบญุ หลวงนี้ จะประดบั ตกแตง่ ไปดว้ ยสแี ดงมากท่ีสุด

14

12. ข้ออมูลภาพถ่าย ขอ้ มูลภาพเคล่ือนไหว หรอื ข้อมลู เสียง (ระบปุ ระเภทของส่ือทแี่ นบไฟลม์ าพรอ้ มคำอธบิ าย)
 ข้อมูลภาพถา่ ย ไดแ้ ก่ 10 ภาพ
 ขอ้ มลู ภาพเคล่อื นไหว
 ขอ้ มลู เสียง –

13. ข้อมูลผู้สำรวจและจัดเก็บ
ช่ือ – สกุล นางสาวณฐั ธยาน์ กางถิ่น (เจ้าหนา้ ที่มรดกภูมปิ ัญญาทางวฒั นธรรม)
หนว่ ยงาน สภาวฒั นธรรมจงั หวดั เพชรบรู ณ์
เลขที่ 999 อาคาร 2 ชน้ั 4 ตำบลสะเดยี ง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์
จงั หวดั เพชรบรู ณ์ 67000
โทรศพั ท์ 096 179 3686
อเี มล์ Natthaya.kangthin@gmail.com


Click to View FlipBook Version