The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

KM ฐาน 5 การรับส่งวิทยุสถานีตำรวจ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Sama Phol, 2023-04-27 01:30:29

KM ฐาน 5 การรับส่งวิทยุสถานีตำรวจ

KM ฐาน 5 การรับส่งวิทยุสถานีตำรวจ

ฐานที่ ๕ การรับ – ส่งวิทยุระหว่างสถานีตำรวจกับเจ้าหน้าที่ ตำรวจที่ปฏิบัติงาน โดย ๑. ว่าที่ พ.ต.อ.วิชัย แตงประวัติ อจ. (สบ ๔) กอจ.ศฝร.ภ. ๗ ๒. พ.ต.ท.บรรจบ ดีประสิทธิ์ อจ. (สบ ๒) กอจ.ศฝร.ภ. ๗ ๓. พ.ต.ต.ธรรมนิตย์ จินดาวงษ์ อจ. (สบ ๒) กอจ.ศฝร.ภ. ๗ ๔. พ.ต.ท.ชัยสันต์ ชานุ ข้าราชการบำนาญ ๕. ร.ต.อ.ปวีณวัช ปุสสะ อจ. (สบ ๑) กอจ.ศฝร.ภ. ๗ ๖. ร.ต.อ.นันทิพงศ์ วงศ์พิรเวทย์ ข้าราชการบำนาญ ............................................................................................................. เอกสารนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจรุ่นที่ ๑๔ ภาคบูรณาการและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ภาคเรียนที่ ๑ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ (รุ่นที่ ๒) กลุ่มงานอาจารย์ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค ๗


คำนำ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Instruction) เป็นการสอนที่เชื่อมโยงความรู้ ความ คิดรวบยอด หรือทักษะเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยองค์รวม ทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะ พิสัยให้สอดคล้องตามแนวการจัดการศึกษาตามศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ๓ธรภาค ๗ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เน้น ความสำคัญที่ต้องการความรู้คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสม ซึ่งเป็นไป ตามสภาพ จริงของสังคม การเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการเรียนรู้ที่ เชื่อมโยงเนื้อหาสาระทั้งหลายเข้าด้วยกันอย่างมีความหมาย และสามารถนําไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตจริง อีกทั้ง การบูรณาการหลักสูตรยังเป็นวิธีการสร้างการศึกษาให้มีความหมายยิ่งขึ้นอีกด้วย ว่าที่ พ.ต.อ.วิชัย แตงประวัติ และคณะ


สารบัญ หน้า แผนการสอน ๑ สถานการณ์สมมติ ๓ วัตถุประสงค์ของคำสั่ง/ในการสอน ๕ บันทึกหลังการสอน ๖ หลักกฎหมาย ๗ แบบประเมินผล ๘ สรุปผลการปฏิบัติ ๙ ภาคผนวก ๑๐


- ๑ - แผนการสอน (รูปแบบสถานการณ์สมมติ) แผนการจัดการเรียนรู้/แผนการสอน ภาคบูรณาการและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ชื่อหลักสูตร นักเรียนนายสิบตำรวจ รุ่นที่ ๑๔ สอนครั้งที่ ๑ จากจำนวน ครั้ง ชั่วโมงที่สอน ๘ ชั่วโมง จำนวนชั่วโมงทั้งวิชา ๔๐ ชั่วโมง ชื่อผู้สอน ว่าที่ พ.ต.อ.วิชัย แตงประวัติ และคณะ จุดประสงค์ในการเรียนการสอน ๑. เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูล วางแผน และมอบหมายงานเพื่อแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ใน การแก้ไขสถานการณ์ได้ ๒. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมในภาควิชาการและการฝึกปฏิบัติมา ประยุกต์ใช้ในการแก้ไขสถานการณ์ได้ ๓. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับจาการฝึกอบรมในภาควิชาการและการฝึกปฏิบัติมา แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ๔. เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้องตามกฎหมาย เนื้อหา/สาระการเรียนรู้ กำหนดสถานการณ์เพื่อการรับแจ้งเหตุทางโทรศัพท์และการสั่งการทางวิทยุสื่อสาร แต่ละประเภท จำนวน กลุ่มละ ๒ คน สื่อและอุปกรณ์ - Power Point วีดีทัศน์สื่อสิ่งพิมพ์ - คอมพิวเตอร์ และ Internet - แบบทดสอบ ใบงาน - วิทยุสื่อสาร - โทรศัพท์จำลอง - สมุดบันทึก กิจกรรมการเรียนรู้ ด้านผู้สอน - แนะนำอาจารย์ประจำวิชา - ตรวจสอบการเข้าชั้นเรียน - อธิบายขอบเขตรายวิชา - การเรียนการสอน การวัดผล การประเมินผล


- ๒ – - อธิบายการถามตอบ หรือทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน - อธิบายเนื้อหา/สาระการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ในการเรียนการสอน - อธิบายกิจกรรมตามจุดประสงค์ในการเรียนการสอน - สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม - สรุปเนื้อหา/สาระการเรียนรู้ ด้านผู้เรียน - รายงานตัวเข้าชั้นเรียน - อ่านทำความเข้าใจขอบเขตรายวิชา - ฟัง, ถาม-ตอบ สอบถาม ร่วมแสดงความคิดเห็น - ทำใบงานกิจกรรม ตามสถานการณ์สมมุติ - ปฏิบัติการใช้วิทยุสื่อสารตามสถานการณ์สมมุติ - สอบถาม ร่วมแสดงความคิดเห็น การวัดผล - การตรงต่อเวลา - สังเกตพฤติกรรมการสนใจการมีส่วนร่วม - ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรม - สอบถาม ตอบคำถาม ลงชื่อ ว่าที่ พ.ต.อ. หน.ฐานที่ ๕ (วิชัย แตงประวัติ) ก.พ. ๖๖


- ๓ - สถานการณ์สมมติ ฐานที่ ๕ การรับ – ส่งวิทยุระหว่างสถานีตำรวจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงาน สถานการณ์สมมติเหตุเกี่ยวกับทรัพย์ ใจความสำคัญของสถานการณ์สมมติ เหตุชิงทรัพย์ รับแจ้งเหตุ - เวลาประมาณ ๑๔.๒๐ น.วันนี้(วันที่ เดือน พ.ศ.) รับแจ้งจากนางสมหญิง(นามสมมติ ชื่ออื่นก็ได้) ผู้เสียหาย หมายเลขโทรศัพท์ (เบอร์ นสต.หรือเบอร์สมมติ) - ผู้เสียหาย ยืนรอรถโดยสารประจำทางเพื่อจะไปตัวจังหวัดราชบุรี บริเวณแยกปากท่อ ระหว่างรอ มีชาย ๒ คน ขี่จักรยานยนต์ซ้อนท้ายกันมาทำทีมาหลอกถามเส้นทาง เมื่อสบโอกาส ได้ชักมีดมาขู่ให้ผู้เสียหายส่งมอบกระเป๋า ถือให้ ตนกลัวจึงส่งกระเป๋าให้ไป ซึ่งในกระเป๋ามีเงินสดอยู่ประมาณ สองหมื่นบาท ที่เตรียมจะไปซื่อของใช้ในห้าง และบัตรต่าง ๆ ในกระเป๋าเงินใบเล็กที่อยู่ในกระเป๋าถือ แล้วหลบหนีมุ่งหน้าไปทาง จว.ราชบุรี - ผู้ก่อเหตุคนใช้มีดจี้ข่มขู่เอาทรัพย์ลักษณะ เป็นชายไทย ตัวเล็ก สูงประมาณ ๑๕๕-๑๖๐ ซม.ผิวคล้ำ ผม หยักโสก สวมเสื้อยืดแขนสั้นสีขาว กางเกงยีนส์ขายาว รองเท้าแตะ คนขับขี่ สังเกตไม่ทัน แต่งตัวสีดำ ๆ ใส่หมวก กันน็อค คลุมศีรษะ หลบหนีโดยใช้ยานพาหนะ รถจักรยานยนต์ไม่ทราบยี่ห้อ น่าจะเป็นฮอนด้า สีน้ำเงินทะเบียน ราชบุรี เลขจำได้ ตัวแรก เป็นแลข ๓ เหตุเกิดบริเวณ แยกไฟแดงปากท่อ ขาออกไป จว.ราชบุรี เวลาแจ้งเหตุทาง ว...........................(ให้สายตรวจไปตรวจสอบและแจ้งสกัดจับคนร้าย) ผู้รับแจ้งเหตุ............... อุบัติเหตุ รับแจ้งเหตุ - เวลาประมาณ ๑๖.๒๐ น.วันนี้(วันที่ เดือน พ.ศ.) รับแจ้งจากนางสมชาย(นามสมมติ ชื่ออื่นก็ได้) ผู้เสียหาย หมายเลขโทรศัพท์ (เบอร์ นสต.หรือเบอร์สมมติ) - ผู้เสียหาย ขับรถยนต์กระบะ (ปิ๊กอับ) มาจากไพรสะเดามุ่งหน้าจะไปทางปากท่อ ราชบุรี ระหว่างข้ามแยก (ไฟเขียว) มีรถจักรยานยนต์ผ่าไฟแดงเลี้ยวตัดหน้ามาจาก ตัว จว.ราชบุรี จะมุงหน้าจะไปทางไพรสะเดา จึงเกิดเฉี่ยว ชนกันขึ้น ผู้ขับขี้จักรยานยนต์เป็นชาย และผู้ซ้อนท้ายเป็นหญิง ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย รถของคู่กรณีได้รับความ เสียหายทั้งสองฝ่าย ตกลงกันไม่ได้ มูลนิธิ มารอรับผู้บาดเจ็บไปโรงพยาบาล คู่กรณียืนรอ จนท.ตำรวจอยู่ - ผู้เสียหาย ขับรถยนต์กระบะ(ปิ๊กอับ) อีซูซุ สองตอน TFR สีน้ำเงิน เลขทะเบียน ญผ ๖๗๘๕ กทม. คู่กรณี ขับรถจักยานยนต์ฮอนด้า เว็ป สีน้ำเงินทะเบียน ข ๒๑๗๒ราชบุรีเหตุเกิดบริเวณ แยกไฟแดงใต้สะพานทางด่วน ปาก ท่อ จว.ราชบุรี เวลาแจ้งเหตุทาง ว...........................(ให้ จร. และ ๓๐ ไปว.๔) ผู้รับแจ้งเหตุ...............


๔ เหตุทั่วไป (คนหายพลัดหลง) รับแจ้งเหตุ -เวลาประมาณ ๑๙.๒๐ น.วันนี้(วันที่ เดือน พ.ศ.) รับแจ้งจากนางสมหญิง(นามสมมติ ชื่ออื่นก็ได้) ผู้ปกครอง (มารดา)หมายเลขโทรศัพท์ (เบอร์ นสต.หรือเบอร์สมมติ) - ผู้เสียหาย พาครอบครัว ลูก ๒ คน ไปเที่ยวงานลอยกระทงที่จัดบริเวณริมแม่น้ำแม่กลอง ที่ ตลาดโพ ธาราม ราชบุรี เนื่องจากผู้คนมาร่วมงานจำนวนมาก จึงพลัดหลงกับลูกคนเล็กประมาณ ๑๕ นาทีที่ผ่านมา ประกาศ ตามหาที่ประชาสัมพันธ์แล้ว ยังไม่พบ ขณะนี้รออยู่ที่หน้าประชาสัมพันธ์งาน -ลักษณะเด็กที่หายพลัดหลง เป็นเด็กหญิงอายุ ๖ ขวบเศษ สูงประมาณ ๑๑๐ ซม. ผิวขาว ผมยาว สีดำ แต่ง กายชุดกระโปรง สีเลืองจุดดำ รองเท้าผ้าใบสีชมพู สะพายกระเป๋าเด็กสีชมพู เหตุเกิดบริเวณ บริเวณจัดงานด้านใกล้ สะพานข้ามไปทางวัดขนอน ริมแม่น้ำแม่กลอง ที่ ตลาดโพธาราม ราชบุรี เวลาแจ้งเหตุทาง ว...........................(ให้สายตรวจไปตรวจสอบพบผู้เสียหาย) ผู้รับแจ้งเหตุ............... เหตุเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย รับแจ้งเหตุ - เวลาประมาณ ๑๔.๒๐ น.วันนี้ (วันที่ เดือน พ.ศ.) รับแจ้งจากนายสมศักดิ์ (นามสมมติ ชื่ออื่นก็ได้) เจ้าของ อาพาธเม้นท์ หมายเลขโทรศัพท์ (เบอร์ นสต.หรือเบอร์สมมติ) - ผู้ก่อเหตุ และผู้เสียหาย เป็นเพื่อนร่วมอาคารที่พักเดียวกันห้องตรงข้ามกัน พฤติการณ์ คู่กรณีเป็นชายชื่อ นายใหญ่ ก่อเหตุทะเลาะวิวาทชกต่อย กับนายเล็ก นายเล็กสู้ไม่ได้จึงใช้อาวุธมีดแทงนายใหญ่ จนบาดเจ็บสาหัส ภายในอาคารหน้าห้องพัก ผู้ก่อเหตุหนีออกไปทางแยกไฟแดงปากท่อ เมื่อประมาณ ๑๐ นาที่ที่ผ่านมา แต่ยังมีอาวุธ มีดอยู่ ลักษณะ เป็นชายไทย ตัวเล็ก สูงประมาณ ๑๕๕-๑๖๐ ซม.ผิวคล้ำ ผมหยักโสก สวมเสื้อยืดแขนสั้นสีขาวเปื้อน เลือด กางเกงยีนส์ขายาว รองเท้าแตะ หลบหนีโดยใช้ยานพาหนะ รถจักรยานยนต์ไม่ทราบยี่ห้อและทะเบียน สีน้ำ เงิน ส่วนคนเจ็บรอรถพยาบาลมารับ - เหตุเกิดบริเวณ ชั้น ๒ ไพรสะเดาอาพาธเม้นท์ เลขที่ ๑๐๑ บ้านไพรสะเดา ต.ดอนทราย อ.ปากท่อ จว. ราชบุรี เวลาแจ้งเหตุทาง ว...........................(ให้สายตรวจไปตรวจสอบและสกัดจับคนร้าย) ผู้รับแจ้งเหตุ...............


๕ วัตถุประสงค์ของคำสั่ง/ในการสอน ๑. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญในการใช้วิทยุสื่อสาร ๒. เพื่อให้ผู้เรียนใช้รหัส ว. ได้อย่างชำนาญ และจดจำได้ ๓. เพื่อให้ผู้เรียนทราบขั้นตอนในการปฏิบัติเมื่อได้รับแจ้งเหตุ ความจำเป็นด้านการส่งกำลังบำรุง สถานที่ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค ๗ อุปกรณ์สำหรับผู้เรียน (เจ้าหน้าที่ตำรวจ) จำนวน ๑. วิทยุสื่อสาร พร้อมแท่นชาร์ต ๔ เครื่อง ๒. โทรศัพท์จำลอง ๒ เครื่อง ๓. สมุดบันทึก ๑ เล่ม ๔. สมุดเล่มเล็ก (สายตรวจ) ๒ เล่ม ๕. ปากกา ๒ ด้าม ข้อมูลของผู้เรียน ผู้เรียนคนที่ ๑ - ทำหน้าที่รับโทรศัพท์ สถานีตำรวจ ผู้เรียนคนที่ ๒ - ผู้เสียหาย (โทรแจ้งเหตุ) ผู้เรียนคนที่ ๓ - พนักงานวิทยุ (แม่ข่าย-เมืองแก้ว) ผู้เรียนคนที่ ๔ - สายตรวจ คนที่ ๑ (รับวิทยุ-สายตรวจเขต ๑) ผู้เรียนคนที่ ๕ - สายตรวจ คนที่ ๒ (รับวิทยุ-สายตรวจเขต ๑หรือ ๒) ลงชื่อ ว่าที่ พ.ต.อ. หน.ฐานที่ ๕ (วิชัย แตงประวัติ) ก.พ. ๖๖


- ๖ - บันทึกหลังการสอน ภาคบูรณาการและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ฐานที่ ๕ การรับ – ส่งวิทยุระหว่างสถานีตำรวจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงาน ชื่อหลักสูตร : นสต. รุ่นที่ ๑๔ ชื่อผู้สอน ....ว่าที่ พ.ต.อ.วิชัย แตงประวัติ และคณะ......................................................... วัน/เดือน/ปีที่สอน .......................................... เวลา ................................................... น. ผลการเรียนการสอน ๑. ผู้เรียนมีความรู้ในการใช้วิทยุสื่อสาร และการใช้รหัส ว. เพิ่มขึ้น ๒. ผู้เรียนสามารถทราบขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อรับแจ้งเหตุทางโทรศัพท์ หรือทาง ว. ปัญหาอุปสรรค/ข้อสังเกต - ผู้เรียนไม่สามารถจดจำรหัส ว. ได้อย่างแม่นยำ และยังพูดวิทยุไม่คล่อง ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข - ให้ไปท่องจำรหัส ว. และให้หัดฝึกพูดวิทยุสื่อสารบ่อยๆ (ลงชื่อ) .................................................... (ลงชื่อ) ....................................................... (..................................) (................................) ตำแหน่ง ............................................ ตำแหน่ง ................................................ ลงชื่อ) .................................................... (ลงชื่อ) ....................................................... (..................................) (................................) ตำแหน่ง ............................................ ตำแหน่ง ................................................ ความเห็น (หัวหน้าภาควิชา หรือ ผู้บริหารหน่วยศึกษาอบรม - ทราบ ว่าที่ พ.ต.อ. (วิชัย แตงประวัติ) ตำแหน่ง อจ.(สบ ๔) กอจ.ศฝร.ภ.๗/ หัวหน้าฐานที่ ๕ การรับ – ส่งวิทยุระหว่างสถานีตำรวจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงาน หมายเหตุ : ข้อความใดที่ไม่ใช้ให้ตัดออกหรือเพิ่มเติมให้ตรงสภาพจริงได้


- ๗ - หลักกฎหมายและวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์สมมติที่นำมาบูรณาการ (๑) วิชา การสื่อสารในหน้าที่ตำรวจ หัวข้อ/เรื่อง การใช้วิทยุสื่อสาร หัวข้อ/เรื่อง การพูดวิทยุสื่อสาร หัวข้อ/เรื่อง การใช้นามเรียกขาน หัวข้อ/เรื่อง ประมวลลับและรหัสการใช้วิทยุสื่อสารในงานต่างๆ (๒) วิชากฎหมายอาญา หัวข้อ/เรื่อง มาตรา ๓๐๙ ความผิดต่อเสรีภาพ หัวข้อ/เรื่อง มาตรา ๓๑๐ กักขังหน่วงเหนี่ยว ลหุโทษ หัวข้อ/เรื่อง การาพกพาอาวุธไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร (๓) วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หัวข้อ/เรื่อง มาตรา ๗๘ (๑) การจับโดยไม่มีหมายจับ หัวข้อ/เรื่อง มาตรา ๘๐ ความผิดซึ่งหน้า หัวข้อ/เรื่อง มาตรา ๘๓, ๘๔ การแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับ (๔) วิชา การสืบสวน หัวข้อ/เรื่อง การหาข่าว (๕) วิชา ยุทธวิธีตำรวจ หัวข้อ/เรื่อง การเจรจาต่อรองในภาวะวิกฤต หัวข้อ/เรื่อง กฎความปลอดภัยการเผชิญเหตุของตำรวจ หัวข้อ/เรื่อง การควบคุมและการใช้เครื่องพันธนาการ


- ๘ - แบบประเมินผลการฝึกกิจกรรมบูรณาการ (แก้ไขสถานการณ์) หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ คำชี้แจง ๑. ผู้ประเมินผลการฝึกกิจกรรมบูรณาการ คือ ผู้ควบคุมการฝึกของหน่วยฝึกอบรม (ครู อาจารย์ และ/หรือฝ่ายปกครอง) ๒. การประเมินผล ๒.๑ เกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ ระดับคะแนน ๑ หมายถึง การปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง ระดับคะแนน ๒ หมายถึง การปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ระดับคะแนน ๓ หมายถึง การปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ระดับคะแนน ๔ หมายถึง การปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดี ระดับคะแนน ๕ หมายถึง การปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ๒.๒ เกณฑ์การผ่านการฝึกกิจกรรมบูรณาการ (แก้ไขสถานการณ์) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องได้คะแนนการฝึกปฏิบัติไม่น้อย กว่าร้อยละ ๖๐ จึงถือว่าสอบได้ สถานที่ฝึกกิจกรรมบูรณาการ (แก้ไขสถานการณ์) ศฝร.ภ.๗ ผู้เข้ารับการฝึกกิจกรรมบูรณาการ (แก้ไขสถานการณ์) ยศ ชื่อ ชื่อสกุล นสต. รหัส หัวข้อการฝึกกิจกรรมบูรณาการ ได้แก่ศูนย์รับแจ้งเหตุ ๑๙๑ ผู้ประเมิน ยศ ชื่อ ชื่อสกุล วาที่ พ.ต.อ.วิชัย แตงประวัติ ตำแหน่ง อจ.(สบ ๔) กอจ.ศฝร.ภ.๗ และคณะ ความสามารถในการฝึกกิจกรรมบูรณาการ (แก้ไขสถานการณ์) ของผู้เข้ารับการฝึกกิจกรรมบูรณาการ การปฏิบัติ ระดับคะแนน ๕ ๔ ๓ ๒ ๑ ๑ การวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผน การมอบหมายงานเพื่อแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ ๒ การนำความรู้และทักษะที่ได้จากการฝึกอบรมในภาควิชาการและการฝึกปฏิบัติมา ประยุกต์ใช้ในการแก้ไขสถานการณ์ ๓ การแก้ไขสถานการณ์เป็นไปตามขั้นตอนและมาตรฐานของการปฏิบัติ ๔ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า/การตัดสินใจ ๕ การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด ๖ ความสนใจและการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ ได้คะแนนรวม............................คะแนน คิดเป็นร้อยละ.............................. ผลการประเมิน สอบได้ สอบตก ข้อเสนอแนะอื่นๆ ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................ (ลงชื่อ) ว่าที่ พ.ต.อ. ผู้ประเมินและคณะ ( วิชัย แตงประวัติ ) อจ. (สบ ๔) กอจ.ศฝร.ภ.๗


- ๙ - สรุปผลการปฏิบัติ สถานการณ์ที่ เหตุเกี่ยวกับทรัพย์, เหตุทั่วไป (คนหายพลัดหลง) ๑. นสต.ยังไม่สามารถจดจำรหัสวิทยุสื่อสารได้ทั้งหมด ๒. แนะนำให้ นสต.อ่านเอกสารรหัสวิทยุสื่อสารประกอบการฝึกอบรม ๓. นสต.ที่ทำหน้าที่รับแจ้งเหตุในการสอบถามข้อมูลผู้แจ้งเหตุ ยังไม่ครอบคลุมรายละเอียดที่สำคัญ ได้ แนะนำให้ นสต.ให้เข้าใจในเรื่องสำคัญและจัดทำเป็นแบบฟอร์มให้ นสต.ใช้เป็นแนวทางการรับแจ้งเหตุ ๔. นสต.ยังขาดทักษะการใช้วิทยุสื่อสาร ได้ให้ นสต.ฝึกหัดใช้วิทยุ เช่นการกดคีย์ การพูดให้เสียงชัดเจน ๕. นสต.ยังขาดทักษะการพูดสื่อสารในรูปแบบภาษาวิทยุ โดยได้จัดทำตัวอย่างข้อความให้ นสต.ไว้เป็นแนว ทางการสื่อสาร ๖. นสต.สามารถทำความเข้าใจในการใช้วิทยุสื่อสารได้ดีขึ้น สามารถพัฒนาทักษะการใช้วิทยุสื่อสารได้ ๗. การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด ๘. นสต.มีความสนใจและการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์


- ๑๐ - ภาคผนวก


- ๑๑ - เอกสารอ้างอิง


Click to View FlipBook Version