The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mr1994patipan, 2021-11-13 11:19:30

รวมข้อที่ 3

รวมข้อที่ 3

สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
แขนงวชิ า หลกั สตู รและการสอน วิชาเอกภาษาไทย
ชุดวชิ า ๒๒๗๔๘ วรรณกรรมทอ้ งถนิ่

รายงานฉบับที่ ๓
ภาคต้น ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๔

รายงาน เร่ือง การเกบ็ ข้อมลู ภาคสนามของวรรณกรรมท้องถนิ่ ประเภทลายลกั ษณแ์ ละ
ประเภทมขุ ปาฐะมวี ธิ กี ารเหมอื นหรอื แตกตา่ งกันอย่างไร

วา่ ทีร่ อ้ ยตรีปภาษติ อทุ ธิยา
รหัสประจาตวั นักศกึ ษา ๒๖๓๒๑๐๐๒๒๔
สถานทเ่ี ข้ารับการสมั มนาเสริม รูปแบบออนไลน์ E-Learning @STOU.AC.TH
วันสมั มนาเสรมิ วันท่ี 8 - 14 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔
มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช



คานา

รายงาน เรื่อง การเก็บข้อมูลภาคสนามของวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทลายลักษณ์และประเภท
มุขปาฐะมีวิธีการเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร มีเนื้อหาเก่ียวข้องกับการข้อมูลเบื้องต้นเก่ียวกับวรรณกรรม
ท้องถิ่น ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถ่ินประเภทลายลักษณ์และวรรณกรรมท้องถ่ินประเภท
มขุ ปาฐะ การเก็บข้อมูลภาคสนาม และเปรียบเทียบการเก็บข้อมูลภาคสนามของวรรณกรรมท้องถ่ินประเภท
ลายลักษณแ์ ละประเภทมุขปาฐะ

ผู้จัดทาขอขอบคุณแหล่งข้อมูลทุกแหล่งที่เก่ียวข้องกับการจัดทารายงานฉบับน้ี และหวังเป็น
อยา่ งยิง่ วา่ รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในรายวิชาวรรณกรรมท้องถ่ิน (FOLK LITERRATURE)
ชุดวิชา 22748 แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน วิชาเอกภาษาไทย และเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจศึกษา
คน้ ควา้ ต่อไป

วา่ ท่ีร้อยตรปี ภาษติ อุทธยิ า
ผู้จดั ทา



สารบญั

หนา้
คานา......................................................................................................................... .........................................ก
สารบัญ...............................................................................................................................................................ข
ข้อมลู เบ้ืองตน้ เกีย่ วกับวรรณกรรมท้องถ่นิ ประเภทลายลกั ษณ์และวรรณกรรมท้องถน่ิ ประเภทมขุ ปาฐะ..........๑
การเก็บขอ้ มูลภาคสนาม....................................................................................................................................๒
เปรยี บเทยี บการเก็บข้อมลู ภาคสนามของวรรณกรรมทอ้ งถิ่นประเภทลายลกั ษณแ์ ละประเภทมขุ ปาฐะ...........๓
บรรณานุกรม................................................................................................................... ...................................๔

1

๓.การเก็บข้อมูลภาคสนามของวรรณกรรมท้องถ่ินประเภทลายลักษณ์และประเภท
มุขปาฐะมวี ธิ กี ารเหมอื นหรอื แตกตา่ งกันอย่างไร

๓.๑.ข้อมลู เบ้ืองต้นเกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทลายลกั ษณ์และวรรณกรรมท้องถ่นิ ประเภทมขุ ปาฐะ
วรรณกรรมท้องถ่ิน หมายถึง ผลผลิตท่ีเกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านท่ีสร้างสรรค์ขึ้นในรูปแบบ

ต่างๆ เช่น เพลงนิทาน ตานาน สุภาษิต เพ่ือสร้างความบันเทิงให้สังคมในท้องถ่ิน และเสนอแง่คิด คติสอนใจ
ในการดาเนินชีวิต การศึกษาวรรณกรรมพ้ืนบ้านจะช่วยให้เข้าใจวิถีชีวิต ค่านิยม และความเชื่อของบรรพบุรุษ
ซ่งึ เปน็ รากฐานการศกึ ษาความคิดและพฤตกิ รรมของคนรนุ่ ปัจจุบนั

ลกั ษณะเฉพาะของวรรณกรรมท้องถิ่น
๑. เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจากมุขปาฐะ คือ เป็นการเล่าสืบต่อกันมาจากปากต่อปากและ
แพรห่ ลายกันอย่ใู นกลุ่มชนท้องถ่ิน
๒. เป็นแหล่งข้อมูลที่บันทึกข้อมูลด้านขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชนท้องถ่ิน อันเป็นแบบฉบับให้คนยุค
ตอ่ มาเชื่อถอื และปฏบิ ตั ิตาม
๓. มักไมป่ รากฏชือ่ ผู้แต่ง เพราะเป็นเรื่องท่ีบอกเลา่ สืบต่อกันมาจากปากต่อปาก
๔. ใชภ้ าษาทอ้ งถนิ่ ลักษณะถอ้ ยคาเป็นคางา่ ยๆ สือ่ ความหมายตรงไปตรงมา
๕. สนองความต้องการของกลุ่มชนในท้องถ่ิน เช่น เพื่อความบันเทิง เพ่ืออธิบายสิ่งท่ีคนในสมัยนั้นยังไม่เข้าใจ
เพ่อื สอนจรยิ ธรรมขนบธรรมเนียม

ประเภทของวรรณกรรมท้องถนิ่
แบ่งเป็น ๔ ประเภท ตามการแบ่งเขตภมู ิภาคดังน้ี

๑. วรรณกรรมทอ้ งถิ่นภาคกลาง
๒. วรรณกรรมทอ้ งถ่นิ ภาคเหนอื
๓. วรรณกรรมทอ้ งถ่นิ ภาคอสี าน
๔. วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้
ไดแ้ ก่
๑. นิทาน หมายถึง เร่ืองเล่าที่สืบทอดต่อๆ กันมา เช่น นิทานจักรๆวงศ์ๆ นิทานศาสนา นิทานคติ
นทิ านอธิบายเหตุ นิทานเรอ่ื งสตั ว์ นทิ านเร่อื งผี มุขตลก นทิ านเรอื่ งโม้
๒. ตานาน หมายถึง เรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสถานที่ บุคคล ศาสนวัตถุ และศาสนสถานท่ี
สาคญั ๆ ในท้องถ่ินต่างๆ และเรื่องเล่าที่อธบิ ายความเปน็ มาของความเชอ่ื และพธิ ีกรรมในท้องถิ่นตา่ งๆ
๓. บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม หมายถึง คาสวดที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมต่างๆ เช่น บททาขวัญ คาบูชา
คาสมา คาเวนทาน บทสวดสรภัญญ์ คาถาบทอานิสงส์ บทประกอบการรักษาโรคพ้ืนบ้าน คาให้พร
คาอธิษฐานฯลฯ

2

๔. บทร้องพื้นบ้าน หมายถึง คาร้องท่ีถ่ายทอดสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ เช่น บทกล่อมเด็ก บทร้องเล่น
บทเก้ียวพาราสี บทจอ๊ ย คาเซิ้ง
๕. สานวน ภาษติ หมายถงึ คาพดู หรอื คากลา่ วท่ีสบื ทอดกันมา มกั มสี ัมผสั คลอ้ งจองกัน เช่น
โวหาร คาคม คาพงั เพย คาอุปมาอุปไมย คาขวญั คติพจน์ คาสบถสาบาน คาสาปแช่ง คาชม คาคะนอง
๖. ปริศนาคาทาย หมายถงึ คาหรือข้อความที่ตั้งเป็นคาถาม คาตอบ ท่ีสืบทอดกันมา เพ่ือให้ผู้ตอบได้ทายหรือ
ตอบปัญหา เช่น คาทาย ปญั หาเชาวน์

วิธีการถา่ ยทอด
1.วรรณกรรมมุขปาฐะ หมายถึง วรรณกรรมที่ใช้วิธีเล่าจากปากต่อปาก ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์
อักษร ได้แก่ บทกล่อมเด็ก นิทานพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน ปริศนาคาทาย ภาษิต สานวน โวหาร คากล่าวใน
พธิ ีกรรมต่าง ๆ และตัวบททีท่ อ่ งจาในการแสดงเพลงพ้นื บ้าน
2.วรรณกรรมลายลักษณ์อักษร หมายถึง วรรณกรรมท่ีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ นิทาน คากลอน
บันทกึ ทางประวัตศิ าสตร์ ในทอ้ งถิน่ และตาราความรู้ต่างๆ

๓.๒.การเกบ็ ข้อมลู ภาคสนาม
การท่ีจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ และข้อมูลทางด้านคุณภาพ การเก็บข้อมูล

ภาคสนาม เป็นส่งิ ที่จาเปน็ เพ่อื ให้ได้มาซง่ึ ข้อมลู ที่เป็นจริงมากท่ีสุด โดยวิธีท่ีใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลท่ัวไป
มี 3 วิธี คือ การสังเกต (observation) การสัมภาษณ์ (interview) และการใช้แบบสอบถาม
(questionnaire) ซึ่งแต่ละวิธีมีเทคนิคแตกต่างกันออกไป ท้ังนี้เพ่ือจะช่วยให้ได้ข้อมูลสนามตรงตามความ
ประสงค์ของผวู้ จิ ยั มากท่ีสุดเท่าทสี่ ามารถจะทาได้ กลา่ วคือ
1.) การสังเกต

การสังเกต คือ การศกึ ษาใหท้ ราบถงึ ลกั ษณะปจั จัยหรือความแปรเปล่ียนของส่ิงต่าง ๆ ท่ีเป็นประเด็น
เก่ยี วข้องกบั ปญั หาในการวจิ ยั หรือเรอื่ งท่จี ะวิจัย กล่าวโดยย่อ การสงั เกต คือ การพิจารณาปรากฏการณ์ต่าง ๆ
นนั่ เอง
2.) การสมั ภาษณ์

การสัมภาษณ์เป็นวิธีการที่มีระเบียบแบบแผนอย่างหนึ่ง ท่ีจะนาไปใช้ในการสารวจข้อเท็จจริงจาก
ภาวะความเป็นอยู่ในสังคม โดยการพบปะสนทนาโดยมีจุดมุ่งหมายระหว่างผู้ที่ต้องการทราบเรื่องราวซึ่ง
เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ (interviewer) กับผู้ให้เร่ืองราวซ่ึงเรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ (interviewer) การสัมภาษณ์
เป็นกระบวนการส่ือสารระหว่างบุคคล 2 คน ด้วยวิธีการพบปะกับผู้ให้ข่าวโดยตรง (face to face) ฉะนั้น
การใช้วิธีสัมภาษณ์ได้ยินเสียง ได้อยูใกล้ชิดและได้ซักไซร้ ผู้ให้สัมภาษณ์ ทาให้ได้ความกระจ่างในประเด็น
ตา่ ง ๆของขอ้ มูลเพ่ิมขนึ้

3

3.) การใช้แบบสอบถาม
การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่งไปให้กลุ่มตัวอย่างตอบ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่าง

แพร่หลายเพราะเป็นวธิ ที ท่ี าไดง้ ่าย ไม่ยุง่ ยากซบั ซอ้ นมากนกั ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายมากกว่า
การสงั เกตหรอื การสัมภาษณ์ มีรัศมีทาการไกล กว้างขวาง เป็นแบบเดียวกัน สะดวกต่อการวิเคราะห์และ
การเก็บไว้เป็นหลักฐานได้นาน นอกจากนี้ ในวงการวิจัยยังใช้แบบสอบถามเป็นแนวในการสัมภาษณ์ หรือ
สัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม ซ่ึงทาให้ได้ข้อมูลท่ีถูกต้องเพิ่มข้ึนอีก หรือใช้เป็นแนวทางในการเก็บรวบรวม
ขอ้ มูลโดยการสังเกต ทาให้ได้ข้อมลู กว้างขวางละเอยี ดลึกลงไปในสงิ่ ที่ต้องทราบ

๓.๓.เปรยี บเทียบการเกบ็ ขอ้ มลู ภาคสนามของวรรณกรรมทอ้ งถน่ิ ประเภทลายลกั ษณ์และประเภทมขุ ปาฐะ
จ า ก ข้ อ มู ล ที่ ศึ ก ษ า ใ น เ บื้ อ ง ต้ น น้ั น ท า ใ ห้ ท ร า บ ว่ า ว ร ร ณ ก ร ร ม ท้ อ ง ถ่ิ น ป ร ะ เ ภ ท ล า ย ลั ก ษ ณ์ แ ล ะ

วรรณกรรมท้องถิ่นประเภทมุขปาฐะนั้นมีลักษะที่ต่างกันคือ วรรณกรรมมุขปาฐะ หมายถึง วรรณกรรมท่ีใช้วิธี
เล่าจากปากต่อปาก ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ บทกล่อมเด็ก นิทานพ้ืนบ้าน เพลงพ้ืนบ้าน
ปรศิ นาคาทาย ภาษิต สานวน โวหาร คากล่าวในพิธีกรรมต่าง ๆ และตัวบทที่ท่องจาในการแสดงเพลงพื้นบ้าน
สว่ นวรรณกรรมลายลักษณ์อักษร หมายถึง วรรณกรรมทีบ่ ันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ นิทาน คากลอน
บันทกึ ทางประวตั ิศาสตร์ ในทอ้ งถิน่ และตาราความรู้ตา่ งๆ

ดังน้ันการที่จะเก็บข้อมูลภาคสนามของวรรณกรรมท้องถิ่นแต่ละประเภทน้ันจะต้องใช้วิธีการเก็บ
ข้อมลู ทแ่ี ตกต่างกัน กล่าวคอื
วรรณกรรมท้องถ่ินประเภทลายลักษณ์ นั้นเป็นวรรณกรรมท่ีถูกจารึกด้วยอักษร จึงต้องใช้วิธีการเก็บข้อมูล
จากเอกสารต่างๆทีป่ รากฏในทอ้ งถิ่น เชน่ ใบลาน ศลิ าจารึก สมดุ ข่อย พับสา จติ รกรรมทจ่ี ารกึ เป็นเหตุการณ์
เปน็ ลายลักษณ์อกั ษรในศาสนสถาน เป็นต้น ซ่ึงวรรณกรรมเหล่าน้ันอาจมีหลายฉบับท่ีถูกคัดลอก เผยแพร่ไปสู่
พ้ืนที่ใกล้เคียง จึงเกิดการเปรียบเทียบ และปริทัศน์วรรณกรรมขึ้น เพ่ือเปรียบเทียบโครงเรื่องแก่นเรื่องต่างๆ
ทง้ั นีส้ านวนภาษายังบง่ บอกเอกลักษณ์เฉพาะถ่ิน และเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกวีท้องถ่ินอีกด้วย ดังน้ันผู้ที่เก็บ
ข้อมูลภาคสนามวรรณกรรมท้องถ่ินประเภทลายลักษณ์อักษรนั้นต้องพิจารณา ด้วยวิธีการสังเกต วิเคราะห์
สังเคราะห์วรรณกรรมทุกด้าน เช่น ด้านลักษณะคาประพันธ์ คาศัพท์ ตัวอักษรท่ีใช้จารึก วัสดุท่ีใช้จารึก
สานวน โวหาร ความเชอ่ื มโยงวรรณกรรมกับศาสนา ท้องถิ่น ประเพณี พิธีกรรม เป็นต้น
วรรณกรรมท้องถ่ินประเภทมุขปาฐะ เน่ืองด้วยเป็นวรรณกรรมที่ใช้วิธีเล่าจากปากต่อปาก จึงมีวิธีการเก็บ
ข้อมูลภาคสนามที่แตกต่างออกไป คือการสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้คนในท้องถ่ินที่เล่าขาน ตานาน หรือ
วรรณกรรมมุขปาฐะเหล่านั้น ทั้งนี้ผู้เก็บข้อมูลภาคสนามจะต้องวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลท่ีได้รับมาหลาย
สานวนจากการสัมภาษณ์ เปรียบเทียบความเช่ือมโยงของแก่นเร่ืองของวรรณกรรม จุดประสงค์ของการ
เล่าขานวรรณกรรมทอ้ งถิ่นเหลา่ นน้ั เชน่ เดียวกบั การวิเคราะหว์ รรณกรรมทเ่ี ป็นลายลักษณ์อักษรจึงจะได้ข้อมูล
ทค่ี รอบคลุม

สรุปได้ว่า วรรณกรรมลายลักษณ์อักษรนั้น เก็บข้อมูลโดยการเก็บจากเอกสารและการสังเกต
วิเคราะห์และสงั เคราะหจ์ ากเอกสาร สว่ นวรรณกรรมประเภทมุขปาฐะน้ัน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้คนใน
ท้องถนิ่ นั้น และนามาวเิ คราะห์ สังเคราะหต์ ามกระบวนการศกึ ษาวรรณกรรมต่อไป

4

บรรณานุกรม

กง่ิ แก้ว อัตถากร. (2519). คติชนวิทยา. กรงุ เทพฯ.
กุหลาบ มลั ลกิ ะมาส. (2518). คตชิ าวบา้ น. กรงุ เทพฯ : ชวนพิมพส์ าราษฎร.์
ธวชั ปณุ โณทก.(2533). แนวทางศกึ ษาวรรณคดพี ้ืนบ้านประเภทลายลักษณ์.กรงุ เทพฯ : สานกั งาน

คณะกรรมการวฒั นธรรมแห่งชาติ กระทรวงศกึ ษาธิการ.
ผ่องพรรณ มณีรตั น์. (2525). มนษุ ยวิทยากับการศึกษาคติชนชาวบ้าน. กรงุ เทพฯ :

มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์.
บุญเกดิ รัตนแสง.(2533). วรรณกรรมทอ้ งถนิ่ . กรงุ เทพฯ : โอเดียนสโตร์
ศริ าพร ณ ถลาง. (2548). ทฤษฎีคตชิ นวทิ ยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตานาน-นิทานพื้นบ้าน.

กรงุ เทพฯ : คณะอกั ษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั .
เสถียรโกเศศ นาคะประทปี . (2507). การศกึ ษาวรรณคดแี ง่วรรณศลิ ป์. พระนคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
เสาวลกั ษณ์ อนนั ตศานต.์ (2538). นทิ านพ้ืนบา้ นเปรยี บเทยี บ. พิมพ์ครง้ั ท่ี 2. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลยั รามคาแหง.


Click to View FlipBook Version