ตอน ศึกกะหมังกุหนิง อิเหนา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บทพระราชนิพนธ์ โดย
นายธัญพิสิษฐ์ วงศ์พรมมา เลขที่2 ม.4/2 นายฐนชลฆ์ พลภูงา เลขที่10 ม.4/2 นายศรัณย์กร ตั้งวรเชษฐ เลขที่11 ม.4/2 นายเสฏฐวุฒิ พลานุพัฒน์ เลขที่13 ม.4/2 นายธนภูมิ ศรีพุ่ม เลขที่19 ม.4/2 จัดทำ โดย คุณครูสุชาติ พิบูลย์วรศักดิ์ เสนอ รายวิชา ภาษาไทย ท31101
คำ นำ รายงานเล่มนี้จัดทำ ขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา ท31101 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในวรรณคดีเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกุหมังกุหนิงได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อ เป็นข้อคิดและประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำ หวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำ ลังหาข้อมูลเรื่องนี้ อยู่ หากมี ข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำ ขอน้อม รับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ผู้จัดทำ ธัญพิสิษฐ์ วงศ์พรมมา และคณะ
สารบัญ ประวัติผู้แต่ง จุดประสงค์ ที่มาของเรื่อง ลักษณะคำ ประพันธ์ ตัวละคร เรื่องย่อ ท้าวกะหมังกุหนิงปราศรัยกับระตูปาหยังและระตูประหมัน ท้าวดาหาเสด็จออกรับทูตกะหมังกุหนิง ท้าวกุเรปันมีราชสาส์นถึงอิเหนาและระตูหมันหยา ทัพเมองกาหลังยกมาสมทบ ดะหมังเมืองกุเรปันถวายสาส์นท้าวหมันหยาและอิเหนา อิเหนาเข้าเฝ้าระตูและถวายบังคมลา อิเหนากรีธาทัพไปกรุงดาหา อิเหนามีบัญชาให้จัดทัพเตรียมรบกับทัพกะหมังกุหนิง อิเหนาและอนุชากรีธาทัพ เผชิญทัพกะหมังกุหนิง คำ ศัพท์ยาก คุณค่า บรรณานุกรม ๑ ๒ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒-๑๕ ๑๖ ๑๗-๑๙ ๒๐ ๒๑ ๒๒
ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชณโอรสในพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกับสมเด็จพระอมรินทร์ธรา บรมราชินี พระนามเดิมฉิม เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๐ เสด็จขึ้นของราชเป็นพระมหากษัตริย์ ลำ ดับเสด็จขึ้นของราชเป็นพระมหากษัตริย์ลำ ดับที่ ๒ แห่งพระบรม ราชจักรี วงศ์ใน พ.ศ.๒๓๕๒ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระปีชา สามารถหลายด้าน เช่น ด้านการปกครองทรงตราพระราชกำ หนด และบทลงโทษเรื่องการสูบ การซื้อ และการขายฝิ่น ด้านการศาสนา ส่งสมณทูตไปลังกาและปฏิสังขรณ์วัดหลายแห่ง โดยเฉพาะด้าน ศิลปะแขนงต่างๆทรงพระอัจฉริยภาพยิ่ง ด้านดุริยางค์คศิลป์ ทรงพระราชนิพนธ์ทำ นองเพลงบุหลันลอยเลื่อน ส่วนด้านวรรณศิลป์ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีจำ นวนมาก เช่น บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ บทละครเรื่องอิเหนาบทพากย์และบทจับระบำ เรื่อง รามเกียรติ์ กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวาน เสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน บทละครนอกเรื่องไกรทองคาวีไชยเชษฐ์ มณีพิชัย และ สังข์ทอง ซึ่ง ล้วนแต่มีความงดงามทางวรรณศิลป์ ๑
จุดประสงค์ 1.เพื่อใช้ในการแสดงละครใน 2.เพื่อใช้สร้างความบันเทิงแก่ข้าราชบริพารและประชาชน 3.เพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวา นามว่า ไอรลังคะ ที่มาของเรื่อง อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาแต่เมื่อครั้งกรุง ศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีที่มาจาก นิทานปันหยี ซึ่งเป็นคำ สามัญที่ชาวชวาใช้เรียก วรรณคดีที่มีความสำ คัญมากเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องอิหนา ปันหยี กรัต ปาตี วรรณคดีเรื่องนี้มี เนื้อเรื่องเป็นพงศาวดารแต่งขึ้นเพื่อการ เฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็น นักรบนักปกครอง และทรงสร้างความเจริญให้แก่ ชวาเป็นอย่างมากชาวชวาถือว่าอิหนาเป็นวีรบุรุษ เป็นผู้มีฤทธิ์ เรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาจนกลายเป็น นิทานจึงเต็มไปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ๒
ลักษณะคำ ประพันธ์ บทละครเรื่องอิเหนา ตอนศึกกระมังกุหนิง แต่งด้วยคำ แต่งด้วย คำ ประพันธ์ประเภทกลอนบทละคร บทหนึ่งมีสี่วรรคหรือสอง กลอน/คำ ( ๑ คำ กลอน/คำ = ๒ วรรค ) แต่ละวรรคจะมี ๖-๙ คำ ยกเว้นวรรคแรกของกลอนแต่ละท่อนมักจะมีจำ นวน คำ น้อยกว่าเพราะใช้คำ ขึ้นต้นเป็นพิเศษ เช่น มาจะกล่าวบทไป เมื่อนั้น บัดนั้น หรือใช้คำ ขึ้นต้นแบบกลอนดอกสร้อย เช่น สุดเอยสุดสวาท สัมผัสของกลอนบทละครจะคล้ายกับกลอน สุภาพ คือ คำ สุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำ ที่ ๑ ๒ ๓ ๔ หรือ ๕ ของวรรคที่ ๒ ( ถ้าวรรคที่ ๑ เป็น “มาจะกล่าว บทไป” “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” มักไม่ปรากฏสัมผัสตำ แหน่งนี้ ) คำ สุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับวรรคสุดท้ายของวรรคที่ ๓ และคำ ที่ ๑ ๒ ๓ ๔ และ๕ ของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสระหว่าง บทไปยังคำ สุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป อนึ่ง ในตอนต้นของกลอนแต่ละท่อน มักระบุชื่อ เพลงที่ใช้สำ หรับร้องกำ กับ เช่น ซ้าปี่ ร่าย และตอนท้ายระบุ ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงกำ กับ ๓
ตัวละคร ท้าวหมันหยา ท้าวดาหา อิเหนา จรกา ท้าวกะหมังกุหนิง จินตะหรา วิหยาสะกำ ท้าวกุเรปัน บุษบา สังคามาระตา ๔
เรื่องย่อ เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงถูกปฏิเสธการสู่ขอนางบุษบาให้กับโอรสแล้ว ก็คิดจะทำ สงครามเพื่อชิงตัวนางบุษบา จึงปรึกษากับอนุชา คือ ระตูปาหยัง และระตูประหมัน ระตูทั้งสองทัดทานแต่ท้าวกะหมังกุหนิงไม่ฟัง เพราะรักลูกมาก ท้ายที่สุดระดู ทั้งสองต้องยอมร่วมทำ สงครามด้วย ก่อนยกทัพไปเมืองดาหา โหรได้ทำ นายว่า ดวงชะดาของท้าวกะหมังกุหนิงกับวิหยาละกำ จะถึงผาค ถ้าเลื่อนการเคลื่อนทัพ ไปอีก ๗ วัน จึงจะพ้นเคราะห์ แต่ท้าวกะหมังกุหนิงก็ไม่เปลี่ยนพระทัย ฝ้ายท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี และให้แจ้งข่าวการศึกแก่ระตูจรกา ท้าวสิงหัดสำ หได้ให้สุหรานาก ยกทัพมาช่วย ท้าวกาหลังให้ดำ มะหงงกับคะหมังจัดทัพมาสมทบ ส่วนท้าวกุเรปัน มีพระราชสาส์นให้อิเหนามาช่วยทำ ศึก ถ้าไม่มาจะคัดขาดความเป็นพ่อลูก และให้ กะหรัดตะปาดีนำ ทัพไปสมทบกับทัพอิเหนา แม้จะมีความอาลัยรักนางจินตะหราเพียงใด แต่ครั้งนี้อิเหนาไม่อาจขัดคำ สั่ง ของท้าวกุเรปันได้ จึงต้องจำ ใจยกทัพมาช่วย อิเหนานำ ทัพมาพบกับทัพของ กะหรัดตะปาตี และเดินทางต่อจนถึงเมืองดาหา เมื่อทัพของท้าวกะหมังกูหนิงกับทัพที่มาช่วยเมืองดาหาสู้รบกัน สังคามาระตา อาสาต่อสู้กับวิหยาสะกำ และสามารถสังหารวิหยาสะกำ ได้ ส่วนอิเหนาต่อสู้กับ ท้าวกะหมังกุหนิงจนสิ้นกระบวนท่าเพราะด่างฝ่ายต่างมีฝีมือ แต่สุดท้ายก็สามารถ สังหารท้าวกะหมังกุหนิงได้ด้วยกริช ทัพของท้าวกะหมังกุหนิงแตกพ่าย ระตูปาหยัง กับระตูประหมันขอยอมแพ้ ๕
ท้าวกะหมังกุหนิงปราศรัยกับระตูปาหยังและระตูประหมัน ท้าวกะหมังกุหนิงขึ้นแท่นประทับ พอเห็นพระอนุชาทั้งสอง จึงเรียกมา บอกให้เพื่อให้ไปช่วยตีเมือง ดาหา ให้กษัตริย์ทุกนครมาช่วยการรบ ระตูปาหยังและระตูประหมันว่า เมื่อมีสงครามในแต่ละครั้ง ก็จะอาสาออกชิงชัยชนะด้วยความไม่ย่อท้อ ท้าวกระหมังกุหนิงจึงตรัสว่าอนุชาทั้งสองเดินทางมา เหนื่อยๆ ให้พากองทัพไปพักผ่อน และชวนให้เข้าปราสาท แล้วนั่งลงบนแท่นประทับ แล้วตรัสถึง เรื่องที่เกิดขึ้น ระตูปาหยังและระตูประหมันได้ยินจึงว่า ทำ ไมท่านไม่คิดให้รอบครอบเสียเมืองดาหามี พลทหารซึ่งชำ นาญการทำ สงคราม เมืองเราเป็นเมืองเล็กๆ ขอให้พระองค์คิดดีๆ เพการทำ ศึกครั้ง นี้จะทำ ความเดือดร้อนแก่ประชาชน ท้าวกะหมังกุหนิงไม่สนใจ ตัวเรานั้นไม่อยากทำ สงครามกับ เมืองดาหาหรอก แต่พระธิดาของท้าวดาหาได้หมั้นหมายกับจรกา จึงจะไปทำ ศึกเพื่อแย่งนาง บุษบากับจรกา พระอนุชาทั้งสองจึงตอบว่า นางบุษบาอยู่กับบิดาที่เมืองดาหา ถ้าเกิดสงคราม ท้าวดาหาคงไม่อยู่เฉยแน่ ท้าวดาหาคงส่งสาส์นบอกแก่กษัตริย์วงศ์ เทวัญทั้งสามเมือง ให้ยกทัพ มากมาย เกิดเป็นศึกใหญ่ ถ้าเราแพ้ขึ้นมาก็จะอายจรกาอีก ท้าวกะหมังกุหนิงจึงตรัสว่าพวกเจ้าไม่ เข้าใจหรอก อิเหนามีเรื่องกับท้าวดาหาอยู่และไปอยู่เมืองหมันหยาก็หลายปี จะยกทัพมาได้อย่างไร แต่เมืองกาหลังและเมืองสิงหัดส่าหรี พวกเจ้าจะกลัวอะไรนักหนา ฝ่ายเราก็มีตั้งสามเมืองที่จะเป็น ใหญ่ในชวาเช่นกัน ส่วนทัพของท้าวล่าสำ พี่ชายของจรกานั้น ก็ไม่กลัวต่อให้มานับล้าน ก็จะโจมตี กองทัพให้แตก เดี๋ยวพวกมันก็หนีเข้าป่าไปเอง พวกเจ้าอย่ากลัวไปเลย สงสารวิหยาสะกำ เถอะ ถ้าไม่ ได้นางบุษบามาคงจะขาดใจ ถ้าทำ สงคราม เคราะห์ดีอาจได้ตามสมใจนึก เมื่อระตูปาหยังและระตู ประหมันได้ยินที่ท้าวกะหมังกุหนิงพูด ก็ก้มหน้าไม่กล้าพูดจา ท้าวกระหมังกุหนิงเห็นพระอนุชาทั้ง สองไม่โต้แย้งใดๆก็ชวนให้ทั้งสองเข้าที่บรรทมให้สบายใจ ๖
ท้าวดาหาเสด็จออกรับทูตกะหมังกุหนิง ท้าวกะหมังกุหนิงมีโอรสชื่อวิหยาสะกำ เก็บภาพวาดของบุษบาได้ขณะที่ออกล่าสัตว์อยู่กลางป่าก็เกิด ความคลั้งใคร้ไหลหลงจนไม่เป็นอันทำ สิ่งใดท้าวกะหมังกุหนิงรู้สึกเห็นใจจึงห้ทูตไปสู่ขอให้ลูกชาย หลัง จากนั้นทูตจากกะหมังกุหนิงได้นำ สารไปให้ยังท้าวดาหาเพื่อสู่ขอข้อความในสารเกี่ยวกับที่วิหยาสะกำ ได้ เก็บรูปบุษบาได้กลางป่า ㆍ ในสารพระผู้ผ่านนคเรศ ขอถวายประนมบังคมคัล ไม่ควรเคืองเบื้องบาทบทศรี เดิมไปไล่ล้อมมฤคา ชะรอยเป็นบุพเพนิวาสา มีความเสน่หาอาลัย กะหมังกุหนิงนิเวศน์เขตขัณฑ์ พระผู้วงศ์เทวัญศักดา ด้วยข้าน้อยนี้มีโอรสา ได้รูปพระธิดาในกลางไพร เทวาอารักษ์มาซักให้ แต่หลงใหลใฝ่ฝันรันทด หวังเป็นเกือกทองรองบาทา จะขอพระบุตรีมียศ อันกรุงไกรไอศูรย์ทั้งสอง ขอพำ นักพักพึ่งพระเดชา พระผู้วงศ์เทวาอันปรากฎ ให้โอรสข้าน้อยดังจินดา จะเป็นทองแผ่นเดียวในวันหน้า ไปกว่าชีวันจะบรรลัย ฯ เมื่อทูตอ่านศาลเสร็จต้องปฏิเสธเนื่องจากจรกาได้สู่ขอนางบุษบาไปแล้วแล้วท่านก็ตกลง เรียบร้อยแล้วจึงคิดว่าอาจจะผิดประเพณี พอทูตกลับไปเพื่อที่จะไปบอกเรื่องทั้งหมดให้ เท้ากลับมั้งกุหนิงฟังก็โกรธมากจึงคิดจะยกทัพไปตีเมืองดาหาเนื่องจากมั่นใจกำ ลังรบ ของตัวเองและแย่งชิงนางบุษบามา ๗
ท้าวกุเรปันมีราชสาส์นถึงอิเหนาและระตูหมันหยา ท้าวกุเรปันได้รับแจ้งว่ามีข้าศึกมารุกราน จึงให้แต่งสารหนังสือลับแล้วสั่งให้ สองเสนาถือไปเมืองหมันหยา ขุนนางได้รับคำ สั่งแล้วจึงรีบนำ สารไปจากท้อง พระโรงในทันที พร้อมกับเรียกบ่าวไพร่ให้มาพร้อมหน้า แล้วรีบขี่ม้าอย่างเร่ง รีบ องค์ท้าวกุเรปันตรัสกับกะหรัดตะปาตี ว่าสงครามนี้เห็นว่าจะสาหัส หาก กลัวอนุชาเปล่าเปลี่ยวเศร้าใจ จึงรับสั่งให้ยกพลยกกองทัพ ไปสมทบกับทัพ ของอิเหนาให้ทัน อย่าให้ข้าศึกทันยกทัพมาประชิดเมืองได้ ฝ่ายกะหรัดตะ ปาตีรับสั่งพระองค์บอกว่าจะถวายบังคมลาในวันพรุ่งนี้ ครั้นถึงรุ่งสางก็เข้า เฝ้าพระบิดา แล้วเคารพกราบบังคมพระบิดาคอยฟังรับสั่งจะให้บัญชาให้ยก ทัพ ฝ่ายท้าวกุเรปันก็อวยพรให้โชคดี ครั้นแล้วกะหรัดตะปาตีก็กราบบังคม ไหว้รับพรจากพระบิดาแล้วทูลลาไป ครั้นทัพถึงหน้าพระลานพร้อมด้วย บริวารทหาร ก็เสด็จขึ้นทรงม้าแล้วรับสั่งให้เคลื่อนพลออกไป รอนแรมอยู่ใน ป่าจนถึงทางร่วมเข้าสู้เมืองหมันหยาแล้วสั่งให้หยุดพลทัพไว้ คอยทัพของ อิเหนาที่จะตามมา ๘
ฝ่ายขุนนางตำมะหงงกาหลังรวมทั้งดะหมังและเสนาใน ได้จัดทหารอาสาที่พื้นฐานการรบจำนวน ห้าหมื่นคน แล้วเคลื่อนพลออกจากเมือง เมื่อถึงทางร่วมริมป่าก็พบกองทัพของกะหรัดตะปาตีทั้ง สองกองทัพสมทบกันมาถึงฝ่ายทูตของท้าวกะหมังกุหนิงซึ่งถือสารไปเมืองดาหานั้นก็พากันกลับ มายังเมืองตน จนถึงตัวเมืองกะหมังกุหนิง ก็ตรงดิ่งมาวังใหญ่พอถึงเวลาก็เข้าเฝ้ากะหมังกุหนิง แล้ว ก้มกราบบังคมทูลเหนือหัว ว่าได้ไปถวายสารมาแล้ว องค์ท้าวดาหาได้ทราบเนื้อความทุกประการ ทรงตรัสอย่างเฉียบขาดว่าพระธิดามีจรกามาสู่ขอและได้ยกให้ทั้งยังได้กำหนดนัดหมายงานวิวาห์ แล้ว ท่านไม่ได้คิดเกรงองค์พระ และได้ทูลความตามได้รับนอกสาร ถ้าท้าวดาหาไม่ให้พระธิดา ก็จง รีบเร่งปรับแต่งพระนครให้มั่นคง จะชิงพระธิดาให้ได้หากใครที่ได้รับชัยชนะจะสมปรารถนา แต่องค์ ท้าวดาหากลับตรัสว่าแล้วแต่ตามวิญญาณ์ขอพระองค์จงทราบด้วย เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงได้ฟังทูต ทูลความก็โกรธ จึงมีบัญชาตรัสออกมา ดูดู๋เจ้าเมืองดาหา เราอุตส่าห์อ่อนน้อมง้อขอไปในสาร จะรับ ไว้ก็ไม่มีเลย ถึงแม้จรกามาขอนางไว้ แล้วได้ยกนางให้เขาไปก่อนก็สมควรอยู่ที่จะปราศรัยมาให้ดีแล้ว ดูสิมาตัดไม่ตรีให้ขาดกัน เรานั้นก็มีศักดามีบารมีมาอาณาจักร ก็กว้างขวางอยู่พอที่จำเป็นจะต้องมี ความพยายามไม่ละวาง จะต้องชิงนางบุษบามาให้ได้หากไม่ได้สมดั่งใจหมายก็จะไม่ขอกลับคืน พระนครแห่งนี้อีก จะทำสงครามตามรังควาญอยู่ทุกคราจนกว่า ชีวิตจะหาไม่ ฝ่ายท้าวกะหมังกุ หนิงได้ฟังก็ยิ่งโกรธจึงประภาษไป ว่ากษัตริย์ทั้งสี่เมืองจะมาช่วยท้าวดาหารบเป็นศึกใหญ่ ตัวกูก็ไม่ เกรงกลัวใคร จะหักล้างให้เป็นธุลีจงได้พูดพร้อมสั่งอำมาตย์ดะหมังตำมะหงงให้เกณฑ์ไพร่พล หาให้ ครบสามสิบหมื่นนายที่มีพื้นฐานการรบ นำเอาวิหยาสะกำเป็นกองหน้า คอยตรวจตราเตรียม กระบวนทัพให้ถี่ถ้วน ส่วนกองพลมนตรีจะคอยหนุนทัพ ทัพเมืองกาหลังยกมาสมทบ ๙
ดะหมังเมืองกุเรปันถวายสาส์นท้าวหมันหยาและอิเหนา ดะหมังจากเมืองกุเรปัน เมื่อถึงเมืองหมันหยาก็ตรงไปยังเรือนพักของอิเหนาเข้าเฝ้าถวายสารแก่ อิเหนา ซึ่งในสารนั้นกล่าวว่าตอนนี้มีข้าศึกตั้งทัพชิดเมืองดาหา ให้อิเหนารีบยกพลไปตี ถ้าไม่มาช่วย ก็ขาดกัน เมื่ออิเหนาได้อ่าน ก็ถอนใจสงสัยว่าบุษบาจะงามถึงไหนเชียว ถ้างามเหมือนจินตะหราก็ว่า ไปอย่าง จึงบอกดะหมังไปว่าจะยกทัพไปในอีก ๗ วัน แต่ดะหมังทูลว่าต้องรีบไป เพราะตอนนี้ข้าศึก ยกทัพมาติดแล้ว อิเหนารับคำ สั่งแล้วลาไปหานางจินตะหรา เล่าเรื่องราวให้นางจินตะหราฟัง พอ นางได้ฟังนางก็ตัดพ้อว่าอิเหนาจะกลับไปหาคู่หมั้นเก่า แต่อิเหนาก็ชี้แจงว่า อิเหนาไม่เคยคลายความ รักในตัวจินตะหราเลย แต่ครั้งนี้มีเหตุจำ เป็น นางจินตะหรารู้ศึกคับแค้นใจแล้ว ที่รีบไปก็เข้าใจว่านาง บุษบาคู่ควรกับอิเหนา อิเหนาปลอบใจนางจินตะหรา ถึงนางบุษบาจะสวยก็จริง แต่ก็สู้นางจินตะ หราไม่ได้ ครั้งนี้จำ เป็นต้องไปเพรระกลัวท้าวกุเรปันบิดาหากเสียเมืองก็เหมือนเสียวงศ์ตระกูล เมื่อไป แล้วจะอยู่ไม่นานอย่าได้เศร้าเสีย นางจินตะหราเห็นสารแล้วบรรเทาทุกข์แคลงใจ นางบอกทำ ศึกเสร็จ ก็ให้รีบกลับมา อิเหนารับขวัญนางแล้วว่าคงเป็นเวรกรรมที่ต้องจากไปก็ขอฝากนางมาหยารัศมีและ นางสการะวาตีให้จินตะหราดูแลเพราะนางทั้งสองห่างไกลบิดามารดาอย่าได้เคียดแค้นหึงหวงถ้าผิดก็ ให้เมตตานางทั้งสอง แล้วถอดสังวาลให้นางจินตะหราไว้ดูต่างหน้า ๑๐
อิเหนาเข้าเฝ้าระตูและถวายบังคมลา อิเหนาทูลลาท้าวหมันหยาและประไหมสุหรี ต่างองค์ต่าง อวยพรให้เดินทางปลอดภัยและให้ข้าศึกศัตรูพ่ายแพ้แล้ว อิเหนาก็ทูลลากลับมาที่ตำหนักของตน ๑๑
อิเหนากรีธาทัพไปกรุงดาหา รุ่งเช้า อิเหนาทรงช้างหันไปทางทิศตะวันออกพร้อมด้วยเสนาอำ มาตย์ โหราและชีพราหมณ์พอได้ ฤกษ์ก็ลั่ ก็ลั่ นฆ้องดังสนั่นกึกก้องไปทั้งสนาม ปุโรหิตทำ พิธีตัดไม้ข่มนามตามตำ ราพิชัยสงคราม ทั้งทัพ หน้า ทัพหลัง ทัพหลวงพร้อมกันทหารโบกธงทองกระบี่ครุฑ พวกฝรั่งจุดปืนใหญ่ให้สัญญาณ ชี พราหมณ์ทำ พิธีเบิกโขลนทวารอ่านคาถาอาคม เคลื่อนกองทัพออกจากเหมืองหมันหยา มุ่งตรงไป เมืองดาหา ระหว่างทางอิเหนาโศกเศร้าเสียใจอาลัยรักนางทั้งสามยิ่งนัก ว่าป่านนี้จะคร่ำ ครวญหา ใครจะปลอบนาง คิดถึงความหลังแล้งยิ่งใจหายคิดไปก็อายพวกไพร่พลจึงชักม่านปีดทั้งสี่ทิศเหมือน จะบังแสงดวงอาทิตย์ ลมพัดกลิ่นดอกไม้เหมือนกลิ่นผ้านางที่เปลี่ยนมา ได้ยินเสียงนกยูงร้องก็คิด ว่าเป็นเสียงของนาง จึงเผยม่านออกมาเห็นแต่ต้นไม้ใบไม้จึงเอนตัวลงพิงหมอนเอามือก่ายหน้าผาก คิดถึงความรักก็ยิ่งเศร้าใจจนน้ำ ตาไหลออกมา ประสันตาพี่เลี้ยงเห็นเช่นนั้นก็ขี่ช้างมาข้างท้ายชี้ ชวนให้ชมธรรมชาติของป่าไปตลอดทาง ว่าป่านี้แปลกตากว่าป่าไหนๆ ไว้เสร็จศึกแล้วน่าจะชวน นางทั้งสามมาเที่ยวพักผ่อนให้สบาย อิเหนานิ่งฟังอยู่นานก็คลายทุกข์แล้วลุกขึ้นถามว่าป่านี้หรือ สนุกว่าพลางอิเหนาก็มองไปถามว่าไหนล่ะอย่าโกหกกันประสันตาแกล้งทำ ตกใจทูลว่าอยู่ดงนี้เพราะ ช้างเดินเลยมาแล้วแต่ดงข้างหน้ายังมี อิเหนายิ้มแล้วตอบว่าโกหกซึ่ง ๆหน้าช่างไม่อาย ยังมาเฉฉ ไปอีกคนอะไรน่าจะผลักให้ตกจากช้างท่าจะดีอิเหนาชมนกชมไม้ต่าง ๆ เห็นนกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นกเบญจวรรณ นกนางนวล นกจากพราก นกแขกเต้าที่กำ ลังเกาะต้นเต่าร้าง นกแก้ว นกตระเวน ไพร นกเค้าโมง นกคับแค ก็ให้นึกไปถึงนางทั้งสามตลอดทาง ๑๒
เดินทางมาหลายวันก็มาถึงทางร่วมเมืองกุเรปันพบกับกองทัพของกะหรัดตะปาตีอิเหนาก็ให้หยุด กองทัพกะหรัดตะปาตีพี่ชายอิเหนาเห็นทัพอิเหนายกมาก็ดีใจ บอกว่าท้าวกุเรปันบิดาให้คุมทัพมา รอทัพอิเหนาเพื่อไปช่วยเมืองดาหามาคอยอยู่หลายวันแล้วข่าวว่าข้าศึกประชิดเมืองแล้วจะได้รีบไป อิเหนาจึงว่าการเดินทางทัพนั้นอ้อมกว่ากุเรปันแล้วทั้งสองทัพก็จัดทัพเข้ากระบวนเดียวกันเรงรีบยก ทัพไปยังกรุงดาหาทันที เมื่อถึงชายแดนเมืองดาหา อิเหนาก็หยุดตั้งค่ายนามครุทตามตำ ราพิชัย สงคราม แล้วให้ตำ มะหงงรีบไปกราบทูลท้าวดาหา ให้กราบทูลอย่าให้ขุ่นเคืองใจ ตำ มะหงงรับคำ สั่ง แล้วควบม้าไปทันทีเมื่อไปถึงก็แจ้งยาสาสนาเมืองดาหาว่าบัดนี้อิเหนา และกะหรัดตะปาตีจากกุเรปัน ยกทัพมาช่วยพระธิดาดาหาแล้วจงพาเข้าเฝ้ากราบทูลเรื่องราวให้กระจ่าง ยาสาดีใจมากพาตำ มะ หงงเข้าไปท้องพระโรงทันที ตำ มะหงงกราบทูลว่าบัดนี้อิเหนากับกะหรัดตะปาตียกทัพมามากมาย หลายแสนตั้งอยู่ปลายแดนเมืองดาหา ท้าวดาหารู้ว่าอิเหนายกทัพมาช่วยก็มีความดีใจเพราะอิเหนา มีความ เก่งกล้าสมารถเห็นว่านางบุษบาจะไม่เป็นอันตราย แต่ไม่แสดงออกให้ใครเห็น ยิ้มแล้วกล่าว ว่าอิเหนายกทัพมาช่วยก็ขอขอบใจ แล้วให้ตำ มะหงงไปเชิญให้เข้ามาในเมืองจะได้พักผ่อนให้สบาย ตำ มะหงงกราบทูลว่าอิเหนารู้ตัวดีว่ามีความผิดติดตัวอยู่ จึงขอทำ ศึกให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะเข้ามา ถวายบังคม ท้าวดาหาจึงไม่ได้รับสั่งอะไร แต่ถามสุหรานากงว่าจะทำ ศึกในเมือง หรือจะไปช่วยพี่ ๆ รบสุหรานากงทูลว่ามาอยู่ดาหานานแล้วจึงขออาสาออกไปช่วยอิเหนาและกะหรัดตะปาตีออกรบ เมื่อท้าวดาหาอนุญาตสุหรานากงก็กราบทูลลาออกมาเตรียมไพร่พลแล้วยกพลออกจากเมืองไปยัง ค่ายของอิเหนา เมื่อไปถึงก็เข้าเฝ้าอิเหนาสนทนากันด้วยความยินดีเล่าเรื่องราว ตั้งแต่ต้นจนจบว่า เมื่อวันที่สุหรานากงมาถึงเมืองดาหาได้ทูลว่าอิเหนาจะยกทัพมาช่วย ดูท่าทางท้าวดาหาจะขัดเคือง ว่าไหนเลยจะจากเมืองหมันหยามาเพราะรักเมียดังแก้วตาคงไม่มาแน่นอน เกิดศึกก็เพราะใครจน เดือดร้อนไปทั้งมือง นับประสาอะไรกับท้าวดาหาแม้นตายก็คงไม่เผาผี อิเหนาได้ฟังก็ตอบว่าที่ท้าว ดาหาขุ่นเคืองนั้นก็รู้กันอยู่อิเหนาไม่ถือโทษโกรธตอบคิดแต่จะทำ ศึกให้ได้ชัยชนะแล้วเข้าเฝ้าจะด่า ว่า อย่างไรก็แล้วแต่ ตำ มะหงงทูลว่าท้าวดาหารับสั่งให้ทูลอิเหนาว่าท่านขอบใจมากเชิญเข้าในเมืองจะได้ พักพล แต่ตำ มะหงงทูลท้าวดาหาว่าอิเหนาจะขอทำ ศึกแก้ตัวก่อนเสร็จศึกแล้วจึงจะเข้าเฝ้าดูท่าทีจะ คลายความโกรธเคืองลงแล้ว อิเหนาได้ฟังตำ มะหงงทูลก็รู้สึกสบายใจเสด็จกลับเข้าข้างใน สุหรานากง ก็กลับไปยังที่พัก ๑๓
ว่าพลางทางชมคณานก เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี นางนวลจับนางนวลนอน จากพรากจับจากจำ นรรจา แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง นกแก้วจับแก้วพาที ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา คับแคจับแคสันโดษเดี่ยว ชมวิหคนกไม้ไปตามทาง โผนผกจับไม้อึงมี่ เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา เหมือนจากนางสการะวาตี เหมือนร้างห้องมาหยารัศมี เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้าง คะนึงนางพลางรีบโยธี ฯ* กลอนอีกบทที่น่าสนใจคือ ‘บทชมดง’ ของอิเหนาบทนี้ ขณะที่อิเหนาเดินทัพไป รบก็ได้พบธรรมชาติในป่า มีทั้งนก ทั้งต้นไม้ แต่ไม่ว่าอิเหนาจะพบเจออะไรก็ไม่ วายคิดถึงนาง ๆ ที่จากมาตามประสาคนมีความรัก โดยกลอนบทนี้มีการใช้กวี โวหารแบบเสาวรจนีย์ หรือบทชมความงามของธรรมชาติ มีการใช้โวหาร ภาพพจน์คือการอุปมา เปรียบเทียบธรรมชาติที่พบเห็นกับเรื่องราวความรัก ของตน การเล่นคำ พ้องรูปพ้องเสียงของชื่อนก ชื่อพรรณไม้ ๑๔
นกเบญวรรณเกาะอยู่ที่ต้นวัลย์ นกนางนวล นกจากพรากเกาะอยู่ที่ต้นจาก นกแขกเต้าเกาะอยู่ที่ต้นเต่าร้าง นกแก้วเกาะอยู่ที่ต้นแก้ว นกตระเวนไพร นกเค้าโมงเกาะอยู่ที่ต้นโมง นกคับแคเกาะอยู่ที่ต้นแค ๑๕
อิเหนามีบัญชาให้จัดทัพเตรียมรบกับทัพกะหมังกุหนิง อิเหนาได้ฟังพี่เลี้ยงเล่าเรื่องราวให้ฟังจึงสั่งตำ มะหงงให้เร่งจัด ทัพ ตำ มะหงงรับคำ สั่งแล้วรีบออกไปจัดทัพทันที ๑๖
อิเหนาและอนุชากรีธาทัพ เผชิญทัพกะหมังกุหนิง เมื่อได้ฤกษ์อิเหนา กะหรัดตะปาตี สุหรานากง สังคามาระตา และระเด่นดาหยน ต่างพากันอาบ น้ำ แล้วหาดเล็กก็นำ เครื่องทรงถวาย ต่างองค์ขึ้นม้าพร้อมพลทั้งสี่เหล่า เมื่อมาใกล้กองทัพข้าศึก ก็ให้หยุดทัพ ตำ มะหงงรับคำ สั่งก็ให้ธงสัญญาณหยุดทัพจัดทัพแบบนามครุฑวางกองทหารเยื้อง กันเป็นปันปลา ฝ่ายท้าวกะหมังกุหนิง เห็นกองทัพขวางเมืองไว้จึงเรียกวิหยาสะกำ โอรสและระตู ปาหยังกับระตูประหมันน้องชายรีบกระตุ้นม้าออกไปประจำ ที่กองทัพ แล้วประกาศให้เร่งตีทัพ ดาหาให้ได้ในวันนี้ ดะหมังรับคำ สั่งก็รีบเข้าโจมตีทันที บ้างจุดปืนใหญ่ นายกองแกว่งดาบควบม้า เข้าชิงชัยกัน ทหารเมืองกุเรปันใช้ปืนตับยิงสกัดไว้แล้วไล่ประจัญบานกัน ต่างฝ่ายต่างมีฝีมือ ต่อสู้กันจนถึงอาวุธสั้น ดาบสองมือโถมเข้าทะลวงฟัน พวกใช้กริชต่อสู้ก็ต่อสู้กันพลวัน ทหารหอก ก็ป้องปัดอาวุธไม่หลบหนี ทหารม้ารำ ทวนเข้าสู้กัน บ้างสกัดหอกที่ซัดมา บ้างพุ่งหอก บ้างยิง เกาทัณฑ์ เข้าตะลุมบอนกันกลางสนามรบ ส่วนที่ตายทับกันเหมือนกองฟาง เลือดไหลนองไปทั่ว ท้องทุ่ง กองหลังก็หนุนขึ้นไปไม่ขาดสาย สังคามาระคาเห็นข้าศึกโจมตีไม่หยุดก็โกรธมากแกว่ง ดาบขับม้าเข้าโจมตีข้าศึก ตามลำ พัง อิเหนากับระเด่นทั้งสามหันไปดูเห็นสังคามาระตากล้า หาญไม่กลัวเกรงข้าศึกจึงขับม้าตามไป ท้าวกะหมังกุหนิงมองเห็นอิเหนาและระเด่นทั้งสามจึง ถามว่าใครคือจรกา อิเหนายิ้มแล้วตอบว่ายกทัพมาจากเมืองกุเรปันเพื่อสังหารข้าศึกที่มาติด เมืองดาหา มาถามหาจรกานั้นไม่อยู่ในกองทัพนี้ ท้าวกะหมังกุหนิงรู้ว่าเป็นอิเหนาก็รู้สึกกลัวอยู่ ลึก ๆ แต่แข็งใจตอบว่า อิเหนาอายุยังน้อยและรูปร่างก็สวยงามพอได้เห็นก็น่าเสียดายที่ต้องมา ตายเสียเปล่าไม่ควรต่อสู้กับท้าวกะหมังกุหนิง เพราะท้าวกะหมังกุหนิงกับอิเหนาไม่มีข้อขัดข้อง หมองใจกันให้จรกามารบเถิดจะได้ดูเล่นเป็นขวัญตา ๑๗
อิเหนาจึงตอบว่าอันตัวจรกานั้นไม่ได้อยู่ที่เมืองดาหาเมื่อท้าวกะหมังกุหนิงหลับหูหลับตามารบผิดเมือง ทำ ให้ไพร่พลล้มตายเสียเปล่า ถ้าจะรบกับจรกาก็ต้องไปเมืองของจรกา อิเหนาจะช่วยชี้ทางให้ แต่ถ้ายัง ตั้งทัพประชิดดาหาอยู่อีก ก็คงจะต้องรบกัน ถึงระตูจรกาจะไม่ยกทัพมา ตัวอิเหนาในฐานะพี่ชาย ก็ต้อง ปกป้องบุษบาผู้เป็นน้อง ท้าวกะหมังกุหนิงจึงชี้แจงว่า ที่ยกกองทัพมาหมายจะชิงตัวนางบุษบา เพราะ ถึงท้าวดาหาจะรับของหมั้นจากจรกาไว้แล้ว แต่ก็ยังมิได้อภิเษกสมรสกัน จรกาไม่ได้มาด้วยก็ดี จะได้ไม่มี ก้างขวางคอ การชิงนางเช่นนี้ย่อมไม่ผิดธรรมเนียม สุดแต่ว่าใครจะมีฝีมือมากกว่าก็ได้นางไป ดังนั้น เรื่องนี้คงไม่ใช่ธุระกงการอะไรของพี่ชาย เพราะฉะนั้นยกทัพกลับไปเสียดีกว่า อิเหนาจึงท้ารบกับท้า วกะหมังกุหนิง วิหยาสะกำ ได้ยินแล้วเคียดแค้นแทนท้าวกะหมังกุหนิง จึงกล่าวกับอิเหนาว่าอย่าปากกล้า โอหังลบหลู่ผู้ใหญ่ อย่าทะนงตัวว่าเก่ง เมื่อรบกัน ไม่ใครก็ใครก็ต้องตายกันไปข้างหนึ่ง นี่ยังไม่ทันรบเลยก็ มาพูดจาข่มขู่ให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้เสียแล้ว สังคามาระตาฟังวิหยาสะกำ พูดดังนั้นก็โกรธ ขออาสารบกับวิห ยากะกำ อิเหนาก็อนุญาตแต่กำ ชับเตือนว่าอย่าลงจากหลังม้า เพราะไม่ชำ นาญเพลงดาบ ให้รบด้วย ทวนบนหลังม้าซึ่งชำ นาญดีแล้วจะได้มีชัยชนะในการรบ สังคามาระตาจึงขับม้าไปหยุดที่หน้าวิหยาสะกำ ร้องท้าให้รบด้วยเพลงทวน และแกล้งเยาะเย้ยว่าหากมีฝีมือควรคู่กับวงศ์เทวัญก็จะยกนางบุษบาให้ วิห ยาสะกำ แค้นใจยิ่งนัก จึงถามว่าเจ้าผู้เก่งกล้ามีนามว่าอะไร อยู่เมืองไหนเป็นเชื้อสายตระกูลใด หรือเป็น เชื้อสายในวงศ์เทวัญของสี่เมืองจึงมาท้ารบช่างไม่กลัวตาย และผู้ที่ทรงม้าอยู่ในร่มมีใครบ้าง แล้วค่อยมา รบกัน สังคามาระตาได้ฟังก็โกรธมาก ก็ชี้แจงว่ามีอิเหนาเมืองกุเรปัน กะหรัดตะปาตีพี่ชายอิเหนา สุหรา นากง แห่งเมืองสิงหัดส่าหรี ระเด่นดาหยนจากเมืองหมันหยา ตัวเราชื่อสังคามาระตาบุตรท้าวปักมา หงันเป็นน้องของอิเหนา วิหยาสะกำ ยิ้มเยาะแล้วว่ายังสงสัยว่าตัวสังคามาระตานั้นเป็นน้องอิเหนาได้ อย่างไร หรือมีความรักใคร่กันขอให้บอกมาตามตรง สังคามาระตาโกรธมากร้องว่าไอ้ข้าศึกวาจาหยาบ คายมาถามเอาอะไรนักหนา จึงตอบว่า “ สุดแต่ว่าจิตพิศวาส ก็นับเป็นวงศ์ญาติกันได้ ” หลังจากที่ เจรจาได้สักพักก็ลงมือรบกัน ทั้งสองสู้ด้วยทวนบนหลังม้าอย่างกล้าหาญ สง่างามร่ายรำ ยักย้ายเปลี่ยน แปลกระบวนท่าเพลงทวนอย่างชำ นิชำ นาญ ในที่สุดสังคามาระตา ก็แกล้งลวงให้วิหยาสะกำ แทงทวน แล้วทำ ทีพ่ายหนี วิหยาสะกำ หลงกลชักม้าเลี้ยวตาม สังคามาระตาตลบหลังกลับมาทันที แล้วแทงทวน สอดลอดเกราะของวิหยาสะกำ ทำ ให้วิหยาสะกำ ตกจากหลังม้าตายทันที ๑๘
เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงเห็นวิหยาสะกำ ถูกอาวุธตกจากหลังม้าก็โกรธ ชักม้าแกว่งหอกเข้าใส่สังคามาระตา ทันที อิเหนาจึงรีบควบม้าเข้ามาขวาง พุ่งหอกสกัดไว้ แต่ท้าวกะหมังกุหนิงก็รับไว้ได้ ทั้งสองรุกไล่กันไป มา ในที่สุดอิเหนาชักม้าออกรอ ไม่บุกเข้าไป คิดว่าท้าวกะหมังกุหนิงนั้นมีฝีมือในการใช้เพลงทวนบน หลังม้า ยากต่อการเอาชนะ อิเหนาจึงท้าให้ท้าวกะหมังกุหนิงมาสู้กันด้วยดาบ ท้าวกะหมังกุ หนิงก็ รับคำ ชักดาบออกมาจ้วงฟันอย่างคล่องแคล่ว เมื่อผ่านไปได้พักใหญ่ อิเหนานึกในใจว่าท้าวกะหมังกุหนิ งก็เก่งเพลงดาบ จึงต้องสู้ด้วยกริชซึ่งองค์เทวัญประทานให้ อิเหนาก็ร้องท้าท้าวกะหมังกุหนิงให้มารำ กริชสู้อีกเช่นกัน ท้าวกะหมังกุหนิงก็ชักกริชเข้าปะทะต่อสู้อย่างไม่ครั่นคร้าม จนเมื่ออิเหนาเห็นท้าวกะห มังกุหนิงก้าวเท้าผิด จึงแทงกริชทะลุอกไปถึงหลังทำ ให้ท้าวกะหมังกุหนิงสิ้นใจตายทันที กะหรัดตะปาตี ระเด่นดาหยน สุหรานากง เห็นอิเหนาสังหารท้าวกะหมังกุหนิงสิ้นชีวิตลง ทั้งสามจึงชักม้าเข้าสังหาร ข้าศึก จนระตูปาหยังกับระตูประหมันพ่ายหนีไประตูปะหมันและระตูปาหยังสุดที่จะทัดทานได้ก็แตก พ่ายไป ไพร่พลต่างกระจัดกระจาย บ้างปลอมปนกับพลทหาร บ้างบ่าวหามใส่บ่าพาวิ่งหนี เครื่องแป้ง ทิ้งตกกระจายเกลื่อน บ้างหนามเกี่ยวหัวหูก็ไม่รู้สึกตัว บ้างก็หนีไปตามลำ พัง บ้างก็ทิ้งปืนหนีไปแอบหลัง เพื่อน พวกถูกปืนก็เซซังคลานหนี ระตูทั้งสองเมื่อกลับถึงค่ายก็ปรึกษากันขอยอมแพ้แก่อิเหนา เพื่อ เป็นการรักษาชีวิตและรี้พลไว้ แล้วระตูทั้งสองก็เข้าเฝ้าอิเหนา ระตูปะหมันและระตูปาหยังต่างกลัวจน ตัวสั่นแจ้งแก่อิเหนาว่าทั้ง สองมีความผิดหนักหนาแต่ขอประทานชีวิตไว้จะขอเป็นข้ารับใช้ต่ออิ เหนา จนกว่าจะตายและจะส่งบรรณาการมาถวายตามประเพณี อิเหนาก็รับไว้เป็นเมืองขึ้น แล้วให้ทั้งสองนำ ศพของท้าวกะหมังกุหนิง และวิหยาสะกำ ไปทำ พิธีตามราชประเพณี แล้วอิเหนาก็มาดูศพวิหยาสะกำ เห็นศพถูกทิ้งอยู่พิจารณาดูแล้วก็ใจหายเพราะยังเป็นหนุ่มอยู่รูปร่างก็สวยงามนับว่าสมชายชาตรี ฟัน แดงดังแสงทับทิม หน้าตางดงามรับกับคิ้ว ผมปลายงอนงามรูปร่างสมส่วนอย่างนี้บิดาจึงรักรักรักหนา จนต้องมาตายเพราะลูก หากจรกางดงามอย่างวิหยาสะกำ ก็จะไม่ร้อนใจว่าจะมาปะปนศักดิ์กัน แล้ว อิเหนาก็ขึ้นม้ากลับที่พักไป ระตูปะหมันและระตูปาหยังกอดศพท้าวกะหมังกุหนิงพี่ชายร้องไห้รำ พัน ออกมาด้วยความเศร้าว่าท้าวกะหมังกุหนิงนั้นมีชื่อเสียงเกียรติยศปรากฏไปทั่วทุกแผ่นดินทำ สงครามทุก ครั้งที่ผ่านมาไม่เคยพ่ายแพ้ครั้งนี้เป็นเพราะคิดประมาทรักลูกมากเกินไปจะทัดทานอย่างไรก็ไม่ฟัง อนิจ จาวิหยาสะกำ คงเป็นเวรกรรมแต่ครั้งก่อน เสียแรงที่มีกำ ลังมีความกล้าหาญต้องมาตายตั้งแต่ยังอายุ น้อย ต่อไปนี้คงไม่ได้เห็นหน้า กลับบ้านเมืองไปคงจะมีแต่ความเงียบเหงา ทั้งสองระตูต่างโศกเศร้าเสียใจ ๑๙
คำ ศัพท์ยาก กระยาหงัน สวรรค์ กราย เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทีหรือลีลาในการใช้อาวุธ กลับกลอก พลิกไปพลิกมา ที่นี้หมายถึงขยับอาวุธ กะระตะ กระตุ้นให้ม้า้เดิน หรือ วิ่ง กั้นหยั่น อาวุธ สำหรับเหน็บติดตัว กัลเม็ด ปุ่มที่ฝักอาวุธ กิดาหยัน ผู้รับใช้ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน แกว้วพุกาม แก้วมีค่าจากเมืองพุกามในพม่า โขลนทวาร ประตูป่า งาแซง ไม้เสี้ยมปลายแหลม สำหรับวางเรียงป้องกันข้าศึก ชักปีกกา จัดกองทัพเป็นรูปปีกกา ดวงยิหวา ผู้เป็นที่รักยิ่ง ดะหมัง ตำแหน่ง ขุนนางผู้ใหญ ในชวา มียาสา ตำมะหงง ปูนตา และดะหมัง ดูผี เยี่ยม เคารพศพ ตุนาหงัน หมั้นหมาย ถอดโกลน ชักเท้าจากโกลน (ห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้า) ไถ้ ถุงสำหรับใส่เงิน และสิ่งของ มักคาดไว้ที่เอว นามครุฑ การตั้งค่ายเป็นรูปครุฑ ประเจียด ผ้าที่ใช้ลงอาคม ใช้ในการป้องกันอันตรายในการสู้รบ ประเสบัน ตำหนัก ป่วยขา บาดเจ็บที่ขา ปักมาหงัน ชื่อเมืองของระตูผู้เป็นบิดาของสังคามาระตา พหลพลขันธ์ กองทัพใหญ่ ๒๐
คุณค่า ๑.๑ ความรักของบิดาที่มีต่อบุตร ท้าวกะหมังกุหนิงรักลูกชาย ๑.๒ ผลของการใช้อารมณ์ ศึกกะหมังกุหนิงครั้งนี้หากพิจารณาให้รอบด้าน ล้วนเกิดขึ้นจากอารมณ์ของแต่ละฝ่าย ทั้งบุหรี่ปั่น ดาหา และกระมังกูหนิง ๑.คุณค่าด้านเนื้อหา ๒.คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม ๓.๑ การเล่นเสียงสัมผัส - สัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระ ๓.๒ การใช้คำ พ้อง คือ การใช้คำ ที่ออกเสียงเหมือนกันแต่ความหมายต่างกัน ๓.๓ โวหารภาพพจน์ ๓.๓.๑ อุปมา เป็นการเปรียบเทียบให้เกิดจินตภาพหรือภาพที่เกิดจากการอ่าน ๓.๓.๒ อุปลักษณ์ เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งหนึ่งให้เกิดจินตภาพ ๒.๑ การแต่งกายสีมงคลตามวัน ๒.๒ การศึกสงครามในอดีต เช่น การยกทัพ พิธีกรรมก่อนทำ สงคราม ๒.๓ ความเชื่อของคนในอดีต เช่น ความเชื่อเรื่องกรรม ๓.คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๓.๓.๓ การใช้คำ ถามเชิงวาทศิลป์ คือ ถามเพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังได้คิดพิจารณา การกระทำ หรือความผิดของตน ๓.๔ การใช้ลีลาการเขียน กวีเลือกใช้ลีลาการเขียนได้เหมาะสมกับเนื้อหาของบท ประพันธ์แต่ละช่วง ๒๑
บรรณานุกรม ๑. https://writer.dekd.com/sunday_zaza/writer/viewlongc.php? id=776861&chapter=1 ๒. https://www.gotoknow.org/posts/430711 ๓. https://www.dek-d.com/board/view/1902773/ ๔. http://jo-hook.blogspot.com/2015/11/?m=1 ๕. https://blog.startdee.com/%E0%B8%A14- %E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9 7%E0%B8%A2- %E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8% B2- %E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%A B%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8% AB%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%87 ๒๒ ๖.