The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ-10-Package-

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ksr120267, 2024-03-25 02:08:40

คู่มือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ-10-Package-

คู่มือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ-10-Package-

แนวทางปฏิบัติการป้องกันระบบไฟฟ้า หลังน�้ำท่วม อุปกรณ์ไฟฟ้าหลัก ตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้า (ถ้ามี) ซึ่งหากถูกน�้ำท่วม ต้องมีการตรวจสอบสภาพ และทดสอบ ค่าความเป็นฉนวนให้ได้ตามค่ามาตรฐานทั้งในส่วนตัวถัง บูชชิ่งแรงสูง แรงต�่ำ เพราะน�้ำอาจมีการรั่วซึมได้ ซึ่งจะด�ำเนินการโดยการไฟฟ้าหรือบริษัท สายไฟฟ้าทุกชนิดที่ถูกน�้ำท่วมขัง ต้องได้รับการตรวจทดสอบการรั่ว (Leak) และทดสอบค่าความ เป็นฉนวน (InsulationTest) โดยเฉพาะสายเมน (MainFeeder) และจุดต่อสายไฟ ตู้เมนสวิตช์ที่ถูกน�้ำท่วมขังจะต้องมีการปรับปรุงโดยอุปกรณ์ที่ช�ำรุดเสียหายต้องเปลี่ยนใหม่กล่าว คือ หากเป็น Air Circuit Breaker (ACB)ซึ่งมีส่วนที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอาจช�ำรุดเสียหาย ต้องถอดให้บริษัท (Supplier) ท�ำการตรวจทดสอบ หากเป็น Molded Case หรือ Miniature อาจถอดและเป่าให้แห้ง แต่ทั้งนี้ควรต้องมีการทดสอบการรั่ว (Leak) ค่าความเป็นฉนวน ซึ่งรวมถึงบัสบาร์และจุดต่อต่าง ๆ ที่อาจมี การรั่วลงดิน ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้แก่ มอเตอร์เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็นหรือเครื่องท�ำน�้ำเย็นหรือ เครื่องจักรต่าง ๆ หากมีน�้ำท่วมถึงแล้ว อาจเป็นการยากที่รู้ปัญหาหรือความเสียหาย ถึงแม้เบื้องต้นได้มีการ ท�ำให้แห้งสนิทหรือตากแดดแล้วก็ตาม แต่ควรรีบแจ้งผู้รู้หรือช่างช�ำนาญหาทางแก้ไขซ่อมแซม ถ้าไม่จ�ำเป็น จริงๆอย่าเพิ่งใช้เด็ดขาด เพราะอุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้อาจมีการช�ำรุดด้านในที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้หรือ อาจใช้ได้ในระยะสั้น ๆ แต่ระยะยาวอาจเป็นปัญหาการลัดวงจรที่อาจท�ำให้เกิดอัคคีภัยขึ้นในโรงงานได้ โดยเฉพาะมอเตอร์ควรมีการทดสอบค่าความเป็นฉนวนด้วย สถานประกอบการปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดีมีสมดุลชีวิต Safety and Good Environmental Workplace and Happy for Life 337 Package 10


อุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป อุปกรณ์ที่ช�ำรุดเสียหาย ท�ำความสะอาด เช็ด เป่าหรือท�ำให้แห้งกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกน�้ำท่วมถึงให้แห้งก่อนการยกสวิตช์ จ่ายไฟเข้าโรงงาน ตรวจสอบสายไฟต้องไม่ช�ำรุดหรือมีรอยถลอก หรือมีการทับถมของเศษหิน ดินโคลนบนสายไฟ ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกัน (เบรกเกอร์ฟิวส์) ซึ่งต้องอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ไม่ช�ำรุดเสียหาย หรือเปียกชื้น การยกคัตเอ้าท์หรือเมนเบรกเกอร์เพื่อเปิดให้มีจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าโรงงานนั้น ควรทดลองเปิดใช้งานทีละวงจรเพื่อความสะดวกส�ำหรับการตรวจสอบ หากยังมีปลั๊กหรือจุดใดจุดหนึ่งอยู่ใน สภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน เช่น ช�ำรุด เปียกชื้น หรือรั่วลงดิน เมนเบรกเกอร์จะทริป ซึ่งต้องปรับปรุงซ่อมแซม หรือ เปลี่ยนใหม่ให้อยู่ใน สภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย การทดลองว่ามีกระแสไฟรั่วไหลหรือไม่นั้น ควรมีการ ทดลองดับไฟทุกจุดในโรงงาน โดยการถอดปลั๊ก โหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าต ่าง ๆ ออกทั้งหมดแล้วค ่อยเปิด ทีละวงจร พร้อมตรวจสอบดูมิเตอร์ไฟฟ้าว่าหมุนหรือไม่ หากไม่เคลื่อนไหวแสดงว่าไฟฟ้าในโรงงานท่าน ไม่น่าจะรั่ว แต่ถ้ามิเตอร์หมุนแสดงว่าไฟฟ้าในโรงงานท่านอาจจะรั่วได้ทั้งนี้ให้รีบตามช่างไฟมาดูแล ปรับปรุง ซ่อมแซมหรือปรับเปลี่ยน ควรยกระดับของปลั๊กไฟต่างๆ ที่อยู่ในอาคารโรงงาน โดยปรับต�ำแหน่งปลั๊กไฟอยู่ที่ระดับประมาณ 1.20 เมตร เท่ากับระดับสวิตช์พร้อมกันนี้ควรแยกวงจรไฟฟ้าออกให้ชัดเจนระหว่างบริเวณที่น�้ำอาจท่วม ถึงกับบริเวณที่น�้ำไม่สามารถท่วมถึง เพื่อควบคุมการเปิด - ปิดวงจรไฟฟ้าในอาคารโรงงานได้อย่างอิสระ และง่ายต่อการซ่อมแซมบ�ำรุงรักษา ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นโครงสร้างโลหะ เช่น หม้อแปลง ตู้เมนสวิตช์ตู้ไฟฟ้าย่อย ท่อร้อย สายไฟ ขั้วต่อลงดิน และจุดต่อต่างๆ ที่อาจเป็นสนิม หรือช�ำรุดหลุดหลวมขณะที่มีน�้ำท่วมขัง เช่น บริเวณ จุดต่อเชื่อมสายดินของระบบไฟฟ้า ป้องกันฟ้าผ่าเพื่อจะได้ปรับปรุงซ่อมแซม หรือเปลี่ยนใหม่ให้อยู่ในสภาพ ที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย การตรวจสอบความเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้า ตลอดจนการซ่อมบ�ำรุง ปรับปรุงแก้ไข ควรด�ำเนินการ โดยช่างที่มีความช�ำนาญ สายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกน�้ำท่วมและได้รับความเสียหายควรเปลี่ยนใหม่หรือถูกตรวจสอบโดย ช่างไฟฟ้าที่มีความช�ำนาญ 338 คู่มือแนวทางส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ 10 PACKAGES


ล�ำดับ รายการอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า ภาพประกอบ 1. หม้องแปลงไฟฟ้า (Transformer) 2. เครื่องก�ำเนิดไฟฟ้า (Generator) 3. ตู้สวิตช์ประธาน (Main Distribution Board (MDB)) 4. แผงสวิตช์(Distribution Board (DB)) 5. แผงย่อย (Panel Board (PB)) รายการอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า สถานประกอบการปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดีมีสมดุลชีวิต Safety and Good Environmental Workplace and Happy for Life 339 Package 10


ล�ำดับ รายการอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า ภาพประกอบ 6. Air Circuit Breaker (ACB) 7. Molded Case Circuit Breaker (MCCB) 8. เซฟตี้สวิตช์(Safery Switch) 9. ฟิวส์แรงต�่ำ (Low VoltageFuse) 10. สายไฟ (THW) 11. มอเตอร์ไฟฟ้า 340 คู่มือแนวทางส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ 10 PACKAGES


สถานประกอบการปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดีมีสมดุลชีวิต Safety and Good Environmental Workplace and Happy for Life 341 Package 10


342 คู่มือแนวทางส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ 10 PACKAGES


การจัดการมลพิษ การจัดการมลพิษเช่น รังสีควัน ฝุ่นละออง กลิ่น เสียงร�ำคาญ เชื้อโรค สารพิษ สารเคมีน�้ำเสีย ขยะ และสิ่งปฏิกูลของสถานประกอบการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมในสถานที่ท�ำงาน หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัวเราในขณะท�ำงานซึ่งอาจเป็นสิ่งมีชีวิต หรือ อาจเป็นวัสดุสิ่งของ หรืออาจเป็นพลังงานในรูปต่างๆ หรืออาจเป็นบรรยากาศในการท�ำงาน ทั้งนี้สิ่งแวดล้อม ในสถานที่ท�ำงาน แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ (1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น แสงสว่าง ความร้อน/ความเย็น ความกดอากาศ ความสั่นสะเทือน เสียงดัง รังสีการออกแรงท�ำงาน รวมถึงเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆเป็นต้น (2) สิ่งแวดล้อมทางเคมีเช่น สารเคมีต่าง ๆ สารก�ำจัดแมลงหรือก�ำจัดศัตรูพืช ฝุ่น ฟูมจากการเชื่อม โลหะหรือหลอมโลหะ ควัน ละออง ก๊าซไอระเหย ของเหลวหรือสารตัวท�ำละลาย กรด - ด่าง เป็นต้น (3) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส หนอนพยาธิงูสัตว์มีพิษอื่น ๆเป็นต้น (4) สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาสังคม หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หรือจิตใจที่ก ่อให้เกิดความเครียดจากการท�ำงานหรืออาจเป็นผลมาจากลักษณะของงานที่หนักเกินไป งานที่เร่งด่วนความขัดแย้งระหว่างบุคคลในหน่วยงาน เช่น กฎระเบียบในการท�ำงาน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน สวัสดิการ เวลาหรือชั่วโมงการท�ำงาน เป็นต้น การจัดการมลพิษน�้ำเสีย วิธีหนึ่งในการควบคุมการเกิดมลภาวะทางน�้ำ ก็คือการไม่ผลิตสารมลพิษ ทางน�้ำ หรือผลิตให้น้อยลงเท่าที่จะท�ำได้หากเกิดมลพิษทางน�้ำขึ้นแล้วจะต้องมีการก�ำจัดมลพิษในน�้ำให้เหลือ น้อยที่สุด การก�ำจัดน�้ำเสียท�ำได้หลายวิธีดังนี้ 1. การก�ำจัดน�้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ(Self purification) ในน�้ำจะมีจุลินทรีย์โดยเฉพาะแบคทีเรีย ชนิดที่ใช้ออกซิเจน ท�ำหน้าที่ก�ำจัดสารมลพิษในน�้ำเสีย อยู่แล้วโดยธรรมชาติการย่อยสลายสารมลพิษที่เป็นสารอินทรีย์โดยแบคทีเรียท�ำให้ลดการเน่าเสียของน�้ำ หากมีการควบคุมจ�ำนวนแบคทีเรียให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมไม่มากจนเกินไป จนท�ำให้เกิดการขาดแคลน ออกซิเจน หรือไม่น้อยจนเกินไป จนเกิดการย่อยสลายไม่ทัน นอกจากนั้นยังต้องควบคุมปริมาณออกซิเจน ในน�้ำให้มีมากพอ โดยจัดการให้อากาศในน�้ำมีการหมุนเวียนตลอดเวลา เช่น จัดตั้งเครื่องตีน�้ำ หรือการ พ่นอากาศลงในน�้ำเป็นต้น สถานประกอบการปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดีมีสมดุลชีวิต Safety and Good Environmental Workplace and Happy for Life 343 Package 10


2. การท�ำให้เจือจาง (Dilution) วิธีนี้เป็นการท�ำให้ของเสียหรือสารมลพิษเจือจางลงด้วยน�้ำจ�ำนวนมากพอ เช่น การระบายน�้ำเสีย ลงแม่น�้ำ ทะเล วิธีนี้ต้องค�ำนึงถึงปริมาณของเสียที่แหล่งน�้ำจะสามารถรับไว้ได้ด้วย นั่นคือจะต้องขึ้นอยู่กับ ปริมาตรของน�้ำที่จะใช้ในการเจือจาง และขึ้นกับอัตราการไหลของน�้ำ วิธีนี้จึงต้องใช้พื้นที่และปริมาตรมาก จึงจะท�ำให้เกิดความเจือจางขึ้นได้ตามมาตรฐานสากลนั้นน�้ำสะอาดควรมีค่าบีโอดี2 มิลลิกรัมต่อลิตร จึงใช้เป็นน�้ำดื่มได้หากค่าบีโอดีมากกว่า 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ถือได้ว่าน�้ำนั้นมีโอกาสเน่าเสีย ส่วนน�้ำทิ้งจาก แหล่งชุมชนและแหล่งอุตสาหกรรมมีค่าสารแขวนลอย 30 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่าบีโอดี20 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้น น�้ำทิ้งเมื่อถูกเจือจางด้วยน�้ำเสียจากแม่น�้ำหรือทะเล 8เท่าตัวจะท�ำให้ค่าบีโอดีไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อลิตร จึงไม่มีความเน่าเสีย 3. การท�ำให้กลับสู่สภาพดีแล้วน�ำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) วิธีนี้เป็นการท�ำน�้ำเสียให้กลับมาเป็นน�้ำดีเพื่อน�ำมาใช้ต่อไปได้อีก มักกระท�ำในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีผลดีเกิดขึ้น คือ ลดปริมาณของเสียที่ปล่อยออกจากโรงงาน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิต เนื่องจาก น�ำน�้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ได้อีก น�้ำที่น�ำกลับมาใช้ใหม่นี้อาจมีคุณสมบัติด้อยกว่าน�้ำที่ใช้ครั้งแรก ดังนั้น จึงน�ำไปใช้เป็นน�้ำท�ำความสะอาด รดต้นไม้เป็นต้น 4. การควบคุมการปล่อยน�้ำเสียลงสู่แหล่งน�้ำ การควบคุมการปล ่อยน�้ำเสียลงสู ่แหล ่งน�้ำ เป็นการป้องกันและลดการน�ำสารมลพิษลงสู ่แหล ่งน�้ำ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ ก�ำหนดมาตรฐานน�้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต ่าง ๆ ให้มีค ่าของสารแขวนลอย 30 มิลลิกรัมต ่อลิตร และ ค่าบีโอดี20 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นโรงงานอุตสาหกรรม ต่างๆจะต้องตั้งอุปกรณ์ก�ำจัดน�้ำเสียและด�ำเนินการก�ำจัด น�้ำเสีย ให้ได้มาตรฐาน ดังที่ก�ำหนดไว้ก ่อนปล ่อยลงสู ่ แหล่งน�้ำธรรมชาติ 5. การบ�ำบัดน�้ำเสีย แหล่งน�้ำที่เกิดน�้ำเน่าเสียจะต้องห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูล ของเสียลงในแหล ่งน�้ำนั้นอีก ทั้งนี้เพื่อให้เวลาน�้ำเกิด กระบวนการก�ำจัดของเสียโดยวิธีธรรมชาติวิธีนี้ต้องใช้ เวลานาน ดังนั้นจึงสามารถเร่งเวลาให้เร็วขึ้นด้วยการเพิ่ม ปริมาณออกซิเจนเพื่อให้แบคทีเรียสามารถท�ำงานได้ดีขึ้น 344 คู่มือแนวทางส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ 10 PACKAGES


6. การกักเก็บของเสียไว้ระยะหนึ่งก่อนปล่อยออกจากแหล่งผลิต (Detention) วิธีนี้ของเสียจะมีการสลายตัวเองตามธรรมชาติในช่วงเวลาที่กักเก็บไว้วิธีในการป้องกันไม่ให้เกิด มลพิษทางน�้ำมีหลายวิธีโดยที่เราสามารถมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพที่ดีของแหล่งน�้ำได้โดยวิธีการคือ ไม่ทิ้งของเสียลงสู่แหล่งน�้ำและทางระบายน�้ำสาธารณะ บ�ำบัดน�้ำเสียขั้นต้นก่อนระบายลงแหล่งน�้ำหรือท่อระบายน�้ำ ช่วยกันลดปริมาณการใช้น�้ำ และลดปริมาณขยะในบ้านเรือน ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีปุ๋ย สารก�ำจัดศัตรูพืช ในกิจกรรมทางการเกษตรหรือสารเคมี ที่ใช้ในบ้านเรือน ควรน�ำน�้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ ส�ำรวจเพื่อลดปริมาณน�้ำเสียของแต่ละขั้นตอนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม สร้างจิตส�ำนึกของประชาชนให้ตระหนักถึงความส�ำคัญของการรักษาคุณภาพแหล่งน�้ำและ ประหยัดการใช้น�้ำเท่าที่จ�ำเป็น การลดปริมาณขยะเป็นการช่วยลดการก�ำจัดขยะและยังช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย จึงควรมา ร่วมมือกันลดปริมาณขยะ ท�ำได้ดังนี้ 1. เมื่อซื้อของให้ถือตะกร้าหรือถุงผ้าไปด้วยหรือถ้าใส่ถุงพลาสติก ควรรวมสิ่งของใส่ในถุงเดียวกัน และเก็บถุงพลาสติกที่ใส่ของนั้นไว้ใส่ของซ�้ำหรือใช้ใส่ขยะต่อไป พยายามหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ท�ำลายยาก เช่น กล่องโฟมและพลาสติก ถุงพลาสติก 2. พยายามใช้ประโยชน์จากวัสดุสิ่งของอย่างคุ้มค่าก่อนจะทิ้งไปเป็นขยะ เช่น ขวดแก้วที่บรรจุน�้ำหวานน�ำมาใส่น�้ำดื่ม ขวดกาแฟที่หมดแล้วน�ำมาใส่น�้ำตาล ขวดน�้ำพลาสติกใช้ท�ำระบบน�้ำหยด รดน�้ำต้นไม้ใช้กระป๋องเครื่องดื่มท�ำของช�ำร่วย เก็บถุงพลาสติกที่สภาพดีเอาไว้ใช้ประโยชน์จนกว่าจะขาดหรือใช้การไม่ได้ ใช้ลังกระดาษท�ำของเล่น หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ใช้กระดาษทั้งสองหน้าแล้วยังสามารถใช้เป็นกระดาษหน้าที่3ได้อีก เพื่อผู้พิการทางสายตา หรือน�ำไปท�ำประโยชน์อื่น ๆ ที่สร้างสรรค์และสามารถลดปริมาณขยะลงได้ การหมุนเวียนน�ำขยะมาแปรรูป เพื่อน�ำกลับมาใช้ประโยชน์หรือเปลี่ยนแปลงสภาพจากเดิม แล้วน�ำมาใช้ใหม่เช่น พลาสติก กระดาษ ขวด โลหะต่างๆฯลฯ น�ำมาหลอมใหม่น�ำยางรถยนต์ที่ใช้ไม่ได้แล้ว มาท�ำรองเท้า น�ำขวดแก้วมาหลอมผลิตเป็นแก้ว หรือกระจกใหม่ สถานประกอบการปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดีมีสมดุลชีวิต Safety and Good Environmental Workplace and Happy for Life 345 Package 10


3. การท�ำปุ๋ยหมักจากขยะ เช่น ท�ำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร เศษผัก เปลือกผลไม้ใบไม้หญ้าแห้ง และอินทรียวัตถุอื่น ๆ น�ำมาหมักในกระบะหรือท�ำเป็นหลุม ควรกลับกองขยะเพื่อให้เกิดการย่อยสลาย อย่างทั่วถึง 4. การแยกขยะขาย เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระป๋อง เหล็ก กระดาษ ลังกระดาษ กล่องนม กล่องเครื่องดื่มและอลูมิเนียม ฯลฯ ขยะเหล่านี้ถ้าทิ้งไปเฉย ๆ นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้ว ยังจะเพิ่มปัญหาด้านการก�ำจัด และเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม 5. การใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดเติม ส ่วนใหญ ่เป็นสินค้าที่ใช้ภายในส�ำนักงาน เช่น น�้ำยาล้างจาน น�้ำยาปรับผ้านุ ่ม สบู ่เหลว รวมถึงอาหาร และเครื่องดื่มส�ำเร็จรูป ซึ่งได้รับความนิยมอย ่างกว้างขวาง เพราะราคาถูกกว่าและยังช่วยลดปริมาณขยะจากบรรจุภัณฑ์นอกจากนี้ยังเป็นการลดต้นทุนในการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 6. ลดการทิ้งหลอดฟลูออเรสเซนต์ควรเลือกใช้หลอดประหยัดไฟชนิดหลอดผอม นอกจากจะมีอายุ การใช้งานที่ยาวนานมากกว่าแล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า ลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย 7. เก็บรวบรวมขยะภายในที่ท�ำงานให้เรียบร้อย ใส่ภาชนะที่ถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อความสะดวกแก่ พนักงานเก็บขน และเศษอาหาร ควรเก็บรวบรวมใส่ถุงให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการหกเลอะเทอะ สกปรก ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะน�ำโรค 8. กรณีน�้ำท ่วมควรรวบรวมขยะใส ่ในถุงด�ำ ก�ำหนดจุดรวบรวมขยะร ่วมกันในชุมชน เพื่อรอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือท้องถิ่นน�ำไปก�ำจัด ไม่ควรทิ้งลงแหล่งน�้ำ ก่อเกิดความสกปรกและเป็นแหล่ง เพาะพันธุ์เชื้อโรค 346 คู่มือแนวทางส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ 10 PACKAGES


การจัดการเรื่องน�้ำในการอุปโภคและบริโภคในสถานประกอบการ เรียบเรียงโดย ส�ำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปน�้ำประปา เป็นบริการที่รัฐจัดบริการให้ประชาชน และครอบคลุมหลายพื้นที่มากขึ้น เช่น การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาคและประปาหมู่บ้าน น�้ำประปาได้พัฒนากระบวนการผลิต และควบคุมตรวจสอบคุณภาพน�้ำให้น�้ำประปามีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน เช่น เกณฑ์มาตรฐาน เสนอแนะขององค์การอนามัยโลก เกณฑ์คุณภาพน�้ำประปากรมอนามัยปี2553เกณฑ์มาตรฐานน�้ำบาดาล ท�ำให้ ได้น�้ำประปาที่สะอาดปลอดภัยและบางแห่งได้รับรองมาตรฐานคุณภาพจากกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข เป็นน�้ำประปาดื่มได้ในหลายพื้นที่ แต่เนื่องจากปัญหาเรื่องระบบท่อจ่ายน�้ำระบบประปาบางแห่งที่เก่าหรือ เส้นท่อรั่วแตกรั่ว แตกบ่อย และฤดูกาลที่เปลี่ยนไป ท�ำให้ประชาชนผู้ใช้น�้ำไม่มั่นใจในคุณภาพน�้ำประปา รวมทั้งไม่ชอบกลิ่นคลอรีนจึงมีการติดตั้งเครื่องกรองน�้ำและเลือกน�้ำบรรจุขวดมากขึ้น น�้ำจากตู้กดน�้ำเย็น/เครื่องกรองน�้ำที่เป็นสแตนเลส จะมีเครื่องกรองน�้ำติดตั้งด้วยและเครื่องกรองน�้ำ ที่ติดตั้งตามจุดบริการน�้ำดื่ม ควรท�ำความสะอาดเปลี่ยนไส้กรองตามค�ำแนะน�ำที่ระบุไว้ ควรมีการท�ำความ สะอาดตู้กดน�้ำเย็น ทั้งส่วนภายในตู้ก๊อกน�้ำ รางน�้ำทิ้ง หรือช่องรองน�้ำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง มิฉะนั้น อาจจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้ การเลือกน�้ำดื่มบรรจุขวด ฝาปิดต้องปิดผนึกเรียบร้อยไม่มีร่องรอยการเปิดใช้แสดงเลขสารบบในกรอบ เครื่องหมาย อย. ก�ำกับไว้อย่างชัดเจน ลักษณะขวดหรือถังต้องใสสะอาดไม่รั่วซึมหรือไม่มีรอยสกปรก เปรอะเปื้อน ลักษณะของน�้ำดื่มต้องใส ไม่มีตะกอนหรือสิ่งเจือปนอื่น ๆ ไม่มีสีรสที่ผิดปกติไม่ควรวางปะปนกับวัตถุมีพิษ วางตากแดด ไม่เก็บในที่ร้อนและฉลากจะต้องมีข้อมูลชื่อ ที่อยู่ผู้ผลิตหรือผู้จัดจ�ำหน่าย วันที่ผลิต เป็นต้น น�้ำประเภทอื่น ๆ เช่น น�้ำบ่อบาดาล น�้ำบ่อตื้นและน�้ำฝน ปัจจุบันไม่นิยมน�ำมาดื่มแต่อาจน�้ำมาใช้ใน การปรุงประกอบอาหาร ควรปรับปรุงคุณภาพน�้ำก่อน เช่น การฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีง่าย ๆเช่น การเติมสารละลาย คลอรีนชนิดเจือจาง 2% (หยดทิพย์หรือ ว 101) อัตราส่วน 1 หยด ต่อ น�้ำ 1 ลิตร คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้นาน 30 นาทีหรือใช้คลอรีนเม็ด ขนาด 3 กรัม ต่อน�้ำ 1,000 ลิตร ทิ้งไว้30 นาทีหรือน�ำมาต้มให้เดือดอย่างน้อย 1 นาทีก่อนน�ำน�้ำดื่ม เพื่อสุขภาพที่ดีของสมาชิกในครัวเรือนและลดอัตราเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรค ที่เกิดจากน�้ำเป็นสื่อ ส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม การดื่มน�้ำที่มีน�้ำแข็ง ควรหลีกเลี่ยงเพราะน�้ำแข็งปนเปื้อนสิ่งสกปรกได้ง่าย โดยเฉพาะน�้ำแข็งที่ไม่ผ่าน ขั้นตอนการผลิตที่ถูกต้อง ดังนั้นเมื่อต้องการดื่มน�้ำเย็นให้เลือกน�้ำบรรจุขวดแช่เย็นหรือเลือกน�้ำแข็งบรรจุถุง ที่มีเครื่องหมาย อย. เพื่อรับประทาน สถานประกอบการปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดีมีสมดุลชีวิต Safety and Good Environmental Workplace and Happy for Life 347 Package 10


กิตติกรรมประกาศ ชุดหนังสือดังกล ่าวนี้ส�ำเร็จลุล ่วงไปได้ด้วยดีจากการให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำของ แพทย์หญิงสายพิณ คูสมิทธิซึ่งเป็นที่ปรึกษาส�ำนักส่งเสริมสุขภาพ ที่ได้กรุณาให้ค�ำแนะน�ำ และข้อคิดเห็นมาโดยตลอด คณะผู้จัดท�ำจึงขอกราบขอบพระคุณไว้ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดท�ำขอขอบพระคุณ นักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้ กรมอนามัย อันประกอบไปด้วย ส�ำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ส�ำนักทันตสาธารณสุข ส�ำนักอนามัยผู้สูงอายุ ส�ำนักสุขาภิบาลอาหารและน�้ำ ส�ำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ส�ำนักโภชนาการ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ ส�ำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติกลุ่มอนามัย แม่และเด็ก ส�ำนักส่งเสริมสุขภาพ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง และศูนย์อนามัยที่1-12 กรมควบคุมโรค อันประกอบไปด้วย ส�ำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ ส�ำนักงาน คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส�ำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ส�ำนักโรคไม่ติดต่อ กรมสุขภาพจิต อันประกอบด้วย ส�ำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต ส�ำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขอันประกอบไปด้วย กองบริหารสาธารณสุข ซึ่งได้กรุณาสนับสนุนข้อมูลวิชาการ ประสบการณ์ต่างๆในการด�ำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม ในการจัดท�ำชุดหนังสือดังกล่าวนี้มาโดยตลอด กลุ่มอนามัยวัยท�ำงาน ส�ำนักส่งเสริมสุขภาพ 348 คู่มือแนวทางส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ 10 PACKAGES


Click to View FlipBook Version