การจดั การเรียนรู้
ฐานสมรรถนะเชงิ รุก
สำ�นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร
371.42 ส�ำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา
ส 691 ก การจดั การเรียนรูฐ้ านสมรรถนะเชงิ รุก
42 หนา้
ISBN : 978-616-270-257-0
1. การจดั การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก
2. การพัฒนาสมรรถนะผเู้ รยี น
3. ชื่อเรอ่ื ง
การจดั การเรียนรูฐ้ านสมรรถนะเชิงรุก
สิ่งพมิ พ์ สกศ. อันดบั ที่ 38/2563
ISBN 978-616-270-257-0
พิมพ์ครัง้ ท่ี 1 กนั ยายน 2563
จำ� นวนพิมพ ์ 5,000 เล่ม
พิมพเ์ ผยแพร่โดย กลมุ่ มาตรฐานการศกึ ษา
ส�ำนักมาตรฐานการศึกษาและพฒั นาการเรยี นรู้
สำ� นกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา
99/20 ถนนสโุ ขทัย เขตดุสติ กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : 0 2668 7123 ต่อ 2528
โทรสาร : 0 2243 1129
Website : www.onec.go.th
พิมพ์ท ่ี บริษัท 21 เซน็ จูร่ี จ�ำกัด
19/25 หมู่ 8 ถนนเต็มรกั -หนองกางเขน
ตำ� บลบางครู ัด อ�ำเภอบางบัวทอง จังหวดั นนทบรุ ี 11110
โทรศัพท์ : 0 2150 9676-8
โทรสาร : 0 2150 9679
E-mail : [email protected]
Website : www.21century.co.th
คำ�น�ำ
การจัดการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน ประสบปัญหา
เร่ืองหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล
ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และคุณภาพของผู้เรียน
และผู้ส�ำเร็จการศึกษา ดังน้ันการปรับหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรฐาน
สมรรถนะ เป็นทางเลือกหนึ่งท่ีมีศักยภาพที่จะตอบโจทย์ปัญหา
ของครูและนักเรียนที่เกิดข้ึน เน่ืองจากเป็นหลักสูตรท่ีมีความยืดหยุ่น
และการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก จะช่วยส่งเสริมให้
ผู้เรียนพัฒนาสมรรถนะทีจ่ �ำเป็นตอ่ การใช้ชวี ติ การทำ� งาน การเรยี นรู้
และการแกป้ ญั หาตา่ ง ๆ ชว่ ยใหค้ รสู ามารถพฒั นาเดก็ ทมี่ คี วามพรอ้ ม
แตกต่างกันได้รับการพัฒนาเป็นล�ำดับขั้น รวมท้ังช่วยพัฒนาผู้เรียน
ให้เกิดสมรรถนะ สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และ
ความต้องการใหม่ ๆ ของสังคมและโลกในศตวรรษที่ 21
ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ด�ำเนินการวิจัยและ
พัฒนากรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น
การศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐานรว่ มกบั คณะวจิ ยั และคณะทำ� งานวางแผนจดั ทำ�
กรอบสมรรถนะผเู้ รยี นหลกั สตู รการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐานในคณะกรรมการ
อิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา โดยเอกสารการจัดการเรียนรู้
ฐานสมรรถนะเชิงรุก เป็นเอกสารล�ำดับท่ี 12 จัดท�ำขึ้นเพื่อให้
ความรู้ ความเข้าใจแก่ครู ผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้อง และผู้ท่ีสนใจทั่วไป
ในเรื่องแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน โดยการจัดการเรียนรู้
ฐานสมรรถนะเชิงรกุ
ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาขอขอบคุณคณะวิจัยและ
คณะท�ำงานในโครงการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับ
ประถมศกึ ษาตอนตน้ สำ� หรบั หลกั สตู รการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน ตลอดจน
ทุกฝ่ายที่เก่ียวข้องในการร่วมกันศึกษาวิจัยจนประสบความส�ำเร็จ
บรรลตุ ามวตั ถปุ ระสงคท์ กี่ ำ� หนดไว้ และหวงั อยา่ งยงิ่ วา่ เอกสารฉบบั น้ี
จะเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาให้เด็ก
มีสมรรถนะทีพ่ ึงประสงค์ตอ่ ไป
(นายสภุ ทั ร จ�ำปาทอง)
เลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา
คำ�ชีแ้ จง
เอกสารฉบับนี้เป็นผลงานส่วนหน่ึงของ “โครงการวิจัยและ
พัฒนากรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาตอนต้น”
ซึง่ เป็นโครงการวิจัยนำ� ร่องทด่ี �ำเนนิ การโดยคณะท�ำงานและคณะวจิ ยั
ท่ีจัดต้ังขึ้นโดยคณะกรรมการอิสระเพ่ือการปฏิรูปการศึกษาเพื่อใช้
เป็นข้อมูลประกอบข้อเสนอเชิงนโยบายเพ่ือการปฏิรูปการศึกษา
ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน โครงการวิจัยดังกล่าว
มผี ลงานที่เปน็ ผลผลิตรวมทง้ั สน้ิ 2 ชุด ดงั น้ี
1. รายงานผลการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับ
ประถมศึกษาตอนตน้ ส�ำหรบั หลกั สูตรการศึกษาขนั้ พ้ืนฐาน
2. เอกสารประกอบจ�ำนวน 13 เล่ม ไดแ้ ก่
เลม่ ที่ 1 ประมวลความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรและการจัด
การเรียนการสอนจากกลุ่มผู้เก่ยี วข้อง
เลม่ ที่ 2 กระบวนการก�ำหนดสมรรถนะหลักของผู้เรียน
ระดบั การศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐานและระดบั ประถมศกึ ษาตอนตน้ (ป.1 - ป.3)
และวรรณคดที ่ีเกย่ี วขอ้ งกบั สมรรถนะ
เล่มที่ 3 การวิเคราะห์ความสอดคล้องของสมรรถนะหลัก
ผเู้ รยี นระดบั การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน กับหลกั การสำ� คญั 6 ประการ
เลม่ ท่ี 4 กรอบสมรรถนะหลกั ผเู้ รยี นระดบั การศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน
และระดบั ประถมศกึ ษาตอนต้น (ป.1 - ป.3)
เล่มที่ 5 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับ
การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน
เลม่ ที่ 6 คมู่ ือ การน�ำกรอบสมรรถนะหลกั ผู้เรยี นระดับประถม
ศกึ ษาตอนตน้ (ป.1 - ป.3) ไปใช้ในการพฒั นาผู้เรียน
เล่มท่ี 7 ทรัพยากรการเรียนรู้เพ่ือพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
ยุคใหม่
เล่มที่ 8 สื่อ สง่ิ พมิ พ์ ประชาสมั พันธ์
เลม่ ท่ี 9 รายงานพนั ธกจิ ดา้ นการปฏริ ปู การศกึ ษาผา่ นหลกั สตู ร
และการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ (Commission Report on
Educational Reform through Competency - Based Curriculum
and Instruction)
เล่มที่ 10 พันธกิจด้านการปฏิรูปการศึกษา ผ่านหลักสูตร
และการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ: บทสรุปผู้บริหาร (Commission
Report on Educational Reform through Competency - Based
Curriculum and Instruction: Executive Summary )
เล่มที่ 11 เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชน และ
เข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับครู ผู้บริหารสถานศึกษา
และบคุ ลากรทางการศกึ ษา
เล่มที่ 12 การจดั การเรียนรฐู้ านสมรรถนะเชงิ รกุ
เล่มที่ 13 GUIDELINES FOR THE DEVELOPMENT OF
LEARNERS’ COMPETENCY FOR LEARNERS AT THE BASIC
EDUCATION LEVEL
เอกสารฉบบั นเี้ ปน็ เอกสารประกอบเลม่ ท่ี 12 ของโครงการซง่ึ เปน็
ส่วนที่น�ำเสนอสาระส�ำคัญเกี่ยวกับเหตุผลในการปฏิรูปการเรียนรู้
และการจัดการเรียนรู้ การปรับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
สู่ฐานสมรรถนะ หลักการ แนวทาง และตัวอย่างการจัดการเรียนรู้
ฐานสมรรถนะ การจดั การเรยี นรเู้ ชงิ รกุ การจดั การเรยี นรฐู้ านสมรรถนะ
เชิงรุก การวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ และข้อเสนอแนะ
ในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
ซงึ่ เปน็ สว่ นทจี่ ะเปน็ ประโยชนต์ อ่ ครู ผบู้ รหิ ารและสถานศกึ ษาโดยตรง
เพื่อความเข้าใจท่ีชัดเจนขึ้นและเกิดประสิทธิภาพในการน�ำไปใช้
ขอแนะน�ำให้ผู้ใช้ศึกษาเอกสารอ่ืน ๆ ของโครงการประกอบกัน
ไปดว้ ย
สารบัญ
หน้า
1. ทำ�ไมจึงต้องมกี ารปฏริ ปู การเรียนร ู้ 1
และการจดั การเรยี นร ู้
2. การปรบั หลักสูตรและการจดั การเรียนรู้สูฐ่ านสมรรถนะ 3
3. การจัดการเรยี นรฐู้ านสมรรถนะ 5
หลกั การจัดการเรียนรฐู้ านสมรรถนะ 5
แนวทางการจดั การเรยี นรฐู้ านสมรรถนะ 7
ตวั อย่างการจัดการเรียนรฐู้ านสมรรถนะ 14
4. การจดั การเรียนรเู้ ชิงรุก 18
แนวคิด และความหมาย 18
กลยทุ ธ์ (Strategies) ในการจัดการเรียนรูเ้ ชิงรุก 21
5. การจัดการเรียนรฐู้ านสมรรถนะเชิงรุก 26
6. การวดั และประเมินผลฐานสมรรถนะ 28
7. ข้อเสนอแนะในการจัดการเรยี นรู้ฐานสมรรถนะ 29
ใหม้ ีคุณภาพและประสิทธิภาพ
1. ท�ำ ไม? จึงต้องมกี ารปฏิรูป
การเรียนรู้และการจัดการเรยี นรู้
ในการจดั การศกึ ษาทผี่ า่ นมาทงั้ ในดา้ น
หลักสูตร การเรียนการสอน และการวัด
ประเมินผลเม่ือพิจารณาโดยรวมแล้ว
พบว่า การจัดการศึกษาด้อยคุณภาพ
ทั้งด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากผลการทดสอบทงั้ ระดบั ชาติ (O-NET) ระดบั นานาชาติ (PISA)
เดก็ ไทยมผี ลสมั ฤทธ์ิตำ่� มาก ระดับความสามารถของนกั เรยี นไทยเมอ่ื เทยี บกับ
ชาตติ า่ งๆอยใู่ นระดบั ตำ่� มากรวมทง้ั มคี ณุ ลกั ษณะทไี่ มพ่ งึ ประสงคห์ ลายประการ
เชน่ “ความรทู้ ว่ มหวั เอาตวั ไมร่ อด”“รแู้ ตไ่ มท่ ำ� ”“นกแกว้ นกขนุ ทอง”“เกง่ แบบเปด็ ”
“เรียนเพ่ือสอบ” “ไม่มีความใฝ่เรียน ใฝ่รู้” “ไม่สนใจเรียนรู้” ประเด็นเหล่าน้ี
เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกถึงสาเหตุของปัญหา พบว่า มีปัญหามาจากหลักสูตร
การเรียนการสอน และการวัดประเมินผลการเรียนรู้แบบเดิม หลักสูตร
ขาดความยืดหยุ่น ไม่ทันความต้องการของโลกและสังคม ไม่ตอบสนอง
ความต้องการของผู้เรียนและบริบทท่ีแตกต่างหลากหลาย การจัดการเรียน
การสอน ล้าสมัย ครูขาดทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่จะช่วยให้ผู้เรียน
เกดิ การเรียนรู้ เกิดสมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ความด้อยคุณภาพของนักเรียน จึงมีผลมาจากความสัมพันธ์เช่ือมโยง
กันระหว่างบริบทต่าง ๆ ที่อยู่แวดล้อม ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวครูเพียงคนเดียว
แตอ่ ยทู่ ่ีสิ่งทมี่ าสัมพันธ์กับตวั ครแู ละนกั เรียนท้งั หมด ดงั แผนภาพ
การจดั การเรยี นรู้ฐานสมรรถนะเชิงรกุ 1
สาเหตุของปญั หาผเู้ รยี นด้อยคุณภาพ
หลักสูตร สง่ ผลกระทบตอ่ การสอนและการวดั ประเมินผล
กระบวนการเรียนรู้ของผูเ้ รยี น ส่งผลกระทบต่อ
สง่ ผลกระทบตอ่ คณุ ภาพผู้เรียน
(ผลสัมฤทธิ์ ความรู้ ทกั ษะ เจตคติ
สมรรถนะ และคณุ ลักษณะ)
ทางออกส�ำคัญ
การปฏริ ูปหลักสูตร การจดั การเรียนการสอน
และการวัดประเมินผล ให้มีความเหมาะสมจงึ เป็นความจ�ำเป็น
ทจ่ี ะต้องด�ำเนนิ การอยา่ งเร่งดว่ นเพื่อชว่ ยยกระดบั
คณุ ภาพการเรียนรูข้ องผเู้ รียน
เสริมสร้างคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ของผู้เรียนให้เกิดข้ึนได้
อย่างแท้จริง พัฒนาผู้เรียนให้ทันโลก ทันสมัย เกิดสมรรถนะท่ีจ�ำเป็น
ในการปฏิบัติตนและปฏิบัติงานต่าง ๆ ในชีวิตประจ�ำวันได้อย่างมี
คุณภาพและประสบความส�ำเร็จท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดขึ้น
อย่างรวดเรว็
2 การจดั การเรยี นรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก
2. การปรบั หลกั สูตรและการจดั
การเรยี นรู้สฐู่ านสมรรถนะ
การปฏิรูปหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นและ
เอ้ือต่อการพัฒนาสมรรถนะท่ีจ�ำเป็นต่อการใช้ชีวิต
การท�ำงาน การเรียนรู้และการแก้ปัญหาต่าง ๆ
รวมทั้งการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
และความต้องการใหม่ ๆ ของสังคมและโลก
สามารถท�ำได้หลายวิธี การปรับหลักสูตรให้เป็น
หลักสูตรฐานสมรรถนะเป็นทางเลือกหน่ึงท่ีมีศักยภาพที่จะตอบโจทย์ปัญหา
ของครูและนักเรียนที่เกิดขึ้น รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ
ของโลกในศตวรรษที่ 21
หลักสตู รฐานสมรรถนะ
หลักสูตรฐานสมรรถนะเป็นหลักสูตรท่ีมุ่งเป้าหมายการพัฒนา
ไปท่ีทักษะการท�ำได้ ไม่ใช่เพียงการมีความรู้เท่านั้น โดยจะระบุว่าผู้เรียน
ในแต่ละช่วงวัยจะสามารถท�ำอะไรได้ กล่าวคือ ใช้ทักษะ (skill) เป็นตัวน�ำ
โดยมีความรู้และเจตคติ/คุณลักษณะเป็นทัพหนุนอยู่เบื้องหลัง ซึ่งแตกต่าง
จากหลักสูตรปัจจุบันท่ีครูมักจะใช้ความรู้ (knowledge) เป็นตัวน�ำ ส่งผล
ใหน้ กั เรียนขาดโอกาสในการนำ� ความรู้ ทกั ษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ
ทไ่ี ด้เรียนร้ไู ปประยุกต์ใชไ้ ดจ้ ริงในสถานการณ์ที่หลากหลาย
การจดั การเรยี นรูฐ้ านสมรรถนะเชงิ รุก 3
หลักสูตรฐานสมรรถนะเอ้ือประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพ
การเรยี นรขู้ องผู้เรยี น ดงั นี้
(1) ช่วยให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักที่ส�ำคัญต่อการใช้ชีวิต
การท�ำงาน และการเรียนรู้ ซ่ึงจ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพในโลก
แห่งศตวรรษท่ี 21 ทม่ี กี ารเปลี่ยนแปลงอยา่ งรวดเรว็
(2) ช่วยให้การจัดการเรียนรู้มุ่งเป้าหมายไปที่การพัฒนาผู้เรียนให้เกิด
สมรรถนะทต่ี อ้ งการมใิ ชเ่ พยี งการสอนเนอื้ หาความรจู้ ำ� นวนมากซง่ึ อาจไมจ่ ำ� เปน็
หรือไมเ่ ปน็ ประโยชน์แกผ่ เู้ รยี น
(3) ช่วยลดสาระการเรียนรู้ที่ไม่จ�ำเป็น ส่งผลให้สถานศึกษามีพ้ืนท่ี
ในการจดั การเรยี นรอู้ น่ื ทต่ี อบสนองความแตกตา่ งของผเู้ รยี น วถิ ชี วี ติ วฒั นธรรม
ชาตพิ ันธ์ุ และบรบิ ทได้มากข้นึ
(4) ชว่ ยลดภาระและเวลาในการสอบตามตวั ชว้ี ดั จำ� นวนมาก การสอบวดั
สมรรถนะหลกั ของผเู้ รยี น ชว่ ยใหเ้ ห็นความสามารถทีเ่ ป็นองคร์ วมของผเู้ รียน
(5) ช่วยเอื้อให้สถานศึกษาสามารถออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับ
ความตอ้ งการและบรบิ ทของตนไดโ้ ดยยดึ สมรรถนะกลางเปน็ เกณฑเ์ ทยี บเคยี ง
เปน็ การสง่ เสรมิ ให้เกิดรูปแบบหลักสตู รทหี่ ลากหลาย
เนื่องจากหลักสูตรฐานสมรรถนะเน้นการท�ำหรือการปฏิบัติ
กระบวนการเรียนรู้จึงจ�ำเป็นต้องปรับเปลี่ยนจากการรับความรู้
ซง่ึ มลี ักษณะเฉ่ือย ไม่ตน่ื ตัว (passive) เป็นการรกุ หรอื การต่ืนตัว
ที่จะเรียนรู้ (active) คือ ผู้เรียนต้องเป็นผู้ด�ำเนินการเรียนรู้
เปน็ ผลู้ งมอื ทำ� ตอ่ สง่ิ ทเ่ี รยี นรดู้ ว้ ยตนเอง เพอื่ ใหเ้ กดิ ความรู้ ความเขา้ ใจ
อย่างแทจ้ ริง
4 การจัดการเรยี นร้ฐู านสมรรถนะเชงิ รุก
3. กาฐราจนดั สกมารรรเถรยีนนะ รู้
การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เป็นการจัด
การเรียนการสอนที่ ใช้ผลลัพธ์การเรียนรู้
เปน็ เปา้ หมาย คอื มงุ่ เนน้ ผลทจ่ี ะเกดิ กบั ผเู้ รยี นซงึ่ กค็ อื
ความสามารถของผู้เรียนในการประยุกต์ใช้ความรู้
ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ อย่างเป็น
องคร์ วมในการปฏบิ ตั งิ านการแกป้ ญั หาและการใชช้ วี ติ
เป็นการเรียนการสอนที่เช่ือมโยงกับชีวิตจริง เรียนรู้
เพื่อให้สามารถใช้การได้จริงในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตจริง
เปน็ การเรยี นเพ่ือใช้ประโยชน์ ไมใ่ ชก่ ารเรยี นเพ่ือรเู้ ท่านั้น
หลกั การจดั การเรียนรูฐ้ านสมรรถนะ
การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ “เน้นการปฏิบัติ” โดยมีชุดของเน้ือหา
ความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะที่จ�ำเป็นต่อการน�ำไปสู่สมรรถนะ
ท่ีต้องการ ในระดับที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานได้จริง เป็นการเรียนการสอน
ท่ีมีการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องกับการปฏิบัติงานใด
งานหนึง่ เพอื่ นำ� ไปใช้จนเกดิ ความสำ� เรจ็ ในการปฏบิ ตั งิ าน
การจัดการเรียนร้ฐู านสมรรถนะเชงิ รกุ 5
การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะช่วยลด
เน้ือหาจ�ำนวนมากที่ไม่จ�ำเป็น เออื้ ให้ผเู้ รียน
มีเวลาในการเรียนรู้เนื้อหาที่จ�ำเป็นในระดับ
ท่ีลึกซึ้งมากขึ้น และมีโอกาสได้ฝึกฝน
การใช้ความรใู้ นสถานการณต์ ่าง ๆ ทจ่ี ะช่วย
ใหผ้ เู้ รยี นเกดิ สมรรถนะในระดบั ชำ� นาญหรอื
เชยี่ วชาญ ผเู้ รยี นสามารถใชเ้ วลาในการเรยี นรู้ และมคี วามกา้ วหนา้ ในการเรยี นรู้
ไปได้เรว็ - ชา้ ตามความถนดั และความสามารถของตน
ดังนั้นครูต้องมีความชัดเจนว่าต้องการพัฒนาสมรรถนะอะไรให้แก่
ผู้เรียน คลี่สมรรถนะน้ัน ๆ ให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมและวิเคราะห์ว่าผู้เรียน
จ�ำเป็นต้องรู้อะไร (ความรู้) ต้องมีเจตคติ และคุณลักษณะอย่างไร และต้อง
มีทักษะอะไรบ้างที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตามที่ต้องการ จากน้ัน
จึงจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว โดยมีการส่งเสริมให้ผู้เรียน
น�ำความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ ไปใช้ในการปฏิบัติจริง
ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในการท�ำงาน และในชีวิตประจ�ำวัน จนกระทั่งเกิดเป็น
สมรรถนะในระดับทต่ี อ้ งการ
ปัจจัยสำ� คัญท่ีช่วยใหก้ ารเรยี นรฐู้ านสมรรถนะ
ประสบความส�ำเร็จ คอื การใหข้ อ้ มลู ปอ้ นกลับแก่ผเู้ รียน
เพอ่ื การปรับปรุงพฒั นา
6 การจดั การเรียนร้ฐู านสมรรถนะเชงิ รกุ
แนวทางการจดั การเรยี นร้ฐู านสมรรถนะ
ในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อพัฒนาผู้เรียนสามารถท�ำได้
หลายทาง ในทนี่ ข้ี อเสนอแนะ 6 แนวทาง ซง่ึ ครสู ามารถเลอื กใชต้ ามความพรอ้ ม
และความถนัดของตน รวมทง้ั ความเหมาะสมกับบรบิ ท ดังนี้
แนวทางที่ 1 : ใชง้ านเดมิ เสรมิ สมรรถนะ
เป็นการจัดการเรียนรู้ท่ีสอดแทรก
สมรรถนะที่สอดคล้องกับบทเรียน โดยระบุ
เปน็ วตั ถปุ ระสงคก์ ารเรยี นรู้คดิ กจิ กรรมเสรมิ ลงไป
ในแผนการจดั การเรยี นรู้ไม่ไดเ้ ปลย่ี นแปลงแผนการสอนเดมิ
เพ่ือให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะให้เข้มข้น และเกิดสมรรถนะที่ต้องการ
ไปพร้อมกบั การเรยี นเนื้อหา และทักษะตามปกติ
ขนั้ ตอนการด�ำเนนิ งาน
1. เลอื กและระบุสมรรถนะที่สอดคลอ้ งกบั วัตถุประสงค์การเรียนรู้
2. คดิ กจิ กรรมท่ีเสริมสรา้ งสมรรถนะ บูรณาการในกจิ กรรมเดิม
3. ปรบั วัตถุประสงคก์ ารเรียนรูใ้ หค้ รอบคลมุ สมรรถนะ
4. ระบวุ ิธวี ัดและประเมินสมรรถนะเพ่ิมเติม
การจดั การเรยี นรฐู้ านสมรรถนะเชงิ รุก 7
แนวทางท่ี 2 : ใชง้ านเดมิ ต่อเติมสมรรถนะ
พฒั นาการจดั การเรยี นรเู้ ดมิ ของครสู กู่ ารเนน้
สมรรถนะท่ีมากข้ึนจากงานเดิม ออกแบบงานหรือสถานการณ์ถึงขั้น
การฝึกฝน การนำ� ความรู้ ทักษะ และเจตคตไิ ปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์
ท่ีหลากหลาย เพ่ือพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะในเรื่องท่ีเรียนรู้นั้น
มากย่ิงข้นึ
ขั้นตอนการด�ำเนินงาน
1. วิเคราะห์กิจกรรมการเรียนการสอนเดิม ว่าผู้เรียนสามารถ
นำ� ความรู้ ทักษะและเจตคตไิ ปใช้ประโยชน์ไดอ้ ยา่ งไร
2. เลือกสถานการณ์ที่คิดว่าผู้เรียนจะได้ฝึกและออกแบบกิจกรรม
ให้ผู้เรียนได้ฝึกใชค้ วามรู้ ทกั ษะ และเจตคตใิ นสถานการณน์ ้นั ๆ
3. ปรับวัตถุประสงค์การเรียนรใู้ หค้ รอบคลุมสมรรถนะ
4. ระบวุ ิธวี ัดและประเมินสมรรถนะเพ่มิ เติม
8 การจัดการเรียนรฐู้ านสมรรถนะเชิงรกุ
แนวทางท่ี 3 : ใชร้ ปู แบบการเรยี นรู้
สกู่ ารพฒั นาสมรรถนะ
เป็นการจัดการเรียนรู้ท่ีมีการน�ำรูปแบบการเรียนรู้
ต่าง ๆ มาวิเคราะห์เช่ือมโยงกับสมรรถนะท่ีสอดคล้องกัน
และเพิ่มเติมกิจกรรมที่สามารถช่วยพัฒนาสมรรถนะน้ันให้เพ่ิมขึ้น
อยา่ งชดั เจน อนั จะสง่ ผลใหก้ ารเรยี นการสอนตามรปู แบบการเรยี นรทู้ ใี่ ช้
มปี ระสิทธภิ าพเพม่ิ ขึน้ ด้วย
ขน้ั ตอนการด�ำเนินงาน
1. เลือกรปู แบบการเรยี นร้ทู ่ีสอดคล้องกับวัตถปุ ระสงค์
2. ศึกษารูปแบบการเรียนรู้ที่เลือกไว้ให้เข้าใจท้ังหลักการ วิธีการ
จดุ ออ่ นและจดุ แขง็
3. พิจารณากระบวนการ/กิจกรรมตามรูปแบบการเรียนรู้ท่ีก�ำหนด
และเลอื กสมรรถนะที่สามารถมาบรู ณาการร่วมได้
4. ปรับวตั ถุประสงค์การเรยี นรู้ใหค้ รอบคลุมสมรรถนะ
5. เพ่มิ เตมิ วิธกี ารวดั และประเมินสมรรถนะทบี่ รู ณาการ
การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรกุ 9
แนวทางที่ 4 : สมรรถนะเป็นฐาน ผสานตวั ช้วี ดั
เป็นการจัดการเรียนรู้โดยน�ำสมรรถนะที่ต้องการ
พัฒนาเป็นตัวตั้งและน�ำตัวช้ีวัดท่ีสอดคล้องกันมาออกแบบการสอนร่วมกัน
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งเน้ือหาสาระและทักษะตามที่ตัวชี้วัดก�ำหนด
ไปพร้อม ๆ กนั กับการพฒั นาสมรรถนะหลกั ทต่ี อ้ งการ
ข้ันตอนการด�ำเนนิ งาน
1. ก�ำหนดสมรรถนะทีต่ อ้ งการพฒั นาผ้เู รยี น
2. พิจารณาเนื้อหา สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรและตัวชี้วัด
ทสี่ อดคล้องกบั สมรรถนะที่เลอื ก
3. ออกแบบแผนการจัดการเรียนการสอนที่เสริมสร้างสมรรถนะ
ใหผ้ ู้เรยี น และเป็นไปตามวัตถุประสงคท์ ี่วางไว้
4. กำ� หนดวตั ปุ ระสงคก์ ารเรยี นรู้และกจิ กรรมใหค้ รอบคลมุ สมรรถนะ
โดยเน้นการสอนเชิงรุก
5. วางแผนการประเมนิ ผลโดยเนน้ สภาพจรงิ และตอบรบั วตั ถปุ ระสงค์
ท่ีก�ำหนดไว้ต้ังแต่ตน้
10 การจดั การเรียนร้ฐู านสมรรถนะเชิงรกุ
แนวทางท่ี 5 : บูรณาการผสานหลายสมรรถนะ
เป็นการจัดการเรียนรู้ โดยน�ำสมรรถนะหลัก
หลายสมรรถนะเป็นตัวตั้งและวิเคราะห์ตัวชี้วัด
ท่ีเกี่ยวข้อง แล้วออกแบบการสอนท่ีมีลักษณะเป็นหน่วยบูรณาการ
ทชี่ ว่ ยใหผ้ เู้ รยี นไดเ้ รยี นรู้อยา่ งเปน็ องคร์ วมโดยเหน็ ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ ง
วชิ า/กลุ่มสาระการเรยี นรู้ตา่ ง ๆ
ขน้ั ตอนการด�ำเนนิ งาน
1. ทบทวนสมรรถนะหลัก พิจารณาเน้ือหาสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร
ในแต่ละวชิ า/กลมุ่ สาระ และตัวช้ีวดั ทีส่ อนในหลกั สูตร
2. กำ� หนดหัวเรอ่ื งจากปญั หา แนวคดิ หรือเนอ้ื หาสาระส�ำคัญในหลักสตู ร
ท่ตี อ้ งการให้ผู้เรียนได้เรยี นรู้ และได้มีประสบการณต์ รง
3. วิเคราะห์ว่า หัวข้อ/หัวเร่ืองนั้นเก่ียวข้องกับเน้ือหาสาระในกลุ่ม
สาระใดมากที่สุดและกำ� หนดขอบเขตเนอ้ื หาสาระทกั ษะ เจตคติ
วตั ถปุ ระสงคก์ ารเรยี นรใู้ นแตล่ ะกลมุ่ สาระทส่ี มั พนั ธก์ บั หวั ขอ้ /หวั เรอ่ื ง
ท่ีเลอื กมาสอน
4. ออกแบบกจิ กรรมการเรียนรู้โดยนำ� สมรรถนะมาเชื่อมโยงกบั กิจกรรม
ท่ใี ห้นกั เรยี นทำ� เพอื่ ให้บรรลวุ ัตถปุ ระสงค์
5. น�ำข้อมูล ข้อสังเกตจากการสอนมาประเมินปรับแผนการสอน
หรือการพฒั นาสมรรถนะให้ได้มากขึ้น
“การสอนแบบบูรณาการ ให้ความส�ำคัญกับความสนใจ และ
ความตอ้ งการจำ� เปน็ ของผเู้ รยี น จงึ อาจมกี ารปรบั เพมิ่ หรอื ลด เนอ้ื หาสาระ
กจิ กรรม สอื่ และวธิ ปี ระเมนิ ผล หลงั จากสอนไปสกั ระยะ ซงึ่ ครสู ามารถ
ยืดหยุน่ ไดต้ ามความเหมาะสม”
การจดั การเรียนรฐู้ านสมรรถนะเชิงรกุ 11
แนวทางท่ี 6 : สมรรถนะชีวิตในกิจวัตรประจำ�วัน
เป็นการสอดแทรกสมรรถนะท่ีส่งเสริมในการท�ำกิจวัตรประจ�ำวัน
ตา่ ง ๆ ของผเู้ รยี นใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพและคณุ ภาพมากขน้ึ เปน็ การใชก้ จิ กรรม
ในชวี ิตประจำ� วันทที่ ำ� อยแู่ ล้วใช้เป็นสถานการณ์ในการฝกึ ฝนสมรรถนะ
จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะที่ต้องการอย่างเป็นธรรมชาติและยังช่วย
ปลกู ฝงั ให้สมรรถนะมีความมน่ั คงถาวรจากการปฏิบตั ิเปน็ ประจำ� ดว้ ย
ขน้ั ตอนการด�ำเนินงาน
1. สำ� รวจกจิ กรรมในชวี ติ นกั เรยี น และจดั ทำ� รายละเอยี ดของกจิ กรรม
ทท่ี �ำในกจิ วัตรตา่ ง ๆ และออกแบบการเรยี นรู้ผ่านกจิ กรรมปกติ
2. ทบทวนกจิ วตั รประจำ� วนั ของนกั เรยี นและวเิ คราะหค์ วามสอดคลอ้ ง
กบั เนอ้ื หาสาระ ความรู้ทกั ษะทกี่ ำ� หนดเปน็ ตวั ชว้ี ดั ของกลมุ่ สาระ
ต่าง ๆ
3. ก�ำหนดแนวทางการปลูกฝังสมรรถนะท่ีสอดคล้องกับกิจวัตร
ประจ�ำวัน โดยสร้างความเช่ือมโยง กับเนื้อหาการเรียนรู้
ที่สมั พันธ์กนั มีความนา่ สนใจ และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
4. ก�ำหนดแนวทางการปลูกฝังสมรรถนะ คิดค�ำถามให้สอดคล้อง
กับแนวคิด เน้ือหา และต้ังค�ำถามท่ีโต้แย้งได้เพ่ือให้นักเรียน
ไดฝ้ ึกคิด
5. จัดท�ำเกณฑ์ระดับคุณภาพเพื่อใช้ในการประเมินสมรรถนะ
ในชวี ติ ประจ�ำวันของผู้เรยี น
6. สอนประเมนิ ผลซอ่ มเสรมิ สมรรถนะผเู้ รยี นปรบั แผนระหวา่ งสอน
และหลังสอน
12 การจดั การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชงิ รุก
แนวทางการจดั การเรยี นรู้ฐานสมรรถนะ ท้ัง 6 แนวทาง มีความสัมพนั ธ์
กันดงั แสดงในแผนภาพท่ี 1
แนวทางการจดั การเรียนรู้ ำ วั น
ฐานสมรรถนะ 6 แนวทาง
ร ป ร ะ จ แนวทางท่ี
แนวทาง ที่ 6 ส ม ร ร ถ
น กิ จ วั ต
ะ ชี วิ ต ใ 5 บรณู าการผสาน
น หลายสมรรถนะ
แนวทางที่ 4 สมรรถนะเป็นฐานผสานตวั ชีว้ ัด
แนวทางที่ 3 ใช้รปู แบบการเรยี นรสู้ ูก่ ารพัฒนาสมรรถนะ
แนวทางที่ 2 ใช้งานเดิม ต่อเติมสมรรถนะ
แนวทางที่ 1 ใชง้ านเดิม เสริมสมรรถนะ
แผนภาพท่ี 1 แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
ตวั อยา่ งทจี่ ะนำ� เสนอตอ่ ไปนี้ เปน็ การใชแ้ นวทางท่ี 2 คอื เปน็ การตอ่ ยอด
จากงานเดิมหรือแผนการสอนเดิม ซึ่งครูได้ให้ความรู้เก่ียวกับหลักโภชนาการ
อาหาร5หมู่และวธิ กี ารปรงุ อาหารดว้ ยไขท่ มี่ คี ณุ คา่ ทางอาหารสงู โดยครไู ดส้ อน
วิธีเจียวไข่ให้เด็ก ๆ ดูและลองท�ำตามเพื่อต่อยอดความรู้ และทักษะของเด็ก
ให้ไปสู่สมรรถนะ ซึ่งเป็นความสามารถท่ีสูงขึ้น ครูสามารถเพ่ิมจุดประสงค์
การเรยี นรสู้ มรรถนะอน่ื ๆทเี่ กย่ี วขอ้ งและสาระการเรยี นรเู้ พม่ิ เตมิ แลว้ จดั กจิ กรรม
ตอ่ ยอด เพือ่ ให้เด็กไดม้ ปี ระสบการณ์ในการฝึกและพัฒนาสมรรถนะได้ ดงั น้ี
การจดั การเรยี นรฐู้ านสมรรถนะเชงิ รกุ 13
ตวั อย่างการออกแบบ
การจดั การเรยี นรูฐ้ านสมรรถนะ
สาระการเรยี นรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ระดบั ชนั้ ประถมศึกษาปที ่ี 5
เรอ่ื ง โภชนาการและการปรงุ อาหาร (ไข่เจียว)
เวลาเรียน 10 ช่ัวโมง
จุดประสงค์การเรียนร้เู ชงิ สมรรถนะ (เพ่มิ เติมจากแผนการสอนเดิม)
1. นกั เรยี นสามารถคดิ สตู รไขเ่ จยี วและทำ� ไขเ่ จยี วสตู รของตนเองได้ รวมทง้ั
อธบิ ายสตู รและวิธีทำ� ไขเ่ จียวของตนให้ผู้อน่ื เขา้ ใจได้
2. นกั เรยี นสามารถนำ� ไขเ่ จยี วมาประกอบอาหารจานเดยี วใหม้ สี ารอาหาร
ครบท้ัง 5 หมู่ส�ำหรบั แขกท่ีมาเยีย่ ม
3. นักเรียนร่วมกันท�ำอาหารด้วยไข่เจียวจ�ำหน่ายเพื่อหาเงินช่วยน้อง
ท่ีอยใู่ นภาวะยากล�ำบากไดด้ ว้ ยความภูมิใจ
สมรรถนะทีต่ อ้ งการพัฒนา
1. รู้จักและเลือกใช้เคร่ืองมือ และแหล่งส่ือสารสนเทศเพื่อการสืบค้น
แสวงหาความรู้ และเขา้ ถงึ ขอ้ มูลที่ตอ้ งการ
2. พดู สอื่ สารในสถานการณต์ า่ ง ๆ ในชวี ติ ประจำ� วนั บอกความรสู้ กึ นกึ คดิ
ของตน เลา่ เรือ่ งและเหตกุ ารณ์ต่าง ๆ ต้งั คำ� ถามและตอบคำ� ถามให้ผู้อื่นเข้าใจ
ได้ มมี ารยาทในการพูดโดยค�ำนงึ ถึงความเหมาะสมกับกาลเทศะและผรู้ บั ฟัง
14 การจัดการเรียนรฐู้ านสมรรถนะเชิงรกุ
3. รจู้ ักแบง่ ปัน และชว่ ยเหลอื ผู้อ่นื
4. ทำ� งานด้วยความเอาใจใส่ มีความเพยี ร อดทน พยายามท�ำงานใหด้ ี
ท่สี ดุ ตามความสามารถ
5. คิดริเริม่ สงิ่ ใหม่และอธบิ ายความคดิ ให้ผ้อู ื่นเข้าใจ
6. สร้างผลงานท่ีแตกต่างจากผู้อ่ืน มีการทบทวนกระบวนการท�ำงาน
และมคี วามภูมิใจในผลงาน
7. ร่วมท�ำงานกลุ่มกับเพื่อน ให้ความร่วมมือในการท�ำงาน รับผิดชอบ
ต่อหนา้ ทท่ี ่ไี ด้รับมอบหมาย
สาระการเรยี นรู้
1. ลักษณะ ประโยชน์ วตั ถดุ ิบ
วิธกี ารทำ� ไข่เจียว
2. การท�ำอาหารจานเดยี ว
3. ขัน้ ตอนการทำ� งาน
4. การจัดการในการท�ำงาน
5. การท�ำงานรว่ มกับคนอ่นื
6. ความคิดสร้างสรรคใ์ นการทำ� งาน
กระบวนการเรียนการสอน
ในสว่ นกระบวนการเรยี นการสอนทอี่ อกแบบเพอื่ ใหผ้ เู้ รยี นพฒั นาสมรรถนะ
มี 4 ข้ันตอน ลักษณะของกิจกรรมท่ีออกแบบแต่ละขั้นตอน และกิจกรรม
การเรยี นรู้ ดังนี้
การจัดการเรียนรูฐ้ านสมรรถนะเชิงรุก 15
• ข้นั ตอนที่ 1 จัดการเรยี นรู้ใหร้ ้จู ริง ท�ำได้จริง :
ข้ันตอนนี้เป็นข้ันท�ำให้ผู้เรียนมีความรู้ในเร่ืองน้ัน ๆ
อย่างแท้จริง ซ่ึงเกิดได้จากการเรียนรู้ผ่าน
กิจกรรมต่าง ๆ หลากหลาย ได้ปฏิบัติจริง
ดว้ ยความสนใจจนมคี วามรทู้ ชี่ ดั เจนไดฝ้ กึ ฝน
ส่ิงน้ันจนช�ำนาญ และมีความรู้สึกชอบ
ผกู พนั ภมู ใิ จ และเหน็ ความหมายในสงิ่ นน้ั
กจิ กรรม คร/ู ผปู้ กครองใหข้ อ้ มลู หรอื
ใหส้ บื คน้ ขอ้ มลู เกยี่ วลกั ษณะประโยชน์วตั ถดุ บิ วธิ กี ารทำ� ไขเ่ จยี วโดยอาจให้ดรู ปู
และอธิบายจนกระทง่ั นักเรียนสามารถบอกไดว้ า่ การทำ� ไข่เจียวมขี ้นั ตอนอะไรบา้ ง
• หมายเหตุ ขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่ครูสอนแล้วตามแผนการสอนเดมิ
ขนั้ ตอนที่ 2 การจัดสถานการณ์ให้ได้ใช้ สง่ิ ที่รู้ สงิ่ ทที่ ำ� ได้ อยา่ งต้งั ใจ
เหน็ คณุ คา่ และประโยชน์ : ขนั้ ตอนนเ้ี ปน็ การออกแบบกจิ กรรมทจี่ ะทำ� ให้
ผู้เรียนน�ำความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะไปใช้ ซ่ึงอาจเป็นสถานการณ์
ทไ่ี มซ่ บั ซอ้ นมาก แตเ่ ปน็ สถานการณท์ ผ่ี เู้ รยี นเหน็ คณุ คา่ และประโยชนท์ เ่ี กดิ ขนึ้
กิจกรรม คร/ู ผู้ปกครองใหข้ อ้ มลู หรือให้สืบค้นข้อมลู เกี่ยวกบั ลกั ษณะ
ประโยชน์ วัตถุดิบ วิธีการท�ำไข่เจียว และให้นักเรียนฝึกท�ำไข่เจียว สูตรต่าง ๆ
ชิม และปรับสูตรจนเป็นสูตรท่ีตนพอใจและน�ำเสนอสูตรไข่เจียวของตนเอง
ให้เพ่อื นฟงั
• ข้ันตอนที่ 3 จดั สถานการณ์ใหม่ ๆ ท่ีซับซอ้ นและน�ำไปใช้ได้ในชวี ติ :
ขั้นตอนน้ีเป็นการออกแบบสถานการณให้ผู้เรียนฝึกฝนอย่างต่อเน่ืองเพื่อให้
น�ำความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะไปใช้ร่วมกันในสถานการณ์ท่ียาก ซับซ้อน
และเช่ือมโยงกับชีวิตจริง ซ่ึงขั้นน้ีจะอาจตรวจสอบว่าผู้เรียนมีสมรรถนะ
ในระดับใด และเตมิ เตม็ พฒั นาผู้เรียนใหม้ สี มรรถนะในระดบั ที่สูงข้นึ
16 การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก
กจิ กรรม คร/ู ผปู้ กครองใหน้ กั เรยี นนำ� ไขเ่ จยี ว
มาประกอบอาหารอย่างอื่น ให้เป็นอาหารจานเดียว
ที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ เพ่ือเป็นอาหารส�ำหรับแขก
ทีม่ าเยย่ี ม โดยใหล้ องท�ำ ฝึกฝนจนมั่นใจ และให้นกั เรียน
ไดม้ โี อกาสสอบถามแขกเกยี่ วกบั รสชาตขิ องอาหาร และคำ� แนะนำ� เพอ่ื การปรบั ปรงุ
ในโอกาสตอ่ ไป
• ข้ันตอนที่ 4 การจัดสถานการณ์/งานใหญ่ ซับซ้อน ท่ีเช่ือมโยง
กบั ความรู้สาระเรอื่ งราวและสมรรถนะอนื่ :ขนั้ ตอนนเี้ ปน็ การออกแบบ
สถานการณใ์ หผ้ เู้ รยี นเพอ่ื พฒั นาสมรรถนะโดยเชอ่ื มโยงกบั สมรรถนะอนื่ ซงึ่ เปน็
สิ่งท่ียาก ซับซ้อนมากขึ้น ข้ันน้ี ผู้เรียนแต่ละคนอาจจะพบกับสถานการณ์
ไม่เหมือนกนั ขึน้ อย่กู บั ความสนใจ ความถนดั และระดบั สมรรถนะก็ได้
กจิ กรรม คร/ู ผปู้ กครอง ใหน้ กั เรยี นรวมกลมุ่ กบั เพอ่ื นชว่ ยกนั ทำ� อาหาร
ท่ีปรุงด้วยไข่ ประกอบกับอาหารอย่างอ่ืน จ�ำหน่ายเพื่อหาเงินไปช่วยน้อง ๆ
ที่อยู่ในภาวะยากล�ำบาก และน�ำเงินไปบริจาค พร้อมท้ังให้นักเรียนสะท้อน
ความคิด ความรู้สึกที่เกิดข้ึนท้ังในช่วงท�ำงานร่วมกันเพื่อหาเงินไปบริจาค
และช่วงทนี่ �ำเงนิ ไปบรจิ าคชว่ ยเหลอื นอ้ ง ๆ
กิจกรรมข้างต้น ครู/ผู้ปกครองสามารถน�ำมาใช้ในการพัฒนานักเรียนได้
ท�ำให้นักเรียนเรียนรู้อย่างต่ืนตัว ท้ังทางกาย สติปัญญา สังคม จิตใจและ
อารมณ์ ส่งผลให้นักเรียนเกิดความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ และยังมีโอกาส
น�ำความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เรียนรู้นั้นไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งมี
ความยากมากขึ้น เข้มข้นมากขึ้น และมีความหมายมากย่ิงขึ้น ท�ำให้เกิด
สมรรถนะหลายสมรรถนะมากขน้ึ และสมรรถนะตา่ ง ๆ เกดิ อยา่ งมนั่ คงมากขน้ึ ดว้ ย
จะเห็นได้วา่ การสอนตามแผนเดิม (ท่ีมักทำ� กันโดยทวั่ ไป) มกั จะจบอยทู่ ี่
การให้ความรู้ และการฝึกทักษะ (เพยี งเล็กน้อย) ทำ� ให้นักเรยี นยงั ไม่เกดิ สมรรถนะ
ในการปฏบิ ตั งิ าน การเพ่มิ ขั้นตอนท่ี 2 - 4 จะช่วยพัฒนาสมรรถนะทตี่ อ้ งการได้
การจดั การเรียนรูฐ้ านสมรรถนะเชงิ รุก 17
4. การจดั การเรยี นรู้เชงิ รกุ
แนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก : เป็นแนวคิด
หรือมโนทัศน์ส�ำคัญเกี่ยวกับลักษณะการเรียนรู้
ของผู้เรียนท่ีผู้เรียนมิได้เป็นผู้รับความรู้หรือข้อมูล
ที่ผู้อื่นถ่ายทอดมาให้เท่านั้น ผู้เรียนจะต้องเป็น
ฝ่ายรกุ คอื มีความตนื่ ตัวที่จะต้องศึกษา จัดกระทำ�
ข้อมูล และสร้างความเข้าใจในข้อมูล หรือความรู้นั้น ๆ
ใหแ้ กต่ นเอง เพอื่ ทำ� ใหส้ งิ่ ทเี่ รยี นรมู้ คี วามหมายตอ่ ตนเอง อนั จะสง่ ผลใหส้ ามารถ
นำ� ความรนู้ น้ั ไปใชป้ ระโยชนไ์ ด้ ซงึ่ ในกระบวนการสรา้ งความเขา้ ใจใหแ้ กต่ นเอง
จะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้อย่างต่ืนตัว (active learning) ท้ังทางกาย
(physically active) สตปิ ญั ญา (intellectually active) สงั คม (socially active)
และอารมณ์ (emotionally active) ดงั น้ี
(Pกhาyรตsiืน่ caตlวั lyทAางcกtiาvยe)
คือ การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมเคล่ือนไหวร่างกาย
ในรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัย และวุฒิภาวะของผู้เรียน
เพื่อให้ผู้เรียนได้เปลี่ยนอิริยาบถ ช่วยให้ร่างกายและประสาทรับรู้
ต่ืนตัว พร้อมท่ีจะรับรู้ เรียนรู้ และคงความสนใจในการเรียนรู้ ซึ่งมี
ความส�ำคัญเป็นพิเศษส�ำหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย และประถม
ศกึ ษาตอนต้น
18 การจดั การเรยี นรู้ฐานสมรรถนะเชงิ รุก
ก(Iาnรtตelื่นleตcัวtทuาaงllสyตAิปcญั tivญe)า
คือ การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมเคล่ือนไหวทาง
สติปัญญาหรือสมอง ฝึกการใช้ความคิด เป็นการใช้สติปัญญา
ของตนสร้างความหมาย ความเข้าใจในส่ิงที่เรียนรู้ การให้คิด
ในเรื่องท่ีผู้เรียนสนใจ มีความท้าทาย และมีความหมายต่อตนเอง
จะทำ� ใหผ้ เู้ รยี นเกดิ ความผกู พนั ในการคดิ และการกระทำ� (engagement)
ในเร่ืองที่เรยี น สง่ ผลใหก้ ารเรียนรูม้ ีประสิทธภิ าพมากขึน้
(กEาmรตotืน่ ioตnัวaทlาlyงอAาcรtiมvณe)์
คือ การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วย
ให้ผู้เรียนเกิดการเคลื่อนไหวทางอารมณ์ หรือความรู้สึก
การเกิดความรู้สึกของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้มีความหมาย
ตอ่ ตนเอง กจิ กรรมและประสบการณท์ จี่ ดั ควรกระทบตอ่ อารมณ์
ความรู้สึกของผู้เรียนในทางที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียน
เพราะความรสู้ กึ ของผเู้ รยี น จะสง่ ผลตอ่ พฤตกิ รรมของผเู้ รยี นดว้ ย
การจัดการเรียนรฐู้ านสมรรถนะเชิงรกุ 19
ก(าSรoตcน่ื iaตllัวyทAาcงtสivงั eค)ม
คือ การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วย
ให้ผู้เรียนมีการเคล่ือนไหวทางสังคม หรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
กับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นการขยายขอบเขตการเรียนรู้
ของผู้เรียนให้กว้างข้ึน เรียนรู้อย่างสนุกสนาน มีชีวิตชีวา ถ้าผู้เรียน
ได้มีโอกาสน�ำเสนอความคิดเห็น ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
กับผู้อื่น ได้รับข้อมูลย้อนกลับ ได้ตรวจสอบความคิดของตนเอง
ขยายความคิด และเรียนรู้จากผู้อื่น จะช่วยให้ผู้เรียนมีความตื่นตัว
รบั รู้ และเกดิ การเรยี นรู้ได้ดีมากขนึ้
กระบวนการเรียนรูอ้ ยา่ งตืน่ ตวั ทัง้ 4 ดา้ น มีความสัมพันธ์ต่อกนั
และกันและส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูควรออกแบบกิจกรรม
การเรียนรู้ท่ีส่งเสริมให้ผู้เรียนมีบทบาทส�ำคัญในการเรียนรู้ มีส่วนร่วม
ในการเรยี นรูอ้ ยา่ งตนื่ ตัว (active learning) ทัง้ 4 ด้าน จะช่วยผ้เู รียนเกดิ
การเรียนรู้อย่างมีความหมายต่อตนเอง ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง
ต่างจากการเรียนรู้เชิงรับ (passive learning) ผู้เรียนเป็นผู้รับที่ไม่มี
บทบาท หรือมีบทบาทน้อยในการสร้างความเข้าใจในเรื่องที่จะเรียนรู้
ทำ� ใหค้ วามตน่ื ตวั ทจี่ ะเรยี นรแู้ ละทำ� ความเขา้ ใจนอ้ ยลง สง่ ผลใหก้ ารเรยี นรู้
ขาดประสทิ ธิภาพ
20 การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชงิ รกุ
กลยทุ ธ์ (Strategies) ในการจัด
การเรียนรเู้ ชิงรุก
กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้เชงิ รุก คอื การจดั กิจกรรมและประสบการณ์
การเรยี นรู้ให้ผ้เู รียนมสี ่วนรว่ มในกระบวนการเรียนรูอ้ ย่างต่ืนตวั ทัง้ ทางรา่ งกาย
(physically active) การคดิ และสตปิ ญั ญา (intellectually active) อารมณ์ และ
จติ ใจ (emotionally active) และทางสงั คม (socially active) จะสง่ ผลใหผ้ เู้ รยี น
เกิดการเรยี นร้ดู ขี ้ึน
ศาสตร์ทางการสอนซ่ึงประกอบดว้ ยทฤษฎี หลกั การ และแนวคิดในการ
จัดการเรียนการสอน รูปแบบการเรียนการสอน (instructional models)
วิธสี อน (teaching methods) และเทคนคิ การสอน (teaching techniques)
ที่หลากหลายสามารถน�ำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการสอนได้อย่างดี ครูจ�ำเป็น
ต้องศึกษา และเลือกให้เหมาะสม ตรงตามความต้องการเฉพาะในการสอน
แตล่ ะครงั้ กลยทุ ธห์ ลากหลายทชี่ ว่ ยกระตนุ้ และสง่ เสรมิ องคป์ ระกอบทงั้ 4 ดา้ น
ของการเรียนรเู้ ชงิ รุก มตี ัวอย่างดังต่อไปนี้
การจัดการเรียนรฐู้ านสมรรถนะเชงิ รุก 21
1. การจัดการเรียนร้เู ชิงรุกดา้ นสติปญั ญา ให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่าง
ตื่นตัวโดยได้เคล่ือนไหวทางสมองหรือสติปัญญา (intellectually active)
คือการคิด ผู้เรียนจะตื่นตัวถ้าได้ใช้ความคิด การคิดเป็นเคร่ืองมือในการ
ทำ� ความเข้าใจในส่ิงท่ีเรียนรู้ การคิดในเรอื่ งท่ผี ูเ้ รียนสนใจ ในประเด็นที่ทา้ ทาย
ประเด็นท่ีมีความหมายต่อตนเอง จะท�ำให้ผู้เรียนเกิดความผูกพันในการคิด
และการกระท�ำ ตัวอย่างกลยุทธ์ท่ีส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุกด้านสติปัญญา
มีดงั นี้
การใช้รปู แบบการเรยี นการสอนตา่ งๆ การใช้วิธกี ารสอนแบบตา่ งๆ
Concept Attainment Model Group Process Method
Synectics Model Case Method
Inductive Thinking Model Inductive Method
CIPPA Model Role Playing Method
G PAS Model Fieldtrip Method
ฯลฯ ฯลฯ
กลยุทธ์การจดั การใชเ้ ทคนิคต่างๆ
การเรยี นรู้เชิงรกุ
ดา้ นสตปิ ัญญา Concept Map
การใช้กระบวนการเรียนรู้ตา่ งๆ เป็นฐาน Six Thinking Hats
Sandwich Technique
Project – Based Learning Think - Pair - Share
Problem – Based Learning ฯลฯ
Situation – Based Learning
Phenomenal – Based Learning
ฯลฯ
22 การจัดการเรยี นรฐู้ านสมรรถนะเชิงรุก
2. การจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านสังคม ให้ผู้เรียนมีบทบาทในการ
เรยี นรอู้ ยา่ งตนื่ ตัว ไดเ้ คล่อื นไหวทางสังคม (socially active) มโี อกาสนำ� เสนอ
ความคิดของตนเองต่อผู้อ่ืน รับฟัง แลกเปล่ียนความคิดเห็น รับข้อมูล
ย้อนกลับ ตรวจสอบความคิด ขยายความคิดของตนเอง และพัฒนาผลงาน
ให้ดีขึ้น เป็นการได้เรียนรู้จากผู้อ่ืน กระบวนการต่าง ๆ น้ีจะช่วยให้ผู้เรียน
มีความต่ืนตัวในการเรียนรู้สามารถรับรู้และเกิดการเรียนรู้ได้ดี กลยุทธ์
การจัดการเรยี นการรเู้ ชงิ รุกดา้ นสงั คมมดี งั น้ี
กลยทุ ธก์ ารจัดการเรยี นรู้ 1. เทคนคิ การจัดกลุ่มการเรยี นรู้
เชงิ รุกด้านสังคม แบบร่วมมือ (Cooperative
Learning Techniques)
เทคนิค Jigsaw
เทคนคิ Brainstorm
เทคนิค Circular Response
เทคนิค Think-Pair-Share
เทคนิค Fishbowl
ฯลฯ
2. ใช้วิธสี อนแบบต่าง ๆ 3. ใช้รปู แบบการเรียนการสอน
การอภิปรายกลุม่ ยอ่ ย ท่ีส่งเสรมิ ทักษะทางสังคม
เช่น
เปิดโอกาสให้ทกุ คนมีส่วนรว่ ม การเรียนรู้แบบรว่ มมอื
บทบาทสมมตุ ิ ผลดั เปลย่ี นกัน
(Cooperative Learning
เป็นผ้นู ำ� กลมุ่ ได้เรียนรูบ้ ทบาท Model)
หนา้ ท่ี การทำ� งานร่วมกันเปน็ ทีม การเรยี นร้แู บบสบื สอบและ
โตว้ าที แสวงหา
สถานการณ์จำ� ลอง ความร้เู ปน็ กล่มุ (Group
กรณตี วั อย่าง Investigation Model)
เกม รปู แบบการเรียนร้เู ป็นทมี
ฯลฯ (Team Learning Model)
ฯลฯ
การจดั การเรยี นรฐู้ านสมรรถนะเชงิ รุก 23
3 . การ จัดการ เรยี นร ู้เชงิ รุก ดา้ นอา รมณ์ ใหผ้ ้เู รยี นได้เคลอ่ื นไหว
ทางอารมณ์ ความรสู้ กึ และจติ ใจ (emotionally active) กจิ กรรมและประสบการณ์
ทจ่ี ัดใหผ้ ู้เรยี น ควรกระทบตอ่ อารมณ์ และความรู้สึกของผ้เู รยี นในทางทีเ่ ออ้ื ตอ่
การเรยี นรใู้ นเรอื่ งทจี่ ะเรยี น เนอ่ื งจากกจิ กรรมใดกระทบตอ่ ความรสู้ กึ ของผเู้ รยี น
กจิ กรรมนนั้ มกั มคี วามหมายตอ่ ผเู้ รยี นและจะสง่ ผลตอ่ พฤตกิ รรมของผเู้ รยี นดว้ ย
กลยุทธ์การจดั การเรยี นการร้เู ชิงรุกดา้ นอารมณ์มีตัวอยา่ ง ดงั น้ี
กลยทุ ธ์การจดั การเรยี นรูเ้ ชิงรกุ ด้านอารมณ์
1. เปดิ โอกาสใหผ้ เู้ รยี นแสดงความรสู้ กึ 2. แสดงความไวว้ างใจในตวั ผเู้ รยี น และ
ท่ีแท้จริงโดยการสร้างบรรยากาศ ยอมรบั ในตวั ผเู้ รยี น ไมต่ ดั สนิ ผเู้ รยี น
ทีเ่ ป็นมติ ร และปลอดภยั สง่ เสรมิ ใหผ้ เู้ รยี นสะทอ้ นคดิ เพอื่ สรา้ ง
ความเข้าใจในตนเองและผูอ้ นื่
3. พัฒนาความตระหนักรู้ในอารมณ์
และความรู้สึกของตนเอง และผู้อ่ืน 4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเชื่อมโยงส่ิงที่เรียนรู้
รวมทั้งผลกระทบทมี่ ตี อ่ กัน กับประสบการณ์เดิมและสร้างความเข้าใจ
ตอ่ ยอดเพอ่ื การปฏบิ ตั ติ นทด่ี เี หมาะสม
5. รบั ฟงั ผเู้ รยี นอยา่ งลกึ ซง้ึ (deep listening) กว่าเดิม
ฟังให้เข้าใจความคิด ความรู้สึก
6. ใช้รปู แบบการสอนที่เออ้ื ให้ผเู้ รยี น
ความต้องการของผู้เรียนและยอมรับ เกิดอารมณ์ ความรู้สกึ ไปในทาง
ความรสู้ ึกของผูเ้ รยี น ทพี่ งึ ประสงค์
7. ใช้วิธีสอนท่ีช่วยให้ผู้เรียนเปิดเผย • การเรียนการสอนดา้ นจติ พสิ ยั
สะท้อนหรือแสดงความรู้สึกและ (Instructional Model based on
ความคิดเหน็ ของตน Affective Domain)
• การแสดงบทบาทสมมตุ ิ
• สถานการณ์จำ� ลอง • กระบวนการกระจ่างคา่ นิยม
• การแสดง (Value Clarification Model)
• เกมตา่ ง ๆ
ฯลฯ • กระบวนการกัลยาณมติ ร
• กระบวนการสอนค่านิยมและ
จริยธรรม
• กระบวนการแกป้ ัญหาและพัฒนา
ตนเองโดยใชร้ ะบบคสู่ ญั ญา
ฯลฯ
24 การจดั การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก
4. การจัดการเรียนรูเ้ ชงิ รุกด้านรา่ งกาย ใหผ้ ูเ้ รยี นได้เรียนรู้อย่างตนื่ ตวั
โดยการเคลอ่ื นไหวทางรา่ งกาย (physically active learning) อยา่ งเหมาะสม
ตามวัยและความสนใจของผู้เรียน จะช่วยให้ประสาทการรับรู้ของผู้เรียน
มีความต่ืนตัว สามารถรับข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างดี
และรวดเร็ว ดังนั้นในการจัดกิจกรรมควรมีรูปแบบหลากหลายเพ่ือให้ผู้เรียน
ไดเ้ ปลย่ี นอริ ยิ าบถ และคงความสนใจในการเรยี นรไู้ ว้ ซง่ึ การตนื่ ตวั ทางรา่ งกาย
มีความส�ำคัญเป็นพิเศษส�ำหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย และประถมศึกษา
ตอนต้น กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านร่างกาย
มีดงั นี้
กลยุทธก์ ารจดั การเรียนรู้เชิงรุกด้านรา่ งกาย
จดั กจิ กรรมใหผ้ เู้ รยี นไดม้ กี ารเคลอ่ื นไหวทง้ั 4 ดา้ น (กาย สตปิ ญั ญา อารมณ์ สงั คม)
อย่างสมดุลตามความเหมาะสมกับวยั และความสนใจ
ส�ำหรับเด็กเล็ก อาจจะเริ่มต้นด้วยการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ เช่น
การรอ้ งเพลงและเตน้ ประกอบเพลง ตอ่ ไปเรยี นรตู้ ามบทเรยี น สลบั ดว้ ยการใหอ้ อกไปเลน่
และกลบั มาทำ� งานทไี่ ดร้ บั มอบหมาย แลว้ จงึ ปล่อยให้เล่นเกมกบั เพ่ือน ๆ
ส�ำหรับผู้เรียนในวัยที่สูงขึ้น มีสมาธิมากข้ึน จะใช้เวลาในกิจกรรมการเรียนรู้
ไดน้ านขนึ้ หรอื หากเรอื่ งทเ่ี รยี นเปน็ เรอ่ื งทผ่ี เู้ รยี นสนใจ จะมสี มาธจิ ดจอ่ กบั เรอื่ งทเ่ี รยี น
ได้นานข้นึ และมากข้นึ
กจิ กรรมทตี่ อ้ งใชก้ ลา้ มเนอ้ื มดั ใหญ่ ไดแ้ ก่ การออกแรง การออกกำ� ลงั ตง้ั แตน่ อ้ ยไปมาก
เชน่ การรอ้ งเพลง และเตน้ ตามจงั หวะการออกกำ� ลงั กายดว้ ยทา่ ทงี่ า่ ย ๆ จนถงึ การทำ� งาน
ทต่ี อ้ งออกแรงมาก เชน่ การยกโตะ๊ เกา้ อ้ี กจิ กรรมทม่ี กี ารลงมอื ทำ� /ปฏบิ ตั ทิ ม่ี คี วามเหมาะสม
จะทำ� ใหร้ ่างกายมคี วามตื่นตวั อยา่ งตอ่ เน่ือง
กิจกรรมที่ใช้กล้ามเน้ือมัดเล็ก มีความเหมาะสมกับผู้เรียนที่อยู่ในวัยที่สูงขึ้น
ซงึ่ มีสมาธมิ ากข้ึน ทำ� งานทม่ี ีความละเอียดไดม้ ากข้ึน
การสลับกิจกรรมจากกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดซึ่งอาจท�ำให้ผู้เรียน
เกิดความเครียด มาสู่กิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นการผ่อนคลายจะช่วยให้ผู้เรียน
มคี วามต่ืนตัว (active) อยา่ งตอ่ เน่อื งและเหมาะสม
การจดั การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชงิ รุก 25
5. ฐกานารสจมัดรกราถรนเะรเยีชิงนรรกุ ู้
การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะมุ่งเป้าหมายที่ความสามารถในการ
ท�ำได้ โดยการผสานความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ
ที่จ�ำเป็นต่อการท�ำส่ิงใดส่ิงหน่ึงได้ ซึ่งผู้เรียน
จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ/
คุณลักษณะท่ีจ�ำเป็นต่อการพัฒนาสมรรถนะนั้น
รวมไปถึงได้รับการฝึกฝนให้น�ำไปใช้ในการแก้
ปญั หา หรอื ใชใ้ นสถานการณต์ า่ ง ๆ ดงั นน้ั บทบาท
หน้าท่ขี องครู คือ การจัดประสบการณ์ และกิจกรรม
การเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ซึ่งก็ต้องอาศัยการจัดการเรียนรู้
เชิงรกุ นน่ั เอง
การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ มีลักษณะที่เป็นการเรียนรู้เชิงรุกอยู่แล้ว
ตามธรรมชาติ การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเอ้ือให้ครูมีการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก เนื่องจากการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเน้นการปฏิบัติ การท�ำได้ หรือ
การลงมือท�ำซึ่งการเรียนรู้เชิงรุกจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างตื่นตัว
ทง้ั 4 ด้าน ในขณะลงมือปฏิบตั ิ ผ้เู รียนตอ้ งมี
การเคล่ือนไหวร่างกายในอิริยาบถต่าง ๆ
ได้ใช้แรงหนักบ้าง เบาบ้าง ใช้ความคิด
มีความรู้สึกที่ต้องการจะท�ำหรือสนุก
ที่จะท�ำ และผู้เรียนมีโอกาสท่ีจะปรึกษา
หารือ และร่วมมือท�ำงานกับเพื่อน
การเรยี นรเู้ ชงิ รกุ ทท่ี ำ� ใหผ้ เู้ รยี นมคี วามตนื่ ตวั
26 การจดั การเรียนรูฐ้ านสมรรถนะเชงิ รกุ
ใน 4 ด้าน ย่อมส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี อย่างไรก็ตามหากครู
จัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ซึ่งมุ่งเป้าหมายเฉพาะทางใดทางหน่ึงจะส่งผล
ต่อประสทิ ธภิ าพการเรียนรู้และสมรรถนะของผเู้ รียน ดังน้ี
ถ้าครูให้ผู้เรียนสามารถท�ำส่ิงหนึ่งส่ิงใดได้โดยการให้เพียงความรู้
แต่ผู้เรียนไม่มีโอกาสสร้างความหมาย และความเข้าใจในสิ่งท่ีเรียนรู้ให้แก่
ตนเอง หรือความรู้และความเข้าใจที่ได้รับมีเพียงผิวเผิน การขาดความเข้าใจ
ท่ีแท้จริงจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติ และเป็นอุปสรรคต่อการประยุกต์ใช้
จนไม่เกดิ สมรรถนะทต่ี อ้ งการ
ถา้ ครูสามารถฝกึ ทักษะให้ผู้เรียนทำ� ตามอยา่ ง หรือท�ำตามแบบทค่ี รู
ให้ท�ำ อะไรก็ท�ำตามท่ีครูบอก หรือก�ำกับให้ต้องปฏิบัติตามค�ำส่ัง โดยผู้เรียน
ไม่ได้ใช้ความคิด หรือไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่ท�ำ ผู้เรียนอาจท�ำได้ แต่ถ้า
ไมเ่ ขา้ ใจในสิ่งท่ที ำ� กจ็ ะน�ำไปประยกุ ต์ใชใ้ นสถานการณ์ตา่ ง ๆ ไม่ได้ สง่ ผลให้
ไม่เกดิ สมรรถนะทแี่ ท้จรงิ
การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะจะเกิดผลอย่างแท้จริงได้
ต้องใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเข้ามาช่วยในข้ันตอนต่าง ๆ
ของกระบวนการเรียนการสอนที่ครูออกแบบเพราะแนวคิด
มลี กั ษณะทเี่ ออ้ื ต่อกัน และสนับสนนุ กัน
การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก 27
6. การฐวาดั นแสลมะปรรระถเมนนิะ ผล
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้จ�ำเป็นต้องมีการปรับเปล่ียนให้สอดคล้อง
กับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ โดยให้มีลักษณะส�ำคัญ
ดงั น้ี
การประเมินผลรวบยอดจะมุ่งวัดสมรรถนะท่ีเป็นองค์รวมของความรู้ ทักษะ
เจตคติ และคณุ ลกั ษณะตา่ ง ๆ ไมใ่ ชเ้ วลามากกบั การสอบตามตวั ชว้ี ดั จำ� นวนมาก
วัดจากพฤติกรรม การกระท�ำ การปฏิบัติ ท่ีแสดงออกถึงความสามารถ
ในการใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ ตามเกณฑ์การปฏิบัติ
(Performance Criteria) ท่ีก�ำหนด เป็นการวัดอิงเกณฑ์ มิใช่อิงกลุ่ม และมี
หลักฐานการปฏบิ ตั ิ (Evidence) ทต่ี รวจสอบได้
ใช้การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) จากส่ิงท่ีผู้เรียน
ไดป้ ฏบิ ตั จิ รงิ และความกา้ วหนา้ ในการปฏบิ ตั งิ าน เชน่ การประเมนิ จากการปฏบิ ตั ิ
(Performance assessment) การใชแ้ ฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio Assessment)
การประเมินตนเอง (Student Self-assessment) และการประเมินโดยเพ่ือน
(Peer Assessment)
ใช้สถานการณ์เป็นฐาน เพ่ือให้บริบทการวัดและประเมินเป็นสภาพจริง
มากขึ้น เช่น เตรียมบริบทเป็นข้อความ รูปภาพ ภาพเคล่ือนไหว สถานการณ์
จ�ำลอง หรือสถานการณ์เสมือนจริงในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถประเมินได้
หลายประเด็นในสถานการณเ์ ดียวกนั
ประเมินผู้เรียนไปตามล�ำดับขั้นของสมรรถนะท่ีก�ำหนด หากไม่ผ่านจะต้อง
ไดร้ ับการซอ่ มเสรมิ จนกระทงั่ ผ่านจงึ จะกา้ วไปส่ลู ำ� ดบั ข้นั ตอ่ ไป
การรายงานผลโดยการให้ข้อมูลพัฒนาการและความสามารถของผู้เรียน
ตามลำ� ดับขั้นทผ่ี ้เู รียนท�ำได้ตามเกณฑท์ ่ีก�ำหนด
28 การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชงิ รุก
7. ขอ้ ฐเสานนอสแแมลนระะปรในถระกนสาะทิใรหธจ้มิภัดคี ากณุพารภเารพียนรู้
ในการปรบั เปลยี่ นหลกั สตู รและการเรยี นรสู้ ฐู่ านสมรรถนะใหม้ คี ณุ ภาพ
และประสทิ ธิภาพ มีขอ้ เสนอแนะสำ� หรบั ครู ผู้บรหิ ารและบุคลากรที่เกีย่ วขอ้ ง
ข้อเสนอแนะส�ำหรบั ครู
1. จัดสาระการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกับการใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง
โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาจากศาสตร์สาขาตา่ ง ๆ ท่ีเก่ียวข้อง
2. จัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะและ
คุณลักษณะที่จ�ำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการท�ำงานในโลกท่ีมีการเปลี่ยนแปลง
อยา่ งรวดเรว็ และสามารถตอบสนองความแตกตา่ งทห่ี ลากหลายของผเู้ รยี น
บรบิ ท และภูมิสังคม
3. จดั การเรยี นรเู้ ชงิ รกุ ทส่ี ง่ เสรมิ ใหผ้ เู้ รยี นสรา้ งความรู้ ความเขา้ ใจ
จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการคิด การปฏิบัติ การน�ำความรู้ไปใช้
การถอดบทเรยี นการสะทอ้ นคดิ การปฏสิ มั พนั ธ์การทำ� งานและการแลกเปลยี่ น
เรียนรกู้ ับผู้อ่ืน
4.จดั การเรยี นรู้ใหผ้ เู้ รยี นไดร้ วู้ ธิ คี ดิ และวธิ ปี ระยกุ ต์ใชค้ วามรู้ทกั ษะ
และเจตคติในการปฏิบัติงาน รวมท้ังได้พัฒนาคุณลักษณะ และทักษะ
แหง่ ศตวรรษที่ 21 ที่จ�ำเป็นตอ่ ชวี ติ และการท�ำงานยคุ นี้
การจดั การเรยี นรูฐ้ านสมรรถนะเชิงรกุ 29
5. จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากบริบทรอบตัว โดยใช้หลักการวิจัย
ในระบบ “ผลเกิดจากเหต”ุ มาสร้างกระบวนการคน้ หาความร้โู ดยครูทำ� หน้าที่
เปน็ ผู้ชแ้ี นะ ตัง้ คำ� ถามให้ผู้เรยี นคดิ หาค�ำตอบไดด้ ้วยตนเอง
6. จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มุ่งสร้างอุปนิสัย คุณลักษณะ
ท่ีพึงประสงค์ ช่วยผู้เรียนให้ได้ฝึกฝนสมรรถนะต่าง ๆ ท่ีได้เรียนรู้ให้เกิด
ความช�ำนาญ รวมท้ังการช่วยดูแล อบรมบ่มนิสัย ส่งเสริมให้ผู้เรียน
ประสบความส�ำเร็จในด้านที่มีความถนัด เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
และเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม
7.จดั การวดั และประเมนิ ผลทเี่ นน้ การใหข้ อ้ มลู และการใชข้ อ้ มลู ยอ้ นกลับ
เพื่อการปรับปรุงและการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ลดการประเมิน
ในลกั ษณะตดั สนิ หรอื แขง่ ขนั ใหน้ อ้ ยลงโดยใชว้ ธิ กี ารหลากหลายเหมาะสม
ตามหลักพัฒนาการเด็ก หากมีการประเมินเพ่ือตัดสินผลให้กระท�ำ
ดว้ ยความรอบคอบ โดยค�ำนงึ ถึงผลกระทบท่ีอาจเกิดขึ้นแกผ่ เู้ รียน
ข้อเสนอแนะส�ำหรับผบู้ รหิ ารและบุคลากร
ท่เี กีย่ วขอ้ ง
ดา้ นการบริหารจัดการ
1. จดั ให้มกี ารบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ในการติดตาม ดแู ล
และช่วยเหลือผู้เรียนในการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความอบอุ่นใจ
ไดร้ บั คำ� ปรกึ ษา ชแี้ นะ และความช่วยเหลืออย่างทนั การณ์
2. จัดแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้
อย่างทั่วถึง เท่าเทียมกัน เพ่ือลดความเหล่ือมล้�ำทางการศึกษา และ
เพิม่ ศักยภาพในการแข่งขัน
30 การจัดการเรียนรฐู้ านสมรรถนะเชงิ รุก
3. พัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ด้วยแพลตฟอร์มการเรียนรู้
เพ่ือใช้เป็นแหล่งรวบรวม พัฒนา ชุดการเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้
ส่ือการสอน ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ได้รับ
การคดั กรองจากผูเ้ ชยี่ วชาญแลว้ ส�ำหรับให้บรกิ ารแกค่ รอู าจารย์
4. ก�ำหนดให้สถานศึกษามีหน้าท่ีในการให้ความรู้ ความเข้าใจ
แก่พ่อ แม่ และผู้ปกครองเก่ียวกับการพัฒนาเด็ก และร่วมมือกันดูแล
ชว่ ยเหลอื และพฒั นาเดก็ อยา่ งสอดคลอ้ งกนั
5. จัดการทดสอบระดับชาติท่ีมุ่งเน้นการทดสอบสมรรถนะ
โดยการสุ่มทดสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลส�ำหรับการบริหารจัดการศึกษา
และการแขง่ ขันในเวทโี ลก
ดา้ นการพฒั นาครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา
1. ให้รัฐสนับสนุนการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
รวมทั้งการพัฒนาความรู้ และสมรรถนะด้านเน้ือหาสาระท่ีสอน
ศาสตร์การสอน การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการเรียนรู้และการสอน
การพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และด้านบทบาทใหม่ของครู
ในยคุ ใหม่
2. ให้รัฐสนับสนุนสถานศึกษาให้มีการจัดระบบและวิธีการพัฒนาครู
ในสถานศึกษา ให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน มีการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
อย่างต่อเนอื่ ง
การจดั การเรยี นรฐู้ านสมรรถนะเชงิ รกุ 31
คณะผูจ้ ดั ท�ำ
ท่ปี รึกษา เลขาธิการสภาการศึกษา
ดร.สภุ ทั ร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการสภาการศึกษา
ดร.สมศักด์ิ ดลประสิทธ์ิ รองเลขาธิการสภาการศกึ ษา
ดร.อษุ ณีย์ ธโนศวรรย ์ ผู้อำ� นวยการส�ำนกั มาตรฐานการศกึ ษา
นายส�ำเนา เนื้อทอง และพัฒนาการเรยี นรู้
ผเู้ ขียน
รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี
รองศาสตราจารย์ ดร.บงั อร เสรีรตั น์
บรรณาธิการและเรยี บเรียงเอกสาร
ดร.ประวณี า อัสโย ผูอ้ ำ� นวยการกลุ่มมาตรฐานการศกึ ษา
นางสาวอุบล ตรรี ัตนว์ ชิ ชา นกั วิชาการศึกษาปฏิบัติการ
ผู้ประสานงานการจดั พิมพ์เอกสาร
นางสาวอุบล ตรรี ัตน์วิชชา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
ผ้รู บั ผิดชอบโครงการ
ดร.ประวีณา อัสโย ผูอ้ �ำนวยการกลุ่มมาตรฐานการศึกษา
นางสาวกรกมล จึงส�ำราญ นักวชิ าการศกึ ษาช�ำนาญการพเิ ศษ
นางสวุ รรณา สุวรรณประภาพร นกั วชิ าการศึกษาช�ำนาญการพิเศษ
ดร.วภิ าดา วานชิ นักวิชาการศึกษาช�ำนาญการ
นางสาวอุบล ตรีรตั น์วิชชา นกั วชิ าการศกึ ษาปฏบิ ัติการ
32 การจดั การเรียนรฐู้ านสมรรถนะเชงิ รุก
นางสาวนูรียา วาจิ นักวิชาการศกึ ษาปฏิบัตกิ าร
นางสาวสุชาดา กลางสอน นักวชิ าการศกึ ษาปฏิบตั กิ าร
นางสาวภควดี เกิดบัณฑิต นักวิชาการศกึ ษาปฏบิ ัตกิ าร
หนว่ ยงานรบั ผดิ ชอบ
กล่มุ มาตรฐานการศกึ ษา
ส�ำนกั มาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรยี นรู้
ส�ำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา
99/20 ถนนสโุ ขทยั เขตดสุ ิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ 0 2668 7123 โทรสาร 0 2243 1129
Website : www.onec.go.th
การจดั การเรยี นรู้ฐานสมรรถนะเชงิ รกุ 33
ขอความรว่ มมอื จากท่านผู้ใช้เอกสารเล่มนี้
ตอบแบบแสดงความคดิ เห็นในการนำ� หนงั สอื ไปใชป้ ระโยชน์
เพ่อื เปน็ ข้อมูลให้ส�ำนกั งานฯ ได้น�ำไปพฒั นาการศกึ ษาตอ่ ไป
แบบสอบถามการนำ� หนังสือ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
การจดั การเรยี นร้ฐู านสมรรถนะเชงิ รุก
ไปใชป้ ระโยชน์