The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by krugig Logbook PLC, 2021-07-17 23:25:46

หลักสูตร ICT Competency IPST

ICT Competency IPST

คำนำ

ภายในระยะเวลาไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ระบบการศึกษาในแต่ละประเทศบนโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นพลวัตสูง
กล่าวคือ การเรียนรู้ของเยาวชนยุคใหม่มีความแตกต่างจากรูปแบบที่เคยเป็นมาอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ด้วยกระแส
โลกาภิวัตน์ที่ทำให้สังคมโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สมรรถนะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกอนาคต
จึงเปลี่ยนแปลงไปด้วย “ครู” ผู้เป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่สำคัญที่สุดของระบบการศึกษา จะต้องปรับเปลี่ยนบทบาท
จากการเป็นเพียงผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ ไปเป็น “ผู้อำนวยการเรียนรู้ (learning facilitator)” การจัดการเรียนรู้
โดยการที่ครูนำเอาเพียงความรู้และประสบการณ์ในอดีตมาถ่ายทอดให้กับผู้เรียน จึงไม่เพียงพอที่จะส่งเสริม
ผู้เรียนให้มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับสังคมในศตวรรษที่ 21 แต่ครูจะต้องทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้สำหรับ
เยาวชนในยุคดิจิทัล โดยเพิ่มเติมการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะในวิชา
วทิ ยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ และเทคโนโลยี ทเ่ี ปน็ รากฐานสำคัญของศาสตร์แห่งชีวิต อกี ทง้ั เปน็ องคค์ วามร้สู ำคัญ
ท่จี ะเกดิ ขึ้นได้จากประสบการณ์ ซง่ึ แต่ละคนตอ้ งตกผลึกเปน็ หลักการเพอ่ื นำมาใช้ในชีวิตตอ่ ไป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ดำเนินงานตามพันธกิจด้านการพัฒนา
การจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี มาอย่างต่อเนื่องตลอด 5 ทศวรรษ ได้นำความรู้
และประสบการณ์ มาใช้ในการดำเนินงานและพัฒนา โครงการเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่
สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 โดยประสานความร่วมมือกบั กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏในทุกภูมิภาค ซึ่งถือเป็น
สถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อเป็นแกนนำในการเตรียมความพร้อมครูในทุกพื้นที่ของประเทศ
สำหรับการเป็นครูยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งเน้นการยกระดับการจัดการเรียนรู้บนพื้นฐานของหลักสูตร
ฐานสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ผ่านการสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำ
แผนการจัดการเรียนรฐู้ านสมรรถนะ ท้ังนเี้ พื่อพฒั นาระบบการเรียนรู้ของผเู้ รียนและทำใหผ้ ู้เรยี นสามารถกำกับ
การเรียนรูท้ ี่เหมาะสมกบั ตนเองไดอ้ ย่างต่อเนือ่ ง แม้จะสำเร็จการศึกษาจากโรงเรยี นแล้วกต็ าม

เอกสารประกอบการอบรมฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ฝ่ายบริหารโครงการริเริ่ม สสวท.
คณาจารย์มหาวิทยาลัย ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาที่จำเป็นในการสร้าง
แนวทางการปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ผ่านกลไกความร่วมมือกับ
คณาจารยม์ หาวิทยาลัยราชภฏั ท่ีมีความรู้ ความสามารถ และความเชย่ี วชาญ เป็นผถู้ ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าว
รวมท้งั เปน็ พ่เี ลยี้ งทางวิชาการในการจัดกระบวนการชมุ ชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning
Community: PLC) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้ปรับใช้องค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมการอบรม
ในการพฒั นาคุณภาพการเรยี นรขู้ องนักเรียนให้เหมาะสมตามบรบิ ทของโลกอนาคตตอ่ ไป

ฝา่ ยบรหิ ารโครงการรเิ ร่มิ
สถาบันส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี



สารบัญ

หน่วยท่ี 1 ความสำคัญและองคป์ ระกอบของการอบรม หนา้

• ความสำคญั วตั ถุประสงค์ และรูปแบบของการอบรม 1
• เอกสาร สอื่ ประกอบการอบรม และการเตรยี มตัวก่อนการอบรม
2
หนว่ ยท่ี 2 สมรรถนะทางเทคโนโลยีตามแนวทาง สสวท. 2

• การศกึ ษากำลงั จะเปลย่ี น : การเรยี นรู้ในศตวรรษที่ 21 5
• องค์ประกอบสมรรถนะทางเทคโนโลยตี ามแนวทาง สสวท.
6
หนว่ ยท่ี 3 สมรรถนะและตวั อย่างกจิ กรรมการเรียนรู้ 6

• สมรรถนะการเขา้ ถงึ ประเมิน และจัดการขอ้ มูลและสารสนเทศ 9
• สมรรถนะการแชร์ข้อมลู และการสื่อสาร
• สมรรถนะการดดั แปลงและผลติ สารสนเทศและดจิ ทิ ัลคอนเทนต์ 10
• สมรรถนะการแกไ้ ขปัญหาในบรบิ ทโลกดจิ ิทลั และการคิดเชงิ คำนวณ 12
• สมรรถนะการใช้ ICT อยา่ งเหมาะสม 13
14
หนว่ ยท่ี 4 PLC เพอื่ การพัฒนาการจดั การเรียนรูฐ้ านสมรรถนะ 16

• ความหมายของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 19
• ความสำคัญของกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนร้ทู างวชิ าชพี
• ชอ่ งวา่ ง (Gap) ของการพฒั นา 20
• บทบาทของผู้บรหิ ารกับการขับเคล่อื นชมุ ชนแหง่ การเรยี นรู้ทางวชิ าชีพ 21
• ข้ันตอนการจัดกระบวนการชุมชนแหง่ การเรียนรทู้ างวชิ าชีพ 22
• สมาชกิ ในชุมชนแหง่ การเรยี นรู้ทางวชิ าชีพ 22
• บทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภฏั ในการดำเนนิ งานร่วมกับโรงเรยี น 24
24
ทเี่ ข้าร่วมโครงการ 25
• ตวั อยา่ งแบบบันทึกการจัดกระบวนการชมุ ชนแหง่ การเรียนรู้ทางวชิ าชีพ
25
เอกสารอา้ งอิงและเอกสารสำหรบั สบื คน้ เพิ่มเติม
43



1หน่วยที่

ความสำคัญและองคป์ ระกอบ
ของการอบรม

จดุ มุ่งหมาย

• รแู้ ละเข้าใจถงึ ความสำคัญ วตั ถปุ ระสงค์ และรูปแบบของการอบรม
• รู้และเขา้ ใจแนวทางในการเตรยี มตวั ศึกษาเอกสารและสื่อประกอบ

กอ่ นเข้ารว่ มการอบรม เพือ่ ประโยชน์สงู สุดตอ่ ผู้เข้าร่วมการอบรม

หน่วยที่ 1 ความสำคญั และองค์ประกอบของการอบรม | 1

ความสำคญั วัตถุประสงค์ และรปู แบบของการอบรม

โครงการเพิ่มศักยภาพครูใหม้ ีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 เป็นความร่วมมือ
ระหว่างสถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) 38 แห่ง
ทั่วประเทศ เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน มุ่งสู่การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะที่เน้นเสริมสร้าง
ผเู้ รียนใหม้ ที กั ษะความสามารถทจี่ ำเป็นสำหรบั การเผชิญหน้ากับปญั หาและความท้าทายในโลกอนาคต

สสวท. และ มรภ. เชื่อว่า ครู เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการยกระดับคุณภาพการจัด
การเรียนรู้ของผู้เรียน โครงการฯ จึงมุ่งเป้าสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพครูในการปรับเปลี่ยนกลวิธีการจัด
การเรียนรู้ เพื่อเปิดห้องเรียนให้เป็นพื้นที่สำหรับนักเรียนในการฝึกฝนสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
และเทคโนโลยี อันเป็นศาสตร์วิชาที่เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบันที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ได้เปลี่ยนแปลงวถิ ีชวี ิตของผู้คนไปโดยสิ้นเชิง ดังนั้น เพื่อขบั เคลื่อนใหก้ ารจัดการเรียนรูฐ้ านสมรรถนะเกิดข้นึ ได้
อย่างเป็นรูปธรรม โครงการฯ จึงให้ความสำคัญกับการสนับสนุนผู้เข้าร่วมอบรม ให้ได้ทดลองปรับใช้สมรรถนะ
ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีตามแนวทาง สสวท. ที่จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือกับอาจารย์
มหาวิทยาลัย ครู ศึกษานิเทศก์ และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำไปประกอบการจัดเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ฐาน
สมรรถนะ ทั้งนี้จะมีคณาจารย์ มรภ. ที่มีความรู้ความเข้าใจ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยส่งเสริม แนะนำ เสนอแนะ
ความคิดเหน็ และสนบั สนุนเชิงวชิ าการ ตัง้ แต่การเรมิ่ จดั ทำแผนการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ การปรับเปล่ียนกลวธิ ี
การสอนในหอ้ งเรยี น การออกแบบการวดั และประเมินผลสมรรถนะของนกั เรียน ตลอดจนการรว่ มแก้ไขปญั หา
ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ผ่านการจัดกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(Professional Learning Community: PLC)

เอกสาร สอื่ ประกอบการอบรม และการเตรียมตวั กอ่ นการอบรม

การจัดการอบรมของโครงการฯ จะเป็นไปในรูปแบบออนไลน์ ที่เน้นการเปิดเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ระหว่างคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏและครูผู้เข้าร่วมการอบรม ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม
ให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ผู้เข้าร่วมอบรมควรศกึ ษาเอกสาร
และสือ่ ประกอบการอบรม ดงั น้ี

1) เอกสารประกอบการอบรม โครงการเพมิ่ ศกั ยภาพครูใหม้ สี มรรถนะของครูยุคใหมส่ ำหรบั การเรียนรู้
ศตวรรษที่ 21 (เอกสารฉบบั น)้ี

2) วีดิทัศน์อธิบายสมรรถนะทางเทคโนโลยี
เมื่อได้ศึกษาเอกสารและสื่อประกอบการอบรมข้างต้นแล้ว ผู้เข้าร่วมการอบรมจะต้องเข้าทำแบบทดสอบ
ความรู้ความเข้าใจ ก่อนเข้าร่วมการอบรมกับ มรภ. ในวันและเวลาที่แต่ละ มรภ. ที่มีเขตพื้นที่บริการในจังหวดั
ของผเู้ ข้ารว่ มการอบรมกำหนด

2 | โครงการเพมิ่ ศกั ยภาพครูใหม้ ีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรยี นรู้ศตวรรษท่ี 21

กำหนดการประชุมเชงิ ปฏิบตั กิ าร เพิม่ ศกั ยภาพครใู ห้มีสม
ระหวา่ งวนั ท่ี เดือน ......................... 2564 ระบบออนไลน

08.00 – 08.30 08.30 – 09.00 09.00 – 10.00 10.00 – 10.3

วันที่ ลงทะเบียนผ้เู ขา้ รว่ มประชุม พธิ ีเปิด Pre-test
1 โดย ผ่านระบบ
............................ online

วนั ท่ี ลงทะเบยี น กจิ กรรม กิจกรรมท่ี 3
2 สะท้อนบทเรียน การวัดและประเมินผลสมรรถน

โดย .....................

มรรถนะของครูยุคใหม่ สำหรบั การเรียนรศู้ ตวรรษที่ 21
น์ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏ ...................... สาขาวชิ าเทคโนโลยี

30 10.30 – 12.00 13.00 – 14.30 14.30 – 16.00 16.00 – 16.30

กิจกรรมที่ 1 กจิ กรรมท่ี 2
ตรวจสอบแนวคดิ การออกแบบแผนการจัดเรยี นรู้
สมรรถนะทาง ทีเ่ น้นสมรรถนะทางเทคโนโลยี

เทคโนโลยี โดย .................................

3 กิจกรรมท่ี 4 Post-test
นะทางเทคโนโลยี กระบวนการ PLC ผา่ นระบบ
......... โดย ............................. online

หนว่ ยท่ี 1 ความสำคัญและองค์ประกอบของการอบรม | 3



2หน่วยท่ี

สมรรถนะทางเทคโนโลยี
ตามแนวทาง สสวท.

จดุ มุ่งหมาย

• เลง็ เห็นและตระหนกั ถงึ ความสำคัญของการจัดการเรยี นร้ฐู านสมรรถนะ
• รูจ้ ักและเข้าใจสมรรถนะทางเทคโนโลยี ตามแนวทาง สสวท.

หน่วยที่ 2 สมรรถนะทางคณติ ศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. | 5

การศึกษากำลงั จะเปล่ยี น : การเรยี นรใู้ นศตวรรษที่ 21

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงการเปลี่ยนผ่าน
สู่ดิจิทัล (digital transformation) การมีความรู้เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ท่ีเกิดขึน้
โดยเฉพาะอยา่ งยิง่ ปญั หาทเี่ กดิ ข้ึนในศตวรรษท่ี 21 ซง่ึ จะมาในรปู แบบที่หลากหลายและไม่สามารถคาดการณ์ได้
ดังนั้นทักษะและสมรรถนะในการแก้ปัญหาจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคคล เพื่อให้สามารถ
ปรับตัวได้เท่าทันกับสังคมและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดข้ึนในอนาคต ตัวอย่างของทักษะการเรียนร้แู ละนวัตกรรม
(learning and innovation skills) เช่น การคดิ สรา้ งสรรค์และนวตั กรรม (creativity and innovation) การคิด
แบบมวี ิจารณญาณและการแก้ปัญหา (critical thinking and problem solving) การสอ่ื สาร (communication)
และความร่วมมอื (collaboration) เป็นต้น

วิธกี ารหน่งึ ในการเตรยี มผูเ้ รียนให้พร้อมสำหรบั การเปลยี่ นแปลงน้ี คอื การปรับการเรยี นเปลี่ยนการสอน
โดยมุ่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนมี สมรรถนะ (competency) ที่จำเป็น เพื่อที่จะสามารถเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้
นอกเหนือจากการทำข้อสอบในห้องเรียน เพราะการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ไม่สามารถใช้เพียงความรู้
ที่จดจำได้จากการเรียนในชั้นเรียนเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยสมรรถนะและความสามารถในการเผชิญหน้าและ
แก้ไขปัญหาที่ไมเ่ คยพบเจอมากอ่ นด้วย

สำหรับสาระเทคโนโลยี ฝ่ายบริหารโครงการริเริ่ม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(สสวท.) ไดว้ เิ คราะหม์ าตรฐานการเรียนรู้และตัวช้ีวัด ประกอบกบั แนวทางการจดั การเรียนร้ใู นรายวชิ าเทคโนโลยี
(วทิ ยาการคำนวณ หรอื Computing Science และการออกแบบและเทคโนโลยี หรือ Design and Technology)
ร่วมกับสมรรถนะทาง ICT (ICT competency) ที่จัดทำและพัฒนาขึ้นโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
และการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) สำหรับใช้เป็น
กรอบการประเมินของโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (Programme for International
Student Assessment: PISA) โดยไดน้ ำผลการวเิ คราะหม์ าพัฒนาเปน็ สมรรถนะทางเทคโนโลยตี ามแนวทาง
สสวท. สำหรับเปน็ แนวทางสำหรับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะในอนาคต

องคป์ ระกอบของสมรรถนะทางเทคโนโลยีตามแนวทาง สสวท.

สมรรถนะทางเทคโนโลยี เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำรงชีวิตและการเผชิญหน้ากับปัญหาในศตวรรษที่ 21
เป็นอย่างมาก ทั้งน้ีไม่เพียงแต่เทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้อง
กับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยเท่านั้น แต่การจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นเสริมสร้างสมรรถนะทางเทคโนโลยี
จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเตรียมความพร้อมนักเรียนให้รู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารปริมาณมหาศาล
ที่อยู่รอบตัว ครูจึงเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยเสริมสร้างให้เยาวชนเหล่าน้ี
เติบโตไปเป็นประชากรของประเทศที่สามารถเลือกรับและปรับใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่ได้รับให้เป็นประโยชน์
และเหมาะสมที่สุด สมรรถนะทางเทคโนโลยีสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ด้าน ซึ่งในที่นี้จะเรียกโดยย่อว่า ICA 1-5
(มาจากคำว่า ICT competency area) ได้แก่

6 | โครงการเพมิ่ ศักยภาพครใู หม้ ีสมรรถนะของครูยคุ ใหมส่ ำหรบั การเรียนร้ศู ตวรรษที่ 21

ICA1 การเขา้ ถึง ประเมิน และจดั การข้อมูลและสารสนเทศ (accessing, evaluating, and
managing information and data)

ICA2 การแชร์ข้อมูลและการส่ือสาร (sharing information and communicating)
ICA3 การดัดแปลงและผลติ สารสนเทศและดจิ ิทลั คอนเทนต์ (transforming and creating

information and digital content)
ICA4 การแก้ไขปัญหาในบรบิ ทโลกดิจิทลั และการคิดเชงิ คำนวณ (problem-solving in a digital

context and computational thinking)
ICA5 การใช้ ICT อย่างเหมาะสม (appropriate use of ICT)
อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะทางเทคโนโลยีที่ชัดเจนและเป็นไป
ในแนวทางเดียวกัน หน่วยที่ 3 ของเอกสารนี้จะได้นำเสนอความหมายของสมรรถนะทางเทคโนโลยีแต่ละด้าน
พรอ้ มทัง้ ตัวอย่างแนวทางการจัดการเรียนรู้ท่ีจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกฝนการใชส้ มรรถนะทางเทคโนโลยี
อย่างครอบคลุมทกุ ดา้ น ทั้งนี้มีเป้าประสงคส์ ูงสุดเพือ่ ให้ครูท่ีเข้าร่วมการอบรมได้มีนำแนวทางการจัดการเรียนรู้
ที่นำเสนอไปประยุกต์ใช้กับการจดั การเรียนการสอนในรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณและการออกแบบ
และเทคโนโลย)ี ให้เหมาะสมกบั บริบทและช่วงวัยของนักเรียน

หน่วยท่ี 2 สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. | 7



3หน่วยที่

สมรรถนะและตวั อย่าง
กิจกรรมการเรียนรู้

จดุ มุง่ หมาย

• รจู้ กั และเขา้ ใจสมรรถนะทางเทคโนโลยดี า้ นตา่ ง ๆ รวมถึง
แนวทางการจดั การเรียนรูท้ ่ีจะฝกึ ฝนผเู้ รียนใหม้ ีสมรรถนะทีจ่ ำเป็น
สำหรับศตวรรษที่ 21

• สามารถนำแนวทางการจัดการเรยี นรฐู้ านสมรรถนะไปประยกุ ต์ใช้
กบั สาระการเรียนร้แู ละบริบทที่แตกตา่ งกนั ในแต่ละห้องเรยี น

หนว่ ยที่ 3 สมรรถนะและตวั อย่างกจิ กรรมการเรยี นรู้ | 9

ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนสมรรถนะทางเทคโนโลยีทั้ง 5 ด้าน นั้น
จะต้องคำนึงถึงขอบเขตและความหมายของสมรรถนะแต่ละด้านด้วย ในหน่วยที่ 3 นี้ ได้รวบรวมคำอธิบาย
ขอบเขตและความหมายสำหรับแต่ละสมรรถนะ พร้อมทั้งตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ที่นำมาจากหนังสือเรียน
วิชาเทคโนโลยีของ สสวท. ซึ่งครูสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้และบริบทของห้องเรียน
เพื่อเปิดโอกาสใหน้ ักเรยี นไดฝ้ กึ ฝนสมรรถนะทางเทคโนโลยที จี่ ำเป็นสำหรบั การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

สมรรถนะการเข้าถึง ประเมนิ และจดั การข้อมูลและสารสนเทศ (ICA1)

สมรรถนะการเข้าถงึ ข้อมูลและสารสนเทศ หมายถงึ การทบ่ี ุคคลสามารถบอกไดว้ ่าข้อมลู และสารสนเทศ
หรือดิจิทัลคอนเทนต์ที่ต้องการคืออะไร รวมถึงสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูล
ที่หลากหลายได้โดยใช้ ICT ทั้งนส้ี มรรถนะท่มี คี วามสำคญั อย่างยิ่งในยุคปจั จุบนั ทอ่ี นิ เทอร์เน็ตมขี อ้ มลู อยู่มากมาย
คือ สมรรถนะการประเมนิ ข้อมลู และสารสนเทศทีส่ บื ค้นได้ โดยการเปรยี บเทยี บกับข้อมลู ทส่ี ืบค้นได้จากหลาย ๆ
แหล่งข้อมูลว่ามีความเกี่ยวข้อง ถูกต้อง และมีประโยชน์กับสิ่งที่ต้องการค้นหาหรือไม่ ซึ่งต้องอาศัยการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมลู ต่าง ๆ
สุดท้าย การจะนำข้อมูลที่ผ่านการประเมินมาแล้วนั้นไปใช้ในงานท่ีต้องการได้นั้น ต้องอาศัยสมรรถนะการจัดการ
ข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อจัดระเบียบและจดั เก็บขอ้ มูลท่ีมรี ูปแบบแตกต่างกัน และทำให้สามารถดึงเอาข้อมลู
กลับมาใช้ซ้ำอกี ได้อย่างมีประสิทธภิ าพ

ตวั อยา่ งกิจกรรมการเรยี นรทู้ ี่เนน้ สมรรถนะ ICA1
ตวั อย่างท่ี 1
ครูยกตวั อยา่ งสถานการณ์ต่อไปนี้
โปง้ เหน็ ขา่ วเร่ืองดาวหางฮลั เล่ยจ์ ากโทรทศั น์ แลว้ อยากจะทราบวา่ ดาวหางฮลั เล่ยเ์ คลื่อนท่ดี ้วยความเร็วเท่าไร
จึงสืบค้นในอนิ เทอร์เนต็ โดยพมิ พค์ ำคน้ ในโปรแกรมค้นหาวา่ “ความเร็ว ฮาเลย”์

โป้ง: โอโ้ ห! ผลการคน้ หาบอกวา่ ฮาเลย์ วิง่ เรว็ 135 กิโลเมตรต่อชัว่ โมงแน่ะ
พอ่ : อ๋อ นี่เขาพูดถงึ ความเร็วของรถมอเตอร์ไซค์
โป้ง: อา้ ว! เหรอครับ ช่อื คล้ายกับดาวหางเลย

คำถาม
นกั เรยี นคิดวา่ โปง้ ควรปรบั คำคน้ ในโปรแกรมคน้ หาอยา่ งไร เพอ่ื ให้ได้ผลการค้นหาทตี่ ้องการ
แนวคำตอบ
เนอื่ งจากชือ่ ดาวหางเป็นภาษาองั กฤษ การพมิ พ์คำคน้ ในภาษาไทยอาจทำใหไ้ ดผ้ ลการคน้ หาไม่ตรงกับ
สง่ิ ทตี่ อ้ งการคน้ หา โปง้ จงึ ได้ลองปรับคำค้นจนกระท่งั ไดค้ ำค้นว่า
“halley comet speed” และไดผ้ ลการคน้ หา คือ “70.56 km/s (157,838 mph or 254,016 km/h)”

10 | โครงการเพ่ิมศักยภาพครูใหม้ ีสมรรถนะของครยู ุคใหม่สำหรับการเรยี นรู้ศตวรรษที่ 21

ขอ้ สังเกต
ในกจิ กรรมนี้ นกั เรยี นจะไดฝ้ ึกการใชค้ ำคน้ เพอ่ื ใหส้ ามารถเขา้ ถงึ แหลง่ ขอ้ มลู ทต่ี อ้ งการได้ รวมถึงสามารถ
ประเมินความถกู ต้องของขอ้ มลู ทไ่ี ด้จากการค้นหา โดยพจิ ารณาความเปน็ ไปไดแ้ ละเปรยี บเทียบข้อมูล
จากหลาย ๆ แหล่ง
ตัวอย่างท่ี 2
ครูแจกกระดาษทม่ี ขี ้อความให้นกั เรียนคนท่ี 1 เพ่อื อา่ นให้คนท่ี 2 ฟงั จากน้ันใหน้ ักเรียนคนท่ี 2 นำขอ้ ความ
ไปกระซบิ บอกตอ่ นกั เรยี นคนที่ 3 ทำแบบนต้ี อ่ ไปเร่อื ย ๆ จนถึงนกั เรยี นคนท่ี 5 และใหพ้ ูดข้อมลู ที่ได้
ให้เพื่อนฟงั ครแู ละนกั เรยี นรว่ มกันอภปิ รายในประเด็นตอ่ ไปน้ี
• นกั เรยี นทกุ คนจะไดร้ บั ขอ้ ความเหมอื นกนั หรอื ไม่
• ข้อความจากเพ่อื นคนใดนา่ เช่อื ถอื มากทสี่ ุด และนอ้ ยทส่ี ุด เพราะอะไร
• ถ้านกั เรยี นในรบั ข้อมูลจากเพอ่ื นคนท่ี 5 และไมแ่ น่ใจว่าข้อความถูกตอ้ งหรือไม่ นักเรยี นมีวธิ ีหาความจริง

อยา่ งไร และนักเรียนจะส่งขอ้ มูลนนั้ ตอ่ หรือไม่ เพราะเหตุใด
ข้อสังเกต
ในกจิ กรรมน้ี นกั เรยี นจะได้ฝึกการประเมินความนา่ เชือ่ ถือของข้อมลู ท่ีได้รบั รวมถึงวธิ ีการเขา้ ถึงข้อมูลต่าง ๆ
ในการหาขอ้ เทจ็ จริง และสามารถจดั การข้อมูลจากหลายแหลง่ ที่แตกต่างกนั ได้

หนว่ ยท่ี 3 สมรรถนะและตวั อย่างกิจกรรมการเรยี นรู้ | 11

สมรรถนะการแชรข์ ้อมลู และการส่อื สาร (ICA2)

สมรรถนะการแชร์ข้อมูลและการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
และความรู้ รวมถึงปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารให้เหมาะสมกับผู้ฟัง บริบท และช่องทางการสื่อสารที่ใช้ ในที่นี้
หมายรวมถงึ ในบรบิ ทโลกชวี ิตจรงิ และโลกดิจิทลั ทีข่ อ้ มูลขา่ วสารถูกแชร์ไปยังบุคคลต่าง ๆ ในวงกว้างอยา่ งรวดเรว็
ทำให้บุคคลที่ใช้ ICT จะต้องตระหนักถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละแพลตฟอร์มที่ใช้ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น
อีเมล ระบบส่งข้อความทันทีและแชทกลุ่ม การแชร์รูปภาพและวิดีโอ และเว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ค นอกจากน้ี
ด้วยความที่ ICT ถูกนำไปใชใ้ นวงกว้างนเี่ อง การสอื่ สารอย่างมีประสทิ ธภิ าพจะต้องอาศยั ความเขา้ ใจอยา่ งลกึ ซ้ึง
เก่ียวกบั ส่ิงที่คนท่ัวไปในสังคมยอมรบั รวมถงึ ความสามารถในการปรับตัวและปรับเปล่ียนรูปแบบของการส่ือสาร
ให้เหมาะสมกบั ผูท้ ี่เราต้องการจะสอ่ื สารดว้ ย

ตวั อย่างกจิ กรรมการเรียนรทู้ ี่เนน้ สมรรถนะ ICA2
ตัวอยา่ งที่ 1
ครูให้นักเรยี นพิจารณาสถานการณต์ ่อไปน้ีและอภปิ ราย
นกั เรยี นไปเท่ียวในสถานทท่ี ีไ่ มม่ สี ญั ญาณอนิ เทอรเ์ นต็ แตต่ อ้ งการจะสง่ รูปจากสมารต์ โฟนให้เพอ่ื น
ทไ่ี ปเท่ยี วด้วยกันที นกั เรียนจะสง่ รูปด้วยวิธีการใด
ขอ้ สงั เกต
ในกิจกรรมนี้ นกั เรยี นจะไดเ้ รยี นรูถ้ งึ วธิ กี ารอน่ื ๆ ที่ใช้ในการแชรข์ ้อมลู โดยไมต่ อ้ งใชอ้ นิ เทอรเ์ น็ต
โดยจะต้องเป็นวธิ ีการทีส่ ะดวกและรวดเร็ว

ตัวอยา่ งท่ี 2
ครใู หน้ กั เรียนบอกวธิ ีการตดิ ตอ่ ส่อื สารกบั ผอู้ ื่นมาใหไ้ ด้มากท่ีสดุ (โทรศพั ท์ จดหมาย ส่งข้อความผา่ น
สื่อออนไลน์ อเี มล ฯลฯ) และมสี ถานการณต์ วั อย่างวา่ หากนักเรียนต้องทำรายงานกลมุ่ วนั เสาร์-อาทิตย์
จะมวี ธิ กี ารทำงานกลุ่มอยา่ งไรและจะส่งข้อมลู ให้กันอยา่ งไร
ข้อสังเกต
ในกิจกรรมนี้ นกั เรยี นจะไดเ้ รยี นรูว้ ธิ กี ารตดิ ตอ่ ส่ือสารทกุ ชอ่ งทางในปจั จบุ นั รวมถงึ ไดเ้ รยี นรวู้ า่ วธิ ใี ดสะดวก
รวดเรว็ นอกจากนีใ้ นการสง่ ข้อมูลให้กันจะตอ้ งตรวจสอบความถกู ต้องของเนื้อหา ภาษาทใี่ ชเ้ ขียน และทอ่ี ยู่
ของผู้รบั อีกดว้ ย

12 | โครงการเพ่มิ ศักยภาพครูใหม้ สี มรรถนะของครยู ุคใหม่สำหรบั การเรียนร้ศู ตวรรษที่ 21

สมรรถนะการดัดแปลงและผลิตสารสนเทศและดิจิทลั คอนเทนต์ (ICA3)

สมรรถนะการดัดแปลงและผลิตสารสนเทศและดิจิทัลคอนเทนต์ หมายถึง ความสามารถของบุคคล
ในการใช้ ICT หรือข้อมูลที่ได้มาจาก ICT ดิจิทัลคอนเทนต์ และสารสนเทศที่มีอยู่แล้วมาใช้ในการผลิตหรือ
ขยายขอบเขตของสารสนเทศหรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ ผ่านการดัดแปลงวิธีการนำเสนอสิ่งเหล่านั้นให้สามารถ
เข้าใจได้ง่ายขึน้ ในบรบิ ทหน่ึง ๆ ซึ่งจะต้องอาศัยความสามารถของบุคคลในการใช้ภาพกราฟิกและสือ่ มัลติมีเดยี
รวมถึงการวางโครงสร้าง แผนผัง และการออกแบบการนำเสนอเพื่อทำให้ข้อมูลเหล่านั้นง่ายขึ้น เพื่อสนับสนุน
การทำความเขา้ ใจข้อมูลเหลา่ นน้ั และเพ่มิ ประสิทธภิ าพในการสอื่ สาร

ตวั อย่างกจิ กรรมการเรยี นรทู้ ่เี นน้ สมรรถนะ ICA3
ตวั อย่างท่ี 1
ครูกำหนดสถานการณ์ใหน้ ักเรียนทำสื่อประชาสมั พนั ธโ์ รงเรยี นในด้านตา่ ง ๆ เช่น กจิ กรรมโรงเรยี น
ภูมปิ ญั ญาทอ้ งถ่นิ ฯลฯ โดยนำอภิปรายเกย่ี วกบั การใช้ฮาร์ดแวรแ์ ละซอฟต์แวร์ในการจดั ทำสือ่

ตัวอย่างที่ 2
โปง้ และก้อยกำลังจะทำการโฆษณาอาหารเสริมแมวทผี่ ลติ ข้ึน จึงถ่ายคลปิ วิดีโอ “แมวเหมยี วนา่ รกั ”
เพ่ือเชิญชวนใหค้ นเข้ามาซอื้ อาหารเสริมแมว ครรู ว่ มอภปิ รายกบั นกั เรยี นว่าเนอื้ หาของวิดีโอและรายละเอียด
ทีจ่ ะใส่ไว้ในช่องคำอธิบายใต้วิดีโอ ควรจะต้องประกอบด้วยอะไรบา้ ง เช่น
• ส่วนผสมของอาหารเสริม
• สรรพคณุ
• งานวจิ ัยรับรอง
• ชอ่ งทางการตดิ ต่อสงั่ ซือ้

ข้อสังเกต
จากทง้ั 2 กจิ กรรมขา้ งต้น นักเรยี นจะตอ้ งนำขอ้ มูลและประเด็นสำคญั ของเนอื้ หาทจ่ี ะนำเสนอ มาจดั ทำสือ่
ในรูปแบบตา่ ง ๆ เช่น อินโฟกราฟิก คลปิ วิดโี อ สไลด์ หรอื ภาพเคลือ่ นไหว ผา่ นการใช้ฮาร์ดแวร์
และซอฟตแ์ วรต์ ่าง ๆ โดยนักเรียนจะต้องเลือกใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟตแ์ วรใ์ ห้เหมาะสมกบั ส่อื ดว้ ย

หน่วยที่ 3 สมรรถนะและตวั อย่างกจิ กรรมการเรียนรู้ | 13

สมรรถนะการแก้ไขปัญหาในบริบทโลกดิจิทัลและการคิดเชงิ คำนวณ (ICA4)

สมรรถนะการแก้ไขปัญหา หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการใช้การรู้คิดเพื่อทำความเข้าใจ
และแยกแยะปัญหาที่ยังไม่มีแนวทางการแก้ไขที่ชัดเจน ในบริบทของ ICT สมรรถนะการแก้ไขปัญหาจะมุ่งเนน้
การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิค โดยหาวิธีการที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การรู้คิด
ของบุคคลหนึ่ง ๆ ทีจ่ ะใชใ้ นการแกไ้ ขปัญหา ประกอบดว้ ย

• การสำรวจสถานการณ์ปัญหา ผ่านการสังเกตและมีปฏิสัมพันธ์กับสถานการณ์ และการสืบค้นข้อมูล
ขอ้ จำกัด และอปุ สรรค รวมถงึ การทำความเข้าใจเกยี่ วกับข้อมูลและแนวคดิ ทเี่ กยี่ วข้อง

• การนำเสนอและแปลงปญั หา ผ่านการสร้างรูปแบบการนำเสนอและตั้งสมมติฐานทสี่ อดคล้องกบั ปัญหา
• การวางแผนและดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยตั้งเป้าหมาย คิดกลยุทธ์ใหม่ในการแก้ปัญหา และลงมือ

ปฏบิ ัติ
• การกำกับดแู ลความคืบหน้าและสะท้อนผลการลงมือแก้ไขปัญหา
นอกจากนี้ สมรรถนะการแก้ไขปัญหายังรวมถึงการร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นความสามารถของบุคคล
ในการมสี ่วนร่วมกับกลุ่มบุคคลในกระบวนการแก้ไขปญั หา โดยมกี ารแลกเปลย่ี นความเข้าใจและความพยายาม
ที่ใช้ในการคิดหาแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมทั้งดึงเอาความรู้ ทักษะ และความพยายามของกลุ่มบุคคลนั้น ๆ
มาประกอบใชใ้ นการแก้ไขปัญหา การร่วมมือกันแก้ไขปัญหาในสภาพแวดล้อมที่เทคโนโลยีดจิ ทิ ัลเข้ามามีบทบาท
มากขึ้น บุคคลที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ จะต้องมีการรู้คิดในระดับที่สูงขึ้น รวมถึงจะต้องมีทักษะ
ทางสังคมและทางเทคนคิ เพื่อจะได้มั่นใจได้ว่ากลุม่ บุคคลที่กำลังร่วมกันแก้ไขปัญหาอยู่นั้นมีข้อมูลและความเข้าใจ
ที่ตรงกัน ซึ่งจะทำให้สามารถดึงเอาทรัพยากรดิจิทัลมาสนับสนุนการบริหารจัดการทีมและประสานความร่วมมือ
ในการแกไ้ ขปัญหาไดอ้ ย่างมีประสิทธภิ าพ
สมรรถนะการคิดเชิงคำนวณ หมายถงึ ความสามารถของบุคคลในการระบแุ ละแยกแยะประเด็นปัญหา
ออกเป็นขั้น ๆ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการรายละเอียดที่สำคัญของปัญหานั้น ๆ รวมทั้งสามารถแสดงวิธีการ
แก้ไขปญั หาที่เป็นไปได้และนำเสนอวิธีการดังกล่าวออกมาในรปู แบบทีท่ ้ังมนุษย์และคอมพิวเตอร์สามารถเขา้ ใจได้
แม้ว่าการคิดเชิงคำนวณและการแก้ไขปัญหาในบริบทโลกดิจิทัลอาจมีกระบวนการคิดบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน
สิง่ หนึง่ ทมี่ ีความแตกต่างกนั คอื การคิดเชงิ คำนวณจะเนน้ ทกี่ ารใช้การคำนวณและเทคโนโลยีดิจทิ ลั ในการวางแผน
และดำเนินการแก้ไขปัญหา หรืออาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าการคิดเชิงคำนวณก็คือการแก้ไขปัญหาประเภทหน่ึง
ทน่ี ำเอาวทิ ยาการคอมพวิ เตอร์ไปใชใ้ นการแกไ้ ขปัญหาท่พี บเจอในทุก ๆ ศาสตร์สาขา ซึ่งทำให้เกิดวธิ ีการวิเคราะห์
และพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถนำไปได้ดำเนินการได้โดยใช้คอมพิวเตอร์
สมรรถนะการคดิ เชงิ คำนวณประกอบด้วยความสามารถของบุคคลในการดำเนินการกระบวนการต่าง ๆ ดงั น้ี
• แปลงปัญหาให้อยใู่ นรูปแบบทสี่ ามารถใชค้ อมพวิ เตอร์ในการแก้ไขปญั หานนั้ ๆ ได้
• จดั การและวิเคราะห์ข้อมลู ไดอ้ ยา่ งเปน็ เหตเุ ป็นผล
• แยกแยะรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่สำคัญออกจากข้อมูลที่มี และนำเสนอข้อมูลเหล่านั้นในรูปแบบ

ของโมเดลหรอื การจำลอง

14 | โครงการเพ่ิมศักยภาพครใู ห้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรบั การเรียนรศู้ ตวรรษที่ 21

• ใช้การคิดแบบอัลกอรทิ มึ เพ่ือสรา้ งให้เกดิ การแก้ปัญหาแบบอัตโนมัติ
• ระบุ วิเคราะห์ และนำวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ไปใช้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการผสมผสาน

ขัน้ ตอนและการใช้ทรพั ยากรตา่ ง ๆ ในการแกไ้ ขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
• ทำให้วิธกี ารแก้ไขปญั หาทไ่ี ดม้ านั้น สามารถนำไปใชใ้ นการแก้ไขปัญหาอน่ื ๆ ท่ีมีความหลากหลายได้

ตัวอยา่ งท่ี 1 ตัวอย่างกิจกรรมการเรยี นรทู้ เี่ นน้ สมรรถนะ ICA4

ครูใหน้ กั เรยี นพจิ ารณาสถานการณต์ อ่ ไปนี้
และอภิปราย
จากแผนท่แี สดงเส้นทางการเดินรถโดยสาร
ถ้านกั เรยี นอยู่บ้านทส่ี ะพานขาวต้องการ
เดนิ ทางไปตลาดน้ำมหาสนิ จะเดนิ ทาง
อย่างไรใหป้ ระหยัดท่สี ุด
ข้อสงั เกต
นกั เรยี นจะตอ้ งรวบรวมขอ้ มลู ทจ่ี ำเปน็
ในการแก้ปัญหา ระบุวิธีหาคำตอบ
ซึง่ จะตอ้ งใช้การคำนวณราคาในการเดนิ ทาง
ในรปู แบบต่าง ๆ แลว้ นำมาเปรียบเทียบกัน
จนนำไปส่กู ารหาคำตอบได้ โดยโจทย์
ไมไ่ ด้กำหนดว่าจะตอ้ งเดนิ ทางดว้ ยรูปแบบใด
ทำใหก้ ารคดิ ของนักเรยี นมคี วามอสิ ระ
และเปน็ ไปได้หลายรูปแบบมากขนึ้

ตัวอย่างที่ 2

ครกู ำหนดใหน้ กั เรยี นเขียนโปรแกรมจากสถานการณ์ต่อไปนี้
โรงภาพยนตร์แห่งหนงึ่ สามารถกำหนดราคาของต๋วั ได้เอง เดอื นนีเ้ ป็นช่วงเทศกาลภาพยนตร์ ราคาตั๋วจะลดลง
20% ถ้าซื้อตว๋ั 3 ใบขึ้นไป ราคาตว๋ั จะลดลง 25% ใหน้ กั เรยี นคำนวณคา่ ต๋ัวสทุ ธิ
ขอ้ สังเกต
นกั เรยี นจะตอ้ งรวบรวมขอ้ มลู ทจ่ี ำเปน็ ในการแกป้ ญั หา และใชก้ ารคิดเชงิ คำนวณ เพอ่ื กำหนดวธิ กี าร
เขยี นโปรแกรมในการคำนวณราคาคา่ ตั๋ว จากการซอ้ื ในรูปแบบต่าง ๆ

หน่วยที่ 3 สมรรถนะและตัวอยา่ งกิจกรรมการเรยี นรู้ | 15

สมรรถนะการใช้ ICT อยา่ งเหมาะสม (ICA5)

สมรรถนะการใช้ ICT อย่างเหมาะสม หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการประเมินการใช้งาน ICT
ในประเด็นด้านความม่ันคง ความปลอดภัย และความเสีย่ งบนโลกออนไลน์ กล่าวคือจะต้องสามารถใช้งาน ICT
ได้อย่างเหมาะสมในทุกบริบทและแพลตฟอร์ม โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางสังคม กฎหมาย และจริยธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ข้อมูลหนึ่ง ๆ ถูกแชร์ออกไปอย่างง่ายดายและรวดเร็ว บุคคลที่ใช้งาน ICT
จะต้องให้ความสำคัญกับวิธีการที่ใช้ในการจัดการและปกป้องข้อมูลของตนเอง รวมถึงความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ
ความปลอดภัยทาง ICT เช่น พฤติกรรมการใช้งานโลกออนไลน์อย่างปลอดภัย นโยบายความเป็นส่วนตัว
และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การตั้งรหัสผ่านที่ไม่สามารถคาดเดาได้ง่าย การระรานทางไซเบอร์ ( cyber
bullying) การดาวน์โหลด ลิขสิทธิ์ มาตรการการป้องกันไวรัส การใช้งานโทรศัพท์มือถืออย่างปลอดภัย
การติดต่อกบั บคุ คลทไ่ี ม่รู้จกั เปน็ ตน้

ตวั อย่างกิจกรรมการเรยี นรทู้ เี่ นน้ สมรรถนะ ICA5
ตัวอยา่ งท่ี 1
ครูให้นักเรยี นพิจารณาสถานการณ์ตอ่ ไปนแี้ ละอภปิ รายภายใตป้ ระเด็นคำถามวา่

“เจอสถานการณแ์ บบนตี้ ้องทำอย่างไร” โดยครูนำนักเรียนอภปิ รายในประเด็นตอ่ ไปนี้
• พิจารณาสถานการณ์แล้ววิเคราะหว์ ่าปญั หาที่เกิดขน้ึ คอื อะไร
• วเิ คราะหป์ ัญหาทีอ่ าจตามมา และใครบ้างทจ่ี ะไดร้ ับผลกระทบ และได้รบั ผลกระทบอย่างไร
• มีวธิ ปี อ้ งกนั ไม่ให้เกดิ ปัญหานน้ั อยา่ งไร / หากเกดิ ปัญหาแลว้ มวี ิธกี ารจดั การกบั ปัญหาอยา่ งไร

16 | โครงการเพม่ิ ศกั ยภาพครใู หม้ ีสมรรถนะของครยู คุ ใหมส่ ำหรับการเรียนรู้ศตวรรษท่ี 21

ตัวอย่างท่ี 2
ครใู ห้นกั เรยี นพิจารณาสถานการณต์ ่อไปน้แี ละอภปิ รายภายใต้ประเดน็ คำถามว่า
“เจอสถานการณแ์ บบนี้ต้องทำอยา่ งไร” โดยครูนำนกั เรยี นอภิปรายในประเดน็ ตอ่ ไปน้ี
• โป้งน่งั หลบั อยู่ เพ่ือนจงึ หยิบโทรศพั ท์ของโป้งขึ้นมาเพ่อื โพสตข์ อ้ ความวา่

“ขอพกั แปป๊ นงึ อยา่ โทรมานะ หลบั อย”ู่ เพื่อใหโ้ ปง้ ไดพ้ ักผ่อน
• ถ้าโป้งไม่ตอ้ งให้เพ่ือนนำโทรศพั ท์ของตนเองไปใช้ โปง้ จะมวี ธิ ีการปอ้ งกันอย่างไร
• โป้งเลือกวิธปี อ้ งกนั ไมใ่ หเ้ พอ่ื นนำโทรศพั ทข์ องตนเองไปใช้โดยการต้งั รหัสผ่าน แตเ่ ม่อื เพือ่ นขอยมื

โทรศพั ท์เพ่ือไปใช้คยุ ธุระ โปง้ กบ็ อกรหัสผ่านใหก้ ับเพ่อื นเพ่อื ปลดล็อกโทรศัพท์
ขอ้ สงั เกต
จากท้ัง 2 กิจกรรมข้างตน้ นกั เรยี นจะไดฝ้ ึกวเิ คราะหส์ ถานการณใ์ นการใช้ ICT ในรปู แบบตา่ ง ๆ
วา่ เหมาะสมหรอื ไม่เหมาะสมอย่างไร แล้วรว่ มกนั เสนอวิธีการปอ้ งกันและแก้ไขปัญหา ซง่ึ สถานการณ์
ตวั อย่างเปน็ สถานการณท์ ี่สามารถพบได้ในการใช้ ICT ในปจั จบุ นั ท้งั เด็กและผใู้ หญ่

หน่วยที่ 3 สมรรถนะและตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ | 17



4หนว่ ยที่

PLC เพ่อื การพัฒนา
การจดั การเรียนรู้
ฐานสมรรถนะ

จุดมงุ่ หมาย

• สร้างความรคู้ วามเข้าใจ รวมท้งั ตระหนกั ถึงความสำคัญของ PLC
ในการขบั เคลอ่ื นการจดั การเรยี นร้ฐู านสมรรถนะ

• เนน้ ใหเ้ กิดความเขา้ ใจถงึ บทบาทหน้าที่ของบคุ คลที่มีสว่ นเกีย่ วข้องกบั
กระบวนการ PLC โดยเฉพาะอย่างยิ่งผูบ้ ริหารโรงเรียน

• สามารถขับเคล่อื นกระบวนการ PLC ใหเ้ กดิ ขน้ึ ในโรงเรยี นทเ่ี ขา้ รว่ มโครงการ
ร่วมกับอาจารย์มหาวทิ ยาลัยราชภัฏ

หน่วยท่ี 4 PLC เพอื่ การพฒั นาการจดั การเรยี นรูฐ้ านสมรรถนะ | 19

ความหมายของชมุ ชนแห่งการเรยี นรทู้ างวชิ าชีพ

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) เป็นกระบวนการ
สร้างการเปลี่ยนแปลง โดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มนักการศึกษาที่มีความสนใจตรงกัน มารวมตัวกัน
อย่างต่อเนื่องเพื่อทำงานร่วมกัน แบ่งปันประสบการณ์ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วม
วางเปา้ หมายในการยกระดบั การจดั การเรยี นรขู้ องครู รวมท้ังแก้ปัญหาท่ีเกดิ ข้ึน มุ่งเนน้ สง่ เสรมิ การพัฒนาคณุ ภาพ
การเรยี นรูข้ องผเู้ รยี น รวมทั้งตรวจสอบ และสะท้อนผลการปฏิบตั งิ าน ท้งั ในสว่ นบคุ คลและผลท่เี กิดข้ึนโดยรวม
ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิพากษ์วิจารณ์ การทำงานร่วมกัน และการร่วมมือรวมพลัง เพื่อส่งเสรมิ
กระบวนการเรยี นร้อู ยา่ งเปน็ องค์รวม โดยมกี ารดำเนินการอย่างนอ้ ย 5 ประการ ดังน้ี

1) การสร้างบรรทดั ฐานและค่านิยมร่วมกนั (shared values and norms)
2) การปฏิบัติทม่ี เี ปา้ หมายม่งุ สกู่ ารเรียนรูข้ องผู้เรียน (collective focus on student learning)
3) การร่วมมอื กนั ทำงานของนักการศึกษาและบุคคลท่ีเก่ียวขอ้ ง (collaboration)
4) การสังเกตชั้นเรียนและการเปิดรับฟังการสะท้อนความคิด (expert advice and study visit and
classroom observation)
5) การสนทนาทสี่ รา้ งสรรคส์ ะท้อนผลการปฏบิ ตั ิ (Reflection dialogue and constructive feedback)
ผา่ นการสรา้ ง HOPE (เรวดี ชยั เชาวรัตน,์ 2558) ใหบ้ ุคคลท่ี อนั ประกอบดว้ ย

• honesty & humanity เป็นการยดึ ข้อมูลจรงิ ทีเ่ กดิ ข้ึนและใหก้ ารเคารพกนั อย่างจรงิ ใจ
• option & openness เป็นการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้ผู้เรียนและพร้อมเปิดเผยเปิดใจเรียนรู้

จากผอู้ ืน่
• patience & persistence เป็นการพัฒนาความอดทนและความมุ่งม่ันทุ่มเทพยายามจนเกิดผล

ชดั เจน
• efficacy & enthusiasm เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในผลของวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม

กบั ผเู้ รียนว่าจะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้และกระตือรือรน้ ทจี่ ะพัฒนาตนเองอยา่ งเต็มท่ี
ชุมชนแห่งการเรียนรทู้ างวิชาชีพ มุ่งตอบสนองวตั ถุประสงคส์ ำคัญ 2 ประการ ประการแรก คือ มุ่งยกระดบั
ศักยภาพในการจัดการเรยี นรู้ของครูและนักการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ และการพูดคุยกันอย่างมืออาชีพ ประการที่สอง คือ มุ่งสร้างแรงบันดาลใจ
ในการเรยี นใหก้ บั นักเรยี น เพ่อื ยกระดับผลสมั ฤทธิ์และความสำเร็จในการเรยี นรู้ การดำเนินการจัดกระบวนการ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพให้ตอบโจทย์วัตถุประสงค์สำคัญสองประการข้างต้นนั้น ควรจัดให้มีรูปแบบ
การดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับการวิจัยปฏิบัติการ (action research) นั่นคือจะต้องมีการตั้งคำถาม
อย่างต่อเนื่อง การหมั่นทบทวนและทดสอบผลสัมฤทธ์ิ การคิด วิเคราะห์ และพิจารณาอย่างรอบคอบรอบด้าน
รวมถงึ การยกระดบั กลยุทธ์การจดั การเรยี นการสอน

20 | โครงการเพมิ่ ศกั ยภาพครใู หม้ สี มรรถนะของครยู ุคใหม่สำหรับการเรยี นรศู้ ตวรรษที่ 21

ความสำคัญของกระบวนการชมุ ชนแหง่ การเรียนรู้ทางวชิ าชีพ

การพฒั นาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนทผี่ ่านมา บคุ คลท่มี ีสว่ นเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน
ในโรงเรียนมักมีความเชื่อว่า การดูแลชั้นเรียนและการเรียนการสอนในแต่ละชั่วโมงและแต่ละวิชาเป็นหน้าท่ี
ของครูแต่ละคนที่รับผิดชอบในวิชานั้น ๆ เสมือนกับครูคนนั้นเป็นเจ้าของห้องเรียนแต่เพียงผู้เดียว (king of
the classroom) ซึ่งการที่ทุกคนมอบความไว้วางใจและทุก ๆ สิ่งในห้องเรียนให้กับครูคนหนึ่งเข้าปฏิบัติการ
จัดการเรียนการสอนกับนักเรียนจำนวนหนึ่งในชั้นเรียน ครูคนนั้นจะมีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
อย่างไร จะเตรียมการสอนมาดีหรือไม่ จะให้ความสนใจนักเรียนทุกคนทั่วถึงกันทั้งห้องเรียนหรือไม่ ไม่มีใคร
ล่วงรู้ได้ นอกจากนักเรียนที่เป็นผู้สัมผัสกับครูคนนั้น การจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐาน
ความเชื่อดั้งเดิมของระบบโรงเรียนในประเทศไทย ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทางวชิ าชพี โดยส้นิ เชงิ การผลกั ดันให้เกิดชมุ ชนแห่งการเรยี นรู้ทางวิชาชพี ท่มี ีประสทิ ธภิ าพน้ัน จึงจำเปน็ จะต้อง
สรา้ งการรบั ร้ใู หม่และความเชอ่ื พน้ื ฐานของบุคคลที่มีส่วนเก่ยี วขอ้ ง ดังน้ี

1) มุง่ ลดความโดดเด่ียวของครใู นการจดั การเรยี นการสอนแต่เพียงลำพงั คนเดยี ว
2) สร้างความรับผิดชอบร่วมกันของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการเรียนรู้ของนักเรียน
โดยม่งุ ผลให้นกั เรียนเกดิ การเรยี นรทู้ ่ีดที ่สี ดุ
3) ให้ความสำคัญกับการตอบสนองต่อการแก้ปัญหานักเรียนที่เรียนรู้ไม่ได้หรือไม่สำเร็จเป็นรายบุคคล
โดยหาแนวทางชว่ ยเหลอื สง่ เสริม และสนับสนุนให้นกั เรยี นเหล่าน้ันได้มโี อกาสเรยี นรอู้ ย่างท่วั ถึงเท่ากันทกุ คน
4) สร้างวฒั นธรรมการทำงานร่วมกนั อย่างมคี ุณภาพและเปน็ กัลยาณมติ ร
5) การแก้ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนจะต้องทำอย่างต่อเน่ือง จนกว่าจะเกิดความสำเร็จของการเรียนรู้
ของนักเรียนอย่างแท้จริง สิ่งที่หลงเหลือจากการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทางวิชาชพี คือ แนวปฏิบัตทิ ี่ดที ส่ี ุด (best practice) ภายใต้บรบิ ท (context) หรอื ปรากฏการณ์ (phenomena)
หนง่ึ ๆ ซ่ึงนบั เป็นนวตั กรรมการแก้ปญั หาทเ่ี หมาะสมทีส่ ุดสำหรับแต่ละโรงเรียน การจะนำแนวทางการแก้ปัญหา
เดียวกันนั้นไปใชใ้ นโรงเรยี นอนื่ ๆ ท่มี บี ริบทหรือปรากฏการณท์ ่แี ตกตา่ งกนั บุคคลทีเ่ กี่ยวข้องจำเป็นจะตอ้ งเริ่ม
เรียนร้รู ว่ มกันใหมอ่ ีกครงั้ หนง่ึ
จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปความสำคัญของการจดั กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ทม่ี ีตอ่ ผูเ้ รยี นและครูได้ ดงั นี้
ดา้ นผ้เู รยี น

• ปญั หาการเรียนรขู้ องนกั เรยี นเปน็ ส่ิงสำคัญท่ีสุด
• คน้ หาวิธกี ารแกป้ ัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรบั นักเรียนแต่ละคน แต่ละห้องเรยี น และแต่ละโรงเรยี น
• ตอบสนองต่อพฤติกรรมการเรยี นร้ขู องนกั เรียนด้วยความรวดเร็ว
• เพ่ิมพลงั อำนาจคณุ ภาพการจดั การเรียนการสอนให้มกี ารปฏิบตั ิท่ีดแี ละเหมาะกบั ผเู้ รียน

หน่วยท่ี 4 PLC เพ่ือการพัฒนาการจัดการเรยี นรูฐ้ านสมรรถนะ | 21

ด้านครูผ้สู อน
• เปล่ียนวฒั นธรรมการทำงานของครูเพ่ือนกั เรยี น
• ลดความโดดเด่ียวของครู
• รว่ มกันแบง่ ปันความรบั ผิดชอบต่อความสำเรจ็ ของนกั เรียน
• สรา้ งวฒั นธรรมการทำงานรว่ มกนั อย่างมคี ณุ ภาพและเปน็ กลั ยาณมติ ร
• ทำให้เกดิ แนวปฏิบตั ทิ ด่ี ที ่ีสุดสำหรบั บรบิ ทน้นั ๆ

ชอ่ งว่าง (Gap) ของการพฒั นา

การสร้างเป้าหมายร่วมกันภายในโรงเรียน ถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพการจัด
การเรียนการสอน โดยมกี ญุ แจสำคัญ คือ ผู้บรหิ ารโรงเรียนท่ีมีภาวะผนู้ ำทางวิชาการ (academic leadership)
และภาวะผู้นำทางด้านการจัดการเรียนการสอน (instructional leadership) กล่าวคือผู้อำนวยการโรงเรียน
จะต้องเป็นผู้นำที่เชื่อมั่นและศรัทธาในกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างจริงใจ มิใช่กระ ทำ
เพียงเพื่อตอบสนองนโยบายหรือทำตามอย่าง อย่างไรก็ตาม การสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกองค์กรยอ่ มมี
อุปสรรคและแรงต้าน ด้วยทุกคนมีความเคยชิน มีพื้นที่ปลอดภัยของตนเอง ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วการกระตุ้น
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงย่อมทำให้เกิดความกลัว ความไม่ปลอดภัย ความไม่สะดวกสบายเหมือนที่เคยปฏิบัติมา
แรงบันดาลใจ (inspiration) ของผู้บริหารโรงเรียนจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ
เหล่านั้น และผลักดันให้การดำเนินการตามวงจรชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเกิดขึ้นได้ แม้จะต้องเริ่มต้น
จากครูกลุ่มเล็ก ๆ กต็ าม

บทบาทของผบู้ รหิ ารกับการขับเคลือ่ นชุมชนแห่งการเรยี นรู้ทางวิชาชพี

กระบวนการชุมชนแหง่ การเรียนรู้ทางวิชาชีพ มิใช่แคก่ ารสรา้ งกลุ่มครูเพยี งกลุ่มเล็ก ๆ ขึ้นมาเพื่อพัฒนา
หรือแก้ไขปัญหาการเรียนรขู้ องนกั เรียนเท่านั้น หากแตเ่ ป็นการสร้างใหเ้ กิดความรว่ มมือร่วมใจของครูทั้งโรงเรียน
การจะทำให้เกิดภาพดังกล่าวขึ้นในโรงเรียนได้นั้น ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญในการสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้
แนวทางการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนร่วมกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร พร้อมทั้งขับเคลื่อนกระบวนการ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยความสุข ความสนุกสนาน และความอ่ิมเอมใจกับผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับลูกศษิ ย์
จนกระท่ังเกดิ ขนึ้ เปน็ โรงเรยี นแหง่ การเรยี นรู้ (School as Learning Community: SLC) สามารถสรปุ บทบาท
ของผบู้ ริหารในชุมชนแห่งการเรียนรูท้ างวิชาชพี ได้ ดงั น้ี

1) ผู้นำทางวิชาการ ที่มีวิสัยทัศน์ทางวิชาการที่คมชัด รวมทั้งมีทิศทางที่ชัดเจนในการกำหนดแนวทาง
การดำเนินงานให้ตอบโจทย์ของชุมชนและนโยบายของรัฐ โดยไม่ได้ใช้เพียงอำนาจสั่งการ แต่จะต้องเป็นผู้ที่มี
ภาวะผู้นำแบบแบ่งปัน (shared leadership) สร้างให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันของบุคคลในทุก ๆ ระดับ
และตำแหน่ง อีกทัง้ ผู้บริหารโรงเรียนควรจะตอ้ งเคารพ ใหเ้ กียรติ ให้ความสำคัญ และรบั ฟังความเหน็ ของทุกฝ่าย
เพ่ือนำมาประมวลและลงขอ้ สรปุ อย่างมศี ลิ ปะเพอ่ื ใหเ้ กิดการทำงานรว่ มกนั ไดอ้ ย่างมคี ุณภาพ

22 | โครงการเพม่ิ ศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหมส่ ำหรบั การเรยี นรู้ศตวรรษที่ 21

2) ผู้นำในการกระตุ้นและอำนวยการจัดตั้ง Professional Learning Team (PLT) ให้สามารถเกิดขึ้น
ในโรงเรียนอย่างกว้างขวางและทั่วถึง พร้อมทั้งสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะทำให้การทำงานเป็นไป
อยา่ งราบร่ืนและตอ่ เนือ่ ง ตวั อย่างคำถามท่ผี บู้ ริหารจะตอ้ งสามารถตอบไดเ้ กี่ยวกับการดำเนินงานของ PLT เช่น

• ประเด็นปัญหาที่ครูในโรงเรียนกำลังเผชิญหน้าอยู่มีอะไรบ้าง และมีทิศทางในการแก้ไขปัญหา
ผา่ นกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวชิ าชีพไดอ้ ยา่ งไร

• ลักษณะการดำเนนิ งานของ PLT ในแต่ละกล่มุ สาระการเรียนรูเ้ ปน็ อยา่ งไร อาจแสดงโดยใชแ้ ผนภาพ
การดำเนนิ งานแบ่งตามกลมุ่ สาระการเรยี นรู้ และระดบั ช้ัน เพือ่ แสดงใหเ้ หน็ ภาพรวมของโรงเรียน

• แผนการดำเนินงานของแต่ละ PLT เป็นอย่างไร อาจแสดงโดยใช้กำหนดการการจัดกระบวนการ
ชุมชนแห่งการเรียนร้ทู างวชิ าชพี ของแต่ละ PLT โดยระบุวา่ แต่ละขั้นตอนจะเกิดข้ึนเมือ่ ใดบา้ ง

• ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามกำหนดการของแต่ละ PLT เป็นอย่างไร อาจแสดงโดยใช้แผนภาพ
แสดงความก้าวหน้า (PLT progress chart) ของแต่ละทีมวา่ ข้ันตอนใดมกี ารดำเนนิ การไปแล้วบา้ ง

• นวตั กรรมการศึกษาหรือแนวปฏิบัตทิ ดี่ ที ี่สดุ ของครูแต่ละคน หรอื ของแต่ละ PLT ทใ่ี ชใ้ นการแก้ไข
ปัญหาการเรยี นร้ขู องนกั เรยี นได้ประสบความสำเรจ็ เป็นอยา่ งไรบา้ ง

นอกจากนี้ ผู้บริหารยังควรส่งเสริมและสนับสนุน PLT ในการจัดกิจกรรมเพื่อสนบั สนนุ การจัดกระบวนการ
ชมุ ชนแหง่ การเรยี นรู้ทางวิชาชพี ดงั นี้

• จัดให้มีการประชุมวิชาการย่อยภายในโรงเรียนเป็นระยะ ๆ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กระบวนการแกไ้ ขปัญหาการเรยี นรูข้ องนกั เรียนรว่ มกนั

• ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการร่วมสังเกตชั้นเรียน (open class) เป็นครั้งคราว เพื่อเป็นการพัฒนาครู
ผ่านการสังเกตการณ์การจัดการเรียนรู้สอนของเพื่อนครูที่มีแนวทางการจัดการเรียนรู้และศิลปะ
การสอนทดี่ ี จนสามารถเปน็ แบบอย่างใหค้ รคู นอนื่ ๆ นำไปใชต้ ่อได้

โดยสรปุ แล้ว การบรหิ ารกระบวนการพัฒนานักเรียนผา่ นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชพี จะตอ้ งเกิดจาก
ผู้บริหารที่มีความเข้าใจถึงหลักการ ปรัชญาพื้นฐาน รวมถึงกระบวนการทำงานที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นลำดับแรก
จากนั้นผู้บริหารจะต้องใช้บทบาทของการบริหารของตนเองในการจัดการให้เกิดความร่วมมือร่วมใจจนกระท่ัง
ครูในโรงเรียนมีเป้าหมายร่วมกัน ไม่ใช่การใช้อำนาจสั่งการ แต่เป็นการเปิดเวทีให้เกิดการแสดงความคิดเห็น
เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่บุคคลท่ีมีสว่ นเก่ียวข้องจะรับผิดชอบร่วมกัน นอกจากน้ี ผู้บริหารโรงเรยี นจะต้องเป็นผู้ท่ีเข้าใจ
กระบวนการการทำงานของแตล่ ะ PLT ในโรงเรยี น เพอื่ กำหนดทศิ ทางการดำเนินงานของชมุ ชนแห่งการเรียนรู้
ทางวิชาชีพทั้งโรงเรียนให้เปน็ ไปในรูปแบบเดียวกัน รวมถึงสร้างทีมประเมินกลยุทธ์ ภารกิจ และความก้าวหนา้
ของการดำเนินงานตามเป้าหมายรวมของโรงเรียน ถ้าผู้บริหารสามารถดำเนินงานได้ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้
การขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นไปอย่างมีแบบแผนและมีเป้าหมายที่ชัดเจน ครูและบุคคล
ท่ีมสี ว่ นเกี่ยวขอ้ งไมจ่ ำเปน็ จะต้องรอคำส่ังรายวันจากผู้บรหิ าร ดว้ ยร้แู ละเข้าใจความรับผิดชอบของตนเองที่ได้รับ
มอบหมายเป็นอย่างดี ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการทำให้นักเรียนได้รับการเรียนรู้ที่ดีที่สุดจะเป็นความภาคภูมิใจ
ของครูและบุคคลท่ีมีสว่ นเก่ียวขอ้ งในการทำงานร่วมกนั อยา่ งมคี ณุ ภาพและเป็นกัลยาณมิตร

หนว่ ยที่ 4 PLC เพอื่ การพฒั นาการจดั การเรียนรูฐ้ านสมรรถนะ | 23

ขน้ั ตอนการจัดกระบวนการชมุ ชนแหง่ การเรียนรทู้ างวิชาชพี

การจดั กระบวนการชุมชนแหง่ การเรียนรทู้ างวิชาชพี ประกอบด้วย 3 ขน้ั ตอน ดังน้ี
1) ขน้ั ตอนการวางแผน (Plan) ประกอบด้วย

• การสรา้ งทีม
• การกำหนดปัญหา
• การออกแบบกจิ กรรมการเรียนรู้
• การสะทอ้ นกจิ กรรมการเรียนรกู้ ารนำไปใช้สอน
2) ขัน้ สังเกตขน้ั เรยี น (Do) ประกอบดว้ ย
• ครูผูส้ อนนำกจิ กรรมการเรยี นร้ทู ี่ผา่ นการสะทอ้ นส่กู ารจัดการเรยี นร้ใู นชัน้ เรียน
• สมาชกิ ในทมี รว่ มสังเกตชั้นเรยี น พรอ้ มบันทึกการจดั กิจกรรมการเรียนรขู้ อง
• ครผู สู้ อนตามประเดน็ ทีไ่ ด้ตกลงรว่ มกัน
3) ขั้นการสะท้อนผลการสงั เกตชน้ั เรยี น (See) ประกอบดว้ ย
• ครูผสู้ อนเป็นผสู้ ะท้อนการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ของตนเอง ทั้งในสิง่ ทท่ี ำไดด้ แี ละสิง่ ทต่ี ้องปรับปรุง

แก้ไข หรือพฒั นาใหด้ ขี ้นึ
• เพื่อนครูร่วมสะท้อนการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ของครูผู้สอน ทั้งในสิ่งท่ีทำได้ดีและสิ่งที่ต้องปรับปรุง

แก้ไข หรอื พฒั นาให้ดขี น้ึ
• ฝา่ ยบรหิ ารร่วมสะท้อนและสรุปส่ิงที่จะสนบั สนนุ หรอื เสรมิ แรงให้แก่ครูผสู้ อน
• ศึกษานิเทศก์หรือบุคคลภายนอกทีเ่ ข้าร่วมสังเกตชั้นเรียน (ถ้ามี) ร่วมสะท้อนปัจจัยท่ีช่วยส่งเสริม

ประสทิ ธิภาพในการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้

สมาชิกในชุมชนแห่งการเรยี นร้ทู างวชิ าชีพ

ในการจัดกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วยบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เรียกว่า
Professional Learning Team (PLT) ดังน้ี

1) model teacher คือ ครผู ้สู อน
2) buddy teacher คือ เพือ่ นครคู คู่ ดิ
3) administrator คือ ผู้บริหารหรือฝ่ายบริหารที่จะคอยช่วยสนับสนุน ทั้งในด้านวัสดุอุปกรณ์ วิธีการ
ตลอดจนเสริมแรงและใหข้ วญั กำลงั ใจ
4) mentor คือ ผู้มีความรู้ความสามารถที่จะเป็นพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิดจนครูผู้สอนสามารถปฏิบัติ
ในเรื่องหน่งึ ๆ ไดด้ ี โดยอาจเป็นครูในโรงเรียนท่ีมคี วามรูค้ วามสามารถ เชน่ หัวหนา้ กลุ่มสาระ หรือศกึ ษานิเทศก์
5) expert คือ ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำแก่ครูผู้สอนได้ โดยอาจเป็นศึกษานิเทศก์ อาจารย์
มหาวทิ ยาลัย ครหู รอื บคุ ลากรในโรงเรียน วทิ ยากรทอ้ งถน่ิ หรือปราชญช์ มุ ชนที่มีความเช่ยี วชาญในเรอ่ื งน้ัน ๆ

24 | โครงการเพ่ิมศักยภาพครใู ห้มสี มรรถนะของครูยุคใหมส่ ำหรับการเรยี นรู้ศตวรรษท่ี 21

** หมายเหตุ การจดั กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชพี ไม่จำเป็นจะต้องมีสมาชิกครบท้ังหมด
ที่กล่าวมาข้างต้น มีเพียง model teacher ที่เป็นครูผู้สอนจริงในห้องเรียน และ buddy teacher ที่เป็นเพื่อนครู
คู่คิดก็สามารถจัดกระบวนการให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน ทั้งนี้การมี administrator mentor และ expert ใน PLT
จะช่วยยืนยันถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูล แนวทางการแก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะที่สมาชิกได้สะท้อนคิด
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน รวมถึงสามารถกำหนดแนวทางเพื่อสนบั สนุนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ใหเ้ หมาะสม
และมีคุณภาพสูงสดุ สำหรบั นกั เรยี น

บทบาทหนา้ ทีข่ องมหาวทิ ยาลยั ราชภัฏในการดำเนินงาน
ร่วมกับโรงเรียนทเ่ี ขา้ ร่วมโครงการ

การขับเคลื่อนการจัดกระบวนการชุมชนแห่งการเรยี นรู้ทางวิชาชีพให้เกิดขึน้ อย่างเป็นรูปธรรมในโรงเรียน
รวมถึงการทำให้องค์ความรู้ที่ได้จากชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพถูกนำไปใช้พัฒนาบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
อย่างแท้จริง อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏถือเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญยิ่งในการดำเนินงาน สามารถสรุป
บทบาทหนา้ ทข่ี องมหาวทิ ยาลัยราชภฏั ได้ ดงั น้ี

1) สร้างความตระหนักให้กับผู้บริหารและคณะครูในโรงเรียนให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างชุมชน
แหง่ การเรียนรทู้ างวิชาชีพต่อคณุ ภาพของการพฒั นาการจดั การเรียนรู้

2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริหารได้นำกระบวนการนิเทศ กำกับติดตาม และประเมินผลการจัด
การเรียนรู้ของครู เพื่อสร้างให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนแห่งการเรียนรูท้ างวิชาชีพ โดยการมี
สว่ นร่วมของผ้บู รหิ ารสถานศึกษาและคณะครู

3) เปน็ หน่วยงานกลางในการเชอื่ มโยงองค์ความรู้ระหวา่ ง สสวท. กบั โรงเรียนในแต่ละท้องถิน่
ทั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเริ่มต้นกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
แต่ละแห่งอาจดำเนินการรว่ มกบั โรงเรยี นท่เี ขา้ ร่วมโครงการตามขน้ั ตอน ดงั ต่อไปน้ี
1) เข้าพบคณะผู้บริหารโรงเรยี นเพือ่ ชี้แจงวตั ถปุ ระสงคท์ ำความเข้าใจโครงการฯ
2) ประชมุ กับคณะคณุ ครู เพือ่ กำหนดปฏทิ ินการดำเนินการ PLC
3) ดำเนนิ การตามกระบวนการ PLC

ตวั อยา่ งแบบบันทกึ การจัดกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรูท้ างวิชาชีพ

เพ่อื ให้การจัดกระบวนการชุมชนแห่งการเรยี นร้ทู างวิชาชพี ระหวา่ งมหาวิทยาลัยราชภฏั และครูที่เข้าร่วม
การอบรมในโครงการเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 เป็นไป
ในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งมีรูปแบบที่แน่นอนและถูกต้องเหมาะสม มีการเก็บข้อมูลที่จำเป็นเพียงพอสำหรับ
การจัดกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในรูปแบบของการวิจัยปฏิบัติการ (action research)
ตวั อย่างแบบบันทกึ การจัดกระบวนการชมุ ชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชพี เปน็ ดงั น้ี

หน่วยที่ 4 PLC เพอื่ การพฒั นาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ | 25



[ตัวอย่าง]
แบบบันทึกจำนวนชัว่ โมง PLC
ประจำปกี ารศึกษา ...............................

ชอ่ื สกุล.......................................................................
ตำแหนง่ .......................................................................
โรงเรยี น.................. อำเภอ................... จังหวดั ........

สำนกั งานเขตพน้ื ท่ีการศึกษามธั ยมศึกษา.............

หน่วยท่ี 4 PLC เพือ่ การพัฒนาการจดั การเรยี นรู้ฐานสมรรถนะ | 27

คำนำ

28 | โครงการเพ่มิ ศกั ยภาพครใู หม้ สี มรรถนะของครยู คุ ใหม่สำหรบั การเรียนรศู้ ตวรรษท่ี 21

สารบัญ

หน่วยท่ี 4 PLC เพอ่ื การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ | 29

PLC 00

[ตวั อยา่ ง]
ปฏิทนิ การจดั กระบวนการชมุ ชนแห่งการเรยี นรทู้ างวิชาชพี

ชอ่ื ....................................................................................... ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ ..........................................
โรงเรยี น ................................................................................................................................................................

ท่ี วนั วนั ที่ คาบ เวลา กิจกรรม

1 พฤหัสบดี จัดต้งั ทีมชุมชนแห่งการเรียนรู้

2 ศกุ ร์ กำหนดปัญหาและหาแนวทางการแก้ปญั หา

3 พฤหสั บดี รว่ มออกแบบกจิ กรรมการเรยี นรวู้ งรอบที่ 1

4 ศกุ ร์ รว่ มออกแบบและสะท้อนสอ่ื /แบบฝกึ /ใบงาน วงรอบที่ 1

5 พฤหสั บดี ร่วมสะทอ้ นคิดกิจกรรมการเรยี นรู้ก่อนเปิดชั้นเรียนวงรอบท่ี 1

6 ศุกร์ รว่ มสะทอ้ นคิดหลังเปดิ ชนั้ เรียนวงรอบท่ี 1

7 พฤหัสบดี ร่วมออกแบบกจิ กรรมการเรยี นรวู้ งรอบท่ี 2

8 ศุกร์ ร่วมออกแบบและสะท้อนสอ่ื /แบบฝกึ /ใบงาน วงรอบท่ี 2

9 พฤหสั บดี ร่วมสะท้อนคดิ กิจกรรมการเรียนรกู้ ่อนเปดิ ชัน้ เรียนวงรอบที่ 2

10 ศกุ ร์ รว่ มสะท้อนคดิ หลังเปิดชนั้ เรยี นวงรอบที่ 2

11 พฤหสั บดี รว่ มออกแบบกจิ กรรมการเรยี นรู้วงรอบท่ี 3

12 ศุกร์ รว่ มออกแบบและสะท้อนสื่อ/แบบฝกึ /ใบงาน วงรอบท่ี 3

13 พฤหัสบดี รว่ มสะท้อนคิดกิจกรรมการเรยี นรูก้ ่อนเปดิ ช้ันเรียนวงรอบท่ี 3

14 ศุกร์ รว่ มสะท้อนคดิ หลงั เปิดชน้ั เรยี นวงรอบที่ 3

ลงชื่อ ................................................ ผบู้ ันทึก ลงช่ือ ................................................ ผรู้ บั รอง
(..............................................) (..............................................)
ครูเจา้ ของปฏทิ ิน ผูอ้ ำนวยการโรงเรียน..........

30 | โครงการเพิ่มศักยภาพครใู ห้มีสมรรถนะของครยู คุ ใหม่สำหรับการเรยี นรู้ศตวรรษท่ี 21

PLC 01
[ตวั อยา่ ง]
แบบบันทึกการสรา้ ง Professional Learning Team (PLT)

ช่อื ทีม .......................................................................... โรงเรยี น .........................................................................
อำเภอ .......................................... จังหวดั .......................................... วนั ทีจ่ ัดตั้งทีม .........................................
ช่ือครผู ู้สอน ...................................................................... กลมุ่ สาระการเรียนรู้ .................................................

ลำดบั ที่ ชือ่ – สกุล บทบาทในทีม ลายมอื ชื่อ

1 Model Teacher

2 (ตอ้ งมี Buddy Teacher อยา่ งนอ้ ย 1 คน) Buddy Teacher

3 Buddy Teacher

4 (ต้องมผี บู้ ริหาร/ตัวแทน เป็น Administrator อยา่ งน้อย 1 คน) Administrator

5 (ตอ้ งมอี าจารย์ มรภ. เปน็ Mentor/Expert อย่างน้อย 1 คน) Mentor/Expert

6 Mentor/Expert

* จำนวนสมาชกิ ใน PLT สามารถปรบั เปล่ยี นไดต้ ามบรบิ ทของโรงเรียน

สรปุ เวลา ...................... นาที/ชวั่ โมง

ความเหน็ /ข้อเสนอแนะ

...................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................

ลงชอ่ื ...................................................................
หวั หน้ากลุ่มสาระ................................................

...................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

ลงชือ่ ...................................................................
หัวหนา้ วชิ าการ/รองผู้อำนวยการฝา่ ยวิชาการ

...................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

ลงชอ่ื ...................................................................
ผู้อำนวยการโรงเรยี น...........................................

หนว่ ยที่ 4 PLC เพ่อื การพัฒนาการจดั การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ | 31

PLC 02
[ตวั อยา่ ง]
การกำหนดปญั หาและวิธกี ารแก้ปญั หา
ชื่อทีม .......................................................................... โรงเรยี น .........................................................................
อำเภอ ................................... จงั หวัด ................................... วันทป่ี ระชมุ กำหนดปญั หา ...................................
ชือ่ ครูผ้สู อน ...................................................................... กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ .................................................
รายชอื่ สมาชกิ ในทีมทร่ี ่วมกำหนดปัญหา จำนวน ...... คน ไดแ้ ก่

ลำดับท่ี ช่ือ – สกุล บทบาทในทมี ลายมอื ชอ่ื
1
2
3
4
5
6

1. ประเดน็ ปญั หาทีร่ ่วมกบั ทีมกำหนดให้นำสกู่ ารหาวิธีการแก้ไข

ประเดน็ ปญั หา สาเหตุ วิธีการแกป้ ญั หา

32 | โครงการเพิ่มศกั ยภาพครูให้มสี มรรถนะของครยู คุ ใหมส่ ำหรบั การเรียนร้ศู ตวรรษท่ี 21

2. วิธกี ารแกป้ ญั หาที่จะนำสู่การปฏบิ ตั ิไดจ้ ากการรว่ มคิดของทีม คอื
...................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

3. เป้าหมายทจ่ี ะพฒั นา (สง่ิ ทตี่ อ้ งการแกไ้ ขให้ดีข้ึน)
...................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

4. ตัวช้วี ดั ความสำเร็จ (จะรู้ไดอ้ ย่างไรว่าสำเร็จ)
...................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

5. กลุ่มเป้าหมายนกั เรียน
นกั เรยี นชน้ั .................................................................................. จำนวน ....................... คน
กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ ...............................................................................................................

6. วิธีการวัดผลประเมนิ ผล
...................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

สรปุ เวลา ...................... นาที/ชว่ั โมง

ลงชอื่ ................................................ ผู้บันทึก ลงชือ่ ................................................ ผรู้ ับรอง
(..............................................) (..............................................)
ครโู รงเรียน.......... ผอู้ ำนวยการโรงเรียน..........

หน่วยท่ี 4 PLC เพ่อื การพัฒนาการจดั การเรยี นรฐู้ านสมรรถนะ | 33

PLC 03

[ตัวอย่าง]
การสะท้อนแผนการจดั การเรยี นร้กู ่อนใชส้ อน วงรอบท่ี .......

ชอ่ื ทมี .......................................................................... โรงเรยี น .........................................................................
อำเภอ .......................................................................... จงั หวดั ..........................................................................
วนั ที่สะทอ้ นการจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้ก่อนเปดิ ช้ันเรยี น ................................... เวลา .................................... น.
นกั เรยี นชน้ั .......................................................................... จำนวนนกั เรยี น ............................................... คน
ชอ่ื ครูผู้สอน ........................................................... วิชา ................................................. รหสั ...........................
จำนวนผเู้ ขา้ รว่ มสะท้อนแผน จำนวน ...... คน ไดแ้ ก่

ลำดบั ท่ี ชือ่ – สกลุ บทบาทในทมี ลายมือชอ่ื
1
2
3
4
5
6

ประเดน็ นำสะทอ้ นกิจกรรมการเรยี นรู้ก่อนนำไปใช้สอน
1. องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
2. การออกแบบจดุ ประสงค์การเรียนรู้ท่ีสอดคลอ้ งกบั กจิ กรรมการเรยี นรู้
3. กจิ กรรมการเรยี นรทู้ ี่ครผู ้สู อนออกแบบมคี วามสอดคลอ้ งตามตัวชว้ี ดั
4. ช้นิ งาน/ภาระงาน /การวดั ประเมินผล สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
5. วธิ กี ารแก้ปญั หาทมี่ กี ารวางแผนสกู่ ารจัดกิจกรรมการเรยี นรู้มคี วามเหมาะสม

สรุปเวลา ...................... นาท/ี ช่ัวโมง

ลงชอ่ื ................................................ ผู้บนั ทึก ลงชอื่ ................................................ ผ้รู บั รอง
(..............................................) (..............................................)
ผอู้ ำนวยการโรงเรียน..........

34 | โครงการเพ่ิมศักยภาพครใู หม้ สี มรรถนะของครูยุคใหม่สำหรบั การเรียนรู้ศตวรรษท่ี 21

PLC 04(1)
[ตวั อย่าง]
การเปิดชนั้ เรียน – สงั เกตชน้ั เรียน วงรอบท่ี ..... (สำหรบั ครผู สู้ อนสะทอ้ นตวั เองหลังสอน)

ชอื่ ทีม .......................................................................... โรงเรยี น .........................................................................
อำเภอ .......................................................................... จงั หวัด ..........................................................................
วันที่เปดิ ชั้นเรียน ............................................................................................... เวลา .................................... น.
นกั เรยี นชน้ั .......................................................................... จำนวนนกั เรยี น ............................................... คน
ชอื่ ครผู ู้สอน ........................................................... วิชา ................................................. รหัส ...........................
จำนวนผู้เขา้ รว่ มการสังเกต จำนวน ...... คน ไดแ้ ก่

ลำดับที่ ชื่อ – สกุล บทบาทในทีม ลายมอื ชอื่
1
2
3
4
5
6

1. สิ่งทค่ี รูผูส้ อนทำไดด้ ี และควรรกั ษาไว้ใหม้ ตี ่อไป
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

2. ส่งิ ที่เปน็ ปัญหาและอุปสรรคทท่ี ำใหก้ ารจดั กจิ กรรมการเรยี นรูใ้ นครัง้ น้ีไมเ่ ป็นไปตามเป้าหมาย
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

หนว่ ยท่ี 4 PLC เพื่อการพฒั นาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ | 35

3. ส่งิ ทคี่ รูตอ้ งปรบั ใหด้ ขี ้นึ เพอื่ พฒั นาการเรยี นรู้ของนกั เรียนมีประเดน็ ใดบา้ ง และจะทำอย่างไร
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

4. นกั เรยี นบรรลวุ ตั ถปุ ระสงคก์ ารเรยี นรใู้ นครง้ั นจ้ี ำนวน กีค่ น
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

5. วิธกี ารแก้ปัญหาท่ีนำมาใชใ้ นการจดั กิจกรรมการเรียนรเู้ กิดผลอย่างไร
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

เวลาท่ใี ชใ้ นการในการเปดิ ช้นั เรียนท้ังหมด ...................... นาท/ี ช่วั โมง

ลงชอื่ ................................................ ผู้บนั ทึก ลงชอื่ ................................................ ผูร้ บั รอง
(..............................................) (..............................................)
ผ้อู ำนวยการโรงเรียน..........

36 | โครงการเพ่ิมศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครยู คุ ใหม่สำหรบั การเรยี นรศู้ ตวรรษท่ี 21

PLC 04(2)
[ตัวอย่าง]
การเปิดช้ันเรียน – สังเกตชน้ั เรียน วงรอบที่ ..... (สำหรบั ผสู้ อนสังเกตการสอน)

ชื่อทมี .......................................................................... โรงเรียน .........................................................................
อำเภอ .......................................................................... จังหวัด ..........................................................................
วันทีเ่ ปิดชน้ั เรยี น ............................................................................................... เวลา .................................... น.
นกั เรยี นชน้ั .......................................................................... จำนวนนกั เรยี น ............................................... คน
ช่อื ครผู ู้สอน ........................................................... วิชา ................................................. รหัส ...........................
จำนวนผู้เข้ารว่ มการสังเกต จำนวน ...... คน ไดแ้ ก่

ลำดบั ท่ี ช่ือ – สกลุ บทบาทในทีม ลายมือชอื่
1
2
3
4
5
6

ประเดน็ คำถามนำสู่การสงั เกตชัน้ เรยี น
1. สิ่งทีค่ รูผูส้ อนทำไดด้ ี และควรรกั ษาไวใ้ หม้ ีตอ่ ไป

.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

2. สงิ่ ทีเ่ ปน็ ปญั หาและอุปสรรคท่ีทำให้การจดั กิจกรรมการเรยี นรใู้ นครง้ั นไ้ี ม่เปน็ ไปตามเปา้ หมาย
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

หน่วยท่ี 4 PLC เพ่ือการพฒั นาการจดั การเรยี นรู้ฐานสมรรถนะ | 37

3. ส่งิ ทีค่ รูตอ้ งปรบั ใหด้ ขี น้ึ เพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนมีประเด็นใดบา้ ง และจะทำอย่างไร
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

4. นกั เรยี นบรรลวุ ตั ถปุ ระสงคก์ ารเรยี นรู้ในครง้ั นจ้ี ำนวนกค่ี น
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

5. วิธกี ารแกป้ ญั หาท่นี ำมาใชใ้ นการจดั กจิ กรรมการเรยี นรูเ้ กิดผลอยา่ งไร
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

เวลาทีใ่ ช้ในการในการเปิดชัน้ เรยี นทัง้ หมด ...................... นาท/ี ชั่วโมง

ลงช่ือ ................................................ ผูบ้ นั ทกึ ลงชอ่ื ................................................ ผ้รู ับรอง
(..............................................) (..............................................)
ผอู้ ำนวยการโรงเรยี น..........

38 | โครงการเพิ่มศกั ยภาพครใู ห้มสี มรรถนะของครยู ุคใหมส่ ำหรบั การเรียนรูศ้ ตวรรษท่ี 21

PLC 05

[ตวั อยา่ ง]
การสะทอ้ นคิดหลงั การสงั เกตชนั้ เรยี น วงรอบท่ี .....

ชือ่ ทีม .......................................................................... โรงเรียน .........................................................................
อำเภอ .......................................................................... จงั หวัด ..........................................................................
วันท่สี ะทอ้ นคดิ หลังการสงั เกตชนั้ เรียน ............................................................. เวลา .................................... น.
นกั เรยี นชน้ั .......................................................................... จำนวนนกั เรยี น ............................................... คน
ชอ่ื ครูผสู้ อน ........................................................... วชิ า ................................................. รหัส ...........................
ชอื่ ผู้นำการสะท้อนการเปดิ ชนั้ เรียน .....................................................................................................................
รายชือ่ ผูร้ ว่ มสะท้อนคิดหลังเปิดชนั้ เรยี น จำนวน ...... คน ได้แก่

ลำดับที่ ชอื่ – สกุล บทบาทในทีม ลายมอื ชื่อ
1
2
3
4
5
6

1. ส่งิ ท่คี รผู ู้สอนทำไดด้ ี และควรรักษาไว้ให้มตี อ่ ไป
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

2. ส่ิงทีเ่ ปน็ ปัญหาและอุปสรรคท่ที ำให้การจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ในครงั้ นไ้ี ม่เปน็ ไปตามเปา้ หมาย
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

หน่วยท่ี 4 PLC เพื่อการพฒั นาการจดั การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ | 39

3. สง่ิ ทคี่ รูตอ้ งปรบั ใหด้ ขี นึ้ เพอื่ พฒั นาการเรยี นรูข้ องนักเรยี นมีประเดน็ ใดบา้ ง และจะทำอยา่ งไร
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

4. นกั เรยี นบรรลวุ ตั ถปุ ระสงคก์ ารเรยี นรู้ในคร้ังนจี้ ำนวนกี่คน
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

5. วิธกี ารแกป้ ญั หาที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้เกดิ ผลอยา่ งไร
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................

เวลาท่ใี ชใ้ นการสะท้อนคิดหลงั เปดิ ชั้นเรียน ........... นาที/ชัว่ โมง

ลงชื่อ ................................................ ผบู้ นั ทกึ ลงชอ่ื ................................................ ผรู้ ับรอง
(..............................................) (..............................................)
ผอู้ ำนวยการโรงเรียน..........

40 | โครงการเพม่ิ ศักยภาพครใู ห้มีสมรรถนะของครูยคุ ใหมส่ ำหรบั การเรยี นร้ศู ตวรรษที่ 21

[ตัวอย่าง]
แบบรายงานการใชน้ วัตกรรมที่เกิดจากการเปดิ ชนั้ เรยี น จำนวน ..... วงรอบ
หนว่ ยการเรยี นรู้ ..................................................................................... จำนวน .................................... ชวั่ โมง
วชิ า ........................................................... รหสั .................................... กลมุ่ สาระการเรียนรู้ ...........................
ชน้ั .......................................................................... ช่ือครูผู้สอน .........................................................................
ช่ือนวัตกรรม .......................................................................................................................................................
1. ความเปน็ มาและความสำคัญของวิธีการแก้ปัญหา
2. วัตถปุ ระสงค์ของการดำเนนิ การ
3. กระบวนการในการดำเนินการ
4. ผลการดำเนินการ
5. ปจั จยั ความสำเร็จ
6. ผลทเี่ กดิ กับตวั ครมู ีประเด็นใดบ้าง
7. มีการเผยแพรน่ วัตกรรมทีเ่ กดิ ข้ึนอยา่ งไร (ภายในโรงเรียน/เครอื ขา่ ยต่างโรงเรยี น)

หน่วยที่ 4 PLC เพือ่ การพัฒนาการจัดการเรียนรฐู้ านสมรรถนะ | 41



เอกสารอ้างองิ
และเอกสารสำหรับสืบคน้ เพ่มิ เติม

PISA 2021 ICT Framework
ประเภท: รายงาน
ผู้แต่ง: OECD
ปีทแ่ี ตง่ : 2019
url: https://www.oecd.org/pisa/

sitedocument/PISA-2021-ICT-framework.pdf

ตัวช้วี ดั และสาระการเรยี นรู้แกนกลาง กลมุ่ สาระการเรยี นรู้
วิทยาศาสตร์ (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลกั สตู รแกนกลาง
การศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช 2551
ประเภท: หนงั สือ
ผแู้ ต่ง: สสวท.
ปที ี่แตง่ : 2560
url: https://drive.google.com/file/d/1_ALwE9xu

CL3Fjet3XI4gYjBj8p_1zLaA/view?usp=drivesdk
คูม่ ือการใชห้ ลักสตู ร กล่มุ สาระการเรยี นร้วู ทิ ยาศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)
ระดบั ประถมศกึ ษาและมธั ยมศกึ ษา
ประเภท: หนงั สอื
ผ้แู ต่ง: สสวท.
ปที ่แี ตง่ : 2018
url: https://www.scimath.org/ebook-

technology/item/8376-2560-2551
คมู่ ือการใช้หลักสตู ร กลุม่ สาระการเรียนรวู้ ิทยาศาสตร์
(ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ. 2560) สาระเทคโนโลยี (การออกแบบ
และเทคโนโลยี) ระดบั ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ประเภท: หนงั สอื
ผ้แู ต่ง: สสวท.
แกไ้ ขล่าสดุ : 26 กรกฎาคม 2563
url: https://www.scimath.org/ebook-

technology/item/8377-2560-2551-8377

เอกสารอ้างองิ และเอกสารสำหรับสบื ค้นเพมิ่ เติม | 43


Click to View FlipBook Version