The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by peepiipo, 2021-12-23 21:44:11

ยุทธศาสตร์การพัฒนาต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาตลาดยิ่งเจริญ

ต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลาดยิ่งเจริญ

















ณฤมล ธรรมวัฒนะ


















หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร


พ.ศ. 2564

คำนำ


ต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลาดยิ่งเจริญ ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์

เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาตลาดยิ่งเจริญ

สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การเติบโตของ
ตลาดสดดำเนินการไปด้วยความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้นแบบเรื่องความเป็นมิตรต่อ

สิ่งแวดล้อมให้ตลาดแห่งอื่นได้นำไปใช้ และเป็นแนวทางในการบริหารจัดการของตลาดเรื่อง
สิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ เนื้อหาในเอกสารฉบับนี้เป็นผลจากการศึกษาวิจัยแนวทางในการพฒนาตลาด

ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้านน้ำเสีย ด้านขยะ และด้านพลังงาน โดยแนวทางนี้ได้ผ่านการนำไป

ปฏิบัติ และได้มีการประเมินผลแล้วว่าสามารถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้จริง จึงเกิดมาเป็น
ต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลาดยิ่งเจริญ ฉบับนี้

ขอกราบขอบพระคุณ ท่านอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กิจรัตน์ภร ประธาน

คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ และอาจารย์
ดร.กิตติวรรณ สินธุนาวา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้ให้คำแนะนำ และให้แนวทางในการทำเอกสาร

ฉบับนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น คณาจารย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ในวิชาต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาที่ได้

ร่ำเรียน ดังนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ แสงเงิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุพงศ์ สามารถ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันตกุล อินทรผดุง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญณภัทร นิธิศวราภากุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุล ดร.สุพจน์ พันธนียะ และดร.เตชิต ตรีชัย
ขอกราบขอบพระคุณตลาดยิ่งเจริญ เจ้าหน้าที่ บุคลากรทั้งภาครัฐภาคเอกชน ผู้ใช้บริการ

ื้
ตลาดยิ่งเจริญ รวมถึงชุมชนรอบตลาดยิ่งเจริญ ที่ให้การสนับสนุน ให้ความร่วมมือ รวมถึงเอื้อเฟอ
สถานที่ทำการทดลองโครงการต่าง ๆ จนสำเร็จได้ด้วยดี ขอขอบคุณลูกหลานญาติมิตรที่สนับสนุนให้

ข้าพเจ้าได้สละเวลาการทำงานเพื่อมาศกษาเล่าเรียนต่อ
เอกสารฉบับนี้สำเร็จได้โดยการสนับสนุนจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร โพธิ์มณี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หัทญา เนตยารักษ์ และอาจารย์ ดร.พัฒนพงษ์ จันทร์ควง อาจารย์ที่ปรึกษา

ื่

ซึ่งได้ให้คำแนะนำ คำปรึกษาในการเขียนแผนยุทธศาสตร์ และตรวจแกไขข้อบกพร่องต่าง ๆ เพอให้
เอกสารฉบับนี้ถูกต้องและสมบูรณ์ ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง


ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะให้ประโยชน์แก่ผู้อานได้ทั้งทางตรงและทางออม

หากเอกสารฉบับนี้มีความบกพร่องแต่ประการใด ผู้เขียนขออภัยมา ณ ที่นี้ ขอมอบความดีงามนี้
ให้แก่ คุณแม่สุวพีร์ ธรรมวัฒนะ ผู้ก่อตั้งตลาดยิ่งเจริญ และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

มหาวิทยาลัยอันทรงคุณค่าแก่การเทิดทูน


ณฤมล ธรรมวัฒนะ
ตุลาคม 2564

สารบัญ

หน้า
บทนำ 1

ความเป็นมา 2

วัตถุประสงค์ 7

ยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสีย 8

กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างความร่วมมือ 9

กลยุทธ์ที่ 2 ฟื้นฟูคุณภาพน้ำในคลอง 10

กลยุทธ์ที่ 3 บำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ 11

ยุทธศาสตร์ด้านขยะ 12

กลยุทธ์ที่ 1 จัดให้มีถังขยะแยกประเภท 13

กลยุทธ์ที่ 2 นำเอาขยะกลับมาใช้ใหม่ 14

กลยุทธ์ที่ 3 สร้างจิตสำนึกในการลดใช้ถุงพลาสติก 15

ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน 16

กลยุทธ์ที่ 1 ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5 17


กลยุทธ์ที่ 2 ใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอดไส้ 18
กลยุทธ์ที่ 3 สร้างความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน 19


ภาคผนวก ก การดำเนินงานยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสีย 20
ภาคผนวก ข การดำเนินงานยุทธศาสตร์ด้านขยะ 28


ภาคผนวก ค การดำเนินงานยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน 35

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
1 ทิศทางความต้องการของลูกค้า และชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมของตลาดยิ่งเจริญ 3

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า
1 ต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “ตลาดยิ่งเจริญ” 7

2 ยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสีย 8

3 ยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสีย กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างความร่วมมือ 9

4 ยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสีย กลยุทธ์ที่ 2 ฟื้นฟูคุณภาพน้ำในคลอง 10

5 ยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสีย กลยุทธ์ที่ 3 บำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ 11

6 ยุทธศาสตร์ด้านขยะ 12

7 ยุทธศาสตร์ด้านขยะ กลยุทธ์ที่ 1 จัดให้มีถังขยะแยกประเภท 13

8 ยุทธศาสตร์ด้านขยะ กลยุทธ์ที่ 2 นำขยะกลับมาใช้ใหม่ 14

9 ยุทธศาสตร์ด้านขยะ กลยุทธ์ที่ 3 สร้างจิตสำนึกในการลดใช้ถุงพลาสติก 15

10 ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน 16

11 ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน กลยุทธ์ที่ 1 ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5 17

12 ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน กลยุทธ์ที่ 2 ใช้หลอดไฟ LED แทน

หลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอดไส้ 18


.
13 ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน กลยุทธ์ที่ 3 สร้างความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน 19
14 การตรวจสภาพน้ำก่อนเริ่มโครงการขุดลอกท้องคลอง 22


15 การดำเนินงานโครงการขุดลอกท้องคลอง 22
16 สภาพน้ำหลังดำเนินงานโครงการขุดลอกท้องคลอง 23


17 ขบวนการบำบัด ออกซิเดชันชีวภาพ (BCO) 24
18 ก่อนการดำเนินการติดตั้งระบบบำบัด ออกซิเดชันชีวภาพ (BCO) 24


19 การดำเนินการติดตั้งระบบบำบัด ออกซิเดชันชีวภาพ (BCO) 25
20 หลังการติดตั้งระบบบำบัด ออกซิเดชันชีวภาพ (BCO) 25



21 การจัดการทำแผนฟื้นฟูหรือป้องกันแกไขปัญหาน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ 27

สารบัญภาพ (ต่อ)

ภาพที่ หน้า
22 การดำเนินงานโครงการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ 27

23 หลังดำเนินงานโครงการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ 27

24 การดำเนินงานจัดตั้งถังขยะแยกประเภท ตามโครงการคัดแยกขยะ ณ

แหล่งกำเนิด 30

25 การดำเนินงานจัดทำที่ทิ้งขยะเปียก ตามโครงการคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด 30

26 หลังดำเนินงานโครงการคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด 30

27 การดำเนินงานโครงการขยะเพิ่มมูลค่า ขายเพื่อเป็นการสร้างรายได้ 32

28 การดำเนินงานกิจกรรมการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ตามโครงการขยะเพิ่มมูลค่า 32

29 หลังดำเนินงานโครงการขยะเพิ่มมูลค่า ทำน้ำหมักชีวภาพ 32

30 ป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การลดใช้ถุงพลาสติก 34

31 การเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากโฟม 34

32 จัดสถานที่สำหรับยืมและคืนถุงผ้า 34

33 ก่อนดำเนินงานโครงการฉลากเบอร์ 5 เพื่อการประหยัดพลังงาน 37


34 การดำเนินงานติดตั้งพัดลมที่มีฉลากเบอร์ 5 เพื่อการประหยัดพลังงาน 37
35 การดำเนินงานเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5 เพื่อ


การประหยัดพลังงาน 37
36 การดำเนินงานใช้หลอดไฟ LED ในโซนศูนย์อาหาร 39


37 การดำเนินงานใช้หลอดไฟ LED ในโซนตลาดผัก 39
38 การดำเนินงานใช้หลอดไฟ LED ในโซนของทะเล 39


39 การดำเนินงานติดป้ายประชาสัมพันธ์ให้ช่วยกันลดการใช้พลังงานไฟฟา 41

40 การดำเนินงานติดป้ายประชาสัมพันธ์ ติดตั้งมิเตอร์ในแต่ละแผงค้า 41


41 การดำเนินงานจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้า 41

1

บทนำ



สถานการณ์สิ่งแวดล้อมระดับโลก ยังคงให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ๆ เช่น การ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ป่าไม้ ทรัพยากรน้ำ ความหลากหลายทาง

ชีวภาพ แหล่งมรดกโลก ปัญหาหมอกควันข้ามแดน และการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่ออยู่อาศัยทำให้
สัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรลดลง เป็นต้น ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในเขตเมืองมีลักษณะ

ไม่สอดคล้องกับภูมิทัศน์เดิม เกิดการบดบัง ทำลาย หรือลดคุณค่าภูมิทัศน์ลง เช่น การติดตั้งป้าย

โฆษณาจำนวนมาก การติดตั้งสายไฟไม่เป็นระเบียบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบปัญหาขยะมูลฝอย
และปริมาณฝุ่นละอองเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้มีการดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจท้องถิ่น การวางผัง

และจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดเพื่อความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนอย่าง
ต่อเนื่อง

ตลาดสดเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย และนับได้ว่าเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดของเสีย
และมลพิษจำนวนมาก เช่น ขยะ น้ำเสีย กลิ่นเหม็น เสียงดัง ควันจากการประกอบอาหาร เป็นต้น

ตลาดที่ไม่มีระบบการควบคุมดูแล และกำจัดของเสียเหล่านี้ดีพอ จะทำให้เกิดผลกระทบด้าน

สิ่งแวดล้อม ประกอบกับตลาดสดส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในชุมชนจึงทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก
ตลาดมีจำนวนมาก ตลาดยิ่งเจริญ ซึ่งเป็นตลาดสดเอกชนขนาดใหญ่ สิ่งแวดล้อมของตลาดยิ่งเจริญมี

หลากหลาย สามารถแบ่งได้เป็น ระบบสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับน้ำ ขยะ และพลังงาน แม้ผู้บริหารตลาด
ยิ่งเจริญจะมีโครงการวิจัยสภาพสิ่งแวดล้อมของตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่การมีส่วนร่วมของ

ผู้ประกอบการในตลาดถือเป็นกลยุทธ์สำคัญกลยุทธ์หนึ่งในการจัดการตลาดให้เป็นมิตรกับ

สิ่งแวดล้อมของตลาดยิ่งเจริญ
ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น ผู้เขียนจึงศึกษาวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาต้นแบบตลาดที่

เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาตลาดยิ่งเจริญ และร่วมกับตลาดยิ่งเจริญเพื่อจัดทำโครงการ

ื่
ต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมตามผลของการวิจัยเพอเป็นการทดลองผลจากงานวิจัย และใช้วิธีการจัดเวที
ประชาคมกับผู้มีส่วนได้เสียกับตลาดยิ่งเจริญเพื่อเป็นการประเมินโครงการต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม

เพื่อนำข้อเสนอแนะที่ได้ไปปรับปรุงยุทธศาสตร์ จึงเกิดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาต้นแบบตลาดที่

เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาตลาดยิ่งเจริญ ฉบับนี้ และสามารถนำไปเป็นต้นแบบในการ
บริหารจัดการตลาดแห่งอื่น ๆ ได้

2

ความเป็นมา



ผู้เขียนได้สร้างต้นแบบยุทธศาสตร์ตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาตลาดยิ่งเจริญ
ฉบับนี้จากการศึกษาวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กรณีศึกษาตลาดยิ่งเจริญ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาลักษณะบริบท และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของตลาดยิ่งเจริญ

2. เพื่อศึกษาทิศทางความต้องการของลูกค้าและชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อมของตลาดยิ่งเจริญ

3. เพื่อเสนอแนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กรณีศึกษาตลาดยิ่งเจริญ

การวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา

ตลาดยิ่งเจริญ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยวิธีการผสมผสาน
(Mixed Methodologies) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และระหว่างการวิจัย

เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้เขียนได้แบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 5 ขั้นตอนตาม
วัตถุประสงค์ และกรอบขั้นตอนการวิจัย ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาบริบท และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของตลาดยิ่งเจริญ โดยดำเนินการ

สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารตลาดยิ่งเจริญ และพนักงานผู้มีส่วนได้เสียด้านสิ่งแวดล้อมของตลาด
ยิ่งเจริญ

ขั้นตอนที่ 2 เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จากผู้ค้าในตลาดยิ่งเจริญ และผู้บริโภคที่มาซื้อ
สินค้าที่ตลาดยิ่งเจริญ จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ทางสถิติ นำข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จาก

แบบสอบถามมาสร้างแบบสัมภาษณ์สำหรับการสนทนากลุ่มของผู้มีส่วนได้เสียกับตลาดยิ่งเจริญ

ขั้นตอนที่ 3 จัดการสนทนากลุ่ม กับตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียกับสิ่งแวดล้อมของตลาดยิ่งเจริญ
ได้แก่ ผู้ค้าในตลาดยิ่งเจริญ เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ส่งสินค้าในตลาดยิ่งเจริญ และชุมชนรอบตลาดยิ่งเจริญ

วิเคราะห์เนื้อหาความต้องการของลูกค้า ชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมของตลาดยิ่งเจริญ นำผลการ

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่ได้จากแบบสอบถาม และผลการจากจัดการสนทนากลุ่ม สร้างต้นแบบ
แนวทางยุทธศาสตร์ตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาตลาดยิ่งเจริญ

ขั้นตอนที่ 4 ทดลองแนวทางยุทธศาสตร์ตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาตลาด

ยิ่งเจริญ

3


ขั้นตอนที่ 5 การจัดเวทีประชาคม เพื่อประเมินและปรับปรุงแนวทางยุทธศาสตร์การพฒนา
ต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาตลาดยิ่งเจริญ แก้ไขตามข้อเสนอแนะ ได้
ยุทธศาสตร์การพัฒนาต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาตลาดยิ่งเจริญ

จากการวิเคราะห์ค่าสถิติ ที่ได้จากแบบสอบถามผู้ใช้บริการตลาดยิ่งเจริญ พบว่า ปัจจัยการ

บริหารจัดการ ด้านโครงสร้าง และด้านการบริหารจัดการ มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาต้นแบบ
ตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทุกด้าน ได้แก่ ด้านน้ำเสีย ด้านขยะ และด้านพลังงาน จากการ

วิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากจัดการสนทนากลุ่ม กับตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียด้านสิ่งแวดล้อมของตลาดยิ่ง
เจริญ โดยมีผู้ให้สัมภาษณ์ 4 กลุ่ม สรุปเป็นทิศทางความต้องการของลูกค้า และชุมชนด้าน

สิ่งแวดล้อมของตลาดยิ่งเจริญ ดังตารางที่ 1 ดังนี้


ตารางที่ 1 ทิศทางความต้องการของลูกค้า และชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมของตลาดยิ่งเจริญ


ทิศทางความ ลูกค้าของตลาดยิ่งเจริญ ผู้มีส่วนได้เสีย ของตลาดยิ่งเจริญ
ต้องการ


ปัจจัยการบริหารจัดการ
1. ด้านโครงสร้าง ตลาดมีการจัดทำป้ายร้าน ป้าย ป้ายร้าน ป้ายประเภทสินค้า เพื่อที่จะ

พื้นฐาน ประเภทสินค้า และป้ายต่าง ๆ ดึงดูดลูกค้า มีการติดตามควบคุม

ในแต่ละโซน
2. ด้านการ ตลาดมีการปลูกจิตสำนึกในการ การจัดเก็บขยะมูลฝอยอย่างทั่วถึงทุก

บริหารจัดการ รักษาความสะอาด การรักษา พื้นที่ภายในบริเวณตลาด

สิ่งแวดล้อมของตลาด

4

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ทิศทางความ

ต้องการ ลูกค้าของตลาดยิ่งเจริญ ผู้มีส่วนได้เสีย ของตลาดยิ่งเจริญ

การพัฒนาต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม



1. ด้านน้ำเสีย • เข้าร่วมประชุมสรุปผลการ • มีการป้องกัน แกไขปัญหาน้ำเสีย
ดำเนินงานของตลาด เพื่อ ภายในตลาดยิ่งเจริญ โดยการบำบัดน้ำ

ป้องกันหรือแก้ไขปัญหาน้ำเสีย เสียในตลาด

ภายในตลาด • รณรงค์ให้ใช้จุลินทรีย์ ในการล้างแผง
• ตลาดยิ่งเจริญมีนโยบายในการ ที่เป็นอาหารสดมากกว่าการใช้

จ่ายค่าบำบัดน้ำเสีย ภายใน ผงซักฟอก

ตลาดซึ่งจ่ายตามปริมาณการใช้ • ขอความร่วมมอกับร้านค้า ในการดูแล
น้ำจริงภายในแผงของผู้ค้า ขยะ คือ หน้าร้าน ภายในร้านของผู้ค้า

• น้ำเสีย ส่วนใหญ่มาจากชุมชน ดังนั้น
จึงขอความร่วมมือจากชุมชนในการ

รักษาสิ่งแวดล้อม และความสะอาด
• การให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างระบบ

บำบัดน้ำเสียที่ใช้ภายในตลาดยิ่งเจริญ

2. ด้านขยะ • การลดปริมาณขยะสามารถทำได้ • การลดจำนวนขยะของตลาดยิ่งเจริญมี
โดยการคัดแยกขยะ พนักงานมาเก็บขยะ มีถังขยะอยู่
• การนำเอาขยะกลับมาใช้ใหม่ • ขยะประเภทรีไซเคิล ขวดแก้ว พลาสติก

(Recycle) สามารถช่วยลดปัญหา ควรมีระบบการคัดแยกขยะเพื่อนำไปขาย
ขยะลงได้ สร้างรายได้ให้กับผู้ค้า สร้างจิตสำนึกให้ผู้ค้า
• เมื่อเลิกแผง ผู้ค้าทำการเก็บกวาด • ควรมีการส่งเสริม และการให้ความรู้ด้าน
ขยะ และทิ้งขยะให้ถูกประเภท สุขาภิบาล และสิ่งแวดล้อมแก่ร้านค้าอย่าง

ถูกต้องตามหลักวิชาการ
• มีการสร้างกฎ ระเบียบ สร้างจิตสำนึกใน
การแยกขยะ ควรมีป้ายประชาสัมพันธ์

5

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ทิศทางความ ลูกค้าของตลาดยิ่งเจริญ ผู้มีส่วนได้เสีย ของตลาดยิ่งเจริญ
ต้องการ

3. ด้านพลังงาน • เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5 เป็น • การใชเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน • มีการใช้หลอดประหยัดไฟ LED

• การใช้พลังงานไฟฟ้าปริมาณมาก • มีการถอดปลั๊กไฟฟ้า มีการปิด
ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งที่ไม่มีคนอยู่
• ผู้มาใช้บริการถอดปลั๊กไฟในส่วนที่ • ควรมีการรณรงค์ การให้ความรู้แก่ผู้ค้า มี
ไม่ได้ใช้งาน การติดตั้งมิเตอร์ ในแต่ละแผงค้า การ

• ผู้มาใช้บริการปิดเครื่องใช้ที่เป็น ประหยัดไฟ
อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งเมื่อไม่มีคนอยู่


จากตารางที่ 1 ทิศทางความต้องการของลูกค้า และชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมของตลาดยิ่ง

เจริญ แสดงให้เห็นว่าลูกค้า และชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมของตลาดยิ่งเจริญ มีความต้องการให้ตลาดยิ่ง
เจริญพัฒนาเป็นต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยที่ลูกค้าให้ความสำคัญกับด้านน้ำเสีย

ด้านขยะ และด้านพลังงาน ตามลำดับ ผู้เขียนได้สรุปประเด็นสำคัญของแต่ละด้านได้ดังนี้
1. ด้านน้ำเสีย มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การร่วมประชุมกับชุมชน ร้านค้า เพื่อป้องกันหรือ

แก้ไขปัญหาน้ำเสียภายในตลาด 2) การสร้างระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้ภายในตลาดยิ่งเจริญ และ 3)

การรณรงค์ให้ใช้จุลินทรีย์ ในการล้างแผงที่เป็นอาหารสด และการใช้น้ำที่ได้จากการบำบัด
2. ด้านขยะ ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การจัดระบบการคัดแยกขยะ การเก็บกวาดขยะ ทิ้ง

ขยะให้ถูกประเภท 2) การนำเอาขยะกลับมาใช้ใหม่ และ 3) การส่งเสริมให้ความรู้ สร้างจิตสำนึก

ประชาสัมพันธ์ ให้เกิดการลดจำนวนขยะ
3. ด้านพลังงาน ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5 2) การใช้

หลอดประหยัดไฟ LED และ 3) การรณรงค์ การให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการประหยัดไฟ


ผู้เขียนได้นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลนี้สร้างต้นแบบแนวทางยุทธศาสตร์ตลาดที่เป็นมิตรต่อ

สิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาตลาดยิ่งเจริญ ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสีย
2) ยุทธศาสตร์ด้านขยะ และ 3) ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน ทั้ง 3 ยุทธศาสตร์มีความสำคัญเท่ากัน

สามารถดำเนินการได้พร้อมกัน หรือเลือกดำเนินการยุทธ์ศาสตร์ใดก่อนก็ได้ โดยมีเป้าประสงค์

6

เพื่อให้การเติบโต การขยายตัวของตลาดยิ่งเจริญเป็นไปอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และได้นำ

แนวคิดทฤษฎีการจัดการเชิงระบบที่ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process)
และปัจจัยนำออก (Output) มาใช้ในการทดลองต้นแบบยุทธศาสตร์ตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในพื้นที่บริเวณตลาดยิ่งเจริญ โดยดำเนินการในรูปแบบโครงการต่าง ๆ และจัดเวทีประชาคม มี

ผู้เข้าร่วมเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับตลาดยิ่งเจริญ ได้แก่ ผู้บริหารตลาดยิ่งเจริญ ผู้ค้าในตลาดยิ่งเจริญ
เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ส่งสินค้าในตลาดยิ่งเจริญ ชุมชนรอบตลาดยิ่งเจริญ และนักวิชาการ เพื่อประเมิน

ปรับปรุงยุทธศาสตร์ ได้ยุทธศาสตร์การพัฒนาต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา
ตลาดยิ่งเจริญ

จากการจัดเวทีประชาคมผู้เขียนได้ปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนาต้นแบบตลาดที่เป็นมิตร

ต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาตลาดยิ่งเจริญ แก้ไขตามข้อเสนอแนะ ได้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา

ต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาตลาดยิ่งเจริญ ดังภาพที่ 1 ยุทธศาสตร์การพฒนา
ต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาตลาดยิ่งเจริญ

7
























ภาพที่ 1 ต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “ตลาดยิ่งเจริญ”



จากภาพที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา
ตลาดยิ่งเจริญ ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสีย 2) ยุทธศาสตร์ด้านขยะ

และ 3) ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน ทั้ง 3 ยุทธศาสตร์มีความสำคัญเท่ากัน สามารถดำเนินการได้พร้อม

กัน หรือเลือกดำเนินการยุทธ์ศาสตร์ใดก่อนก็ได้ โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้การเติบโต การขยายตัว
ื่
ื้
ของตลาดยิ่งเจริญเป็นไปอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อเป็นต้นแบบให้ตลาดสดในพนที่อนได้
นำไปปรับใช้ให้เป็นตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้การเติบโตของตลาดสดดำเนินการไปด้วยความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อเป็นต้นแบบตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และได้ถูกนำไปใช้ในการบริหารจัดการ

ตลาดแห่งอื่น ๆ
3. เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการของตลาดสดในเรื่องสิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ

8

ยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสีย

























กลยุทธ์ เสริมสร้างความร่วมมอ ฟื้นฟูคุณภาพน้ำใน บำบัดน้ำเสีย

ขุดลอกท้องคลอง คลอง เพื่อนำกลับมาใช้



ผู้มีส่วนได้เสีย (Stake Holders) กับตลาดยิ่งเจริญ


ภาพที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสีย



จากภาพที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสียเป็นกระบวนการ วิธีการ ที่นำไปสู่ความเป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อมในด้านน้ำเสียของตลาดยิ่งเจริญ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) เสริมสร้างความ

ร่วมมือ 2) ฟื้นฟูคุณภาพน้ำในคลอง และ 3) บำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ โดยมีเป้าประสงค์ คือ

คืนคลองสวย น้ำใส ไร้มลพิษ

9

กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างความร่วมมือ






ร่วมมือในการพัฒนาลำ
คลองให้ใสสะอาด

ระหว่างตลาดยิ่งเจริญ

หน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชน และชุมชน

เสริมสร้างความร่วมมอ รอบตลาดยิ่งเจริญ

ขุดลอกท้องคลอง





ภาพที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสีย กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างความร่วมมือ


วัตถุประสงค์ เพื่อร่วมมือในการพัฒนาลำคลองให้ใสสะอาด ระหว่างตลาดยิ่งเจริญ

หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนรอบตลาดยิ่งเจริญ
แนวทางการปฏิบัติ คลองลำผักชี มีระยะทางรวมประมาณ 3 กิโลเมตร แหล่งกำเนิดน้ำ

เสียในคลองลำผักชี เกิดมาจากชุมชนริมคลอง บ้าน คอนโด รวมถึงร้านค้าต่าง ๆ บริเวณริมคลอง

การจะคืนความสะอาดให้กับคลองลำผักชีนั้น ตลาดยิ่งเจริญจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือจาก
หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนโดยรอบตลาดยิ่งเจริญ ระดมความคิดและวางแผนในการ

ขุดลอกท้องคลองร่วมกับกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพอากาศ กรุงเทพมหานคร และศูนย์

อํานวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ในการหาแนวทางการขุดลอกท้องคลอง ขอความร่วมมือจาก
ภาคเอกชนในเรื่องเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ในการขุดลอกท้องคลอง รวมถึงขอความร่วมมือกับชุมชน

ริมคลองลำผักชีในการรักษาความสะอาดและไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในลำคลอง

10

กลยุทธ์ที่ 2 ฟื้นฟูคุณภาพน้ำในคลอง







เพื่อการปรับปรุง แก้ไข

ปัญหาน้ำเน่าในคลองลำ


ผักชี อย่างบูรณาการ


ฟื้นฟูคุณภาพน้ำในคลอง





ภาพที่ 4 ยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสีย กลยุทธ์ที่ 2 ฟื้นฟูคุณภาพน้ำในคลอง



วัตถุประสงค์ เพื่อการปรับปรุง แก้ไขปัญหาน้ำเน่าในคลองลำผักชี อย่างบูรณาการ
แนวทางการปฏิบัติ ตลาดยิ่งเจริญ มีคลองลำผักชีผ่านระยะทางรวม 180 เมตร ตลาด

ยิ่งเจริญได้ดำเนินการโครงการที่มีชื่อว่า คิดจากคลอง ตลาดได้ศึกษาวิธีการบำบัด เรียกว่า
ออกซิเดชันชีวภาพ (Biological Contact Oxidation : BCO) เพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียในคลองลำผักชี

ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณะสุข เช่น แมลงวัน ยุงลาย ไข้เลือดออก กลิ่นเหม็นรบกวน และเชื้อโรค

สะสม เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมจากทางภาครัฐ ในการดำเนินการติดตั้งระบบบำบัด
แบบ ออกซิเดชันชีวภาพ ตลาดยิ่งเจริญต้องขออนุญาตจากทางภาครัฐ และสร้างความเข้าใจกับ

ชุมชนรอบตลาดยิ่งเจริญ เนื่องจากคลองลำผักชีเป็นพื้นที่สาธารณะ

11

กลยุทธ์ที่ 3 บำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้







เพื่อเป็นการบำบัดน้ำ

เสียภายในตลาดยิ่งเจริญ

สามารถนำกลับมาใช้
ประโยชน์ได้

บำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้







ภาพที่ 5 ยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสีย กลยุทธ์ที่ 3 บำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้


วัตถุประสงค์ เพื่อบำบัดน้ำเสียภายในตลาดยิ่งเจริญสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้

แนวทางการปฏิบัติ ตลาดยิ่งเจริญ และร้านค้าในตลาดยิ่งเจริญจำเป็นต้องใช้น้ำประปาใน
การอุปโภคและบริโภค น้ำประปาที่ผ่านการใช้แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำเสีย เพื่อการลดปริมาณการ


ใช้น้ำประปาในตลาด จึงมีโครงการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ ตลาดยิ่งเจริญจัดการทำแผนฟื้นฟหรือ
ป้องกันบำบัดน้ำเสีย ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์แก่ผู้ค้าในตลาดรวมถึงผู้ค้า
ได้ใช้ประโยชน์จากน้ำที่ได้ผ่านการบำบัดแล้ว

12

ยุทธศาสตร์ด้านขยะ



























กลยุทธ์ จัดให้มีถังขยะ นำขยะกลับมาใช้ใหม่ สร้างจิตสำนึก

แยกประเภท ในการลดใช้ถุงพลาสติก




ผู้มีส่วนได้เสีย (Stake Holders) กับตลาดยิ่งเจริญ



ภาพที่ 6 ยุทธศาสตร์ด้านขยะ



จากภาพที่ 6 ยุทธศาสตร์ด้านขยะเป็นกระบวนการ วิธีการ ที่นำไปสู่ความเป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม ในด้านขยะของตลาดยิ่งเจริญ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) จัดให้มีถังขยะแยก

ประเภท 2) นำเอาขยะกลับมาใช้ใหม่ และ 3) สร้างจิตสำนึกในการลดใช้ถุงพลาสติก โดยมี
เป้าประสงค์ คือ คัดแยกขยะตั้งแต่แหล่งกำเนิด ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

13

กลยุทธ์ที่ 1 จัดให้มีถังขยะแยกประเภท






เพื่อคัดแยกขยะเบื้องต้น
เพื่อง่ายต่อการจัดการ

ขยะแต่ละประเภท และ

การดำเนินการกำจัด
จัดให้มีถังขยะ ขยะในลำดับถัดไป

แยกประเภท





ภาพที่ 7 ยุทธศาสตร์ด้านขยะ กลยุทธ์ที่ 1 จัดให้มีถังขยะแยกประเภท



วัตถุประสงค์ เพื่อคัดแยกขยะเบื้องต้น เพื่อง่ายต่อการจัดการขยะแต่ละประเภท และการ
ดำเนินการกำจัดขยะในลำดับถัดไป

แนวทางการปฏิบัติ ตลาดยิ่งเจริญมีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก การจัดการด้านขยะของ
ตลาด คือ การจัดให้มีถังขยะตามจุดทั่วตลาดยิ่งเจริญ มีจุดทิ้งขยะสำหรับผู้ค้าแยกจากลูกค้าที่มาซื้อ

สินค้า เนื่องจากขยะจากผู้ค้าจะเป็นคนละประเภทกับขยะจากลูกค้า หากมีการจัดการขยะที่ได้

ประสิทธิภาพเริ่มตั้งแต่การคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด จะสามารถลดงานของพนักงานในตลาดได้
ขยะที่ถูกแยกประเภทแล้วจะง่ายต่อการดำเนินการกำจัดขยะในลำดับถัดไป ตลาดยิ่งเจริญได้

ดำเนินการโครงการคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ จัดให้มีถังขยะแต่

ละประเภทอย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ในตลาดยิ่งเจริญ จัดให้มีจุดทิ้งขยะสำหรับผู้ค้าในตลาดยิ่งเจริญ
แยกจากจุดทิ้งขยะของลูกค้าที่มาซื้อสินค้าที่ตลาดยิ่งเจริญ แบ่งออกเป็นจุดทิ้งขยะเปียกและขยะแห้ง

14

กลยุทธ์ที่ 2 นำขยะกลับมาใช้ใหม่




เพื่อสร้างมูลค่าจากขยะ

เป็นการลดปริมาณขยะ
ลดปัญหาที่เกิดจาก

ปริมาณขยะ

ลดค่าใช้จ่ายในการ
กำจัดขยะ

นำขยะกลับมาใช้ใหม ่





ภาพที่ 8 ยุทธศาสตร์ด้านขยะ กลยุทธ์ที่ 2 นำขยะกลับมาใช้ใหม่



วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างมูลค่าจากขยะ เป็นการลดปริมาณขยะ ลดปัญหาที่เกิดจาก
ปริมาณขยะ ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ

แนวทางการปฏิบัติ แนวทางการปฏิบัติ ตลาดยิ่งเจริญแบ่งขยะออกเป็น 2 ส่วน คือ
ขยะอินทรีย์และขยะทั่วไป การดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะจำนวนมากของตลาดยิ่งเจริญ นอกจาก

การคัดแยกขยะแล้ว ยังต้องให้ความรู้กับพนักงาน ผู้ค้า ในการจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับขยะโดย

มีกิจกรรมการนำเศษขยะมาใช้ประโยชน์ กิจกรรมการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ กิจกรรมแยกขยะ
ประเภทนำไปแปรรูปใหม่ได้ เช่น ขวดแก้ว พลาสติก โลหะ สามารถนำไปขายเพื่อเป็นการสร้าง

รายได้ ตลาดยิ่งเจริญได้จัดโครงการ ขยะเพิ่มมูลค่า โดยที่ทางตลาดได้นำขยะอินทรีย์ไปทำน้ำหมัก

ื่
ชีวภาพ เพื่อใช้ในตลาดยิ่งเจริญ และขยะทั่วไปบางชนิดนำกลับมาใช้ใหม่ บางชนิดนำไปแปรรูปเพอ
เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ค้า พนักงาน

15

กลยุทธ์ที่ 3 สร้างจิตสำนึกในการลดใช้ถุงพลาสติก




เพื่อเป็นการสร้าง

พฤติกรรมระยะยาวใน
การลดการใช้

ถุงพลาสติก กล่องโฟม

หรือวัสดุที่ย่อยสลายยาก
ให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

สร้างจิตสำนึก ของตลาดยิ่งเจริญ

ในการลดใช้ถุงพลาสติก



ภาพที่ 9 ยุทธศาสตร์ด้านขยะ กลยุทธ์ที่ 3 สร้างจิตสำนึกในการลดใช้ถุงพลาสติก



วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างพฤติกรรมระยะยาวในการลดการใช้ถุงพลาสติก กล่องโฟม
หรือวัสดุที่ย่อยสลายยากให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตลาดยิ่งเจริญ

แนวทางการปฏิบัติ ข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่าคนไทย
ใช้ถุงพลาสติกมากถึง 45,000 ล้านใบต่อปี หรือเฉลี่ยคนละ 8 ใบต่อวัน ซึ่งถุงพลาสติกเหล่านี้มีที่มา

จาก 3 แหล่งหลัก โดยสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึงร้อยละ 40 มาจากตลาดสดเทศบาลและภาคเอกชน

ร้อยละ 30 มาจากร้านขายของชำ ร้อยละ 30 มาจากห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ (ธนาคาร
แห่งประเทศไทย. 2563: ออนไลน์) ตลาดยิ่งเจริญจึงสนับสนุนให้ลูกค้าใช้ตะกร้า ถุงผ้า หรือภาชนะ

อื่น ๆ มากกว่าใช้ถุงพลาสติก โดยทำป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การลดใช้ถุงพลาสติกจัดสถานที่

สำหรับยืม และคืนถุงผ้า จัดทำถุงรักษ์โลกเพื่อแจกให้กับลูกค้าที่มาซื้อสินค้าที่ตลาดยิ่งเจริญ และ
ผู้ค้าใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติแทนการใช้กล่องโฟม โดยจัดโครงการถุงผ้านำสมัย จับจ่ายสุดคุ้มมา

ตลาดยิ่งเจริญ


อ้างอิง : ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). ถึงเวลางดใช้ถุงพลาสติกอย่างจริงจัง. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก :
https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256301GoGreen.aspx. วันที่สืบค้น 2564, สิงหาคม 2.

16

ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน


























กลยุทธ์ ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มี ใช้หลอดไฟ LED แทนหลอด สร้างความรู้เกี่ยวกับ

ฉลากเบอร์ 5 ฟลูออเรสเซนต์หลอดไส้ การประหยัดพลังงาน




ผู้มีส่วนได้เสีย (Stake Holders) กับตลาดยิ่งเจริญ


ภาพที่ 10 ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน



จากภาพที่ 10 ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน เป็นกระบวนการ วิธีการ ที่นำไปสู่ความเป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อมในด้านพลังงานของตลาดยิ่งเจริญ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ 1) ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มี

ฉลากเบอร์ 5 2) ใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอดไส้ และ 3) สร้างความรู้

เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน โดยมีเป้าประสงค์ คือ ลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น

17

กลยุทธ์ที่ 1 ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5







เพื่อลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า

ที่มาจากเครื่องใช้ไฟฟ้า

ที่ไม่ประหยัดไฟ


ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มี

ฉลากเบอร์ 5





ภาพที่ 11 ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน กลยุทธ์ที่ 1 ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5


วัตถุประสงค์ เพื่อลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่มาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ประหยัดไฟ

แนวทางการปฏิบัติ ตลาดยิ่งเจริญเป็นตลาดสดเอกชนขนาดใหญ่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าใน
ตลาดยิ่งเจริญจะเกิดขึ้นจาก 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นส่วนของตลาดยิ่งเจริญ ในเรื่องโครงสร้าง

พื้นฐาน การให้แสงสว่าง การระบายอากาศ และส่วนของผู้ค้า เครื่องใช้ไฟฟ้าพื้นฐานของตลาด

ยิ่งเจริญบางอย่างยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนเพื่อให้มีการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ส่งผลให้ตลาดยิ่งเจริญมี
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่สูง ตลาดยิ่งเจริญ จึงจัดโครงการฉลากเบอร์ 5 เพื่อการประหยัดพลังงาน เริ่ม


จากการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เก่า และไม่มีฉลากเบอร์ 5 เปรียบเทียบคุณสมบัติของเครื่องใช้ไฟฟา

ฉลากเบอร์ 5 ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ดำเนินการเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่า ติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟาที่
มีฉลากเบอร์ 5 ทดแทน ประกอบด้วย พัดลมในตลาด เครื่องปรับอากาศ เครื่องระบายความร้อน

และติดตามบำรุงรักษา ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ

18

กลยุทธ์ที่ 2 ใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอดไส้







เพื่อให้ได้แสงสว่างที่

เพียงพอต่อการเลือกซื้อ

สินค้า และเป็นการ

ประหยัดพลังงานไฟฟา
ใช้หลอดไฟ LED

แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอดไส้



ภาพที่ 12 ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน กลยุทธ์ที่ 2 ใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ และ

หลอดไส้

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้แสงสว่างที่เพียงพอต่อการเลือกซื้อสินค้า และเป็นการประหยัด
พลังงานไฟฟ้า

แนวทางการปฏิบัติ แสงความสว่างที่เพียงพอมีความจำเป็นต่อการซื้อขายสินค้าในตลาด
ยิ่งเจริญ เพื่อให้ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าได้เห็นสินค้า ธนบัตร และการชั่ง ตวง วัดที่ชัดเจน ลดความ

ผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการที่แสงสว่างไม่เพียงพอ ตลาดยิ่งเจริญจึงติดตั้งหลอดไฟเพื่อให้ความ

สว่างอย่างทั่วถึง ด้วยที่ตลาดยิ่งเจริญเป็นตลาดขนาดใหญ่ทำให้มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่สูง ปัจจุบัน
ตลาดยิ่งเจริญมีการใช้หลอดไฟ 2 ประเภท คือ หลอดไส้และหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งหลอดทั้ง


2 ชนิดนี้มีอัตราการกินไฟสูงแต่ประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างต่ำ เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟาและ
ได้แสงสว่างที่เพียงพอ ตลาดยิ่งเจริญจึงทำโครงการใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์และ
หลอดไส้ เริ่มจากสำรวจชนิดของหลอดไฟในตลาดยิ่งเจริญ สำรวจพื้นที่ความต้องการของระดับแสง

สว่าง เพื่อเลือกใช้กำลัง 9 วัตต์ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ ดำเนินการเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดไส้เป็น

หลอด LED ติดตามผล สำรวจพื้นที่อื่นของตลาด เพื่อขยายพื้นที่ในการเปลี่ยนเป็นหลอด LED ให้
ครอบคลุมทั่วทั้งตลาดยิ่งเจริญ

19

กลยุทธ์ที่ 3 สร้างความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน




เพื่อความร่วมมอเป็น

ส่วนหนึ่งที่ช่วยในการ
ประหยัดพลังงานไฟฟา

เกิดเป็นพฤติกรรมใน

ระยะยาวในการอนุรักษ ์
พลังงานของผู้ค้า

สร้างความรู้เกี่ยวกับการ พนักงาน และผู้บริหาร

ประหยัดพลังงาน





ภาพที่ 13 ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน กลยุทธ์ที่ 3 สร้างความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน


วัตถุประสงค์ เพื่อความร่วมมือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า เกิดเป็น

พฤติกรรมในระยะยาวในการอนุรักษ์พลังงานของผู้ค้า พนักงาน และผู้บริหาร
แนวทางการปฏิบัติ การมีพฤติกรรมในการประหยัดพลังงานเป็นต้นทุนที่น้อยที่สุดในการ

อนุรักษ์พลังงาน การจะมีพฤติกรรมการประหยัดพลังงานได้นั้น ต้องได้รับการส่งเสริมความรู้จากสื่อ

ต่าง ๆ จนเกิดพฤติกรรมตามความรู้ ตลาดยิ่งเจริญได้จัดโครงการส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์
พลังงาน โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน ดำเนินการติดป้ายประชาสัมพันธ์ตามจุด

ต่าง ๆ ในตลาด โดยเฉพาะจุดสำคัญที่ต้องการให้ช่วยกันปฏิบัติตาม เช่น เครื่องปรับอากาศ สวิตช์ไฟ

เป็นต้น จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้า แนะนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดไฟ
อุปกรณ์เสริมที่ใช้กับไฟฟ้าที่มีมาตรฐานและประหยัดไฟ รวมทั้งจัดให้มีการติดตั้งมิเตอร์ในแต่ละแผงค้า

เพื่อให้ผู้ค้าได้ทราบปริมาณการใช้ไฟฟ้าของแผงตนเอง สามารถควบคุมหรือปรับการใช้งาน เพื่อลด

ค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟฟ้า และยังเป็นการสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานของผู้ค้า พนักงาน
และผู้บริหาร จนเกิดเป็นพฤติกรรมในระยะยาว

20














ภาคผนวก ก



การดำเนินงานยุทธศาสตร์ด้านน้ำเสีย

21

กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างความร่วมมือ



คลองลำผักชี ระยะทางรวมประมาณ 3 กิโลเมตร แหล่งกำเนิดน้ำเสียในคลองลำผักชี เกิด
มาจากชุมชนริมคลอง บ้าน คอนโด รวมถึงร้านค้าต่าง ๆ บริเวณริมคลอง การจะคืนความสะอาด

ให้กับคลองลำผักชีนั้นตลาดยิ่งเจริญจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และชุมชนรอบตลาด ตลาดยิ่งเจริญจึงดำเนินการโครงการขุดลอกท้องคลอง

วัตถุประสงค์ เพื่อร่วมมือในการพัฒนาลำคลองให้ใสสะอาด ระหว่าง ตลาดยิ่งเจริญ

หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนรอบตลาดยิ่งเจริญ
วิธีการดำเนินงาน

1. การสำรวจพื้นที่ริมคลอง

2. สำรวจความต้องการของชุมชนริมคลองในการขุดลอกท้องคลอง
3. การระดมความคิดวางแผนในการขุดลอกท้องคลองร่วมกับกองบัญชาการกองทัพไทย

กองทัพอากาศ กรุงเทพมหานคร และศูนย์อํานวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน
4. ดำเนินงานตามแผนงาน

5. เก็บวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

สรุปผลการดำเนินงาน ผู้มีส่วนได้เสียของตลาดยิ่งเจริญแสดงความคิดเห็นว่า หลังจากได้
ดำเนินโครงการไปแล้วนั้น ท้องคลองลึกขึ้นเนื่องจากขยะ และสิ่งปฏิกูลในคลองลำผักชีลดน้อยลง

ทำให้น้ำในคลองลำผักชีมีการไหลที่ดี น้ำใสขึ้น และมีกลิ่นเหม็นจากน้ำลดน้อยลง ส่งผลให้ชุมชน
และผู้ใช้บริการตลาดยิ่งจริญมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ยังสร้างภาพลักษณ์ความเป็นมิตรต่อ

สิ่งแวดล้อมให้ของตลาดยิ่งเจริญ ควรมีการดำเนินการขุดลอกท้องคลองอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหา

สิ่งปฏิกูลสะสมที่ท้องคลอง และควรมีการวางแผนที่ดีระวังพื้นที่ริมฝั่งคลองที่อาจพังทะลาย

22

ภาพการดำเนินงาน












ภาพที่ 14 การตรวจสภาพน้ำก่อนเริ่มโครงการขุดลอกท้องคลอง
























ภาพที่ 15 การดำเนินงานโครงการขุดลอกทองคลอง

23

















ภาพที่ 16 สภาพน้ำหลังดำเนินงานโครงการขุดลอกท้องคลอง


กลยุทธ์ที่ 2 ฟื้นฟูคุณภาพน้ำในคลอง



ตลาดยิ่งเจริญมีคลองลำผักชีผ่านระยะทางรวม 180 เมตร ตลาดยิ่งเจริญได้ดำเนินการ

โครงการที่มีชื่อว่า คิดจากคลอง ใช้วิธีการบำบัด เรียกว่า ออกซิเดชันชีวภาพ (Biological Contact
Oxidation : BCO) เพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียในคลองลำผักชีที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณะสุข เช่น

แมลงวัน ยุงลาย ไข้เลือดออก กลิ่นเหม็นรบกวน และเชื้อโรคสะสม เป็นต้น
วัตถุประสงค์ เพื่อการปรับปรุง แก้ไขปัญหาน้ำเน่าในคลองลำผักชี อย่างบูรณาการ

วิธีการดำเนินงาน

1. การสำรวจก่อนเริ่มโครงการคิดจากคลอง
2. สำรวจ เก็บข้อมูล ออกแบบ และเตรียมพื้นที่งาน

3. งานก่อสร้าง และติดตั้งเครื่องจักร อุปกรณ์รวมถึงงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

4. เดินระบบงาน ออกซิเดชันชีวภาพ (Biological Contact Oxidation : BCO)
5. เก็บวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

24

ผลการดำเนินงาน ผู้มีส่วนได้เสียของตลาดยิ่งเจริญแสดงความคิดเห็นว่า หลังจากได้ดำเนิน

โครงการไปแล้วนั้น น้ำในคลองลำผักชีมีความใสขึ้น กลิ่นเหม็นจากน้ำลดน้อยลง เป็นเทคโนโลยีที่ไม่
ทำลายสิ่งแวดล้อม ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และขยายพื้นที่ในการติดตั้งระบบออกซิเดชัน

ชีวภาพ เพื่อให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงของสีน้ำได้ชัดเจน และเป็นการจัดการน้ำเสียได้อย่างยั่งยืน


ภาพการดำเนินงาน























ภาพที่ 17 ขบวนการบำบัด ออกซิเดชันชีวภาพ (BCO : Biological Contact Oxidation)















ภาพที่ 18 ก่อนการดำเนินการติดตั้งระบบบำบัด ออกซิเดชันชีวภาพ (BCO)

25














ภาพที่ 19 การดำเนินการติดตั้งระบบบำบัด ออกซิเดชันชีวภาพ (BCO)














ภาพที่ 20 หลังการติดตั้งระบบบำบัด ออกซิเดชันชีวภาพ (BCO)

26

กลยุทธ์ที่ 3 บำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้



ตลาดยิ่งเจริญ และร้านค้าในตลาดยิ่งเจริญจำเป็นต้องใช้น้ำประปาในการอุปโภคและ
บริโภค น้ำประปาที่ผ่านการใช้แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำเสีย เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำประปาตลาด

ยิ่งเจริญ จึงมีโครงการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์
วัตถุประสงค์ เพื่อบำบัดน้ำเสียภายในตลาดยิ่งเจริญสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้

วิธีการดำเนินงาน

1. การจัดการทำแผนฟื้นฟูหรือป้องกัน แก้ไขปัญหาน้ำเสีย
2. การเข้าร่วมกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย

3. สำรวจพื้นที่เพื่อวางระบบบำบัดน้ำเสีย

4. การดำเนินงานตามแผน โดยการตลาดยิ่งเจริญทำท่อระบายน้ำให้ครอบคลุมทั้งตลาด
น้ำเสียจะไหลตามท่อระบายน้ำภายในตลาด ผ่านท่อดักไขมัน เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด

น้ำที่ผ่านการบำบัด ตลาดยิ่งเจริญใช้น้ำที่บำบัดแล้วในการล้างทำความสะอาดตลาด เพื่อเป็นการลด
การใช้น้ำประปา

5. ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนของตลาดยิ่งเจริญ


ผลการดำเนินงาน ผู้มีส่วนได้เสียกับตลาดยิ่งเจริญแสดงความคดเห็นว่า หลังจากได้ดำเนิน
โครงการไปแล้วนั้น น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว ใส ไม่มีกลิ่น มีความสะอาดสามารถนำมาใช้

ื้
ประโยชน์ในตลาดยิ่งเจริญได้ เช่น ล้างทำความสะอาดแผงค้า ทำความสะอาดพนตลาด รดน้ำต้นไม้
เป็นต้น ทำให้ตลาดยิ่งเจริญ ผู้ค้าสามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำประปา ควรดำเนินการต่อไปอย่าง

ต่อเนื่องเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำประปาโดยไม่จำเป็น

27

ภาพการดำเนินงาน














ภาพที่ 21 การจัดการทำแผนฟื้นฟูหรือป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์













ภาพที่ 22 การดำเนินงานโครงการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์














ภาพที่ 23 หลังดำเนินงานโครงการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์

28














ภาคผนวก ข



การดำเนินงานยุทธศาสตร์ด้านขยะ

29

กลยุทธ์ที่ 1 จัดให้มีถังขยะแยกประเภท



ตลาดยิ่งเจริญมีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก การจัดการด้านขยะของตลาด คือ การจัดให้

มีถังขยะตามจุดทั่วตลาดยิ่งเจริญ มีจุดทิ้งขยะสำหรับผู้ค้าแยกจากลูกคาที่มาซื้อสินค้า เนื่องจากขยะ
จากผู้ค้าจะเป็นคนละประเภทกับขยะจากลูกค้า หากมีการจัดการขยะที่ได้ประสิทธิภาพเริ่มตั้งแต่
การคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด จะสามารถลดงานของพนักงานในตลาดได้ ขยะที่ถูกแยกประเภท

แล้วจะง่ายต่อการดำเนินการกำจัดขยะในลำดับถัดไป ตลาดยิ่งเจริญได้ดำเนินการโครงการคัดแยก

ขยะ ณ แหล่งกำเนิด
วัตถุประสงค์ เพื่อคัดแยกขยะเบื้องต้น เพื่อง่ายต่อการจัดการขยะแต่ละประเภท และการ

ดำเนินการกำจัดขยะในลำดับถัดไป

วิธีการดำเนินงาน
1. ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะผู้ค้า

2. จัดให้มีถังขยะมูลแต่ละประเภทอย่างทั่วถึง ทุกพื้นที่ในตลาดยิ่งเจริญ
3. จัดให้มีจุดทิ้งขยะสำหรับผู้ค้าในตลาดยิ่งเจริญ แยกจากจุดทิ้งขยะของลูกค้าที่มาซื้อ

สินค้าที่ตลาดยิ่งเจริญ แบ่งออกเป็นจุดทิ้งขยะเปียก และขยะแห้ง


4. พนักงานของตลาดดำเนินการคัดแยกขยะอกครั้ง
5. นำขยะแต่ละประเภทดำเนินการกำจัดขยะในลำดับถัดไป

ผลการดำเนินงาน ผู้มีส่วนได้เสียกับตลาดยิ่งเจริญแสดงความคิดเห็นว่า หลังจากได้ดำเนิน
โครงการไปแล้วนั้น พฤติกรรมของลูกค้าที่มาซื้อของที่ตลาดยิ่งเจริญมีการทิ้งขยะตามถังขยะแยก

ประเภทที่ตลาดจัดตั้งไว้ให้มากขึ้น ผู้ค้าได้แยกขยะประเภทขยะเปียก ขยะแห้ง และนำมาทิ้ง ณ จุด

ที่ตลาดยิ่งเจริญจัดเตรียมไว้ให้ ทำให้ขยะถูกแยกประเภท ลดการทำงานของพนักงานในตลาด และ
ลดปริมาณขยะที่ภาครัฐต้องนำไปกำจัดต่อ เมื่อปริมาณขยะลดลงงบประมาณที่ต้องใช้ในการกำจัด

ขยะก็ลดลงตามไปด้วย ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้า ผู้ค้า มีพฤติกรรมการแยกขยะจน

เป็นนิสัย

30

ภาพการดำเนินงาน




















ภาพที่ 24 การดำเนินงานจัดตั้งถังขยะแยกประเภท ตามโครงการคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด




















ภาพที่ 25 การดำเนินงานจัดทำที่ทิ้งขยะเปียก ตามโครงการคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด






















ภาพที่ 26 หลังดำเนินงานโครงการคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด

31

กลยุทธ์ที่ 2 นำขยะกลับมาใช้ใหม่



ตลาดยิ่งเจริญแบ่งขยะออกเป็น 2 ส่วน คือ ขยะอินทรีย์ และขยะทั่วไป การดำเนินการ
แก้ไขปัญหาขยะจำนวนมากของตลาดยิ่งเจริญ นอกจากการคัดแยกขยะแล้ว ยังต้องให้ความรู้กับ

พนักงาน ผู้ค้า ในการนำขยะแต่ละประเภทกลับมาใช้ใหม่ และการนำเศษวัสดุมาแปรรูปใหม่ ตลาด
ยิ่งเจริญจึงจัดทำโครงการขยะเพิ่มมูลค่า โดยนำขยะอินทรีย์ไปทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในตลาด

ยิ่งเจริญ และขยะทั่วไปบางชนิดนำกลับมาใช้ใหม่ และบางชนิดนำไปแปรรูป เพื่อเป็นการสร้าง

รายได้ให้แก่ผู้ค้า พนักงาน
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างมูลค่าจากขยะ เป็นการลดปริมาณขยะ ลดปัญหาที่เกิดจากปริมาณ

ขยะ ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ

วิธีการดำเนินงาน
1. หาความรู้เกี่ยวกับการนำขยะกลับมาใช้ใหม่

2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ
3. แนะนำผู้ค้าในการนำถุงพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ

4. จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับขยะ โดยมีกิจกรรมการนำเศษขยะมาใช้ประโยชน์ กิจกรรม

การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ กิจกรรมแยกขยะประเภทนำไปแปรรูปใหม่ได้ เช่น ขวดแก้ว พลาสติก
โลหะ สามารถนำไปขายเพื่อเป็นการสร้างรายได้

5. นำขยะอินทรีย์ที่ได้จากตลาดยิ่งเจริญไปทำน้ำหมักชีวภาพ
ผลการดำเนินงาน ผู้มีส่วนได้เสียของตลาดยิ่งเจริญแสดงความคิดเห็นว่า หลังจากได้ดำเนิน

โครงการไปแล้วนั้น ชุมชน ผู้ค้า พนักงานของตลาดยิ่งเจริญมีรายได้เสริมจากการขายขยะประเภท

ขวดแก้ว พลาสติก โลหะ ตลาดยิ่งเจริญได้น้ำชีวภาพที่มาจากการหมักขยะประเภทเศษผัก ผลไม้
มาใช้ประโยชน์ในตลาดโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อชุมชน ผู้ค้า

สามารถสร้างรายได้จากขยะ และเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมที่ได้น้ำชีวภาพมาใช้

32

ภาพการดำเนินงาน



















ิ่
ื่
ภาพที่ 27 การดำเนินงานโครงการขยะเพมมูลค่า ขายเพอเป็นการสร้างรายได้



















ิ่
ภาพที่ 28 การดำเนินงานกิจกรรมการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ตามโครงการขยะเพมมูลค่า




















ิ่
ภาพที่ 29 หลังดำเนินงานโครงการขยะเพมมูลค่า ทำน้ำหมักชีวภาพ

33

กลยุทธ์ที่ 3 สร้างจิตสำนึกในการลดใช้ถุงพลาสติก



ข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พบว่าคนไทยใช้ถุงพลาสติกมาก
ถึง 45,000 ล้านใบต่อปี หรือเฉลี่ยคนละ 8 ใบต่อวัน ซึ่งถุงพลาสติกเหล่านี้มีที่มาจาก 3 แหล่งหลัก

โดยสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึงร้อยละ 40 มาจากตลาดสดเทศบาล และภาคเอกชน ร้อยละ 30 มาจาก
ร้านขายของชำ ร้อยละ 30 มาจากห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ (ธนาคารแห่งประเทศไทย.

2563: ออนไลน์) ตลาดยิ่งเจริญจึงสนับสนุนให้ลูกค้าใช้ตะกร้า ถุงผ้า หรือภาชนะอื่น ๆ มากกว่าใช้

ถุงพลาสติก และผู้ค้าใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติแทนการใช้กล่องโฟม ตามโครงการถุงผ้านำสมัย
จับจ่ายสุดคุ้มมาตลาดยิ่งเจริญ

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างพฤติกรรมระยะยาวในลดการใช้ถุงพลาสติก กล่องโฟม

หรือวัสดุที่ย่อยสลายยากให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องของตลาดยิ่งเจริญ
วิธีการดำเนินงาน

1. รับบริจาคถุงผ้าที่ไม่ใช้
2. ทำป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ลดใช้ถุงพลาสติก

3. ให้ความรู้ และขอความร่วมมือกับผู้ค้าในตลาดยิ่งเจริญ ในการเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำมา

จากโฟม
4. จัดสถานที่สำหรับยืม และคืนถุงผ้า เพื่อให้ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าในตลาดได้นำถุงผ้าไปใส่

สินค้าในตลาด ลูกค้าใช้เสร็จนำกลับคืนที่จุดเดิมเพื่อให้ลูกค้าท่านอื่นได้ใช้ต่อไป
ี่
5. ตลาดยิ่งเจริญจัดทำถุงรักษ์โลก เพื่อแจกให้กับลูกค้าที่มาซื้อสินค้าทตลาดยิ่งเจริญ
ผลการดำเนินงาน ผู้มีส่วนได้เสียของตลาดยิ่งเจริญแสดงความคิดเห็นว่า หลังจากได้ดำเนิน



โครงการไปแล้วนั้น ผู้ค้าให้ความร่วมมอในการใช้บรรจุภัณฑที่ย่อยสลายง่ายแทนการใช้โฟม ผู้ค้านำ
ถุงผ้า รถเข็น ตะกร้า มาใช้ในการใส่สินค้ามากขึ้น ควรดำเนินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดพฤติกรรม
การนำถุงผ้า รถเข็น ตะกร้า มาใช้ในการซื้อสินค้าจนเป็นนิสัย เพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องถุงพลาสติก

ให้กับผู้ค้า เพื่อประหยัดงบประมาณของทางภาครัฐในการกำจัดขยะประเภทโฟม ถุงพลาสติก เป็น
การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

34

ภาพการดำเนินงาน














ภาพที่ 30 ป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การลดใช้ถุงพลาสติก










ภาพที่ 31 การเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากโฟม














ภาพที่ 32 จัดสถานที่สำหรับยืม และคืนถุงผ้า

35
















ภาคผนวก ค



การดำเนินงานยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน

36

กลยุทธ์ที่ 1 ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5




ตลาดยิ่งเจริญเป็นตลาดสดเอกชนขนาดใหญ่ เปิดมาแล้วกว่า 65 ปี ปริมาณการใช้ไฟฟาใน
ตลาดยิ่งเจริญ จะเกิดขึ้นจาก 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นส่วนของตลาดยิ่งเจริญในเรื่องโครงสร้าง


ื้
พื้นฐาน การให้แสงสว่าง การระบายอากาศ ส่วนที่สองส่วนของผู้ค้า เครื่องใช้ไฟฟาพนฐานของผู้ค้า
บางอย่างยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนเพื่อให้มีการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ส่งผลให้ตลาดยิ่งเจริญมีปริมาณ
การใช้ไฟฟ้าที่สูง ตลาดยิ่งเจริญ จึงจัดโครงการฉลากเบอร์ 5 เพื่อการประหยัดพลังงาน

วัตถุประสงค์ เพื่อลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟาที่ไม่ประหยัดไฟ

วิธีการดำเนินงาน

1. สำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าในตลาดยิ่งเจริญที่เก่า และไม่มีฉลากเบอร์ 5

2. เปรียบเทียบคุณสมบัติของเครื่องใช้ไฟฟาฉลากเบอร์ 5 ให้เหมาะสมกับการใช้งาน


3. ดำเนินการเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟาเก่า ติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5 ทดแทน เช่น
พัดลมในตลาด เครื่องปรับอากาศ เครื่องระบายความร้อน เป็นต้น
4. ติดตาม บำรุงรักษา ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟาอย่างสม่ำเสมอ

ผลการดำเนินงาน ผู้มีส่วนได้เสียของตลาดยิ่งเจริญแสดงความคิดเห็นว่า หลังจากได้ดำเนิน

โครงการไปแล้วนั้น ผู้ค้าในตลาดยิ่งเจริญมีการเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็น
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานเท่าที่จะสามารถเปลี่ยนได้

เนื่องจากปัจจัยเรื่องค่าใช้จ่าย หลังจากมีการเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และ
อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานแล้ว พบว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าไฟฟ้าลดลง ควร

ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ประหยัดไฟอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการลดใช้พลังงานไฟฟา

และควรบำรุงรักษาทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานได้อย่างเต็ม
ประสิทธิภาพ

37

ภาพการดำเนินงาน




















ภาพที่ 33 ก่อนดำเนินงานโครงการฉลากเบอร์ 5 เพื่อการประหยัดพลังงาน













ื่
ภาพที่ 34 การดำเนินงานติดตั้งพัดลมที่มีฉลากเบอร์ 5 เพอการประหยัดพลังงาน





















ภาพที่ 35 การดำเนินงานเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5 เพื่อการประหยัดพลังงาน

38

กลยุทธ์ที่ 2 ใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอดไส้



ความสว่างของแสงที่เพียงพอมีความจำเป็นต่อการซื้อขายสินค้าในตลาดยิ่งเจริญ เพื่อให้
ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าได้เห็นสินค้า ธนบัตร และการชั่ง ตวง วัดที่ชัดเจน ลดความผิดพลาดที่อาจ

เกิดขึ้นจากการที่แสงสว่างไม่เพียงพอ ตลาดยิ่งเจริญจึงต้องติดตั้งหลอดไฟเพื่อให้ความสว่างอย่าง
ทั่วถึง ด้วยที่ตลาดยิ่งเจริญเป็นตลาดขนาดใหญ่ทำให้มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่สูง ปัจจุบันตลาด


ยิ่งเจริญมีการใช้หลอดไฟ 2 ประเภท คือ หลอดไส้และหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งหลอดไส้มีอตราการ
กินไฟสูงแต่ประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างต่ำ เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและได้แสงสว่างที่
เพียงพอ ตลาดยิ่งเจริญจึงทำโครงการใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอดไส้

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้แสงสว่างที่เพียงพอต่อการเลือกซื้อสินค้า และเป็นการประหยัด

พลังงานไฟฟ้า
วิธีการดำเนินงาน

1. สำรวจชนิดของหลอดไฟในตลาดยิ่งเจริญ
2. สำรวจพื้นที่ ความต้องการของระดับแสงสว่าง เพื่อเลือกใช้กำลัง 9 วัตต์ ให้เหมาะสมกับ

พื้นที่

3. ดำเนินการเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดฟลูออเรสเซนต์และหลอดไส้เป็นหลอด LED
4. ติดตามผล สำรวจพื้นที่อื่นของตลาด เพื่อขยายพื้นที่ในการเปลี่ยนเป็นหลอด LED ให้

ครอบคลุมทั่วทั้งตลาดยิ่งเจริญ

ผลการดำเนินงาน ผู้มีส่วนได้เสียกับตลาดยิ่งเจริญแสดงความคดเห็นว่า หลังจากได้ดำเนิน
โครงการไปแล้วนั้น แสงจากหลอดไฟ LED สว่างเพียงพอต่อการจับจ่ายซื้อขายสินค้าในตลาด

ยิ่งเจริญ ในขณะที่ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าทั้งในส่วนของตลาดยิ่งเจริญและผู้ค้าลดลง
ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าได้เห็นคุณลักษณะที่แท้จริงของสินค้าก่อนจะตัดสินใจซื้อ เป็นการสร้าง

ภาพลักษณ์ของตลาดยิ่งเจริญในเรื่องความซื่อสัตย์ ขายสินค้าตามสภาพความเป็นจริง ควรมีการ

ปรับใช้หลอดไฟ LED ทั่วทั้งตลาด และให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์และ
หลอดไส้เป็นหลอด LED แก่ผู้ค้าเพื่อการลดใช้พลังงานไฟฟ้าในภาพรวม

39

ภาพการดำเนินงาน



















ภาพที่ 36 การดำเนินงานใช้หลอดไฟ LED ในโซนศูนย์อาหาร



















ภาพที่ 37 การดำเนินงานใช้หลอดไฟ LED ในโซนผัก





















ภาพที่ 38 การดำเนินงานใช้หลอดไฟ LED ในโซนอาหารทะเล

40

กลยุทธ์ที่ 3 สร้างความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน



การมีพฤติกรรมในการประหยัดพลังงานเป็นต้นทุนที่น้อยที่สุดในการอนุรักษ์พลังงาน การ
จะมีพฤติกรรมประหยัดพลังงานได้นั้น ต้องได้รับการส่งเสริมความรู้จากสื่อต่าง ๆ จนเกิดพฤติกรรม

ตามมา ตลาดยิ่งเจริญได้จัดโครงการส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงาน โดยการให้ความรู้

เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในวิธีต่าง ๆ รวมทั้งจัดให้มีการติดตั้งมิเตอร์ในแต่ละแผงค้า เพ่อให้ผู้ค้า
ได้ทราบปริมาณการใช้ไฟฟ้าของแผงตนเอง สามารถควบคุมหรือปรับการใช้งานเพื่อลดค่าใช้จ่าย

เรื่องค่าไฟฟ้า และยังเป็นการสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานของผู้ค้า พนักงานและ
ผู้บริหาร จนเกิดเป็นพฤติกรรมในระยะยาว

วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า เกิดเป็นพฤติกรรมใน

ระยะยาว ในการอนุรักษ์พลังงานของผู้ค้า พนักงาน และผู้บริหาร
วิธีการดำเนินงาน

1. ศึกษาวิธีการประหยัดพลังงาน
2. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน

3. ติดตั้งมิเตอร์ในแต่ละแผงค้า

4. ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ตามจุดต่าง ๆ ในตลาดยิ่งเจริญ โดยเฉพาะจุดสำคัญที่ต้องการ
ให้ปฏิบัติตาม เช่น เครื่องปรับอากาศ สวิตช์ไฟ เป็นต้น

5. จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้า แนะนำเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมถึงวัสดุ
อุปรณ์เสริมที่ได้มาตรฐานและประหยัดไฟ

ผลการดำเนินงาน ผู้มีส่วนได้เสียของตลาดยิ่งเจริญแสดงความคิดเห็นว่า หลังจากได้ดำเนิน

โครงการไปแล้วนั้น ผู้ค้าในตลาดยิ่งเจริญปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยการปิดสวิตช์ไฟ
ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่อยู่ที่แผงขาย มีการใช้ปลั๊กต่อพ่วงที่มีสวิตช์ เพื่อความสะดวกในการปิด

วงจรไฟฟ้ากับอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น อุปกรณ์ต่อชาร์จโทรศัพท์มือถือ พัดลม เป็นต้น การรณรงค์ให้

ความรู้เป็นการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากต้นเหตุ ดังนั้นควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิด
เป็นนิสัยการใส่ใจสิ่งแวดล้อม

41

ภาพการดำเนินงาน



















ภาพที่ 39 การดำเนินงานติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ให้ช่วยกันลดการใช้พลังงานไฟฟ้า














ภาพที่ 40 การดำเนินงานติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ ติดตั้งมิเตอร์ในแต่ละแผงค้า






















ภาพที่ 41 การดำเนินงานจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้า


Click to View FlipBook Version