ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตามวัตถุประสงค์
1. การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจือแร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าเท่ากับ 84.74/86.45 ซึ่งสูงกว่า
เกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน
สะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจือแร
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้สถิติ t-test Dependent โดยหลังทดลองมีคะแนนสูงกว่าก่อน
ทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05)
สรุปผลการศึกษา
1. ผลการหาค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ สาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจือแร เมื่อนำมาใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน 14 คน มีผลสรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ มีประสิทธิภาพเฉลี่ย
84.74/86.67 ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เป็นไปตามสมมติฐานการศึกษาที่ตั้งไว้
2. ผลของการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้แบบฝึกทักษะการ
อ่านและเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดไทย ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
มีผลปรากฏว่าหลังจากการใช้สูงกว่าก่อนการใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
- การจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนจะต้องศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อที่จะนำข้อมูลมา
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความรู้ ความสามารถ ความถนัดของผู้เรียน เพื่อ
ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
- การจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดไทย ครูจะ
ต้องคอยนิเทศติดตามผลนักเรียนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง รวมถึงการช่วยแก้ปัญหาผู้เรียน โดยเฉพาะ
นักเรียนกลุ่มบกพร่องทางการเรียน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
- ควรพัฒนาสื่อการเรียนให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนและสอดคล้องกับ
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผลที่ได้รับตามวัตถุประสงค์
ผลที่เกิดกับนักเรียน
1. ด้านการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา
ภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2. นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำด้วยประสบการณ์
ตรงเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง เกิดการเรียนรู้อย่างเพลิดเพลินได้มีความกล้าแสดงออก
ตามจินตนาการของนักเรียน
3. นักเรียนรู้จักแก้ปัญหา กล้าแสดงออก มีทักษะในการคิดสร้างสรรค์ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
4. นักเรียนสามารถสร้างสรรค์สื่อการสอนด้วยตนเองได้อย่างเต็มความสามารถ
ผลที่ได้รับตามวัตถุประสงค์
ผลที่เกิดขึ้นกับครู
1. การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2. ทำให้ครูเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนานักเรียน
3. ครูมีความภาคภูมิใจที่ผลงานได้รับการยอมรับจากเพื่อนครูจากการเผยแพร่ผลงาน
4. ครูผู้สอนสามารถพัฒนาการอ่านและการเขียนของนักเรียนได้อย่างเต็มความสามารถ
ผลที่ได้รับตามวัตถุประสงค์
ผลที่เกิดกับผู้ปกครองและชุมชน
1. ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน
สะกดคำ ที่ครูสร้างขึ้นให้นักเรียน
2. ผู้ปกครองส่งเสริมและสนับสนุนโดยให้นักเรียนเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมของครูทุกกิจกรรม
3. นำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนและชุมชน ส่งผลให้นักเรียน ชุมชน และผู้ปกครองชื่นชมและภาคภูมิใจในบุตร
หลานของตนและสถานศึกษา
4. ผู้ปกครองและชุมชนชื่นชมในตัวของนักเรียน มีความภาคภูมิใจที่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนแห่งนี้
ผลที่ได้รับตามวัตถุประสงค์
ผลที่เกิดกับสถานศึกษา
1. ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน
สะกดคำ รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2. ผู้ปกครองส่งเสริมและสนับสนุนโดยให้นักเรียนเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมของครูทุกกิจกรรม
3. นำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนและชุมชน ส่งผลให้นักเรียน ชุมชน และผู้ปกครองชื่นชมและภาคภูมิใจในบุตร
หลานของตนและสถานศึกษา
4. ผู้ปกครองและชุมชนชื่นชมในตัวของนักเรียน มีความภาคภูมิใจที่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนแห่งนี้
ขอบคุณครับ