The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by k1l3nlel, 2022-01-14 05:31:21

วิวัฒนาการของอนิเมชั่น2D

วิวัฒนาการ
ของอนิเมชั่น2D

จัดทำโดย

จิรัฎชนนท์ โชคสิริวัชรสกุล



วิวัฒนาการ
ของอนิเมชั่น2D

จัดทำโดย

จิรัฎชนนท์ โชคสิริวัชรสกุล

คำนำ

หนังสือดิจิตอล(E-book)เล่มนี้เป็ นส่วนหนึ่งของวิชาการ
เขียนรายงานและสารสนเทศ (Hum1013)โดยถูกจัดทำขึ้น
เพื่อที่จะมานำเสนอเกี่ยวกับความเป็ นมาและการ
วิวัฒนาการของภาพเคลื่อนไหวหรือที่เรียกว่าอนิเมชั่น

ผู้จัดทำมีความชื่นชอบในอนิเมชั่นเป็ นอย่างมาก จึงหวังว่า
หนังสือดิจิตอลเล่มนี้จะมีประโยชน์ต่อ ผู้ที่มีความสนใจ
ในเรื่องของอนิเมชั่นเช่นกัน หากข้อมูลที่ผู้จัดทำได้นำมา

นำเสนอมีข้อมูลผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยเป็ นอย่างสูง

จิรัฎชนนท์ โชคสิริวัชรสกุล

ผู้จัดทำ

สารบัญ หน้า
1-3
การสร้างอนิเมชั่น 2D
ยุคเริ่มต้น (1930-1960) 4-6




การเติบโตของอนิเมชั่น
2D ยุคคาบเกี่ยว
(1980-2000)

บรรณานุกรม

บทที่ 1

การสร้างอนิเมชั่น 2D
ยุคเริ่มต้น (1930-1960)

ในสมัยก่อนนั้นการสร้างอนิเมชั่นมีความลำบากและต้อง
ใช้ความอดทนอย่างสูงกว่าทุกวันนี้มาก หลักๆ เลยก็คือใน
เรื่องของการใช้แรงงานคนที่ต้องถึกกว่าในปั จจุบัน
มากมายว่าแล้วก็มาดูวิธีในแบบยุคแรกกันเลยดีกว่าครับ

Cel Animation

วิธีสร้างอนิเมชั่นแบบดั้งเดิมที่ วอลท์ ดิสนีย์ ใช้ในการ
ผลิตผลงานในช่วงห้าสิบปี แรก โดยตัวละครจะถูกวาด
ด้วยมือลงบนแผ่นเซลลูลอยด์โปร่งใสทีละภาพ แล้วจึง
นำไปลงสี ก่อนจะวางซ้อนลงบนฉากหลังและใช้กล้อง
บันทึกภาพแต่ละช็อตไว้ ซึ่งเมื่อนำมาฉายภาพต่อเนื่อง
กันด้วยความเร็วสูงก็จะเกิดเป็ นภาพติดตาที่เคลื่อนไหว

1

ในยุคที่ภาพอนิเมชั่นถูกวาดลงบนแผ่นเซล สตูดิโอดิสนีย์
ยังริเริ่มการใช้กล้อง “Multiplane Camera” โดยนำแผ่น
เซลที่วาดองค์ประกอบของฉากแบ่งตามระยะ ใกล้-ไกล มา
เรียงซ้อนกันได้มากถึง 7 ชั้น ถ่ายด้วยกล้องที่สามารถ
เคลื่อนไหวได้ในแนวตั้ง เพื่อกำหนดระยะห่าง ควบคุมทิศทาง
และการเคลื่อนที่ของแต่ละชั้น ทำให้ได้ภาพที่ดูมีมิติความลึก
สมจริง รวมถึงสร้างเอฟเฟ็ คท์การเคลื่อนไหวที่แปลกตา

ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยระบบคอมพิ วเตอร์ที่ดิสนีย์พั ฒนาขึ้น
(Computer Animation Production System หรือ CAPS)

ซึ่งสามารถสแกนลายเส้นของศิลปิ นลงในคอมพิวเตอร์และ
ลงสีในโปรแกรมดิจิทัลได้เลย

นักแสดงที่เป็ นต้นแบบให้ อลิซ ใน Alice in wonderland (1951)) 2

ผลงานอนิเมชั่นที่โดดเด่นใน
ยุคเริ่มต้น 2D Animation

Snow White and the Seven Dwarfs (1937)




“เจ้าหญิงสโนว์ไวท์” ถือเป็ นการ์ตูนเจ้าหญิงเรื่องแรกของ
ดิสนีย์ และเป็ นภาพยนตร์อนิเมชั่นที่ใช้มือวาดลงบนแผ่นเซลล์
เรื่องแรกของโลกออกฉายในโรงภาพยนตร์ตั้งแต่ปี 1937
หรือมากกว่า 80 ปี ก่อน! และประสบความสำเร็จอย่างมากใน
ยุคนั้นลบข้อความที่คนในวงการบอกว่า วอลท์ ดิสนีย์ โง่หรือ
บ้าไปแล้วที่ลงทุนเอาบ้านไปจำนองเพื่ อสร้างหนังเรื่องนี้ถึง
1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (นับว่ามหาศาลในยุคนั้น)จนแทบสิ้น
เนื้อประดาตัวนอกจากนั้นหนังยังได้รางวัลออสการ์เกียรติยศ
(Academy Honorary Award) ในฐานะ ‘นวัตกรรมทาง
ภาพยนตร์ที่กินใจผู้คนนับล้านและบุกเบิกความบันเทิงสาขา
ใหม่’ เป็ นตุ๊กตาทองตัวใหญ่ 1 ตัว และตัวเล็กๆ อีก 7 ตัว ด้วย

3

บทที่ 2

การเติบโตของ 2D Animation
ยุคคาบเกี่ยว (1980-2000)




จากวันนั้นที่ใช้การวาดภาพหลายๆแผ่น วันนี้เทคโนโลยีทำให้
ระบบคอมพิ วเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงานอนิเมชั่นมาก
ขึ้น เรามาลองดูขั้นตอนการทำงานในยุคที่ 2D Animtion เริ่มมี
บทบาทมากขึ้นและกลายเป็ นสื่อที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก จน
ก่อเกิดสตูดิโอมากมายที่ผลิตงานอนิเมชั่นของตัวเอง

ขั้นตอนการทำงานและแผนกต่างๆ
ของการทำ 2D อนิเมชั่น

แผนก ออกแบบจัดองค์ประกอบ (Layout Designer)

แผนกนี้จะดูแลภาพรวมของงาน โดยนำเอาสตอรี่บอร์ดมาพิจารณาและ
จัดองค์ประกอบภาพให้บอกเล่าเรื่องได้ตามวัตถุประสงค์ ก่อนจะส่งต่อให้
แผนกอื่นๆ เพื่อเป็ นการกำหนดขอบเขตในการทำงานอย่างคร่าวๆ ด้วย
(เช่นฉากหลังควรวาดแค่ไหน เป็ นต้น)

4

แผนกทำอนิเมชั่นหลัก ( Key Animators )



แผนกนี้คือผู้วาดภาพอนิเมชั่นที่เป็ นท่าหลักหรือหัวใจสำคัญในแต่ละ
ฉาก เช่นถ้าใช้ 18 ภาพ/วินาที ผู้วาดแผนกนี้จะวาดภาพที่ 1/5/9/13/18
โดยประมาณ

แผนกทำภาพเชื่อมโยง ( Inbetweeners )



คือผู้ทำหน้าที่วาดภาพต่อจากผู้วาดเส้นหลัก ในส่วนที่เหลือ เช่น ถ้าผู้
วาดเส้นหลักวาดภาพที่ 1/5/9/13/18 แผนกนี้ก็จะต้องวาดภาพที่
2-4/6-8/10-12/14-17ซึ่งเป็ นภาพการเคลื่อนไหวรองหรือการ
เคลื่อนไหวที่เป็ นไปตามภาพหลักอยู่แล้ว

5

แผนกเขียนภาพฉากหลัง ( Background Artist )



มีหน้าที่วาดภาพบรรยากาศในฉากนั้นๆ ซึ่งอาจจะเป็ นงานวาดมือ หรือวาดใน
คอมพิวเตอร์ก็ได้ ซึ่งฉากหลังจะเป็ นสิ่งที่ช่วยสร้างบรรยากาศของเรื่อง
กำหนดมู้ด/โทนของหนัง และแสดงถึงสุนทรียภาพในงานอนิเมชั่นได้เป็ นอย่างดี

แผนกคอมโพซิท ( Composite )



ทำหน้าที่รวบรวมองค์ประกอบภาพจากงานของแต่ละแผนก ไม่ว่าจะ
เป็ น ตัวละคร ฉากหลัง เทคนิคพิเศษ นำมาจัดวางเข้าด้วยกันและปรับ
แต่งให้เหมาะสมเพื่อเป็ นช็อตที่สมบูรณ์







6

เอกสารอ้างอิง

Pichat Winta. (11 กรกฎาคม 2562).วิวัฒนาการและความแตก
ต่างของการทำอนิเมชั่นจากอดีตถึงปัจจุบัน.Plotter.
https://www.plotter.in.th/?p=8582

Thitita Kantawong. (5 ธันวาคม 2559).ประวัติความเป็นมา
ของแอนิเมชั่น.Google Sites.
https://sites.google.com/site/wodeanimation01/hom
e/prawati-khwam-pen-ma-khxng-xae-ni-me-chan



ประวัติผู้เขียน

นาย จิรัฎชนนท์ โชคสิริวัชรสกุล
ชื่อเล่น กิเลน

ประวัติการศึกษา

พ.ศ.2558 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

พ.ศ.2564 โรงเรียนสตรีวิทยา2

ปั จจุบัน พ.ศ.2564 วิทยาลัยเพาะช่าง
ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์


Click to View FlipBook Version