The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by wirootroot029, 2022-05-07 03:47:06

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

การป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ในผู้ป่วยทารกและเด็ก

หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลคลองขลุง

จังหวัดกำแพงเพชร

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

นโยบาย : ความปลอดภัยเป็นนโยบายที่สำคัญของโรงพยาบาล การพลัดตกหกล้มในทารกและ
เด็กเป็นปัญหาที่สำคัญได้ดำเนินการพัฒนาระบบให้การป้องกัน มีการติดตาม แต่ยังมีอุบัติ
การณ์ที่เกิดขึ้นด้วยหลายสาเหตุ ซึ่งเป็นบทบาทพยาบาลในการป้องกัน เฝ้าระวังในการป้องกัน
การพลัดตกหกล้ม กลุ่มงานการพยาบาลจึงได้กำหนดนโยบายให้บุคลากรทางการพยาบาลทุก
ระดับ ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการพลัดตกหกล้มในทารกและเด็กอย่างเคร่งครัด

เป้าหมาย : ผู้ป่วยปลอดภัยจากการ พลัดตก หกล้ม

วัตถุประสงค์
1.เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของบุคลากรทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยทารกและเด็ก

2.เพื่อให้ผู้ป่วยทารกและเด็กทุกคนได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มอย่าง
ครอบคลุม

3.เพื่อเพื่อให้ผู้ป่วยทารกและเด็กทุกคนได้รับการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

ความครอบคลุม
: ผู้ป่วยทารกและเด็ก ญาติผู้ดูแลที่เข้ามารับบริการโรงพยาบาลคลองขลุง
: ทุกหน่วยงานให้บริการแก่ผู้ป่วยทารกและเด็กในโรงพยาบาลคลองขลุง

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

นิยามศัพท์
การพลัดตก หมายถึง การเปลี่ยนตำแหน่งของร่างกายจากการลื่น ไหล ถลา หรืตกไปสู่พื้นหรือ
พื้นผิวที่ต่ำกว่าร่างกาย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจและไม่สามารถควบคุมได้ อาจส่ง
ผลให้ร่างกายผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหรือไมได้รับบาดเจ็บก็ตาม
การลื่น หมายถึง การลื่น ไถล หกล้มไปพื้นบนอาคาร , ทางเดิน , พื้นห้องน้ำ ห้องส้วม,ทาง/
บันไดต่างระดับ อาจส่งผลให้บาดเจ็บหรือไม่บาดเจ็บก็ตาม
ผู้ป่วยทารกและเด็ก หมายถึง ผู้ป่วยแรกเกิดจนถึงอายุน้อยกว่า15 ปี ที่เข้ารับการรักษา
พยาบาลในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม

FallAssessment Tool The Humpty Dumpty Scale หมายถึง เครื่องมือ
มาตรฐานในการประเมินความเสี่ยงการตกเตียงของผู้ป่วยเด็ก ใช้ในผู้ป่วยเด็กที่มีอายุน้อยกว่า
15 ปีทุกรายมีหัวข้อประเมิน 7 ข้อ ได้แก่ อายุ เพศโรค ความรับรู้ สิ่งแวดล้อม การได้รับการ
ผ่าตัดและยาระดับความรุนแรงและผลกระทบจากการลื่น พลัดตก หกล้ม หมายถึง การทําให้เกิด
ความเสียหายต่อร่างกายและทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะเกิดจากธรรมชาติ อุบัติเหตุ หรือจากมนุษย์ ส่ง
ผลเสียที่เกิดขึ้นต่อร่างกาย จิตใจ องค์กร เป็นผลเสียที่ไม่ควรเกิด แบ่งออกเป็นระดับดังนี้
A = มีสถานการณ์/สิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้มีการลื่น พลัดตก หกล้ม
B = สถานการณ์ที่ผู้ป่วยเกือบมีการลื่น พลัดตก หกล้ม แต่สามารถช่วยเหลือไว้ได้ทันC=ผู้ป่วย
เกิดการลื่น พลัดตก หกล้ม แต่ไม่ได้รับการบาดเจ็บ
D = ผู้ป่วยเกิดการลื่น พลัดตก หกล้ม และได้รับการบาดเจ็บเล็กน้อย ได้แก่มีแผลถลอก ช้ำ
E = ผู้ป่วยเกิดการลื่น พลัดตก หกล้ม และได้รับการบาดเจ็บปานกลางได้แก่มีแผลเปิด กล้าม
เนื้อฉีกขาด มีการ
เคลื่อนไหวบกพร่องหรืออันตรายอื่นๆที่แพทย์มีแผนการรักษา
F =ผู้ป่วยเกิดการลื่น พลัดตก หกล้ม และได้รับการบาดเจ็บรุนแรงได้แก่กระดูกหัก มีเลือดออก
ในเยื่อหุ้มสมอง ศีรษะได้รับ อันตรายต้องมีแผนการรักษาและทำให้เกิดการพิการชั่วคราว ต้อง
รักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น
G = ผู้ป่วยเกิดการลื่น พลัดตก หกล้ม และได้รับการบาดเจ็บรุนแรงมากส่งผลให้เกิดการพิการ
ถาวร
H = ผู้ป่วยเกิดการลื่น พลัดตก หกล้ม และได้รับการบาดเจ็บรุนแรงมากและต้องได้รับการ
รักษาเพื่อช่วยชีวิต
I = ผู้ป่วยเกิดการลื่น พลัดตก หกล้ม และเสียชีวิต

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

ผู้รับผิดชอบ
พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกระดับในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลคลองขลุง

ตัวชี้วัด
1.จำนวนอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มลดลง
2.การปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มถูกต้อง 80%

เครื่องมือ
:แบบประเมิน Fall Assessment Tool The Humpty Dumpty Scale

ขั้นตอนปฏิบัติการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ในผู้ป่วยทารกและเด็ก

1.การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการพลัดตกหกล้ม

1.1บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลผู้ป่ว
ยทารกและเด็กได้รับการทบทวนความรู้

โดยจัดประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติในเรื่อง

1 2
3

1)สถานการณ์การ 2)ปัจจัยเสี่ยงที่เป็น 3)การดูแลผู้ป่วยทารก
พลัดตกหกล้ม สาเหตุของการเกิด และเด็กเพื่อป้องกัน
การพลัดตกหกล้ม
ในผู้ป่วยทารกและเด็ก พลัดตกหกล้ม





4
6
5
4)แนวทางการป้องกัน 6)การประเมินความเสี่ยง
การพลัดตกหกล้ม 5)การให้คำแนะนำแก่ ต่อการเฝ้าระวังการ
ผู้ดูแลในการป้องกัน เกิดการพลัดตกหกล้ม


พลัดตกหกล้ม
7


7)การดูแลผู้ป่วยทารก
และเด็กเมื่อเกิดการ
พลัดตกหกล้ม

ขั้นตอนปฏิบัติการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ในผู้ป่วยทารกและเด็ก

1.การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการพลัดตกหกล้ม

1.2 ผู้ดูแลผู้ป่วยทารกและเด็กและผู้ป่วย
เด็กที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ควรได้

รับคำแนะนำในเรื่อง

1
2

1)อนุญาตให้ผู้ดูแลเฝ้าตลอด 2)สถานที่ สิ่งแวดล้อม การขอความช่วยเหลือ
เวลา และให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ โดยใช้กริ่งสัญญาณ โดยเฉพาะในราย

ทุกครั้งเมื่อไม่อยู่กับเด็ก ที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว การสื่อสาร และ

ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยทารกและเด็ก

3

4



3)การป้องกันและลดความเสี่ยงของการพลัดตก 4)แนะนำและสาธิตการยกราวกั้นเตียงขึ้น

หกล้ม เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าที่ขนาดเหมาะสม ทั้ง 2 ข้าง และใส่ผ้าคลุมไม้กั้นเตียงทุกครั้ง

,การจัดวางสิ่งของ,การดูแลล็อคขาเตียง, เพื่อป้องกันส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายยื่น

การไขเตียงให้ต่ำสุด เป็นต้น ออกมาจากช่องว่างระหว่างราวกั้นเตียง

5

6



5)แนะนำให้ระมัดระวังการเคลื่อนไหว 6)ให้ความรู้ในเรื่องปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัด
และทำกิจกรรม เช่น ลุกนั่ง เปลี่ยนท่า ตกหกล้มแก่ผู้ดูแล เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยา

อุ้มผู้ป่วย เช็ดตัวผู้ป่วย การให้นม นอนหลับ หรือผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การขึ้น- ลงเตียง เป็นต้น

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

2.การประเมินปัจจัยเสี่ยง
เริ่มต้นกระบวนการดูแลตั้งแต่การรับใหม่ผู้ป่วยทุกราย

หรือ หลังผ่าตัด/ทำหัตถการ ปฏิบัติดังนี้




1.1พยาบาลรับใหม่ประเมิน Humpty Dumpty Fall scale ตามเกณฑ์การประเมินป้องกัน
การพลัดตกหกล้ม หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลคลองขลุง
1.2พยาบาลรับใหม่ ปฐมนิเทศสถานที่ และการป้องกันการพลัดตกหกล้มให้กับผู้ดูแลทราบ สิ่ง
ที่ควรปฎิบัติ และไม่ควรปฎิบัติ ตามสื่อการสอนการป้องกันการพลัดตกหกล้ม หอผู้ป่วยกุมาร
เวชกรรมโรงพยาบาลคลองขลุง
1.3พยาบาลสื่อสารให้ทีมทราบ และให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มตามค่า
คะแนน โดยบันทึกในแบบประเมินการเฝ้าระวังพลัดตกหกล้ม
แบ่งระดับความรุนแรงของปัจจัยเสี่ยงการพลัดตกหกล้มตามค่าคะแนน ดังนี้
i) ค่าคะแนน 7-11 =มีปัจจัยเสี่ยงต่ำ (Lowrisk)
ii) ค่าคะแนน 12-23 =มีปัจจัยเสี่ยงสูง (Highrisk)
2.4 ผู้ช่วยเหลือคนไข้ จัดเตรียมเตียง ชุดให้เหมาะสมกับขนาดร่างกายของเด็กไม่ยาวเกินไป
เตรียมเตียงและใส่ผ้าคลุมไม้กั้นเตียงตามระดับคะแนนความเสี่ยงที่ได้รับแจ้งจากหัวหน้าทีม ถ้า
ผู้ป่วยมีอายุไม่เกิน 3 ปี ให้ใส่ผ้ากั้นเตียงทั้งสองด้าน ให้ใช้ผ้าคลุมไม้กั้นเตียงทุกครั้ง และให้ผู้
ดูแลสามารถนอนบนเตียงกับทารกและเด็กได้เพียง1คนเท่านั้น
2.5 หัวหน้าเวร ตรวจเยี่ยมและพูดคุยกับผู้ดูแลอีกครั้ง พร้อมทั้งเฝ้าระวังติดตามการปฏิบัติ
แนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้ม

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

3.การลดความเสี่ยงและการป้องกันของการพลัดตกหกล้ม

การปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติการณ์ตามระดับความรุนแรง ดังนี้


3.1 ผู้ป่วยทารกและเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มต่ำ Low risk (ค่าคะแนน 7 – 11) ให้

การพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในเด็ก ดังนี้
1) อธิบายให้ผู้ป่วยและผู้ดูแล ทราบถึงแนวปฏิบัติการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
2) แนะนำสถานที่/ อุปกรณ์ เช่น กริ่ง หรือ ออดสัญญาณ เป็นต้น
3) แนะนำและสาธิตการยกราวข้างเตียงขึ้นทั้งสองข้างให้ขึ้นสูงสุด เพื่อป้องกันเด็กปีนลงจากเตียง หาก
ประเมินช่องว่างระหว่างราวกั้นเตียง พบมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายยื่นออกมาได้ให้เพิ่มอุปกรณ์
ป้องกัน เช่น ผ้าคลุมไม้กั้นเตียง หมอน ผ้าห่ม เป็นต้น
4) แนะนำผู้ดูแลถ้าผู้ป่วยอายุ 3 ปีขึ้นไป ที่ประเมินแล้วอาจลอดผ่านช่องของไม้กั้นเตียงได้ ให้ใส่ผ้ากั้น
เตียงหนึ่งข้าง แนะนำให้ผู้ป่วยเด็กนอนข้างที่มีผ้ากั้นเตียง และใส่ด้านที่ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด
ดำ เพื่อให้ผู้ปกครองได้นอนดูแลผู้ป่วยอีกด้านได้สะดวก ถ้าผู้ป่วยมีอายุไม่เกิน 3 ขวบให้ใส่ผ้ากั้นเตียง
ทั้งสองด้าน ให้ใช้ผ้าคลุมไม้กั้นเตียงทุกครั้ง และให้ผู้ดูแลสามารถนอนบนเตียงกับทารกและเด็กได้
เพียง1คนเท่านั้น
5) แนะนำปลดไม้กั้นเตียงลง และลงบริเวณกลางเตียง ถ้าต้องการลงจากเตียง ห้ามก้าวข้ามไม้กั้นเตียง
เพื่อป้องกันการสะดุดหกล้ม และล็อคขาเตียงเสมอ
6) ดูแลผู้ป่วยทารกและเด็ก สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม ไม่ยาวเกินไป สวมรองเท้าที่ไม่ลื่น
7) ดูแลพื้นผิวในบริเวณหอผู้ป่วย ทางเดิน ห้องน้ำให้แห้งอยู่เสมอ หากพบมีการเปียกชื้น ให้จัดการเช็ด
ให้แห้งทันที และดูแลไม่ให้มีสิ่งกีดขวางบริเวณทางเดิน
8) จัดให้มีกริ่งสัญญาณเรียก เพื่อขอความช่วยเหลือที่เตียงและห้องน้ำ
9) จัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอบริเวณเตียง ทางเดิน และห้องน้ำ
10) ปิดป้ายเตือนในหอผู้ป่วยและบริเวณลานของเล่น เพื่อให้เจ้าหน้าที่และผู้ดูแลตระหนักถึงความเสี่ยง
ในการพลัดตกหกล้ม
11) ดูแลอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆให้มั่นคง แข็งแรง สภาพพร้อมใช้หากพบมีการชำรุดให้ส่งซ่อมทันที
12) ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยเด็กอย่างน้อยทุก 8 ชั่วโมงตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
13) ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยทารกและเด็กขณะขึ้นลงเตียง หรือในการทำกิจกรรมต่างๆ ตามความเหมาะ
สม
14) อนุญาตให้ผู้ดูแลเฝ้าตลอดเวลา และให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทุกครั้งทุกครั้งที่ออกจากหอผู้ป่วย
15) จัดให้มีราวเกาะเดินที่มั่นคงในบริเวณที่จำเป็นตามความเหมาะสม เช่น ห้องน้ำ เป็นต้น

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

3.2 ผู้ป่วยทารกและเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มสูง high risk (ค่าคะแนน 12 – 23)
ให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในทารกและเด็กเพิ่มเติมจาก low risk ดังนี้
1) ติดสัญลักษณ์ที่เตียง /chart / บอร์ดสื่อสาร เตือนเจ้าหน้าที่ทุกคนทราบกรณีผู้ป่วยที่มีความ
เสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้ม
2) ให้ความรู้ ข้อมูลหรือคำแนะนำแก่ผู้ดูแล ในเรื่อง ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม โดยใช้คำที่
เข้าใจง่าย
3) จัดให้ผู้ป่วยทารกและเด็กอยู่ในบริเวณที่สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด
4) ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยทารกและเด็กอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
5) ดูแลผู้ป่วยทารกและเด็กที่ได้รับยาที่มีผลต่อระบบประสาท/ความดันโลหิต ผู้ป่วยหลังผ่าตัด และผู้
ป่วยที่มีประวัติพลัดตกหกล้ม อย่างใกล้ชิด
7) เจ้าหน้าที่พยาบาลให้ความช่วยเหลือในทุกกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
8) ผู้ป่วยทารกและเด็กที่มีอาการอ่อนแรง ชาตามมือเท้า มองเห็นไม่ชัด มองเห็นภาพซ้อน หรือมี
อาการทางระบบประสาทเมื่อลุกจากเตียงให้มีผู้ช่วยเหลือในการทำกิจกรรมทุกครั้ง
9) ผู้ป่วยทารกและเด็กที่มีอาการทางระบบประสาท ค่าคะแนน GCS ≤ 14 ไม่อนุญาตให้ลุกจากเตียง
10) ไม่ทิ้งผู้ป่วยทารกและเด็กอยู่ตามลำพังบนโต๊ะ/อ่างอาบน้ำ ขณะเตรียมและอาบน้ำ
11) ผู้อาบน้ำต้องเช็ดมือและฟองสบู่ บริเวณที่จะจับผู้ป่วยทารกและเด็กก่อนนำลงแช่ในอ่างอาบน้ำ
และหลังอาบน้ำเพื่อลดความลื่น และจับผู้ป่วยทารกและเด็กให้มั่นคงขณะอาบน้ำการอุ้มผู้ป่วยทารก
และเด็กให้ใช้มือประคองทุกครั้ง ไม่ใช้มือข้างเดียวอุ้มผู้ป่วยทารกและเด็ก
12) ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาการขับถ่ายบ่อย จัดให้อยู่ใกล้ห้องน้ำหรือดูแลให้ขับถ่ายบนเตียง
13) ขณะส่งตรวจหรือส่งเข้าห้องผ่าตัดหรือเคลื่อนย้าย ให้ทำการช่วยเหลือผู้ป่วยทารกและเด็กขณะ
เคลื่อนย้าย โดยการล๊อคล้อขาเตียง/ล้อเข็นก่อนเคลื่อนย้ายหรือลงจากเตียงทุกครั้ง เด็กที่น้ำหนักตัว
มากไม่สามารถอุ้มได้ให้ใช้ pad slide ช่วยในการเคลื่อนย้าย ในกรณีที่ผู้ป่วยทารกและเด็กดิ้นมากไม่
ยอมนอนเปล ให้มารดาอุ้มนั่งล้อเข็นและมีเจ้าหน้าที่พยาบาลไปกับผู้ป่วยทุกครั้ง
14) กรณีเป็นผู้ป่วยทารก ให้ล็อคฝาตู้อบทุกครั้ง ที่นำทารกเข้าตู้อบ หรือยกที่กั้น radiant
warmer ทั้ง 3 ด้านขึ้นทุกครั้ง หากมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทารก ให้ทำการห่อตัวทารกก่อนและ
เคลื่อนย้ายผู้ป่วยทารกโดยใช้ crib หรือตู้อบทารกทุกครั้ง
15) บันทึกการให้คำแนะนำและกิจกรรมการพยาบาล

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

4. แนวทางการดูแลเมื่อเกิดการพลัดตกหกล้ม

4.1 เมื่อพบผู้ป่วยทารกและเด็กพลัดตกหกล้มให้ทำการช่วยเหลือและประเมินอาการบาดเจ็บ ประเมิน
กำลังแขนขา ในกรณีศีรษะผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือน ให้ทำการประเมินผู้ป่วยด้วยตารางกลาส
โกว (Glasgow Coma Scale) ใน 24 ชั่วโมง ต้องรายงานแพทย์ตามความรุนแรงของการบาด
เจ็บ

4.2 ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันทีตามอาการเช่น ทำแผล ประคบเย็น เป็นต้น และรายงาน
แพทย์ผู้รักษาทันที
4.3 หากประเมินพบว่าผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บรุนแรงระดับ E ขึ้นไป เช่น กระดูกหัก ศีรษะได้รับอันตราย
มีเลือดออกในสมอง ต้องได้รับการช่วยเหลือเพื่อช่วยชีวิต พยาบาลหัวหน้าทีมต้องดำเนินการแก้ไข
ช่วยเหลือและรายงานผู้บริหารตามลำดับด้วยวาจาทันที
4.4 พยาบาลหัวหน้าทีมหรือพยาบาลประกันคุณภาพประจำหอผู้ป่วยบันทึกและรายงานอุบัติการณ์
ตามขั้นตอน

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

5. การบันทึกและรายงาน

5.1 การรายงานตามขั้นตอนของกรรมการพัฒนาและประกันคุณภาพทางการพยาบาล ให้มีข้อมูลครบ
ถ้วน ทำการวิเคราะห์สาเหตุและการแก้ปัญหาร่วมกันโดยให้ทีมผู้ดูแลมีส่วนร่วม และแบ่งระดับความ
รุนแรงของการบาดเจ็บ ดังนี้
A หมายถึง มีสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อม ที่อาจทำให้ผู้ป่วยทารกและเด็ก เกิดการพลัดตกหกล้ม
B หมายถึง มีสถานการณ์ที่ผู้ป่วยทารกและเด็ก เกือบมีการพลัดตกหกล้ม แต่สามารถช่วยเหลือไว้ ได้
ทัน
C หมายถึง ผู้ป่วยทารกและเด็ก เกิดการพลัดตกหกล้ม แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บ
D หมายถึง ผู้ป่วยทารกและเด็ก เกิดการพลัดตกหกล้มและได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ได้แก่ มีแผล ถลอก
ช้ำ
E หมายถึง ผู้ป่วยทารกและเด็ก เกิดการพลัดตกหกล้มและได้รับบาดเจ็บปานกลาง ได้แก่ มีแผลเปิด

กล้ามเนื้อ ฉีกขาด มีจ้ำเลือด (hematoma) มีการเคลื่อนไหวบกพร่องจากการพลัดตก
หกล้ม

หรือภายหลังพลัดตกหกล้มได้รับอันตรายที่แพทย์มีแผนการรักษา
F หมายถึง ผู้ป่วยทารกและเด็กเกิดการพลัดตกหกล้มและบาดเจ็บรุนแรงได้แก่ กระดูกหักหนึ่ง ตำแหน่ง

หรือหลายตำแหน่ง มีเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง ศีรษะได้รับอันตรายที่มีแผนการรักษาและทำ
ให้เกิด ความพิการชั่วคราว และต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น
G หมายถึง ผู้ป่วยทารกและเด็กเกิดการพลัดตกหกล้มและบาดเจ็บรุนแรงมากที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความ
พิการแบบถาวร
H หมายถึง ผู้ป่วยทารกและเด็กเกิดการพลัดตกหกล้มและบาดเจ็บรุนแรงมากและต้องได้รับการ รักษา
เพื่อ
ช่วยชีวิต
I หมายถึง ผู้ป่วยทารกและเด็กเกิดการพลัดตกหกล้ม และเสียชีวิต

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

5.2 พยาบาลหัวหน้าทีม ที่พบเหตุการณ์ หรือพยาบาลรับผิดชอบงานความเสี่ยงประจำหอผู้ป่วย
บันทึกและรายงานอุบัติการณ์ ดังนี้
ระดับ A-D รายงานในระบบสารสนเทศทางการพยาบาล การบริหารจัดการความเสี่ยงช่องอุบัติการณ์
ความเสี่ยงทางคลินิกให้ครบถ้วนเสร็จภายใน 1 สัปดาห์
ระดับ E-F รายงานหัวหน้าหอผู้ป่วยทางวาจา พร้อมบันทึกในระบบสารสนเทศทางการพยาบาล
ให้แล้วเสร็จภายใน 48 ชั่วโมง และมีระบบการค้นหาสาเหตุสำคัญ (RCA) และส่งรายงานตามลำดับให้
แล้วเสร็จ

ระดับ G-I และระดับอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อการฟ้องร้อง รายงานหัวหน้าหอผู้ป่วยทางวาจาทันที
เพื่อรายงานต่อหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลด้วยวาจาพร้อมบันทึกในระบบสารสนเทศทางการพยาบาลให้
แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมงพร้อมพิมพ์บันทึกรายงานอุบัติการณ์ ให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมงและมีระบบ
การค้นหาสาเหตุสำคัญ (RCA) และส่งรายงานตามลำดับให้แล้วเสร็จ

5.3 หัวหน้าหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมลงความเห็นในอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น ร่วมกับการติดต่อรายงาน
แพทย์และลงข้อมูลอุบัติการณ์ในระบบสารสนเทศให้มีความชัดเจน

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

6.การทบทวนอย่างต่อเนื่องและการพัฒนาคุณภาพ

6.1อุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มทั้งหมด วิเคราะห์สาเหตุ แนวโน้ม และหาแนวทางการป้องกันเพื่อ
การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดทุก 3 เดือน
6.2 จัดประชุมกลุ่มเพื่อปรึกษาปัญหารายกรณี (case conference)เมื่อมีอุบัติการณ์การเกิดพลัด
ตกหกล้มระดับ E ขึ้นไป เพื่อค้นหาสาเหตุของการเกิดการพลัดตกหกล้ม
6.3 สื่อสารส่งมอบข้อมูลการดูแลผู้ป่วยทารกและเด็ก (Communication during Patient Care
Hand Over) เมื่อมีการเปลี่ยนเวร หรือการเปลี่ยนหน่วยงานโดยใช้แนวคิดการดูแลผู้ป่วยและการดูแล
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง (กรณีความเสี่ยงสูง)

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

รายการความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการพลักตกหกล้มโดยพยาบาล

1. CPP401 : ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากกระบวนการดูแลรักษา
พยาบาลซึ่งป้องกันได้ (ยกเว้นเกิด แผลกดทับ,ตกเตียง/fall)
2.CP405 : ตกเตียง/fall

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

การใช้งานโปรมแกรมความเสี่ยง HRMS เบื้องต้นHRMS

เป็นโปรแกรมบริหารความเสี่ยงที่สามารถใช้งานผ่านระบบ Internet จึงสามารถเข้าใช้งานได้ ดังนี้
ใช้วิธี URL : https://khkhh.thai-nrls.org/
เจ้าหน้าที่ทุกท่านต้อง Longin และการใช้ระบบ HRMS ครั้งแรก ผู้ใช้จะต้องทำการเปลี่ยนรหัสผ่าน
ใหม่ก่อน ดังนี้

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

เมื่อกด Long in จะขึ้นหน้าต่างดังนี้

การใช้งานระบบในสิทธิ์ต่างๆ
1.เจ้าหน้าที่(ผู้ใช้งานทั่วไป)

บุคลากรทุกคนของฏรงพยบาลคลองขลุงที่มีชื่อในบัญชีผู้ใช้ของระบบ ซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้ใช้เจ้าหน้าที่ หรือ
ผู้ใช้ทั่วไป มีบทบาทหน้าที่ในการร่วมกันการบันทึกรายงานเกี่ยวกับการเกิดเหตุการณ์ หรือเกิดอุบัติ
การณ์ความเสี่ยง ซึ่งผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าใช้งานระบบ โดยเติมรายละเอียดให้ครบถ้วน ดังนี้

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

ภาพโปรแกรมโดยรวม

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

ช่อง โดยมีจุดสำคัญดังนี้

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

2. หัวหน้าหน่วยงาน
2.1 การยืนยันความเสี่ยง

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

เอกสารอ้างอิง

จิตสิริ รุ่นใหม่
, ดวงกมล มงคลศิลป์, กัลยกร เทียนภู่ และ ณัฏฐพัชร์ ภักดิ์ชัยภูมิ. (2561). การ
เปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้วิธีป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยใช้แบบประเมินแชมป์ร่วมกับการ
สอนสาธิตและเตียงไร้ขา กับแบบประเมินฮัมตี้ดัมตี้ร่วมกับการใช้สื่อประสมและเตียงสัญญาณเตือน
หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า. วารสารแพทย์นาวี, 54(1),139-153
ชมรมเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล. (2560). ตัวชี้วัดพลัดตกหกล้ม (Fall). [Internet]; 2017
[cited 2021 October 4]. Available from
http://www2.nmd.go.th/srknso/attachments /article/42/ exchange.pdf
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้
ป่วย ของประเทศไทย พ.ศ. 2561. นนทบุรี: เฟมัส แอนด์ ซัคเซ็สฟูล.
AlSowailmi, B.A., AlAkeely, M.H., AlJutaily, H.I., Alhasoon, M.A., Omair, A., &
AlKhalaf, H.A., (2018). Prevalence of fall injuries and risk factors for fall
among hospitalized children in a specialized childrens hospital in Saudi
Arabia. Ann Saudi Med. May-Jun 2018;38(3):225-229.
Fry, S., & Johnstone, M.J. (2002). Ethics in nursing practice: A guide to ethical
decision making (2nd ed.). International Council of Nurses. Oxford, UK:
Blackwell Science.
National Center for Patient Safety. (2015). Fall prevention and management
United States department of Veterans[Internet]; 2015 [cited 2021 October
4]. Available from http:www.patient safety.gov/CogAids/Fall
prevention/index.html.

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

ภาคผนวก
ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคลองขลุง

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

ภาคผนวก
ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคลองขลุง

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

ภาคผนวก
ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคลองขลุง

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

ภาคผนวก

ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคลองขลุง

การประเมินภาวะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มแก่ผู้
ป่วยทุกราย สำหรับผู้ป่วยทารกและเด็กอายุ 0-14
ปี ใช้แบบประเมินการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกแ
ละเด็ก ปรับปรุงจากแบบประเมินของฮัมตี้ดัมตี้(

The Humpty Dumpty Scale) โดยประเมินแรกรับและประเมินซ้ำทุกวันหรือเมื่อผู้ป่วยมีอาการ

เปลี่ยนแปลงขณะนอนโรงพยาบาล โดยมีปัจจัยความเสี่ยงระบุอยู่ในแบบประเมินการพลัดตกหกล้มในผู้

ป่วยทารกและเด็ก โดยให้ความหมายของปัจจัยและค่าคะแนน ดังนี้

1)อายุ มีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว พัฒนาการ การทำกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตนเอง อายุต่ำ

กว่า 3 ปี ให้ค่าคะแนนเป็น 4 อายุมากกว่า 13 ปี ให้ค่าคะแนนเป็น 1

2)เพศ เด็กเพศชาย มีการเคลื่อนไหวมากกว่าเด็กเพศหญิง ชอบการเล่นที่ใช้กำลัง เพศชายให้คะแนน

เป็น 2 เพศหญิง ให้ค่าคะแนนเป็น 1

3)การวินิจฉัยโรค พยาธิสภาพของโรคที่แตกต่างกันมีผลต่อการเคลื่อนไหว การตัดสินใจ ความ

สามารถในการขึ้นลงเตียงผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบประสาท หรือมีปัญหาด้านการมองเห็น การรับฟัง

และการเคลื่อนไหว ให้ค่าคะแนนเป็น 4 โรคอื่นๆที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมหรือมีผู้

ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจน การให้ค่าคะแนนเป็น 1

4)ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยที่มีประวัติพลัดตกหกล้ม หรือทารกวัยหัดเดิน ที่ต้องนอนบนเตียงให้

ค่าคะแนนเป็น 4 ส่วนผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้ เดินไปมาได้ ให้ค่าคะแนนเป็น 1

5)การรับรู้ (สติปัญญา) ผู้ป่วยที่มีการรับรู้บกพร่องหรือประเมินความสามารถของตนเองไม่เหมาะสม

รวมถึงทารกให้ค่าคะแนนเป็น 3 ส่วนผู้ป่วยเด็กที่รับรู้และปฏิบัติตามคำแนะนำให้ค่าคะแนนเป็น 1

6)หลังผ่าตัด ผู้ป่วยหลังผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง ให้ค่าคะแนนเป็น 3 ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่าตัดหรือ

ผ่าตัดมากกว่า48 ชั่วโมง ให้ค่าคะแนนเป็น 1

7)การได้รับยาและขนาดของยา การได้รับยาที่มีผลต่อความดันโลหิต ระดับความรู้สึกตัวและมีผลทำให้

ง่วงซึม เช่น ยาในกลุ่ม Barbiturates,

Antidepressants,Diuretics,Narcotic,Sedative,Anticonvulsants เป็นต้น ผู้ป่วยได้รับยา

ข้างต้นมากกว่า 1ชนิด ให้ค่าคะแนนเป็น 3 ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับยาชนิดอื่นนอกเหนือจากยาข้างต้น หรือ

ไม่ได้รับยาให้ค่าคะแนน

เป็น 1

8)สามารถแบ่งระดับความรุนแรงของปัจจัยเสี่ยงการพลัดตกหกล้มตามค่าคะแนน ดังนี้ (ภาคผนวก)

i)ค่าคะแนน 7-11 =มีปัจจัยเสี่ยงต่ำ (Low risk)

ii)ค่าคะแนน 12-23 =มีปัจจัยเสี่ยงสูง (High risk

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

ภาคผนวก
ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคลองขลุง





ป้ายเตือนเฝ้าระวังพลัดตกหกล้ม

กำหนดให้ใช้ป้ายเฝ้าระวัง 2 ดาว ค่าคะแนน 7-11 คะแนน = Morderate risk of falls
กำหนดให้ใช้ป้ายเฝ้าระวัง 3 ดาวค่าคะแนน 12-23คะแนน = High risk of falls

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

ภาคผนวก

ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคลองขลุง

แผ่นพับให้ความรู้กับผู้ดูแล

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

ภาคผนวก

ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคลองขลุง

แผ่นพับให้ความรู้กับผู้ดูแล

การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

ภาคผนวก
ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทารกและเด็ก

กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคลองขลุง

โปสเตอร์แนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันพลั

ดตกหกล้ม


Click to View FlipBook Version