การสร้างเกณฑ์หรือพัฒนาเกณฑ์หรือกำหนดเกณฑ์การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ผู้สอนควรให้ความ
สนใจในสว่ นทเี่ ก่ยี วข้อ ดงั นี้
๑. การวางแผนการสังเกตพฤติกรรมของเด็กอย่างเป็นระบบ เช่น จะสังเกตเด็กคนใดบ้างในแต่ละวัน กำหนด
พฤติกรรมที่สังเกตให้ชัดเจน จัดทำตารางกำหนดการสังเกตเด็กเป็นรายบุคคล รายกลุ่ม ผู้สอนต้องเลือกสรรพฤติกรรมท่ี
ตรงกับระดับพฒั นาการของเดก็ คนนัน้ จรงิ ๆ
๒. ในกรณีที่ห้องเรียนมีนักเรียนจำนวนมาก ผู้สอนอาจเลือกสังเกตเฉพาะเด็กท่ีทำได้ดีแล้วและเด็กที่ยังทำไม่ได้
สว่ นเด็กปานกลางให้ถือว่าทำได้ไปตามกิจกรรม
๓. ผู้สอนต้องสังเกตจากพฤติกรรม คำพูด การปฏิบัติตามขั้นตอนในระหว่างทำงาน/กิจกรรม และคุณภาพของ
ผลงาน/ช้ินงาน ร่องรอยท่นี ำมาใชพ้ ิจารณาตัดสินผลของการทำงานหรือการปฏิบัติ ตวั อย่างเช่น
๑) เวลาท่ใี ชใ้ นการทำกิจกรรม/ทำงาน ถ้าเด็กไม่ชอบ ไม่ชำนาญจะใช้เวลามาก มีทา่ ทางอิดออด ไมก่ ล้า
ไม่เต็มใจทำงาน
๒) ความตอ่ เน่ือง ถ้าเด็กยังมีการหยุดชะงัก ลังเล ทำงานไม่ต่อเน่ือง แสดงวา่ เด็กยังไม่ชำนาญหรือยงั ไม่
พรอ้ ม
๓) ความสัมพันธ์ ถ้าการทำงาน/ปฏิบัตินั้นๆมีความสัมพันธ์ต่อเน่ือง ไม่ราบร่ืน ท่าทางมือและเท้าไม่
สัมพนั ธก์ นั แสดงว่าเดก็ ยงั ไม่ชำนาญหรอื ยังไม่พรอ้ ม ท่าทแ่ี สดงออกจงึ ไม่สง่างาม
๔) ความภูมิใจ ถ้าเด็กยังไม่ชื่นชม ก็จะทำงานเพียงให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว ไม่มีความภูมิใจในการ
ทำงาน ผลงานจงึ ไมป่ ระณีต
๒.๓.๑ ระดบั คุณภาพผลการประเมนิ พฒั นาการเดก็
การให้ระดับคุณภาพผลการประเมินพัฒนาการของเด็กทั้งในระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษาควรกำหนดใน
ทิศทางหรือรูปแบบเดียวกัน สถานศึกษาสามารถให้ระดับคุณภาพผลการประเมินพัฒนาการของเด็กท่ีสะท้อนมาตรฐาน
คุณลักษณะท่ีพงึ ประสงค์ ตวั บ่งช้ี สภาพที่พึงประสงค์ หรอื พฤติกรรมที่จะประเมนิ เปน็ ระบบตวั เลข เช่น ๑ หรือ ๒ หรือ
๓ หรอื เปน็ ระบบท่ใี ช้คำสำคญั เชน่ ดี พอดี หรือ ควรสง่ เสรมิ ตามทสี่ ถานศึกษากำหนด ตัวอย่างเช่น
ตัวเลข เช่น ๑ หรอื ๒ หรอื ๓ หรอื เปน็ ระบบท่ใี ชค้ ำสำคญั เช่น ดี พอใช้ หรือ ควรส่งเสริม ตามทสี่ ถานศกึ ษากำหนด
ระบบตัวเลข ระบบท่ีใช้คำสำคัญ
๓ ดี
๒
๑ พอใช้
ควรสง่ เสริม
สถานศกึ ษากำหนดระดับคณุ ภาพของการแสดงออกในพฤติกรรม เป็น ๓ ระดับ ดงั น้ี
ระดับคุณภาพ ระบบทใ่ี ช้คำสำคัญ
๑ หรอื ควรสง่ เสริม เดก็ มคี วามลังเล ไมแ่ น่ใจ ไม่ยอมปฏบิ ตั กิ ิจกรรม ท้งั น้ี เนื่องจากเดก็ ยงั ไม่พร้อม ยงั
ม่ันใจ และกลวั ไม่ปลอดภยั ผู้สอนตอ้ งยัว่ ยหุ รือแสดงให้เห็นเปน็ ตวั อย่างหรือตอ้ ง
๒ หรือ พอใช้ คอยอยู่ใกล้ๆ คอ่ ยๆให้เดก็ ทำทลี ะขั้นตอน พร้อมต้องให้กำลังใจ
๓ หรือ ดี เด็กแสดงได้เอง แตย่ ังไม่คล่อง เด็กกล้าทำมากขนึ้ ผู้สอนกระตนุ้ นอ้ ยลง ผูส้ อนต้อง
คอยแกไ้ ขในบางครัง้ หรอื คอยใหก้ ำลังใจใหเ้ ด็กฝกึ ปฏบิ ัติมากขึน้
๔๗ เด็กแสดงไดอ้ ยา่ งชำนาญ คล่องแคล่ว และภูมิใจ เด็กจะแสดงได้เองโดยไม่ตอ้ ง
กระตุ้น มีความสัมพนั ธ์ทดี่ ี
หลกั สตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนพระพิมลเสนี (พรอ้ ม หงสกลุ ) ระดบั ปฐมวยั พุทธศกั ราช 256๕
คำอธิบายคณุ ภาพ
พฒั นาการดา้ นร่างกาย : สขุ ภาพอนามยั พัฒนาการด้านรา่ งกาย : กระโดดเท้าเดียว
ระดับคุณภาพ คำอธบิ ายคุณภาพ ระดบั คุณภาพ คำอธบิ ายคุณภาพ
๑หรือ ควรสง่ เสริม สง่ เสรมิ ความสะอาด ๑หรอื ควรสง่ เสรมิ ทำไดแ้ ต่ไม่ถกู ต้อง
๒ หรือ พอใช้ สะอาดพอใช้ ๒ หรอื พอใช้ ทำได้ถกู ต้อง แต่ไม่คล่องแคล่ว
๓ หรือ ดี สะอาด ๓ หรือ ดี ทำได้ถูกต้อง และคลอ่ งแคลว่
พฒั นาการด้านอารมณ์ : ประหยัด
ระดับคุณภาพ คำอธบิ ายคุณภาพ
๑หรือ ควรสง่ เสริม ใช้สิ่งของเครื่องใชเ้ กนิ ความจำเป็น
๒ หรอื พอใช้ ใช้สิ่งของเครอ่ื งใช้อยา่ งประหยัดเปน็ บางคร้งั
๓ หรือ ดี ใชส้ ่งิ ของเครอ่ื งใชอ้ ย่างประหยัดตามความจำเปน็ ทุกครง้ั
พฒั นาการดา้ นสังคม : ปฏิบตั ิตามข้อตกลง
ระดับคุณภาพ คำอธบิ ายคุณภาพ
๑หรือ ควรสง่ เสริม ไม่ปฏบิ ัติตามขอ้ ตกลง
๒ หรือ พอใช้ ปฏบิ ตั ติ ามข้อตกลง โดยมผี ชู้ ้ีนำหรอื กระตนุ้
๓ หรือ ดี ปฏิบัติตามข้อตกลงได้ด้วยตนเอง
พัฒนาการด้านสติปญั ญา : เขียนชือ่ ตนเองตามแบบ
ระดบั คุณภาพ คำอธบิ ายคุณภาพ
๑หรอื ควรส่งเสรมิ เขียนช่อื ตนเองไม่ได้ หรือเขยี นเปน็ สญั ลักษณ์ทไ่ี ม่เปน็ ตัวอักษร
๒ หรอื พอใช้ เขยี นช่อื ตนเองได้ มอี ักษรบางตัวกลับหวั กลบั ด้านหรือสลบั ที่
๓ หรอื ดี เขียนชื่อเองได้ ตัวอกั ษรไม่กลับหวั ไมก่ ลบั ด้านไมส่ ลับท่ี
๒.๓.๒ การสรุปผลการประเมินพัฒนาการเด็ก
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กำหนดเวลาเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยต่อปีการศึกษาไม่น้อยกว่า
๑๘๐ วัน สถานศึกษาจึงควรบริหารจัดการเวลาที่ได้รบั น้ใี ห้เกดิ ประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเด็กอยา่ งรอบด้านและสมดุล
ผู้สอนควรมีเวลาในการพัฒนาเด็กและเติมเต็มศักยภาพของแด็ก เพื่อให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ
ผู้สอนต้องตรวจสอบพฤติกรรมท่ีแสดงพัฒนาการของเด็กต่อเน่ืองมีการประเมินซ้ำพฤติกรรมน้ันๆอย่างน้อย ๑ คร้ังต่อ
ภาคเรียน เพื่อยืนยันความเชื่อม่ันของผลการประเมินพฤติกรรมน้ันๆ และนำผลไปเป็นข้อมูลในการสรุปการประเมิน
๔๘ หลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนพระพิมลเสนี (พรอ้ ม หงสกลุ ) ระดบั ปฐมวยั พุทธศกั ราช 256๕
สภาพที่พึงประสงค์ของเด็กในแต่ละสภาพท่ีพึงประสงค์ นำไปสรุปการประเมินตัวบ่งช้ีและมาตรฐานคุณลักษณะท่ีพึง
ประสงคต์ ามลำดับ
อน่ึง การสรุประดับคุณภาพของการประเมินพัฒนาการเด็ก วิธีการทางสถิติที่เหมาะสมและสะดวกไม่ยุ่งยาก
สำหรับผู้สอน คือการใช้ฐานนิยม (Mode) ในบางคร้ังพฤติกรรม หรือสภาพที่พึงประสงค์หรือตัวบ่งช้ีนิยมมากว่า ๑
ฐานนิยม ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา กล่าวคือ เมื่อมีระดับคุณภาพซ้ำมากกว่า ๑ ระดับ สถานศึกษาอาจตัดสิน
สรุปผลการประเมนิ พัฒนาการบนพ้ืนฐาน หลักพัฒนาการและการเตรียมความพรอ้ ม หากเปน็ ภาคเรยี นที่ ๑ สถานศึกษา
ควรเลือกตัดสินใจใช้ฐานนิยมท่ีมีระดับคุณภาพต่ำกว่าเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาเด็กให้พร้อมมากขึ้น หากเป็นภาค
เรียนท่ี ๒ สถานศึกษาควรเลือกตัดสินใจใช้ฐานนิยมที่มีระดับคุณภาพสูงกว่าเพื่อตัดสินและการส่งต่อเด็กในระดับชั้นท่ี
สงู ขึ้น
๒.๓.๓ การเล่ือนชน้ั อนบุ าลและเกณฑ์การจบการศึกษาระดับปฐมวยั
เมื่อส้ินปกี ารศึกษา เด็กจะได้รับการเลื่อนชั้นโดยเดก็ ต้องได้รับการประเมินมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้ง
๑๒ ข้อ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพื่อเป็นข้อมูลในการส่งต่อยอดการพัฒนาให้กับเด็กในระดับสูงขึ้นต่อไป และ
เน่ืองจากการศึกษาระดับอนุบาลเป็นการจัดการศึกษาข้ันพื้นฐานท่ีไม่นับเป็นการศึกษาภาคบังคับ จึงไม่มีการกำหนด
เกณฑ์การจบชั้นอนุบาล การเทียบโนการเรียน และเกณฑ์การเรียนซ้ำช้ัน และหากเด็กมีแนวโน้มว่าจะมีปัญหาต่อการ
เรยี นรใู้ นระดับที่สงู ขึ้น สถานศกึ ษาอาจตั้งคณะกรรมการเพ่อื พิจารณาปญั หา และประสานกับหนว่ ยงานทเ่ี ก่ียวข้องในการ
ให้ความชว่ ยเหลือ เชน่ เจา้ หนา้ ทสี่ าธารณสขุ สง่ เสรมิ ตำบล นกั จิตวทิ ยา ฯลฯ เข้าร่วมดำเนนิ งานแกป้ ญั หาได้
อย่างไรก็ตาม ทักษะที่นำไปสู่ความพร้อมในการเรียนรู้ท่ีสามารถใช้เป็นรอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นอนุบาลกับชั้น
ประถมศกึ ษาปีที่ ๑ ทค่ี วรพจิ ารณามีทกั ษะดังนี้
๑. ทกั ษะการช่วยเหลือตนเอง ได้แก่ ใช้ห้องน้ำ ห้องส้วมได้ด้วยตนเอง แตง่ กายได้เอง เก็บของเข้าท่ีเมื่อเล่นเสร็จ
และชว่ ยทำความสะอาด รจู้ กั ร้องขอให้ช่วยเม่อื จำเป็น
๒. ทักษะการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ วิ่งได้อย่างราบรื่น วิ่งก้าวกระโดดได้ กระด้วยสองขาพ้นจากพ้ืน ถือจับ
ขวา้ ง กระดอนลูกบอลได้
๓. ทักษะการใช้กล้ามเน้ือเล็ก ได้แก่ ใช้มือหยิบจับอุปกรณ์วาดภาพและเขียน วาดภาพคนมีแขน ขา และส่วน
ตา่ งๆของร่างกาย ตดั ตามรอยเสน้ และรูปต่างๆ เขยี นตามแบบอยา่ งได้
๔. ทักษะภาษาการรู้หนังสือ ได้แก่ พูดให้ผู้อ่ืนเข้าใจได้ ฟังและปฏิบัติตามคำชี้แจงงง่ายๆ ฟังเรื่องราวและคำ
คล้องจองต่างๆอย่างสนใจ เข้าร่วมฟังสนทนาอภิปรายในเรื่องต่างๆ รู้จกั ผลดั กันพูดโต้ตอบ เลา่ เร่ืองและทบทวนเรื่องราว
หรือประสบการณ์ต่างๆ ตามลำดับเหตุการณ์เล่าเรื่องจากหนังสือภาพอย่างเป็นเหตุเป็นผล อ่านหรือจดจำคำบางคำที่มี
ความหมายตอ่ ตนเอง เขียนช่อื ตนเองได้ เขียนคำท่มี ีความหมายต่อตนเอง
๕. ทักษะการคิด ได้แก่ แลกเปล่ียนความคิดและให้เหตุผลได้ จดจำภาพและวัสดุที่เหมือนและต่างกันได้ ใช้คำ
ใหม่ๆในการแสดงความคิด ความรสู้ ึก ถามและตอบคำถามเกี่ยวกบั เรื่องที่ฟังเปรียบเทียบจำนวนของวัตถุ ๒ กลุ่ม โดยใช้
คำ “มากกว่า” “น้อยกว่า” “เท่ากัน” อธิบายเหตุการณ์/เวลา ตามลำดับอย่างถูกต้อง รู้จักเช่ือมโยงเวลากับกิจวัตร
ประจำวนั
๖. ทักษะทางสังคมและอารมณ์ ได้แก่ ปรับตัวตามสภาพการณ์ ใช้คำพูดเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งนั่งได้นาน ๕-๑๐
นาที เพื่อฟังเร่ืองราวหรอื ทำกิจกรรม ทำงานจนสำเร็จ ร่วมมือกับคนอืน่ และรู้จักผลัดกันเล่น ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เมื่อ
กังวลหรือต่นื เตน้ หยดุ เลน่ และทำในส่งิ ท่ีผู้ใหญต่ อ้ งการใหท้ ำได้ ภมู ิใจในความสำเร็จของตนเอง
๓. การรายงานผลการประเมินพัฒนาการ
การรายงานผลการประเมินพัฒนาการเปน็ การสื่อสารใหพ้ ่อแม่ ผปู้ กครองไดร้ บั ทราบความกา้ วหนา้ ในการเรยี นรู้
ของเด็ก ซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมนิ พฒั นาการ และจดั ทำเอกสารรายงานให้ผูป้ กครองทราบเป็นระยะๆ หรอื
อยา่ งน้อยภาคเรยี นละ ๑ คร้ัง
๔๙ หลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนพระพมิ ลเสนี (พร้อม หงสกลุ ) ระดบั ปฐมวยั พทุ ธศกั ราช 256๕
การรายงานผลการประเมนิ พัฒนาการสามารถรายงานเปน็ ระดับคุณภาพที่แตกต่างไปตามพฤติกรรมที่แสดงออก
ถงึ พฒั นาการแตล่ ะด้าน ทสี่ ะท้อนมาตรฐานคุณลกั ษณะที่พึงประสงค์ทงั้ ๑๒ ขอ้ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
๓.๑ จุดมงุ่ หมายการรายงานผลการประเมนิ พัฒนาการ
๑) เพ่ือให้ผู้เก่ียวข้อง พ่อ แม่ และผู้ปกครองใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข ส่งเสริม และพัฒนาการ
เรียนรขู้ องเด็ก
๒) เพ่อื ใหผ้ ้สู อนใชเ้ ป็นขอ้ มูลในการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรยี นรู้
๓) เพ่ือเป็นข้อมูลสำหรับสถานศึกษา เขตพ้ืนท่ีการศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัดใช้ประกอบในการ
กำหนดนโยบายวางแผนในการพฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษา
๓.๒ ข้อมูลในการรายงานผลการประเมินพัฒนาการ
๓.๒.๑ ข้อมูลระดับช้ันเรียน ประกอบด้วย เวลาเรียนแบบบันทึกการประเมินพัฒนาการตามหน่วย
การจัดประสบการณ์ สมดุ บันทึกผลการประเมินพัฒนาการประจำช้ัน และสมดุ รายงานประจำตัวนักเรียน และสารนิทัศน์
ที่สะท้อนการเรียนรู้ของเด็ก เป็นข้อมูลสำหรับรายงานให้ผู้มีส่วนเก่ียวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้สอน และ
ผู้ปกครอง ได้รับทราบความก้าวหน้า ความสำเร็จในการเรียนรู้ของเด็กเพ่ือนำไปในการวางแผนกำหนดเป้าหมายและ
วิธกี ารในการพฒั นาเด็ก
๓.๒.๒ ข้อมูลระดับสถานศึกษา ประกอบด้วย ผลการประเมินมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ท้ัง
๑๒ ข้อตามหลักสูตร เพื่อใช้เป็นข้อมูลและสารสนเทศในการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนและคุณภาพ
ของเด็ก ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์และแจ้งให้ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูล โดยผู้มี
หนา้ ท่ีรับผิดชอบแต่ละฝ่ายนำไปปรบั ปรุงแกไ้ ขและพฒั นาเด็กใหเ้ กิดพัฒนาการอย่างถกู ต้อง เหมาะสม รวมทง้ั นำไปจัดทำ
เอกสารหลกั ฐานแสดงพฒั นาการของผู้เรยี น
๓.๒.๓ ข้อมูลระดับเขตพ้ืนที่การศึกษา ได้แก่ ผลการประเมินมาตรฐานคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ทั้ง
๑๒ ข้อ ตามหลักสูตรเป็นรายสถานศึกษา เพ่ือเป็นข้อมูลท่ีศึกษานิเทศก์/ผู้เกี่ยวข้องใช้วางแผนและดำเนินการพัฒนา
คุณภาพการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา เพ่ือให้เกิดการยกระดับคุณภาพเด็กและมาตรฐาน
การศกึ ษา
๓.๓ ลักษณะขอ้ มูลสำหรบั การรายงานผลการประเมนิ พัฒนาการ
การรายงานผลการประเมินพัฒนาการ สถานศึกษาสามารถเลือกลักษณะข้อมูลสำหรับการรายงานได้หลาย
รูปแบบให้เหมาะสมกับวิธีการรายงานและสอดคล้องกับการให้ระดับผลการประเมินพัฒนาการโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ
ของการรายงานและการนำข้อมลู ไปใช้ประโยชนข์ องผูร้ ายงานแตล่ ะฝา่ ยลักษณะข้อมูลมรี ปู แบบ ดงั นี้
๓.๓.๑ รายงานเป็นตัวเลข หรือคำท่ีเป็นตัวแทนระดับคุณภาพพัฒนาการของเด็กท่ีเกิดจากการ
ประมวลผล สรปุ ตดั สนิ ขอ้ มูลผลการประเมินพฒั นาการของเดก็ ได้แก่
- ระดบั ผลการประเมินพฒั นาการมี ๓ ระดับ คือ ๓ ๒ ๑
- ผลการประเมินคณุ ภาพ “ด”ี “พอใช”้ และ “ควรส่งเสริม”
๓.๓.๒ รายงานโดยใช้สถติ ิ เป็นรายงานจากข้อมลู ที่เปน็ ตัวเลข หรือข้อความใหเ้ ป็นภาพแผนภูมหิ รือเส้น
พัฒนาการ ซึ่งจะแสดงให้เห็นพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็กว่าดีข้ึน หรือควรได้รับการพัฒนาอย่างไร เม่ือเวลา
เปล่ยี นแปลงไป
๕๐ หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรียนพระพิมลเสนี (พรอ้ ม หงสกลุ ) ระดบั ปฐมวยั พุทธศกั ราช 256๕
๓.๓.๓ รายงานเป็นข้อความ เป็นการบรรยายพฤติกรรมหรือคุณภาพที่ผู้สอนสังเกตพบ เพ่ือรายงานให้
ทราบว่าผู้เก่ียวข้อง พ่อ แม่ และผู้ปกครองทราบว่าเด็กมีความสามารถ มีพฤติกรรมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตาม
หลกั สูตรอย่างไร เชน่
- เดก็ รับลกู บอลท่ีกระดอนจากพนื้ ด้วยมือทง้ั ๒ ข้างได้โดยไมใ่ ชล้ ำตัวช่วยและลกู บอลไมต่ กพื้น
- เดก็ แสดงสีหน้า ท่าทางสนใจ และมีความสขุ ขณะทำงานทกุ ชว่ งกิจกรรม
- เด็กเล่นและทำงานคนเดียวเป็นสว่ นใหญ่
- เดก็ จบั หนังสือไม่กลบั หวั เปดิ และทำทา่ ทางอ่านหนงั สือและเลา่ เร่ืองได้
๓.๔ เปา้ หมายของการรายงาน
การดำเนินการจัดการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย บุคลากรหลายฝ่ายรว่ มมอื ประสานงานกันพัฒนาเด็ก
ทางตรงและทางอ้อม ให้มพี ัฒนาการ ทักษะ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะที่พงึ ประสงค์โดย
ผู้มีสว่ นรว่ มเก่ียวข้องควรไดร้ ับการายงานผลการประเมินพัฒนาการของเด็กเพื่อใชเ้ ป็นข้อมูลในการดำเนนิ งาน ดังน้ี
กลมุ่ เปา้ หมาย การใชข้ ้อมูล
ผูส้ อน -วางแผนและดำเนนิ การปรับปรงุ แก้ไขและพฒั นาเด็ก
-ปรบั ปรงุ แก้ไขและพฒั นาการจดั การเรียนรู้
ผู้บริหารสถานศกึ ษา -ส่งเสริมพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรรู้ ะดับปฐมวยั ของสถานศกึ ษา
พ่อ แม่ และผูป้ กครอง -รับทราบผลการประเมินพัฒนาการของเด็ก
-ปรบั ปรงุ แก้ไขและพฒั นาการเรยี นรู้ของเด็ก รวมท้ังการดูแลสขุ ภาพอนามยั รา่ งกาย
อารมณ์ จิตใจ สงั คม และพฤตกิ รรมต่างๆของเด็ก
คณะกรรมการสถานศึกษา -พฒั นาแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยสถานศึกษา
ข้นั พ้ืนฐาน
สำนักงานเขตพนื้ ท่ี -ยกระดบั และพัฒนาคณุ ภาพการศกึ ษาปฐมวยั ของสถานศึกษาในเขตพนื้ ที่การศึกษา
การศกึ ษา/หนว่ ยงานต้น นิเทศ กำกบั ตดิ ตาม ประเมินผลและให้ความชว่ ยเหลือการพฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษา
สังกัด ปฐมวัยของสถานศกึ ษาในสงั กัด
๓.๕ วธิ กี ารรายงานผลการประเมินพัฒนาการ
การรายงานผลการประเมนิ พัฒนาการใหผ้ เู้ ก่ียวข้องรับทราบ สามารถดำเนินการ ได้ดังนี้
๓.๕.๑ การรายงานผลการประเมินพัฒนาการในดอกสารหลักฐานการศึกษา ขอ้ มูลจากแบบรายงาน
สามารถใชอ้ า้ งอิง ตรวจสอบ และรับรองผลพัฒนาการของเด็ก เช่น
- แบบบันทึกผลการประเมนิ พฒั นาการประจำชั้น
- แฟม้ สะสมงานของเด็กรายบคุ คล
-สมุดรายงานประจำตัวนกั เรยี น
-สมุดบันทกึ สขุ ภาพเด็ก
ฯลฯ
๓.๕.๒ การรายงานคุณภาพการศกึ ษาปฐมวัยใหผ้ ู้เก่ียวข้องทราบ สามารถรายงานได้หลายวิธี เช่น
- รายงานคุณภาพการศึกษาปฐมวัยประจำปี
- วารสาร/จลุ สารของสถานศึกษา
-จดหมายสว่ นตัว
-การให้คำปรึกษา
๕๑ หลกั สตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนพระพมิ ลเสนี (พร้อม หงสกลุ ) ระดับปฐมวยั พทุ ธศักราช 256๕
-การให้พบครทู ี่ปรึกษาหรือการประชมุ เครือข่ายผูป้ กครอง
- การใหข้ ้อมลู ทางอินเตอรเ์ น็ตผา่ นเว็ปไซตข์ องสถานศึกษา
ภารกิจของผสู้ อนในการประเมินพฒั นาการ
การประเมินพัฒนาการตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยท่ีมีคุณภาพและประสิทธิภาพน้ัน เกิดข้ึนในห้องเรียนและ
ระหว่างการจัดกิจกรรมประจำวันและกิจวัตรประจำวัน ผู้สอนต้องไม่แยกการประเมินพัฒนาการออกจากการจัด
ประสบการณ์ตามตารางประจำวัน ควรมีลักษณะการประเมินพัฒนาการในชั้นเรียน (Classroom Assessment) ซึ่ง
หมายถึง กระบวนการและการสังเกต การบันทึกและรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน/กิจกรรมประจำวัน
ตามสภาพจรงิ (Authentic Assessment) ผู้สอนควรจัดทำข้อมูลหลักฐานหรือเอกสารอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นหลกั ฐาน
แสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโตพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย แล้วนำมาวิเคราะห์ ตีความ บันทึก
ข้อมลู ทีไ่ ดจ้ ากการประเมินพฒั นาการว่าเดก็ รูอ้ ะไร สามารถทำอะไรได้ และจะทำต่อไปอย่างไร ด้วยวิธกี ารและเคร่ืองมอื ท่ี
หลากหลายทั้งท่ีเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งนั้นการดำเนินการดังกล่าวเกิดข้ึนตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติ
กจิ วัตรประจำวัน/กิจกรรมประจำวนั และการจัดประสบการณเ์ รยี นรู้
ดังน้ัน ข้อมูลที่เกิดจากการประเมินที่มีคุณภาพเท่าน้ัน จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ตรงตามเป้าหมาย ผู้สอน
จำเป็นต้องมีความรู้ความเขา้ ใจอย่างถ่องแท้ในหลักการ แนวคิด วิธีดำเนนิ งานในส่วนต่างๆที่เก่ียวข้องกับหลักสูตรการจัด
ประสบการเรียนรู้ เพ่ือสามารถนำไปใช้ในการวางแผนและออกแบบการประเมินพัฒนาการได้อย่างมีประสิทธิภาพบน
พื้นฐานการประเมินพัฒนาการในชั้นเรียนท่ีมีความถูกต้อง ยุติธรรม เช่ือถือได้ มีความสมบูรณ์ ครอบคลุมตามจุดหมาย
ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สะท้อนผลและสภาพความสำเร็จเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายของการดำเนินการจัด
การศกึ ษาปฐมวัย ทั้งในระดับนโยบาย ระดบั ปฏบิ ตั ิการ และผูม้ สี ว่ นเกย่ี วข้องตอ่ ไป
๑. ขนั้ ตอนการประเมนิ พฒั นาการเด็กปฐมวยั
การประเมินพัฒนาการเด็กของผู้สอนระดับปฐมวัยจะมขี ้ันตอนสำคัญๆคล้ายคลึงกับการประเมินการศึกษาท่ัวไป
ขั้นตอนต่างๆอาจปรับลด หรือเพม่ิ ได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและสอดคล้องกับการจัดประสบการณ์
หรอื อาจสลบั ลำดับก่อนหลังได้บ้าง ขั้นการประเมินพฒั นาการเดก็ ปฐมวยั โดยสรปุ ควรมี ๖ ขั้นตอน ดงั น้ี
ขั้นตอนที่ ๑ การวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพท่ีพึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และ
สภาพท่ีพึงประสงค์ที่สัมพันธ์กับหน่วยการจัดประสบการณ์ต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานการประเมิน
พัฒนาการอยา่ งเปน็ ระบบและครอบคลุมทวั่ ถึง
ข้ันตอนที่ ๒ การกำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีการประเมิน ในข้ันตอนน้ีสิ่งที่ผู้สอนต้องทำคือ การกำหนดการ
ประเด็นการประเมิน ได้แก่ สภาพท่ีพึงประสงค์ในแต่ละวัยของเด็กที่เกิดจากกาจัดประสบการณ์ในแต่ การจัด
ประสบการณ์ มากำหนดเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้ จุดประสงค์ย่อยของกิจกรรมตามตาราง
ประจำวัน ๖กิจกรรมหลัก หรือตามรปู แบบการจัดประสบการณ์ทก่ี ำหนด ผูส้ อนต้องวางแผนและออกแบบวธิ กี ารประเมิน
ให้เหมาะสมกับกิจกรรม บางคร้ังอาจใช้การสังเกตพฤติกรรม การประเมินผลงาน/ช้ินงาน การพูดคุยหรือสัมภาษณ์เด็ ก
เปน็ ตน้ ทั้งนี้วธิ ีการที่ผ้สู อนเลอื กใช้ต้องมีความหมายหลากหลาย หรือมากวา่ ๒ วธิ ีการ
ข้ันตอนที่ ๓ การสร้างเคร่ืองมือและเกณฑ์การประเมิน ในขั้นตอนน้ี ผู้สอนจะต้องกำหนดเกณฑ์การ ประเมินพัฒนาการ
ใหส้ อดคล้องกับพฤติกรรมทจ่ี ะประเมินในขน้ั ตอนท่ี ๒ อาจใชแ้ นวทางการกำหนดเกณฑ์ท่ี กล่าวมาแลว้ ข้างต้นในส่วนท่ี ๒
เป็นเกณฑ์การประเมินแยกส่วนของแต่ละพฤติกรรมและเกณฑ์สรุปผลการ ประเมิน พร้อมกับจัดทำแบบบันทึกผลการ
สังเกตพฤติกรรมตามสภาพท่ีพงึ ประสงค์ของแต่ละหน่วยการจัดประสบการณน์ ั้นๆ
๕๒ หลกั สตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนพระพมิ ลเสนี (พรอ้ ม หงสกลุ ) ระดบั ปฐมวยั พุทธศกั ราช 256๕
ข้ันตอนที่ ๔ การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนออกแบบ/วางแผนและทำการสังเกต
พฤติกรรมของเด็กเป็นรายบุคคล รายกลุ่ม การพูดคุยหรือการสัมภาษณ์เด็ก หรือการประเมินผลงาน/ชิ้นงานของเด็ก
อย่างเป็นระบบ เพ่ือรวบรวมข้อมูลพัฒนาการของเด็กให้ท่ัวถึงครบทุกคน สอดคล้องและตรงประเด็นการประเมินท่ี
วางแผนไวใ้ นขนั้ ตอนที่ ๔ บันทึกลงในเครอ่ื งมือทผ่ี สู้ อนพัฒนาหรือจดั เตรยี มไว้
การบันทึกผลการประเมินพัฒนาการตามสภาพที่พึงประสงค์ของแต่ละหน่วยการจัดประสบการณ์นั้น ผู้สอน
เป็นผ้ปู ระเมินเดก็ เป็นรายบุคคลหรอื รายกลุ่ม อาจใหร้ ะดบั คณุ ภาพ ๓ หรือ ๒ หรอื ๑ หรอื ใหค้ ำสำคัญ
ท่ีเป็นคุณภาพ เช่น ดี พอใช้ ควรส่งเสริม ก็ได้ ทั้งนี้ควรเป็นระบบเดียวกันเพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผล
การประเมินพัฒนาการเด็ก ในระยะต้นควรเป็นการประเมินเพื่อความก้าวหน้าไม่ควรเป็นการประเมินเพ่ือตัดส้ิน
พัฒนาการเด็ก หากผลการประเมินพบว่า เด็กอยู่ในระดับ ๑ พฤติกรรมหนึ่งพฤติกรรมใดผู้สอนต้องทำความเข้าใจว่าเด็ก
คนนั้นมีพัฒนาการเร็วหรือช้า ผู้สอนจะต้องจัดประสบการณ์ส่งเสริมในหน่วยการจัดประสบการณ์ต่อไปอย่างไร ดังน้ัน
การเก็บรวบรวมข้อมูลผลการประเมินพัฒนาการในแต่ละหน่วยการจัดประสบการณ์ของผู้สอน จึงเป็น การสะสมหรือ
รวบรวมข้อมูลผลการประเมินพัฒนาการของเด็กรายบุคคล หรือรายกลุ่มน่ันเอง เม่ือผู้สอนจัดประสบการณ์ครบทุก
หน่วยการจดั ประสบการณ์ตามท่ีวิเคราะห์สาระการเรยี นรู้รายปขี องแตล่ ะภาคเรยี น
ข้นั ตอนที่ ๕ การวเิ คราะห์ขอ้ มลู และแปลผล ในขัน้ ตอนน้ี ผสู้ อนท่เี ปน็ ผู้ประเมนิ ควรดำเนินดาร ดังนี้
๑) การวิเคราะห์และแปลผลการประเมินพัฒนาการเมื่อสิ้นสุดหน่วยการจัดประสบการณ์ ผู้สอนจะ
บันทึกผลการประเมินพัฒนาการของเด็กลงในแบบบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมตามสภาพที่พึงประสงค์ของหน่วยการ
จัดประสบการณ์หน่วยที ๑ จนถึงหน่วยสุดทา้ ยของภาคเรียน
๒) การวิเคราะห์และแปลผลการประเมินประจำภาคเรยี นหรือภาคเรียนที่ ๒ เม่ือสิ้นปีการศึกษา ผู้สอน
จะนำผลการประเมินพัฒนาการสะสมที่รวบรวมไว้จากทุกหน่วยการเรียนรู้สรุปลงในสมุดบันทึกผลประเมินพัฒนาการ
ประจำชนั้ และสรุปผลพฒั นาการรายด้านทง้ั ชนั้ เรียน
ข้ันตอนท่ี ๖ การสรุปรายงานผลและการนำข้อมูลไปใช้ เป็นขั้นตอนท่ีผู้สอนซึ่งเป็นครูประจำช้ันจะสรุปผลเพ่ือ
ตดั สินพัฒนาการของเด็กปฐมวยั เป็นรายตวั บง่ ชี้รายมาตรฐานและพัฒนาการท้ัง ๔ ด้าน เพอื่ นำเสนอผบู้ ริหารสถานศึกษา
อนุมัติการตัดสิน และแจ้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมกับครูประจำช้ันจะจัดทำรายงานผลการประเมิน
ประจำตัวนักเรียน นำข้อมูลไปใช้สรุปผลการประเมินคุณภาพเด็ก ของระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเม่ือ
ส้ินภาคเรยี นท่ี ๒ หรือเม่อื ส้นิ ปกี ารศกึ ษา
๕๓ หลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรยี นพระพิมลเสนี (พร้อม หงสกลุ ) ระดับปฐมวยั พทุ ธศกั ราช 256๕
ข้นั ตอนการประเมินพฒั นาการเดก็ สรุปได้ตามแผนภาพ
รายละเอยี ดการดำเนินงานแต่ละขัน้ ตอน มดี งั นี้
ขั้นตอนท่ี ๑ การวิเคราะห์มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยนำข้อมูลจากการ
วิเคราะห์การเรียนรู้รายปีในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยมาตรวจสอบความถ่ีของตัวบ่งช้ี และสภาพที่พึงประสงค์ว่าเกิด
ขึ้นกับเดก็ ตามหน่วยการจัดประสบการณ์เรียนรูใ้ ดบา้ ง
ขัน้ ตอนที่ ๑.๑ การวเิ คราะห์สาระการเรยี นร้รู ายปีของโรงเรยี น
ขั้นตอนที่ ๑.๒ ตรวจสอบความถี่เพ่ือตรวจสอบจำนวนครั้งของตัวบ่งชี้ สภาพท่ีพึงประสงค์ว่าวางแผนให้เกิด
พฒั นาการในหน่วยการจัดประสบการณก์ ารเรยี นรใู้ ดบ้างจากหลักสูตรสถานศกึ ษา
ข้ันตอนที่ ๒ กำหนดส่ิงที่ประเมินและวิธีการประเมิน โดยกำหนดสภาพที่พึงประสงค์ท่ีวิเคราะห์ไว้ในข้ันตอนที่ ๑.๒ มา
กำหนดจดุ ประสงค์การเรียนร้ใู น ๖ กจิ กรรมหลกั
๒.๑ การเขยี นหรือกำหนดจดุ ประสงค์การเรยี นของหน่วยการจดั ประสบการณ์
๒.๒ การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ข้ันตอนที่ ๓ การสร้างเครื่องมือและเกณฑ์การประเมิน ผู้สอนจะต้องกำหนดเกณฑ์การประเมินพัฒนาการเด็กให้
สอดคลอ้ งกับพฤตกิ รรมที่จะประเมนิ ตามแผนการจัดกิจกรรม พรอ้ มทำเกณฑ์การประเมนิ และสรุปผลการประเมิน พร้อม
จัดทำแบบบันทึกผลหลังสอนประจำหน่วยการจดั ประสบการณ์
๕๔ หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรียนพระพิมลเสนี (พรอ้ ม หงสกลุ ) ระดับปฐมวยั พทุ ธศกั ราช 256๕
ขั้นตอนท่ี ๔ การดำเนินการเป็นการรวบรวมข้อมูล ข้ันตอนน้ี ผู้สอนที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรม
ของเด็กรายบุคคล รายกลุ่ม การพูดคุยหรือสัมภาษณ์เด็ก หรือการประเมินผลงานชิ้นงานของเด็กอย่างเป็นระบบ ไป
พรอ้ มๆกับกจิ กรรมให้เด็ก เพื่อรวบรวมข้อมลู พัฒนาการของเด็กทุกคน และบนั ทึกลงแบบบนั ทกึ ผลหลังสอนประจำหน่วย
การจดั ประสบการณ์ ที่จัดเตรียมไว้
ขั้นตอนท่ี ๕ การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลเม่ือส้ินสุดหน่วยการจัดประสบการณ์ ผู้สอนจะตรวจสอบความครบถ้วน
สมบูรณ์ของผลการประเมินในแบบบนั ทึกผลการประเมินพัฒนาการของเด็กหลังการจัดประสบการณ์ลงในแบบบันทึกผล
หลังการจัดประสบการณ์ประจำหนว่ ยการจัดประสบการณ์ และเก็บสะสมเพื่อนำได้สรุปผลในการตัดสินพัฒนาการเด็กใน
ภาพรวมเม่ือส้ินปีการศึกษา โดยผู้สอนจะนำผลการประเมินพัฒนาสะสมที่รวบรวมไว้ทุกหน่วยการเรียนรู้ มาสรุปลงใน
สมุดบันทึกผลการประเมินพัฒนาการประจำช้ันและสรุปผลพัฒนาการรายด้านทั้งช้ันเรียน ท้ังนี้การสรุปผลการประเมิน
พัฒนาการ ผู้สอนควรใช้ ฐานนิยม (Mode) จึงเหมาะสมและสอดคล้องกับการประเมินมากที่สุด ตามท่ีกล่าวมาแล้ว
ข้างต้น
ขัน้ ตอนท่ี ๖ การสรุปรายงานผลและการนำข้อมูลไปใช้ ครูประจำชั้นจะสรุปผลเพ่ือพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นรายตัว
บ่งช้ี รายมาตรฐานและพัฒนาการทั้ง๔ ด้าน และรายงานต่อผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติผลการตัดสินและแจ้ง
คณะกรรมการสถานศกึ ษาข้ันพน้ื ฐาน พร้อมกบั ครูประจำชน้ั จะจดั ทำรายงานผลการประเมินพัฒนาการของเดก็ รายบคุ คล
รายภาค และรายปีตอ่ ผูป้ กครองในสมดุ รายงานปรำตัวเดก็ นกั เรยี น
การบริหารจดั การหลกั สตู ร
การนำหลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวัยสูก่ ารปฏบิ ัตใิ ห้เกิดประสิทธภิ าพตามจดุ หมายของ หลักสูตร ผเู้ กย่ี วขอ้ งกบั
การบริหารจัดการหลกั สูตรในระบบสถานศึกษา ได้แก่ ผบู้ ริหาร ผ้สู อน พ่อแม่ หรือผูป้ กครอง และชมุ ชน มี
บทบาทสำคัญยงิ่ ตอ่ การพฒั นาคุณภาพของเด็ก
๑. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาปฐมวยั
การจดั การศกึ ษาแก่เดก็ ปฐมวัยในระบบสถานศกึ ษาให้เกิดประสทิ ธผิ ลสูงสุด
ผบู้ ริหารสถานศึกษาควรมบี ทบาท ดังนี้
๑.๑ ศกึ ษาทำความเขา้ ใจหลักสตู รการศึกษาปฐมวัยและมีวิสยั ทศั น์ดา้ นการจัดการศึกษาปฐมวยั
๑.๒ คดั เลอื กบุคลากรท่ีทำงานกบั เด็ก เชน่ ผ้สู อน พ่เี ลย้ี ง อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงคุณสมบัติหลกั
ของบุคลากร ดงั นี้
๑.๒.๑ มวี ุฒทิ างการศกึ ษาด้านการอนบุ าลศกึ ษา การศึกษาปฐมวยั หรือผา่ นการอบรมเกย่ี วกับการ
จดั การศกึ ษาปฐมวัย
๑.๒.๒ มีความรักเด็ก จิตใจดี มีอารมณข์ ันและใจเยน็ ให้ ความเป็นกันเองกับเด็กอย่าง
เสมอภาค
๑.๒.๓ มบี คุ ลกิ ของความเปน็ ผูส้ อน เขา้ ใจและยอมรับธรรมชาติของเดก็ ตามวัย
๑.๒.๔ พูดจาสุภาพเรียบรอ้ ย ชดั เจนเปน็ แบบอยา่ งได้
๑.๒.๕ มคี วามเป็นระเบียบ สะอาด และรูจ้ ักประหยัด
๑.๒.๖ มีความอดทน ขยัน ซ่ือสตั ย์ในการปฏิบตั ิงานในหน้าที่และ การปฏิบตั ิต่อเด็ก ๑.๒.๗
มีอารมณ์รว่ มกบั เด็ก รูจ้ ักรบั ฟัง พิจารณาเรอ่ื งราวปัญหาต่างๆ ของเด็กและตดั สินปัญหาตา่ งๆอย่างมเี หตผุ ลด้วยความ
เปน็ ธรรม
๑.๒.๘ มสี ุขภาพกายและสุขภาพจติ สมบูรณ์
๑.๓ ส่งเสริมการจดั บริการทางการศึกษาให้เดก็ ไดเ้ ข้าเรยี นอย่างทั่วถึง และเสมอภาค และปฏิบตั กิ าร
รับเด็กตามเกณฑท์ ี่กำหนด
๕๕ หลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรยี นพระพิมลเสนี (พรอ้ ม หงสกลุ ) ระดับปฐมวยั พทุ ธศกั ราช 256๕
๑.๔ สง่ เสริมให้ผสู้ อนและผ้ทู ่ีปฏิบัติงานกับเด็กพัฒนาตนเองมีความรกู้ ้าวหน้าอยเู่ สมอ
๑.๕ เป็นผนู้ ำในการจดั ทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยรว่ มให้ความเหน็ ชอบ กำหนดวิสยั ทศั น์ และ
คณุ ลักษณะทพ่ี ึงประสงค์ของเดก็ ทุกชว่ งอายุ
๑.๖ สรา้ งความร่วมมอื และประสานกับบุคลากรทุกฝ่ายในการจัดทำหลักสูตรสถานศกึ ษา
๑.๗ จดั ให้มขี อ้ มูลสารสนเทศเก่ียวกบั ตวั เด็ก งานวิชาการหลกั สตู ร อยา่ งเปน็ ระบบและมีการ
ประชาสัมพนั ธห์ ลักสตู รสถานศกึ ษา
๑.๘ สนับสนนุ การจัดสภาพแวดลอ้ มตลอดจนส่ือ วัสดุ อปุ กรณท์ ี่เอือ้ อำนวยต่อ
การเรียนรู้
๑.๙ นิเทศ กำกับ ตดิ ตามการใชห้ ลกั สูตร โดยจดั ใหม้ ีระบบนเิ ทศภายในอยา่ งมรี ะบบ
๑.๑๐ กำกบั ตดิ ตามให้มีการประเมินคุณภาพภายในสถานศกึ ษาและนำผลจากการประเมนิ ไปใชใ้ นการ
พัฒนาคุณภาพเด็ก
๑.๑๑ กำกับ ติดตาม ให้มีการประเมินการนำหลักสตู รไปใช้ เพ่ือนำผลจากการประเมินมาปรบั ปรุง
และพัฒนาสาระของหลักสูตรของสถานศกึ ษาใหส้ อดคล้องกบั ความต้องการของเด็ก บริบทสังคมและใหม้ ีความทนั สมัย
๒. บทบาทผู้สอนปฐมวยั
การพฒั นาคุณภาพเดก็ โดยถือว่าเด็กมีความสำคัญทสี่ ุด กระบวนการจดั การศกึ ษาต้องส่งเสริมใหเ้ ด็ก
สามารถพัฒนาตนตามธรรมชาติ สอดคลอ้ งกบั พัฒนาการและเตม็ ตามศกั ยภาพ ดงั นนั้ ผ้สู อนจึงมีบทบาทสำคญั ยงิ่ ที่จะ
ทำให้กระบวนการจดั การเรยี นร้ดู ังกลา่ วบรรลผุ ลอย่างมปี ระสิทธิภาพ ผ้สู อนจงึ ควรมีบทบาท / หน้าที่ ดังน้ี
๒.๑ บทบาทในฐานะผู้เสริมสร้างการเรยี นรู้
๒.๑.๑ จัดประสบการณก์ ารเรียนรูส้ ำหรับเดก็ ทีเ่ ด็กกำหนดขึน้ ดว้ ยตวั เด็กเองและผสู้ อนกับเดก็
ร่วมกันกำหนด โดยเสรมิ สร้างพฒั นาการเดก็ ให้ครอบคลุมทุกด้าน
๒.๑.๒ สง่ เสรมิ ให้เด็กใช้ข้อมูลแวดล้อม ศักยภาพของตวั เด็ก และหลักทางวิชาการในการผลิต
กระทำ หรือหาคำตอบในส่งิ ท่ีเด็กเรยี นรู้อย่างมีเหตผุ ล
๒.๑.๓ กระตุ้นใหเ้ ดก็ รว่ มคิด แกป้ ัญหา คน้ ควา้ หาคำตอบดว้ ยตนเองด้วยวิธีการศึกษาท่ี
นำไปส่กู ารใฝร่ ู้ และพัฒนาตนเอง
๒.๑.๔ จดั สภาพแวดล้อมและสร้างบรรยากาศการเรียนท่สี ร้างเสรมิ ใหเ้ ด็กทำกิจกรรมได้เตม็
ศกั ยภาพและความแตกต่างของเดก็ แตล่ ะบุคคล
๒.๑.๕ สอดแทรกการอบรมด้านจรยิ ธรรมและคา่ นิยมทพ่ี ึงประสงคใ์ นการจัดการเรยี นรู้ และ
กิจกรรมต่างๆอย่างสม่ำเสมอ
๒.๑.๖ ใชก้ จิ กรรมการเลน่ เปน็ สื่อการเรยี นร้สู ำหรับเด็กใหเ้ ป็นไปอย่างมีประสิทธภิ าพ
๒.๑.๗ ใช้ปฏิสมั พันธ์ที่ดรี ะหวา่ งผสู้ อนและเด็กในการดำเนินกิจกรรมการเรยี นการสอนอย่าง
สมำ่ เสมอ
๒.๑.๘ จดั การประเมนิ ผลการเรียนรทู้ ี่สอดคล้องกบั สภาพจริงและนำผลการประเมนิ มา
ปรบั ปรุงพัฒนาคุณภาพเด็กเต็มศักยภาพ
๕๖ หลกั สตู รสถานศึกษาโรงเรียนพระพมิ ลเสนี (พรอ้ ม หงสกลุ ) ระดับปฐมวยั พุทธศักราช 256๕
๒.๒ บทบาทในฐานะผดู้ ูแลเดก็
๒.๒.๑ สงั เกตและสง่ เสรมิ พัฒนาการเด็กทุกด้านทั้งทางด้านรา่ งกาย อารมณ์ จติ ใจ สังคม
และ สติปญั ญา
๒.๒.๒ ฝกึ ใหเ้ ดก็ ช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน
๒.๒.๓ ฝกึ ใหเ้ ด็กมคี วามเชื่อม่ัน มีความภมู ใิ จในตนเองและกลา้ แสดงออก
๒.๒.๔ ฝกึ การเรียนรูห้ น้าที่ ความมวี ินัย และการมีนสิ ัยท่ีดี
๒.๒.๕ จำแนกพฤติกรรมเด็กและสร้างเสริมลักษณะนิสัยและแกป้ ญั หาเฉพาะบุคคล
๒.๒.๖ ประสานความร่วมมอื ระหวา่ งสถานศึกษา บา้ น และชมุ ชน เพ่ือให้เดก็ ได้พฒั นาเตม็ ตาม
ศักยภาพและมีมาตรฐานคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์
๒.๓ บทบาทในฐานะนกั พัฒนาเทคโนโลยกี ารสอน
๒.๓.๑ นำนวัตกรรม เทคโนโลยีทางการสอนมาประยกุ ต์ใช้ใหเ้ หมาะสมกับสภาพบรบิ ทสงั คม
ชุมชน และท้องถนิ่
๒.๓.๒ ใช้เทคโนโลยแี ละแหล่งเรยี นรใู้ นชมุ ชนในการเสรมิ สร้างการเรยี นรูใ้ ห้แกเ่ ดก็
๒.๓.๓ จัดทำวิจยั ในชัน้ เรยี น เพือ่ นำไปปรับปรงุ พฒั นาหลกั สูตร / กระบวนการเรียนรู้ และ
พฒั นาส่ือการเรยี นรู้
๒.๓.๔ พฒั นาตนเองใหเ้ ป็นบุคคลแหง่ การเรยี นรู้ มคี ุณลักษณะของผู้ใฝ่รมู้ วี ิสยั ทัศนแ์ ละ
ทนั สมยั ทนั เหตุการณ์ในยุคของข้อมลู ขา่ วสาร
๒.๔ บทบาทในฐานะผู้บริหารหลักสูตร
๒.๔.๑ ทำหนา้ ทว่ี างแผนกำหนดหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ การจดั กจิ กรรมการเรียนรู้
การประเมินผลการเรยี นรู้
๒.๔.๒ จดั ทำแผนการจดั ประสบการณท์ ่ีเนน้ เด็กเป็นสำคัญ ใหเ้ ดก็ มีอิสระในการเรียนรู้ทั้งกาย
และใจ เปิดโอกาสใหเ้ ด็กเล่น/ทำงาน และเรยี นรู้ทั้งรายบคุ คลและเปน็ กลุ่ม
๒.๔.๓ ประเมินผลการใชห้ ลกั สตู ร เพือ่ นำผลการประเมนิ มาปรบั ปรงุ พฒั นาหลกั สูตรให้
ทนั สมัย สอดคล้องกบั ความต้องการของ ผเู้ รยี น ชุมชน และท้องถ่ิน
๓. บทบาทของพ่อแมห่ รอื ผปู้ กครองเดก็ ปฐมวยั
การศกึ ษาระดบั ปฐมวยั เปน็ การศกึ ษาที่จัดใหแ้ ก่เด็กทีผ่ ้สู อนและพ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องสื่อสารกนั
ตลอดเวลา เพอ่ื ความเข้าใจตรงกันและพรอ้ มรว่ มมือกนั ในการจัดการศกึ ษาใหก้ บั เดก็ ดังนนั้ พ่อแม่หรอื ผูป้ กครองควรมี
บทบาทหน้าที่ ดังนี้
๓.๑ มสี ว่ นรว่ มในการกำหนดแผนพฒั นาสถานศึกษาและให้ความเหน็ ชอบ กำหนด
แผนการเรียนรู้ของเดก็ ร่วมกับผูส้ อนและเด็ก
๓.๒ สง่ เสริมสนับสนนุ กจิ กรรมของสถานศึกษา และกิจกรรมการเรยี นรูเ้ พื่อพฒั นาเด็กตามศกั ยภาพ
๓.๓ เป็นเครือขา่ ยการเรยี นรู้ จัดบรรยากาศภายในบ้านใหเ้ ออื้ ต่อการเรียนรู้
๓.๔ สนับสนุนทรพั ยากรเพอื่ การศกึ ษาตามความเหมาะสมและจำเป็น
๓.๕ อบรมเลยี้ งดู เอาใจใส่ให้ความรัก ความอบอุ่น ส่งเสริมการเรยี นรูแ้ ละพฒั นาการด้านต่าง ๆ
ของเด็ก
๓.๖ ปอ้ งกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมท่ีไม่พงึ ประสงคต์ ลอดจนสง่ เสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดย
ประสานความรว่ มมือกับผสู้ อน ผเู้ กีย่ วข้อง
๕๗ หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรยี นพระพมิ ลเสนี (พรอ้ ม หงสกลุ ) ระดบั ปฐมวยั พทุ ธศักราช 256๕
๓.๗ เป็นแบบอยา่ งทดี่ ที ั้งในด้านการปฏิบัติตนใหเ้ ปน็ บุคคลแหง่ การเรียนรู้ และมี คุณธรรมนำไปสูก่ าร
พัฒนาให้เป็นสถาบันแหง่ การเรียนรู้
๓.๘ มสี ่วนรว่ มในการประเมินผลการเรียนรขู้ องเดก็ และในการประเมินการจดั การศึกษาของ
สถานศึกษา
๔. บทบาทของชุมชน
การปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบญั ญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ไดก้ ำหนดให้ชมุ ชนมบี ทบาทในการมี
ส่วนรว่ มในการจดั การศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อ รว่ มกันพัฒนาผเู้ รยี นตามศักยภาพ ดงั น้นั ชมุ ชนจึงมี
บทบาทในการจดั การศกึ ษาปฐมวัย ดงั นี้
๔.๑ มีสว่ นร่วมในการบรหิ ารสถานศึกษา ในบทบาทของคณะกรรมการสถานศกึ ษา สมาคม / ชมรม
ผู้ปกครอง
๔.๒ มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพฒั นาสถานศึกษาเพ่ือเป็นแนวทางในการดำเนินการของสถานศึกษา
๔.๓ เปน็ ศูนย์การเรยี นรู้ เครอื ข่ายการเรยี นรู้ ให้เดก็ ได้เรยี นรู้และมปี ระสบการณจ์ ากสถานการณ์จรงิ
๔.๔ ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ของสถานศึกษา
๔.๕ ส่งเสรมิ ให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ตลอดจนวทิ ยากรภายนอก และภูมิปญั ญาท้องถนิ่
เพื่อเสริมสรา้ งพัฒนาการของเด็กทกุ ด้าน รวมท้ังสบื สานจารีตประเพณี ศิลปวฒั นธรรมของท้องถน่ิ และของชาติ
๔.๖ ประสานงานกับองค์กรท้งั ภาครฐั และเอกชน เพ่ือใหส้ ถานศึกษาเป็นแหล่งวทิ ยาการของชมุ ชน
และมีสว่ นในการพฒั นาชุมชนและท้องถ่นิ
๔.๗ มีสว่ นร่วมในการตรวจสอบ และประเมินผลการจดั การศึกษาของสถานศึกษา
ทำหนา้ ทเ่ี สนอแนะในการพัฒนาการจดั การศกึ ษาของสถานศึกษา
การบริหารจัดการหลักสตู รสถานศกึ ษาระดับปฐมวยั
สำหรบั กล่มุ เป้าหมายเฉพาะ
การจัดการศกึ ษาสำหรบั กลมุ่ เป้าหมายเฉพาะสามารถนำหลักสตู รการศึกษาปฐมวัยไปปรับใชไ้ ด้ ท้งั ในสว่ นของ
โคตรสรา้ งหลักสูตร สาระการเรยี นรู้ การจัดประสบการณ์ และการประเมินพฒั นาการใหเ้ หมาะสมกบั สภาพ บริบท ความ
ตอ้ งการ และศักยภาพของเด็กแตล่ ะประเภทเพ่ือพัฒนาให้เดก็ มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณลกั ษณะท่ีพึงประสงค์ท่ี
หลักสูตรการศกึ ษาปฐมวัยกำหนดโดยดำเนินการดังนี้
๑. เปา้ หมายคณุ ภาพเด็ก หลกั สูตรการศึกษาปฐมวยั ได้กำหนดมาตรฐานคณุ ลักษณะท่ีพึงประสงค์ และสาระการ
เรียนรู้ เปน็ เปา้ หมายและกรอบทศิ ทางเพื่อให้ทุกฝา่ ยที่เกี่ยวขอ้ งใชใ้ นการพัฒนาเดก็ สถานศึกษาหรือผู้จดั การศกึ ษา
สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ สามารถเลือกหรอื ปรับใช้ ตัวบง่ ชี้และสภาพท่ีพึงประสงค์ในการพฒั นาเด็ก เพ่ือนำไปทำ
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลแตย่ งั คงไวซ้ ึ่งคุณภาพพัฒนาการของเด็กทัง้ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ
สติปัญญา
๒. การประเมนิ พัฒนาการ จะต้องคำนึงถงึ ปจั จัยความแตกตา่ งของเดก็ อาทิ เด็กที่พกิ ารอาจต้องมกี ารปรบั การ
ประเมินพฒั นาการทเ่ี อื้อต่อสภาพเดก็ ทงั้ วธิ ีการเครอื่ งมอื ท่ีใช้ หรือกลมุ่ เด็กทมี่ ีจดุ เน้นเฉพาะด้าน
การเช่อื มตอ่ ของการศกึ ษาระดบั ปฐมวัยกับระดบั ประถมศึกษาปีท่ี ๑
การเช่ือมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกบั ระดบั ประถมศึกษาปที ่ี ๑ มีความสำคัญอยา่ งยิง่ บคุ ลากรทุกฝา่ ย
จะต้องให้ความสนใจต่อการชว่ ยลดช่องว่างของความไม่เข้าใจในการจัดการศกึ ษาทั้งสองระดบั ซึ่งจะสง่ ผลต่อการจัดการ
๕๘ หลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรยี นพระพมิ ลเสนี (พร้อม หงสกลุ ) ระดับปฐมวยั พทุ ธศกั ราช 256๕
เรยี นการสอน ตวั เด็ก ครู พ่อแม่ ผปู้ กครอง และบุคลากรทางการศึกษาอืน่ ๆท้ังระบบ การเช่อื มต่อของการศึกษาระดบั
ปฐมวยั กับระดบั ประถมศึกษาปีที่ ๑ จะประสบผลสำเร็จได้ต้องดำเนินการดังต่อไปน้ี
๑. ผู้บรหิ ารสถานศกึ ษา
ผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษาเป็นบุคคลสำคญั ทม่ี ีบทบาทเป็นผู้นำในการเชอ่ื มต่อโดยเฉพาะระหวา่ งหลักสตู รการศึกษา
ปฐมวยั ในชว่ งอายุ ๓ – ๖ ปี กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพน้ื ฐานในช้นั ประถมศึกษาปที ี่ ๑ โดยต้องศกึ ษาหลกั สตู ร
ทง้ั สองระดบั เพื่อทำความเข้าใจ จดั ระบบการบรหิ ารงานด้านวิชาการทีจ่ ะเอ้อื ต่อการเชือ่ มโยงการศกึ ษาโดยการจัด
กจิ กรรมเพอื่ เช่ือมต่อการศึกษา ดังตวั อย่างกจิ กรรมต่อไปนี้
๑.๑ จัดประชุมครรู ะดบั ปฐมวัยและครูระดับประถมศึกษาร่วมกันสร้างรอยเชอื่ มต่อของหลกั สูตรท้ังสองระดับ
ให้เปน็ แนวปฏบิ ัติของสถานศึกษาเพอื่ ครูทัง้ สองระดับจะได้เตรยี มการสอนใหส้ อดคลอ้ งกับเดก็ วยั นี้
๑.๒ จัดหาเอกสารดา้ นหลกั สูตรและเอกสารทางวชิ าการของท้ังสองระดับมาไวใ้ หค้ รูและบคุ ลากรอื่นๆได้
ศึกษาทำความเขา้ ใจ อยา่ งสะดวกและเพยี งพอ
๑.๓ จัดกิจกรรมให้ครทู ้ังสองระดบั มีโอกาสแลกเปล่ียนเผยแพรค่ วามรู้ใหมๆ่ ท่ีได้รับจากการอบรม ดูงาน
ซึง่ ไม่ควรจดั ใหเ้ ฉพาะครใู นระดับเดียวกนั เท่านนั้
๑.๔ จดั เอกสารเผยแพรต่ ลอดจนกิจกรรมสมั พนั ธใ์ นรปู แบบตา่ งๆ ระหว่างสถานศึกษา พอ่ แม่ ผปู้ กครอง
และบคุ ลากรทางการศึกษาอย่างสมำ่ เสมอ
๑.๕ จดั ให้มีการพบปะ หรอื การทำกจิ กรรมรว่ มกบั พ่อแม่ ผู้ปกครองอยา่ งสมำ่ เสมอตอ่ เนื่อง ในระหว่างที่
เดก็ อยู่ในระดบั ปฐมวัย เพื่อพ่อแม่ ผ้ปู กครอง จะได้สรา้ งความเขา้ ใจและสนับสนุนการเรียน การสอนของบุตรหลานตนได้
อยา่ งถูกต้อง
๑.๖ จดั กิจกรรมให้ครทู งั้ สองระดบั ได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับพ่อแม่ ผ้ปู กครองและเด็กในบางโอกาส
๑.๗ จัดกิจกรรมปฐมนิเทศพอ่ แม่ ผูป้ กครองอย่างนอ้ ย ๒ ครง้ั คอื ก่อนเด็กเข้าเรียนระดับปฐมวัยศึกษาและ
ก่อนเด็กจะเลื่อนข้นึ ชน้ั ประถมศึกษาปที ี่ ๑ เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเขา้ ใจ การศึกษาทั้งสองระดับและให้ความร่วมมือใน
การชว่ ยเด็กให้สามารถปรับตัวเขา้ กบั สภาพแวดล้อมใหม่ได้ดี
๒. ครูระดับปฐมวัย
ครูระดับปฐมวัย นอกจากจะตอ้ งศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรการศกึ ษาปฐมวัย และจดั กจิ กรรมพฒั นาเด็กของ
ตนแลว้ ควรศึกษาหลกั สูตรการศกึ ษาข้ันพ้นื ฐาน การจัดการเรียนการสอนในชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี ๑ และสรา้ งความเข้าใจ
ใหก้ ับพ่อแม่ ผปู้ กครองและบุคลากรอ่นื ๆ รวมทั้งชว่ ยเหลือเด็กในการปรับตวั กอ่ นเล่ือนขึ้นชนั้ ประถมศึกษาปที ่ี ๑ โดยครู
อาจจดั กจิ กรรมดงั ตวั อย่างต่อไปนี้
๒.๑ เกบ็ รวบรวมข้อมลู เก่ียวกับตวั เดก็ เป็นรายบุคคลเพ่ือสง่ ต่อครูช้ันประถมศกึ ษาปที ่ี ๑ ซง่ึ จะทำใหค้ รูระดับ
ประถมศึกษาสามารถใชข้ อ้ มูลน้นั ช่วยเหลือเดก็ ในการปรบั ตวั เขา้ กบั การเรียนรู้ใหมต่ ่อไป
๒.๒ พดู คยุ กับเด็กถงึ ประสบการณ์ทดี่ ๆี เก่ียวกับการจดั การเรียนรใู้ นระดบั ช้ันประถมศึกษาปีที่ ๑ เพ่ือให้เด็ก
เกดิ เจตคติท่ดี ีต่อการเรยี นรู้
๒.๓ จัดใหเ้ ด็กไดม้ โี อกาสทำความรจู้ ักกับครูตลอดจนสภาพแวดลอ้ ม บรรยากาศของห้องเรียนชัน้
ประถมศึกษาปที ี่ ๑ ทงั้ ที่อยใู่ นสถานศึกษาเดียวกันหรือสถานศกึ ษาอืน่
๓. ครรู ะดบั ประถมศึกษา
๕๙ หลกั สตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนพระพิมลเสนี (พร้อม หงสกลุ ) ระดับปฐมวยั พุทธศักราช 256๕
ครูระดับประถมศกึ ษาต้องมีความรู้ ความเขา้ ใจในพฒั นาการเด็กปฐมวยั และมีเจตคตทิ ่ีดีต่อการจดั ประสบการณ์
ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยเพือ่ นำมาเป็นข้อมลู ในการพัฒนาจัดการเรยี นร้ใู นระดบั ช้ันประถมศึกษาปีท่ี ๑ ของตนให้
ต่อเน่อื งกบั การพฒั นาเดก็ ในระดับปฐมวยั ดังตวั อย่าง ต่อไปนี้
๓.๑ จดั กจิ กรรมใหเ้ ด็ก พ่อแม่ และผปู้ กครอง มีโอกาสได้ทำความร้จู กั คุ้นเคยกับครแู ละห้องเรยี นชัน้
ประถมศึกษาปีท่ี ๑ ก่อนเปิดภาคเรียน
๓.๒ จดั สภาพหอ้ งเรียนให้ใกลเ้ คยี งกบั ห้องเรยี นระดับปฐมวยั โดยจัดใหม้ ีมุมประสบการณ์ภายในห้อง
เพ่อื ให้เด็กได้มโี อกาสทำกจิ กรรมได้อยา่ งอิสระเชน่ มุมหนงั สือ มุมของเล่น มมุ เกมการศึกษา เพื่อช่วยใหเ้ ด็กช้นั
ประถมศกึ ษาปีที่ ๑ ได้ปรับตัวและเรยี นรูจ้ ากการปฏบิ ตั จิ ริง
๓.๓ จัดกิจกรรมรว่ มกนั กับเด็กในการสรา้ งขอ้ ตกลงเกีย่ วกับการปฏิบัตติ น
๓.๔ เผยแพรข่ า่ วสารด้านการเรยี นรแู้ ละสรา้ งความสมั พันธ์ท่ดี กี บั เด็ก พ่อแม่ ผูป้ กครอง และชมุ ชน
๔. พอ่ แม่ ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษา
พอ่ แม่ ผูป้ กครอง และบุคลากรทางการศกึ ษาต้องทำความเขา้ ใจหลกั สูตรของการศึกษาทั้งสองระดับ และเข้าใจ
วา่ ถงึ แมเ้ ด็กจะอยใู่ นระดับประถมศึกษาแล้วแตเ่ ด็กยงั ต้องการความรกั ความเอาใจใส่ การดแู ลและการปฏิสมั พนั ธท์ ไี่ ม่ได้
แตกต่างไปจากระดับปฐมวยั และควรให้ความร่วมมือกบั ครูและสถานศึกษาในการชว่ ยเตรยี มตัวเด็ก เพ่ือให้เด็กสามารถ
ปรับตัวไดเ้ รว็ ยงิ่ ขนึ้
การกำกบั ติดตาม ประเมิน และรายงาน
การจดั สถานศึกษาปฐมวยั มลี กั การสำคัญในการให้สงั คม ชุมชน มีส่วนรว่ มในการจัดการศึกษาและกระจาย
อำนาจการศกึ ษาลงไปยังท้องถนิ่ โดยตรง โดยเฉพาะสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวยั ซ่ึงเป็นผู้จัดการศกึ ษาใน
ระดับน้ี ดงั น้ัน เพื่อใหผ้ ลผลติ ทางการศึกษาปฐมวัยมีคุณภาพตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พงึ ประสงค์และสอดคล้องกับ
ความต้องการของชุมชนและสงั คมจำเป็นต้องมีระบบการกำกับ ตดิ ตาม ประเมินและรายงานทมี่ ปี ระสิทธภิ าพ เพื่อใหท้ ุก
กลุม่ ทุกฝา่ ยทม่ี ีสว่ นรว่ มรับผิดชอบในการจดั การศึกษา เห็นความก้าวหนา้ ปญั หา อุปสรรค ตลอดจนการใหค้ วามร่วมมือ
ช่วยเหลือ ส่งเสรมิ สนับสนนุ การวางแผน และดำเนินงานการจัดการศึกษาปฐมวยั ใหม้ ีคุณภาพอย่างแทจ้ รงิ
การกำกบั ติดตาม ประเมินและรายงานผลการจดั การศึกษาปฐมวัยเป็นสว่ นหนง่ึ ของกระบวนการบริหาร
การศึกษาและระบบการประกันคณุ ภาพทต่ี ้องดำเนนิ การอยา่ งตอ่ เน่ือง เพ่ือนำไปส่กู ารพัฒนาคณุ ภาพและมาตรฐาน
การศึกษาปฐมวยั สร้างความมัน่ ใจใหผ้ ้เู กีย่ วข้อง โดยต้องมีการดำเนินการท่ีเป็นระบบเครอื ข่ายครอบคลุมท้งั หนว่ ยงาน
ภายในและภายนอกตั้งแต่ระดบั ชาติ เขตพื้นที่ทุกระดับละทุกอาชพี การกำกบั ดูแลประเมนิ ผลต้องมีการรายงานผลจาก
ทุกระดับใหท้ ุกฝา่ ยรวมทงั้ ประชาชนทว่ั ไปทราบ เพือ่ นำขอ้ มูลจากรายงานผลมาจดั ทำแผนพัฒนาคณุ ภาพการศกึ ษาของ
สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเดก็ ปฐมวัยตอ่ ไป
๖๐ หลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรยี นพระพิมลเสนี (พรอ้ ม หงสกลุ ) ระดบั ปฐมวยั พุทธศักราช 256๕
บรรณานุกรม
ศกึ ษาธิการ, กระทรวง. (๒๕๖๐), หลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวัย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐. กรงุ เทพมหานคร ชุมชนสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย
(๒๕๖๔) แผนพฒั นาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2564 – 2570 ,สำนักงานเลขาธิการสภาการศกึ ษา,
คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเดก็ ปฐมวยั พิมพ์ครัง้ ที่ 1
(๒๕๕๓), แนวทางการพัฒนาหลักสตู รสถานศึกษา เอกสารลาํ ดบั ที่ ๓๖/๒๕๕๓
กรงุ เทพมหานคร : ไทยพับบลคิ เอ็ดดูเคชั่น.
(๒๕๔๖), คมู่ ือหลักสูตรการศกึ ษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๕๖. กรุงเทพมหานคร.
ครุ ุสภาลาดพรา้ ว.
(๒๕๖๐), คมู่ ือหลกั สตู รการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐(สำหรบั เด็กอายุ ๓ – ๖ ปี).
กรงุ เทพมหานคร. คุรุสภาลาดพร้าว.
อัญชลี ไสยวรรณ. (๒๕๕๘), หลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวัยในศตวรรษท่ี ๒๑. เอกสารประกอบการ บรรยาย ๗ - ๘
เมษายน ๒๕๕๘ ณ โรงเรียนพรศิรกิ ุล จงั หวัดตรงั .
(๒๕๖๐), หลกั สูตรสถานศกึ ษาระดบั การศึกษาปฐมวยั เอกสารประกอบการ
บรรยาย ๑๓ – ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๐ ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ่ กรงุ เทพมหานคร.
(๒๕๖1), ชดุ หลักสตู รโรงเรียนตา้ นทจุ ริต พุทธศักราช 2561. กรงุ เทพมหานคร.
(๒๕๖1), Web Site : ส่ือ ๖๐ พรรษา สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกมุ ารี
(๒๕๖๕), Wed Site : https://www.dltv.ac.th/content/content-detail/10772/1001
(๒๕๖๕), Wed Site : https://www.dltv.ac.th/streaming?ch=DLTV10
(๒๕๖๕), Wed Site : https://www.dltv.ac.th/streaming?ch=DLTV11
(๒๕๖๕), Wed Site : https://www.dltv.ac.th/streaming?ch=DLTV12
๖๑ หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรียนพระพมิ ลเสนี (พร้อม หงสกลุ ) ระดับปฐมวยั พุทธศักราช 256๕
ภาคผนวก
๖๒ หลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรยี นพระพิมลเสนี (พรอ้ ม หงสกลุ ) ระดบั ปฐมวยั พุทธศักราช 256๕