สัมมนาวิทยาศาสตร์
science seminar
อาจารย์ธานินทร์ ปัญญาวัฒนากุล
องค์ความรู้ที่ได้จากการเรียน
01 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิจัยทางวิทยาศาสตร์
02 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
03 จริยธรรมการวิจัย
04 ส่วนประกอบของวิจัย
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิจัยทางวิทยาศาสตร์
การวิจัย คือกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริง หรือการพยายามค้นหา
คำตอบ หรือหาความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน
สังคม โดยใช้วิธีการศึกษาอย่างมีระเบียบและมีหลักเกณฑ์ทาง
วิทยาศาสตร์ (scientific methods)
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การสำรวจ วิเคราะห์ ทดลองอย่างมี
ระบบและเป็นขั้นตอน ด้วยอุปกรณ์หรือวิธีพิเศษ เก่ียวกับธรรมชาติ สิ่ง
มีชีวิต ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ตลอดจนสิ่งท่ีมนุษย์ได้ สร้างสรรค์
ข้ึนมาด้วยความรู้ หรือประสบการณ์ เพ่ือเสนอความรู้ใหม่ เพื่อสุขภาพ
อนามัย ความผาสุกและ ความเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติ
วัตถุประสงค์การวิจัย
เป็นการกำหนดความต้องการในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ความจริง
ของผู้วิจัยว่าต้องการศึกษาเรื่องใดภายใต้ขอบเขตอะไร เพื่อให้ผู้อ่าน
ทราบว่าผู้วิจัยมุ่งหาคำตอบเรื่องใด ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์การ
วิจัย จะต้องมีความชัดเจนในเรื่องต่อไปนี้
1. ผู้วิจัยต้องการศึกษาปัญหา หรือต้องการพิสูจน์เกี่ยวกับความจริง
เรื่องอะไรบ้าง
2. ขอบเขตของปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการทราบหรือต้องการศึกษานั้น
กว้างขวางเพียงใด ซึ่งกำหนดขอบเขตจะช่วยในการกำหนด
ประชากร การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง วิธีดำเนินการวิจัยและสมมุติฐานการ
วิจัย
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการ
แสวงหาความรู้ หรือหาความจริง หรือใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ดัง
นั้นการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือในทุก ๆ
ศาสตร์จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตอบคำถาม และ
เพื่อแก้ปัญหา
ปัจจุบันมีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้จำแนกวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ไว้แตกต่างกัน ในที่นี้ขอนำเสนอวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย
ขั้นที่ 1 ตั้งปัญหา
ขั้นที่ 2 เก็บรวบรวมข้อมูล หรือข้อเท็จจริง
ขั้นที่ 3 สร้างสมมติฐาน
ขั้นที่ 4 ทดลองพิสูจน์
ขั้นที่ 5 สรุปผล
จริยธรรมการวิจัย
(research ethics)
หมายถึง หลักเกณฑ์ท่ีควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยเพ่ือให้การ
ดำเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะ
สม
1. จรรยาบรรณของนักวิจัย
คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขา สังคมวิทยาได้ตระหนักถึงความ
สำคัญของ จรรยาบรรณในการวิจัย จึงได้กำหนดจรรยาบรรณนักวิจัย
เพื่อให้นักวิจัยในสาขาต่างๆ
2. จริยธรรมการวิจัยในสถาบันการศึกษา
นอกจากแนวทางปฏิบัติในเรื่อง จริยธรรม (จรรยาบรรณ) สำหรับนัก
วิจัยใน ระดับวงกว้างข้างต้นแล้ว นักวิชาการยังได้เสนอ แนะแนวทาง
ปฏิบัติในเร่ืองจริยธรรมการวิจัย ในสถาบันการศึกษาในฐานะท่ีเป็น
หน่วยงาน ที่ใกล้ชิดกับนักวิจัย
3. ประเด็นจริยธรรมการวิจัยในคน
นอกจากหลักจรรยาบรรณของนักวิจัยแล้วนักวิจัยหลายท่านยัง
ได้กล่าวถึงประเด็นจริยธรรมการวิจัยท่ีเก่ียวข้องกับ‘คน’(people)
ทางสังคมศาสตร์ซึ่งงานวิจัยทางสังคมศาสตร์จำนวนไม่น้อยที่
เกี่ยวข้องกับ ‘คน’ ซ่ึงอาจเป็นนักท่องเที่ยว ชาวบ้าน พนักงาน
ผู้ประกอบการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นต้น
ส่วนประกอบของงานวิจัย
ส่วนนำ คือ ส่วนประกอบตอนต้นของวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์
เพื่อแสดงข้อมูล เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์
ดังนี้
1. ปกนอก ( Cover ) ประกอบด้วยปกหน้า สันปก และปกหลัง
2. ใบรองปก ( Fly leaf ) เป็นกระดาษชนิดเดียวกับกระดาษที่ใช้
พิมพ์ วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ต้องรองทั้งปกหน้าและปกหลัง
ด้านละหนึ่งแผ่น
3. หน้าปกใน ( Title page ) มีข้อความเหมือนปกนอก
ส่วนประกอบของงานวิจัย
4. หน้าอนุมัติ ( Approval page ) จัดไว้เพื่อเป็นเอกสารรับรองว่า
วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ได้ผ่านการพิจารณาของคณะ
กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และคณะกรรมการ สอบ
วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ และได้รับการอนุมัติจากสถาบันแล้ว
5. บทคัดย่อภาษาไทย ( Abstract in Thai ) เป็นข้อความสรุปผล
การวิจัย ภาคภาษาไทยที่ช่วยให้ผู้อ่านทราบถึงเนื้อหาของ
วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์อย่างรวดเร็ว
6. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ( Abstract in English ) คือ ข้อความ
สรุปผลการ วิจัยเหมือนบทคัดย่อภาษาไทยทุกประการ เพียง
แต่ถอดความเป็นภาษาอังกฤษ
ส่วนประกอบของงานวิจัย
7. กิตติกรรมประกาศ ( Acknowledgements ) คือ ข้อความที่ผู้
เขียนแสดง ความขอบคุณต่อผู้ให้ความช่วยเหลือและให้ความ
ร่วมมือในการศึกษาค้นคว้า เพื่อทำ วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์
อันแสดงถึงจรรยาบรรณทางวิชาการที่ผู้วิจัยพึงถือปฏิบัติ
8. สารบัญ ( Table of contents ) คือ รายการแสดงส่วนประกอบ
ทั้งหมด ของวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ เรียงตามลำดับเลขหน้า
9. สารบัญอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น สารบัญตาราง
ผู้จัดทำโดย
นางสาว พรศิริ เรือนทองมา
รหัสนักศึกษา 61003161022
กลุ่มเรียน 6100316101
สาขาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์