การออกแบบวิจัย นางสาวรัตติยา อัตเสน รหัสนักศึกษา64115245221 นางสาวสุภัทรา ศรีกะษร รหัสนักศึกษา64115245224 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา รายวิชาการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน (21043701) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การออกแบบวิจัย นางสาวรัตติยา อัตเสน รหัสนักศึกษา64115245221 นางสาวสุภัทรา ศรีกะษร รหัสนักศึกษา64115245224 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา รายวิชาการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน (21043701) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย ก คำนำ รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน (21043701) เพื่อให้ศึกษาหาความรู้เรื่อง การออกแบบวิจัย โดยรายงานเล่มนี้ได้รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหา ความรู้ที่เกี่ยวกับ การออกแบบวิจัย ดังต่อไปนี้ความหมายของการออกแบบการวิจัย ความมุ่งหมายของการ ออกแบบการวิจัย องค์ประกอบของการออกแบบการวิจัย ข้อควรพิจารณาในการออกแบบการวิจัย เป้าหมายของ การออกแบบการวิจัย จุดเน้นที่สำคัญของการออกแบบการวิจัย ลักษณะของการออกแบบการวิจัยที่ดีหลักสำคัญ ของการออกแบบการวิจัย หลักในการเลือกใช้แบบการวิจัย และแบบการวิจัยแบบต่าง ๆ ดังนี้ 1. การออกแบบวิจัย เชิงทดลอง 2. การออกแบบวิจัยเชิงสำรวจ 3. การวิจัยในชั้นเรียน 4. การวิจัยและพัฒนา การศึกษาค้นคว้าเรื่อง การออกแบบวิจัย ให้ผู้อ่านได้เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ การออกแบบวิจัย ในรายงาน ฉบับนี้ทางคณะผู้จัดทำได้รวบรวมเนื้อหาไว้อย่างครบถ้วน และรายงานฉบับนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ไปได้ด้วยดี ทางคณะผู้จัดทำขอขอบคุณอาจารย์ธนานันต์ กุลไพบุตร ที่ท่านได้ให้คำแนะนำในการเขียนรายงานและ ด้านการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจนทำให้รายงานฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์ ขอขอบคุณเพื่อนทุกคนที่ช่วยกันศึกษาและ สืบค้นข้อมูลจนได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ทางคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหารายงานจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษา เป็นอย่างดี คณะผู้จัดทำ
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย ข สารบัญ เนื้อหา หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ความหมายของการออกแบบการวิจัย 1 ความมุ่งหมายของการออกแบบการวิจัย 3 องค์ประกอบของการออกแบบการวิจัย 4 1. การออกแบบการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (Sampling Design) 6 2. การออกแบบการวัดตัวแปร (Measurement Design) 7 3. การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Design) 9 ข้อควรพิจารณาในการออกแบบการวิจัย 9 เป้าหมายของการออกแบบการวิจัย 9 จุดเน้นที่สำคัญของการออกแบบการวิจัย 10 ลักษณะของการออกแบบการวิจัยที่ดี 14 หลักสำคัญของการออกแบบการวิจัย 15 หลักในการเลือกใช้แบบการวิจัย 16 แบบการวิจัยแบบต่าง ๆ 17 1. การออกแบบวิจัยเชิงทดลอง 17
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย ค สารบัญ เนื้อหา หน้า 2. การออกแบบวิจัยเชิงสำรวจ 23 3. การวิจัยในชั้นเรียน 31 4. การวิจัยและพัฒนา 39 สรุปท้ายบท 42 บรรณานุกรม 43 แบบทดสอบ 44 แบบฝึกหัด 50
บทที่5 การออกแบบการวิจัย เมื่อผู้วิจัยได้กำหนดปัญหาการวิจัย ตลอดจนศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก่อนลงมือทำการวิจัย ควรมีการออกแบบการวิจัย (research design) เพื่อเป็นการกำหนดรายละเอียดของแผนงานการปฏิบัติงาน ไว้ล่วงหน้าตลอดจนการป้องกันและควบคุมความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการวิจัย การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา มีการนำนวัตกรรมไปใช้แก้ปัญหาหรือ พัฒนากับผู้เรียน โดยการวิจัยและพัฒนาจำเป็นที่จะต้องมี การออกแบบการวิจัย (Research Design) ซึ่งเป็น การกำหนดโครงสร้างและรายละเอียดแนวทางการดำเนินการวิจัยเพื่อนำไปสู่การทำวิจัยที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้อย่างถูกต้อง การออกแบบการวิจัยถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลการวิจัยได้ เนื่องจาก การออกแบบการวิจัยทำให้เห็นความเชื่อมโยงกันระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ของการดำเนินการวิจัยเข้าด้วยกัน รวมทั้ง เชื่อมโยงเข้ากับทฤษฎีหรือแนวคิดที่นำมาใช้ในการวิจัย การเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรในกรอบแนวคิดการวิจัย วิธีการในการวัดผลและวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลโดยต้องสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของการวิจัยการดำเนินการวิจัยทางการบัญชีนักวิจัยต้องตัดสินใจตั้งแต่เริ่มต้นว่างานวิจัยที่จะ ดำเนินการเป็นประเภทเชิงปริมาณหรือเป็นเชิงคุณภาพ โดยทั้งสองประเภทนี้จะมีการการออกแบบการวิจัย ที่แตกต่างกัน ดังนั้น นักวิจัยจึงต้องทำความเข้าใจในการออกแบบการวิจัยก่อนการดำเนินการวิจัย ความหมายของการออกแบบการวิจัย นักวิจัย/นักวิชาการได้นำเสนอความหมายของแบบการวิจัยและการออกแบบการวิจัย ดังนี้ แบบการวิจัยเป็นแผน โครงสร้าง หรือยุทธวิธีหรับการศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาการวิจัย และควบคุมความแปรปรวนที่เกิดขึ้น ซึ่งแผนเป็นโครงร่างที่แสดงแนวทางและขั้นตอนการดำเนินการวิจัยใน ภาพรวม, โครงสร้าง เป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร หรือกรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) และยุทธวิธี เป็นวิธีการที่เลือกใช้เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาการวิจัย ได้แก่ การเก็บ รวบรวมข้อมูล หรือการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น (Kerlinger, 1986 : 300 ;Wiersma, 2000 : 81) แบบการวิจัย หมายถึง แผนงานที่แสดงวิธีการอย่างมีระบบ มีขั้นตอนในการแสวงหาข้อเท็จจริง เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาการวิจัยที่มีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2543 : 11)
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 2 การออกแบบการวิจัย (Research Design) หมายถึง การวางแผนและการจัดการโครงการวิจัย ตั้งแต่ การกำาหนดปัญหาการวิจัยจนกระทั่งการเขียนรายงานและการเผยแพร่ โดยเกี่ยวข้องกับแนวคิด 4 ประการ ได้แก่ 1)กลยุทธ์การวิจัย 2)กรอบแนวคิด 3)ข้อมูล และ 4)เครื่องมือวิธีการเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล (Punch, 1998 : 66) การออกแบบการวิจัย (Research Design) หมายถึง การกำหนดรูปแบบของการกระทำกับตัวแปรอิสระ ที่ต้องการศึกษา การควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อน รวมถึงวิธีการวัดค่าตัวแปรตามที่เป็นผลมาจากการ กระทำของตัวแปรอิสระนั้น ๆ (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2536: 59) การออกแบบการวิจัย หมายถึง การกำหนดรายละเอียดของแผนงานการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า รายละเอียดที่ต้องกำหนด ได้แก่ รูปแบบของงานวิจัย ลักษณะของข้อมูลที่ถูกต้องการศึกษาคุณสมบัติและขนาด ของกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการป้องกันและควบคุม ความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้งาน (ภัทรา นิคมานนท์, 2539 : 51) การออกแบบการทดลอง คือ การวางแผนเพื่อพิสูจน์ว่า นวัตกรรมที่สร้างคุณภาพหรือไม่ โดยการนำไป ทดลองใช้ในสถานการณ์จริง แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินว่านวัตกรรมนั้นสามารถแก้ปัญหาที่มีอยู่ หรือ สามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้เป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ กล่าวคือ หลังจากครูผู้สอนได้พัฒนานวัตกรรม ตามขั้นตอนอย่างถูกต้องตามหลักการหรือทฤษฎีแล้ว อาจนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาแก้ไขปรับปรุง จะทำให้มี ความมั่นใจได้ระดับหนึ่งว่า นวัตกรรมที่สร้างขึ้นนั้นน่าจะมีคุณภาพ เพราะได้สร้างตามขั้นตอน มีทฤษฎี หรือ หลักการรองรับ หรือมีผู้เชี่ยวชาญพิจารณาถึงการเป็นไปตามหลักวิชาแต่เพื่อให้มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่าสามารถ แก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอนได้จริงตามเป้าหมาย จึงต้องนำไปทดลองใช้กับนักเรียนที่มีคุณลักษณะ เช่นเดียวกับกลุ่มเป้าหมาย สรุปได้ว่า การออกแบบการวิจัย เป็นกระบวนการที่ใช้ในการวางแผนการดำเนินการวิจัยที่มีระบบ และ มีขั้นตอนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล/สารสนเทศที่ต้องการนำมาใช้ในการตอบปัญหาการวิจัยตามจุดประสงค์/สมมุติฐาน ของการวิจัยที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ ที่เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของผู้วิจัย ในการกำหนดโครงสร้าง แผนการปฏิบัติการวิจัยหรือยุทธวิธีเพื่อใช้ในการตรวจสอบการดำเนินการวิจัยว่า เป็นไปตามเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่ว่าก่อนที่จะปฏิบัติการดำเนินการวิจัย อาทิในแต่ละขั้นตอนจะมีการดำเนินการ อย่างไร, มีบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง, ใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร, ใช้สถานที่ดำเนินการ เวลาเริ่มต้นหรือสิ้นสุดการดำเนินการ เมื่อไร มีรูปแบบการทดลองอย่างไร, จะเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร และวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลอย่างไร
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 3 เป็นต้น และหลังจากการดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้นแล้วจะเขียนรายงานการวิจัย อภิปรายผล และให้ข้อเสนอแนะ ในการวิจัยอย่างไร ความมุ่งหมายของการออกแบบการวิจัย การออกแบบวิจัยก็คล้าย ๆ การออกแบบบ้าน หากสร้างบ้านโดยไม่มีแบบแปลน บ้านที่ช่างปลูกสร้าง สร้างให้นั้นก็อาจจะไม่ถูกใจ ไม่ตรงกับความต้องการการออกแบบวิจัย เช่นเดียวกัน หากไม่มีการออกแบบวิจัยไว้ ผู้วิจัยก็ไม่สามารถดำเนินการวิจัยให้ได้คำตอบตรงตามความต้องการได้ ในการกำหนดวัตถุประสงค์ของ การออกแบบวิจัย มีดังนี้ 1. ตอบปัญหาวิจัยได้ตรงประเด็นเพื่อให้ได้คำตอบตามประเด็นปัญหาโดยออกแบบบนพื้นฐานของทฤษฎี และประสบการณ์เพื่อกำหนดแบบแผนการวิจัยอย่างรอบคอบ 2. ควบคุมความแปรปรวนต่าง ๆ (Variance) อันเกิดจากการทดลอง (Experiment of Treatment) หรือเกิดจากตัวแปรอิสระ (Independent variable) กับความแปรปรวนอันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก (Extraneous variances) และความแปรปรวนจากการทดลอง (Experimental variances) ที่จะมีผลต่อปัญหา การวิจัยที่ศึกษาแบบการวิจัยจะทำให้ผู้วิจัยสามารถค้นคว้าหาคำตอบของปัญหาการวิจัยได้อย่างเที่ยงตรงอย่าง เป็นปรนัยอย่างถูกต้องและอย่างประหยัด 3. เพื่อให้การวัดตัวแปรถูกต้องแม่นยำเป็นการลดความแปรปรวนและความคลาดเคลื่อนได้ 4. เพื่อให้การวิจัยดำเนินการอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนคือจะทำอะไรที่ไหนเมื่อไรอย่างไรการออกแบบ การวิจัยที่ดี จะช่วยให้ผู้วิจัยดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 5. เพื่อประหยัดทรัพยากร ทั้งในส่วนของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และเวลาความสำคัญของ การออกแบบการทดลอง คือ การวางแผนเพื่อพิสูจน์ว่า นวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีคุณภาพหรือไม่ โดยการนำไปทดลอง ใช้ในสถานการณ์จริง แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินว่านวัตกรรมนั้นสามารถแก้ปัญหาที่มีอยู่ หรือสามารถ พัฒนาการเรียนการสอนได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่กล่าวคือ หลังจากครูผู้สอนได้พัฒนานวัตกรรมตาม ขั้นตอนอย่างถูกต้องตามหลักการหรือทฤษฎีแล้ว อาจนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาแก้ไขปรับปรุง จะทำให้มีความ มั่นใจได้ระดับหนึ่งว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้นนั้นน่าจะมีคุณภาพ เพราะได้สร้างตามขั้นตอน มีทฤษฎี หรือหลักการ รองรับ หรือมีผู้เชี่ยวชาญพิจารณาถึงการเป็นไปตามหลักวิชาแต่เพื่อให้มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่าสามารถแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอนได้จริงตามเป้าหมาย จึงต้องนำไปทดลองใช้กับนักเรียนที่มีคุณลักษณะ เช่นเดียวกับ กลุ่มเป้าหมาย
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 4 องค์ประกอบของการออกแบบการวิจัย การออกแบบวิจัย (Research Desire) ที่มีประสิทธิภาพมุ่งที่จะให้ได้ผลการดำเนินโครงการ ตามวัตถุประสงค์ ของโครงการอย่างเที่ยงตรงและน่าเชื่อถืออซึ่งมีองค์ประกอบของการออกแบบการวิจัยที่สำคัญ มี 3 ประการคือการออกแบบการวัดตัวแปร (Measurement design) การออกแบบในการสุ่มตัวอย่าง (Sampling design) และการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล (Statistical design) 1. การออกแบบการวัดตัวแปร (Measurement Design) เป็นการกำหนดวิธีการวัดค่าหรือการสร้าง และพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปร โดยมีลำดับขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้ 1.1 กำหนดวัตถุประสงค์ของการวัดให้ครอบคลุมและชัดเจน 1.2 ระบุโครงสร้างและความหมายของตัวแปรที่ต้องการวัดให้ชัดเจน 1.3 กำหนดมาตรวัด (scale) และสร้างเครื่องมือวัดให้สอดคล้องกับวัยของของการวัดและตัวแปร ที่ต้องการจะวัด 1.4 ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือในด้านความเที่ยงตรง (validity) และความเชื่อมั่น (reliability) 1.5 กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยระบุวิธีการช่วงระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูล 1.6 กำหนดรูปแบบและวิธีวัดค่าหรือควบคุมตัวแปรเกินซึ่งอาจใช้วิธีการจัดสมาเข้ากลุ่ม โดยการสุ่ม (random assignment) การนำตัวแปรเกินมาใช้เป็นตัวแปรอิสระ การจัดสภาพการณ์นั้นให้คงที่เพื่อ ขจัดอิทธิพลของตัวแปรเกิน และการควบคุมตัวแปรเกินด้วยวิธีการทางสถิติ 2. การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling Assignment ) เป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรในการนำมาศึกษา โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้ 2.1 การกำหนดรูปแบบและวิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยการจัดทำกรอบการสุ่มที่สมบูรณ์และ เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างที่ทำให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร ซึ่งจะต้องเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยของ ประชากรมีโอกาสที่จะได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างเท่า ๆ กัน หรือที่เรียกการสุ่มตัวอย่างลักษณะนี้ว่าการ สุ่มตัวอย่างโดยใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น (probability sampling) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 วิธี ได้แก่ วิธีสุ่มตัวอย่างแบบ ง่าย(simple random sampling) วิธีสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (systematic random sampling) วิธีสุ่มตัวอย่าง
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 5 แบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) และ วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) ในบางกรณีผู้จัดทำโครงการไม่สามารถใช้วิธีสุ่มตัวอย่างดังกล่าวข้างต้นเนื่องจากมีข้อจำกัดต่าง ๆ ดังนั้น จึงต้องใช้การเลือกตัวอย่างอีกแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น (nonprobability sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยไม่คำนึงถึงโอกาสของประชากรแต่ละหน่วยที่จะได้รับการ เลือกเท่า ๆ กันเพื่อความเหมาะสม ตำราหลายเล่มจึงใช้คำว่าวิธีการเลือก (selection) แทนคำว่า วิธีการสุ่ม (sampling)เพราะเป็นวิธีการเลือกตัวอย่างโดยไม่มีการสุ่ม ทำให้ได้ตัวอย่างที่ไม่ใช่ตัวแทนที่ดีของประชากรศึกษา วิธีการเลือกตัวอย่างแบบตามความสะดวก (convenience selection) วิธีเลือกตัวอย่างแบบโควตา (quota election) วิธีเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ (snowball selection) และวิธีเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive selection) 2.2 การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้หลักการทางทฤษฎีซึ่งพิจารณาจาก สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมและหลักการทางปฏิบัติซึ่งพิจารณาถึงทรัพยากรที่มีอยู่ขนาดของ กลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมเป็นขนาดที่พอดีระหว่างหลักการทางทฤษฎีและหลักการทางปฏิบัติ 3. การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งกิจกรรมที่ผู้จัดทำโครงการต้องวางแผนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ข้อมูลประกอบด้วย 3.1 การเลือกใช้สถิตที่สอดคล้องกับคำถามการวิจัยและเหมาะสมกับมาตรวัดตัวแปร (scale) และวัตถุประสงค์ของการวิจัย รวมทั้งการวิเคราะห์และบรรยายข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่ถูกต้อง 3.2 การเลือกใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิงที่เหมาะสมกับข้อตกลงเบื้องต้น (basic assumption) และวัตถุประสงค์ของการวิจัย รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลได้อย่างถูกต้อง การออกแบบ การวิจัยเพื่อให้ผลการทดลองมีความแม่นตรงได้ข้อสรุปถึงผลการทดลองที่แม่นยำในการออกแบบการทดลอง ควรมีหลักการ ดังนี้ 1) นวัตกรรมที่นำมาทดลองจะต้องมีความเด่นชัด มีทฤษฎีรองรับเพื่อให้มั่นใจว่ามีโอกาสแก้ปัญหาที่มีอยู่ ได้ผล หรือพัฒนาการเรียนการสอนได้จริง หรือแตกต่างจากวิธีเดิม ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เกิดความมั่นใจว่า ผลของ การใช้นวัตกรรมจะแตกต่างจากการไม่ได้ใช้นวัตกรรมหรือการใช้วิธีเดิมอย่างชัดเจน เช่น การทดลองสอนโดยใช้ชุด การสอนมินิคอร์ส รายวิชา ว305 วิทยาศาสตร์ ชั้นม. 3 การเรียนการสอนโดยใช้ชุดมินิคอร์สจะต้องมีลักษณะ เด่นชัด คือ มีการสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ และมีความสมบูรณ์ในตัวเอง มีวัตถุประสงค์ของการเรียนอย่างชัดเจน
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 6 เหมาะกับการเรียนหน่วยย่อย ๆ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นวิธีสอนที่มีหลักการรองรับ ต่างจากวิธีสอนเดิมที่ครูใช้สอนอยู่อย่างชัดเจน ถ้าแนวทางการสนั้นมีหลักวิชาการรองรับ หรือมีผู้เคยนำแนวทาง นั้น ๆ ไปใช้ในสถานการณ์ใกล้ ๆ เกิดผลจะทำให้มีโอกาสสูงที่นวัตกรรมนั้นจะใช้ได้ผลเช่นเดียวกัน 2) พยายามลดความคลาดเคลื่อนในการวิจัยให้เหลือน้อยที่สุด โดยการใช้เครื่องมือวัดที่มีความเที่ยงตรง (Validity) คือ การวัดในสิ่งที่ต้องการวัดหรือวัดได้ตรงประเด็นที่ต้องการวัดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นตัวแทนที่ดีของ ประชากรที่ศึกษา และนอกจากนี้สถิติที่นำมาให้ข้อมูลต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย และ เหมาะสมกับระดับของเก็บรวบรวมมาด้วย การออกแบบการวิจัยเพื่อให้ผลการทดลองมีความแม่นตรงการออกแบบการวิจัยจะคำนึงถึงองค์ประกอบ สำคัญ 3 ส่วน คือ การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง การออกแบบการวัดตัวแปร และการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้ขออธิบายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียนพอสังเขปได้ดังนี้ 1. การออกแบบการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (Sampling Design) การวิจัยโดยทั่วไปที่มีกลุ่มประชากรเป้าหมายขนาดใหญ่ การออกแบบการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจะมีกิจกรรม สำคัญอยู่ 2 กิจกรรม คือ 1.1 การกำหนดรูปแบบและวิธีการสุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยต้องจัดทำกรอบการสุ่มที่สมบูรณ์และเลือกวิธีการสุ่มที่เหมาะสม ซึ่งในการวิจัยในชั้นเรียน ต้องการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นสำคัญ ส่วนมากจะใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 1.2 การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ก่อนที่กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ต้องรู้จักประชากรก่อนเช่นมีลักษณะเป็นอย่างไรทราบขนาดหรือไม่ เป็นต้น ประชากรเป้าหมาย (Target Population) คือ จำนวนนักเรียนทั้งหมดที่เราต้องการศึกษาหรือสนใจ ศึกษา ดังนั้น การที่พิจารณาว่ากลุ่มใดที่เป็นประชากรให้ดูที่วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนั้น ๆ เช่น ตัวอย่าง 1 เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับใจความวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน บ้านธาตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 แสดงได้ว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านธาตุ
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 7 ทุกปีการศึกษา เป็นประชากร ตัวอย่าง 2 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังการใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง พหุนาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ปีการศึกษา 2550 แสดงได้ว่า นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ปีการศึกษา 2550 เท่านั้น เป็นประชากร กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง ตัวแทนบางส่วนของประชากรที่ถูกเลือกมา เช่น ตัวอย่าง 1 แสดงว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านธาตุปีการศึกษาใดก็ได้หรือห้องใดก็ได้ นักเรียนเลขที่... ในชั้นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นกลุ่มตัวอย่าง ตัวอย่าง 2 แสดงว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ปีการศึกษา 2550 ห้องใด ก็ได้ หรือ เลขที่ใดก็ได้ เป็นกลุ่มตัวอย่าง ทั้งนี้ในการเลือกตัวอย่างให้เป็นไปตามหลักการ ทฤษฎีการสุ่มตัวอย่างที่ เหมาะสมแต่ถ้าในตัวอย่างที่ 2 ถ้านำเอานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ปีการศึกษา 2550 มาทั้งหมดมาศึกษา แสดงว่าได้ทำการศึกษากับกลุ่มประชากรไม่ได้ทำกับกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้นถ้าทำการศึกษา กับประชากรให้ระวังในเรื่องของสัญลักษณ์และค่าทางสถิติที่ใช้ ต้องไม่ใช้สถิติอ้างอิงหรือสถิติอนุมาน (Inferential Statistics) ที่เกี่ยวกับการประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) เพราะกลุ่มประชากรเป็น ค่าพารามิเตอร์ซึ่งเป็นข้อมูลของประชากรทั้งหมดแล้ว สำหรับกลุ่มตัวอย่างเป็นค่าสถิติซึ่งเป็นค่าที่สรุปอ้างอิงไปยัง คุณลักษณะของประชากรหรือค่าพารามิเตอร์ โดยทั่วไปจะกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการสุ่ม โดยใช้ขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมซึ่งขึ้นอยู่กับ ชนิดของสิ่งที่ต้องการทดสอบหรือประมาณประชากร ความแปรปรวน ความคลาดเคลื่อน และระดับความมั่นใจ ที่ต้องการสำหรับการวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มประชากรเป้าหมายมักจะจำกัดอยู่เฉพาะชั้นเรียนที่ต้องการศึกษาซึ่งหาก เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่แต่ละชั้นเรียนมีหลายห้องเรียน กลุ่มประชากรก็จะมีจำนวนมาก หากเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก แต่ละชั้นเรียนไม่มีหลายห้องเรีย กลุ่มประชากรก็จะมีจำนวนน้อย แต่อย่างไรก็ตามหากจะต้องทำการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างก็มักจเป็นห้องเรียนมากกว่าลุ่มเป็นรายบุคคล แล้วมาจัดห้องเรียนใหม่ยกเว้นประเด็นปัญหาการ บางเรื่อง ที่ต้องการศึกษาเป็นรายบุคคล เช่น การศึกษารายกรณี ก็สามารถสุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็นรายบุคคลได้จะใช้ การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2. การออกแบบการวัดตัวแปร (Measurement Design) เป็นการวางแผนโดยมีกิจกรรมสำคัญ ๆ ได้แก่การกำหนดรูปแบบ
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 8 2.1 การวัดค่าตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ตัวแปรในการวิจัย หมายถึง คุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้วิจัยสนใจศึกษาเพื่อให้ได้ ผลออกมาในรูปใดรูปหนึ่งทั้งนี้คุณลักษณะของตัวแปรอาจจะอยู่ในรูปปริมาณหรือคุณภาพที่แปรค่าได้ตั้งแต่ 2 ค่า ขึ้นไป สำหรับการวิจัยในชั้นเรียนจะมีตัวแปร 2 ประเภท คือ 2.1.1 ตัวแปรที่ศึกษา (Study Variable) จำแนกเป็น 2.1.1.1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หรือเรียกว่าตัวแปรต้น หรือ ตัวแปรต้นเหตุหมายถึงตัวแปรที่เกิดก่อนและทำให้สิ่งเกี่ยวข้องเกิดขึ้นตามมานั้นแปรเปลี่ยนค่าหรือคุณลักษณะ ไปซึ่งในการทำวิจัยในชั้นเรียน ก็คือ ตัวนวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนานักเรียน นั่นเอง 2.1.1.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หมายถึง ตัวแปรที่เกิดขึ้นภายหลัง โดยจะต้องขึ้นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือขึ้นอยู่กับตัวแปรอิสระ ในการวิจัยในชั้นเรียตัวแปรตามก็คือผลที่เกิดขึ้นจาก การใช้นวัตกรรม 2.1.2 ตัวแปรที่ไม่ได้ศึกษา (Non-Study Variable) ในการทำวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ ตัวแปรแทรกซ้อนเป็นตัวแปรอื่นที่เกิดผลนอกเหนือจากนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามหากมีตัวแปร แทรกซ้อนอยู่ในการทดลองจะทำให้ผลที่ต้องการให้เกิด (ตัวแปรตาม) ที่ได้ไม่ได้เกิดจากตัวแปรอิสระ หรือ การทดลองอย่างเดียวทำให้ไม่สามารถสรุปได้ว่า ตัวแปรอิสระส่งผลต่อตัวแปรตามจริงหรือไม่ เช่น การทดลอง ใช้นวัตกรรมกับเด็กเก่งสติปัญญาของนักเรียนเป็นตัวแปรแทรกซ้อนที่อาจทำให้ผลการเรียนของเด็กดีขึ้นมาก หรือ ไปทดลองใช้กับนักเรียนที่เรียนพิเศษทำให้ผลที่เกิดนั้นเกิดจากนวัตกรรมหรือจากการเรียนพิเศษ ดังนั้นต้องมี การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนให้ดี 2.2 การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล เพื่อศึกษาผลของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตามดังนั้นจึงต้องมีการวัดผลนักเรียนเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวแปรตามเครื่องมือที่ใช้ เช่น แบบทดสอบแบบสังเกตแบบตรวจผลงานเป็นต้น 2.3 การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม ให้เป็นไปตามหลักการและการออกแบบการทดลองในการนำนวัตกรรมไปใช้ ซึ่งการทดลองใช้นวัตกรรม จะต้องมีการจัดกระทำตัวแปรอิสระ หมายถึง การจัดเกี่ยวกับนวัตกรรมที่เราสร้างขึ้นให้เป็นไปตามขอบเขตของ
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 9 นวัตกรรมที่เราสร้างขึ้นและควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน หมายถึง การควบคุมให้การทดลองอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ เป็นปกติวิสัย มิได้ ตกแต่งปรุงแต่งอะไรที่นอกเหนือตัวแปรอิสระ 3. การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Design) การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการเลือกแบบการวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ เพื่อนำไปสู่การตอบคำถามตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย ประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ 1) การเลือกใช้สถิติหรือวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมกับข้อมูล และวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2) การจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ 3) การวิเคราะห์และแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้อง 4) การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสม ข้อควรพิจารณาในการออกแบบการวิจัย เพื่อให้ได้ผลงานวิจัยที่ดี มีประโยชน์ต่อนักวิจัยและหน่วยงานรวมทั้งเกษตรกร ดังนั้นผู้วิจัยควรตระหนักถึง 1. วัตถุประสงค์การวิจัยควรทบทวนทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อให้การออการวิจัยสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ 2. สมมติฐานการวิจัยพิจารณาเลือกวิธีการเก็บข้อมูล และวิธีการทางสถิติที่จะทดสอบสมมติฐานให้ถูกต้อง แม่นยำ 3. ตัวแปรพิจารณาว่ามีตัวแปรอะไรบ้างออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลให้ครบถ้วน และควรใส่เทคนิค การวัดตัวแปรแต่ละระดับไว้ด้วย 4. แบบแผนการวิจัยเลือกระบบแบบแผนการวิจัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยและ การควบคุมตัวแปร 5. มีจริยธรรมในการวิจัย ควรเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงเฉพาะที่จำเป็นของการดำเนินการวิจัย เพื่อให้ ผู้วิจัยที่สนใจได้ศึกษาเพื่อประโยชน์ในการนำไปวิจัยซ้ำหรือขยายขอบเขตการวิจัยให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เป้าหมายของการออกแบบการวิจัย การออกแบบการวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 2 ประการคือ
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 10 1. เพื่อให้ได้คำตอบของคำถามวิจัยที่ถูกต้องเที่ยงตรงเชื่อถือได้เป็นปรนัยและประหยัดให้มากที่สุดในกรณี นี้การออกแบบการวิจัยจึงเป็นการสร้างกรอบแนวคิดในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ แบบวิจัยจะ ชี้แนะแนวทางในการจัดเก็บข้อมูล และแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรในการวิจัย ซึ่งวิธีการควบคุมความแปรปรวนมีหลักการ 3 ประการคือการศึกษาให้ครอบคลุมขอบข่ายของปัญหาการวิจัยให้มากที่สุด การควบคุมอิทธิพลของสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่อยู่ในขอบข่ายของการวิจัยแต่ส่งผลต่อการวิจัยให้ได้มากที่สุดและการลดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้ได้ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การออกแบบวิจัยมีเป้าหมายสำคัญคือเพื่อการวิจัยนั้นได้ข้อค้นพบที่ตรงตามระสงค์โดยมีความเที่ยงตรง ภายในและความเที่ยงตรงภายนอกซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ความเที่ยงตรงภายใน (Internal Validity) หมายถึง ผลการวิจัยที่ความผันแปรอันเกิดรับตัวแปรตาม ซึ่งวัดได้เป็นผลมาจากตัวแปรอิสระ หรือความเที่ยงตรงภายในแปรผกผันกับความคลาดเคลื่อนในการวัดนั่นเอง 2. ความเที่ยงตรงภายนอก (External Validity) หมายถึงผลการวิจัยซึ่งวิเคราะห์ผลจากกลุ่มตัวอย่าง สามารถสรุปอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากรเป้าหมายได้หรือนำไปสรุปใช้ในสถานกรณีที่คล้ายคลึงกันได้ จุดเน้นที่สำคัญของการออกแบบการวิจัย จุดเน้นที่สำคัญของการออกแบบการวิจัย คือ ความเที่ยงตรง (validity) ในการออกแบบการวิจัย ผู้วิจัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ถูกต้อง ชัดเจน มีความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่นให้มากที่สุด ในการออกแบบ การวิจัย ซึ่งแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ ความเที่ยงตรงภายในและความเที่ยงตรงภายนอก 1. ความเที่ยงตรงภายใน (internal validity) 1.1 ความหมายของความเที่ยงตรงภายใน ความเที่ยงตรงภายใน (Internal Validity) หมายถึง การวิจัยที่ไม่มีตัวแปรเกินแทรกซ้อนหรือ ผลการวิจัยนั้นได้รับผลมาจากตัวแปรอิสระโดยตรง ความเที่ยงตรงภายใน (Internal Validity) เป็นลักษณะของการวิจัยที่จะสามารถตอบปัญหา/ สรุปผลการวิจัยได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และน่าเชื่อถือว่า ผลที่เกิดขึ้นกับตัวแปรตามนั้นมีสาเหตุเนื่องมาจากตัวแปร อิสระหรือตัวแปรจัดกระทำเท่านั้น โดยเน้นการดำเนินการวิจัยที่มีความครอบคลุมในประเด็นดังนี้
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 11 1) การทดสอบสมมุติฐาน 2) การควบคุมตัวแปรภายนอกที่ไม่ต้องการ 3) ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของข้อมูลที่เก็บรวบรวม 1.2 ปัจจัยที่มีผลต่อความเที่ยงตรงภายใน 1.2.1 เหตุการณ์ (history) ระหว่างดำเนินการทดลองอาจมีเหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากตัวแปรอิสระซึ่งส่งผลกระทบต่อตัวแปรตามวิธีการป้องกันก็คือ พยายามให้กลุ่มตัวอย่างอยู่แยกจาก เหตุการณ์พิเศษต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นให้อยู่ในสภาพธรรมชาติทั่วไปให้มากที่สุด 1.2.2 วุฒิภาวะ (maturation) กระบวนการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลหรือการทดลองที่นาน เกินไปทำให้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองที่ความพร้อมมากขึ้น หรือในทางตรงกันข้ามกันการทดลองนานเกินไป อาจทำให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความเบื่อหน่ายซึ่งมีผลทำให้ข้อมูลที่ได้มาเกิดความคลาดเคลื่อนวิธีการป้องกันก็คือ การใช้เวลาในการทดลองให้พอเหมาะไม่สั้นหรือนานจนเกินไป และพยายามใช้กลุ่มตัวอย่างที่มีอัตราการพัฒนาการ ทางวุฒิภาวะขอศึกษาในระดับที่ต่ำเพื่อลดการเจริญงอกงาม 1.2.3 การทดสอบ (testing) การทดลองที่มีการใช้การทดสอบโดยใช้ข้อเดียวกันอาจมี ผลกระทบต่อค่าของตัวแปรตามอันเนื่องมาจากกลุ่มตัวอย่างสามารถจำข้อดังนั้นถ้ามีความจำเป็นจะต้องมีการ ทดสอบสองครั้งควรใช้ข้อสอบคู่ขนาน (parallel แบบทดสอบที่มีลักษณะเทียบเท่าคู่ขนาน (equivalent form) 1.2.4 เครื่องมือ (instrument) ถ้าเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลมีคุณภาพไม่เพียงพอ อาจทำให้ข้อมูลที่ได้มาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงดังนั้นผู้จัดทำโครงการจะต้องระมัดระวังในเรื่องคุณภาพ ของเครื่องมือและมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน 1.2.5 การสูญหาย (Immortality) ถ้าสมาชิกในกลุ่มตัวอย่างหายไปในระหว่างที่ดำเนินการ ทดลองอาจมีผลต่อการวิจัยนั้นโดยเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่ได้คะแนนสูงสุด หรือต่ำสุดดังนั้นพยายามจัดการทดลอง อย่างสั้นกระชับอธิบายให้กลุ่มตัวอย่างเข้าใจแนวทางในการปฏิบัติตลอดจนการโน้มน้าวใจให้กลุ่มตัวอย่าง อยู่ร่วมโครงการทดลองจนจบ 1.2.6 ความลำเอียงในการเลือก (selected bias) การเลือกสมาชิกเข้ามาทำการทดลอง ถ้าผู้จัดทำโครงการมีความลำเอียงตั้งแต่ต้นจะส่งผลกระทบต่อการวิจัย เช่น การเปรียบเทียบการสอนสองกลุ่ม ผู้จัดทำโครงการมีความลำเอียงในการเลือกกลุ่มตัวอย่างวิธีสอนที่หนึ่งเลือกเพราะนักเรียนที่เก่งส่วนวิธีสอนที่สอง
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 12 เลือกเฉพาะนักเรียนที่อ่อนดังนั้นพยายามใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากประชากรและสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มการทดลอง หรือใช้วิธีการจับคู่กลุ่มตัวอย่างบนตัวแปรเกินที่สำคัญๆ เพื่อแยกเข้ากลุ่มการทดลอง 1.2.7 ความแตกต่างระหว่างผู้สังเกตหรือผู้ทำการทดลอง ในการวิจัยเชิงทดลองอาจมีการ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มถ้าใช้ผู้สังเกตหรือผู้ทดลองที่มีความสามารถต่างกันอาจส่งผลกผลของการวิจัย ดังนั้น ในการสังเกตหรือการทดลองที่ต้องใช้ผู้จัดทำโครงการหลายคนจะมีการอธิบายหรือหาแนวทางในการสังเกตหรือ ทำคลองร่วมกันเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน 1.2.8 การถดถอยทางสถิติ (Statistical regression) หมายถึง การที่คะแนนของกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้คะแนนสูง และกลุ่มตัวอย่างที่ได้คะแนนต่ำจะมีแนวโน้มเข้ามาค่าเฉลี่ย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าผู้ที่ได้คะแนนต่ำ กว่าค่าเฉลี่ยในครั้งแรกมากย่อมมีโอกาสได้คะแนนสูงขึ้นในการสอบครั้งที่สอง ดังนั้นไม่ควรเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มี คะแนนสุดขั้วมาทำการศึกษาเปรียบเทียบกันควรใช้กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะปานกลางโดยทั่วไป 1.2.9 ความคลุมเครือในทิศทางของความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของตัวแปรที่เกิดขึ้น เนื่องจาก การขาดความชัดเจนในการศึกษาแนวคิดหรือทฤษฎีที่ชัดเจนในการตรวจสอบความเป็นเหตุผลระหว่างตัวแปร 1.2.10 การสับสนของสิ่งทดลอง (Diffusion of Treatment) เป็นความสับสนของสิ่งทดลอง ที่จัดกระทำให้แก่กลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมที่ระบุว่าแตกต่างกันแต่ในการดำเนินการจะได้รับสิ่งทดลองที่ เท่าเทียมกัน และพบว่าสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน แต่ไม่ได้เกิดจากสิ่งทดลองอย่างแท้จริง ทำให้ผลสรุปการวิจัย ขาดความเที่ยงตรงภายใน 2. ความเที่ยงตรงภายนอก (external validity) 2.1 ความหมายของความเที่ยงตรงภายนอก ความเที่ยงตรงภายนอก (external validity) หมายถึง การวิจัยที่สามารถสรุปอ้างอิงผลการวิจัยจาก กลุ่มตัวอย่างไปยังกลุ่มประชากรได้ ความเที่ยงตรงภายนอก (External Validity) หมายถึงลักษณะของการวิจัยทีสามารถสรุปอ้างอิง ผลการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาไปสู่ประชากรได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนและน่าเชื่อถือ หมายความว่า ในการวิจัย ครั้งนี้ถ้าจะนำไปดำเนินการกับประชากรแล้วผลการวิจัยก็ไม่แตกต่างจากผลการวิจัยที่ได้รับจากการศึกษา จากกลุ่มตัวอย่างเช่นเดียวกัน (Polit and Hulger, 1987:195) 2.2 ประเภทของความเที่ยงตรงภายนอก
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 13 การจำแนกประเภทของความเที่ยงตรงภายนอกเป็นการจำแนกเพื่อใช้ตอบคำถาม/การวิจัย ศึกษาค้นคว้า มีดังนี้(ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และ สุภาพ ฉัตราภรณ์, 2543:27) 2.2.1 ความเที่ยงตรงเชิงประชากร(Population Validity) เป็นการตอบคำถามว่า “ผลการวิจัยจะสามารถนำไปใช้กับประชากรใด ๆ ได้ดี หรือได้มากน้อยเพียงใด” ที่อาจจะเนื่องจากความแตกต่าง ระหว่างประชากรเป้าหมายกับประชากรในการทดลอง หรือความเหมาะสมของการจัดกระทำตัวแปรต่อประชากร ที่เฉพาะเจาะจง 2.2.2 ความเที่ยงตรงเชิงสภาพการณ์(Ecological Validity) เป็นการตอบคำถามว่า “ผลการวิจัยจะสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ใด และเมื่อใช้ในสถานการณ์ใด ๆ ณ เวลาที่แตกต่างกัน จะก่อให้เกิดข้อจำกัดอย่างไร” ซึ่งผลการวิจัยที่ดีอาจเนื่องมากจากอิทธิพลของบรรยากาศการทดลอง ความแปลก ใหม่ ผู้ดำเนินการทดลอง หรือการทดสอบก่อนเรียน ฯลฯ ที่นำไปใช้จริงอาจไม่มีอิทธิพลเหล่านี้ 2.3 ปัจจัยที่มีผลต่อความเที่ยงตรงภายนอก 2.3.1 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรทดลอง (Interaction effects election biases and treatment) เป็นผลร่วมกันระหว่างการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นตัวแทนที่ดี ของประชากรและตัวแปรทดลองที่นำมาศึกษากลับกลุ่มตัวอย่างนั้นไม่เหมาะสมกันทำให้ไม่สามารถ สรุปผลการวิจัยกลับไปยังประชากรได้อย่างสมบูรณ์ เช่น การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยเจาะจงผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงหรือใช้อาสาสมัครเป็นกลุ่มทดลองผลการวิจัยจะนำไปอ้างอิงได้กับประชากรที่เจาะจงผู้มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงหรืออาสาสมัครเท่านั้นจะไม่สามารถอ้างอิงไปยังกลุ่มอื่นได้ 2.3.2 ปฏิกิริยาร่วมระหว่างการทดสอบครั้งแรกกับวิธีทดลอง (Interaction effect of testing and treatment) เป็นผลจากการทดสอบครั้งแรกที่ไปกระตุ้นให้กลุ่มทดลองมีการตอบสนองต่อวิธีการ ทดลองเปลี่ยนไปจนทำให้ผลการทดสอบครั้งหลังเพิ่มขึ้นหรือลดลง ดังนั้นผลการทดสอบครั้งหลังจึงไม่ได้มาจาก ตัวแปรอิสระเพียงอย่างเดียว การสรุปอ้างอิงไปยังประชากรยังไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ 2.3.3 ปฏิกิริยาอันเนื่องมาจากวิธีการทดลอง (reaction effect of experimental procedures) วิธีการทดลองอาจมีผลต่อตัวแปรตามโดยที่ตัววิธีการนั้นไม่ได้เป็นตัวแปรอิสระอย่างใด เช่น เมื่อกลุ่มตัวอย่างรู้ตัวว่าอยู่ในกลุ่มทดลองจึงเกิดความกระตือรือร้นตั้งใจเป็นพิเศษทำให้ผลการทดลองออกมาสูง ซึ่งเป็นความคลาดเคลื่อนประเภทหนึ่งที่เรียกว่า ยอธอร์นเอฟเฟค (Hawthorne effect) และในกรณี
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 14 เมื่อกลุ่มควบคุมรู้ว่าจะต้องแข่งขันกับกลุ่มทดลองจึงมุมานะเป็นพิเศษ ทำให้ผลการทดลองออกมาสูงเช่นกัน ซึ่งเป็น ความคลาดเคลื่อนที่เรียกว่า จอห์นเฮนรี่เอฟเฟค (John Henry Effect) 2.3.4 ป ฏิ กิ ริย าร่ว ม จ าก ห ล าย ๆ วิ ธี ก ารจั ด ท ำก ระท ำ (multiple treatment interference) เป็นผลร่วมกันของวิธีการจัดกระทำครั้งก่อนอาจจะยังคงเหลืออยู่แล้วได้รับวิธีการจัดใหม่เข้าไปอีก ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นผลของวิธีการจัดกระทำวิธีใดอย่างแท้จริง เช่น ในกรณีทดลองสอนด้วยวิธีสอน 2 วิธีในกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน วิธีสอนวิธีแรกอาจจะแทรกซ้อน หรือมีอิทธิพลร่วมกับวิธีสอนครั้งหลังที่ส่งผลต่อ การทดลองครั้งหลังแล้วทำให้คะแนนดีขึ้นที่ควรจะเป็นก็ได้ สรุปได้ว่า ความเที่ยงตรงภายในและความเที่ยงตรงภายนอกมักจะแปรผันแบบผกพัน กล่าวคือ งานวิจัยที่มีการควบคุมสูงส่งผลให้มีความเที่ยงตรงภายในสูง จะสามารถนำไปใช้ได้เฉพาะสถานการณ์ และ เฉพาะกลุ่มที่ไม่สอดคล้องกับความเที่ยงตรงภายนอกที่สามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ทั่วไป ลักษณะของการออกแบบการวิจัยที่ดี ลักษณะของการออกแบบการวิจัยที่ดีมี 4 ประการดังนี้ 1. ปราศจากความลำเอียง (freedom from bias) การออกแบบการวิจัยที่ดีต้องปราศจากอคติหรือ ความลำเอียงใดๆที่จะทำให้การได้มาซึ่งข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล มีความผิดพลาดได้จะต้องเป็นการออกแบบ การวิจัยที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลอย่างเที่ยงตรงเชื่อถือได้และนำไปสู่การตอบปัญหาวิจัยได้อย่างถูกต้องชัดเจน 2. ปราศจากความสับสน (freedom from confounding) ความสับสนในที่นี้หมายถึง ความแปรปรวนของ ตัวแปรตามอันเกิดจากตัวแปรอิสระหรือตัวแปรแทรกซ้อนหลายตัวจนแยกไม่ออก ทำให้ไม่สามารถสรุปได้ว่า ตัวแปรใดเป็นสาเหตุของความแปรปรวนในตัวแปรตาม ดังนั้นแบบการวิจัยที่ดีจะต้องช่วยขจัดตัวแปรแทรกซ้อน ที่เป็นสาเหตุของความแปรปรวนในตัวแปรตามได้ 3. สามารถควบคุมตัวแปรภายนอกได้ (control of extraneous variables) การออกแบบการวิจัยที่ดีจะต้อง สามารถควบคุมตัวแปรภายนอกได้ทำให้เป็นตัวแปรควบคุมเป็นตัวคงที่หรือขจัดตัวแปรนั้นออกไปแล้วแต่กรณี ผลการวิจัยจะต้องเป็นผลมาจากตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตามเท่านั้น 4. มีการใช้สถิติที่ถูกต้องในการทดสอบสมมติฐาน (statistical precision for testing hypothesis) การวิจัยเชิงปริมาณที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร จำเป็นต้องมีสมมติฐานและทดสอบโดยใช้สถิติดังนั้น แบบการวิจัยจึงต้องคำนึงถึงความถูกต้องของการทดสอบการสถิติด้วย
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 15 หลักสำคัญของการออกแบบการวิจัย การออกแบบการวิจัยต้องการความถูกต้อง 2 ลักษณะ คือ ความเที่ยงตรงภายใน (internal และ ความเที่ยงตรงภายนอก (external validity) validity) ความเที่ยงตรงภายในและความเที่ยงตรงภายนอกของการวิจัย คือ ความถูกต้องของผลการวิจัยไปสรุป อ้างอิงถึงประชากรเป้าหมายได้ตัวแปรอิสระของการวิจัยเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจจะศึกษาว่า ส่งผลต่อตัวแปรตามของ การวิจัยอย่างไร ขณะเดียวกันผู้วิจัยจำเป็นต้องควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนต่าง ๆ เพื่อให้ผลสรุปของการวิจัยมีความ ถูกต้อง ดังนั้น ในการออกแบบการวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยเชิงทดลองผู้วิจัยจึงต้องคำนึงถึงหลักการสำคัญ 3 ประการคือ 1. การทำให้ตัวแปรอิสระมีความแตกต่างกันมากที่สุด ในที่นี้หมายถึงการทำให้ค่าของตัวแปรอิสระที่จะศึกษามี ความแตกต่างกันมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ผลที่จะเกิดขึ้นกับตัวแปรตามมีความแตกต่างความแปรปรวน) กันมาก พอที่จะแสดงว่าเป็นผลมาจากตัวแปรอิสระเช่นผู้วิจัยต้องการศึกษาว่า วิธีสอน 3 วิธีส่งผลต่อผลการเรียนของ นักเรียนอย่างไรตัวแปรอิสระคือวิธีสอนซึ่งมีค่า 3 ค่า (วิธีที่ 1 วิธีที่ 2 วิธีที่ 3) จะต้องมีความแตกต่างกันชัดเจนและ มากพอที่จะส่งผลถึงตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการเรียน ทำให้สามารถวัดความแตกต่างของการเรียนนั้นได้ วิธีสอน ผลการเรียน วิธีที่ 1 ผลการเรียน 1 ต้องมีความแตกต่างกัน วิธีที่ 2 ผลการเรียน 2 วิธีที่ 3 ผลการเรียน 3 2. การลดความแตกต่างอันเนื่องจากความคลาดเคลื่อนให้น้อยที่สุด ความคลาดเคลื่อนที่สำคัญ ได้แก่ ความคลาดเคลื่อนจากการวัดตัวแปร วิธีการหรือเครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปรต้องมีคุณภาพดีเพื่อลดความคลาดเคลื่อน ให้น้อยที่สุด และทำให้ผู้วิจัยมั่นใจได้ว่าความแตกต่างที่เกิดขึ้นกับตัวแปรที่ศึกษามิได้มาจากความคลาดเคลื่อน เหล่านี้ เช่น การศึกษาเปรียบเทียบสอน 3 วิธีข้างต้น ในการวัดผลการสอนผู้วิจัยจะต้องใช้แบบทดสอบที่มีความ เที่ยงตรงและมั่นใจว่าความแตกต่างของผลการสอนที่พบมาจากการใช้วิธีสอนที่ต่างกัน 3. การควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อน ผู้วิจัยจะต้องพยายามลดอิทธิพลของแปรแทรกซ้อนมิให้มีผลต่อ ตัวแปรตามซึ่งอาจใช้วิธีการต่าง ๆ คือ
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 16 3.1 การสุ่มกระจาย (randomization) เป็นการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากรเดียวกันและสุ่มกลุ่ม ตัวอย่างเข้ารับการทดลองเพื่อกระจายตัวแปรแทรกซ้อนอื่น ๆ ในลักษณะแบบสุ่มในทุก ๆ กลุ่มตัวอย่างซึ่งในทาง สถิติถือว่าทุกกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยการสุ่มที่ถูกต้องจะมีคุณสมบัติเหมือนกัน 3.2 การจับคู่ (matching) โดยการจับคู่กลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมือนกันในเรื่องที่ต้องการควบคุม เช่น กลุ่มเด็กคู่แฝดเพื่อควบคุมอิทธิพลในเรื่องกรรมพันธุ์ 3.3 การทำให้ตัวแปรแทรกซ้อนหยุดแปรค่าหรือเป็นตัวคงที่ โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะ ค่าใดค่าหนึ่งของตัวแปรแทรกซ้อนนั้น เช่น เลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะนักเรียนชายหรือเอกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะ ผู้ปกครองที่มีอาชีพแพทย์เท่านั้น เพื่อหยุดแปรค่าของตัวแปรเพศและตัวแปรอาชีพตามลำดับ เป็นต้น 3.4 การนำตัวแปรแทรกซ้อนมาศึกษาเป็นตัวแปรอิสระด้วย เช่น นำตัวแปรระดับสติปัญญาของนักเรียน เข้ามาเป็นตัวแปรอิสระอีกตัวหนึ่งนอกจากตัวแปรอิสระที่เป็นวิธีสอนที่ต้องการทำการทดลอง 3.5 การใช้วิธีการทางสถิติเป็นการใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติซึ่งผู้วิจัยจะต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวแปร แทรกซ้อนต่าง ๆ มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติที่ใช้ เช่น การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมสหสัมพันธ์บางส่วน สหสัมพันธ์เชิงพหุ เป็นต้น หลักในการเลือกใช้แบบการวิจัย แบบการวิจัยมีอยู่มากมาย ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไปดังนั้นรลัยจึงควรเลือกแบบ การวิจัยที่เหมาะสมที่สุดในการวิจัยสำหรับหลักในการเลือกใช้แบบการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. สามารถนำไปสู่คำตอบของปัญหาการวิจัยหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนดไว้ 2. จะต้องเหมาะสมที่จะทดสอบสมมุติฐานของการวิจัยได้ 3. สามารถนำข้อค้นพบไปสรุปเป็นทฤษฎีหรือหลักการทั่วไปได้ 4. สามารถควบคุมตัวแปรเกินและลดความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด 5. จะต้องมีความเที่ยงตรงภายในและความเที่ยงตรงภายนอก 6. จะต้องพิจารณาถึงงบประมาณกำลังคนและระยะเวลาในการวิจัย 7. จะต้องปราศจากความลำเอียง
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 17 8. สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ นอกจากนี้แบบการวิจัยมีลักษณะเฉพาะต่างกันผู้วิจัยจึงควรศึกษาเกี่ยวกับแบบการวิจัยเพื่อจะได้นำไปใช้ ได้อย่างเหมาะสม โดยการเลือกแบบการวิจัยแต่ละประเภทของปัญหาการวิจัยอาจใช้วิธีการดังตารางข้างล่างนี้ อย่างไรก็ดีในบางครั้งผู้วิจัยจำเป็นต้องใช้แบบการวิจัยต่างๆผสมผสานกันโดยเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละปัญหา วิจัยย่อย ๆ ดังนี้ ประเภทของปัญหาวิจัย แบบการวิจัย 1. เพื่อทำความเข้าใจปัญหา/สถานการณ์ การวิจัยเพื่อทำความเข้าใจ (exploratory research) • การสำรวจในชั้นเรียน • การศึกษาเชิงสัมพันธ์ • การสึกาเฉพาะกรรี • การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน • การวิเคราะห์เนื้อหา/หลักสูตร 2. เพื่อปรับเปลี่ยน 2.1 ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.2 ปรับพฤติกรรมเฉพาะราย การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) • การทดลองรายกลุ่ม • การทดลองเฉพาะราย แบบการวิจัยแบบต่าง ๆ แบบการวิจัยจะขึ้นกับลักษณะของการวิจัย ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างแบบการวิจัยของการวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยในชั้นเรียน และการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งเป็นลักษณะ การวิจัยที่ใช้ในการวิจัยเชิงทดลอง 1. การออกแบบวิจัยเชิงทดลอง 1.1 ความหมายของการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) การวิจัยเชิงทดลอง เป็นการวิจัยที่เน้นกระบวนการค้นหาความเป็นจริง หลักการทฤษฎี องค์ความรู้และ เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยมุ่งเน้นการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของตัวแปร ที่เกี่ยวข้องภายใต้เงื่อนไขที่มีการควบคุมโดย กระบวนการวิจัย เพื่อศึกษาพฤติกรรมหรือสถานการณ์ว่า เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงนั้นหรือไม่ โดยวิธีการ เปรียบเทียบของความแตกต่างของตัวแปรที่เปลี่ยนไปกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ในสภาพที่ถูกควบคุมและทำการ สรุปผลความจริงที่ค้นพบ และนำไปอธิบายพฤติกรรมต่าง ๆ ในเชิงเหตุผลได้
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 18 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ในเชิงเหตุและผลที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งผู้จัดทำโครงการอาจต้องสร้างสถานการณ์การทดลองขึ้นมาในบริบท ที่ห่างไกลจากสภาพธรรมชาติ เช่น การทดลองในห้องทดลองโดยมีการควบคุมหรือจัดกระทำให้เกิดตัวแปรเป็นเหตุ หรือตัวแปรอิสระตามต้องการ แล้วสังเกตหรือวัดตัวแปรตามเพื่อนำข้อมูลมาศึกษาลักษณะและปริมาณ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม อันจะนำไปสู่การลงข้อสรุปเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลลักษณะ ที่สำคัญของการวิจัยเชิงทดลองคือควบคุมตัวแปรเกินได้ (control) จัดการเปลี่ยนแปลงกับตัวแปรอิสระได้ (manipulation) สังเกตได้ (observation) และทำซ้ำได้ (replication) เช่น การทดลองใช้เครื่องปรุงอาหาร ว่าชนิดใดที่จะให้รสชาติอร่อยกว่ากัน การวิจัยเชิงทดลองจึงเป็นการวิจัยจากสาเหตุไปหาผลว่า ตัวแปรที่เกี่ยวข้องนั้นเป็นสาเหตุทำให้เกิดผล หรือไม่ และได้ยอมรับว่าเป็นการวิจัยที่ให้ผลได้น่าเชื่อถือมากที่สุด โดยเฉพาะหากนำมาใช้กับการวิจัยทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถนำมาพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ได้เป็นอย่างดี แบบแผนการวิจัย แบบที่ 1 ศึกษากลุ่มเดียว วัดเฉพาะหลังการทดลอง (one-group posttest only design) ตัวอย่างการวิจัย แบบที่ 1 การศึกษาการรับรู้สินค้าเครื่องสำอางจากการโฆษณา วัตถุประสงค์ ของงานวิจัย คือ ต้องการทราบว่า การโฆษณาส่งผลต่อการรับรู้สินค้า เครื่องสำอางหรือไม่ โดยกำหนดให้ผู้บริโภคดูโฆษณาเกี่ยวกับสินค้า เครื่องสำอาง แล้วสัมภาษณ์เกี่ยวกับการรับรู้สินค้าเครื่องสำอางว่า ผู้บริโภคมีการรับรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือไม่ แบบที่ 2 ศึกษากลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง (one-group pretest -posttest design)
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 19 ตัวอย่างการวิจัยแบบที่ 2 ผลของจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุดที่มีต่อการรู้ สารสนเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่นระดับประถมศึกษา (สุธาสินี สีแจ่ม, 2554) แบบที่ 3 รูปแบบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมวัด ก่อนหลังการทดลอง (pretest-posttest design with nonequivalent group) ตัวอย่างการวิจัยแบบที่ 3 จากงานวิจัยเรื่องการรับรู้สินค้าเครื่องสำอางจากการโฆษณา ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มผู้บริโภคเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม โดยให้กลุ่มทดลองชมภาพยนตร์โฆษณา แล้วสัมภาษณ์ถึงการรับรู้เกี่ยวกับสินค้า หลังจากที่ได้ดูภาพยนตร์ โฆษณาแล้ว ส่วนกลุ่มควบคุมจะสัมภาษณ์ถึงการรับรู้สินค้า ว่าผู้บริโภคมีการรับรู้เกี่ยวกับ สินค้ามากน้อยเพียงใด แบบที่ 4 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการสุ่ม วัดหลังการทดลอง (the randomized control-group posttest-only design)
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 20 ตัวอย่างการวิจัยแบบที่ 4 จากงานวิจัยเรื่องการรับรู้สินค้าจากการโฆษณา ถ้าผู้วิจัย ส่วนกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยให้กลุ่มทดลองชมภาพยนตร์โฆษณา แล้ว สัมภาษณ์ถึงการรับรู้เกี่ยวกับสินค้า หลังจากที่ได้ดูภาพยนตร์โฆษณาแล้ว ส่วนกลุ่มควบคุมจะสัมภาษณ์ถึง การรับสินค้าว่าผู้บริโภคมีการรับรู้เกี่ยวกับ สินค้ามากน้อยเพียงใด แบบที่ 5 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการสุ่มวัดก่อนหลังการทดลอง (the randomized control group pretest-posttest-only design) ตัวอย่างการวิจัยแบบที่5 การเปรียบเทียบยอดจำหน่ายระหว่างพนักขายสินค้าที่ได้รับการอบรม วิธีขายสินค้า และพนักงานที่ไม่ได้ รับการอบรม ผู้วิจัยสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้า กลุ่มทดลอง (พนักงานที่ได้รับการอบรมวิธีขายสินค้า) และกลุ่มควบคุม (พนักงานที่ไม่ได้รับการอบรมวิธีขายสินค้า) วัดยอดจำหน่ายของกลุ่ม ตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม จากนั้นนำกลุ่มทดลอง
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 21 ไปรับการอบรมวิธีขายสินค้า ส่วนกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับการอบรมวิธีขายสินค้า เมื่อเสร็จสิ้น การอบรม ทำการวัดยอดจำหน่ายของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม จากนั้น เปรียบเทียบยากจําหน่ายระหว่างกลุ่มทดลอง (พนักงานที่ได้รับการอบรม) และกลุ่มควบคุม (พนักงานที่ไม่ได้รับการอบรม) 1.2 หลักการออกแบบการทดลอง การออกแบบการทดลองที่ดีควรคำนึงถึงหลักการ 3 ประการ สามารถ ควบคุมความแปรปรวน โดยใช้หลักการหรือที่เรียกว่า Max Min Con คือ 1.2.1 Max หมายถึง การทำให้ความแปรปรวนของตัวแปรอิสระแตกต่างกันมากที่สุด 1.2.2 Min หมายถึง การทำให้ความแปรปรวนของตัวแปรอันเนื่องจากความคลาดเคลื่อนมีค่า ต่ำสุด 1.2.3 Con หมายถึง การควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเกิน โดยมีวิธีการดังนี้ 1.2.3.1 โดยการสุ่ม 1.2.3.2 ทำให้มีค่าคงที่ 1.2.3.3 ทำให้เป็นตัวแปรอิสระอีกตัวหนึ่ง 1.2.2.4 ใช้วิธีการทางสถิติ 1. ทำให้ความแปรปรวนอันเนื่องมาจากตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ (treatment) ให้มีค่ามากที่สุด (maximum) โดยทำให้ treatment มีความแตกต่างกันมากที่สุดหรือจัดกระทำกับตัวแปรที่บอกลักษณะหรือ สถานภาพ (attribute or status variable) ให้แตกต่างกันมากที่สุดที่จะทำได้ยิ่งทำให้ตัวแปรอิสระมีความแปรผัน ได้มากเท่าใดก็เป็นการเพิ่มโอกาสความแปรปรวนของตัวแปรตามเนื่องจากเป็นผลของตัวแปรอิสระออกจาก
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 22 ความแปรปรวนทั้งหมดในทางตรงกันข้ามถ้าไม่ทำให้ตัวแปรอิสระแปรผันแล้วความแปรปรวนของตัวแปรตาม อันเป็นผลจากตัวแปรอิสระก็จะรวมอยู่ในความแปรปรวนทั้งหมดอันแสดงถึงผลของตัวแปรอิสระต่อตัวแปรตาม เกิดขึ้นโดยโอกาสเท่านั้น ดังนั้น การออกแบบการวิจัยควรจัดให้สภาพหรือเงื่อนไขของการทดลองแตกต่างกัน มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ 2. ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเกิน (control of extraneous variable) ซึ่งสามารถทำได้โดย 2.1 ใช้กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุดในลักษณะของตัวแปรเกินแต่การควบคุม ตัวแปรนี้จะจำกัดขอบเขตการอ้างอิงผลการวิจัยไปใช้ให้แคบลง 2.2 จัดสมาชิกเข้ากลุ่มโดยการสุ่มการจัดสมาชิกเข้ากลุ่มโดยการสุ่มจะทำให้โอกาสหรือ ความน่าจะเป็นที่ค่าของตัวแปรตามของกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันมีมากกว่าโอกาสที่จะแตกต่าง กันก่อนทำการทดลอง 2.3 จับคู่สมาชิกบนพื้นฐานของตัวแปรเกินแล้วจัดสมาชิกแต่ละคู่เข้ากลุ่มการทดลองโดยการสุ่ม การควบคุมตัวแปรเกินวิธีนี้ผู้จัดทำโครงการอาจพบกับปัญหาว่าไม่ทราบว่าตัวแปรเกินตัวใดมีความสัมพันธ์กับ ตัวแปรตามมากที่สุด เพื่อที่จะใช้เกณฑ์จับคู่บนพื้นฐานตัวแปรเกินนั้น 2.4 ใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อควบคุมค่าที่เกิดขึ้นจากแปรเกิน เช่น ใช้เทคนิค การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม 2.5 ควบคุมสภาพการณ์ในการทดลองให้มีความคงที่ ผู้จัดทำโครงการจะต้องควบคุมสภาพการณ์ ในการทดลองของกลุ่มต่าง ๆ เหมือนกันทุกอย่างยกเว้นแต่ตัวแปรอิสระเท่านั้น 2.6 การควบคุมผลของการถดถอยทำได้โดยอย่าเลือกสมาชิกที่ได้คะแนนสอบสูงสุดหรือต่ำสุดที่มี ความแตกต่างจากค่าเฉลี่ยมาก ๆ ถ้าจำเป็นต้องเลือกต้องทำให้เหมือนกันทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง 2.7 นำตัวแปรเกินมาใช้ในการวิจัยโดยพิจารณาให้เป็นตัวแปรอิสระอีกตัวหนึ่ง 2.8 ออกแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบต่าง ๆ เช่น Completely Randomized Block Design, Completely Randomized Factorial Design, Split-Plot Factorial Design เป็นต้น 3. ทำให้ความแปรปรวนอันเนื่องจากความคลาดเคลื่อนมีค่าต่ำที่สุด (minimization of error variance) ซึ่งเกิดจากความแตกต่างระหว่างบุคคลและความคลาดเคลื่อนจากการวัดสามารถทำให้ค่าความแปรปรวนเหล่านี้ มีค่าต่ำสุดโดย
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 23 3.1 การควบคุมเงื่อนไขของการทดลองให้มีระบบและแน่นอนจะทำให้ความคลาดเคลื่อนที่ เกิดจากการวัดน้อยลง 3.2 ทำให้เครื่องมือที่วัดมีความเที่ยง (reliability) สูง เช่นการเพิ่มจำนวนข้อคำถามเมื่อเครื่องมือ มีความเที่ยงสูงก็จะช่วยลดความคลาดเคลื่อนได้ สรุปการออกแบบการศึกษาเชิงทดลอง 2. การออกแบบวิจัยเชิงสำรวจ 2.1 ความหมายของการวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เป็นการวิจัยเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับสภาพที่เป็นปัจจุบันของสิ่งที่ ต้องการศึกษาว่ามีสภาพเป็นเช่นไร เช่น การสำรวจสภาพปัญหาความคิดเห็นเจตคติความเชื่อความรู้สึกสำรวจ ร้านค้าสำรวจเอกสารสำรวจชุมชนกระบวนการที่ใช้ในการวิจัยนิยมใช้เช่น การสอบถามการสัมภาษณ์การสังเกต การวิจัยเชิงสำรวจไม่มีการควบคุมสิ่งที่ต้องการศึกษาแต่เป็นการศึกษาเพื่ออธิบายว่ามีอะไรเกิดขึ้นในสถานการณ์ นั้น ๆ การวิจัยเชิงสำรวจแตกต่างจากการสำรวจโดยทั่วไปตรงที่การวิจัยเชิงสำรวจเน้นที่ความเชื่อถือได้ของข้อมูล และคำตอบที่ได้จากการวิจัยต้องเป็นความรู้ใหม่ส่วนการสำรวจไม่เน้นประเด็นดังกล่าว การสำรวจจึงเป็นการตอ คำถามเฉพาะบางอย่าง และผลการสำรวจไม่สามารถอ้างอิงให้กว้างออกไปได้ส่วนการวิจัยเชิงสำรวจ เน้นต้องการ คำตอบที่กว้างขวางและสรุปอ้างอิงได้อย่างไรก็ตามการวิจัยเชิงสำรวจ และการสำรวจต่างมีจุดร่วมเดียวกัน คือการ ให้ข้อมูลที่ตรงกับสภาพของสิ่งที่ต้องการสำรวจ 2.2 จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงสำรวจ จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงสำรวจมีดังนี้
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 24 1) เป็นการสำรวจเพื่อบอกหรืออธิบายว่าว่ามีปรากฏการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างในสภาพที่ต้องการศึกษา 2) การสำรวจเพื่ออธิบายความเป็นเหตุและผลศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สนใจ 2.3 ประเภทของการวิจัยเชิงสำรวจ 1) การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อการบรรยาย (descriptive survey research) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา สาระที่เกี่ยวกับประชากรที่มีจำนวนมากการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อการบรรยายมุ่งที่การสุ่มตัวอย่างที่เชื่อถือได้ การตรวจสอบสมมติฐานของการวิจัยและการสรุปอ้างอิง ผลจากข้อมูลสุ่มตัวอย่างไปหาประชากรผู้จัดทำโครงการ เชิงสำรวจ เพื่อการบรรยายจึงต้องมีความสามารถที่จะประมวลสาระจากทฤษฎีให้ได้ก่อนแล้วจึงตัดสินใจเลือก กลุ่มตัวอย่างและการรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้คำตอบเพื่อการบรรยายปรากฏการณ์ที่ศึกษาซึ่งถ้าเป็นข้อมูล เชิงคุณลักษณะ (qualitative) ก็จะทำเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ โดยผู้จัดทำโครงการต้องยอมเสียความละเอียดของ ข้อมูลลงบ้างซึ่งเป็นจุดที่ผู้จัดทำโครงการจะต้องใช้ความสามารถในการตัดสินใจว่าจะแปรข้อมูลเชิงลักษณะใดเป็น ข้อมูลเชิงปริมาณแล้วยังคงคุณลักษณะเดิมมากที่สุด เช่น สภาพการประกอบธุรกิจขนาดเล็กในชุมชนความคิดเห็น ของนักศึกษาพาณิชยกรรมต่อการใช้เครื่องสำอางการสำรวจการใช้ผลิตภัณฑ์ของลูกค้าในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง เป็นต้น 2) การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อการอธิบาย (Explanatory Survey Research) มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบาย ความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องแท้จริงมากน้อยเพียงไร การวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อการอธิบายจึงมุ่งที่การศึกษาถึงปรากฏการณ์อย่างน้อย 2 อย่างที่เกี่ยวข้องกัน โดยการตรวจสอบสมมติฐานการ วิจัยที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีนั้นวิจัยแบบนี้ก็คือ การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นั่นเอง เช่น ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ของลูกค้าตามห้างสรรพสินค้าความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจประกอบอาชีพสาขาวิชาที่เรียน เป็นต้น 2.4 ขั้นตอนการออกแบบการวิจัยเชิงสำรวจ การออกแบบการวิจัยเชิงสำรวจมีขั้นตอน ดังนี้ 1) กำหนดคำถามการวิจัยที่ต้องการศึกษาว่าคืออะไร 2) กำหนดจุดมุ่งหมายของการสำรวจว่าจะสำรวจเพื่อบรรยายหรืออธิบาย 3) ตัวแปรที่จะสำรวจคืออะไรและมีองค์ประกอบใดบ้าง 4) ประชากรที่ต้องการศึกษาเป็นใครและมีสภาพเป็นอย่างไร 5) วิธีการและเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจคืออะไรเหมาะสมกับคำถามการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัยตัวแปรที่ ต้องการศึกษาและประชากรหรือไม่
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 25 แบบการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของปัญหาที่ต้องการศึกษาอย่างถูกต้องแบบการวิจัย มีหลายแบบซึ่งสามารถจัดเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 แบบการวิจัยก่อนมีแบบการวิจัยเชิงทดลอง (pre-experimental design) เป็นการวิจัย เชิงทดลองอย่างอ่อน (weekly design) เป็นการวิจัยที่ตัวแปรต่างๆเกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วในธรรมชาติไม่มีการทดลอง จริงแต่ดำเนินการทำทีเหมือนกับว่ามีการทดลอง ดังนั้นการวิจัยแบบนี้จะควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อน ได้น้อยกว่าแบบอื่น ๆ ไม่สามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ-ผล กลุ่มที่ 2 แบบการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental design) เป็นแบบการวิจัยสำหรับงานวิจัย ที่ดำเนินการศึกษาแบบการทดลองที่ไม่สมบูรณ์ มีลักษณะกึ่งกลางระหว่างแบบการวางก่อนมีแบบการวิจัย เชิงทดลองและแบบการวิจัยเชิงทดลองมีวิธีการควบคุมอิทธิพลดีกว่าแบบการวิจัยก่อนมีการวิจัยเชิงทดลอง และ มีความยืดหยุ่นเป็นธรรมชาติมากกว่าแบบการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มที่ 3 แบบการวิจัยเชิงทดลอง (true experimental design) เป็นแบบการวิจัยสำหรับการวิจัย เชิงทดลองที่สมบูรณ์แบบที่สุดเป็นแบบที่มีวิธีการสอดคล้องกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์มีการสุ่มตัวอย่าง (random selection) และสุ่มเงื่อนไขทดลองให้กับกลุ่มตัวอย่าง (random assignment) กลุ่มที่ 1 แบบการวิจัยก่อนมีแบบการวิจัยเชิงทดลอง ลักษณะการศึกษา 1) เลือกกลุ่มตัวอย่างมา 1 กลุ่มมี 1 การจัดกระทำไม่มีกลุ่มควบคุม 2) มีการวัดค่าสังเกตหลังจากศึกษาครั้งแรก (posttest) 3) การทดลองใช้นวัตกรรม 3.1) ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างมาทดลองใช้กลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียนหรือหลายห้องก็ได้ที่มีนักเรียน เก่ง อ่อน และปานกลางคละกัน แต่โรงเรียนมีข้อจำกัดจำนวนห้องเรียนน้อยไม่สามารถเลือกห้องเรียนได้หรือมีการ จัดห้องเรียนในลักษณะอื่นก็ให้เลือกห้องเรียนตามข้อจำกัดนั้น ๆ หลังจากเลือกห้องเรียนแล้วทำการสอน โดยใช้นวัตกรรมที่สร้างขึ้น เมื่อจบการทดลองแล้วให้ทำการวัดผลด้วยเครื่องมือวัดที่เหมาะสมและมีคุณภาพ
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 26 3.2) การวิเคราะห์ผลการทดลองหลังจากทำการวัดตัวแปรตามของการทดลองได้แล้วนำผลการวัด มาเทียบเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าในการนี้ผู้พัฒนานวัตกรรมต้องกำหนดเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าเช่นถ้านวัตกรรมของ ตนมีคุณภาพนักเรียนจะต้องได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 หรือสัดส่วนของนักเรียนที่ สอบผ่านเกณฑ์สูงกว่าร้อยละ 80 หรือสัดส่วนของนักเรียนที่ได้ระดับคะแนน 3 หรือ 4 มากกว่าร้อยละ 40 เป็นต้น การวิเคราะห์ผลการทดลองถ้ากำหนดเกณฑ์คือนักเรียนจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 (หรือ 75, 80, 85, ฯลฯ ) ให้ทำการเปรียบเทียบระหว่างคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนที่คำนวณได้กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้โดยใช้สถิติ Z-test หรือ t-test แล้วแต่จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นำมา ทดสอบการเปรียบเทียบ ถ้ากำหนดเกณฑ์คือสัดส่วนของนักเรียนที่สอบผ่านเกณฑ์หรือสัดส่วนของนักเรียนที่ได้รับคะแนน 3 หรือ 4 ให้นักเรียนเทียบสัดส่วนของนักเรียนหมดคุณลักษณะดังกล่าวหลังจากประเมินผลการเรียนหลังการใช้นวัตกรรม แล้วกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้โดยใช้ค่าสถิติ Z-test ทดสอบสัดส่วนที่มีลักษณะเป็น Proportion-test ข้อดี 1) เป็นรูปแบบที่ง่ายไม่ซับซ้อนมีการวัดหลังการทดลองเพียงครั้งเดียวและใช้กลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียว 2) เนื่องจากไม่มีการทดสอบก่อน (pretest) จึงไม่มีปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทดสอบก่อน 3) ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนน้อย ข้อจำกัด 1) ไม่มีเกณฑ์ที่ใช้เปรียบเทียบก่อนการทดลองใช้นวัตกรรมนักเรียนมีพื้นฐานความรู้อยู่ในระดับใดเนื่องจากมีการ วัดผลหลังการทดลองเพียงครั้งเดียว จึงทำให้ไม่สามารถสรุปได้อย่างมั่นใจว่าหลังการทดลองนักเรียนมีคะแนน สูงขึ้นจากเดิมจริงหรือไม่ 2) ไม่สามารถควบคุมความเที่ยงตรงภายในในด้านประวัติและพื้นฐานดั้งเดิมของกลุ่มตัวอย่าง (history) วุฒิภาวะ (maturity) การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง (selection) และการขาดหายไปของกลุ่มตัวอย่าง (experimental mortality) 3) ผลที่วัดได้การทดลองอาจไม่ใช่ผลการทดลอง
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 27 กลุ่มที่ 2 แบบการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง ลักษณะการศึกษา 1) เลือกกลุ่มตัวอย่างมา 2 กลุ่มเพื่อใช้เป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่มกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม 2) ทำการทดสอบก่อนการทดลองทั้ง 2 กลุ่ม 3) ให้ตัวแปรทดลองในกลุ่มทดลอง 4) ทดสอบหลังการทดลองทั้งสองกลุ่ม 5) หาค่าเฉลี่ยเลขคณิตในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมทั้งก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 6) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเลขคณิตระหว่างหลังการทดลองและก่อนการทดลองของกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุมโดยใช้ Z-test, t-test และ F-test ข้อดี 1) สะดวกและง่ายต่อการปฏิบัติเพราะไม่ต้องจัดกลุ่มใหม่ 2) ประหยัดค่าใช้จ่าย 3) ควบคุมแหล่งที่ทำให้ขาดความเที่ยงตรงภายในได้พอสมควร 4) การมีการทดสอบก่อนและหลังทำให้สามารถเปรียบเทียบได้ว่าแต่ละกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากน้อย เพียงใด ข้อจำกัด 1) ถ้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีพื้นฐานก่อนการทดลองแตกต่างกันจะทำให้ผลการวิจัยคลาดเคลื่อน 2) ไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาร่วมระหว่างการทดสอบก่อนทดลองกับการให้ตัวแปรทดลอง
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 28 ลักษณะการศึกษา 1) เลือกกลุ่มตัวอย่างมาเพียง 1 กลุ่ม 2) ทำการทดสอบติดต่อกันหลายๆครั้งก่อนให้ตัวแปรทดลองโดยการทดสอบแต่ละครั้งเว้นระยะห่างกันพอสมควร 3) ให้ตัวแปรทดลอง 4) หลังจากให้ตัวแปรทดลองทำการสอบหลายครั้งโดยให้แต่ละครั้งเว้นระยะห่างกันพอสมควร 5) ทำการวัดการเปลี่ยนแปลงจาก 04 ไป 05 ว่าแตกต่างจาก 01 ไป o5 เพียงใดและพิจารณาค่าความแตกต่าง ระหว่าง 01 02 03 กับ 06 07 และ 08 ถ้าเกิดความแตกต่างมากมายผิดปกติน่าจะเป็นผลของ X สำหรับสถิติที่ใช้ ได้แก่ F – test แบบวัดซ้ำ ข้อดี 1) เป็นการศึกษาแบบระยะยาวทำให้ทราบพัฒนาการ 2) ไม่ยุ่งยากใช้กลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียวได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงในสภาพปกติ ข้อจำกัด 1) ไม่มีการควบคุมเป็นไปตามธรรมชาติ 2) ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ 3) ต้องใช้เวลาติดตามนาน 4) ผลที่ได้อาจเป็นผลร่วมของประวัติหรือพื้นฐานเดิมของกลุ่มตัวอย่างกับเครื่องมือวัดผล 5) อาจมีผลของการทดสอบครั้งแรกๆต่อครั้งหลัง ๆ
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 29 กลุ่มที่ 3 แบบการวิจัยเชิงทดลอง ลักษณะการศึกษา 1) ทำการสุ่มตัวอย่างแยกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) ให้ตัวแปรทดลองกับกลุ่มทดลองส่วนกลุ่มควบคุมไม่ให้ตัวแปรทดลอง 3) ควบคุมตัวแปรเกินโดยจัดสภาพของทั้งสองกลุ่มให้เหมือนกันยกเว้นตัวแปรทดลอง 4) ทำการทดสอบหลังการทดลองทั้งสองกลุ่มโดยเปรียบเทียบ 02 ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ข้อดี 1) ง่ายและประหยัดเพราะไม่ต้องมีการทดสอบก่อนการทดลอง 2) ผลของการทดลองเป็นอิสระจากปฏิกิริยาร่วมระหว่างการทดสอบก่อนการทดลองกับตัวแปรทดลอง 3) ควบคุมแหล่งที่ทำให้ขาดความเที่ยงตรงภายในได้หมด ข้อจำกัด 1) ไม่แน่ใจว่าสามารถควบคุมความเที่ยงตรงภายในได้หมด ได้แก่ ปฏิกิริยาร่วมระหว่างการเลือกกลุ่มตัวอย่างกับ ตัวแปรทดลองปฏิกิริยา เนื่องจากกระบวนการในการทดลอง 2) ไม่มีการทดสอบครั้งแรกทำให้ไม่แน่ใจว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจะมีความเท่าเทียมกันก่อนการทดลอง หรือไม่ ไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าก่อนและหลังการทดลองมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 30 ลักษณะการศึกษา 1) สุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากรให้ได้จำนวนเท่ากับจำนวนคนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมรวมกัน 2) ทำการสุ่มตัวอย่างแยกเป็นสองกลุ่ม 3) ทำการสุ่มหนึ่งกลุ่มเป็นกลุ่มทดลองที่เหลือเป็นกลุ่มควบคุม 4) ทำการทดสอบก่อนการทดลอง 5) ให้ตัวแปรทดลองกับกลุ่มทดลองส่วนกลุ่มควบคุมไม่ให้ตัวแปรทดลอง 6) ควบคุมตัวแปรเกินโดยจัดสภาพของทั้งสองกลุ่มให้เหมือนกันยกเว้นตัวแปรทดลอง 7) ทำการทดสอบหลังการทดลองทั้งสองกลุ่มโดยใช้เครื่องมือฉบับเดียวกันกับการทดสอบก่อนการทดลอง 8) หาค่าเฉลี่ยเลขคณิตก่อนการทดลองและหลังการทดลองทั้งสองกลุ่ม 9) เปรียบเทียบผลต่างของค่าเฉลี่ยเลขคณิตก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้ Z-test หรือ t-test F-test ข้อดี 1) มีการสุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมซึ่งในทางทฤษฎีเชื่อว่าจะทำให้ทั้งสองกลุ่มมีความ เท่าเทียมกัน 2) สามารถควบคุมตัวแปรที่ทำให้ขาดความเที่ยงตรงภายในได้หมด ข้อจำกัด 1) ไม่สามารถควบคุมแหล่งที่ทำให้ขาดความเที่ยงตรงภายนอกได้หมด 2) ไม่สามารถนำไปใช้ในบางสถานการณ์เช่นในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนในห้องเรียนน้อยหรือ ไม่สามารถย้ายนักเรียนให้เข้าทดลองในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 31 3. การวิจัยในชั้นเรียน 3.1 ความหมายความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยในชั้นเรียน หากแปลความหมายโดยการแยกคำหลัก ๆ จะเห็นได้ว่าประกอบด้วยคำว่า “การวิจัย” และ “ชั้นเรียน” ซึ่งการวิจัยนั้นในบทที่ 1 ได้อธิบายความหมายความสำคัญและหลักการไว้แล้ว ส่วนคำว่าชั้นเรียน หากสื่อตามความหมายที่เกี่ยวข้องจะเห็นได้ว่าสื่อถึง ครู นักเรียน ดังนั้นหากหมายรวมกันแล้ว จะเห็นได้ว่า การวิจัยในชั้นเรียน จะหมายถึงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับครูหรือนักเรียน นอกจากนี้ความหมายของ การวิจัยในชั้นเรียนนั้นได้มีนักวิชาการ ได้นิยามความหมายที่คล้ายคลึงกันดังนี้ การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยเพื่อหานวัตกรรมสำหรับแก้ปัญหาหรือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของ ผู้เรียน ซึ่งเน้นในลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีปัญหาการเรียนรู้เป็นจุดเริ่มต้น ผู้สอน หาวิธีการ หรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา มีการสังเกตและตรวจสอบผลของการแก้ปัญหา/การพัฒนา แล้วจึงบันทึก และสะท้อนการแก้ปัญหาหรือการพัฒนานั้นๆ การวิจัยในชั้นเรียนมักเป็นการวิจัยขนาดเล็ก (Small scale) ที่ดำเนินการโดยผู้สอน เป็นกระบวนการที่ผู้สอนสะท้อนการปฏิบัติงานและเสริมพลังอำนาจให้ครูผู้สอน (Field ,1997 อ้างถึงในสุภัทรา เอื้อวงศ์ ออนไลน์ 2554) การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการแก้ปัญหาและ/หรือพัฒนางานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนโดย อาศัยกระบวนการวิจัยในการดำเนินงานทั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญที่อยู่ที่การเรียนรู้ที่สำคัญของผู้เรียนให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาในแต่ละระดับ (รัตนะ บัวสนธ์,2544) การวิจัยในชั้นเรียน เป็นวิธีการศึกษาค้นคว้าที่สะท้อนตัวครูและกลุ่มผู้ร่วมปฏิบัติงานในสถานการณ์สังคม เพื่อค้นหาลักษณะที่เหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับภาวะของสังคมหรือ สถานการณ์ ด้วยความร่วมมือของเพื่อนครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ตลอดจนสมาชิกในสังคมที่เกี่ยวข้อง มีจุดมุ่งหมายเพื่อพินิจพิเคราะห์การกระทำของตนเองและกลุ่ม เพื่อพัฒนาเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรการสอน และการเรียนรู้ อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงแบบมีแผน ดังนั้น การวิจัยในชั้นเรียน จึงไม่ใช่เป็นเพียงการ แก้ปัญหา แต่จะเป็นการตั้งปัญหาจากแรงกระตุ้นของผู้วิจัยที่ต้องการเปลี่ยนแปลงพัฒนา แล้วปฏิบัติสังเกต สะท้อนกลับเป็นวัฏจักรของการวิจัยที่หมุนไปเรื่อย ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและสร้างภาพลักษณ์ของการ เรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น (วาสนา ประวาลพฤกษ์, 2541) ส่วนความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียนนั้นจะเห็นได้ว่าการวิจัยในชั้นเรียนนั้นมุ่งแก้ปัญหาและ/หรือ พัฒนางานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน ซึ่งต้องบังเกิดประโยชน์แก่นักเรียนให้ในการพัฒนาการเรียนรู้อยู่
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 32 แล้ว และต้องส่งผลต่อผลงานของครูผู้สอนและโรงเรียนตามมา และนอกจากนี้การวิจัยในชั้นเรียนนี้ยังสอดคล้อง กับแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 24 ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้ง สามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากการเรียน การสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ มาตรา 30 ส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ได้กล่าวถึงการวิจัย ใน กระบวนการจัดการศึกษาของผู้เกี่ยวข้อง ดังเช่น ศึกษา ค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ผู้สอนนำกระบวนการวิจัยมาผสมผสานหรือบูรณาการใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อ พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการเรียนรู้ด้วย จากความหมายของการวิจัยในชั้นเรียนที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า การวิจัยในชั้นเรียน หมายถึง การวิจัยที่ดำเนินการโดยครูผู้สอนในห้องเรียนที่ตนเองรับผิดชอบเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ 3.2 หลักการของการวิจัยในชั้นเรียน หลักการของการวิจัยในชั้นเรียนนั้นมีหลักการในการวิจัยในชั้นเรียนนั้น มีหลักและวิธีการที่ควรศึกษาและ ทำความเข้าใจดังนี้ สุภัทรา เอื้อวงศ์ กล่าวว่า หลักการสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่ผู้สอนจะต้องคำนึงถึง คือ (อ้างถึงในสุภัทรา เอื้อวงศ์, ออนไลน์, 2554) 1. งานวิจัยเป็นงานเสริมงานหลัก โดยงานหลักคือการสอนของผู้สอน เพราะงานวิจัยเพื่อพัฒนาการ เรียนรู้จะต้องเกิดควบคู่กับการเรียนการสอนเสมอ 2. เป็นการทำวิจัยตามสภาพความจริง ปัญหาเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และต้องการแก้ไข 3. เป็นการสอดแทรกให้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ 4. งานวิจัยที่ทำนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์ ผู้ทำต้องนึกถึง ประโยชน์หรือคุณค่าต่อผู้เรียนเป็นสำคัญ
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 33 5. การทำวิจัยเป็นสิ่งที่ตระหนักรู้ โดยอาจารย์ผู้สอนเอง ด้วยความรู้สึกห่วงใยต่อนักศึกษา ปรารถนาที่ จะแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน 6. สิ่งสำคัญประการสุดท้าย และเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน คือ งานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จะสำเร็จมิใช่อยู่ที่ความคิดอย่างเดียว แต่อยู่ที่ การลงมือทำ สุดท้ายอาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพการเรียนการสอนที่ต่อเนื่องจะเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าขาดการดำเนินการอย่าง เป็นรูปธรรม ขาดการดำเนินการโดยใช้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ การวิจัยถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิด ความคิดในการพัฒนาการเรียนการสอนของครู อาจารย์เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมขึ้น และเป็นการดำเนินการเชิง วิทยาศาสตร์ที่จะช่วยพัฒนาการเรียนการสอนของครู อาจารย์อย่างแท้จริง ซึ่งผลก็คือ คุณภาพของผู้เรียน 3.3 กระบวนการขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน 1. กำหนดปัญหา จุดเริ่มของการวิจัยเชิงปฏิบัติ คือกำหนดแนวคิดให้ได้ว่ามีปัญหาอะไรที่ต้องการแก้ไข หรือประเด็นใดที่ ต้องการพัฒนา โดยเริ่มจากการสำรวจสภาพทั่วไปของการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนว่ามีปัญหาเกิดขึ้น หรือไม่กำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไขกว้าง ๆจากนั้นพิจารณาให้ชัดเจนว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไรเป็น ปัญหาสำคัญหรือไม่ แก้ไขได้หรือไม่ ปัญหาที่กำหนดนั้นอาจเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองเพียงคนเดียว หรือเป็น ปัญหาร่วมของกลุ่มก็ได้เทคนิคในการกำหนดปัญหาที่ชัดเจนคือ พยายามกำหนดแยกเป็น 2 ประเด็น 1.1 ประเด็นปัญหา ได้แก่ ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชั้นเรียน ตัวอย่างเช่น - ปัญหานักเรียนขาดเรียนบ่อย - ปัญหานักเรียนไม่ส่งการบ้าน - ปัญหานักเรียนคิดไตร่ตรองไม่เป็น - ปัญหานักเรียนไม่สนใจการเรียน -ปัญหานักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว -ปัญหานักเรียนซึมเศร้าโดดเดี่ยวตนเอง -ปัญหานักเรียนไม่ชอบวิชาภาษาไทย - ปัญหานักเรียนใช้เวลาว่างไม่เป็นประโยชน์
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 34 - ฯลฯ 1.2 ประเด็นที่ต้องการแก้ไข ปรับปรุงพัฒนา ได้แก่ สิ่งที่ต้องการแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนาให้ เกิดขึ้น โดยคาดว่าเมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้นแล้วจะแก้ปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น ประเด็นปัญหาทั้งหมดตาม ข้อ 1.2.1 สามารถกำหนดเป็นประเด็นที่ต้องแก้ไข / ปรับปรุงได้ดังนี้ - ปัญหานักเรียนขาดเรียนบ่อย ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะขาดเรียนน้อยลง - ปัญหานักเรียนไม่ส่งการบ้าน ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะส่งการบ้านตรงเวลา - ปัญหานักเรียนคิดไตร่ตรองไม่เป็นทำอย่างไรนักเรียนจึงจะคิดเป็น - ปัญหานักเรียนไม่สนใจการเรียนทำอย่างไรนักเรียนจึงจะสนใจการเรียน - ปัญหานักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าวทำอย่างไรนักเรียนจึงจะมีพฤติกรรม ไม่ก้าวร้าว - ปัญหานักเรียนซึมเศร้าโดดเดี่ยวตนเอง ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะร่าเริง เข้าสังคมปกติ - ปัญหานักเรียนไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะชอบเรียนวิชา คณิตศาสตร์ - ปัญหานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาภาษาไทยต่ำ ทำอย่างไรนักเรียนจึง จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยสูงขึ้น - ปัญหานักเรียนใช้เวลาว่างไม่เป็นประโยชน์ ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะใช้เวลา ว่างให้เป็นประโยชน์จะเห็นได้ว่าการกำหนดประเด็นที่ต้องการปรับปรุงหรือพัฒนานี้ จะช่วยให้ครู มองเห็นเป้าหมายที่ชัดเจนว่าการวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ทำเพื่ออะไร ผลที่จะ เกิดขึ้นคืออะไรแนวทาดำเนินการเป็นอย่างไร 2. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประเด็นปัญหา เป็นการคิดพิจารณาทบทวนค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อทำความเข้าใจปัญหานั้นอย่างชัดเจนทุกแง่ทุกมุม โดยใช้ วิธีการต่าง ๆ เพื่อบรรยายข้อเท็จจริงของปัญหาให้ได้มากที่สุด และเพื่ออธิบายว่าปัญหานั้นเกิดจากสาเหตุใด ใน ขั้นนี้ต้องมีการตรวจสอบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาโดยมีการคาดเดาสาเหตุของปัญหาอย่างมีเหตุผลและมีการ
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 35 ตรวจสอบสาเหตุที่คาดเดาด้วยวิธีการหลากหลาย โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ในการสอนของตนเองและเพื่อน ครูที่สั่งสมมาเป็นเวลานานรวมทั้งขอคำแนะนำจากผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ และศึกษาข้อมูลอื่น ๆ ประกอบ รายละเอียดของขั้นตอนที่ 2 มี ดังนี้ 2.1 บรรยายข้อเท็จจริง โดยครูผู้สอนเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทั้งหมดอย่าง ละเอียด โดยใช้วิธีสังเกต สอบถามสัมภาษณ์ ศึกษาเอกสาร อัตชีวประวัติทะเบียนประวัติ ฯลฯ จากนั้นจดบันทึก ข้อมูลทั้งหมด เช่น ตัวอย่างปัญหานักเรียนไม่สนใจการเรียน ครูต้องศึกษาและบรรยายข้อเท็จจริงให้ได้ว่า -มีผู้ไม่สนใจการเรียนกี่คนใครบ้าง -ไม่สนใจการเรียนวันใดบ้าง ช่วงเวลาใด -ไม่สนใจการเรียนวิชาอะไร ใครเป็นผู้สอนในวิชานั้น -นักเรียนแต่ละคนที่ไม่สนใจการเรียนมีประวัติและข้อมูลส่วนตัวอย่างไร มีปัญหาส่วนตัว ปัญหาสุขภาพ ปัญหาอื่น ๆ หรือไม่ฯลฯ 2.2 อธิบายสาเหตุของปัญหา เมื่อครูเก็บข้อมูลข้อเท็จจริงได้มากพอสมควรแล้วต้องพยายามหา สาเหตุให้ได้ว่าปัญหานั้นๆ เกิดจากสาเหตุใด ทั้งนี้ครูต้องใช้ความรู้ความ สามารถและความช่วยเหลือจากกลุ่มเพื่อน ครู ศึกษานิเทศก์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยกันวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา มีขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้ 2.2.1 พิจารณาข้อเท็จจริงทุกแง่มุมได้แก่ ข้อมูลของนักเรียนรายบุคคลที่เก็บรวบรวมมา ได้ในขั้นตอนก่อน 2.2.2 ตั้งสมมุติฐาน (คาดเดาสาเหตุของปัญหาอย่างมีเหตุผล) วิธีพิจารณาอาจต้องใช้ กลุ่มเพื่อนครูหรือผู้มีความรู้ช่วยกันพิจารณาและคาดเดาถึงสาเหตุ จากตัวอย่างอาจคาดเดาว่า สาเหตุสำคัญของการไม่สนใจการเรียน เนื่องมาจากพฤติกรรมการสอนของครูไม่น่าสนใจ บรรยากาศการเรียนเฉื่อยชา ทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย ไม่มีแรงจูงใจในการเรียน เป็นต้น 2.2.3 พิสูจน์สมมุติฐานนั้น โดยใช้วิธีการต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะใช้การสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์ในชั้นเรียนจริง จากตัวอย่างปัญหานักเรียนไม่สนใจการเรียน ครูผู้สอนต้องคอยสังเกต พฤติกรรมนักเรียนในระหว่างเรียนมอบหมายงานให้นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับตนเอง สนทนากับนักเรียนในเวลาว่าง สอบถามจาก เพื่อน เยี่ยมเยียนและสนทนากับผู้ปกครอง
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 36 2.2.4 สรุปสาเหตุของปัญหา เมื่อถึงขั้นตอนนี้แล้วครูน่าจะรู้สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาว่า คืออะไร ซึ่งสาเหตุของปัญหาของนักเรียนแต่ละรายอาจไม่เหมือนกันหรือเหมือนกันก็ได้ตัวอย่าง ปัญหานักเรียนไม่สนใจการเรียนนี้หลังจากพิสูจน์สมมุติฐานแล้วสรุปได้ว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ นักเรียนไม่สนใจการเรียน คือพฤติกรรมการสอนของครูไม่น่าสนใจ บรรยากาศการเรียนเฉื่อยชา ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 3. วางแผนปฏิบัติ เป็นการกำหนดวิธีการหรือกิจกรรมการปฏิบัติที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาตามสาเหตุของปัญหาที่พบในขั้นตอน ก่อน วิธีการในขั้นนี้ส่วนมากจะเริ่มจาก การคิดพิจารณาหาทางเลือกในการแก้ปัญหาที่น่าจะเป็นไปได้ให้มากที่สุด จากนั้นพิจารณาเปรียบเทียบแต่วิธี จนในที่สุดตัดสินใจเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีผสมกันจากนั้นจึงกำหนด รายละเอียดของวิธีนั้นให้เป็นกิจกรรมที่ชัดเจนเป็นลำดับสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ ควรกำหนดระยะเวลาไว้ด้วย จัดทำหรือเขียนเป็นแผนปฏิบัติการ รายละเอียดของการวางแผนปฏิบัติมีดังนี้ 3.1 กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาหลายวิธี 3.2 พิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดเพียง 1 วิธี หรือหลายวิธีผสมกัน 3.3 จัดทำแผนปฏิบัติการประกอบด้วย 3.3.1 หลักการและแนวคิด 3.3.2 วัตถุประสงค์ (สิ่งที่ต้องปรับปรุงหรือพัฒนา) 3.3.3 เป้าหมาย (เชิงปริมาณและคุณภาพ) 3.3.4 กิจกรรมการปฏิบัติ 3.3.5 ระยะเวลาที่ดำเนินการ 3.3.6 บุคลากรที่ต้องการ 3.3.7 สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณที่ต้องใช้ 3.3.8 แนวทางการวัดและประเมินผล
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 37 จากตัวอย่างปัญหานักเรียนไม่สนใจการเรียนเนื่องจากพฤติกรรมการสอนของครูไม่น่าสนใจ บรรยากาศการเรียนเฉื่อยชา อาจสามารถกำหนดวิธีการแก้ปัญหาไว้หลากหลายดังนี้ 1. ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญมากขึ้น 2. จัดทำบทเรียนสำเร็จรูปให้นักเรียนนำไปเรียนด้วยตนเอง 3. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้นักเรียนเข้าร่วม 4. เปลี่ยนวิธีสอนเป็นแบบเพื่อนสอนเพื่อน 5. ใช้สื่อการสอนที่ทันสมัย น่าสนใจเช่น คอมพิวเตอร์ 6. ใช้การเสริมแรงในห้องเรียนด้วยการให้เบี้ยอัตถกร (token) 7. กำหนดบทลงโทษผู้ที่ชอบขาดเรียนเกินกำหนดอย่างเด็ดขาดจากนั้นตัดสินใจเลือกวิธีที่เห็นว่า เหมาะสมที่สุดจากตัวอย่างเลือกสมมุติว่าเลือกใช้การเสริมแรงในห้องเรียนด้วยการให้เบี้ยอัตถกรเพื่อจูงใจให้ นักเรียนสนใจและเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยใช้วิธีนี้กับนักเรียนทั้งชั้น แต่สังเกตผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่มีปัญหา เท่านั้นจากนั้นจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาตามสาเหตุ 4. ปฏิบัติตามแผน เป็นการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ในชั้นเรียนจริง นักเรียนจริง สภาพแวดล้อมจริงทำได้โดยครูผู้สอน ยังคงดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติ เพียงแต่ว่าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเองจาก เดิมที่ไม่ค่อยสนใจนักเรียนเท่าใดนัก มาเป็นการให้ความสนใจเอาใจใส่ดูแล และเสริมแรงตามแผนที่กำหนดไว้ จาก ตัวอย่างแผนจะเห็นได้ว่า วิธีการหลักที่จะนำไปใช้คือ เทคนิคการเสริมแรงด้วยการใช้เบี้ยอัตถกร โดยคาดว่าเทคนิค ดังกล่าวร่วมกับการสอนตามปกติอยู่แล้วนั้น จะส่งผลให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียน ขจัดความเบื่อหน่ายการ เรียนของนักเรียน 5. สังเกตผล เป็นการสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผน (การประเมินผล) โดยครูผู้ปฏิบัติเป็นผู้สังเกตเอง ขั้นตอนนี้ดำเนินการช่วงเดียวกับการปฏิบัติตามแผน คือ ปฏิบัติไปสังเกตผลไปใช้วิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น สังเกต สอบถามสัมภาษณ์ ตรวจผลงาน (วิธีการเชิงคุณภาพมักใช้ได้ ผลดี) เน้นการสังเกตผลที่เกิดขึ้นตามสภาพ จริงครอบคลุมทุกประเด็น ทั้งผลที่เกิดขึ้นและกระบวน การปฏิบัติของตนเอง พยายามบันทึกเหตุการณ์
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 38 สภาพแวดล้อม บรรยากาศ ผลที่เกิดขึ้นและข้อสังเกตต่าง ๆ ให้มากที่สุด จากนั้นสรุปผลที่เกิดขึ้นว่าแก้ปัญหาได้ หรือไม่ จากตัวอย่างที่กล่าวมานั้น จะห็นได้ว่าวิธีการสังเกตที่น่าจะใช้ได้ผล คือ การสังเกตพฤติกรรมในระหว่าง เรียน การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการถึงความรู้สึกความสนใจของนักเรียน เป็นต้น 6. สรุปผล เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตผลมาพิจารณาเปรียบเทียบกับประเด็นปัญหาที่กำหนดเพื่อตัดสินใจ ว่าปัญหาได้รับการแก้ไขแล้วหรือไม่สมบูรณ์เพียงใด ยังมีปัญหาอะไรบ้างที่ต้องแก้ไขต่อไป จากตัวอย่าง หากเวลา ผ่านไป 1 เดือนความสนใจในการเรียนมากขึ้น แสดงว่าปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว แต่หากผลที่เกิดขึ้นยังไม่ชัดเจน อาจต้องเพิ่มเวลาการปฏิบัติในแผนให้มากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการสังเกตที่ทำเป็นระยะ ว่าสรุปผลได้หรือไม่ 7. สะท้อนผล เป็นการนำข้อสรุปและข้อสังเกตต่าง ๆ ไปใช้สำหรับปรับปรุงแก้ไขแผนต่อไป กรณีที่สรุปว่าปัญหายังไม่ได้ รับการแก้ไข หรือประเด็นที่ต้องการพัฒนายังไม่เกิดขึ้น ให้ปรับปรุงแผนใหม่โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับ จากนั้นนำแผนไป ปฏิบัติ สังเกตผล และสะท้อนผล ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสำเร็จผล จึงเริ่มกระบวนใหม่แก้ปัญหาใหม่ พัฒนา ประเด็นใหม่ จากตัวอย่างเรื่องปัญหานักเรียนไม่สนใจการเรียน หลังจากสรุปผลแล้ว หากแก้ปัญหาได้ก็คงมี ประเด็นที่น่าสนใจอื่น ๆ เกิดขึ้นมากมายที่จะต้องนำมาอภิปรายกัน เช่น แก้ปัญหาได้ถาวรหรือไม่วิธีการนี้ ก่อให้เกิดปัญอื่นๆ ตามหรือไม่ หรือถ้าแก้ไขไม่ได้ อาจต้องมีการทบทวนและปรับการ สำหรับแบบการวิจัยในชั้นเรียนจะมีลักษณะเป็นแบบการวิจัยก่อนมีแบบการวิจัยเชิงทดลอง และแบบการ วิจัยเชิงกึ่งทดลองทั้งนี้ด้วยข้อจำกัดเกี่ยวกับลักษณะของกลุ่มผู้เรียนที่มีอยู่จริง ตามสภาพปัญหาจึงทำให้การวิจัยใน ชั้นเรียนไม่เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพราะไม่มีการสุ่มตัวอย่างและสุ่มเงื่อนไขทดลองให้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็น ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงทดลอง
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 39 4. การวิจัยและพัฒนา (Research & Development) 4.1 ความหมายของการวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้า คิดค้น อย่างเป็นระบบ น่าเชื่อถือ และมีเป้าหมายในการพัฒนาผลผลิต เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ สื่อ อุปกรณ์เทคนิควิธีหรือรูปแบบการทำงาน ระบบบริหารจัดการ หรือ “นวัตกรรม”และ ทดลองใช้จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แล้วจึงนำไปเผยแพร่เพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4.2 การวิจัยและพัฒนา (R&D)จะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภทวัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ สื่อการสอน ชุดกิจกรรมเสริมความรู้คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นรูปแบบ/วิธีการ/ กระบวนการ/ระบบปฏิบัติการ อาทิ รูปแบบการสอน วิธีการ สอน รูปแบบการบริหารจัดการ ระบบการทำงาน 4.3 จุดมุ่งหมายของการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพของงานที่มีปรากฏการณ์หรือข้อมูล เชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่ามีปัญหา (PROBLEM) หรือมีความต้องการจำเป็น (NEED) เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็น ผลความคาดหวังใหม่ที่ท้าทายของหน่วยงาน หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์การทำงานจากกระบวน ทัศน์เก่าสู่กระบวนทัศน์ใหม่ที่บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจ หรือเกิดจากการปฏิบัติงานที่ไม่บรรลุ 4.4 กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (R&D) 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี (R1 = Research) 2) สร้างต้นแบบ (D1 = Development) 3) ตรวจสอบประสิทธิภาพในกลุ่มเล็ก (R2 = Research) 4) ปรับปรุงต้นฉบับ (D2 = Development) 5) ทดลองใช้ในกลุ่มใหญ่ (R3 = Research) 6) ได้ต้นแบบนวัตกรรมที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 40 4.5 ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา (R&D) การวิจัย การสำรวจ วิเคราะห์ สภาพปัญหา (Research) และความต้องการ การออกแบบ/สร้าง/เลือก วิธีการรูปแบบหรือนวัตกรรม การพัฒนา (Development) ทดลองใช้และปรับปรุง ประเมินผลการทดลองใช้ หรือผลการตรวจสอบนวัตกรรม สรุปผล เขียนรายงาน Prototype Pilot test +
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 41 4.6 การตั้งชื่อเรื่องการวิจัยและพัฒนา (R&D) Material Process การพัฒนา...................... การสร้างและพัฒนา....... การวิจัยและพัฒนา......... รูปแบบ.......................... แนวทางการ................... เปรียบเทียบผลการใช้..... การพัฒนา ....ชื่อนวัตกรรม... โดย...เครื่องมือ ทฤษฎี.... เพื่อ ...เป้าหมาย or ตัวแปร เพิ่ม ปรับปรุง ฯลฯ.... ของ/สำหรับ ....กลุ่มเป้าหมาย.... ตัวอย่างการตั้งโจทย์วิจัย/ปัญหาวิจัยเพื่อนำไปสู่การออกแบบการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โจทย์วิจัย : การสกัดอินนูลินที่มีความบริสุทธิ์สูงจากแก่นตะวัน R1 การเตรียมตัวอย่างก่อนการสกัดให้เหมาะสมกับการสกัด D1 ขนาดแป้งแก่นตัวมีผลต่อปริมาณสารอินนูลินที่สกัดออกมาได้ R2 อุณหภูมิของน้ำที่แตกต่างกันมีผลต่อปริมาณอินนูลินที่สกัดได้ D2 ได้ผลอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการสกัดอินนูลิน R3 การแยกกากหลังการสกัดมีผลต่อความบริสุทธิ์ของอินนูลิน D3 ได้เทคนิคที่เหมาะสมที่ในการแยกสารสกัดเพื่อทำให้อินนูลินบริสุทธิ์ โจทย์วิจัย : สิ่งใดที่จะช่วยให้เกษตรกรกำจัดวัชพืชได้รวดเร็ว R1 เกษตรกรใช้ยาฆ่าหญ้า ถางหญ้า เผา อันตรายจากยาฆ่าหญ้าและมีสารตกค้างในธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการเผา D1 – ออกแบบการทดลอง R2D2, R3D3, ................ RiDi สรุปผลการทดลองและเผยแพร
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 42 สรุปท้ายบท การออกแบบการวิจัย (Research Design) ซึ่งเป็นการกำหนดโครงสร้างและรายแนวทางการดำเนินการ วิจัย เพื่อนำไปสู่การทำวิจัยที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในถูกต้องการออกแบบวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบ ปัญหาวิจัยได้ตรงประเด็นเพื่อควบคุมการแปรปรวนต่าง ๆ เพื่อให้การวัดตัวแปรถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้การวิจัย ดำเนินการอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนคือ จะทำอะไรที่ไหน เมื่อไร อย่างไร การออกแบบการวิจัยที่ดีจะช่วยให้ผู้วิจัยดำเนินการอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และเพื่อประหยัดทรัพยากร ทั้งในส่วนของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และเวลา การออกแบบการวิจัยเพื่อให้ผลการทดลองมีความแม่นตรง จะคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ การออกแบบการสุ่มตัวอย่างการออกแบบการวัดตัวแปรและการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยเชิงทดลองจึงเป็นการวิจัยจากสาเหตุไปหาผลว่า ตัวแปรที่เกี่ยวข้องนั้นเป็นสาเหตุทำให้เกิดผล หรือไม่ และได้ยอมรับว่าเป็นการวิจัยที่ให้ผลได้น่าเชื่อถือมากที่สุด โดยเฉพาะหากนำมาใช้กับการวิจัยทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถนำมาพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ได้เป็นอย่างดี การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เป็นการวิจัยเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับสภาพที่เป็นปัจจุบันของสิ่งที่ ต้องการศึกษาว่ามีสภาพเป็นเช่นไร การวิจัยเชิงสำรวจแตกต่างจากการสำรวจโดยทั่วไปตรงที่การวิจัยเชิงสำรวจ เน้นที่ความเชื่อถือได้ของข้อมูลและคำตอบที่ได้จากการวิจัยต้องเป็นความรู้ใหม่ส่วนการสำรวจไม่เน้นประเด็น ดังกล่าว การสำรวจจึงเป็นการตอคำถามเฉพาะบางอย่าง และผลการสำรวจไม่สามารถอ้างอิงให้กว้างออกไปได้ ส่วนการวิจัยเชิงสำรวจ เน้นต้องการคำตอบที่กว้างขวางและสรุปอ้างอิงได้อย่างไรก็ตามการวิจัยเชิงสำรวจ และ การสำรวจต่างมีจุดร่วมเดียวกัน คือการให้ข้อมูลที่ตรงกับสภาพของสิ่งที่ต้องการสำรวจ การวิจัยในชั้นเรียนมักเป็นแบบการวิจัยก่อนมีแบบการวิจัยเชิงทดลอง (pre experimental design) เป็นการวิจัยเชิงทดลองอย่างอ่อนเป็นการวิจัยที่ตัวแปรต่าง ๆ เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วในธรรมชาติไม่มีการทดลองจริง แต่ดำเนินการทำที่เหมือนกับว่ามีการทดลอง การวิจัยและพัฒนา (Research & Development) เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้า คิดค้น อย่างเป็น ระบบ น่าเชื่อถือ และมีเป้าหมายในการพัฒนาผลผลิต เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ สื่อ อุปกรณ์เทคนิควิธีหรือรูปแบบ การทำงาน ระบบบริหารจัดการ หรือ “นวัตกรรม”และทดลองใช้จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แล้วจึงนำไปเผยแพร่ เพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
บรรณานุกรม การออกแบบวิจัย. (2554). สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2566. จาก https://shorturl.asia/3o5B7 ชัยรัตน์ ลายวัชระกุล. (2547). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนสำหรับ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาวิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและ การสอนบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ดามธรรม จินากูล. (2565). Research & Development. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2566. จาก https://web.sut.ac.th/dpn/document/ir/2565/6-R_D-Research%20Mart-IRD-SUT-3.pdf เพลินพิศ ธรรมรัตน์. (2550). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. สกลนคร : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (ม.ป.ป.). บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2566. จาก https://www.udru.ac.th/oldsite/attachments/elearning/01/06.pdf โยธิน แสวงดี. (2557). การออกแบบการวิจัย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. วรรณรัตน์ อึ้งสุประเสริฐ. (2542). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏ จันทรเกษม. สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สามลดา. สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. วิทยานิพนธ์ (กศ.ด) มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี. เอมอร จังศิริพรปกรณ์. (ม.ป.ป.). บทที่ 5 แบบแผนการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2566. จาก http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re5.htm
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 44 แบบทดสอบ เรื่อง การออกแบบการวิจัย 1. ข้อใดคือความหมายของการออกแบบการวิจัยที่ถูกต้อง ก. แผน โครงสร้าง ยุทธวิธีในการศึกษาค้นคว้า เพื่อได้มาซึ่งความเที่ยงตรง ข. แผน โครงสร้าง ยุทธวิธีในการศึกษาค้นคว้า เป็นการกำจัดขอบเขตและวางรูปแบบการวิจัย ค. แผน โครงสร้าง ยุทธวิธีในการศึกษาค้นคว้า เป็นการกำจัดขอบเขตและวางรูปแบบการวิจัยและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะดำเนินในงานวิจัย ง. แผน โครงสร้าง ยุทธวิธีในการศึกษาค้นคว้า เป็นการกำจัดขอบเขตและวางรูปแบบการวิจัยเพื่อให้คำตอบของ ปัญหาที่เที่ยงตรงและน่าเชื่อถือเป็นการวางแผนการดำเนินการวิจับอย่างเป็นระบบ 2. การออกแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental design) มุ่งเน้นสิ่งใดเป็นสำคัญ ก. การจัดการตัวแปรทดลอง ข. การกำหนดสมมุติฐาน ค. การวางแผนการศึกษาวิจัย ง. การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง 3. ข้อใดคือการออกแบบการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development design) ก. เป็นการวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพของการงานวิจัยที่เคยมีมาแล้ว ข. เป็นการวางแผนการทำวิจัยที่มุ่งบรรยายความเป็นปกติวิสัย (Norms) ของปรากฏการณ์ธรรมชาติ ค. เป็นการวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนอันเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา ง. เป็นการวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนากลุ่มทดลองและเครื่องมือในการทำวิจัย 4. เป้าหมายของการออกแบบการออกแบบวิจัยคืออะไร ก. เพื่อให้การวิจัยนั้นได้ข้อค้นพบที่ตรงตามวัตถุประสงค์ ข. เพื่อให้การวิจัยนั้นมีความเที่ยงตรง
เอกสารรายงาน เรื่อง การออกแบบวิจัย 45 ค. เพื่อให้การวิจัยนั้นมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ง. ถูกทุกข้อ 5. การวิจัยที่มีความเที่ยงตรงภายในสูงมีลักษณะเป็นอย่างไร ก. เป็นวิจัยที่ผผู้วิจัยสามารถวัดค่าตัวแปรอิสระและตัวแปรตามได้อย่างไม่มีความคลาดเคลื่อน ข. เป็นวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถวัดค่าตัวแปรเกินและตัวแปรตามได้อย่างไม่มีความคลาดเคลื่อน ค. เป็นวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถกำหนดกลุ่มตัวอย่างและประชากรได้อย่างเหมาะสม ง. เป็นวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถสร้างเครื่องมือในการวิจัยได้อย่างสมบูรณ์แบบ 6.ข้อใดเป็นปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ทำให้การออกแบบการวิจัยขาดความเที่ยงตรงภายใน ก. วุฒิภาวะ เครื่องมือวัด ประชากร ข. ประชากร การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวัด ค. การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง วุฒิภาวะ การถดถอยทางสถิติ ง. วุฒิภาวะ การถดถอยทางสถิติ ประชากร 7. ข้อใดคือความคลาดเคลื่อนจากเครื่องมือวัดเกิดขึ้นได้ทั้งหมด ก เครื่องมือวัดไม่มีความเที่ยงหรือความเชื่อมั่น ผู้ใช้เครื่องมือไม่มีความรู้ความเข้าใจความชำนาญ ข. เครื่องมือวัดไม่มีความเที่ยงหรือความเชื่อมั่น ผู้ใช้เครื่องมือขาดทักษะการสื่อสาร ค. เครื่องมือวัดไม่เพียงพอกับประชากร ผู้ใช้เครื่องมือขาดทักษะการสื่อสาร ง. เครื่องมือวัดไม่มีความเที่ยงหรือความเชื่อมั่น ผู้ใช้เครื่องมือมีอคติกับเครื่องมือ 8. จุดมุ่งหมายของการออกแบบการวิจัย มีอยู่ด้วยกันที่ประการ ก. 2 ประการ ข. 3 ประการ ค. 4 ประการ