The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทเรียนสำเร็จรูป สารชีวโมเลกุล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tan_brapop, 2021-09-19 11:51:13

บทเรียนสำเร็จรูป สารชีวโมเลกุล

บทเรียนสำเร็จรูป สารชีวโมเลกุล

สารชีวโมเลกุลบทเรียนสำเร็จรูป

(BIOMOLECULES)

นางสาวสิริรัตน์ เรืองเพชร

นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตดินแดง




ก ลุ่ ม ส า ร ะ ก า ร เ รี ย น รู้ วิ ท ย า ศ า ส ต ร์
ร ะ ดั บ ชั้ น มั ธ ย ม ศึ ก ษ า ต อ น ป ล า ย

คำนำ ก

บทเรียนสำเร็จรูป รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง
สารชีวโมเลกุล มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้สามารถเรียนรู้
ได้ด้วยตนเองทั้งในและนอกห้องเรียน

ผู้จัดทำขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่ให้การสนับสนุน ให้คำปรึกษาแนะนำ
การออกแบบบบทเรียนสำเร็จรูป รวมทั้งให้กำลังใจมาโดยตลอด ผู้จัดทำหวังเป็น
อย่างยิ่งกว่าผู้ที่นำบทเรียนสำเร็จรูปนี้ไปใช้จะได้รับประโยชน์ต่อไป

นางสาวสิริรัตน์ เรืองเพชร

นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

สารบัญ ข

เรื่อง หน้า

คำนำ ก
สารบัญ ข
คำแนะนำการใช้บทเรียนสำเร็จรูป 1
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง/จุดประสงค์การเรียนรู้ 2
บทเรียนนี้มีอะไรบ้าง 3
แบบทดสอบก่อนเรียน 4-6
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน 7
บทนำเข้าสู่บทเรียน 8
กรอบที่ 1 เรื่อง โปรตีน 9-10
กรอบคำถามที่ 1 เรื่อง โปรตีน 11
เฉลยกรอบคำถามที่ 1 เรื่องโปรตีน 12
กรอบที่ 2 เรื่อง คาร์โบไฮเดรต 13-14
กรอบคำถามที่ 2 เรื่อง คาร์โบไฮเดรต 15
เฉลยกรอบคำถามที่ 2 เรื่อง คาร์โบไฮเดรต 16
กรอบที่ 3 เรื่อง ลิพิด 17-18
กรอบคำถามที่ 3 เรื่อง ลิพิด 19
เฉลยกรอบคำถามที่ 3 เรื่อง ลิพิด 20
กรอบที่ 4 เรื่อง กรดนิวคลิอิก 21
กรอบคำถามที่ 4 เรื่อง กรดนิวคลิอิก 22
เฉลยกรอบคำถามที่ 4 เรื่อง กรดนิวคลิอิก 23
คำถามสำคัญ 5 ลงข้อสรุป 24
แนวคำตอบคำถามสำคัญ 5 25
คำถามสำคัญ 6 ขยายความรู้ 26
แนวคำตอบคำถามสำคัญ 6 27
แบบทดสอบหลังเรียน 28-30
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน 31
บรรณานุกรม 32

1

คำแนะนำสำหรับการใช้บทเรียนสำเร็จรูป

บทเรียนสำเร็จรูปนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วย
ตนเอง จึงขอแนะนำวิธีการใช้บทเรียนสำเร็จรูปสำหรับนักเรียน ก่อนที่จะ
ปฏิบัติกิจกรรม ดังต่อไปนี้

1. บทเรียนสำเร็จรูปนี้ไม่ใช่ข้อสอบ ให้อ่านไปตามลำดับอย่างรอบคอบ
2. เมื่อพบเนื้อหาในกรอบเนื้อหาแต่ละกรอบ ให้อ่านอย่างรอบคอบ
3. เพื่อให้การใช้บทเรียนนี้มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อพบคำชี้แจง คำถาม
หรือแบบทดสอบให้ปฏิบัติตามโดยทันที ไม่ควรดูเฉลยก่อน
4. เมื่อตอบคำถาม หรือปฏิบัติกิจกรรม แต่ละกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้ตรวจ
คำตอบจากเฉลยในหน้าถัดไป
5. หากตอบคำถามไม่ถูกต้อง ให้กลับไปศึกษาเนื้อหาอีกครั้งหนึ่ง
6. เพื่อให้การประเมินผลถูกต้อง ให้นักเรียนศึกษาเกณฑ์การให้คะแนน
โดยละเอียด หากเกิดปัญหาในการใช้บทเรียน โปรดขอคำปรึกษาจากครู
ผู้สอนทันที

2

ผลการเรียนที่คาดหวัง

1. มีความรู้ความเข้าใจโครงสร้างและหน้าที่ของสารชีวโมเลกุล ได้แก่
คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโนและ โปรตีน เอนไซม์ ไขมัน กรดนิวคลีอิก

2. มีความรู้ความเข้าใจคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของสารชีว
โมเลกุล ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโนและโปรตีน เอนไซม์ ไขมัน กรดนิว
คลีอิก

3. มีความรู้ความเข้าใจคุณสมบัติทางเคมีของสารชีวโมเลกุล ได้แก่
คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโนและ โปรตีน เอนไซม์ ไขมัน กรดนิวคลีอิก

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความหมายของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และกรดนิวคลิอิกได้
2. ระบุโครงสร้างสารชีวโมเลกุล และอธิบายคุณสมบัติทางเคมี หน้าที่ของสาร

ชีวโมเลกุลต่าง ๆ
3. อธิบายคุณสมบัติ การทำงานของสารชีวโมเลกุลต่าง ๆ ได้แก่ ไขมัน

คาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิ โน เอนไซม์ และ กรดนิวคลีอิก
4. ออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบสมบัติบางประการแป้ง น้ำตาลกลูโคส และ

โปรตีนได้
5. นักเรียนเกิดเจตคติทางวิทยาศาสตร์และมีจิตวิทยาศาสตร์

3

บทเรียนสำเร็จรูปนี้
ศึ ก ษ า เ กี่ ย ว กั บ

กรอบความรู้ที่ 1 โปรตีน

- โครงสร้างของโปรตีน
- ประเภท/หน้าที่ของโปรตีน

กรอบความรู้ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต

- ประเภทของคาร์โบไฮเดรต
- บทบาทหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต

กรอบความรู้ที่ 3 ลิพิด

- ไข
- ไตรกลีเซอไรด์
- สเตอรอยด์
- ฟอสโฟลิพิด

กรอบความรู้ที่ 4 กรดนิวคลีอิก

- DNA
- RNA

4

แบบทดสอบก่อนเรียน

เรื่อง สารชีวโมเลกุล
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1. สารอาหารประเภทใดเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูง
ก. คาร์โบไฮเดรต
ข. โปรตีน
ค. ไขมัน
ง. เกลือแร่

2. คาร์โบไฮเดรตมีธาตุชนิดใด เป็นองค์ประกอบ

ก. C, H
ข. C, H, O
ค. C, H, O, N
ง. C, H, O, N, S, P

3. สารอาหารประเภทใด ช่วยให้กระบวนการเมแทบอลิซึมในร่างกายดำเนินไปได้เป็นปกติ

ก. คาร์โบไฮเดรต
ข. โปรตีน
ค. ไขมัน
ง. วิตามิน

4. หน่วยย่อยของโปรตีนคืออะไร

ก. 2 ชนิด นิวคลีโอไทด์ที่มีเบส A และ เบส U
ข. 3 ชนิด นิวคลีโอไทด์ที่มีเบส A , เบส U และ เบส C
ค. 4 ชนิด นิวคลีโอไทด์ที่มีเบส A , เบส T , เบส U และ เบส G
ง. 4 ชนิด นิวคลีโอไทด์ที่มีเบส A , เบส U , เบส C และ เบส G

5

5. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของไขมัน

ก. ช่วยในการดูดซึมวิตามิน A, D, E, K
ข. เป็นแหล่งพลังงานหลักของสมองและเม็ดเลือดแดง
ค. เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ฮอร์โมนในกลุ่มสเตียรอยด์
ง. เป็นฉนวนช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย

6. เซลลูโลสและแป้งเหมือนกันอย่างไร

ก. เป็นแหล่งพลังงานให้ร่างกาย
ข. ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหว
ค. ชนิดของมอนอแซกคาไรด์ที่เป็นองค์ประกอบ
ง. พันธะเคมีระหว่างมอนอแซกคาไรด์ที่เป็นองค์ประกอบ

7. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของโปรตีนในร่างกายมนุษย์

ก. เร่งปฏิกิริยา
ข. เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย
ค. ลำเลียงแก๊สออกซิเจนและสารอาหาร
ง. เป็นโครงสร้างและให้ความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ

8. เมื่อนำสารต่าง ๆ ในตารางมาเติมสารละลายเบเนดิกต์แล้วนำ ไปอุ่นในน้ำ
ร้อนเกือบเดือดหลอดใดจะให้ตะกอนสีแดงอิฐบ้าง

ก. B , C , D
ข. B , D
ค. B , C
ง. B

6

9. ในการทดสอบอาหารเช้าชุดหนึ่ง ได้ผลดังนี้

อาหารที่นำมาทดสอบ น่าจะเป็นอาหารชุดใดต่อไปนี้
ก. มันทอด + น้ำอัดลม
ข. สลัดผลไม้ + นมเปรี้ยว
ค. มันฝรั่งบด + น้ำผลไม้
ง. ขนมปังทาเนย + นมถั่วเหลือง

10. จากการทดสอบน้ำมัน 4 ชนิด ปริมาณเท่ากัน กับทิงเจอร์ไอโอดีน ได้ผลดังนี้

จากข้อมูลข้างต้น จงพิจารณาว่า
(A) การบริโภคน้ำมันชนิดใดมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากที่สุด

(B) น้ำมันชนิดใดที่ใช้ทอดอาหารโดยใช้ไฟอ่อนๆ แต่ใช้เวลานานแล้วทำให้ผู้บริโภคจะปลอดภัยที่สุด

7

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน

1. ค. ไขมัน
2. ค. C, H, O, N
3. ง. วิตามิน
4. ง. 4 ชนิด นิวคลีโอไทด์ที่มีเบส A , เบส U , เบส C และ เบส G
5. ข. เป็นแหล่งพลังงานหลักของสมองและเม็ดเลือดแดง
6. ค. ชนิดของมอนอแซกคาไรด์ที่เป็นองค์ประกอบ
7. ข. เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย
8. ข. B , D
9. ง. ขนมปังทาเนย + นมถั่วเหลือง
10. ก. A , A

8

นำเข้าสู่บทเรียน

...สวัสดีครับเด็ก ๆ ที่น่ารักทุกคน
วันนี้พี่เลม่อนก็จะมาสรุปความรู้
เรื่องสารชีวโมเลกุลให้พวกเราทุก
คนได้ฟัง พร้อมกันหรือยังครับ...
งั้นเรามาเริ่มกันเลยนะ !!!

สารชีวโมเลกุล

คืออะไร ?

สารชีวโมเลกุล BIOMOLECULE หมายถึง สารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตสังเคราะห์ขึ้น
เท่านั้น เช่น ไขมัน น้ำมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต กรดนิวคลีอิก จัดเป็นองค์
ประกอบพื้นฐานของอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีโมเลกุลตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึง
ขนาดใหญ่มาก มีธาตุไฮโดรเจนและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักแต่ละชนิดมี
โครงสร้าง สมบัติและปฏิกิริยาที่ต่างกัน ทำให้มีหน้าที่

และประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกันไปจึงพบว่าสารชีว
โมเลกุลมีหน้าที่และประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกัน สารชีว
โมเลกุลบางชนิดเป็นสารที่ให้พลังงาน เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
แต่บางชนิดไม่ให้พลังงาน เช่น วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ เป็นต้น

9

กรอบที่ 1

โปรตีน (PROTEIN)

โปรตีนน (PROTEIN) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่พบมากที่สุดในเซลล์ของสิ่งมี
ชีวิต มีธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) และไนโตรเจน (N) เป็น
องค์ประกอบหลัก โดยอัตราส่วนระหว่าง H : O เท่ากับ 2 : 1 เสมอ

ประเภทของโปรตีน มีเกณฑ์ในการแบ่งแตกต่างดังนี้

1.เกณฑ์การแบ่งตามชีวเคมี ประเภทโปรตีน 3 ประเภท คือ

โปรตีนเชิงเดี่ยว (SIMPLE PROTEIN) เป็นโปรตีนไม่ซับซ้อน ประกอบด้วย
กรดอะมิโนเพียงอย่างเดียว ไม่มีสารอื่นเจือปนอยู่ เช่น โปรตีนในน้ำ
เลือด(SERUM ALBUMIN) โปรตีนในข้าวสาลี(LACTOGLOBULIN)
โปรตีนเชิงประกอบ (COMPOUND PROTEIN) เป็นโปรตีนชนิดที่ซับซ้อน
ประกอบด้วยกรดอะมิโน และมีสารอื่นปนอยู่ด้วย เช่น โปรตีนที่มีฟอสเฟต
อยู่ด้วย(PHOSPHOPROTEIN) โปรตีนที่มีไขมันรวมอยู่(LIPOPROTEIN)
อนุพันธ์ของโปรตีน (DERIVED PROTEIN) เป็นโปรตีนที่ได้จากการสลาย
ตัวของโปรตีนเชิงเดี่ยว และโปรตีนเชิงประกอบ เช่น MYOSIN ได้จาก
MYOSIN ซึ่งเป็นโปรตีนเชิงเดี่ยวในกล้ามเนื้อ

2.เกณฑ์การแบ่งตามหน้าที่ของโปรตีน

โปรตีนลำเลียง/ขนส่ง ทำหน้าที่ลำเลียง/ขนส่งไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
โปรตีนเร่งปฏิกิริยา (ENZYME) ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาให้เซลล์สิ่งมีชีวิต
โปรตีนโครงสร้าง ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างให้ความแข็งแรงของร่างกาย
โปรตีนสะสม ทำหน้าที่สะสมแร่ธาตุ/สารอาหาร ในร่างกาย
โปรตีนป้องกัน ทำหน้าที่ป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย เช่น
แอนติบอดี
โปรตีนฮอร์โมน ทำหน้าที่แตกต่างกันตามความสำคัญของฮอร์โมน เช่น
ฮอร์โมนอินซูลิ ทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต

10

3.เกณฑ์การแบ่งตามลักษณะโครงสร้าง

โปรตีนก้อนกลม (GLOBULAR PROTEIN) เกิดจากสายโพลีเพปไทด์รวม
ตัวม้วนพันกันและอัดแน่นเป็นก้อนกลม ละลายน้ำได้ดี ส่วนมากทำหน้าที่
เกี่ยวกับกระบวนการเมทาบอลิซึมต่างๆ
โปรตีนเส้นใย (FIBROUS PROTEIN) เกิดจากสายโพลีเพปไทด์พันตัวกัน
ในลักษณะเหมือนเส้นใยยาวๆ ละลายน้ำได้น้อย ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็น
โปรตีนโครงสร้าง

โปรตีนมีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย ดังนี้

เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆที่สึกหรอไปทุกวัน
ช่วยรักษาสมดุลน้ำ โปรตีนที่มีอยู่ในเซลล์และหลอดเลือด ช่วยรักษาปริมาณน้ำในเซลล์
และหลอดเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ
กรดอะมิโนส่วนหนึ่งถูกนำไปสร้างฮอร์โมน เอนไซม์ สารภูมิคุ้มกัน และโปรตีนชนิด
ต่างๆ ซึ่งแต่ละตัวมีหน้าที่แตกต่างกันไป
รักษาดุลกรด-ด่างของร่างกาย เนื่องจากกรดอะมิโนมีหน่วยคาร์บอกซีล (CARBOXYL)
ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด และหน่วยอะมิโนมีฤทธิ์เป็นด่าง โปรตีนจึงมีสมบัติรักษาดุลกรด-ด่าง
ซึ่งมีความสำคัญต่อปฏิกิริยาต่างๆ ภายในร่างกาย
โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี

การตรวจสอบโปรตีน

การทดสอบโปรตีนสามารถทดสอบได้
ด้วยปฏิกิริยาไบยูเรต โดยให้โปรตีนทำ
ปฏิกิริยากับสารละลาย CUSO4ในสารละลาย
เบส NAOH หรือ KOH จะได้สารสีน้ำเงินม่วง
โดยปฏิกิริยา CUSO4ในสารละลายเบสจะทำ
ปฏิกิริยากับองค์ประกอบย่อยของโปรตีนคือ
กรดอะมิโน ได้สารสีน้ำเงินม่วง

ปฏิกิริยาไบยูเรต

คำถามสำคัญ 1 11

1.ในโปรตีน 1 กรัม จะให้พลังงานแก่ร่างกายของเราประมาณกี่กิโลแคลอรี่

ก. 1 กิโลแคลอรี่
ข. 2 กิโลแคลอรี่
ค. 4 กิโลแคลอรี่
ง. 6 กิโลแคลอรี่

2.โปรตีนเป็นสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่ประกอบขึ้นจากหน่วยย่อยๆ ที่เรียกว่าอะไร

ก. ไกลซีน
ข. อะลานีน
ค. ซีสเทอีน
ง. กรดอะมิโน

3.ธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของโปรตีนคือข้อใด

ก. C, H, O
ข. C, H, O, N
ค. C, H, O, N, S
ง. C, H, O, N, P

12

แนวคำตอบ
คำถามสำคัญ 1

1. ค. 4 กิโลแคลอรี่
2. ง. กรดอะมิโน
3. ข. C, H, O, N

สารชีวโมเลกุล

โปรตีน (Protein) ประกอบด้วย C , H , O และ N เป็นองค์
ประกอบหลัก และอาจมีธาตุอื่น ๆ เช่น Fe , S , Zn , Cu เป็นองค์
ประกอบเพิ่มเติมด้วยโปรตีนเป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากกรดอะมิโน เป็น
องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิต

1.กรดอะมิโนที่จำเป็น (Essential amino acid)
2.กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (Nonessential amino acid)

การทดสอบโปรตีน
ไบยูเร็ต (Biuret Reaction)

ปัจจัยที่มีผลต่อการแปลงสภาพของโปรตีน
ความร้อน
ตัวทำละลายอินทรีย์
สารละลายกรดและสารละลายเบส
โลหะหนัก

13

กรอบที่ 2

คาร์โบไฮเดรต(CARBOHYDRATE)

คาร์โบไฮเดรต (CARBOHYDRATE) คือสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นแหล่งให้พลังงานและ
คาร์บอนที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตเพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและสร้างสารอื่นๆต่อไป ประกอบ
ด้วยธาตุ C , H และ O โดยที่อัตราส่วนระหว่าง H : O เท่ากับ 2 : 1 เสมอจำนวนและ
การเรียงตัวของอะตอมทั้งสามธาตุนี้แตกต่างกัน จึงทำให้คาร์โบไฮเดรตมีหลายชนิด

ประเภทของคาร์โบไฮเดรต

โมโนแซ็กคาไรต์ (MONOSACCHARIDE) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุล
โมเลกุลเล็กที่สุดเมื่อกินแล้วจะดูดซึมจากลำไส้ได้เลยไม่ต้องผ่านการย่อยตัวอย่าง
ของน้ำตาลประเภทนี้ได้แก่กลูโคส (GLUCOSE) และฟรักโทส (FRUCTOSE) ทั้ง
กลูโคสและฟรักโทสเป็นน้ำตาลที่พบได้ในผัก ผลไม้และน้ำผึ้ง น้ำตาลส่วนใหญ่ที่
พบในเลือด คือ กลูโคสซึ่งเป็นตัวให้กำลังงานที่สำคัญ
ไดแซ็กคาไรด์ (DISACCHARIDE) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วย
โมโนแซ็กคาไรด์สองตัวมารวมกันอยู่เมื่อกินไดแซ็กคาไรด์เข้าไปน้ำย่อยใน
ลำไส้เล็กจะย่อยออกเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ก่อนร่างกายจึงสามารถนำไปใช้เป็น
ประโยชน์ได้ ไดแซ็กคาไรด์ที่สำคัญทางด้านอาหาร คือ แล็กโทส (LACTOSE)
และซูโครส (SUCROSE) แล็กโทสเป็นน้ำตาลที่พบในน้ำนมแต่ละโมเลกุล
ประกอบด้วยกลูโคสและกาแล็กโทส (GALACTOSE) ส่วนน้ำตาลทราย หรือ
ซูโครสนั้นพบอยู่ในอ้อยและหัวบีทแต่ละโมเลกุลประกอบด้วยกลูโคส และ
ฟรักโทส
พอลีแซ็กคาไรด์ (POLYSACCHARIDE) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุล
ใหญ่และมีสูตรโคตรสร้างซับซ้อนประกอบด้วยโมโนแซ็กคาไรด์จำนวนมากมา
รวมตัวกันอยู่โพลีแซ็กคาไรด์ที่สำคัญทางอาหาร ได้แก่ ไกลโคเจน (GLYCOGEN)
แป้ง (STARCH) และเซลลูโลส (CELLULOSE) ไกลโคเจนพบในอาหารพวกเนื้อ
สัตว์และเครื่องในสัตว์ส่วนแป้งและเซลลูโลสพบในพืชแม้ว่าไกลโคเจนแป้งและ
เซลลูโลสประกอบด้วยกลูโคสเหมือนกันแต่ลักษณะการเรียงตัวของกลูโคสต่าง
กันทำให้ลักษณะสูตรโครงสร้างต่างกันไปเฉพาะไกลโคเจนและแป้งเท่านั้นที่น้ำ
ย่อยในลำไส้สามารถย่อยได้

14

คาร์โบไฮเดรตมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายดังนี้

คาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย โดยให้คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน
4 กิโลแคลอรี
ช่วยสงวนโปรตีนเอาไว้สำหรับสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อเพราะถ้าร่างกายได้รับ
คาร์โบไฮเดรตอย่างเพียงพอแล้วร่างกายจะไม่นำเอาโปรตีนมาสลายให้พลังงาน
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโมเลกุลที่ทำหน้าที่ควบคุมสารพันธุกรรมได้แก่ น้ำตาลไร
โบส ในกรดไรโบนิวคลีอิก (RNA) และน้ำตาลดีออกซีไรโบสในกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก
(DNA)
เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ช่วยในกระบวนการจดจำระหว่างเซลล์ (CELL
RECOGNITION)
ช่วยในการขับถ่ายและช่วยเร่งให้สารพิษถูกขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น

การตรวจสอบคาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตพวกที่มีรสหวาน ทดสอบโดยใช้สารละลายเบเนดิกส์ ซึ่งมีสีฟ้า
ผลการทดสอบ เป็นดังนี้ เมื่อนำน้ำตาลกลูโคส + สารละลายเบเนดิกส์ แล้วนำ
ไปต้ม จะเปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกส์จากสีฟ้าเป็นตะกอนสีส้มแดง

คาร์โบไฮเดรตพวกที่มีรสไม่หวาน หรือ แป้ง ทดสอบโดยใช้สารละลาย
ไอโอดีน ซึ่งมีสีน้ำตาลเหลือง ผลการทดสอบเป็นดังนี้ แป้ง + สารละลาย
ไอโอดีน จะเปลี่ยนสีสารละลายไอโอดีนจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินหรือม่วงดำ

คำถามสำคัญ 2 15

1. ข้อใดเป็นมอนอแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาร์ไรด์

ก. กลูโคส กาแล็กโทส
ข. ซูโครส ฟรักโทส
ค. กาแลกโทส มอลโทส
ง. แลกโทส กลูโคส

2.ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต

ก. ช่วยในการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย
ข. ใช้ในกระบวนการหมักเพื่อให้เกิดแอลกอฮอล์
ค. รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่
ง. เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุด

3.เมื่อทดสอบ สาร ก มาด้วยการเติมไอโอดีน พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อ
ทดสอบด้วย สารละลายเบเนดิกต์ให้ ตะกอนสีส้มอิฐ สาร ก น่าจะเป็นสารใด

ก. เซลลูโลส
ข. กลูโคส
ค. ซูโครส
ง. ไกลโคเจน

16

แนวคำตอบ
คำถามสำคัญ 2

1. ค. กาแลกโทส มอลโทส
2. ง. เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุด
3. ข. กลูโคส

สารชีวโมเลกุล

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates) ประกอบด้วย C , H , O เป็น
สารประกอบจำพวกน้ำตาลและพอลิเมอร์ของน้ำตาล

1.Monosaccharide ได้แก่ กลูโคส ฟรุกโทส กาแลกโทส
2.Disaccharide ได้แก่ ซูโครส มอลโทส แลกโทส
3.Polysaccharide ได้แก่ แป้ง เซลลูโลส ไกลโคเจน

การทดสอบคาร์โบไฮเดรต
ปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกซ์
ปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน

17

กรอบที่ 3

ลิพิด (LIPID)

ลิพิด(LIPID) เป็นสารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น
อีเทอร์ เบนซีน คลอโรฟอร์ม อะซิโตน และแอลกอฮอล์ เป็นสารชีวโมเลกุลที่ประกอบด้วย
ธาตุหลัก คือ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) นอกจากนี้อาจประกอบ
ด้วยธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส

ไขมัน และน้ำมัน (FAT AND OIL)

ไขมัน (FAT) และน้ำมัน (OIL) เป็นสารประกอบเอสเทอร์ที่เรียกว่า
ไตรกลีเซอไรด์ (TRIGLYCERIDE) ซึ่งเกิดจากสารตั้งต้น คือ กรดไขมัน
(FATTY ACID) และกลีเซอรอล (GLYCEROL)

น้ำมัน มีสถานะเป็นของ เหลว ที่อุณหภูมิปกติ
ไขมัน มีสถานะเป็นของ แข็ง ที่อุณหภูมิปกติ
กรดไขมัน มีทั้งชนิดอิ่มตัว และไม่อิ่มตัว

สมบัติบางประการของ ไขมัน และน้ำมัน

1. กรดไขมันอิ่มตัว มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มี
จำนวนอะตอมคาร์บอนเท่ากัน ดังนั้นน้ำมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวเป็นส่วน
ใหญ่จะมีสถานะเป็นของแข็ง น้ำมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นส่วนใหญ่
จะมีสถานะเป็นของเหลว
2. การเหม็นหืนของไขมัน และน้ำมัน เกิดจากกรดไขมันที่มีพันธะ C=C ทำปฏิกิริยา
ไฮโดรไลซิส กับน้ำ หรือออกซิเดชันกับก๊าซออกซิเจน
3. การตรวจสอบปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัว ในไขมัน หรือน้ำมัน วิเคราะห์การฟอก
จางสีสารละลายไอโอดีน หรือโบรมีน ถ้าไขมันหรือน้ำมันชนิดใดฟอกจางสีได้
มากกว่า แสดงว่ามีความไม่อิ่มตัวมากกว่า (มี C = C มากกว่า)
4. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (มีสถานะเป็นของเหลว) เกิดปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชัน
(HYDROGENATION) ได้กรดไขมันอิ่มตัว (สถานะเป็นของแข็ง)

18

ไขมันมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายดังนี้

พลังงานแก่ร่างกาย โดยไขมัน 1 กรัม จะให้พลังงานประมาณ 9 กิโลแคลอรี
สะสมไว้ใต้ผิวหนัง ทำให้ร่างกายอบอุ่น และช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของ
อวัยวะภายในร่างกาย
เป็นพลังงานสำรองของร่างกาย เมื่อร่างกายขาดพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต
เป็นตัวทำลายวิตามินเอ, ดี, อีก และเค ร่างกายจึงสามารถดูดซึมวิตามินเหล่านี้เข้าสู่
ร่างกายได้
กรดไขมันบางชนิดเป็นสิ่งจำเป็นต่อกระบวนการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ และป้องกัน
อาการผิวหนังอักเสบบางชนิด

การตรวจสอบไขมัน

ทดสอบด้วยการนำน้ำมันพืชหรืออาหารไปถูกับกระดาษประมาณ 3-4 ครั้ง ถ้ามี
ลักษณะ โปร่งแสง แสดงว่า เป็นไขมัน

คำถามสำคัญ 3 19

1. น้ำมัน A B C และ D ประกอบด้วยกรดไขมันที่มีจำนวนอะตอม คาร์บอนเท่ากัน
จากผลการทดสอบการฟอกจางสีกับ L 2 ข้อสรุปใดถูกต้อง

ก. น้ำมัน D จะเหม็นหืนยากที่สุด
ข. น้ำมัน A มีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยที่สุด
ค. น้ำมัน B มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่าน้ำมัน C
ง. กรดไขมันในน้ำมัน D มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่ากรดไขมันในน้ำมัน A

2.เหตุใดน้ำมันพืชจึงละลายดีในเฮกเซน

ก. น้ำมันพืช และเฮกเซนต่างก็เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นของเหลว
ข. น้ำมันพืชมีหมู่แลคอกซึคาร์บอนิล (หรือหมู่เอสเทอร์) 3 หมู่
ค. น้ำมันพืชและเฮกเซนมีจุดเดือดไม่แตกต่างกันมากนัก
ง. น้ำมันพืชมีหมู่ R ที่มาจากกรดไขมัน

3.ข้อใดเป็นความแตกต่างระหว่างไขมัน (FAT) และน้ำมัน (OIL)

ก. ไขมันมีความไม่อิ่มตัวสูงกว่าน้ำมัน จึงมีจุดหลอมเหลวสูงกว่า
ข. ไขมันมีความไม่อิ่มตัวต่ำกว่าน้ำมัน จึงมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่า
ค. ไขมันมีความอิ่มตัวสูงกว่าน้ำมัน จึงมีจุดหลอมเหลวสูงกว่า
ง. ไขมันมีความอิ่มตัวต่ำกว่าน้ำมัน จึงมีจุดหลอมเหลวต่ำ

20

แนวคำตอบ
คำถามสำคัญ 3

1.ง. กรดไขมันในน้ำมัน D มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่ากรดไขมันในน้ำมัน A
2.ก. น้ำมันพืช และเฮกเซนต่างก็เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นของเหลว
3.ค. ไขมันมีความอิ่มตัวสูงกว่าน้ำมัน จึงมีจุดหลอมเหลวสูงกว่า

สารชีวโมเลกุล

ไขมันและน้ำมัน (Fat and Oil) ประกอบด้วย Glycerol 1 โมเลกุล
และกรดไขมัน 3 โมเลกุล ที่มารวมกันได้เป็นสารประเภทเอสเทอร์
อาจเรียกได้อีกอย่างว่า Triglyceride

การทดสอบไขมัน
ใช้วิธีการถูกับกระดาษ
นำไขมันไปต้มกับโพแทสเซียม
ไฮดรอกไซด์ (KOH)

21

กรอบที่ 4

กรดนิวคลีอิก (NUCLEIC ACID)

กรดนิวคลีอิก เป็นสารชีวโมเลกุลประเภทพอลิเมอร์ที่เป็นสายยาวเกิดจากม
อร์นอเมอร์ คือ “นิวคลีโอไทด์” (NUCLEOTIDE) เชื่อมต่อกันด้วยพันธะ
ฟอสโฟไดเอสเทอร์ (PHOSPHODIESTER)
ร่างกายสามารถสังเคราะห์กรดนิวคลีอิกได้จากกรดอะมิโน และ
คาร์โบไฮเดรต
ธาตุองค์ประกอบพื้นฐานของกรดนิวคลีอิกคือธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน
ออกซิเจน ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน
โครงสร้างนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หมู่น้ำตาลคาร์บอน 5
อะตอม (เพนโทส : PENTOSE SUGAR) หมู่ฟอสเฟต (PHOSPHATE
GROUP) และหมู่เบสไนโตรเจน
กรดนิวคลีอิก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ DNA และ RNA
โครงสร้างของ DNA เป็นเกลียวคู่ของสารพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย ที่ยึด
เหนี่ยวกันด้วยพันธะไฮโดรเจนระหว่างหมู่ไนโตรเจนเบสของสายของโพลีนิว
คลีโอไทด์
นิวคลีโอไทด์เป็นองค์ประกอบของ DNA ประกอบด้วยน้ำตาลดีออกซีไรโบส
(DEOXYRIBOSE)
หมู่ไนโตรเจนเบสที่เป็นองค์ประกอบของนิวคลีโอไทด์ใน DNA มี 4 ชนิด คือ
เบสไทมีน (THYMINE) , อะดินีน (ADENINE) , กวานีน (GUANINE) หรือ
ไซโตนีน (CYTOSINE)
เบสไนโตรเจนที่จับคู่เกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างสายพอลินิวคลีโอไทด์ หรือ
เบสไทมีน จับคู่กับเบสอะดีนีน และเบสกวานีน จับคู่กับเบสไซโตซีน
โครงสร้างของ RNA ประกอบด้วยสายพอลินิวคลีโอไทด์ ซึ่งนิวเคลีโอไทด์
ประกอบด้วยหมู่น้ำตาลไรโบส หมู่ไนโตรเจนซึ่งเป็นเบสอะดินีน(ADENINE) ,
กวานีน (GUANINE) หรือ ไซโตนีน (CYTOSINE) , ยูราซิล (URACIL)

คำถามสำคัญ 4 22

1. โครงสร้างพื้นฐานของ DNA และ RNA ในสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมือนกันคือข้อใด

ก. พันธะระหว่างหน่วยย่อย
ข. ชนิดของหมู่เบส
ค. ชนิดของน้ำตาล
ง. รูปร่าง

2. ชนิดของนิวคลีโอไทด์แต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับข้อใด

ก. กลุ่มน้ำตาล และหมู่ฟอสเฟต
ข. กลุ่มน้ำตาล และหมู่เบส
ค. หมู่ฟอสเฟต และหมู่เบส
ง. กลุ่มน้ำตาล และหมู่ไฮดรอกไซต์

3.ข้อใด กล่าวผิด เกี่ยวกับ DNA และ RNA

ก. เบสที่พบใน DNA และ RNA มีชนิดที่เหมือนกัน
ข. DNA และ RNA มีน้ำตาลที่เป็นองค์ประกอบต่างกัน
ค. RNA จะถอดรหัสจาก DNA แล้วนำมาสังเคราะห์โปรตีน
ง. DNA ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย บิดเป็นเกลียวคล้ายบันไดเวียน
ส่วน RNA เป็นพอลินิวคลีอิกเพียงสายเดียว

23

แนวคำตอบ
คำถามสำคัญ 4

1.ก. พันธะระหว่างหน่วยย่อย
2.ข. กลุ่มน้ำตาล และหมู่เบส
3.ก. เบสที่พบใน DNA และ RNA มีชนิดที่เหมือนกัน

สารชีวโมเลกุล

กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสาร
พันธุกรรม หรือ DNA หน่วยย่อยของกรดนิวคลีอิก คือ นิวคลีโอ
ไทด์ (nucleotide) ที่ประกอบด้วย น้ำตาลเพนโทส เบส และ
ฟอสเฟต

24

ลงข้อสรุป

คำถามสำคัญ 5

คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียน Concept mep เกี่ยวกับสารชีวโมเลกุล

25

แนวคำตอบคำถามสำคัญ 5

26

ขยายความรู้

คำถามสำคัญ 6

คำชี้แจง ให้นักเรียนเติมข้อมูลในตารางให้สมบูรณ์

27

แนวคำตอบคำถามสำคัญ 6

28

ประเมินผล

แบบทดสอบหลังเรียน

เรื่อง สารชีวโมเลกุล
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1. สารอาหารประเภทใดเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูง
ก. คาร์โบไฮเดรต
ข. โปรตีน
ค. ไขมัน
ง. เกลือแร่

2. คาร์โบไฮเดรตมีธาตุชนิดใด เป็นองค์ประกอบ

ก. C, H
ข. C, H, O
ค. C, H, O, N
ง. C, H, O, N, S, P

3. สารอาหารประเภทใด ช่วยให้กระบวนการเมแทบอลิซึมในร่างกายดำเนินไปได้เป็นปกติ

ก. คาร์โบไฮเดรต
ข. โปรตีน
ค. ไขมัน
ง. วิตามิน

4. นิวคลีโอไทด์ของ RNAมีกี่ชนิดอะไรบ้าง

ก. 2 ชนิด นิวคลีโอไทด์ที่มีเบส A และ เบส U
ข. 3 ชนิด นิวคลีโอไทด์ที่มีเบส A , เบส U และ เบส C
ค. 4 ชนิด นิวคลีโอไทด์ที่มีเบส A , เบส T , เบส U และ เบส G
ง. 4 ชนิด นิวคลีโอไทด์ที่มีเบส A , เบส U , เบส C และ เบส G

29

5. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของไขมัน

ก. ช่วยในการดูดซึมวิตามิน A, D, E, K
ข. เป็นแหล่งพลังงานหลักของสมองและเม็ดเลือดแดง
ค. เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ฮอร์โมนในกลุ่มสเตียรอยด์
ง. เป็นฉนวนช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย

6. เซลลูโลสและแป้งเหมือนกันอย่างไร

ก. เป็นแหล่งพลังงานให้ร่างกาย
ข. ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหว
ค. ชนิดของมอนอแซกคาไรด์ที่เป็นองค์ประกอบ
ง. พันธะเคมีระหว่างมอนอแซกคาไรด์ที่เป็นองค์ประกอบ

7. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของโปรตีนในร่างกายมนุษย์

ก. เร่งปฏิกิริยา
ข. เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย
ค. ลำเลียงแก๊สออกซิเจนและสารอาหาร
ง. เป็นโครงสร้างและให้ความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ

8. เมื่อนำสารต่าง ๆ ในตารางมาเติมสารละลายเบเนดิกต์แล้วนำ ไปอุ่นในน้ำ
ร้อนเกือบเดือดหลอดใดจะให้ตะกอนสีแดงอิฐบ้าง

ก. B , C , D
ข. B , D
ค. B , C
ง. B

30

9. ในการทดสอบอาหารเช้าชุดหนึ่ง ได้ผลดังนี้

อาหารที่นำมาทดสอบ น่าจะเป็นอาหารชุดใดต่อไปนี้
ก. มันทอด + น้ำอัดลม
ข. สลัดผลไม้ + นมเปรี้ยว
ค. มันฝรั่งบด + น้ำผลไม้
ง. ขนมปังทาเนย + นมถั่วเหลือง

10. จากการทดสอบน้ำมัน 4 ชนิด ปริมาณเท่ากัน กับทิงเจอร์ไอโอดีน ได้ผลดังนี้

จากข้อมูลข้างต้น จงพิจารณาว่า
(A) การบริโภคน้ำมันชนิดใดมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากที่สุด

(B) น้ำมันชนิดใดที่ใช้ทอดอาหารโดยใช้ไฟอ่อนๆ แต่ใช้เวลานานแล้วทำให้ผู้บริโภคจะปลอดภัยที่สุด

31

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน

1. ค. ไขมัน
2. ค. C, H, O, N
3. ง. วิตามิน
4. ง. 4 ชนิด นิวคลีโอไทด์ที่มีเบส A , เบส U , เบส C และ เบส G
5. ข. เป็นแหล่งพลังงานหลักของสมองและเม็ดเลือดแดง
6. ค. ชนิดของมอนอแซกคาไรด์ที่เป็นองค์ประกอบ
7. ข. เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย
8. ข. B , D
9. ง. ขนมปังทาเนย + นมถั่วเหลือง
10. ก. A , A

32

บรรณานุกรม

ณปภัช พิมพ์ดี.//(2560).// สารชีวโมเลกุล (BIOMOLECULE). //(ออนไลน์)

พะเยาว์ ยินดีและคณะ. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชีววิทยา. กรุงเทพฯ :
พัฒนาคุณภาพวิชาการ,2546.

พัชรี พิพัฒวรรณกุล. สื่อเสริมสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา.
กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์,2546.

มนตรี จุฬาวัฒนฑล (2542).ชีวเคมี. ภาควิชาชีวเคมี. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
พญาไท.

รศ. อินทิรา หาญพงษพันธและผศ. ดร. บัญชา พูลโภคา .//(2547).//สารชีวโมเลกุล
(BIOMOLECULES).//(ออนไลน์)

เรืองลักขณา จามิกรณ์. (2543).ชีวเคมีเบื้องต้น. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคําแหง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2549).คู่มือครูเคมี เล่ม 5.
กรุงเทพมหานคร ฯ:โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.


Click to View FlipBook Version