The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Varunee P., 2021-04-20 04:03:44

IS 9855

IS 9855

123 Anywhere St., Any City | 8:00AM - 9:00PM

Whether you need clothes, accessories, books, toys, household
items, and more, San Dias Flea Market has you covered!

การศกึ ษาค้นคว้าอิสระ

ปัจจยั ทม่ี ีผลต่อกำไรสุทธิของสหกรณ์ออมทรพั ย์ครู
Factors Affecting Net Profit of Teacher Savings Co-operative

นางสาวจริ าพร นาเหนอื

บณั ฑิตวทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2563

การคน้ ควา้ อสิ ระ
เรื่อง

ปัจจัยทม่ี ผี ลตอ่ กำไรสุทธิของสหกรณอ์ อมทรัพย์ครู
Factors Affecting Net Profit of Teacher Savings Co-operative

โดย
นางสาวจริ าพร นาเหนอื

เสนอ
บณั ฑิตวทิ ยาลัย มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์
เพือ่ ความสมบรู ณ์แหง่ ปรญิ ญาศลิ ปศาสตรมหาบัณฑติ (เศรษฐศาสตร์สหกรณ์)

พ.ศ. 2563

จริ าพร นาเหนือ 2563: ปัจจยั ทมี่ ีผลต่อกำไรสทุ ธิของสหกรณ์ออมทรัพยค์ รู
ปรญิ ญาศิลปศาสตรมหาบณั ฑติ (เศรษฐศาสตร์สหกรณ์)
สาขาเศรษฐศาสตรส์ หกรณ์ ภาควชิ าสหกรณ์ อาจารยท์ ี่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ:
ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์อรรถพล สบื พงศกร, Ph.D. 72 หนา้
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู
และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อกำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ คือ
ขนาดของสหกรณ์ ทุน ทุนเรือนหุ้น ลูกหนี้เงินกู้ ทุนสำรอง สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือ
สหกรณ์ออมทรพั ย์ครูทตี่ ้งั อยู่ในภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูท่ตี ้ังอยใู่ นภาคใต้ สหกรณ์
ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออก สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตก และสหกรณ์ออม
ทรัพย์ครูที่ต้ังอยู่ในภาคกลาง จำนวน 105 สหกรณ์ มาวิเคราะห์ขอ้ มูล โดยวิเคราะห์ปัจจัยทีม่ ีผลต่อกำไร
ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ด้วยวิธีสมการถดถอยเส้นตรงเชิงซ้อน (Multiple Linear Regression
Analysis) และจัดลำดับความสำคญั ของปจั จัยด้วยคา่ สัมประสิทธิ์ความถดถอยมาตรฐาน (Standardized
Regression Coefficient)
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่สามารถนำมาอธิบายการเปลี่ยนแปลงของกำไรสุทธิได้อย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้แก่ ขนาดของสหกรณ์ ลูกหนี้เงินกู้ ทุนสำรอง
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ใน
ภาคตะวนั ตก สว่ นอกี 5 ปจั จัย ไดแ้ ก่ ทนุ ทนุ เรือนหุ้น สหกรณอ์ อมทรพั ย์ครูทต่ี ้ังอยู่ในภาคเหนอื สหกรณ์
ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในตะวันออก ไม่มีผลต่อกำไรสุทธิของ
สหกรณอ์ อมทรัพย์ครูอย่างมนี ยั สำคัญทางสถติ ิ เมือ่ ทราบแล้วว่ามปี จั จยั ใดบา้ งทีส่ ง่ ผลกระทบต่อกำไรสุทธิ
ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ในลำดับต่อไป ก็จะนำปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้นมาจัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้
สหกรณ์สามารถนำข้อมลู ไปใช้อา้ งอิง ในการวางแผนการดำเนินงาน หรอื การบริหารงานได้ โดยปัจจัยที่มี
ความสำคัญต่อกำไรสุทธขิ องสหกรณ์ออมทรัพย์ครูมากที่สุด คือ ลูกหนี้เงินกู้ ( 4) รองลงมาคือ สหกรณ์
ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( 2) สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตก
( 5) ขนาดของสหกรณ์ ( 1) และทุนสำรอง ( 5) ตามลำดบั

//

ลายมอื ชือ่ นิสิต ลายมอื ช่ืออาจารยท์ ีป่ รึกษาการศึกษาค้นควา้ อสิ ระหลัก

Jiraponr Na-neor: Factors Affecting Net Profit of Teacher Savings Co-operative
Unions Cooperatives. Master of Arts (Cooperative Economics),
Major Field: Cooperative Economics, Department of Cooperatives.
Independent Study Advisor: Assistant Professor
Auttapol Suebpongsakorn, Ph.D. 72 pages
The purpose of this research was studied factors affecting the profits of teacher
savings co-operatives and prioritizing it by using secondary data such as size of
co-operatives, capital, share capital, loans receivables, reserve fund, teachers savings

co-operatives located in the north, northeast, southern, eastern, western and teachers
savings co-operatives located in the central region of 1 0 5 cooperatives to analyze the
data. By analyzing the factors that affect the profit of Teacher Saving Co-operative by using
Multiple Linear Regression Analysis and prioritizing factors with Standardized Regression
Coefficient.

The study found that Factors that can explain the dynamics of net profit. There is
statistically significant at the 95 % confidence level, namely the size of the capital co-
operatives, loan receivables, reserve fund , teachers savings co-operatives located in the
northeast and teachers savings co-operatives located in in the southern. The other 5
factors are capital, share capital, teachers savings co-operatives located in the north,
southern and eastern. They do not affect the net profit of the co-operative saving teachers
with statistical significance. When I know which factors affect the net profit of the teacher
savings co-operatives, I will take those factors to prioritize. For the co-operatives can use
the information for reference in operational planning or management, with the factor that
is most important to the net profit of the savings co-operatives is loan receivables ( 4)
followed by teachers savings co-operatives located in the northeast ( 2), teachers savings
co-operatives located in the eastern ( 5), size of co-operatives ( 1), and reserve ( 5)
respectively.

//

Student’Signature Independent Study Advisor’s Signature

กิตตกิ รรมประกาศ

การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ สำเร็จลุล่วงมาได้ด้วยความกรุณายิ่งจากที่ปรึกษาค้นคว้าอิสระ
ผศ.ดร. อรรถพล สืบพงศกร ที่ได้ให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แนะแนวทาง ตรวจสอบความถูกต้อง และเพิ่ม
ประเด็นที่มีความสำคัญ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการ จนกระทั่งการค้นคว้าอิสระเล่มนี้แล้วเสร็จ และขอกราบ
ขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่ผู้วิจัย อีกทั้ง ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ
ผู้เขียนตำราเอกสาร บทความต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้า และนำมาอ้างอิงในการค้นคว้าอิสระเล่มนี้
ซึ่งสามารถนำมาอา้ งอิงในการทำวจิ ัยไดเ้ ปน็ อยา่ งดี

สุดท้ายนี้ ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ บิดา มารดา ผู้สนับสนุนทางการศึกษา ให้ความช่วยเหลือ
และให้กำลังใจในทุก ๆ ด้าน ทั้งยังคอยส่งเสริม และให้คำปรึกษาที่ดีเสมอมา และขอขอบคุณ
เจ้าหน้าที่ โครงการหลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ (ภาคพิเศษ)
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทุกท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวก
ในด้านตา่ ง ๆ มาโดยตลอด ตลอดจนบคุ คลอืน่ ๆ ที่มสี ว่ นช่วยเหลือทัง้ ท่ีกล่าวนามมาแล้ว และไม่ได้กล่าว
นามไว้ ณ ที่นี้

หากการศึกษาคน้ ควา้ อิสระฉบบั น้มี ขี ้อบกพร่องประการใด ผ้วู จิ ยั ขอน้อมรบั ไว้แต่เพียงผเู้ ดียว

จริ าพร นาเหนือ
พฤษภาคม 2563

สารบญั หนา้

สารบัญตาราง (1)

สารบญั ภาพ (2)

บทที่ 1 บทนำ 1
ความสำคญั ของปัญหา 4
วตั ถุประสงค์ 4
ขอบเขตการวจิ ัย 4
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
5
บทท่ี 2 การตรวจเอกสาร 5
แนวความคดิ เก่ียวกับสหกรณ์ 6
ความหมายของสหกรณ์ 9
ประเภทของสหกรณใ์ นประเทศไทย 13
สหกรณอ์ อมทรัพย์ 18
งบการเงนิ ของสหกรณ์ออมทรพั ย์ 20
แนวคดิ เก่ยี วกบั กำไร 27
งานวจิ ยั ท่ีเกีย่ วข้อง
กรอบแนวคิดในการวจิ ัย 28
28
บทที่ 3 วิธกี ารวิจัย 28
การรวบรวมขอ้ มูล 34
ประชากร 35
การวิเคราะห์ขอ้ มูล 45
วิธีการเลอื กตวั แปรท่ใี ช้ในการวิเคราะห์สมการถดถอย 45
46
บทท่ี 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 47
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการวจิ ยั
ข้อเสนอแนะจากการวจิ ัย
ข้อเสนอแนะในการศึกษาคร้ังต่อไป

สารบัญ (ต่อ)

เอกสารอา้ งองิ หนา้
48
ภาคผนวก
50
ภาคผนวก ก สถิตทิ ่ใี ช้ในการวิเคราะหป์ จั จยั ท่มี ีผลต่อสหกรณ์ 65
ออมทรัพยค์ รู 72

ภาคผนวก ข ตารางผลการวเิ คราะหส์ มการถดถอย

ประวตั กิ ารศึกษาและการทำงาน

(1)

สารบัญตาราง หน้า

ตาราง

1 กำไรสุทธิของสหกรณอ์ อมทรพั ยป์ ี 2560 2

2 กำไร (ขนาดทนุ ) สุทธิ ของสหกรณอ์ อมทรัพย์ครู ปี 2551 – 2560 3

3 จำนวนสหกรณอ์ อมทรัพย์ และจำนวนสมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์

ในประเทศไทย ปี 2560 11

4 ผลการวิเคราะหป์ จั จัยที่มีผลตอ่ กำไรสุทธิในปี 2560 38

5 ผลการคำนวณคา่ สถิติ Variance Inflation Factors (VIF) 39
ท่ีใชใ้ นการทดสอบปญั หา Multicollinearity

6 ลำดบั ความสำคญั ของปจั จัยที่มีผลต่อกำไรสทุ ธิของสหกรณ์ 44
ออมทรพั ย์ครใู นปี 2560

สารบญั ภาพ (2)

ภาพ หน้า
19
1 กำไรรวมมีมูลคา่ สูงสุด TR มากกวา่ TC 27

2 กรอบแนวความคดิ

1

บทที่ 1

บทนำ

ความสำคัญของปัญหา

สหกรณ์ออมทรัพย์ ถือเป็นสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง (ประพันธ์ เศวตนันทน์, 2541) ที่จัดตั้งขึ้น
โดยกลุ่มบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลที่มีอาชีพเดียวกันหรืออาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน มารวมตัวกันด้วย
ความสมัครใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนให้แก่มวลสมาชิก โดยยึดหลักการ
ช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้ง สหกรณ์ออมทรัพย์ ยังมีการส่งเสริมให้บุคคลที่เป็น
สมาชิกรู้จักการประหยัด รู้จักการออมทรัพย์และให้บริการเงินกู้แก่สมาชิกที่ประสบความเดือดร้อนโดย
สหกรณ์จะนำเงินค่าหุ้นและเงินฝากของสมาชิกมาหมนุ เวียนใหส้ มาชิกทม่ี ีความจำเป็นหรือเดือดร้อนกู้ยืม
โดยคดิ อตั ราดอกเบี้ยตำ่ กวา่ เอกชน

เป็นที่ทราบกันดีว่า สหกรณ์เป็นองค์กรที่ไม่มุ่งแสวงหากำไร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สหกรณ์
ออมทรพั ยจ์ ะไมต่ ้องดำเนินการเพ่ือให้ไดก้ ำไร ซงึ่ ก็หมายความวา่ ในการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์
นั้น เมื่อมีรายได้เข้ามายังสหกรณ์ แล้วนำรายได้มาหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดแล้ว
ส่วนที่เหลือก็จะเป็นกำไร (ขาดทุน) สุทธิ หากมีกำไรสุทธิเป็นบวก กฎหมายกำหนดให้ต้องจัดสรรกำไร
จำนวนไม่น้อยว่าร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิดังกล่าว เป็นทุนสำรองหรือเงินกองกลางของสหกรณ์
ยิ่งกว่านั้นยังกำหนดให้ต้องจ่ายเป็นค่าบำรุงสันนิบาตแห่งประเทศไทย เป็นเงินไม่เกินร้อยละ 5 ของกำไร
สุทธิ แต่ไม่เกิน 10,000 บาท กำไรส่วนที่เหลือสามารถจัดสรรเป็นเงินปันผลแก่ทุนเรือนหุ้น (ในอัตราไม่
เกินร้อยละ 10 ของทุนเรือนหุ้น) เงินเฉลี่ยคืนหรือเงินจ่ายคืนแก่สมาชิกตามส่วนแห่งการทำธุรกิจ (ไม่ได้
กำหนดกรอบอัตราไว้ชัดเจน) เงนิ โบนัสหรอื เงนิ ตอบแทนพเิ ศษแก่กรรมการและเจา้ หน้าท่ี (ไม่เกินร้อยละ
10 ของกำไรสุทธิ) นอกจากนั้น อาจจัดสรรเป็นทุนสาธารณประโยชน์ ทุนสวัสดิการ และทุนอื่น ๆ ตาม
สมควรไดอ้ ีกดว้ ย (รังสรรค์ ปิติปัญญา, 2557)

จากเหตุผลดงั กล่าวข้างต้น จึงทำให้ผูว้ จิ ยั เลอื กที่จะศกึ ษาสหกรณ์ออมทรัพย์ครู เนื่องจากเมื่อนำ
กำไรสุทธิของสหกรณ์แต่ละประเภทมาเปรียบเทียบกันแล้ว พบว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนั้นมีกำไรมาก
ทสี่ ุด (ดังตารางที่ 1)

2

ตารางท่ี 1 กำไรสุทธขิ องสหกรณ์ออมทรพั ย์ ปี 2560

ลำดับ ประเภทสหกรณอ์ อมทรพั ย์ จำนวน กำไร (ขาดทนุ ) กำไร (ขาดทุน)
สหกรณ์ สทุ ธิ(บาท) เฉล่ียตอ่ สหกรณ์
1. สหกรณ์ออมทรัพยเ์ อกชน (สหกรณ)์
อ่นื ๆ 5,207,928,672.98 (บาท)
532
2. สหกรณ์ออมทรัพยค์ รู 9,789,339.61
3. สหกรณอ์ อมทรัพย์ตำรวจ 105
4. สหกรณอ์ อมทรัพย์ทหาร 124 28,495,105,544.12 271,381,957.56
5. สหกรณ์ออมทรัพย์ 170 8,956,371,967.29 72,228,806.19
50 3,926,227,725.73 23,095,457.21
รัฐวสิ าหกิจ 10,959,401,293.54 219,188,025.87
6. สหกรณ์ออมทรัพยร์ าชการ 28
59,279,985.49 2,117,142.34
สว่ นทอ้ งถน่ิ 126
7. สหกรณ์ออมทรัพยร์ าชการ 11,497,866,786.14 91,252,911.00
78
อน่ื ๆ 2,741,325,994.29 35,145,205.06
8. สหกรณอ์ อมทรัพย์ 40
5,733,571,687.66 143,339,292.19
โรงพยาบาล 76
9. สหกรณ์ออมทรัพย์ 6,590,843,921.35 86,721,630.54

สถาบนั อุดมศึกษา
10. สหกรณอ์ อมทรัพย์

สาธารณสุข
ที่มา: กรมตรวจบญั ชีสหกรณ์

จะเห็นได้ว่า สหกรณอ์ อมทรัพย์ที่มีกำไรสุทธิมากที่สุดในปี 2560 คอื สหกรณ์ออมทรัพย์
ครู โดยมกี ำไรอย่ทู ่ี 28,495,105,544.12 บาท และมีกำไรเฉลย่ี ต่อสหกรณ์ 271,381,957.56 บาท จงึ เป็น
ที่น่าสังเกตว่า มีปัจจัยใดที่ทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูมีกำไรมากกว่าสหกรณ์อื่น ๆ ที่มีจำนวนสหกรณ์
มากกว่า ทั้ง ๆ ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครูมีจำนวนสหกรณ์เพียง 105 สหกรณ์เท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อย
กว่า สหกรณ์ออมทรัพย์เอกชนอื่น ๆ สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ สหกรณ์ออมทรัพย์ทหาร และสหกรณ์
ออมทรัพย์ราชการอื่น ๆ และเมื่อพิจารณากำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในช่วง 10 ปี (ปี 2551 -
2560) ย้อนหลังนั้น จะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2558 สหกรณ์ออมทรัพย์ครูมีกำไรเพิ่มขึ้นจากปี 2557
ร้อยละ 12.51 แต่ในปี 2559 สหกรณ์ออมทรัพย์ครูกลบั ขาดทุนร้อยละ 0.27 ลดลงจากปี 2558 ซ่ึงการท่ี

3

สหกรณ์ออมทรพั ย์ครูขาดทนุ น้ัน อาจเป็นผลมาจากความไม่แนน่ อนทางการเมืองในขณะน้นั อาจส่งผลต่อ
สภาพเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้สมาชิกไม่กล้าที่จะกู้เงินเพื่อไปใช้จ่ายส่วนตัวมากนัก รายได้จากดอกเบี้ย
เงินกู้ที่สหกรณ์เคยได้ก็จะลดลง อีกทั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ครูอาจจะไม่มั่นใจในการที่จะนำเงินไปลงทุน
ในการซ้อื หนุ้ ของธนาคาร หรือหลักทรัพย์ของรฐั บาล อาจกำไรที่สหกรณ์ควรจะได้ลดลงไปดว้ ย (ดังตาราง
ที่ 2)

ตารางท่ี 2 กำไร (ขาดทุน) สทุ ธิ ของสหกรณ์ออมทรพั ยค์ รู ปี 2551 – 2560

ปี พ.ศ. กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (บาท) รอ้ ยละการเปลี่ยนแปลง

2551 12,415,982,083.79 13.77
2552 13,637,295,286.63 9.84
2553 15,486,250,103.30 13.56
2554 16,357,433,664.89 5.63
2555 18,367,024,689.08 12.29
2556 19,464,900,267.40 5.98
2557 21,201,561,572.96 8.92
2558 23,852,787,524.15 12.51
2559 23,788,955,678.56 -0.27
2560 28,495,105,544.12 19.78

ทมี่ า: กรมตรวจบัญชสี หกรณ์

แต่ต่อมาในปี 2560 กำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกลับเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ร้อยละ 19.78
จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ครูมีการบริหารงานอย่างไร หรือมีปัจจัยใดที่ทำให้สหกรณ์
ออมทรัพย์ครูกลับมามีกำไรเพิ่มมากขึ้นในภาวะเศรษฐกิจที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และอาจ
ผลกระทบต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ไม่ว่าจะเป็นรายได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการ
ดำเนินงาน หรือแม้กระทั่งกำไร ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกำไรของสหกรณ์
ออมทรัพย์ครู เพื่อให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสามารถกำหนดนโยบาย และแนวทางดำเนินงานที่จะทำให้มี
กำไรได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้สหกรณ์อื่น ๆ นำผลการวิจัยในครั้งนี้ ไปใช้เป็นข้อมูลในการอ้างอิง
สำหรับการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย การปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงาน ไปจนถึงการกำหนด
กลยุทธ์ของสหกรณต์ อ่ ไปในอนาคต

4

วตั ถปุ ระสงค์

1. เพ่อื ศกึ ษาปจั จยั ท่มี ีผลต่อกำไรของสหกรณ์ออมทรพั ย์ครู

2. เพือ่ จดั ลำดบั ความสำคัญของปจั จยั ทม่ี ผี ลต่อกำไรของสหกรณ์ออมทรพั ย์ครู

ขอบเขตการวจิ ยั

การศึกษาค้นคว้าวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงปัจจัยในด้านต่าง ๆ ที่มีผลต่อกำไรของสหกรณ์
ออมทรัพย์ครู เช่น ขนาดของสหกรณ์ ทุน ทุนเรือนหุ้น ลูกหนี้เงินกู้ ทุนสำรอง สหกรณ์ออมทรัพย์ครู
ที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูท่ี
ตั้งอยู่ในภาคใต้ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออก และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ใน
ภาคตะวันตก เป็นต้น โดยใช้ข้อมูลของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 105 สหกรณ์
มาทำการวเิ คราะห์

ประโยชน์ทค่ี าดวา่ จะไดร้ ับ

1. เพื่อใหท้ ราบถงึ ปจั จัยทมี่ ีผลต่อกำไรของสหกรณ์ออมทรพั ย์ครู

2. เพอื่ ใหท้ ราบถงึ ลำดบั ความสำคญั ของปัจจยั ทมี่ ผี ลตอ่ กำไรของสหกรณ์ออมทรัพยค์ รู

3. เพื่อให้สหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ครูหรือสหกรณ์อื่น ๆ นำผลการวิจัยในครั้งนี้
ไปใช้เป็นข้อมูลในการอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย การปรับเปลี่ยน
แผนการดำเนนิ งาน ไปจนถึงการกำหนดกลยุทธ์ของสหกรณต์ ่อไปในอนาคต

5

บทที่ 2

แนวคดิ ทฤษฎีและการตรวจเอกสาร

แนวความคดิ เกยี่ วกับสหกรณ์

ความหมายของสหกรณ์

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมี
พระราชดำรสั เก่ียวกับความหมายของสหกรณ์ พระราชทานแก่ผูน้ ำสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นคิ ม และ
สหกรณ์ประมงทั่วประเทศ ณ ศาลาดุสิดาลัย ในวันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม 2522 ความว่า สหกรณ์ คือ
การอยู่ร่วมกันเพื่อส่งเสริมซึ่งกันและกัน ให้มีอาชีพและมีชีวิตที่รุ่งเรือง อีกด้านหนึ่งที่สำคัญก็คือ ทุกคน
จะต้องมีชีวิตของตน และชีวิตของทุกคนนี้ต้องประกอบด้วยงานการของตน ที่มีจุดประสงค์ที่จะเลี้ยงตัว
นั้น ก็หมายความว่า จะต้องมีทุกสิ่งทุกอย่าง นอกจากวิชาการในด้านอาชีพโดยตรงจะต้องมีความรู้หรือ
มีจิตใจที่จะช่วยกัน คือ เป็นในด้านจิตใจ ในด้านที่จะเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากของ
สหกรณ์ อีกทั้ง สหกรณ์ หมายถึง การมีชีวิตร่วมกันและสร้างสรรค์ขึ้นมา สร้างสรรค์ร่วมกัน คือ สห
เข้าด้วยกัน และ กรณ์ คือ การกระทำ ทำงาน ทำการ สร้างชีวิตร่วมกัน เพราะคนเราอยู่คนเดียวไม่ได้
ต้องร่วมกัน ถ้ามีจิตใจที่จะปฏิบัติการสหกรณ์ที่แท้จริงประกอบกับความรู้ ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จ
แน่นอน

ความหมายของสหกรณ์ตาม พระราชบัญญตั สิ หกรณ์ พ.ศ. 2542 ใหค้ วามหมายไว้วา่ คณะบุคคล
ซึ่งรวมกันดำเนินกิจการ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซ่ึงกัน
และกนั และได้จดทะเบยี นตามพระราชบญั ญัตินี้

คำว่า สหกรณ์ ตามคำนิยามขององค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ (ICA)หมายความ
ว่า สหกรณ์เป็นองคก์ รปกครองตนเองของบุคคลซึง่ รวมกลุม่ กัน โดยสมัครใจเพื่อตอบสนองความต้องการ
อนั จำเปน็ ทางเศรษฐกจิ สงั คม วัฒนธรรม และความหวังร่วมกนั โดยดำเนินวสิ าหกิจท่ีเป็นเจ้าของร่วมกัน
และควบคุมตามหลักประชาธิปไตย โดยลักษณะสำคัญของสหกรณ์ตามความหมายของ ICA มีด้วยกัน
5 ประการ คอื

6

1. เป็นองค์กรของกลุ่มบุคคล ซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล มารวมตัวกันด้วยความ
สมัครใจ ไมม่ กี ารบังคับหรือจูงใจโดยกลอุบายใด ๆ ในการใหเ้ ขา้ ร่วมเป็นสมาชกิ

2. เปน็ องค์ทม่ี ีการปกครองตนเอง ซง่ึ สามารถกำหนดนโยบายและตดั สินใจในการดำเนินงานโดย
องค์กรของสหกรณ์เอง และเปน็ อิสระจากรฐั บาล

3. มีวัตถุประสงค์เพ่ือตอบสนองความต้องการอันจำเป็น และความคาดหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม

4. เป็นวิสาหกิจ ที่สมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน และร่วมกันควบคุมตามหลักประชาธิปไตย
ความเสมอภาค ความเปน็ ธรรม และการมีสว่ นร่วมในกิจการของสหกรณ์

ในภาษาอังกฤษ คำว่า “Cooperative”มีความหมาย 2 นัย โดยนัยแรก มีความหมาย คือ การ
ร่วมมือกันหรือความร่วมมือของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จตาม
ความมุ่งหมายร่วมกัน ส่วนนัยที่ 2 มีความหมาย คือ การรวมกลุ่มกันโดยสมัครใจของบุคคลหลายคน ไม่
ว่าจะเป็นบคุ คลธรรมดาหรือนิติบุคคล รวมตัวกันเพื่อดำเนนิ กจิ กรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ให้สำเรจ็ ตามความม่งุ หมายอย่างใดอยา่ งหนึง่ หรือหลายอย่าง บนพื้นฐานของการรว่ มมือและช่วยเหลือซ่ึง
กนั และกนั ตามหลกั การสหกรณ์ ความเสมอภาค ความเป็นธรรมและประชาธิปไตย

จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า สหกรณ์ หมายถึง คณะบุคคล ซึ่งอาจเป็น
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคลล มารวมกลมุ่ กนั ดว้ ยความสมัครใจ เพ่อื ตอบสนองความต้องการอันจำเป็นทาง
เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม บนพื้นฐานของการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการ
ยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของตนเองให้สูงขึ้น และควบคุมการดำเนินวิสาหกิจด้วยหลักประชาธิปไตย
ความเสมอภาคและความเป็นธรรม

ประเภทสหกรณใ์ นประเทศไทย

พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 33 ได้บัญญัติไว้อย่างกว้าง ๆ ว่า ในการขอจด
ทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์ ในขั้นปฐมหรือในระดับท้องถิ่น นอกจากจะต้องแสดงวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก โดยวิธีการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ตามหลักสหกรณ์แลว้ น้นั จะต้องมีการดำเนินกจิ การร่วมกนั ตามประเภทของสหกรณ์ที่ขอจดทะเบียน และ

7

ประเภทของสหกรณ์ที่จะรับการจดทะเบียนนั้นให้กำหนดโดยกฎกระทรวง ซึ่งเป็นอำนาจของ
รฐั มนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสหกรณ์ทีจ่ ะรบั การจดทะเบียน พ.ศ. 2548 ซึง่ ยงั คงบังคับใช้อยู่
จวบจนถึงปัจจุบัน ได้กำหนดประเภทของสหกรณ์ไว้ 7 ประเภท ดังน้ี

1. ประเภทสหกรณก์ ารเกษตร หมายความว่า กลมุ่ สหกรณ์ของเกษตร (ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน)
ผู้เพาะปลูกพืชเป็นอาชีพหลัก และจะมีการเลี้ยง ปลา เป็ด ไก่ ฯลฯ เป็นอาชีพรอง โดยการ
ทำธรุ กิจร่วมกันหลายอยา่ ง เช่น การผลิต การซอ้ื การตลาด การแปรรูป ฯลฯ

2. ประเภทสหกรณ์ประมง ได้แก่ กลมุ่ สหกรณข์ องชาวประมง ซึง่ ประกอบอาชพี ท้ังประมงทะเล
และประมงน้ำจดื เป็นอาชพี หลกั โดยทำธรุ กิจรว่ มกนั หลายอย่างเชน่ เดยี วกับประเภทสหกรณ์
การเกษตร

3. ประเภทสหกรณ์นคิ ม ได้แก่ กลุม่ สหกรณ์ของเกษตรกรผู้ไรท้ ี่ดิน หรอื มีท่ีดินนอ้ ยเกินไปจนไม่
เพียงพอต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม รัฐบาลจึงอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานใช้ประโยชน์ใน
ที่ดินของรัฐ หรือในโครงการปฏิรูปท่ีดิน โดยไม่ให้กรรมสิทธิ์จนกว่าจะสามารถปฏิบัติตาม
เงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับหรือระเบียบได้ นอกจากนั้น ในระยะแรกรัฐบาลอาจจัด
โครงสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่การตั้งถิน่ ฐานของสมาชิก เช่น การก่อสร้างถนน
ประปา ไฟฟ้า แหลง่ นำ้ เพอื่ การบริโภคและการเพาะปลูก ฯลฯ

4. ประเภทสหกรณ์ร้านค้า คือ กลุ่มสหกรณ์ของผู้บริโภคซึ่งรวมตัวกันจัดตั้งร้านค้าปลีก เพ่ือ
จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค และเพื่อจัดหาหรือจำหน่ายสินค้าให้แก่สมาชิกในราคาต้นทุน
สหกรณ์ร้านค้าในระดับท้องถิ่นมักใช้คำว่า “ร้านสหกรณ์” นำหน้าชื่อเฉพาะ เช่น ร้าน
สหกรณ์พระนคร จำกดั ร้านสหกรณอ์ ยธุ ยา จำกัด ร้านสหกรณส์ กลนคร จำกดั ฯลฯ

5. ประเภทสหกรณ์บริการ คือ กลุ่มสหกรณ์ของผู้ใช้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นหลัก เช่น
ไฟฟ้า น้ำประปา การขนส่งผู้โดยสาร แท็กซี่ การท่องเที่ยว การเคหะ ฯลฯ โดยสมาชิกส่วน
ใหญ่จะเป็นผู้ใช้บริการนั้น ๆ หากบุคคลที่ใช้บริการส่วนใหญ่ไม่ใช่สมาชิก แนวทางปฏิบัติใน
ต่างประเทศนั้น มักจะแยกกิจการหรือธุรกิจบริการเปน็ ประเภทสหกรณ์ตามชื่อบรกิ ารน้ัน ๆ
เช่น ประเภทสหกรณ์แท็กซี่ ประเภทสหกรณ์ขนส่งคนโดยสาร ประเภทสหกรณ์การขนส่ง

8

สนิ ค้า ประเภทสหกรณ์การท่องเทย่ี ว เปน็ ตน้ แตใ่ นประเทศไทยจัดรวมเป็นประเภทสหกรณ์
บริการทัง้ หมด

6. ประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ กลุ่มสหกรณ์ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการเพิ่มรายได้ให้แก่
สมาชิก โดยการส่งเสริมการออมทรัพย์และให้บริการสินเชื่อ หรือเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่
เหมาะสม ทั้งอัตราดอกบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากการ
ฝากและกยู้ ืมเงินกบั สถาบนั การเงนิ หรอื บุคคลอื่น

การจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์โดยส่วนมาก จะตั้งขึ้นในกลุ่มของคนทีม่ ีรายได้ประจำ โดย
การหักเงินได้ ณ ที่จ่ายส่งเป็นเงินสะสมเพิ่มหุ้นของสมาชิกในสหกรณ์ รวมทั้งเงินชำระหนี้
(ถ้ามี) เป็นประจำรายเดือนหรืองวดตามข้อบังคับหรือระเบียบของสหกรณ์ นอกจากนั้น
สหกรณ์ออมทรัพยอ์ าจจัดตัง้ ในกลุ่มบุคคลท่ีอยใู่ นชมุ ชนเดียวกัน หรือเป็นสมาชิกของสถาบัน
เดียวกัน เช่น สมาคมต่าง ๆ โดยกำหนดให้สมาชิกส่งเงินฝาก ค่าหุ้น และเงินชำระหนี้ตาม
ความสะดวก ไม่มีการหกั ณ ทจ่ี า่ ย เหมอื นสหกรณ์ออมทรัพย์ของคนที่มีรายไดป้ ระจำ แต่ใน
ปัจจุบันได้มีการเพิ่มประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขึ้นเป็นสหกรณ์ประเภทที่ 7 เมื่อ พ.ศ.
2548 กล่มุ บคุ คลท่ีอยใู่ นชุมชนเดียวกันจงึ เปลี่ยนประเภทสหกรณจ์ ากสหกรณ์ออมทรัพย์เป็น
สหกรณ์เครดติ ยูเน่ยี น

7. ประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คือ กลุ่มสหกรณ์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่
สมาชิก โดยการส่งเสริมการออมทรัพย์ ทั้งในรูปแบบการถือหุ้นและเงินฝาก รวมทั้งการให้
สินเชื่อหรือเงินกู้แก่สมาชิกเช่นเดียวกับสหกรณ์ออมทรัพย์ แต่ในการทำธุรกรรมทางการเงนิ
สหกรณเ์ ครดิตยเู นีย่ นจะใช้วธิ ีให้สมาชิกส่งเงินหรือเบกิ เงนิ โดยตรงกบั สหกรณ์ ไม่ผ่านการหัก
เงิน ณ ที่จ่าย เหมือนกับสหกรณ์ออมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์
เครดิตยูเนี่ยน ตามหลักสากลถือว่าเป็นสหกรณ์การเงิน ตามกฎหมายไทยก็จัดใหส้ หกรณ์ทั้ง
2 ประเภทนี้ เป็นสถาบนั การเงิน ซงึ่ อาจเรยี กดอกเบีย้ เงนิ กูเ้ กินอตั รารอ้ ยละ 15 ตอ่ ปไี ด้

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเป็นการกลา่ วถึงภาพรวมของสหกรณ์ทั้ง 7 ประเภทว่าในแต่ละประเภท
ของสหกรณ์นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร ในส่วนต่อไปจะขอกล่าวถึงรายละเอียดเฉพาะสหกรณ์ออม
ทรพั ย์เท่าน้ัน

9

สหกรณ์ออมทรพั ย์

- ความหมายของสหกรณ์ออมทรพั ย์

สำนกั นายทะเบียนและกฎหมาย กรมสง่ เสริมสหกรณ์ ไดใ้ ห้ความหมายของสหกรณ์ออมทรัพย์ไว้
ว่า เป็นสถาบันการเงินแห่งหนึ่งที่มีสมาชิกเป็นบุคคลที่มีอาชีพอย่างเดียวกัน หรืออาศัยอยู่ในชุมชน
เดยี วกนั มวี ตั ถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการออมทรัพย์ และใหก้ ู้ยืมเงินเม่ือเกดิ ความจำเป็นหรือ
เพ่อื ก่อใหเ้ กิดประโยชน์งอกเงย และไดร้ ับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตสิ หกรณ์ พ.ศ. 2542

ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด ได้ให้ความหมายของสหกรณ์ออมทรัพย์
หมายถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชว่ ยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก โดยสมาชิกแต่ละ
คนออมรายไดฝ้ ากไว้กบั สหกรณ์เป็นประจำ สมำ่ เสมอ ในลกั ษณะของการถือหุ้นและฝากเงิน นอกจากน้ัน
หากสมาชิกประสบความเดือดร้อนเกี่ยวกับการเงิน ก็สามารถช่วยเหลือได้โดยการกู้ยืมเงิน ซึ่งอัตรา
ดอกเบี้ยจะต่ำกว่าสถาบันการเงินอื่น สมาชิกสหกรณ์ทั้งหมดจะเป็นผู้ที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกันและมี
เงินเดอื นประจำ

Singapore National Co-operative Federation (SNCF) ได้ให้จำกัดความของสหกรณ์ออม
ทรัพย์ คือ สหกรณ์ที่ส่งเสริมการออมจากสมาชิกและให้กู้แก่สมาชิกตามความจำเป็น โดยสหกรณ์ออม
ทรัพย์เป็นสมาคมของคนที่มีจุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจและเข้ามามีส่วนร่วมในองค์กรที่ดำเนินการบน
หลักการของสิทธทิ ี่เทา่ เทยี มกัน และใช้หลักประชาธิปไตยในการควบคมุ การดำเนนิ งาน

พจนานุกรมออนไลน์ ของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ให้ความหมายของสหกรณ์ออม
ทรัพย์ หมายถงึ สถาบนั การเงินท่ีเป็นเจา้ ของและควบคมุ โดยสมาชกิ สหกรณน์ ัน้ ๆ ซึ่งสมาชิกสามารถกู้ยืม
เงินดว้ ยอตั ราดอกเบย้ี ตำ่ จากเงนิ ทนุ ท่ีมมี วลสมาชิกไดส้ ะสมไว้

ดังนั้น สหกรณ์ออมทรัพย์ หมายถึง สถาบันการเงินที่มีสมาชิกเป็นบุคคลที่มีอาชีพเดียวกันหรือ
อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกนั ดำเนินการบนหลักของสิทธิทีเ่ ท่าเทยี มกันและควบคุมการดำเนนิ งานด้วยหลัก
ประชาธิปไตย สหกรณ์ออมทรัพย์จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชว่ ยเหลือซึง่ กันและกัน และส่งเสริมให้
สมาชิกร้จู ักการออมทรพั ย์ อีกทั้ง ยังสามารถช่วยเหลอื สมาชิกท่ีประสบความเดือดร้อนโดยการกู้ยืมเงินอีก
ด้วย

10

- ประวตั ิความเปน็ มาของสหกรณอ์ อมทรพั ย์

ในภาวะปัจจุบัน ประชาชนประสบปัญหาเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ผู้มีรายได้น้อยได้รับความ
เดือดร้อน เพราะไม่สามารถจะหารายได้เพิ่มให้เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นได้ และมักจะแก้ปัญหาด้วย
การกู้ยืมเงินจากนายทุน โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ก่อให้เกิดหนี้สินผูกพัน จนกลายเป็นความ
เดือดร้อนแก่ตนเองและครอบครัว บุคคลที่ประสบความเดือดร้อนดังกล่าว จึงร่วมกันแก้ปัญหาด้วยการ
รวมกลุ่มกันจัดตั้ง สหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน โดยยึดหลักการช่วยเหลือ
ตนเองและชว่ ยเหลือซงึ่ กันและกนั

สหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทยแห่งแรก คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่ตัดตั้งขึ้นในหมู่ข้าราชการ
สหกรณ์และพนักงานธนาคารเพื่อการพัฒนาสหกรณ์ (ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น
“ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร”) จดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2492 โดยใช้ชื่อว่า
“สหกรณ์ขา้ ราชการสหกรณ์ จำกดั สินใช”้ ปจั จุบันใชช้ ่ือวา่ “สหกรณข์ า้ ราชการสหกรณ์ จำกดั ”

ปัจจุบันสหกรณ์เครดิตในประเทศไทยมี 2 ประเภท คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิต
ยูเน่ียน ซ่ึงมวี ัตถุประสงค์และอำนาจกระทำการในการดำเนนิ งานแตกต่างกนั ตามท่กี ำหนดไว้ในข้อบังคับ
ของสหกรณ์แต่ละประเภท ในปี 2560 มีสหกรณ์ออมทรัพย์รวมกันทั้งประเทศ 1,329 สหกรณ์ มีสมาชิก
จำนวน 3,139,723 คน โดยมีรายละเอยี ดประเภทของสหกรณ์ออมทรัพย์ ตามตารางท่ี 3

11

ตารางท่ี 3 จำนวนสหกรณ์และจำนวนสมาชกิ ของสหกรณอ์ อมทรัพยใ์ นประเทศไทยปี 2560

ประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์ จำนวนสหกรณ์ (สหกรณ)์ จำนวนสมาชิก (คน)
532 480,422
สหกรณอ์ อมทรัพย์เอกชนอืน่ ๆ 105 827,829
สหกรณ์ออมทรัพย์ครู 124 229,904
สหกรณ์ออมทรพั ย์ตำรวจ 170 248,249
สหกรณอ์ อมทรัพยท์ หาร 50 279,858
สหกรณ์ออมทรัพย์รัฐวสิ าหกิจ 28 16,319
สหกรณ์ออมทรัพยร์ าชการ
สว่ นท้องถิน่ 126 589,824
สหกรณอ์ อมทรัพย์ราชการอ่ืน ๆ 78 97,297
สหกรณอ์ อมทรพั ย์โรงพยาบาล 40 148,488
สหกรณ์ออมทรัพย์
สถาบันอุดมศึกษา 76 221,533
สหกรณอ์ อมทรัพย์สาธารณสุข 1,329 3,139,723
รวม

ท่มี า: กรมตรวจบัญชสี หกรณ์

- วัตถุประสงค์ของสหกรณอ์ อมทรพั ย์

สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินท่ีส่งเสริมให้บุคคลท่ีเป็นสมาชิกรูจ้ ักการประหยัด รู้จักการ
ออมทรัพย์และสามารถบริการเงินกู้ให้แก่สมาชิก เพื่อนำไปใช้จ่ายเมื่อเกิดความจำเป็น โดยยึดหลักการ
ช่วยเหลอื ตนเองและชว่ ยเหลือซึง่ กนั และกัน จงึ เป็นการรว่ มกันแก้ไขปญั หาทางเศรษฐกจิ และสังคม ดงั น้ี

1. การส่งเสริมการออมทรัพย์แก่สมาชิก เป็นวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ออมทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2
วธิ ี คือ

1.1. การส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์โดยการถือหุ้น สหกรณ์กำหนดให้สมาชิกส่งชำระค่าหุ้นเป็น
ประจำทุกเดือน โดยการหักคา่ หุ้น ณ ท่ีจา่ ยเงินเดือน และจา่ ยเงินปันผลค่าหุ้นให้แก่สมาชิกตาม
อัตราท่ี พระราชบัญญตั ิสหกรณ์ พ.ศ. 2542 กำหนดไว้ เงินปันผลที่ได้รับนีไ้ ม่ต้องเสยี ภาษีใหแ้ ก่
รฐั และเมอื่ สมาชิกลาออกจากสหกรณก์ ส็ ามารถถอนคา่ ห้นุ คืนได้

12

1.2. การส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์โดยการรับฝากเงิน สหกรณ์มีบริการด้านเงินฝากทั้งประเภทเงิน
ฝากประจำและเงนิ ฝากออมทรัพย์ โดยให้ผลตอบแทนในรปู ดอกเบย้ี ในอัตราเดยี วกันกบั ธนาคาร
พาณชิ ย์ หรือสงู กวา่ ตามฐานะของแต่ละสหกรณ์

2. การให้เงินกู้แก่สมาชิก สหกรณ์จะนำเงินค่าหุ้นและเงินฝากของสมาชิกมาหมุนเวียนให้สมาชิกที่มี
ความจำเป็นหรือเดอื ดรอ้ นกู้ยืม โดยคิดดอกเบ้ยี ต่ำกวา่ เอกชน

- ลกั ษณะการให้เงินกู้

เงินกู้ทีส่ หกรณจ์ า่ ยให้แกส่ มาชิกมีดว้ ยกันท้งั หมด 3 ประเภท ดังนี้

1. เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่สมาชิกมีความจำเป็นเร่งด่วนหรือมีรายจ่ายที่เกิดขึ้นอย่าง
กระทันหัน สมาชิกสามารถกู้เงินประเภทนี้จากสหกรณ์ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของเงินที่ได้รับ
ตอ่ เดือน แต่จำกดั ขัน้ สูงไว้ตามฐานะของแตล่ ะสหกรณ์ และกำหนดส่งชำระคนื ไมเ่ กิน 2 งวด
ตอ่ เดอื น เงนิ กปู้ ระเภทนี้ไม่ตอ้ งมหี ลกั ประกัน

2. เงินกู้สามัญ สมาชิกสามารถกู้เงินประเภทนี้ได้ประมาณ 4 – 15 เท่าของเงินเดือน แต่จะ
จำกัดขั้นสูงไว้ตามฐานะของแต่ละสหกรณ์ และกำหนดส่งชำระคืนระหว่าง 24 – 72 งวด
รายเดอื น โดยต้องมีสมาชกิ ด้วยกันคำ้ ประกนั อยา่ งนอ้ ย 1 คน การกำหนดวงเงนิ กูฉ้ กุ เฉนิ และ
สามัญ จะใช้เงินเดือนเฉลี่ยของสมาชิกแต่ละสหกรณ์เป็นฐานในการกำหนด แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่
กับฐานะทางการเงินและดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ในการกำหนด
ระเบียบ

3. เงินกูพ้ เิ ศษ ถ้าสหกรณม์ ฐี านะม่นั คงแลว้ สหกรณ์จะเปิดบริการใหเ้ งนิ กู้พิเศษเพ่ือให้สมาชิกกู้
ไปลงทุนในการประกอบอาชีพ หรือกู้เพื่อการเคหะสงเคราะห์ เงินกู้ประเภทนีส้ ามารถกู้ตาม
จำนวนเงินท่จี ะนำไปลงทุนประกอบอาชีพหรือขึ้นอยู่กบั ราคาของบา้ นและทีด่ ินที่จะซ้ือ หรือ
จำกดั ขนั้ สงู ไวต้ ามทีส่ หกรณก์ ำหนดไวเ้ ปน็ คราว ๆ ไป และกำหนดชำระคนื ตั้งแต่ 10 – 15 ปี
โดยมอี สังหาริมทรัพย์เป็นหลกั จำนองคำ้ ประกัน

13

- การดำเนินงาน

สหกรณ์ออมทรัพย์ดำเนินการโดยสมาชิก กล่าวคือ เมื่อได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นแล้ว
สมาชิกจะเลือกต้ังตัวแทนจากที่ประชุมใหญใ่ หเ้ ข้ามาบริหารงานในสหกรณ์ ตัวแทนสมาชิกเหล่านี้เรียกว่า
“คณะกรรมการดำเนินการ” มีประมาณ 7 – 15 คน ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ออมทรัพย์
นั้น ๆ คณะกรรมการดำเนินการ จะทำหน้าที่บริหารกิจการสหกรณ์ โดยจะมีการประชุมอย่างน้อยเดือน
ละ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดนโยบายในการทำงาน แล้วจึงมอบให้ “ฝ่ายจัดการ” รับไปปฏิบัติงานต่อไป ฝ่าย
จัดการน้ันประกอบด้วย ผู้จดั การ ผชู้ ่วยผ้จู ัดการ สมหุ บ์ ญั ชี เจา้ หนา้ ท่กี ารเงนิ ฯลฯ ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการ
แกส่ มาชกิ ทม่ี าตดิ ตอ่ ทำธรุ กจิ กบั สหกรณ์

งบการเงนิ ของสหกรณอ์ อมทรพั ย์

สหกรณ์ออมทรัพย์ไดจ้ ัดทำงบการเงินตามรปู แบบของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เพื่อให้เป็นไปตาม
มาตรฐานการบัญชีที่รองรับทั่วไปและตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย งบกำไรสุทธิ
งบดุล และงบกระแสเงินสด (วิวัฒน์ แดงสภุ า, ม.ป.ป.) ซึ่งมรี ายละเอยี ดดงั น้ี

1. งบกำไรขาดทุน เป็นรายงานทางการเงินท่ีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณใ์ นระยะเวลา 1
ปี โดยจะแสดงให้เห็นว่า สหกรณ์มีกำไรสุทธิจำนวนเท่าใด อีกทั้งงบกำไรขาดทุนจะแสดงให้เห็นถึง
ความสามารถหรือประสิทธิภาพของฝ่ายบริหารสหกรณ์เกี่ยวกับการจัดหากำไรให้แก่สหกรณ์ ซึ่งรายการ
ต่าง ๆ ในงบกำไรขาดทนุ จะประกอบด้วย

1.1 รายได้ (Revenue)เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของงบกำไรขาดทุน การบันทึกรายได้ของ
สหกรณ์จะต้องปฏิบัติตามหลักบัญชีที่เรียกว่า หลักการเกิดขึ้นของรายได้ รายได้จะ
เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการดำเนินการที่ก่อให้เกิดรายได้กระทำสำเร็จและมีการแลกเปลี่ยน
เกิดขึ้น โดยรายได้ที่สำคัญ คือ ดอกเบี้ยเงินกู้ การบันทึกดอกเบี้ยเงินกู้เป็นรายได้ประจำ
งวดบัญชี จะดำเนินการก็ต่อเมื่อมีการให้บริการครบตามสัญญา หากสมาชิกผู้กู้ไม่ชำระ
เงินก็จะบันทึกเป็นดอกเบี้ยค้าง และถือเป็นรายได้ในงวดนั้นเช่นกัน อีกทั้งยังมีรายได้อื่น
ๆ อกี เช่น ดอกเบ้ียเงินฝากธนาคาร รายได้จากค่าเชา่ คา่ ธรรมเนยี มแรกเขา้ ผลตอบแทน
จากการลงทุน ฯลฯ

14

1.2 ค่าใช้จ่าย (Expense) ค่าใช้จ่ายในงบกำไรสุทธิจะแสดงให้เห็นถึงต้นทุนดำเนินงานใน
ระยะเวลาบัญชีของสหกรณ์ การรบั รคู้ า่ ใชจ้ า่ ยและการบันทึกบญั ชีจะปฏบิ ัติตามหลักการ
จับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้ โดยหลักการนี้ค่าใช้จ่ายกับรายได้จะต้องสอดคล้องสัมพันธ์กัน
และจะต้องเปรียบเทียบรายได้และรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน ในกรณีที่
ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในระยะเวลาคาบเกี่ยวกับรอบระยะเวลาบัญชี จะต้องปรับปรุงค่าใช้จ่าย
ขนึ้ ตามหลักเงินค้าง

1.3 ผลตอบแทนหรือกำไรสุทธิ เป็นผลต่างระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากหัก
หรือรวมรายการพเิ ศษแลว้ หากมผี ลขาดทุนสุทธจิ ะแสดงจำนวนเงินในวงเล็บ

2. งบดุล เป็นรายงานทางการเงินที่แสดงให้ทราบถึงฐานะทางการเงินของสหกรณ์ ณ วันใดวัน
หนึ่งวา่ สหกรณ์มสี ินทรพั ย์ หนส้ี ิน และทนุ จำนวนเท่าใด โดยงบดลุ มสี ่วนประกอบทีส่ ำคัญ 3 สว่ น คือ

2.1 สินทรพั ย์ รายการสินทรัพยใ์ นงบดลุ ประกอบด้วย

2.1.1 สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset)หมายถึงเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นที่คาดว่าจะ
เปล่ยี นเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี ไดแ้ ก่

2.1.1.1 เงินสดหรือเงินฝากธนาคาร เงินสดในที่นี้รวมถึง เช็คที่ยังไม่ได้นำไปฝาก
เช็คเดินทาง ดร๊าฟ ธนาณัติ เช็คลงวันที่ล่วงหน้า ใบยืมและเอกสาร
ทางการเงิน เช่น ตั๋วเงิน พันธบัตรรัฐบาล ใบหุ้นกู้ ใบหุ้นทุน ส่วนเงินฝาก
ธนาคาร ได้แก่ เงินฝากธนาคารทุกประเภท เงินฝากสหกรณ์อื่น เงินฝาก
ชุมนมุ สหกรณอ์ อมทรพั ยแ์ ห่งประเทศไทย จำกดั เปน็ ตน้

2.1.1.2 เงินส่งชำระหนีร้ ะหวา่ งทาง ได้แก่ เงินทีส่ หกรณ์สง่ ชำระหนต้ี ่อธนาคาร ซึ่ง
ยังไม่ได้จำแนกว่าเป็นส่วนที่ชำระดอกเบี้ยและต้นทุนเป็นจำนวนเท่าใด
หรือในกรณีทส่ี หกรณย์ งั ไมไ่ ด้รับหลกั ฐานใบเสรจ็ รับเงิน

2.1.1.3 เงินลงทุนชั่วคราว ได้แก่ เงินลงทุนระยะสั้นที่สหกรณ์นำไปลงทุนใน
สถาบนั การเงิน โดยการซื้อต๋วั สัญญาใช้เงิน

15

2.1.1.4 ลูกหนี้ ได้แก่ ลูกหนี้ตัวแทนหักเงินส่ง ลูกหนี้เงินกู้ทุกประเภทและลูกหน้ี
อนื่ ๆ เช่น เงินยืมทดลอง ลูกหน้ีคาดเคล่ือน รายการลูกหนี้ต่าง ๆ เหล่านี้
จะแสดงไว้เปน็ ยอดสุทธิหลังหกั ด้วย ค่าเผื่อหนีส้ งสัยจะสูญหรอื สำรองหน้ี
คาดเคลื่อน สำหรับกรณีลูกหนี้อื่นใดที่มีจำนวนเงินตั้งแต่ร้อยละ 10 ของ
ลูกหนี้ทั้งหมด ให้แสดงรายการลูกหนี้นั้น ๆ ด้วย โดยเรียงลำดับไว้ก่อน
รายการลูกหนอี้ ่นื ๆ

2.1.1.5 ดอกเบี้ยเงินกู้ค้างรับ ได้แก่ ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ทุกประเภทที่ค้างชำระ
หลังหักค่าเผอื่ หนีส้ งสัยจะสูญเช่นเดยี วกบั ลูกหนี้

2.1.1.6 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ได้แก่ ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า ค่าเบี้ยประกันจ่าย
ล่วงหน้า รายได้ค้างรับ รวมทั้งเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนคลาดเคลื่อน
สำหรับกรณสี ินทรัพย์หมนุ เวียนประเภทนั้น ๆ ดว้ ย โดยเรยี งลำดับไว้ก่อน
รายการสินทรัพย์หมนุ เวียนอน่ื

2.1.2 เงินลงทุนระยะยาว (Long – Term Investment)ได้แก่ เงินลงทุนในหลักทรัพย์มี
ระยะเวลานานกว่า 1 ปี เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นชุมนุมสหกรณ์ เงินลงทุนในหุ้น
สามัญ หนุ้ กู้ หุ้นบุริมสิทธ์ิ หรอื เงนิ ลงทุนทก่ี ฎหมายกำหนดให้ลงทุนได้

2.1.3 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (Property Plant and Equipment)ได้แก่ ที่ดิน อาคาร
และสิ่งปลกู สร้าง สิทธิการเช่าทีด่ นิ และอาคาร รวมท้ังคา่ ดดั แปลงสถานที่ ตลอดจน
เครื่องจักร ยานพาหนะ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีความคงทนและใช้ในการ
ดำเนินงานมากกว่า 1 ปี สินทรัพย์ประเภทนี้จะแบ่งออกเป็น สินทรัพย์ถาวรที่มี
ตัวตน ได้แก่ ที่ดิน อาคาร รถยนต์ และสินทรัพย์ถาวรที่ไม่มีตัวตน ได้แก่ ลิขสิทธ์ิ
สิทธิบัตร ค่าความนิยม สัมปทาน สิทธิการเช่าที่ดินและอาคาร สิทธิการใช้
ประโยชน์ในอาคาร

ในกรณีสินทรัพย์ถาวรที่มีตัวตนที่ไม่ต้องหักค่าเสื่อมราคา ได้แก่ ที่ดิน
สินทรัพย์ที่มีตัวตนที่ต้องหักค่าเสื่อมราคา ได้แก่ อาคาร เครื่องจักร รถยนต์ ฯลฯ
ส่วนสินทรัพย์ถาวรที่ไม่มีตัวตนจะต้องตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวดตลอด
อายุของสินทรัพย์นั้น ๆ สำหรับสหกรณ์ที่มีสินทรัพย์ระหว่างการก่อสร้างให้แสดง

16

รายการเอกเทศโดยไม่ต้องคิดว่าเสื่อมราคา แต่ได้นำรายจ่ายเพื่อการก่อสร้างและ
ดอกเบย้ี เงนิ ก้รู ะหวา่ งการกอ่ สรา้ งรวมเป็นราคาทนุ ของสนิ ทรัพย์ที่ก่อสรา้ งนน้ั

2.1.4 สินทรัพย์อื่น หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียน ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์
ได้แก่ รายจ่ายการจัดตั้งสหกรณ์ ค่าปรับปรุง ค่าตกแต่งหรือค่าซ่อมแซมสินทรัพย์
ท่ีใชเ้ งนิ จำนวนมาก

2.2 หนีส้ ิน แสดงให้เห็นถึงสทิ ธเิ รยี กรอ้ งของสมาชิกทมี่ ตี ่อสหกรณท์ ่ีจะต้องชำระภาระผูกพันธ์
ดังกลา่ ว โดยรายการหน้สี นิ ในงบดลุ แบง่ ออกเปน็

2.2.1 หนี้สินหมุนเวียนหรือหนี้สินระยะสั้น (Current Liabilities or Short – Term
Liabilities)หมายถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาชำระคืนภายใน 1 ปี หนี้สินที่สำคัญของ
สหกรณ์ ไดแ้ ก่

2.2.1.1 เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนต่าง ๆ เช่น
ธนาคารพาณิชย์ สหกรณ์อ่ืน หรอื ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์

2.2.1.2 ตั๋วจ่ายเงิน ได้แก่ เอกสารที่แสดงคำมั่นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรโดย
ปราศจากเงื่อนไข โดยสหกรณ์จะชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่อีกบุคคลหนึ่งภายใน
ระยะเวลาท่กี ำหนดอย่างแน่นอน

2.2.1.3 หนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี ได้แก่ ส่วนของหนี้ระยะยาวที่
ถึงกำหนดชำระคืนในรอบปีบัญชีถัดไป รวมทั้งส่วนของหนี้สินระยะยาวที่พ้น
กำหนดชำระแลว้

2.2.1.4 เงินรับฝาก ได้แก่ เงินที่สหกรณ์รับฝากจากสมาชิกทั้งประเภทออมทรัพย์
และประจำ หรือเงนิ รับฝากรูปอ่นื ๆ ทมี่ รี ะยะเวลาฝากไม่เกนิ 1 ปี

2.2.1.5 หนี้สินหมุนเวียนอื่น ได้แก่ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืน
คา้ งจ่าย เงินยืมทดลอง

17

2.2.2 หน้สี ินระยะยาว (Long – Term Liabilities) ไดแ้ ก่ เงินกูย้ มื ท่มี ีกำหนดชำระหน้ีใน
ระยะยาวมากกว่า 1 ปี โดยมีการทำสัญญากู้ยืมเป็นหลักฐาน หนี้สินระยะยาวที่
แสดงในงบดุลเป็นยอดหน้ีสินระยะยาวคงเหลอื ซ่ึงหักดว้ ยส่วนของหน้สี ินระยะยาว
ทถ่ี งึ กำหนดชำระภายใน 1 ปี

2.2.3 หนี้สินอื่น (Other Liabilities) ได้แก่ หนี้สินที่ไม่อาจแสดงไว้ในรายการหนี้สินที่
กล่าวข้างต้น โดยแสดงเป็นยอดรวมหนี้สินอื่น เช่น เงินสะสมพนักงาน สำรอง
บำเหน็จพนักงาน เงินประกันความเสียหายของพนักงาน เงินประกันการก่อสร้าง
รายได้รอการตดั บัญชี ซึ่งถือเปน็ รายไดข้ องรอบระยะบัญชีถดั ไป

2.2.4 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น (Contingent Liabilities) เป็นรายการที่ต้องเปิดเผยใน
หมายเหตุประกอบงบการเงิน เช่น คดรี ะหวา่ งการพจิ ารณาของศาล การค้ำประกัน
หนี้สินอื่น ๆ การถูกประเมินภาษีเพิ่มในกรณีที่สหกรณ์ไปทำธุรกิจอื่นที่ต้องชำระ
ภาษตี ามกฎหมาย เปน็ ตน้

2.3 ส่วนของผู้เป็นเจ้าของ ประกอบด้วยรายการต่าง ๆ ดงั นี้

2.3.1 ทุนเรือนหุ้น ได้แก่ จำนวนหุ้นที่ชำระมูลค่าแล้ว ทั้งจำนวนหุ้นที่ชำระครบ และ
ไมค่ รบ ซงึ่ หมายถงึ เงนิ สะสมค่าหนุ้ เพอื่ รอรับการโอนหนุ้ ต่อไป

2.3.2 เงินสำรอง ได้แก่ ส่วนของกำไรสุทธิที่สหกรณจ์ ัดสรรตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดไว้ใน
พระราชบัญญัติสหกรณ์ ที่ต้องจัดสรรกำไรเป็นเงินสำรองในจำนวนไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ

2.3.3 ทุนสะสมตามข้อบังคับ ระเบียบและอื่น ๆ คือ ทุนที่สหกรณ์จัดสรรจากกำไรสุทธิ
ประจำปีตามข้อบังคับ เช่น ทุนสาธารณประโยชน์ ทุนรับโอนหุ้น ทุนสงเคราะห์
สวสั ดิการต่าง ๆ เปน็ ต้น

2.3.4 กำไรสุทธิประจำปี หมายถึง ผลการดำเนินงานของสหกรณใ์ นรอบปีทางบัญชี หาก
สหกรณ์มีกำไรก็จะทำให้ทุนส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นหรือสินทรัพย์ของสหกรณ์

18

เพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าสหกรณ์ดำเนินการขาดทุนก็จะทำให้สินทรัพย์ของ
สหกรณ์ลดลง

แนวคดิ เกี่ยวกบั กำไร

ความหมายของกำไร

กำไร หมายถงึ ผลตอบแทนทีผ่ ปู้ ระกอบการได้รับจากดำเนินงานขององคก์ รธรุ กจิ จนมีรายรับสูง
กวา่ ต้นทุน เป็นผลตอบแทนท่ีทผี่ ู้ประกอบการควรจะไดร้ บั (เพชรี ขมุ ทรพั ย์, 2536: 43)

กำไรทางบัญชี เป็นกำไรที่ยังไมแ่ น่นอน จะขึ้นอยู่กบั หลักการบัญชีของแต่ละธุรกิจที่ถือปฏิบตั อิ ยู่
ซง่ึ หลกั บญั ชที ี่เป็นทีย่ อมรบั โดยทั่วไปนัน้ สามารถปฏิบตั ไิ ด้หลายวธิ ี เช่น ในการตรี าคาสินค้าคงเหลือ อาจ
ใช้ราคาทุนราคาตลาด หรือราคาอื่น ๆ ในการคำนวณได้ วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา ก็สามารถคำนวณได้
หลายวิธีเช่นเดียวกัน เช่น ค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง, ค่าเสื่อมราคาแบบผลบวกจำนวนปีอายุการใช้งาน
,ค่าเสื่อมราคาแบบยอดคงเหลือลดลงทวีคูณ หรือวิธียอดคงเหลือลดลงในอัตราสองเท่าของค่าสึกหรอ
และคา่ เสือ่ มราคาวิธเี ส้นตรง เป็นตน้ ฯลฯ ซ่งึ ปัจจยั เหล่านลี้ ว้ นแต่ทำให้กำไรของธุรกิจแตกต่างกนั ได้ท้ัง ๆ
ทม่ี ขี อ้ มูลชุดเดียวกัน (เพชรี ขุมทรพั ย์, 2520: 4-5)

กำไรทางเศรษฐศาสตร์ คือ กำไรส่วนที่เกินจากกำไรปกติ เป็นกำไรที่แท้จริง ส่วนกำไรปกติเป็น
เพยี งแคค่ า่ เสยี โอกาสของผู้ประกอบการเทา่ นน้ั จงึ ไม่ใช่กำไรท่ีแทจ้ ริง (วันรักษ์ ม่งิ มณนี าคนิ , 2552: 157)

เนื่องจากกำไร คือเป้าหมายที่สำคัญของผู้ประกอบการ ดังนั้นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับ
ผู้ประกอบการ คือ การแสวงหากำไรสูงสุด ถ้าพิจารณาจากรายรับรวมและรายจ่ายรวมในสมการกำไร
จะเหน็ ไดว้ ่า กำไรจะมคี า่ สงู สุดต่อเมอ่ื รายรับรวม (TR)และรายจ่ายรวม (TC)มีคา่ ต่างกันมากทส่ี ุด

โดยท่วั ไป กำไร หมายถงึ ผลต่างระหวา่ งรายรบั รวมกับตน้ ทุนรวม ดังน้นั สมการเบ้อื งตน้ ของกำไร
จึงมลี ักษณะ ดงั นี้

กำไร = TR - TC

19

ต้นทนุ , รายรบั , กำไรรวม ต้นทนุ รวม (TC)
กำไรรวมสูงสดุ รายรบั รวม (TR)

0Q กำไรรวมสูงสดุ
ปริมาณผลผลติ
ภาพที่ 1 กำไรรวมมีคา่ สูงสดุ TR มากกวา่ TC กำไรรวม
ที่มา: วันรักษ์ มง่ิ มณนี าคิน (2552:158)

จากภาพที่ 1 กำไรสงู สดุ จะอยู่ที่ระดับผลผลติ Q ซ่งึ เปน็ ตำแหน่งท่ี TR มคี ่าตา่ งกับ TC มากท่ีสุด
ยิ่งไปกว่านั้น ช่วงที่ TR อยู่ห่างจาก TC ตามแนวดิ่งมากที่สดุ แสดงให้เหน็ ว่า ค่าความชนั ของ TR กับ TC
เทา่ กันพอดี

ความชนั ของ = ∆ = และ


ความชันของ = ∆ =


ดังนั้น กำไรสูงสุดจะอยู่ที่ระดับผลผลิตซึ่งรายรับส่วนเพิ่มเท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่ม (MR = MC)
ส่วนระดับอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้จะให้กำไรน้อยกว่าทั้งสิ้น เหตุผลคือตราบใดที่รายได้ส่วนเพิ่มยังมี
มากกว่าต้นทุนส่วนเพิ่มแล้ว กำไรของผู้ประกอบการยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากการผลิตยังคงเพิ่มต่อไป

20

แต่เมื่อใดที่ต้นทุนส่วนเพิ่มมากกว่ารายรับส่วนเพิ่มแล้วกำไรจะลดลง ดังนั้นกำไรสูงสุดจะมีแค่เพียงจุด
เดยี วเทา่ นนั้ คอื จดุ ท่ี MR = MC และท่ีตำแหน่งนี้จะเป็นดลุ ยภาพของผผู้ ลิตดว้ ย

การแสวงหากำไรสงู สุดตามวิธีทางเศรษฐศาสตร์ หมายถงึ การที่ผู้ประกอบการพยายามศึกษาหา
ข้อมลู ตา่ ง ๆ เพ่ือหาทางลดต้นทนุ เฉลย่ี ต่อหนว่ ยในการผลติ ใหต้ ่ำทสี่ ุดดว้ ยวิธีการทีส่ ุจรติ และชอบธรรม ใน
ขณะเดยี วกันกต็ ้องพยายามหาทางเพ่มิ รายรับให้มากทีส่ ุดด้วย

งานวิจัยทีเ่ ก่ียวขอ้ ง

พรรณรมย์ สมศักดิ์ (2559) ศึกษาค้นคว้า เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อกำไรสุทธิของธนาคารออมสิน
โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ เพื่อศึกษาฐานะทางการเงิน และการดำเนินงานของธนาคารออมสินว่า
เป็นไปในทิศทางใด ในช่วงที่ผ่านมาที่ธนาคารเริ่มปรับการบริหารงานให้ใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์
มากขึ้น และเพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจระดับจุลภาค และมหภาคที่มีผลต่อกำไรสุทธิของธนาคาร
ออมสิน ตัวแปรที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ คือ อัตราส่วนรายได้รวมต่อจำนวนสาขาธนาคารออมสิน
อัตราสว่ นเงนิ ใหส้ ินเชื่อต่อเงนิ ฝาก อัตราส่วนคา่ ใชจ้ า่ ยดำเนินงานรวมต่อรายไดร้ วม และอัตราส่วนหน้ีสูญ
และหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อ เป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจระดับจุลภาค ดัชนีราคาผู้บริโภค และ
ผลิตภัณฑม์ วลรวมในประเทศ เป็นปัจจยั ทางเศรษฐกจิ ระดับมหภาค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ อัตราส่วนทาง
การเงิน ในการประเมินฐานะทางการเงินของธนาคารออมสิน และนำตัวแปรของปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ระดับจุลภาค และมหภาคที่มีผลต่อกำไร มาวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยการสร้างแบบจำลองในรูปแบบ
สมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression Model) โดยมีรูปแบบสมการ ดังนี้ = 0 +
1 + 2 + 3 + 4 + 5 + 6 + กำหนดให้
= การเปลี่ยนแปลงของกำไรสุทธิของธนาคารออมสิน (หน่วย: ร้อยละ) = การ
เปลี่ยนแปลงของจำนวนธนาคารออมสิน (หน่วย: ร้อยละ) = อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝาก
(หน่วย: ร้อยละ) = อัตราส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้รวม (หน่วย: ร้อยละ) =
อัตราส่วนหนี้สูญ และหนี้สงสัยจะสูญต่อรายได้รวม (หน่วย: ร้อยละ) = การเปลี่ยนแปลงของ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (หน่วย: ร้อยละ) = การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวม
ในประเทศ (หน่วย: ร้อยละ) = เวลาที่เป็นข้อมูลไตรมาสที่ (ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 - ไตรมาสที่ 4 ปี
2557) 0= ค่าสัมประสิทธิ์ของค่าคงท่ี 1- 6= ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระ และ = ค่าความ
คาดเคลื่อน (error term) ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อกำไรสุทธิของธนาคารออมสิน
คือการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้รวมไตรมาสก่อนหน้า (DCST) มีผลใน
เชิงลบกับกำไรสุทธิของธนาคารออมสิน ในขณะที่มีผลในเชิงบวกในไตรมาสปัจจุบันซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง
ประสิทธิภาพการดำเนินงานของธนาคารออมสิน โดยในการดำเนินงานของธนาคารออมสินนั้น มีการ

21

ลงทุนในด้านทรัพยากรบุคคล ฝึกอบรม และการให้เบี้ยเลี้ยงจากการทำงานนอกเวลา จึงทำให้ธนาคาร
ออมสินสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และส่งผลให้กำไรสุทธิของธนาคารออมสินเพิ่มมากขึ้นด้วย เมื่อศึกษา
ผลิตภัณฑ์รวมภายในประเทศที่แท้จริง ในไตรมาสก่อนหน้า ปรากฏว่ามีความสัมพันธ์กับกำไรสุทธิ
ในเชิงลบ อาจเป็นผลมาจากการที่ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ความต้องการใช้สินเชื่อน้อย
ส่งผลให้กำไรของธนาคารออมสินน้อยลงไปด้วย ที่กล่าวมานั้นเป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญกับกำไร แต่ยังคง
มีปัจจัยที่ไม่มีนัยสำคัญที่ควรพิจารณา คือ จำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นของธนาคารออมสิน ที่มีผลเชิงลบ
ในไตรมาสกอ่ นหน้า ซง่ึ เปน็ ผลมาจากการเปดิ สาขาในระยะเริ่มตน้ ท่จี ะต้องใช้ต้นทุนในการดำเนินการมาก
จึงอาจจะทำใหไ้ ดก้ ำไรไมม่ ากเท่าที่ควร

พิลาพร วรรณวงค์ (2558) ค้นคว้าวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการกำไรของบริษัท
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพือ่ วดั ระดับการจัดการกำไรของกลมุ่
บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรพั ยแ์ ห่งประเทศไทย โดยใช้วธิ ีรายการคงค้างรวมตามแบบจำลองของ
Jones (Jones Model, 1991) และเพื่อทดสอบปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการกำไร โดยปัจจัยที่ใช้
ในการศกึ ษา ไดแ้ ก่ ขนาดของสำนักงานสอบบัญชี การแยกตำแหน่งของประธานกรรมการ และกรรมการ
ผู้จัดการ ผลตอบแทนของผู้บริหาร ขนาดของกิจการ และความเสี่ยงทางการเงิน โดยกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้
ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 362 บริษัท
แบ่งออกเป็น 7 หมวดอุตสาหกรรม ได้แก่ หมวดเกษตร และอุตสาหกรรมอาหาร หมวดอสังหาริมทรัพย์
หมวดสนิ คา้ อุปโภคบรโิ ภค หมวดทรัพยากร หมวดเทคโนโลยี หมวดสนิ ค้าอุตสาหกรรม และหมวดบริการ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา โดยแสดงผลในรูปค่าเฉลี่ย ความถี่ และร้อยละ
ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของสถิติเชิงอนุมาน จะใช้วิเคราะห์สัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์และใช้สมการความถดถอยเชิงพหุ เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และ
ตัวแปรตาม โดยมีสมการที่ใช้ในการทดสอบ ดังนี้ = 0 + 1 + 2 +
3 + 4 + 5 + ℇ กำหนดให้ = การจัดการกำไร = ขนาด
ของสำนักงานสอบบัญชี = การแยกตำแหน่งของประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ
= ผลตอบแทนของผู้บริหาร = ขนาดของกิจการ = ความเสี่ยงทางการเงิน =
สัมประสิทธิ์ความถดถอย ℇ = ค่าความคาดเคลื่อน และ 0 = จุดตัดแกน Y ผลการวิจัยพบว่า
หากทดสอบแบบภาพรวมโดยไม่แยกหมวดอุตสาหกรรม จะมีเพียงความเสี่ยงทางการเงินเท่านั้นที่มี
ผลกระทบต่อการจดั การกำไร ตัวแปรอิสระอน่ื ไม่มีผลกระทบ แตเ่ มือ่ ทดสอบแบบแยกหมวดอุตสาหกรรม
ปรากฎว่า ผลตอบแทนของผู้บริหาร และขนาดของกิจการมีผลต่อการจัดการกำไรในหมวดเกษตร
และอุตสาหกรรม ผลตอบแทนของผู้บริหารและการแยกตำแหน่งของประธานกรรมการ และกรรมการ
ผู้จัดการมีผลต่อการจัดการกำไรในหมวดทรัพยากร ความเสี่ยงทางการเงินมีผลต่อการจัดการกำไร
ในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมและหมวดบริการ ส่วนหมวดอุตสาหกรรมอื่นหรือตัวแปรอิสระที่ไม่ได้
กลา่ วถึงนนั้ จะไม่มีผลกระทบตอ่ กนั

22

มรุต กลัดเจริญ (2556) ทำการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์
ในประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยในระดับมหภาค
และจลุ ภาคทมี่ ผี ลกระทบตอ่ กำไรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ทำการศกึ ษาเฉพาะธนาคารพาณิชย์
ในประเทศไทยที่ได้จดทะเบียนในตลาดหลกั ทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 11 ธนาคาร วิเคราะห์ข้อมูล
ปัจจัยระดับมหภาค และจุลภาคของธนาคารพาณิชย์ที่มีผลต่อกำไรโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ
หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ผลกระทบต่อการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีทางเศรษฐมิติ
ในการประมาณค่าด้วยวิธี Pooled OLS, Random Effects และ Fixed Effect ทดสอบความเหมาะสม
ดว้ ยวิธี Hausman Test โดยมี อตั ราเงนิ เฟ้อ อตั ราดอกเบ้ียทแี่ ท้จรงิ อตั ราการกระจุกตัวของอตุ สาหกรรม
การธนาคาร อัตราส่วนของสินทรัพย์รวมที่เป็นเงินฝากของธนาคารต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
และอัตราสว่ นมูลคา่ ของของตลาดหลักทรัพย์ต่อสินทรัพย์รวมของธนาคารท่ีเป็นเงินฝาก เป็นปัจจัยระดับ
มหภาค อตั ราสว่ นของผถู้ อื หุ้นต่อสินทรัพย์ อตั ราส่วนค่าใช้จา่ ยต่อรายได้ของธนาคาร และมลู ค่าทางบัญชี
สินทรัพย์รวมของธนาคาร เป็นปัจจัยระดับจุลภาค และกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยมี
สมการที่ใช้ในการทดสอบทั้งหมด 3 สมการ สมการแรกประมาณค่าด้วยวิธี Pooled OLS มีสมการ ดังนี้
= 0 + 1 + ⋯ + + + , = 1 … ก ำ ห น ด ใ ห ้ = ต ั ว แ ป ร ต า ม ท่ี i
ณ เวลา t, = ตัวแปรอิสระที่ i ณ เวลา t, = Unobserved Fixed Effects และ = error
term สมการต่อมาจะประมาณค่าด้วยวิธี Fixed Effects มีสมการ ดังนี้ ̈ = 1 ̈ +. . . + ̈ +
̈ , = 1 … กำหนดให้ ̈ = ส่วนต่างระหว่างตัวแปรตามกับค่าเฉลี่ยตามช่วงเวลา (time –
demeaned y) ̈ = ส่วนต่างระหว่างตัวแปรอิสระกับค่าเฉลี่ยตามช่วงเวลา (time – demeaned x)
และ ̈ = ส่วนต่างระหว่าง error term กับค่าเฉลี่ยตามช่วงเวลา (time – demeaned u) และสมการ
สุดท้าย คือ การประมาณค่าด้วยวิธี Random Effects มีสมการ ดังนี้ − ̅ = 0(1 − ) +
1( − ̅ + … + ( − ̅ ) + ( − ̅ ) กำหนดให้ = Random Effects Estimator

หรือ = 1 − ½ และ( 2 + 2 2 ) = จำนวนช่วงเวลา ผลการวิจัย พบว่า การประมาณค่าด้วยวิธี

Random Effects มีความเหมาะสมมากกว่าการประมาณค่าด้วยวิธี Fixed Effects ทำให้สามารถ
คาดการณ์ความน่าจะเป็นของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้ถูกต้อง
รอ้ ยละ 52.57 ซึง่ ปจั จยั ทมี่ ผี ลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย คือ อตั ราเงนิ เฟอ้ อตั รา
ดอกเบี้ยที่แท้จริง อัตราส่วนมูลค่าของตลาดหลักทรัพย์ต่อสินทรัพย์รวมของธนาคารที่เป็นเงินฝาก
อัตราส่วนของผู้ถือหุ้นต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของธนาคาร และมูลค่าทางบัญชี
สินทรัพย์รวมของธนาคาร โดยอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง และอัตราส่วนของผู้ถือหุ้น
ตอ่ สินทรพั ย์ มีความสัมพันธเ์ ชงิ บวกกบั กำไรของธนาคารพาณชิ ย์ในประเทศไทย ส่วนอัตราส่วนมูลค่าของ
ตลาดหลักทรัพย์ต่อสินทรัพย์รวมของธนาคารที่เป็นเงินฝาก อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของธนาคาร
และมูลค่าทางบัญชีสินทรัพย์รวมของธนาคารมีความสัมพันธ์เชิงลบกับกำไรของธนาคารพาณิชย์
ในประเทศไทย

23

นันทพร บ้ำสันเทียะ (2555) ทำการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของ
ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เพื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงิน
ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และเพ่อื วิเคราะห์ปจั จัยทมี่ ีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร
พาณิชย์ขนาดใหญ่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคาร
กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการถดถอยเชิงซ้อนด้วยวิธีกำลังสองน้ อย
ที่สุด ในการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ กำหนดให้อัตราส่วนรายได้ค่าธรรมเนียม และบริการต่อรายได้รวม
อัตราส่วนรายได้จากการปริวรรตต่อรายได้รวม อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้รวม
อัตราสว่ นหน้สี ูญ และหน้สี งสยั จะสญู ต่อเงนิ ใหส้ ินเชื่อ อัตราส่วนรายไดร้ วมต่อจำนวนพนักงาน อัตราส่วน
รายได้รวมต่อจำนวนสาขา อัตราส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
3 เดือน และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เป็นตัวแปรอิสระที่มีผลต่อตวั แปรตาม คือ กำไรสุทธิของ
ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ โดยมีรูปแบบสมการ ดังน้ี = 0 + 1 + 2 + 3 +
4 + 5 + 6 + 7 + 8 3 + 9 + ℇ กำหนดให้ = 1, 2, 3, 4 :
1. ธนาคารกรงุ เทพจำกัด (มหาชน) 2. ธนาคารกรุงไทย จำกดั (มหาชน) 3. ธนาคารกสิกร จำกดั (มหาชน)
และ 4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) = กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (หน่วย:
พันลา้ นบาท) = อัตราสว่ นรายได้คา่ ธรรมเนียม และบรกิ ารตอ่ รายไดร้ วม (หน่วย: รอ้ ยละ) =
อัตราส่วนรายได้จากการปริวรรตต่อรายได้รวม (หน่วย: ร้อยละ) = อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการ
ดำเนินงานต่อรายได้รวม (หน่วย: ร้อยละ) = อัตราส่วนหนี้สูญ และหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อ
(หน่วย: ร้อยละ) = อัตราส่วนสินเชื่อต่อจำนวนพนักงาน (หน่วย: ร้อยละ) = อัตราส่วนรายได้
รวมต่อจำนวนสาขา (หนว่ ย: รอ้ ยละ) 3 = อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดอื น (หนว่ ย: ร้อยละ)
= อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (หน่วย: ร้อยละ) = ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
(หน่วย: ล้านบาท) 0= ค่าสัมประสิทธิ์ของค่าคงที่ 0- 9 = ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระ และ ℇ =
ค่าความคาดเคลื่อน (error term) ผลการวิจัย พบว่า อัตราส่วนรายได้ค่าธรรมเนียม และบริการ
ต่อรายได้รวม มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับกำไรสุทธิของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้รวม มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับกับกำไรสุทธิ
ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) อัตราส่วนหนี้สูญ และหนี้สงสัยจะสูญต่อเงิ นให้สินเช่ือ
มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับกับกำไรสุทธิของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อัตราส่วน
รายได้รวมต่อจำนวนพนักงานของธนาคารกรงุ เทพ จำกัด (มหาชน) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดยี วกันกบั
กำไรสุทธิของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) อัตราส่วนรายได้รวมต่อจำนวนสาขา มีความสัมพันธ์
ในทิศทางเดียวกันกับกำไรสุทธิของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่
ชั้นดี มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับกำไรสุทธิของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และอัตรา
ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับกำไรสุทธิของธนาคารกรุงเทพ
จำกัด (มหาชน)

24

อภิญญาณ บังเกิดสุข (2552) ทำการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อกำไรสุทธิของสหกรณ์ในจังหวัด
จันทบุรี วตั ถปุ ระสงคใ์ นการวจิ ยั คร้ังนี้ คอื เพ่ือทราบถงึ พัฒนาการและสภาพทว่ั ไปของสหกรณ์การเกษตร
ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และเพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อเงินส่วนเกินหรือกำไรสุทธิของสหกรณ์
การเกษตรในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลปฐมภูมิ ที่เก็บจาก
แหล่งข้อมูลโดยตรง และข้อมูลทุติยภูมิ ที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่มีการจัดเก็บไว้แล้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การศกึ ษาคร้งั น้ี คอื สหกรณก์ ารเกษตรในจังหวดั จนั ทบุรี จำนวน 37 สหกรณ์ จากจำนวนสหกรณ์ท้ังหมด
41 สหกรณ์ ซึ่งคำนวนด้วยวิธีของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสำรวจข้อมูลที่สร้างขึ้นจาก
การศึกษาแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูล จะนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มา
ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิง
วิเคราะห์ (Analytical Statistic) โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์สมการเชิงถดถอย
(Regression Analysis) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยผลการวิจัยจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 เป็นการวิเคราะห์ถึงสภาพทั่วไปของสหกรณ์ และส่วนที่ 2 จะเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อ
กำไรสุทธิของสหกรณ์ โดยมีทุนดำเนินงานหมุนเวียน ทุนดำเนินงานถาวร ปริมาณธุรกิจสินเชื่อ ปริมาณ
ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ปริมาณธุรกิจรวบรวมผลผลิต และปริมาณธุรกิจให้บริการ และส่งเสริม
การเกษตร เป็นตัวแปรอิสระที่มีผลต่อตัวแปรตาม คือ กำไรสุทธิของสหกรณ์ และกำหนดค่านัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยมีสมการที่ใช้ในการวิเคราะห์ ดังน้ี = + 1 1 +
2 2 + 3 3 + 4 4 + 5 5 + 6 6 กำหนดให้ = กำไรสุทธิของสหกรณ์ (บาท) 1 =
ทนุ ดำเนินงานหมนุ เวียน (บาท) 2 = ทนุ ดำเนินงานถาวร (บาท) 3 = ปรมิ าณธรุ กจิ สนิ เชือ่ (บาท) 4 =
ปริมาณธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (บาท) 5 = ปริมาณธุรกิจรวบรวมผลผลิต (บาท) 6 = ปริมาณ
ธุรกิจให้บริการ และการส่งเสริมการเกษตร (บาท) = ค่าคงที่ และ = ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร
อิสระ ผลการวิจัยในส่วนที่ 1 พบว่า เมื่อพิจารณาจำนวนสมาชิก ประเภทของสหกรณ์การเกษตร
สินทรัพย์ หนี้สินของสหกรณ์ และทุน รวมกับกำไรสุทธิที่ได้รับพบว่ากำไรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณ
ของจำนวนสมาชิก ประเภทของสหกรณ์การเกษตร สินทรัพย์ หนี้สินของสหกรณ์ และทุนที่เพิ่มขึ้น
ผลการวิจัยในส่วนที่ 2 พบว่า ตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับกำไรสุทธิของสหกรณ์อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ คือ ทุนดำเนินงานหมุนเวียน ทุนดำเนินงานงานถาวร ปริมาณธุรกิจสินเชื่อ และปริมาณธุรกิจ
การให้บริการ และการส่งเสริมการเกษตร ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับกำไรสุทธิของสหกรณ์
อยา่ งมนี ยั สำคญั ทางสถิติ

ทัตชญา วัชระเดชาภัทร (2551) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกำไรสุทธิของสหกรณ์ออม
ทรัพย์ไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยและเพื่อวิเคราะห์
ปัจจัยที่มผี ลกระทบต่อกำไรสุทธิของสหกรณใ์ นประเทศไทย รวบรวมขอ้ มูลโดยใช้ตัวเลขสถิติจากรายงาน
สถิติการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในปีบัญชี พ.ศ. 2549 ที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์รวบรวมไว้ ทำการสุ่ม
ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมาเป็นตัวแทน จำนวน 295 สหกรณ์ จากสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย

25

จำนวน 1,122 สหกรณ์ ซึ่งคำนวณได้จากสูตรของ Taro Yamane วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์
สมการถดถอยเชิงซ้อน กำหนดตัวแปรอิสระ คือ ทุนเรือนหุ้น หนี้สินทั้งสิ้น ทุนอื่น ๆ ลูกหนี้ สินทรัพย์
ถาวรและสินทรัพย์หมุนเวียน ที่มีผลต่อตัวแปรตาม คือ กำไร (ขาดทุน) สุทธิประจำปี โดยแบ่งสมการ
ออกเป็น 2 สมการ ดังน้ี สมการที่ 1 = + 1 1 + 2 2 + 3 3 สมการที่ 2 = + 1 1 +
2 2 + 3 3 กำหนดให้ = กำไร (ขนาดทุน) สุทธิประจำปี 1 = ทุนเรือนหุ้น 2 = หนี้สินทั้งส้ิน
3 = ทุนอน่ื ๆ 1 = ลกู นี้ 2 = สินทรัพยถ์ าวร และ 3 = สนิ ทรัพย์หมุนเวียน ผลการวิจยั พบว่า กำไร
(ขาดทุน) สุทธิประจำปีทั้งหมดของสหกรณ์จะสูงขึ้น ถ้าเพิ่มปริมาณสัดส่วนของทุนเรือนหุ้น หนี้สิน
ทุนอื่น ๆ ลูกหนี้ สินทรัพย์หมุนเวียน และลดปริมาณของสินทรัพย์ถาวรลง กล่าวคือ ตัวแปรอิสระทุกตัว
สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงกำไรสุทธิได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น สินทรัพย์ถาวรที่ไม่มี
นัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยที่มีผลในทางบวกต่อกำไร (ขาดทุน) สุทธิประจำปี คือ ทุนเรือนหุ้น หนี้สิน
ทัง้ หมด ทนุ อน่ื ๆ ลกู หนี้ และสนิ ทรพั ย์หมุนเวียน

ศศิพิมล แสงจันทร์ (2537) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ปัจจัยทางการเงินที่มีผลกระทบต่อกำไรสุทธิต่อ
สนิ ทรัพย์ท้งั หมดของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย โดยมีวตั ถุประสงคเ์ พื่อวเิ คราะห์ปัจจยั ทางการเงิน
ที่มีผลกระทบต่อกำไรสุทธิต่อสินทรัพย์ทั้งหมดของสหกรณ์ออมทรัพยใ์ นประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดย
ใช้ข้อมูลทุติยภูมิมาทำการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนทางการเงิน โดยมุ่งวัดผลการบริหาร
การเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 – 2532 และวิเคราะห์ปัจจัยทาง
การเงินที่มีผลกระทบต่อกำไรสุทธิต่อสินทรัพย์ทั้งหมดของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย โดยใช้
สมการถดถอยเชิงซ้อน ในปี พ.ศ. 2532 จำนวน 628 สหกรณ์ ตัวแปรที่ใช้ที่ใช้ในการวเิ คราะห์ครั้งนี้ คือ
หนส้ี นิ ทั้งหมดตอ่ ทนุ ของสหกรณ์ ลูกหนีท้ ้งั หมดตอ่ ทนุ ดำเนินการ สนิ ทรัพยถ์ าวรต่อสินทรัพย์ทั้งหมด และ
ดอกเบี้ยรับต่อดอกเบี้ยจ่าย เป็นตัวแปรอิสระ ส่วนกำไรสุทธิต่อสินทรัพย์ เป็นตัวแปรตาม โดยมีสมการ
ดังนี้ = ( 1 + 2 + 3 + 4) กำหนดให้ = กำไรสุทธิต่อสนิ ทรัพย์ทั้งหมด 1 = หนี้สินทั้งหมด
ต่อทุนของสหกรณ์ 2 = ลูกหนี้ทั้งหมดต่อทุนดำเนินงาน 3 = สินทรัพย์ถาวรต่อสินทรัพย์ทั้งหมด และ
4 = ดอกเบี้ยรับต่อดอกเบี้ยจ่าย ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์
ออมทรัพย์ในช่วง 5 ปี มีสภาพคล่องอยู่ในระดับที่สูง มีความสามารถในการชำระหนี้สินได้ทั้งหมด
และยังมีสภาพคล่องในการตอบสนองความต้องการด้านสินเชื่อของสมาชิกอีกด้วย ในส่วนการวิเคราะห์
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกำไรสุทธินั้น ตัวแปรอิสระทุกตัวในสมการ สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงกำไร
สุทธิตอ่ สินทรพั ยไ์ ด้อยา่ งมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจยั ทม่ี ที ิศทางในเชิงบวกกับกำไรสุทธิต่อสนิ ทรัพย์ คือ
ลูกหนท้ี ั้งหมดต่อทุนดำเนินงาน และดอกเบีย้ รบั ตอ่ ดอกเบยี้ จ่าย ตัวแปรอิสระอ่ืนใดนน้ั มที ิศทางในเชงิ ลบ

ดาวรุ่ง เจตวิเศษไพศาล (2535) ได้ค้นคว้าวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการทำกำไรของ
ธนาคารพาณิชย์ไทย วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ คือ ศึกษาสภาวการณ์เศรษฐกิจ และการ

26

ดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ ศึกษาถึงปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์
และเปรียบเทียบความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์แต่ละขนาด (ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง
ขนาดเล็ก) โดยใช้อัตราส่วนทางการเงินมาทำการวิเคราะห์ เป็นการศึกษาเฉพาะธนาคารพาณิชย์ไทย
15 ธนาคาร เกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ในช่วงปี พ.ศ. 2521 - 2533 ในการวิเคราะห์ข้อมูลจะใชส้ ถติ ิเชิงพรรณนา
และวิธีการทางเศรษฐมิติสร้างสมการในรูปของสมการถดถอยเชิงซ้อน และใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุด
ในการประมาณค่าสมั ประสิทธติ์ วั แปรต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กบั ความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร
พาณิชย์ โดยมีส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การประหยัด
จากการผลิต และจำนวนสาขาของธนาคารพาณิชย์ เป็นตัวแปรอิสระที่มีผลต่อตัวแปรตาม คือ กำไรสุทธิ
โดยมีสมการ ดังนี้ = {( − ) + + + } กำหนดให้ = กำไรสุทธิของ
ธนาคารพาณิชย์ − = ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อกับเงินฝาก = อัตรา
การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ = การประหยัดจากการผลิต (Economy of Scale) และ =
จำนวนสาขาของธนาคารพาณิชย์ ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร
พาณิชย์ โดยวิเคราะห์ตามขนาด พบว่า อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และต่อเงินกองทุนของธนาคาร
ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ต่างมีแนวโน้มลดลง ในส่วนการวิเคราะห์การดำเนินนโยบาย
เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนั้น พบว่า ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับเงินฝาก และส่วนต่างอัตราดอกเบย้ี
ที่แท้จริง จะมีผลกระทบต่อความสามารถของการทำกำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่น้อยกว่า
ความสามารถในการทำกำไรของธนาคารขนาดกลาง และขนาดเล็ก โดยมีความสัมพันธ์ของทั้งสามขนาด
ในทิศทางเดียวกัน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและจำนวนสาขาของธนาคารพาณิชย์ มีผลต่อ
ความสามารถในการทำกำไรของทั้งสามขนาด และมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ในส่วน
การประหยัดจากการผลิต จะมีผลกระทบต่อความสามารถการทำกำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์
ขนาดใหญ่เท่านั้น และมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน แต่ในบางครั้งจำนวนสาขาของธนาคาร
ขนาดกลางก็มีผลกระทบตอ่ การทำกำไรน้อยกวา่ ธนาคารขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก

27

กรอบแนวคดิ ในการวิจยั

จากการทบทวนงานวิจัยทเี่ กี่ยวข้องกับการค้นคว้าวิจยั เร่ือง ปจั จัยที่มผี ลต่อกำไรสทุ ธขิ องสหกรณ์
ออมทรัพย์ในประเทศไทย สามารถจำแนกตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยได้ 2 กลุ่มคือ ตัวแปรอิสระ และ
ตวั แปรตาม ดงั ภาพ

ตวั แปรอิสระ (X) ตวั แปรตาม (Y)

1. ขนาดของสหกรณ์ กำไรสทุ ธิของสหกรณ์
2. ทุน ออมทรพั ย์ในประเทศไทย
3. ทนุ เรอื นหุน้
4. ลูกหน้เี งนิ กู้
5. ทุนสำรอง
6. สหกรณอ์ อมทรพั ย์ครทู ต่ี ัง้ อยู่ในภาคเหนอื
7. สหกรณอ์ อมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ
8. สหกรณอ์ อมทรพั ยค์ รทู ีต่ ั้งอยู่ในภาคใต้
9. สหกรณอ์ อมทรัพย์ครทู ต่ี ้ังอย่ใู นภาค

ตะวันออก
10. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูท่ีตง้ั อย่ใู นภาค

ตะวันตก

ภาพท่ี 2 กรอบแนวคิด

28

บทท่ี 3

วธิ ีการวจิ ัย

การรวบรวมขอ้ มูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในครั้งนี้ จะใช้รูปแบบของข้อมูลที่เป็นข้อมูลภาคตดั ขวาง (Cross
Section Data) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยของตัวแปรตา่ ง ๆ โดยเก็บข้อมมลู เพียงคร้ังเดยี ว ในระยะเวลาใด
เวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งข้อมูลที่ใช้จะเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ที่ได้ทำการรวมรวมข้อมูลจาก
เว็บไซต์ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ (www.cad.go.th) เป็นการนำข้อมูลขนาดของสหกรณ์ ทุน
ทุนเรือนหุ้น ลูกหนี้เงินกู้ ทุนสำรอง สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู
ที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ต้ัง
อยู่ในภาคตะวันออก สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตก และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ใน
ภาคกลาง มาใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อกำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์และจัดลำดับความสำคัญ
ของปัจจยั นน้ั ๆ

ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นการเลือกประชากรแบบเจาะจง เพื่อให้เป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนั้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู จำนวน 105
สหกรณ์ โดยจะใชจ้ ำนวนประชากรที่มที ง้ั หมดในประเทศไทย เนื่องจากมีจำนวนประชากรน้อย

การวิเคราะห์ขอ้ มูล

1. การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) มาใช้ในการอธิบาย
ข้อมูลทุติยภูมิที่ได้รวบรวมมาวิเคราะห์ผล แล้วนำไปจัดทำลงในรูปแบบตาราง ซึ่งสามารถ
อธบิ ายถงึ ปัจจยั ต่าง ๆ ทส่ี ง่ ผลกระทบตอ่ สหกรณอ์ อมทรัพย์ครู

2. วเิ คราะห์ปัจจัยท่มี ผี ลต่อกำไรของสหกรณอ์ อมทรัพย์ครู มขี ้ันตอนดงั นี้

29

2.1 กำหนดตวั แปรหุ่น (Dummy Variable) ใช้สำหรบั วิเคราะห์กำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์
เป็นรายภาค ทั้งหมด 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง
ภาคตะวันออก ภาคตะวันตกและภาคใต้ เป็นต้น โดยตัวแปรของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู
ในภาคต่าง ๆ จะเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นหน่วยได้ ซึ่งก่อนที่
จะนำตัวแปรมาวิเคราะห์สมการถดถอยนั้น จะต้องแปลงตัวแปรเหล่านี้ให้เป็น
ตัวเลขก่อน ทำได้โดยการกำหนดตัวแปรให้มีค่าเป็น 0 หรือ 1 เทา่ น้ัน เพอ่ื ให้ง่ายต่อการ
ตีความค่าสัมประสิทธิ์ ในกรณีที่ตัวแปรถูกแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม จะต้องใช้ตัวแปรหุ่น
เพียง 5 ตัว เท่าน้ัน เนื่องจากหากให้มีตัวแปรหุ่น 6 ตัวแล้วจะทำให้เกิดการละเมิด
ข้อสมมติของ Classic Linear Regression Model (CLRM) ที่ว่า “หากมีตัวแปรอิสระ
มากกว่า 1 ตัว ตัวแปรอิสระเหล่านั้นห้ามมีความสัมพันธ์เชิงเส้นกันอย่างสมบูรณ์ (No
Perfect Multicollinearity)” มิเช่นนั้น จะไม่สามารถประมาณค่าพารามิเตอร์ใน
แบบจำลองได้ ซ่ึงกำหนดตวั แปรหนุ่ ได้ดงั น้ี

1 ภาคเหนือ
1 =

0 ภาคอืน่ ๆ

1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2 =

0 ภาคอนื่ ๆ

1 ภาคใต้
3 =

0 ภาคอน่ื ๆ

1 ภาคตะวันออก
4 =

0 ภาคอนื่ ๆ

1 ภาคตะวันตก
5 =

0 ภาคอ่นื ๆ

30

ซึง่ กลมุ่ อา้ งองิ ในกรณีนีน้ นั้ จะเปน็ กล่มุ ท่คี ่า D1 D2 D3 D4 และ D5 มคี า่ เป็นศนู ย์
พร้อมกัน คือ กลุ่มภาคกลางนั่นเอง หรืออาจพิจารณากลุ่มอ้างอิงง่าย ๆ ว่าเป็นกลุ่มที่

ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในตัวแปรหุ่นทั้ง 5 ตัว ซึ่งก็คือกลุ่มภาคกลาง ดังนั้น ในการ

ตีความหมายของคา่ สมั ประสทิ ธิ์ตา่ ง ๆ จะต้องนำมาเปรยี บเทยี บกบั ภาคกลาง

2.2 กำหนดสมการถดถอยเส้นตรงเชิงซ้อน (Multiple Linear Regression Analysis)
เป็นการศึกษาตัวแปรที่มีตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป ซึ่งมีตัวแปรตามเพียง 1 ตัวกับตัวแปร
อิสระที่มีมากกว่า 1 ตัว แล้วนำข้อมูลต่าง ๆ มาประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทาง
สถติ ิ โดยมีข้ันตอน ดงั นี้

2.2.1 กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม โดยกำหนดให้อยู่ใน
รูปแบบ Linear Form ได้ดงั นี้

= ( 1, 2, 3 … , )
= + 1 1 + 2 2 + 3 3+. . . + + ℇ

โดยท่ี เปน็ ตวั แปรตาม เปน็ ตวั แปรทม่ี ีการคาดคะเนล่วงหน้า
เปน็ ตัวแปรอสิ ระ เป็นตัวแปรที่ค่ากำหนดไวล้ ว่ งหนา้
1, … , เป็นคา่ คงที่ของสมการถดถอย
เปน็ ค่าสัมประสทิ ธ์ิของ Y ทเ่ี ปลย่ี นแปลงไปเมือ่ 1, … ,
เปลีย่ นแปลงไป 1 หนว่ ย ซ่ึงคา่ 1, … , อาจเป็นได้
1, … , ท้งั บวก (+) และลบ (-)
เปน็ ค่าความคาดเคล่อื น หรอื Error Term


ซึ่งตัวแปรที่นำมาใช้วิเคราะห์ร่วมกับตัวแปรหุ่นที่ได้กำหนดไว้ก่อนหน้า
มีดงั น้ี ขนาดของสหกรณ์ ทุน ทนุ เรือนหนุ้ ลูกหนเี้ งนิ กู้ ทนุ สำรอง เปน็ ตน้

2.2.2 ก่อนที่จะนำสมการถดถอยเชิงซ้อนไปใช้ในการคาดการณ์ล่วงหน้านั้น จำเป็น
จะตอ้ งทดสอบสมการถดถอยท่ีคำนวณไว้ก่อนว่า มคี ณุ ภาพในการคาดการณ์มาก
น้อยเพียงใด โดยดูจากค่าสถิติต่าง ๆ เหล่านี้ (สุวรรณา ธุวโชติ, 2541: 234 –
235)

31

2.2.2.1. ค่ า ส ั ม ป ร ะ ส ิ ท ธ ิ ์ ข อ ง ก า ร ต ั ด ส ิ น ใ จ ( Coefficient of Multiple
Determination: 2) จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอิทธิพลของตัวแปรอิสระ
หลาย ๆ ตัว ที่มีอยู่ในสมการ ( 1, 2, 3 … , ) ว่ามีผลต่อตัวแปร
ตาม ( ) มากน้อยเพียงใด

2.2.2.2. ค่าความคาดเคลื่อนมาตรฐานของการกะประมาณ (Standard Error of
Estimate: SEE)จะเป็นตัวที่บ่งบอกว่าข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมาน้ัน
คลาดเคลื่อนไปจากเสน้ สมการถดถอยท่ีคำนวณได้มากน้อยเพียงใด

2.2.2.3. ค่าความคาดเคลื่อนมาตรฐานของสัมประสิทธิ์การถดถอย (Standard
Error of b: 1, 2, 3, . . . , ) โดย 1จะบอกความคาดเคลื่อน
ของ 1 จากการสุ่มตัวอย่าง 1วา่ มีค่าเทา่ ไร เช่นเดียวกับ 3, . . . ,
ซึ่งจะบอกค่าความคาดเคลื่อนของ 3, . . . , จากการสุ่มตัวอย่าง
3 … , วา่ มคี า่ เทา่ ไร

2.2.2.4. ค่าสถิติ t หรือ F (t-test หรือ F-test) เป็นการทดสอบดูว่าคา่ สัมประสิทธ์ิ
การถดถอยแต่ละตัว ( 1, 2, . . . , ) จากการส่มุ ตวั อยา่ ง สามารถนำไป
อ้างอิงสัมประสิทธิ์การถดถอยของประชากรได้จริงหรือไม่ โดยกำหนด
นัยสำคัญทางสถติ ิของการวิจัยคร้งั น้ี คือ รอ้ ยละ 95

ดังนั้น ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อกำไรสุทธิของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู โดยการ
วิเคราะหส์ มการถดถอยเส้นตรงเชงิ ซ้อน (Multiple Linear Regression Analysis) สามารถ
แสดงในรปู แบบของสมการไดด้ ังนี้

= + 1 1 + 2 2 + 3 3 + 4 4 + 5 5 + 6 1 + 7 2 +
----- (1)
8 3 + 9 4 + 10 5 + ℰ

โดยกำหนดให้ = กำไรสทุ ธิประจำปี
1 = ขนาดของสหกรณ์
2 = ทนุ
3 = ทนุ เรอื นหุ้น

32

4 = ลกู หน้เี งินกู้
5 = ทนุ สำรอง

1 = 1 ภาคเหนอื

0 ภาคอื่น ๆ

1 ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ

2 =
0 ภาคอ่นื ๆ

1 ภาคใต้

3 =
0 ภาคอนื่ ๆ

1 ภาคตะวนั ออก

4 =
0 ภาคอ่ืน ๆ

1 ภาคตะวันตก

5 =
0 ภาคอื่น ๆ

โดยกำหนดสมมติฐานทศิ ทางความสัมพนั ธ์ของตวั แปรอสิ ระและตัวแปรตาม ดังนี้

1. กำไรสุทธิจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงข้ามกับขนาดของสหกรณ์ กล่าวคือ
สหกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ อาจมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย
ในด้านของบุคลากรที่ต้องมีมากขึ้นตามขนาดของสหกรณ์ ค่าใช้จ่ายในด้านบริการ
ต่าง ๆ ที่ต้องทันสมัยตามยุคปัจจุบัน หรือสหกรณ์นำเงินไปลงทุนในหุ้นของธนาคาร
หรอื หลกั ทรพั ยข์ องรฐั บาล แล้วไม่ได้ผลตอบแทนเท่าทคี่ วร

33

2. กำไรสุทธิจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับทุน กล่าวคือ สหกรณ์ที่มีทุน
ดำเนินงานมาก จะสามารถทำกำไรได้มากกว่าสหกรณ์ที่มีทุนดำเนินงานน้อย
เนื่องจากสามารถนำเงินทุนที่สหกรณ์มีอยู่ไปปล่อยเงินกู้ให้แก่สมาชิกได้โดยที่ไม่ต้อง
ไปกู้เงินจากแหล่งเงินทุนอื่น ทำให้สหกรณ์ไม่ต้องรับภาระหนี้สิน และสหกรณ์ก็มี
กำไรเพ่มิ มากขึ้นด้วย

3. กำไรสทุ ธจิ ะมคี วามสมั พันธไ์ ปในทิศทางตรงข้ามกับทุนเรือนหุ้น กล่าวคอื ทนุ เรือนหุ้น
คือ จำนวนหุ้นสะสมของสมาชิกที่มาฝากหุ้นไว้กับสหกรณ์ ซึ่งทุนเรือนหุ้นนี้จะนำมา
จัดสรรเป็นเงินปันผลให้แก่สมาชิกในแต่ละปี ซึ่งหมายความว่าสมาชิกที่มีหุ้นอยู่ใน
สหกรณ์มาก ก็จะได้รับเงินปันผลมาก ทำให้สหกรณ์มีต้นทุนมากขึ้น กำไรของ
สหกรณ์ลดลงตามไปดว้ ย

4. กำไรสุทธจิ ะมีความสมั พันธ์ไปในทศิ ทางเดยี วกนั กับลูกหน้ีเงินกู้ กล่าวคือ สหกรณ์ทม่ี ี
ลูกหนี้เงินกู้จำนวนมาก จะทำให้กำไรของสหกรณ์เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากรายได้ส่วน
ใหญข่ องสหกรณ์ มาจากดอกเบ้ยี เงนิ กูข้ องสมาชกิ

5. กำไรสุทธิจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงข้ามกับทุนสำรอง กล่าวคือ สหกรณ์ที่มี
ปริมาณทุนสำรองมาก จะทำให้สหกรณ์มีตน้ ทนุ มาก เนื่องจากกฎหมายไดก้ ำหนดให้
สหกรณ์ต้องจัดสรรกำไรจำนวนไม่น้อยว่าร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ เป็นทุนสำรอง
หรือเงินกองกลางของสหกรณ์ สหกรณ์จึงไม่สามารถนำเงินไปลงทุนเพื่อแสวงหา
กำไรได้

3. การจัดลำดับความสำคัญของปจั จัยที่มีผลต่อกำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู โดยพิจารณาจาก
ค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยมาตรฐาน (Standardized Regression Coefficient) หรือ ค่า Beta ที่ได้
จากการคำนวณ ดงั น้ี

3.1 หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) จากสูตร

. . = √Σ( − ̅)2
− 1

34

โดยที่ = คา่ ของขอ้ มลู (ตัวที่ 1, 2, 3,...,n)
= คา่ เฉลีย่ เลขคณิต
̅ = จำนวนขอ้ มูลทั้งหมด


3.2 หาคา่ เฉลยี่ (Average) จากสตู ร

̅ = Σ


โดยที่ = ค่าของขอ้ มลู (ตวั ที่ 1, 2, 3,...,n)
= จำนวนข้อมูลท้งั หมด


3.3 หาคา่ คะแนนมาตรฐาน (Z-score) จากสตู ร

− ̅
= . .

โดยที่ = ขอ้ มูลที่จะแปลงใหเ้ ปน็ คะแนนมาตรฐาน
̅ = ค่าเฉลย่ี ของข้อมูล
. . = ค่าเบ่ยี งเบนมาตรฐาน

กล่าวคือ ถ้าตัวแปรอิสระใดมีค่า Beta มาก ก็แสดงว่าตัวแปรอิสระนั้นมีความสำคัญกับตัวแปร
ตามมากกว่าตัวแปรอิสระที่มีค่า Beta น้อย ซึ่ง ค่า Beta จะอยู่ในรูปคะแนนมาตรฐาน หรือ Z – Score
(กัลยา วาณชิ ย์บัญชา, 2549: 374)

วธิ กี ารเลือกตัวแปรท่ใี ช้ในการวเิ คราะหส์ มการถดถอย

วิธีการคดั เลือกตัวแปรอสิ ระทีจ่ ะนำมาใชใ้ นสมการถดถอยน้ัน มีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้ได้
สมการที่ดีที่สุดที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ เนื่องจากการใช้ตัวแปรอิสระหลายตัวในการวิเคราะห์
ตัวแปรตามเพียงตัวเดียวนั้น ทำให้ตัวแปรอิสระบางตัวที่ไม่มีส่วนในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงต่อ
ตัวแปรตามไม่มีความสำคัญต่อสมการ โดยในที่นี้จะขอนำเสนอวิธีการคัดเลือกตัวแปร 4 วิธี (ประยูรศรี
บตุ รแสนคม, 2554)

35

1. การเลอื กโดยวธิ ีเพมิ่ ตัวแปร (Forward Selection)

เป็นการเลือกเฉพาะตัวแปรอิสระที่ดีที่สุดที่สามารถพยากรณ์ตัวแปรตามได้เท่านั้น โดยจะ
คัดเลือกตัวแปรอิสระเข้ามาในสมการทีละตัว และทำการทดสอบว่า ตัวแปรท่ีเพิ่มเข้ามานั้น สามารถ
พยากรณต์ วั แปรตามได้เพ่ิมขึน้ อย่างมีนยั สำคัญหรือไม่ จากน้ันจะทำการคดั เลอื กตวั แปรที่สำคัญรองลงมา
ต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งไม่มีตัวแปรอิสระเหลืออยู่เลย วิธีการเพิ่มตัวแปรก็เป็นอันว่าเสร็จสิ้น (ทรงศักด์ิ
ภูสีอ่อน. 2554 : 282-283 ; Brian S. Everitt. 2010 : 93) ซึ่งในแต่ละขั้นตอนที่นำตัวแปรอิสระเข้ามา
วิเคราะห์ในสมการ จะเป็นการพิจารณาเฉพาะตัวแปรที่เขา้ ไปใหมว่ า่ สามารถพยากรณ์ตัวแปรตามได้เพม่ิ
มากข้นึ หรอื ไม่

2. การเลือกโดยวธิ ีลดตัวแปร (Backward Elimination)

เป็นวิธีการเลือกตัวแปรท่ตี รงขา้ มกบั วิธี Forward โดยจะนำตวั แปรอิสระทุกตวั เขา้ มาวเิ คราะห์
ในสมการ และพิจารณาตัวแปรอสิ ระที่มีคา่ สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์บางส่วน (Partial Correlation) กับตัว
แปรตาม โดยคัดเลือกตัวแปรอิสระที่มีค่าต่ำที่สุดออกจากสมการ แล้วทำการทดสอบว่า ค่า 2 ลดลง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ ถ้าพบว่า 2 ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าตัวแปร
ดังกล่าว ไม่มีส่วนทำให้การพยากรณ์ตัวแปรตามเพิ่มขึ้น จึงสามารถตัดตัวแปรอิสระดังกล่าวออกจาก
สมการได้ จากนั้นก็ทำการตัดตัวแปรอิสระที่มีความสำคญั น้อยรองลงมาออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งการตัดตัวแปร
พยากรณ์จะสิ้นสุด ก็ต่อเมื่อ 2 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หมายความว่า ตัวแปรดังกล่าว
มีความสำคัญต่อการพยากรณ์ตัวแปรตาม หากตัดตัวแปรดังกล่าวออกจากสมการแล้ว จะทำให้
ความน่าเชื่อถือของการพยากรณ์ตัวแปรตามลดลง จึงต้องคงตัวแปรอิสระดังกล่าวไว้ในสมการต่อไป
(ทรงศกั ดิ์ ภูสีออ่ น, 2554: 283; Brian S. Everitt, 2010: 93)

3. การเลือกโดยวธิ เี พิม่ ตวั แปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Regression)

เป็นวิธีที่มีขั้นตอนคล้ายกับวิธี Forward แต่การเลือกตัวแปรด้วยวิธี Stepwise จะทำการ
ทดสอบตวั แปรอสิ ระทกุ ครงั้ ทม่ี ีการนำตวั แปรใหมเ่ ข้ามาวเิ คราะห์ในสมการ ซง่ึ ตัวแปรอิสระบางตัวท่ีนำมา
วิเคราะห์ในสมการ สามารถถูกตัดออกจากสมการได้ (ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. 2554 : 283) หากพบว่าตัวแปร
อิสระตัวนน้ั ไมไ่ ด้ทำให้ค่า 2 เพมิ่ ข้นึ อย่างมนี ยั สำคัญทางสถิติ (สมบตั ิ ทา้ ยเรอื คำ, 2553: 60)

36

4. การเลือกโดยวธิ ีนำตัวแปรเขา้ ทั้งหมด (Enter Regression)

เปน็ การคัดเลือกตวั แปรอิสระที่นำมาใช้ในสมการด้วยการวเิ คราะห์เพียงขนั้ ตอนเดียว เริ่มจาก
การนำตัวแปรอิสระที่ศึกษาเข้าไปวิเคราะห์ในสมการพร้อมกันทุกตัว แม้ว่าตัวแปรอิสระบางตัวจะไม่
สามารถพยากรณ์ตัวแปรตามได้ก็ตาม มักจะใช้วิธีน้ีในกรณีที่ต้องการทราบว่า ตัวแปรแต่ละตัวที่ทำ
การศึกษาจะสามารถพยากรณต์ ัวแปรตามไดม้ ากน้อยเพยี งใด (ทรงศกั ด์ิ ภูสีออ่ น. 2554 : 283)

37

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์

ในบทนี้จะเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกำไรสุทธิ กับปัจจัยต่าง ๆ ที่นำมาวิเคราะห์ ว่ามี
ความสัมพนั ธ์กนั หรอื ไม่ อยา่ งไร โดยนำขอ้ มลู กำไรสุทธิของสหกรณ์ออมทรัพย์ครปู ี 2560 มาทำการศกึ ษา
โดยการศึกษาครัง้ น้ีไดก้ ำหนดให้กำไรสุทธิของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเป็นตัวแปรตาม ส่วนตวั แปรอสิ ระ คือ
ขนาดของสหกรณ์ ทุน ทุนเรือนหุ้น ลูกหนี้เงินกู้ ทุนสำรอง สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือ
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูท่ตี ง้ั อยู่ในภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ สหกรณ์ออมทรพั ย์ครทู ต่ี ้ังอยูใ่ นภาคใต้ สหกรณ์
ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออก และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตก ซึ่งสามารถ
แสดงความสมั พนั ธ์ในรปู ของสมการไดด้ ังนี้

= + 1 1 + 2 2 + 3 3 + 4 4 + 5 5 + 6 1 + 7 2 + 8 3 +

9 4 + 10 5 + ℰ ----- (1)

โดยกำหนดให้ = กำไรสุทธปิ ระจำปี
= ขนาดของสหกรณ์
1 = ทุน
2 = ทุนเรอื นหุน้
3 = ลูกหน้เี งินกู้
4 = ทนุ สำรอง
5 = สหกรณ์ออมทรัพยค์ รูทตี่ ง้ั อยใู่ นภาคเหนือ
1 = สหกรณอ์ อมทรัพย์ครูทตี่ ง้ั อยู่ในภาค
2 ตะวนั ออกเฉียงเหนอื
สหกรณอ์ อมทรัพยค์ รูทต่ี ง้ั อยู่ในภาคใต้
3 = สหกรณ์ออมทรัพยค์ รูทตี่ ง้ั อยู่ในภาคตะวันออก
4 = สหกรณ์ออมทรพั ยค์ รูทต่ี ง้ั อยู่ในภาคตะวนั ตก
5 =

จากผลการวิเคราะห์สมการถดถอยเส้นตรงเชิงซ้อน (Multiple Linear Regression Analysis)
สามารถหาความสมั พันธ์ของกำไรสุทธิ และตัวแปรอิสระต่าง ๆ ไดด้ ังตารางท่ี 4

38

ตารางที่ 4 ผลการวเิ คราะห์ปจั จยั ทมี่ ีผลตอ่ กำไรสทุ ธใิ นปี 2560

ตวั แปร ค่าสมั ประสทิ ธิ์ t-statistic Significant

constant -15393972 -2.497843 0.014 (มีนัยสำคญั )**
-0.016497 -4.071638 0.000 (มนี ัยสำคัญ)**
X1 0.646020 16.19071 0.000 (มีนยั สำคญั )**
X2 -0.624732 -14.60997 0.000 (มนี ยั สำคญั )**
X3 0.021005 5.696875 0.000 (มนี ัยสำคัญ)**
X4 -0.675199 -15.05380 0.000 (มีนยั สำคญั )**
X5 -807972.0 -0.086981 0.931 (ไมม่ ีนยั สำคัญ)
D1 17363812 2.430433 0.017 (มีนยั สำคญั )**
D2 7603700 0.944144 0.348 (ไมม่ ีนัยสำคัญ)
D3 -39742.29 -0.003874 0.997 (ไม่มีนยั สำคัญ)
D4 -2576288 -0.237334 0.813 (ไมม่ นี ัยสำคัญ)
D5

F-statistic 1022.967
R2= 0.990895 Adjusted R2 = 0.989926

*** หมายถงึ มนี ยั สำคัญทางสถติ ิที่ 0.01

** หมายถึง มีนยั สำคญั ทางสถิตทิ ่ี 0.05

* หมายถงึ มีนยั สำคญั ทางสถติ ทิ ี่ 0.10

ก่อนที่จะนำผลที่คำนวณได้จากตารางที่ 4 ไปวิเคราะห์นั้น จะต้องนำสมการที่ 1 ไปทดสอบ
ปัญหา Multicollinearity เสียก่อน เพื่อเป็นการทดสอบว่าตัวแปรอิสระที่อยู่ในสมการมีความสัมพันธ์
ระหว่างกันสูงหรือไม่ หากตัวแปรอิสระทีอ่ ยู่ในสมการมีขนาดความสัมพันธ์กันสูง จะทำให้ค่าสัมประสิทธ์ิ
ของสมการถดถอยมีความแม่นยำ และมีเสถียรภาพลดลง ในทางกลับกัน ถ้าขนาดความสัมพันธ์มีค่าน้อย
ก็ถือได้ว่าค่าสัมประสิทธิ์ของสมการถดถอยมีความแม่นยำ และมีเสถียรภาพในระดับที่น่าเชื่อถือได้
ซึ่งสามารถทดสอบปัญหา Multicollinearity ได้หลากหลายวิธี คือ ทดสอบโดยใช้ค่าสถิติ Tolerance,
Variance Inflation Factor (VIF), Eigenvalue และ Condition Index

ในที่นี้ ผู้วิจัยได้เลือกค่าสถิติ Variance Inflation Factor (VIF) มาทดสอบขนาดความสัมพันธ์
ของตวั แปรอสิ ระในสมการที่ 1 โดยทัว่ ไป ถา้ ค่า VIF ท่ีคำนวณไดม้ คี า่ มากกว่า 5 ขึ้นไป ถอื ไดว้ ่าเกิดปัญหา
Multicollinearity ที่รุนแรง (Studenmund 2006: 259) แต่ก็มีนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากที่ใช้
หลักเกณฑม์ ากกวา่ 10 ขึ้นไป (ไพฑูรย์ ไกรพรศักด์ิ, 2546) ซง่ึ สามารถสรุปคา่ VIF ได้ดงั นี้

39

ตารางที่ 5 ผลการคำนวณค่าสถิติ Variance Inflation Factor (VIF) ที่ใช้ในการทดสอบปัญหา
Multicollinearity

ตวั แปร คา่ VIF ผลการวเิ คราะห์

X1 2.593497 ไม่มี ปญั หา Multicollinearity

X2 2.824606 ไม่มี ปญั หา Multicollinearity

X3 3.057496 ไมม่ ี ปัญหา Multicollinearity

X4 2.796511 ไมม่ ี ปัญหา Multicollinearity

X5 2.547571 ไม่มี ปัญหา Multicollinearity

จากการทดสอบปัญหา Multicollinearity ด้วยค่าสถิติ Variance Inflation Factor (VIF)
สามารถสรุปได้ว่า สมการที่ 1 ที่ใช้ในการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ในครั้งนี้ไม่มีปัญหา Multicollinearity
เนอ่ื งจากค่าสัมประสทิ ธขิ์ องตัวแปรอิสระทงั้ 5 ตวั มีค่าสถิติ VIF ต่ำกว่า 5

ในขั้นตอนต่อมาจะเป็นการทดสอบปัญหา Heteroskedasticity เนื่องจากการนำข้อมูล
ภาคตัดขวาง (Cross Section Data) มาวิเคราะห์ จะมีโอกาสที่ค่าความคาดเคลื่อนของสมการจะมีความ
แปรปรวนแตกตา่ งไปจากความจริง ส่งผลให้ค่า t-statistic ทีค่ ำนวณได้ของแต่ละตัวไมน่ า่ เชอ่ื ถือ และอาจ
ทำใหก้ ารทดสอบสมมติฐานของคา่ สัมประสทิ ธิ์ในสมการขาดความนา่ เชื่อถอื ได้

จากผลการทดสอบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ พบว่า ค่า ( 2) ที่คำนวณได้ ( 2) =
32.75) มีค่าสูงกว่าค่าวิกฤต ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 0.5 แสดงว่า สมการที่ 1 มีปัญหา
Heteroskedasticity และเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ตัวแปร 2 มีความสัมพันธ์กับค่า
Residusl2 สูง ซึ่งหมายความว่า ความไม่คงที่ของค่าความแปรปรวนของค่าคาดเคลื่อนในสมการที่ 1
อาจได้รบั อทิ ธิพลมาจากตวั แปร 2

ปัญหา Heteroskedasticity สามารถแก้ไขได้หลายวิธี แต่วิธีที่ผู้วิจัยเลือกมาใช้ในการแก้ปัญหา
ครัง้ น้ี คอื Weighted Least Square (WLS) โดยตวั แปรทนี่ ำมาใช้ weight คือ 2 ซึง่ ได้ผลการประมาณ
ค่าดว้ ยวธิ ี WLS ดังน้ี

40

= 73378.51 − 0.045434 1 + 0.330230 2 − 0.279562 3 + 0.051214 4
√ 2 √ 2 √ 2 √ 2 √ 2

(0.550101) (-2.562550)** (1.923122) (-1.501169) (2.812703)**

−0.393078 5 − 122715 1 + 511709.20 2 − 34762.05 3 +
√ 2 √ 2 √ 2 √ 2

(-1.992782)** (-0.581626) (1.367923)** (-0.214559)

183778.70 4 − 5117262 5 + ----- (2)
√ 2 √ 2

(0.423923) (-2.448830)**

2 = 0.961493
2 = 0.957308

F-statistic = 229.7189

หมายเหตุ : 1. คา่ ท่ีอยู่ในวงเลบ็ คือ t-value
2. วงเล็บใดท่มี ีเครือ่ งหมาย ** แสดงวา่ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดบั ความเช่อื มั่นร้อยละ 95

จากสมการที่ (2) ข้างต้น เมื่อทำการประมาณค่าสมการถดถอยแล้ว ทำให้สามารถลดปัญหา
Heteroskedasticity ลงได้ โดยปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู มีค่า Coefficient
of Multiple Determination ( 2) เท่ากับ 0.95 แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงกำไรสุทธขิ องสหกรณ์
ออมทรัพย์ครู สามารถอธิบายได้ดว้ ยปจั จัย ขนาดของสหกรณ์ ( 1) ทุน ( 2) ทนุ เรือนหุ้น ( 3) ลูกหนี้
เงินกู้ ( 4) ทุนสำรอง ( 5) สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือ ( 1) สหกรณ์ออมทรัพย์ครู
ที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( 2) สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ ( 3) สหกรณ์
ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออก ( 4) และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคตะวนั ตก ( 5) ท่ี
ร้อยละ 95 ซึ่งส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 5 เป็นผลมาจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในสมการ และเมื่อทดสอบ
นัยสำคัญทางสถิติของสมการ โดยพิจารณาจากค่า F-value ปรากฏว่า ปัจจัยที่อยู่ในสมการ จำนวน
5 ปัจจัย ไดแ้ ก่ ขนาดของสหกรณ์ ( 1) ลูกหนี้เงินกู้ ( 4) ทุนสำรอง ( 5) สหกรณอ์ อมทรัพย์ครูท่ีต้ังอยู่
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( 2) และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตก ( 5) สามารถ
อธิบายการเปล่ียนแปลงได้อยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถิติท่รี ะดบั ความเชื่อมนั่ ร้อยละ 95 ยกเว้นปัจจัยทางด้าน
ทุน ( 2) ทุนเรือนหุ้น ( 3) สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือ ( 1) สหกรณ์ออมทรัพย์ครู
ท่ตี ง้ั อยใู่ นภาคใต้ ( 3) และสหกรณอ์ อมทรพั ยค์ รทู ีต่ ง้ั อยู่ในภาคตะวันออก ( 4)


Click to View FlipBook Version