The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระราชบัญญัติคุ้มครองเเรงงาน พ.ศ.2541

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2021-09-22 13:07:49

พระราชบัญญัติคุ้มครองเเรงงาน พ.ศ.2541

พระราชบัญญัติคุ้มครองเเรงงาน พ.ศ.2541

พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ คุ้ ม
ครองเเรงงาน
พ.ศ.2541

นายพชรพล บุญยืน กลุ่
ม 9 เลขที่ 10
นายชัชชัย จินาแพร่ กลุ่ม 10 เลขที่ 3
นายชัชนันท์ เกษมสุข กลุ่ม 10 เลขที่ 4
นายธนชาติ ปันยวง กลุ่ม 10 เลขที่ 7
นายนฤกริช คำอาจ กลุ่ม 10 เลขที่ 14
นายเอกราช นามสอน กลุ่ม 10 เลขที่ 20

ความหมาย ความสำคัญของพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือ “กฎหมายคุ้มครอง
แรงงาน” เป็นกฎหมายที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในเรื่อง
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อาทิเช่น การ
กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันเวลาทำงานปกติ วันหยุด วันลา ค่าชดเชย ฯลฯ ที่
นายจ้างจะต้องถือปฏิบัติต่อลูกจ้าง โดยมีเจตนารมณ์ที่สำคัญ คือ ต้องการ
คุ้มครองลูกจ้างให้มีมาตรฐานในการจ้างงานที่เหมาะสม เหตุผลเนื่องจากอานาจ
ต่อรองระหว่างนายจ้างและลูกจ้างนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ
ในการจ้างงาน โดยรัฐที่ถือว่าเป็นคนกลางระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย ขึ้นมาก็จะเป็นผลดี
กับลูกจ้างที่จะได้รับการคุ้มครองแรงงานที่เป็นธรรม นอกจากนี้ กฎหมายคุ้มครอง
แรงงานยังมีลักษณะเป็นกฎหมายสังคมและมีลักษณะที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับ
ความสงบเรียบร้อย ซึ่งประเด็นสำคัญก็คือนายจ้างและลูกจ้างไม่สามารถที่จะ
ตกลงยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายฯ ได้ถ้าไม่ได้มีการกำหนดให้นายจ้างและ
ลูกจ้างสามารถที่จะตกลงยกเว้นได้และในกรณีที่มีการตกลงยกเว้นการบังคับใช้กฎ
หมายฯ ก็จะถือว่าข้อตกลงดังกล่าวนั้นเป็นโมฆะ

บ ท ทั่ ว ไ ป ต า ม พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ คุ้ ม ค ร อ ง แ ร ง ง า น
พ.ศ.2541

1.การกำหนดให้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง
แรงงานมาตรา 7 การเรียกร้องหรือกำรได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตาม พระราช
บัญญัตินี้ไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้ตำมกฎหมายอื่น

2. การให้ความช่วยเหลือลูกจ้างในการดำเนินคดีแรงงานมาตรา 8 ให้
รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทาง
นิติศาสตร์เพื่อมีอำนาจฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีแรงงานให้แก่ลูกจ้างหรือทายารท
โดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายและเมื่อกระทรวงแรงงานและสวัสดิการ
สังคมแจ้งให้ศาลทราบแล้ว ก็ให้มีอำนาจกระทำการได้จนคดีถึงที่สุด

3.การคุ้มครองเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ลูกจ้างได้รับจากนาย
จ้างดอก เบี้ยและเงินเพิ่มมาตรา 9 ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงิน
ตามมาตรา 10 วรรคสองหรือไม่จ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุดและ
ค่าล่วงเวลาในวันหยุดภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 หรือค่าชดเชยตาม
มาตรา 118 ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษตาม
มาตรา 120 มาตรา 121 และมาตรา 122 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างใน
ระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปีในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงิน
ตามวรรคหนึ่งโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับ แต่
วันที่ถึงกำหนดคืนหรือจ่ายให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของ
เงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวันในกรณีที่นายจ้างพร้อมที่จะคืนหรือจ่ายเงินตาม
วรรคหนึ่งและวรรคสองและได้นำเงินไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างนายจ้างไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มตั้งแต่วันที่นายจ้าง
นำเงินนั้นไปมอบไว้

บ ท ทั่ ว ไ ป ต า ม พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ คุ้ ม ค ร อ ง แ ร ง ง า น
พ.ศ.2541

4.การกำหนดบุริมสิทธิของเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 11
"หนี้ที่เกิดจากเงินที่หายด้วงมืองายตามพระราชบัญญัตินี้หรือเงินที่ต้องชดใช้
กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามมาตรา 135 ให้ลูกรังหรือกรมสวัสดิการและคุ้มครอง
แรงงานแล้วแต่กรณีมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของนายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้
ในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิในค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

5.การห้ามเรียกหรือรับหลักประกันฯ ในการทำงานมาตรา 105 ภายใต้
บังคับมาตรา 51 วรรคสองห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน
หรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานไม่ว่าจะเป็นเงินทรัพย์สินอื่นหรือการ
ค้ำประกันด้วยบุคคลจากลูกจ้างเว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้าง
ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้างซึ่งอาจก่อให้เกิดความ
เสียหายแก่นายจ้างได้ทั้งนี้ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับหลัก
ประกันจากลูกจ้างตลอดจนประเภทของหลักประกันจำนวนมลค่าของหลักประกัน
และวิธีการเก็บรักษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศ
กำหนดในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับประกันหรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อ
ชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำเมื่อนายจ้างเลิกจ้างหรืออกข้างลาออก
หรือสัญญาประกันสิ้นอายุให้นายจ้างคืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ยถ้ามีให้แก่
ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับ แต่วันที่นายจ้งเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออกหรือวันที่
สัญญาประกันสิ้นสุดแล้วแต่กรณี

บ ท ทั่ ว ไ ป ต า ม พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ คุ้ ม ค ร อ ง แ ร ง ง า น
พ.ศ.2541

6.ความรับผิดของนายจ้างในกรณีของการจ้างทำของมาตรา 114 ในกรณี
ที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงานอัน
มิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางานโดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดใน
กระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการและโดย
บุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่
คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตามอว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มา
ทำงานดังกล่าวให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงาน
ในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาโดยตรงได้รับสิทธิประโยชน์และ
สวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

7.ความรับผิดของผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงมาตรา 5“ ผู้รับเหมา
ชั้นต้น” หมายความผู้ซึ่งตกลงรับจะดำเนินงานทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนของงาน
ใดจนสำเร็จประโยชน์ของผู้ว่าจ้างมาตรา 5“ ผู้รับเหมาช่วง” หมายความว่าผู้ซึ่ง
ทำสัญญากับผู้รับเหมาชั้นต้นโดยรับจะดำเนินงานทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนของ
งานใดในความรับผิดชอบของผู้รับเหมาชั้นต้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้างและ
หมายความรวมถึงผู้ซึ่งทำสัญญากับผู้รับเหมาช่วงเพื่อรับช่วงงานในความรับผิด
ชอบของผู้รับเหมาช่วงทั้งนี้ไม่ว่าจะรับเหมาช่วงกันที่ช่วงก็ตาม I มาตรา 12 ใน
กรณีที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วงให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปหากมีตลอดสายจนถึง
ผู้รับเหมาชั้นต้นร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างค่าล่วงเวลา
ค่าทำงานในวันหยุดค่าล่วงเวลาในวันหยุดค่าชดเชยค่าชดเชยพิเศษเงินสะสมเงิน
สมทบหรือเงินเพิ่มให้ผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงตามวรรคหนึ่งมีสิทธิไล่
เบี้ยเงินที่ได้จ่ายไปแล้วตามวรรคหนึ่งคืนจากผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้าง

บ ท ทั่ ว ไ ป ต า ม พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ คุ้ ม ค ร อ ง แ ร ง ง า น
พ.ศ.2541

8.การคุ้มครองสิทธิของลูกจ้างกรณีมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างมาตรา 13
ในกรณีที่การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างหรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลและมี
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงโอนหรือควบกับนิติบุคคลใดหากมีผลทำให้ลูกจ้างคน
หนึ่งคนใดไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ลูกจ้างของนายจ้างใหม่ดังกล่าวต้องได้
รับความยินยอมจากลูกจ้างคนนั้นด้วยและให้สิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ผ่อนายจ้าง
เดิมคงมีสิทธิต่อไปโดยนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อื่นเกี่ยวกับลูกจ้าง
นั้นทุกประการ

9.การให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กำหนดมาตรา 14 ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างให้ถูกต้องตามสิทธิและหน้าที่ที่
กำหนดไว้ในประมวลกฎกมายแพ่งและพาณิชย์เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้
เป็นอย่างอื่น

10.อำนาจศาลในสัญญาจ้างฯ ข้อบังคับระเบียบคำสั่งที่ไม่เป็นธรรมมาตรา
14 พันธสัญญาจ้างระหว่างนายจ้างฯ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระเบียบหรือ
คำสั่งของนายจ้างที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควรให้ศาลมีอำนาจสั่ง
ให้สัญญาจ้างข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระเบียบหรือคำสั่งนั้นมีผลใช้บังคับ
เพียงเท่าที่เป็นธรรมและหอสมควรแก่กรณี

11.การปฏิบัติโดยเท่าเทียมกันในการจ้างงานมาตรา 15 ให้นายจ้างปฏิบัติ
ต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยเท่าเทียมกันในการจ้างงานเว้นแต่ลักษณะหรือสภาพ
ของงานไม่อาจปฏิบัติเช่นนั้นได้

12.การล่วงเกินทางเพศมาตรา 16 ห้ามมิให้นายจ้างหัวหน้างานผู้ควบคุม
งานหรือผู้ตรวจสอบงานกระทำการล่วงเกินคุกคามหรือก่อความเดือนร้อนให้
รำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง

บ ท ทั่ ว ไ ป ต า ม พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ คุ้ ม ค ร อ ง แ ร ง ง า น
พ.ศ.2541

13.การเลิกสัญญาจ้างแรงงานมาตรา 17 สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบ
กำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีที่สัญญาจ้าง
ไม่มีกำหนดระยะเวลานายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าว
ล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่า
จ้างคราวหนึ่งคราวใดเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราว
ถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นสามเดือนทั้งนี้ให้ถือว่า
สัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วยการบอกเลิก
สัญญาตามวรรคสองนายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึง
เวลาเล็กสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันที่ได้การ
บอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 19 แห่ง
พระราชบัญญัตินี้และมาตรา 58.3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชยมาตรา
17 ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบ
ตามมาตรา 17 วรรคสองให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่า
จ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับนับ แต่วันที่ได้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิก
สัญญาจ้างมีผลตามมาตรา 17 วรรคสองโดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน

14.วิธีการแจ้งการดำเนินการตามกฎหมายฯ ของนายจ้างต่อทางราชการ
มาตรา 18 ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้นายจ้างต้องแจ้งการดำเนินการ
อย่างหนึ่งอย่างใดหรือส่งเอกสารต่ออธิบตีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายหรือต่อ
พนักงานตรวจแรงงานนายจ้างจะแจ้งหรือส่งด้วยตนเองทางไปรษณีย์โทรศัพท์
โทรสารสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ๆ ก็ได้ทั้งนี้ตาม
เกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

บ ท ทั่ ว ไ ป ต า ม พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ คุ้ ม ค ร อ ง แ ร ง ง า น
พ.ศ.2541

15.การนับระยะเวลาทำงานของลูกจ้างมาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการ
คำนวณระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ให้นับวันหยุดวัน
ลาวันที่นายจ้างอนุญาตให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างและวันที่นายจ้างสั่ง
ให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้างรวมเป็นระยะเวลาการทำงานของ
ลูกจ้างด้วยมาตรา 20 การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกันโดยนายจ้างมีเจตนาที่จะ
ไม่ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิใดตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ว่านายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานใน
หน้าที่ใดและการจ้างแต่ละช่วงมีระยะเวลาห่างกันเท่าใดก็ตามให้นับระยะเวลา
การทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น

16.หน้าที่ของนายจ้างในการออกค่าใช้จ่ายมาตรา 21 ในกรณีที่พระราช
บัญญัตินี้กำหนดให้นายจ้างต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อการนั้น

17.การคุ้มครองแรงงานบางประเภทแตกต่างจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
มาตรา 22 งานเกษตรกรรมงานประมงทะเลงานบรรยายหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดิน
ทะเลงานที่รับไปทำที่บ้านงานขนส่งและงานอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
จะกำหนดในกฎกระทรวงให้มีการคุ้มครองแรงงานกรณีต่าง ๆ แตกต่างไปจาก
พระราชบัญญัตินี้ก็ได้

ก า ร ใ ช้ แ ร ง ง า น ทั่ ว ไ ป ต า ม พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ คุ้ ม ค ร อ ง
แรงงาน พ.ศ.2541

มาตรา 23 ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยกําหนด
เวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลา
ทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกิน
แปดชั่วโมง

ในกรณีที่เวลาทำงานวันใดน้อยกว่าแปดชั่วโมง นายจ้างและลูกจ้างจะตกลง
กันให้นําเวลาทำงานส่วนที่เหลือนั้นไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่น
ก็ได้แต่ต้องไม่เกินวันละเก้าชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่ง
ต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความ
ปลอดภัยของลูกจ้างตามที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่ง
ไม่เกินเจ็ดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบ
สองชั่วโมง

ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันให้นําเวลาทำงานส่วนที่เหลือไปรวมกับ
เวลาทำงาน ในวันทำงานปกติอื่นตามวรรคหนึ่งเกินกว่าวันละแปดชั่วโมงให้
นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวัน
ทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายชั่วโมงหรือ
ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงาน
ที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานในกรณีที่
นายจ้างไม่อาจประกาศกําหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละ
วันได้เนื่องจากลักษณะหรือสภาพของงาน ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนด
ชั่วโมงทำงานแต่ละวันไม่เกินแปดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว
สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง

ก า ร ใ ช้ แ ร ง ง า น ทั่ ว ไ ป ต า ม พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ คุ้ ม ค ร อ ง
แรงงาน พ.ศ.2541

มาตรา 24 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่
ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป
ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน
หรือเป็นงานฉุกเฉิน หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างอาจให้
ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จําเป็น

มาตรา 25 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด เว้นแต่ในกรณีที่
ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็น
งานฉุกเฉิน นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้เท่าที่จําเป็นนายจ้างอาจให้
ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้สำหรับกิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้าน
ขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล หรือกิจการอื่นตาม
ที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อประโยชน์แก่การผลิต การจําหน่าย และการบริการ
นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงาน นอกจากที่กำหนดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองใน
วันหยุดเท่าที่จําเป็น โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป

มาตรา 26 ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาตามมาตรา 24 วรรคหนึ่งและชั่วโมง
ทำงานในวันหยุดตามมาตรา 25 วรรคสองและวรรคสาม เมื่อรวมแล้วจะต้องไม่
เกินอัตราตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 27 ในวันที่มีการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่าง
การทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน
ห้าชั่วโมงติดต่อกัน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักครั้ง
หนึ่งน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงได้แต่เมื่อรวมกันแล้ววันหนึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง

ก า ร ใ ช้ แ ร ง ง า น ทั่ ว ไ ป ต า ม พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ คุ้ ม ค ร อ ง
แรงงาน พ.ศ.2541

ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกําหนดเวลาพักระหว่างการทำงานตาม
วรรคหนึ่งเป็นอย่างอื่น ถ้าข้อตกลงนั้นเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง ให้ข้อตกลงนั้นใช้
บังคับได้เวลาพักระหว่างการทำงานไม่ให้นับรวมเป็นเวลาทำงาน เว้นแต่เวลาพัก
ที่รวมกันแล้วในวันหนึ่งเกินสองชั่วโมง ให้นับเวลาที่เกินสองชั่วโมงนั้นเป็นเวลา
ทำงานปกติ

ในกรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง
นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่ายี่สิบนาทีก่อนที่ลูกจ้างเริ่มทำงาน
ล่วงเวลาความในวรรคหนึ่งและวรรคสี่ มิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ลูกจ้างทำงานที่มี
ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
หรือเป็นงานฉุกเฉิน

มาตรา 28 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์สัปดาห์หนึ่ง ไม่
น้อยกว่าหนึ่งวัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกินหกวัน
นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้ากําหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใด
ก็ได้

ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร หรือ
งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้า
สะสมวันหยุดประจำสัปดาห์และเลื่อนไปหยุดเมื่อใดก็ได้แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาสี่
สัปดาห์ติดต่อกัน

มาตรา 29 ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบ
เป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่
รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้นายจ้างพิจารณากำหนดวันหยุดตามประเพณีจากวัน
หยุดราชการประจำปีวันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น

ก า ร ใ ช้ แ ร ง ง า น ทั่ ว ไ ป ต า ม พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ คุ้ ม ค ร อ ง
แรงงาน พ.ศ.2541

ในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำาสัปดาห์ของลูกจ้าง
ให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไป

ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้เนื่องจากลูกจ้างทำงานที่
มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นายจ้างตกลงกับ
ลูกจ้างว่า จะหยุดในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณีหรือนายจ้างจะจ่ายค่า
ทำงานในวันหยุดให้ก็ได้

มาตรา 30 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อน
ประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงานโดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดัง
กล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกําหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันในปี
ต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวัน
ทำงานก็ได้นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพัก
ผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้สำหรับลูกจ้างซึ่ง
ทำงานยังไม่ครบหนึ่งปีนายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง
โดยคํานวณให้ตามส่วนก็ได้

มาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด
ในงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามมาตรา 23
วรรคหนึ่ง

มาตรา 32 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวัน
ทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้น
หนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ

ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของ
สถานพยาบาลของทางราชการได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ

ก า ร ใ ช้ แ ร ง ง า น ทั่ ว ไ ป ต า ม พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ คุ้ ม ค ร อ ง
แรงงาน พ.ศ.2541

ในกรณีที่นายจ้างจัดแพทย์ไว้ให้แพทย์นั้นเป็นผู้ออกใบรับรอง เว้นแต่ลูกจ้าง
ไม่สามารถให้แพทย์นั้นตรวจได้วันที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากประสบ
อันตรายหรือเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน และวันลาเพื่อคลอดบุตรตาม
มาตรา 41 มิให้ถือเป็นวันลาป่วยตามมาตรานี้

มาตรา 33 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิลาเนื่องจาก การ
ทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนดและออกใบรับรอง

มาตรา 34 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับ
การทำงาน

มาตรา 35 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจ
สอบเพื่อฝึกวิชาทหารหรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับ
ราชการทหาร

มาตรา 36 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความ
สามารถตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 37 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก
หรือเข็นของหนักเกินอัตราน้ำหนักตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ก า ร ใ ช้ แ ร ง ง า น ห ญิ ง

1. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้
– งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้าง ที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือ
ปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงานไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของ
ลูกจ้างหญิงนั้น
– งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
– งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
– งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
2.ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิง ที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา22.00น. - 06.00น.
ทำงานล่วงเวลาทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
– งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์หรือปล่อง
ในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของ
ลูกจ้างหญิงนั้น
– งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
– งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
– งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม
– งานที่ทำในเรือ – งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
3.พนักงาน ตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างเปลี่ยนเวลาทำงานหรือชั่วโมงทำงาน
ของลูกจ้างหญิงที่ทำงานในระหว่างเวลา 24.00 น.- 06.00 น. ได้ตามที่เห็น
สมควรถ้าพนักงานตรวจแรงงานเห็นว่างานนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ
ความปลอดภัยของลูกจ้างหญิงนั้น
4.ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการ
ชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ กรณีที่มีใบรับรองแพทย์ แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง มา
แสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้
5.ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์

ก า ร ใ ช้ แ ร ง ง า น เ ด็ ก

1.ห้ามนายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง
2.กรณี ที่มีการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นลูกจ้าง นายจ้างต้องแจ้งต่อพนักงาน
ตรวจแรงงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่ เด็กเข้าทำงาน และแจ้งการสิ้นสุดการ
จ้างเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน
นายจ้างต้องจัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมงต่อวันภายใน 4 ชั่วโมงแรกของ การทำงาน
และให้มีเวลาพักย่อยได้ตามที่นายจ้างกำหนด
3.ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 –
06.00 น. เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี
4.ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานล่วงเวลา
5.ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานต่อไปนี้
– งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ
– งานปั๊มโลหะ

– งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียงและแสง ที่มีระดับ
แตกต่างจากปกติอันอาจเป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
– งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
– งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้ออื่น
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

– งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานี บริการ
ที่เป็นเชื้อเพลิงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
– งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
– งานใช้เลื่อยเดินด้วยพลังไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์
– งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ, ในถ้ำ อุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา

ก า ร ใ ช้ แ ร ง ง า น เ ด็ ก

– งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
– งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่กำลังทำงาน
– งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
– งานอื่นตามที่กำหนดในกระทรวง
6. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในสถานที่ต่อไปนี้
– โรงฆ่าสัตว์
– สถานที่เล่นการพนัน
– สถานที่เต้นรำ รำวง หรือ รองเง็ง
– สถาน ที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่ม อย่างอื่นจำหน่ายและบริการ
โดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกจ้าง หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน หรือ
มีบริการนวดให้แก่ลูกค้า
– สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
7. ห้ามนายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กแก่บุคคลอื่น
8. ห้ามนายจ้างเรียก/หรือรับ เงินประกันจากฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก
9. ลูกจ้าง ซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม สัมมนา รับการ
อบรม รับการฝึก หรือลาเพื่อการอื่นซึ่งจัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐ
หรือเอกชน ที่อธิบดีเห็นชอบ และให้นายจ้าง จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างเด็กเท่ากับค่า
จ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน

การใช้แรงงานภาคเกษตรกรรม พ.ศ.2557

“งานเกษตรกรรม” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์
การป่าไม้ การทำนาเกลือสมุทร และการประมงที่มิใช่การประมงทะเลเหตุผลใน
การประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครอง
แรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2547 กำหนดให้นายจ้างอาจจ้างลูกจ้างอายุ
ตั้งแต่ 13 ปีบริบูรณ์ ทำงานในช่วงระยะเวลาโรงเรียนปิดภาคเรียนหรือนอกเวลา
เรียนได้ ในงานที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือเป็นงานที่ไม่ขัดต่อการ
พัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กโดยได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา หรือผู้
ปกครองของเด็ก ซึ่งไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่มุ่งเน้นการให้ความ
คุ้มครองแรงงานที่เป็นเด็กมากขึ้นตามอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่าง
ประเทศ ฉบับที่ 138 ว่าด้วยอายุขั้นต่ำที่อนุญาตให้จ้างงานได้ ค.ศ. 1973 และ
อนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 182 ว่าด้วย การห้ามและ
การปฏิบัติโดยฉับพลันเพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก ค.ศ.
1999 ซึ่งกำหนดอายุขั้นต่ำของแรงงานทั่วไปตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป ประกอบกับ
ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในกรณีดังกล่าวแล้ว
จึงสมควรปรับปรุงมาตรฐานการคุ้มครองลูกจ้างในงานเกษตรกรรมซึ่งเป็นเด็กให้
สอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศและกฎหมายว่าด้วย
การคุ้มครองแรงงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานซึ่งเป็น
นโยบายสำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล

การจ้าง : ให้นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกษตรกรรมตลอดปีปฏิบัติตามพ
ระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

การใช้แรงงานภาคเกษตรกรรม พ.ศ.2557

วันหยุดพักผ่อน : ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 180 วัน มีสิทธิหยุด
พักผ่อนได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าว
ให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันให้นายจ้าง
จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดพักผ่อนเสมือนว่าลูกจ้างมาทำงานตามปกติใน
วันหยุดพักผ่อนนั้น ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดพักผ่อน ให้นายจ้าง
จ่ายค่าทำงานในวันหยุดแก่ลูกจ้างเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 1 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อ
ชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่า 1 เท่าของอัตราค่า
จ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่า
จ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ในกรณีที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างหยุดพัก
ผ่อนหรือจัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนน้อยกว่าที่กำหนดไว้ ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงาน
ในวันหยุดงเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 1 เท่าของอัตราค่าจ้างในวันทำงานเสมือนว่า
นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด

การลาป่วย : ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ 3 วัน
ทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง
หรือของสถานพยาบาลของทางราชการ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรอง
แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ให้ลูกจ้าง
ชี้แจงนายจ้างทราบ โดยให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยเท่ากับอัตราค่าจ้างใน
วันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ต้องไม่เกิน 15 วันทำงาน

สวัสดิการ : ให้นายจ้างจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่มโดยมีปริมาณเพียงพอแก่
ลูกจ้าง กรณีลูกจ้างพักอาศัยอยู่กับนายจ้าง นายจ้างต้องจัดหาที่พักอาศัยที่สะอาด
ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยให้แก่ลูกจ้างให้นายจ้างจัดสวัสดิการอื่น ๆ ที่เป็น
ประโยชน์แก่ลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

ค่าตอบแทนการทำงาน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา
ค่าทำงานในวันหยุ ด ค่าล่วงเวลาในวันหยุ ด

ค่าตอบแทนในการทำงาน

ค่าจ้าง : จ่ายเป็นเงินเท่านั้น จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้น
ต่ำ ถ้ากำหนดเวลาทำงานปกติเกิน 9 ชม./วัน ให้จ่ายค่าตอบแทนแก่ลูกจ้าง ซึ่งไม่
ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนสำหรับการทำงานที่เกิน 9 ชม.ขึ้นไปไม่น้อยกว่า 1.5
เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงหรือต่อหน่วยในวันทำงาน และในอัตราไม่น้อยกว่า
3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงหรือต่อหน่วยในวันหยุด

ค่าจ้างในวันหยุด : จ่าย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตาม
ประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตาม
ผลงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์

ค่าจ้างในวันลา : จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยไม่เกิน 30 วันทำงาน/ปี
จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อทำหมัน
จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อรับราชการทหาร ไม่เกิน 60 วัน/ปี
จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร ไม่เกิน 45 วัน/ครรภ์

ค่าจ้าง

1. เป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตาม
สัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์
หรือระยะเวลาอื่นหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงาน
ปกติของวันทำงาน และรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด และวัน
ลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่มีสิทธิ์ได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

2. ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
3. ถ้า ไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่ใดให้ถือว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
พื้นฐานเป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของท้องที่นั้น

ค่าตอบแทนการทำงาน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา
ค่าทำงานในวันหยุ ด ค่าล่วงเวลาในวันหยุ ด

ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด
1. ถ้าทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่
น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่
ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวน
ผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน
2. ถ้าทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานนายจ้างต้องจ่าย ค่า
ล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวัน
ทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างที่ได้
รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

3. ถ้าทำงานในวันหยุดในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวัน
หยุด ให้แก่ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ใน
วันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับ
ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิ
ได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงานตาม
ชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่า
จ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

ส วั ส ดิ ก า ร ข อ ง ลู ก จ้ า ง

คือ การดำเนินการใดๆ ไม่ว่าโดยนายจ้าง สหภาพแรงงาน (ลูกจ้าง) หรือ
รัฐบาล ที่มีความมุ่งหมายเพื่อให้ลูกจ้างสามารถมีระดับความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร
มีความผาสุกทั้งกายและใจ มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในการทำงาน

มีความเจริญก้าวหน้า มีความมั่นคงในการดำเนินชีวิตไม่เฉพาะแต่ตัวลูกจ้าง
เท่านั้น แต่รวมถึงครอบครัวของลูกจ้างด้วย
สวัสดิการแรงงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สวัสดิการแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด
อาทิ น้ำสะอาดสำหรับดื่ม ห้องน้ำและห้องส้วมถูกต้องตามสุขลักษณะและมี
ปริมาณเพียงพอ มีสิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาล เป็นต้น
2. สวัสดิการแรงงานนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด
อาทิ ชุดทำงาน หอพัก รถรับ-ส่ง เงินโบนัส ค่าครองชีพ เบี้ยขยัน สหกรณ์ออม
ทรัพย์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น

ก า ร พั ก ง า น

มาตรา 116 ในกรณีที่นายจ้างทำการสอบสวนลูกจ้างซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำ
ความผิด ห้ามมิให้นายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างในระหว่างการสอบสวนดังกล่าว เว้น
แต่จะมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้อำนาจ
นายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างได้ ทั้งนี้ นายจ้างจะต้องมีคำสั่งพักงานเป็นหนังสือระบุ
ความผิดและกำหนดระยะเวลาพักงานได้ไม่เกินเจ็ดวัน โดยต้องแจ้งให้ลูกจ้าง
ทราบก่อนการพักงาน

ในระหว่างการพักงานตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างตามอัตรา
ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือตามที่นายจ้างและลูกจ้างได้ตกลง
กันไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทั้งนี้ อัตราดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าร้อย
ละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนถูกสั่งพักงาน

มาตรา 117 เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ปรากฏว่าลูกจ้างไม่มีความผิด ให้
นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานนับแต่วันที่ลูกจ้างถูกสั่ง
พักงานเป็นต้นไป โดยให้คำนวณเงินที่นายจ้างจ่ายตามมาตรา 118 เป็นส่วนหนึ่ง
ของค่าจ้างตามมาตรานี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปี

ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ

1. ค่าชดเชย หมายถึง
1.1 เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง
1.2 การเลิกจ้าง มีสาเหตุมาจากนายจ้าง อันมิใช่สาเหตุมาจากลูกจ้าง

ดังนั้น ลูกจ้างจึงมีสิทธิ ได้รับค่าชดเชย
1.3 สาเหตุจากนายจ้าง เช่น งานหรือสัญญาของนายจ้างสิ้นสุดลงปิดโครงการ

เพื่อไปเริ่ม กิจการใหม่ เหตุอื่นที่นายจ้างต้องการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ใช่ความผิด
ของลูกจ้าง หรือกรณีนายจ้าง ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ต้องปิดกิจการ ปิด
โรงงาน
2. การเลิกจ้างตามข้อที่ 1 มิให้ใช้บังคับหรือไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ในกรณีที่
นายจ้างและลูกจ้าง ตกลงทำงานที่มีระยะเวลานานไม่เกิน 2 ปี ได้กําหนดเวลา
เริ่มงานสิ้นสุดของงานไว้แล้ว และเลิกจ้าง ตามกำหนดระยะเวลานั้นโดยทั้ง
นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกันไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้างแล้วงาน
ดังกล่าว ได้แก่

2.1 เป็นโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง
เช่น ธุรกิจการค้า ของนายจ้างคือรับซ่อมเครื่องรถยนต์แต่ได้มอบงานให้ลูกจ้าง
มีหน้าที่ขับรถส่งลูกหลานไปโรงเรียนมีระยะเวลา 1 ปี ครบ 1 ปีก็เลิกกัน

2.2 งานอันมีลักษณะดูผลของความสำเร็จของงานเป็นหลัก เช่น ก่อสร้าง
และต่อเติมอาคาร เมื่องานเสร็จก็เลิกกัน

2.3 งานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น เช่น จ้าง
มาเก็บผลทุเรียน ในสวนช่วงฤดูกาลออกผล เมื่อหมดฤดูกาลก็เลิกกัน

2.4 การเลิกจ้างมีสาเหตุมาจากตัวลูกจ้างเอง เช่น ลูกจ้างขอลาออกจาก
งาน นายจ้างไม่ต้อง จ่ายค่าชดเชย

ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ

การจ่ายค่าชดเชย

กฎหมายกําหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังนี้
1. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายค่าชดเชย

ไม่น้อยกว่าค่าจ้าง อัตราสุดท้าย 30 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างการทำงาน 30 วัน
สุดท้าย สำหรับลูกจ้างได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย (คําว่าตาม
ผลงาน หมายถึงไม่ได้จ้างเป็นรายวันหรือเดือน แต่ให้ค่าจ้างที่ผลงาน) ส่วน
ลูกจ้างทำงานยังไม่ครบ 120 วัน จึงไม่มีสิทธิพิจารณาค่าชดเชย

2. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายค่าชดเชยไม่
น้อยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดท้าย 90 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างการทำงาน 90 วัน
สุดท้าย สำหรับลูกจ้างได้รับค่าจ้างตามผลงาน

3. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายค่าชดเชยไม่
น้อยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดท้าย 180 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างการทำงาน 180 วัน
สุดท้าย สำหรับลูกจ้างได้รับค่าจ้างตาม ผลงาน

4. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ให้จ่ายค่าชดเชยไม่
น้อยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดท้าย 240 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างการทำงาน 240 วัน
สุดท้าย สำหรับลูกจ้างได้รับค่าจ้างตามผลงาน

5. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ให้จ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่า
ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วัน
สุดท้าย สำหรับลูกจ้างได้รับค่าจ้างตามผลงาน
โดยสรุปเงินชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างอัตราต่ำสุดคือเท่ากับอัตราค่าจ้างไม่น้อย
กว่า 30 วัน หรือ ประมาณ 1 เดือน และสูงสุดเท่ากับอัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่า
300 วัน หรือประมาณ 10 เดือน ดังนี้

ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ

กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

การจ้างลูกจ้างมาทำงานในกิจการธุรกิจการค้าของนายจ้างแม้จะมีการเลิกจ้าง
นายจ้างมา จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหากการเลิกจ้างนั้นมีสาเหตุมาจากตัว
ลูกจ้างในกรณีดังต่อไปนี้

1. ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่หรือการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง
เช่น ของนายจ้าง ยักยอกเบียดบังทรัพย์สินของนายจ้างหรือทำร้ายร่างกาย
นายจ้าง เป็นต้น

2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ปล่อยปละละเลยไม่รักษาทรัพย์สิน
ของ จงใจให้ยานพาหนะของโรงงานชํารุดเสียหายจงใจนัดหยุดงานทำให้งานของ
นายจ้างเสียหาย ? นายจ้างมีสิทธิไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

3. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างราบ เป็นเหตุ
ให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ข้อนี้ความเสียหายต้อง

ไม่ตรวจปรนนิบัติบำรุงรักษา มีความร้ายแรงด้วย เช่น เป็นช่างรับผิดชอบ
ต้นกําลังไฟฟ้าของโรงงานนายจ้างไม่ตรวจบวน เป็นเหตุให้น้ำมันเครื่องใน
เครื่องยนต์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแห้ง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเสียหายบการเต ต้อง
หยุดปฏิบัติงานของโรงงาน ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างได้รับ
ความเห8ออาง ร้ายแรง เมื่อบอกเลิกจ้าง นายจ้างมีสิทธิไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

4. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้าง
อันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้น
แต่กรณีร้ายแรง เช่น ข้อ 3 นายจ้างไม่จําเป็น ต้องตักเตือน สำหรับหนังสือเตือน
ของนายจ้างให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำความผิด เมื่อ
บอกเลิกจ้างนายจ้างมีสิทธิไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ

ความผิดเกี่ยวกับข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติในการทำงานของนายจ้างที่วาง
ไว้ในข้อนี้ เช่น การมาทำงานสาย การขาดงานบ่อยครั้ง เล่นการพนันในที่ทำงาน
ก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่คณะ หรือการลักทรัพย์ในที่ทำงานเหล่านี้นายจ้าง
อาจตักเตือนด้วยวาจาก่อน หากไม่เชื่อฟังก็อาจให้ทำทัณฑ์บน มีหลักฐานเป็น
หนังสือซึ่งมีผลบังคับ 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิด แต่ลูกจ้างก็ยังปฏิบัติเช่นเดิม
ไม่เชื่อฟัง นายจ้าง กรณีเช่นนี้นายจ้างสามารถบอกเลิกจ้างได้เพราะได้ให้โอกาส
และเตือนแล้ว

5. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันขึ้นไป ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่น
หรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร
ความผิดข้อนี้เป็นความผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานของนายจ้างเห็นได้
ว่าลูกจ้างไม่มีความรับผิดชอบต่องานงานในหน้าที่ไม่เห็นความเสียหายอันจะเกิด
ขึ้นแก่ส่วนร่วมถือได้ว่าเป็นความผิดร้ายแรงและละทิ้งหน้าที่เกิน3วัน โดยไม่มีเหตุ
อันสมควรนายจ้างสามารถบอกเลิกจ้างได้และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (คําว่ามีเหตุ
อันควรเป็นดุลยพินิจของนายจ้างควรพิจารณาให้รอบคอบ)

6. ได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับ
ความผิดที่ได้กระทำ โดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ความผิดใน 2 กรณีหลังนี้
นายจ้างจะบอกเลิกจ้างได้ต้องเป็นกรณ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ

โทษของอาญาที่ลูกจ้างจะได้รับถึงจําคุกจะเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น
ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์หรือความผิดเกี่ยวกับร่างกายและชีวิต เช่นทำร้าย
ร่างกายผู้อื่นฆ่าผู้อื่นอันถือว่าเป็นความผิดอาญา ต่อแผ่นดิน เมื่อถูกศาลพิพากษา
ลงโทษถึงที่สุดให้จําคุกแล้ว นายจ้างเลิกจ้างได้ เว้นโทษที่กระทำ โดยประมาท
เพราะเป็นความผิดเกิดขึ้นโดยผู้กระทำมิได้มีเจตนา เพียงแต่กระทำโดยปราศจาก
ความ ระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นและผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง
เช่นนั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ และความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระ
วางโทษจําคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถือว่าเป็นโทษเล็กน้อย 2 กรณีหลังนี้ แม้ลูกจ้างได้รับโทษถึงที่สุดให้จําคุกแล้ว
นายจ้างก็ยังไม่สมควรบอกเลิกจ้าง เว้นแต่เหตุที่เกิดนั้นเป็นสาเหตุให้นายจ้างได้
รับความเสียหาย จึงสมควรบอกเลิกจ้างได้
ค่าชดเชยพิเศษ

ค่าชดเชยพิเศษ หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อสัญญา
จ้างสิ้นสุดลง มีเหตุกรณีพิเศษที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้

ค่าชดเชยพิเศษ เป็นเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับจากนายจ้างเมื่อลูกจ้างลา
ออกจากงา นายจ้าง หรือ ลูกจ้างบอกเลิกสัญญากับนายจ้าง ทั้งสองกรณี เป็น
สิทธิของลูกจ้าง เพราะมีสาเหตุเกิดจากนายจ้างที่นายจ้างประสงค์ 2 ประการคือ
นายจ้างจะย้ายสถานที่ประกอบกิจการไปตั้ง ณ ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง
นายจ้างจะปรับปรุงกระบวนการผลิต การจําหน่าย การประ" ใช้เครื่องจักรแทน
แรงงานคน นายจ้างจึงมีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้กับลูกอยู่กับตน

ก อ ง ทุ น ส ง เ ค ร า ะ ห์ ลู ก จ้ า ง

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้มีกองทุนสงเคราะห์
ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีออกจาก
งานหรือตายหรือในกรณีอื่นที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

การบริหารกองทุน

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างบริหารงานโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ซึ่งเป็นไตรภาคี จำนวน 15 คน ประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง
และฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายละ 5 คน โดยมี ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานกรรมการ
ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการ อธิบดีกรมสวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการกองทุนฯ มี
อำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายในการบริหารและการจ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์
ลูกจ้าง รวมทั้งกำหนดระเบียบต่าง ๆ ในการดำเนินงาน โดยมีกลุ่มงานกองทุน
สงเคราะห์ลูกจ้างทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการดำเนินงานต่าง ๆ เกี่ยว
กับการบริหารงานกองทุน

การดำเนินงานของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในงบประมาณปี 2543 และ 2545 รวม 250
ล้านบาทเงินค่าปรับจากการลงโทษผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงานพ.ศ. 2541 เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ เงินดอกผลของกองทุน

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างมีหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสงเคราะห์ตามระเบียบที่
กำหนด โดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างซึ่งเป็นไตรภาคี และเมื่อจ่าย
เงินให้แก่ลูกจ้างแล้วกองทุนมีสิทธิ์เรียกให้นายจ้างชดใช้เงินที่กองทุนได้จ่ายไป
พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยมีการจ่ายเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือไป
แล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 ถึงพฤษภาคม 2550 จำนวน 23,937 คน เป็นเงิน
131,570,265.15 บาท

ก อ ง ทุ น ส ง เ ค ร า ะ ห์ ลู ก จ้ า ง

เงินสงเคราะห์จ่ายให้ใคร

เงินสงเคราะห์ของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจะจ่ายให้กับลูกจ้างซึ่งได้รับความ
เดือดร้อน เนื่องจากนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย หรือนายจ้างไม่สามารถจ่ายค่าจ้าง
หรือเงินอื่นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่ไม่รวมถึงทายาท
โดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายที่ได้ยื่นคำร้องทุกข์ไว้

เมื่อใดลูกจ้างมีสิทธิยื่นขอรับเงินสงเคราะห์

•เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างและนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย ลูกจ้างยื่นคำขอรับเงิน
สงเคราะห์ได้ เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยและ
นายจ้าง มิได้จ่ายเงินตามคำสั่งภายในกำหนด ซึ่งนายจ้างมิได้นำคดีไปสู่ศาล (พ้น
ระยะ 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง)

•เมื่อนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างหรือเงินอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ลูกจ้างยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์ได้เมื่อพนักงาน
ตรวจแรงงาน ได้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินและนายจ้างมิได้จ่ายเงินตามคำสั่ง
ภายในกำหนด

•การยื่นขอรับเงินกองทุนฯ ต้องยื่นคำขอภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่พนักงาน
ตรวจแรงงานได้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน
หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสงเคราะห์

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจะจ่ายเงินสงเคราะห์ 2 กรณี
1.เงินสงเคราะห์ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้ตามกฎหมาย โดย

จะจ่ายเงินสงเคราะห์ให้บางส่วน หรือไม่เต็มสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด คือจ่าย
ให้ ลูกจ้างผู้ขอรับเงินสงเคราะห์ในอัตราดังต่อไปนี้

ก อ ง ทุ น ส ง เ ค ร า ะ ห์ ลู ก จ้ า ง

1.1 สามสิบเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันที่ลูกจ้างพึงได้รับตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกัน
ครบ หนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบหกปี

1.2 หกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันที่ลูกจ้างพึงได้รับตามพระ
ราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ
หกปีขึ้นไป

2.เงินสงเคราะห์ในกรณีอื่นนอกจากค่าชดเชย เช่น ค่าจ้างค้างจ่าย ฯลฯ
จะให้การสงเคราะห์เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์
ลูกจ้าง สำหรับอัตราเงินที่จะจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จะจ่ายในอัตราไม่เกินหกสิบเท่า
ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันของลูกจ้างที่พึงได้รับตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ. 2541

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นขอรับเงินสงเคราะห์

บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ซึ่งแสดงได้
ว่าระบุถึงตัวผู้นั้นพร้อมสำเนา

สถานที่ยื่นขอรับเงินสงเคราะห์

ยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์ตามแบบที่อธิบดีกำหนด (แบบ สกล.1) ต่อพนักงาน
ตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน

•ส่วนกลาง ยื่นได้ที่กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ ทุกพื้นที่
•ส่วนภูมิภาค ยืนได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุก
จังหวัด

ก อ ง ทุ น ส ง เ ค ร า ะ ห์ ลู ก จ้ า ง

การรับเงินสงเคราะห์

ลูกจ้างมารับเงินด้วยตนเองภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการ
พิจารณาคำขอรับเงินสงเคราะห์พร้อมนำบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงด้วย
หากไม่สามารถมารับเงินด้วยตนเองได้ สามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่น
มารับเงินแทนได้ ผู้รับมอบอำนาจต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบ
อำนาจ และตนไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับเงิน หากไม่มารับเงิน
ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หรือลูกจ้างถึงแก่ความตาย สิทธิในการ
ขอรับเงิน สงเคราะห์เป็นอันระงับสิ้นไป หากลูกจ้างผู้ถูกระงับสิทธิ์ไปแล้ว มีความ
ประสงค์จะรับเงินกองทุนฯ อีกต้องยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์ใหม่

พ นั ก ง า น ต ร ว จ

“พนักงานตรวจแรงงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ

ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

“สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า หน่วยงานแต่ละแห่งของนายจ้างที่มี

ลูกจ้างทำงาน อยู่ในหน่วยงานและหมายความรวมถึงสำนักงานของนายจ้างและ

สถานที่ทำงานของลูกจ้าง

“การตรวจสถานประกอบกิจการ” หมายความว่า การที่พนักงานตรวจแรงงาน

เข้าไปในสถานประกอบกิจการ เพื่อตรวจสภาพการทำงานของลูกจ้างและสภาพ

การจ้าง สอบถามข้อเท็จจริง ถ่ายภาพ ถ่ายสำเนาเอกสารที่เกี่ยวกับการจ้าง การ

จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และทะเบียน

ลูกจ้าง เก็บตัวอย่าง วัสดุหรือผลิตภัณฑ์เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับความปลอดภัยใน

การทำงาน และกระทำการอย่างอื่นเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในอันที่จะปฏิบัติการให้

เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ในกรณีที่มีคําร้องหรือความปรากฏแก่พนักงานตรวจแรงงาน ว่านายจ้าง

ฝ่าฝีนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ให้พนักงานตรวจแรงงานนั้นดำเนินการ

สอบสวนข้อเท็จจริงโดยด่วน หากพบว่านายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

ให้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและติดตามผลตาม

คำสั่งนั้นต่อไป

กรณีพนักงานตรวจแรงงานดำเนินการตรวจแรงงานตามข้างต้นแล้ว ปรากฏ

ข้อเท็จจริงว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.

2541 ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ดำเนินคดีทางพนักงานสอบสวนโดยเร็ว โดยไม่ต้องมี

คำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติ

1. ความผิดที่มีพฤติการณ์พิเศษ หรือเกิดผลกระทบกับลูกจ้างจำนวนมาก

พ นั ก ง า น ต ร ว จ

2. ความผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กโดยมีการทารุณ หน่วงเหนี่ยว กักขัง
การบังคับใช้แรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้า
มนุษย์หรือมีการกระทำความผิดอาญาฐานอื่นรวมอยู่ด้วย

3. ความผิดตามมาตรา 16 มาตรา 44 มาตรา 49 และ มาตรา 50 แห่ง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

4. ความผิดตามมาตรา 139 (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2541

5. ความผิดตามมาตรา 150 หรือมาตรา 151 วรรคหนึ่ง แห1งพระราช
บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เฉพาะความผิดที่กระทำต่อพนักงานตรวจ
แรงงาน

6. ความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 39/1 วรรคหนึ่ง
มาตรา 42 มาตรา 47 หรือมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2541ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่
ความตาย

การดำเนินคดี ให้เป็นไปตามระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่า
ด้วยการดำเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่า
ด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. 2554 และที่
แก้ไขเพิ่มเติม

พ นั ก ง า น ต ร ว จ

วัตถุประสงค์ของการตรวจแรงงาน
1. เพื่อคุ้มครองให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง

แรงงาน โดยให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ และด้วย
ความสมัครใจ

2. เพื่อส่งเสริมให้นายจ้างปรับปรุงสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน และ
สวัสดิการที่ดีขึ้น

3. เพื่อให้คำแนะนำและให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมาย แนวปฏิบัติ
และข่าวสารที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าใจวัตถุประสงค์และเห็นประโยชน์ที่ทั้งนายจ้าง
ลูกจ้าง จะได้รับจากการปฏิบัติตามกฎหมาย

4. ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการทำงาน สภาพการจ้าง ปัญหา
อุปสรรคต่างๆ ในการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานแรงงานต่างๆ เพื่อ
ประกอบการวิเคราะห์หาแนวทาง แก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง
แรงงาน และพัฒนาการคุ้มครองแรงงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

5. ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง ให้เกิดความร่วมมือร่วมใจใน
การ ทำงาน ลดความขัดแย้ง และมีความมั่นคงในการทำงานยิ่งขึ้น

บ ท กำ ห น ด โ ท ษ

1. กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษทางอาญา
2. นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ขั้นต่ำปรับไม่เกิน 5,000 บาท จำคุก
ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. การปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานคดีอาญา เป็นอันระงับ
4. การฝ่าฝืนกฎหมาย อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบปรับสำหรับความผิดที่เกิด
ขึ้นใน กรุงเทพฯ ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจเปรียบเทียบปรับสำหรับความ
ผิด ที่เกิดขึ้นภายในจังหวัด ชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับเท่าวันที่ได้รับแจ้ง
ผลคดี คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน ถ้าไม่ยอมเปรียบเทียบปรับหรือไม่ชำระค่า
ปรับภายในกำหนด พนักงานสอบสวน (ตำรวจ) จะดำเนินการตามขั้นตอน
ของกฎหมายต่อไป

นักศึ กษาคิดว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ.2541 มีความสำคัญต่อตนเองอย่างไร

นายพชรพล บุญยืน เลขที่10 กลุ่ม9

> จะได้ทราบว่าลูกจ้าง ซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อเข้า
ประชุม สัมมนา รับการอบรม รับการฝึก หรือลาเพื่อการอื่นซึ่งจัดโดยสถาน
ศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่อธิบดีเห็นชอบ และให้นายจ้าง
จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างเด็กเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปี
หนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน

นายชัชชัย จินาแพร่ เลขที่3 กลุ่ม10

> ได้ทราบสวัสดิการของเกษตรกรรมว่าต้องให้นายจ้างจัดให้มีน้ำสะอาด
สำหรับดื่มโดยมีปริมาณเพียงพอแก่ลูกจ้าง กรณีลูกจ้างพักอาศัยอยู่กับ
นายจ้าง นายจ้างต้องจัดหาที่พักอาศัยที่สะอาด ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย
ให้แก่ลูกจ้างให้นายจ้างจัดสวัสดิการอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างตามที่
อธิบดีประกาศกำหนด

นายชัชนันท์ เกษมสุข เลขที่4 กลุ่ม10

> พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้มีกองทุน
สงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อสงเคราะห์ลูกจ้าง
กรณีออกจากงาน หรือตาย หรือในกรณีอื่นที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุน
สงเคราะห์ลูกจ้าง

นักศึ กษาคิดว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ.2541 มีความสำคัญต่อตนเองอย่างไร

นายธนชาติ ปันยวง เลขที่7 กลุ่ม10

> สวัสดิการของลูกจ้าง คือ การดำเนินการใดๆ ไม่ว่าโดยนายจ้าง
สหภาพแรงงาน หรือรัฐบาล ที่มีความมุ่งหมายเพื่อให้ลูกจ้างสามารถมีระดับ
ความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร มีความผาสุกทั้งกายและใจ มีสุขภาพอนามัยที่ดี มี
ความปลอดภัยในการทำงาน มีความเจริญก้าวหน้า มีความมั่นคงในการ
ดำเนินชีวิตไม่เฉพาะแต่ตัวลูกจ้างเท่านั้น แต่รวมถึงครอบครัวของลูกจ้างด้วย

นายนฤกริช คำอาจ เลขที่14 กลุ่ม10

> ได้ทราบความสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
หรือ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนด
มาตรฐานขั้นต่ำในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานระหว่างนายจ้าง
กับลูกจ้าง

นายเอกราช นามสอน เลขที่20 กลุ่ม10

> ได้รู้ว่าถ้าทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่าย
ค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
ตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย
ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผล
งาน


Click to View FlipBook Version