การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ปีการศึกษา 2564
โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน
จั ด ทำ โ ด ย
นางสาวอาทิตยา คำนาสั ก เลขที่ 30 ม.6/4
ค รู ผู้ ส อ น
คุณครู กายทิพย์ แจ่มจันทร์
คำนำ
ปั จจุบันมีการนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมาใช้ประโยชน์
เพื่อผลิตขยายพันธุ์พืชในเชิงการค้าและอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยัง
อยู่ในวงจำกัด ด้วยปั จจัยหลายประการเช่น ต้นทุนสูงต้องใช้ความรู้และ
ทักษะเฉพาะด้าน การปฏิบัติค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนและเป็นวิทยาศาสตร์
เพื่อแก้ปั ญหาที่เป็นข้อจำกัดดังกล่าวกรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้
นำร่องขยายผลเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อพัฒนาการเกษตร
สู่เกษตรอุตสาหกรรม และเพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้สนใจทุกภาคส่วนที่
เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ ได้ง่ายขึ้น
หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อ
พัฒนาอาชีพการเกษตรและเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น ข้าพเจ้าหวังเป็น
อย่างยิ่งหนังสือเล่มนี้คงทำให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์และ
ความสำคัญของงานเพาะเลี้ยงได้มากยิ่งขึ้น หากผิดพลาดประการใด
ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ผู้จัดทำ
นางสาวอาทิตยา คำนาสัก
สารบัญ
ความสำคัญ หน้าที่
1
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 2
ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 3
ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 4
การเตรียมตัวก่อนปฏิบัติงาน 6
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 7
วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 8
1
ความสำคัญ
มีประกสาิทรเธิพภาาะพเลสีู้ยงงสเนาื้มอาเยรื่อถผเปล็ินตวพิืธชีขไยด
้าจยำพนันวนธุ์มพืาชกแใบนบเวไลม่าใอชั้เนพรศวดวิธเีรห็วนึต่้งนที่
พืชมีความสม่ำเสมอสมบูรณ์แข็งแรงตรงตามพันธุ์และสะอาดปราศจาก
โรคแมลงศัตรูพืช ปั จจุบันมีการนำมาใช้เพื่อขยาย พันธุ์พืชในเชิงการค้า
อย่างกว้างขวางและส่งเสริมเป็นอาชีพ เริ่มจากนำมาใช้กับกล้วยไม้
จนกลายเป็นพืชอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ต่อมาจึงได้มีการนำ
มาใช้ขยายพันธุ์พืชอื่นๆ ในเชิงการค้า เช่น กล้วย หน่อไม้ฝรั่ง สับปะรด
ไผ่ เยอบีร่า หน้าวัว เบญจมาศ บอนสี ปทุมมา กระเจียว กุหลาบ
สตรอว์เบอร์รี่ ขนุน และไม้สัก เป็นต้น รวมถึงได้นำมาใช้ เพื่อการผลิต
ขยายพันธุ์ปลอดโรค ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสไฟโตพลาสม่าและ
เชื้อแบคทีเรีย ที่มักติดมากับหัวพันธุ์หรือท่อนพันธุ์ก่อให้เกิดความเสีย
หายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล แต่ด้วยข้อจำกัดต่างๆเช่น ต้นทุนการ
ผลิตสูง บุคลากรมีจำกัด ผู้ใช้ต้องใช้ความรู้และทักษะเฉพาะด้าน
การปฏิบัติค่อนข้าง ยุ่งยากและเป็นวิทยาศาสตร์มากเกินไป รวมถึงช่อง
ทางเข้าถึงเทคโนโลยียังมีไม่เพียงพอ
2
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
เป็นการขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศวิธีหนึ่ง โดยการนำชิ้นส่วนต่างๆ
สขัองงเคพืรชาเะช่หน์ปตระาขก้าองบตด้าวยยอเดกลหือน่แอรอ่่อน้นำตใาบ
ลวเิมตลา็มดินมแาเลพะาสะาเรลี้คยวงบใคนุมอกาหาราเรจริญ
เติบโต ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้ปลอดจาก เชื้อจุลินทรีย์ ให้พัฒนา
เป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่มีประสิทธิภาพ สามารถผลิต
พืชได้จำนวนมากในเวลาที่กำหนด ต้นพืชสมบูรณ์แข็งแรง ปลอดโรคที่มี
สาเหตุ จากเชื้อไวรัส เชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ที่อาจติดมากับต้นพันธุ์ตลอด
จนการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืช และการปรับปรุงพันธุ์พืช พืชที่นิยมขยายพันธุ์
ด้วยวิธีนี้ได้แก่
ไม้ยืนต้น เช่น ยูคาลิปตัส ไผ่สัก เป็นต้น
พืชผัก เช่น ขิง หน่อไม้ฝรั่ง และปูเล่ เป็นต้น
ไม้ผล เช่น กล้วย สับปะรด สตรอว์เบอร์รี่ และส้ม เป็นต้น
ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น หน้าวัว เบญจมาศ กล้วยไม้ ว่านสี่ทิศ
เยอบีร่า เฮลิโคเนีย และ ฟิโลเดนดรอน เป็นต้น
พืชกินแมลง เช่น หยาดน้ำค้าง กาบหอยแครง และหม้อข้าวหม้อแกงลิง
เป็นต้น
3
ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
1. เพิ่มปริมาณได้จำนวนมากในระยะเวลาสั้น ต้นที่ได้มีลักษณะทาง
พันธุกรรมเหมือนต้นแม่พันธุ์ ขยายพั
นธุ์พืชจำนวนมากในเวลาที่กำหนด
2. ต้นพืชที่ได้ความสม่ำเสมอ เก็บเกี่ยวผลผลิต ได้พร้อมกัน เหมาะกับ
การผลิตพืชเชิงการค้า
3. เพื่อผลิตพันธุ์พืชปลอดโรค ได้ต้นพืช ปลอดเชื้อไวรัส และปลอดเชื้อ
แบคทีเรีย
4. เพื่ออนุรักษ์และเก็บรักษาพันธุ์พืช ปรับปรุง พันธุ์พืช และเป็นการ
สร้างพันธุ์พืชใหม่ๆ เพื่อการผลิต ยาหรือผลิตสารทุติยภูมิสกัดตัวยาหรือ
ส่วนผสมของ ยารักษาโรคจากพืชและเพื่อศึกษาทางชีวเคมีสรีรวิทยา
และพันธุศาสตร์
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญที่ติดมากับต้นพืช ชนิดพืช
โรคและแมลงศัตรูพืช
4
ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
แบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน ตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้
1. ห้องเตรียมอาหารสังเคราะห์ (Laboratory or Preparation room)
ควรเป็นห้องที่มีเนื้อที่กว้างขวางพอควรที่จะจัดวางเครื่องมืออุปกรณ์
ต่างๆ เช่น โต๊ะ เตรียมอาหาร โต๊ะวางเครื่องมือ ตู้เก็บเอกสาร
ขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เครื่องแก้วต่างๆ อ่างน้ำล้างเครื่องมือ และตู้
เย็นสำหรับเก็บสารเคมีบางชนิดที่ต้องเก็บในที่เย็น และ สารละลายเข้ม
ข้น
2. ห้องย้ายเนื้อเยื่อหรือห้องถ่ายเนื้อเยื่อพืช (Clean room or
Transfer room) เป็นห้องที่สะอาด ปลอดเชื้อ มีการผ่านเข้าออกน้อย
ที่สุด ควรจะมีแต่เจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่ ย้ายเนื้อเยื่อพืช อุปกรณ์ที่สำคัญ
คือ ตู้ย้ายเนื้อเยื่อ กล้องจุลทรรศน์และอุปกรณ์เกี่ยวกับ การฟอกฆ่าเชื้อ
3. ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Culture room) ต้องเป็นห้องที่สะอาด
ปลอดเชื้อ ปิดสนิท มีการเข้าออกน้อยที่สุด เฉพาะเจ้าหน้าที่ที่จะนำ
ขวดเพาะเลี้ยงไป เพาะเลี้ยง และตรวจเช็ดผลการทดลอง
5
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อควรมีการจัดการสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
ในสภาพที่ควบคุม
6
การเตรียมตัวก่อนปฏิบัติงาน
1. 2.
ทำความสะอาดมือและแขนด้วยสบู่
สวมชุดปฏิบัติการ ผ้าคลุมผม
ผ้าปิดปาก - จมูก และเปลี่ยนรองเท้า
3. ก่อนเข้าห้องปฏิบัติการทุกครั้ง
5.
เช็ดทำความสะอาดตู้ปลอดเชื้อก่อนใช้งาน วางอุปกรณ์ที่ใช้ตัดเนื้อเยื่อ
และควรเปิดสวิตช์ตู้ให้ระบบต่างๆ ภายในตู้ ในตำแหน่งที่เหมาะสมและ
สะดวกต่อการปฏิบัติงาน
ทำงานก่อนปฏิบัติงาน 15 – 30 นาที
6.
การลนไฟเครื่องมือที่ใช้ปฏิบัติงาน
เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ก่อนเริ่มตัดเนื้อเยื่อ
7
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
1. คัดเลือ
กพันธุ์ดี
2. ผลิตแม่พันธุ์พืชต้นกำเนิดปลอดโรค ที่ผ่านการตรวจสอบความปลอดโรค
3. ขยายและเพิ่มปริมาณต้นพืช ในห้องปฏิบัติการ
4. ชักนำรากเป็นต้นที่สมบูรณ์
5. อนุบาลต้นอ่อนพืชในสภาพโรงเรือน
6. ขยายเพิ่มปริมาณต้นพืชในโรงเรือน/แปลงแม่พันธุ์ กระจายพันธุ์พืช
8
วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
1.คัดเลือกชิ้นส่วนพืช ส่วนของพืชแทบทุกส่วน
ไม่ว่าจะเป็นส่วนของลำต้น ตาดอก ราก
แม้กระทั่ง
เนื้อเยื่อเซลล์หรือ โปรโตพลาส สามารถนำมาเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อ และพัฒนาให้เกิดเป็นต้นพืชได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ชนิดพืช และวัตถุประสงค์ที่ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
2. การนำความสะอาด ชิ้นส่วนที่นำมาทำ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อควรเป็นชิ้นส่วนที่สะอาด
ปราศจาก เชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ดังนั้น
จึงต้องนำมาฆ่าเชื้อด้วยวิธีการ ฟอกฆ่า
แล้วล้างด้วยน้ำนึ่งที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
3. การตัดเนื้อเยื่อ ชิ้นส่วนพืชที่ทำการฆ่าเชื้อแล้ว
นำเข้าตู้ปลอดเชื้อ ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ วางลงบนอาหาร
สังเคราะห์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
9
4. การบ่มเลี้ยงเนื้อเยื่อ นำขวดอาหารที่มี
ชิ้นส่วนพืชวางบนชั้นที่มีแสงสว่าง
2,000 - 4,000 ลักซ์ วันละ 12 - 16 ชั่วโมง
ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ25 - 28 องศาเซลเซียส
จนกระทั่งชิ้นส่วนของพืชมีการพัฒนาเป็นต้น
ที่สมบูรณ์
5. การตัดแบ่งและเลี้ยงอาหาร ตัดแบ่งชิ้นส่วน
พืชและเปลี่ยนอาหารเพื่อเพิ่มปริมาณของต้นพืช
ทุก 1 - 2เดือน ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช
และระยะการเจริญเติบโต ทำการเปลี่ยนอาหาร
จนกระทั่งพืชเจริญเติบโตเป็นต้นที่สมบูรณ์
6. การย้ายปลูกในสภาพธรรมชาติ นำต้นพืช
ที่มียอดและราก ที่สมบูรณ์ออกจากขวดล้าง
วุ้นที่ติดกับราก ออกให้หมด ด้วยน้ำสะอาด
และผึ่งลมให้แห้ง แช่น้ำยา ป้องกันกำจัดเชื้อรา
นำไปปลูกในวัสดุที่โปร่ง สะอาด ระบายน้ำได้ดี
ภายใต้นำไปวางไว้ในที่ร่ม และพรางแสง 60 เปอร์เซ็นต์
ประมาณ 4 สัปดาห์หรือจนกระทั่งต้นพืช ตั้งตัวได้
บรรณานุกรม
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ. (2559).
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ.ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด .
สืบค้นจาก http://www.fio.co.th/fio/km/docKM63/tissue.pdf
Thank You
Artitaya K.