The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การสร้างสรรค์ผลงานจากวรรณกรรม
เรื่อง ปลาบู่ทอง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by phutthiphongbsru11, 2021-03-16 01:53:00

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทย ชุด ฉุยฉายเทวีปักษี

การสร้างสรรค์ผลงานจากวรรณกรรม
เรื่อง ปลาบู่ทอง

การสร้างสรรค์นาฏยศิลปไ์ ทย ชุด ฉุยฉายเทวีปกั ษี

การสร้างสรรคผ์ ลงานจากวรรณกรรม
เรอ่ื ง ปลาบู่ทอง

สรา้ งสรรคผ์ ลงานโดย

นายพุฒพิ งศ์ รปู โอ รหัสนกั ศึกษา ๖๑๘๑๑๖๓๐๑๑
สาขาวิชานาฏยศลิ ป์ศึกษา

คณะมนษุ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลยั ราชภัฏบา้ นสมเดจ็ เจ้าพระยา

ทมี่ าและประวัตใิ นการสรา้ งสรรคผ์ ลงาน ๒.

ปลาบทู่ องเป็นวรรณกรรมพ้ืนบา้ นของภาคกลางทีเ่ ลา่ ต่อๆกนั มาเชือ่ วา่ มีทีม่ าจากชนชาติ จว้ ง ลาว ไท
ในภาคใต้ของจีน เล่าถา่ ยทอดกนั มาแต่ดกึ ดาบรรพ์ และคล้ายคลึงกับนิทานพืน้ บ้านของยโุ รป คือ ซนิ เดอเรลลา่
ในภายหลงั ได้มนี กั เขียนบันทกึ ไวห้ ลากหลายสานวน ซงึ่ ในรปู แบบกลอนสวดเป็นการบนั ทึกทีน่ ่าสนใจ นอกจากน้ี
ปลาบทู่ องยังไดร้ บั การถา่ ยทอดมาเป็นหนังสือนิทาน การต์ นู และละครโทรทัศน์ถึง ๙ ครง้ั ด้วยกันตัง้ แต่ พ.ศ.
๒๕๐๘-๒๕๕๙ ในปี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ปลาบทู่ องไดร้ บั การขน้ึ ทะเบยี นใหเ้ ป็นมรดกภมู ปิ ัญญาทางวฒั นธรรม
ของไทยโดยกระทรวงวฒั นธรรม เพราะมีเน้อื หาและการดาเนนิ เรื่องท่สี นกุ สนานน่าตดิ ตาม แฝงข้อคิดสอนใจให้
ทาความดี รจู้ กั ใหอ้ ภัยผอู้ ่ืน ทีเ่ ปน็ ความเชือ่ ทางพระพทุ ธศาสนา ปลาบทู่ องอยูใ่ นนทิ านประเภทปรมั ปราหรอื
นิทานทรงเครือ่ ง เพราะเปน็ เรอื่ งยาวที่มีเหตุการณ์ มอี ทิ ธิฤทธปิ์ าฏิหารยิ ์ต่างๆ สถานทีเ่ กิดเหตไุ มแ่ นช่ ัดวา่ อยทู่ ใ่ี ด
ตัวเอกของเรอ่ื งสามารถตอ่ ส้อู ปุ สรรคขวากหนามทาใหศ้ ตั รพู า่ ยแพไ้ ปในทส่ี ดุ และจบลงดว้ ยความสขุ เน้ือหาเตม็
ไปด้วยจินตนาการ เชน่ มีฤาษีเขา้ มาเกี่ยวขอ้ ง ด้วยเหตุนจ้ี งึ ทาใหน้ ามาดดั แปลงเป็นละคร ภาพยนตรแ์ ละการ
แสดงอน่ื ๆ ปลาบทู่ องยังมีข้อคิดและคาสอนอยา่ งมากมายทีส่ ะท้อนใหถ้ งึ สังคมอย่างชดั เจน เชน่ ความกตญั ญู
แสดงออกถงึ ความรูบ้ ุญคณุ คาน้ยี งั ใช้ไดต้ ั้งแตส่ มัยเก่า-ถงึ ปัจจบุ ัน

ทีม่ าและประวตั ิในการสร้างสรรค์ผลงาน ๓.

การสร้างสรรคว์ รรณกรรมจากเร่อื งปลาบู่ทอง โดยใชท้ ่าราแบบนาฏยศลิ ปไ์ ทย โดยไดแ้ รง
บันดาลใจจากตอนทนี่ างเอ้อื ยคอื ตัวเอกของวรรณกรรมเรือ่ งน้ี โดนอทุ ารกเศรษฐี นางขนิษฐี และนอ้ งๆ
หลอกไปฆ่าท่บี า้ น โดยไดไ้ ปเกดิ เป็นนกแขกเตา้ นางเออ้ื ยน่าสงสารทมี่ ีกรรม เจอแตส่ งิ่ ที่ไม่ดี ต้องพลัด
พรากซา้ แล้วซ้าเล่า แตด่ ้วยคุณงามความดที น่ี างเออื้ ยได้กระทาไว้ สง่ ผลให้ได้เจอกับฤาษีจนชุบชีวติ
กลับมาเปน็ คนอกี ครง้ั นงึ และไดก้ ลบั มาครองรักกับทา้ วพรหมทัตอยา่ งมคี วามสุขในพระราชวังผ้สู รา้ งสรรค์
เล็งเหน็ ถึงบทบาทของนางเอือ้ ย ท่มี คี วามสวยงาม จิตใจดี และยงั มคี วามกตัญญู จึงหยิบยกมาเพื่อ
ผู้สนใจในการสะทอ้ นการใช้ชวี ติ ในสังคมปัจจุบันได้อกี ด้วยทาให้ผสู้ รา้ งสรรคเ์ กิดแนวคิดทจี่ ะนาข้อมลู
ดงั กลา่ วมาวเิ คราะห์สร้างสรรค์เปน็ ผลงานศลิ ปะการแสดงนาฏยศลิ ปไ์ ทย ชุด “ฉยุ ฉายเทวีปักษี”

วตั ถปุ ระสงคใ์ นการสรา้ งสรรคผ์ ลงาน ๔.

เพือ่ ศกึ ษาบทบาทตวั ละครนางเอือ้ ยตวั เอกจากวรรณกรรมเร่ือง ปลาบู่ทอง
ประเภทกลอนสวด นามาสร้างสรรคเ์ ป็นนาฏยศลิ ป์ไทยใน ชดุ ฉยุ ฉายเทวปี กั ษี

ข้นั ตอนการสร้างสรรค์ผลงาน ๕.

กระบวนการสรา้ งแนวความคดิ

กระบวนการสร้างแนวความคิดเป็นส่ิงจาเปน็ อนั ดบั แรกในการสรา้ งสรรค์ผลงาน
ทางด้านนาฏยศิลป์โดยในเบ้ืองต้นต้องพิจารณาจากวตั ถุประสงคแ์ ละข้อมูลท่ีได้รับเป็น
พื้นฐาน ซ่ึงการแสดงชุด “ฉุยฉายเทวีปักษี” มวี ัตถุประสงค์เพ่ือสร้างสรรคผ์ ลงาน
ทางด้านนาฏยศิลปไ์ ทย และเผยแพรใ่ ห้การแสดงรูปแบบน้เี ป็นที่นยิ มอยา่ งแพร่หลายใน
วงการนาฏยศลิ ป์และยงั เปน็ แนวทางให้เกิดงานช้นิ ใหมข่ ้ึนอกี ดว้ ย

กระบวนการผลติ ผลงาน

เม่ือผ่านกระบวนการในการสร้างแนวคิดและเกิดจินตภาพของผลงานใน
ระดับที่มีความเป็นไปได้แล้ว จึงเข้าสู่กระบวนการผลิตผลงานด้วยวิธีการ
ประมวลข้อมูลที่ได้และ กาหนดรูปแบบ กาหนดขอบเขต กาหนดองค์ประกอบ
ของการแสดงจากนนั้ จงึ ออกแบบท่าทางและการเคล่ือนไหวทางด้านนาฏยศลิ ป์

ขนั้ ตอนการสรา้ งสรรค์ผลงาน ๖.

การศึกษาประมวลข้อมูล

การศึกษาประมวลข้อมูลนี้ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้เลือกใช้วิธีการอ่าน
วรรณกรรมไทยเร่ืองปลาบู่ทองประเภทกลอนสวด และศึกษาเนื้อเร่ืองข้อมูล
จากหนังสือ งานวิจัยต่างๆ บทความ วิดีโอ ละครจาการสร้างหลากหลายเวอร์
ชั่นควบคู่ไปด้วยเน่ืองจากแต่ละแหล่งข้อมูลที่ได้ศึกษา มีความคล้ายคลึงกัน
อย่างมาก มีข้อแตกต่างกันไม่มาก ในส่วนท่ีแตกต่างอาจจะมีการเสริมแทรก
เน้ือหาเพื่อความสนกุ สนาน มีอรรถรสในการรบั ชมมากยิ่งขึ้น มีการสงั เกต การ
สอบถาม และประสบการณ์จริงที่มอี ยูม่ าประมวลเข้าด้วยกัน จากนัน้ จึงทาการ
ตรวจสอบความเพียงพอและความถูกต้องของข้อมูลทั้งหมดและต้องมีความ
สอดคลอ้ งกบั แนวคดิ ของผลงานทีต่ ้องการสร้างสรรค์

ขั้นตอนการสรา้ งสรรคผ์ ลงาน ๗.

๑.ขอบเขตเน้อื หา

ศึกษาบทบาทเจาะลึกตัวละครนางเอ้ือยตัวเอกจากวรรณกรรมเร่ือง ปลาบู่ทอง
ประเภทกลอนสวด

๒. ขอบเขตการแสดง

ผู้สร้างสรรค์ต้องการนาเสนอผลงานการแสดงในรูปแบบของนาฏยศิลป์ไทยโดย
ใช้ผ้แู สดง เป็นผหู้ ญงิ จานวน ๑ คน ใช้ระยะเวลาในการแสดงประมาณ ๖ นาที

๓. รปู แบบการแสดง

ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้กาหนดรูปแบบของการแสดงชุด “ฉุยฉายเทวีปักษี”
โดยกาหนดให้อยใู่ ห้อย่ใู นรปู แบบ นาฏยศิลป์ไทยใช้กระบวนท่าราท่ีผสมผสานนาฏศิลป์
เป็นการแสดงอากัปกริยาของสัตว์ก็คือ “นกแขกเต้า” โดยใช้นักแสดงเป็นผู้หญิง
จานวน ๑ คน ใชร้ ะยะเวลาในการแสดงประมาณ ๖ นาที

จากการประมวลข้อมูลดังกล่าว ผู้สร้างสรรค์ผลงานจึงได้กาหนดรูปแบบการแสดง
ออกเปน็ ๓ ช่วง ดงั นี้

ช่วงที่ ๑ ผแู้ สดงรา่ ยราออกดว้ ยเพลงรัว ราท่าสอดสร้อยมาลา แล้วปอ้ งหนา้

ช่วงที่ ๒ ผู้แสดงร่ายราเพ่ือส่ือความหมายบทร้องราตีบท ตามคาร้องฉุยฉาย
และแมศ่ รี

ชว่ งที่ ๓ ผู้แสดงร่ายราจบเพลงเรว็ – ลา ราตามทานองเพลง

โครงสร้างท่ารา ๘.

ชื่อท่า : ท่าชี้

สอื่ ถึง : ความเคราะหร์ ้ายท่นี างเออื้ ยได้พบเจอ

ความหมาย : ใชท้ า่ ชข้ี า้ งต้นในการแสดงชดุ นี้เปน็ ท่า
แทนความหมายของความโชคร้ายทน่ี างเอื้อยไดพ้ บเจอ

ชอื่ ท่า : จากไป
ส่อื ถึง : จรลีหนไี ป เปน็ การเย้อื งกรายการจากลา
ความหมาย : นางเอือ้ ยโดนกระทาจากคนทต่ี นรกั ไมว่ ่า
จะเป็นการทารา้ ยของอทุ ารกเศรษฐนี างขนิษฐี นางอ้าย
และนางอ่ี จงึ ทาใหต้ อ้ งพลัดพรากจากคนที่ตนรกั ซ้าแลว้
ซา้ เล่า

โครงสร้างทา่ รา ๙.

ชอ่ื ท่า : ปักษี

สือ่ ถงึ : ทา่ บินของนกแขกเตา้ ใน
วรรณกรรมเรอื่ งนี้

ความหมาย : ท่าน้เี ป็นทา่ เลียนแบบอากปั
กริยาของนกแขกเต้าในทา่ บนิ

ช่ือท่า : ดรุณี

ส่อื ถึง : ความงามที่ใช้เรยี กแทนผหู้ ญงิ
(นางเอ้ือย)

ความหมาย : ความสวยงามที่มศี กั ดศ์ิ รี
ความงดงามที่สมดงั่ ความเป็นพระมเหสี

โครงสร้างเครื่องแต่งกาย ๑๐.

โครงสร้างเครอื่ งแต่งกาย
ในการออกแบบเครื่องแต่งกายสาหรับการแสดงชุดนเ้ี ป็นการปรับและลดทอนตามความ

เหมาะสมของฉุยฉายและวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องปลาบู่ทอง ซ่ึงชุดจะเป็นตัวนางผู้หญิง ๑ คน
ด้วยความท่ีการแสดงชุดน้ีผู้ศึกษาได้เจาะไปที่ตัวละครของนางเอื้อยซึ่งในตอนน้ันนางเอื้อยได้
ไปเกิดเป็นนกแขกเตา้ และได้ชุบชีวิตข้ึนมาอีกครั้งโดยฤาษี ตามการออกแบบเคร่ืองแต่งกายจึง
นาเอาแนวทาง การแตง่ กายยนื เครอื่ งนางกนิ รีมาประกอบดว้ ย
๑. ส่วนหัว : เป็นการสวมหัวนกท่ีมลี ักษณะจากหัวการแสดงชุดมยุราภิรมย์ แต่นามาปรับสีให้
เหมาะกับตวั นกแขกเต้าจริงๆ เพือ่ เป็นการบง่ บอกอยา่ งชัดเจนวา่ ตวั นกั แสดงนี้เป็นนก

ส่วนของชดุ เป็นการนาแนวความคิดมาจากชุดกินรี :
-มีการใส่ปกี เพราะตัวกนิ รมี ีลกั ษณะทค่ี ลา้ ยนกซึ่งมปี ีกเหมือนกนั จงึ ได้

หยิบยกสว่ นน้มี าเปน็ องคป์ ระกอบท่ีสามารถสือ่ ไดเ้ ห็นอยา่ งชัดเจน
-มีองคป์ ระกอบอย่างครบถว้ น
๑. ศีรษะนก ๒. กรองคอ ๓. ทับทรวง ๔. ขอ้ แขน ๕. เสอื้ ในนาง
๖. ขอ้ มอื ๗. ปีก ๘. หาง ๙. รัดสะเอว ๑๐. ปนั้ เหน่ง
๑๑. ผ้ายก ๑๒. ข้อเทา้ แบบผ้า ๑๓. เลบ็

โครงสร้างเคร่อื งแตง่ กาย ๑๑.

สตี ัวนกั แสดง : อ้างอิงจากสีของตัวละครหลกั จะนิยมใชส้ ชี ดุ ยนื เคร่อื งเขียวขลบิ แดง
ตัวอย่างดงั ภาพ

โครงสร้างดนตรี ๑๒.

- ดนตรีประกอบ ใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็งหรือปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วย ระนาด
ฆอ้ งวง ตะโพน กลองทดั ฉิ่ง และปี่ใน

- เพลงท่ีใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงรัว เพลงฉุยฉาย เพลงแม่ศรี เพลงเร็ว
และเพลงลา

- เพลงรัว เป็นเพลงหน้าพาทย์เบ้ืองต้น ใช้สาหรับการแสดงฤทธิ์หรือการเกิด
ปรากฏการณ์โดยฉบั พลัน ใช้เพลงรวั เพื่อให้ผแู้ สดงวิง่ ออกมาจากหลังเวที

- เพลงฉุยฉาย เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบกิริยาของตัวละครแสดงถึงความ
ภาคภมู ใิ จ

- เพลงแม่ศรี เป็นเพลงหน้าพาทย์ท่ีใช้ประกอบการแสดงกิริยาสนุกสนาน ร่าเริง
แสดงอารมณ์

- เพลงรัว เป็นเพลงหนา้ พาทยท์ ใ่ี ชป้ ระกอบการแสดงกิรยิ าการเดินอยา่ งนวยนาด

- เพลงลา เปน็ เพลงหนา้ พาทยท์ ีบ่ รรเลงต่อจากเพลงเรว็ เม่อื จบการรา

เนือ้ รอ้ ง “ฉยุ ฉายเทวปี ักษี” ๑๓.

ฉุยฉายเอย -ปพ่ี าทย์ทาเพลงรวั -
จากมนษุ ย์เปน็ ปกั ษี -รอ้ งเพลงฉุยฉาย- (รบั ปี่)
จะไปพ่ึงใบบญุ ทใี่ ดกัน
เคราะหร์ ้ายได้มาโดยนงนชุ
แมศ่ รีเอย จรลหี นไี ปถงึ ไพรสณั ฑ์
โผยผินจากเมืองศรี จะอาสัญเม่อื ไรมิรูเ้ อย
-ป่ีพาทยร์ บั -
โยคบี นั ดาลจิต -รอ้ งแม่ศรี-
คืนสู่พาราณสี นางนกปักษี
ชนนไี ป่รอู้ ยหู่ นใด
-ปีพ่ าทยร์ ับ-

ใหช้ วี ติ ดรุณี
สวัสดเี ชน่ เดิมเอย
-ป่พี าทยท์ าเพลงเรว็ -ลา-

โอกาสในการแสดง ๑๔.

โอกาสทใ่ี ช้ในการแสดง “ฉยุ ฉายเทวปี ักษ”ี มดี ังน้ี
๑. แสดงในโอกาสการแสดงเรอ่ื ง “ปลาบทู่ อง”
๒. แสดงในโอกาสอวดและวัดฝมี อื ตา่ งๆ
๓. แสดงในโอกาสรายการเบ็ดเตล็ด เอกเทศต่างๆ

ประโยชนท์ ่ไี ดร้ ับ

๑. ได้ผลงานสร้างสรรคน์ าฏยศิลปไ์ ทย ชุดฉยุ ฉายเทวีปักษี จากวรรณคดี
เร่อื งปลาบทู่ อง

๒. ไดป้ ระสบการณ์ตรงในการทางานสร้างสรรค์อย่างเปน็ ระบบ
๓. ได้ทราบถงึ คณุ ค่าของวรรณกรรมไทย
๔. ได้เขา้ ใจถงึ ลกั ษณะนสิ ัยใจคอของตวั ละคร
๕. ไดน้ าข้อคดิ ต่างๆมาปรบั ใช้ในชีวติ ประจาวนั

เอกสารอา้ งอิง ๑๕.

กรมศลิ ปากร(๒๕๕๗).ปลาบทู่ องกลอนสวด : บริษัท เอดิสนั เพรส โพรดักส์ จากดั

อรุณ ยันต์ทอง.วิเคราะหว์ รรณกรรมปลาบทู่ อง : ลพบุรี : ศนุ ย์ศลิ ปวฒั นธรรม
วิทยาลัยครูเทพสตรี

สุชยา วาทะพุกกณะ,การศกึ ษาอกั ษรและภาษาวรรณกรรมพนื้ บา้ นชนดิ กลอนสวด
เรื่องปลาบทู่ อง (วทิ ยานิพนธ์บัณฑติ วทิ ยาลัย คณะศิลปศาสตรมหาบัณฑติ
มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์,๒๕๕๕)

Peng Phat,การเปรยี บเทยี บวรรณกรรมนทิ านเรื่องปลาบทู่ องฉบบั ภาษาไทยกับมรณ
มาตา ฉบับภาษาเขมร (วิทยานพิ นธป์ รญิ ญาศลิ ปศาสตรมหาบัณฑติ สาขาวชิ า
ภาษาไทย มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม,๒๕๖๒ )


Click to View FlipBook Version