The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลิปบาล์มจากกุหลาบ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by twz0989287616, 2023-12-07 06:42:48

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลิปบาล์มจากกุหลาบ

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลิปบาล์มจากกุหลาบ

รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง เรื่อง ลิปบาล์มจากกุหลาบ โดย 1. เด็กหญิงชญานิน เพ็งเมือง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2. เด็กหญิงศิรินภา ใจแก้ว นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3. เด็กหญิงภัทธิรา ใจการุณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครูที่ปรึกษา 1. นางสาวสุภาสินี จันทะพัน 2. นางสาววรรณ์เพ็ญ อินพะราม โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดแก้วจันทราราม สังกัดเทศบาลตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิทยาศาสตร์ ปะเภททดลอง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 เนื่องในงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการ และเทคโนโลยีของนักเรียน ปีการศึกษา 2566


โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลิปบาล์มจากกุหลาบ โดย 1. เด็กหญิงชญานิน เพ็งเมือง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2. เด็กหญิงศิรินภา ใจแก้ว นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3. เด็กหญิงภัทธิรา ใจการุณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คุณครูที่ปรึกษา 1. นางสาวสุภาสินี จันทะพัน 2. นางสาววรรณ์เพ็ญ อินพะราม


ก โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ลิปบาล์มจากกุหลาบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ประเภทโครงงาน การทดลอง ผู้จัดทำโครงงาน 1. เด็กหญิงชญานิน เพ็งเมือง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2. เด็กหญิงศิรินภา ใจแก้ว นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3. เด็กหญิงภัทธิรา ใจการุณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครูที่ปรึกษาโครงงาน 1. นางสาวสุภาสินี จันทะพัน 2. นางสาววรรณ์เพ็ญ อินพะราม อีเมลครูที่ปรึกษา [email protected] ระดับชั้น ประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4 – 6) โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดแก้วจันทราราม อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ โครงงานเรื่องผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากธรรมชาติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อทดลองหาอัตราส่วนที่ เหมาะสมในการทำผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากธรรมชาติ และเพื่อทำผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจาก ธรรมชาติ เริ่มจากการเตรียมน้ำมันมะพร้าว การเตรียมสีจากพืช โดยการนำดอกกุหลาบมาแกะเอา เฉพาะกลีบดอกแล้วตากให้แห้ง จากนั้นบดให้ละเอียด เตรียมส่วนผสมระหว่าง ไขผึ้ง : น้ำมันมะพร้าว : สีจากพืช ในอัตราส่วนดังนี้ สูตรที่ 1 ใช้1:4:1 สูตรที่ 2 ใช้1:5:1 สูตรที่ 3 ใช้1:6:1 สูตรที่ 4 ใช้ 1:7:1 จากนั้นต้มน้ำในถ้วยกระเบื้องให้ร้อน นำส่วนผสมสูตรที่ 1 ใส่ในบีกเกอร์ขนาดเล็ก แล้วจุ่มลงใน ถ้วยกระเบื้องที่มีน้ำร้อน จนกระทั่งขี้ผึ้งเหลว จึงยกบีกเกอร์ออก เทขี้ผึ้งลงในตลับเปล่าที่ต้องการ รอ จนแข็งและเย็นลง จากนั้นใช้มือกดที่ผิวขี้ผึ้ง สังเกตว่าติดนิ้วมือและสามารถทาริมฝีปากได้หรือไม่ ทำ จนครบทุกสูตร จากการทดลองทำผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากธรรมชาติ ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีชมพูอ่อนจาก ดอกกุหลาบ ส่วนสิ่งที่ได้จากการสังเกตเหมือนกันคือ สูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 เป็นอัตราส่วนที่ไม่ เหมาะสมเพราะเนื้อผลิตภัณฑ์แข็งเกินไป สูตรที่ 4 เป็นอัตราส่วนที่ไม่เหมาะสมเพราะเนื้อผลิตภัณฑ์ อ่อนเกินไป สูตรที่ 3 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมเพราะเนื้อผลิตภัณฑ์ไม่แข็งและอ่อนจนเกินไป ดังนั้น อัตราส่วนที่เหมาะสมทำผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากธรรมชาติคือไขผึ้ง 1 กรัม : น้ำมันมะพร้าว 6 มิลลิลิตร : สีจากพืช 1 ช้อน หรืออัตราส่วน 1:6:1


ข กิตติกรรมประกาศ ในการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่องลิปบาล์มจากกุหลาบ ได้รับความ ร่วมมือและความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากคณะครูโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดแก้วจันมราราม รวมทั้ง เพื่อน ๆ ที่ช่วยเหลือด้านเอกสารที่เกี่ยวข้อง ขอขอบพระคุณ คุณครูสุภาสินี จันทะพัน และคุณครูวรรณ์เพ็ญ อินพะราม ที่ ปรึกษาโครงงานประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ให้ความช่วยเหลือแนะนำและให้คำปรึกษา ขอขอบพระคุณระบบสาระสนเทศเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียน เทศบาล ๒ วัดแก้วจันทราราม ที่ให้แหล่งศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ขอบคุณท่านผู้อำนวยการ สถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดแก้วจันทราราม ที่สนับสนุน งบประมาณ จึงทำให้โครงงานนี้สำเร็จด้วยดี คณะผู้จัดทำโครงงาน จึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทำ พฤศจิกายน 2566


ค สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค สารบัญตาราง ง สารบัญรูปภาพ จ บทที่ 1 บทนำ 1 - ที่มาและความสำคัญของโครงงาน - วัตถุประสงค์ของโครงงาน - สมมติฐาน - ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง - ขอบเขตของการศึกษา - ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - นิยามเชิงปฏิบัติการ 1 1 1 1 1 2 2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3 บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีดำเนินการ 10 - วัสดุอุปกรณ์ - ขั้นตอนการดำเนินการ - ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบ 10 11 11 บทที่ 4 ผลการดำเนินการ 13 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล ประโยชน์และข้อเสนอแนะ 14 - สรุปผลการทดลอง - อภิปรายผลการทดลอง - สรุปผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบ - อภิปรายผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบ - ข้อเสนอแนะ 14 14 15 15 16 บรรณานุกรม 17 ภาคผนวก 18


ง สารบัญตาราง เรื่อง หน้า ตาราง 1 แสดงลักษณะที่สังเกตได้จากผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากธรรมชาติ (ได้สีจากกุหลาบ) ตารางที่ 2 ความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบ ตารางที่ 3 ค่าร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบ 13 14 14


จ สารบัญรูปภาพ เรื่อง หน้า รูปที่ 1 รังผึ้ง 6 รูปที่ 2 ลิปบาล์ม 9 รูปที่ 3 วัสดุอุปกรณ์ในการทดลอง 10 รูปที่ 4 การตากกลีบดอกกุหลาบ 11 รูปที่ 5 เตรียมส่วนผสมทั้งหมดในบีกเกอร์ 12 รูปที่ 6 ต้มสารผ่านน้ำร้อน แล้วเทลงตลับ ปล่อยให้เย็น 12 รูปที่ 7 ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากธรรมชาติ 13


1 บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ใช้บำรุงริมฝีปากให้มีความชุ่มชื้นมีมากมายหลายยี่ห้อ เช่น ลิปบาล์ม ลิปกลอส แต่ละยี่ห้อต่างก็มีคำโฆษณาชวนเชื่อแตกต่างกันไป แพทย์โรคผิวหนังได้ออกมาเตือนผู้บริโภค เกี่ยวกับการใช้ลิปบาล์มหรือลิปกลอสที่มีลักษณะมันวาวว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีผลทำให้เกิดการดึงรังสี อัลตร้าไวโอเลตเข้าสู่ร่างกายมากกว่าเดิม จึงทำให้ผู้ใช้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังมากกว่า ปกติทั้งนี้พญ.คริสติน บราวน์(เข้าถึงได้จาก www.coconut-virgin.com) ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ การแพทย์มหาวิทยาลัยเบย์เลอร์ ในเมืองดาลลาส กล่าวเตือนว่า สำหรับลิปบาล์มหรือลิปกลอสที่มี ความมันวาวนั้น ไม่ได้ใช้ป้องกันอันตรายจากแสงแดดเลยและที่แย่ยิ่งไปกว่านั้นคือ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยิ่ง มีผลทำให้เกิดการดูดรังสีต่าง ๆ จากแสงแดด เข้าไปสู่ริมฝีปากมากขึ้นกว่าปกติอีกด้วย เรียกง่าย ๆ ว่า ลิปบาล์มหรือลิปกลอสนั้นให้ผลในทางตรงกันข้างกับผลของครีมกันแดดด้วย อีกด้านหนึ่งของคนสมัยใหม่ หันมานิยมผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ร่างกายรวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ที่ได้จากธรรมชาติกันมากขึ้น เช่น ครีมขัดหน้าสมุนไพร ครีมบำรุงผิวจาก มะกรูด แชมพูไทยสูตรไร้สาร สบู่จากใยบวบ ฯลฯ ซึ่งนอกจากราคาถูกแล้วยังไม่เกิดอาการแพ้และยัง เป็นการสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทยอีกด้วย ดังนั้นผู้จัดทำโครงงานจึงคิดหาวิธีการทำผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากธรรมชาติซึ่งเริ่มจากหา น้ำมันที่ได้จากพืชและสามารถสกัดได้เองด้วยวิธีง่าย ๆ ซึ่งผู้ทำโครงงานเลือกน้ำมันมะพร้าว ทั้งนี้เพราะ น้ำมันมะพร้าวมีวิตามินอีสูงกว่าพืชชนิดอื่น และมีคุณสมบัติในการเสริมสร้างความงามและมีกลิ่นหอม เลือกไขที่ได้จากสัตว์แต่ต้องมีกลิ่นหอม เลือกสีที่ได้จากธรรมชาติและสามารถอยู่ได้นาน จากนั้นนำ วัตถุดิบทั้งหมดมาหาอัตราส่วนที่จะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากดอกกุหลาบ วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1. เพื่อทดลองหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากดอกกุหลาบ 2. เพื่อทำผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากที่ให้ความชุ่มชื้น สมมติฐาน น้ำมันมะพร้าว และสีจากจากดอกกุหลาบ เมื่อผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสมสามารถเป็น ผลิตภัณฑ์ที่บำรุงริมฝีปากได้ ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ตัวแปรต้น คือ อัตราส่วนที่จะทำผลิตภัณฑ์บำรุงฝีปาก ตัวแปรตาม คือ ความชุ่มชื้นของผลิตภัณฑ์บำรุงฝีปากจากดอกกุหลาบ


2 ตัวแปรควบคุม คือ ระยะเวลาในการต้ม ปริมาณสีจากดอกกุหลาบ อุณหภูมิที่ใช้ในการต้ม และค่าความเป็นกรด - ด่าง (ph) ของลิปบาล์มจากดอกกุหลาบ ขอบเขตการศึกษา 1. สีที่ได้จากดอกกุกลาบสีแดง ได้มาโดยการตากแห้งและบดละเอียดให้เป็นผง 2. น้ำมันมะพร้าวใช้น้ำมันมะพร้าวแบบสำเร็จ 3. ในการทดลองมุ่งศึกษาเฉพาะผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากกุหลาบเท่านั้น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้อัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากดอกกุหลาบ 2. ได้ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากกุหลาบที่มีความชุ่มชื้น นิยามเชิงปฏิบัติการ ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากดอกกุหลาบ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการผสมกันของน้ำมัน มะพร้าว สีจากดอกกุหลาบ ในอัตราที่เหมาะสมและสามารถใช้ทาริมฝีปากให้ชุ่มชื้นได้ อัตราส่วนที่เหมาะสม หมายถึง อัตราส่วนของน้ำมันมะพร้าวและสีจากพืช เมื่อเย็นลงแล้วที่ไม่ อ่อนตัวจนเกินไปและไม่แข็งตัวจนเกินไป เหมาะสำหรับทาริมฝีปาก สีจากพืช หมายถึง สีชมพูที่ได้จากดอกกุหลาบ โดยการนำกลีบดอกมาตากให้แห้งแล้วบดให้ ละเอียดจนกลายเป็นผง ความชุ่มชื้น หมายถึง ความรู้สึกสดชื่น ความมันวาว หมายถึง ความกระจ่างใสแวววาวหรือความสดใส


3 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง ในการทำโครงงานเรื่องลิปบาลืมจากกุหลาบ ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ 1. มะพร้าว - ลักษณะทั่วไป - น้ำมันมะพร้าว 2. ไขจากรังผึ้ง 3. การทำลิปบาล์มอย่างง่าย มะพร้าว 1. ลักษณะทั่วไป 1.1 ชื่อวิทยาศาสตร์: Cocos nucifera L. var. nucifera วงศ์: Palmae ชื่อสามัญ : Coconut ชื่ออื่น : ดุง(จันทบุรี) เฮ็ดดุง(เพชรบูรณ์) โพล(กาญจนบุรี) พร้าว (นครศรีธรรมราช) คอส่า(แม่ฮ่องสอน) หมากอุ๋น หมากอูน (ทั่วไป) 1.2 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้ต้น ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 25 เมตร ไม่แตกกิ่ง ใบ แตกที่ยอดแบบขนนก เรียงสลับหนาแน่น ยาว 4-6 เมตร มีรอยแผลเมื่อก้านใบหลุดออกไป ใบแต่ละใบ รูปพัดจีบ กว้าง 1.5-5 ซม. ยาว 50-100 ซม. ดอกช่อออกระหว่างก้านใบ ดอกย่อยจำนวนมาก แยก เพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้มีสีเหลืองหม่น ดอกตัวเมียสีเขียวแกมเหลือง ใบประดับยาว 60-90 ซม. ผลแข็ง มีเมล็ดเดียว ขนาดผลเท่าศีรษะคน รูปไข่แกมทรงกลมหรือรูปไข่กลับ สีเขียวหรือสีเขียวแกม เหลือง ผลอ่อนมีเนื้อ เมื่อแก่กลายเป็นเส้นใยและชั้น endocarp แข็ง ชั้น mesocarp ให้เส้นใย มะพร้าว เมล็ดมีembryo เล็กมาก และมีน้ำเรียกว่า น้ำมะพร้าว หรือ coconut milk มีendosperm สีขาว เรียกว่า copra ผลอ่อนนิมใช้ดื่มน้ำมะพร้าว ผลแก่มีน้ำมะพร้าวน้อย มะพร้าวมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาแพร่หลายไปอเมริกา อินเดีย มาดากัสการ์ และอาฟริกา ชาวสเปนเป็นผู้นำไปปลูกยังหมู่เกาะเวสท์อินดีส และทะเลแคริเบียนตอนใต้ ชาวยุโรปนำไปปลูกในประเทศบราซิล และชาวโพลิเนเซียนนำไปยังเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิค แหล่งปลูกและผลิตมะพร้าวที่สำคัญในปัจจุบันอยู่ตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค อเมริกาใต้ อเมริกา เหนือ เม็กซิโก อินเดีย ซีลอน มาลายา อินโดเนเซีย ฟิลิปปินส์ศรีลังกา ในไทยปลูกมากที่จังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช


4 2. น้ำมันมะพร้าว 2.1 องค์ประกอบทางเคมี 2.1.1 กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acids) น้ำมันมะพร้าว ประกอบด้วยกรดไขมันที่อิ่มตัว กว่า 90 % อะตอมของธาตุคาร์บอนของกรดไขมันที่อิ่มตัวจะต่อกันเป็น เส้น (chain) โดยมีพันธะเดี่ยว (single bond) จับกันเองเป็นเส้นยาวตามจำนวนของคาร์บอน แต่ละ อะตอมของคาร์บอนจะมีไฮโดรเจนติดอยู่ 2 ตัว เนื่องจากแต่ละอะตอมของคาร์บอนไม่สามารถรับ ไฮโดรเจนได้อีกเพราะไม่มีพันธะว่าง จึงเรียกน้ำมันที่มีกรดไขมันประเภทนี้ว่า “น้ำมันอิ่มตัว” กรดไขมัน อิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวส่วนใหญ่ มีจำนวนอะตอมของคาร์บอน 8-14 ตัว กรดไขมันที่สำคัญได้แก่ กรด คาปริก (carpic acid – C10) กรดลอริก (Lauric acid – C12) และกรดไมริสติก (myristic acid – C14) ทำให้โมเลกุลมีความยาวของเส้น (chain) ขนาดปานกลาง นอกจากนี้ น้ำมันมะพร้าวยังประกอบ ไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) แต่มีเพียง 9 % ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 2.1.1.1 กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fatty acid) คือ กรดไขมันที่มีอะตอมของคาร์บอน 1 ตัว ไม่มีไฮโดรเจน 2 ตัวมาจับ จึงต้องจับคู่กันเองด้วย พันธะคู่ (double bond) จึงเป็น กรดไขมันที่มีพันธะคู่เพียงหนึ่งคู่ 2.1.1.2 กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fatty acid) คือ กรดไขมันที่มีพันธะคู่มากกว่า 1 คู่ ส่วนใหญ่กรดไขมันไม่อิ่มตัวจะมีจำนวนอะตอมของ คาร์บอนมาก จึงทำให้โมเลกุลมีความยาวมาก เช่น กรดลินโนเลอิก (linoleic acid – C18) 2.1.2 กรดลอริก (lauric acid)น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันจากพืชชนิดเดียว ในโลกที่มีกรดลอริก อยู่ในปริมาณที่สูงมากประมาณ48 – 53 % และกรดลอริกนี้เอง ที่ทำให้น้ำมัน มะพร้าวมีคุณสมบัติพิเศษในการเสริมสุขภาพและ ความงามของมนุษย์ น้ำมันมะพร้าวยังมีกรดคาปริก (capric acid) ซึ่งแม้ว่าจะมีน้อยกว่ากรดลอริก คือ มีเพียง 6-7 % แต่ก็ช่วยเสริมประสิทธิภาพของ กรดลอริก 2.1.3 วิตามินอี (vitamin E) น้ำมันมะพร้าวที่ไม่ผ่านขบวนการ RBD ยังคง มีวิตามินอีเหลืออยู่ และก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวโดดเด่นกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น 2.1.4 กลิ่น กลิ่นเฉพาะของมะพร้าว มีรายงานสาระสำคัญอื่นๆ ดังนี้ - ไทรเทอร์ปีนส์ (triterpenes ) ได้แก่อัลฟา-, เบต้า-อะมัยริน ( α -, ß – amyrin) ไซโคลอาทีนอล (cycloartenol ) สควาลีน (squalene - สเตียรอยด์ (steroids) ได้แก่ แคมเพสเตียรอล (campesterol) เบต้าซิโตสเตียรอล ( ß - sitosterol ) สติ๊กมาสเตียรอล (stigmasterol - แอลคาลอยด์ ได้แก่ ลิกัสทราซีน (ligustrazine) - โปรตีด (proteids) ได้แก่อะลานีน (alanine) กรดกลูตามิก (glutamic acid) ไลซีน (lysine) - อัลเคน ได้แก่ เอ็น-โดโคแซน (n-docosane) เอ็น-ไทรโคเซน (n-tricosane)


5 2.2 สรรพคุณพื้นบ้านของไทย ใช้น้ำมันมะพร้าวทาแก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกรักษา โรคผิวหนัง กลาก รักษาบาดแผลเรื้อรัง แผลสด แผลเน่าเปื่อย รักษาบาดแผลที่เกิดจากความเย็นจัด ดับพิษปวดแสบปวดร้อน แก้ผิวหนังด่าง แก้ผิวหนังแตกเป็นขุย อุดฟันแก้ปวดฟัน ใช้น้ำมันมะพร้าว รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก กัวเตมาลา ใช้สารสกัดน้ำร้อนจากผลแห้งรักษาฝี รักษาผิวหนังติเชื้อ ผิวหนังอักเสบ และลดการอักเสบ ฟิจิ ใช้น้ำมันจากเมล็ดป้องกันผมร่วงนอกจากนี้ส่วนอื่นๆ ของ มะพร้าวยังมีสรรพคุณทางยา เช่น ราก แก้กำเดา แก้เสมหะ ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย เปลือกต้น ชะล้างบาดแผล สมานแผล ทาแก้หิด ใช้สีฟัน แก้ปวดฟัน น้ำจากผลชูกำลัง บำรุงกุมารในครรภ์ให้มี กำลัง บำรุงหัวใจ แก้ท้องเดิน ทำให้จิตใจแช่มชื่น 2.3 ประโยชน์ทางเครื่องสำอาง : น้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นเบสของขี้ผึ้ง และใช้เป็น ส่วนผสมที่ให้cooling effect ในเครื่องสำอางและลูกอม เป็นส่วนประกอบในแชมพูเพื่อให้เส้นผมเป็น เงางามและจัดทรงง่าย ทำให้เส้นผมคงความสะอาดได้นาน เป็นส่วนประกอบในแชมพูต้านรังแค แก้คัน ศีรษะ เป็นส่วนประกอบในแชมพูที่ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง สำหรับชำระล้าง และเป็นส่วนประกอบในสารเคลือบผิว ทำให้ผิวนิ่มและลดการระคายเคืองในผู้ป่วย โรคเรื้อนกวางที่ต้องได้รับการฉายรังสีป้องกันแสงแดด (tanning sunscreen) 2.4 ประโยชน์ทางยา : น้ำมันมะพร้าวกระตุ้นการงอกของเล็บและทำให้เล็บแข็งแรง มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ต้านยีสต์ Candida albicans 3. ประเภทของน้ำมันมะพร้าว 3.1 น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ สกัดเย็น คือน้ำมันที่ผลิตจากกระบวนการหมักกะทิและ การบีบมะพร้าวที่ขูดหรือตากหรืออบให้ความชื้นลดลงแล้วบีบด้วยเครื่อง หลังจากนั้นก็นำไปกรองและ ระเหยน้ำอีกครั้ง โดยจะไม่ผ่านความร้อนสูง (ไม่เกิน 65 องศาเซลเซียส) และไม่ผ่ากระบวนการทาง เคมี น้ำมันที่สกัดได้จะใสเหมือนน้ำ ไม่มีสี อาจมีกลิ่นมะพร้าวได้อ่อน ๆ น้ำมันจึงอุดมไปด้วยวิตามีนอี ชนิดที่ดีซึ่งจะต่างกับน้ำมันมะพร้าว ที่เราเคยใช้กันเป็นที่รู้จัก ซึ่งผ่านความร้อนสูงในการผลิต มีการ ฟอกสี และผ่านกระบวนการทางเคมี และที่สำคัญในน้ำมันมะพร้าวมีกรดคลอลิกอยู่ประมาณ 54.61% ซึ่งทำให้น้ำมันมะพร้าวดีเด่นกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ เพราะมีความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกัน โดย หลังจากที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวเข้าไปในร่างกาย กรดคลอลิคในน้ำมันมะพร้าวจะเปลี่ยนเป็นโมโนกลี เซอไรด์ทีที่มีชื่อว่า โมโนลอริน ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่อยู่ในน้ำนมมารดา ที่จะคอยสร้างภูมิคุ้มกันให้ ทารกในระยะ 6 เดือนแรกที่ร่างกายยังไม่สร้างระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารปฏิชีวนะที่สามารถ ทำลายเชื้อโรคทุกชนิด ที่ดีกว่ายาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ โปร โตซัว และไวรัส รวมทั้งเชื่อที่ก่อให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัวอีกด้วย 3.2 น้ำมันมะพร้าวบีบเย็น (cold-pressed coconut oil) โดยขบวนการบีบไม่ ผ่านความร้อนสูง ผลิตจากเนื้อมะพร้าวสดเป็นน้ำมันมะพร้าวที่บริสุทธิ์ที่สุด สีใสเหมือนน้ำ มีวิตามินอี และไม่ผ่านขบวนการเติมออกซิเจน (oxidation) มีค่า peroxide และกรดไขมันอิสระต่ำมีกลิ่นมะพร้าว อย่างอ่อน ๆ ถึงแรง (ขึ้นอยู่กับขบวนการการผลิต) มีความชื้นไม่เกิน 0.1 % เรียกน้ำมันมะพร้าวชนิดนี้ ว่า น้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ (Virgin Coconut Oil)


6 4. บทบาททางสรีรวิทยาของน้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันพืชที่มีองค์ประกอบที่แตกต่างไปจากน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ ดัง ได้กล่าวมาแล้ว และแต่ละองค์ประกอบก็มีบทบาททางสรีรวิทยาที่เสริมให้น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ดี ที่สุดสำหรับสุขภาพและความงามของผู้บริโภค ดังคำอธิบายต่อไปนี้ 4.1 ความอิ่มตัว เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันที่อิ่มตัวโดยที่พันธะ (bond) ที่จับกันระหว่างอะตอมของคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยว (single bond) ทำให้มีความเสถียรหรือ อยู่ตัว (stability) สูงจึงไม่ถูกอะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจนเข้าไปแทรกได้ง่าย ๆ และไม่มีกลิ่นหืน เหมือนน้ำมันไม่อิ่มตัวโดยเฉพาะพวกที่เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated oil) ซึ่งมีพันธะ คู่หลายตำแหน่งเมื่อถูกความร้อนสูงจะทำให้เกิดเป็น trans fatty acids ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดทำให้ เกิดผลร้ายต่อร่างกายมากมาย เช่นทำลาย เยื่อหุ้มเซลล์ (membrane) อันเป็นผลทำให้เซลล์อ่อนแอจน เชื้อโรคและสารพิษเข้าไปได้สะดวก ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เปลี่ยนแปลงกลไกของร่างกายในการขจัด คอเลสเตอรอลโดยการขัดขวางการเปลี่ยนไปเป็นพลังงานในตับ จึงทำให้มีปริมาณคอเลสเตอรอล เพิ่มขึ้นในกระแสโลหิต ลดปริมาณและคุณภาพของนมน้ำเหลืองของมารดา เพิ่มโอกาสเป็น โรคเบาหวาน ลดปริมาณของฮอร์โมนเทสโตสเตอโรล ในเพศชาย เป็นต้น 4.2 กรดไขมันขนาดกลาง การที่กรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวที่โมเลกุลขนาดกลาง มีส่วนอย่างมากที่ทำให้มีคุณสมบัติเป็นเลิศ ดังจะเห็นได้จากกรณีดังต่อไปนี้ 4.3 เปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว ร่างกายของมนุษย์สามารถเปลี่ยนน้ำมัน มะพร้าวให้เป็นพลังงานอย่างรวดเร็ว เนื่องจากส่วนใหญ่ของกรดไขมันของน้ำมันมะพร้าวมีโมเลกุล ขนาดกลาง (C8 - C14) เมื่อเราบริโภคเข้าไปมันจะผ่านจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้ แล้วเปลี่ยนเป็น พลังงานที่ตับอย่างรวดเร็ว (ภายในหนึ่งชั่วโมง) ทำให้ไม่มีไขมันเหลือสะสมในร่างกาย ไขจากรังผึ้ง รูปที่ 1 รังผึ้ง ไขจากรังผึ้งหรือไขผึ้ง เป็นสารที่ผึ้งงานผลิตจากต่อมไขผึ้ง (wax gland) เพื่อใช้สร้างรวงผึ้ง ซ่อมแซมและปิดฝาหลอดรวง ไขผึ้งที่ผลิตออกมาจากต่อมไขผึ้งจะมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็ก ๆ (wax scale) สีขาวใส มีน้ำหนักเบา เกล็ดมีขนาดประมาณ 1x1 มิลลิเมตร หนาประมาณ 0.2-0.5 มิลลิเมตร ถ้านำแผ่นไขผึ้งประมาณ 800,000 เกล็ดมาชั่ง มีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม และผึ้งต้องกินน้ำหวานมาก


7 ถึง 8 กิโลกรัม เพื่อผลิตไขผึ้ง 1 กิโลกรัม (สมนึก บุญเกิด,2544) 1. แหล่งที่มาของไขผึ้ง ไขผึ้งส่วนใหญ่ได้มาจากการเลี้ยงผึ้งอุตสาหกรรมหรือผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) โดยรวบรวมจากรวงผึ้งเก่า (old comb) รวงส่วนเกิน (burr comb) และจากส่วน ที่ได้มาจากกการปาดรวงน้ำผึ้ง (capping wax) ก่อนนำไปเข้าเครื่องสลัดน้ำผึ้ง ไขผึ้งที่ได้จากแหล่งที่มา ต่างกัน มีผลต่อคุณภาพของไขผึ้ง ดังนี้ 1. ไขผึ้งที่ได้จากการนำรวงผึ้งเก่ามาหลอม มักมีสีคล้ำเพราะมีสิ่งเจือปนมาก เช่น ชันผึ้ง เกสรผึ้ง และคราบดักแด้ต้องนำไปฟอกสีก่อน ถ้าต้องการขายให้ได้ราคาสูงขึ้น ไขผึ้งที่ได้มา จากส่วนนี้ราคาถูกที่สุด เพราะมีสิ่งเจือปน ได้แก่สารพวกคาโรทีนอยด์ และไอโอดีน 2. ไขผึ้งที่ได้จากรวงส่วนเกิน เมื่อทำการขูดทำความสะอาดคอนผึ้งที่ผึ้งกำลัง สร้างรวงส่วนเกิน ผึ้งงานสร้างรวงส่วนเกินขึ้นมาตรงบริเวณที่มีช่องว่างในรัง ซึ่งกว้างเกินระยะช่องผึ้ง (bee space) หรือ 3/8 นิ้ว ที่ผึ้งใช้เป็นทางเดิน เพื่อการติดต่อกันระหว่างผึ้งงานด้วยกันเอง ส่วนเกินนี้ มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผึ้งรังนั้นมีประชากรมากขึ้น เพราะนางพญาไข่ดก และแหล่งอาหารในธรรมชาติ อุดมสมบูรณ์ 3. ไขผึ้งที่ได้จากการปาด หรือเปิดฝารวงน้ำผึ้ง ก่อนที่จะนำคอนน้ำผึ้งไปเข้า เครื่องสลัดน้ำผึ้งไขผึ้งที่ได้จากการปาดรวงน้ำผึ้ง เป็นไขผึ้งที่มีคุณภาพดีที่สุด ไขผึ้งชนิดนี้มักใช้ทำ เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง 2. องค์ประกอบของไขผึ้ง ผึ้งงานต้องกินน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง จำนวนมากถึง 8 กิโลกรัม เพื่อผลิตไขผึ้งได้ เพียง 1กิโลกรัม ไขผึ้งจึงมีองค์ประกอบของโมเลกุลของธาตุหลักเช่นเดียวกับน้ำผึ้ง คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน โดยมีสัดส่วนของสารประกอบชนิดต่าง ๆ ดังนี้ 1. ไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbons) 14% 2. โมโนเอสเทอร์(monoesters) 35% 3. ไดเอสเทอร์ (diesters) 14% 4. ไตรเอสเทอร์ (triesters) 3% 5. ไฮดรอกซี่โมโนเอสเทอร์ (hydroxy monoesters) 4% 6. ไฮดรอกซี่โพลีเอสเทอร์ (hydroxyl polyesters) 8% 7. กรดเอสเทอร์ (acid esters) 1% 8. กรดโพลีเอสเทอร์ (acid polyesters) 2% 9. กรดอิสระ (free acid) 12% 10. แอลกอฮอล์อิสระ (free alcohols) 1% 11. สารที่ยังไม่ทราบชนิด (unidentifiect) 6% 3. คุณสมบัติของไขผึ้ง 1. ไขผึ้งบริสุทธิ์จะไม่มีสีหรือเห็นเป็นสีใส ๆ โปร่งแสง ไขผึ้งละลายได้ดีใน น้ำมัน โดยเฉพาะน้ำมันสน แต่ไม่ละลายในน้ำถ้านำไขผึ้งที่แข็งไปต้มในน้ำ ไขผึ้งจะหลอมละลายลอยตัว


8 อยู่ที่ผิวน้ำ 2. ไขผึ้งมีจุดหลอมเหลวเฉลี่ยที่ 63-65 องศาเซลเซียส ถ้าได้รับความร้อนสูง กว่าจุดหลอมเหลว จะเกิดเปลวไฟหรือติดไฟ ลุกไหม้เหมือนก๊าซจะเป็นอันตราย ดังนั้นการหลอมไขผึ้ง ควรใช้ความร้อนจากไอน้ำหรือนึ่งในน้ำร้อน 3. ไขผึ้งถ้าเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำ ไขผึ้งจะหดตัวและทำให้เปราะแตกง่าย เช่น เก็บไขผึ้งไว้ที่ 10 องศาเซลเซียส ปริมาตร ของไขผึ้งจะลดลงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ 4. การนำไปใช้ประโยชน์ไขผึ้งที่บริสุทธิ์จากธรรมชาติจะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ จากไขผึ้งนั้นมีคุณภาพกายภาพและทางเคมีสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไขเทียม ไขผึ้งนอกจาก นำไปทำเทียนไขแล้ว ยังใช้ทำเครื่องสำอาง กระบวนการทำ ผ้าบาติก งานโลหะ ใช้เป็นสารกันน้ำ สาร ขัดเงา สารหล่อลื่น ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้ 1. ใช้ทำเครื่องสำอาง ประมาณร้อยละ 35-40 2. ใช้ในงานเภสัชกรรม ประมาณร้อยละ 25-30 3. ใช้ทำเทียนไข ประมาณร้อยละ 20 4. ใช้ทำอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 10-20 ประเทศที่ใช้ไขผึ้งมากที่สุด ในโลก คือ อเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และเยอรมัน ตามลำดับ และที่สำคัญคือ ไขผึ้งแท้ถูกนำกลับมาใช้ทำ แผ่นรังเทียม เพื่อประหยัดเวลาในการสร้างรวงรังให้แก่ผึ้ง ทำให้เก็บน้ำผึ้งได้มากขึ้น 5. วิธีการเก็บไขผึ้ง 1. ไขผึ้งที่หลอมแล้วต้องห่อหุ้มด้วยพลาสติก ระบุขนาด น้ำหนัก และวัน เดือน ปี ที่ผลิต 2. สถานที่เก็บไขผึ้ง เก็บที่อุณหภูมิห้อง โดยห้องนั้นต้อง สะอาด แห้ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และไขผึ้งต้องไม่สัมผัสกับ แสงอาทิตย์โดยตรง 6. วิธีหลอมไขผึ้ง 1. คอนผึ้งเก่าที่จะนำมาหลอมเป็นไขผึ้ง ให้นำออกจากกรอบคอนผึ้ง ทั้งส่วนที่เป็นไม้และลวดให้เรียบร้อย 2. หลอมไขผึ้งในถังสแตนเลส 2 ชั้น ที่มีชั้นน้ำร้อนคั่นกลางห้าม หลอมไขผึ้งในถังสแตนเลสที่ผิวโลหะสัมผัสกับความร้อนโดยตรง 3. ให้รีบหลอมรวงผึ้งเก่าโดยเร็ว และจัดการเศษที่เหลือจากการ หลอมรวงผึ้งเก่า เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม


9 วิธีทำลิปบาล์มอย่างง่ายๆ รูปที่ 2 ลิปบาล์ม วิธีทำลิปบาล์มอย่างง่ายๆ สำหรับคนที่ไม่อยากเสียเวลามากมายในการทำลิปบาล์ม มันง่าย และก็ใช้ได้ดีปริมาณ : 1/4 ออนซ์สามารถเก็บไว้ได้นาน 3 เดือน ส่วนผสม 1. น้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ 2. ขี้ผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ 3. วิตามินอี(400 mg) 1 แคปซูล วิธีทำ 1. นำขี้ผึ้งใส่ในถ้วยทนความร้อน ใส่น้ำมันมะกอกและวิตามินอีลงไป 2. นำถ้วยนั้นจุ่มลงในน้ำร้อน จนกระทั่งขี้ผึ้งเริ่มเหลว จึงยกถ้วยออก 3. เทขี้ผึ้งลงในภาชนะที่ต้องการ รอจนแข็งและเย็นลงก่อนที่จะใช้


10 บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีทำการทดลอง วัสดุอุปกรณ์ 1. ถ้วยกระเบื้องทนไฟ 1 ใบ 2. บีกเกอร์ขนาด 50 ml 1 ใบ 3. แท่งคนสาร 1 อัน 4. ตะเกียงแอลกอฮอร์พร้อมที่กั้นลม 1 ชุด 5. ไขผึ้ง 20 กรัม 6. น้ำมันมะพร้าว 100 มิลลิลิตร 7. ตลับเปล่า 12 อัน 8. เครื่องชั่ง 1 เครื่อง 9. มีดขนาดเล็ก 1 ด้าม 10. กระบอกตวง 1 อัน 11. กระดาษกรองสาร 3 แผ่น 12. ช้อนตักสารเบอร์ 1 1 อัน รูปที่ 3 วัสดุอุปกรณ์ในการทดลอง


11 วิธีดำเนินการทดลอง 1. เตรียมอุปกรณ์ 1.1 การเตรียมสีจากพืช โดยการนำดอกกุหลาบ มาแกะเอาเฉพาะกลีบดอกแล้วตาก ให้แห้ง จากนั้นบดให้ละเอียด รูปที่ 4 การตากกลีบดอกกุหลาบ 2. ขั้นทดลอง 2.1 เตรียมส่วนผสมระหว่าง ไขผึ้ง : น้ำมันมะพร้าว : สีจากพืช ในอัตราส่วนดังนี้ สูตรที่ 1 1 กรัม : 4 มิลลิลิตร : 1 ช้อน หรือ 1:4:1 สูตรที่ 2 1 กรัม : 5 มิลลิลิตร : 1 ช้อน หรือ 1:5:1 สูตรที่ 3 1 กรัม : 6 มิลลิลิตร : 1 ช้อน หรือ 1:6:1 สูตรที่ 4 1 กรัม : 7 มิลลิลิตร : 1 ช้อน หรือ 1:7:1 2.2 ต้มน้ำในถ้วยกระเบื้องให้ร้อน 2.3 นำส่วนผสมสูตรที่ 1 ใส่ในบีกเกอร์ขนาดเล็ก แล้วจุ่มลงในถ้วยกระเบื้องที่มีน้ำร้อน จนกระทั่งขี้ผึ้งเริ่มเหลว จึงยกบีกเกอร์ออก 2.4 เทขี้ผึ้งลงในตลับเปล่าที่ต้องการ รอจนแข็งและเย็นลง จากนั้นใช้มือกดที่ผิวขี้ผึ้ง สังเกตว่าติดนิ้วมือและสามารถทาริมฝีปากได้หรือไม่ 2.5 ทดลองสูตร ที่ 2 สูตรที่ 3 และสูตรที่ 4 ตามขั้นตอนข้อ 2.2 - 2.4 3. ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบ 3.1 นำลิปบาล์มจากกุหลาบในขั้นทดลอง ที่เหมาะสมที่สุดให้นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดแก้วจันทราราม จำนวน 99 คน ทดลองใช้ 3.2 ให้นักเรียนทำแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบ 3.3 วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละความพึงพอใจ


12 รูปที่ 5 เตรียมส่วนผสมทั้งหมดลงในบีกเกอร์ รูปที่ 6 ต้มสารผ่านน้ำร้อน แล้วเทลงตลับ ปล่อยให้เย็น


13 บทที่ 4 ผลการทดลอง จากการทำโครงงานเรื่อง “ลิปบาล์มจากกุหลาบ” ซึ่งจุดมุ่งหมายเพื่อทดลองหาอัตราส่วนที่ เหมาะสมในการทำผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากธรรมชาติ และเพื่อทำผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจาก ธรรมชาติ ผลการทดลองดังนี้ ผลการทดลอง จากการทดลองทำผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากกุหลาบทั้งหมด 4 สูตรผลปรากฏ ดังตาราง ตาราง 1 แสดงลักษณะที่สังเกตได้จากผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากกุหลาบ สูตรที่ ลักษณะสี ลักษณะเนื้อ 1 (1:4:1) สีชมพูอ่อน แข็ง ใช้นิ้วกดไม่ลง ความมันติด นิ้วน้อยมาก 2 (1:5:1) สีชมพูอ่อน แข็ง ใช้นิ้วกดไม่ลง ความมันติดนิ้วน้อย 3 (1:6:1) สีชมพูอ่อน แข็งปานกลาง ใช้นิ้วกดลง ความมันติดนิ้วปานกลาง 4 (1:7:1) สีชมพูอ่อน อ่อนมากนิ้วกดลงได้ง่าย เปื้อน ติดนิ้ว ความมันติดนิ้วมากที่สุด จากตาราง 1 พบว่า สูตรที่ 1 ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากกุหลาบ ลักษณะสีชมพูอ่อน เนื้อแข็ง ใช้นิ้วกดไม่ลง ความมันติดนิ้วน้อยมาก สูตรที่ 2 ลักษณะสีชมพูอ่อน เนื้อแข็ง ใช้นิ้วกดไม่ลงความมันติด นิ้วน้อย สูตรที่ 3 ลักษณะสีชมพูอ่อน แข็งปานกลาง ใช้นิ้วกดลง ความมันติดนิ้วปานกลาง สูตรที่ 4 ลักษณะสีชมพูอ่อน เนื้ออ่อนมาก นิ้วกดลงได้ง่าย เปื้อนติดนิ้ว ความมันติดนิ้วมากที่สุด รูปที่ 7 ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากกุหลาบ


14 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบ จากการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบ ได้ผลการศึกษาดังตาราง ตารางที่ 2 ความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบ ประเด็นที่ศึกษา ความพึงพอใจ (99 คน) - ความพึงพอใจ น้อยที่สุด (1) น้อย (2) ปานกลาง (3) มาก (4) มากที่สุด (5) 0 7 30 50 12 จากตารางที่ 2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบพบว่า มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด 12 คน มีความพึงพอใจระดับมาก 50 คน มีความพึงพอใจระดับปานกลาง 30 คน มี ความพึงพอใจระดับน้อย 7 คน และไม่มีใครมีความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด ตารางที่ 3 ค่าร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบ ประเด็นที่ศึกษา ร้อยละความพึงพอใจ (99 คน) - ความพึงพอใจ น้อยที่สุด (1) น้อย (2) ปานกลาง (3) มาก (4) มากที่สุด (5) 0 6.93 % 29.7 % 49.5 % 11.88 % จากตารางที่ 3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบ พบว่า มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด 11.88 % มีความพึงพอใจระดับมาก 49.5 % มีความพึงพอใจระดับปานกลาง 29.7 % มีความพึงพอใจระดับน้อย 6.93 % และไม่มีใครมีความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด


15 บทที่ 5 สรุปผลและอภิปรายการทดลอง โครงงานเรื่อง “ลิปบาล์มจากกุหลาบ” ซึ่งจุดมุ่งหมายเพื่อทดลองหาอัตราส่วนที่เหมาะสมใน การทำผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากกุหลาบ และเพื่อทำผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากกุหลาบ สรุปผล การทดลองดังนี้ สรุปผลการทดลอง จากการทดลองทำผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากกุหลาบ ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีชมพูอ่อนจากกุหลาบ ส่วนสิ่งที่ได้จากการสังเกตเหมือนกันคือ สูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 เป็นอัตราส่วนที่ไม่เหมาะสมเพราะเนื้อ ผลิตภัณฑ์แข็งเกินไป สูตรที่ 4 เป็นอัตราส่วนที่ไม่เหมาะสมเพราะเนื้อผลิตภัณฑ์อ่อนเกินไป สูตรที่ 3 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมเพราะเนื้อผลิตภัณฑ์ไม่แข็งและอ่อนจนเกินไป ดังนั้นอัตราส่วนที่เหมาะสมทำ ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากดอกกุหลาบ คือ ไขผึ้ง 1 กรัม : น้ำมันมะพร้าว 6 มิลลิลิตร : สีจากพืช 1 ช้อน หรืออัตราส่วน 1:6:1 อภิปรายผลการทดลอง 1. ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากกุหลาบสูตรที่ 1 (1:4:1) และสูตรที่ 2 (1:5:1) เนื้อของ ผลิตภัณฑ์แข็งเกินไปทั้งนี้เพราะมีไขผึ้งในปริมาณที่มากและน้ำมันมะพร้าวมีปริมาณน้อยเกินไป ทำให้ ความมันของน้ำมันมะพร้าวติดนิ้วมือน้อยมาก จึงเป็นอัตราส่วนที่ไม่เหมาะสมในการทำผลิตภัณฑ์บำรุง ริมฝีปากจากธรรมชาติ 2. ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากกุหลาบสูตรที่ 4 (1:7:1) เนื้อของผลิตภัณฑ์อ่อนจนเกินไปจนทำ ให้เปื้อนติดนิ้ว ทั้งนี้เพราะมีไขผึ้งในปริมาณที่น้อยและน้ำมันมะพร้าวมีปริมาณมากเกินไป ทำให้ความ มันของน้ำมันมะพร้าวติดนิ้วมือมากเกินไป จึงเป็นอัตราส่วนที่ไม่เหมาะสมในการทำผลิตภัณฑ์บำรุงริม ฝีปากจากธรรมชาติ 3. สีของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกุหลาบแดง ไม่มีผลทำให้เนื้อของผลิตภัณฑ์อ่อนหรือแข็ง เป็น เพียงแต่เพิ่มสีสันเท่านั้น สรุปผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบ จากการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบนักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 49.5 มี ความพึงพอใจระดับมากต่อลิปบาล์มจากกุหลาบ อยู่ในระดับดี อภิปรายผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบ จากการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ลิปบาล์มจากกุหลาบอยู่ในระดับดี อาจเป็นเพราะลิป บาล์มจากกุหลาบ สามารถทำให้ริมฝีปากชุ่มชื่น มีความมันวาว มีกลิ่นหอม และสีที่สวยงามจากกุหลาบ


16 ดังนั้นจากผลการศึกษาและการทดลอง เรื่อง ลิปบาล์มจากกุหลาบ เป็นการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติ ทั้งหมดมาหาอัตราส่วนที่จะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากดอกกุหลาบ ข้อเสนอแนะ 1. ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากดอกกุหลาบสูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 สามารถนำไปใช้ได้ในฤดู ร้อน เพราะอากาศร้อนจะทำให้เนื้อของผลิตภัณฑ์ไม่แข็งจนเกินไป 2. ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจาดอกกุหลาบสูตรที่ 4 สามารถนำไปใช้ได้ในฤดูหนาวที่หนาวจัด เพราะอากาศเย็นมาก ๆ จะทำให้เนื้อของผลิตภัณฑ์แข็งตัวขึ้นไม่อ่อนจนเกินไป 3. ถ้าต้องการผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากจากธรรมชาติที่มีสีอื่น ๆ นอกเหนือไปจากสีชมพูอ่อน สามารถใช้สีฟ้าจากดอกอัญชัน หรือจากดอกไม้ชนิดอื่นตามต้องการ 4. จากการวัดค่าความเป็นกรด - ด่าง (ph) ของลิปบาล์มจากกุหลาบ โดยใช้กระดาษลิตมัส พบว่าได้ค่าความเป็นกรด - ด่าง (ph) ประมาณ 5 – 6 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถใช้กับริมฝีปากได้ โดย ไม่เป็นอันตราย


17 บรรณานุกรม กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). ไขผึ้ง. สืบค้น 5 กันยายน 2566, จาก https://www.did.go.th/nutrition. กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). ไขผึ้ง. สืบค้น 5 กันยายน 2566, จาก https://www. rytg.com/news. เมดไทย. (2561). น้ำมันมะพร้าว. สืบค้น 5 กันยายน 2566. จาก https://www.tistr- foodprocess.net/food. รัตตินันท์. (2560). น้ำมันมะพร้าว. สืบค้น 6 กันยายน 2566. จาก https://www.sa.ac.th/biodversity. วันทนีย์ ไพฑูรย์. (2561). สีจากพืช สืบค้น 7 กันยายน 2566. จาก https://www.natural.benefit.com.


18 ภาคผนวก ประกอบการทำโครงงาน


19 การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำการทดลอง ตากกลีบดอกกุหลาบเพื่อใช้ในการทำสีของลิป


20 เตรียมส่วนผสมทั้งหมดลงในบีกเกอร์


21 นำส่วนผสมแต่ละสูตรลงในบีกเกอร์


22 นำส่วนผสมไปต้มผ่านน้ำร้อน แล้วนำส่วนผสมที่ละลายแล้วใส่ในตลับเปล่า


23 ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปาก


24 การวัดค่าความเป็นกรด - ด่าง (ph)


25 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ลิปบาล์ม โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลิปบาล์มจากกุหลาบ คำชี้แจง 1. แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ตอนที่ 2 ความพึงพอใจต่อลิปบาล์มจากกุหลาบ แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้ 5 หมายถึง ความพึงพอใจระดับมากที่สุด 4 หมายถึง ความพึงพอใจระดับมาก 3 หมายถึง ความพึงพอใจระหับปานกลาง 2 หมายถึง ความพึงพอใจระดับน้อย 1 หมายถึง ความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ 2. การตอบแบบสอบถามนี้ คำตออบของท่านมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์ข้อมูลในการทำ โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลิปบาล์มจากกุหลาบ กรุณาตอบคำถามทุกข้อ ทุกตอน เพื่อให้โครงงานนี้มี ความเที่ยงตรงและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง โปรดตอบแบบสอบถามตามความเป็นจริง 3. ข้อมูลที่ท่านตอบแบบสอบถามนี้จะนำเสนอผลการศึกษาความพึงพอใจในภาพรวมเท่านั้น คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ลงใน ที่ตรงกับข้อมูลของท่านตามสภาพความเป็นจริง ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล 1. เพศ ชาย หญิง


26 ตอนที่ 2 ความพึงพอใจต่อลิปบาล์มจากกุหลาบ แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้ 5 หมายถึง ความพึงพอใจระดับมากที่สุด 4 หมายถึง ความพึงพอใจระดับมาก 3 หมายถึง ความพึงพอใจระหับปานกลาง 2 หมายถึง ความพึงพอใจระดับน้อย 1 หมายถึง ความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด คำถาม ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด (5) มาก (4) ปานกลาง (3) น้อย (2) น้อยที่สุด (1) 1. กลิ่นของลิปบาล์มจากกุหลาบ 2. สีสันของลิปบาล์มจากกุหลาบ 3. ความสวยงามของรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ 4. เนื้อสัมผัสของลิปบาล์มจากกุหลาบ 5. ความละเอียดของเนื้อลิปบาล์มาจากกุหลาบ 6. ความนุ่มของริมฝีปากหลังจากการใช้ลิปบาล์ม จากกุหลาบ ข้อเสนอแนะ


Click to View FlipBook Version