The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ใบความรู้ รายวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย เรื่อง สงครามช้างเผือก ครั้งที่ 16

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by อาร์ เธอร์, 2023-11-08 02:38:03

ใบความรู้ รายวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย เรื่อง สงครามช้างเผือก ครั้งที่ 16

ใบความรู้ รายวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย เรื่อง สงครามช้างเผือก ครั้งที่ 16

ใบความรู้ เรื่องที่ 1 สงครามช้างเผือก 1. ความเป็นมา สงครามช้างเผือก เป็นสงครามก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง สงคราม มีสาเหตุมาจาก ในปีพ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนอง ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิเพื่อทูลขอ ช้างเผือก 2 เชือก เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้นมีช้างเผือกอยู่ ทั้งหมด 7 เชือก ฝ่ายขุนนางจึงมีความเห็นเป็น สองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งต้องการให้ส่งช้างเผือกไปถวาย แก่พระเจ้าบุเรงนองเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม ส่วนอีกฝ่ายอันได้แก่ พระราเมศวร พระยาจักรีพระสุนทรสงครามไม่เห็นด้วยกับการส่งช้างเผือกไป เนื่องจากจะเป็นการอ่อนข้อให้หง สาวดีในที่สุดสมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็ทรงมีพระบรมราชโองการไม่ประทานช้างเผือก แล้วมีพระราชสาสน์ตอบ กลับไปดังนี้ “ช้างเผือกย่อมเกิดส าหรับบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นเจ้าของเมื่อพระเจ้าหงสาวดีได้ บ าเพ็ญธรรมให้ไพบูรณ์คงจะได้ช้างเผือกมาสู่บารมีเป็นมั่นคงอย่าได้ทรงวิตกเลย” พร้อมรับสั่งให้เตรียมไพร่พล พร้อมรับศึกอย่างเข้มแข็ง ทางฝ่ายพระเจ้าบุเรงนอง ได้ยกทัพรวมพลที่เมืองเมาะตะมะ จัดทัพใหญ่ออกเป็น 5 ทัพ มีเจ้าเมืองเชียงใหม่ควบคุมกองเรือเสบียง ล่องลงมาถึงเมืองตาก รวมไพล่พลเป็นจ านวนประมาณ 500,000 คน ส่วนทางอยุธยาได้เตรียมพลพร้อมรบและเรือรบจ านวนมาก เพื่อป้องกันการโจมตีจากทัพหลวงของหงสาวดี ทางด่านเจดีย์สามองค์แต่เหตุการณ์ไม่เป็นดังที่คาดไว้ กองทัพพม่ากลับยกทัพมาทางด่านแม่ละเมา และเข้าตี ก าแพงเพชรจนชนะ แล้วแยกทัพไปตีสุโขทัย เนื่องด้วยทางสุโขทัยมีก าลังน้อยกว่ามาก แต่ก็สู้รบอย่างเต็ม ความสามารถ แต่ท้ายที่สุดก็ถูกพม่ายึดเมืองได้ส าเร็จ จากนั้นพม่าจึงล้อม เมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาก็ต่อสู้ เต็มความสามารถเช่นกัน แต่เกิดไข้ทรพิษขึ้นในเมือง และเสบียงอาหารก็หมดจึงยอมจ านน หลังจากที่พม่าได้หัว เมืองฝ่ายเหนือแล้วจึงบังคับให้พระมหาธรรมราชาและเจ้าเมืองถือน้ ากระท าสัตย์ให้อยู่ใต้บังคับของพม่า พร้อมทั้ง สั่งให้ยกทัพ ตามลงมาเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาด้วย ในเวลาต่อมา กองทัพพม่าก็ยกมาประชิดเขตเมืองใกล้ทุ่งลุมพลีพระมหาจักรพรรดิทรงให้ กองทัพบกกองทัพเรือระดมยิงใส่พม่าเป็นสามารถแต่สู้ไม่ได้จึงถอยทางพม่าจึงยึดได้ป้อมพระยาจักรี(ทุ่งลุมพลี) ป้อมจ าปา ป้อมพระยามหาเสนา (ทุ่งหันตรา) แล้วล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นาน พระมหาจักรพรรดิทรงเห็นว่าพม่ามี ก าลังมาก การที่จะออกไปรบเพื่อเอาชัยคงจะยากนักจึงทรงสั่งให้เรือรบน าปืนใหญ่ล่องไปยิงทหารพม่าเป็นการถ่วง เวลาให้เสบียงอาหารหมดหรือเข้าฤดูน้ าหลากพม่าคงจะถอยไปเองแต่พม่าได้เตรียมเรือรบและปืนใหญ่มาจ านวน มากยิงใส่เรือรบไทยพังเสียหายหมด แล้วตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามาในพระนครทุกวันถูกชาวบ้านล้มตาย บ้านเรือน วัด เสียหายมากทางพระเจ้าบุเรงนอง จึงมีพระราชสาส์นมาว่า จะรบต่อไปหรือยอมเป็นไมตรีเนื่องด้วยทางไทย


เสียเปรียบมาก พระมหาจักรพรรดิจึงทรงยอมเป็นไมตรีท าให้ฝ่ายไทย ต้องเสียช้างเผือกจาก 2 เชือกเป็น 4 เชือก และทุกปีต้องส่งช้างให้30 เชือก พร้อมเงิน 300 ชั่งจับตัวพระยาจักรี ไปเป็นตัวประกัน นอกจากนี้ยังจะขอเก็บ ภาษีอากรจากเมืองมะริดที่ขึ้นกับไทยอีกด้วย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงพระชมมายุได้9 พรรษาถูกน าเสด็จ ไปประทับที่กรุงหงสาวดีเพื่อเป็นองค์ประกันด้วย 2. การถอดองค์ความรู้ สงครามช้างเผือกเป็นสงครามที่เกิดขึ้นหลังจากพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ถูกกลุ่ม แม่ทัพมอญลอบปลง พระชนม์เพื่อชิงราชสมบัติบุเรงนองซึ่งปราบกบฏส าเร็จแล้วได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหงสาวดีได้ยกทัพมาตีกรุง ศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2106 เนื่องจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิไม่ทรงยอมมอบช้างเผือกให้ตามที่ขอมาบุเรงนองยก ทัพมาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือผ่านด่านแม่ละเมาและตีเมืองพิษณุโลกได้ท าให้พระมหาธรรมราชาต้องถวายสัตย์อยู่ ข้างฝ่ายหงสาวดีสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงยอมหย่าศึกกับพระเจ้าบุเรงนอง จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ท าให้กรุง ศรีอยุธยาต้องมอบช้างเผือกให้แก่พระเจ้าหงสาวดี4 เชือกส่วยช้าง ปีละ 30 เชือกเงิน ปีละ 300 ชั่ง ภาษีอากรที่ เมืองมะริดเก็บได้และยอมให้น าตัวพระราเมศวร พระยาจักรีและพระสุนทรสงคราม ไปกรุงหงสาวดี บุเรงนองได้ แวะ เมืองพิษณุโลกและขอพระนเรศวร ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุ 9 พรรษา ไปเลี้ยงดูที่กรุงหงสาวดีอีกด้วย 3. บทเรียนที่ได้เพื่อน ามาปรับใช้ในการด าเนินชีวิตและความมั่นคงของชาติ หากมองตามสภาพเหตุการณ์สงครามครั้งนี้ พม่าเป็นผู้มาหยั่งเชิงลองก าลังกรุงศรีอยุธยาก่อน จึงใช้ข้ออ้างเรื่องช้างเผือกแต่เมื่อน าก าลังมาล้อมกรุงศรีอยุธยาแล้วก็คงจะรู้ว่ายากที่จะตีกรุงศรีอยุธยาได้ง่าย ๆ และหากแม้จะพิชิตได้ก็จะเกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ดังนั้นหากจะตีอยุธยาให้ได้ต้องกลับไปเตรียมทัพมาให้ ดีกว่าที่เป็นอยู่สิ่งที่ท าได้คือไม่หักหาญกรุงศรีอยุธยาจนเกินไปจึงยกเอาแค่เงื่อนไขในระดับที่กรุงศรีอยุธยายังรับได้ เพื่อที่จะสร้างภาพลักษณ์เกียรติยศศักดิ์ศรีให้ทั้งสองฝ่ายทางด้านหงสาวดีเองก็ได้รับผลประโยชน์ที่ต้องการหรือ แม้กระทั่งกรุงศรีอยุธยาเองจะสามารถรักษาตัวเองเอาไว้ได้แม้จะต้องเสียอะไรไปบ้างแต่ก็ไม่ได้ตกเป็นประเทศราช และไม่ถึงขั้นแพ้สงคราม กิจกรรมท้ายเรื่องที่ 1 สงครามช้างเผือก (ให้ผู้เรียนไปท ากิจกรรมท้ายเรื่องที่ 1 ที่สมุดบันทึก กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา)


Click to View FlipBook Version