The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by aeffeesocial, 2021-06-23 10:44:18

พื้นมหาสมุทร Ocean Floor

Chapter 10 Ocean Floor - mitrearth

สรุปเนือ้ หา . แบบฝกึ หดั

วิทยาศาสตรโ์ ลก

10

พื้นมหาสมุทร

OCEAN FLOOR

สันติ ภัยหลบลี้

สนั ติ ภยั หลบลี้ พ้ืนมหาสมุทร

วตั ถปุ ระสงคก์ ารเรยี นรู้
1. เพ่ือทาความเขา้ ใจองคป์ ระกอบของน้าทะเลและการเคล่ือนที่ของน้าใน
มหาสมทุ ร
2. เพอ่ื จาแนกลกั ษณะเฉพาะของสภาพแวดล้อมต่างๆ ในพื้นมหาสมทุ ร

สารบญั

สารบัญ หน้า
1. มหาสมทุ ร (Ocean) 1
2. การเคล่อื นทขี่ องกระแสน้า (Movement of Ocean Current) 2
3. การสารวจพื้นมหาสมุทร (Ocean-floor Exploration) 8
4. ขอบทวีป (Continental Margin) 13
5. แอ่งมหาสมทุ ร (Oceanic Basin) 18
6. สนั เขากลางมหาสมทุ ร (Mid-oceanic Ridge) 25
27
แบบฝึกหัด 32
เฉลยแบบฝึกหดั 47

1

สันติ ภัยหลบลี้ พ้ืนมหาสมทุ ร

1

มหาสมุทร

Ocean

โลกประกอบด้วยแผ่นดินประมาณ 29% ของพื้นผิวโลกทั้งหมด ส่วนที่
เหลืออีก 71% หรือคิดเป็นพื้นท่ีประมาณ 361x106 ตารางกิโลเมตร นั้นเป็นส่วน
ของมหาสมุ ท ร โดยซีกโลกเหนื อถือเป็ น ซี ก โลก แห่ งแผ่ น ดิ น (land
hemisphere) ใน ข ณ ะ ท่ี ซี ก โล ก ใต้ เรี ย ก ว่ า ซี ก โล ก แ ห่ ง น้ า (water
hemisphere) (รูป 1)

นักวิทยาศาสตร์จาแนกมหาสมุทรหลักๆ ออกเป็น 4 มหาสมุทร คือ (รูป
1-2) 1) มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) มพี ้ืนท่ี 181.34x106 ตารางกิโลเมตร
(46% ของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด) เป็นมหาสมุทรท่ีมีพ้ืนท่ีกว้างและลึกมากท่ีสุด
2) มหาสมทุ รแอตแลนตกิ (Atlantic Ocean) มพี นื้ ที่ 106.57x106 ตารางกโิ ลเมตร

2

สันติ ภยั หลบล้ี พ้นื มหาสมทุ ร

(23%) มีความลึกไม่มากนัก 3) มหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean) มีพื้นที่
74.1x106 ตารางกิโลเมตร (20%) มีพ้ืนท่ีโดยส่วนใหญ่อยู่ทางซีกโลกใต้ และ 4)
มหาสมทุ รอารค์ ตกิ (Arctic Ocean) มีพน้ื ท่ปี ระมาณ 7% ของมหาสมุทรแปซฟิ กิ

รูป 1. สัดส่วนของพื้นที่
แ ผ่ น ดิ น แ ล ะ
ม ห า ส มุ ท ร ต่ า ง ๆ
ในแต่ละละตจิ ดู

เน่ืองจากน้าในมหาสมุทรน้ันสามารถดูดกลืนรังสีจากดวงอาทิตย์ท่ีแผ่
มายังโลกได้ มหาสมุทรจึงมีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศและอุณหภูมิของโลก ซ่ึง
กระแสน้าในมหาสมุทรเป็นตัวกลางการกระจายความร้อนจากบรเิ วณที่มีอุณหภูมิ
สูงแถบศูนย์สูตรไปสู่พื้นท่ีเย็นแถบข้ัวโลก ดังนั้นในการศึกษาด้าน สมุทรศาสตร์
(Oceanography) จึงจาเป็นตอ้ งศกึ ษาคุณสมบัติของนา้ ในมหาสมทุ ร ดังนี้

โลกได้ชอ่ื ว่าเป็นดาวเคราะหแ์ หง่ น้า
เนือ่ งจากมีพ้นื ที่ทป่ี กคลมุ ด้วยน้ามากกว่าพน้ื ทวปี

3

สนั ติ ภัยหลบล้ี พืน้ มหาสมทุ ร

รูป 2. มหาสมทุ รของโลก

1) องค์ประกอบ (composition) น้าทะเลประกอบด้วยแร่ซึ่งอยู่ในรูป
ของสารละลายประมาณ 3.5% โดยน้าหนัก โดยในจานวนน้ีมีแร่จานวนมาก เช่น
โซเดียม (Na) ครอไรด์ (Cl) ซัลเฟต (SO4) แมกนีเซียม (Mg) แคลเซียม (Ca) และ
โปแตสเซียม (K) เป็นตน้ (รูป 3ก)

2) ความเค็ม (salinity) ความเค็มของน้าทะเลมาจากโซเดียมครอไรด์
(NaCl) หรือเกลือแกงเป็นหลัก ซ่ึงเกลือแกงโดยส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการผุพัง
ทางเคมีของหินและก๊าซที่ออกมาจากการปะทุของภูเขาไฟ โดยเฉลี่ยมหาสมุทรมี
ความเค็มประมาณ 35% (1:1,000) แต่จะมีความหลากหลายในบริเวณชายฝั่ง
เน่ืองจากบางพ้ืนท่ีมีน้าจากแม่น้า หรอื น้าจากการละลายของธารน้าแข็งไหลลงมา
ปะปนกันทาให้ความเคม็ ลดลง ในขณะที่บางพื้นท่เี ช่นทะเลปิด มีการระเหยของน้า
ทาใหค้ วามเค็มเพ่มิ ขนึ้ เช่น ทะเลเดดซี (Dead Sea) ในเขตแดนประเทศจอร์แดน
และอิสราเอล เปน็ ทะเลสาบนา้ เค็มที่มีความเขม้ ข้นของเกลือสงู มาก (รูป 3ข)

4

สนั ติ ภัยหลบลี้ พนื้ มหาสมทุ ร

รูป 3. (ก) อัตราส่วนองค์ประกอบของสารละลายท่ีมีอยู่ในน้าทะเล (ข) ทะเลสาบ
เดดซี [ProfStocker]

3) อุณหภมู ิ (temperature) อุณหภูมิของน้าทะเลจะแตกต่างกันในแต่
ละพ้ืนที่ ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีท่ีดูดกลืนได้จาก การแผ่รังสีดวงอาทิตย์ (solar
radiation) พืน้ ทใ่ี กล้เสน้ ศนู ย์สตู รมีอุณหภมู ิโดยเฉลย่ี ประมาณ 27 องศาเซลเซยี ส
และลดลงท่ีละติจูดห่างจากจุดศูนย์สูตร นอกจากน้ีท่ีตาแหน่งใดๆ อุณหภูมิจะ
เปล่ียนแปลงตามความลึก โดยพ้ืนท่ีใกล้เส้นศูนย์สูตร อุณหภูมิจะลดลงอย่าง
รวดเร็วเม่อื นา้ ลึกขึน้ สว่ นพืน้ ทซ่ี ง่ึ หา่ งจากเส้นศูนยส์ ตู ร อุณหภูมิทพี่ นื้ ผิวจะเยน็ เป็น
ปกติและไมค่ อ่ ยมกี ารเปล่ยี นแปลงอณุ หภมู ิตามความลกึ

4) ความหนาแน่น (density) ความหนาแน่นของน้าทะเลขึ้นอยู่กับ 2
ปัจจัย คือ 1) อุณหภูมิ และ 2) ความเค็ม ซึ่งจากความหนาแน่นที่แตกต่างกันนี้
นกั วิทยาศาสตร์สามารถจาแนกชั้นนา้ ในมหาสมุทรออกเปน็ 3 ช้ัน คอื (รูป 4)

นา้ เยน็ -รอ้ น หนาแน่นสูง-ต่า
นา้ เค็มมาก-นอ้ ย หนาแนน่ สงู -ตา่

5

สันติ ภัยหลบล้ี พนื้ มหาสมทุ ร

รูป 4. ชั้นน้าในมหาสมทุ รจาแนกจากความหนานแนน่ ของน้าทแี่ ตกต่างกัน

4.1) ชั้นน้าพ้ืนผิว (surface layer) เป็นช้ันน้าที่ระดับความลึก
ประมาณ 50-280 เมตร จากผิวน้า โดยปกติมีอุณหภูมิใกล้เคียงอุณหภูมิท่ีผิวน้า
และมีความแปรปรวนของอุณหภูมิและความเค็ม มากกว่าชั้นอื่นๆ โดยเฉพาะ
บริเวณท่ีมีละติจูดต่า เนื่องจากมีการดูดกลืนรังสีจากดวงอาทิตย์ การระเหย และ
การปะปนกันของน้าฝนหรือน้าท่า (น้าจากแม่น้า) บางคร้ังเรียกว่า ชั้นผสม
(mixing layer)

4.2) ชั้นเทอร์โมไคลน์ (thermocline) ถือเป็นโซนเปล่ียนผ่านระหว่าง
ชน้ั น้าพ้ืนผิวและชั้นน้าลึก เป็นชั้นที่มีอุณหภูมิของน้าลดลงอย่างรวดเรว็ ตามความ
ลึกที่เพ่ิมขึ้น (รูป 4) โดยปกติน้าในช้ันเทอร์โมไคลน์จะมีความเสถียรสูงจึงมี
ความสามารถในการขวางกั้นไม่ให้ชั้นน้าพื้นผิวที่อยู่ด้านบนไหลมาปะปนกันกับช้ัน
นา้ ลกึ ทีอ่ ย่ดู ้านล่างไดอ้ ยา่ งสะดวก ซง่ึ ในบริเวณละตจิ ดู ตา่ และละติจูดกลางจะมีช้ัน
เทอร์โมไคลน์ตลอดทั้งปีท่ีระดับความลึกประมาณ 280-1000 เมตร เรยี กว่า เทอร์

6

สนั ติ ภัยหลบล้ี พ้ืนมหาสมุทร

โมไคลน์ถาวร (permanent thermocline) ส่วนบริเวณละตจิ ูดสูง ในฤดูหนาว
อุณหภูมิผิวน้าจะต่า ทาให้ชั้นน้าพื้นผิวอาจลึกลงไปถึงชั้นเทอร์โคไคลน์ แต่ในฤดู
ร้อนอุณหภูมิท่ีผิวน้าสูงข้ึน โดยส่วนใหญ่เกิดเป็น เทอร์โมไคลน์ประจาฤดู
(seasonal thermocline) ในน้าชั้นบน

4.3) ช้ันนา้ ลกึ (deep layer) เปน็ บรเิ วณที่อยู่ใต้ชนั เทอรโ์ มไคลน์ ลงไป
ถึงพืน้ มหาสมุทร ซึง่ รงั สีจากดวงอาทิตย์ไมส่ ามารถส่องลงไปถงึ มีอุณหภมู ิประมาณ
1-3 องศาเซลเซียส จึงมีความหนาแน่นสูงและคงที่ อุณหภูมิของน้าจะลดลงอย่าง
ช้าๆ หรือเกือบคงที่ในบริเวณใกล้พ้ืนมหาสมุทร ยกเว้นบางบริเวณที่มี ร่องลึกก้น
สมุทร (trench) ซึ่งความร้อนจากภายในโลกสามารถแพร่กระจายออกมาได้ทาให้
อณุ หภมู ขิ องน้าอาจสูงกว่าพนื้ มหาสมุทรปกติ

7

สันติ ภยั หลบลี้ พน้ื มหาสมุทร

2

การเคลอื่ นท่ขี องกระแสนา้

Movement of Ocean Current

สืบเนื่องจากช้ันน้าในมหาสมุทรที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันดังที่อธิบายใน
ข้างต้น ประกอบกับผลจากการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จาแนกการ
เคลอื่ นที่ของกระแสน้าในมหาสมุทรออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

1) การหมุนเวียนของกระแสน้าพ้ืนผิว (surface circulation) เป็น
การย้ายมวลน้าที่ลึก ≥ 400 เมตร (10% ของมวลน้าท้ังหมดในมหาสมุทร) โดย
สาเหตุสาคัญของการเคล่ือนที่ เกิดจากความร้อนท่ีได้รับมาจากการแผ่รังสีดวง
อาทิตย์ ทาให้บริเวณศูนย์สูตรน้ามีอุณหภูมิสูง นา้ ขยายตัวและมีน้าหนักเบา ทาให้
ระดับน้าสูงกว่าแถบละติจูดสูง นา้ จึงไหลจากบริเวณละตจิ ดู ตา่ ไปละติจูดสงู (เส้นสี
แดงในรปู 5)

8

สันติ ภยั หลบล้ี พน้ื มหาสมุทร

รปู 5. แบบจาลองการหมนุ เวียนของกระแสนา้ พน้ื ผวิ ในมหาสมุทร

นอกจากนี้ลมประจาถิ่นที่พัดอยู่เหนือผิวน้า ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทาให้
เกิดกระแสน้าพ้ืนผิว โดยเมื่อลมพัดผิวหน้าของน้าจะเกิดคล่ืนและการเคล่ือนท่ี
หากไม่มีส่ิงกีดขวางกระแสน้า น้าจะไหลตามทิศทางลมเป็นหลัก เช่น ในบริเวณท่ี
อยู่ใกล้ข้ัวโลก กระแสน้าจะไหลรอบโลกจากตะวันออกไปตะวันตกเน่ืองจาก
อทิ ธิพลของ ลมค้า (trade wind) (รูป 6) แตห่ ากมีทวปี มาขวางกั้น กระแสนา้ จะ
ไหลสอดคล้องไปกับ ลักษณะทางภูมศิ าสตร์ทแ่ี ตกตา่ งกนั

ซงึ่ ทั้งปัจจัยด้านอุณหภูมิและลมประจาถิ่น เมื่อพิจารณาร่วมกับการหมุน
ของโลกและ แรงโคลิโอลิส (coriolis force) ทาให้เกิดการไหลเวียนของ
กระแสน้าขนาดใหญ่ท่ีพื้นผิวมหาสมุทร (conveyor belt) ช่วยให้มีการส่งผ่าน
ความร้อนจากพ้ืนท่ีอุ่น (ศูนย์สูตร) ไปสู่พื้นที่ซ่ึงเย็นกว่า (ละติจูดสูง) และสัมพันธ์
กับการหมุนเวียนของบรรยากาศโดยรวมของโลก โดยนักวิทยาศาสตร์ได้จาแนก

9

สนั ติ ภยั หลบลี้ พ้ืนมหาสมทุ ร

กระแสน้าขนาดใหญ่ท่ีพ้ืนผิวมหาสมุทร ตามแหล่งกาเนิดและความแตกต่างของ
อุณหภูมิได้ 5 วง (gyre) ได้แก่ (รูป 5) 1) วงแปซิฟิกเหนือ (North Pacific Gyre)
2) วงแปซิฟิกใต้ (South Pacific Gyre) 3) วงแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic
Gyre) 4) วงแอตแลนติกใต้ (South Atlantic Gyre) และ 5) วงมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Gyre)

รูป 6. แบบจาลองแสดงการเคล่ือนท่ีของลมโดยภาพรวมของโลก แนวลูกศรที่อยู่
ระหว่างละติจูด 30 องศาเหนือและใต้ (แถบสีส้ม) คือ ทิศทางการ
หมุนเวยี นของลมค้า (trade wind) ซง่ึ สัมพนั ธแ์ ละสอดคล้องกับทิศทางการ
หมุนเวยี นของกระแสนา้ พ้นื ผิว

10

สันติ ภัยหลบล้ี พนื้ มหาสมทุ ร

2) ก ารห มุ น เวี ย น ข อ งก ระแ ส น้ าใน ระดั บ ลึ ก ( deep-ocean
circulation) เปน็ การเคล่อื นท่ีของมวลน้าโดยส่วนใหญ่ (90%) ของมหาสมทุ ร ซึ่ง
เป็นผลมาจากความแตกต่างของความหนาแน่นของมวลน้า หรือเรียกอีกอย่างว่า
การหมุนเวียนเทอร์โมฮาลีน (thermohaline circulation) โดยในช่วงแรกเป็น
การไหลเวียนของมวลน้าในแนวดงิ่ ที่พนื้ ผิวน้า ของน้าในบริเวณละติจดู สงู เนื่องจาก
การเย็นตัวของน้าในบริเวณข้ัวโลกเหนือและข้ัวโลกใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดู
หนาว โดยเมื่อน้าเย็นตัวมวลน้าจะมีความหนาแน่นสูงและหนักขึ้น จึงจมตัวลงสู่
ด้านล่างและแผ่ออกไปในแนวระนาบใต้ผวิ นา้ เกดิ เป็นการหมุนเวียนของกระแสน้า
ในที่ลึก (รูป 7) ในขณะเดียวกันมวลน้าบริเวณเส้นศูนย์สูตรและพ้ืนที่ข้างเคียง ซ่ึง
ได้รับความรอ้ นจากดวงอาทติ ยอ์ ยา่ งมาก จะมีความหนาแน่นน้อยกว่าและเบากว่า
จึงไหลไปแทนที่มวลน้าท่จี มในบรเิ วณขั้วโลกท้ังสองหมนุ เวียนกันอยตู่ ลอดเวลา

จากหลักการดังกล่าวทาให้เกิดวงจรการไหลเวียนของกระแสน้าลึกใน
มหาสมุทรขนาดใหญ่ ท่ีมีชื่อเรียกกว่า แถบสายพานยักษ์ (Great Conveyor
Belt) โดยน้าทะเลความหนาแน่นสูงอุณหภูมิต่าจะจมตัวลงสู่ท้องมหาสมุทร
แอตแลนติกเหนือไหลลึกลงไปทางใต้ และเปลี่ยนทิศทางไปทางตะวันออก ซึ่ง
ในขณะท่ีไหลผ่านมหาสมุทรอินเดียน้าจะมีอุณหภูมิจะสูงขึนและลอยตัวขนึ้ ใกล้กับ
ประเทศอินเดียและทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก (รูป 7) น้าอุณหภูมิสูง
จากมหาสมุทรแปซิฟิก ไหลวกกลับผ่านมหาสมุทรอินเดียลงมาทางมหาสมุทร
แอตแลนติกใต้ และไหลย้อนกับไปทางมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ เป็นการ
ครบรอบแถบสายพานยักษ์ ซ่ึงการหมุนวนของกระแสน้าในระดับลึกใช้เวลา
ประมาณ 1,000 ปี

11

สันติ ภยั หลบล้ี พื้นมหาสมุทร

รูป 7. การหมุนเวียนของกระแสน้าในระดับลึก เรียกกว่า แถบสายพานยักษ์
(Great Conveyor Belt) [www.nasa.gov]

12

สันติ ภยั หลบล้ี พ้ืนมหาสมทุ ร

3

การสารวจพนื้ มหาสมทุ ร

Ocean-floor Exploration

สื บ เนื่ อ งจ าก ม ห าส มุ ท รน้ั น มี พื้ น ที่ ก ว้ างแ ล ะ มี ค ว าม ลึ ก ม าก
นกั วิทยาศาสตร์จึงต้องพัฒนาเทคนิคและเครื่องมือการสารวจพ้นื มหาสมุทรให้การ
ตรวจวัดระดับพื้นมหาสมุทรน้ันทาได้สะดวกข้ึนและรวดเร็วข้ึน โดยในปัจจุบัน
เทคนิคในการหยง่ั ความลกึ ของมหาสมทุ รแบ่งย่อยเป็น 3 ชนิด คือ

1) การหย่ังความลึกด้วยเชือก (rope sounding) เป็นเทคนิคที่ใช้มา
ตั้งแต่เร่ิมสารวจความลึกของพื้นมหาสมุทรโดยการใช้เชือกหรือเส้นลวดที่มีลูกตุ้ม
(โดยส่วนใหญ่เป็นตะก่ัว) ถ่วงน้าหนัก หย่อนลงไปในมหาสมุทรและตรวจวัดความ
ยาวของเชือกเม่ือลูกตุ้มน้ันถึงพ้ืนมหาสมุทร (รูป 8) การหย่ังความลึกวิธีนี้มี
ข้อจากัด คือ ไม่สามารถได้ข้อมูลท่ีละเอียดอย่างต่อเน่ือง ไม่สามารถตรวจวัดใน

13

สันติ ภยั หลบล้ี พื้นมหาสมทุ ร

บริเวณที่มีความลึกมากได้และบริเวณท่ีตรวจวัดต้องไม่มีกระแสน้าและลมทรี่ ุนแรง
เน่ืองจากจะทาให้ค่าความลึกท่ีตรวจวัดได้คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
เนื่องจากกระแสน้าและลมจะพัดเรือให้เคล่ือนที่ทาให้เรือย้ายตาแหน่ง และเส้น
เชอื กทห่ี ย่อนลงไปน้นั ไมอ่ ยูใ่ นแนวด่งิ ทาใหไ้ ด้ค่าความลึกมากกว่าทีเ่ ปน็ จริง

รูป 8. (ก) เชือกและลูกตุ้มตะก่ัวท่ีใช้ในการหยั่งความลึกของพื้นมหาสมุทร
[www.marinersmuseum.org] (ข) แผนท่ีมหาสมุทรแอตแลนติกแสดง
ความลกึ ของมหาสมทุ ร (bathymetry) สารวจโดย ลาเวนค์ ดบั เบิ้ลยู มอร์
เลย์ (Morley L.W.) ในปี พ.ศ. 2392 [www.whoi.edu]

2) การหยั่งความลึกด้วยคล่ืนเสียงสะท้อน (echo sounding) (รูป 9ก)
เป็นวิธีหยั่งความลึกท่ีถูกพัฒนาในเวลาต่อมา เพื่อให้การตรวจวัดนั้นละเอียดและ
แม่นยามากข้ึน โดยใช้เทคนิคการส่งสัญญาณคล่ืนเสียงจากเรือลงไปในมหาสมุทร
เม่ือคลื่นเสียงเดินทางถึงพื้นมหาสมุทรจะสะท้อนกลับมาที่เครื่องตรวจรับ ทาให้
สามารถคานวณเปน็ ระยะทางทเ่ี สยี งเดนิ ทางไปและสะท้อนกลับมาได้

14

สันติ ภัยหลบลี้ พื้นมหาสมุทร

รูป 9. (ก) เทคนิคการหยั่งความลึกของพื้นมหาสมุทร เช่น การหยั่งความลึกด้วย
คลน่ื เสยี งสะท้อนและคล่ืนไหวสะเทือน (ข) ผลการสารวจพ้ืนมหาสมุทรและ
ชัน้ ตะกอนใตพ้ ้ืนมหาสมทุ รจากเทคนคิ คลืน่ ไหวสะเทือน

15

สนั ติ ภยั หลบล้ี พน้ื มหาสมุทร

วิธีนี้มีข้อจากัด เช่น เม่ือทะเลมีคลื่นสูงอาจทาให้การคานวณผิดพลาด
ความแตกต่างของอณุ หภมู ิและความเค็มซ่ึงสัมพันธ์กบั ความหนาแน่นของน้าทาให้
เกดิ การหกั เหของคล่ืนเสียงตามความแตกตา่ งของความหนาแนน่ ของนา้ ดงั น้ันการ
ตรวจวัดด้วยวิธีน้ีจึงต้องมีการปรับแก้ปัจจัยต่างๆ เพ่ือให้ได้ข้อมูลท่ีมีความถูกต้อง
และแมน่ ยามากขึ้น

3) การหย่ังความลึกด้วยคล่ืนไหวสะเทือน (seismic sounding) เป็น
การหยั่งความลึกของพ้ืนมหาสมุทรโดยใช้คลื่นไหวสะเทือนจากการจุดระเบิด (รูป
9ก) โดยเมอ่ื คลืน่ ไหวสะเทือนเดินทางลงสู่พื้นมหาสมุทรในระดับความลึกต่างๆ จะ
สะท้อนกลับมาที่เครื่องรับสัญญาณบนเรือ ข้อมูลในการเดินทางของคลื่นไหว
สะเทือนสามารถน้ามาคานวณหาความลึกได้ ซ่ึงนอกจากความลึกแล้วยังได้ข้อมูล
ความหนาของช้นั หนิ ใต้พ้ืนมหาสมุทรด้วย (รปู 9ข) ซ่ึงวิธีนีเ้ ป็นที่นิยมในการสารวจ
แหลง่ แร่หรือปโิ ตรเลียมในมหาสมุทร แตม่ ีค่าใช้จ่ายค่อนขา้ งสูง

ผลจากการสารวจและหยัง่ ความลึกของพ้ืนมหาสมุทรอย่างต่อเนื่องจนถึง
ปัจจุบัน นักวทิ ยาศาสตร์สามารถสร้างแผนท่ีแสดง ระดับความลึกของมหาสมทุ ร
(bathymetry) (รูป 10) ซ่ึงความลึกของมหาสมุทรน้ันจะเปล่ียนแปลงจาก 0
กิโลเมตร ตามแนวชายฝ่ังถึงประมาณ 11 กิโลเมตร ตามแนวร่องลึกของแผ่น
เปลือกโลก โดยภาพตัดขวางของพ้นื มหาสมทุ รโดยส่วนใหญ่แสดงลักษณะความลึก
เฉพาะในแตล่ ะพ้นื ทแี่ ตกตา่ งกัน ทาใหน้ ักวิทยาศาสตรจ์ าแนกพนื้ มหาสมทุ รตามภมู ิ
ลักษณ์ (landform) ออกเป็น 3 ส่วน (รูป 11) คือ 1) ขอบทวีป (continental
margin) หมายถึง ขอบนอกของแผ่นเปลือกโลกทวีปท่ีอยู่ใต้น้าหรือบริเวณท่ีแผ่น
เปลือกโลกทวีปพบกับแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร 2) แอ่งมหาสมุทร (oceanic
basin) หมายถึง ส่วนของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร และ 3) สันเขากลาง

16

สันติ ภยั หลบลี้ พ้ืนมหาสมุทร

มหาสมุทร (mid-oceanic ridge) หมายถึง บริเวณกลางมหาสมุทร ซ่ึงมีความ
ลึกตลอดจนวสั ดหุ รอื พฤติกรรมทางธรณวี ทิ ยาทแ่ี ตกตา่ งจากแอง่ มหาสมุทร

รปู 10. แผนท่ีแสดงระดบั ความลกึ ของมหาสมุทร (bathymetry) ท่วั โลก

รูป 11. ภาพตดั ขวางแสดงลกั ษณะสภาพแวดล้อมและความลกึ พนื้ มหาสมทุ ร
17

สันติ ภัยหลบล้ี พืน้ มหาสมทุ ร

4

ขอบทวปี

Continental Margin

4.1. ขอบทวปี สถิต (passive continental margin)
ขอบทวปี สถิต (passive continental margin) (รูป 11-13) หมายถึง

ขอบทวีปซึง่ ปัจจุบันเคลอื่ นทอี่ อกห่างจาก สนั เขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic
ridge) เป็นขอบการเคล่ือนที่แยกตัวออกจากัน (divergent movement) ของ
แผ่นเปลือกโลกในอดีต แต่ปัจจุบันไม่สัมพันธ์กับขอบแผ่นเปลือกโลกและไม่มี
กิจกรรมทางธรณีแปรสัณฐาน เช่น ภูเขาไฟและแผ่นดินไหว พบโดยส่วนใหญ่ตาม
แนวชายฝ่ังมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น ชายฝั่งตะวันออกของประเทศ
สหรัฐอเมริกาและอ่าวเม็กซิโก นักวิทยาศาสตร์แบ่งย่อยขอบทวีปสถิตออกเป็น 3
สว่ น คอื (รูป 11-13)

18

สนั ติ ภยั หลบลี้ พื้นมหาสมุทร

รูป 12. แบบจาลองขอบทวีปสถิตแสดงหุบเขาใต้ทะเลและการตกสะสมตัวของ
ตะกอนจากการถล่มของตะกอนจากไหล่ทวีปลงสปู่ ลายของลาดทวปี

1) บ่าทวีป (continental shelf) คือ ส่วนขยายของแผ่นดินลงไปใน
มหาสมทุ ร มคี วามชันตา่ (ประมาณ 0.1-0.5 องศา) (รูป 12-13) ลาดลงไปถงึ ระดับ
ความลึก ≥ 200 เมตร และไกลออกไปจากชายฝ่ังไม่แน่นอน โดยเฉล่ียแล้วจะมี
ความกว้างประมาณ 65-75 กิโลเมตร ตะกอนจากแผ่นดินโดยส่วนใหญ่จะตกทับ
ถมในบริเวณน้ีโดยการพัดพามากับแม่นา้ โดยปกตเิ ปน็ ทรายแป้งและดิน บางพื้นท่ี
มีน้าต้ืนแสงอาทิตย์ส่องถึง มีอุณหภูมิอบอุ่น ทาให้เกิดสาหร่าย ปะการัง ซ่ึงเป็น

19

สนั ติ ภัยหลบลี้ พนื้ มหาสมทุ ร

ที่มาของหินปูน นอกจากนี้บ่าทวีปยังเป็นบริเวณที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก
เชน่ แหลง่ แร่ท่พี ัดพาลงมาจากแผ่นดนิ แหลง่ ปโิ ตรเลยี มและกา๊ ซธรรมชาติ

รูป 13. ภาพถา่ ยดาวเทียมแสดงขอบทวีปสถิต (passive continental margin)
20

สนั ติ ภยั หลบลี้ พ้ืนมหาสมทุ ร

2) ไหล่ทวีป (continental slope) เป็นส่วนท่ีต่อมาจากบ่าทวีป โดยที่
บรเิ วณ สุดบา่ ทวปี (shelf break) จะมีการเปลย่ี นแปลงความชันตา่ ในบริเวณบ่า
ทวีป (ประมาณ 0.1-0.5 องศา) (รูป 12-13) เปลี่ยนเป็นความชันสูง (4-25 องศา)
ซ่ึงบริเวณไหล่ทวีปน้ี ในทางธรณีแปรสัณฐาน ถือเป็นรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือก
โลกทวีป (continental crust) และแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic crust)
(รูป 12) และไหลท่ วปี ไมค่ อ่ ยมีการสะสมตัวของตะกอนเนอ่ื งจากมีความชันสูง ลาด
ทวีปบางพื้นที่อยู่ในบริเวณท่ีมีแม่น้าสายใหญ่ไหลลงสู่ทะเล เช่น บริเวณปาก
แม่น้าฮัดสัน (Hudson) ในประเทศสหรัฐอเมริกา และปากแม่น้าอะเมซอน
(Amazon) ในทวีปอเมริกาใต้ เป็นต้น ซ่ึงจะมีหุบเขาใต้น้าเป็นร่องลึกรูปตัววี (V)
เรียก ว่า หุ บ เข าใต้ ท ะเล (submarine canyon) หรือ ร่องน้ าใต้ ท ะเล
(submarine channel) (รูป 12-13) ซ่ึงเป็นหุบเขาหรือธารน้าในสมัยโบราณ
ในชว่ ง ยุคน้าแข็ง (ice age) ซึง่ มีระดบั น้าทะเลตา่ กวา่ ระดบั นา้ ทะเลในปจั จบุ ัน

บางคร้ังมีการถล่มของตะกอนบนไหล่ทวีปไหลหลากลงมาตามหุบเขาใต้
ทะเล (รูป 12-13) ทาให้เกิด กระแสน้าขุ่นจากตะกอนแบบปั่นป่วน (turbidity
current) (รูป 14) และเกิดการสะสมตัวของตะกอนบรเิ วณปลายของไหลท่ วปี ซ่ึง
จะได้ตะกอนทมี่ กี ารเรยี งขนาดจากใหญ่ไปเลก็ (รูป 12 และรูป 14)

3) ลาดทวีป (continental rise) พบในพื้นท่ีซึ่งไม่มีการมุดตัวของแผ่น
เปลือกโลก เช่น ในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดียทางตอนเหนือ มี
ความชันประมาณ 0.5-1 องศา พบอยู่ในระดับความลึก 1,500-9,000 เมตร เป็น
แหล่งสะสมตวั ของตะกอนท่ีถูกพดั พามาจากบ่าทวีปและไหลท่ วีป (รูป 12-13) โดย
สภาพแวดลอ้ มการสะสมตวั ของตะกอนจะคลา้ ยกบั เนนิ ตะกอนรปู พัดทีส่ ะสมตวั อยู่
บนบก ซึ่งแผ่กว้างไกลออกไปเป็นบริเวณกว้างตามพ้ืนท้องทะเล เรียกว่า เนิน

21

สันติ ภยั หลบลี้ พ้ืนมหาสมทุ ร

ตะกอนรูปพัดทะเลลึก (deep sea fan) (รูป 12) ซึ่งเกิดจากดินถล่มและมีการ
สะสมตะกอนในสภาพแวดล้อมแบบปนั่ ปว่ นที่ถูกพดั มามาจากบ่าทวีป ดังท่ีอธิบาย
ในขา้ งตน้ (รปู 13-14)

รูป 14. แบบจาลองการเกดิ กระแสน้าปั่นปวั่ นและการตกทบั ถมกันของตะกอนจาก
การถลม่ ของตะกอนลงมาตามหุบเขาใตท้ ะเล

22

สนั ติ ภยั หลบล้ี พน้ื มหาสมทุ ร

4.2. ขอบทวปี จลน์ (active continental margin)
ขอบทวีปจลน์ (active continental margin) หมายถึง ขอบของทวีป

ซึ่งเป็นขอบแผ่นเปลือกโลกท่ียังมีกิจกรรมทางธรณีแปรสัณฐาน คือการมุดกันของ
แผ่นเปลอื กโลก และมกี ิจกรรมทางภูเขาไฟและแผน่ ดนิ ไหวอยู่บ่อยครั้ง พบมาก ใน
บริเวณโดยรอบมหาสมุทรแปซิฟกิ เชน่ ชายฝ่งั ตะวันออกของประเทศญ่ีปนุ่ ชายฝ่ัง
ตะวันตกของประเทศสหรฐั อเมริกา ชายฝง่ั ของประเทศเปรแู ละประเทศชิลี เป็นตน้
โดยมบี า่ ทวีปและไหล่ทวปี เชน่ เดยี วกนั กบั ขอบทวีปสถิต แต่ในส่วนของลาดทวีปน้ัน
จะเปล่ยี นเปน็ ร่องลึกกน้ สมุทร (trench) (รูป 15) ซง่ึ มลี กั ษณะเป็นแนวลกึ แคบๆ
รูปตัว V หรือ U มีผนังทั้ง 2 ข้างสูงชัน และยาวไปตามเขตมุดตัวของแผ่นเปลือก
โลก โดยเกิดจากการมุดตวั ของแผ่นเปลือกโลกทาให้พ้ืนท่บี ริเวณนนั้ ถูกดึงลงไปขา้ ง
ใต้ที่ระดับความลึกประมาณ 7-11 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าลึกกว่า ท่ีราบทะเลลึก
(abyssal plain)

สืบเนื่องจากเป็น เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone)
การสะสมตัวของหินหรือตะกอนบริเวณร่องลึกก้นสมุทรจึงค่อนข้างซบั ซอ้ นร่วมกับ
การเกดิ รอยเล่อื นยอ้ นและการแปรสภาพหนิ อยา่ งรุนแรง โดยมีหินหลากหลายชนิด
ทง้ั ที่มาจากแผ่นเปลอื กโลกมหาสมุทร ตะกอนในทะเลลึก และสว่ นดา้ นใตข้ องแผ่น
เปลือกโลกทวีปซ่ึงถูกดึงข้ึนมายงั พ้ืนผิวโลก เรียก โซนการสะสมตัวขอหินบรเิ วณนี้
วา่ ล่ิมตะกอนพอกพูน (accretionary prism หรอื Mélange) (รปู 16)

พน้ื มหาสมทุ รที่ลกึ ท่สี ุดในโลก คอื
รอ่ งลกึ กน้ สมุทรเรียนา (Mariana Trench)
ประเทศฟิลปิ ปนิ ส์ มีความลึก 11 กโิ ลเมตร

23

สันติ ภยั หลบลี้ พืน้ มหาสมุทร

รูป 15. ร่องลึกก้นสมุทร (trench) ท่ีกระจายอยู่ตามขอบทวีปจลน์หรือเขตมุดตัว
ของแผ่นเปลือกโลก

รูป 16. แบบจาลองขอบทวีปจลน์แสดงการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณร่องลึก
ก้นสมุทร หรอื ลิ่มตะกอนพอกพูน (accretionary prism)
24

สนั ติ ภัยหลบลี้ พน้ื มหาสมทุ ร

5

แอ่งมหาสมทุ ร

Oceanic Basin

ผลการสารวจพ้ืนมหาสมุทรในปัจจุบันบ่งช้ีว่า แอ่งมหาสมุทร (ocean
basin) น้ันไม่ได้มีความราบเรียบทั่วท้ังมหาสมุทร แต่ประกอบด้วยภูมิลักษณ์ที่
เด่นชดั อย่างน้อย 2 รูปแบบ ดังนี้

1) ท่ีราบมหาสมุทร (abyssal plain) เป็นพ้ืนท่ีราบซ่ึงต่อมาจากลาด
ทวีปในขอบทวีปสถิตหรือต่อมาจากร่องลึกก้นสมุทรในขอบทวีปจลน์ ซ่ึงห่างไกล
และได้รับอิทธิพลจากพ้ืนทวีปน้อยมาก มีความลึกประมาณ 4,600-5,500 เมตร
(รูป 11-12) ถือเป็นภูมิลักษณ์ท่ีมีพ้ืนที่มากท่ีสุดคิดเป็น 42% ของพื้นมหาสมุทร
ทง้ั หมดและค่อนข้างราบเรียบ มคี วามชนั น้อยกว่า 0.05 องศา โดยมีตะกอนตกทับ
ถมหนาเมอื่ ใกลล้ าดทวปี และบางลงเมอื่ ใกล้สันเขากลางมหาสมทุ ร

25

สนั ติ ภัยหลบลี้ พื้นมหาสมทุ ร

2) ภูเขาใต้ทะเล (seamount) คือ ยอดภูเขาไฟท่ีโดดเด่ียวใต้ทะเล พบ
เป็นหย่อม มีความสูง ≥ 700 เมตร (รูป 17) โดยส่วนใหญ่พบใกล้กับสันเขากลาง
มหาสมุทร หากมียอดแหลมเรียกว่า ยอดเขาทะเล (seapeak) แต่หากมียอด
ค่อนข้างแบนราบ เรียกว่า ภูเขาหัวตัดใต้น้า (guyot) หรือ ภูเขาไฟโต๊ะ (table
mount)

ภูเขาใตท้ ะเล (seamount) จะมกี ระบวนการเกดิ ทางธรณีแปรสณั ฐานท่ี
แตกต่างจาก ภูเขาไฟใต้ทะเล (submarine volcano) ซ่ึงหมายถึง ภูเขาไฟที่
เกิดข้ึนใต้ทะเลที่เกิดตามเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก โดยเกิดข้ึนเป็นแนวโค้ง
ติดต่อกัน และหากแนวภูเขาไฟใต้น้านั้นโผล่พ้นผิวน้า จะเรียกว่า แนวภูเขาไฟรูป
โค้งบนทวปี (continental arc) (รปู 16)

รูป 17. แบบจาลองการเกิดภเู ขาใต้ทะเล (seamount)
26

สนั ติ ภยั หลบลี้ พนื้ มหาสมทุ ร

6

สันเขากลางมหาสมทุ ร

Mid-oceanic Ridge

สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) คือ แนวเทือกเขาใต้
ทะเลที่มีความชันเพ่ิมข้ึนอย่างกะทันหัน มีความสูงกว่า ท่ีราบมหาสมุทร
(abyssal plain) ประมาณ 1-4 กิโลเมตร แอ่นเหมือนกับหลังคาหน้าจั่ว ซึ่ง
ตลอดระยะสันเขากลางมหาสมทุ รจะมรี อยแยกขวางแนวสนั เขาเปน็ ชว่ งๆ (รปู 18)
ซ่งึ โดยปกติบริเวณแนวสันเขากลางมหาสมุทรจะเป็นการเคล่ือนที่ออกจากกันของ
แผ่นเปลือกโลก โดยที่ตรงกลางของสนั เขากลางมหาสมุทรจะมีร่องลกึ เป็นช่องทาง
ใหห้ นิ หนืดจากเนื้อโลกไหลออกมาเกิดเปน็ หินบะซอลท์ทเี่ กิดใหมอ่ ยู่ตลอดเวลา แต่
เนื่องจากปริมาตรของแมกมาในการแทรกดันท่ีแตกต่างกันในแต่ละพ้ืนท่ีย่อยตาม
แนวสันเขากลางมหาสมุทร ทาให้อัตราการแยกตัวออกของแผ่นเปลือกโลก

27

สนั ติ ภยั หลบล้ี พ้นื มหาสมุทร

มหาสมุทรนั้นแตกต่างกัน (รูป 18ก) ซ่ึงทาใหเ้ กดิ แรงเฉือนกนั ระหว่างโซนที่มอี ัตรา
การเล่ือนตัวสูงและต่า และเกิดเป็นรอยแยกที่มีการเคล่ือนท่ีแบบผ่านกันตัดขวาง
แนวสันเขาเปน็ ช่วงๆ ดงั แสดงในรูป 18

รปู 18. (ก) แบบจาลองแสดงการเคลื่อนท่ีผ่านกันของรอยแตกบรเิ วณสันเขากลาง
มหาสมุทร (ข) ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงนเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก
(Mid-Atlantic Ridge) และระบบรอยแตกที่ตง้ั ฉาก

28

สันติ ภยั หลบลี้ พื้นมหาสมทุ ร

ปั จ จุ บั น นั ก วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ส า ร ว จ พ บ แ ล ะ น า เส น อ แ น ว สั น เข า ก ล า ง
มหาสมุทรทั่วโลก (รูป 19) โดยในกรณีของแนวสนั เขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก
และมหาสมุทรอินเดยี จะทอดยาวอยตู่ รงกลางมหาสมุทรจงึ เรยี กวา่ 1) สันเขากลาง
มหาสมุทรแอตแลนติก (Mid-Atlantic Ridge) มีอัตราการแผ่ขยายตัวโดยเฉล่ีย
ประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร/ปี และ 2) สันเขากลางมหาสมุทรอินเดีย (Mid-
Indian Ridge) มีอัตราการแผ่ขยายตัวโดยเฉลี่ยประมาณ 2-7 เซนติเมตร/ปี ส่วน
มหาสมุทรแปซิฟิกจะเกิดข้ึนทางตะวันออก ค่อนข้างจะชิดกับทวปี อมเริกาเหนือจึง
เรยี กวา่ 3) เนนิ เขามหาสมทุ รแปซิฟิกตะวนั ออก (East-Pacific Rise) (รปู 19) หรือ
ซ่ึงมอี ัตราการแผ่ขยายตัวยประมาณ 5-16.5 เซนติเมตร/ปี ซึ่งโดยรวมสันเขากลาง
มหาสมทุ รทง้ั หมดมีความยาวประมาณ 65,000 กโิ ลเมตร

รปู 19. สันเขากลางมหาสมทุ รท่ีสาคัญของโลก
29

สันติ ภัยหลบลี้ พืน้ มหาสมุทร

สืบเน่ืองจากการแทรกดันและไหลหลากของแมกมาในบริเวณ
สนั เขากลางมหาสมุทรก่อให้เกดิ การแผข่ ยายตัวของพ้ืนมหาสมทุ ร ตามแนวคิด พ้ืน
ทะเลแผก่ วา้ ง (sea-floor spreading) ในทางธรณแี ปรสัณฐาน ซึ่งพน้ื มหาสมุทร
ใหม่ดังกล่าว คือ แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic curst) ซึ่งมีองค์ประกอบ
เฉพาะประกอบด้วยหินหลากหลายชนิด เรียกว่า ชุดหินโอฟิโอไลต์ (Ophiolite
Suite) ซึ่งการลาดับชั้นหินโอฟิโอไลต์ ประกอบด้วยช้ันหินชนิดต่างๆ ได้แก่ (ดูรูป
20 ประกอบ) 1) ช้ันตะกอนทะเลลึก (pelagic sediment) ประกอบด้วยหิน
เชิร์ต หินดินดานสีดาและหินปูน เป็นต้น 2) ชั้นหินบะซอลต์รูปหมอน (basalt
pillow) เกิดจากลาวาสัมผัสกับผิวน้าแล้วเกิดเย็นตัวอย่างรวดเร็วมีรูปร่างคล้าย
หมอน 3) แผ่นผนังหิน (sheeted dike) เป็นหินท่ีมีแนวการวางตัวต้ังฉากใน
แนวดง่ิ เนื่องจากการฉีดพ่งุ ขนึ้ มาของแมกมาใตพ้ ้ืนผิวโลก โดยสว่ นใหญ่เน้ือหนิ เป็น
หิ น บ ะ ซ อล ล์ 4) ชั้ น หิ น แ ก บ โบ ร (gabbro) 5) ชั้ น หิ น อั ค นี สี เข้ ม จั ด
(ultramafic) ซ่ึงโดยส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นหินดันไนต์ (dunite) หรือหินเพอริโด
ไทต์ (peridotile) และ 6) ชน้ั เน้ือโลก (mantle) ประกอบดว้ ยหนิ ฮารซ์ เบอร์ไกต์
(harzburgite) หรือหนิ เลอร์โซไลต์ (lherzolite)

การลาดบั ช้ันหินของชดุ หินโอฟโิ อไลต์ไม่สามารถดไู ด้ที่
บริเวณสนั เขากลางมหาสมุทร แตน่ กั วทิ ยาศาสตรศ์ กึ ษาชุด
หินน้ีในบริเวณที่เขตมดุ ตัวของแผน่ เปลือกโลกในอดตี ซ่ึงมี
การครูดถแู ละดึงชุดหนิ โอฟโิ อไลต์น้ีมาส่พู ื้นดา้ นบน เช่น

เทอื กเขาแอลป์ เทือกเขาหิมาลยั

30

สนั ติ ภยั หลบล้ี พ้นื มหาสมุทร

รปู 20. การลาดบั ชนั้ หนิ ของชดุ หนิ โอฟโิ อไลต์
31

สนั ติ ภัยหลบลี้ พ้ืนมหาสมุทร

แบบฝึกหดั

วัตถปุ ระสงคข์ องแบบฝึกหดั
แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2)
คน้ คว้าความรู้เพ่ิมเติม โดยผ่านกระบวนการสอ่ื สารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผ้เู ขียน-
ผ้อู า่ น เทา่ นั้น โดยไม่มเี จตนาวเิ คราะห์ข้อสอบเกา่ หรอื แนวขอ้ สอบแต่อย่างใด

1) แบบฝึกหดั จบั คู่
คาอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคาบรรยายภูมิลักษ์ของพ้ืนมหาสมุทรทาง
ด้านขวา และเตมิ ในชอ่ งว่างด้านซ้ายของแตล่ ะขอ้ ทมี่ ีความสมั พันธ์กัน

1. ____ ก. สนั เขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge)
2. ____ ข. ภูเขาใต้ทะเล (seamount)
3. ____ ค. หุบเขาทรดุ (rift valley)
4. ____ ง. ทีร่ าบก้นสมทุ ร (abyssal plain)
5. ____ จ. ลาดทวปี (continental rise)
6. ____ ฉ. ร่องลึกกน้ สมุทร (trench)
7. ____ ช. บา่ ทวปี (continental shelf)
8. ____ ซ. ไหลท่ วีป (continental slope)

32

สันติ ภยั หลบลี้ พนื้ มหาสมทุ ร

2) แบบฝกึ หัดถูก-ผิด
คาอธิบาย : เติมเครื่องหมาย T หน้าข้อความที่กล่าวถูก หรือเติมเครื่องหมาย F
หน้าข้อความทกี่ ล่าวผิด

1. ____ ความเค็มของน้าในมหาสมทุ ร มสี าเหตุเน่ืองจากการผพุ งั ทาง
เคมขี องพื้นทวีป

2. ____ ภเู ขาใตท้ ะเล (seamount) โดยสว่ นใหญ่เป็น ภูเขาไฟมีพลงั
(active volcano)

3. ____ กระแสนา้ ปนั่ ป่วน (turbidity current) โดยท่ัวไปจะเกิดบน
บรเิ วณ บา่ ทวีป (continental shelf)

4. ____ สิง่ มีชีวิตสายพนั ธต์ า่ งถน่ิ จะพบอยู่ในบริเวณมหาสมทุ รลึก
5. ____ บรเิ วณ สันเขากลางมหาสมทุ ร (mid-oceanic ridge) จะมี

น้าพรุ อ้ น (geyser) เกดิ ข้ึน
6. ____ ตะกอนที่ตกสะสมในบริเวณ ทร่ี าบกน้ สมุทร (abyssal plain)

โดยส่วนใหญ่เป็นตะกอนขนาดทราย (sand)
7. ____ มหาสมุทรเกิดขน้ึ นบั ตงั้ แต่ชว่ งตน้ ประวัตศิ าสตร์ของโลก
8. ____ ลาดทวปี (continental rise) โดยสว่ นใหญ่ประกอบด้วย

ตะกอนทีม่ าจากพืน้ ทวปี
9. ____ ตะกอนของ ลาดทวีป (continental rise) สามารถหนาไดถ้ ึง

หลกั กโิ ลเมตร
10. ____ สันเขากลางมหาสมทุ ร (mid-oceanic ridge) ประกอบด้วย

หนิ อัคนที ้ังหมด

33

สนั ติ ภัยหลบล้ี พื้นมหาสมทุ ร

11. ____ หนิ ทพ่ี บมากทสี่ ุดในบรเิ วณ สันเขากลางมหาสมทุ ร (mid-
oceanic ridge) คอื หินแกรนิต (granite)

12. ____ ภเู ขาหัวตดั ใต้นา้ (guyot) ในอดีตเคยเป็น ภเู ขาไฟมพี ลงั
(active volcano)

13. ____ ภเู ขาหวั ตดั ใตน้ ้า (guyot) โดยสว่ นใหญพ่ บ แนวปะการัง
(coral reef) อยตู่ ามขอบของภเู ขาไฟ

14. ____ ขอบของ ทวปี (continent) คอื ไหลท่ วปี (continental
shelve)

15. ____ ไหลท่ วีป (continental shelve) เคยเปน็ แผ่นดนิ อยู่เหนอื
ระดบั นา้ ทะเลในช่วงระหว่างยุคน้าแขง็ คร้ังลา่ สดุ

16. ____ ทีร่ าบกน้ สมุทร (abyssal plain) โดยเฉลีย่ มีความลึกประมาณ
4 กโิ ลเมตร

17. ____ บ่าทวีป (continental shelf) คือส่วนของพืน้ ทวปี ท่มี กี าร
ทรดุ ตวั ลงเนอื่ งจากรอยเลอ่ื นในช่วงการแยกตัวออกจากกันของ
แผน่ เปลอื กโลก

18. ____ เมอ่ื มีการระเหยของน้า น้าทะเลจะมีความเคม็ และความ
หนาแน่นเพิม่ ขึน้

19. ____ กระแสน้าปัน่ ป่วน (turbidity current) สามารถพดั พาเมด็
ตะกอนให้ไปไกลจากแหล่งกาเนดิ ได้ถงึ หลัก 100 กโิ ลเมตร

20. ____ แผ่นดนิ ไหวสามารถกระตนุ้ ใหเ้ กดิ กระแสน้าป่ันปว่ น
(turbidity current) ใต้มหาสมุทรได้

34

สนั ติ ภัยหลบล้ี พน้ื มหาสมุทร

3) แบบฝึกหัดปรนยั
คาอธิบาย : ทาเคร่ืองหมาย X หน้าคาตอบท่ีถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว จาก
ตวั เลอื กทกี่ าหนดให้

1. บ่าทวปี (continental shelf) มีความชันโดยเฉลีย่ เทา่ ใด

ก. 0.01 องศา ข. 10 องศา

ค. 1 องศา ง. 0.1 องศา

2. ไหล่ทวปี (continental slope) มคี วามชนั โดยเฉลย่ี เทา่ ใด

ก. > 30 องศา ข. 4-5 องศา

ค. 10-12 องศา ง. 1-2 องศา

3. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกีย่ วกับ ไหลท่ วปี (continental slope)

ก. เป็นเกณฑ์ใช้แบ่งขอบเขตของ ข. มีความกว้างหลากหลายในแต่

ทวปี ออกจากมหาสมทุ ร ละพ้ืนท่ี

ค. ลึกลงเมื่อหา่ งจากฝั่งมากขน้ึ ง. ถกู ทุกข้อ

4. ข้อใดคือมวลน้าปนเมด็ ตะกอนถล่มตามแรงโนม้ ถว่ งในมหาสมทุ ร

ก. เศษหินไหลหลาก ข. กระแสน้าปน่ั ปว่ น

(debris flow) (turbidity current)

ค. โคลนไหลหลาก (mud flow) ง. ไมม่ ีขอ้ ใดถูก

5. ขอ้ ใดกล่าวถูกต้องเกย่ี วกบั รอ่ งลกึ กน้ สมุทร (trench)

ก. อยู่ตามขอบของทุกทวีป ข. ความลึก 8-10 กิโลเมตร

ค. เกิดจากการกัดกร่อนของแม่น้า ง. ถกู ทุกขอ้

โบราณในชว่ งยุคนา้ แขง็

35

สันติ ภยั หลบล้ี พืน้ มหาสมุทร

6. ขอ้ ใดคอื ลกั ษณะเฉพาะของ สันเขากลางมหาสมทุ ร (mid-oceanic ridge)

ก. มีการไหลเวยี นของความร้อน ข. เกิดแผ่นดินไหวระดบั ต้นื

ค. ภูเขาไฟปะทุให้หินบะซอลต์ ง. ถูกทุกข้อ

7. ตะกอนทะเลลึก (pelagic sediment) มีองคป์ ระกอบเป็นอะไร

ก. ตมทะเลแคลไซต์ (calcareous ooze) ข. แร่ดนิ สีแดง (red clay)

ค. ตมทะเลซลิ ิกา (siliceous ooze) ง. ถกู ทุกข้อ

8. ขอ้ ใดใช้เปน็ เกณฑ์ในการแบง่ มหาสมุทรออกจากทวีป

ก. ทร่ี าบกน้ สมทุ ร ข. ไหลท่ วีป

(abyssal plain) (continental slope)

ค. ลาดทวปี (continental rise) . ง. บา่ ทวีป (continental shelf)

9. ข้อใดมีความหนาแน่นสูงท่ีสดุ

ก. นา้ อุน่ ท่ีมีความเค็มสูง ข. น้าอนุ่ ทีม่ คี วามเค็มตา่

ค. น้าเย็นทม่ี คี วามเค็มสงู ง. น้าเยน็ ทม่ี คี วามเคม็ ตา่

10. ขอ้ ใดพบมากบริเวณ ลาดทวีป (continental rise)

ก. ตมทะเลแคลไซต์ ข. เนนิ ตะกอนรูปพดั ใตท้ ะเล

(calcareous ooze) (submarine fan)

ค. ตมทะเลซิลกิ า ง. ชดุ หินโอฟโิ อไลต์

(siliceous ooze) (ophiolite)

11. ไหล่ทวีป (continental shelve) เป็นแหล่งสะสมตัวของตะกอนซ่ึงมี

แหล่งกาเนิดมาจากพ้นื ท่ใี ด

ก. การตกตะกอนจากน้าทะเล ข. เปลือกหอยและเศษปะการัง

ค. การปะทขุ องภูเขาไฟ ง. การกรัดกรอ่ นของพ้ืนทวีป

36

สันติ ภยั หลบล้ี พ้นื มหาสมุทร

12. พืน้ มหาสมุทรมอี ายุแกท่ สี่ ดุ โดยประมาณกปี่ ี

ก. 2 ล้านปี ข. 2,000 ล้านปี

ค. 20 ล้านปี ง. 200 ลา้ นปี

13. นา้ ในสว่ นทีล่ กึ ทีส่ ุดของมหาสมุทรมีอุณหภมู ิโดยประมาณเทา่ ใด

ก. 1-2 องศาเซลเซียส ข. 20-30 องศาเซลเซยี ส

ค. 10-20 องศาเซลเซียส ง. 30-40 องศาเซลเซียส

14. แรช่ นดิ ใดเป็นองค์ประกอบหลักของเกลือในมหาสมทุ ร

ก. potassium bromide ข. magnesium chloride

ค. sodium chloride ง. hydrogen borate

15. ข้อใดคอื มหาสมทุ รที่ใหญ่ทส่ี ดุ

ก. มหาสมทุ รแอตแลนติก ข. มหาสมุทรแปซิฟกิ

ค. มหาสมทุ รอนิ เดยี ง. มหาสมทุ รอาร์คตกิ

16. ข้อใดกล่าสวถูกต้องเกีย่ วกบั ไหล่ทวปี (continental shelve)

ก. ความชนั ต่า ข. อย่รู ะหวา่ งไหลแ่ ละลาดทวปี

ค. ลาดลงจนกระทั่งระดับความลึก ง. ประกอบด้วยตะกอนน้าลึก

โดยเฉลีย่ 1.5 กโิ ลเมตร (pelagic sediment)

17. ข้อใดกลา่ วถูกต้องเกีย่ วกับ สัดสว่ นของพ้ืนทน่ี า้ และพืน้ ที่แผ่นดนิ ของโลก

ก. พืน้ ท่ีน้าในซีกโลกเหนอื และใต้มี ข. ซีกโลกเหนือมีพ้ืนที่น้ามากกว่า

สัดสว่ นใกลเ้ คียงกัน ซีกโลกใต้

ค. ซีกโลกใต้มีพื้นที่น้ามากกว่าซีก ง. ไม่มขี อ้ ใดถกู

โลกเหนือ

37

สันติ ภยั หลบล้ี พ้นื มหาสมุทร

18. พลงั งานท่ขี ับเคลือ่ นกระแสน้าพน้ื ผวิ ในมหาสมทุ รมาจากสาเหตุใด

ก. ความแตกต่างของความเคม็ ข. กิจกรรมของคล่ืน

(salinity) (wave activity)

ค. แรงโครอิ อริส ง. กระแสลมหลกั

(coriolis force) (prevailing wind)

19. ขอ้ ใด ไม่ใช่ ทรัพยากรแร่ทีส่ กดั ได้จากน้าทะเล

ก. โบมนี (Br) ข. โซเดียมคลอไรด์ (NaCl)

ค. ทองคา (Au) ง. แมกนเี ซยี ม (Mg)

20. ข้อใดสัมพนั ธ์กบั สนั เขากลางมหาสมทุ ร (mid-oceanic ridge)

ก. ลกั ษณะภูมปิ ระเทศแบบภเู ขา ข. ภมู ลิ กั ษณ์ทางภูเขาไฟ

ค. ความร้อนสูงกว่าพ้ืนที่อื่นใน ง. ถูกทุกข้อ

มหาสมทุ ร

21. พื้นท่ขี องมหาสมุทรคิดเป็นก่ีเปอร์เซ็นตข์ องพ้ืนผวิ โลกท้ังหมด

ก. 30% ข. 50%

ค. 70% ง. 80%

22. มวลนา้ ในมหาสมุทรคิดเป็นกเ่ี ปอรเ์ ซ็นต์ของมวลนา้ ทงั้ หมดในโลก

ก. 71% ข. 65%

ค. 97% ง. 80%

23. ข้อใดคอื พ้ืนผิวโลกที่แบนราบและกวา้ งทีส่ ุด

ก. continental shield ข. abyssal plain

ค. coastal plain ง. continental margin

38

สนั ติ ภัยหลบล้ี พน้ื มหาสมทุ ร

24. ข้อใดกลา่ วผดิ เกยี่ วกับ รอ่ งลกึ กน้ สมุทร (trench)

ก. เป็นร่องแคบแต่ยาวไปตามเขต ข. มี ค ว า ม เส ถี ย ร สู ง ใ น ท า ง

มุดตวั ของแผน่ เปลือกโลก ธรณีวทิ ยา

ค. อยู่ขน าน กับ บ ริเวณ ที่ แผ่น ง. เป็นแหลง่ สะสมตะกอนที่สาคญั

เปลอื กโลกมุดตวั ลงไป

25. ขอ้ ใดคอื ปัจจยั ท่ที าใหน้ า้ ทะเลมีความเคม็ มากข้ึน

ก. การแชแ่ ขง็ ข. การระเหย (evaporation)

(freezing)

ค. ถกู ทุกขอ้ ง. ไมม่ ขี อ้ ใดถูก

26. ขอ้ ใดกล่าวถูกตอ้ งเก่ียวกับ ท่ีราบกน้ สมุทร (abyssal plain)

ก. มีการสะสมตัวของตะกอน ข. ตะกอนสะสมตัวแบบกระแสน้า

อย่างช้าๆ ของตะกอนน้าลึก ปัน่ ป่วน (turbidity current)

ค. ตะกอนจากแมน่ า้ สะสมตวั ง. ไมม่ ีขอ้ ใดถกู

27. ข้อใดคอื ภูมลิ ักษ์ทีห่ ลงเหลืออยู่ใกล้ผิวนา้ หลังจากภูเขาไฟในทะเลเกิดการทรุด

ตัวต่าลงไป

ก. หม่เู กาะรูปโค้งปะการัง (atoll) ข. ปลอ่ งภเู ขาไฟ (crater)

ค. แอง่ ภูเขาไฟรปู กระจาด (caldera) ง. สนั ดอนจงอย (spit)

28. ในบริเวณเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ส่วนของพื้นมหาสมุทร ท่ีเกยขึ้นมา

ด้านบนเรียกว่าอะไร

ก. ภูเขาหัวตัดใตน้ า้ (guyot) ข. ชุดหนิ มกิ มาไทต์ (migmatite)

ค. ชุดหนิ แกรนูไลท์ (granulites) ง. ชดุ หินโอฟโิ อไลต์ (ophiolite)

39

สันติ ภัยหลบล้ี พน้ื มหาสมุทร

29. ขอ้ ใดสัมพนั ธ์กบั ลาดทวีป (continental rise)

ก. ภเู ขาใต้ทะเลทีม่ ียอดแบนราบ ข. สว่ นทย่ี กตวั ขน้ึ ของพน้ื ทวปี

ค. สว่ นกลางมหาสมทุ ร ง. ล่ิมตะกอนท่ีสะสมตัวบริเวณ

ฐานของไหล่ทวีป

30. ขอ้ ใดคอื ภูเขาใต้ทะเลทมี่ ยี อดเขาราบเรียบ

ก. guyot ข. cuesta

ค. mesa ง. butte

31. พื้นที่ใดคือสว่ นท่ลี ึกทส่ี ุดของมหาสมุทร

ก. ไหล่ทวปี ข. สันเขากลางมหาสมุทร

ค. ท่รี าบก้นสมุทร ง. รอ่ งลกึ กน้ สมทุ ร

32. ขอ้ ใดกลา่ วถูกต้องเกี่ยวกับ ภเู ขาหัวตดั ใต้นา้ (guyot)

ก. ภูเขากลางมหาสมุทรท่ีมีแนว ข. ภเู ขาไฟท่ไี ม่มีการปะทอุ ีกแล้ว

ปะการงั ล้อมรอบ

ค. โดยสว่ นใหญเ่ ป็นภูเขาไฟสลบั ชั้น ง. เป็นภเู ขาไฟท่ียังมพี ลงั

33. การแผ่กว้างของพืน้ ทะเล (spreading) สง่ ผลตอ่ ระดบั น้าทะเลอยา่ งไร

ก. การแผ่กว้างรวดเร็ว ทาให้สัน ข. แผน่ เปลือกโลกเคลอ่ื นที่รวดเร็ว

เขากลางมหาสมุทรยกตวั สูงขึ้น ทาใหร้ ่องลกึ ก้นสมทุ รลึกขนึ้

ค. การแผ่กว้างรวดเร็ว ทาให้สัน ง. แผ่นเปลอื กโลกเคลื่อนท่ีรวดเร็ว

เขากลางมหาสมทุ รตา่ ลง ทาให้พ้นื ทะเลยกตัวสูงขน้ึ

34. มหาสมทุ รใดมขี นนาดใหญท่ ีส่ ุด

ก. แอตแลนติก ข. แปซิฟกิ

ค. อินเดยี ง. อารค์ ติก

40

สันติ ภยั หลบลี้ พืน้ มหาสมทุ ร

35. มหาสมุทรใดมคี วามลกึ โดยเฉลี่ยของท้องทะเลมากที่สุด

ก. แอตแลนติก ข. แปซิฟิก

ค. อนิ เดยี ง. อารค์ ติก

36. มวลนา้ เคล่ือนที่บรเิ วณนา้ ลึกในรูปแบบใด

ก. linear ข. spherical

ค. elliptical ง. ไมม่ ขี ้อใดถูก

37. กระแสการพดั วน (gyre) ของน้าในมหาสมุทรเกดิ จากสาเหตใุ ด

ก. แรงดึงดดู จากดวงจันทร์ ข. ลมประจาปี

ค. แรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์ ง. ไม่มขี อ้ ใดถูก

38. ข้อใดมีความสัมพันธก์ ับกระบวนการ desalination

ก. แมกนีเซียมแยกออกจากน้า ข. ก า ร ก่ อ ตั ว ข อ ง ก้ อ น ก ล ม

ทะเล แมงกานีส

ค. การปดปลอ่ ยก๊าซของภูเขาไฟ ง. ความเขม้ ขน้ ของนา้ จืด

39. ขอ้ ใด ไมใ่ ช่ ส่วนของ ขอบทวีปสถิต (passive continental margin)

ก. บ่าทวีป (continental shelf) ข. ไหลท่ วปี (continental slope)

ค. ลาดทวปี (continental rise) ง. ร่องลึกกน้ สมุทร (trench)

40. ข้อใดกล่าวถกู ตอ้ งเก่ยี วกับ หมเู่ กาะรูปโค้งปะการงั (atoll)

ก. แนวปะการังขนานและใกล้ๆ ข. ภเู ขาหวั ตดั ใต้สมทุ ร

แนวชายฝงั่

ค. แนวปะการังโดยรอบทะเลสาบ ง. แนวปะการังที่แยกจากแผ่นดิน

น้าเค็ม โดยทะเลสาบน้าเคม็ ตืน้ ๆ

41

สนั ติ ภยั หลบลี้ พื้นมหาสมุทร

41. โซนรอยแยกใต้พ้ืนมหาสมุทร (oceanic fracture zone) มีความสัมพันธ์

กบั สภาพแวดล้อมแบบใด

ก. ก้อนกลมแมงกานีส ข. ขอบชนกนั ของแผน่ เปลือกโลก

ค. แนวปะการังใตม้ หาสมทุ ร ง. รอยเลื่อนตามแนวระดบั

42. พนื้ ท่ีซง่ึ มีความชันตา่ และไหลไปทางมหาสมุทรเรยี กว่าอะไร

ก. บ่าทวีป (continental shelf) ข. ไหล่ทวีป (continental slope)

ค. โตรกเขาใต้มหาสมุทร ง. แอ่งตะกอนมหาสมทุ ร

(submarine canyon) (ocean basin)

43. พ้ืนที่ใดคือโซนบา่ ทวีปที่มีความชนั สงู กว่าปกติและลกึ ไปทางมหาสมุทร

ก. โตรกเขาใต้มหาสมุทร ข. แอง่ ตะกอนมหาสมทุ ร

(submarine canyon) (ocean basin)

ค. บา่ ทวีป (continental shelf) ง. ไม่มขี อ้ ใดถูก

44. นักวิทยาศาสตร์คนใดนาเสนอแบบจาลองกระบวนการเกิด หมู่เกาะรูปโค้ง

ปะการงั (atoll)

ก. เคลวิน (Kelvin) ข. เจมส์ ฮัทตนั (Hutton J.)

ค. อลั เฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A.) ง. ชาลส์ ดาวนิ (Darwin C.)

45. อายุและความลกึ ของพน้ื มหาสมุทรมคี วามสมั พนั ธก์ นั อย่างไร

ก. พื้นมหาสมุทรท่ีมีอายุแก่กว่า ข. ไมม่ คี วามสัมพนั ธ์กนั

จะลกึ กวา่

ค. พืน้ มหาสมทุ รท่ีมีอายุอ่อนกว่า ง. พื้นมหาสมุทรท่ีอายุ > 100 ล้าน

จะลกึ กวา่ ปี มกั จะอยใู่ นร่องลกึ กน้ สมุทร

42

สันติ ภัยหลบล้ี พ้ืนมหาสมุทร

46. ข้อใดคอื ความเคม็ โดยเฉลีย่ ของนา้ ในมหาสมทุ รของโลก

ก. 3.5% ข. 0-3.5%

ค. 35% ง. 3500%

47. ข้อใดคือจุดตา่ ทส่ี ดุ ของคลนื่

ก. trough ข. crest

ค. wave height ง. wavelength

48. ข้อใดคอื คณุ สมบัติทจ่ี ะเกิดข้ึนเมอื่ คุณดาลงไปใตม้ หาสมุทร

ก. อุณหภมู ิลดลง ข. อณุ หภมู ิเพม่ิ ขน้ึ

ค. ความดันเพิม่ ขึ้น ง. ข้อ ก. และ ค. ถูก

49. คลน่ื เสียงเดินทางผ่านน้าทะเลดว้ ยความเร็วประมาณเท่าใด

ก. 300 ฟตุ /วนิ าที ข. 1,500 เมตร/วนิ าที

ค. 1,500 ไมล์/ชว่ั โมง ง. ไมม่ ีขอ้ ใดถูก

50. ขอ้ ใดคอื การหมุนเวยี นของกระแสน้าในมหาสมุทร

ก. current ข. tide

ค. gyre ง. coriolis

51. ขอ้ ใดคือโซนของน้าในมหาสมุทรทอ่ี ยูใ่ กล้กับพ้ืนผวิ ทะเล ซงึ่ แสงอาทิตย์ส่องถงึ

ก. benthic zone ข. abyssal plain

ค. aphotic zone ง. photic zone

52. ขอ้ ใดคือโซนของนา้ ในมหาสมุทรท่อี ยตู่ ดิ กบั พ้ืนมหาสมทุ ร

ก. benthic zone ข. abyssal plain

ค. aphotic zone ง. photic zone

43

สันติ ภยั หลบลี้ พ้นื มหาสมุทร

53. ปรากฏการณ์ใดเกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลกโคจรอยู่ในแนว

เดียวกัน

ก. นา้ เกิด (spring tide) ข. น้าตาย (neap tide)

ค. กระแสคลนื่ ขนาดฝงั่ ง. ระดบั นา้ ลดลง

(longshore current) (low tidal range)

54. มวลของนา้ ในพนื้ ทีใ่ ดทม่ี ีความหนาแน่นสูงทส่ี ุด

ก. มหาสมุทรแปซิฟกิ ข. มหาสมทุ รทางตอนใต้

(Pacific Ocean) (Southern Ocean)

ค. ทะเลแดง (Dead Sea) ง. ทะเลสาบฮิวรอน

(Lake Huron)

55. ขอ้ ใดคือจุดสงู ทีส่ ดุ ของคลื่น

ก. trough ข. crest

ค. wave height ง. wavelength

56. กระแสนา้ พนื้ ผวิ มสี าเหตุมาจากความแตกต่างของอะไร

ก. ความหนาแนน่ ท่ีแตกต่างกนั ข. ความเคม็

ค. คลนื่ ง. ทิศทางลม

57. พ้ืนท่ใี ดท่ีกระแสน้าอ่นุ ในมหาสมทุ รไหลออกจากชายฝง่ั ตะวนั ออกของแอฟรกิ า

ก. บราซิล (Brazil) ข. เบลเยย่ี ม (Benguela)

ค. เปรู (Peru) ง. แหลมอะกอลฮสั (Agulhas)

58. desalination คอื กระบวนการเกยี่ วกบั อะไร

ก. เกลือถกู เพิม่ เขา้ ไปในน้าทะเล ข. น้าสะอาดทีไ่ ดจ้ ากน้าเค็ม

ค. เกลือทสี่ กดั จากนา้ สะอาด ง. พลงั งานที่ไดจ้ ากนา้ ทะเล

44

สันติ ภัยหลบล้ี พ้ืนมหาสมุทร

59. กระแสน้าในทะเลลกึ สามารถเคลือ่ นทไ่ี ด้โดยสาเหตใุ ด

ก. ลม ข. แรงโคลิโอรสิ

ค. ความหนาแน่นแตกตา่ งกนั ง. แผน่ ดินไหวใต้น้า

60. ทิศทางของกระแสนา้ ในมหาสมทุ รถกู ควบคมุ โดยปัจจยั ใด

ก. การหมุนเวียนลมในบรรยากาศ ข. แรงโคริออริส

ค. การกระจายตวั ของพน้ื ทวปี ง. ถูกทุกขอ้

61. ขอ้ ใดคอื ปฏสิ ัมพันธ์ระหวา่ งผิวนา้ และลมทีพ่ ดั ผ่าน ซงึ่ ทาให้น้ามกี ารเคลอ่ื นที่

ก. กระแสพ้นื ผิว ข. แรงเสียดทาน

ค. แรงโน้มถว่ ง ง. ความหนาแนน่

62. กระแสนา้ พื้นผวิ (surface current) จะเคล่ือนมวลนา้ ไปแบบใดเสมอ

ก. ตามเข็มนาฬิกา ข. ในแนวดิง่

ค. ทวนเข็มนาฬกิ า ง. ในแนระนาบ

63. ข้อใดคือโครงสร้างแข็งท่ีสร้างยาวขนานชายฝ่ัง เพื่อช่วยกันพลังงานคลื่นจาก

การกัดเซาะชายฝั่ง

ก. groin ข. breakwater

ค. barrier island ง. jetty

64. ระยะทางที่ลมพัดผ่านข้ามมหาสมุทรหรือทะเลเปดิ เรยี กวา่ อะไร

ก. fetch ข. gyre

ค. current ง. drift

65. ขอ้ ใดสามารถทาให้นา้ ในมหาสมทุ รได้รบั ผลกระทบดา้ นสิง่ แวดลอ้ ม

ก. นา้ เสียจากโรงงาน ข. นา้ ทง้ิ จากการทาไร่ทานา

ค. การทาประมง ง. ถกู ทุกขอ้

45

สนั ติ ภัยหลบลี้ พ้นื มหาสมทุ ร

66. ข้อใดคือกระแสน้าเย็นในมหาสมุทรซึ่งอาจจะยกตัวขึ้นไปบนพื้นผิวและนาพา

สารอาหารใตท้ ้องทะเลข้นึ สู่พ้นื ผิว ซ่ึงทาให้ปลาชุกชุมเหมาะกบั การทาประมง

ก. นา้ ผดุ (upwelling) ข. ยอดคลื่น (crest)

ค. น้าขึ้น-นา้ ลง (tide) ง. ท้องคล่นื (trough)

67. ระยะห่างระหว่าง 2 ยอดคล่ืน (crest) หรือ 2 ท้องคล่ืน (trough) เรียกว่า

อะไร

ก. ความยาวคลน่ื (wavelength) ข. ความสงู คลื่น (wave height)

ค. คาบคลนื่ (wave period) ง. ความเรว็ คล่ืน (wave speed)

68. ชายฝั่งตะวันออกของพื้นทวีป ซ่ึงได้รับอิทธิพลจากกระแสน้าในมหาสมุทร

สง่ ผลใหพ้ ้นื ท่ดี ังกลา่ วเป็นอย่างไร

ก. เปยี กชืน้ ข. อบอ่นุ

ค. นา้ ท่วม ง. เย็น

69. กระแสน้านอกชายฝ่ังตะวันตกของพ้ืนทวีป โดยปกติจะเย็นกว่าท่ีอ่ืนๆ

เนื่องจากแหล่งกาเนิดของน้าน้ันมาจากพน้ื ทีใ่ ด

ก. ขั้วโลก (polar) ข. โซนร้อน (tropical)

ค. เสน้ ศูนยส์ ูตร (equatorial) ง. เขตอบอุน่ (warm)

70. ข้อใดคือคล่ืนซ่ึงเกิดจากน้าข้ึน-น้าลง และทาให้มวลน้าไหลทะลักเข้าไปใน

ปากอา่ วหรอื แม่น้าแคบและตื้น

ก. นา้ ตาย (neap tide) ข. นา้ เกดิ (spring tide)

ค. ปรากฏการณก์ าแพงนา้ ง. กระแสคลืน่ กว้าน

(tidal bore) (rip current)

46

สนั ติ ภยั หลบลี้ พนื้ มหาสมุทร

เฉลยแบบฝกึ หดั

1) แบบฝึกหดั จบั คู่ 3. ฉ 4. ก 5. ค
1. ช 2. ซ 8. ก
6. ง 7. จ 4. T 5. T
3. F 9. T 10. T
2) แบบฝึกหัดถูก-ผดิ 8. T 14. F 15. T
13. T 19. T 20. T
1. T 2. F 18. T
4. ข 5. ข
6. F 7. T 3. ง 9. ค 10. ข
8. ข 14. ค 15. ข
11. F 12. T 13. ก 19. ค 20. ง
18. ง 24. ข 25. ข
16. T 17. T 23. ข 29. ง 30. ก
28. ง 34. ข 35. ข
3) แบบฝกึ หดั ปรนัย 33. ก 39. ง 40. ข
38. ง
1. ง 2. ข
47
6. ง 7. ง

11. ง 12. ง

16. ก 17. ค

21. ค 22. ค.

26. ข 27. ข

31. ง 32. ข

36. ง 37. ข

สันติ ภัยหลบล้ี พื้นมหาสมุทร

41. ง 42. ก 43. ก 44. ง 45. ก
46. ก 47. ก 48. ง 49. ข 50. ค
51. ง 52. ค 53. ก 54. ค 55. ข
56. ง 57. ง 58. ข 59. ก 60. ง
61. ข 62. ง 63. ข 64. ก 65. ง
66. ค 67. ก 68. ก 69. ก 70. ค

48


Click to View FlipBook Version