The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by info_dlict, 2020-06-26 02:16:56

คู่มือนิเทศคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศ เอ พี ไอ ซี อี

1
่ ื ิ

คูมอการนเทศ
เอกสาร ศน. สพป.ลป.1


ที่ 4/2561
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน








โดยใชกระบวนการนเทศ เอ พี ไอ ซ อี




APICE Model

























นางสาวาวิมล ปวนปนวงค์



ศกษานเทศก์


กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมนผลการจัดการศึกษา


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1


สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ



คำนำ



คู่มือการนิเทศ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศ เอ พี ไอ ซี อี
(APICE Model) เล่มนี้จัดทำขึ้น เพื่อให้คณะกรรมการและอนุกรรมการ ก.ต.ป.น. ผู้บริหารสถานศึกษา ครู

ภาษาไทย หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ใช้สำหรับศึกษาแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษา และเพื่อให้

ศึกษานิเทศก์ใช้เป็นคู่มือในการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการพัฒนาคุณลักษณะอนพึงประสงค์ของนักเรียน
สำหรับครูผู้สอนและสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 เพื่อสนอง

จุดเน้นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือการนิเทศเล่มนี้ จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยในการนำกระบวนการ

นิเทศ เอ พี ไอ ซี อี (APICE Model) ไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ

นักเรียน สำหรับครูผู้สอนและสถานศึกษาให้เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ หากคู่มือการนิเทศนี้ได้ผลหรือมี
ความคิดเห็นประการใด โปรดให้ข้อเสนอแนะ ผู้จัดทำจะนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงคู่มือการนิเทศนี้ให้เกิด

ประสิทธิผลในการปฏิบัติการนิเทศต่อไป





วิมล ปวนปันวงค์

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1




สารบัญ


เรื่อง หน้า


คำนำ ก

สารบัญ ข
สารบัญภาพ ค



ส่วนที่ 1 บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา 1

1.2 วัตถุประสงค์ของการนิเทศ 3

1.3 รายละเอียดประกอบคู่มือการดำเนินงาน 3


ส่วนที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1 ความหมายและความสำคัญของการนิเทศการศึกษา 4

2.2 หลักการนิเทศการศึกษา และกระบวนการนิเทศการศึกษา 9

2.3 การนิเทศแบบโค้ช (Coaching) 19
2.4 แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 23


ื่
ส่วนที่ 3 แนวทางการนิเทศ ติดตามเพอพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
การนิเทศ ติดตามเพอพัฒนาคุณลักษณะอันพงประสงค์ของนักเรียน 26

ื่

บรรณานุกรม 30



ภาคผนวก
แบบนิเทศ ติดตาม การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 34


คณะผู้จัดทำ 35



สารบัญภาพ


เรื่อง หน้า


แผนภาพที่ 2.1 กระบวนการนิเทศการศึกษา 13

แผนภาพที่ 2.2 กระบวนการ PDCA 16
แผนภาพที่ 2.3 กรอบแนวคิดการนิเทศการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 25

แผนภาพที่ 3.1 การนิเทศ ติดตาม การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 26

แผนภาพที่ 3.2 กระบวนการนิเทศ ติดตาม การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 27

1


ส่วนที่ 1

บทนำ



1.1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการศึกษาจะสมบูรณ์จะต้องจัดโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ ซึ่งต้องเน้นการบ่มเพาะ กล่อมเกลา

ปลูกฝัง และปลุกจิตสำนึก เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรร มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ชุมชน และ
สิ่งแวดล้อม เกิดความตระหนักในบทบาทหน้าที่ขึ้นในจิตใจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมร่วมกับ

ื่
ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรเพอ
สร้างองค์ความรู้ กระบวนการคิดวิเคระห์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่มีทักษะ
การดำรงชีวิตที่เกิดจากการฝึกหัด สามารถใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและประกอบอาชีพได้

(กระทรวงศึกษาธิการ, 2552: 5)
ปัจจุบันรัฐบาลได้ประกาศนโยบายในการสร้างค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ เพื่อต้องการ

พัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี ให้เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ตามคำแถลงนโยบาย

คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ซึ่งมีรายละเอียดสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ได้มุ่งเน้นในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่


ร่วมกบผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ในฐานเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองของโลก 8 ประการ คือ ความรักชาติ ศาสน์
กษัตริย์ ความซื่อสัตย์ สุจริต ความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มี
ความมุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีจิตสาธารณะ (กรมวิชาการ, 2551: 5)



และกระทรวงศึกษาธิการยังได้จัดทำแผนพฒนาการศึกษา โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา มุ่งพฒนาคน
ให้มีความเป็นคนโดยสมบูรณ์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มีความรู้ มีทักษะ มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรม
และจริยธรรม และมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในสังคม โดยถือเป็น

หน้าที่ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเยาวชน จะต้องร่วมมือกันในการแสวงหาแนวทางพัฒนาที่
เหมาะสมเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของเยาวชนร่วมกันให้บรรลุ

ความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2559: คำนำ)
จากการรายงานของสำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา สรุปไว้ว่า ปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรมและ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเยาวชนเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของสังคมไทย เด็กและเยาวชนมีค่านิยมที่แตกต่าง

ไปจากเดิม มีความฝักใฝ่ทางวัตถุมากกว่าการพัฒนาด้านจิตใจ ก่อให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ก้าวร้าว ผิด
ศีลธรรม เห็นผิดเป็นชอบ ไม่มีระเบียบวินัย ไม่อดทน ไม่ใฝ่เรียนรู้ เห็นแก่ตัว เป็นปัญหาสังคม ที่หน่วยงาน

ต่างๆ สถานศึกษา บุคลหลายฝายต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน (สำนักงานเลขาธิการ สภา

การศึกษา, 2554: 19) นอกจากนี้ในปัจจุบันนักเรียนยังมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อยู่บางประการ คือ
1)พฤติกรรมขาดวินัย 2) พฤติกรรมขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย 3) พฤติกรรมขาดความรับผิดชอบ

4) พฤติกรรมขาดความซื่อสัตย์สุจริต 5) พฤติกรรมเสี่ยง ก้าวร้าว (มูลนิธิยุวสถิรคุณ, 2560: 10-11) เพราะ

เยาวชนไทยขาดการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ยั่งยืน ซึ่งพฤติกรรม

2



ที่ไม่พึงประสงค์เช่นนี้ สถาบันการศึกษาและสถานศึกษาจะต้องทำหน้าที่ร่วมกันในการแกปัญหา และพฒนาให้
นักเรียน นักศึกษาในความรับผิดชอบเป็นคนที่มีคณภาพ มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีสติปัญญา

มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมที่ดี และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกับผู้อนได้อย่างมี
ื่
ความสุข และสงบสุข ไม่สร้างปัญหาและภาระอื่นๆให้กับสังคมโดยส่วนรวมอีกต่อไป (พระครูประโชติ

จันทวิมล, 2555: 2)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 มีสถานศึกษาในสังกัด จำนวน 99 แห่ง ได้ให้

ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 มาโดยตลอด และในปีการศึกษา 2561 ได้วิเคราะห์ผลการประเมินคุณลักษณะอันพง

ประสงค์ผู้เรียนในภาพรวมของนักเรียน โรงเรียนในสังกัด (รายงานผลจากโปรแกรมระบบบริหารจัดการผลการ

เรียนschool mis: 2561) ปรากฏว่า นักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียน จำนวน 99 แห่ง นักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีผลการประเมินค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 61.98 ระดับดี ร้อยละ 34.66

ระดับผ่าน ร้อยละ 3.57 และรวมเฉลี่ยระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 96.64 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียน
จำนวน 23 แห่ง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีผลการประเมินค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม ร้อยละ

57.37 ระดับดี ร้อยละ 36.46 ระดับผ่าน ร้อยละ 6.17 และรวมเฉลี่ยระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 93.83 และเมื่อ

พิจารณาผลการประเมินดังกล่าวนี้แล้ว ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผู้เรียนตามหลักสูตร
ยังเป็นปัญหาอยู่ เนื่องจากเมื่อพิจารณารายละเอียดเทียบกับเกณฑ์การวัดและประเมินของสำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยังมีนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับคุณภาพดีและระดับคุณภาพผ่านลง

มา ทั้งระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นระดับคุณภาพดีและดี
เยี่ยมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีค่าเฉลี่ยรวมระดับดีขึ้นไป จำนวนน้อย

กว่าระดับประถมศึกษา ซึ่งกรณีนี้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นนักเรียนที่อยู่ในช่วงวัยที่อยู่กึ่งกลาง
ื่
ของการย่างก้าว หรือเป็นวัยระหว่างรอยต่อ ระหว่างความเป็นเด็กประถมศึกษาสู่มัธยมศึกษาตอนปลาย เพอ
ก้าวผ่านสู่ความเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ฉะนั้นเรื่องของคุณวุฒิ หรือการตัดสินใจ ตลอดจนการควบคุมอารมณ์จึง

ออกมาในลักษณะของการทำตามใจ ทำตามอารมณ์ หรือทำตามเพื่อน โดยขาดการไตร่ตรองและการยั้งคิดเป็น
ส่วนใหญ่ (วิทยาลัยพยาบาล, 2560: 25) จึงควรต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดีในทุกเรื่อง และการจัดกิจกรรม


ต่างๆ ที่จะปลูกฝังพนฐานความคิดที่ดี ทัศนคติที่ถกต้อง และการปฏิบัติที่ดี อันเป็นคุณลักษณะอนพงประสงค์


ื้
คุณธรรม จริยธรรมและทัศนคติที่ถูกต้อง จะต้องดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรม
พัฒนาผู้เรียน โครงการ การบูรณาการกิจกรรมในสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และปลูกฝัง
สอดแทรกในกิจวัตรประจำวัน จนเกิดเป็นคุณลักษณะและพฤตินิสัยอันพึงประสงค์ที่ฝังแน่นในตัวนักเรียน
ตลอดจนมีความยั่งนืนได้เป็นอย่างดี ส่วนนักเรียนในระดับประถมศึกษาก็มีช่วงวัยในการพัฒนาในสถานศึกษา

หลายปีจะเป็นการปลูกฝัง และปูพื้นฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้ตกผลึกองค์ความรู้ และพฤติกรรม

ในช่วงวัยสูงขึ้น หากสามารถพัฒนาผู้เรียนในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้อย่างมี
คุณภาพ ย่อมจะส่งผลต่อเนื่องให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดีในระดับชั้นสูงขึ้นด้วย

3

ในปีการศึกษา 2561 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 ได้มีนโยบายและ

กำหนดพันธกิจในการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร และ
มอบหมายให้กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบภาระงานการพัฒนา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต



1 จึงได้กำหนดรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพงประสงค์ของผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศ เอ พ ไอ ซี อ ี
(APICE Model) คือ 1. A (Assessing Need) การศึกษาสภาพและความต้องการ 2. P (Planning)
การวางแผนการนิเทศ 3. I (Informing) การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ 4. C (Coaching) การนิเทศแบบโค้ช
และ5. E (Evaluating) การประเมินผลการนิเทศ เพื่อใช้เป็นนวัตกรรมในการนิเทศการศึกษา และใช้เป็น


เครื่องมือสำหรับศึกษานิเทศก์ในการนิเทศ ส่งเสริม สนับสนุนโรงเรียนให้สามารถพัฒนาคุณลักษณะอันพง
ประสงค์ผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้ประสบความสำเร็จ มี
ปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย และปฏิบัติตนตาม

หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สนองความ
ต้องการของสังคม และนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงได้จัดทำ “คู่มือการนิเทศการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดย

ใช้กระบวนการนิเทศ เอ พี ไอ ซี อี (APICE Model)” โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ลำปาง เขต 1 ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติการนิเทศให้คณะศึกษานิเทศก์ได้ใช้ในการนิเทศครูผู้รับผิดชอบ

งานพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตร และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถจัดกิจกรรมพัฒนา

ผู้เรียนตามแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 ได้อย่างมี

ประสิทธิภาพต่อไป

1.2 วัตถุประสงค์

1. เพื่อนิเทศ ติดตาม การพัฒนาคุณลักษณะอนพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศ เอ พ ี

ไอ ซี อี (APICE Model) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1
2. เพื่อส่งเสริมครูผู้รับผิดชอบงานพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตร

สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1
3. เพื่อเป็นแนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน สถานศึกษาในสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1


1.3 รายละเอียดประกอบคู่มือการดำเนินงาน
1) รูปแบบ


รูปแบบ หมายถึง ชุดของประเด็น รายการและกิจกรรม ซึ่งเป็นรายละเอยดวิธีการนิเทศ เพื่อพัฒนา
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่กำหนดไว้อย่างเป็นระเบียบ เรียงตามลำดับ มีความเชื่อมโยงกันตั้งแต่

ต้นจนจบอย่างเป็นขั้นตอน ช่วยให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์ และ

4

เป้าหมายได้ รวมถึงใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุด ตลอดจนยึดเป็นมาตรฐานการปฏิบัติการได้ โดยสร้างขึ้น

จากการสังเคราะห์หลักการ แนวคิดนักการศึกษา องค์การทางการศึกษา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการ
นิเทศการศึกษา แล้วดำเนินการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จนได้รูปแบบ

การนิเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และนำไปใช้ประโยชน์ในการ



ปฏิบัติการนิเทศการจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมของครูในการพฒนาคุณลักษณะอนพึงประสงค์
ของผู้เรียน สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
2) การนิเทศ
การนิเทศ หมายถึง การร่วมมือกันระหว่างศึกษานิเทศก์กับครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนที่

จัดการเรียนการสอนในระดับประถมศกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 95 แห่ง สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การช่วยเหลือ การแนะนำ การ
ให้คำปรึกษา การให้บริการ การสร้างข้อตกลง การสะท้อนผล การปรึกษาหารือร่วมกัน และการวางแผน

ร่วมกัน ในการทำงานร่วมกันของบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้การปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาเกิดการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในทุกมิติให้มีประสิทธิภาพ

สูงสุด บรรลุตามมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้เรียนระดับประถมศึกษาและ

มัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 ให้มีคุณลักษณะอนพง ึ

ประสงค์ตามหลักสูตรตั้งแต่ระดับคุณภาพดีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น

3) รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน หมายถึง ชุดของประเด็น รายการ
และกิจกรรมนิเทศที่พัฒนาขึ้นจากการสังเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับ

การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีผลงานดีเด่นและดำเนินการตรวจสอบโดย
ผู้เชี่ยวชาญ (Expert Judgment) แล้วให้ศึกษานิเทศก์นำไปใช้ในการนิเทศครูในโรงเรียน จำนวน 95 แห่ง เพื่อ

พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ลำปางเขต 1 จนประสบผลสำเร็จในการพัฒนา ทำให้ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีระดับคุณภาพตั้งแต่ระดับดีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น

และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศ สามารถยึดเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานได้ มีจำนวน 5
ประเด็นหลัก คือ 1. A (Assessing Need) การศึกษาสภาพและความต้องการ 2. P (Planning) การวางแผน

การนิเทศ 3. I (Informing) การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ 4. C (Coaching) การนิเทศแบบโค้ช และ

5. E (Evaluating) การประเมินผลการนิเทศ
3.1 การศึกษาสภาพและความต้องการ (Assessing Need) หมายถึง การศึกษาสภาพปัจจุบัน/

ปัญหา และความต้องการของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับ

ประเด็นในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ลำปาง เขต 1

5

3.2 การวางแผนการนิเทศ (Planning) หมายถึง การที่ศึกษานิเทศก์กับครูผู้สอนและผู้บริหาร

โรงเรียน ได้กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การกำหนดแนวทางปฏิบัติร่วมกันแล้วตัดสินใจดำเนินการ โดยมี
การสื่อความหมายกิจกรรม การสร้างความเข้าใจร่วมกัน และการสร้างแรงจูงใจ ให้ครูและบุคลากรในโรงเรียน

ร่วมกันดำเนินงานในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาลำปาง เขต 1 ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรตั้งแต่ระดับคุณภาพดีขึ้นไปเพิ่มมาก
ขึ้น


3.3 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing) หมายถึง การที่ศึกษานิเทศกได้ดำเนินการนิเทศ และ
ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แนะนำ แก่ครูผู้สอนและผู้บริหารในสถานศึกษา โดยสร้างความเข้าใจในคณะทำงาน

สร้างแรงจูงใจในการทำงาน การเร้าความสนใจในการทำงาน กระตุ้นให้ทำงาน และอำนวยความสะดวกในการ

ทำงาน การสนับสนุนริเริ่มการทำงานใหม่ๆ การสร้างนวัตกรรมสื่อสาร การแนะนำการทำงาน การแสดง
ตัวอย่างในการทำงาน การบอกขั้นตอนในการทำงาน การสาธิตการทำงาน รวมถึงการสร้างข้อตกลงการ

ให้บริการ สนับสนุนวัสดุอุปกรณื ตามรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ให้
การปฏิบัติงานของสถานศึกษาดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ

ผู้เรียนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้


3.4 การนิเทศแบบโค้ช (Coaching) หมายถึง การดำเนินการนิเทศการพัฒนาคุณลักษระอันพง
ประสงค์ของผู้เรียน การจัดกิจกรรมและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนแบบโค้ช ทั้งนี้

ศึกษานิเทศก์ ได้ดำเนินการร่วมกับทีมบริหาร คณะอนุกรรมการ ก.ต.ป.น. ผู้บริหารสถานศึกษา และครู

วิชาการ เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาดำเนินการพัฒนา
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นไป

3.5 การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating) หมายถึง การดำเนินการของศึกษานิเทศก์ร่วมกับ
ครูผู้สอน และผู้บริหารโรงเรียน ในการรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบความก้าวหน้า การวัดพฤติกรรมในการ

ทำงาน การกำหนดระดับคุณค่า การตีค่าและตัดสินคุณค่า การพิจารณาผลสัมฤทธิ์ ตัดสินใจในคุณค่าของงาน

เทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ รวมถึงการวิจัยผลงานของสมาชิกจากการนิเทศตามรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนา
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง

เขต 1 ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
4) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

คุณลักษณะอนพงประสงค์ของผู้เรียน หมายถึง พฤติกรรมที่ผู้เรียนระดับประถมศึกษาและระดับ


มัธยมศึกษาตอนต้น สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 แสดงออก
และปฏิบัติตนในทางที่ดีงาม และเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2551 ทั้ง 8 ประการ ประกอบด้วย 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่

เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ ซึ่งมีความเหมาะกับ
นักเรียนทั้งในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

6


ส่วนที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง



การนิเทศ ติดตาม การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศ เอ พี ไอ

ซี อี (APICE Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศกษาลำปางเขต 1 ผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารและ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 ความหมายของการนิเทศการศึกษา และความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา

2.2 หลักการนิเทศการศึกษา และกระบวนการนิเทศการศึกษา

2.3 การนิเทศแบบโค้ช
2.4 แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน


2.1 ความหมายของการนิเทศการศึกษาและความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา

ความหมายของการนิเทศการศึกษา

การพัฒนาการศึกษาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ครูเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพ
การศึกษา ครูที่มีความรู้ความสามารถและได้รับการอบรมเป็นอย่างดีจะช่วยให้งานการศึกษาบรรลุผลสำเร็จ

ดังนั้นการปรับปรุงประสิทธิภาพของครูจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ วิธีการที่จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของครู

คือ การนิเทศการศึกษา การที่ผู้เรียนจะมีคณภาพทางการศึกษามากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพของครู การ

นิเทศการศึกษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพครูในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุ


เป้าหมายของหลักสูตร นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการนิเทศการศกษา ดังนี้
ชารี มณีศรี (2540 : 19) กล่าวว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง ความพยายามอย่างหนึ่งในหลายๆ
อย่างที่จะช่วยส่งเสริมให้การศึกษามีคุณภาพทั้งการเรียนและการสอน

ผดุง เฉลียวศิลป์ (2540 : 7) กล่าวว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง กระบวนการสร้างปฏิสัมพันธ์
ระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุ

เป้าหมายตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนทุก ๆ ด้าน
รินทร์ทอง วรรณศิริ (2541 : 17) กล่าวว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง กระบวนการที่ครูและ

บุคลากรทางการศึกษาร่วมกันดำเนินงานโดยมุ่งให้ครูเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนการสอนในทางที่ดีขึ้น

อันส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนของนักเรียนให้สูงขึ้น
วีณา พานิช (2546 : 15) ได้ให้ความหมายการนิเทศว่า การนิเทศเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร ซึ่งเป็น

กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศ ครูผู้สอน ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ เพื่อกระตุ้นยั่วยุ

ท้าทาย สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย
อยู่เสมอ โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่คุณภาพการศึกษาทกำหนดไว้
ี่

7


สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการประถมศกษาแห่งชาติ (2541
: 3) ได้ให้ความหมายของการนิเทศการศึกษาไว้ว่า การนิเทศการศึกษาคือ งานพัฒนาที่ควรดำเนินการอย่าง
ต่อเนื่องโดยมุ่งคุณภาพที่การเรียนการสอนและผลที่เกิดกับนักเรียน

Good (1973 อ้างถึงใน สิทธิชัย เวศสุวรรณ, 2541 : 11) ได้ให้ความหมายการนิเทศการศึกษา คือ

ความพยายามทุกวิถีทางของอาจารย์ผู้ที่ทำหน้าที่นิเทศในการให้คำแนะนำแก่ครูหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ
การศึกษาให้รู้จักปรับปรุงการเรียนการสอน

Harris (1975 อ้างถึงใน ไสว เครือรัตนไพบูรณ์, 2550 : 15) กล่าวถึงความหมายของการนิเทศ
การศึกษาว่า คือ การกระทำใดๆ ที่บุคลากรในโรงเรียนเพื่อรักษามาตรฐานหรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

กระบวนการการนิเทศการศึกษาภายใต้ระเบียบแบบแผนอำนวยความสะดวกแกการสอนให้พัฒนาดีขึ้น โดยมุ่ง

ให้เกิดประสิทธิผลในด้านการสอนเป็นสำคัญ
Glickman (1990 อ้างถึงใน ธำรง บัวศรี, 2542 : 23) ให้ความเห็นเกี่ยวกับการนิเทศว่าเป็น

แนวความคิดกับการงานและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการเรียนการสอน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง
หลักสูตร การจัดครูเข้าสอน การจัดสื่อการสอน สิ่งอำนวยความสะดวก การเตรียมการสอนและการพัฒนาครู

รวมทั้งการประเมินผลการเรียนการสอน

Daniel Tanner and Laured Tanner (1987 อ้างถึงใน ทัสนี วงศ์ยืน, 2550 : 13) กล่าวว่า การ
นิเทศการศึกษา คือ การปรับปรุงคุณภาพการสอนและการเรียนรวมทั้งปรับปรุงหลักสูตร

สรุปได้ว่า การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการเรียนการสอน โดยการ

ปฏิบัติงานร่วมกนระหว่างผู้บริหารและครูในโรงเรียนเพอให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา สนับสนุน แนะนำซึ่ง
ื่

กันและกันในการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของครูให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่
สูงขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

ความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา
ในปัจจุบันการนิเทศการศึกษามีความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพอ
ื่
ลดความสูญเปล่าทางการศึกษา ส่งเสริมผู้เรียนให้ได้รับการศึกษาที่ดีกว่าเดิมเหมาะสมกับความต้องการ


ในอนาคต องค์ประกอบที่เป็นหัวใจสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพการศกษาอยู่ที่คณภาพของการเรียนการสอน

การนิเทศการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การสอนของครูมีประสิทธิภาพ เพราะการนิเทศการศึกษาเป็น
องค์ประกอบที่จะช่วยสนับสนุนให้กระบวนการเรียนการสอนมีคุณภาพและบรรลุเป้าหมาย มีนักการศึกษาและ
หน่วยงานของรัฐได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาไว้ ดังนี้

การนิเทศการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2541 : 25) มีความ

มุ่งหมายเฉพาะการนิเทศการศึกษา สรุปได้ดังนี้
1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในความรับผิดชอบของ

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

8

2. เพื่อแก้ปัญหา ให้ความร่วมมือและให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหาร ผู้สอน และบุคลากรของโรงเรียน

ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในการดำเนินงานจัดการเรียนการสอนให้เป็นไป
ตามหลักสูตรให้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการ

การประถมศึกษาแห่งชาติ

3. เพื่อพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี รูปแบบการเรียนการสอนและการจัดการเรียนการสอนตาม
หลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ

ความต้องการของท้องถิ่น
4. เพื่อพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

ให้มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์อันจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนและสามารถแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น

จากการดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งให้มีขวัญกำลังใจในการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์

ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศกษาแห่งชาติ
5. เพื่อให้คำปรึกษาและประสานงานทางวิชาการแก่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา
แห่งชาติ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดหรือสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานการ

ประถมศึกษาอำเภอและกิ่งอำเภอและโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติหรือ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศ
6. เพื่อประสานงานให้ความร่วมมือกับสำนักงานศึกษาธิการเขต สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและ

สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ดำเนินโครงการและพัฒนางานต่าง ๆ ที่กระทรวงและกรมมอบหมายไปยังเขต

การศึกษาจังหวัด อำเภอและกิ่งอำเภอ
นอกจากนี้ Abbot Linda Yager (๑๙๙๒ อ้างถึงใน ไสว เครือรัตนไพบูรณ์, 2550 : 26) ได้สรุปความ

มุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาไว้ 6 ประการ ดังนี้
1. เพื่อส่งเสริมความเจริญงอกงามให้แก่ครู ซึ่งได้แก่ การส่งเสริมให้ครูได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้

ิ่
เพมเติมอยู่เสมอ เปิดโอกาสให้ครูได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอาชีพ ส่งเสริมให้ครูได้ใช้
เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้หรืองานที่สนใจ
2. เพื่อช่วยให้ครูได้รู้ถึงปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่และค้นหาวิธีการที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้น

3. เป็นการส่งเสริมแนะนำครูและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน นักเรียนและ
ผู้ปกครอง

4. เพื่อช่วยให้ครูได้คุ้นเคยกับแหล่งวิทยาการและสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน

5. เพื่อควบคุมมาตรฐานและพัฒนางานในด้านการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
6. เพื่อให้ครูได้จัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้ถูกต้องตามจุดหมายที่วางไว้

ความมุ่งหมายการนิเทศการศึกษาที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นหลักแนวคิดทฤษฎี ส่วนหลักปฏิบัติหน่วย

ศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา ได้กำหนดความมุ่งหมายของการนิเทศ ดังนี้
1. เพื่อช่วยครูให้ดำเนินการสอนตามหลักสูตรและให้ได้ผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

9

2. เพื่อช่วยให้ครูได้ตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา ทั้งให้สามารถ

แก้ปัญหาเหล่านั้นได้ เพื่อให้เกิดผลดีต่อการศึกษาของนักเรียน
3. เพื่อให้ความช่วยเหลือในการพฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับ

ความต้องการจำเป็น

4. เพอรักษาและควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในทุกระดับ
ื่
5. เพื่อให้ความช่วยเหลือและประสานงานในทางวิชาการแก่สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตลอดจนงานขององค์การระหว่างประเทศ
วิจิตร วรุตบางกูร (2542 : 10) กล่าวว่า ความจำเป็นที่ต้องมีการนิเทศการศึกษาในระบบการศึกษา

เนื่องจากเหตุผล ดังนี้

1. สภาพสังคมเปลี่ยนไปทุกขณะ การศึกษาจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับการ
เปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย การนิเทศการศึกษาจะช่วยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในองค์การที่เกี่ยวข้อง

กับการศึกษา
2. ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เพิ่มขึ้นโดยไม่หยุดยั้ง แม้แนวคิดในเรื่องการเรียนการสอนเกิดขึ้นมาใหม่

ตลอดเวลา การนิเทศการศึกษาจะช่วยทำให้ครูมีความรู้ทันสมัยอยู่เสมอ

3. การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนการสอนพัฒนาขึ้นจำเป็นต้องได้รับการชี้แนะ
หรือนิเทศการศึกษาจากผู้ชำนาญการโดยเฉพาะจึงจะทำให้แก้ไขปัญหาได้สำเร็จลุล่วง

4. การศึกษาของประเทศไม่อาจรักษามาตรฐานไว้ได้จะต้องมีการควบคุมดูแลด้วย

สรุปความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษานั้น เป้าหมายหลักอยู่ที่การพัฒนาครูทั้งด้านวิชาชีพ คือ ฝึก
ให้มีประสบการณ์ตรง เช่น การประชุมอบรมสัมมนา การทดลองหลักสูตร วิธีการสอน และประสบการณ์โดย

อ้อม เช่น การจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ครูมีโอกาสพบปะทางวิชาการ เป็นต้น นอกจากนั้นยังช่วยสร้างครูให้มี
ลักษณะความเป็นผู้นำ การทำงานร่วมกับผู้อื่นอันจะส่งผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนที่ดียิ่งขึ้น

กล่าวโดยย่อก็คือ มุ่งพัฒนาคนและพัฒนางาน


2.2 หลักการนิเทศการศึกษา และกระบวนการนิเทศการศึกษา

หลักการนิเทศการศึกษา
หลักการนิเทศการศึกษาเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้ผู้บริหารการศึกษาได้ดำเนินการเพื่อให้การศึกษา

ดำเนินไปด้วยดีและประสบผลสำเร็จ ได้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้หลักการสำคัญของการนิเทศการศึกษา
ไว้ ดังนี้

Wiles (1967 อ้างถึงใน ไสว เครือรัตนไพบูรณ์, 2550 : 32) ได้ให้ความหมายของหลักการนิเทศ

การศึกษาว่าเป็นความช่วยเหลือในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น
Carl D. Glickman (1990 อ้างถึงใน ทัสนี วงศ์ยืน, 2550 : 41) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การนิเทศการศึกษา

เป็นแนวคิดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร

10

การให้บริการเสริมวิชาการ การจัดครูเข้าสอน การจัดทำสื่อการสอน การประเมินผลการเรียนการสอน

ตลอดจนจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
ชารี มณีศรี (2547 : 27) ได้กล่าวถึงพื้นฐานความสำคัญของการนิเทศการศึกษาไว้ ดังนี้

1. การนิเทศเป็นการกระตุ้นเตือน การประสานงานและแนะนำให้เกิดความเจริญงอกงามแก่ครู อาจ

ทำได้โดยการฝึกอบรมพัฒนาด้านวิชาชีพ ตลอดจนเทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
2. การนิเทศตั้งอยู่บนรากฐานของประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้ครูได้คิดและตัดสินใจโดยใช้

ความสามารถของตนในการปรับปรุงการเรียนการสอน

3. การนิเทศเป็นกระบวนการส่งเสริมสร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงการบังคบและสร้างบรรยากาศให้ครูได้เกิด
ความริเริ่มสร้างสรรค์หาวิธีการใหม่ๆ ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

4. การนิเทศกับการปรับปรุงหลักสูตรเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้
หลักสูตรและการวางแผนพัฒนาหลักสูตร

ื่
5. การนิเทศเป็นงานที่ต้องร่วมมือช่วยเหลือผู้อน จึงต้องสร้างมนุษยสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น มีการยอมรับ
นับถือซึ่งกันและกัน

6. การนิเทศมุ่งเสริมบำรุงขวัญ มีการยกย่องชมเชยซึ่งหากขวัญกำลังใจของครูดีก็จะทำให้การสอนดี

ตามไปด้วย
ี่
7. การนิเทศมีวัตถุประสงค์ทจะให้โรงเรียนจัดการศึกษาสอดคล้องกับชุมชน การนิเทศจะช่วยให้มีการ
วางแผนสอดคล้องกับความต้องการและปัญหาในชุมชน ช่วยให้ครูได้พัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพ

ชุมชนและส่งเสริมให้ครูได้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
อเนก ส่องแสง (2540 : 6) ได้กล่าวถึงพื้นฐานความสำคัญของการนิเทศการศึกษาไว้ ดังนี้

1. การนิเทศต้องมีความถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการกำหนดกฎ นโยบาย จุดมุ่งหมาย แนวปฏิบัติที่
ชัดเจนเป็นไปตามสภาพปัญหาที่แท้จริง มีวิวัฒนาการทั้งเนื้อหาสาระ วัสดุอุปกรณ์และกลวิธีในการนิเทศ

ตลอดจนมีการนิเทศติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ

2. การนิเทศเป็นการกระตุ้นประสาทและแนะนำให้เกิดความเจริญงอกงามแก่ผู้เรียนและผู้สอนมีการ
ฝึกอบรมวิชาชีพครู ปรับปรุงแผนการสอน ฝึกทักษะการใช้อุปกรณ์รวมทั้งพัฒนาเจตคติและเทคนิควิธีการสอน

ให้มีประสิทธิภาพ
3. การนิเทศตั้งอยู่บนพื้นฐานของประชาธิปไตยโดยผู้นิเทศต้องยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล

ส่งเสริมให้ผู้ได้รับการนิเทศได้แสดงความคิดเห็นและตัดสินใจร่วมกัน

4. การนิเทศเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน มีการรวบรวม
ข้อมูลและสรุปผลมาใช้ในการนิเทศตลอดจนมีการประเมินและติดตามผล

Burton and Bruecker (1995 อ้างถึงใน อุลัยพร เรืองไชย, 2552 : 72) ได้กำหนดหลักการนิเทศ

การศึกษา ไว้ว่า

11

1. การนิเทศการศึกษาควรดูความถูกต้องตามหลักวิชา (Theoretically Sound) เป็นไปตามความจริง

ค่านิยม วัตถุประสงค์และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นและยังจำเป็นต้องมีวิวัฒนาการทั้งด้านเครื่องมือและ
วิธีการโดยมีวัตถุประสงค์และนโยบายที่แน่นอน

2. การนิเทศการศึกษาควรเป็นวิทยาศาสตร์ (Scientific) นั่นคือต้องมีลำดับระเบียบและมีวิธีการใน

การศึกษาที่ถูกต้องเชื่อถือได้
3. การนิเทศการศึกษาควรเป็นประชาธิปไตย (Democratic) เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการ

ปฏิบัติงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
4. การนิเทศการศึกษาควรเป็นการสร้างสรรค์ให้ทุกคนได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนได้อย่าง

เต็มที่

นอกจากนี้ Mark and Atoop (1985 อ้างถึงใน สิทธิชัย เวศสุวรรณ, 2541 : 13) ได้กล่าวถึงหลักการ
นิเทศการศึกษาไว้ ดังนี้

1. การนิเทศการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการศึกษา เป็นบริการที่ทำเป็นทีมซึ่งครูทุกคน
มุ่งหวังได้รับการช่วยเหลือในด้านการนิเทศโดยอยู่ในความรับผิดชอบของครูใหญ่

2. การนิเทศการศึกษาต้องสอดคล้องกับความต้องการของคนแต่ละคน

3. การนิเทศการศึกษาช่วยให้เป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางการศึกษามีความชัดเจนและบุคลากรใน
โรงเรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อชุมชน

4. การนิเทศการศึกษาช่วยให้การบริหารการจัดการกิจกรรมนักเรียนปรับโครงการนิเทศและให้

ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผนระยะสั้นและระยะยาวมีการจัดงบประมาณไว้ในงบประมาณประจำปี
5. การนิเทศการศึกษาช่วยให้การแปลเอกสารและผลการวิจัยถูกนำมาใช้ ตลอดจนการวัด

ประสิทธิภาพของการศึกษา ควรให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการประเมินและให้ความช่วยเหลือ
สมคิด บางโม (2544 : 242) ได้กล่าวว่า การนิเทศการศึกษา มีความละเอียดอ่อนซับซ้อนกว่าการ

นิเทศในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเรื่องของการพัฒนามนุษย์ โดยเฉพาะครูอาจารย์มีบทบาทสำคัญในการพฒนา

ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด วัตถุประสงค์ของการนิเทศการศึกษาในโรงเรียน มีดังต่อไปนี้
1. เพื่อให้ครูได้พัฒนาการสอนของตนเอง ครูที่ดีย่อมต้องพัฒนาการสอนอยู่เสมอ ปรับปรุง

เปลี่ยนแปลงวิธีสอนที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพช่วยให้ครูได้พิจารณาวิธีสอนและกิจกรรมต่าง ๆ
ที่ใช้อยู่ว่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง เสนอแนะวิธีสอนและกิจกรรมใหม่ ๆ ได้

2. เพื่อส่งเสริมขวัญของครูให้อยู่ในสภาพที่ดีและเข้มแข็งสามารถทำงานเป็นคณะได้อย่างดี ร่วมกัน

ทำงานด้วยสติปัญญา สร้างความสัมพันธ์กลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจะทำให้งานบรรลุเป้าหมาย
3. เพื่อช่วยครูใหม่ให้เข้าใจงานของโรงเรียน ครูใหม่แม้จะได้ศึกษาเล่าเรียนจนได้ปริญญาศึกษามาแล้ว

ก็ตามก็ไม่แตกต่างอะไรกับนักขับรถใหม่ที่เพิ่งได้รับใบขับขี่ ดังนั้นการนิเทศครูใหม่ในด้านงานวิชาการของ

โรงเรียนย่อมมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
4. เพื่อให้ครู อาจารย์ เข้าใจอย่างถ่องแท้ในวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยเฉพาะหน้าที่ของโรงเรียน

และหน้าที่ของครูผู้สอนเพื่อที่จะได้ช่วยพัฒนาเด็กนักเรียนให้เจริญงอกงามในทุกด้าน

12

5. เพื่อช่วยสร้างครูให้มีลักษณะแห่งความเป็นผู้นำ โดยช่วยปรับปรุงโรงเรียนทั้งด้านบริหารและ

วิชาการช่วยส่งเสริมครูให้ก้าวหน้าในวิชาการสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
6. เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ครูทั้งด้านการบริหารวิชาการ ธุรการ กิจกรรมและสวัสดิการเป็น

การส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างเพื่อนครู

จากที่มีผู้ให้หลักการและความหมายดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า หลักการนิเทศการศึกษา เป็นการให้
คำปรึกษาแนะนำแก่ครูในการปรับปรุงการนิเทศการสอนให้ดียิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยมีความ

สอดคล้องกับความต้องการของครู กระบวนการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน การนิเทศการศึกษาที่จะ
ก่อให้เกิดประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดการศึกษาได้นั้น

จำเป็นต้องมีการดำเนินงานตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องเป็นระบบที่เรียกว่า กระบวนการนิเทศการศึกษา

สำหรับกระบวนการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ
ประถมศึกษาแห่งชาติถือเป็นแนวปฏิบัติตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ มี 5 ขั้นตอน ด้วยกัน (สังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2541 : 7-8)
ขั้นที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ เพื่อให้ทราบสภาพที่แท้จริงในขณะนั้นว่ามี

ปัญหาหรือข้อจำกัดอะไร มีความต้องการอย่างไร เพื่อจะได้ดำเนินการวางแผนแก้ไขได้ตรงจุด

ขั้นที่ 2 การวางแผนและกำหนดทางเลือก ในขั้นตอนนี้ต้องอาศัยข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการศึกษา
สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการอันจะเป็นข้อกำหนดให้เกิดการวางแผน การกำหนดทางเลือกในการ

แก้ปัญหาและปรับปรุงส่งเสริมการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ที่หลักสูตรกำหนดไว้

ขั้นที่ 3 การสร้างสื่อ เครื่องมือและพัฒนาวิธีการ เป็นการค้นหาสื่อที่จะช่วยในการปฏิบัติงานการนิเทศ
การศึกษา เพื่อให้ทราบที่มาของปัญหา เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการทำงานของครูให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การ

สร้างสื่อ เครื่องมือจะต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการและสามารถนำไปใช้ได้จริง
ขั้นที่ 4 การปฏิบัติการนิเทศการศึกษา เป็นขั้นตอนที่จะต้องนำผลจากขั้นตอนที่ 1-3 มาปฏิบัติการ

นิเทศให้เกิดผลสำเร็จตามจุดประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้

ขั้นที่ 5 การประเมินผลและการรายงานผล เป็นขั้นตอนในการจัดหารวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์
พิจารณาเพื่อสะท้อนภาพงานที่ได้ดำเนินการไป ทั้งนี้เพื่อการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป

จากขั้นตอนดังกล่าวพอจะสรุปได้ว่า กระบวนการนิเทศการศึกษา เป็นกระบวนการศึกษาสภาพ
ปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการวางแผนและกำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาให้เกิดประสิทธิภาพมาก

ยิ่งขึ้น

กระบวนการนิเทศการศึกษา
กระบวนการนิเทศการศึกษา หมายถึง แบบแผนการนิเทศที่มีระดับขั้นตอนชัดเจน ต่อเนื่องกันเป็น

ระบบ ซึ่งจะสามารถช่วยให้การนิเทศประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2534) ได้กำหนดกระบวนการนิเทศการศึกษาไว้
5 ขั้นตอน ดังนี้

1. การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ

13

2. การวางแผนและกำหนดทางเลือก

3. การสร้างสื่อ เครื่องมือ และพัฒนาวิธีการนิเทศ
4. การปฏิบัติการนิเทศ

5. การประเมินผลและรายงานผล

แผนภาพที่ 2.1 กระบวนการนิเทศการศึกษา



1

ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา


5 2.

ประเมินผลและรายงานผล วางแผนและกำหนด
ทางเลือก



4 3

ปฎิบัติการนิเทศ สร้างสื่อและเครื่องมอ


รัชนี พรรฒพานิช (2532) กล่าวไว้ว่า กระบวนการนิเทศที่กำลังแพร่หลายและมีแนวโน้มที่จะได้รับ
การยอมรับอย่างจริงจัง มีอยู่ 3 รูปแบบ คือ

1. กระบวนการนิเทศแบบประชาธิปไตย
การนิเทศแบบประชาธิปไตย เป็นการนิเทศโดยอาศัยผลงานของการวิจัยในทางจิตวิทยาแห่งการ

เรียนรู้เป็นหลัก โดยคำนึงถึงหลักมนุษยสัมพันธ์และการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะเพื่อร่วมกันปรับปรุงแก้ไข

การสอนให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์แก่นักเรียนและตรงตามเป้าหมายของการศกษาให้มากที่สุด

วิธีการนิเทศแบบประชาธิปไตยโดยใช้วิธีการประเมินผลตนเอง โดยครูและผู้นิเทศร่วมกัน (Self-

Evaluation) ทุกคนในกลุ่มจะร่วมกันศึกษางานที่เกี่ยวข้องกับสภาพการสอน สภาพการเรียน ดำเนินการและ
ประเมินผลร่วมกัน เป้าหมายของกลุ่มคือการปรับปรุงสภาพการเรียนการสอนให้ดีขึ้น

2. กระบวนการนิเทศแบบวิทยาศาสตร์

เป็นการนิเทศที่นำกระบวนการแสวงหาความจริงและกระบวนการแก้ปัญหาตามวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์มาใช้ในกระบวนการนิเทศ ซึ่งมี 6 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจปัญหาและวิเคราะห์หาสาเหตุ

ขั้นตอนที่ 2 ลำดับความสำคัญ โดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมายและผลที่เกิดขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 ตั้งจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาที่เลือกให้มีความชัดเจน

ขั้นตอนที่ 4 ระดมสมองหาวิธีแก้ไขและเลือกวิธีที่สมาชิกส่วนใหญ่เห็นว่าได้ผล

14

ขั้นตอนที่ 5 ทดลองนำวิธีที่เลือกแล้วไปวางแผนและทดลอง แล้วสรุปการทดลองเพื่อตัดสินใจ

ขั้นตอนที่ 6 นำไปใช้และประเมินผลเพื่อจะได้ข้อมูลป้อนกลับไปสู่การดำเนินงานครั้งต่อไป
3. กระบวนการนิเทศแบบคลินิก (Clinical Supervision)

เป็นการนิเทศเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมการสอนของครูในห้องเรียนซึ่งจะเป็นผลต่อการเรียนของ

นักเรียนด้วย โดยอาศัยกระบวนสังเกตในห้องเรียนแล้วให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อปรับปรุงการสอน
ของตนเองและปรับปรุงการนิเทศ การนิเทศแบบนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้

นิเทศเป็นฐาน
สิร์ปราณี วาสุเทพรังสรรค์ (2532) ได้นำเอากระบวนการนิเทศการศึกษาที่มีชื่อเรียกว่า PIDRE เข้ามา

ใช้ในระบบการนิเทศการศึกษาของไทย ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 5 ขั้นตอน

ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 วางแผนการนิเทศ (P = Planning) ขั้นนี้ผู้นิเทศจะประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้ได้ซึ่งปัญหา


ความต้องการจำเป็นของสิ่งที่จำเป็นต้องมการนิเทศ รวมทั้งวางแผนถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการนิเทศ
ที่จัดขึ้นด้วย


ขั้นที่ 2 ให้ความรู้ในสิ่งที่จัดทำ (I = Informing) เป็นขั้นตอนของการให้ความรู้ ความเข้าใจถึงสิ่งทีจะ
ดำเนินการว่าจะต้องอาศัยความสามารถอย่างไรบ้าง จะมีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไรและจะทำอย่างไรจึง
จะให้ผลงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นนี้จำเป็นทุกครั้งสำหรับการรับการนิเทศที่จัดขึ้นใหม่ไม่ว่าจะเรื่อง

ใดก็ตามและมีความจำเป็นสำหรับงานนิเทศที่เป็นไปอย่างไม่เป็นผล หรือได้ผลยังไม่ถึงขั้นที่พอใจซึ่งจำเป็น

จะต้องทำการทบทวนให้ความรู้ในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติงาน (D = Doing) การปฏิบัติงานประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ

3.1 การปฏิบัติของผู้รับการนิเทศ เป็นขั้นที่ผู้รับการนิเทศลงมือปฏิบัติงานตามความสามารถทได้รับมา
ี่
จากการดำเนินการในขั้นที่ 2

3.2 การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ ขั้นนี้ผู้ให้การนิเทศจะทำการนิเทศและควบคุมคุณภาพให้งาน

สำเร็จออกมาทันตามกำหนดเวลาและมีคุณภาพสูง
3.3 การปฏิบัติงานของผู้สนับสนุนการนิเทศ ผู้บริหารก็จะให้บริการสนับสนุนในเรื่องวัสดุอุปกรณ์

ตลอดจนเครื่องใช้ต่างๆ ที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างได้ผล
ขั้นที่ 4 การเสริมขวัญและกำลังใจ (R = Reinforcing) ขั้นนี้เป็นขั้นของการเสริมแรงของผู้บริหาร

เพื่อให้ผู้รับการนิเทศมีความมั่นใจและบังเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ขั้นนี้อาจดำเนินการไปพร้อมๆ

กัน ขณะที่ผู้รับการนิเทศกำลังปฏิบัติงานหรือการปฏิบัติงานได้เสร็จสิ้นลงไปแล้วก็ได้
ขั้นที่ 5 ประเมินผลผลิต และกระบวนการดำเนินงาน (E = Evaluation) ผู้นิเทศจะทำการประเมินผล

งานและประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านไปแล้วว่าเป็นอย่างไรหลังจากการประเมินผลการนิเทศได้พบว่า มี

ปัญหาหรืออุปสรรคอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้การดำเนินงานไม่ได้ผลก็สมควรจะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขโดย
ให้ความรู้ในสิ่งที่ทำมาอีกครั้งหนึ่ง ถ้าผลงานที่ออกมาไม่ถึงขั้นที่พอใจหรือดำเนินการปรับปรุงวิธีการดำเนินการ

ทั้งหมด

15

เบน เอ็ม แฮร์ริส (Ben M. Harris : 1963) ได้กล่าวถึงกระบวนการนิเทศที่เป็นกระบวนการด้วย

รหัสตัวอักษร POLCA ซึ่งประกอบด้วย
1. P มาจาก Planning Processes หมายถึง การวางแผนในการปฏิบัติงานโดยคิดว่าจะทำอย่างไร

กำหนดจุดมุ่งหมายของงาน พัฒนาวิธีการดำเนินการ คาดคะเนผลที่จะได้รับจากงานหรือโครงการที่วางแผน

ดำเนินการไว้
2. O มาจาก Organizing Processes หมายถึง การจัดโครงสร้างของงานว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ

ย่อยๆ อะไร มีความสัมพันธ์ต่องานแต่ละส่วนอย่างไร มีการแบ่งงานบทบาทขององค์ประกอบที่เป็นโครงสร้าง
งาน แบ่งหน้าที่ปฏิบัติและพัฒนานโยบายต่างๆ

3. L มาจาก Leading Processes หมายถึง บทบาทผู้นำ โดยมีการวินิจฉัยสั่งการ กระตุ้นบุคลากรให้

ทำงาน การให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้ปฏิบัติ ให้กำลังใจแลดงและอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงาน
4. C มาจาก Controlling Processes หมายถึง ติดตาม ควบคุม กำกับงาน ดำเนินการมอบหมาย

อำนวยการให้ความสะดวกจนถึงการสั่งการ แก้ไข ลงโทษ กำหนดระเบียบในการปฏิบัติ
5. A มาจาก Assessing Processes หมายถึง การตรวจสอบผลงานโดยการประเมินผล วิจัยผลของ

งาน

Glickman et al. (1995 : 324-328) ได้นำเสนอกระบวนการนิเทศการสอน ประกอบด้วย 5
ขั้นตอน คือ

1. การประชุมร่วมกับครูก่อนการสังเกตการสอน (Preconference with teacher) ผู้นิเทศเข้าร่วม

ื่

ประชุมกับครูเพอพิจารณารายละเอยดก่อนการสังเกตการสอนของครูเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ของการสังเกตต้องการ
ให้เน้นการสังเกตในประเด็นใดเป็นพิเศษวิธีการและรูปแบบการสังเกตที่จะนำไปใช้ เวลาที่ใช้ในการสังเกต และ
กำหนดเวลาที่ใช้ในการประชุมหลังการสังเกต
2. การสังเกตการสอนในชั้นเรียน (Observation of Classroom) เป็นการติดตามพฤติกรรมการ

สอนของครูในชั้นเรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจสอดคล้องกับหลักการและรายละเอียด ต่างๆที่กำหนด ผู้สังเกต

อาจใช้วิธีสังเกตเพียงวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้
3. การวิเคราะห์และติดตามผลการสังเกตการสอน และพิจารณาวางแผนการประชุมร่วมกับครู

(Analyzing and interpreting observation and determining conference approach) ผู้นิเทศหลังจากได้
สังเกตการสอนและได้รับข้อมูลของครูมาแล้ว ให้วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การนับความถี่ตัวแปรบางตัวที่ได้

กำหนดไว้ จำแนกตัวแปรหลักที่เกิดขึ้น รวมทั้งค้นหาตัวแปรบางตัวที่เกิดขึ้นใหม่จากการปฏิบัติหรือบางตัวที่ไม่

เกิดขึ้น ในการวิเคราะห์ข้อมูลให้ผู้นิเทศวางตัวเป็นกลาง และ ให้ดำเนินการแปลความหมายของข้อมูล
4. ประชุมร่วมกับครูภายหลังการสังเกตการสอน (Post conference with teacher) ผู้นิเทศจัด

ประชุมครูเพื่อเป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับและร่วมกันอภิปราย ซึ่งผลที่ได้รับจากการอภิปรายร่วมกัน ครูผู้สอน

สามารถนำไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงการสอนได้
5. การวิพากษ์วิจารณ์ผลที่ได้รับจากขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอน (Critique of previous four steps) ซึ่ง

กระบวนการนิเทศการสอนที่สอดคล้องกับกระบวนการนิเทศของ Copeland and Boyan (1978 : 23) ได้เสนอการ

16

นิเทศการสอนไว้ 4 ขั้นตอน คือ 1) การประชุมก่อนการสังเกตการสอน 2) การสังเกตการสอน 3) การวิเคราะห์ข้อมูล

จากการสังเกตการสอน และ 4) การประชุมหลังการสังเกตการสอน
การนำวงจรคุณภาพ (PDCA) หรือโดยทั่วไปนิยมเรียกกันว่า PDCA มาใช้เป็นกระบวนการนิเทศการสอน

ซึ่งสมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ (2542 : 188) กล่าวถึง จุดหมายที่แท้จริงของวงจรคุณภาพ (PDCA) ว่าเป็นกิจกรรม

พื้นฐานในการบริหารคุณภาพนั่นมิใช่เพียงแค่การปรับแก้ผลลัพธ์ที่เบี่ยงเบนออกไปจากเกณฑ์มาตรฐานให้กลับมา
อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการเท่านั้น แต่เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงในแต่ละรอบของ PDCA อย่างต่อเนื่องเป็นระบบและมี

การวางแผน PDCA ที่ม้วนไต่สูงขึ้นเรื่อยๆ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan-P) ขั้นที่ 2 การดำเนินตามแผน
(Do-D) ขั้นที่ 3 การตรวจสอบ (Check-C) ขั้นที่ 4 การแก้ไขปัญหา (Act-A)


แผนภาพที่ 2.2 กระบวนการ PDCA
กำหนดปัญหา

อะไร


วิเคราะห์ปัญหา
วางแผน(Plan-P)

ทำไม หาสาเหตุ



อย่างไร วางแผนร่วมกัน




ปฏิบัติ (Do-D) นำไปปฏิบัติ


ตรวจสอบ (Check-C) ยืนยันผลลัพธ์


แก้ไข (Act-A) ทำมาตรฐาน



ที่มา : สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ (2542 : 188)


ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Plan) การวางแผนงานจะช่วยพัฒนาความคิดต่าง ๆ เพอนำไปสู่รูปแบบที่เป็นจริงขึ้นมาใน
ื่

รายละเอยดให้พร้อมในการเริ่มต้นลงมือปฏิบัติ แผนที่ดีควรมีลักษณะ 5 ประการ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง (realistic)

2. สามารถเข้าใจได้ (understandable)

3. สามารถวัดได้ (measurable)
4. สามารถปฏิบัติได้ (behavioral)

17

5. สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ (achievable)

การวางแผนที่ดีควรมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. กำหนดขอบเขตปัญหาให้ชัดเจน

2. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

3. กำหนดวิธีการที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายให้ชัดเจนและถูกต้องแม่นยำ
ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

ขั้นตอนที่ 2 ปฏิบัติ (Do) ประกอบด้วยการทำงาน 3 ระยะ
1. การวางแผนกำหนดการ

1.1 การแยกกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องการกระทำ

1.2 กำหนดเวลาที่คาดว่าต้องใช้ในกิจกรรมแต่ละอย่าง
1.3 การจัดสรรทรัพยากรต่างๆ

2. การจัดการแบบแมทริกซ์ (matrix management) การจัดการแบบนี้สามารถช่วยดึงเอา
ผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงจากแหล่งต่าง ๆ มาได้ และเป็นวิธีช่วยประสานระหว่างฝ่ายต่างๆ


3. การพฒนาขีดความสามารถในการทำงานของผู้ร่วมงาน
3.1 ให้ผู้ร่วมงานเข้าใจถึงงานทั้งหมดและทราบเหตุผลที่ต้องกระทำ

3.2 ให้ผู้ร่วมงานพร้อมในการใช้ดุลพนิจที่เหมาะสม

3.3 พฒนาจิตใจให้รักการร่วมมือ
ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบ (Check) การตรวจสอบทำให้รับรู้สภาพการณ์ของงานที่เป็นอยู่
เปรียบเทียบกับสิ่งที่วางแผน ซึ่งมีกระบวนการ ดังนี้

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ

2. รวบรวมขอมูล
3. การทำงานเป็นตอนๆ เพื่อแสดงจำนวน และคุณภาพของผลงานที่ได้รับในแต่ละขั้นตอน

เปรียบเทียบกับที่ได้วางแผนไว้
4. การรายงานจะเสนอผลการประเมิน รวมทั้งมาตรการป้องกันความผิดพลาดหรือ ความ

ล้มเหลว
4.1 รายงานเป็นทางการอย่างสมบูรณ์

4.2 รายงานแบบอย่างไม่เป็นทางการ

ขั้นตอนที่ 4 การแก้ไขปัญหา (Act) ผลของการตรวจสอบหากพบว่าเกิดข้อบกพร่องขึ้นทำให้งานที่ได้

ไม่ตรงตามเป้าหมายหรือผลงานไม่ได้มาตรฐาน ให้ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาตามลักษณะปัญหาที่ค้นพบ

1. ถ้าผลงานเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ
2. ถ้าพบความผิดปกติใดๆ ให้สอบสวนค้นหาสาเหตุแล้วทำการป้องกัน เพื่อมิให้ความผิดปกตินั้น

เกิดขึ้นซ้ำอีก

ในการแก้ไขปัญหาเพอให้ผลงานได้มาตรฐานอาจใช้มาตรการดังต่อไปนี้
ื่

18

1. การย้ำนโยบาย

2. การปรับปรุงระบบหรือวิธีการทำงาน
3. การประชุมเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน

จะเห็นได้ว่าวงจรคุณภาพ (PDCA) ประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การดำเนินตามแผน (Do) การ

ตรวจสอบ (Check) และการปรับปรุงแก้ไข (Act) โดยการวางแผน การลงมือปฏิบัติตามแผนการตรวจสอบ
ผลลัพธ์ที่ได้ และหากไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหมายไว้ จะต้องทำการทบทวนแผนการโดยเริ่มต้นใหม่และทำตาม


วงจรคุณภาพซ้ำอก เมื่อวงจรคุณภาพหมุนซ้ำไปเรื่อยๆ จะทำให้เกิดการปรับปรุงงานและระดับผลลัพธ์ที่สูงขึ้น

เรื่อยๆ ซึ่งหลักการดังกล่าวหากนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกบบริบทของสถานศึกษาจะช่วยพัฒนาบุคลากรและ
นักเรียนให้มีคุณภาพ

สรุปกระบวนการนิเทศดังกล่าวข้างต้นได้ว่า กระบวนการนิเทศการศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษา
และระดับก่อนประถมศึกษาจะต้องดำเนินการต่อเนื่องใน 5 ขั้นตอน คือ 1. A (Assessing Need) การศึกษา

สภาพและความต้องการ 2. P (Planning) การวางแผนการนิเทศ 3. I (Informing) การให้ความรู้ก่อนการ
นิเทศ 4. C (Coaching) การนิเทศแบบโค้ช และ 5. E (Evaluating) การประเมินผลการนิเทศ เรียกว่า

กระบวนการนิเทศ เอ พี ไอ ซี อี (APICE Model) โดยมี 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพ และความต้องการ (Assessing Need = A)
การศึกษาสภาพ และความต้องการเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะได้ทราบสภาพจริง

และความต้องการในการรับการนิเทศของครูผู้สอนในเรื่องต่าง ๆ เนื่องจากบริบทของแต่ละโรงเรียนไม่

เหมือนกัน มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ความพร้อมของครูและนักเรียน ดังนั้น
ในขั้นตอนนี้จึงมีความสำคัญที่ผู้นิเทศจะต้องมีการศึกษาสภาพจริงที่ครูผู้สอนปฏิบัติ และความต้องการในการ

ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน ผู้นิเทศนำแนวคิดมาจากรูปแบบจำลองการออกแบบการสอน
The ADDIE Model ของ : Kevin Kruse (2007 : 1) ที่กล่าวว่า ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นของการวิเคราะห์ความ

ต้องการจำเป็น และแนวคิดแบบจำลองการออกแบบการสอนเชิงระบบของ Dick et al. (2005 : 1-8) ในการ

วิเคราะห์ ความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์การเรียนการสอน การวิเคราะห์นักเรียนและบริบทซึ่งผู้วิจัยได้
ศึกษากระบวนการนิเทศของ Harris et al. (1985 : 13-15) ที่กล่าวว่า การนิเทศการสอนต้องมีการศึกษา

ข้อมูลเบื้องต้น วิเคราะห์ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในองค์กร เพื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลง และเป็นไป
ตามแนวคิดของ Acheson, Keith A. and Gall, Meredith D. (1997 : 90), วัชรา เล่าเรียนดี (2550 : 527-

528) ที่กล่าวว่า ผู้นิเทศต้องวิเคราะห์การสอนของครูผู้สอนและการเรียนของนักเรียน เปิดโอกาสให้ผู้รับการ

นิเทศนำเสนอความต้องการ ประเด็นที่สนใจจะปรับปรุงและพัฒนาและสอดคล้องรูปแบบการนิเทศของเกรียง
ศักดิ์ สังข์ชัย (2552 : 37)

ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการนิเทศ (Planning = P)

การวางแผนการนิเทศเป็นขั้นของการเตรียมการในการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ สื่อการนิเทศ
เครื่องมือการนิเทศ และปฏิทินการนิเทศการจัดกิจกรรมและประเมินการอ่าน และเขียน ผู้นิเทศได้ศึกษา

แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศของ Harris et al. (1985 : 23 อ้างถึงใน วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์, 2538 : 40)

19

ที่กล่าวว่าการนิเทศภายในโรงเรียนต้องมีการวางแผน (Planning) ได้แก่ การคิดและการตั้งวัตถุประสงค์

ขั้นตอนการดำเนินงาน วางแผนโครงการ และสอดคล้องกับแนวคิดของ Lucio, William H., and McNiel,
John D (1979 : 24) ที่กล่าวว่าผู้นิเทศต้องรู้จักการวางแผน และต้องมีการวางแผนการปฏิบัติงานของตนเอง

นอกจากนี้ในกระบวนการนิเทศการสอนของ Glatthorn, Allan A. (1984 : 2), วัชรา เล่าเรียนดี (2550 :

27), สงัด อุทรานันท์ (2530 : 84-85), เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย (2552 : 37), ธัญพร ชื่นกลิ่น (2553 : 28) ยังได้ให้
ความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผน และได้นำขั้นตอนการวางแผนการนิเทศ เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการนิเทศ

และกระบวนการนิเทศการสอนที่ได้พัฒนาขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing = I)

การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ เป็นขั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมและประเมินการอ่าน

และการเขียน ผู้นิเทศได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบและกระบวนการนิเทศการสอนของนักวิชาการในศาสตร์
การนิเทศ เช่น Glatthorn et al. (1984 : 2),วัชรา เล่าเรียนดี (2550 : 27), สงัด อุทรานันท์ (2530 : 86)

พบว่า นักวิชาการดังกล่าวมีความคิดเห็นสอดคล้องตรงกันว่าในการนิเทศการสอนนั้นมีความจำเป็นต้องให้

ความรู้ที่สำคัญ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาด้วยการประชุม สัมมนาเชิงปฏิบัติการต่างๆ การสื่อสารทั้งการพด
และการเขียน ตลอดจนการแสวงหาความรู้จากเอกสาร

ขั้นตอนที่ 4 ปฏิบัติการโค้ช (Coaching = C)
การปฏิบัติการนิเทศแบบโค้ช (Coaching) ผู้นิเทศได้ศึกษาแนวคิด รูปแบบและกระบวนการนิเทศ

ของวัชรา เล่าเรียนดี (2556 : 313-317), Sandvold, A (2008 อ้างถึงใน วัชรา เล่าเรียนดี, 2556 : 314),

Sweeney, Diane (2011 : 9) ธัญพร ชื่นกลิ่น (2553 : 28-29) เนื่องจากแนวคิดของนักวิชาการที่กล่าวถึง
มุ่งเน้น การแก้ปัญหาการรู้หนังสือและการอ่านการคิดอย่างเป็นระบบ เน้นให้ครูผู้สอนนำความรู้และทักษะที่

สำคัญของการจัดการเรียนการสอนไปจัดกิจกรรมที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ มีขั้นตอนที่สำคัญ คือ 1) ระบุ
จุดประสงค์การเรียนรู้ของนักเรียนที่สัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้ 2) วัดและประเมินผลนักเรียนก่อนเรียน

3) จัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของนักเรียน 4) วัดและประเมินผลหลังเรียน นอกจากนี้การ

นิเทศแบบโค้ช ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศมีความใกล้ชิดกัน ร่วมกันคิดใน เชิงสร้างสรรค์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ขั้นตอน ที่ 5 การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating = E)
การประเมินผลการนิเทศ เป็นขั้นที่ผู้นิเทศนำมาใช้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อสรุปผลการนิเทศในแต่

ละขั้นตอนที่ได้ดำเนินการไป เพื่อให้เห็นผลการดำเนินงานทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ซึ่งสอดคล้องกับ

กระบวนการนิเทศของสงัด อุทรานันท์ (2530 : 87-88) , วัชรา เล่าเรียนดี (2550 : 28) เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย
(2552 : 37-38), ยุพิน ยืนยง (2553 : 25-26), ธัญพร ชื่นกลิ่น (2553 : 29)

2.3 การนิเทศแบบโค้ช (Coaching)

การนิเทศแบบโค้ช เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญในการช่วยเหลือให้ การจัดการเรียนรู้เป็นไป
อย่างมีคุณภาพ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือ ศึกษานิเทศก์ รวมทั้งเครือข่ายการนิเทศที่เข้ามามีส่วนร่วมในการนิเทศ

การสอน การดำเนินการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ครูและผู้บริหารสถานศึกษา ให้สามารถ

20

จัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐาน ตลอดจนสามารถเสริมสร้างการพัฒนาระบบการประกัน

คุณภาพภายในของสถานศึกษาให้เข้มแข็ง การนำเทคนิคการนิเทศแบบโค้ช (Coaching) มาใช้ในการนิเทศ
การสอน จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ได้

การนิเทศแบบโค้ช (Coaching) เป็นวิธีการพัฒนาสมรรถภาพการทำงานของครู โดยเน้นไปที่การ
ทำงานให้ได้ตามเป้าหมายของงาน หรือการช่วยให้สามารถนำความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่และหรือได้รับการอบรม

มา ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ การโค้ชมีลักษณะเป็นกระบวนการ มีเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง 3
ประการ คือ การแก้ปัญหาในการทำงาน การพัฒนาความรู้ ทักษะ หรือความสามารถในการทำงาน และการ

ประยุกต์ใช้ทักษะหรือความรู้ในการทำงาน ที่ตั้งอยู่บนหลักการของการเรียนรู้ร่วมกัน (Co-Construction) โดยยึด

หลักว่าไม่มีใครรู้มากกว่าใคร จึงต้องเรียนไปพร้อมกันเพอให้ค้นพบวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง (สำนักทดสอบ
ื่
ทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553 : 2-7)

(1) การโค้ชเพื่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน


การโค้ชเพื่อช่วยครูพฒนาคุณลักษณะอนพึงประสงค์ของผู้เรียน ผู้ทำหน้าที่โค้ชอาจจะทำหน้าที่สอน

ครูเกี่ยวกับยุทธวิธีการพัฒนาคุณลักษณะอนพึงประสงค์ของผู้เรียน การใช้แผนภูมิ แผนภาพ หรือกิจกรรมการ

ื่




สอนที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจในคุณลักษณะอนพงประสงค์มากขึ้น ถ้าผู้ทำหน้าที่โค้ชเพอพฒนาคุณลักษณะอนพง
ประสงค์ของผู้เรียนอาจะมีความรับผิดชอบ โดยการช่วยนักเรียนพัฒนาคุณลักษณะอันพงประสงค์ในทุกวิชา

อาจทำหน้าที่โดยโค้ชครูบ่อยครั้งหรือไม่ทำ การโค้ชเลยก็ได้ โค้ชเพื่อการคุณลักษณะอันพึงประสงค์อาจทำ
หน้าที่ครูปฏิบัติด้านการสอนแก่นักเรียนหรือประเมินผลการเรียนของนักเรียน การโค้ชคุณลักษณะอันพง

ประสงค์ อาจจะใช้สลับกันทำหน้าที่โค้ช แต่บทบาทของโค้ชเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์เช่น ในยุค
ศตวรรษที่ 21 คือ โค้ชที่มาหน้าที่ช่วยพัฒนาความรู้จะต้องมีทั้งความรู้ ความสามารถด้านกิจกรรมพฒนาผู้เรียนได้

ด้วยวิธีต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ การโค้ชเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้

1. การแลกเปลี่ยนข้อมูล (Sharing Information) ระหว่างโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
2. การเตรียมความพร้อม สำหรับการโค้ช คือ ผู้ทำหน้าที่โค้ช ครูผู้รับการโค้ช จุดประสงค์สำคัญจาก

การโค้ช ก็คือ การประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่มาจากการสอนหรือการจัดกิจกรรมที่มี
ประสิทธิภาพ (Expert Teaching) ของครูที่ได้รับการโค้ช การโค้ชจึงมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนา ความเชี่ยวชาญด้านการสอน

โดยมีแนวคิดเชิงระบบง่ายๆ ดังนี้


Moral Coaching Expert Teaching Student Achievement

3. การเลือกโค้ชที่เหมาะสม โค้ชต้องมีความรู้ความสามารถสูง โดยเฉพาะถ้าจะต้องพฒนาพฤติกรรม

ด้านใดด้านหนึ่ง วิธีใดวิธีหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น โค้ชที่จะทำการโค้ช เพื่อพัฒนาด้านความมีวินัยให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ
ความมีวินัยให้แก่ครูจะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านความมีวินัยจริงและเป็นที่ยอมรับ

21

4. พัฒนาความรู้สึกเป็นเจ้าของ การพัฒนาในวิชาชีพระหว่างผู้ร่วมโครงการ ถ้าผู้มีส่วนร่วมมีความเต็ม

ใจ ตั้งใจ กระตือรือร้น ในการเริ่มต้นในการพัฒนาอย่างจริงจัง เป็นการเริ่มต้นบนรากฐานที่ดีในการพัฒนาต่อไป
5. กำหนดความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ต่อกันที่ชัดเจน เพราะเมื่อใดที่ผู้บริหาร ครู และโค้ช

ทำงานร่วมกัน ผลการเรียนของนักเรียนต้องมีการพัฒนาขึ้น

6. โค้ชต้องติดต่อปฏิสัมพันธ์กับโรงเรียนตลอดเวลา การพบปะพูดคุยกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ทุก
สัปดาห์ หรือ สองสัปดาห์ต่อครั้งอย่างต่อเนื่อง

7. โค้ชต้องรู้ว่าแหล่งความรู้มีอะไรบ้าง และเข้าถึงได้อย่างไร เช่น เว็บไซต์ต่างๆศูนย์สื่อต่าง ๆ ที่
โรงเรียนจะเข้าถึงได้

8. การพูดจาภาษาเดียวกัน ผู้มีส่วนร่วมทุกคนต้องพูดอธิบายในเรื่องเดียวกันได้เข้าใจ

9. การประเมินความก้าวหน้า (Assess Progress) การติดตามดูแลช่วยเหลือ ความก้าวหน้าของครู
ในการใช้หลักสูตรการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน หรือยุทธวิธีสอนจะต้องมีการเก็บบันทึก

ข้อมูล ครูผู้สอนและโค้ช ก็ต้องได้รับการฝึกอบรม และมีการประเมินผลความก้าวหน้า
10. มีการวางแผนเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

(2) การโค้ชที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ (Student Centered Coaching)

1. แนวคิด
การโค้ชที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ (Student Centered Coaching) เป็นอีกแนวคิดหนึ่งในการ

พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู เพื่อให้ความสำคัญกับนักเรียนและยึดนักเรียนเป็นสำคัญก่อนเป็น


อันดับแรก ถึงแม้ว่าเป้าหมายหลักสำคัญของการนิเทศในปัจจุบันหรือการโค้ชทุกรูปแบบจะเน้นพฒนาการของ
การเรียนรู้ของนักเรียนก็ตาม การโค้ชที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญเป็นแนวคิดและงานของ Diane Sweeney

(2011 อ้างถึงใน วัชรา เล่าเรียนดี, 2556 : 323) จุดเด่นและลักษณะสำคัญของการโค้ชที่เน้นนักเรียนเป็น
สำคัญ คือ เป็นการดำเนินการโค้ชที่โรงเรียน โดยความร่วมมือของโค้ชผู้บริหาร และครู เพื่อพัฒนาผลการ

เรียนรู้ของนักเรียนเป็นสำคัญ เป็นโค้ชที่มีวัตถุประสงค์ คือ ผลการเรียนรู้ของนักเรียนมากกว่าการมุ่งปรับปรุง

ึ้
การปฏิบัติการสอนของครู การโค้ช แนวทางการโค้ช มุ่งสู่พัฒนาการของผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขน ซึ่ง
ต้องวัดได้และประเมินได้ชัดเจน

2. สาระสำคัญของการโค้ชที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ

2.1 การโค้ชที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ กำหนดเป้าหมายเฉพาะ คือ พัฒนานักเรียน เป็นการร่วมมอ
กันของโค้ช ผู้บริหาร และครูผู้สอน


2.2 ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียน ซึ่งต้องมีส่วนร่วม
อย่างจริงจังในการโค้ชและการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน

2.3 เป็นการวัดและประเมินผลกระทบโดยตรงที่เกิดขึ้นกับนักเรียนอันเนื่องมาจากการโค้ช

2.4 การพัฒนาวิชาชีพด้วยการโค้ชภายในโรงเรียนมีหลายรูปแบบ หลายวิธีการปฏิบัติใช้กัน
แพร่หลายต่อเนื่อง และประสบผลสำเร็จ แต่การโค้ชที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญจะช่วยยืนยันได้ว่าการโค้ชเป็นการ

พัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องของครูและบุคลากรในโรงเรียน ส่งผลถึงพัฒนาการของผลการเรียนรู้ของนักเรียนจริง

22

2.5 การโค้ชที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ มีลักษณะและการปฏิบัติที่ชัดเจนของการโค้ชในโรงเรียน



โดยบุคลากรในโรงเรียน เนื่องจากผู้บริหารต้องให้ความสำคัญและให้ความร่วมมอ เพื่อการพฒนาคุณภาพของ
นักเรียน โดยตรง
3. บทบาทของผู้บริหารในการโค้ชที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ

3.1 ทำความเข้าใจหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติ ของการโค้ชที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ พร้อมกับ

โค้ชหรือผู้ทำหน้าที่โค้ช เพราะผู้บริหารเป็นบุคคลที่จะสร้างความร่วมมอให้เกิดขึ้นกับคณะครูในโรงเรียน ไม่ใช่
โค้ช
3.2 ผู้บริหารต้องสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้ร่วมกันให้เกิดขึ้นในโรงเรียนบุคลากรทุกคนใน

โรงเรียนหรือครูทุกคน และผู้บริหาร เป็นนักเรียนที่ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ

นักเรียน
3.3 ผู้บริหารต้องมีส่วนร่วมในการโค้ชทุกขั้นตอนของการโค้ช คำถาม และการอภิปรายร่วมกัน

ระหว่างผู้บริหาร โค้ช และครู คือ เราต้องการให้นักเรียนของเราเรียนรู้และพัฒนาเรื่องใด เราจะรู้ได้อย่างไรว่า
นักเรียนของเราเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตามเป้าหมาย เราจะช่วยนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนด้วยวิธีใหม่ ๆ

อย่างไร การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์และจุดเน้น การโค้ชจากการปรับปรุงพัฒนาครูให้ได้ตามมาตรฐานการ

จัดการเรียนรู้ ให้เป็นการปรับปรุงพัฒนานักเรียนเป็นสำคัญเป็นเรื่องใหม่ โค้ชทำหน้าที่โค้ชโดยลำพังไม่ได้
โรงเรียนต้องมีผู้นำเคียงข้างร่วมมือตลอดเวลา จึงจะทำให้การพัฒนาผลการเรียนของนักเรียนเพื่อนักเรียนโดย

โรงเรียนประสบผลสำเร็จ

4. ขั้นตอนการโค้ชที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
4.1 ร่วมกันระบุจุดประสงค์การเรียนรู้ หรือวิเคราะห์ข้อมูลการเรียนรู้ของนักเรียนที่สัมพันธ์กับ

มาตรฐานการเรียนรู้
4.2 วัดและประเมินผลนักเรียนก่อนเรียน โดยเปรียบเทียบกับจุดประสงค์การเรียนรู้

4.3 จัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต้องความต้องการของนักเรียน

4.4 วัดและประเมินผลหลังเรียน เพื่อตรวจสอบตัดสินว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การ
เรียนรู้ที่กำหนดหรือไม่

การนิเทศแบบโค้ช ซึ่งเป็นการนิเทศที่ผู้วิจัยได้นำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดกิจกรรม
และประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เนื่องจากว่าการนิเทศแบบโค้ช ผู้ที่ทำการนิเทศและผู้รับการ

นิเทศได้มีโอกาสใกล้ชิดกันมากกว่าการนิเทศในรูปแบบอื่นๆ ผู้รับการนิเทศได้มีโอกาสพูดแสดงความคิดเห็น

อย่างเต็มที่ ส่วนใหญ่ผู้นิเทศจะเป็นฝ่ายรับฟังมากกว่าพูด มีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น ซักถามพดคุยใน

ประเด็นที่นิเทศ นอกจากนี้ในเรื่องของการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน เพื่อพัฒนาความสามารถการจัด

กิจกรรมและประเมินของครูผู้สอน ส่งเสริมความสามารถทางด้านภาษา (literacy) ความสามารถทางด้าน

เหตุผล (Reasoning Abilities) โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ การนิเทศที่เหมาะสมที่สุด คือ การนิเทศแบบโค้ช

23

2.4 แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน


ในเรื่องคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 ซึ่งมี 8 ประการนี้ เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องเร่งปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน ได้รับรู้ เข้าใจ

ื่
เห็นคุณค่าและมีจิตสำนึกที่จะประพฤติปฏิบัติตน ให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรกำหนดเพอ
การดำรงชีวิตที่ดี มีความหมายและมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
จากสถานการณ์ปัจจุบัน การพัฒนาประเทศมุ่งพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก ก่อให้เกิด ความ

เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเติบโตทางด้านวัตถุอย่างเห็นได้ชัด แต่ความเจริญนั้นก็มิได้ เป็นไปอย่างยั่งยืน
การพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยขาดความสมดุลกับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ

คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ ชีวิตของคนในประเทศจำนวน

มาก ผลของความเจริญดังกล่าวเป็นที่มาของปัญหาสังคมที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทุกวัน กลายเป็นปัญหาที่เป็นผล
พวงของการพัฒนาทางวัตถุอย่างขาดความสมดุลกับการพฒนาทางด้านจิตใจ มีนักวิชาการ นักการศึกษา และ

หน่วยงานต่างๆ ได้ให้ความสำคัญของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ว่าเป็น พฤติกรรม ความคิด จิตใจ ความรู้สึก
ของบุคคลที่แสดงออกทางด้านกาย วาจา ใจ อันบ่งบอกถึงสิ่งที่พึง ปฏิบัติที่ดีที่เหมาะสม การมีคุณธรรม

จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงามเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องและสังคม อันมีผลจากการจัดกิจกรรมเรียนรู้ การ


ฝึกอบรม การส่งเสริมที่เน้นและปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีให้เกิดขึ้น ในตัวบุคคลทุกคน ส่งผลต่อพฤตินิสัยทีดีงาม
ความมั่นคงด้านจิตใจ และความสงบสุขตนเอง สังคม ประเทศชาติและพลโลก จึงควรมีการพัฒนาคุณธรรม


จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนของประเทศอันจะช่วยให้เกิดการพฒนา
จิตใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ซึ่งจะก่อให้เกิดสันติสุขในสังคมได้อย่างแท้จริง
ซึ่งในแต่ละภาคเรียน หรือ ปีการศึกษา ครูผู้สอนต้องจัดให้มีการวัดและประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึง

ประสงค์ของนักเรียน เพื่อการปรับปรุงพัฒนาและการส่งต่อในแต่ละช่วงชั้น เพื่อทราบความก้าวหน้าและ

พัฒนาการของนักเรียน และนำไปกำหนดแผนกลยุทธ์ในการปรับปรุงพฒนาคุณลักษณะของนักเรียนให้เป็นไป
ตาม เป้าหมายที่กำหนด เพื่อเป็นการสร้างเอกลักษณ์เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมในการดำรงชีวิต

ของ นักเรียนให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชน ท้องถิ่นและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช

2545 ในมาตราที่ 23 , 24 และมาตราที่ 26 เกี่ยวกับการจัดการศึกษาสรุปได้ว่า ต้องเน้น ความสำคัญทั้ง
ความรู้และคุณธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องบูรณาการความรู้ด้านต่างๆ เช่น ความรู้ เกี่ยวกับตนเอง

ทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย ทักษะในการประกอบ

อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข โดยต้องผสมผสานสาระความรู้เหล่านั้นให้ ได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้ง
ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ ในทุกวิชา และให้สถานศึกษา

จัดการประเมินนักเรียน โดยพิจารณาพัฒนาการของนักเรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน

การร่วมกิจกรรมและการทดสอบ ควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน ตามความเหมาะสมในแต่ละระดับ
และกระทรวงศึกษาธิการก็มีนโยบายปฏิรูปการศึกษา โดยยึดหลักคุณธรรมนำความรู้ มุ่งมั่น โดยคำนึงถึงการ

พัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งด้าน พฤติกรรม ด้านจิตใจ และด้านปัญญา ให้ได้รับการส่งเสริม

24

และพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทักษะ การดำรงชีวิต สร้างความตระหนักให้นักเรียนมีจิตสำนึกในคุณค่า

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธีและวิถีประชาธิปไตย ซึ่งในการนี้กระทรวงศึกษาธิการ
ได้กำหนดสิ่งที่พึงประสงค์ในตัวผู้เรียนไว้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดย

มุ่งพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ มีจิตสำนึกใน

ความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข สถานศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยยึด

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดไว้ 8

ประการ ดังนี้ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์สุจริต 3) มีวินัย 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพยง 6) มุ่งมั่น
ในการทำงาน 7) รักความเป็นไทย 8) มีจิตสาธารณะ ทั้งนี้เป็นความมุ่งหวังที่จะให้ผู้เกี่ยวข้องและโรงเรียน

ผู้บริหารโรงเรียนและครู ตลอดจนผู้ปกครองนักเรียนได้ ร่วมมือกันปลูกฝัง ส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะอัน
พึงประสงค์ของผู้เรียนให้เกิดเป็นรูปธรรม และ อัตลักษณ์ของผู้เรียนตามหลักสูตรและเติบโตเป็นพลเมืองดีของ

ประเทศชาติและสังคมต่อไป
ดังนั้น คุณลักษณะอันพึงประสงค์มีความสำคัญต่อนักเรียนในการดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งต้องเน้นทั้ง

ความรู้และคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล โดยดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องบูรณาการ ความรู้ จัด

กิจกรรม ทักษะปฏิบัติด้านต่างๆ ควบคู่กันไปอย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะ ที่ดี เช่น
ความรู้เกี่ยวกับตนเอง ทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย

ทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข โดยต้องผสมผสานสาระความรู้เหล่านั้นให้ได้


สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดคุณลักษณะอันพง
ประสงค์กับนักเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม และนักเรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและ

ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

25

แผนภาพที่ 2.3 กรอบแนวคิดการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

โดยใช้กระบวนการนิเทศ เอ พี ไอ ซี อี (APICE Model)
กรอบแนวคิดการนิเทศ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพงประสงค์ของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศ เอ พี ไอ ซี อี (APICE Model)




ศึกษาสภาพ และความต้องการ ศึกษาสภาพปัจจุบัน/ปัญหา และความต้องการ
(Assessing Needs : A)


กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI)
การวางแผนการนิเทศ

(Planning : P) สร้างสื่อ/นวัตกรรม และเครื่องมือการนิเทศ


กำหนดกิจกรรมและปฏิทินการนิเทศ


การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ
ส่งเสริม/พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
(Informing : I)


ปฏิบัติการนิเทศ Coaching เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริหารสถานศึกษา
การนิเทศแบบโค้ช ครูผู้สอน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ปัญหา/เลือกแนว/

(Coaching : C) กำหนดแนวทางการแก้ปัญหา/ วางแผน/ ดำเนินการแก้ปัญหา/
วิเคราะห์ และสรุปผล/ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ /ชื่นชม

รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลการนิเทศ


ไม่มีคุณภาพ
ปรับปรุง/

ตรวจสอบ และประเมินผลการนิเทศ พัฒนา
มีคุณภาพ
สรุปและจัดทำรายงานผลการนิเทศ
การประเมินผลการนิเทศ

(Evaluating : E)

นำเสนอและเผยแพร่ผลการนิเทศ (จัดนิทรรศการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ยกย่องเชิดชูเกียรต/Website ฯลฯ)


26


ส่วนที่ 3

แนวทางการนิเทศ ติดตามเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน



การนิเทศการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนา ปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา
ของสถานศึกษา เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการ


พัฒนาคุณลักษณะอนพึงประสงค์ของผู้เรียน ซึ่งกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 ดำเนินการ โดยใช้กระบวนการนิเทศ เอ พี ไอ ซี อี (APICE Model)

ดังแผนภาพที่ 1 และแผนภาพที่ 2 ดังนี้


แผนภาพที่ 3.1 การนิเทศการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

โดยใช้กระบวนการนิเทศ เอ พี ไอ ซี อี (APICE Model)


ศึกษาสภาพ และความต้องการ

(Assessing Needs : A)


การวางแผนการนิเทศ

(Planning : P)




การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ
(Informing : I)




การนิเทศแบบโค้ช
(Coaching : C)




การประเมินผลการนิเทศ

(Evaluating : E)

27

แผนภาพที่ 3.2 กระบวนการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

โดยใช้กระบวนการนิเทศ เอ พี ไอ ซี อี (APICE Model)
กรอบแนวคิดการนิเทศ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพงประสงค์ของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศ เอ พี ไอ ซี อี (APICE Model)




ศึกษาสภาพ และความต้องการ ศึกษาสภาพปัจจุบัน/ปัญหา และความต้องการ
(Assessing Needs : A)


กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI)
การวางแผนการนิเทศ

(Planning : P) สร้างสื่อ/นวัตกรรม และเครื่องมือการนิเทศ


กำหนดกิจกรรมและปฏิทินการนิเทศ


การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ
ส่งเสริม/พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
(Informing : I)


ปฏิบัติการนิเทศ Coaching เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริหารสถานศึกษา
การนิเทศแบบโค้ช ครูผู้สอน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ปัญหา/เลือกแนว/

(Coaching : C) กำหนดแนวทางการแก้ปัญหา/ วางแผน/ ดำเนินการแก้ปัญหา/
วิเคราะห์ และสรุปผล/ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ /ชื่นชม

รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลการนิเทศ


ไม่มีคุณภาพ
ปรับปรุง/

ตรวจสอบ และประเมินผลการนิเทศ พัฒนา
มีคุณภาพ
สรุปและจัดทำรายงานผลการนิเทศ
การประเมินผลการนิเทศ

(Evaluating : E)

นำเสนอและเผยแพร่ผลการนิเทศ (จัดนิทรรศการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ยกย่องเชิดชูเกียรต/Website ฯลฯ)


28

การนิเทศ ติดตามการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

โดยใช้กระบวนการนิเทศ เอ พี ไอ ซี อี (APICE Model)



การนิเทศ ติดตามการดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาของ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 โดยใช้กระบวนการนิเทศ เอ พี ไอ ซี อี (APICE

Model) ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพ และความต้องการ (Assessing Needs : A)

ศึกษาสภาพปัจจุบัน/ปัญหา และความต้องการของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน

และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน การจัดกิจกรรมและประเมิน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

1.1 การออกแบบการจัดกิจกรรม
1.2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1.3 การใช้สื่อการเรียนรู้

1.4 การวัดและประเมินผล
ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการนิเทศ (Planning : P)

ดำเนินการวางแผนการนิเทศ ติดตามร่วมกันระหว่างศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน

และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน การจัดกิจกรรมและ
ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ดังนี้

2.1 กำหนดตัวชี้วัด (KPI)

สถานศึกษาร้อยละ 80 มีการพัฒนาพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน การจัด
กิจกรรมและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน อยู่ในระดับดี

2.2 จัดทำสื่อและเครื่องมือการนิเทศ ติดตาม
1) แนวทางการพัฒนาพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน การจัดกิจกรรมและ

ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
2) ตัวอย่างชุดกิจกรรมและประเมินคุณลักษณะอันพงประสงค์ของผู้เรียน การจัดกิจกรรม

และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

3) เครื่องมือนิเทศ ติดตามการพัฒนาพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน การจัด
กิจกรรมและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

2.3 จัดทำปฏิทินการนิเทศ ติดตามการพัฒนาพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน การ

จัดกิจกรรมและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
ขั้นตอนที่ 3 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing : I)

ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

การจัดกิจกรรมและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

29

3.1 รูปแบบวิธีการพัฒนาพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

3.2 การจัดทำชุดกิจกรรมและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
3.3 การวัดและประเมินผลพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน


3.4 การสรุปและการจัดทำรายงานการพฒนาพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
ขั้นตอนที่ 4 การนิเทศแบบโค้ช (Coaching : C)
ดำเนินการนิเทศการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน การจัดกิจกรรมและประเมิน

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ทั้งนี้ศึกษานิเทศก์ ได้ดำเนินการร่วมกับทีมบริหาร คณะอนุกรรมการ
ก.ต.ป.น. ผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการ เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากร


ทางการศึกษาดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน การจัดกิจกรรมและประเมิน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ดังนี้
4.1 สำรวจปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน การจัด

กิจกรรมและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน พร้อมกับวิเคราะห์สาเหตุ
4.2 เลือกแนวทางในการแก้ปัญหา

4.3 กำหนดเป้าหมายความสำเร็จ

4.4 วางแผนการแก้ปัญหา
4.5 ดำเนินการแก้ปัญหาตามแผนที่วางไว้ ในแต่ละกจกรรมที่ได้กำหนดไว้

4.6 วิเคราะห์ และสรุปผลการดำเนินงาน

4.7 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชื่นชมความสำเร็จ และข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating : E)

การประเมินผลการนิเทศ ดำเนินการ ดังนี้


5.1 รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ผลการนิเทศการพฒนาคุณลักษณะอันพงประสงค์ของผู้เรียน
การจัดกิจกรรมและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนสำหรับครูผู้สอน

5.2 ตรวจสอบ และประเมินผลการนิเทศการพฒนาคุณลักษณะอันพงประสงค์ของผู้เรียน การ


จัดกิจกรรมและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนสำหรับครูผู้สอน
5.3 สรุปและจัดทำรายงานผลการนิเทศการพฒนาคุณลักษณะอนพึงประสงค์ของผู้เรียน การจัด


กิจกรรมและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนสำหรับครูผู้สอน
5.4 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนรู้ และชื่นชมความสำเร็จในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ

ผู้เรียน การจัดกิจกรรมและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนสำหรับครูผู้สอน

30


บรรณานุกรม



กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ธารอักษร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :


โรงพิมพชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : อักษราพิฒน์.

เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพ

นักเรียนที่มีแววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการนิเทศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์. (2545). วรรณกรรมสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : ศิลปะบรรณาคาร
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (ม.ป.ป.). การนิเทศการศึกษา. ปัตตานี : สถาบันเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน-องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้ง
ที่ 2 กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.


. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548.) การนิเทศการสอน. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อกรุงเทพฯ.

ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบบการนนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริม สมรรถภาพ
การวิจัยในชั้นเรียนของครู เขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. ปริญญาปรัชญาดุษฎี

บัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). การนิเทศการสอน. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฎี กลยุทธ์ สู่การ

ปฏิบัติ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :
สุวีริยสาส์น.

วิจิตรา ปัญญาชัย. การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาอาชีพสำหรับอาจารย์พยาบาล สังกัดกระทรวง

สาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์. (2538). หลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : พรศิวการพิมพ์.

ศิลาทิพย์ คำใจ. (2556). การสร้างแบบประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การวัดและประเมินผลการศึกษา

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

31

บรรณานุกรม (ต่อ)




สงัด อุมรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
มิตรสยาม.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542). มุ่งสู่ครูคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ ; วัฒนาพานิช.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.

กรุงเทพฯ : คุรุสภา ลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการบริหารจัดการ
เรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ

ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). นิยามความสามารถของผู้เรียน

ด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผล (Literacy, Numeracy & Reasoning Abilities). กรุงเทพฯ
: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

. (2553). การเสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

การนิเทศแบบให้คำชี้แนะ (Coaching). กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษา.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2554). แนวทางการ

พัฒนาและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.



ภาษาอังกฤษ
rd
Burton, W.H. and L.J. Bruckner. (1955). Supervision : A Social Process. 3 .ed. New York :
Appleton Century – Croft.

Copleland, wills D. and Norman J.Boyan. Instructional Supervision Training Pregame. Ohio :
Charles E, Merrill Pubishing Company, 1978.

Costa, Arthur L. Developing Minds A Resource Book for Thecching Thinking. 3 ed. The United
rd
States of America : Association for Supervision and Cumicum Development, 1703 N.
Beauregard St. 2002.

Dick, Walter, Lou Carey, and Jame O, Carey. (2005). The Systematic Design of Instruction.
6 ed. Boston : Pearson.
th
Glickman, Card. D., Stephen P. Gordon and Jovita M. Ross-Gordon. (1995). Supervision and

rd
Instruction : A Development Approach. 3 ed. Massachusetts : Allyn and Bacon,
Inc.

32

บรรณานุกรม (ต่อ)



. (2004). Supervision and Instructional Leadership : A Developmental Approach.
th
6 ed. Boston : Allyn and Bacon, Inc.
Harris, Ben M. (1985). Supervisory Behavior in Education. 3 ed. Englewood. Cliffs, New
rd
Jersey : Prentice-Hall, Inc.

Kruse, Kevin. Instruction to Instructional Design and the ADDIE Model. (Online). Accessed 19 June

2007. Available from http : ww.elearninggurn.com/articles/art1_1.htm.
th
Oliva, Peer F. (1989). Supervision for Today’s School. 3 ed. New York : Longman. Sandvold,
A. (2008). Literacy Coaching. ASCD.

Stoner, Jame Arthur Finch, C Wankle. (1986). Management. New jersey : prentice – Hall.
Spears,Harold. (1967). Curriculum Planning Through In-Service Programs. Englewood Cliffs, N.J. :

Prentice-Hall.
Sweeney, D. (2011). Student Centered Coaching. Thousand Oaks, California : Corwin Press

Company.

Webster. (1970). Webster’s New world Dictionary. New York : Compact School the world Publishing.

33


























ภาคผนวก

34

แบบนิเทศ ติดตาม การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน


คำชี้แจง

ให้ผู้นิเทศ/คณะกรรมการนิเทศ ติดตามฯ ดำเนินการสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์ ตรวจสอบเอกสาร
ร่องรอย แล้วปฏิบัติ ดังนี้

1. ตรวจสอบตามรายการแล้วเขียนเครื่องหมาย ✓ ลงในช่องไม่ปฏิบัติเมื่อไม่มีการปฏิบัติ และ ✓

ลงในช่องระดับการปฏิบัติ 3 ระดับ คือ ดี พอใช้ และปรับปรุง ตามความเป็นจริง
2. ศึกษาคู่มือ /คำชี้แจงประกอบการนิเทศติดตามให้เข้าใจและบันทึกข้อเสนอแนะ/ข้อค้นพบแนวทาง

ในการปรับปรุง/แก้ไขแต่ละรายการเพอให้โรงเรียนนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง/พัฒนาและนิเทศครั้งต่อไป
ื่

ไม่ ปฏิบิติ/
รายการ ปฏิบัติ ระดับการปฏิบัติ ข้อเสนอแนะ/ข้อค้นพบ

ดี พอ ปรับ
ใช ้ ปรุง

1. ครูรู้/เข้าใจตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละ
คุณลักษณะ

2. มีกิจกรรม/แนวปฏิบัติในการพัฒนาคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์ของนักเรียน
3. มีเครื่องมือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

4. มีการประเมินคุณลักษณะฯ และรายงานผล

5. มีผู้รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูล


ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ.........................................................ผู้นิเทศ

............../............................/...............

35

คณะผู้จัดทำ



ที่ปรึกษา
1. นายอภิรักษ์ อิ่มจิตอนุสรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1

2. นางวรางคณา ไชยเรือน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
3. นายสมคิด ธรรมสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1




คณะผู้จัดทำ

1. ดร.เอกฐสิทธิ์ กอบกำ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศกษา

สพป.ลำปาง เขต 1

2. นายคฑาวุธ แข็งแรง ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1

3. นางทานตะวัน มะโนพงษ์พันธ์ ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1
4. นางศรีจันทร์ ทรายใจ ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1

6. นายนพดล ถาวร ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1

7. นางเขมจิรา เศวตรัตนเสถียร ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1
9. ดร.วัชรี เหล่มตระกูล ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1

8. นางอัญชลี โทกุล ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1
5. นางพรณิพา ยศบุญเรือง ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1

10. ดร.วิมล ปวนปันวงศ์ ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1

11. นางสาวยุวธิดา ใหม่กันทะ ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1


บรรณากิจและออกแบบปก
ดร.วิมล ปวนปันวงศ์ ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1


Click to View FlipBook Version