1
กลุ่มนเิ ทศ ติดตามและประเมินผลการจดั การศึกษา
สำนกั งานเขตพน้ื ทกี่ ารศึกษาประถมศกึ ษาลำปาง เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพนื้ ฐาน
กระทรวงศกึ ษาธิการ
เอกสาร ศน. สพป.ลาปางเขต 1ท่ี 24 /2563
ก
คำนำ
การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีคุณภาพอันนำไปสู่การพัฒนา
ประเทศให้มีความเข้มแข็งในทกุ ด้าน โดยเฉพาะในระดับชนั้ ประถมศึกษาในช่วงชัน้ แรก ซ่งึ เปน็ พืน้ ฐานในระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลได้กำหนดการแก้ไขปัญหาการอ่านและการเขียน
เป็นนโยบายในระยะเร่งด่วนเน้นปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น การสอน
แบบแจกลูกสะกดคำ โดยใช้แนวการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมอง (Brain Base Learning :
BBL) เป็นต้น และได้กำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องอ่านออกเขียนได้
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ขึ้นไปต้องอ่านคล่องเขียนคล่องตามยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ 6 จุดเน้น
โดยเฉพาะจุดเน้นด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ข้อที่ 2 ผู้เรียนมีสมรรถนะที่สำคัญสู่มาตรฐานสากล
ข้อย่อย 2.2 ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อ่านออกเขียนได้ ข้อย่อย 2.3 ผู้เรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ขึ้นไป อา่ นคลอ่ งเขียนคล่อง
ศูนย์สอบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 ดำเนินการบริหารการจัดสอบ
นกั เรียนกลมุ่ เป้าหมายโรงเรียนในสังกดั ตามมาตรฐานการทดสอบ ได้วิเคราะห์ผลการทดสอบในระดับเขตพ้ืนที่
แยกตามสมรรถนะรายดา้ น ระดับคุณภาพ และแต่ละอำเภอ/กลุ่มเครือข่าย เพื่อได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์
ต่อผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา ศึกษานิเทศก์ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
ในการจัดการศึกษาและพฒั นาคณุ ภาพผู้เรียน
ขอขอบคุณผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ให้
ความร่วมมือในการดำเนินการจัดสอบประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
(Reading Test : RT) ปีการศึกษา 2563 ด้วยความยุติธรรม โปร่งใส ได้มาตรฐาน ซึ่งได้สารสนเทศทาง
การสอบที่สามารถสะท้อนคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาได้อย่างแท้จริงมีความน่าเชื่อถือ และ
ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปใช้วางแผนและกำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ตอ่ ไป
กลมุ่ งานวดั และประเมินผลการศกึ ษา
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
สารบัญ ข
คำนำ หน้า
สารบญั
สารบญั ตาราง ก
สารบัญกราฟ ข
บทที่ 1 บทนำ ง
จ
- ความเปน็ มาและความสำคญั
- วตั ถปุ ระสงค์ 1
- เปา้ หมาย 2
- นิยามศพั ท์เฉพาะ 2
- ประโยชน์ที่ไดร้ ับ 2
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจยั ทีเ่ กย่ี วข้อง 3
- หลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขนั้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551
4
กลุ่มสาระการเรียนร้ภู าษาไทย 5
- ตวั ชว้ี ดั ท่ีเกีย่ วข้องกบั การประเมินการอ่าน 8
- ความหมายของการอา่ น 8
- งานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วธิ กี ารดำเนินการ 11
- กรอบโครงสรา้ งการประเมนิ 13
- เคร่ืองมอื ที่ใชใ้ นการประเมิน 13
- เกณฑ์ของระดับคะแนนและการแปลผลการประเมนิ 14
- วธิ ีการดำเนนิ การระดับพื้นท/ี่ ศนู ยส์ อบ 16
- วธิ ีการดำเนนิ งานระดบั สนามสอบ 20
- แนวปฏบิ ตั ิสำหรับกรรมการคมุ สอบ
บทที่ 4 ผลการประเมิน 22
ตอนท่ี 1 รายงานผลการประเมนิ ความสามารถในการอ่าน
ของนักเรยี นชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 1 ปีการศึกษา 2563
ระดบั เขตพ้นื ที่
สารบัญ (ตอ่ ) ค
ตอนที่ 2 รายงานผลประเมนิ ความสามารถในการอ่าน หน้า
ของนักเรยี นชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2563
จำแนกตามระดับคุณภาพ 23
24
ตอนที่ 3 เปรยี บเทียบผลการประเมินความสามารถในการอ่าน
ของนกั เรยี นชน้ั ประถมศึกษาปที ี่ 1 ปกี ารศึกษา 2562-2563 25
26
ตอนท่ี 4 เปรยี บเทียบผลการประเมินความสามารถในการอา่ น 27
ของนกั เรยี นช้นั ประถมศกึ ษาปีท่ี 1 ปกี ารศกึ ษา 2563 28
ระดับเขตพืน้ ท่แี ละระดับประเทศ 29
31
ปัจจยั ทีส่ ่งผลต่อความสำเรจ็ /ปจั จยั เหตแุ ห่งปญั หา
บทที่ 5 สรุปผล อภปิ รายผล ขอ้ เสนอแนะ 34
34
สรปุ ผล 35
อภปิ รายล 35
ข้อเสนอแนะ 36
บรรณานกุ รม 36
37
ภาคผนวก
- รายงานผลการประเมนิ ความสามารถด้านการอา่ นของผู้เรียน
ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2563 ฉบบั ท่ี 1 แบบสรปุ ระดบั เขตพน้ื ที่
- รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผูเ้ รยี น
ชนั้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2563 ฉบบั ท่ี 2 คา่ สถิติ ระดบั เขตพ้ืนท่ี
- เรียงลำดับผลการประเมินความสามารถดา้ นการอา่ นของผู้เรยี น
ชั้นประถมศึกษาปที ่ี 1 ปกี ารศกึ ษา 2563 ระดบั เขตพ้ืนที่
- เรยี งลำดบั ผลการประเมินความสามารถดา้ นการอ่านของผู้เรยี น
ชน้ั ประถมศกึ ษาปที ่ี 1 ปีการศึกษา 2563 ระดับกลุ่มเครือขา่ ย
- ผลการประเมนิ ความสามารถดา้ นการอ่านของผเู้ รียน
ชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี 1 ปกี ารศึกษา 2563 จำแนกกล่มุ เครอื ข่าย
- ผลการพัฒนาการประเมนิ ความสามารถดา้ นการอ่านของผูเ้ รยี น
ชน้ั ประถมศกึ ษาปที ี่ 1 ปีการศกึ ษา 2563
คณะผ้จู ดั ทำ
สารบัญตาราง ง
ตารางท่ี 1 ผลการประเมนิ ความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน หน้า
ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563ระดับเขตพืน้ ท่ี
22
ตารางท่ี 2 ผลการประเมินความสามารถด้านการอา่ นของผู้เรียน 23
ชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 1 ปีการศกึ ษา 2563จำแนกตามระดับคณุ ภาพ 24
25
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบผลการประเมนิ ความสามารถด้านการอ่านของผู้เรยี น
ชั้นประถมศกึ ษาปที ่ี 1 ปีการศึกษา 2563ระดับเขตพน้ื ท่ีกับระดับประเทศ
ตารางท่ี 4 เปรยี บเทียบผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผเู้ รยี น
ชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 1 ปีการศึกษา 2562 กับ ปกี ารศึกษา 2563
สารบญั กราฟ จ
กราฟท่ี 1 ผลการประเมินความสามารถด้านการอา่ นของผู้เรียน หน้า
ชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 1 ปีการศกึ ษา 2563ระดบั เขตพื้นท่ี
23
กราฟท่ี 2 ผลการประเมนิ ความสามารถดา้ นการอ่านของผู้เรยี น 24
ชั้นประถมศกึ ษาปที ่ี 1 ปีการศึกษา 2563จำแนกตามระดบั คณุ ภาพ 25
26
กราฟที่ 3 เปรยี บเทียบผลการประเมนิ ความสามารถด้านการอา่ นของผูเ้ รยี น
ชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2563ระดบั เขตพน้ื ที่กบั ระดบั ประเทศ
กราฟที่ 4 เปรียบเทยี บผลการประเมินความสามารถด้านการอา่ นของผูเ้ รยี น
ชัน้ ประถมศึกษาปที ่ี 1 ปีการศึกษา 2562 กับ ปกี ารศึกษา 2563
1
บทท่ี 1
บทนำ
ความเปน็ มาและความสำคัญ
การศึกษาเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีคุณภาพอันจะนำไปสู่
การพัฒนาประเทศให้มีความเข้มแข็งในทุกด้าน กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดให้มีการปฎิรูปการศึกษา
ในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2562) โดยกำหนดจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนที่คลอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สำหรับใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียนตั้งแต่วัยเริ่มต้น และการจัด
การศึกษาขั้นพืน้ ฐาน โดยเฉพาะระดบั ชั้นประถมศกึ ษา ในปีการศึกษา 2558 ได้กำหนดนโยบาย “ปีการศึกษา
2558 เปน็ ปปี ลอดนกั เรียนอา่ นไม่ออกเขียนไม่ได้” และนักเรยี นชนั้ ประถมศึกษาปีที่ 1 เม่ือจบช้ันประถมศึกษา
ปีที่ 1 ต้องอ่านออกเขียนได้ และมีมาตรการการประเมินผลที่เป็นรูปธรรม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งท่ี
จะตอ้ งเนน้ ใหผ้ เู้ รียนมีความสามารถในการอา่ นและการเขยี นตามเกณฑ์มาตรฐาน
รัฐบาลได้กำหนดการแก้ไขปัญหาการอ่านและการเขียนเป็นนโยบายในระยะเร่งด่วน เน้นปรับปรุง
วิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น การสอนแบบแจกลูกสะกดคำ โดยใช้แนวการจัด
การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมอง (Brain Base Learning : BBL) เป็นต้น และได้กำหนดเป้าหมาย
คุณภาพผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องอ่านออกเขียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ขึ้นไปต้องอ่านคล่อง
เขียนคล่องตามยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ 6 จุดเน้น โดยเฉพาะจุดเน้นด้านหลักสูตรและกระบวนการ
เรียนรู้ ขอ้ ท่ี 2 ผูเ้ รียนมีสมรรถนะทสี่ ำคัญสู่มาตรฐานสากล ข้อยอ่ ย 2.2 ผู้เรยี นชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 อ่านออก
เขียนได้ ข้อยอ่ ย 2.3 ผู้เรยี นตัง้ แตช่ ้ันประถมศึกษาปที ่ี 2 ขึน้ ไป อา่ นคลอ่ งเขียนคลอ่ ง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักทดสอบทางการศึกษา ได้รับมอบหมายให้
เป็นหน่วยงานหลักในการสร้างเครื่องมือประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ซึ่งคณะผู้ดำเนินการสร้างเครื่องมือประเมิน ประกอบด้วย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านจิตวิทยา
พัฒนาการ จิตวิทยาการเรียนรู้ ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนภาษาไทยมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านการวัดและประเมินผล โดยพิจารณากรอบแนวทางในการสร้างเครื่องมือจากการวิเคราะห์มาตรฐานและ
ตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามระดับชั้นของหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน พุทธศักราช
2551 การวิเคราะห์ระดับพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน และการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ภาษาไทย
ท่ีถูกต้องตามหลักภาษาและใช้กรอบคำศัพท์ในบญั ชีคำพืน้ ฐาน เพ่อื เปน็ ตวั ชวี้ ัดผลสำเร็จในการดำเนินงานตาม
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จุดเน้นยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ และจุดเน้นสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน อันจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายการศึกษา การนำไปใช้วินิจฉัย
ข้อบกพร่องความสามารถด้านการอา่ นของนักเรยี นได้อยา่ งตรงประเดน็
ในปีการศึกษา 2563 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มอบหมายให้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 ทำหน้าที่เป็นศูนย์สอบ ดำเนินการจัดสอบ
2
ความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 (RT) โดยบริหารจัดการและประสานงานกับ
ทุกโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 รวมทั้งโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
จิตต์อารี และโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ ในการดำเนินการสอบให้เป็นไปตามแนวทางที่สถาบันทดสอบทาง
การศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกันเป็นที่ยอมรับ เที่ยงตรง ยุติธรรมและ
ตรวจสอบได้
ดังนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อส่งเสรมิ
สนับสนุนให้โรงเรียนมีการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading
Test : RT) ปีการศึกษา 2563 และผลที่ได้จากการทดสอบจะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะสะท้อนคุณภาพผู้เรียน
คณุ ภาพการจดั การของสถานศกึ ษาและของสำนักงานเขตพื้นทีก่ ารศกึ ษา รวมท้งั เปน็ เครือ่ งบ่งชี้คุณภาพผู้เรียน
ในระดบั ตอ่ ไป
วัตถปุ ระสงค์
1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนมีการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน
ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 (RT)
2. เพื่อสะท้อนคุณภาพผู้เรียน คุณภาพการจัดการของสถานศึกษาและของสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศกึ ษาลำปางเขต 1
เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกโรงเรียนในสังกัดสพป.ลำปาง เขต 1 และสังกัดอื่นๆจำนวน 90
โรงเรียน เขา้ ร่วมการประเมินความสามารถดา้ นการอา่ น
เชิงคณุ ภาพ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกโรงเรียนในสังกัดสพป.ลำปาง เขต 1 และสังกัดอื่นๆ มี การพัฒนา
ความสามารถดา้ นการอ่าน
นยิ ามศพั ทเ์ ฉพาะ
การดำเนินการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา
2563 ได้กำหนดนิยามไว้ดังนี้
นักเรียน หมายถึง นักเรียนปกติชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 รวมทั้ง โรงเรียนศกึ ษาสงเคราะห์จิตตอ์ ารี โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ และ
โรงเรียนสาธิตมหาวทิ ยาลัยราชภัฏลำปาง
ความสามารถด้านการอา่ น หมายถึง นกั เรยี นมคี วามสามารถดา้ นการอ่านออกเสียงและการอ่านรู้เร่ือง
ตามเกณฑ์การตัดสินระดับคุณภาพในแต่ละความสามารถจากสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขนั้ พนื้ ฐาน
3
การอ่านออกเสียง หมายถึง การอ่านคำ และข้อความสั้นๆ ที่เป็นคำในวงคำศัพท์ ในระดับ ช้ัน
ประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งที่เป็นคำที่มีความหมายโดยตรงหรือคำที่มีความหมายโดยนัยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดย
วิธกี ารอ่านออกเสียง
การอ่านรู้เรื่อง หมายถึง การอ่านคำ ประโยค หรือข้อความสั้นๆ ที่เป็นคำในวงคำศัพท์ ในระดับช้ัน
ประถมศกึ ษาปีท่ี 1 ทัง้ ที่เปน็ คำที่มคี วามหมายโดยตรงหรือคำทีม่ ีความหมายโดยนัย ทีใ่ ชใ้ นชวี ิตประจำวัน โดย
สามารถบอกข้อคิดทไี่ ดจ้ ากการอ่านร้อยแก้ว รอ้ ยกรอง สำหรบั เดก็ (เปน็ ขอ้ ความงา่ ยๆ) จับใจความจากเร่ืองท่ี
อ่าน ตอบคำถามจากเรอื่ งทอ่ี ่าน บอกความหมายของเคร่ืองหมายสญั ลักษณ์ท่ีสำคญั ท่พี บเห็นในชีวติ ประจำวัน
คาดคะเนจากเรื่องท่ีอ่าน สรุปความรู้ข้อคิดจากเรื่องทีอ่ ่านได้อยา่ งสมเหตุสมผล แปลความและสรา้ งสรรค์จาก
ภาพ
ประโยชนท์ ไ่ี ด้รบั
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกโรงเรียนในสังกัดสพป.ลำปาง เขต 1 และสังกัดอื่นๆจำนวน 90
โรงเรียน เขา้ รว่ มการประเมนิ ความสามารถด้านการอา่ น
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกโรงเรียนในสังกัดสพป.ลำปาง เขต 1 มีการพัฒนาความสามารถ
ด้านการอา่ น
4
บทท่ี 2
เอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 นี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 คำนึงถึง
ความสำคญั ของกลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาไทย ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน พุทธศกั ราช 2551
รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการ (Decentralization) และแนวคิดเกี่ยวกับ
ความโปรง่ ใสในการจดั สอบ (Transparency) โดยมรี ายละเอียด ดังต่อไปน้ี
หลักสตู รแกนกลางการศึกษาขนั้ ฐาน พุทธศักราช 2551 กลมุ่ สาระการเรียนรภู้ าษาไทย
ความสำคญั
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและ
เสริมสรา้ งบคุ ลิกภาพของบคนในชาติให้มีความเปน็ ไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อส่ือสารเพื่อสร้างความเข้าใจ
และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุรการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย
ได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อ
พัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางสังคมและ
เศรษฐกจิ นอกจากนี้ยงั เป็นส่ือทแ่ี สดงภมู ปิ ัญญาของบรรพบรุ ุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชวี ทัศน์ โลกทัศน์ และ
สุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่
การเรียนรู้ เพอื่ อนรุ กั ษแ์ ละสืบสานใหค้ งอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
คุณภาพของผู้เรยี น
เมื่อจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วผู้เรียนต้องมีความรู้ ความสามารถและคุณธรรมจริยธรรม
และคา่ นยิ ม ดงั น้ี
1. สามารถใชภ้ าษาสอื่ สารได้อย่างดี
2. สามารถอา่ น เขยี น ฟัง พูด ได้อย่างมปี ระสทิ ธิดภาพ
3. มคี วามคิดสรา้ งสรรค์ คิดอย่างมีเหตผุ ลและคิดเปน็ ระบบ
4. มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน การแสวงหาความรู้และใช้ภาษาในการพัฒนาตน และสร้างสรรค์งาน
อาชพี
5. ตระหนักในวัฒนธรรมการใช้ภาษาและความเปน็ ไทยภมู ิใจและชื่นชมในวรรณคดแี ละวรรณกรรมซึ่ง
เปน็ ภมู ิปญั ญาของคนไทย
6. สามารถนำทักษะทางภาษามาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตาม
กาลเทศะ และบุคคล
5
7. มมี นษุ ยสัมพันธท์ ด่ี ี และสร้างความสามคั คีในความเป็นชาตไิ ทย
8. มีคณุ ธรรม จริยธรรม มีวิสัยทัศน์ โลกทศั นท์ ่กี วา้ งไกลและลกึ ซ้ึง
เมอ่ื จบแต่ละชว่ งช้ันผ้เู รยี นต้องมีความร้คู วามสามารถ คุณธรรมจริยธรรม และคา่ นิยม ดังนี้
1. สามารถอ่านไดค้ ล่องและอา่ นไดเ้ รว็
2. เข้าใจความหมายและหนา้ ที่ของคำ
3. นำความรู้ที่ได้จากการอ่านมาคิด คาดคะเนเรื่องราวหรือเหตุการณ์ และกำหนดแนวทางการปฏิบัติ
ได้
4. เลอื กอา่ นหนงั สือทีเ่ ป็นประโยชน์ทัง้ ความรู้ และความบันเทงิ
5. ดแู ละเขยี นแสดงความรู้ ความคดิ ความรู้สกึ ความตอ้ งการและจนิ ตนาการ
6. จดบนั ทกึ ความรู้ ประสบการณ์ และเรอ่ื งราวในชีวติ ประจำวนั
7. จับใจความสำคัญ ตั้งคำถาม ตอบคำถาม สนทนา แสดงความคิดเห็นเล่าเรื่อง ถ่ายทอดความรู้
ความคิด ความรู้สกึ และประสบการณ์จากเร่ืองท่ีฟงั ที่ดูได้
8. เขา้ ใจว่าภาษาไทยมที ั้งภาษาไทยกลางและภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถ่นิ
9. ใช้คำคล้องจองแตง่ บทร้อยกรองง่ายๆ
10.ท่องจำบทรอ้ ยกรองที่ไพเราะ และนำไปใช้ในการพดู และการเขยี น
11.นำปริศนาคำทายและบทรอ้ ยกรองเลน่ ในท้องถิ่นมาใชใ้ นการเรยี นและเลน่
12. ใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือการเรียน การแสวงหาความรู้ และใช้ได้เหมาะสมกับบุคคลและ
สถานการณ์
13. นำความรู้ที่ได้จากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมไปใช้ในชีวิตมีมารยาทการอ่าน การเขียน
การฟัง และการพูด
14. มนี สิ ยั รกั การอ่านและการเขยี น
ตวั ชวี้ ดั ทเ่ี กีย่ วข้องกับการประเมินการอ่าน
การประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 สำนัก
ทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้มีการประเมินตามหลักสูตร
แกนกลางการศกึ ษาขน้ั พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใชม้ าตรฐาน และตัวชี้วัดทีเ่ กี่ยวข้อง ดังน้ี
6
สาระท่ี 1 การอ่าน
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนิน
ชวี ิตและมนี สิ ยั รกั การอ่าน
ชน้ั ตัวชี้วดั สาระการเรยี นรแู้ กนกลาง
ป.1 - อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง ∆ การอ่านออกเสียงและบอกความหมาย
และข้อความสน้ั ๆ ของคำ คำคล้องจอง และข้อความที่
- บอกความหมายของคำ และ ประกอบด้วยคำพื้นฐาน คือ คำที่ใช้ใน
ข้อความทอี่ า่ น ชวี ติ ประจำวันไมน่ ้อยกว่า 600 คำ รวมทงั้ คำ
ที่ใช้เรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อ่ืน
ประกอบดว้ ย
- คำทมี่ รี ปู วรรณยกุ ตแ์ ละไม่มรี ปู วรรณยุกต์
- คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราและไม่ตรง
ตามมาตรา
- คำท่ีมพี ยญั ชนะควบกล้ำ
- คำทม่ี ีอกั ษรนำ
- ตอบคำถามเกี่ยวกบั เร่ืองที่อา่ น ∆ การอ่านจับใจความจากสื่อตา่ งๆ เชน่
- เล่าเรือ่ งยอ่ จากเรื่องทอ่ี ่าน - นทิ าน
- คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องท่ี - เรอื่ งส้นั ๆ
อ่าน - บทรอ้ งเลน่ และบทเพลง
- เรื่องราวจากบทเรียนในกลุ่มสาระการ
เรยี นรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรอู้ ่นื
- บอกความหมายของเครื่องหมาย ∆ การอ่านเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์
หรือสัญลักษณ์สำคัญที่มักพบเห็น ประกอบด้วย
ในชีวิตประจำวัน - เครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่พบเห็นใน
ชีวติ ประจำวนั
- เคร่ืองหมายแสดงความปลอดภัยและแสดง
อันตราย
7
สาระที่ 2 การเขยี น
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบ
ตา่ งๆ เขียนรายงานข้อมลู สารสนเทศและรายงานการศกึ ษาค้นควา้ อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ
ชนั้ ตวั ชี้วดั สาระการเรียนรแู้ กนกลาง
ป.1 - เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยค ∆ การเขยี นส่อื สาร
ง่ายๆ - คำทใ่ี ชใ้ นชีวติ ประจำวนั
- คำพ้นื ฐานในบทเรียน
- คำคลอ้ งจอง
- ประโยคง่ายๆ
สาระที่ 4 หลักการใชภ้ าษาไทย
มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา
ภมู ปิ ญั ญาทางภาษา และรกั ษาภาษาไทยไวเ้ ปน็ สมบตั ิของชาติ
ช้ัน ตัวชว้ี ัด สาระการเรียนรแู้ กนกลาง
ป.1 - เ ข ี ย น ส ะ ก ด ค ำ แ ล ะ บ อ ก ∆ การสะกดคำ การแจกลูก และการอ่าน
ความหมายของคำ เปน็ คำ
∆ มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่
ตรงตามมาตรา
∆ การผนั คำ
∆ ความหมายของคำ
- เรียบเรียงคำเป็นประโยคงา่ ยๆ ∆ การประโยค
สาระท่ี 5 วรรณคดแี ละวรรณกรรม
มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วจิ ารณว์ รรณคดีและวรรณกรรมไทยอยา่ งเห็นคุณค่าและนำมา
ประยุกต์ใช้ในชีวติ จรงิ
ชั้น ตวั ชวี้ ัด สาระการเรยี นรู้แกนกลาง
ป.1 - บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือ ∆ วรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับ
การฟังวรรณกรรมร้อยแก้วและ เดก็ เชน่
ร้อยกรองสำหรับเดก็ - นิทาน/เรอื่ งส้นั งา่ ยๆ
- ปรศิ นาคำทาย
- บทร้องเล่น
- บทอาขยาน
- บทรอ้ ยกรอง
- วรรณคดีและวรรณกรรมในบทเรียน
8
ความหมายของการอา่ น
การดำเนินการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา
2563 ไดก้ ำหนดนยิ ามความหมายไว้ ดังนี้
1. การอ่านออกเสียง หมายถึง การอ่านคำ ประโยค หรือข้อความสั้นๆ ที่เป็นคำในวงคำศัพท์
ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งที่เป็นคำท่ีมีความหมายโดยตรงหรือคำที่มีความหมายโดยนัยที่ใช้
ในชวี ติ ประจำวัน โดยวธิ ีการอ่านออกเสียง
2. การอ่านรู้เรื่อง หมายถึง การอ่านประโยค หรือข้อความสั้นๆ ที่เป็นคำในวงคำศัพท์ในระดับช้ัน
ประถมศึกษาปีที่ 1 ทงั้ ทีเ่ ป็นคำที่มคี วามหมายโดยตรงหรือคำทีม่ ีความหมายโดยนัย ท่ใี ช้ในชีวติ ประจำวัน โดย
สามารถบอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านรอ้ ยแก้ว ร้อยกรอง สำหรับเด็ก(เป็นข้อความง่ายๆ) จับใจความจากเรื่องที่
อ่าน ตอบคำถามจากเร่อื งที่อ่าน บอกความหมายของเครื่องหมายสัญลักษณ์ทสี่ ำคญั ทพี่ บเหน็ ในชวี ิตประจำวัน
คาดคะเนจากเรื่องที่อ่าน สรุปความรู้ข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้อย่างสมเหตุสมผล แปลความและสร้างสรรค์จาก
ภาพ
งานวิจัยทเ่ี ก่ียวขอ้ ง
งานวิจยั ในประเทศ
บรรจง จันทร์พันธ์ (2548) ได้พัฒนาแผนการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การสะกดคำ
ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโพธิ์งาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ภาคเรียนที่
2 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 26 คน ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะภาษาไทย
เรื่องการสะกดคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นปรถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ
เท่ากับ 85.98/82.75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.692 ซึ่งหมายความว่า
นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.92 และนักเรียนมีความพอใจต่อแผนการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะ
ภาษาไทย เร่ืองการสะกดคำไมต่ รงตามมาตราตัวสะกด โดยรวมอย่ใู นระดบั ปานกลาง
วิเศษ แปวไธสง (2547) ได้ศึกษาการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะประกอบการ
เรียน กลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาไทยแบบมุง่ ประสบการณ์ทางภาษาเร่ือง ลูกอ๊อดหาแม่ ชั้นประถมศึกษาปที ี่ 2
โรงเรียนสามัคคีคุรุราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
แผนการเรียนรู้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80.85/85.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แบบฝึกทักษะมีคุณภาพอยู่ใน
ระดบั เหมาะสมมากท่สี ดุ มีคะแนนเฉลีย่ หลังเรยี นสงู กวา่ ก่อนเรียนอยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถติ ริ ะดับ .05
ประวีณา เอ็นดู (2547) ได้ศึกษาการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านและ
การเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้อย จังหวัดนครราชสีมา
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะ
มปี ระสทิ ธิภาพ 86.11/83.33
99
วงศ์เดือน มีทรัพย์ (2547) ได้ศึกษาการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ครั้งหนึ่งยังจำได้ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่
แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบ แบบสอบถาม ความพึงพอใจ ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
แผนการจดั การเรยี นรมู้ ปี ระสิทธิภาพ 87.09/85.29 ซึ่งสงู กวา่ เกณฑท์ ่ตี ั้งไว้ แบบฝกึ ทกั ษะมคี ่าดชั นีประสิทธิผล
เท่ากบั 0.74 และมีคะแนนหลงั เรยี นสูงกวา่ กอ่ นเรียนอยา่ งมนี ยั ทางสถติ ทิ ร่ี ะดบั .05
นิลวรรณ อคั ติ (2548) ได้ศกึ ษาการพฒั นาแผนการจดั การเรียนรู้ กลมุ่ สาระการเรียนรภู้ าษาไทย เรอื่ ง
การผันวรรณยุกต์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนภูแล่นช้างคเชนทร์พิทยาคาร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 เครื่องมือที่ใช้คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะ
แบบทดสอบ และแบบสอบถามความพึงพอใจจ ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดการเรียนรูแ้ ละแบบฝึก
ทักษะมีประสิทธภิ าพ 87.85/80.91 สงู กว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตัง้ ไว้ นกั เรยี นมคี วามพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้
ดย้ แบบฝกึ ทักษะอยู่ในระดับมาก
สมใจ นาคศรีสังข์ (2549) ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่อง การสร้างแบบฝึกการอ่านและการเขียนสะกดคำ
จากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตลาดเกาะแรด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครปฐมเขต 2 ในปีการศึกษา 2549 จำนวน 21 คน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า
เป้าหมายี่กำหนดไว้ แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ 83.98/84.46 และผลการประเมินความพึงพอใจของ
นักเรยี นที่มีตอ่ แบบฝกึ ทักษะโดยภาพรวมอยใู่ นระดับมากท่สี ุด
งานวจิ ยั ต่างประเทศ
การ์เซีย (Garcia.1998) ได้ศกึ ษาเปรยี บเทียบผลสัมฤทธ์ใิ นการอา่ นเขียนสะกดคำจากรูปแบบการสอน
สะกดคำ 2 รูปแบบ คือ การสอนสะกดคำแบบให้นักเรียนฝึกเองกับการสะกดคำตามหนังสอื โดยครูแต่ละกลุ่ม
จะสอนโดยใช้โปรแกรมการสอนอ่านเหมือนกันและการสอนเขียนทุกวันตามเวลาที่กำหนดไว้ การสอบใช้
การสอบก่อนเรียนและหลังเรียนผลการศึกษาพบว่าการสอนสะกดคำแบบให้นักเรียนฝึกเองมผี ลดีกว่าการสอน
สะกดคำตามตำรา ในด้านการอ่านคำศัพท์และการวิเคราะห์คำศัพท์ นักเรียนทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน
ในเรอ่ื งจำนวนคำศัพท์ท่ีใช้ในระดับท่ีสูงกว่าประถมหน่ึง ความยาวของประโยคและจำนวนหน่วยคำ นอกจากนี้
นักเรียนสะกดคำโดยนักเรียนคิดเอง มีการอ่านทบทวนการเขียนคำ วิเคราะห์คำที่ใช้ ตลอดจนมีการช่วยเหลือ
หรือซักถามเพื่อนเพื่อช่วยในการสะกดคำบ่อยครั้งมากกว่านักเรียนอีกกลุ่มหนึ่ง และนักเรียนที่เรียนสะกดคำ
จากตำราใช้พจนานุกรมบ่อยคร้ังมากกวา่ นักเรยี นอกี กลมุ่
เบาซาร์ด (Bouchard. 2002) ได้ศึกษาความรู้เรื่องคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จาก
ความผดิ พลาดในการอา่ นกับการสะกดคำแม้ว่าเขามีความพยายามอย่างมากระหวา่ งการอ่านและการสะกดคำ
แต่การปฏิบัติงานการอ่านและการสะกดคำของนักเรียนก็มักจะยังแสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ในความถูกต้องและความผิดพลาดของคำ การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาการสะกดคำตามความรู้เรื่องคำเชิงพัฒนา
ใน 4 ด้าน ผลการวิเคราะห์พบว่าการปฏิบัติงานการอ่านของนักเรียนดีกว่าการปฏิบัติงานการสะกดคำอย่างมี
นัยสำคัญ และพบว่ามีผลของรายงานอยา่ งมีนัยสำคัญต่อระดับความรู้เรื่องของคำของนักเรียน ความผิดพลาด
ดา้ นการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรยี นอีกทั้งยงั พบวา่ ความผิดพลาดเก่ยี วข้องกับลักษณะทางอักขรวิธี
10
ที่เหมือนกันในทุกงานประการสุดทา้ ยจากการศึกษาการให้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการสะกดคำและความรู้เรือ่ ง
คำของทักษะช้ันประถมศึกษาปที ี่ 3 ของครูพบวา่ การให้คะแนนผลสมั ฤทธ์ิดา้ นการสะกดคำและความรู้เรื่องคำ
มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญกับการปฏิบัติงานเขียนจริงๆของนักเรียน แตต่ครูก็คิดว่ายังไม่เพียงพอ
สำหรับตัดสนิ ใจปรับการสอน
ผลการศึกษางานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศแสดงให้เห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรม
การพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำ แบบฝึกทักษะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้
ของนักเรียน ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรอย่างมี
ประสิทธภิ าพ
ในการศกึ ษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้องที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ทราบว่าความสามารถด้าน
การอ่านของนักเรียนเกิดจากวิธีสอนของครูและสื่อการสอนที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น และ
กิจกรรมการพัฒนาการอ่านสะกดคำ แบบฝึกทักษะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 จึงได้ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือการนิเทศ ติดตาม
และประเมินผลการจัดการศึกษาดา้ นการอ่านของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 1 ปกี ารศกึ ษา 2562 เพื่อนำผล
ไปใช้ในการพฒั นาการอ่านของนักเรียนได้ตามนโยบายและกลยทุ ธใ์ นการจดั การศึกษาขนั้ พ้ืนฐานต่อไป
11
บทที่ 3
วธิ ีการดำเนนิ การ
การประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563
เป็นการร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักทดสอบทางการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 และโรงเรียนที่เป็นสนามสอบ ได้ร่วมกันกำหนดกรอบ
โครงสร้าง และเครื่องมือการประเมิน ซึ่งได้แก่ แบบทดสอบ ตลอดจนบทบาทหน้าที่ในแต่ละส่วนเพื่อ
ดำเนินการประเมิน โดยมวี ิธกี ารดำเนินการ ดงั น้ี
ตารางการประเมิน
ดำเนินการประเมินในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 วันที่ 18 มีนาคม 2564 โดยมีตารางการประเมิน
ดงั นี้
ประกาศผลการประเมนิ
ประกาศผลการประเมนิ วันที่ 20 เมษายน 2564
กรอบโครงสรา้ งและเคร่อื งมือท่ีใช้ในการประเมิน
กรอบโครงสร้างทใี่ ช้ในการประเมิน
กรอบโครงสร้างที่ใช้ในการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2563 เป็นการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกเสียง และการอ่านรู้เรื่อง ซึ่งสอดคล้องกับ
มาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
มีรายละเอียดตามกรอบโครงสรา้ ง ดังน้ี
12
องค์ รูปแบบขอ้ สอบ (จำนวนข้อ) รวม (ข้อ)
ประกอบ (คะแนน)
มาตรฐานและตัวชี้วัด จับคู่ เลอื ก เขียน ปฏบิ ตั ิ
ตอบ ตอบส้ัน จริง 20
ท 1.1 ป.1/1 อา่ นออกเสียงคำ คำคลอ้ งจอง ขอ้ ความสัน้ ๆ (20 คะแนน)
(คำที่มรี ูปวรรณยกุ ต์ และไม่มีรปู วรรณยุกต์ คำที่มีตวั สะกด สมรรถนะ 1. การอ่านออกเสียง
ตรงมาตรา และไม่ตรงมาตรา คำทม่ี ีพยัญชนะควบกลำ้
คำที่มีอักษรนำ) คำ 20
20 คำ
ประโยค -- - - -
ข้อความ 1 1 บทอา่ น
1 ข้อความ (30 คะแนน)
10 ประโยค
( 60-70 คำ )
รวม 21 21 (50 คะแนน)
สมรรถนะ 2. การอ่านรู้เร่ือง
ท 1.1 ป.1/2 บอกความหมายของคำและข้อความท่ีอา่ น คำ 10 10
ท 1.1 ป.1/3 ตอบคำถามเกย่ี วกับเรื่องท่ีอ่าน 10 คำ (10 คะแนน)
ท 1.1 ป.1/4 เล่าเรอ่ื งย่อจากเร่ืองทอี่ ่าน
ท 1.1 ป.1/5 คาดคะเนเหตกุ ารณจ์ ากเรือ่ งท่ีอา่ น ประโยค 5
ท 1.1 ป.1/7 บอกความหมายของเครอ่ื งหมาย สัญลกั ษณ์
สำคญั ท่มี กั พบเจอในชีวติ ประจำวัน เลา่ เร่ืองจากภาพ 5 (10 คะแนน)
ท 2.1 ป.1/2 เขยี นสื่อสารด้วยคำและประโยคต่าง ๆ
ท 3.1 ป.1/2 ตอบคำถามและเลา่ เร่ืองที่ฟงั และดูท้งั ทเ่ี ป็น 5 ภาพ
ความรู้และความบันเทงิ
ท 4.1 ป.1/3 เรยี บเรียงคำเป็นประโยคง่าย ๆ ประโยค 10 10
ท 5.1 ป.1/1 บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรอื ฟังวรรณกรรม 10 ประโยค (20 คะแนน)
รอ้ ยแก้วและร้อยกรองสำหรับเดก็
ขอ้ ความ 5 5
รวม 3 – 5 ข้อความ (10 คะแนน)
ขอบข่ายสาระ (ส่ิงเร้า) 10 15 5 30 (50 คะแนน)
เปน็ คำ ประโยค ข้อความ หรอื บทร้อยกรองงา่ ย ๆ ทีม่ ีวง
คำศัพท์ทีเ่ ป็นคำประสมดว้ ยพยญั ชนะและสระประกอบดว้ ย อกั ษรสูง ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
คำคล้องจอง ขอ้ ความส้นั ๆ (คำที่มรี ูปวรรณยกุ ต์ และไม่มี
รูปวรรณยุกต์ คำทม่ี ตี ัวสะกดตรงมาตรา และไม่ตรงมาตรา อกั ษรกลาง ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
คำท่ีมีพยญั ชนะควบกลำ้ คำทมี่ ีอักษรนำ)
อกั ษรต่ำ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
สระเสยี งสัน้ -ยาวท่ีเป็นสระเดย่ี วจำนวน 18 ตวั ประกอบด้วยสระอะ อา อิ อี อึ อือ อุ อู เอะ
เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ สระประสม 6 ตวั ประกอบด้วยสระ เอยี ะ เอีย อัวะ
อัว เอือะ เออื และสระเกนิ 4 ตัวประกอบด้วย สระอำ ใอ ไอ เอา สระลดรปู สระเปล่ยี นรปู
(ทั้งมแี ละไม่มรี ูปวรรณยุกต์)
13
เครือ่ งมือทใ่ี ช้ในการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียน
ชนั้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 1 โดยแบบทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ฉบับ ไดแ้ ก่ 1) การอา่ นร้เู รือ่ ง 2) การอ่านออกเสียง
ฉบบั ท่ี 1 การอา่ นร้เู รือ่ ง เปน็ การประเมินโดยใช้แบบทดสอบ ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 การอา่ นรูเ้ รอ่ื งเป็นคำ เป็นข้อสอบแบบจับคู่คำ 10 คำ คะแนนเต็ม 10 คะแนน
ตอนท่ี 2 การอ่านรเู้ ร่ืองเป็นประโยคมี 15 ขอ้ ประกอบด้วย
- ขอ้ สอบแบบเขียนประโยคเลา่ เรือ่ งจากภาพมี 5 ภาพ คะแนนเตม็ 10 คะแนน
- ข้อสอบแบบเลือกตอบมี 10 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน
ตอนที่ 3 การอา่ นรเู้ รอ่ื งเป็นข้อความ เปน็ ข้อสอบแบบเลือกตอบมี 5 ข้อ คะแนนเตม็ 10 คะแนน
ฉบับที่ 2 การอา่ นออกเสียง เปน็ การประเมินภาคปฏบิ ตั ิ ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 การอ่านออกเสียงเปน็ คำมี 20 คำ คะแนนเตม็ 20 คะแนน
ตอนท่ี 2 การอา่ นออกเสยี งขอ้ ความมี 1 ขอ้ ความ คะแนนเตม็ 30 คะแนน
เกณฑข์ องระดับคะแนน
การประเมินความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 มี
เกณฑ์คะแนนและคะแนนร้อยละในแตล่ ะระดบั คุณภาพ ดังนี้
ระดบั ช่วงคะแนนและคะแนนร้อยละในแตล่ ะระดับคณุ ภาพ
คณุ ภาพ การอา่ นออกเสียง การอ่านรเู้ รอ่ื ง รวม 2 สมรรถนะ
คะแนน ร้อยละ คะแนน ร้อยละ คะแนน รอ้ ยละ
ดมี าก 37.50-50 75.00-1.00 37.50-50 75.00-1.00 75.00-100 75.00-100
ดี 25.00-37.49 50.00-74.99 25.00-37.49 50.00-74.99 50.00-74.99 50.00-74.99
พอใช้ 12.50-24.99 25.00-49.99 12.50-24.99 25.00-49.99 25.00-49.99 25.00-49.99
ปรบั ปรุง 0-12.49 0-24.99 0-12.49 0-24.99 0-24.99 0-24.99
การแปลความหมายของผลการประเมิน
ผลการประเมินในรายองค์ประกอบ รายด้านและภาพรวม สามารถแปลความหมายได้ ดงั ต่อไปนี้
ความหมายในภาพรวม ระดบั ความสามารถ
ความสามารถของนักเรยี นในการอ่านออกเสียง อ่านรู้เรื่อง คำ ประโยค และข้อความ ดีมาก
ในวงคำศัพทท์ ี่กำหนดได้ถูกต้อง ต้ังแต่ร้อยละ 75 ข้นึ ไป
ความสามารถของนักเรียนในการอ่านออกเสยี ง อา่ นรู้เร่ือง คำ ประโยค และข้อความ ดี
ในวงคำศัพทท์ ี่กำหนดไดถ้ ูกต้อง ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปแตน่ ้อยกว่าร้อยละ 75
ความสามารถของนักเรยี นในการอ่านออกเสียง อา่ นรู้เรื่อง คำ ประโยค และข้อความ พอใช้
ในวงคำศัพท์ที่กำหนดได้ถูกต้อง ตั้งแต่ร้อยละ 25 ข้ึนไปแต่น้อยกวา่ ร้อยละ 50
14
ความหมายในภาพรวม ระดบั ความสามารถ
ความสามารถของนักเรียนในการอ่านออกเสียง อ่านรู้เร่ือง คำ ประโยค และข้อความ ปรบั ปรงุ
ในวงคำศัพท์ที่กำหนดได้ถูกต้อง ต่ำกว่าร้อยละ 25
วธิ ีการดำเนนิ การระดับเขตพื้นท่/ี ศูนยส์ อบ
ภารกิจระดบั เขตพืน้ ที/่ ศูนยส์ อบ
สำนักงานเขตพน้ื ที่การศกึ ษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 ในเปน็ ศนู ยส์ อบมีภาระหนา้ ที่และบทบาท
ในการบริหารการจัดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานการบริหารการทดสอบ ซึ่งได้รับการกระจายอำนาจ
การบริหารจัดการมาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน ทั้งในเรื่องของการวางแผนการจดั สอบ
การตัดสินใจ การบริการจัดการและความรับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานการประเมินความสามารถด้าน
การอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 มีประสิทธิภาพและมาตรฐานเดียวกันโดย
มภี ารกจิ สำคญั ดงั ตอ่ ไปน้ี
1) ประสานความรว่ มมือและวางแผนกบั หน่วยงานที่เก่ยี วขอ้ งในการบรหิ ารการจดั สอบ
2) ดำเนินการจัดสอบให้เปน็ ไปตามแผนการดำเนนิ งาน
3) กำกบั ตดิ ตามการดำเนินการสอบ
4) รายงานผลการทดสอบ และเผยแพร่
บทบาทของคณะกรรมการระดับเขตพน้ื ที่/ศนู ยส์ อบ
1) ประธานศูนย์สอบ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1
มหี น้าที่ ดงั นี้
- ดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
โดยบริหารการจดั สอบให้เป็นไปตามมาตรฐานการบรหิ ารการทดสอบ
- แต่งตง้ั คณะกรรมการระดับศนู ยส์ อบ และคณะกรรมการระดับสนามสอบ
- ควบคุม กำกับ ติดตามให้การดำเนินการบริหารการจัดสอบ ระดับศูนย์สอบและสนามสอบ
เปน็ ไปดว้ ยความเรยี บร้อย
- พิจารณาตรวจสอบ สัง่ การ ติดตามกรณที เี่ กิดปัญหาในการบริหารการจัดสอบท้ังระดับศูนย์
สอบและระดบั สนามสอบ
2) คณะกรรมการดำเนนิ การทดสอบ
คณะกรรมการดำเนินการทดสอบ ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบงานวัดและประเมินผล
หรอื ผู้ที่ไดร้ ับมอบหมายจากประธานศูนย์สอบ ดงั น้ี
- ประสานงานการจัดสอบในด้านต่างๆ ระหวา่ งสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน
ศนู ย์สอบและสนามสอบ
15
- กำกับ และติดตาม ให้สถานศึกษาส่งข้อมูลห้องสอบ และข้อมูลนักเรียนในระบบ NT
Access ใหค้ รบถว้ นและถูกตอ้ ง ภายในวันท่ี 20 ธันวาคม 2563
- ตรวจสอบความถูกตอ้ งของข้อมลู ห้องสอบ และข้อมูลนักเรียน
- ดำเนินการจดั สนามสอบในระบบ NT Access
- ตรวจสอบและแก้ไขข้อมลู นักเรียนทม่ี สี ิทธิส์ อบผา่ นระบบ NT Access
- ดูแลและประสานงานเร่ืองการนำส่งข้อมูลผมู้ สี ิทธส์ิ อบในกรณตี ่างๆ
- แต่งตั้งคณะกรรมการระดบั ศนู ยส์ อบและสนามสอบ
- จัดประชุมชี้แจงคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการสอบ ทั้งระดับศูนย์สอบและระดับสนาม
สอบ
- ประสานงานรับ/ส่ง แบบทดสอบ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในระหว่างวนั ท่ี 15 – 19 กุมภาพันธ์ 2564
- บรหิ ารการจัดสอบใหเ้ ปน็ ไปดว้ ยความเรยี บรอ้ ย
- รับแบบบันทึกคะแนนการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 (แบบบันทึกคะแนน 1 และแบบบันทึกคะแนน 2) และเอกสารธุรการประจำสนาม
สอบ
- ตรวจสอบคะแนนการประเมินความสามารถดา้ นการอา่ นของนกั เรียนชน้ั ประถมศกึ ษาปีท่ี 1
แต่ละสนามสอบให้ถูกต้องตามแบบบันทึกคะแนน 1 และแบบบันทึกคะแนน 2 และยืนยันข้อมูลส่งในระบบ
NT Access
- จดั ทำรายงานผลการทดสอบ ระดบั ศูนย์สอบ
3) คณะกรรมการรับ-ส่ง แบบทดสอบ เก็บรักษาแบบทดสอบ และเอกสารประกอบการสอบ มีหน้าที่
ดังน้ี
- จัดเตรยี มห้องมนั่ คงหรือสถานทที่ ่ีมคี วามเหมาะสม เพื่อใชใ้ นการเก็บรักษาแบบทดสอบ
- ดูแล รักษา แบบทดสอบทเี่ กบ็ รักษาไวใ้ นท่ปี ลอดภัย
- ควบคมุ ดูแล กำกับการขนสง่ แบบทดสอบจากศนู ยส์ อบไปยังสนามสอบ
4) คณะกรรมการตรวจเยย่ี มสนามสอบ มหี น้าที่ ดงั นี้
มีหน้าที่ กำกับ ติดตาม และตรวจเยี่ยม การดำเนินการจัดสอบ ของคณะกรรมการระดับ
สนามสอบในระหว่างวันที่ 18 มีนาคม 2564 เพื่อให้การดำเนินการจัดสอบเป็นไปตามแนวปฏิบัติการจัดสอบ
และมาตรฐานการทดสอบ
16
วิธกี ารดำเนินงานระดับสนามสอบ
ภารกจิ ของสนามสอบ
ภารกิจของสนามสอบมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนการสอบ ระหว่างการสอบ
และหลังการสอบ โดยมีรายละเอียด ดงั ต่อไปนี้
1) กอ่ นการสอบ
- ประสานงานกับเขตพ้ืนที่/ศูนย์สอบ และดำเนนิ การตามคมู่ ือการจัดสอบอย่างเคร่งครดั
- เตรยี มความพรอ้ มกอ่ นการจัดสอบในส่วนของสถานทส่ี อบ ตดิ ประกาศรายชื่อผูเ้ ข้าสอบ
- ประสานงานกับเขตพน้ื ท/่ี ศูนยส์ อบในกรณมี ีผู้เขา้ สอบกรณีพิเศษ
- ดาวนโ์ หลดแบบบนั ทึกคะแนน 1 และแบบบันทึกคะแนน 2 จากระบบ NT Access
- พมิ พ์แบบบนั ทกึ คะแนน1 และแบบบันทกึ คะแนน 2 เพอ่ื เตรยี มส่งมอบให้กรรมการคุมสอบ
- รบั แบบทดสอบวัดความสามารถดา้ นการอา่ นจากเขตพน้ื ท/่ี ศูนย์สอบในเช้าวนั สอบ
2) ระหว่างการสอบ
ดำเนินการจัดสอบภายในสนามสอบให้มีประสิทธิภาพ มีความยุติธรรม โปร่งใส และเป็นไป
ตามแนวปฏิบัติในคู่มือการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา
2563
3) หลังการสอบ
- ใหส้ นามสอบเก็บแบบทดสอบไว้ที่โรงเรยี นตนเอง เพื่อนำไปใชป้ ระโยชน์ต่อไป
- บันทึกคะแนนการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ลงในแบบบันทึกคะแนน 1 และแบบบันทึกคะแนน 2 เมื่อบันทึกคะแนนลงในแบบบันทึกคะแนนทั้ง 2 ฉบับ
แล้ว ให้กรรมการคุมสอบทั้ง 2 คน ลงลายมือชื่อ แล้วมอบให้สนามสอบ ทำสำเนา 1 ชุด จากนั้นกรรมการ
คุมสอบลงลายมือชื่อรับรองสำเนา เพื่อเก็บรักษาไว้ที่สนามสอบ ส่วนแบบบันทึกคะแนนฉบับจริงทั้ง 2 ฉบับ
ใหส้ นามสอบนำสง่ ศูนย์สอบภายในวนั สอบ ตามเวลาทกี่ ำหนด
- นำคะแนนจากแบบบันทึกคะแนนฉบับสำเนาที่สนามสอบเก็บไว้ไปบันทึกในแบบฟอร์ม
บนั ทึกคะแนนท่ีดาวน์โหลดจากระบบ NT Access ไวใ้ ห้ถกู ตอ้ ง หลังจากน้ันให้นำเขา้ ไฟล์ข้อมลู เข้าสู่ระบบ NT
Access พร้อมตรวจสอบความถกู ต้องของคะแนนนักเรียนรายบุคคลอกี ครั้งหน่ึง
บทบาทของคณะกรรมการระดบั สนามสอบ
1) ประธานสนามสอบ มีหนา้ ท่ี ดังน้ี
1.1) ประสานงานกบั ศูนยส์ อบและดำเนนิ การตามคู่มือการประเมนิ ความสามารถ
ดา้ นการอ่านของผู้เรยี น ชัน้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 1 ปีการศึกษา 2563 อยา่ งเครง่ ครดั
1.2) ประชมุ คณะกรรมการระดบั สนามสอบก่อนสอบ เพ่อื ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
กระบวนการจัดสอบและขัน้ ตอนการดำเนนิ งานของกรรมการคมุ สอบ
17
1.3) เตรียมความพร้อมสถานที่สอบ กำกับการจัดห้องสอบ ติดรายชื่อผู้มีสิทธิ์
สอบ และเอกสารการสอบอ่ืน ๆ ท่ปี า้ ยประชาสมั พนั ธ์ของสนามสอบ และหน้าหอ้ งสอบ
1.4) รับ-ส่งแบบทดสอบ และเอกสารประกอบการสอบ ระหว่างศูนย์สอบ และ
สนามสอบ (ในกรณีที่ไม่สามารถไปด้วยตนเองได้ ให้มอบหมายผู้แทน โดยใช้บันทึกมอบหมายผู้แทน เพื่อให้
ศนู ย์สอบเก็บไวเ้ ปน็ หลกั ฐาน)
1.5) เปิดกล่องบรรจุแบบทดสอบในวันสอบ ไม่เกิน 1 ชั่วโมงก่อนเวลาสอบ ต่อ
หนา้ ตัวแทนกรรมการคมุ สอบ
1.6) อนุมัติผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ (Walk in) ที่ไม่มีเลขที่นั่งสอบ แล้วบันทึก
ในแบบ สพฐ.5 นกั เรยี น 1 คน ต่อ 1 ฉบับ เพ่ือรายงานใหศ้ นู ย์สอบทราบ
1.7) กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดสอบภายในสนามสอบให้เป็นไปด้วย
ความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ มีความยุติธรรม โปร่งใส และเป็นไปตามคู่มือการประเมินความสามารถด้าน
การอ่านของผู้เรยี น ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2563
1.8) สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีที่คณะกรรมการคุมสอบหรือเจ้าหน้าที่สนาม
สอบบกพรอ่ งต่อหนา้ ที่หรือประพฤตปิ ฏิบัติตนไม่เหมาะสม และรายงานใหศ้ ูนยส์ อบทราบ
1.9) ตรวจสอบคะแนนในแบบบันทึกคะแนน 1 และแบบบันทึกคะแนน 2
รว่ มกับกรรมการคมุ สอบใหถ้ กู ตอ้ ง ครบถ้วนก่อนนำส่งขอ้ มูลเข้าสรู่ ะบบ NT Access
1.10) หลังเสร็จสิ้นการสอบ ให้นำส่งเอกสารประกอบการสอบกับศูนย์สอบ
โดยจะต้องนำส่งในวนั สอบ ดงั น้ี
- แบบ สพฐ.2 ใบเซน็ ช่อื ผูเ้ ขา้ สอบในแต่ละห้องสอบ
- แบบ สพฐ.3 ใบเซ็นช่อื ผเู้ ขา้ สอบกรณพี ิเศษ (Walk in)
- แบบ สพฐ.5 แบบฟอรม์ สำหรบั ผ้ปู ฏบิ ตั ิผิดระเบยี บการสอบ
- แบบ สพฐ.6 แบบคำขอแกไ้ ขข้อมลู
- แบบบันทกึ คะแนนการอา่ นรู้เร่ือง (แบบบนั ทึกคะแนน 1) ฉบับจริง
- แบบบนั ทกึ คะแนนการอา่ นออกเสยี ง (แบบบันทกึ คะแนน 2) ฉบบั จริง
2) กรรมการคุมสอบและตรวจให้คะแนน
2.1) ปฏิบัติตามคู่มือการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน
ช้ันประถมศึกษาปที ี่ 1 ปีการศึกษา 2563
2.2) กำกับการสอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส และยุติธรรม
ท้งั ภายในหอ้ งสอบและบรเิ วณใกล้เคยี ง
2.3) รับแบบทดสอบจากประธานสนามสอบ ตรวจนบั แบบทดสอบใหถ้ กู ต้องและ
ครบถ้วน แล้วลงลายมือช่อื ในแบบ RT 1
2.4) ปฏิบัติการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรยี น ชั้นประถมศึกษาปี
ที่ 1 ดงั น้ี
18
2.4.1) การทดสอบการอ่านรูเ้ รอ่ื ง
- กรรมการคุมสอบแจกแบบทดสอบตามลำดับเลขที่นั่งสอบจากน้อยไป
หามาก
- กรรมการคุมสอบดำเนินการตามคำชี้แจงในแบบทดสอบ
การอา่ นรเู้ รื่อง
- กรรมการเก็บแบบทดสอบหลังจากหมดเวลาสอบ เรียงตามลำดับ
เลขท่ีน่ังสอบจากน้อยไปหามาก
- กรรมการคุมสอบทั้ง 2 คน ตรวจใหค้ ะแนนตามเกณฑก์ ารใหค้ ะแนน
- กรรมการคุมสอบบันทึกคะแนนของผู้เรียนแต่ละคน ลงในแบบบันทึกคะแนน
การอ่านรู้เร่ือง (แบบบันทึกคะแนน 1) พร้อมลงลายมือช่ือกรรมการคุมสอบท้ัง 2 คน ในแบบบันทกึ คะแนนให้
เรยี บรอ้ ย
- กรรมการคุมสอบบรรจุแบบบันทึกคะแนนใส่ซอง (ไม่ต้องปิดผนึกซอง)
สง่ คนื ประธานสนามสอบ และตรวจสอบการบนั ทกึ คะแนนรว่ มกับประธานสนามสอบให้ถูกตอ้ ง
- สนามสอบทำสำเนาแบบบันทึกคะแนนการอ่านรู้เรื่อง (แบบบันทึกคะแนน 1)
จำนวน 1 ชุด แลว้ ให้กรรมการคมุ สอบลงลายชอ่ื รับรองสำเนาถกู ต้อง เกบ็ ไว้ทีส่ นามสอบ
2.4.2) การทดสอบการอ่านออกเสียง (กรรมการที่มาจากโรงเรียนที่เป็น
สนามสอบ)
กรรมการคมุ สอบคนที่ 1 ปฏบิ ตั ิ ดังน้ี
- ตรวจสอบรายชื่อผู้เรียนในแบบบันทึกคะแนนการอ่านออกเสียง
(แบบบันทึกคะแนน 2) แลว้ เตรยี มผู้เรียนใหเ้ ขา้ สอบตามลำดบั เลขท่ีในแบบบันทึกคะแนน 2
- สรุปคะแนนจากแบบทดสอบฉบับผู้เรียนที่กรรมการคนที่ 2 ดำเนินการ
สอบเรยี บรอ้ ยแลว้ จากนนั้ บนั ทึกคะแนนลงในแบบบนั ทึกคะแนนการอา่ นออกเสียง (แบบบันทึกคะแนน 2)
- ตรวจสอบการบันทึกคะแนนของผู้เรียนให้ครบทุกคน แล้วลงลายมือช่ือ
กรรมการคมุ สอบทงั้ 2 คน ในแบบบันทึกคะแนน
- กรรมการคุมสอบบรรจุแบบบันทึกคะแนนใส่ซอง (ไม่ต้องปิดผนึกซอง)
ส่งคืนประธานสนามสอบ และตรวจสอบการบนั ทกึ คะแนนรว่ มกับประธานสนามสอบให้ถกู ตอ้ ง
- สนามสอบทำสำเนาแบบบันทึกคะแนนการอ่านออกเสียง (แบบบันทึก
คะแนน 2) จำนวน 1 ชดุ แลว้ ใหก้ รรมการคุมสอบลงลายชื่อรับรองสำเนาถกู ตอ้ ง เกบ็ ไว้ที่สนามสอบ
กรรมการคมุ สอบคนที่ 2 ปฏบิ ัติ ดงั น้ี
- ให้ผู้เรียนทดสอบการอ่านออกเสียงเป็นรายบุคคล โดยให้ผู้เรียนอ่าน
ทลี ะคน ในหอ้ งสอบทแ่ี ยกเฉพาะ
- ให้กรรมการคมุ สอบอา่ นคำช้แี จงให้นักเรียนฟงั ก่อนอา่ นออกเสยี ง
19
- เม่อื ผู้เรียนเร่ิมอ่านออกเสยี งให้กรรมการทำเคร่ืองหมาย ในช่องของคำ
ทผี่ ู้เรยี นอ่านออกเสยี งถกู ตอ้ ง และทำเครอ่ื งหมาย X ในชอ่ งคำทผ่ี ู้เรยี นอ่านออกเสียงผดิ
- ให้นักเรียนอ่านออกเสียงทั้ง 2 ตอน คนละไม่เกิน 10 นาที ถ้าผู้เรียนอ่าน
ยังไม่เสรจ็ ให้ผู้เรยี นหยดุ อา่ นทนั ที (กรณีผู้เรยี นอ่านไมไ่ ด้ กรรมการคมุ สอบสามารถบอกให้ผู้เรียนข้ามไปอ่านคำ
ตอ่ ไปก่อน แลว้ สามารถยอ้ นกลับมาอ่านคำเดิมไดภ้ ายในช่วงเวลาที่กำหนด)
- ส่งแบบทดสอบฉบับกรรมการที่ประเมินแล้ว ให้กรรมการคนที่ 1 บันทึก
คะแนนลงในแบบบนั ทกึ คะแนนการอา่ นออกเสียง (แบบบันทกึ คะแนน 2)
- ดำเนินการสอบอ่านออกเสียงจนครบทุกคน
- กรรมการคุมสอบบรรจุแบบบันทึกคะแนนใส่ซอง (ไม่ต้องปิดผนึกซอง)
สง่ คืนประธานสนามสอบ และตรวจสอบการบันทกึ คะแนนร่วมกับประธานสนามสอบใหถ้ ูกต้อง
- สนามสอบทำสำเนาแบบบันทึกคะแนนการอ่านออกเสียง (แบบบันทึก
คะแนน 2) จำนวน 1 ชุด แลว้ ให้กรรมการคมุ สอบลงลายชื่อรบั รองสำเนาถูกต้อง เกบ็ ไวท้ ี่สนามสอบ
2.5) ควบคุมมิให้ผู้เข้าสอบหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติผิดระเบียบหรือ
กระทำการทุจริตในระหวา่ งการสอบ
2.6) รายงานประธานสนามสอบ กรณีสงสัยว่าจะมีการทุจริตเกิดขึ้น และ
ห้ามบุคคลท่ไี ม่เก่ียวขอ้ งเข้าบริเวณหอ้ งสอบ
2.7) รักษาความลับของแบบทดสอบ และไม่ให้กรรมการหรือบุคคลอื่นดูหรือ
ถ่ายรูปแบบทดสอบเพ่ือเผยแพร่
3) กรรมการบนั ทกึ คะแนน
3.1) นำแบบบันทึกคะแนนการอ่านรู้เรื่อง (แบบบันทึกคะแนน 1) และแบบ
บันทึกคะแนนการอ่านออกเสียง (แบบบันทึกคะแนน 2) ฉบับสำเนา ไปบันทึกคะแนนในแบบฟอร์มบันทึก
คะแนน (ไฟล์ Excel) ทด่ี าวนโ์ หลดมาแล้ว
3.2) นำไฟล์ Excel ที่บันทึกคะแนนแล้ว เข้าสู่ระบบ NT Access พร้อม
ตรวจสอบความถกู ตอ้ งของคะแนนผู้เรยี นรายบคุ คลในระบบ NT Access อกี ครัง้ หน่งึ
4) นักการภารโรง
4.1) อำนวยความสะดวกแกก่ รรมการคุมสอบ โดยดำเนินการต่าง ๆ ตามที่ได้รับ
การรอ้ งขอ
4.2) จดั เตรียมสถานที่ในการจดั การสอบ ติดเอกสารประชาสัมพนั ธ์ และเอกสาร
ท่ีเกีย่ วขอ้ งกับการสอบ กอ่ นวันสอบใหเ้ รียบรอ้ ย
4.3) ปฏิบตั ิงานอนื่ ตามท่ไี ดร้ บั มอบหมายจากประธานสนามสอบ
20
แนวปฏบิ ัติสำหรับกรรมการคมุ สอบ
แนวทางปฏบิ ตั ิในการสอบอ่านออกเสียง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขอกำหนดแนวทางปฏิบัตสิ ำหรับกรรมการที่ควบคุม
การสอบอ่านออกเสยี ง เพื่อใหก้ ารบริหารจดั การสอบมคี วามชดั เจนไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้
1) ก่อนการดำเนนิ การสอบ กรรมการคุมสอบท้ัง 2 ทา่ น ดำเนินการ ดังนี้
1.1 ศึกษาคู่มอื แบบทดสอบ และเกณฑ์การให้คะแนนอย่างละเอยี ด
1.2 ทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในการทดสอบและแนวทางการสรุปผล
การประเมนิ ของผเู้ ข้าสอบ
1.3 ตรวจสอบจำนวนผู้เข้าสอบและรายชื่อของผู้เข้าสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เข้าสอบท่ี
ขาดสอบ และผู้เข้าสอบกรณีพเิ ศษ (Walk in) เพ่อื ไมใ่ หเ้ กดิ ความคาดเคล่อื นในการกรอกคะแนน
1.4 จัดห้องแยกออกเป็น 2 ห้อง คือ ห้องสอบอ่านออกเสียง และห้องพักนักเรียนที่รอเข้าสอบ
อ่านออกเสียง โดยหอ้ งทั้งสองต้องเปน็ ห้องท่เี ก็บเสยี ง และไม่สามารถยนิ เสยี งจากอีกห้องหนงึ่ ได้
2) ระหว่างดำเนนิ การสอบ
2.1 กรรมการคุมสอบคนที่ 1 เตรียมผู้เรียนให้เข้าสอบตามลำดับเลขที่ในแบบบันทึก
คะแนน 2
2.2 กรรมการคุมสอบคนที่ 2 ดำเนนิ การดงั นี้
1) พูดคุยทกั ทายกับผู้เรียนอยา่ งเปน็ กันเอง เพอ่ื ไมใ่ ห้เกดิ ความเครียดหรือเกิดความ
กดดัน
2) ชีแ้ จงให้ผู้เรยี นทราบเกีย่ วกับแนวทางการอา่ น ดังน้ี
- เวลาที่ใช้ในการทดสอบ 10 นาที ผู้เรียนคนใดที่อ่านได้ครบถ้วน เสร็จก่อนเวลา
ก็สามารถยุตกิ ารทดสอบได้
- การสอบอ่านในแต่ละข้อ ถ้านักเรียนไม่สามารถอ่านได้ อนุญาตให้นักเรียนข้าม
ไปสอบข้อตอ่ ไปกอ่ นได้ และถ้ายังมีเวลาเหลอื สามารถยอ้ นกลับไปอา่ นข้อเดิมที่ข้ามได้
3) ดำเนินการสอบการอา่ นออกเสียงของผู้เรียนทีละคน ตามจำนวนในแต่ละห้องสอบ
3) หลงั การดำเนนิ การสอบ
กรรมการคมุ สอบท้ัง 2 ท่าน ดำเนินการ ดังนี้
3.1 ตรวจสอบคะแนนนักเรียนเป็นรายบุคคลให้ถูกต้อง แล้วนำมาบันทึกลงในแบบบันทึก
คะแนนการสอบอ่านออกเสียง (แบบบันทึกคะแนน 2) ในกรณีที่มีผู้เรียนขาดสอบ ให้เขียนคำว่า “ขาดสอบ”ด้วย
หมึกสีแดงในชอ่ งสถานะ
3.2 นำแบบบันทึกคะแนนการอ่านรู้เรื่อง (แบบบันทึกคะแนน 1) และแบบบันทึกคะแนน
อ่านออกเสียง (แบบบันทึกคะแนน 2) บรรจุลงในซองแบบทดสอบ เพื่อเตรียมนำผลบันทึกลงในโปรแกรม NT
Access
21
กรณีผูเ้ ขา้ สอบกรณพี เิ ศษ (Walk in)
ผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ (Walk in) ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีรายชื่อในใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบ (แบบ สพฐ.2)
ซ่ึงนกั เรียนจะเขา้ สอบได้ กต็ ่อเมือ่ ไดร้ ับอนญุ าตจากประธานสนามสอบแลว้ โดยตอ้ งปฏิบตั ิ ดงั นี้
1) ใหผ้ ้เู ข้าสอบกรณีพเิ ศษ (Walk in) เข้าสอบในห้องสอบสดุ ทา้ ย โดยนั่งต่อจากเลขที่นง่ั สอบ
สดุ ท้ายของหอ้ งสอบปกตหิ ้องสุดทา้ ย ในสนามสอบนน้ั ๆ
2) ให้ผเู้ ข้าสอบกรณีพเิ ศษ (Walk in) ใชแ้ บบทดสอบสำรอง สาํ หรบั เลขที่นั่งสอบให้ใช้เลขที่
นง่ั สอบตอ่ จากเลขที่สดุ ท้ายของห้องสอบปกติห้องสุดท้าย ในสนามสอบนั้น ๆ
3) ใหผ้ ู้เข้าสอบกรณพี ิเศษ (Walk in) ลงชอ่ื ในใบเซน็ ช่ือผูเ้ ขา้ สอบกรณีพเิ ศษ (แบบ สพฐ.3)
4) ให้สนามสอบเพิ่มชื่อผู้เขา้ สอบกรณีพิเศษ (walk in) ในแบบบันทึกคะแนน 1 และแบบ
บันทกึ คะแนน 2 โดยเขยี นชอ่ื ต่อจากคนสุดท้ายของห้องสอบที่เข้าสอบ
5) กรอกข้อมูลส่วนตัวของผู้เรียน และบันทึกคะแนนลงในแบบบันทึกคะแนน 1 และ
แบบบันทึกคะแนน 2 ในระบบ NT Access (ซึ่งเป็นไฟล์ Excel) ให้ครบถ้วน โดยเพิ่มเป็นคนสุดท้ายใน
ห้องสอบท่ีเข้าสอบ
กรณเี ด็กขาดสอบ
1) ให้กรรมการคุมสอบขีดฆ่าชื่อผู้เรียนที่ขาดสอบ และระบุว่า “ขาดสอบ” ด้วยหมึกสีแดง
ในใบเซน็ ช่อื ผ้เู ขา้ สอบ สพฐ.2 ตรงช่องหมายเหตุ
2) ให้กรรมการคุมสอบขีดฆ่าชื่อผู้เรียนที่ขาดสอบ และระบุว่า “ขาดสอบ” ด้วยหมึกสีแดง
ในแบบบนั ทึกคะแนน 1 และแบบบนั ทึกคะแนน 2
3) ให้กรรมการบันทึกคะแนน เลือกสถานะเป็น “ขาดสอบ” ใน (ไฟล์ Excel)บันทึกคะแนนเพื่อ
นำส่งเข้าระบบ NT Access
22
บทที่ 4
ผลการประเมนิ
การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563
ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 นั้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม
สนับสนุนให้โรงเรียนมีการประเมนิ ความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 (RT) และเพื่อ
สะท้อนคุณภาพผู้เรียน คุณภาพการจัดการของสถานศึกษาและของสำนักงานเขตพืน้ ท่ีการศึกษาประถมศกึ ษา
ลำปางเขต 1 ผลการประเมนิ แบง่ เปน็ 4 ตอน ดังน้ี
ตอนที่ 1 ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปกี ารศึกษา 2563 ระดับเขตพื้นท่ี
ตอนที่ 2 ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามระดบั ดับคุณภาพ
ตอนที่ 3 เปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปีการศกึ ษา 2563 ระดับเขตพน้ื ทกี่ ับระดับประเทศ
ตอนที่ 4 เปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปีการศกึ ษา 2562-2563 ระดบั เขตพืน้ ท่ี
ตอนที่ 1 ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563
ระดบั เขตพน้ื ท่ี
ตารางที่ 1 ผลการประเมินความสามารถดา้ นการอา่ นออกของผ้เู รียนช้นั ประถมศึกษาปีท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2563
ระดบั เขตพื้นท่ี
จำนวน จำนวน รอ้ ยละ ด้าน รวม 2 ดา้ น
นกั เรยี น นกั เรยี นปกติ จำนวน การอา่ นออกเสียง การอ่านรู้เร่อื ง
ท้ังหมด ท่เี ขา้ สอบ นกั เรียน คะแนน S.D. คะแนน S.D. คะแนน S.D.
(คน) (คน) ปกติ เฉล่ยี เฉลีย่ เฉลย่ี
(รอ้ ยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
1,917 1,701 89.05 75.89 12.82 73.70 9.00 74.81 20.22
** ขอ้ มูลการรายงานผลการประเมนิ นักเรียนปกติ ไมน่ ับรวมเดก็ พเิ ศษ : 213 คน และ walk in : 3 คน
จากตารางที่ 1 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 จำนวนทง้ั หมด 1,917 คน มนี ักเรียนเข้ารับการประเมินความสามารถด้าน
การอ่านออกนักเรยี นระดบั ช้ันประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1,701 คน คดิ เป็นร้อยละ 89.05 (เด็กพิเศษ จำนวน
213 คน คิดเป็นร้อยละ 11.11 และ walk in จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.16 ) เมื่อแยกการประเมินราย
23
ด้าน พบว่า ด้านการอ่านออกเสียง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.89 และด้านการอ่านรู้เรื่อง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 73.70
สรุปภาพรวมผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 256 3
ระดับเขตพนื้ ท่ี ท้ัง 2 ด้าน มีคา่ เฉลี่ยร้อยละ 74.81 แสดงกราฟท่ี 1 ดงั น้ี
กราฟที่ 1 ผลการประเมนิ ความสามารถดา้ นการอ่านของผเู้ รียนชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2563
ระดบั เขตพื้นท่ี
ตอนที่ 2 ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563
จำแนกตามระดับดับคุณภาพ
ตารางท่ี 2 ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2563
จำแนกตามระดับคณุ ภาพ
สมรรถนะ จำนวนและร้อยละนกั เรียน จำแนกตามระดบั คุณภาพ
ดีมาก ดี พอใช้ ปรบั ปรุง
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน รอ้ ยละ
การอา่ นออกเสียง 1,062 63.28 352 20.97 155 9.23 109 6.49
การอ่านรเู้ ร่ือง 914 54.5 606 36.13 120 7.15 37 2.2
รวม 2 สมรรถนะ 1,011 60.28 454 27.07 158 9.42 54 3.22
จากตารางที่ 2 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามระดับคุณภาพ พบว่า จำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินรวมทั้ง 2 ด้านสูงสุด
อยู่ในระดับดีมาก จำนวน 1,011 คน คิดเป็นร้อยละ 60.28 รองลงมาคือ ระดับดี จำนวน 454 คน คิดเป็น
ร้อยละ 27.07 ระดับพอใช้ จำนวน 158 คน คิดเป็นร้อยละ 9.42 และระดับปรับปรุง จำนวน 54 คน คิดเป็น
ร้อยละ 3.22 แสดงกราฟท่ี 3 ดงั นี้
24
ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผเู้ รยี นชัน้ ประถมศกึ ษา
ปที ่ี 1 ปกี ารศกึ ษา 2563 จําแนกตามระดับคณุ ภาพ
1200
1000
800
600
400
200
0
ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง
การอ่านออกเสยี ง การอา่ นรู้เรื่อง รวม 2 สมรรถนะ
กราฟที่ 2 ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563
จำแนกตามระดบั คุณภาพ
ตอนที่ 3 เปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปกี ารศกึ ษา 2563 ระดับเขตพนื้ ที่กบั ระดับประเทศ
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปกี ารศกึ ษา 2563 ระดบั เขตพ้ืนทีก่ ับระดับประเทศ
ปี 2563 ผลการพฒั นา
ที่ ด้าน คะแนนเฉลยี่ ร้อยละจำแนกตามสงั กดั เพิ่ม/ เพ่ิม/ลด
ระดบั เขต จังหวัด ศธภ. สพฐ. ประเทศ ลด รอ้ ยละ
1 การอา่ นออกเสยี ง คะแนนเฉลี่ยรอ้ ยละ 75.89 73.70 68.58 74.13 74.14 1.75 2.31
12.82 13.43 14.36 13.29 13.60 -0.78 -6.08
S.D.
2 การอ่านร้เู รอื่ ง คะแนนเฉล่ยี ร้อยละ 73.70 70.37 67.43 72.23 71.86 1.84 2.50
S.D. 9.00 9.10 9.64 9.28 9.45 -0.45 -5.00
รวม 2 ด้าน คะแนนเฉลย่ี ร้อยละ 74.81 72.02 68.04 73.20 73.02 1.79 2.39
S.D. 20.22 21.00 22.31 20.72 21.18 -0.96 -4.75
จากตารางที่ 3 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ผลการพัฒนาความสามารถ
ด้านการอ่านออกเสียงระดับเขตพื้นที่สูงกว่าระดับประเทศ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.75 คิดเป็นร้อยละ 2.31 ผล
การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านรเู้ ร่ืองระดับเขตพื้นทสี่ ูงกวา่ ระดบั ประเทศ มีค่าเฉลยี่ เพิ่มขึน้ 1.84 คิดเป็น
ร้อยละ 2.50 เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินในภาพรวมทั้ง 2 ด้าน มีค่าเฉลี่ยระดับเขตพื้นที่สูงกว่า
ระดบั ประเทศ เพ่มิ ข้ึน 1.79 คดิ เปน็ รอ้ ยละ 2.39 แสดงกราฟที่ 3 ดังนี้
25
ผลการพฒั นาควาสามารถด้านการอา่ นของนกั เรียนชนั้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 1 ปี
การศกึ ษา 2563
77 คะแนนเฉลย่ี ร้อยละ คะแนนเฉลยี่ ร้อยละ
76 การอ่านรู้เรื่อง รวม 2 สมรรถนะ
75
74
73
72
71
70
69
คะแนนเฉลย่ี ร้อยละ
การอา่ นออกเสยี ง
เปรียบเทยี บระดบั เขตพนื ้ ท่ี ระดบั เขต เปรียบเทียบระดบั เขตพนื ้ ท่ี ประเทศ
กราฟที่ 3 เปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปกี ารศึกษา 2563 ระดับเขตพนื้ ทก่ี บั ระดับประเทศ
ตอนที่ 4 เปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปีการศกึ ษา 2562-2563 ระดับเขตพ้ืนที่
ปี 2563 เปรยี บเทยี บระดบั เขตพ้นื ที่
ท่ี ดา้ น คะแนนเฉล่ียรอ้ ยละจำแนกตามสงั กัด ปี 2562 ปี 2563 เพ่ิม/ เพิ่ม/ลด
ระดบั เขต จงั หวดั ศธภ. สพฐ. ประเทศ ลด ร้อยละ
1 การอา่ น คะแนนเฉล่ยี รอ้ ยละ 75.89 73.70 68.58 74.13 74.14 70.95 75.89 4.94 6.96
ออกเสยี ง S.D. 12.82 13.43 14.36 13.29 13.60 14.41 12.82 -1.59 -11.03
2 การอ่านรู้ คะแนนเฉลี่ยรอ้ ยละ 73.70 70.37 67.43 72.23 71.86 75.14 73.70 -1.44 -1.92
เรื่อง S.D. 9.00 9.10 9.64 9.28 9.45 9.72 9.00 -0.72 -7.41
รวม 2 ด้าน คะแนนเฉลีย่ รอ้ ยละ 74.81 72.02 68.04 73.20 73.02 73.05 74.81 1.76 2.41
S.D. 20.22 21.00 22.31 20.72 21.18 22.63 20.22 -2.41 -10.65
จากตารางที่ 4 พบว่า ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกเสียง ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศกึ ษา 2563 มีค่าเฉลยี่ สูงกว่าปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลย่ี เพ่ิมข้ึน 4.94 คิดเป็นร้อย
ละ 6.96 และ ผลการประเมนิ ความสามารถด้านการอ่านรู้เรื่องของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 ปีการศึกษา
2563 มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยลดลง -1.44 คิดเป็นร้อยละ -1.92 เมื่อเปรียบเทียบผล
การประเมินในภาพรวมทั้ง 2 ด้าน ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มข้ึน
1.76 คดิ เปน็ ร้อยละ 2.41 แสดงกราฟที่ 4 ดังน้ี
26
ผลการเปรยี บเทยี บความสามารถดา้ นการอ่านของนกั เรยี นชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 1
ปกี ารศึกษา 2562-2563 ระดบั เขตพน้ื ที่
80
70
60
50
40
30
20
10
0 คะแนนเฉลย่ี S.D.
คะแนนเฉลยี่ S.D. คะแนนเฉลย่ี S.D.
การอา่ นออกเสยี ง การอา่ นออกเสยี ง
ดา้ น รวม 2 ดา้ น
ปีการศึกษา 2563
ปกี ารศึกษา 2562
กราฟท่ี 4 เปรียบเทียบผลการประเมนิ ความสามารถดา้ นการอา่ นของผู้เรียนช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2562-2563 ระดับเขตพน้ื ท่ี
ปัจจัยท่ีสง่ ผลต่อความสำเร็จ/ปัจจัยเหตแุ ห่งปญั หา
1. สถานศึกษาในสังกัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ความสำคัญในการประเมินความสามารถ
ดา้ นการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที ่ี 1 น้อยเกนิ ไป
2. นักเรียนส่วนใหญเ่ ปน็ กลมุ่ ชาติพนั ธ์อยใู่ นพ้นื ท่ีสงู ทม่ี ปี ัญหาในด้านการออกเสียงภาษาไทย
3. การใช้ส่อื ในการจัดการเรียนการสอนดา้ นการอ่านมนี อ้ ย
4. การวัดและประเมินผลความสามารถดา้ นการอ่านไมส่ ัมพนั ธ์กับเคร่ืองมือวดั และประเมินผล
5. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดให้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องเรียนสาระต่างๆ รวม 8 สาระ
เหมือนกับชั้นอื่นๆ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งสำคัญที่ทำให้โรงเรียนยังจัดเวลาสำหรับการเรียนการสอนภาษาไทย
ช้ันประถมศกึ ษาปีท่ี 1 น้อยเกินไป ไมเ่ พยี งพอกับการฝกึ ทักษะเท่าที่ควรจะเป็น
6. การจัดให้เด็กพิเศษ (เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้) เรียนร่วมกับเด็กปกติเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้ครู
ไม่สามารถจดั การเรียนการสอนที่มีคุณภาพ เพราะต้องห่วงหนา้ พะวงหลัง ส่งผลใหเ้ ด็กปกติไดเ้ รยี นอย่างไม่เต็ม
ตามศกั ยภาพ และเดก็ พเิ ศษกจ็ ะถูกทอดท้ิงหรือเรยี นไม่ทนั คนอ่นื
7. ผ้บู รหิ ารสถานศึกษา จัดวางตัวครอู นุบาลและครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไมเ่ หมาะสม รวมทั้ง
มอบหมายแนวทางการจดั การเรียนการสอนไมถ่ ูกต้อง
27
บทท่ี 5
สรปุ อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563
ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 นั้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม
สนับสนุนให้โรงเรียนมีการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (RT) และ
เพื่อสะท้อนคุณภาพผู้เรียน คุณภาพการจัดการของสถานศึกษาและของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาลำปางเขต 1 สรปุ ผลดงั นี้
สรุปผลการประเมนิ
ผลการประเมนิ ความสามารถดา้ นการอา่ นของผู้เรยี น
ภาพรวมระดับเขตพน้ื ท่ี
ภาพรวมผลการประเมนิ ความสามารถด้านการอ่านออกของผเู้ รยี นประกอบด้วยด้านการอา่ นออกเสียง
และการอ่านรู้เรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาลำปางเขต 1 จำนวนทั้งหมด 1,917 คน พบว่า มีนักเรียนเข้ารับการประเมินความสามารถด้าน
การอา่ นออกนกั เรยี นระดบั ช้ันประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1,701 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 89.05 (เด็กพิเศษ จำนวน
213 คน คิดเป็นร้อยละ 11.11 และ walk in จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.16 ) เมื่อแยกการประเมินราย
ด้าน พบว่า ด้านการอ่านออกเสียง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.89 และด้านการอ่านรู้เรื่อง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 73.70
สรุปภาพรวมผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563
ระดับเขตพ้ืนท่ี ทงั้ 2 ดา้ น มคี า่ เฉล่ียร้อยละ 74.81
จำแนกตามระดับคณุ ภาพ
ผลการประเมนิ ความสามารถในการอ่านของนักเรียนช้นั ประถมศึกษาปีท่ี 1 ปกี ารศกึ ษา 2563 จำแนก
ตามระดับคุณภาพ พบว่า จำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินรวมทั้ง 2 ด้านสูงสุด อยู่ในระดับดีมาก จำนวน
1,011 คน คิดเป็นร้อยละ 60.28 รองลงมาคือ ระดับดี จำนวน 454 คน คิดเป็นร้อยละ 27.07 ระดับพอใช้
จำนวน 158 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 9.42 และระดบั ปรับปรงุ จำนวน 54 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 3.22
การเปรียบเทียบผลการพฒั นาความสามารถดา้ นการอ่านของผเู้ รียน
ระดบั เขตพ้ืนทก่ี บั ระดับประเทศ
การเปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปี
การศึกษา 2563 พบว่า ผลการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านออกเสียงระดับเขตพ้ืนท่ีสูงกว่าระดับประเทศ
มคี า่ เฉล่ยี เพ่ิมข้นึ 1.75 คดิ เป็นร้อยละ 2.31 ผล การพฒั นาความสามารถดา้ นการอ่านรเู้ รื่องระดับเขตพ้ืนที่สูง
กว่าระดับประเทศ มีค่าเฉล่ียเพ่ิมขึ้น 1.84 คิดเป็นร้อยละ 2.50 เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินในภาพรวมทงั้
2 ด้าน มีคา่ เฉลย่ี ระดบั เขตพ้ืนทีส่ ูงกว่าระดบั ประเทศ เพมิ่ ขน้ึ 1.79 คิดเป็นรอ้ ยละ 2.39
28
การเปรยี บเทยี บผลการประเมนิ ความสามารถด้านการอ่านของผ้เู รียน
ปกี ารศึกษา 2562-2563
การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกเสียงของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีท่ี 1 ปกี ารศกึ ษา 2563 มีค่าเฉลย่ี สงู กว่าปีการศึกษา 2562 มคี ่าเฉล่ียเพ่ิมข้ึน 4.94 คิดเป็นร้อย
ละ 6.96 และ ผลการประเมนิ ความสามารถดา้ นการอ่านรูเ้ ร่ืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 ปีการศึกษา
2563 มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยลดลง -1.44 คิดเป็นร้อยละ -1.92 เมื่อเปรียบเทียบผล
การประเมินในภาพรวมทั้ง 2 ด้าน ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มข้ึน
1.76 คดิ เปน็ ร้อยละ 2.41
อภปิ รายผล
ผลการประเมินความสามารถดา้ นการอา่ นของผเู้ รียนโดยภาพรวมระดบั เขตพนื้ ท่ี
จากผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียนโดยภาพรวมระดับเขตพื้นที่ พบว่า
นักเรียนมผี ลการประเมินความสามารถด้านการอ่านรวม 2 ดา้ น ได้รอ้ ยละ 74.81 อยูใ่ นระดบั ดี แต่ยังไม่บรรลุ
ตามเป้าหมายของสำนกั งานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 แสดงถึงข้อบกพร่องในการอ่านของ
นักเรียนที่ต้องได้รับการแกไ้ ขอย่างเร่งดว่ น โดยเฉพาะการอ่านคำ ประเภทอักษรควบไม่แท้/ตวั สะกดตรงมาตรา
และตัวสะกดไม่ตรงมาตรา/ไม่มีรูปวรรณยุกต์ ซึ่งหน่วยงานหรือสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันแก้ไข
ปัญหาแบบบูรณาการ ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา
ประถมศึกษาลำปางเขต 1 ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพพื้นฐานด้าน
การอา่ น ซ่งึ จะเป็นเครือ่ งมอื การเรยี นร้ใู นระดับชั้นท่ีสูงขนึ้ ต่ ่อไป
ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนจำแนกเปน็ รายด้าน
จากผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563
จำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการอ่านออกเสียง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.89 และด้านการอ่านรู้เรื่อง มีค่าเฉล่ีย
ร้อยละ 73.70 รวมทั้ง 2 ด้าน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 74.81 อยู่ในระดับดี แต่นักเรียนยังมีข้อบกพร่องมากในด้าน
การอ่านรู้เรื่อง และการอ่านออกเสียง ประเภทของคำ อักษรควบไม่แท้/ตัวสะกดตรงมาตรา และตัวสะกดไม่
ตรงมาตรา/ไมม่ รี ูปวรรณยุกต์ ซ่ึงมีนกั เรยี นจำนวนมากต้องได้รบั การแก้ไขอยา่ งเร่งด่วน สอดคลอ้ งกับข้อค้นพบ
ของ บนั ลอื พฤกษะวนั (2532) ที่วา่ การอา่ นเป็นพ้ืนฐานสำคัญของการเรยี นภาษาและเป็นหัวใจของการพัฒนา
ทกั ษะภาษาเพราะการอ่านสง่ ผลกระทบต่อการพฒั นาทักษะทางภาษาทั้ง 4 ดา้ น ท้ังนอ้ี าจเน่อื งมาจากการอ่าน
ออกเสียงเป็นประโยคนั้นนักเรียนต้องอ่านออกเสียงคำได้ถูกต้องและต้องอ่านได้ต่อเนื่องเป็นประโยค จึงจะได้
คะแนนทั้ง 2 ส่วน ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่อ่านเป็นคำไดแ้ ต่การอ่านไดไ้ ม่ต่อเนื่องเป็นประโยค ทำให้มีร้อยละของ
นักเรียนต้องปรับปรุงจำนวนมาก ดังนั้นการพัฒนาผู้เรียนในด้านการอ่านออกเสียงนั้น จำเป็นต้องเน้นให้ครู
จัดการเรยี นการสอนดว้ ยการฝึกฝนหรอื ใชส้ อ่ื เสรมิ ให้นักเรยี นไดฝ้ ึกปฏบิ ตั ิจริงมากขึน้
29
ขอ้ เสนอแนะ
สำหรบั สถานศกึ ษา
ผ้บู ริหาร ครูผสู้ อน และบุคลากรในสถานศกึ ษา ควรดำเนนิ การ ดังนี้
1. นำผลการประเมิน วิเคราะหผ์ ลการประเมินรายบุคลในแต่ละสมรรถนะ เพอื่ ประเมินความก้าวหน้า
ของผเู้ รยี นและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรยี นการสอน
2. นำผลการวิเคราะหไ์ ปใชใ้ นการวางแผนการจดั ทำโครงการ กิจกรรมการสอนตา่ งๆทีส่ ามารถส่งเสริม
สนับสนุนให้เกดิ การยกระดับผลสมั ฤทธิข์ องผู้เรียน รวมทัง้ พฒั นาการจัดการเรยี นการสอนของครู
3. ดำเนินการตามแผนงาน มาตรการ วิธีการอย่างเข้มแข็ง ตรวจสอบและปรับปรุงโดยวงจรคุณภาพ
มุ่งยกระดับผลสมั ฤทธิ์
4. สร้างขวัญและกำลังใจ รวมท้งั สร้างความตระหนกั ถงึ ความสำคัญของการประเมินความสามารถด้าน
การอา่ นของนักเรยี นช้นั ประถมศึกษาปีท่ี 1 ให้กับครู นักเรยี นและผูท้ เี่ กีย่ วขอ้ ง
5. นเิ ทศ กำกับติดตามการจัดกิจกรรมยกระดบั ผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นในระดับช้ันอย่างต่อเนื่อง เป็น
ระบบ และมีประสิทธภิ าพ
6. จัดทำสารสนเทศ ฐานขอ้ มลู ผลการเรยี นของนกั เรยี น เพ่ือนำผลรายงานชมุ ชน ผู้ปกครอง
สำหรับเขตพน้ื ท่ี
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนกลุ่ม
สาระภาษาไทย การสอนอ่านแจกลูกสะกดคำ ใหก้ ับครูผสู้ อนภาษาไทยนักเรยี นระดบั ประถมศึกษาปีท่ี 1 อย่าง
ต่อเนื่องและทั่วถึง มีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาร่วมกับโรงเรียนให้สามารถ
พฒั นาการอา่ นออกเสยี งและการอ่านรูเ้ รอ่ื งรว่ มกนั อยา่ งเปน็ รูปธรรมมากขนึ้
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรส่งเสริม สนับสนุน การสร้างสื่อและนวัตกรรม เพื่อยกระดับ
ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงและการอ่านรู้เรื่อง ให้แก่ครูผู้สอนในสังกัด เพื่อช่วยให้ครูมีสื่อสนับสนุน
การสอนที่หลากหลาย สอดคลอ้ งกบั การพฒั นาผู้เรียนในแตล่ ะระดบั ช้ัน สง่ เสรมิ ให้ครูผู้สอนได้รับการฝึกอบรม
ใหค้ วามรู้เกี่ยวกับการสอนการอา่ นออกเสียงและการอ่านรู้เร่ือง
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการติดตามและประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการอ่านอย่าง
จริงจัง และตอ่ เน่ือง เพอ่ื กระต้นุ ใหท้ ุกฝา่ ยเหน็ ความสำคญั ต่อการพัฒนาการอ่านแก่ผูเ้ รียน
4. สถานศึกษามีกำหนดนโยบาย แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน หรือโครงการยกระดับ
ผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นในกลุ่มสาระวิชาภาษาไทย อยา่ งชดั เจนและปฏบิ ัติอยา่ งต่อเน่ือง เพือ่ ให้เกิดการพัฒนา
ตอ่ ผู้เรียนไดม้ ากที่สดุ
5. สถานศึกษามกี ารดำเนนิ การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนท่ีมีพฤติกรรมขาดเรียน
ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดเรียนของนักเรียนซึ่งส่งผลต่อพัฒนาทักษะ
ความสามารถของนกั เรยี น
30
6. ครูผสู้ อนมีการวเิ คราะหผ์ ู้เรียนเปน็ รายบุคคล เพือ่ วางแผนการพฒั นาผู้เรียนดำเนนิ การซ่อมเสริมใน
สว่ นที่นกั เรยี นยงั ขาดทกั ษะในดา้ นน้นั ๆ
7. ครูผ้สู อนมีการพัฒนาส่ือและนวัตกรรมทางการศึกษาทสี่ ง่ เสริมการอ่านและการเขยี นให้กับนักเรียน
ชนั้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 1 มกี ารใช้ส่ือในการจดั การเรยี นการสอนอยา่ งเหมาะสม
8. ครผู ู้สอนมีการวเิ คราะห์ผู้เรียนรายบคุ คลอย่างจริงจังและต่อเน่ือง เพ่ือนำผลการวิเคราะห์ไปใช้เพ่ือ
พัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับความสามารถเฉพาะบุคคล เพื่อสอดคล้องต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อใหส้ ามารถแก้ไขปญั หาได้อยา่ งเหมาะสม และตรงจดุ มากยิ่งขึ้น
สำหรับผูเ้ กี่ยวขอ้ ง
หนว่ ยงานตน้ สงั กดั ศกึ ษานเิ ทศก์ บุคลกรทางการศึกษาและผู้เก่ยี วขอ้ ง ควรดำเนินการ ดังน้ี
1. ศึกษา วิเคราะห์ผลการประเมิน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผน หรือกำหนดนโยบาย
มาตรการ โครงการ และกจิ กรรมตา่ งๆ เพอื่ ส่งเสรมิ การจัดการศึกษาให้เกิดประโยชนแ์ ละประสิทธิภาพสูงสดุ
2. ใหค้ วามสำคัญในการยกระดบั ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของผูเ้ รียนอย่างจรงิ จัง และต่อเน่ือง
3. ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาในการพัฒนาการเรียนการสอน อันส่งผลไปสู่เป้าหมายการจัด
การศกึ ษาอย่างแทจ้ ริง
4. นิเทศ กำกับตดิ ตามการดำเนนิ งานอยา่ งต่อเนื่อง เป็นระบบ และมปี ระสิทธิภาพ
31
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พทุ ธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชมุ นมุ สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ฉวีวรรณ คหู าภินันท์.(2547). การอ่านและการสง่ เสริมการอ่าน. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์.
ฉวลี ักษณ์ บญุ กาญจน.(2547). จติ วิทยาการอ่าน. กรุงเทพฯ : บรษิ ทั 21 เซ็นจรู ี่จำกัด.
นงเยาว์ เล่ยี มขนุ ทด.(2547). การพฒั นาแผนการเรยี นรภู้ าษาไทย เรือ่ งการอ่านและการเขียนสะกดคำโดยใช้
แผนผังความคดิ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
นลิ วรรณ อัคต.ิ (2547). การพฒั นาแผนการเรยี นรู้ภาษาไทย เรื่องการผนั วรรณยุกต์โดยใชแ้ บบฝึกทักษะชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม.
นิรันดร์ สุขปรีดี.(2540). การศึกษาอัตราความเร็วและความเข้าใจในการอ่านของนักเรยี นชัน้ ประถมศกึ ษา
ปีที่ 4ในจงั หวดั พระนครศรอี ยุธยา. ปริญญานพิ นธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลยั มหาสารคาม.
บรรจง จันทร์พันธ์.(2548). การพัฒนาแผนการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะภาษาไทยเร่ือง การเขียนสะกดคำ
ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม :
มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม.
บันลือ พฤกษะวนั .(2532). มิตใิ หม่ในการสอนอา่ น. กรุงเทพฯ : ไทยวฒั นาพานิช.
มนทิรา ภักดีณรงค์.(2540). การศึกษาแบบฝึกเสริมทักษะกิจกรรมขั้นตอนที่ 5ที่มีประสิทธิภาพและความ
คงทนในการเรียนรู้ เรื่อง ยังไม่สายเกินไป วิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการสอนแบบ
มงุ่ ประสบการณภ์ าษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม.
สมใจ นาคศรีสังข์.(2549). การสร้างแบบฝึกการอ่านและเขียนสะกดคำจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถ่ิน
นประถมศกึ ษาปที ่ี 4. การศึกษาคน้ ควา้ อสิ ระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.(2551). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตาม
หลกั สูตรการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน พทุ ธศักราช 2551. กรงุ เทพฯ : คุรสุ ภา ลาดพรา้ ว.
Bouchard, Margaret Pray. “An Investigation of Students’ Word Knowledge as
Demonstrated by Their Reading and Spelling Error.” Dissertation Abstracts
International. 63 (2) : 541-4; August, 2002.
http2// wwwlib.Umi.com/dissertations/fullcit/3010800 (March 3,2013)
Goodman, K. S. (1970). Reading, psycholinguistic guessing games in Theoretical model’s
and process of reading. New York : International Reading Association.
32
Garcia, Carol Ann. (1998), “The Effect of Two Types of spilling Instruction On First-grade
Reding, Writing, and Spelling Achievement”. Dissertation Abstracts International.
58(9) : 3459-A; March.
33
ภาคผนวก
34
รายงานผลการประเมนิ ความสามารถดา้ นการอา่ นของผู้เรียน (Reading Test)
ชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2563 ฉบบั ท่ี 1 (R-Local01)
https://bit.ly/3gw2RQg
เปรยี บเทียบผลการประเมนิ ความสามารถดา้ นการอา่ นของผู้เรยี น (Reading Test)
ชั้นประถมศึกษาปที ่ี 1 ปีการศึกษา 2562 กับ 2563
https://bit.ly/3awT1K6
35
เรยี งลำดับผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผเู้ รยี น (Reading Test)
ช้ันประถมศกึ ษาปีท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2563
ระดบั เขตพ้นื ท่ี
https://bit.ly/32zOMce
เรยี งลำดบั ผลการประเมนิ ความสามารถดา้ นการอ่านของผเู้ รียน (Reading Test)
ชั้นประถมศกึ ษาปที ี่ 1 ปกี ารศกึ ษา 2563
ระดับกล่มุ เครอื ข่าย
https://bit.ly/3gBvzzj
36
ผลการประเมนิ ความสามารถด้านการอา่ นของผ้เู รียน (Reading Test)
ระดบั ชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ 1 ปีการศกึ ษา 2562
จำแนกกลุ่มเครอื ขา่ ย
https://bit.ly/3dGalOy
ผลการพัฒนาการประเมินความสามารถดา้ นการอ่านของผู้เรยี น (Reading Test)
ชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 1 ปกี ารศึกษา 2562- กับปกี ารศึกษา 2563
สำนกั งานเขตพ้นื ที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1
ระดบั เขตพน้ื ท่ี
https://bit.ly/3gvYJ2w
37
คณะผู้จดั ทำ
ท่ีปรกึ ษา
นายสมเกียรติ ปงจนั ตา ผู้อำนวยการ สำนกั งานเขตพื้นท่ีการศกึ ษาประถมศกึ ษาลำปาง เขต 1
นายพชิ ยั สดเอ่ียม รองผ้อู ำนวยการ สำนักงานเขตพนื้ ท่ีการศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
นายเอกฐสิทธิ์ กอบกำ ผ้อู ำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจัดการศกึ ษา
สำนกั งานเขตพนื้ ท่ีการศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
นางเขมจิรา เศวตรัตนเสถียร ศึกษานเิ ทศก์ สำนักงานเขตพ้ืนทก่ี ารศึกษาประถมศกึ ษาลำปาง เขต 1
วเิ คราะห์ สรุป และอภปิ รายผล
นางสาววิมล ปวนปันวงค์ ศึกษานเิ ทศก์ สำนกั งานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
พิมพแ์ ละจัดทำรปู เล่ม
นางสาววมิ ล ปวนปันวงค์ ศึกษานเิ ทศก์ สำนกั งานเขตพ้นื ที่การศกึ ษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
นางพรนิภา ยศบญุ เรือง ศึกษานเิ ทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศกึ ษาลำปาง เขต 1