The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประเพณีในจังหวัดสกลนคร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sasiwimoleaim, 2022-03-07 07:32:07

ประเพณีในจังหวัดสกลนคร

ประเพณีในจังหวัดสกลนคร

ประเพณี อําเภอเมืองสกลนคร
วัฒนธรรม อําเภอกุสุมาลย์
จังหวัด อําเภอพั งโคน
สกลนคร อําเภอเต่างอย
อําเภอส่องดาว
อําเภอกุดบาก
อำเภอโพนนาแก้ว
อำเภอวานรนิวาส
อำเภอสว่างแดนดิน
อำเภอวาริชภูมิ
อำเภออากาศอำนวย
อำเภอบ้านม่วง
อำเภอพรรณนานิคม
อำเภอนิคมน้ำอูน
อำเภอโคกศรีสุพรรณ
อำเภอคำตากล้า
อำเภอเจริญศิลป์
อำเภอภูพาน

อําเภอเมืองสกลนคร
จังหวัดสกลนคร

งานรวมน้ำใจไทสกลและงานกาชาด

กิจกรรมประกอบด้วยการแสดงขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรม
ประเพณีของกลุ่มชนต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัด เช่น ผู้ไทย โส้ ย้อ
แสก กะเลิง กุลา ญวน และจีน ซึ่งแต่ละขบวนจะไปรวมกัน
ณ ศาลากลางจังหวัด นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีก เช่น
การประกวดนางสาวสกลนคร การออกร้านแสดงนิทรรศการ
ของส่วนราชการ การประกวดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การจัด
พาแลง และการแสดงมหรสพ เป็นต้น

งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง

จัดขึ้นในวันที่ 23-25 ธันวาคม ของทุกปี ภายในงานมี

กิจกรรมต่างๆ อาทิ การแห่ดาวแบบดั้งเดิมของชุมชนท่าแร่

ชมความอลังการของขบวนรถดาวกว่า 200 คัน และ กิจกร

รมอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อร่วมฉลองการบังเกิดของพระเยซู
และขอบคุณที่พระองค์นําแสงสว่างความรอดพ้นมาสู่มวล

มนุษย์ ซึ่งเชื่อว่า “ดาว” เป็นสัญญลักษณ์ของการเสด็จลงมา

ประสูติบนโลกมนุษย์ของพระเยซู

งานเทศกาลวิสาขบูชา

กิจกรรมภายในงานชมการแสดงนิทรรศการวันวิสาขบูชา
การแสดงพระธรรมเทศนาพิธีบวชเนกขัมมะ การนั่งวิปัสสนา
กรรมฐานบําเพ็ญเพียรภาวนา พิธีเวียนเทียน การประกวด
สวดมนต์หมู่ทํานองสรภัญญะพื้นบ้าน การประดับทุงโบราณ
โคมบัวบูชาประเภทแขวนอันวิจิตรสวยงาน ณ ลานรวมใจไท
สกล และ กิจกรรมวิ่งวิสาขพุทธบูชา

01PAGE|

อําเภอเมืองสกลนคร
จังหวัดสกลนคร

ประเพณีงานตรุษไทสกล คนจีน เวียดนาม

เป็นการฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ ฉลองเป็น เวลานานถึง 15

วัน จะมีการซื้อของขวัญ สิ่งต่างๆ เพื่อประดับประดาบ้านเรือน ซื้อ
อาหารและเสื้อผ้าใหม่ ชาวจีนจะทําความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ ซึ่ง
หมายถึงการกวาดเอาโชคร้ายออกไป ประตูหน้าต่างมีการทาสีใหม่

(นิยมทาสีแดง) จะมีการประดับประดาประตูหน้าต่างด้วยกระดาษ
ที่มีคําอวยพร ซึ่งชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3
วัน คือวันจ่าย (ตื่อเส็ก) วันไหว้ (วันสิ้นปี) และวันปีใหม่ (วันเที่ยว
หรือวันถือ) กิจกรรมภายในงาน ได้แก่ พิธีไหว้เจ้าเสริมมงคลปี

ใหม่จีน พิธีไหว้เจ้าแม่กวนอิม ขบวนแห่วัฒนธรรมที่สวยงาม
ตระการตา การเชิดสิงโตมังกรที่ตื่นตาตื่นใจ การแสดงศิลป
วัฒนธรรมอันหลากหลาย พร้อมอิ่มอร่อยในซุ้มอาหารไทย จีน
เวียดนาม

งานประเพณีแข่งเรือ

จัดขึ้นร่วมกับงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งในเทศกาล

ออกพรรษา ในวันขึ้น 12-13 ค่ำ เดือน 11 ในน่านน้ำ

หนองหาร ซึ่งจัดเป็นประเพณีมาช้านานเป็นร่องน้ำ สําห

รับแข่งเรือมีอยู่ 2 แห่ง คือ หน้าสระพังทอง ทางทิศ

ตะวันออก และท่านางอาบ บ้านท่าวัด

รำมวยโบราณสกลนคร

ปัจจุบันสกลนครเป็นแหล่งเดียวที่ยังคงมีมวยโบราณ ในเทศกาลบุญประเพณี

ต่างๆ เช่น แห่ปราสาทผึ้งออกพรรษา ในเทศกาลงานบุญอื่นๆ ชาวบ้านจะจัดขบวน

มวยโบราณเข้าขบวนอย่างสนุกสนานการแต่งกายมวยโบราณ แต่งด้วยผ้าหยักรั้ง

ปล่อยชายกระเบน ตามเนื้อตัวจะเขียนลายแบบสัก

แผงอกมักจะเป็นลายครุฑ งู เสือ หนุมาน ส่วนโคนขาจะเป็นลายพืชพันธุ์ธัญญาหาร

เชื่อว่าเป็นการเสริมพละกำลังให้แข็งแกร่ง และจะเป็นที่ชื้นชอบของหญิงสาว และยัง

มีตะกรุดรัดแขน มีพิธีไหว้ครูและถอดมงคลออกเมื่อถึงบทที่ต้องร่ายรำการต่อสู้

ปัจจุบันมีการแสดงท่ามวยโบราณ 3 ตอน คือ ขบวนแห่มวยโบราณ

ท่าไหว้ครูหรือรำเดี่ยว และการต่อสู้ PAGE| 02

INTอMEํIาRNเIIภMOAอLRกI SุTสDุมSETาYSลL IEยG์ N
จังหวัดสกลนคร

งานเทศกาลโล้รําลึก

เป็นงานประจําปีของชาวโส้ ตามประเพณีความเชื่อที่สืบทอดมาแต่อดีต เป็นการแสดงพิธีเยา (เชิญ
วิญญาณเข้าทรงคนป่วยลงสนาม หรือแซงสนาม) และพิธีเจี๊ยศาลารวมเข้ากันเพื่อให้เกิดรูปขบวนที่สวยงาม

เป็นจังหวะสอดคล้อง กับเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่ดีดสีตีเป่าเข้ากับท่วงท่ารําของสาวโส้ ที่มาร่วมแสดงเป็นจํานว
นมาก ชาวโส้ถือว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์

PAGE| 031

INTMEอIํRNาIเIMภOA อLRI SพTัDงSEโT คYSL นIE GN
จังหวัดสกลนคร

งานบุญมหาชาติและบุญบั้งไฟ

จัดขึ้นในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี กิจกรรมประกอบ
ด้วย การประกวดบั้งไฟทางไกล เทศน์มหาชาติ เทศกาลอาหารแซบพังโคน
และการประกวดขบวนแห่บั้งไฟ

งานเซิ้งผีตาโขน

ในงานจะมีขบวนของชาวบ้านแต่งชุดผีประเภทต่าง ๆ จำนวนมากแห่ไปตามถนนใน
หมู่บ้าน ตามขบวนแห่พระเวสไปยังวัดไฮหย่องเพื่อทำบุญอุทิศกุศลให้บรรพบุรุษ ที่

ล่วงลับ มีการแสดงท่ารำต่าง ๆ ของผีเป็นที่ครึกครื้น จัดในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4

ของทุกปี

PAGE| 041

INTMEอํIRาN IเIMภOAอLRIเSตTD่าSEงT YSอL IEยGN
จังหวัดสกลนคร

งานประเพณีไหลเรือไฟ

จากการบอกเล่าต่อกันมาว่า มีพระธุดงค์ได้มาจําพรรษาที่ริมน้ำพุงบ้านเต่างอย

และได้ชักชวนชาวบ้านทําพิธีไหลเรือไฟในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับวันทําข้าว

สาก โดยในสมัยโบราณใช้ต้นกล้วยมาประกอบเป็นเรือ และประดับตกแต่งด้วยก้าน
กล้วยและใบกล้วย ปัจจุบันได้มีการประยุกต์ทําเป็นเรือไฟให้สวยงาม ซึ่งนําใบตอง ใบไม้
ดอกไม้วัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นมาประดับตกแต่ง จนเป็นเรือไฟที่สวยงามใน
ปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละปีได้มีการพัฒนารูปแบบ ให้มีความสวยงามยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

PAGE| 051

INTMอEํI RาN เI IMภOAอLRIสS่TอDSงETดYSLาIE วGN
จังหวัดสกลนคร

งานวันอาสาฬหบูชา สักการะสังเวชนีย์ 4 ตําบล

เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้ร่วมกิจกรรม ไหว้พระ เวียนเทียน รักษาศีล ศึกษาหลักธรรมในทางสาย
กลาง ตระหนัก ถึงวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา และร่วมขบวนแห่โคมบูชา เวียนเทียนรอบ สังเวชนีย

สถาน 4 ตําบล สถานที่จําลองที่ซึ่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และ

ปรินิพพาน ณ บริเวณพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำพวง ตําบลปทุมวาปี อําเภอส่องดาว
จังหวัดสกลนคร

PAGE| 061

INTMEอIํRNาIเIMภOA อLRI SกุTDดSEบT YSาL กIE GN
จังหวัดสกลนคร

งานประเพณีรวมน้ำใจไทกะเลิง

งานรวมน้ำใจไทกะเลิง เป็นการแสดงออกของอัตลักษณ์ทาง
วัฒนธรรมของชาวกะเลิงในอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ภายใน
งานจะรวบรวมวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวกะเลิงมาจัด
แสดงมีการจัดนิทรรศการและอาหารท้องถิ่นของชาวกะเลิงมาให้ชม
และชิม เป็นการส่งเสริมและสืบสานวัฒนธรรมของกะเลิงให้คงอยู่
สืบไป และเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น

PAGE| 071

INอTำMEเIภRN IอIMOโAพLRI SนTDนSEาT YแSL IEกG้วN
จังหวัดสกลนคร

ประเพณีไหลเรือไฟภูไท

เป็นประเพณีที่ประชาชนภาคภูมิใจ เพราะบรรพบุรุษได้ยึดถือกันมานานตั้งแต่โบราณ โดยมีความเชื่อในประเพณีว่าเนื่องมา
จากการบูชารอบพระพุทธบาท การสักการะท้าวพกาพรหม การบวงสรวงพระธาตุจุฬามณีและการระลึกถึงพระคุณของพระแม่
คงคา การขอฝนการเอาไฟเผาความทุกข์ และการบูชาพระพุทธเจ้า เรือไฟ หรือ เฮือไฟ หมายถึง เรือที่ทำด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่
หรือวัสดุที่ลอยน้ำ มีโครงสร้างเป็นรูปต่างๆ ตามต้องการอยู่ส่วนบนของวัสดุที่ลอยน้ำ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุก
เป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น

อMำIเNภI MอAวL IาS นT รS TนYิLวEาส
จังหวัดสกลนคร

แข่งเรือยาว

เป็นการละเล่นในยามน้ำหลากที่สืบทอดมาแต่โบราณ และมักมีการแข่งเรือควบคู่ไปกับการทำบุญ ปิดทอง ไหว้พระและ
งานกฐิน ช่วยสร้างบรรยากาศให้งานบุญครึกครื้นขึ้น การแข่งเรือยาวเป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นเพื่อนสร้างความสนุกสนาน และ
ความสามัคคีให้แก่ประชาชน และสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้แข่ง อีกทั้งยังสามารถก่อให้เกิดแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นใหม่อีก
ด้วย

PAGE| 081

INอำTเMEภIRNอIIMสOAวL่RIาSงTDแSETดYSLนIE GดินN
จังหวัดสกลนคร

งานประเพณีบุญข้าวจี่ยักษ์

ประเพณีบุญข้าวจี่ยักษ์ จะเป็นบุญประเพณีเดือน ๓ ซึ่งเป็นความเชื่อตามฮีตสิบสองของชาวอีสาน เป็นการทำบุญ
หลังจากที่ได้ข้าวใหม่ ชาวบ้านจะทำข้าวจี่โดยใช้ข้าวเหนียวใหม่นึ่งจนสุก เคล้าเกลือแล้วย่างไฟจนเกรียมหอม ก่อนเอามาทา
ด้วยไข่ไก่ที่ตีไว้จนทั่ว แล้วนำไปย่างต่อจนสุก การทาไข่จะทาแล้วย่างสลับไปมาสัก ๓ ครั้ง เมื่อได้ข้าวจี่ทาไข่ที่หอมกรุ่นแล้ว
จะนำน้ำอ้อยมาใส่ในรูที่ถอดไม้ไผ่ออก ก็จะได้ข้าวจี่ทาไข่ที่มีรสชาติอร่อย หอมหวาน จากนั้นชาวบ้านจะนำข้าวจี่ไปรวมกันที่
วัดแล้วถวายพระ ก่อนที่จะนำกลับมาแจกลูกหลานที่รออยู่บ้าน การทำบุญข้าวจี่นี้ชาวบ้านจัดทำติดต่อกันมาทุกปี

PAGE| 091

INTMอEIำRNเIIMภOAอLRIวS าTDรSิEชT YSภLูIEมGิ N
จังหวัดสกลนคร

เทศกาลภูไทรำลึก
และนมัสการเจ้าปู่มเหศักดิ์

งานประเพณีภูไทรำลึก เป็นงานประเพณีของชาวภูไทวาริชภูมิ ที่ถือ
ปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งชาวภูไทมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของ
ตัวเอง เช่น วัฒนธรรมการแต่งกายภูไทถิ่น วัฒนธรรมการนับถือ
หลักเมือง แต่ละปีจะมีการจัดงานภูไทรำลึก ซึ่งเป็นการนมัสการเจ้าปู่
มเหสักข์ ในงานจัดให้มีการฟ้อนรำถวายเจ้าปู่มเหสักข์ และผู้ที่มาร่วมงาน
จะแต่งตัวในชุดภูไทหรือภูไทประยุกต์ ส่วนลูกหลานชาววาริชภูมิที่ย้าย
ถิ่นฐาน หรือไปทำงานต่างจังหวัด จะทราบว่ามีงานประเพณีดังกล่าวใน

วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี โดยไม่ต้องบอกกล่าว และจะเดินทางกลับมา

ร่วมงานทุกปี ซึ่งเป็นการแสดงถึงการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีของ
ชาวภูไทวาริชภูมิตลอดมา ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม
ประเพณีอันดีงามของชาวภูไทวาริชภูมิ และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็ก
เยาวชน ประชาชน ได้ตระหนัก เห็นคุณค่า ของวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น
และช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีให้คงอยู่สืบไป กองการศึกษา
เทศบาลตำบลวาริชภูมิจึงได้จัดทำโครงการงานวันภูไทรำลึกขึ้น

PAGE| 0101

INอำTเMEภIRNอIIMอOAาLRกI S TาDศSETอYSำL IEนGวNย
จังหวัดสกลนคร

งานประเพณีบุญเดือนสิบแข่ง เรือไหลเรือไฟไหว้พระ
แก้วคู่ บ้าน(ชิงถ้วยพระราชทานฯ) ลำน้ำยาม

พิธีกรรมนี้ชาวไทโย้ยของอำเภออากาศอำนวยได้ถือปฏิบัติกันช้านาน ตั้งแต่บรรพบุรุษ เพราะมีความเชื่อมาแต่ดั้งเดิมว่า
การบูชารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ครั้งที่เสด็จไปแม่น้ำนันมทานที โดยครั้งนั้นพระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรดพระยา
นาค ก่อนที่พระองค์เสด็จกลับได้ประทับรอยไว้ ที่ริ่มฝั่ งแม่น้ำนันมทานนทรี ซึ่งรอยพระบาทนี้ เป็นที่เคารพสักการะบูชาของ
เทวดาและมนุษย์ตลอดสัตว์ทั้งหลาย พากันกราบไหว้มาถึงทุกวันนี้

อMำI NเIภM AอLบI ้SาT นS Tม่Y วL Eง
จังหวัดสกลนคร

บุญประทายข้าวเปลือก

งานบุญประทายข้าวเปลือก งานบุญประเพณีบุญกองข้าว หรือ บุญคูณลาน หรือ กุ้มข้าวใหญ่ ถือเป็นประเพณีโบราณ

บุญเดือนยี่ หรือฮีตที่ ๒ ตามประเพณีโบราณฮีตสิบสองคองสิบสี่ (คือ จารีตประเพณีที่ประชาชนนำมาปฏิบัติประจำเดือน ทั้ง
12เดือนในรอบปีเป็นประเพณีการทำบุญประจำเดือนที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา โดยจะนับเดือนตามจันทรคติ นั่นคือ เดือนยี่
จะเป็นบุญคูณลาน หรือ บุญประทายข้าวเปลือก) อันเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาช้านานของชาวภาคอีสาน กล่าวคือ เมื่อ

หลังจากหมดฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว เมื่อนวดข้าวเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะกองเมล็ดข้าวไว้ในลานนวดข้าว เป็นรูปกรวยคว่ำ ชาวบ้าน

นิยมเรียกว่า "กุ้มข้าว”

PAGE| 101

INอำTเMEภIRNอIIMพOAรLRIรS TณDSEนT YSาL IEนGิคNม
จังหวัดสกลนคร

สุริยปฏิทิน ณ ปราสาทภูเพ็ก

เป็นแหล่งโบราณคดีที่ล้ำค่าแห่งหนึ่งในประเทศไทย ปราสาทภูเพ็ก เป็นโบราณสถานยุคขอมเรืองอำนาจ แต่สร้างไม่

เสร็จปรากฏเพียงฐานรากและผนังของห้องปรางค์และยังไม่มีลวดลายที่สามารถใช้เปรียบเทียบเพื่อกำหนดอายุ นัก

โบราณคดีของกรมศิลปากรจึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ปราสาทหลังนี้ตั้งอยู่บนยอดภูเขาที่

ชื่อว่าภูเพ็กสูงจากระดับน้ำทะเล 520 เมตร (สูงที่สุดในบรรดาปราสาทขอมที่พบในประเทศไทย) มุมมองระยะไกลจาก

ทะเลสาปหนองหารจะเห็นว่าภูเขาลูกนี้รูปร่างเหมือนเขาพระสุเมรุ อย่างไรก็ตามหากสร้างเสร็จจะเป็นปราสาทขอมใหญ่

ที่สุดในประเทศไทยเนื่องจากมีขนาดห้องปรางค์ 5.5 m x 5.5 m และยาว 40 เมตร เปรียบเทียบกับปราสาทพิมายซึ่ง

กล่าวว่าใหญ่ที่สุดก็มีขนาดห้องปรางค์ 4.4 m x 4.4 m และยาว 30 เมตร

PAGE| 0121

INTอMEำIเRNภIIMอOAนLRิI SคTDมSEนT ้YSำL IEอูGนN
จังหวัดสกลนคร

ประเพณีทำบุญสืบชะตาปลา

เป็นพิธีกรรมทางศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้าน ซึ่งมีรากฐานจากพิธีสืบชะตาบ้านเมืองและชะตาคน เป็น
ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีคุณค่าและความหมายนอกจากเป็นการเรียกขวัญและกำลังใจกลับมาแล้วยังเป็นการใช้กุศโลบายซึงเข้า
กับวิถีชีวิตกับวิถีชุมชนก่อใหเ้กิดความร่วมมือความสามัคคีเกื้อกูล ช่วยกันแก้ไขปัญหาและเกิด ความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่ี
ดูแลแม่น้าส่งผลดีต่อระบบนิเวศวิทยาแม่น้ำและประการสำคัญที่สุดเพื่อเป็นการสนอง พระราชดำริในเรื่องการบริหารจัดการ
น้ำให้เกิดความยั่งยืน เกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม

อำเMภI อN IโMคA กL I SศT รSีสTุYพL Eรรณ
จังหวัดสกลนคร

บุญข้าวจี่

วันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชา รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำก็ถวายข้าวจี่ เรียกว่าวันทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชานั่นเอง ข้าวจี่คือเอา

ข้าวเหนียวปั้ นเป็นก้อนเอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่าง เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่
เคลือบข้าวเหนียว เสร็จแล้วถอดไม้ออกแล้วเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เป็นก้อนยัดใส่แทนกลายเป็นข้าวเหนียวยัดไส้ แล้วถวาย

พระเณรฉันตอนเช้า ส่วนมากชาวบ้านจะรีบทำแต่เช้ามืด พอสว่างก็ลงศาลาการเปรียญ (ชาวบ้านเรียกหอแจก) นิมนต์พระ

เณรเจริญพระพุทธมนต์แล้วฉัน เป็นทั้งงานบุญและงานรื่นเริงประจำแต่ละหมู่บ้าน เพราะได้ทำข้าวจี่ไปถวายพระหลังจากพระ

ฉันแล้วก็เลี้ยงกันเองสนุกสนาน มีคำพังเพยอีสานว่า "เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้ นเข้าจี่ เข้าจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา"

เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว คือมีการถวายข้าวเปลือกพระและนิยมทำบุญบ้าน สวด
มนต์เสร็จพิธีสงฆ์ แล้วก็สู่ขวัญข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์ บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธี คือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำ
พิธีตุ้มปากเล้าเล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง

PAGE| 1031

INTอMEำIRNเIภIMOอA LคRI SำTDตSEาT YกSL IลE ้GาN
จังหวัดสกลนคร

ประเพณีบุญบั้งไฟ

มีที่มาจากนิทานพื้นบ้านเรื่องพญาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัด
งานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พญาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอย
ดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะ
ไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ โดยทั้งนี้การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ จังหวัดยโสธร ได้
รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการประชาสัมพันธ์งานประเพณี เป็นที่รู้จักแก่ชาวไทย และต่างประเทศ

นับแต่ ปี 2523

อMำIเNภI MอAเL จI SรTิญS T YศิL Eลป์
จังหวัดสกลนคร

หมอสู่ขวัญ สู่ขวัญงานแต่ง งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่
และงานมงคลต่างๆ

เป็นประจำการบายศรีสู่ขวัญของชาวอีสาน เป็นพิธีกรรมผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ พิธีทางพุทธ
ศาสนาหมายถึงการนิมนต์พระสงฆ์ ๕ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ต่อจากนั้นเจ้าภาพจะถวาย
ภัตตาหาร สำหรับศาสนาพราหมณ์ จะมี พราหมณ์ หรือ หมอขวัญ เป็นผู้ทำพิธี และมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ คือ พานทอง
เหลืองหรือขันสัมฤทธิ์ จัดเป็นพานบายศรี ๓ หรือ ๕ หรือ ๗ ชั้น ประกอบด้วย ใบตอง ใบไม้และดอกไม้ และมีข้าวต้มมัด ขนม
อ้อย กล้วย ปั้ นข้าวเหนียว ฝ้าย เทียน นอกจากนี้ ยังจัดพานอีกใบหนึ่ง มีแพรวา ผ้า หวี กระจก น้ำอบ น้ำหอม หรือเครื่อง
แต่งตัวของเจ้าของขวัญ ขัน ๕ ข้าว ๑ สำรับ และเหล้า ๑ ขวด ในพิธีสู่ขวัญพราหมณ์หรือหมอขวัญจะเป็นผู้กำหนดฤกษ์ยาม
ในการสู่ขวัญ ผู้ร่วมพิธีสู่ขวัญประกอบด้วย หมอขวัญ ผู้รับการสู่ขวัญ ญาติมิตรและเพื่อนบ้าน

PAGE| 0114

INTMEอIRNำIเIMภOA อLRI SภูTDพSETาYนSL IE GN
จังหวัดสกลนคร

ประเพณีบุญพระเวชสันดร บุญมหาชาติ

บุญผะเหวด หรือบุญพระเวส หมายถึง บุญพระเวสสันดร
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญมหาชาติ ชาวอีสานจะนิยมจัดขึ้นในเดือน

สี่ (ช่วงเดือนมีนาคม) เป็นบุญประจำปีในฮีตสิบสอง ดังที่ปราชญ์
อีสานได้ประพันธ์ผญา (บทกลอน) เกี่ยวกับการทำบุญในช่วงเดือน
สามและเดือนสี่ไว้ว่า “เถิงเมื่อเดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้ นข้าวจี่
ตกเมื่อเดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มัทรี” แปลว่า เมื่อถึงเดือนสาม

พระภิกษุสามเณรจะรอชาวบ้านทำบุญข้าวจี่ และเมื่อถึงเดือนสี่

(ช่วงเดือนมีนาคม) สามเณรเทศน์กัณฑ์มัทรีในงานบุญมหาชาติ

PAGE| 1051

INTERIOR DESIGN
MINIMALIST STYLE


Click to View FlipBook Version