The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ความหมาย ข้อดี ข้อเสีย ของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pattarawadi Biakhaw, 2022-12-03 04:51:25

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม

ความหมาย ข้อดี ข้อเสีย ของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

ระบบเศษฐกิจ

แบบผสม

จัดทำโดย
นายนัดทพร พิพัฒน์ผล เลขที่2 ม.5/4
นายพงศพัทธ์ รักษานาค เลขที่4 ม.5/4
นางสาวปุณยนุช ปลอดรอด เลขที่13 ม.5/4
นางสาวพรกน ศรีสว่าง เลขที่14 ม.5/4
นางสาวภัทราวดี เบี้ยขาว เลขที่17 ม./4
นางสาวกมนมณี แป้นแก้ว เลขที่25 ม.5/4
นายพิภูษณะ ศรีรอด เลขที่30 ม.5/4

เสนอ
คุณครูสิรี ฤาชา
โรงเรียนรัษฎา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต13 ตรัง-กระบี่

ระบบเศษฐกิจแบบผสม หน้า 1 จาก 10

คำนำ ก

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา เศษฐศาสตร์
เพื่อศึกษาหาความรู้ของเรื่องระบบเศรษฐกิจแบบผสม โดยผ่านแหล่ง
ความรู้จากเว็บไซต์ต่างๆ โดยรายงานเล่มนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับระบบเศษฐ
กิจแบบผสมลักษณะสำคัญ ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิแบบผสม ข้อดี
ข้อเสีย ของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

คณะผู้จัดทำหวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์และข้อมูลให้แก่ผู้อ่าน
ได้เข้าใจเกี่ยวกับระบบษฐกิจแบบ
ผสมมากยิ่งขึ้น

คณะผู้จัดทำ

ระบบเศษฐกิจแบบผสม หน้า 2 จาก 10

สารบัญ ข

เรื่อง หน้า
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม

ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม 1
ข้อดีของระบบเศษฐกิจแบบผสม

ข้อเสียของระบบเศษฐกิจแบบผสม 3
อ้างอิง

4


5


6

ระบบเศษฐกิจแบบผสม หน้า 3 จาก 10

1

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม

เศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งทั้งภาคเอกชนและรัฐชี้นำ
เศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนลักษณะของทั้งเศรษฐกิจแบบตลาดและเศรษฐกิจที่มี
การวางแผน เศรษฐกิจแบบผสมส่วนมากอาจอธิบายได้ว่าเป็นเศรษฐกิจ
แบบตลาดที่มีการควบคุมดูแลอย่างเข้มแข็งและการจัดหาสินค้าสาธารณะ
ของรัฐบาล เศรษฐกิจแบบผสมบางแห่งยังมีลักษณะรัฐวิสาหกิจ

โดยทั่วไป เศรษฐกิจแบบผสมมีลักษณะคือ เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการ

ผลิต ความเด่นของตลาดสำหรับการประสานงานเศรษฐกิจ และวิสาหกิจ

แสวงผลกำไรและการสะสมทุนที่เหลือเป็นปัจจัยขับหลักเบื้องหลังกิจกรรม

เศรษฐกิจ ทว่า รัฐบาลจะถืออิทธิพลในด้านเศรษฐกิจมหภาคโดยอ้อมผ่าน

ทางนโยบายการคลังและการเงินซึ่งออกแบบมาเพื่อรับมือภาวะเศรษฐกิจ

ตกต่ำและแนวโน้มของทุนนิยมต่อวิกฤตการณ์การเงินและการว่างงาน

ร่วมกับมีบทบาทในการแทรกแซงซึ่งสนับสนุนสวัสดิการสังคม ซึ่งไม่

เหมือนกับเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี ต่อมา เศรษฐกิจแบบผสมบางประเทศ

ได้ขยายขอบเขตให้รวมบทบาทสำหรับการวางแผนเศรษฐกิจชี้นำและหรือ

ภาควิสาหกิจสาธารณะขนาดใหญ่ด้วย

ระบบเศษฐกิจแบบผสม หน้า 4 จาก 10

2

ไม่มีนิยามระบบเศรษฐกิจแบบผสมอย่างเดียว โดยในปัจจุบันมีนิยามหลาก
หลายว่าเป็นการผสมตลาดเสรีกับการแทรกแซงของรัฐ หรือการผสม
วิสาหกิจสาธารณะและเอกชน หรือเป็นการผสมระหว่างระบบตลาดและการ
วางแผนเศรษฐกิจ จุดแข็งหรือจุดอ่อนเปรียบเทียบของแต่ละส่วนใน
เศรษฐกิจของชาติอาจต่างกันได้มากแล้วแต่ประเทศ เศรษฐกิจตั้งแต่ของ
สหรัฐอเมริกาจนถึงคิวบาเรียก เศรษฐกิจแบบผสม คำนี้ยังใช้อธิบาย
เศรษฐกิจของประเทศที่เรียก รัฐสวัสดิการ เช่น ประเทศนอร์ดิก รัฐบาลใน
เศรษฐกิจแบบผสมมักจัดการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การรักษามาตรฐานการ
จ้างงาน ระบบสวัสดิการปรับมาตรฐานและการรักษาการแข่งขัน

ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
■ไทย
■มาเลเซีย
■อินโดนีเซีย
■ฟิลิปปินส์
■บรูไน
■กัมพู ชา
■พม่า

ระบบเศษฐกิจแบบผสม หน้า 5 จาก 10

ลักษณะที่สำคัญ 3

ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม มีดังนี้
1. เอกชนและรัฐบาลมีส่วนร่วมกันในการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศว่าจะเป็นการ

ผลิตสินค้าและบริการอะไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด และการกระจายสินค้าและบริการที่
ผลิตได้ไปสู่ไครอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือกันทั้งภาคเอกชน
และภาครัฐบาล

2. ทั้งเอกชนและรัฐบาลสามารถจะเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการ
อย่างเสรี แต่อาจมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการบางประเภทที่
รัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นว่าหากปล่อยให้เอกชนดำเนินงานอาจไม่ปลอดภัยต่อความ
มั่นคงของชาติ หรือเอกชนอยู่ในฐานะที่เหมาะสมซึ่งจะดำเนินงานได้เพราะอาจจะ
ขาดแคลนเงินทุน ขาดเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ กิจกรรมดังกล่าวนี้ เช่น กิจกรรม
สาธารณูปโภคสาธารณูปการ การรักษาความปลอดภัย การป้องกันประเทศ เป็นต้น

3. กลไกราคายังเป็นสิ่งที่สำคัญในการกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ ในระบบ
เศรษฐกิจแบบผสม แต่รัฐบาลยังมีอำนาจในการเข้าไปแทรกแซงภาคเอกชนเพื่อ
กำหนดราคาสินค้าให้มีเสถียรภาพและเกิดความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

4. รัฐจะคอยให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือ ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ผู้
ประกอบการในภาคเอกชนด้วยการสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การสร้าง
ถนน สะพาน สนามบิน ฯลฯ ไว้คอยอำนวยประโยชน์ต่อเอกชนในการดำเนินธุรกิจ

ระบบเศษฐกิจแบบผสม หน้า 6 จาก 10

4

ข้อดีของระบบเศษฐกิจ

แบบผสม

■เป็นการยกฐานะของคนในสังคมให้เท่าเทียมกันและเป็นการ
แลกเปลี่ยนแปลงจากทุนนิยมเป็นแบบสังคมนิยม โดยสันติวิธี
ทางรัฐสภา

■รายได้ถูกนำมาเฉลี่ยให้ผู้ทำงานตามกำลังงานที่ได้กระทำ
มิใช่ตามความจำเป็นแรงจูงใจในการทำงานจึงดีกว่า

■เอกชนยังมีบทบาททางเศรษฐกิจ มีการแข่งขัน สินค้าจึงมี
คุณภาพสูง

■ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าได้มากพอสมควร
■ความไม่เท่าเทียมในรายได้ และทรัพย์สินมีน้อย

ระบบเศษฐกิจแบบผสม หน้า 7 จาก 10

5

ข้อเสียของระบบเศษฐกิจ
แบบผสม

■ระบบนี้มีการวางแผนเพียงบางส่วน จึงอาจจะไม่มีประสิทธิภาพ
เพียงพอในกรณีที่ต้องการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
เช่น ยามสงคราม

■การควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนโดยรัฐ เป็นเครื่อง
กีดขวางเสรีภาพของเอกชน

■การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อประสานประโยชน์ของรัฐบาลเข้า
กับเอกชนให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวมอย่างแท้จริงทำได้ยาก

■นักธุรกิจขาดความมั่นใจในการลงทุน เพราะไม่แน่ใจว่าในอนาคต
กิจกรรมของตนจะถูกโอนเป็นของรัฐหรือไม่

■การบริหารงานอุตสาหกรรมของรัฐมีประสิทธิภาพไม่ดีไปกว่าสมัย
ที่อยู่ในมือของเอกชน

ระบบเศษฐกิจแบบผสม หน้า 8 จาก 10

อ้างอิง 6

■ระบบเศรษฐกิจแบบผสม.(ออนไลน์) สืบค้นจาก
https://www.istip.co.th/pcapgold/knowledge_(วันที่สืบค้น 3 ธันวาคม 2565).

■ข้อดีและข้อเสียของระเศษฐกิจแบบผสม.(ออนไลน์) สืบค้นจาก:
http://www.thelishthebankers(วันที่สืบค้น 3 ธันวาคม 2565).

ระบบเศษฐกิจแบบผสม หน้า 9 จาก 10

ระบบเศษฐกิจแบบผสม หน้า 10 จาก 10


Click to View FlipBook Version