The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ladda Chem, 2021-02-02 01:27:46

เตรียมอบรม ผอ

เตรียมอบรม ผอ



คำนำ

รายงานสรุปเนือ้ หาประกอบการสรปุ การศกึ ษาค้นคว้าด้วยตนเองการอบรมหลกั สูตรการพัฒนาข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการชำนาญการ
พิเศษ จัดทำข้ึนโดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากตำรา เอกสาร บทความ งานวิจัย ส่ืออิเล็กทรอนิกส์ และ
แหล่งเรียนรู้อ่ืนๆ ในหน่วยการเรียนรู้ ดังน้ี หน่วยการเรียนรู้ท่ี 1 กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการ และหน่วยการเรียนรู้ท่ี 3 อุดมการณ์ในการบริหารจัดการสถานศึกษา
สู่การปฏิบัติ ซ่ึงจากการศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อดังกล่าว ผู้จัดทำได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ค้นคว้า
มาสรุปสร้างองค์ความรู้และจัดทำรายงานเพื่อประกอบในการอบรมหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษาก่อนแต่งต้ังให้มีและเล่ือ นเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ของ
คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภัฏอุบลราชธานี

ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานการศึกษาเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ ในการนำไปประยุกต์ใช้
ในการพัฒนาการจัดการศึกษาในสถานศึกษาสำหรับผู้บริหาร และขอขอบคุณผู้เผยแพร่เนื้อหาบทความ ณ โอกาสน้ี
หากมีขอ้ ผิดพลาดประการใดผู้จดั ทำขอรับผดิ ชอบและนำไปปรับปรงุ พัฒนาต่อไป

นางพทั ธกานต์ วฒั นสหโยธนิ
ผอู้ ำนวยการ กศน.อำเภอปลวกแดง

สารบัญ ข

คำนำ หนา้
สารบญั
สว่ นที่ 1 การพฒั นาสมรรถนะในการปฏิบัตงิ านในหนา้ ท่ีผู้อำนวยการและรองผอู้ ำนวยการชำนาญการพเิ ศษ ก

หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 1 กลยทุ ธ์การบรหิ ารจดั การสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ 1
1.1 การวางแผนกลยทุ ธ์และการประเมินแผนงาน (งาน โครงการ) 1
1.2 การเปล่ียนแปลงการบริหารจัดการงานวิชาการของสถานศกึ ษาเพื่อผลติ 1

และพฒั นาผูเ้ รียนหรือกำลงั คนสู่ประชาคมอาเซยี น 1
1.3 การมอบหมายงาน การกำกบั ติดตามงานและการส่งเสริมการพฒั นาครูเพ่ือพฒั นาผเู้ รยี น 2
1.4 การนำกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวธิ ีการท่ีเก่ียวขอ้ งไปใช้ในการบรหิ ารจดั การ
2
สถานศึกษาและวิชาชพี
1.5 การระดมทรัพยากรและการสร้างเครอื ขา่ ยความร่วมมอื จากทกุ ภาคสว่ นเพอ่ื พัฒนาคณุ ภาพ 3

การบริหารจัดการสถานศึกษา 3
1.6 การส่งเสรมิ สนบั สนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือการบรหิ ารจัดการสถานศึกษาและ
5
การจัดการเรียนรู้ 5
ส่วนท่ี 2 การวิเคราะหบ์ ทบาทหน้าที่ความรับผดิ ชอบและวางแผนพฒั นาคุณภาพ 5
การปฏิบตั งิ านของผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการชำนาญการพเิ ศษ 5
6
หน่วยการเรยี นรู้ที่ 2 ภาวะผนู้ ำทางวิชาการ 6
2.1 การบรหิ ารจัดการหลกั สตู รสถานศึกษา 7
2.2 กระบวนการจดั การเรยี นรู้ทเี่ นน้ ผูเ้ รียนเป็นสำคัญ 7
2.3 การสร้างพลงั เครือขา่ ยความรว่ มมอื เพ่ือปฏิรูปการเรียนรู้ 8
2.4 กระบวนการสร้างองค์กรแหง่ การเรียนรูใ้ นสถานศกึ ษา 9
หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 3 อุดมการณใ์ นการบรหิ ารจดั การสถานศึกษาสู่การปฏบิ ตั ิ
3.1 ผนู้ ำดา้ นคณุ ธรรมจรยิ ธรรมและการปฏบิ ัติตนเปน็ แบบอย่างท่ดี ี
3.2 วนิ ัยและจรรยาบรรณวิชาชีพผ้บู รหิ ารสถานศึกษา
3.3 การมจี ิตสำนึก ความมุ่งมนั่ การสรา้ งศรทั ธาและมีอุดมการณ์ในวชิ าชีพ
บรรณานกุ รม

1

สว่ นท่ี 1 การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานในหนา้ ท่ีผูอ้ ำนวยการและรองผ้อู ำนวยการชำนาญการพเิ ศษ

หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 1 กลยทุ ธ์การบริหารจดั การสถานศกึ ษาสู่ความสำเร็จ

การบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นงานที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องรับผิดชอบและดำเนินการบริหารให้บรรลุ
ผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงของผู้บริหารสถานศึกษา ความสำเร็จหรือ
ความลม้ เหลวในการจดั การศกึ ษา ผบู้ รหิ ารต้องมกี ลยุทธก์ ารบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเรจ็

1.1 การวางแผนกลยุทธ์และการประเมนิ แผนงาน (งาน โครงการ)
การวางแผนกลยุทธ์ หมายถึง กระบวนการในการตัดสินใจกำหนดวิธีการกระทำและส่ิงที่ควรจะต้องปฏิบัติ

อย่างเป็นระบบเอาไว้เป็นการล่วงหน้า ซ่ึงในการดำเนินงานต้องเริ่มด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญต่างๆ เพื่อนำมา
ประกอบกับการใช้ดุลยพินิจในการวางแผน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ท่ีกำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพกระบวนการ
วางแผนกลยุทธป์ ระกอบดว้ ย 3 กระบวนการ (พนิต เขม็ ทองและคณะ, 2556) คือ

1) การวางแผน (Formulation)
2) การนำไปสกู่ ารปฏิบัติ (Implementation)
3) การตดิ ตามและประเมินผล (Monitor and Evaluation)
การประเมนิ แผนงาน (งาน โครงการ) หมายถงึ คือ กระบวนการเกบ็ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ขอ้ มูลอย่างเป็น
ระบบและนำผลมาใชใ้ นการเพิ่มคณุ ภาพและประสิทธิผลของการดำเนนิ โครงการ (อญั ชลี ธรรมะวิธีกุล, 2552)
รูปแบบการประเมิน
1) การประเมินสภาวะแวดล้อมหรือบริบท (Context Evaluation) เป็นการประเมินที่ช่วยตัดสอนใจเลือก
วตั ถุประสงคข์ องโครงการทจ่ี ะดำเนนิ การ
2) การประเมินปัจจัยหรือทรัพยากร (Input Evaluation) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเลือก
ทเ่ี หมาะสมท่ีสดุ กบั ทรัพยากรทม่ี อี ยูแ่ ละเป็นทางเลอื กทมี่ โี อกาสทำให้บรรลุวตั ถปุ ระสงค์มากท่สี ดุ
3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินขณะที่นำโครงการที่วางแผนไว้
ไปปฏิบตั ิ พรอ้ มกบั การปรับปรุง การดำเนินงานให้มปี ระสทิ ธภิ าพ
4) การประเมินผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Product Evaluation) เพ่ือวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงปรับขยายหรือ
ล้มเลกิ โครงการ

1.2 การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการงานวิชาการของสถานศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนาผู้เรียนหรือกำลังคน
สู่ประชาคมอาเซยี น

บทบาทหน้าทใ่ี นการบริหารจัดการสถานศึกษาของผ้บู ริหารในการบริหารจดั การงานวชิ าการของสถานศึกษา
ตอ้ งเป็นผู้วางแผนงานวิชาการ และเปน็ ผกู้ ำกับติดตามการปฏิบัติการสอนของครู ผบู้ ริหารสถานศึกษาต้องดำเนนิ การ
ให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำท่ีมีวิสัยทัศน์และใช้การบริหารเชิงกลยุทธ์
เปน็ เคร่อื งมือในการดำเนินงาน การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาข้ันพ้ืนฐานต้องดำเนินการโดยคำนงึ ถึงหลักการ
บรหิ ารงานวชิ าการ (ชุมศกั ด์ิ อนิ ทรร์ ักษ์, 2545, หน้า 9-12) ดงั นี้

1) หลกั การพฒั นาคณุ ภาพ (quality management)
2) หลักการมสี ่วนรว่ ม (participation)
3) หลกั การ 3 องค์ประกอบได้แก่ ประสทิ ธิภาพ ประสิทธิผล ประหยดั
4) หลักความเปน็ วิชาการ (academics)
5) หลกั นติ ธิ รรม (legitimacy)

2

สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักเห็นความสำคัญ มีเจตคติท่ีดีเก่ียวกับอาเซียน
โดยสามารถจดั การเรยี นรไู้ ด้หลากหลายลักษณะ (สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน, 2554, หน้า 11-64)
ดงั นี้

1) จัดการเรียนรู้เรื่องอาเซียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งมีมาตรฐาน
การเรียนรู้/ตัวชว้ี ัด/สาระการเรยี นร้ทู ่ีชัดเจนเก่ยี วกบั อาเซียน

2) จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ โดยบูรณาการในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
หรือบูรณาการหลายกลุ่มสาระการเรียนรเู้ ขา้ ดว้ ยกัน

3) จัดการเรียนร้โู ดยการจดั ทำเปน็ รายวชิ าเพิม่ เติม
4) จดั การเรยี นร้ใู นกจิ กรรมพฒั นาผเู้ รียน
5) จัดเป็นกจิ กรรมเสริมที่เป็นกจิ กรรมในสถานศึกษา

1.3 การมอบหมายงาน การกำกับติดตามงานและการส่งเสริมการพฒั นาครเู พอ่ื พัฒนาผู้เรียน
การส่งเสริมพัฒนาครู ถือเป็นหน้าท่ีของผู้บริหารสถานศึกษาท่ีจะพัฒนาให้ครูเป็นครูมืออาชีพโดยมี

จุดมุ่งหมายเพ่ือเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเพ่ือจูงใจให้ปฏิบัติงานในหน้าท่ีได้ดีขึ้น
เพื่อส่งผลในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มอบหมายงาน มีบทบาท
ในการเป็นผู้กำกับติดตามงานและการส่งเสริมการพัฒนาครูเพ่ือพัฒนาผู้เรียนในการกำกับติดตามการจัดการเรียนรู้
ของครู ผูบ้ รหิ ารสถานศึกษาควรดำเนนิ การตามแนวทางการกำกับติดตามทดี่ ี (ประยงค์ เนาวบตุ ร, หนา้ 11) คือ

1) ตอ้ งมงุ่ เนน้ ท่ีผลงาน (result) และการติดตามเรง่ รัด (follow-up)
2) ต้องตรวจเยยี่ มการจัดการเรยี นรูข้ องครูเป็นระยะๆ เพ่ือตดิ ตามความก้าวหน้าและปญั หาที่เกดิ ขนึ้

3) ต้องวเิ คราะห์ผลการจัดการเรียนรแู้ ละแจง้ ขอ้ มูลย้อนกลับใหค้ รูและผูเ้ ก่ยี วข้องรับรู้

4) ต้องเปิดโอกาสใหค้ รูมสี ว่ นร่วมในการกำกับตดิ ตาม

5) ตอ้ งเสาะแสวงหาวิธกี ารหรือหาหนทางในการติดตามความกา้ วหน้าและผลการจัดการเรียนรู้ของครู

6) ตอ้ งสรปุ บทเรียนจากการจัดการเรียนร้ขู องครูหรือการดำเนินงานตามแผนงานวิชาการ

1.4 การนำกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและ

วชิ าชีพ

จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา39 ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและ

การจัดการศึกษา ท้ังด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารท่ัวไปไปยังคณะกรรมการ และ

สำนกั งานเขตพื้นท่ีการศึกษา และสถานศึกษาในเขตพ้ืนทีก่ ารศึกษาโดยตรง โดยหลักเกณฑแ์ ละวธิ ีการกระจายอำนาจ

ดังกล่าว ให้เป็นไปตามท่ีกำหนดในกฎกระทรวง ผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีบทบาทการบริหารงานในสถานศึกษา 4 ด้าน

ดงั นั้น ในการบริหารงานผู้บริหารสถานศึกษาต้องศึกษา และยึดกฎหมาย ระเบยี บ หลักเกณฑ์ และวิธกี ารท่ีเกี่ยวข้อง

ไปใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและวิชาชีพ เพื่อไปเป็นหลักในการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อให้สามารถ

นำไปใชไ้ ดอ้ ย่างมีประสทิ ธิภาพและถูกต้อง ดงั นี้

1) การบริหารงานทั่วไป เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ,

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติความผิดทางละเมิด, พระราชบัญญัติ

ขอ้ มูลข่าวสารของราชการ, พระราชกฤษฎีกาวา่ ด้วยหลักเกณฑแ์ ละวิธกี ารบริหารกิจการบ้านเมืองท่ีดี, ระเบียบสำนัก

นายกรฐั มนตรีว่าดว้ ยงานสารบรรณ เป็นตน้

3

2) การบริหารงานวชิ าการ เช่น พรบ.การศึกษาภาคบังคบั , พรบ.การศกึ ษาแห่งชาติ, พรบ.ส่งเสรมิ การศกึ ษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพ
ทางการศกึ ษา เปน็ ตน้

3) การบริหารงานบุคคล เช่น พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา, พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ, พรบ.วิธีปฏิบัติราชการ
ทางปกครอง, พรบ.ความรบั ผดิ ทางละเมดิ ของเจ้าหน้าท่ี เปน็ ต้น

4) การบริหารงบประมาณ เช่น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ, พรบ.การจัดซ้ือจัดจ้างและ
การบริหารพัสดุภาครัฐ, พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองท่ีดี, ระเบียบว่าด้วย
การบริหารงบประมาณ เป็นต้น

1.5 การระดมทรัพยากรและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพ่ือพัฒนาคุณภาพการบริหาร
จัดการสถานศึกษา

จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 58 ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุน
ด้านงบประมาณ การเงนิ และทรัพย์สิน ทัง้ จากรฐั องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน
เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอ่ืนและต่างประทศมาใช้
จัดการศึกษา และมาตรา 59 ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการปกครอง ดูแลบำรุงรักษา ใช้และ
จัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา ท้ังท่ีเป็นท่ีราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุและท่ีเป็น
ทรัพย์สินอื่น รวมท้ังจัดหารายได้จากบริการของสถานศึกษา และเก็บค่าธรรมเนียมการศึ กษาท่ีไม่ขัดหรือแย้ง
กับนโยบาย วัตถุประสงค์และภารกิจหลักของสถานศึกษา ในการการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหาร
จัดการสถานศึกษาต้องมาจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
จะทำให้การระดมทรัพยากรประสบความสำเร็จ ดังนั้น ผู้บริหารต้องอาศัยกระบวนการการสร้างเครือข่ายและการมี
สว่ นร่วม เพอื่ ให้ได้มาซ่ึงทรพั ยากรทางการศึกษา (คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , 2553, หน้า 32-33) ดังนี้

1) การจดั เครอื ข่ายสถานศึกษา ท่ีมบี รบิ ทสภาพแวดล้อมใกลเ้ คียงกนั
2) การมีผู้ประสานงานที่ดี เพื่อทำหน้าทเี่ ปน็ แกนประสานในการรวมกลมุ่ เป็นเครือขา่ ย
3) สมาชกิ ในเครอื ขา่ ยมคี วามตอ้ งการรว่ มกนั โดยจัดให้สมาชิกของเครอื ขา่ ยมีกิจกรรม ดงั นี้

3.1) การประชมุ ในแตล่ ะเครือข่ายอยา่ งไม่เป็นทางการ
3.2) จัดกิจกรรมให้สมาชิกร่วมแสดงความสามารถ ร่วมคิดร่วมวางแผน และร่วมทำงานร่วมกัน
หมนุ เวยี นกันรับผิดชอบในเครือขา่ ย
3.3) การศึกษาดงู าน หรอื เชญิ วทิ ยากรมาให้ความรูเ้ พิม่ เติมในเร่อื งทีม่ ีความสนใจรว่ มกัน
4) สมาชิกในเครือข่ายมีสัมพันธภาพท่ีดีต่อกัน สมาชิกในเครือข่ายมีจิตสำนึกร่วมกัน มีความรัก ความเอื้ออาทร
มคี วามสามคั คีกลมเกลยี ว ชว่ ยกนั คิด ช่วยกันทำจนงานสำเร็จลุลว่ งตามวตั ถปุ ระสงค์

1.6 การสง่ เสริมสนับสนนุ การใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรยี นรู้
สรุปแนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา (ทิพวัลย์ นนทเภท, 2559,

หน้า 54) มดี งั นี้
1) ด้านการบริหารงานวิชาการ จัดหาสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เพียงพอต่อการใช้งานสำหรับครู

และนกั เรยี น เพอื่ ใช้ในการจดั การเรยี นการสอนใหม้ ปี ระสทิ ธิภาพมากยิ่งขึน้

4

2) ดา้ นการบรหิ ารงบประมาณ จัดหางบประมาณในการจดั ซื้ออุปกรณเ์ ทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรม

ประยุกต์ใชง้ านที่สะดวก ทนั สมยั และมคี วามเหมาะสมกบั สถานศึกษา

3) ดา้ นการบรหิ ารงานบุคคล จดั อบรมพัฒนาบคุ ลากรดา้ นการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอยา่ งต่อเนื่อง

4) ด้านการบรหิ ารท่ัวไป วางแผนการใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศเพอ่ื การบรหิ ารงาน จัดหาสื่ออุปกรณ์ท่ที ันสมัย

ติดต้ังระบบอนิ เทอรเ์ น็ตความเรว็ สูง จดั หาอปุ กรณ์เทคโนโลยสี ารสนเทศให้เพียงพอ

การบริหารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการส่ือสารในสถานศึกษา สถานศึกษาควรดำเนินการ ดังนี้

คือ มีการวางแผนอย่างรอบคอบ โดยได้รับความร่วมมือจากภายในสถานศึกษาและภายนอกสถานศึกษา โดยเฉพาะ

จากชุมชนที่สถานศึกษาต้ังอยู่ ให้มีการฝึกอบรมครูผู้สอนอย่างต่อเนื่อง มีการสนับสนุนทางด้านเทคนิคแก่ครู จัดหา

งบประมาณสนับสนุนในระยะยาวท่ีครอบคลุมความต้องการจำเป็น มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

บูรณาการร่วมไปกับหลักสูตรและการสอน และมีการประเมินผลการดำเนินงานและผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง และ

ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีวิสัยทัศน์ มีทรรศนะกว้างไกล มีความสามารถที่จะทำให้ผู้ร่วมงานยอมรับความคิด

ในการใชเ้ ทคโนโลยแี ละนวตั กรรม (ปราวีณยา สวุ รรณณัฐโชต,ิ 2549)

สรุปได้ว่า การบริการจัดการสถานศึกษา ผู้บริหารต้องมีกลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษา โดยการ

ดำเนินการวางแผนกลยุทธ์ การประเมินแผนงาน พัฒนารูปแบบบริหารจัดการงานวิชาการเพื่อพัฒนาผู้เรียน

สู่ประชาคมอาเซียน การมอบหมายงาน การกำกับติดตามงานและการส่งเสริมการพัฒนาครู การศึกษาเรียนรู้

กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการท่ีเกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาได้

อยา่ งถูกต้อง มีการระดมทรัพยากรและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหาร

จัดการสถานศึกษา และการส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือการบริหารจัดการสถานศึกษาและ

การจัดการเรียนรู้ ซ่ึงจะส่งผลให้การบริหารจัดการสถานศึกษาสามารถบรรลุผลสำเร็จ ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด

จากการจัดการบริหารสถานศึกษาของผ้บู ริหาร

แนวทางการประยุกตส์ กู่ ารปฏบิ ตั ใิ นสถานศกึ ษา

1. จัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจำปี แผนงานโครงการ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม
มกี ระบวนการตดิ ตาม ประเมนิ ผลอย่างตอ่ เน่ือง

2. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจกับอาเซียน และมีทักษะชีวิตดีเพ่ือให้สามารถ
ดำเนนิ ชวี ิตไดอ้ ย่างมีความสุขในสังคมอาเซยี น โดยจดั การเรยี นรใู้ นรปู แบบทหี่ ลากหลาย

3. ส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนให้เป็นครูเป็นครูมืออาชีพ โดยการอบรม ประชุม สัมมนา หรือ
ศกึ ษาต่อ เพอื่ พฒั นาเทคนคิ การเรียนการสอน

4. จดั อบรมพฒั นาครูและบคุ ลากรใหม้ ีความรเู้ กี่ยวกับระเบียบ กฎหมาย ทีเ่ กีย่ วขอ้ งกับการปฏิบตั ิงาน
5. จัดกิจกรรมระดมทรัพยากรร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับชุมชน เพ่ือพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ
สถานศกึ ษา
6. จัดให้มีเทคโนโลยีในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ และอบรมพัฒนาครูในการผลิตส่ือ
อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น การทำข้อสอบในระบบ Google From, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book), ระบบห้องเรียน
ออนไลน์ (Google Classroom), ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning), โปรแกรมสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์
(E-Office) เปน็ ต้น

5

สว่ นท่ี 2 การวเิ คราะห์บทบาทหนา้ ทค่ี วามรับผดิ ชอบและวางแผนพฒั นาคณุ ภาพ
การปฏบิ ัตงิ านของผ้อู ำนวยการและรองผ้อู ำนวยการชำนาญการพิเศษ

หน่วยการเรียนร้ทู ่ี 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการ

งานวิชาการ ถือเป็นหลักในการบริหารจัดการสถานศึกษาของผู้บริหาร การบริหารจัดการหลักสูตร

สถานศึกษา กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสร้างพลังเครือข่ายความร่วมมือเพ่ือปฏิรูป

การเรยี นรู้ และกระบวนการสรา้ งองคก์ รแหง่ การเรยี นรู้ในสถานศึกษา

2.1 การบริหารจัดการหลกั สตู รสถานศึกษา

การบริหารหลักสตู ร มีขน้ั ตอนในการดำเนินการจำแนกเป็น 3 ข้ันตอน (จันตรี คุปตะวาทินและคณะ, 2550,

หน้า 5-6) คอื

1) ขั้นเตรยี มการหรอื ขนั้ การวางแผนเพือ่ เตรยี มความพร้อมก่อนนำหลักสูตรไปใช้

2) ข้ันการนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์หรือผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน

ตามวตั ถุประสงค์ท่กี ำหนดไว้

3) ข้ันการประเมนิ ผลหลักสูตร
การบริหารหลักสูตรในระดับสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีแนวทางการพัฒนาที่ผู้บริหารสถานศึกษา
ควรดำเนินการ จำแนกเปน็ 3 ลกั ษณะ คือ
1) การพัฒนาตนเองในด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและทิศทางการจัดการศึกษา โดยผู้บริหาร
สถานศึกษาจะตอ้ งตรวจสอบพ้นื ฐานความรขู้ องตนเองเกีย่ วกบั หลกั สตู รและหาทางเพิ่มพูนความรคู้ วามเขา้ ใจในเรื่อง
แนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการพัฒนาหลักสูตร สาระสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน และ
นโยบาย ทิศทางการจัดการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาทุกระดับ กฎหมาย และคำส่ังที่เก่ียวข้องกบั การจัดการศึกษา
และการพฒั นาคณุ ภาพนกั เรียนทกุ มิติ
2) การพัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตร โดยผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องพิจารณาทบทวนกระบวนการ
หรือขั้นตอนการบริหารหลักสูตรที่ดำเนินการอยู่ว่ามีจุดเด่นหรือจุดด้อยอย่างไร แล้วหาทางปรับปรุงและพัฒนา
กระบวนการบริหารหลักสตู รดงั กล่าวให้มปี ระสทิ ธิภาพและประสิทธภิ าพมากย่ิงขึ้น
3) การพัฒนาครู ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจหลักสูตร เป้าหมายและความ
คาดหวังของหลักสูตร สาระสำคัญเก่ียวกับมาตรฐาน โครงสร้าง และรายละเอียด การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการประเมินผลการเรียนรู้ และการช่วยเหลือหรือพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ
ตามมาตรฐาน (ประยงค์ เนาวบตุ ร, หนา้ 25-26)

2.2 กระบวนการจดั การเรียนรู้ที่เน้นผ้เู รียนเปน็ สำคัญ
กระบวนการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดการศึกษาที่ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ

เรยี นรู้และพฒั นาตนเองได้ และถือว่าผูเ้ รยี นมีความสำคัญท่ีสุด โดยกระบวนการจัดการศกึ ษาจะตอ้ งสง่ เสริมให้ผเู้ รียน
สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ซึ่งมุ่งพัฒนาความรู้และทักษะทางวิชาชีพ ทักษะชีวิตและทักษะสังคม มีวิธีการจัดการเรียนรู้หลายรูปแบบ (คู่มือ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, หน้า 13-21) ดังน้ี 1) การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem-based
Learning : PBL) 2) การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (individual study) ได้แก่ เทคนิคการใช้ Concept Mapping
เทคนคิ Learning Contracts เทคนิค Know –Want-Learned และเทคนิคกระบวนการกลุ่ม (Group Process)

6

3) การเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มท่ีเน้นกระบวนการรู้คิด
ในตัวบุคคล และกลุ่มท่ีเน้นการสร้างความรู้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 4) การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้
ไดด้ ้วยตนเอง (Self-Study) 5) การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning) 6) การเรียนรู้ท่ีเนน้ การวจิ ัยเพื่อ
สร้างองค์ความรู้ (Research–based Learning) 7) การเรียนรู้ท่ีใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา
(Crystal-Based Approach)

ซ่ึงผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้อาจารย์มีความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
เปน็ สำคัญ โดยมีบทบาทในการสนบั สนุนในเรื่องตา่ ง ๆ ดงั น้ี

1) การพฒั นาหลักสตู ร
2) การจดั หาแหล่งการเรยี นรู้
3) การวจิ ยั ในช้นั เรยี น
4) จัดหาสอ่ื วัสดอุ ปุ กรณ์ และเครอ่ื งมอื เครอ่ื งใช้
5) การจดั สรรงบประมาณ
6) การเผยแพรผ่ ลงาน
7) การให้ขวัญกำลงั ใจ

2.3 การสร้างพลงั เครอื ข่ายความรว่ มมือเพ่ือปฏริ ปู การเรยี นรู้
การบริหารจัดการศึกษาให้เกดิ พลังและมีประสิทธิภาพ ต้องยึดเง่ือนไขและหลักการสำคญั คือ การมสี ่วนร่วม

และความรว่ มมือของเครือข่าย ซึ่งเครอื ข่ายการเรยี นรู้ คือการเชื่อมโยงแหล่งความร้ตู ่างๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ
ก่อให้เกิดการแลกเปล่ียนเรียนรู้ความรู้ ความคิด ข่าวสาร และประสบการณ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล และ
องค์การส่งผลให้เกดิ การเรยี นรูท้ ่ีกว้างขวางย่ิงขึ้น หลักการพื้นฐานในการบริหารจดั การศึกษาแบบเครือข่ายการเรยี นรู้
(ชูชาติ พว่ งสมจติ ร์, หน้า 35) คือ

1) หลกั ความรว่ มมอื
2) หลกั การมอบหมายอำนาจ
3) หลกั ภาระหนา้ ท่ี
4) หลกั ความรับผดิ ชอบ
5) หลกั คณุ ค่าของงาน
6) หลกั การแตง่ ตงั้ ตามความสามารถ

2.4 กระบวนการสร้างองค์กรแหง่ การเรียนรู้ในสถานศกึ ษา
กระบวนการที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ทำได้โดยการพัฒนา

บคุ ลากรในองคก์ รใหเ้ ปน็ บุคคลที่มคี ณุ ลกั ษณะทสี่ ำคัญ 5 ประการ ดังน้ี (นติ ยา ภัสสรศิริ, หนา้ 1) คอื

1) มีความรอบรู้เฉพาะด้าน สมาชิกในองค์การมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และเจตคติที่ดีใน

การปฏิบัติงาน มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีปฏิภาณไหวพริบ มีความเป็นตัวของตัวเอง เป็นผู้ใฝ่รู้ มีการวิเคราะห์และ

ตดั สินใจด้วยข้อมูลและข้อเท็จจรงิ รวมทงั้ มคี วามเชี่ยวชาญในการปฏบิ ัตงิ าน

2) มีรูปแบบวิธีการคิด มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มปี ฏิภาณไหวพรบิ มีวิธีทำงานท่ีชัดเจน เข้าใจบทบาทหน้าท่ีและ

กจิ กรรมต่างๆ ขององค์การ ยอมรบั การเปลีย่ นแปลง รว่ มมือร่วมใจประสานผลประโยชน์ และเคารพสิทธเิ สรีภาพของ

ผู้อน่ื

3) มีวิสัยทัศน์ร่วมกันโดยสมาชิกในองค์การมีการร่วมกันคิด ร่วมสร้างวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์

และยุทธศาสตร์ขององค์การ และสามารถปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกัน ทำให้ภาพขององค์การในอนาคตที่สมาชิก

ตอ้ งการเป็นจริง

7

4) มีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมโดยสมาชิกในองค์การ มีการเสวนาอภิปรายร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อแลกเปล่ียนข่าวสารข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ร่วม สามารถปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม

5) มีการคิดอย่างเป็นระบบโดยสมาชิกในองค์การเห็นโอกาสต่างๆ มีประโยชน์ตอ่ องค์การ สมาชิกมคี วามคิด
และปฏบิ ตั งิ านอยา่ งเปน็ ระบบตลอดเวลา

สรุปได้ว่าหลักสูตรสถานศึกษา เป็นงานสำคัญของสถานศึกษาในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน ซึ่งใน
การบริหารสถานศึกษาผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำ มีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องเหมาะสมกับ
ความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถ่ิน พัฒนาครูให้สามารถนำไปใช้ได้จริง โดยยึดและเน้นการเรียนการสอนที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเน่ือง ซึ่งการบริหารจัดการศึกษาให้เกิดพลังและ
มีประสิทธิภาพ ต้องยึดเง่ือนไขและหลักการสำคัญ คือ การมีส่วนร่วม และความร่วมมือของเครือข่าย เพื่อส่งเสริม
พฒั นากระบวนการภายในสถานศึกษาให้เปน็ องค์กรแห่งการเรยี นรู้

แนวทางการประยุกตส์ กู่ ารปฏิบัติในสถานศึกษา
1. ประชุมช้แี จงสรา้ งความตระหนักถงึ ความสำคัญจำเปน็ ของการพัฒนาหลกั สูตรสถานศกึ ษา
2. จดั กระบวนการเรียนการสอน ในรปู แบบทเี่ น้นผูเ้ รียนเป็นสำคัญ
3. อบรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ท่ีส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการคิด การเน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญ เทคนิคการวัดผลประเมินผล และการวิจัยในชั้นเรียนเพ่ือค้นพบข้อบกพร่องของนักเรียนและ
ช่วยแก้ไขปญั หาทางการเรยี น
4. กำกับ ติดตาม ประเมินและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาเป็นระยะ โดยให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม
ของคณะกรรมการบริหารหลกั สตู รสถานศกึ ษา

หนว่ ยการเรยี นรูท้ ี่ 3 อดุ มการณใ์ นการบรหิ ารจัดการสถานศกึ ษาสู่การปฏบิ ตั ิ

การเป็นผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีอุดมการณ์ในการบริหารจัดการสถานศึกษาสกู่ ารปฏิบตั ิ ผนู้ ำดา้ นคุณธรรม
จริยธรรมและการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี วินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพผู้บรหิ ารสถานศกึ ษา และการมีจติ สำนึก
ความมงุ่ มั่น การสร้างศรัทธาและมอี ดุ มการณใ์ นวชิ าชีพ

3.1 ผนู้ ำดา้ นคุณธรรมจรยิ ธรรมและการปฏบิ ตั ติ นเป็นแบบอยา่ งท่ีดี
ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้บริหารที่ได้รับความรักเคารพจากผู้ใต้บังคับบัญชา

บุคลากร เกิดความสามัคคีกลมเกลียวกัน และร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่ไปในทิศทางท่ีพึงประสงค์ จึงทำให้
การจัดการศึกษาบรรลุผลสำเร็จได้ตามจุดมุ่งหมาย ความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรมไว้ใน 3 มิติ คือ ความสำคัญ
ตอ่ บุคคล ความสำคญั ตอ่ สังคม และความสำคัญตอ่ วิชาชพี (ทองอินทร์ วงศโ์ สธรและคณะ, หนา้ 11)

การพฒั นาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามประกาศคณะกรรมการคุรุสภาเรื่อง สาระความรู้
สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารส ถานศึกษาผู้บริหารการศึกษา และ
ศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 (2556, หน้า 47-48) กำหนดสาระความรู้
และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานความรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
จรรยาบรรณ ผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย

(ก) สาระความรู้ (1) หลักธรรมาภิบาล และความซือ่ สัตย์สจุ ริต
(2) คณุ ธรรม และจริยธรรมของวชิ าชพี ผบู้ ริหารสถานศึกษา
(3) จรรยาบรรณของวิชาชพี ทค่ี ุรสุ ภากำหนด

8

(ข) สมรรถนะ (1) ปฏิบตั ิตนเป็นแบบอย่างทีด่ ี มีจิตสำนกึ สาธารณะและเสียสละให้สังคม

(2) ปฏบิ ัตติ นตามจรรยาบรรณของวชิ าชีพ

ผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้คุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม เป็นแนวทางในการปฏิบัติภารกิจการบริหาร
การศึกษา ซึ่งจะน้อมนำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้เรียนได้รับการปลูกฝังเก่ียวกับจรรยาวิชาชีพอย่างเป็นธรรมชาติ
เหตุที่ต้องใช้หลักคุณธรรม จริยธรรมมาเป็นเคร่ืองน้อมนำให้เกิดการปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพนั้น ก็เน่ืองด้วยเหตุผล
ท่ีได้กล่าวแล้วว่า จรรยาบรรณวิชาชีพเป็นเกณฑ์ภายนอก และเป็นเรื่องของการปฏิบัติ ส่วนคุณธรรม จริยธรรม
เป็นเกณฑ์ภายในจิตใจ ที่จะสั่งการให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมออกมา ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องปลูกฝังและ
ดำรงรักษาไว้ท้ังคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาวิชาชีพ โดยมุ่งมาตรฐานสูงท้ังการปฏิบัติ และคุณธรรมประจำใจ
จึงจะทำให้ผ้ใู ตบ้ งั คบั บัญชาและผู้เรยี นยึดถือเป็นแบบอย่างและปฏบิ ัติตาม (ทองอนิ ทร์ วงศโ์ สธรและคณะ: 46)

3.2 วนิ ัยและจรรยาบรรณวิชาชีพผบู้ ริหารสถานศึกษา

วนิ ัย คอื กฎหมาย กฎ ขอ้ บังคับ ระเบียบ และแบบธรรมเนยี มทีก่ ำหนดให้ปฏิบัติตามหรืองดเวน้ การปฏิบัติ

ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทั ศน์ ให้ทันต่อ

การพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ ต้องรัก ศรัทธา ซ่ือสัตย์สุจริต และรับผิดชอบ

ตอ่ วิชาชีพ และเปน็ สมาชิกทด่ี ีขององค์กรวิชาชพี และผ้บู รหิ ารสถานศกึ ษาต้องมีจรรยาบรรณวชิ าชพี ดงั นี้

จรรยาบรรณต่อตนเอง
1) ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนา
ทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผน
พฤตกิ รรม
จรรยาบรรณต่อวชิ าชพี
2) ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ โดยต้อง
ประพฤติและละเวน้ การประพฤตติ ามแบบแผนพฤติกรรม
จรรยาบรรณตอ่ ผรู้ บั บริการ
3) ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่
โดยเสมอหน้า
4) ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยท่ีถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่
อยา่ งเต็มความสามารถดว้ ยความบรสิ ทุ ธใิ์ จ
5) ตอ้ งประพฤตติ นเปน็ แบบอย่างทดี่ ี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
6) ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญาจิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และ
ผ้รู บั บรกิ าร
7) ต้องให้บริการด้วยความจรงิ ใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรบั หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใชต้ ำแหน่ง
หน้าทีโ่ ดยมชิ อบ โดยตอ้ งประพฤตแิ ละละเวน้ การประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม
จรรยาบรรณต่อผู้รว่ มประกอบวิชาชพี
8) พึงช่วยเหลือเก้ือกูลซ่ึงกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคี
ในหมคู่ ณะ โดยพงึ ประพฤตแิ ละละเวน้ การประพฤตติ ามแบบแผนพฤติกรรม
จรรยาบรรณตอ่ สังคม
9) พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
ภูมิปัญญา ส่ิงแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดม่ันในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมพี ระมหากษัตรยิ ท์ รงเปน็ ประมุข โดยพึงประพฤติและละเวน้ การประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม

9

3.3 การมจี ติ สำนึก ความมุง่ มน่ั การสรา้ งศรัทธาและมอี ดุ มการณใ์ นวชิ าชีพ
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องยึดมั่นและพัฒนาตนตามมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ท้ังยังต้องศึกษา

ทำความเข้าใจมาตรฐานวิชาชีพครูและมาตรฐานวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่นด้วย เพ่ือสามารถให้คำแนะนำ
ปรึกษา และนิเทศผู้ใตบ้ งั คับบญั ชาได้อยา่ งถูกตอ้ ง

จรรยาวิชาชีพของผบู้ ริหารสถานศกึ ษา คอื จรรยาวชิ าชพี สำหรับผูป้ ระกอบวิชาชีพทางการศกึ ษา ท่ผี ูบ้ รหิ าร
สถานศึกษา ต้องปฏิบัติตนตามจรรยาวิชาชีพ ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับจรรยาวิชาชีพ
และสามารถแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับเกณฑ์ในจรรยาวิชาชีพด้วย จัดทำเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน และ
มาตรฐานการปฏิบัติตน ให้ครูและบุคลากรมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และจัดกิจกรรมส่งเสริมจรรยา
วิชาชพี ของครูและบุคลากรในสถานศึกษา

การประเมินพฤติกรรมตนเองของผู้บริหารตามเกณฑ์และมาตรฐานการปฏิบัติตน เป็นแนวทางในการรักษา
จรรยาวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา และนำมาตรฐานการปฏิบัติตนมาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการ
ปฏิบัติงานของครูและบุคลากร เป็นการปลูกฝังจรรยาวิชาชีพให้แก่ครูและบุคลากร ท้ังยังช่วยให้บุคคลเหล่านั้น
ได้ดำรงรักษาจรรยาวิชาชีพไว้ได้อย่างต่อเน่ืองอีกด้วย (ทองอินทร์ วงศ์โสธรและคณะ, หน้า 45) ซ่ึงจะเป็นการสร้าง
จิตสำนึก ความมุง่ ม่นั การสร้างศรทั ธาและมอี ดุ มการณใ์ นวิชาชพี ให้กบั ครแู ละบุคลากรในสถานศกึ ษา

สรุปได้ว่าผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างย่ิงต่อองค์กร เน่ืองจากเป็นผู้ที่มีบทบาทในการกำหนด
นโยบาย วางแผนการดำเนินงาน แนวการปฏิบัติขององค์กร ผู้บริหารต้องผู้นำด้านคุณธรรมจริยธรรม มีวินัยและ
ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน มีความมุ่งมั่นและ
มีอุดมการณ์ในวิชาชีพ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างท่ีดี ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึก ความมุ่งมั่น การสร้างศรัทธาและ
มีอุดมการณ์ในวิชาชีพให้กับครูและบุคลากรในสถานศึกษา จะทำให้ประสบความสำเร็จในการบริหารงานของ
สถานศกึ ษาบรรลเุ ปา้ หมายทตี่ ั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธภิ าพ

แนวทางการประยุกต์ส่กู ารปฏบิ ัตใิ นสถานศึกษา
1. นำคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม เป็นแนวทางในการปฏิบัติภารกิจการบริหารการศึกษา โดย
การประพฤติเปน็ แบบอย่างทด่ี ใี ห้แกบ่ ุคลากรภายในสถานศึกษา
2. จัดทำเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน และจัดอบรมพัฒนาครูและบุคลากร
ด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการสร้างจิตสำนึก ความมุ่งมั่น การสร้างศรัทธาและมีอุดมการณ์
ในวิชาชีพใหก้ ับครแู ละบุคลากรในสถานศกึ ษา
3. กำหนดเป็นส่วนหน่ึงของวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ของสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียนให้มี
คุณธรรม จริยธรรม
4. ส่งเสริม ยกย่อง เชิดชูเกียรติ ครูและบุคลากรทางการศึกษาท่ีปฏิบัติงานด้วยความมีวินัย คุณธรรม
จริยธรรม และจรรยาบรรณแหง่ วชิ าชีพ เช่น การประกวดครูดีเดน่ การมอบรางวลั เกียรติบตั ร เป็นตน้

10

บรรณานกุ รม

คูม่ ือการจดั การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. หนา้ 21-22
ออนไลน์ ค้นคนื วนั ท่ี 16 มิถนุ ายน 2562 จาก http://regis.rmutp.ac.th/wp-content/uploads/

คณะครุศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาระบบราชการ. (2553). การสรา้ งเครือข่ายและการมีสว่ นรว่ ม Network Building and
Participatory. กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย.

ชชู าติ พ่วงสมจติ ร.์ (2555) “การสร้างความสมั พนั ธก์ ับชมุ ชนและเครอื ข่ายการเรียนรู้ในท้องถ่ิน” ในเอกสารการสอน
ชดุ วชิ าการพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชพี สำหรบั ผู้นำทางการศกึ ษา. หน่วยที่ 15. หน้า 35,50
นนทบุรี. มหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช สาขาวชิ าศึกษาศาสตร์

ชมุ ศกั ดิ์ อินทรร์ กั ษ์. (2545). การบรหิ ารงานวชิ าการ ปตั ตานี: ภาควชิ าการบริหารการศกึ ษา คณะศึกษาศาสตร.์
มหาวิทยาลัยสงขลานครนิ ทร์ วทิ ยาเขตปตั ตานี

ทิพวลั ย์ นนทเภท. (2559). “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศกึ ษา ในสงั กัดสำนักงานเขตพืน้ ที่
การศกึ ษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3”. วารสารมหาวทิ ยาลัยนราธิวาสราชนครนิ ทร์ สาขา
มนษุ ยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ ปีท่ี3 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559 หนา้ 54

ทองอนิ ทร์ วงศโ์ สธร และคณะ. (2555). “คุณธรรม จรยิ ธรรมและจรรยาวชิ าชีพของผูบ้ ริหารการศึกษา” ในเอกสาร
การสอน ชุดวิชาการพฒั นาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำหรบั ผูน้ ำทางการศึกษา. หนว่ ยที่ 6 หนา้ 11
หน้า 46 นนทบรุ .ี มหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวชิ าศึกษาศาสตร์

ประกาศคณะกรรมการครุ สุ ภาเรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผปู้ ระกอบวิชาชีพครู
ผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษาผู้บรหิ ารการศึกษา และศึกษานเิ ทศก์ ตามข้อบังคับครุ ุสภา วา่ ด้วยมาตรฐานวิชาชพี
พ.ศ. 2556. (2556), หน้า 47-49

ประยงค์ เนาวบตุ ร. (2555) “ผู้นำกบั การบริหารงานวชิ าการ หลักสตู รและการเรียนรู้ ” ในเอกสารการสอน
ชุดวิชาการพัฒนาทกั ษะและประสบการณว์ ิชาชพี สำหรบั ผู้นำทางการศึกษา. หนว่ ยที่ 11. หน้า 11
หนา้ 25-26 นนทบุรี มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช สาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์

ปราวณี ยา สวุ รรณณฐั โชต.ิ (2549). “การบริหารและการใช้ ICT เพ่ือการเรียนรใู้ นโรงเรียน: ประสบการณ์จาก
Best Practicesของไทย”

พนติ เข็มทองและคณะ. (2556). โครงการบ่มเพาะนักวางแผนกลยทุ ธ์องค์กร (มือใหม่) รุ่นท่ี 2. เอกสารอบรม
โครงการ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตบางเขน.

พระราชบัญญัติการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542. สำนกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา. หนา้ 12,16-17
รุ่งรชั ดาพร เวหะชาติ. (2553). การบรหิ ารงานวชิ าการสถานศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน. พิมพ์คร้งั ท่ี 4. สงขลา. นำศิลป์
สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พนื้ ฐาน. (2554). แนวการจัดการเรียนร้สู ่ปู ระชาคมอาเซยี น ระดับ

ประถมศึกษา. กรงุ เทพมหานคร. โรงพมิ พ์ชมุ นุมสหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย.
อัญชลี ธรรมะวิธกี ุล. (2552). การประเมินโครงการ. สาระสังเขปออนไลน์ ค้นคืนวนั ที่ 16 มถิ นุ ายน 2562 จาก

http://panchalee.wordpress.com/2009/04/28/project-evaluation1/

11


Click to View FlipBook Version