ประติมากรรม โฮมดิน อิ่มใจ ชานน ไชยวงศา นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาการจัดการวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาพประกอบ: Facebook ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยของแก่น ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปกรรมของคณาจารย์ ศิลปินระดับชาติ และนานาชาติ (โฮมดิน 3) ตั้งแต่วันที่ 20-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม รวมถึงร่วมอนุรักษ์และส่งเสริมให้ศิลปินมีพื้นที่ใน การแสดงผลงาน และเป็นสร้างภาคีเครือข่ายในอนุภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งในชุมชนเครื่องปั้นดินเผ่าด่านเกวียนมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำเครื่องปั้นดินเผามา จากรุ่นสู่รุ่นมานานกว่าร้อย นอกจากนี้ยังเป็นทั้งแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผา แล้วยังมาเป็น แหล่งเรียนรู้ด้านหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นที่รู้จักในภาคอีสาน ในการนี้นำโดย รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์, ผศ.ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์, นายวรศักดิ์ วรยศ และบุคลากรศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาจารย์เดช นานกลาง ศิลปินมรดกอีสาน ประจำปี พ.ศ.2565 เจ้าของสถานที่โรงปั้นชุมชนด่านเกวียน ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีคณาจารย์ ศิลปิน ทั้งในและ ต่างประเทศ เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 120 คน และมีสถาบันเข้าร่วมมากกว่า 21 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์,
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี, มหาวิทยาลัยศิลปากร, วิทยาลัยช่างศิลป์, ลาดกระบัง, วิทยาลัยช่างศิลป์สุพรรณบุรี, วิทยาลัย เพาะช่าง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้พระนครเหนือ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ,ศิลปินแห่งชาติ, ศิลปินมรดกอีสาน, กลุ่มด่านเกวียนร่วมสมัยกลุ่ม, ศิลปินต่างชาติ ได้แก่ศิลปินจากประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน, สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สาธารณรัฐสิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยการจัดโครงการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ โรงปั้นชุมชนด่านเกวียน ต.ด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ภาพประกอบ: Facebook ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยของแก่น การทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ต้องอาศัยความพิถีพิถันมาตั้งแต่การเลือกสรรวัตถุดิบซึ่งต้องใช้ดิน ในพื้นที่เท่านั้น เพราะเป็นดินเหนียวเนื้อละเอียดและมีคุณภาพดี มีสีน้ำตาลดำ และสีแดง โดยจะต้องขุดขึ้นมา จากบริเวณที่เรียกว่า “กุด” ซึ่งเป็นบริเวณแนวกัดเซาะของริมฝั่งแม่น้ำ มีแร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะแร่เหล็ก สะสมอยู่ในเนื้อดินค่อนข้างมาก และด้วยความละเอียดของเนื้อดินจึงทำให้ง่ายต่อการปั้นขึ้นรูปและทนทาน มากในการเผาในอุณหภูมิสูง เมื่อนำดินด่านเกวียนมาเผาในอุณหภูมิสูง พบว่าแร่เหล็กที่สะสมอยู่ในเนื้อดินจะ เกิดการหลอมละลายแล้วมาเคลือบชั้นผิวจนทำให้เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีเอกลักษณ์พิเศษเป็นสีต่าง ๆ ทั้งสีดำ สีน้ำตาลแดง หรือสีสัมฤทธิ์ ที่มีความมันวาว และคงทนต่อการนำมาใช้งาน การจัดโครงการโฮมดิน 3 มีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา เพื่อนำไปจัดนิทรรศการ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี ศิลปิน ศิลปินต่างชาติ อาจารย์ เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ผลงานแต่ละชิ้นจะมีความคิดสร้างสรรค์ที่แต่งต่างกัน ทำให้มีความหลากหลาย ความคิดและความหมายที่แตกต่างกันออกไป
ภาพประกอบ: Facebook ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยของแก่น ผลงานที่เห็นจากภาพประกอบ ได้แรงบันดาลใจจาก เรื่องวงสนทนาหรือการพูดคุยกันในกลุ่มสังสรรค์ หรืองานเทศกาลต่าง ๆ โดยท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า ในสาขามากันหลายท่าน แต่ละท่านก็ได้แบ่งกันว่าท่านใด จะเอาแบบไหน และท่านอาจารย์ ก็ได้เลือกเป็นเกี่ยวกับแมลงทอดเพราะเป็นกับแกล้มที่เป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นตัว หลักในวงสนทนา กลุ่มสังสรรค์ หรืองานเทศกาลต่าง ๆ (อาจารย์ปอยหลวง บุญเจริญ,2566: สัมภาษณ์) ภาพประกอบ: Facebook ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยของแก่น ผลงานที่เห็นในภาพ ชื่อผลงานคือ รอยยิ้มแห่งกาลเวลา โดยรูปแบบของผลงานจะมีรูปหน้าคนหลาย ๆ หน้า โดยแต่ละหน้าจะมีทั้งตอนที่ยิ้ม มีความสุข เศร้า โดยแต่งละหน้าจะมีความแตกต่างกันออกไป ทำให้นึก ถึงช่วงเวลาต่าง ๆ (สุพลรักษ์ เกลือรัมย์ศิลปิน,2566: สัมภาษณ์)
ภาพประกอบ: Facebook ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยของแก่น อาจารย์เดช นานกลาง ได้กล่าวไว้ว่าในการจัดโครงการโฮมดิน 3 ในครั้งนี้เป็นโครงการที่ดีที่มีโอกาส ให้ศิลปินไทย ศิลปินต่างชาติ อาจารย์จากสถาบันต่าง ๆ ที่เข้ามาเข้าร่วมโครงการ ได้เข้ามาพบปะร่วมวง สนทนา แลกเปลี่ยนความรู้ ความสามารถ และเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างผลงานประติมากรรม เครื่องปั้นดินเผาจากหลาย ๆ ท่าน บางท่านที่มาเข้าร่วมโครงการอาจจะไม่ถนัดในการสร้างผลงาน ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา ก็สามารถนำเอาความรู้ที่ได้จากโครงการนี้ไปปรับใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานได้ และสนับสนุนให้มีโครงดีๆ อย่างโครงการโฮมดินต่อไป(เดช นานกลาง,2566: สัมภาษณ์) ทั้งนี้ในการจัดโครงการโฮมดินในครั้งนี้ เพื่อที่จะให้ศิลปินเข้าร่วมเพื่อสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม เครื่องปั้นดินเผา แลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด เทคนิค ในการทำผลงาน เพื่อนำไปจัดนิทรรศการ ณ หอ ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น และให้กลุ่มคนที่สนใจเข้าชม เรียนรู้เกี่ยวผลงานที่ศิลปิน อาจารย์จาก สถาบันต่าง ๆ ได้สร้างสรรค์ขึ้น เอกสารอ้างอิง ฐัพไทย ถาวร (2566) โฮมดิน3 ผนึกกำลังสร้างสรรค์ประติมากรรม ระดับนานาชาติ.(ออนไลน์).จาก https://th.kku.ac.th.สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566 เดช นานกลาง (24 กุมภาพันธ์ 2566):สัมภาษณ์ เจ้าของสถานที่โรงปั้นดินเผา.นครราชสีมา. ปอยหลวง บุญเจริญ (24 กุมภาพันธ์ 2566):สัมภาษณ์ อาจารย์.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การ มหาชน.(ออนไลน์) .จาก https://cac.kku.ac.th/.สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566. สุพลรักษ์ เกลือรัมย์ (24 กุมภาพันธ์ 2566):สัมภาษณ์ ศิลปินอิสระจากจังหวัดบุรีรัมย์